You are on page 1of 21

ตุ ล า ค ม - ธั น ว า ค ม 2 5 6 6 V O L .

3 ห น้ า ที่ 1

จดหมายข่าว
สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย

กษัตริย์นักแปล
เนื่องในวันนวมินทรมหาราชา 13 ตุลาคม 2566 และวาระสัตตมวรรษ สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย
ขอร่วมรำลึกและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดไม่แห่งพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีคุณูปการใหญ่หลวง
ต่อแผ่นดิน พระเกียรติคุณเป็ นที่แซ่ซ้องก้องประจักษ์แก่ปวงชนชาวไทยและนานาอารยประเทศ แม้การเสด็จสวรรคต
จะล่วงเลยมาถึง 7 ปี แล้วก็ตาม พสกนิกรทุกหมู่เหล่าก็ยังคงหวนไห้อาลัยถึง
ตลอดรัชสมัยของพระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อความวิวัฒน์พัฒนาของชาติบ้านเมือง
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระอัจฉริยภาพหลาก
หลายด้านตามประจักษ์ หนึ่งในนั้นคือพระอัจฉริยภาพด้านภาษาและวรรณกรรม แม้ทรงเจริญพระชันษาในต่างแดน
และทรงใช้ภาษาต่างประเทศในการศึกษาเล่าเรียน แต่ยังทรงมีพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาไทยยอดเยี่ยม และทรง
มีพระราชหฤทัยห่วงใยในการใช้และการอนุรักษ์ภาษาไทยของเหล่าพสกนิกรของพระองค์ โดยทรงแสดงออกผ่าน
พระราชนิพนธ์ทรงแต่ง พระราชนิพนธ์ทรงแปล และพระบรมราโชวาทในวโรกาสต่าง ๆ ดังจะขอยกตัวอย่าง
พระราชนิพนธ์ทรงแปลอันโดดเด่นต่อไปนี้ ติโต พระราชนิพนธ์ทรงแปลเรื่องแรกจากหนังสือ Tito ของ
Phyllis Auty ในปี พ.ศ. 2519 เพื่อสื่อสะท้อนเรื่องความสามัคคี การมีผู้นำที่ดี มีความยุติธรรม ติโต คือผู้นำที่ฝ่ าฟั น
อุปสรรคในทุกวิถีทางเพื่อความเป็ นไทของประเทศ เขาทำให้ประเทศยูโกสลาเวียซึ่งมีประชากรหลากหลายชนเผ่า
แตกต่างกันทั้งเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ มารวมตัวกันเป็ นปึ กแผ่นยามประเทศเผชิญวิกฤติ
เพื่อร่วมกันรักษาความอุดมสมบูรณ์และความเจริญของประเทศไว้
ข้อสังเกตในการแปลเรื่องนี้คือ ทรงเลือกใช้ภาษาที่สามัญชนเข้าใจง่าย รวมทั้งการใช้โวหารเปรียบเทียบที่คมคาย
หนังสือ ติโต ได้จัดพิมพ์เป็ นเล่มและจำหน่ายในปี พ.ศ. 2537
ตุ ล า ค ม - ธั น ว า ค ม 2 5 6 6 V O L . 3 ห น้ า ที่ 2

นายอินทร์ผู้ปิ ดทองหลังพระ เป็ นพระราชนิพนธ์ทรงแปลเรื่องที่สองจากหนังสือชื่อ A Man Called Intrepid


ของ WIlliam Stevenson โดยทรงเริ่มแปลหน้าแรกเมื่อ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2520 และแปลหน้าสุดท้ายเมื่อ
23 มีนาคม พ.ศ. 2523 เป็ นเวลาทั้งสิ้น 2 ปี 9 เดือน 3 วัน แต่ได้นำมาจำหน่ายในปี พ.ศ. 2536 ก่อน ติโต ซึ่งทรง
แปลเป็ นเล่มแรก นายอินทร์ผู้ปิ ดทองหลังพระ ได้รับความนิยมและมียอดจำหน่ายกว่าสองล้านเล่ม เป็ นวรรณกรรม
ที่สะท้อนความกล้าหาญของกลุ่มบุคคลที่ยอมอุทิศชีวิตเพื่อความถูกต้อง ยุติธรรม เสรีภาพ และสันติภาพ โดยไม่
หวังลาภยศสรรเสริญใด ๆ เปรียบดังการปิ ดทองพระที่ต้องปิ ดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

งานพระราชนิพนธ์ที่แสดงถึงพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถด้านวรรณกรรมที่เป็ นที่รู้จักในวงกว้างคือ
พระมหาชนก ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษจาก มหาชนกชาดก ในพระไตรปิ ฎก ทรงตั้ง
พระราชหฤทัยให้เป็ นเครื่องเตือนใจผู้อ่าน ให้มีสิ่งยึดเหนี่ยวใจ เชื่อมั่นในความเพียรที่บริสุทธิ์ ปั ญญาที่เฉียบแหลม
กำลังกายที่สมบูรณ์ เพื่อฝ่ าฟั นอุปสรรค และก่อให้เกิดสัมมาทัศนะในการดำเนินชีวิตและนำพาประเทศให้พัฒนา
ยั่งยืน พระราชนิพนธ์ฉบับนี้ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2539 โดยมีภาพจากฝี พระหัตถ์ประกอบร่วมกับภาพวาด
จากศิลปิ นที่มีชื่อเสียงหลายท่าน
ตุ ล า ค ม - ธั น ว า ค ม 2 5 6 6 V O L . 3 ห น้ า ที่ 3

รายชื่อบทความที่ทรงแปลและเรียบเรียง

ข่าวจากวิทยุเพื่อสันติภาพและความก้าวหน้า จาก Radio Peace and Progress นิตยสาร Intelligence


Digest ฉบับลงวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518)
การคืบหน้าของมาร์กซิสต์ จาก The Marxist Advance
รายงานตามนโยบายคอมมูนิสต์ จาก Following the Communist Line
ฝั นร้ายไม่จำเป็ นจะต้องเป็ นจริง จาก No Need for Apocalypse นิตยสาร The Economist
ฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518)
รายงานจากลอนดอน จาก London Report นิตยสาร Intelligence Digest: Weekly Review
ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518)
ประเทษจีนอยู่ยง จาก Eternal China นิตยสาร Intelligence Digest: Weekly Review
ฉบับลงวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518)
ทัศนะน่าอัศจรรย์จากชิลิหลังสมัยอาล์เลนเด จาก Surprising Views from a Post-Allende Chile นิตยสาร
Intelligence Digest: Weekly Review ฉบับลงวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518)
เขาว่าอย่างนั้น เราก็ว่าอย่างนั้น จาก Sauce for the Gander... นิตยสาร Intelligence Digest: Weekly
Review ฉบับลงวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518)
จีน:ตั้วเฮียค้ายาเสพติดแห่งโลก จาก Red China: Drug Pushers of the World นิตยสาร
Intelligence:Weekly Review ฉบับลงวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518)
วีรบุรุษตามสมัยนิยม จาก Fashion in Heroes โดย George F. Will นิตยาสาร Newsweek
ฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1979 (พ.ศ. 2522)

พระอัจฉริยภาพด้านการแปลของพระองค์ประจักษ์ชัดเมื่อได้อ่านพระราชนิพนธ์ประเภทต่าง ๆ ที่ทรงแปล
ด้วยทรงใช้ภาษาและสำนวนที่เหมาะสมกับเรื่องที่ทรงแปล และยังทรงพิถีพิถันในการเลือกใช้ศัพท์ บ่อยครัั้งพบว่า
ทรงใช้ศัพท์ แปลก ๆ ในการแปลไทยเป็ นอังกฤษเพิ่มสีสันและสร้างความแตกต่างจากภาษาทั่ว ๆ ไป แต่ต้อง
สอดคล้องกับเนื้อหา นับเป็ นลีลาการใช้คำที่มีคุณสมบัติเฉพาะพระองค์เอง
พระราชนิพนธ์ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็ นพระราชนิพนธ์ทรงแต่ง หรือทรงแปล นอกจากจะแสดงให้เห็นถึง
พระปรีชาสามารถด้านวรรณกรรมแล้ว ยังแฝงแง่คิดทรงคุณค่าและมีประโยชน์สูงสุดแก่พสกนิกรชาวไทยตลอดมา

แหล่งข้อมูลและภาพ: komchadluek.net, praphansarn.com, thaipbs.or.net, royalthaioffice.th, naiin.com, foot345.wordpress,


thaivision.com, library.parliament.com, Business Analytics and Data Science; GSAS NIDA, คุณกัญดา ธรรมมงคล
เรียบเรียงและจัดทำโดย: WK
ตุ ล า ค ม - ธั น ว า ค ม 2 5 6 6 V O L . 3 ห น้ า ที่ 4

พบกับเราได้ที่บูท

K 27
เนื้อหาจดหมายข่าว CONTACT US

กษัตริย์นักแปล Line: @thaitiat


สารจากสาราณียกร FB :WWW.FACEBOOK.COM/THAITIAT
เทคโนโลยีการแปลในเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19
Email: thaitiat@gmail.com
งานแปลในกระบวนการยุติธรรม
ชี้ชวนก๊วนอ่าน
พื้นที่ทำงานวิถีฟรีแลนซ์
สัมภาษณ์อุปนายกฯ คนที่ 2
ตกลงล่ามคนสู้ “เอไอ” ได้ไหม

เรียบเรียงและจัดทำโดย: WK ข้อมูลภาพจาก เพจผู้จัดการออนไลน์


ตุ ล า ค ม - ธั น ว า ค ม 2 5 6 6 V O L . 3 ห น้ า ที่ 5

สารจากสาราณียกร

สวัสดีสมาชิกผู้มีเกียรติของ TIAT ทุกท่าน จดหมายข่าวฉบับนี้มีกำหนดออกสู่สายตาท่านในเดือนที่มีเหตุการณ์แห่ง


ความทรงจำสองเหตุการณ์สำคัญด้วยกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นได้ผ่านสายตาของทุกท่านที่อ่านจดหมายข่าวฉบับนี้อยู่
ไปแล้ว ส่วนอีกเหตุการณ์สำคัญคือ การแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 19 ณ เมืองหางโจว ประเทศจีน ที่เพิ่งจบลงไป
ปี นี้จีนแสดงศักยภาพทางเทคโนโลยีปั ญญาประดิษฐ์ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ทาง Alibaba Cloud ได้นำเทคโนโลยีการแปล
ภาษาซึ่งแปลได้ทั้งหมด 14 ภาษา และล่าม AI ภาษามือมาอำนวยความสะดวกและแก้ปั ญหาการสื่อสารข้ามชาติ
ข้ามวัฒนธรรม รวมไปถึงช่วยให้ผู้ด้อยโอกาสทางการได้ยินเข้าถึงทุกข้อมูลตลอดงานด้วยตัวเอง
ฉบับที่แล้วในส่วนของคอลัมน์ งานแปลในกระบวนการยุติธรรม ยังไม่จบดี เนื่องจากเนื้อหาสาระแน่นเหลือเกิน
เราจึงต้องยกมาจบสมบูรณ์ในฉบับนี้ รับรองค่ะว่าอ่านแล้วไม่รู้สึกขาดตอนจากภาคที่แล้ว
ในส่วนของคอลัมน์ ชี้ชวนก๊วนอ่าน เราได้รับเกียรติจากหนึ่งในนักแปลผู้ผ่านการคัดเลือกให้ร่วมโครงการค่าย
นักแปลวรรณกรรมเด็ก ซึ่งเป็ นโครงการร่วมระหว่าง MLF & TIAT (อ่านได้ในจดหมายข่าวฉบับที่หนึ่ง)
มาแบ่งปั นเรื่องที่เธอเลือกแปลให้พวกเราได้อ่านกัน
สำหรับฟรีแลนซ์ที่ไม่ชอบนั่งทำงานที่บ้าน (ผู้เขียนก็เป็ นหนึ่งในกลุ่มนี้ เนื่องจากสถานะจริงเมื่ออยู่บ้านคือ ทาสแมว
และแจ๋วประจำบ้าน.. เขียนเองขำเอง) ฉบับนี้เราพาท่านออกนอกกรุงเทพฯ หนีความจอแจและฝุ่ นควันไปรับโอโซน
แต่ไม่ไกลเกินสำหรับเช้าไปเย็นกลับ
คอลัมน์ทำความรู้จักกรรมการสมาคมฯ ของเราฉบับนี้ยังคงเป็ นตำแหน่งอุปนายกฯ แต่เป็ นอุปนายกฯลำดับที่สอง
ซึ่งเธอมีผลงานแปลออกสู่สายตาผู้อ่านมาพอสมควร ใครที่เคยอ่านงานเธอแต่ไม่เคยได้รู้จักตัวตนก็จะได้รู้จักกัน
ผ่านบทสัมภาษณ์ด้านในฉบับนี้ล่ะค่ะ
มาเรื่องประเด็นเทคโนโลยีปั ญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ยังคงอยู่ในกระแสไม่มีแผ่วกันต่อ โดยเฉพาะความกังวลในหมู่
วิชาชีพแปลและล่าม ว่าจะมาแทนที่มนุษย์ได้จริงไหม ฉบับนี้เราได้ล่ามเทพท่านหนึ่ง (เธอให้เราเรียกเธอว่า
ปลากระป๋ อง) มาถอดความและสรุปวิเคราะห์จากคลิปทดสอบล่าม(มนุษย์)มืออาชีพระดับโลกทำการล่ามประชันกับ
ล่ามปั ญญาประดิษฐ์ (AI Interpreter) มาให้อ่านกัน หากท่านใดประสงค์จะเปิ ดฟั งคลิปดวลล่ามเพื่อการเข้าถึง
อรรถรส (สนุกจริงค่ะยืนยัน) สามารถคัดลอกลิ้งค์ที่ลงไว้ในบทความเพื่อไปเปิ ดชมได้ค่ะ
และอย่าลืมมาเยี่ยมเยียนกันที่บูท K27 ในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 28 กันนะคะ
สุดท้ายนี้หวังว่าจดหมายข่าวฉบับนี้จะยังคงเป็ นที่ต้องใจของทุกท่านเช่นที่ผ่านมา (อนุมานเข้าข้างตนเองเป็ นนิจเพื่อ
สร้างกำลังใจในการทำงานค่ะ) หากท่านมีข้อติติงหรือแนะนำใด ๆ ทีมงานสาราณียกรพร้อมน้อมรับ โดยท่าน
สามารถติดต่อผ่านอีเมลที่ลงไว้ด้านล่าง แล้วพบกันใหม่ปี 2567 ค่ะ

ด้วยความนับถือ
วิชรา เกษมทรัพย์
wicharak@gmail.com
ตุ ล า ค ม - ธั น ว า ค ม 2 5 6 6 V O L . 3 ห น้ า ที่ 6

เทคโนโลยีการแปลในเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 19
โดย WK
เบื้องหลังการจัดงานเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 19 คือหลากหลายเทคโนโลยีและปั ญญาประดิษฐ์จาก Alibaba Cloud
สองในนั้นคือแอพปลิเคชัน DingTalk for Asian Games และ “เสี่ยวโม่” อวตาร์ปั ญญาประดิษฐ์ที่ทำหน้าที่
ล่ามภาษามือ

DingTalk for Asian Games เป็ นดิจิทัลโซลูชันคลาวด์-เนทีฟที่ทำงานและบริหารจัดการบนคลาวด์ที่เสถียร ปรับ


ขนาดได้ และปลอดภัย เป็ นเครื่องมือทำงานร่วมกันแบบ one-stop ที่เชื่อมโยงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดในทุกขั้น
ตอนของการจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์หางโจว ไม่ว่าจะเป็ นนักกีฬา ผู้จัดงาน ซัพพลายเออร์ ไปจนถึงอาสาสมัคร
และผู้ดำเนินงานที่ประจำอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ ครอบคลุมทุกรูปแบบการทำงาน
DingTalk for Asian Games ใช้ความสามารถของบริการ Alibaba Cloud Machine Translation ที่ใช้เทคโนโลยี
deep learning และการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing: NLP) ที่มีประสิทธิภาพ
ระดับแนวหน้าจึงแปลภาษาแบบเรียลไทม์ได้อย่างอัจฉริยะถึง 14 ภาษา รวมถึงภาษาจีน อังกฤษ ญี่ปุ่ น และไทย นับ
เป็ นการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างพนักงานและผู้เข้าร่วมงานจากนานาประเทศ
DingTalk for Asian Games ได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานกับสมาร์ทโฟน เชื่อมต่อภาพและเสียงระหว่างผู้ใช้
และศูนย์ปฏิบัติการหลักของการแข่งขัน (main operation center: MOC) ได้ทันที จะช่วยให้ MOC ติดต่อกับ
พนักงานและสถานที่จัดงานทั้งหมด เพื่อทำการตัดสินใจและแก้ไขปั ญหาต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
Ding Talk for Asian Games ยังสามารถถอดข้อความ (Transcription) 9 ภาษาพูดได้แบบเรียลไทม์
ทำให้การสื่อสารระหว่างบุคคลทำได้รวดเร็วและทันการณ์

ที่มาภาพและข้อมูลบางส่วน: www.secnia.go.th www.techtalk.com กรุงเทพธุรกิจ ประชาชาติธุรกิจ


ตุ ล า ค ม - ธั น ว า ค ม 2 5 6 6 V O L . 3 ห น้ า ที่ 7

จากข้อมูลของ WHO เผยว่ามีประชากรกว่า 1.5 พันล้านคน (ราว 20% ของทั้งโลก) มีภาวะสูญเสียการได้ยิน


ด้วยเหตุนี้ในเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ Alibaba Cloud จึงมีโซลูชันที่ช่วยเหลือและสนับสนุนให้ผู้มีภาวะสูญเสียการได้ยิน
ได้มีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมอย่างไร้รอยต่อ
Xiaomo หรือ เสี่ยวโม่ เป็ น Digital Avatar ที่ทำหน้าที่ล่ามภาษามือเสมือน หรือ Vitual Sign Language Assistant
ซึ่งสามารถแปลภาษามือเป็ นเสียง และแปลงเสียงเป็ นภาษามือได้ เบื้องหลัง Xiaomo คือ โมเดล Transformer
ที่ได้ฝี กฝนกับข้อความภาษามือที่เป็ นวีดิโอราว 25,000 ข้อมูล จากผู้เชี่ยวชาญภาษามือและอาสาสมัครที่มีภาวะ
สูญเสียการได้ยินในเมือง Zhejiang ที่ช่วยกันสร้างข้อมูลเหล่านี้ขึ้นมาถึง 2 ปี
เนื่องจากข้อมูลภาษามือที่ใช้ฝึ กได้นั้นมีน้อยมาก หลังจากสร้าง เสี่ยวโม่ ได้สำเร็จ Digital Avatar ตัวนี้ได้ช่วยเหลือ
ผู้ที่เข้าร่วมงานทุกคนได้อย่างเป็ นที่น่าพอใจ เช่น การถามทาง การซื้อของ หรือแม้กระทั่งการพูดคุยกับแพทย์ และ
โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะสูญเสียการได้ยิน เสี่ยวโม่ทำให้พวกเขาเข้าถึงเกมส์การแข่งขันได้สนุกมากยิ่งขึ้น
Alibaba Cloud ได้พัฒนาโครงข่ายประสาทเทียม และโมดูลสร้างความเคลื่อนไหวของริมฝี ปากซึ่งช่วยให้เสี่ยวโม่
แสดงท่าทางออกมาได้แม่นยำ

ทั้งหมดนี้คือเทคโนโลยีที่ใช้สื่อสารภาษาและการแปลภาษาที่ก้าวหน้าของ Alibaba Cloud ที่สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุน


เอเชียนเกมส์ในประเทศจีน ซึ่งถือได้ว่าเป็ นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่น่าทึ่ง มารอดูกันว่า เอเชียนเกมส์ในครั้ง
ต่อไปซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่ น เจ้าภาพจะมีเทคโนโลยีทางการสื่อภาษาและแปลภาษาแบบไหนมาให้เราชมกัน

ที่มาภาพและข้อมูลบางส่วน: www.secnia.go.th www.techtalk.com กรุงเทพธุรกิจ ประชาชาติธุรกิจ Alibab Cloud Blog


ตุ ล า ค ม - ธั น ว า ค ม 2 5 6 6 V O L . 3 ห น้ า ที่ 8

งานแปลในกระบวนการยุติธรรม
ภาคจบ

“ทำอย่างไรจึงจะเป็ นนักแปลขึ้นทะเบียนของสำนักงานศาลยุติธรรม”
โดยนายนพสิทธิ์ มีสินปนิตานนท์ ผู้เชี่ยวชาญสำนักงานศาลยุติธรรม สาขาการแปลเอกสารภาษาไทย
เป็ นภาษาอังกฤษและจากภาษาอังกฤษเป็ นภาษาไทย หมายเลขทะเบียน 24/2564

หัวข้อที่ 1. ผู้เชี่ยวชาญด้านการแปลล่ามของศาลยุติธรรมคือใคร
สำนักงานศาลยุติธรรม กระทรวงยุติธรรมนั้น ได้มีการเปิ ดรับผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาวิชาไว้เพื่อเปิ ดโอกาสให้
สหวิชาชีพเหล่านั้นได้ใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางให้เป็ นประโยชน์ต่อกิจการงานด้านการพิจารณาอรรถ
คดีศาลและงานยุติธรรมของประเทศไทย โดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้ขึ้นทะเบียนกับศาลนั้นก็จะมีอาทิ ผู้เชี่ยวชาญการ
ตรวจสอบลายนิ้วมือ การปลอมลายมือชื่อ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิควิศวกรรมยานยนต์ และอื่น ๆ อีกมากมาย
ท่านที่สนใจในรายละเอียดเกี่ยวกับสาขาสหวิชาชีพทั้งหลายที่ศาลรับขึ้นทะเบียนเป็ นผู้เชี่ยวชาญนั้น สามารถเข้าดู
ข้อมูลในเพจของสำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม (Office of Judiciary and Legal Affairs)ได้
https://jla.coj.go.th/th/content/category/articles/id/8/cid/1597
สาขาวิชาชีพนักแปลและล่ามก็เป็ นอีกสาขาหนึ่งที่ศาลได้เปิ ดรับขึ้นทะเบียนบุคคลทั่วไปที่มีความรู้ความสามารถ
ทางภาษาศาสตร์ด้านการแปลเอกสารกฎหมาย และเอกสารประกอบกระบวนการพิจารณาคดี เอกสารสำคัญใน
ทางกฎหมายทั้งหลาย รวมถึงผู้มีความสามารถด้านการล่ามไว้ช่วยเหลืองานราชการศาล ในการดำเนินกระบวน
พิจารณาคดีที่โจทก์หรือจำเลยหรือพยานจำเป็ นต้องมีล่ามไว้คอยแปลข้อความเพื่อให้เกิดความเข้าใจและขจัด
ปั ญหาด้านอุปสรรคทางภาษาให้กับคู่ความทุกฝ่ ายที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งในปั จจุบันในส่วนงานล่ามนั้น เข้าใจว่าทางสำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรมได้มอบหมายให้
ส่วนล่ามและการแปล สำนักการต่างประเทศ สำนักงานศาลยุติธรรมเป็ นผู้ดูแลจัดหาล่ามแทน (Interpreter and
Translation Section, office of International Affairs, Office of the Judiciary: OIA)
https://www.facebook.com/oiaintrans
ซึ่งในส่วนนี้ ทางศาลมุ่งเน้นอบรมและรับขึ้นทะเบียนล่ามสำหรับปฏิบัติหน้าที่ในการพิจารณาคดีอาญา และคดี
สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ เช่นคดีค้ามนุษย์ ยาเสพติด คดีเกี่ยวกับองค์กร
อาชญากรรมข้ามชาติ การส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน การขึ้นทะเบียนล่ามประเภทนี้อาศัยความในประมวลวิธีพิจารณา
ความอาญามาตรา 13 ซึ่งแตกต่างจากล่ามที่ขึ้นทะเบียนโดยสำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรมสมัยก่อนหน้า
ซึ่งเข้าใจว่าเป็ นผู้เชี่ยวชาญด้านการล่าม (พยานที่จะมาเบิกความยืนยันชี้ขาดในกรณีที่มีล่ามซึ่งคู่ความจ้างมาแปล
ความคลุมเครือ คลาดเคลื่อนไปจากที่ควรจะเป็ นหรือไม่ จึงต้องให้ล่ามผู้เชี่ยวชาญเบิกความสนับสนุนชี้ชัด) นั้นมี
บทบาทหน้าที่ในทางกฎหมายตามความในมาตรา 46 ของประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง การขึ้นทะเบียนเป็ นผู้
เชี่ยวชาญด้านการแปลของสำนักงานศาลยุติธรรมนั้นใช้เวลาและใช้ผลงานแปลที่ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็ นผู้แปลด้วย
ตนเอง โดยกำหนดว่าให้แปลงานภาษาไทยเป็ นอังกฤษ และอังกฤษเป็ นไทยตามจำนวนที่ทางเจ้าหน้าที่กำหนด (ในปี
2554 ที่ผู้เขียนขอขึ้นทะเบียนใช้ทั้งหมด 7 ชิ้น: ไทยเป็ นอังกฤษ 4 อังกฤษเป็ นไทย 3 แยกทำเป็ น 7 ชุด รวม 64 ชุด
ผลงาน)

IMAGE BY <A HREF="HTTPS://WWW.FREEPIK.COM/FREE-PHOTO/STILL-LIFE-WITH-SCALES-JUSTICE_33123987.HTM#QUERY=JUSTICE%20SCALE&POSITION=0&FROM_VIEW=KEYWORD&TRACK=AIS">FREEPIK</A>


ตุ ล า ค ม - ธั น ว า ค ม 2 5 6 6 V O L . 3 ห น้ า ที่ 9

งานแปลที่ขอขึ้นทะเบียนจะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของเอกสาร โดยทำเป็ นหนังสือ และในการยื่นคำร้อง


พร้อมด้วยผลงานแปลต่อสำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรมนั้นผู้ขอขึ้นทะเบียนจะต้องระบุรายชื่อของ
ทนายความที่เคยใช้บริการงานแปลหรือผู้ซึ่งให้ความยินยอมให้ใช้ผลงานเพื่อขอขึ้นทะเบียนไปด้วย 4 ราย เพื่อที่
สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรมในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในการรับขึ้นทะเบียนจะได้ส่งหนังสือลับไปยัง
บุคคลดังกล่าวนี้ และทั้ง 4 รายจะต้องตอบหนังสือลับกลับไปยังหน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียน หลังจากนั้น ทางหน่วย
งานจะประกาศชื่อผู้ขอขึ้นทะเบียนไว้ในเว็บไซต์ของหน่วยงานเพื่อเปิ ดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป หรือบุคคลผู้เคยหรือ
มีส่วนได้เสียยื่นคัดค้านต่อการขึ้นทะเบียนไว้เป็ นเวลา 90 วัน

อย่างไรก็ดี หากแม้หนึ่งในบุคคลทั้ง 4 รายที่หน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียนส่งหนังสือลับไปไม่ตอบหนังสือลับ คำขอขึ้น


ทะเบียนก็ให้ตกไป หรือหากแม้ในช่วงกำหนดประกาศคำขอขึ้นทะเบียนไว้ 90 วันนี้ มีผู้คัดค้านว่าด้วยคุณสมบัติ
ความประพฤติ หรืออื่นใดก็ดี ให้ถือว่าคำขอขึ้นทะเบียนตกไปดุจกันด้วย
เมื่อครบ 90 วัน ไม่มีผู้ใดคัดค้าน ทางสำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรมก็จะประกาศให้ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็ นผู้
เชี่ยวชาญสำนักงานศาลยุติธรรม โดยเพิ่มชื่อลงในทะเบียนผู้เชี่ยวชาญสำนักงานศาลยุติธรรมให้ประชาชนบุคคล
ทั่วไปได้เปิ ดตรวจสอบหาข้อมูลได้เป็ นการสาธารณะ

หัวข้อที่ 2. หน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญสำนักงานศาลยุติธรรมเมื่อได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว
ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยสำนักกฎหมายและวิชาการซึ่งตั้งอยู่ที่ชั้น 5 อาคารศาลอาญา ถนน
รัชดาภิเษกนั้น เป็ นผู้ที่ผ่านการคัดเลือกของผู้ทรงคุณวุฒิในด้านนั้น ๆ ของศาลที่ขึ้นทะเบียนมาก่อนหน้าแล้ว
ดังนั้น ในการเบิกความเพื่อสนับสนุน หรือชี้ขาดในประเด็นที่ถกเถียงจึงทำให้ศาลมีข้อมูลอันเป็ นประโยชน์ยิ่งในการ
พิจารณาพิพากษาคดี
หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้เชี่ยวชาญสำนักงานศาลยุติธรรมนั้นก็มีบัญญัติไว้ในประมวลจริยธรรม
ผู้เชี่ยวชาญสำนักงานศาลยุติธรรมเช่นเดียวกับวิชาชีพกฎหมาย ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ หรือแม้แต่
ใบประกอบโรคศิลป์ ของวิชาชีพแพทย์เช่นกัน ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญจึงต้องใช้ความเชี่ยวชาญไปเพื่อประโยชน์
สาธารณะตรงตามเจตนาที่ตนได้รับการขึ้นทะเบียน อย่างไรก็ดี ผู้แปลเอกสารที่ได้รับขึ้นทะเบียนจะมีความ
เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยส่วนมากเป็ นด้านกฎหมาย ดังนั้น เมื่อศาลเห็นเอกสารหลักฐานที่แปลและ/หรือจัดทำโดยมี
ผู้เชี่ยวชาญของศาลลงลายมือชื่อรับรอง ก็มีผลต่อความน่าเชื่อถือและน้ำหนักพยาน เมื่อได้รับความเชื่อมั่น
ผู้เชี่ยวชาญจึงต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัดและถือหลักของความถูกต้องชัดเจนและตรงไปตรงมาตามเอกสาร
เป็ นหลักสำคัญ
อีกหน้าที่คือการถูกหมายเรียกขึ้นเบิกความในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการแปลเพราะด้วยมีข้อพิพาทเรื่องความถูก
ต้องเหมาะสมของคำแปลอันส่งผลอันเป็ นสาระสำคัญต่อรูปคดี
ในประเด็นนี้ขอเน้นย้ำว่าทุกถ้อยคำที่แปลไป หากไม่เข้าใจจะต้องสืบค้น จะต้องสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญด้านนั้น ๆ
เช่น มีคดีหนึ่ง ข้าพเจ้าแปลเกี่ยวกับเรือที่ถูกโจรกรรม เอกสารเทคนิคเกี่ยวกับเรือ
มีความยากและซับซ้อน ข้าพเจ้าจึงจำต้องสืบหาขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นมาให้ความกระจ่าง
และใช้วิธีใส่คำเฉพาะนั้นไว้ในวงเล็บ การทำงานที่ข้าพเจ้ายึดมั่นมาเสมอก็คือ อำนวยความยุติธรรมในทางภาษา
สิ่งที่แปลจึงเน้นให้ถูกต้องตรงตามเจตนา ไม่ละเลยแม้แต่รายละเอียดเล็ก ๆ สิ่งที่จะแนะนำก็คือ การแปลเอกสาร
ที่มีเดิมพันทางคดีหรือมีทุนทรัพย์ที่ฟ้ องสูง ๆ จะต้องยิ่งให้ความสำคัญอีกหลายระดับ ไม่ว่าจะเรื่องการสะกดคำ
การปรับตัวเลขปี ค.ศ. กับ พ.ศ. การแปลเรื่องเฉพาะ การแปลคำสบถ คำหยาบ ฯลฯ
แต่ถ้าหากเป็ นการล่ามในคดีที่มีความซับซ้อนของคำศัพท์ เช่นคดีก่อสร้าง คดีทางการเงิน หรือคดีเกี่ยวกับการ
รักษาทางการแพทย์ ในวงการวิชาชีพ จะมีคำศัพท์เฉพาะ แนะนำให้แถลงต่อศาลก่อนที่จะทำหน้าที่ว่า สิ่งที่
เชี่ยวชาญคือคำกฎหมาย แต่หากการเบิกความในระหว่างพิจารณามีคำอื่นที่ใช้กันเป็ นการภายใน
หรือคำไหนที่ไม่ชัด จะต้องขออนุญาตถามคู่ความเพื่อให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงกัน วิธีนี้ทำให้ข้าพเจ้า
ตุ ล า ค ม - ธั น ว า ค ม 2 5 6 6 V O L . 3 ห น้ า ที่ 1 0

ทำงานได้โดยไม่กดดันมากเพราะเราไม่ได้รู้ทุกคำและเราไม่ได้เชี่ยวชาญในทุกเรื่อง การทำงานอย่างมืออาชีพเราจึง
จำต้องรับฟั ง สอบถามจากมืออาชีพอื่น ๆ ร่วมด้วยจึงจะทำให้ผลงานออกมาได้เป็ นที่พอใจแก่ทุกฝ่ ายและได้อำนวย
การยุติธรรมอันเป็ นเป้ าหมายสูงสุดในการทำงานทุกครั้งอย่างเต็มประสิทธิภาพ

3.4 ตัวอย่างหนังสือรับรองคำแปลของนักแปลที่ใช้ยื่นหน่วยราชการ
ผมขอขอบคุณทนายสาธิต มณี ผู้ร่างหนังสือรับรองคำแปลฉบับข้างล่างนี้ขึ้น โดยผมนำมาเพิ่มเติมในส่วนข้อมูล
ส่วนบุคคล เช่น คุณวุฒิการศึกษา

หนังสือรับรองคำแปลของผู้แปล

เรียน ทุกท่านที่เกี่ยวข้อง

ข้าพเจ้า นาย AAAAAA เป็ นนักแปลวิชาชีพผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ 20 ปี ด้านการแปลเอกสาร


กฎหมาย เอกสารราชการ เอกสารธุรกิจ เอกสารบริษัท เอกสารทั่วไป จากต้นฉบับภาษาอังกฤษเป็ นภาษาไทยและ
จากต้นฉบับภาษาไทยเป็ นภาษาอังกฤษ
ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้าพเจ้าเป็ น นิติศาสตร์บัณฑิต (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการ
ระหว่างประเทศและการทูต) (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต
(สาขาการแปลภาษาอังกฤษและไทย) (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) (ตามสำเนาใบรับรองคุณวุฒิแนบ)
ในการนี้ ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้าพเจ้าเป็ นผู้แปลเอกสารCONFIDENTIALITY AGREEMENT ระหว่าง AAAAAA กับ
BBBBBBB จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ เป็ นคำแปลภาษาไทย
ข้าพเจ้าขอรับรองว่าคำแปลเอกสาร CONFIDENTIALITY AGREEMENT ระหว่าง AAAAAA กับ BBBBBBB และ
ข้อความข้างต้นนี้ถูกต้องครบถ้วนและเป็ นความจริงทุกประการ
ลงวันที่ _________ พ.ศ. 2566 ลายมือชื่อผู้แปลเอกสาร.........................................................

(นาย AAAAAA)
บัตรประจำตัวประชาชนเลขที่ 1111111111

หมายเหตุ: หนังสือรับรองข้างต้นเคยยื่นต่อหน่วยราชการแล้วและเป็ นที่ยอบรับของหน่วยราชการ

4. การเป็ น CERTIFIED TRANSLATOR คืออะไร? ไทยมีองค์กรที่รับรองคุณวุ ฒิวิชาชีพนักแปลหรือไม่?


(ผู้เขียน: นายธีรวัฒน์ วงศ์วานิช)
ในประเทศไทยไม่มีสภานักแปล ไม่เหมือนทนายความที่มีสภาทนายความ แพทย์มีแพทยสภา ดังนั้น จึงไม่มีการออก
ใบอนุญาตการแปล ผู้แปลจึงมีสิทธิที่จะรับรองคำแปลว่าเป็ นคำแปลที่ถูกต้องเพื่อนำไปยื่นต่อศาลยุติธรรม หรือ
หน่วยงานต่าง ๆ

องค์กรที่รับรองคุณวุ ฒิวิชาชีพนักแปล
ในประเทศไทยมีองค์กรที่จัดสอบวัดระดับวิชาชีพต่าง ๆ แต่องค์กรดังกล่าวก็ยังไม่ใช่องค์กรที่ออกใบอนุญาตแก่นัก
แปลในประเทศไทยแต่อย่างใด ผู้สนใจรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบวัดระดับผู้มีวิชาชีพ
ตุ ล า ค ม - ธั น ว า ค ม 2 5 6 6 V O L . 3 ห น้ า ที่ 1 1

ประเภทต่าง ๆ โปรดดูลิงก์ต่อไปนี้ HTTPS://WWW.FACEBOOK.COM/WATCH/LIVE/?


REF=WATCH_PERMALINK&V=1311521782589838
ผมขอขอบคุณอย่างยิ่งสำหรับข้อมูลลิงก์ข้างต้นที่ได้รับอนุเคราะห์จากคุณ พรธีรา ศรีพัฒนธาดากุล
สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย

- การจัดทำคำแปลที่ผู้แปลไม่ต้องรับรองคำแปล
เป็ นเอกสารที่ใช้ในบริษัทหรือองค์กร หน่วยงานของตน เป็ นการภายใน มักไม่ต้องลงนามรับรองคำแปล
บริษัทจ้างนักแปลจัดทำข้อบังคับการทำงานของตนหรือประกาศที่ใช้ในบริษัท เป็ นต้น
5. ผมได้รับความอนุเคราะห์จากท่านเจริญชัย อัศวพิริยอนันต์ รองเลขานุการศาลฎีกา ผู้บรรยายกฎหมายแห่งเนติ
บัณฑิตยสภา ที่ให้ความเห็นข้อมูลเกี่ยวกับความรับผิดทางกฎหมายของนักแปลและล่ามในศาล
จึงขอนำข้อเขียนของผู้พิพาษามาเผยแพร่ดังต่อไปนี้

ความสำคัญของล่ามหรือผู้แปลในคดีอาญา ความรับผิดทางกฎหมายของนักแปลหรือล่ามตามประมวลกฎหมาย
อาญา
ความสำคัญของล่ามหรือผู้แปลในคดีอาญา
ผู้ที่เป็ นล่ามแปลไม่ว่าจะเป็ นภาษาต่างประเทศเป็ นภาษาไทยหรือภาษาไทยเป็ นภาษาต่างประเทศและมีหน้าที่ต้องเป็ น
ล่ามในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีไม่ว่าจะเป็ นในชั้นศาล หรือในชั้นพนักงานสอบสวน หากแปลข้อความผิดไป
ในข้อสาระสำคัญ อาจต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 178 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดซึ่งเป็ นเจ้าพนักงานใน
ตำแหน่งตุลาการ พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี หรือพนักงานสอบสวนให้แปลข้อความหรือความหมายใด แปลข้อความ
หรือความหมายนั้นให้ผิดไปในข้อสำคัญ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้ง
ปรับ”
ในการแปลข้อความของล่ามไม่ว่าในชั้นศาลหรือในชั้นพนักงานสอบสวนนั้น ล่ามหรือผู้แปลมีหน้าที่ต้องแปลให้ได้
ความครบถ้วนและถูกต้องตามหลักของเจ้าของภาษานั้น ๆ และการแปลดังกล่าวก็มิได้ถูกจำกัดว่าต้องเป็ นการ
แปลคำพูดเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการแปลเอกสารด้วย เพราะหากพิจารณาคำว่า “ข้อความ” ในมาตรา 178 ดัง
กล่าวจะเห็นได้ว่ากฎหมายมิได้จำกัดลักษณะเฉพาะของการแปลไว้ นอกจากนี้การแปลดังกล่าวก็หาใช่ว่าจะต้อง
แปลทุกตัวอักษรหรือคำพูดครบถ้วนถูกต้องไปเสียทุกคำทั้งหมด เพราะโดยธรรมชาติไม่มีทางที่การแปลจะกระทำ
เช่นนั้นได้โดยเฉพาะแปลคำพูดซึ่งต้องกระทำในขณะนั้น ดังนั้น การแปลที่จะต้องรับผิดในทางอาญากฎหมายจึง
กำหนดว่าต้องเป็ นการแปลโดยมีเจตนาให้ผิดไปในข้อสำคัญ กล่าวคือ
(1) ผู้แปลมีเจตนาแปลให้ผิด และ
(2) ข้อที่ผิดนั้นเป็ นข้อสำคัญ ซึ่งอธิบายได้ว่า ถึงแม้จะมีเจตนาแปลให้ผิดก็ตามแต่ข้อความที่แปลมิได้เป็ นข้อสำคัญ
ผู้แปลก็ยังไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 178 นี้
สำหรับเจตนาแปลให้ผิดนั้น ผู้แปลต้องรู้ว่าคำแปลของตนผิดไปจากภาษาที่ตนแปลตามหลักวิชาการแล้วตนยัง
แปลให้ผิดทั้งที่รู้ข้อความจริงดังกล่าว แต่ถ้าแปลผิดไปเพราะความรู้ทางภาษาไม่ดีพอ ก็อาจถือว่าไม่มีเจตนาแปล
ให้ผิดไปจากความจริงก็ได้
ส่วนข้อสำคัญตามมาตรานี้หมายถึงข้อสำคัญอันเป็ นข้อแพ้ชนะกันในคดี ดังนั้น หากข้อความที่แปลมิได้เป็ นข้อที่มี
ผลต่อการแพ้ชนะในคดีแล้ว ผู้แปลถึงแม้มีเจตนาจะแปลให้ผิดก็ไม่ผิดตามมาตรานี้ เช่น พยานเบิกความว่า IT WAS
CLEARLY THE DEFENDANT STABBED THE VICTIM. แต่ล่ามแปลว่า IT WAS LIKELY THE DEFENDANT
STABBED THE VICTIM. ซึ่งคำว่า CLEARLY กับ LIKELY อาจมีผลให้
ผู้พิพากษายังไม่อาจปั กใจเชื่อว่าเป็ นจำเลยที่เป็ นคนร้ายแทงเหยื่อผู้นั้น
อาจกล่าวได้ว่าผู้ที่ล่ามหรือผู้แปลที่มีหน้าที่ต้องไปแปลข้อความของพยานหรือเอกสารที่มีการนำสืบในชั้นศาลก็ดี
หรือในชั้นพนักงานสอบสวนก็ดี มีความจำเป็ นต้องระมัดระวังในการแปลของตนเพราะมีผลต่อ
ตุ ล า ค ม - ธั น ว า ค ม 2 5 6 6 V O L . 3 ห น้ า ที่ 1 2

กระบวนการยุติธรรมซึ่งกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของคู่ความในคดีได้ ความสำคัญของล่ามหรือผู้แปลที่ต้องเข้าไป
เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมดังกล่าวจึงสมควรได้รับการพิจารณามิได้ยิ่งหย่อนไปกว่า
บุคคลากรอื่นในหน่วยงานยุติธรรม

บ ท ส รุ ป

จากข้อเขียนทั้ง 4 ตอนข้างต้น ผมขอตอบคำถามอันเป็ นที่มาของบทความนี้ ดังนี้

1. เอกสารราชการหรือเอกสารอะไรบ้างที่ต้องการแปล และสำหรับยื่นให้หน่วยงานใด?
เอกสารที่จะต้องแปลนั้น ผมเห็นว่าได้แก่เอกสารที่ใช้ในศาล เช่น เอกสารภาษาอังกฤษที่ต้องแปลเป็ นภาษา
ไทยเพื่อยื่นต่อศาลเพื่อใช้นำสืบประกอบการต่อสู้คดีในศาล เป็ นต้น หรือเอกสารที่ต้องนำไปใช้ในต่าง
ประเทศ เช่น เอกสารที่ต้องยื่นเพื่อขอวีซ่าเดินทางไปต่างประเทศ เป็ นต้น
ส่วนคำแปลต้องนำไปยื่นหน่วยงานใดก็ขึ้นอยู่กับว่าคำแปลดังกล่าวต้องนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด
ตัวอย่างหน่วยงานที่เจ้าของคำแปลนำคำแปลไปยื่น เช่น ศาลยุติธรรม กระทรวงต่าง ๆ สถานทูต เป็ นต้น

2. เอกสารใดบ้าง/หน่วยงานใดบ้างที่ต้องการการรับรองการแปล (การรับรองการแปลคืออะไร ตราประทับ


รับรองคืออะไร หน้าตาเป็ นอย่างไร)?
ประเภทเอกสารที่ต้องรับรองคำแปล ได้แสดงตัวอย่างไว้แล้วในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น หากยื่นต่อ
ศาล เอกสารที่รับรองคำแปลได้แก่ เอกสารภาษาต่างประเทศที่นำมาใช้ในคดี (เช่น หนังสือมอบอำนาจ
เป็ นต้น) ข้อกำหนดที่ต้องมีการแปลเอกสารต่างประเทศให้เป็ นภาษาไทยเป็ นไปตามความในมาตรา 46 ของ
ประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง ตามที่อ้างอิงไว้แล้วข้างต้น
สำหรับตราประทับนั้น หากผู้รับรองคำแปลเป็ นนิติบุคคล ก็จะใช้ตราประทับของบริษัทในการประทับตรา
รับรองคำแปล หากเป็ นบุคคลธรรมดาผู้แปลก็อาจไม่ใช้ตราประทับหรือบางรายก็ทำตรายางของตนเองใน
การประทับรับรองคำแปล ดังนั้น ตราประทับของแต่ละบุคคลจึงมีรูปแบบแตกต่างกันไป

3. คุณสมบัติของผู้รับรองการแปล (คุณสมบัติ เอกสารรับรองนักแปล ประวัติการอบรม


ประวัติการสอบ)
ผู้แปลในประเทศไทยใม่มีกฎหมายระบุคุณสมบัติเอาไว้ เพียงแต่ผู้แปลแต่ละคนจะเป็ นที่เชื่อถือของผู้จ้าง
แปลมักจะต้องมีหลักฐานคำแปลที่ลูกค้าผู้จ้างแปลพึงพอใจ มีคุณวุฒิการศึกษาที่ผู้จ้างเชื่อถือ เป็ นต้น
บางครั้งลูกค้าขอให้ส่งประวัติส่วนตัว (RESUME) ไปให้พิจารณาก่อนว่าจ้างก็มี หากนักแปลผู้นั้นผ่านงาน
แปลในองค์กรที่น่าเชื่อถือ เคยรับการอบรมหลักสูตรการแปลจากสถาบันที่น่าเชื่อถือ ลูกค้ามักจะให้เครดิต
เชื่อถือนักแปลรายนั้น

4. การเป็ น CERTIFIED TRANSLATOR คืออะไร? ในไทยมีองค์กรที่รับรองคุณวุ ฒิวิชาชีพนักแปล


หรือไม่?
ตามที่ได้ให้ข้อมูลในหัวข้อที่เกี่ยวข้องข้างต้น ขอสรุปว่าในประเทศไทยยังไม่มีองค์กรหรือสภานักแปลซึ่งมี
อำนาจในการออกใบอนุญาตให้แก่นักแปลตามกฎหมายครับ มีคนจำนวนมากที่เข้าใจผิดในเรื่องนี้ว่าผู้รับ
รองคำแปลต้องมีใบอนุญาตการแปลสำหรับองค์กรมหาชนซึ่งจัดการสอบเพื่อวัดระดับความรู้ของผู้มี
วิชาชีพต่าง ๆ รวมถึงอาชีพนักแปล ก็ไม่ใช่องค์กรในความหมายที่ชี้แจงในบทความนี้ครับ
ตุ ล า ค ม - ธั น ว า ค ม 2 5 6 6 V O L . 3 ห น้ า ที่ 1 3

ชี้ ชวนก๊ วนอ่ าน


โดย ภัครภร วิสุทธิกุลพาณิชย์

นับทีละ 7 สู้ขาดใจ!
7 สิ่ ง ม หั ศ จ ร ร ย์ บั น ด า ล ใ จ
COUNTING BY 7S

เราต่างมีพรสวรรค์+พรแสวง
อย่ายอมให้ใครบอกว่า ทำไม่ได้
ถ้าหลงทาง คงต้องทวนกระแส

ต้นไม้ให้ชีวิต(ชีวา)+มากกว่านั้น
ความใส่ใจของเราคือพรวิเศษ
ความสามารถพิเศษของเราเป็น
ประโยชน์ต่อผู้อื่ น

ไอติม คือเคล็ดลับในการเปิดใจ

เราเลือกแปลเล่มนี้เพราะชื่อเรื่อง แล้วก็ได้'เรื่อง'จริงๆ
ตัวเอกชื่อวิลโลว์ เป็ นเด็กหญิงกำพร้า อายุ 12 ขวบ ชอบตัวเลข
ชอบต้นไม้ ช่างสังเกต มุ่งมั่น ไม่จำนนต่อโชคชะตา

เราและเพื่ อนๆ ที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้เรียนออนไลน์กับอาจารย์ บรรณาธิการ และผู้


เชี่ยวชาญ ได้ทำกิจกรรมการแปลหลากหลาย
กับเพื่ อน ๆ สนุกดีค่ะ ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มีเนื้อหาที่ยากเพราะเราไม่คุ้น

ต้องส่งงานแปลก่อนจบ ถึงจะแปลแค่ 30 หน้า ก็อดกังวลไม่ได้ เพราะต้องอ่านให้จบเล่ม


แต่ยอมรับว่า คุ้มค่า!

ที่ยากคือ เรารำคาญตัวเอกและคนเขียนช่วงสิบบทแรก แต่พอขึ้นบทที่สิบเอ็ด เราร้องไห้


ฟู มฟาย ชีวิตตัวเอกพลิกผัน ชีวิตเราก็พลิกผัน ร้องไห้แทบจะทุกบท มีประโยคสำคัญ ๆ มี
ฉากธรรมดา ๆ แต่กินใจ น้ำตารื้นทุกครั้งที่อ่านและนึกถึง (ไม่ตั้งใจสปอยล์)
ตุ ล า ค ม - ธั น ว า ค ม 2 5 6 6 V O L . 3 ห น้ า ที่ 1 4

โครงการฯ ทำให้เรารู้จักหนังสือเด็กตั้งแต่อายุไม่เกิน 6 ปี จนถึง 12 ปี ขึ้นไป เราได้ความรู้และ


ทักษะการแปลหลากหลาย ได้รู้จักหนังสือดีหลายเล่ม รู้จักเพื่ อนๆ และบรรณาธิการที่ปรึกษา

ที่สำคัญ เรามีผลงานแปลไว้เล่า(อวด)ได้ไม่รู้จบ วิลโลว์เป็ นเด็กฉลาด จิตใจดี ไม่ย่อท้อ ดึง


ศักยภาพและเปลี่ยนแปลงชีวิตคนรอบข้างมหาศาล

เป็ นหนังสือสำหรับเด็กอายุ 10 ขวบขึ้นไป, ผู้ใหญ่เช่นฉัน, ผู้อ่านทุกคน

#ภัค*นี้หลงลักษณ์หนังสือเด็ก

ขอขอบคุณ:
อาจารย์นฤเบศ สมฤทธิ์ ผู้จุ ดประกายการตั้งชื่อหนังสือ
อาจารย์ผ่องศรี ลือพร้อมชัย ผู้แนะนำโครงการ
คุณนฤมล อิทธิวิวัฒน์ บรรณาธิการตรวจแก้ต้นฉบับแปล
ตุ ล า ค ม - ธั น ว า ค ม 2 5 6 6 V O L . 3 ห น้ า ที่ 1 5

พื้นที่ทำงานวิถีฟรีแลนซ์
รีวิวสถานที่นั่งทำงานนอกบ้าน โดย ป้ าวิ

ฉบับนี้ขอพาชาวฟรีแลนซ์เปลี่ยนบรรยากาศ ออกมารับอากาศ
สดชื่นอาบไอทะเลพร้อมจิบกาแฟคุณภาพขณะทำงานไปด้วย
Inthanin CU Co-Study Space Angsila เป็นบูทีกคาเฟ
ริมทะเลอ่างศิลา ชลบุรี อยู่ในพื้นที่ใกล้ตึกแดงและตึกขาว และ
“อ่างหิน” ที่ต่อมาเรียกว่า “อ่างศิลา” ก็อยู่ด้านหลังตัวคาเฟ
สามารถเดินขึ้นไปชมได้แต่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษเนื่องจาก
รอบอ่างเป็นหินต่างระดับและพื้นผิวไม่เรียบ

เดิมทีคนพื้นที่เรียกอ่างนี้ว่า “อ่างหิน” ส่วนการเรียกชื่อ “อ่างศิลา” มี


หลักฐานบันทึกว่า คราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จประพาสชลบุรี ได้ประทับแรมที่อ่างศิลา โดยมีพระราชหัตถเลขา
ลงวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2419 พรรณนา “อ่างศิลา” ตอนหนึ่งว่า
“...เรียกชื่อว่า อ่างศิลสา นั่นเพราะมีแผ่นดินสูงเป็นลูกเนิน มีศิลาก้อน
ใหญ่ ๆ เป็นศิลาดาด และเป็นสระยาวรีอยู่สองแห่ง แห่งหนึ่งลึก 7 ศอก
กว้าง 7 ศอก ยาว 10 วา แห่งหนึ่งลึก 6 ศอก กว้าง 1 วา 2 ศอก ยาว
7 วา เป็นที่ขังน้ำฝน น้ำฝนไม่รั่วซึมไปได้ ท่านเจ้าพระยาทิพากรวงษ์
มหาโกษาธิบดีเห็นว่าเป็นประโยชน์กับคนทั้งปวง จึงให้หลวงฤทธิ์ศักดิ์
ชลเขตร ปลัดเมืองชลบุรีเป็นนายงานก่อเสริมปากบ่อน้ำ มิให้น้ำที่
โสโครกไหลกลับลงไปในบ่อได้ ราษฎร ชาวบ้านและชาวเรือไปมา ได้
อาศัยน้ำฝนในอ่างศิลานั้น...”

ที่มา: www.museumthailand.com/th/museum/084-850-581
ตุ ล า ค ม - ธั น ว า ค ม 2 5 6 6 V O L . 3 ห น้ า ที่ 1 6

พื้นที่การทำงานมีทั้งในห้องแอร์ซึ่งมีหลายโซนให้เลือก รวมทั้งมีมุมโต๊ะยาว
สำหรับประชุมกลุ่มย่อย ๆ และพื้นที่ภายนอกซึ่งมีการจัดโต๊ะเก้าอี้หลากหลาย
แบบกระจายอยู่ตามจุดต่าง ๆ ที่ร่มรื่นภายใต้แมกไม้ใหญ่คลุมทั่วบริเวณ
หากอยากยืดเส้นยืดสายพักสายตา ที่นี่เขาก็มีทางเดินเลียบทะลปลอดภัยให้
ไปเดินสูดโอโซนผ่อนคลายความตึงเครียดด้วย

การเดินทาง: เหมาะกับผู้มียานพาหนะส่วนตัวเท่านั้น ที่นี่มีพื้นที่จอดรถ,


มอเตอร์ไซ, จักรยาน กว้างขวางสะดวกสบาย
สิ่งอำนวยความสะดวก: ปลั๊กไฟตามมุมต่างๆ, wifi, ห้องน้ำ
อาหารการกิน: กาแฟอร่อย ขนมหลากหลาย
เวลาให้บริการ: จันทร์-อาทิตย์ 06:00-19:00
พิกัด: 8WQG+P3F, Chon Buri District, Chon Buri 20000
โทร. 0863951286

แหล่งข้อมูลและภาพ: Google Map, ป้าวิ


ตุ ล า ค ม - ธั น ว า ค ม 2 5 6 6 V O L . 3 ห น้ า ที่ 1 7

สัมภาษณ์อุปนายกฯ คนที่ 2
โดย WK
สวัสดีค่ะคุณเจี๊ยบช่วยแนะนำตัวให้พวกเรารู้จักหน่อยค่ะ
สวัสดีค่ะ พรธีรา ศรีพัฒนธาดากุล ชื่อเล่น เจี๊ยบ ค่ะ
เป็ นคนจังหวัดราชบุรีโดยกำเนิด
จบปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ทับแก้ว)
วิชาเอกภาษาอังกฤษ วิชาโทภาษาฝรั่งเศส หลังเรียนจบปริญญาตรี
เริ่มทำงานประจำครั้งแรกด้วยการเป็ นครูสอนหนังสือในโรงเรียน
ประถมและมัธยมอยู่ 2-3 ปี ก่อนลาออกเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญา
โทที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาภาษาศาสตร์
(linguistics) หลังเรียนจบปริญญาโท ได้ทำงานเป็ นนักภาษาศาสตร์
ในบริษัทพัฒนาโปรแกรมแปล ผู้จัดการหลักสูตรนานานาชาติ
นักแปลในองค์กร และทำงานเป็ นอาจารย์ประจำในมหาวิทยาลัย
ของรัฐ ระหว่างนั้นก็ได้ทำงานแปลและงานล่ามควบคู่ไปด้วย
ก่อนลาออกมาเป็ นนักแปลและล่ามอิสระเต็มตัวในปั จจุบัน

ครั้งแรกที่รู้จักสมาคมฯคือเมื่อไหร่และมาร่วมงานกับที่นี่ได้อย่างไร
รู้จักสมาคมนักแปลและล่ามฯ เมื่อราว 20 ปี ที่แล้ว ช่วงทำงานเป็ นพนักงาน
แปลเอกสารในบริษัทที่ปรึกษาทางวิศวกรรมแห่งหนึ่ง จำได้ว่า หลักสูตรแรก
ที่เรียนคือการแปลเชิงธุรกิจ หลังจากนั้น ได้สมัครเข้าเรียนทุกหลักสูตร
ของสมาคมฯ (ปั จจุบันหยุดเรียนมาเกือบ 10 ปี ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา)
เมื่อปี พ.ศ. 2554 ได้รับการเสนอจากอาจารย์จงจิต อรรถยุกติ ซึ่งเป็ น
อดีตนายกสมาคมฯ ให้มาช่วยงานสมาคมฯ ในฐานะผู้ช่วยเลขาธิการ
กระทั่งอาจารย์จงจิตหมดวาระ ก็ยังคงทำหน้าที่ต่อมาในตำแหน่งรอง/
ผู้ช่วยเลขาธิการตลอดช่วงที่ ดร. ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล เป็ นนายก
สมาคมฯ ในช่วงที่ ม.ล.วีรอร วรวุฒิ ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ สมัยที่ 1
ก็ได้ทำงานเป็ นผู้ช่วยเลขาธิการ ส่วนสมัยที่ 2 ไปรับหน้าที่เป็ นอุปนายกคนที่ 3
และวาระปั จจุบันซึ่งมี คุณปกรณ์ กฤษประจันต์ เป็ นนายกสมาคมฯ ได้ช่วยงาน
สมาคมฯ ในฐานะอุปนายกคนที่ 2 ฝ่ ายสมาชิกสัมพันธ์ ทว่า งานที่รับผิดชอบ
ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ด้านสมาชิกสัมพันธ์ ตัวอย่างงานที่ทำ เช่นงานทะเบียนสมาชิก
ดูแลช่องทางสื่อสารต่าง ๆ เช่นเฟซบุ๊ก ไลน์ และอีเมล จัดกิจกรรมเสวนาชื่อ
ล้อมวงคุย ฯลฯ บางงานดำเนินการด้วยตัวเองและบางงานต้องอาศัยการ
สนับสนุนจากกรรมการที่มีจิตอาสาท่านอื่น ๆ
ตุ ล า ค ม - ธั น ว า ค ม 2 5 6 6 V O L . 3 ห น้ า ที่ 1 8

ทุกวันนี้ทำอะไรบ้างคะ นอกจากงานสมาคมฯ
ปั จจุบันมีอาชีพหลักเป็ นนักแปลและล่ามอิสระ งานแปลส่วนใหญ่
เป็ นงานแปลเอกสาร งานแปลที่มีชื่อระบุไว้มีอยู่น้อยชิ้น หนึ่งใน
จำนวนนั้นที่อยากอ้างถึงคือ “หน้าต่างสู่โลกกว้าง: ศรีลังกา”
ซึ่งอาจารย์สถาพร ฉันท์ประสูติ (ครูหนอนฯ) เป็ นผู้ชักชวนให้แปล
และทำหน้าที่บรรณาธิการให้ ส่วนงานล่าม ซึ่งปั จจุบันทำมากกว่า
งานแปลนั้น อาจารย์จงจิต อรรถยุกติ เป็ นผู้ชักนำเข้าสู่สายงานนี้
ยกเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อตอกย้ำให้เห็นบทบาทของ “สมาคมนักแปลและ
ล่ามแห่งประเทศไทย” ในฐานะตัวกลางหรือสะพานเชื่อมที่นำพาเรา
ไปสู่การพัฒนาตัวเองและโอกาสต่าง ๆ ในอาชีพการงาน

ระหว่างงานล่ามกับงานแปล ชอบงานไหนมากกว่ากัน และทำไม


คงไม่สามารถตอบได้ ข้อดีของการทำงานแปลคือความยืดหยุ่นของสถานที่ทำงานและเวลาทำงาน ซึ่งแน่นอนว่า
มีมากกว่าการทำงานล่าม ข้อดีของการทำงานล่ามคือ กรอบเวลาการทำงานที่ค่อนข้างชัดเจนและค่าตอบแทน
ต่อชั่วโมงการทำงานที่สูงกว่า อันนี้พูดรวม ๆ โดยเฉลี่ย ไม่นับงานล่ามบางหัวข้อที่ต้องใช้เวลาเตรียมตัวนาน
ซึ่งหากประเมินค่าตอบแทนต่อชั่วโมงอย่างละเอียดแล้ว ก็อาจต่ำกว่าหรือไม่ได้สูงกว่าการทำงานแปลมากนัก
งานแปลนั้น ถ้าบริหารเวลาไม่ดี ขาดวินัยในการทำงาน จัดสรรเวลาไม่สอดคล้องกับปริมาณและความยากง่าย
ของงานที่รับมา ก็อาจทำให้ต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานกว่าที่ควรจะเป็ น หรืออาจต้องอดนอนเพื่อทำงาน
ให้เสร็จทันเวลา ซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพ

คิดอย่างไรกับวลีที่ว่า AI จะมาแย่งงานนักแปล
ตระหนักเรื่องนี้มานานแล้ว เมื่อประมาณ 20 กว่าปี ที่แล้ว ได้ทำงานแปลในบริษัทแปลสิทธิบัตรแห่งหนึ่ง
บริษัทใช้โปรแกรมที่ตนพัฒนาขึ้นเพื่อแปลคำขอสิทธิบัตรก่อนจะให้นักแปลตรวจทาน พบว่าผลงานที่ใช้
โปรแกรมดังกล่าวแปลใช้ได้ถึงร้อยละ 80 ตอนนี้ทุกคนต่างรับรู้ว่า Machine Translation ฉลาดขึ้น
เรื่อย ๆ ด้วยข้อมูลป้ อนเข้าระบบที่มากขึ้น
ในส่วนของคู่ภาษาอังกฤษ-ไทย และไทย-อังกฤษ ส่วนตัวยังเชื่อว่างานเกือบร้อยทั้งร้อย
ก็ยังต้องอาศัยeditor/reviewer ที่เป็ นมนุษย์อยู่

ข้อคิดที่อยากฝากถึงมือใหม่และคนที่กำลังอยากเข้าวงการ

อยากบอกแค่ว่า “ต่อมกระหายใคร่รู้” และ “ต่อมเอ๊ะ” ของเราต้องแอ็กทีฟอยู่เสมอ คนที่รู้ตัวว่ายังขาดความรู้


หรือขาดทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับการแปล/ล่าม อยากให้อ่านหนังสือ/ลงเรียน นอกจากนี้ ไม่ควรละเลยที่จะพัฒนา
ความรู้และทักษะเกี่ยวกับภาษาต้นทางและปลายทางอยู่เสมอ หาโอกาสให้ตัวเองได้ทำงานที่สอดรับกับศักยภาพ
ของตน หากบังเอิญเจองานที่เกินศักยภาพ ก็ให้ถือว่าเป็ นบทเรียน หาคำชี้แนะจากคนเก่ง ๆ และอย่าได้ย่อท้อ
ในการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งทรัพยากรต่าง ๆ
ตุ ล า ค ม - ธั น ว า ค ม 2 5 6 6 V O L . 3 ห น้ า ที่ 1 9

ตกลงล่ามคนสู้ “เอไอ” ได้ไหม


โดย ปลากระป๋ อง

คำถามแบบนี้กลับมาอีกแล้วครับ ถึงแม้ว่ามนุษย์จะสร้างเอไอขึ้นมากับมือ แต่หลังๆ ดูเหมือนเอไอจะฉลาด


ขึ้นอึดตะปื อ มาคุกคามวิชาชีพต่างๆ มากมาย รวมถึงล่ามด้วย เถียงกันเท่าไรก็ไม่จบ
วารสาร Wired (wired.com) ที่ชอบจับเรื่องเทคโนโลยีล้ำๆ มานำเสนอ เลยจับล่ามมืออาชีพอย่าง
Barry Slaughter Olsen และ Walter Krochma มาทำงานเทียบกับเอไอในระบบ Speech Translation
ของแพลตฟอร์ม Kudo ตามเกณฑ์สำคัญของการทำงานล่าม ให้รู้ดำรู้แดงกันไปเลย และนำมาเผยแพร่ไว้
ในช่อง YouTube ของ Wired ที่ https://www.youtube.com/watch?v=pwOxlpGYJAY ใครสนใจดู
ฉบับเต็มก็ไปติดตามกันได้ครับ

“AI ย่อมาจาก Artificial Intelligence


ภาษาไทยบัญญัติคำว่า “ปั ญญาประดิษฐ์”
ในบทความนี้ใช้วิธีถอดเสียงจากคำย่อเป็ น “เอไอ”
เพื่อให้สะดวกปาก”

แค่เรื่องเกณฑ์ที่เขาเลือกมาเปรียบเทียบก็น่าสนใจแล้วครับ อย่างรอบแรก เรื่องการสื่ออารมณ์ Intonation


ที่ไม่ได้แปลว่าล่ามจะต้องมีอารมณ์สดใส เกรี้ยวกราด หรือโศกเศร้าตามต้นฉบับ แต่ต้องสามารถเลือกสรรคำ
ใช้จังหวะจะโคน ระดับเสียงเพื่อให้สื่ออารมณ์ ในรอบนี้เอไอต้องพ่ายให้กับมนุษย์ไปตามระเบียบ
ตุ ล า ค ม - ธั น ว า ค ม 2 5 6 6 V O L . 3 ห น้ า ที่ 2 0

ยกที่สองเป็ นการเปรียบเทียบ Spontaneity ซึ่งหมายถึงการตอบสนองอย่างฉับพลันและเป็ นธรรมชาติ


หรือจะเรียกว่าเป็ นไหวพริบก็น่าจะได้ (เอไอมี “ไหวพริบ” ไหมหนอ) ในรอบนี้มนุษย์ก็ชนะเอไออยู่ดี
เพราะเอไอไม่สามารถสื่อถึงนัยในระดับละเอียดที่ซ่อนอยู่ในต้นฉบับได้

ยกที่สามเป็ นเรื่องของ Speed ความเร็วครับ รอบนี้เอไอนำหน้ามาเลย เพราะล่ามที่เป็ นมนุษย์พอเจอ


ต้นฉบับที่มีเนื้อหาแน่นๆ และเป็ นการอ่านจากร่างสุนทรพจน์ที่เขียนไว้ล่วงหน้า จำเป็ นต้องเลือกสรรและตัด
ทอนบางส่วนออกไป ส่วนเอไอนั้นสามารถแปลทุกอย่างได้แบบสบายๆ

ในบทสรุปของวิดีโอนี้ ล่ามมืออาชีพยอมรับว่าเอไอในปั จจุบันมีความสามารถแปลได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่


อาจไว้ใจให้แปลเรื่องที่มีความสำคัญต่อชีวิตผู้คนได้

สิ่งหนึ่งที่วารสาร Wired ไม่ได้ทดสอบก็คือ “ความงอแง” ครับ แหม ใช้คำนี้อาจจะแรงไปหน่อย แต่ผมหมาย


ถึงความสามารถในการทำงานเป็ นเวลานานๆ โดยไม่เหนื่อย หรือไม่เจ็บไม่ป่ วย ไม่คันคอ หิวน้ำ ไอ หรือสำลัก
น้ำลายตัวเอง เรื่องนี้รับรองได้ว่าเอไอชนะขาด!!
ตุ ล า ค ม - ธั น ว า ค ม 2 5 6 6 V O L . 3 ห น้ า ที่ 2 1

เวลาเขียนเรื่องนี้เรามักจะคิดจากมุมมองของมนุษย์ เพื่อให้เราได้ทัศนะของคู่แข่งด้วย คราวนี้ผมเลยลองไป


ถามเอไอบ้าง ว่าคิดอย่างไรกับเรื่องการทำงานของล่ามมนุษย์กับล่ามเอไอ ด้านล่างนี้คือความคิดเห็นของ
ChatGPT ครับ

WHILE AI CAN BE INCREDIBLY USEFUL IN


MANY LANGUAGE INTERPRETATION
TASKS, HUMAN INTERPRETERS CONTINUE
TO BE INDISPENSABLE IN COMPLEX AND
SENSITIVE SITUATIONS, WHERE
UNDERSTANDING CULTURAL NUANCES,
EMOTIONS, AND ADAPTING TO DYNAMIC
CONTEXTS ARE ESSENTIAL.
IT'S POSSIBLE THAT AI WILL CONTINUE
TO IMPROVE AND BECOME MORE
CAPABLE, BUT COMPLETE SURPASSING
OF HUMAN CAPABILITIES IN ALL
ASPECTS OF LANGUAGE
INTERPRETATION REMAINS UNCERTAIN
AND MAY NOT BE THE PRIMARY GOAL.
INSTEAD, AI IS LIKELY TO COMPLEMENT
HUMAN INTERPRETERS AND OFFER
VALUABLE TOOLS FOR LANGUAGE-
RELATED TASKS, ENHANCING
EFFICIENCY AND ACCESSIBILITY IN
CROSS-CULTURAL COMMUNICATION.

ที่มาภาพและเนื้อหาบางส่วน: https://www.youtube.com/watch?v=pwOxlpGYJAY

You might also like