You are on page 1of 84

1

โควิด-19: ‘บ่อน บาร์ ปาร์ต’ี้ โลกสีเทา-คนกลางคืน

โควิด-19: ‘บ่อน บาร์ ปาร์ต’ี้ โลกสีเทา-คนกลางคืน


ผู้เขียน ณัฐกร วิทิตานนท์, คุณวุฒิ บุญฤกษ์ และวิทยากร บุญเรือง
ภาพปก กิตติยา อรอินทร์
เลขมาตรฐานสากลประจําหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 978-616-608-293-7
พิมพ์ครั้งแรก ธันวาคม 2566

จัดพิมพ์โดย The Glocal – ท้องถิ่นเคลื่อนโลก


เว็บไซต์ www.theglocal.world
อีเมล theglocal.world@gmail.com

หนังสือเล่มนี้เผยแพร่ภายใต้อนุสัญญา
CC BY-NC-ND (Attribution-NonCommercial-NoDerives)
3

โควิด-19: ‘บ่อน บาร์ ปาร์ต’ี้ โลกสีเทา-คนกลางคืน


4

สารบัญ

คํานํา หน้า 5

บ่อน หน้า 7

บาร์ หน้า 29

ปาร์ตี้ หน้า 54

สรุป Timeline สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศ


ไทย และเหตุการณ์สําคัญที่เกี่ยวกับ “บ่อน-บาร์-ปาร์ตี้” หน้า 70
5

คํานํา
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ ได้บันทึกเหตุการณ์สําคัญๆ ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจกลางคืน
และธุรกิจสีเทาในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19 โดยใช้ข้อมูลสถานการณ์และแบบ
แผนการแพร่เชื้อในช่วงเวลาก่อนการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอ
ไมครอน (Omicron) เป็นหลัก

'บ่อน' ได้กลายเป็นแหล่งแพร่เชื้อสําคัญของไทยนับตั้งแต่ในช่วงแรก ๆ เรื่อยมา คลัส


เตอร์การระบาดใหญ่ที่มีการพนันเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งไม่พูดถึงไม่ได้ ได้แก่ คลัสเตอร์
สนามมวยลุมพินี กับคลัสเตอร์บ่อนระยอง 'ไก่ชน' การพนันพื้นบ้านที่หล่อเลี้ยงคน
จํานวนมาก มีไก่ชนอยู่ในวงการ 100 ล้านตัว เป็นธุรกิจที่มีห่วงโซ่ข้องเกี่ยวกับคนนับ
ล้านชีวิต ช่วงโควิด-19 ได้รับความเสียหายร่วมพันล้านบาท จากการถูกปิดยาวนาน
เกือบ 1 ปี

สถานบันเทิงถือเป็นคลัสเตอร์การระบาดโดยตลอด ตั้งแต่ปี 2563-2564 โดยเฉพาะ


‘คลัสเตอร์ทองหล่อ’ ที่เกิดขึ้นซํ้าถึง 2 ครั้ง ท่ามกลางช่องโหว่กฎหมาย ประมาณกัน
ว่ า ทั ้ ง ประเทศไทยมี ส ถานบริ ก ารที ่ ส ุ ่ ม เสี ่ ย งต่ อ การหลบเลี ่ ย งกฎหมายมากกว่ า
200,000 แห่ง ซึ่งยากที่จะนํามาตรการควบคุมโรคเข้าไปบังคับใช้ได้อย่างเห็นผล ด้วย
หลายสาเหตุ ‘สถานบริการ’ คือธุรกิจลําดับแรก ๆ ที่ถูกปิด และเมื่อสถานการณ์
คลี่คลายก็อยู่ในลําดับท้าย ๆ ที่จะได้เปิด ส่งผลให้ธุรกิจกลางคืนล้มหายตายจาก
หรือไม่ก็ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ขณะเดียวกันก็
ส่งผลกระทบถึงคนทํางานภาคกลางคืน

นอกจากนี้หลังเกิดคลัสเตอร์โควิด-19 จากสถานบันเทิง แม้รัฐจะพยายามยกระดับ


มาตรการในการควบคุมเข้มข้นขึ้น แต่กระนั้นกลับพบว่าได้มีการหันไปรวมตัวกัน
สังสรรค์หรือจัด 'ปาร์ตี้' แทน ทั้งที่เป็นการละเมิดต่อกฎหมายควบคุมโรคในช่วง
6

สถานการณ์ระบาดของโควิด-19 โดยพบการแพร่ระบาดในวงปาร์ตี้เหล่านี้มากมาย
คลัสเตอร์จัดปาร์ตี้ฉลองปิดเทอมของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในเชียงใหม่ตาม
สถานบั น เทิ ง ต่ า ง ๆ ช่ ว งปลายเดื อ นมี น าคม 2564 ในห้ ว งผ่ อ นคลายมาตรการ
ก่อให้เกิดการระบาดใหญ่ไปทั่วทั้งภาคเหนือ เนื่องจากที่นักศึกษาเหล่านี้ได้กลับบ้าน
ไปพร้อมกับเชื้อโควิด-19 แพร่เชื้อให้คนใกล้ชิดก่อนลามในชุมชน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “บ่อน บาร์ ปารตี้” ธุรกิจและกิจกรรมกลุ่มนี้ ทั้งที่เผยโฉมอยู่บนดิน


และซ่อนตัวอยู่ใต้ดิน ที่แม้จะมีการตั้งคําถามเชิงศีลธรรมถึงความเหมาะสม แต่ก็ได้
สร้างเม็ดเงินให้แก่ระบบเศรษฐกิจอย่างมหาศาลหลายแสนล้านบาทต่อปี เกิดการจ้าง
งานไม่ว่าในหรือนอกระบบรวมกันหลักหลายล้านคน และเป็นห่วงโซ่ผลประโยชน์ของ
เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมากมาย จนเรียกได้ว่าเป็น “ปิศาจที่จําเป็น” ของสังคมไทย

อนึ่งเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้เคยแพร่ในเว็บไซต์ประชาไท รวมทั้งเป็นทั้งผลลัพธ์และ
ต่อยอดจากการศึกษา เรื่อง “บ่อน บาร์ ปาร์ตี้: เขตอโคจร อิทธิพล อํานาจ และการ
ควบคุมโรค” โดยณัฐกร วิทิตานนท์และคณะ ภายใต้โครงการวิจัย “โควิด-19 กับ
สั ง คมไทย: บั น ทึ ก วิ ก ฤตและประสบการณ์ ก ารรั บ มื อ ไวรั ส โคโรนา” ของศู น ย์
มานุษยวิทยาสิรินธร (ศมส.) ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
(สวรส.) ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คําว่า “บ่อน บาร์ ปาร์ตี้” ในชื่อของ
หนังสือเล่มนี้มาจากความคิดของนายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อํานวยการ
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร คณะผู้เขียนจึงขอขอบคุณมา ณ ที่นี้

คณะผู้เขียน
ธันวาคม 2566
7

บ่อน
Summary

• ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงโควิด-19 “บ่อน” ในความหมายแหล่งเป็นที่ชุมนุม


กันเพื่อเล่นการพนัน เช่น บ่อนไก่ บ่อนเบี้ย บ่อนไพ่1 กลายเป็นแหล่งแพร่
เชื้อสําคัญของไทยนับตั้งแต่ในช่วงแรก ๆ เรื่อยมา คลัสเตอร์การระบาด
ใหญ่ที่มีการพนันเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งไม่พูดถึงไม่ได้ ได้แก่ คลัสเตอร์สนาม
มวยลุมพินีกับคลัสเตอร์บ่อนระยอง
• “บ่อน” ไม่ได้มีแต่ที่ผิดกฎหมาย ตามกฎหมายการพนันของไทยแบ่งการ
พนันออกเป็น 2 กลุ่ม ประเภทแรกห้ามมิให้ออกใบอนุญาตเด็ดขาด เช่น
บ่อนไพ่ กับประเภทหลังซึ่งสามารถออกใบอนุญาตให้ได้ เช่น บ่อนไก่
• ‘ไก่ชน’ การพนันพื้นบ้านที่หล่อเลี้ยงคนจํานวนมากได้รับผลกระทบอย่าง
หนัก ประเมินว่าไก่ชนอยู่ในตลาดประมาณ 100 ล้านตัว เป็นธุรกิจที่มี
ห่วงโซ่ข้องเกี่ยวกับคนนับล้านชีวิต ช่วงโควิด-19 ได้รับความเสียหายร่วม
พันล้านบาท จากผลกระทบจากการถูกสั่งห้ามยาวนานเกือบ 1 ปี

จากสนามมวยลุมพินีถึงบ่อนระยอง: ความเป็นองค์กรเร้นรัฐและระบบส่วย

วิกฤตการโรคระบาดครั้งร้ายแรงที่สุดในต้นศตวรรษที่ 21 ถือกําเนิดขึ้นเมื่อเดือน
ธันวาคม 2562 ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน มีการยืนยันว่ามีผู้ป่วยโรคระบาดลึกลับที่ใน

1
ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, (กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2556),
จาก https://dictionary.orst.go.th/
8

กาลต่อมาเรารู้จักกันในชื่อของ “COVID-19” ต่อจากนั้นไม่กี่วันในเดือนมกราคม


2563 รายงานว่าพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากการแพร่เชื้อในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ซึ่ง
ถือเป็นพื้นที่แห่งที่ 2 ในโลกต่อจากเมืองอู่ฮั่น การระบาดในประเทศไทยยังคงมีผู้ติด
เชื้อจํานวนน้อยตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2563 โดยมีผู้ป่วยยืนยัน 40 รายเมื่อสิ้นเดือน
ซึ ่ ง ส่ ว นใหญ่ แ ล้ ว เป็ น นั ก ท่ อ งเที ่ ย ว ผู ้ ส ั ม ผั ส นั ก ท่ อ งเที ่ ย ว ยั ง ไม่ ม ี ก ารระบาด
ภายในประเทศ จํานวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมากช่วงกลางเดือนมีนาคมซึ่งมีการระบุถึง
สาเหตุว่ามาจากหลายกลุ่มการแพร่เชื้อ โดยกลุ่มใหญ่สุดเกิดการระบาดจากคลัสเตอร์
สนามมวยเวทีลุมพินี ที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้เล่นพนันมวย เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2563
ได้ทําให้มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศเพิ่มเกิน 100 คนต่อวันในอีก 1 สัปดาห์ต่อมา
และเมื่อสิ้นเดือนมีนาคม 2563 ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศก็สะสมแตะหลักพันเป็น
ครั้งแรก จนอาจกล่าวได้ว่า “คลัสเตอร์สนามมวยเวทีลุมพินี” ได้ทําให้เกิดการระบาด
เป็นวงกว้างครั้งแรกของไทย

ช่วงเดือนธันวาคม 2563 ก็เกิด “คลัสเตอร์บ่อนระยอง” ขึ้น และกระจายไปยังพื้นที่


อื่นทั่วภาคตะวันออก ทั้งนี้บ่อนระยองเริ่มลักลอบเปิดให้เล่นหลังคาสิโนชายแดนต้อง
หยุดให้บริการเป็นต้นมา

นอกจากนี้ในช่วงที่ไทยเริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค ซึ่งได้ทําให้ความหวาดกลัว
ต่อโรคโควิด-19 เริ่มลดลงไปด้วยตั้งแต่ช่วงกลางปี 2563 เป็นต้นมาพบว่าในหลาย
จังหวัดก็ทยอยมีข่าวผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับบ่อนพนันอยู่เป็นระยะ

ส่วนคลัสเตอร์จากคาสิโนประเทศเพื่อนบ้านที่ชัดเจนที่สุดคือ กรณีโรงแรม 1G1


(เมืองท่าขี้เหล็ก) และกรณีคาสิโนสกายคอมเพล็กซ์ (เมืองเมียวดี) ฝั่งประเทศเมียนมา
ที่เปิดให้บริการภายใต้สถานการณ์การระบาดของ โควิด-19 ซึ่งได้กลายเป็นคลัสเตอร์
9

แพร่เชื้อให้กับคนไทยที่แอบข้ามเข้าไปทํางาน และนําเอาเชื้อกลับเข้ามาแพร่กระจาย
ในประเทศ

คลัสเตอร์สนามมวยลุมพินี ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม พลตรีประภาส


จารุเสถียร ผู้บัญชาการทหารกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ขณะนั้นได้ก่อตั้งสนามมวย
ลุมพินีขึ้น เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2499 เป็นสนามมวยมาตรฐาน 1 ใน 2 แห่งของ
ประเทศไทย (อีกแห่งหนึ่งคือสนามมวยราชดําเนินที่ก่อตั้งมาก่อน) อยู่บริเวณถนน
พระรามที ่ 4 ใกล้ ก ั บ สวนลุ ม พิ น ี โดยเช่ า ที ่ ด ิ น จากสํ า นั ก งานทรั พ ย์ ส ิ น ส่ ว น
พระมหากษัตริย์ แต่เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงในปี 2557 จึงย้ายไปสถานที่แห่งใหม่และ
สร้ า งอาคารสนามมวยใหม่ อ ยู ่ ร ิ ม ถนนรามอิ น ทราในเขตพื ้ น ที ่ ศ ู น ย์ พ ั ฒ นากี ฬ า
กองทัพบก ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรมสวัสดิการทหารบก นายสนามมวยเวที
ลุ มพิ นี จึ ง เป็ นนายทหารทั ้ ง สิ ้ น (โดยเฉพาะผู ้ ที ่ ดํ ารงตํ าแหน่ ง เจ้ ากรมสวั สดิ การ
ทหารบก) บริหารงานภายใต้คณะกรรมการที่มีผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เป็น
ประธานอํานวยการสนามมวย2

เวทีลุมพินีได้ชื่อว่าเป็นสนามมวยที่ทันสมัยที่สุดของประเทศ สําหรับใช้จัดแข่งขันมวย
ไทยและมวยสากล จุผู้ชมได้ประมาณ 5,000 คน กระทั่งเมื่อเดือนมีนาคม 2563
สนามมวยลุมพินีตกเป็นข่าวใหญ่ในฐานะเหตุการณ์การแพร่กระจายเชื้อมากเป็น
พิเศษหรือ Super-spreading Event เนื่องจากจุดเกิดเหตุเป็นสถานที่ซึ่งคนจํานวน
มากมีการมารวมตัวกันจนติดเชื้อ และนําพาเชื้อกระจายออกไปในวงกว้าง

2
รัตพงษ์ สอนสุภาพ, โครงสร้างและพฤติกรรมการพนันมวยไทย, รายงานการวิจัย เสนอต่อ ศูนย์ศึกษาปัญหา
การพนัน, 2560, หน้า 69-72, จาก http://www.gamblingstudy-
th.org/imgadmins/research_file/ebook-60-01-Rattapong.pdf
10

ผลจากการจัดชกมวยในรายการลุมพินีแชมป์เปี้ยนเกียรติเพชรที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6
มีนาคม 2563 มีผู้เข้าชมประมาณ 2,500 คน รวมเจ้าหน้าที่, หัวหน้าคณะ, นักมวย,
ผู้ที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชน3 เนื่องจากเป็นรายการสําคัญ ในบรรดาผู้ร่วมงานจึงมีผู้มี
อิทธิพลและมากบารมีจํานวนไม่น้อยรวมอยู่ด้วย4

หลังจากที่มีการยืนยันว่าแมทธิว ดีน นักแสดงที่ทําหน้าที่เป็นพิธีกรในการแข่งขันวัน


นั้นติดเชื้อโควิด-19 ก็ได้มีการยืนยันเคสผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จากสนามมวยลุมพินี
เพิ่มขึ้นตามมาอีกเรื่อย ๆ ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 4 เมษายน รวมระยะเวลาของการ
ตรวจพบผู้ติดเชื้อรายใหม่จากสนามมวยแห่งนี้ 21 วัน จํานวนผู้ติดเชื้อรวม 173 ราย5
สันนิษฐานกันว่ามีผู้เข้าชมรายหนึ่งได้รับเชื้อจากคนในครอบครัวซึ่งเพิ่งเดินทางกลับ
จากประเทศอิตาลี6

อีกทั้งโดยธรรมชาติของเซียนมวยทั่วไปก็ไม่ได้เล่นการพนันชนิดเดียว แต่ยังเข้าออก
สนามพนันอื่น ๆ ทั้งบ่อนไก่ชน สนามชนวัว บ่อนไพ่ รวมถึงนิยมเที่ยวสถานบันเทิง
เป็นว่าเล่น จึงเกิดการนําเอาเชื้อกลับไปในภูมิลําเนาของตัวเอง พบกระจายทั่ว

3
“เวที ‘ลุมพิน’ี ออกโรงโต้จัดมวยนัดใหญ่ 6 มี.ค.มีคนเข้าชม 2,500 คนอย่าเว่อร์วังไปถึงหมื่น,” มติชนออนไลน์
(25 มีนาคม 2563), จาก https://www.matichon.co.th/sport-slide/news_2087484
4
“ไวรัสติดปลายนวม ใครเป็นใครในสนามมวยก่อน super spreader,” WAY Magazine (28 พฤษภาคม
2563), จาก https://waymagazine.org/thai-boxing-and-benefit/
5
อ้างใน เอกรัตน์ โพธิ์ทอง, การระบาดเชิงพื้นที่ของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย, วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญา
วิทยาศาสตรบัณฑิต คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2563, หน้า
38, จาก http://www.agi.nu.ac.th/nred/Document/is-PDF/2563/geo_2563_05_FullPaper.pdf
6
“หมอมนูญชี้โควิด-19 ที่อิตาลีเป็นสายพันธุ์ดุ คาดคนที่สนามมวยก็ติดเชื้อนี,้ ” ไทยรัฐออนไลน์ (23 มีนาคม
2563), จาก https://www.thairath.co.th/news/society/1801534
11

ประเทศ ไม่ ว ่ า จะเป็ น จั ง หวั ด ปั ต ตานี สมุ ท รปราการ เลย แพร่ นครราชสี ม า
นครสวรรค์ และจังหวัดอื่น ๆ7

กรณีนี้จึงสะท้อนความหละหลวมของหน่วยงานภาครัฐที่ดูแลสนามมวยดังกล่าว ซึ่ง
ยังขาดความตระหนักถึงการป้องกัน และควบคุมโรคโควิด ทั้งที่วันที่ 3 มีนาคมมีข้อ
สั่งการจากนายกรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการระยะเร่งด่วนแก้ปัญหาไวรัสโคโรน่า โดยให้
ภาครัฐขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการหลีกเลี่ยงหรือเลื่อนการจัดกิจกรรมที่มีการ
รวมตัวของประชาชนจํานวนมาก และอาจมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด เช่น การ
แข่งขันกีฬา ฯลฯ ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ในฐานะ
นายทะเบียนตาม พ.ร.บ.กีฬามวย พ.ศ. 2542 ซึ่งมีหน้าควบคุมสนามมวยที่ได้รับ
อนุญาต8 มีประกาศงดการแข่งขันกีฬามวยเป็นการชั่วคราวมายังนายสนามมวย
ลุมพินี แต่สนามมวยลุมพินีก็ยืนยันที่จะ “ไม่เลื่อนไม่เลิก” โดยเปิดให้แฟนมวยเข้าชม
ในสนามตามปกติเมื่อวันที่ 6 มีนาคม9 จนทําให้มีผู้ติดเชื้อเป็นจํานวนมากตามมา

ต่อมาทาง ผบ.ทบ.ขณะนั้น พลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ได้สั่งย้ายพลตรีราชิต อรุณรังษี


เจ้ากรมสวัสดิการทหารบก และเป็นนายสนามมวยเวทีลุมพินีให้มาช่วยราชการ
ภายในกองบั ญชาการกองทั พบก และแต่ ง ตั ้ ง คณะกรรมการสอบสวนขึ ้ น โดยมี
เจ้ากรมกําลังพลทหารบกเป็นประธานกรรมการ ผลการสอบสวนออกมาว่าสนามมวย

7
“เมื่อสนามมวย คือ จุดแพร่เชื้อ สรุปเคสผู้ป่วย COVID-19 กลุ่มสนามมวยด้วย DATA,” The MATTER (27
มีนาคม 2563), จาก https://thematter.co/quick-bite/boxingbangkokcovid_19/105898
8
ตามกฎหมายกีฬามวยดังกล่าว ห้ามมิให้ผู้ใดจัดแข่งขันกีฬามวยและจัดตั้งสนามมวยโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก
นายทะเบียน (มาตรา 26, 27) เว้นแต่เป็นผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งสนามมวยจึงจะมีสิทธิที่จะจัดการแข่งขันกีฬามวย
ได้ทุกประเภทโดยไม่ต้องขออนุญาตอีก (มาตรา 28)
9
“มวยไทย ไม่เลิก ไม่เลื่อน สยบข่าวลือ ลุมพินี ระดมฆ่าเชื้อไวรัสทั่วสนามมวย,” ข่าวสดออนไลน์ (5 มีนาคม
2563), จาก https://www.khaosod.co.th/sports/news_3695804
12

เวทีลุมพินีมีความบกพร่องในการควบคุมโรคจริง ผบ.ทบ.จึงสั่งปลดคณะกรรมการ
สนามมวยเวทีลุมพินีทั้งหมด รวมถึงดําเนินการพิจารณาโทษแก่ พล.ต.ราชิตต่อไป10

แม้นมีการแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากกองทัพบก แต่ก็ย่อมใช้
สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างซึ่งแสดงให้เห็นว่ากองทัพยังคงเป็น “องค์กรเร้นรัฐ” ที่ไม่
สามารถถูกตรวจสอบได้จากภายนอก

อย่างไรก็ดี แม้สนามมวยได้รับการผ่อนคลายให้กลับมาเปิดได้ในระบบปิดตั้งแต่ช่วง
กลางปี 2563 แต่กว่าสนามมวยลุมพินีจะจัดการแข่งขันกีฬามวยไทยอีกครั้งก็ล่วงเลย
มาถึงปลายเดือนพฤศจิกายน หลังจากหยุดไปนานกว่า 8 เดือน โดยใช้มาตรการ
เข้มข้น และให้แฟนมวยเข้าชมได้ 30% ของความจุสนาม ทว่าก็ยังคงถูกสั่งปิดอีก
หลายช่วง ช่วงหลังสุดกินเวลา 4 เดือน ก่อนกลับมาจัดรายการในระบบปิดอีกครั้งเมื่อ
วันที่ 15 กันยายน 2564 ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ให้เป็นสนามมวยปลอดพนัน โดยทาง
สนามได้ดําเนินการถอนใบอนุญาตการเล่นพนันในเวทีมวยลุมพินีกับกรมการปกครอง
เรียบร้อยแล้ว นั่นหมายความว่าต่อไปนี้แฟนมวยไม่สามารถต่อรองเดิมพันกันใน
สนามได้เหมือนกับแต่ก่อนแล้ว หากทําก็ถือว่ามีความผิดตามกฎหมายทันที11

คลัสเตอร์บ่อนระยอง บ่อนระยองเป็นที่ถูกพูดถึงโดยทั่วไปช่วงเดือนธันวาคม 2563


เนื่องจากเป็นสาเหตุของการแพร่เชื้อโควิด-19 ในจังหวัดระยองและกระจายไปยัง
พื้นที่อื่น ๆ ในภาคตะวันออก ซึ่งตอนแรกมีการปฏิเสธเสียงแข็งจากผู้การระยองว่าไม่
มีบ่อนในพื้นที่ จนทําให้ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ลงนามในคําสั่งให้พล

10
“หลัง ‘บิ๊กแดง’ สั่งปลดบอร์ดลุมพินีเซ่นโควิด! กรณี ‘ราชดําเนิน-อ้อมน้อย’ ใครรับผิดชอบ?,” สํานักข่าวอิศรา
(5 มิถุนายน 2563), จาก https://www.isranews.org/article/investigative/investigate-news/89359-
isranews.html
11
“เขย่าสนาม: ก้าวย่างใหม่เวทีมวย ‘ลุมพินี’ ‘รีแบรนด์’ สู่ระดับนานาชาติ ประกาศล้างบางการพนัน!,” มติชน
สุดสัปดาห์ (5 ตุลาคม 2564), จาก https://www.matichonweekly.com/column/article_472249
13

ตํารวจตรีปภัชเดช เกตุพันธ์ ผู้บังคับการตํารวจภูธรจังหวัดระยองมาปฏิบัติราชการที่


ศูนย์ปฏิบัติการสํานักงานตํารวจแห่งชาติ โดยให้ขาดจากตําแหน่งเดิม ภายในอีกไม่กี่
วันต่อมา12 อีกทั้งได้สั่งย้าย 4 นายตํารวจของสถานีตํารวจภูธรเมืองระยองให้ไป
ปฏิบัติราชการที่ศูนย์ปฏิบัติการตํารวจภูธรภาค 2 โดยขาดจากต้นสังกัดเดิมเช่นกัน13

แต่จากการตรวจสอบของจเรตํารวจพบว่าเป็นบ่อนถาวรที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่หลัง
สถานีขนส่งจังหวัดระยอง (แห่งเก่า) มีการเริ่มลักลอบเปิดให้เล่นการพนันประมาณ
เดือนมีนาคม 2563 ถึงปลายเดือนธันวาคม 2563 ประเมินว่าบ่อนแห่งนี้รองรับผู้เล่น
ตั้งแต่ 300-500 คน โดยเปิดแบบทั้งวันทั้งคืน และคนนิยมเล่นบาคาร่า (ไพ่แปด
เก้า)14 รวมจํานวนผู้ติดเชื้อโดยตรงจากบ่อนแห่งนี้อยู่ที่ประมาณ 260 ราย15

ข้อสังเกตคือ บ่อนแห่งนี้เพิ่งมีขึ้นหลังคาสิโนชายแดนต้องหยุดให้บริการเพราะ
มาตรการปิ ด ด่ า นพรมแดน ตราบใดที ่ ย ั ง คงมี อ ุ ป สงค์ (Demand) แต่ อ ุ ป ทาน
(Supply) ไม่เพียงพอรองรับ นั่นแหละโอกาสทางการตลาดที่บ่อนเถื่อนพร้อมเข้ามา
ทดแทน แม้จะเป็นการล่วงละเมิดต่อกฎหมาย บ่อนแห่งนี้ก็เช่นเดียวกัน

12
“ผบ.ตร.สั่งย้ายผู้การจังหวัดระยองเข้ากรุ ขาดจากตําแหน่งเดิม ปมบ่อนพนันในพื้นที,่ ” THE STANDARD (28
ธันวาคม 2563), จาก https://thestandard.co/rayong-governor-was-ordered-to-move-out-due-to-
gambling-clues/
13
“โควิด-19: บ่อนพนันที่เป็นแหล่งแพร่กระจายโควิดอยู่จังหวัดไหนบ้าง,” บีบีซี ไทย (6 มกราคม 2564), จาก
https://www.bbc.com/thai/thailand-55560024
14
ประมวลข้อมูลจากหลายแห่ง อาทิ “แฉพิกัดบ่อนระยอง เปิดยันเช้า-ก่อนหน้านักเล่นเพียบ คนดูแลก็ติดโควิด
,” ข่าวสดออนไลน์ (27 ธันวาคม 2563), จาก https://www.khaosod.co.th/special-
stories/news_5618773; “ผบ.ตร.สั่งสอบล็อตใหญ่ 249 นายตํารวจ ปล่อยมีบ่อนพนัน,” กรุงเทพธุรกิจ (22
เมษายน 2564), จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/933910
15
อ้างใน “สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จังหวัดระยอง มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ จํานวน 4 ราย รวมผู้
ติดเชื้อแล้ว 562 ราย รักษาหาย 443 ราย,” สํานักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ (16 มกราคม 2564), จาก
https://thainews.prd.go.th/RegionNews/RegionNews/Detail/TCATG210116145739102
14

เกิดเป็นคําถามต่อเจ้าหน้าที่บ้านเมืองว่าทําไมถึงได้มีการปล่อยปละละเลยให้มีบ่อน
การพนันผิดกฎหมายผุดขึ้นในที่ต่าง ๆ หรือแท้จริงแล้วรู้เห็นเป็นใจกับเจ้าของบ่อน
ในลักษณะของผลประโยชน์ต่างตอบแทนระหว่างข้าราชการกับเครือข่ายธุรกิจการ
พนัน เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่ามีเงิ นที่บ่อนการพนันต้องจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ที่
เกี่ยวข้องเป็นประจําหรือที่เรียกกันว่า “ส่วย” เพื่อแลกกับการคุ้มครองให้กิจการ
ดําเนินต่อไปได้ โดยเจ้าของบ่อนก็ต้องเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลในท้องถิ่นระดับหนึ่ง แต่
นั่นก็มิได้หมายความว่าสถานการพนันจะปลอดจากการถูกตํารวจจับกุมแต่อย่างใด
กล่าวคือ เมื่อนโยบายจากเบื้องบนมีการเปลี่ยนแปลง หรือมีแรงกดดันจากทาง
การเมือง สถานการพนันไม่ว่าใหญ่ขนาดไหนก็อาจจะถูกจับกุมได้เสมอ16 สถานการณ์
โควิดที่แพร่ระบาดอย่างรุนแรงเป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง

งานศึกษาในอดีตบ่งชี้ว่า เงื่อนไขแรกสุดที่บ่อนการพนันอยู่ได้ เพราะได้รับการ


สนับสนุนจากตํารวจ บ่อนถือเป็นแหล่งรายได้ที่สําคัญของตํารวจกลุ่มหนึ่ง รวมถึง
หน่วยงานที่มีหน้าที่ปราบปรามบ่อนส่วนใหญ่มักจะได้รับผลประโยชน์ (อีกนัยคือส่วย
หรือสินบน) จากเจ้าของบ่อนอย่างสมํ่าเสมอ สาเหตุหนึ่งเนื่องจากข้อจํากัด และความ
ไม่คล่องตัวของการเบิกจ่ายงบประมาณแผ่นดิน17

16
ดู พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว และคณะ, บ่อนการพนันตามแนวชายแดนไทย ผลกระทบและแนวทางแก้ไขปัญหา,
รายงานการวิจัย เสนอต่อ สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, 2546, หน้า 117, 138.
17
ดู สังศิต พิริยะรังสรรค์, “เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยบ่อนการพนัน,” ใน ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคณะ, หวย
ซ่อง บ่อน ยาบ้า: เศรษฐกิจนอกกฎหมายกับนโยบายสาธารณะในประเทศไทย, (เชียงใหม่: ซิลค์เวอร์มบุคส์,
2543), หน้า 105-149.
15

ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 จึงได้มีการจับกุมนายสมชาย จุติกิติ์เดช หรือหลงจู๊


สมชาย ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นเจ้าของบ่อนดังกล่าว ซึ่งเป็นเจ้าของสถานบันเทิง และ
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หลายแห่งในระยอง18

รายงานสถานการณ์ในจังหวัดภาคตะวันออกห้วงนั้นยืนยันเหมือนกันว่าในบรรดาผู้
ติดเชื้อของแต่ละจังหวัดที่มีเป็นหลักหลายร้อยรายขึ้นไป ราวครึ่งหนึ่งเป็นผู้ที่มีประวัติ
เดินทางไปพื้นที่เสี่ยงก็คือบ่อนการพนันที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนั้น ๆ ได้แก่ บ่อนเมืองชล,
บ่อนเมืองจันท์, บ่อนเมืองตราด

คลัสเตอร์บ่อนวิ่งในชุมชน ถึงกระนั้น สถานการณ์ในหลายจังหวัดกลับแสดงให้เห็น


ว่ายังคงมีผู้ติดเชื้อซึ่งมีความเชื่อมโยงกับบ่อนพนันอยู่เป็นระยะ อาทิ บ่อนไก่อ่างทอง
คลัสเตอร์บ่อนโต๊ะสนุ้กมุกดาหาร คลัสเตอร์บ่อนวิ่งพิจิตร วงพนันบ่อนวิ่งสงขลา
สนามชนกว่างที่เชียงใหม่ โดยเฉพาะกับนครศรีธรรมราชซึ่งค่อนข้างพบบ่อยครั้ง ทั้ง
จากวงพนันไก่ชน บ่อนพนันกลางเมือง รวมทั้งบ่อนวิ่งในพื้นที่ต่าง ๆ

บ่อนที่กลายเป็นคลัสเตอร์ย่อยเหล่านี้ในกรณีที่เป็นบ่อนไพ่มักมีจุดร่วมคือ เป็นบ่อน
เล็ก ๆ ที่คนนัดหมายกันเพื่อมาเล่นการพนันตามงานหรือสถานที่ต่าง ๆ เช่นในงาน
บวช งานศพ สวนปาล์มนํ้ามัน สวนยางพารา ตามคิวรถระหว่างรอผู้โดยสาร หรือใน
บ้าน ด้วยความที่เป็นคนรู้จักคุ้นเคยกัน จึงไม่ได้ระแวดระวัง ไม่สวมแมสก์ป้องกัน
ขณะเล่น ประกอบกับเวลาที่ใช้ในการเล่นแต่ละครั้งยาวนาน เล่นกันข้ามวันข้ามคืนก็
มี ทําให้มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้ง่ายกว่าการเข้าไปในสถานที่อื่น

เสียงจากนักพนัน19

18
“เปิดธุรกิจ‘หลงจู-๊ สมชาย’เจ้าของสถานบันเทิง-อสังหาฯ 3 บริษัท,” สํานักข่าวอิศรา (11 กุมภาพันธ์ 2564),
จาก https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/95902-isiranews-168.html
19
สัมภาษณ์ช่วงเดือนกรกฎาคม 2565
16

ชายอายุ 33 ปี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชนในจังหวัดขอนแก่น เล่นพนันมา


ตั้งแต่สมัยเรียน ทั้งพนันฟุตบอล เล่นไพ่ มาจนถึงออนไลน์ แต่ปัจจุบันก็ยังเข้าบ่อน
อยู่บ้าง เพราะมีเพื่อนเปิดบ่อน เปิดโต๊ะบอลอยู่บ้าง

เขาระบุว่าช่วงแรก ๆ ของโควิด-19 พอทางจังหวัดห้ามไม่ให้มีการรวมกลุ่ม แต่ก็ยัง


มีหลายบ่อนที่เปิดเล่นกันปกติเลย จนมีการติดเชื้อในบ่อน บ่อนกลายเป็นแหล่ง
แพร่เชื้อ มีคนมาทําข่าวคนเล่นพนันในบ่อนช่วงโควิด-19 ที่ขอนแก่น ทําให้ตํารวจ
ขยันจับทันที แต่ก็ยังมีการเล่นกันอยู่ดี เป็นบ่อนเล็ก ๆ เจ้ามือจะวนไปเล่นตาม
ชุมชนที่อยู่นอกเมืองไกล ๆ เจ้ามือบางคนเขาทําเป็นอาชีพก็ต้องหาหนทางเล่นให้
ได้ แต่คนส่วนมากก็หันไปเล่นออนไลน์แทน

“..ภาคอื่นผมไม่รู้ แต่อีสานเราชอบสนุกทุกเทศกาล สนุกได้หมด การพนันก็คู่กับ


ความสนุกอยู่แล้ว งานบุญบั้งไฟอย่างนี้ก็เล่นพนันขันต่อกันโจ๋งครึ่ม บั้งไฟใครขึ้นสูง
กว่ากัน ช่วงหลังมีการรณรงค์ไม่ให้มีการพนันในประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นไปไม่ได้
หรอก เพราะเงินที่ใช้จัดงานส่วนหนึ่งก็มาจากเงินพนันนั่นล่ะ..”

เขาให้ข้อมูลอีกว่างานศพก็เป็นที่ที่มีการเล่นพนัน มันคือการเล่นเป็นเพื่อนเจ้าบ้าน
เพราะตามบ้านนอกชอบตั้งศพไว้ที่บ้าน พอสวดศพเสร็จคนกลับหมดก็จะเงียบ ก็
เลยหาอะไรทําที่มันดึงคนมาอยู่เยอะ ๆ ก็เลยเล่นพนันกันให้มันคึกคัก ปกติก็มีญาติ
ๆ หรือคนที่มางานศพเล่นกันเอง แต่บางทีก็มีเจ้ามือที่เป็นพวกมืออาชีพตั้งใจมา
เปิดวงไฮโลวงไพ่ตามงานศพโดยเฉพาะ เพราะเล่นพนันงานศพตํารวจเขาไม่จับอยู่
แล้ว แถมเจ้ามือพวกนี้แบ่งเงินที่ได้ใส่ซองช่วยงานศพด้วย
17

“..หรื อ เทศกาลอย่ า งแข่ ง เรื อ ที ่ แ ต่ ล ะหมู ่ บ ้ า นมาแข่ ง กั น ก็ ล งพนั น กั น เยอะ


สปอนเซอร์ทีมแข่งเรือก็มาจากเงินพนันอีกเหมือนกัน ยังมีตีไก่อีกที่เกือบทุก
หมู่บ้านก็ว่าได้ที่มีบ่อนไก่”

หญิงวัย 62 ปี อาชีพรับจ้างทั่วไปในจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งวงเล่นไพ่กับเพื่อนบ้าน


มานานกว่า 20 ปี ในช่วงการระบาดของโควิด-19 วงไพ่ของเธอและเพื่อนบ้านหยุด
ไปชั่วคราว (ไม่เกิน 2-3 เดือน) แต่ก็กลับมาเล่นกันใหม่ แม้จะติดตามข่าวสารเรื่อง
โควิด-19 อยู่ตลอดเวลา แต่เธอระบุว่าก็ป้องกันตนเองตามที่ภาครัฐแนะนําแล้วคือ
การสวมหน้ากากอนามัยเกือบตลอดเวลา

“..เราเล่นกับคนรู้จักคุ้นเคยกันอยู่แล้ว ตั้งแต่ช่วงโควิดเป็นต้นมาก็ใส่หน้ากากเล่น
กันมาตลอดจนถึงทุกวันนี้ คนที่ติดโควิดเขาก็ไปติดที่อื่นมา ไม่ได้ติดจากวงไพ่เรา..”

การแพร่ของเชื้อจากคาสิโนประเทศเพื่อนบ้านสู่ไทย

กรณีโรงแรม 1G1 (ธันวาคม 2563) โรงแรมขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ จ.ท่าขี้เหล็ก


ประเทศเมียนมา ห่างจากพรมแดนไทยด้าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ประมาณ 1.5
กิโลเมตร ภายในโรงแรมเป็นสถานบันเทิงครบวงจร ตั้งแต่ห้องพัก ห้องประชุมขนาด
ใหญ่ ดิสโก้เธค ห้องคาราโอเกะ และบางส่วนเปิดเป็นคาสิโน โดยผู้ติดเชื้อเป็นชาว
ไทยที่เข้าไปทํางานในโรงแรมแห่งนี้และลักลอบกลับประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย มี
การสรุปตัวเลขผู้ติดเชื้อจากคลัสเตอร์โรงแรม 1G1 นี้มีถึง 38 รายเลยทีเดียว

กรณีคาสิโนสกายคอมเพล็กซ์ (มกราคม 2564) ตั้งอยู่ในจังหวัดเมียวดี ประเทศ


เมียนมา ฝั่งตรงข้ามอําเภอแม่สอด จังหวัดตาก พนักงานของคาสิโนสกายคอมเพล็กซ์
18

125 คนที่เป็นคนไทยได้แสดงความจํานงกับฝ่ายความมั่นคงขอกลับเข้ามาฝั่งไทย โดย


ได้ขึ้นรถลําเลียงพลของทางราชการมาส่งตัวที่จุดรับตัวในสถานที่กักกันของรัฐ ต่อมา
ผลการตรวจหาเชื้อโควิด-19 พบว่าติดเชื้อถึง 65 คน

แพทย์รายหนึ่งที่ทํางานในพื้นที่อําเภอแม่สอดระบุว่าจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 คลัสเตอร์
คาสิโนสกายคอมเพล็กซ์ ส่วนหนึ่งนั้นเป็นคนไทยที่ไปทําอาชีพเด็กเอ็นเตอร์เทนและ
แจกไพ่ในคาสิโน พอติดเชื้อแล้วอาการป่วยหนักจึงขอกลับเข้ามารักษาตัวยังฝั่งไทย
เมื่อหายดีแล้วส่วนหนึ่งก็จะต้องกลับไปทํางานต่อที่คาสิโนอีก เนื่องจากยังติดสัญญา
อยู่กับคาสิโน ที่น่าแปลกใจคือ คาสิโนยังคงเปิดให้บริการ ทั้ง ๆ ที่มีการแพร่ระบาด
ของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง20

“บ่อน” ในไทยใช่มีแต่ที่ผิดกฎหมาย

คลัสเตอร์ต่าง ๆ ที่กล่าวถึงข้างต้น ต้องเรียกว่ามีทั้งที่เป็นสถานการพนันซึ่ง ‘ถูก’


กฎหมาย และ ‘ผิด’ กฎหมายปะปนกันไป ซึ่งตามกฎหมายการพนันของไทยคือ
พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 แบ่งการพนันของเป็น 2 กลุ่ม (ระบุอยู่แนบท้าย
พระราชบัญญัติ) ได้แก่ การพนันตามบัญชี ก. ซึ่งห้ามมิให้ออกใบอนุญาตเด็ดขาด เช่น
แปดเก้า ไพ่สามใบ ไฮโลว์ บาการา สล็อทแมชีน และการพนันตามบัญชี ข. ซึ่ง
สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ ปัจจุบันมี 28 ชนิด ซึ่งได้มีการแบ่งอํานาจในการให้
อนุญาตภายใต้เงื่อนไขหลายชั้น และแยกย่อยเพิ่มเติมอีกเป็น 33 ชนิด อิงตาม
กฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2548) ดังตาราง

ชนิดการพนัน อํานาจจัดตั้ง/อนุญาตให้มี

20
สัมภาษณ์ช่วงเดือนเมษายน 2564
19

การพนั น อั น ระบุ ไ ว้ ใ นบั ญ ชี ก. เช่ น สามารถเล่ น ได้ ณ สถานกาซิ โ นของ


แปดเก้ า ไพ่ ส ามใบ ไฮโลว์ บาการา ร ั ฐ บ า ล ซ ึ ่ ง ร ั ฐ ม น ต ร ี ว ่ า ก า ร
ฯลฯ หรื อ การเล่ น ซึ ่ ง มี ล ั ก ษณะ กระทรวงการคลังจัดตั้งขึ้น21
คล้ายกัน

การพนันตามบัญชี ข. ดังนี้ - ผู้อํานวยการสํานักการสอบสวนและนิติ


ก า ร ก ร ม ก า ร ป ก ค ร อ ง ส ํ า ห รั บ
(1) แข่งม้าหรือแข่งสัตว์อื่น ซึ่งไม่มีการ
กรุงเทพมหานคร
เล่นโตแตไลเซเตอร์ สวีป หรือบุ๊กเมกิง
รวมอยู่ด้วย - นายอํ า เภอหรื อ ปลั ด อํ า เภอผู ้ เ ป็ น
หั ว หน้ า ประจํ า กิ ่ ง อํ า เภอแห่ ง ท้ อ งที่
(2) วิ่งวัวคน ซึ่งไม่มีการเล่นโตแตไลเซ
สําหรับจังหวัดอื่นนอกจาก
เตอร์ สวีป หรือบุ๊กเมกิง รวมอยู่ด้วย
กรุงเทพมหานคร
(3) ไพ่นกกระจอก ไพ่ต่อแต้ม หรือไพ่
เป็นเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต
ต่างๆ เว้นแต่ไพ่โป๊กเกอร์ และไพ่เผ

(4) ดวด

(5) ข้องอ้อย

(6) สะบ้าทอย

21
เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงื่อนไขการพนันตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช
2478 (ฉบับที่ 2) ในมาตรา 4 “การพนันอันระบุไว้ในบัญชี ก. ท้ายพระราชบัญญัติพนัน พุทธศักราช 2478 หรือ
การเล่นซึ่งมีลักษณะคล้ายกันนั้น จะจัดให้มี เข้าเล่น หรือเข้าพนันได้ ณ สถานกาซิโนของรัฐบาล ซึ่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจัดตั้งขึ้น”
20

(7) สะบ้าชุด

(8) ชกมวย หรือมวยปลํ้า

การพนันตามบัญชี ข. ดังนี้ - ในกรุงเทพมหานคร ให้ออกใบอนุญาต


ได้เมื่ออธิบดีกรมการปกครองสั่งอนุมัติ
(1) ให้สัตว์ต่อสู้กัน
แล้ว
(2) ไพ่โป๊กเกอร์ หรือไพ่เผ
- ในจังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร
(3) บิลเลียด ให้ อ อกใบอนุ ญ าตได้ เ มื ่ อ ผู ้ ว ่ า ราชการ
จังหวัดสั่งอนุมัติแล้ว
(4) การจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัล
ด้วยการเสี่ยงโชค โดยวิธีใดๆ ในการ
ประกอบกิจการค้าหรืออาชีพ

การพนันตามบัญชี ข. ดังนี้ - ให้ออกใบอนุญาตได้เมื่อรัฐมนตรีว่าการ


กระทรวงมหาดไทยสั่งอนุมัติแล้ว
(1) แข่งเรือพุ่ง หรือแข่งเรือล้อ

(2) ชี้รูป

(3) โยนห่วง

(4) โยนสตางค์ ห รื อ วั ต ถุ ใ ดๆ ลงใน


ภาชนะต่างๆ

(5) ตกเบ็ด
21

(6) จับสลากโดยวิธีใดๆ

(7) ยิงเป้า

(8) ปาหน้าคน ปาสัตว์ หรือสิ่งใดๆ

(9) เต๋าข้ามด่าน

(10) หมากแกว

(11) หมากหัวแดง

(12) บิงโก

(13) สลากกินแบ่ง สลากกินรวบ หรือ


การเล่นอย่างใดที่เสี่ยงโชคให้เงินหรือ
ประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้เล่นคนใดคน
หนึ่ง

(14) แข่งม้าหรือแข่งสัตว์อื่น ซึ่งมีการ


เล่นโตแตไลเซเตอร์ สวีป หรือบุ๊กเมกิง
รวมอยู่ด้วย

(15) วิ่งวัวคน ซึ่งมีการเล่นโตแตไลเซ


เตอร์ สวีป หรือบุ๊กเมกิง รวมอยู่ด้วย

(16) โตแตไลเซเตอร์ สําหรับการเล่น


อย่างใดอย่างหนึ่ง
22

(17) สวี ป สํ า หรั บ การเล่ น อย่ า งใด


อย่างหนึ่ง

(18) บุ๊กเมกิง สําหรับการเล่นอย่างใด


อย่างหนึ่ง

(19) ขายสลากกินแบ่ง สลากกินรวบ


หรือสวีป ซึ่งไม่ได้ออกในประเทศไทย
แต่ได้จัดให้มีขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย
ของประเทศที่จัดนั้น

(20) ฟุตบอลโต๊ะ

(21) เครื่องเล่นซึ่งใช้เครื่องกล พลัง


ไฟฟ้า พลังแสงสว่าง หรือพลังอื่นใดที่
ใช้เล่นโดยวิธีสัมผัส เลื่อน กด ดีด ดึง
ดัน ยิง โยน โยก หมุน หรือวิธีอื่นใดซึ่ง
สามารถทําให้แพ้ชนะกันได้ไม่ว่าจะ
โดยมีการนับแต้มหรือเครื่องหมายใดๆ
หรือไม่ก็ตาม

ตาราง: ชนิดการพนันกับอํานาจอนุญาตภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ

สะท้อนให้เห็นว่าอํานาจในเรื่องนี้ถูกรวมศูนย์ไว้ที่ส่วนกลาง เพราะมีการพนันถึง 21
ชนิด เช่น โยนสตางค์หรือวัตถุใด ๆ ลงในภาชนะต่าง ๆ ยิงเป้า บิงโก ฟุตบอลโต๊ะ ที่
ต้องผ่านการอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อน เจ้าพนักงานซึ่งก็คือ
23

นายอําเภอจึงจะออกใบอนุญาตให้ได้ ส่วนที่เป็นอํานาจของนายอําเภอโดยตรงมีเพียง
8 ชนิด ซึ่งก็ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าใดนัก

ปัญหาสําคัญคือไม่มีสถิติทางการเกี่ยวกับเรื่องนี้จากกระทรวงมหาดไทยเผยแพร่
ออกมา เราจึงไม่ทราบจํานวนตัวเลขการออกใบอนุญาตให้เล่นการพนัน ไม่ว่าเป็น
ยอดรวม จําแนกตามชนิด และแนวโน้มในแต่ละปี อันจัดเป็นสถานการพนันที่ถูก
กฎหมาย จากการโทรศัพท์สอบถามได้ความเพียงว่าชนิดการพนันที่มีการยื่นขอ
ใบอนุญาตมากที่สุดก็คือ การจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัลด้วยการเสี่ยงโชคโดยวิธีใด
ๆ ในการประกอบกิจการค้าหรืออาชีพ หรือในคําเรียกย่อ ๆ ว่า “แถมพก”

เราจึงลองประเมินดูคร่าว ๆ สําหรับการพนันที่คนไทยนิยมมาก ได้แก่ ชนไก่ มีสนาม


ชนไก่กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศรวมแล้วประมาณ 700 แห่ง มีเยอะเป็น
พิเศษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ22 ชนวัว ซึ่งเป็นนิยมมากทางภาคใต้ มีอยู่จํานวน
28 สนาม เยอะสุดอยู่ที่สงขลา 9 แห่ง23 ชกมวย ในกรุงเทพฯ มีสนามมวยเวทีลุมพินี
และสนามมวยราชดําเนิน ต่างจังหวัดเฉลี่ยภาคละ 4-6 สนาม (เหนือ-อีสาน-กลาง-
ใต้) 24 แข่งม้า ในกรุงเทพฯ มีที่สนามราชกรีฑาสโมสร สนามต่างจังหวัด เช่นที่
เชียงใหม่ นครราชสีมา ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าแทบจะปิดตัวลงไปแล้ว

ขณะที่บ่อนซึ่งลักลอบเปิดอย่างผิดกฎหมายไม่พ้นบ่อนไพ่เป็นหลัก (เนื่องจากอยู่ใน
บัญชี ก. เป็นการพนันชนิดต้องห้าม) ซึ่งเอาเข้าจริงก็อาจแยกย่อยได้อีกหลายรูปแบบ

22
ที่มาของข้อมูล: http://region6.dld.go.th/webnew/images/sum61/8.xlsx
23
“โควิดกระทบคนเลี้ยงโค รายรับไม่มีรายจ่ายเดือน 3 แสน วอน ศบค.ไฟเขียวเปิด ‘สนามกีฬาชนโค’,” มติชน
ออนไลน์ (1 สิงหาคม 2563), จาก https://www.matichon.co.th/region/news_2288957
24
ประมาณการจาก “1.4 หมื่นล.! ประมาณมูลค่าพนันวงการมวยไทย ก่อนเชื้อโรคโควิดระบาด,” สํานักข่าวอิศ
รา (30 มีนาคม 2563), จาก https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/87024-repoer02-
10.html
24

ไม่ว่าจะเป็นบ่อนชุมชน บ่อนวิ่ง บ่อนงานศพ กระทั่งบ่อนถาวร ส่วนจะมีมากมาย


เพียงใดนั้น ยากแก่การประมาณการออกมาเป็นตัวเลขได้ ไม่ว่ารายจังหวัด ภาค หรือ
ทั่วประเทศ แต่มีแนวโน้มจับกุมบ่อนการพนัน (เล่นการพนันตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป) มาก
ขึ้นเรื่อย ๆ ในปีหลัง ๆ สถิติในปี 2564 เพิ่มเป็น 89 คดี จํานวนผู้ต้องหา 2,431 คน

ไก่ชน: การพนันพื้นบ้านที่หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตชนบท

การระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อการพนันถูกกฎหมายที่ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของคน
ไทยในชนบทในวงกว้างที่สุดนั่นคือ “ไก่ชน” มีสนามชนไก่กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของ
ประเทศรวมแล้ ว 700 กว่ า แห่ ง โดยเฉพาะแถบภาคอี ส าน มี ไ ก่ ช นอยู ่ ใ นตลาด
ประมาณ 100 ล้านตัว เป็นธุรกิจที่มีห่วงโซ่ข้องเกี่ยวกับคนนับล้านคนซึ่งได้รับ
ผลกระทบจากการถูกสั่งห้ามยาวนานเกือบ 1 ปี

ตัวแทนของผู้เกี่ยวข้องกับการพนันไก่ชนนี้ก็ได้ออกมาเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง เพื่อ
กดดันให้รัฐผ่อนคลายนโยบายเข้มงวด เช่นในเดือนกรกฎาคม 2563 สมาคมอนุรักษ์
และพัฒนาไก่พื้นเมืองไทยและตัวแทนวงการไก่ชนได้จัดทําวีดีทัศน์และเอกสารข้อมูล
นําเสนอแก่กรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) โดยได้ร้องขอให้พิจารณาเปิดสนามไก่ชน
เนื่องจากในช่วงนั้นสถานการณ์โควิด-19 ได้เบาบางลง25 และในช่วงเดือนมีนาคม
2564 กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงไก่ชนได้ออกมาขอบคุณที่รัฐบาลได้มีมาตรการผ่อนคลายทํา
ให้ประชาชนที่มีอาชีพชนไก่ได้กลับมาประกอบอาชีพอีกครั้งหลังจากสถานการณ์การ
แพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายลง26 จนไปถึงความพยายามผลักดัน “เสรีชนไก่”
25
“สมาคมอนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นเมืองไทย ยื่นเรื่องขอให้ ศบค.คลายล็อคเปิดสนามชนไก่,” ไก่ชนออนไลน์ (3
กรกฎาคม 2563), จาก https://kaichononline.com/social_stories/news/00292
26
“กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงไก่ชนขอบคุณนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลที่มีมาตรการผ่อนคลายทําให้ประชาชนที่มีอาชีพ
ชนไก่ได้กลับมาประกอบอาชีพอีกครั้ง หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย,” กลุ่ม
25

ในช่วงโควิด-19 ด้วยเช่นกัน โดยในเดือนตุลาคม 2563 นายกสมาคมอนุรักษ์และ


พัฒนาไก่ไทยได้เข้าพบนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และ
นายชูศักดิ์ คีรีมาศทอง ส.ส.สุโขทัย พรรคพลังประชารัฐ เพื่อขอให้การสนับสนุนและ
เสนอแผนปฏิบัติการการเสนอกฎหมายโดยประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง “ร่าง พ.ร.บ.
อนุรักษ์และพัฒนาการไก่พื้นเมือง”27 ซึ่งกฎหมายฉบับนี้จะมีการปรับปรุงและทําให้
การไก่ชนถูกกฎหมายอย่างเป็นเรื่องเป็นราว โดยมีกฎหมายรองรับ เชื่อว่าจะทําให้
เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ สร้างเงินหมุนเวียนภายในประเทศ เกิด
ห่วงโซ่อาชีพ สร้างความมั่นคงให้กับประชาชนที่เพาะเลี้ยงไก่ชน28

ย้ อ นไปในช่ ว งที ่ ไ ม่ ส ามารถเล่ น พนั น ไก่ ช นได้ เ นื ่ อ งจากมาตรการของ


กระทรวงมหาดไทย ได้ส่งผลกระทบต่อคนในแวดวงนี้อย่างหนัก บางคนมีอาชีพเลี้ยง
ไก่ชนขายสร้างรายได้จุนเจือครอบครัว หรือบ้างก็เลี้ยงไก่ชนเพื่อการอนุรักษ์และ
พัฒนาสายพันธุ์ มีการประเมินความเสียหายว่าน่าจะมีมูลค่าหลายพันล้านบาท ผู้
เลี้ยงไก่ชนต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายและหนี้ที่อาจเกิดขึ้นตามมา ขณะที่ตลาดยังคง
ปิดตัว ไม่สามารถจําหน่ายได้ทั้งภายในประเทศ และส่งออกไปต่างประเทศ29

เสียงจากคนในแวดวงไก่ชนภาคอีสาน30

ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก (25 มีนาคม 2564), จาก


https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/40365
27
“พิษโควิด “สนามไก่ชน” สังเวียนคนการเมือง,” คมชัดลึก (5 มกราคม 2564) จาก,
https://www.komchadluek.net/scoop/454176
28
“ยื่น 1.2 หมื่นรายชื่อเสนอร่าง “พ.ร.บ.อนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นเมือง”,” ผู้จัดการออนไลน์ (2 มีนาคม 2565)
จาก, https://mgronline.com/politics/detail/9650000020967
29
“เซียนไก่ครวญ! พิษโควิดกระทบหนัก เตรียมยื่นนายกฯขอผ่อนปรนเปิดบ่อนไก่ชน,” TNN Online (1
สิงหาคม 2563) จาก, https://www.tnnthailand.com/news/local/49733/
30
สัมภาษณ์ช่วงเดือนกรกฎาคม 2565
26

ชายอายุ 30 ปี พนักงานหน่วยราชการ ผู้เพาะเลี้ยงไก่ชนพื้นบ้านในจังหวัด


กาฬสินธุ์ เติบโตขึ้นมาก็เห็นคนในชุมชนที่เลี้ยงไก่ชน และพนันไก่ชนมาโดยตลอด
แม้กระทั่งญาติของเขาเอง เคยช่วยญาติ ๆ เลี้ยงไก่ชนมาบ้าง เป็นส่วนหนึ่งของวิถี
ชีวิต “ไทบ้าน” ทั่วไป พอเรียนจบปริญญาตรีกลับมาอยู่ที่บ้านก็เริ่มเพาะเลี้ยงไก่
ชน ทั้งขายและนําไปชนแข่งเอาเงินเดิมพันอยู่ตลอดจนถึงปัจจุบัน

เขาให้ข้อมูลว่าหลังจากช่วงโควิด-19 ยังมีการลักลอบชนไก่อยู่บ้าง จากปกติมีการ


ชนกันแทบทุกวัน ทั้งสนามใหญ่ สนามเล็กหรือสนามซ้อม ก็ลดลงเยอะเพราะต้อง
ชนกันแบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ นัดหมายกันเองแบบไม่เป็นทางการ เพราะถูกเจ้าหน้าที่
จับตาอยู่พอสมควร

เมื่อสนามไก่ชนต้องปิดเพราะโควิด-19 ส่งผลกระทบไปทุกระดับเลย คนเพาะเลี้ยง


ไก่ชนขายไก่ขายไม่ได้ เพราะคนซื้อก็ไม่รู้จะไก่เอาไปชนที่ไหน ถึงแม้ว่าขายไม่ได้
แต่ไก่ต้องกินอาหารทุกวันอยู่ดี ต้องใช้เงินหมุนเวียนเข้ามาช่วยตลอดเวลา ไก่แต่ละ
ตัวมีราคาสูงจะปล่อยหรือฆ่าทิ้งก็ไม่ได้ ฟาร์มไก่ตีใหญ่ ๆ ที่มีไก่หลายสิบตัวยิ่งมี
ปัญหาต้องสูญเงินเยอะ เพื่อประคองให้ผ่านช่วงโควิดไปให้ได้

“..ซุ้มไก่ชนที่เลี้ยงไก่ชนเพื่อออกชนเป็นอาชีพก็ไม่มีสนามออกชน คนดูแลไก่ตี
ส่วนมากจะทํางานเป็นจ๊อบ ๆ ก็ขาดรายได้ ส่วนเจ้าของสนามเมื่อสนามเปิดไม่ได้ก็
ต้องยอมขาดทุน เพราะมีค่าใช้จ่ายเยอะเหมือนกัน ต้องมีลูกจ้าง มีค่าใบอนุญาต
เปิดสนามที่ก็ต้องขออนุญาตกันแบบปีต่อปี ต่อใบอนุญาตครั้งหนึ่งน่าจะเป็นหลัก
แสน..” เขาระบุ

ชายวัย 33 ผู้ประกอบการหอพักและเปิดค่ายไก่ชนในจังหวัดหนึ่งทางภาค
อีสาน เล่าว่าปกติเป็นคนที่ชอบเล่นพนันประเภทต่าง ๆ อยู่แล้ว อย่างพนันบอล
27

บาราคาออนไลน์ เมื่อก่อนทํางานที่กรุงเทพฯ พอย้ายกลับมาเปิดธุรกิจตัวเองที่


บ้านเกิดก็เริ่มสนใจการชนไก่ เพราะมีเพื่อนกับคนรู้จักชนไก่กันอยู่แล้ว เลยเริ่มเข้า
สู่วงการชนไก่ จนได้เปิดค่ายตีไก่ขนาดกลาง ๆ ร่วมกับญาติและเพื่อนสมัยเรียน

“..ในช่วงมีโควิด-19 สนามไก่ชนในจังหวัดปิดไปเยอะ โดยเฉพาะสนามใหญ่ ๆ ที่


คนเข้าเยอะ ๆ คู่ชนไก่เดิมพันกันทีสูงเป็นหลักล้านต้องปิดยาวเลย ต้องเปลี่ยนไป
แอบชนที่สนามเล็กที่อยู่ไกล ๆ ลับหูลับตาคน มักอยู่ตามชุมชนด้านนอกเมือง จับคู่
ตีกันเองเงียบ ๆ เดิมพันกันภายในระหว่างคู่พนัน ไม่มีคนอื่นมาร่วมกองพนัน ทําให้
เงินเดิมพันน้อยลง..”

เขาสะท้อนอีกว่าช่วงโควิด-19 ทําให้วงการไก่ชนกระทบมาก เพราะไก่ชนแต่ละคู่


ลงเงินกันเป็นหลักล้านบาท มีคนเกี่ยวข้องเป็นร้อย ตั้งแต่ลูกจ้างสนาม ผู้จัดหรือ
โปรโมเตอร์ ค่ายไก่ชน คนเพาะเลี้ยงไก่ ได้รับผลกระทบกันหมด อาจเลี่ยงไปพนัน
กันทางออนไลน์บ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย ชนไก่ไม่เหมือนพนันแบบอื่น..”

“..ลูกจ้างในธุรกิจไก่ตีส่วนมากไม่ได้เป็นลูกจ้างประจํา ค่ายของเราช่วงก่อนโควิดก็
จ้างคนมาดูแลไก่ให้ แต่ช่วงโควิดไม่ได้จ้างไปพักใหญ่ ๆ ต้องดูแลไก่เอง แต่คนที่เรา
จ้างมาก็มีรายได้ทางอื่นอยู่แล้ว ดีที่ไก่ชนเราไม่ได้เยอะเลยดูแลเองได้ ตอนนี้
กลับมาจ้างเหมือนเดิมแล้ว ค่าอาหาร ค่าดูแลต่าง ๆ ต้องใช้จ่ายตลอด ก็เลยต้อง
หาทางแอบเอาไก่ไปชนอย่างที่เล่าให้ฟังไป แม้ทางการจะห้าม” เขากล่าวทิ้งท้าย

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในอีกด้านหนึ่งเท่ากับไปทําให้ธุรกิจการ
พนันซึ่งหลบซ่อนตัวอยู่ใต้ดินกลับเติบใหญ่ขยายตัว เพื่อรองรับตลาดที่ความต้องการ
ของผู้คนมิได้หายตามไปด้วยในห้วงเวลาดังกล่าว โดยเฉพาะช่วงที่มีการล็อคดาวน์ได้
ทําให้ผู้เล่นหันเหเข้าสู่การพนันออนไลน์เพิ่มขึ้น แต่เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย บ่อน
เถื ่ อ นในประเทศกลั บ มาเฟื ่ อ งฟู อ ี ก ครั ้ ง จนกลายเป็ น คลั ส เตอร์ ส ํ า คั ญ ในการ
28

แพร่กระจายของเชื้อ เมื่อถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์ นโยบายการปราบปรามอย่างเอา


จริงเอาจังถึงจะตามมา

สรุปรวมความได้ว่ากิจการที่ดําเนินการโดยถูกต้องตามกฎหมายย่อมเอื้อให้ภาครัฐ
สามารถเข้าไปใช้บังคับมาตรการควบคุมโรคได้อย่างเห็นผลดีกว่า ส่วนที่ยังเป็น
จุ ดอ่ อนคื อ กิ จการที ่ อาศั ยช่ องโหว่ ทางกฎหมาย หรื อจงใจฝ่ าฝื นไม่ ปฏิ บั ติ ตาม
กฎหมาย เกี่ยวพันกับผลประโยชน์ในทางลับซึ่งมีผลให้กลไกรัฐไม่ทํางานอย่างที่ควร
เป็น

“บ่ อ น” จึ ง เป็ น อี ก ตั ว อย่ า งหนึ ่ ง ในการทํ า ความเข้ า ใจปั ญ หาเชิ ง โครงสร้ า งของ
สังคมไทยอันสลับซับซ้อน.
29

บาร์
Summary

• คลัสเตอร์สถานบันเทิงถือเป็นคลัสเตอร์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่
สําคัญมาตลอด ตั้งแต่ช่วงปี 2563-2564 โดยเฉพาะ ‘คลัสเตอร์สถาน
บันเทิงย่านทองหล่อ’ ที่มีการเกิดขึ้นซํ้าถึง 2 ครั้ง
• ท่ามกลางช่องโหว่กฎหมาย ประมาณกันว่ามีสถานบริการที่สุ่มเสี่ยงต่อ
การหลบเลี่ยงกฎหมายมากกว่า 200,000 แห่ง ซึ่งยากที่จะนํามาตรการ
ควบคุมโรคเข้าไปบังคับใช้ได้อย่างเห็นผล
• ด้วยหลายสาเหตุ ‘สถานบริการ’ คือธุรกิจลําดับแรก ๆ ที่ถูกปิด และเมื่อ
สถานการณ์คลี่คลายก็อยู่ในลําดับท้าย ๆ ที่จะได้เปิด ส่งผลให้ธุรกิจ
กลางคืนล้มหายตายจากหรือไม่ก็ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองครั้งใหญ่อย่างที่ไม่
เคยเกิดขึ้นมาก่อน ขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบถึงคนทํางานภาคกลางคืน
ที่ต้องตกงานเป็นจํานวนมาก ทั้งที่ธุรกิจกลุ่มนี้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
มหาศาล
• สาเหตุหลักที่ทําให้สถานบันเทิงกลายเป็นคลัสเตอร์อยู่เนือง ๆ เป็นเพราะ
วิถีของนักเที่ยว คนทํางานกลางคืน และสิ่งแวดล้อมของสถานบันเทิง ซึ่งก็
มักเกิดขึ้นในช่วงที่มีการผ่อนคลายมาตรการควบคุม

คลัสเตอร์ทองหล่อ: สถานบริการเลี่ยงกฎหมายกับวิถีนักเที่ยว เส้นบรรจบของ


ชีวิตกลางคืน
30

ต้องยอมรับว่าการระบาดของ COVID-19 ที่เป็นคลัสเตอร์สถานบันเทิงได้ทําให้เกิด


การระบาดเป็นวงกว้างไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะคลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทองหล่อ
ทั้งสองครั้งอันเป็นต้นตอการระบาดในระลอกที่ 1 และระลอกที่ 3 ของไทย (ครั้งที่ 1
ช่วงเดือนมีนาคม 2563 ครั้งที่ 2 ช่วงเดือนมีนาคม 2564)

คลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทองหล่อครั้งที่ 1: ช่วงเดือนมีนาคม 2563 ในช่วงการ


ระบาดของโควิด-19 ระลอกแรกของประเทศไทย เกิดการระบาดจากกรณีงานเลี้ยง
สังสรรค์ในสถานบันเทิงย่านทองหล่อตั้งแต่วันที่ 12-19 มีนาคม 2563 โดยมีผู้ติดเชื้อ
ยืนยัน 57 คน คาดว่าสาเหตุเริ่มจากวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 มีกลุ่มผู้ติดเชื้อกลุ่ม
แรก ๆ ได้พบปะกลุ่มเพื่อนนักท่องเที่ยวชาวฮ่องกงที่มาเที่ยวเมืองไทย31 ซึ่งคลัสเตอร์
สถานบันเทิงย่านทองหล่อช่วงนี้รวมกับคลัสเตอร์สนามมวยลุมพินีได้ทําให้เชื้อโควิด-
19 กระจายไปยัง 41 จังหวัดทั่วประเทศ ผลกระทบจากการระบาดของคลัสเตอร์
สถานบั น เทิ ง ย่ า นทองหล่ อ ช่ ว งนี ้ ไ ด้ ท ํ า ให้ ต ่ อ มาในวั น ที ่ 17 มี น าคม 2563
คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการเร่งด่วน เลื่อนวันหยุดสงกรานต์ รวมถึง
ให้ปิดมหาวิทยาลัย โรงเรียนนานาชาติ สถาบันกวดวิชา สถานบันเทิง นวดแผน
โบราณ และโรงมหรสพในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล งดจัดกิจกรรมรวมคนจํานวน
มาก พร้อมกับการออกนโยบาย “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” หลายจังหวัดเริ่ม
ประกาศห้ามจําหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงมีการประกาศปิดพื้นที่เสี่ยง ใน
วั น ที ่ 2 เมษายน 2563 จึ ง มี ก ารประกาศห้ า มประชาชนออกนอกเคหสถานทั่ ว
ราชอาณาจักรหรือเคอร์ฟิว ตั้งแต่เวลา 22.00-04.00 น. ต่อมาในวันที่ 4 เมษายน
2563 สํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้ห้ามเครื่องบินทุกประเทศและ
ผู้โดยสารเข้าประเทศ

31
“แกะรอย ใครคือผู้แพร่เชื 3อสนามมวย-สถานบันเทิง,” Thai PBS (BC มีนาคม EFGH),
จาก https://news.thaipbs.or.th/content/289996
31

ก่อนการระบาดของคลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทองหล่อ (และคลัสเตอร์สนามมวย
ลุมพินี) ข้อมูล ณ วันที่ 11 มีนาคม 2563 ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อสะสมเพียง 59 ราย
เสี ย ชี ว ิ ต รวม 1 ราย ต่ อ มาในวั น ที ่ 1 กรกฎาคม 2563 ที ่ ม ี ก ารคลายล็ อ กดาวน์
ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็น 3,173 ราย และเสียชีวิตทั้งสิ้น 58 ราย

คลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทองหล่อครั้งที่ 2: ในปีต่อมาก็เกิดคลัสเตอร์จากสถาน
บันเทิงย่านทองหล่อซํ้าอีกครั้งในช่วงเดือนมีนาคม 2564 เช่นเดียวกัน คราวนี้เป็นข่าว
ฮือฮามากกว่าเดิม เนื่องจากมีบุคคลผู้ที่มีชื่อเสียงในสังคมติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์
ใหม่เสียเอง เช่น นายนะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจําประเทศไทย ที่มี
การเปิดเผยว่าได้เดินทางไปยังคริสตัล เอกซ์คูลซีพ คลับ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 256432
ซึ่งจากการสืบสวนโรคในภายหลังพบว่ากลุ่มนักเที่ยวในสถานบันเทิงย่านทองหล่อใน
วันนี้ (25 มีนาคม 2564) ทยอยติดเชื้อโควิด-19 เป็นจํานวนมาก และต่อมานายศักดิ์
สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กลายเป็นรัฐมนตรีคนแรกที่ติดเชื้อ
โควิด-19 โดยเขาอ้างว่าติดจากคนใกล้ชิดที่ได้รับเชื้อมาการไปเที่ยวสถานบันเทิงย่าน
ทองหล่อ33

อาจกล่าวได้ว่าคลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทองหล่อครั้งที่ 2 ในช่วงนี้เองที่ถือเป็น
จุดเริ่มต้นของการระบาดระลอกที่ 3 ของไทย นับตั้งแต่ 31 มีนาคม 2564 สถานี
ตํ า รวจนครบาลทองหล่ อ ได้ ท ราบข่ า วจากกองควบคุ ม โรคสํ า นั ก อนามั ย
กรุงเทพมหานครว่ามีผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากสถานบริการในพื้นที่ของ สน.ทองหล่อ

32
“‘ทูตญี;ปนุ่ ’ ติดโควิด กล้ าบอกตรง...ไปทองหล่อ พร้ อม ‘ขอโทษ’ คนไทย,” กรุงเทพธุรกิจ ([
เมษายน 2564), จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/931783
33
“ศักดิสT ยาม ชิดชอบ รมต.คนแรกทีVตดิ โควิด คาดคนใกล้ ชิดติดจาก “คลัสเตอร์ สถาน
บันเทิง”,” บีบีซีไทย (\ เมษายน 2564), จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-
56658376
32

ซึ่งผู้ติดเชื้อรายแรกได้มาเที่ยวที่ร้านคริสตัล เอกซ์คูลซีพ คลับกับเพื่อนอีก 5 คน เมื่อ


วันที่ 25 มีนาคม 2564 และมีพนักงานของทางร้านติดเชื้อจํานวนหนึ่ง สน.ทองหล่อ
จึงได้แจ้งให้ทางร้านหยุดให้บริการทันที และให้พนักงานของร้านเข้ารับการตรวจหา
เชื้อ34 ต่อมาวันที่ 2 เมษายน 2564 ได้มีการตรวจสอบพบผู้ติดเชื้อบางรายเป็น
พนักงาน และผูใ้ ช้บริการร้านเอมเมอร์รลั ด์อกี ทําให้ทาง กทม.ต้องออกประกาศ เรือ่ ง
สั่งปิดสถานที่ชั่วคราว (ฉบับที่ 22) ลงวันที่ 5 เมษายน 2564 ปิดสถานบริการ สถาน
ประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการฯ ในเขตวัฒนา คลองเตย บางแค ตั้งแต่
วันที่ 6-19 เมษายน 2564 และขยายขอบเขตพื้นที่เป็นครอบคลุมทั่วทั้ง กทม.ในวันที่
9 เมษายน 2564 (ฉบับที่ 23) ตามด้วยการดําเนินคดีกับผู้จัดการของทั้งสองร้านใน
ฐานความผิดฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.สถานบริการ ซึ่งศาลแขวงพระนครใต้
สั่งจําคุกเป็นเวลาคนละ 2 เดือนเท่ากัน โดยไม่รอลงอาญา จากการตรวจสอบเบื้องต้น
พบว่าสถานบันเทิงทั้งสองแห่งนี้ไม่มีใบอนุญาตประกอบสถานบริการแต่อย่างใด35
และได้มีการสั่งย้ายผู้กํากับการ และรองผู้กํากับการป้องกันปราบปรามของ สน.ทอง
หล่อในระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริง36 เนื่องจากในบรรดาผู้ที่ติดเชื้อจากคลัส
เตอร์นี้มีตํารวจ สน.ทองหล่อสายปฏิบัติการร่วมอยู่ด้วย 18 ราย

จากการสืบสวนโรคของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าคลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทอง
หล่อช่วงปี 2564 อยู่ในคาบเกี่ยวช่วงระหว่างการระบาดระลอกที่ 2 กับระลอกที่ 3

34
“สรุปไทม์ไลน์ คลัสเตอร์ ทองหล่อ ผู้ตดิ เชื 3อมาเทีVยวติดพนักงานตังแต่
3 EF มี.ค.,”
ไทยรัฐออนไลน์ (BH เมษายน 2564), จาก
https://www.thairath.co.th/news/crime/2068660
35
“ตร.จ่อดําเนินคดีเจ้ าของ-ผู้ถือหุ้น “คริ สตัลคลับ-เอมเมอรัลด์”,” Thai PBS (13
เมษายน 2564), จาก https://news.thaipbs.or.th/content/303303
36
“เด้ ง “ผกก.-สวป.ทองหล่อ” เซ่นสถานบันเทิงทําโควิดระบาดหนัก,” Thai PBS (12
เมษายน EFGi), จาก https://news.thaipbs.or.th/content/303276
33

ในประเทศไทย โดยคลัสเตอร์สถานบันเทิงช่วงนี้จริง ๆ แล้วนั้นอาจเริ่มต้นตั้งแต่ช่วง


กลางเดือนมีนาคม 2564 เริ่มที่สถานบันเทิงในเขตปริมณฑลก่อน (จากการสืบสวน
ไทม์ไลน์การติดเชื้อของกระทรวงสาธารณสุข ในภายหลังพบว่าเริ่มจากกลุ่มนักศึกษา
ซึ่งไปเที่ยวในผับชมดาว พร่างพราว ณ กํ้ากึ่ง ย่านรังสิต จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 16
มีนาคม 2564 ก่อนที่จะพบการติดเชื้อ 6 ราย ซึ่งในช่วงระหว่างนั้นก็มีนักศึกษาที่ไป
ในผับดังกล่าวไปเที่ยวต่อในร้านใกล้เคียงและมีการติดเชื้อตามมา รวมถึงมีการไปใช้
บริการต่อในจังหวัดนนทบุรีและนครปฐม ซึ่งนอกจากนักศึกษาแล้ว กลุ่มนักร้อง นัก
ดนตรี และครอบครัวก็เป็นอีกกลุ่มที่นําไปสู่การติดเชื้อต่อเนื่อง37) ก่อนจะลามมาถึง
ย่านทองหล่อในช่วงปลายเดือนมีนาคมและต่อเนื่องไปจนต้นเดือนเมษายน 2564

ทั้งนี้ คลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทองหล่อครั้งที่ 2 เมื่อปี 2564 อยู่ในช่วงที่รัฐบาล


ผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 โดยไม่มีการประกาศปิดสถานบริการยามคํ่า
คื นในวงกว้ างรวมแล้ ว 282 วั น (1 กรกฎาคม 2563-9 เมษายน 2564) โดยใน
ระยะเวลาก่อนหน้านั้นยังไม่พบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อัลฟ่าและสายพันธุ์เดลต้า เข้า
มาระบาดเป็นวงกว้างในประเทศไทย โดยอาจกล่าวได้ว่าคลัสเตอร์ทองหล่อช่วงนี้เอง
ที่เป็นจุดเริ่มต้นในการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์อัลฟ่าในไทย38 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่
มีอัตราการติดเชื้อได้รวดเร็วกว่าเชื้อแบบดั้งเดิม และการติดเชื้อที่อยู่ในกลุ่มผู้มีฐานะ
ส่งผลให้มีการแพร่เชื้อไปในบุคคลหลายวงการ ทั้งนักการเมือง นักธุรกิจ นักร้อง
นักแสดง ไปจนกระทั่งผู้ใช้แรงงาน คนหาเช้ากินคํ่า

37
“ศักดิสq ยาม ชิดชอบ รมต.คนแรกที;ตดิ โควิด คาดคนใกล้ ชิดติดจาก “คลัสเตอร์ สถาน
บันเทิง”,” บีบีซีไทย (y เมษายน z{|}), จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-
56658376
38
ชนาธิป ไชยเหล็ก, “รู้จกั โควิด-€[ สายพันธุ์องั กฤษที;พบในคลัสเตอร์ ทองหล่อ,” (‚ เมษายน
2564), จาก https://thestandard.co/covid-19-british-species-found-in-the-thonglor-
cluster/
34

เสียงจากผู้ประกอบการธุรกิจกลางคืน

เจ้าของสถานบันเทิงแห่งหนึ่งในพัทยา 39 เล่าว่าสถานบันเทิงของเขาดําเนิน
กิจการมานานกว่า 10 ปี จากช่วงแรก ๆ ที่ทํารายได้เพียง 100,000-200,000 บาท
ต่อวัน ในช่วงปี 2560-2562 คือช่วงพีคสุด ทํารายได้ถึง 1,000,000 บาทต่อวัน
ลูกค้าหลักเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีนและเกาหลีที่เข้ามา
ในช่วงหลัง จากที่เมื่อก่อนคนรัสเซียจะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวหลักของพัทยา

“..พัทยาของเราเมื่อก่อนจะเป็นรัสเซีย แต่พอค่าเงินของรัสเซียตกเขาก็เทขาย
คอนโดลี้ภัยกันไปเยอะเหมือนกัน ต่อมาก็เป็นกลุ่มเกาหลีที่มาเที่ยว แล้วค่อยมา
เป็นจีน ซึ่งก็จะมีการแบ่งโซนชัดเจน อันนี้ไชน่าทาวน์ อันนี้กรุงโซล สองชาตินี้
ค่อนข้างมีลักษณะชาตินิยม แต่การใช้จ่ายสู้คนจีนไม่ได้ คนจีนเปย์มากกว่า..”

การระบาดของโควิด-19 ได้เริ่มกระทบต่อกิจการของเขาจากรายได้ที่เคยได้วันละ
1,000,000-2,000,000 บาท จนกระทั่งรายได้เหลือหลักหมื่น ทําให้ต้องปิดร้านใน
ระยะเวลาเดียวกับที่มีคําสั่งปิดสถานบันเทิงของรัฐบาลเมื่อช่วงเดือนมีนาคม 2563

“..ของผมกระทบหนักเลยเพราะว่าลูกค้าหลักเป็นกลุ่มคนจีน การล็อคดาวน์แค่อู่
ฮั่น จีนบินมาไม่ได้ เรายังมีเกาหลีบ้าง แต่มันก็เริ่มกระทบแล้ว รายได้จากวันละ
ล้าน ก็เริ่มลดแล้วเหลือแปดแสน เจ็ดแสน หกแสน สี่แสน พอเริ่มระบาดในบ้านเรา
ตอนนั้นรายได้ที่ร้านเหลือวันละแสนเดียว แล้วก็เริ่มระบาดที่สถานบันเทิงทองหล่อ
ถัดจากคลัสเตอร์สนามมวย คนก็เริ่มกลัวไม่ออกมาเที่ยวผับกัน รายได้เหลือวันละ
หมื่นถึงสองหมื่นบาท ก็เลยต้องมาคุยกันว่าเปิดไปก็เสี่ยงด้วย ทั้งพนักงานและคน
เที่ยวก็ระแวงไปหมด ลูกค้าระแวงเด็กเสิร์ฟ เด็กเสิร์ฟระแวงลูกค้า และเริ่มมีคลัส

39
สัมภาษณ์ชว่ งเดือนมิถนุ ายน EFGi.
35

เตอร์ในประเทศ ตัดสินใจประกาศปิดดีกว่า บังเอิญรัฐบาลจะมีคําสั่งให้ปิดสถาน


บันเทิงวันที่ 20 มีนาคม 2563 อยู่แล้ว เราก็ปิดไปซะตอนนั้น..”

เมื่อลองเปิดอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม 2563 เรียกลูกน้องกลับมาทํางาน มองออก


เลยว่ า ไปไม่ ร อด ไม่ ค ุ ้ ม ค่ า จ้ า งพนั ก งาน ค่ า นํ ้ า ค่ า ไฟ ค่ า แอร์ เพราะกลุ่ ม
นักท่องเที่ยวหลักของเราคือต่างชาติ ไม่ใช่คนไทยแบบที่อื่น

“..หลังหยุดไปประมาณ 3-4 เดือน พอเปิดทุกคนก็เฮดีใจ แล้วพอเปิดปุ๊บ เงียบ


กริบ ไม่มีลูกค้าซักคน มีแต่พนักงานนั่งมองหน้ากัน พัทยาทุกซอยเลย ส่วนต่างชาติ
ที่อยู่ในประเทศไทยก็จะเป็นกลุ่มที่มาซื้อบ้านก็จะอยู่ในหมู่บ้านไม่ได้มาใช้ชีวิตข้าง
นอก ซื้อเบียร์ฟู้ดแลนด์ เซเว่นฯ แล้วก็นั่งกินที่บ้านเค้า ไม่ได้ออกมาใช้เงินข้างนอก
..”

ทั้งนี้ก่อนเกิดโควิด-19 สถานบันเทิงของเขาจ้างคนทั้งสิ้น 200-250 คน ในจํานวน


นี้เป็นนักร้อง 11 คน นักดนตรี 2 วง วงละ 10 คน แล้วก็มีแดนเซอร์อีก 10 คน
อัตราส่วนของกลุ่มนี้เทียบกับพนักงานบริการอยู่ที่ประมาณ 1 ต่อ 3 ในช่วงการ
ระบาดระลอกแรกที่มีการสั่งปิดสถานบันเทิงเพียง 3-4 เดือน ยังคงมีการจ่าย
เงินเดือนพนักงานอยู่ เดือนแรกจ่ายเต็ม ยังไม่ต้องมาทํางาน เดือนที่ 2 จ่าย 50%
เดือนถัดไปเริ่มจ่ายไม่ไหวเพราะไม่มีรายรับเข้ามาเลย มีแต่รายจ่ายทั้งนั้น จึงเริ่ม
พูดคุยกับพนักงาน คัดพนักงานที่จําเป็นจริง ๆ บอกให้ไปหางานอื่นทําไปก่อน แล้ว
หากได้เปิดเมื่อไหร่ค่อยกลับมาใหม่

เขาเล่ า ว่ า นั ก ร้ อ งจากเคยมี ร ายได้ ป ระมาณ 200,000-300,000 บาทต่ อ เดื อ น


(เงินเดือนจริงประมาณ 25,000-30,000 บาทเท่านั้น ส่วนใหญ่ได้จากทิป) และให้
ลูกเรียนโรงเรียนเอกชนก็ต้องย้ายลูกเข้าเรียนโรงเรียนของรัฐ เพื่อเซฟค่าใช้จ่าย
ตรงนี้ หลายคนต้องไปเป็นพนักงานรับส่งอาหาร ถ้าพอมีเงินสะสมก็หันไปทําธุรกิจ
36

ค้าขาย บางคนต้องเอาบ้านไปจํานองหรือขายบ้านทิ้ง ส่วนพนักงานเสิร์ฟจากที่เคย


มีรายได้ราวเดือนละ 50,000-60,000 บาท (เงินเดือนจริงแค่ 5,000-6,000 บาท
นอกนั้นมาจากทิป) กลุ่มนี้ได้เงินมาจะใช้จ่ายเต็มที่ ไม่ค่อยเก็บเงิน เพราะมีสิ่งยั่วยุ
เยอะ (เช่นเอาไปแทงบอลเอาไปเที่ยว) และเกือบทั้งหมดไม่ได้มีประกันสังคม ส่วน
ใหญ่กลับไปขายของกินที่บ้านต่างจังหวัด โดยเฉพาะทางภาคอีสาน รอดบ้างไม่
รอดบ้าง หรือไม่ก็หันไปทํานาทําไร่ ส่วนที่ปักหลักอยู่พัทยาก็เปลี่ยนไปเป็นแรงงาน
รับจ้างแลกค่าแรงวันละ 400-500 บาท

ถึงแม้เป็นธุรกิจที่ดึงเม็ดเงินนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้าประเทศมหาศาลในแต่ละ
ปี รวมทั ้ งยั งสร้ างงานเป็ นอย่ างมาก แต่ เขาก็ รู ้ สึ กน้ อยใจ กล่ าวเชิ งตั ดพ้ อว่ า
ผู้ประกอบการธุรกิจกลางคืนแทบจะไม่สามารถส่งเสียงอะไรได้ และยอมรับว่า
เสียใจที่ธุรกิจนี้ได้ทําให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิดขึ้น

“..พวกผู้ประกอบการผับกลางคืนก็ไม่กล้าบ่น ไม่กล้าอะไร เรียกว่าละอายใจด้วย


แล้วก็รู้สึกเสียใจ ต้องยอมรับว่าเป็นธุรกิจที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิดถ้า
เกิดเปิดกิจการ..”

เจ้าของร้านเหล้าแห่งหนึ่งย่านสีลม40 เล่าว่าเริ่มทําร้านเหล้าร้านแรกประมาณปี
2560 แถวท่าเตียน แล้วก็มองหาสาขาเพิ่มจนเจอทําเลตรงสีลม แต่ช่วงนั้นเงินไม่
พอเพราะค่าที่สูงกว่าที่ประเมินไว้ ก็เลยเซ้งร้านจากท่าเตียนมาลงทุนที่ สีลมเพียง
แห่งเดียวตอนประมาณปี 2561

“..พอเปิดร้านที่สีลม ธุรกิจไปได้สวยมาก น่าจะเพราะมันใกล้กับรถไฟฟ้า เราเช่า


อาคารพาณิชย์ทั้งตึก แบ่งสรรกันแต่ละชั้น ให้คนรู้จักเช่าด้วย ตัวร้านเราอยู่บนชั้น

40
สัมภาษณ์ชว่ งเดือนสิงหาคม z{|{.
37

Rooftop คนผ่านไปผ่านมาก็เห็น แล้วเราได้หุ้นส่วนหลายคนช่วยโปรโมทในหลาย


ๆ วงการ ใช้คําว่าดีมากได้เลย เรียกว่าวันหนึ่งรายได้ 6 หลักเป็นเรื่องปกติ จ้าง
พนักงานประมาณ 10-15 คน..”

พอเกิดการระบาดของโควิด-19 รัฐประกาศล็อกดาวน์ จากธุรกิจที่กําลังดูจะ


รุ่งเรืองก็เหมือนว่าต้องดับวูบภายในระยะเวลาแค่ชั่วข้ามคืน

“..พอล็อกดาวน์ปุ๊บรายได้เราเป็นศูนย์ก่อนเลย แรก ๆ เราคิดว่าอาจจะไม่นาน


ขนาดนั้น เราขอจ่ายเงินพนักงานครึ่งหนึ่ง ถัดมาเราเริ่มจ่ายไม่ไหว เราก็ขอไม่
จ่ายเงิน ถ้าคุณอยู่ไม่ได้ก็ไม่ว่ากัน จากกันด้วยดี ถ้าอยู่ได้ก็โอเค กลุ่มที่ยังอยู่จะมี
สองกลุ่ม กลุ่มที่ไปกลับกับกลุ่มที่อยู่ที่ร้าน ถ้าอยู่ที่ร้านก็จะซื้อของสดของแห้งให้
ทุกสัปดาห์ให้ทํากินกันเอง จํานวนพนักงานลดลงไปประมาณครึ่งหนึ่ง..”

เขาเล่าว่าแม้จะมีการคุยกันเรื่องการปรับธุรกิจเป็นการขายอาหารแบบเดลิเวอรี่
แต่ไม่เหมาะสมหลายอย่าง หนึ่งคือร้านของเขาตั้งอยู่บนชั้นห้า ไรเดอร์ไม่อยากเดิน
ขึ้นไปเอาอาหารกันทุกคน สองคืออาหารซิกเนเจอร์ของร้านควรทานตอนทําเสร็จ
ทันที กลัวว่ากว่าอาหารจะจัดส่งไปถึงที่บ้าน รสชาติจะดร็อปลงแล้วเสียชื่อทางร้าน
สามคื อราคาอาหาร ร้ านเหล้ าที ่ เ ปิ ดขายอาหารราคาย่ อมแพงกว่ าร้ านทั ่ วไป
เพราะว่าต้นทุนมันต่างกัน สี่คือแอพจะหัก 30% ถ้าอยากให้คนเห็นร้านเยอะ ๆ ก็
ต้องจ่ายเพิ่ม ถ้าทําโปรโมชั่นกําไรก็หายไปอีก

“..ตอนนั้นก็คือต้องปิดร้านไปเฉย ๆ ทําอะไรไม่ได้ มีหุ้นส่วนอีกสองท่านไปเปิดร้าน


ก๋วยเตี๋ยวเพื่อหารายได้ ก็ทําให้สามารถจ้างแรงงานบางส่วนจากร้านเดิมได้ แต่ก็จะ
ผลัดกันทํา เช่นปกติทุกคนทํา 6 วันต่อสัปดาห์ ก็จะเหลือแค่ทําคนละ 3 วันต่อ
สัปดาห์ สลับกันทํา..”
38

พอคลายล็อคดาวน์รอบแรกที่ยอมให้ร้านอาหารขายเครื่องดื่มไปด้วยเปิดถึง 3 ทุ่ม
แต่ก็คํานวณจํานวนลูกค้าได้ยาก ลูกค้าที่จากเดิมที่มีทุกวัน ทั้งตั้งใจมาดื่มกินหลัง
เลิกงานหรือยังไม่อยากกลับบ้านเพราะรถติด พอร้านกลับมาเปิดลูกค้าบางส่วนก็
ยัง Work From Home บางส่วนก็ยังกลัวโควิด-19 อยู่ ส่วนใหญ่ลูกค้าที่มาคือ
ลูกค้าที่เคยติดโควิด-19 หรือก็ไม่กลัวโรคนี้แล้ว ติดก็ติดไป ซึ่งคนที่คิดแบบนี้มีน้อย
กว่า อีกอย่างคือรายได้ของลูกค้าน้อยลงก็ทําให้กําลังซื้อลดลง จากเมื่อก่อนเคยมา
กินสัปดาห์ละ 3 วันก็อาจจะต้องลดเหลือแค่สัปดาห์ละ 1 วัน

ร้านของเขาต้องปิดเป็นระยะเวลา 1 ปี 8 เดือน ปกติร้านจ่ายค่าเช่าเดือนละ


230,000 บาท เจ้าของตึกลดค่าเช่าให้ 10% เหลือ 200,000 บาท ซึ่งเขาต้อง
จ่ายเงินก้อนนี้เปล่า ๆ เป็นเวลา 1 ปี 8 เดือน

“..เราได้เงินเยียวยาจากรัฐบาลมาสามพันบาท หุ้นส่วนเรามีสามคน แบ่งกันคนละ


พั นบาท เพราะกว่ านโยบายเขาจะมา กว่ าจะทํ าเรื ่ องเสร็ จ ทํ าเรื ่ องเสร็ จเขา
ประกาศเปิดแล้ว เราเลยได้มาแค่นั้น..”

โดยเงินที่จ่ายค่าเช่าร้านส่วนหนึ่งมาจากเงินที่เขาเก็บไว้เพื่อปรับปรุงร้าน มี
บางส่วนไปยืมมา ทําเรื่องกู้ธนาคาร เขามองว่าวงการผู้ประกอบการก็เข้าใจเรื่อง
โรคระบาดดี คือปิดก็ได้ แต่การจัดการของรัฐนั้นกลับไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

“..คุณบอกให้เราไม่มีรายได้ คุณก็ต้องทําให้เราไม่มีรายจ่ายด้วยสิ แต่นี่เรายังต้อง


จ่ายค่านํ้า ค่าไฟ ค่าเช่าปกติ เรายินดีจ่ายภาษีอยู่แล้ว แต่เราไม่เห็นภาพกลับมาเลย
ว่ามันไปพัฒนาหรือช่วยเรายังไง... จริง ๆ ก่อนโควิดจะมาเรากําลังวางแผนจะไป
เปิดร้านที่ญี่ปุ่น พอโควิดมาทุกอย่างต้องล้มหมด เสียดายว่าถ้าเราเปิดร้านที่ญี่ปุ่น
ทันเราจะโชคดีมาก เพราะญี่ปุ่นถึงแม้เขาจะสั่งปิดร้านแต่เขาจะประเมินว่าเราเคย
39

มีรายได้เท่าไหร่ แล้วเขาก็จะชดเชยให้เท่านั้น เอาจริง ๆ เราไม่ได้คาดหวังเท่าญี่ปุ่น


หรอก เพียงแต่อยากให้รัฐช่วยมากกว่านี้ เพราะรายจ่ายเราเยอะแยะไปหมด..”

ตอนนี้ (สิงหาคม 2565) ที่ร้านของเขาก็กําลังอยู่ในช่วงฟื้นตัว แต่ยังไม่ 100% คน


เริ่มกลับมาทํางานออฟฟิศ แต่คนบางส่วนก็ยังกลัวกันอยู่ เขามองว่าอาจต้องใช้
เวลาอีกเป็นปีสถานการณ์ถึงจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม

“..รายได้จากที่เคยได้หกหลักต่อวัน ตอนนี้ถ้าสัปดาห์นั้นมีสักวันที่ได้หกหลักก็จะ
เป็นพระคุณมาก พูดแบบนี้ดีกว่า ต้องคอยนั่งลุ้นกันว่าวันนี้ลูกค้าจะเข้าร้านพอ
จุดคุ้มทุนรึเปล่า วันศุกร์ก็จะเป็นวันที่มีโอกาสที่สุดแล้ว..”

บทสรุปของการปิดสถานบริการยามคํ่าคืนเป็นวงกว้างทั่วประเทศมีด้วยกัน 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 เริ่มเมื่อวันที่ 18 มีนาคม จนถึง 1 กรกฎาคม 2563 รวมระยะเวลา 105 วัน
ครั้งที่ 2 เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2564 จนกระทั่งสถานการณ์ระบาดในประเทศ
ไทยลดลงจึงมีการอนุญาตให้เปิดสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ อาบอบนวด ฯลฯ
ได้อีกครั้งในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 รวมระยะเวลาในการปิดสถานบริการยามคํ่าคืน
ครั้งที่ 2 นานถึง 417 วัน นานถึงขนาดที่ว่ามีช่วงหนึ่งภาครัฐได้แนะนําให้สถานบันเทิง
อย่างผับ บาร์ ปรับรูปแบบการให้บริการและขออนุญาตเปิดในรูปแบบร้านอาหาร
แทน41

กฎหมายที่มีช่องโหว่

41
“ราชกิจจาฯ ประกาศเพิ;มมาตรการคุมโรคปิ ดผับ บาร์ -ขออนุญาตปรับเป็ นร้ านอาหารได้ ถงึ
€{ ม.ค.นี •,” ประชาไท (‚ มกราคม 2565), จาก
https://prachatai.com/journal/2022/01/96731
40

ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ไทยเราได้มีการใช้มาตรการควบคุมโรคเกี่ยวกับ “สถาน


บริการ” อย่างเคร่งครัด ซึ่งรวมไปถึงสถานประกอบการที่เปิดให้บริการในลักษณะที่
คล้ายกับสถานบริการอีกด้วย ด้วยหวังจะอุดช่องว่างทางกฎหมาย โดยให้อํานาจผู้ว่า
ราชการจั ง หวั ด ของแต่ ล ะจั ง หวั ด มี อ ํ า นาจสั ่ ง ให้ ป ิ ด สถานบริ ก ารและสถาน
ประกอบการที่เปิดให้บริการในลักษณะที่คล้ายกับสถานบริการเป็นการชั่วคราว (โดย
ความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อประจําจังหวัด) หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่
ปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าวต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
หรือทั้งจําทั้งปรับ

ตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมธุรกิจสถาน


บริการต่าง ๆ ในมาตรา 3 ได้กําหนดคํานิยามของคําว่า “สถานบริการ” ไว้ว่า
หมายถึงสถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ในทางการค้า 6 ประเภท
ด้วยกัน ดังรายละเอียดในตาราง

ประเภทของสถานบริการ อํานาจอนุญาต

(1) สถานเต้ น รํ า รํ า วง หรื อ รองเง็ ง


เป็นปกติธุระประเภทที่มีและประเภท
ที่ไม่มีคู่บริการ
ในต่างจังหวัดคือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา นํ้าชา หรือ
เครื่องดื่มอย่างอื่นจําหน่ายและบริการ ในกรุ ง เทพมหานครคื อ ผู ้ บ ั ญ ชาการ
โดยมีผู้บําเรอสําหรับปรนนิบัติลูกค้า ตํารวจนครบาล

(3) สถานอาบนํ้า นวด หรืออบตัว ซึ่งมี


ผู ้ บ ริ ก ารให้ แ ก่ ล ู ก ค้ า แต่ ไ ม่ ร วมถึ ง
41

สถานพยาบาลตามกฎหมายว่ า ด้ ว ย
สถานพยาบาล สถานประกอบการเพื่อ
สุ ข ภาพตามกฎหมายว่ า ด้ ว ยสถาน
ประกอบการเพื่อสุขภาพ หรือสถานที่
อื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง

(4) สถานที ่ ท ี ่ ม ี อ าหาร สุ ร า หรื อ


เครื ่ อ งดื ่ ม อย่ า งอื ่ น จํ า หน่ า ยหรื อ
ให้ บ ริ ก าร โดยมี ร ู ป แบบอย่ า งหนึ่ ง
อย่างใด ดังต่อไปนี้คือ

- มี ดนตรี การแสดงดนตรี หรื อการ


แสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิงและยินยอม
หรื อ ปล่ อ ยปละละเลยให้ น ั ก ร้ อ ง
นั ก แสดง หรื อ พนั ก งานอื ่ น ใดนั ่ ง กั บ
ลูกค้า

- มี ก ารจั ด อุ ป กรณ์ ก ารร้ อ งเพลง


ประกอบดนตรีให้แก่ลูกค้า โดยจัดให้มี
ผู้บริการขับร้องเพลงกับลูกค้า หรือ
ยิ น ยอมหรื อ ปล่ อ ยปละละเลยให้
พนักงานอื่นใดนั่งกับลูกค้า

- มีการเต้นหรือยินยอมให้มีการเต้น
หรื อจั ดให้ มี การแสดงเต้ น เช่ น การ
42

เต้ น บนเวที ห รื อ การเต้ น บริ เ วณโต๊ ะ


อาหารหรือเครื่องดื่ม

- มี ลั กษณะของสถานที ่ การจั ดแสง


หรื อ เสี ย ง หรื อ อุ ป กรณ์ อ ื ่ น ใดตามที่
กําหนดในกฎกระทรวง

(5) สถานที ่ ท ี ่ ม ี อ าหาร สุ ร า หรื อ


เครื่องดื่มอย่างอื่นจําหน่าย โดยจัดให้มี
การแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใด
เพื่อการบันเทิง ซึ่งปิดทําการหลังเวลา
24.00 นาฬิกา

(6) สถานที ่ อ ื ่ น ตามที ่ ก ํ า หนดใน


กฎกระทรวง

ตาราง: ประเภทของสถานบริการกับอํานาจอนุญาต

ปัจจุบันกระทรวงมหาดไทยมีนโยบายว่าจะไม่อนุญาตให้มีการตั้งสถานบริการตามข้อ
(1) (2) และ (3) เว้นแต่เป็นสถานบริการที่ได้ขออนุญาตก่อนที่จะมีนโยบายไม่อนุญาต
ดังกล่าว หรือเป็นสถานบริการประเภทที่ 4 ซึ่งขอตั้งขึ้นในโรงแรมที่ได้มาตรฐานเพื่อ
การท่องเที่ยว อนุโลมให้ตั้งได้โรงแรมละ 1 แห่ง

ผู้ที่มีอํานาจอนุญาตข้างต้นยังมีอํานาจในการพิจารณาต่ออายุ สั่งพักใช้ ตลอดจนเพิก


ถอนใบอนุญาต และสามารถสั่งให้ผู้ตั้งสถานบริการประเภท (4) หยุดกิจการได้ครั้งละ
ไม่ เ กิ น 30 วั นอี กด้ ว ย โดยทั ้ ง ฝ่ า ยปกครองและตํ า รวจต่ า งก็ มี อ ํ า นาจตรวจตรา
ควบคุมดูแลสถานบริการมิให้ดําเนินกิจการไปในลักษณะที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
43

ศีลธรรม วัฒนธรรม และประเพณีอันดีของชาติ รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน


แก่ประชาชน

ปัญหาที่ผ่านมาเกิดจากความไม่เหมาะสมของบทกําหนดโทษทําให้ผู้ประกอบการ
ยอมเสี่ยงทําผิดกฎหมาย เพราะมีโทษน้อยแลกกับผลตอบแทนที่สูง นั่นคือมีลักษณะ
เป็นสถานบริการ (มีอาหาร สุรา แสดงดนตรี) แต่ปิดก่อนเวลา 24.00 น. ทําให้ขาด
องค์ประกอบข้อใดข้อหนึ่งตามมาตรา 3 ไป จึงไม่ขอใบอนุญาตประกอบการสถาน
บริการ แต่เอาเข้าจริงกลับเปิดเกินเวลา ประมาณกันว่าปัจจุบันมีสถานประกอบ
กิจการที่เข้าข่ายสุ่มเสี่ยงมากถึง 200,000 แห่ง ขณะที่สถานบริการที่มีใบอนุญาตตาม
กฎหมายมีเพียง 2,300 แห่งเศษ (จากการประมวลข้อมูลตัวเลขจากหลายแหล่ง42)
จั งหวั ดที ่ มี สถานบริ การมากเป็ นลํ าดั บต้ น ๆ ไม่ พ้ นเมื องท่ องเที ่ ยว อาทิ ชลบุ รี
กรุงเทพฯ ภูเก็ต โดยมีด้วยกัน 26 จังหวัดที่งดออกใบอนุญาตเด็ดขาด

ด้วยเหตุนี้มาตรการควบคุมโรคที่มีออกมาจึงต้องครอบคลุมไปถึงสถานบริการที่
อาจจะพยายามหลบเลี่ยงกฎหมายพวกนี้ด้วย ทว่ายังคงยากบังคับใช้ให้เห็นผล จาก
การสอบสวนไทม์ไลน์ของผู้ติดเชื้อจํานวนมากพบว่าหลายคนเข้าไปเที่ยวสถานบันเทิง
ในเวลา 03.00 น. ซึ่งถือว่าเปิดเกินเวลา 24.00 น. (เพราะไม่ใช่สถานบริการที่มีใบ
ถูกต้อง) เกิดคําถามไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองถึงการปล่อยปละละเลย แม้แต่
ในช่วงยามที่จําเป็นเช่นนั้น

อ่านอารมณ์ความรู้สึกของสังคมจากผลโพล

42
ได้ แก่ https://dpa.dopa.go.th/DPA/entertain_report.php;
https://multi.dopa.go.th/omd3/news/cate7/view19; “สัง; ปิ ดสถานบันเทิงคุมโควิด-€[ ได้
หรื อเสีย?,” TNN ออนไลน์ (€| มีนาคม z{|•), จาก
https://www.tnnthailand.com/news/wealth/32110/
44

ห้วงการระบาดของโควิด-19 เราพบว่า “อารมณ์” ของคนในสังคมที่มีต่อ “บาร์” ซึ่ง


ความหมายในรายงานตอนนี้ก็คือสถานบันเทิงนั่นเอง แปรผันไปตาม “ความกลัว”
และสถานการณ์ “ตัวเลขผู้ติดเชื้อ” รวมทั้ง “ความเหนื่อยล้า” จากมาตรการสารพัด

ช่วงต้นของการระบาดเมื่อเดือนมีนาคมปี 2563 นิด้าโพลได้ทําการสํารวจประชาชน


1,257 คน พบว่าส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 79 เห็นด้วยอย่างมากกับมาตรการปิดสถาน
บันเทิงชั่วคราวทั่วประเทศ (จากเดิมที่ปิดเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล) ด้วยเชื่อ
ว่าจะแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อย่างชะงัก43

ต่อมาต้นปี 2564 ช่วงที่ไทยเริ่มควบคุมสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ได้ดีขึ้น


การแสดงความเห็นของประชาชนก็เริ่มเปลี่ยนไปสู่การมุ่งผ่อนคลายความเข้มงวด
มองว่าการเปิดเศรษฐกิจดีกว่าการปิดเมือง44

แต่เมื่อมีการระบาดใหญ่เป็นระลอกที่สาม อารมณ์ของผู้คนในสังคมก็แปรเปลี่ยนอีก
ครั้ง คําถามการสํารวจในเดือนเมษายน 2564 ที่ออกแบบโดยสํานักวิจัยซูเปอร์โพลจึง
พยายามถามหาคนผิดที่เป็นต้นเหตุสําคัญของการแพร่ระบาดระลอกนี้ จากกลุ่ม
ตัวอย่าง 1,642 คน ผลปรากฏว่าร้อยละ 95.4 มีความคิดเห็นว่านักเที่ยว นักพนัน
กลุ ่ ม แพร่ เ ชื ้ อ ทํ า คนหากิ น ทั ่ ว ไปเดื อ ดร้ อ น และร้ อ ยละ 95.4 อี ก เช่ น กั น ระบุ
ผู้ประกอบการ นายทุน ธุรกิจกลางคืนบางราย ธุรกิจมืด ขาดความรับผิดชอบต่อ
สังคม เห็นแก่ได้ส่วนตัวมากกว่าความเสียหายส่วนรวม ยิ่งไปกว่านั้น โพลนี้ยังระบุว่า
ประชาชนมีความคิดเห็นต่อต้นตอสาเหตุจําแนกออกได้เป็นหลายกลุ่มที่ต้องมีส่วน
และร่วมรับผิดชอบ ประกอบด้วย กลุ่มแรก เป็นกลุ่มผู้ประกอบการเห็นแก่ได้ในธุรกิจ

43
“ปชช.หนุนมาตรการ’ปิ ดประเทศ-เมือง-สถานบันเทิง’สกัด’โควิด€[’,” แนวหน้ า (z€ มีนาคม
2563), จาก https://www.naewna.com/politic/480745
44
“เที;ยวปลอดภัย อยูพ่ ้ นโควิด,” ซูเปอร์ โพล (€– มกราคม 2564), จาก
https://bit.ly/36ZW0Mz
45

สีเทาและสีดํา กลุ่มที่สอง กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐ ฝ่ายปกครอง ตํารวจ และอื่นๆ ที่ร่วมสม


ประโยชน์ในพื้นที่ กลุ่มที่สาม กลุ่มนักเที่ยวรักสนุก นักพนันที่เข้าไปในพื้นที่เสี่ยง
แหล่งอบายมุข กลุ่มที่สี่ เป็นกลุ่มประชาชนทั่วไปที่เริ่มการ์ดตก หย่อนวินัยและการ
ป้องกันตัวเอง และกลุ่มที่ห้า เป็นรัฐบาลที่ต้องเข้มข้นกํากับมาตรการรัฐที่กําหนด45

การที่สังคมมองนักเที่ยว-นักพนันในเชิงลบเช่นนี้เองที่ทําให้ปัญหาเรื่องโรคระบาดมี
ความซับซ้อนเพิ่มขึ้น เมื่อบุคลากรทางการแพทย์พบว่ากลุ่มผู้ติดเชื้อจํานวนไม่น้อย
ปกปิดข้อมูลไทม์ไลน์ โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติไปสถานบันเทิง เนื่องจากรู้สึกอับอาย
หรือเกรงว่าจะถูกประณามจากสังคม นั่นยิ่งทําให้การควบคุมโรคในช่วงเวลาดังกล่าว
ยากลําบากไปอีก

สถานบันเทิงในอีกด้านหนึ่งของเหรียญ

ธุรกิจกลางคืนถือเป็นภาคการผลิตที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศอย่าง
มหาศาล ก่อนการระบาดของโควิด-19 มีการประมาณการว่าเม็ดเงินหมุนเวียนใน
ธุรกิจนี้มีสูงถึง 1.8-2.1 แสนล้านบาทต่อปี มีแรงงานในภาคกลางคืนอยู่ทั่วประเทศไม่
น้อยกว่า 1.8-2 ล้านคน แต่จากสถานการณ์โควิดและมาตรการต่าง ๆ ที่รัฐมีต่อธุรกิจ
กลุ่มนี้โดยตรงได้สร้างความเสียหายสะสมไม่ตํ่ากว่า 1 แสนล้านบาท ส่งผลให้ปิด
กิจการ ทั้งแบบชั่วคราว ไม่มีกําหนด และเป็นการถาวร พนักงานถูกเลิกจ้าง พักงาน
หรื อ ไม่ ม ี ง านให้ ท ํ า อี ก ต่ อ ไป คนกลุ ่ ม นี ้ ส ่ ว นใหญ่ เ ป็ น แรงงานนอกระบบ ไม่ มี
ประกันสังคมเข้าไม่ถึงเงินทดแทนกรณีว่างงาน ทําให้ขาดรายได้ ส่งผลกระทบต่อ
พนักงานเอง และหนักมากขึ้นหากเป็นคนส่งเสียครอบครัว อีกทั้งไม่ได้รับการเยียวยา
ใด ๆ จากรัฐ จนต้องหันเหแนวทางในการหาเลี้ยงชีพใหม่

45
“ใครรับผิดชอบโควิดรอบใหม่,” ซูเปอร์ โพล (€| เมษายน 2564), จาก
https://bit.ly/3DI3hfX
46

สถานการณ์โควิดไม่ได้แต่เพียงส่งผลกระทบต่อธุรกิจกลางคืนโดยตรง หากมองอีกมุม
หนึ่งจะพบว่า “อุตสาหกรรมสร้างสรรค์” ที่เกี่ยวพันกับวงการดนตรีก็ได้รับผลกระทบ
อย่างหนัก ข้อมูลจากสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ระบุว่า
การระบาดของโรค COVID-19 ได้ทําให้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาต่าง ๆ ของไทย
ต้องเผชิญการขาดทุนสุทธิรวมกว่า 1.74 หมื่นล้านบาท46 โดยเฉพาะในสาขาดนตรี
พบว่าการแสดงดนตรีสด การทัวร์คอนเสิร์ต และเทศกาลดนตรี ต่างสูญเสียรายได้
จากการถูกยกเลิกและเลื่อนงานออกไปอย่างไม่มีกําหนดทั้งสิ้น ส่งผลให้ผู้ที่ทํางาน
สายสนับสนุน ผู้จัดการศิลปิน ผู้จัดงาน ค่ายเพลง ผู้จัดจําหน่ายสินค้าของศิลปิน
ทีมงานเบื้องหลังได้รับผลกระทบถ้วนหน้า นําไปสู่ภาวะขาดแคลนผลงานเพลงใหม่ ๆ
สู่ตลาด

หากลองพิจารณาสถิติรายได้จากภาษีสรรพสามิตในภาคส่วนธุรกิจที่เกี่ยวข้องก็ยืนยัน
เช่นนั้น ไม่ว่าจะเป็นภาษีสุรา ภาษีอาบอบนวด ภาษีสนามม้า ภาษีไนต์คลับและ
ดิสโกเธค ล้วนจัดเก็บได้น้อยลงทั้งสิ้นในห้วง 2 ปีที่เกิดโควิด ยกเว้นเพียงแต่ภาษีเบียร์
ที่เพิ่มขึ้นสวนทาง (ดูตารางข้างท้าย) ในปี 2564 ถึงแม้จะเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนร้อยละ
1.27 แต่ก็ยังตํ่ากว่าประมาณการไป 6,260 ล้านบาท

ปีงบประมาณ (หน่วย: ล้านบาท)


ประเภทภาษี
2560 2561 2562 2563 2564

เบียร์ 87,197 76,356 79,090 80,026 81,039

46
“อุตสร้ างสรรค์อว่ ม โควิดฉุดรายได้ ลดกว่า z|% งัดแผนกู้วิกฤตหนุนผู้ประกอบการให้ ไปต่อ
,” มติชนออนไลน์ (z| สิงหาคม z{|}), จาก
https://www.matichon.co.th/economy/news_2907182
47

สุรา 62,656 55,964 62,146 61,820 59,602

อาบอบนวด 127 113 103 56 18

สนามม้า 81 80 48 24 -

ไนต์คลับและ
147 172 239 143 51
ดิสโกเธค

ตาราง: สถิติรายได้จากภาษีสรรพสามิตที่เกี่ยวข้องกับสถานบริการ แอลกอฮอล์ และ


การพนัน47

ในแง่การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับเศรษฐกิจภาคกลางคืนของ
ไทยชนิดแยกไม่ออกนั้น แม้มาตรการควบคุมโรคจะทําให้จํานวนนักดื่มจากการ
สํารวจในบางช่วงลดลง โดยเฉพาะในระลอกแรกของการระบาดที่เห็นได้ชัด แต่
ปริมาณการบริโภคในภาพรวม (ทั้งสุราและเบียร์) ตลอดทั้งปี 2563 กลับเพิ่มขึ้น หาก
ดูรายได้จากภาษีในปีงบประมาณดังกล่าวที่สูงขึ้นเล็กน้อยเป็น 141,846 ล้านบาท
เทียบกับปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ 141,236 ล้านบาท ทั้งที่เป็นปีที่เผชิญมาตรการห้ามขาย
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทั่วประเทศเป็นเวลาถึง 1 เดือน สถานบริการถูกปิดไป 105
วัน และปิดเป็นบางพื้นที่อีกหลายต่อหลายช่วง แต่ในปี 2564 ลดลงเหลือ 140,641
ล้านบาท เนื่องด้วยมีการแพร่ระบาดในระลอกที่สามทําให้สถานบริการถูกสั่งปิดยาว
ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2564 เรื่อยมา เท่ากับทําให้อีกช่องทางจําหน่ายหลักหายไป
ด้วย

47
ตัวเลขจากรายงานประจําปี งบประมาณในแต่ละปี งบประมาณของกรมสรรพสามิตที;
เผยแพร่ทางเว็บไซต์
48

สอดคล้องกับการสํารวจของศูนย์วิจัยปัญหาสุราในช่วงปี 2563 ที่ได้ทําการสํารวจ


ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งสิ้น 640 ราย จําแนกเป็น
ผู้ประกอบการจุดจําหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบมีที่นั่งดื่ม 362 ราย และไม่มีที่นั่ง
ดื่ม 278 ราย พบว่ามาตรการของรัฐที่ห้ามจําหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วประเทศ
ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2563 ส่งผลให้มีการเลิกจ้างพนักงาน พนักงานส่วน
ใหญ่ต้องหยุดงาน และขาดรายได้48

ล่วงมาในช่วงปลายปี 2564 มีการเปิดเผยข้อมูลจากกลุ่มพนักงานบริการ จ.เชียงใหม่,


เชียงราย, ลําปาง ,กรุงเทพฯ, สมุทรสาคร ,อุดรธานี, มุกดาหาร ,พัทยา, ภูเก็ต, กระบี่
และมูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ ซึ่งพบว่าคําสั่งปิดและเลื่อนเวลาเปิดสถานบริการของรัฐบาล
ส่งผลกระทบต่อพนักงานบริการและครอบครัวที่ต่อเนื่องยาวนาน คือ ตกงานไม่มี
รายได้ จากการถูกสั่งปิดร้าน พนักงานบริการไม่มีประกันสังคมเข้าไม่ถึงเงินว่างงาน
อีกทั้งรัฐมีคําสั่งให้ปดิ สถานบริการก่อนจนถึงปัจจุบันยังไม่ได้เปิดแต่ไม่เยียวยา รัฐบาล
ไม่มีแนวทางช่วยเหลือและแก้ปัญหาอย่างชัดเจน สภาพจิตใจยํ่าแย่ เครียด เพราะ
สถานการณ์ที่ไม่แน่นอนว่าจะได้กลับไปทํางานอีกเมื่อไร ความไม่ชัดเจนของรัฐบาล
สร้างผลกระทบทางจิตใจอย่างหนัก พนักงานบริการประสบปัญหาเงินเก็บหมดไป
หนี้สินเพิ่มพูน ทางออกไม่มี ไม่ได้เงินเยียวยา เกิดผลกระทบหนักมากขึ้นต่อพนักงาน
บริการที่เป็นหลักครอบครัว เป็นแม่ หางานใหม่ไม่ได้เพราะภาคธุรกิจอื่น ๆ ก็ปิดตัว
ลง พนักงานบริการจํานวนมากต้องกลับไปอยู่บ้านในต่างจังหวัด ขณะที่อีกจํานวนไม่
น้อยไม่มีบ้านจึงต้องทําทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด บางคนทํางานออนไลน์ (ขาย
บริการทางเพศ) แต่ไม่มีใครอยากพูดเพราะกลัวตํารวจมักล่อซื้อ แต่สําหรับคนสูงอายุ
ที่เคยทํางานตามบาร์ พอปิดตัวก็ไปสมัครงานที่ไหนไม่ได้ ต้องอาศัยข้าวของหรือ
48
ดู กนิษฐา ไทยกล้ า, นิษฐา หรุ่นเกษม และวิทย์ วิชยั ดิษฐ. การศึกษาผลกระทบของการ
ระบาดโควิดต่อเครื; องดื;มแอลกอฮอล์ในสังคมไทย (รายงานผลการวิจยั ). (กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจยั
ปั ญหาสุรา, 2564).
49

อาหารที่มีคนแจกมาเก็บตุนไว้เพื่ออยู่รอดไปวัน ๆ และพยายามใช้จ่ายให้น้อยที่สุด49
สําหรับแรงงานที่ทํางานในภาคธุรกิจกลางคืนนอกจากผลกระทบเรื่องไม่มีงานทําและ
ขาดรายได้แล้ว ก็ยังพบว่าพวกเขายังแบกรับความรู้สึกที่ถูกตีตราว่าเป็นต้นเหตุของ
การระบาดในระลอกที่มีความเกี่ยวข้องกับสถานบันเทิง หลายต่อหลายคน “รู้สึกแย่”
ที่คนบางส่วนในสังคมโยนความผิดให้คนในสถานบริการภาคกลางคืนว่าเป็นตัวการใน
การแพร่เชื้อ50

เสียงจากคนทํางานในธุรกิจกลางคืน51

หญิงอายุ 37 ปี พีอาร์ (งานชงเหล้าดูแลบริการลูกค้า) ในกรุงเทพฯ เล่าว่าก่อน


โควิด-19 ส่วนใหญ่เธอทํางานที่ต่างประเทศเป็นหลัก อยู่ที่กรุงเทพบ้าง ตอนนั้น
สะดวกในการเดินทางไปต่างประเทศ ไม่มีอะไรเคร่งครัด เวลาทํางานอยู่ใกล้ลูกค้า
ก็ไม่ต้องคอยระวังตัวว่าจะป่วยรึเปล่า ถ้าทํางานต่างประเทศจะมีรายได้ต่อวันไม่ตํ่า
กว่าวันละ 5,000 บาท แต่ถ้าในกรุงเทพฯ ก็อาจจะไม่เกิน 3,000 บาทต่อวัน
เท่านั้น

“..พอช่วงที่เขาล็อคดาวน์สถานบันเทิงเราก็ไม่ได้ทําเลย ช่วงนั้นหนักเลย ต้อง


กลับไปขายของที่บ้าน รายได้ก็ลดลงเหลือวันละไม่ถึงพันบาท มีโครงการเยียวยา
อะไรของรัฐบาลเราก็เอาหมด ถามว่ามันช่วยได้ไหม มันก็ช่วยได้นิดหน่อย พออยู่

49
“พนักงานบริ การสุดทน รัฐเลือ; นเปิ ดสถานบันเทิงไปเรื; อย รณรงค์สง่ รองเท้ าไปทําเนียบ,”
ไทยโพสต์ (25 พฤศจิกายน 2564). สืบค้ น €€ ตุลาคม z{|{, จาก
https://www.thaipost.net/general-news/33091/
50
ชัยยศ ยงค์เจริ ญชัย, “โควิด-19: แรงงานภาคกลางคืน ต้ นเหตุหรื อเหยื;อของการระบาด
ระลอกสาม?,” บีบีซีไทย. (€ พฤษภาคม 2564), จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-
56954073
51
สัมภาษณ์ชว่ งเดือนสิงหาคม z{|{
50

ได้ แต่ความรู้สึกมันเหมือนแค่เศษเงินมาก ๆ เราก็ยังต้องดิ้นรนเยอะมาก ลูกก็ยัง


เล็กด้วย เงินที่เก็บไว้ก็ต้องเอาออกมาใช้ดูแลครอบครัวหมดเลย จนไม่พอ เราก็ต้อง
ไปกู้เงิน ไปยืมคนรู้จัก..”

เธอระบุว่าสิ่งที่รัฐบาลควรทําคือพักชําระหนี้ บางคนต้องส่งรถ ส่งบ้าน แต่รายได้


เขาลดลงมากกว่าครึ่ง มันก็ลําบาก หรืออย่างค่านํ้า ค่าไฟ ก็อยากให้รัฐช่วย คือ
เหมือนรัฐช่วยแต่ก็ช่วยน้อยมาก ๆ

ช่วงหลังเมื่อสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลงเธอพอกลับมาทํางานได้ ถึงแม้จะมี


รายได้เพิ่มขึ้น แต่ก็ทํางานได้แค่ในกรุงเทพฯ ยังไปทํางานที่ต่างประเทศเหมือนเดิม
ไม่ได้ และปัญหาหลัก ๆ คือเธอป่วยเป็นโควิด-19 บ่อยมาก เพราะยากที่จะป้องกัน
ตนเอง เนื่องจากอาชีพของเธอต้องมีการใกล้ชิดกับลูกค้า ต้องกินดื่มด้วยกัน พอ
เธอป่วยก็ทํางานไม่ได้ รายได้ก็ลดลง ลูกค้าก็น้อยลงเพราะบางคนเขาก็ต้องเซฟ
ตัวเองกับครอบครัว

หญิงวัย 24 ปี ชาวไทใหญ่ พนักงานร้านคาราโอเกะแห่งหนึ่งในอําเภอรอบนอก


ตัวเมืองเชียงใหม่ ระบุว่าในช่วงการปิดสถานบันเทิงห้ามขายเหล้านั้น ร้านคาราโอ
เกะที่เธอทํางานต้องปิดเพื่อป้องกันโควิด-19 ตามการบังคับของราชการ แต่
เจ้าของร้าน (สามีคนไทยกับภรรยาชาวไทใหญ่) ก็ปรับเปลี่ยนร้านไปขายพวกปิ้ง
ย่าง-อาหารตามสั่ง เธอเองก็ไม่รู้จะไปทํางานอะไรก็มาขอช่วยเจ้าของร้าน บางวัน
ขายไม่ ดี ก็ ไ ม่ มี ค่ าจ้ าง (น้ อยกว่ าตอนเป็ นร้ านคาราโอเกะ แต่ ก็ ไ ด้ เ ป็ นรายวั น
เหมือนกัน) วันไหนขายดีก็มีค่าจ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ แต่ก็เหมือนอยู่กินกับร้าน (มี
อาหารให้ฟรี 2 มื้อ) ชีวิตช่วงนั้นลําบากมากแต่โชคยังดีที่แฟนของเธอทํางานรับจ้าง
ทั่วไปซึ่งพอจะมีงานบ้าง ไม่เหมือนคนทํางานร้านเหล้าร้านคาราโอเกะที่ไม่สามารถ
เปิดร้านได้
51

“..เราทํางานกับพี่เขามาตลอด พี่เขาเลยให้เราอยู่ช่วยด้วยช่วงโควิด ส่วนคนอื่น ๆ


ก็แยกย้ายกันไป ช่วงที่โควิดเริ่มซาลงเปิดร้านได้แล้วก็มีกลับมาบางส่วน บางส่วนก็
หายไปเลย..”

เธอเล่าว่าร้านต้องปรับตัวไปขายปิ้งย่าง-อาหารตามสั่งอยู่พักหนึ่ง จากนั้นเริ่มขาย
เหล้าได้ และเพิ่งมาปีนี้ (2565) ที่กลับมาเปิดเป็นร้านคาราโอเกะอีกครั้งหนึ่ง เธอ
ระบุด้วยว่าลูกค้าเริ่มกลับเข้าร้านตั้งแต่ขายปิ้งย่างและขายเหล้าไปด้วยได้เมื่อช่วงปี
ที่แล้ว (2564) แต่พอเปิดคาราโอเกะเต็มตัวอีกครั้ง ทิปของเธอในแต่ละวันจะได้
เพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงปีที่แล้วอย่างเห็นได้ชัด

ทําไมจึงเกิดคลัสเตอร์สถานบันเทิง

สาเหตุหลักของการระบาดคลัสเตอร์สถานบันเทิงคือ “วิถีของนักเที่ยวและคนทํางาน
กลางคืน” เป็นปัจจัยสําคัญ เพราะผู้ที่ไปเที่ยวสถานบันเทิงเป็นวัยรุ่นและวัยทํางาน
ถ้าติดเชื้อจะมีอาการเล็กน้อย ทําให้ไปเที่ยวและแพร่เชื้อต่อได้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ที่ถ้าดื่มอย่างหนักก็อาจทําให้ขาดสติในการระมัดระวังตัว นอกจากนี้การทํางานของ
นักร้อง นักดนตรีที่ไม่ได้ประจําร้านใดร้านหนึ่ง รวมถึงการเที่ยวหลายร้าน หรือการ
เที่ยวข้ามจังหวัดของนักดื่ม/นักเที่ยวก็ทําให้เกิดการระบาดไปยังพื้นที่ใหม่ได้ง่าย
ประกอบกับมีประเด็น “สิ่งแวดล้อมของสถานบันเทิง” ที่เอื้อต่อการเกิดเหตุการณ์
การแพร่กระจายเชื้อมากเป็นพิเศษ เพราะภายในร้านอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ไม่
สะดวกจะสวมหน้ากาก เมื่อผู้ติดเชื้อต้องตะโกนคุยกันหรือร้องเพลงก็ทําให้ละออง
นํ้าลายลอยอยู่ในอากาศนานมากขึ้น ประกอบกับความแออัดของสถานที่ทําให้คน
52

จํานวนมากได้รับเชื้อไปโดยไม่รู้ตัว52 นอกจากนี้การระบาดของคลัสเตอร์สถานบันเทิง
ย่านทองหล่อครั้งที่ 2 ในช่วงเดือนมีนาคม 2564 ก็อยู่ในช่วงการผ่อนคลายมาตรการ
เข้มงวดหลังการควบคุมการระบาดระลอกที่ 2 ได้แล้ว

เสียงจากคนในธุรกิจกลางคืนต่อประเด็นการแพร่เชื้อในสถานบันเทิง53

เจ้าของร้านเหล้าแห่งหนึ่งย่านสีลม มองว่าร้านเหล้าและสถานบันเทิงคล้ายกับ
เป็นแพะรับบาปในสถานการณ์โรคติดต่อ ทั้งที่โอกาสติดโควิด-19 นั้นมันมีความ
เป็นไปได้จากหลาย ๆ สถานที่ในชีวิตประจําวัน

“..เรารู้สึกว่ารัฐพยายามจะหาแพะสําหรับเรื่องการระบาดของโควิด ซึ่งแพะที่
เหมาะสมคือแหล่งอบายมุข ก็เลยมาโทษร้านเหล้า ถ้าลองคิดดูก่อนจะมาติดที่ร้าน
เหล้ า เขาติ ด จากที ่ ไ หนมาก่ อ น คื อ เรามี โ อกาสจะติ ด จากที ่ ไ หนก็ ไ ด้ ใน
ชีวิตประจําวันทั่วไปเลย พอเป็นคลัสเตอร์สถานบันเทิง เราโดนหาว่าไม่มีความ
รับผิดชอบ โดนสั่งล็อคดาวน์ ตลาดนัดบางแห่งยังโดนสั่งปิด แต่ห้างเปิดได้ มันไม่มี
ความชัดเจนอะไรเลย..”

หญิงอายุ 37 ปี พีอาร์ (งานชงเหล้าดูแลบริการลูกค้า) ในกรุงเทพฯ มีความ


คิดเห็นว่าการบอกว่าโควิด-19 ระบาดมาจากสถานบันเทิงกลางคืน นั้นก็มีส่วนจริง
เพราะเวลากินดื่มกันมันหลีกเลี่ยงไม่ได้ บางคนยังตรวจไม่พบเชื้อ ไม่รู้ว่าตัวเองเป็น
ก็ไปกินดื่มกับลูกค้า ต่อให้เราตรวจทุกวัน แต่เราก็ไม่สามารถบังคับคนอื่นให้เขา

52
ชนาธิป ไชยเหล็ก, “ย้ อนไทม์ไลน์ก่อนเกิดคลัสเตอร์ ทองหล่อ-เอกมัย ทําไมสถาน
บันเทิงถึงเสียV งติดโควิด-BC,” The Standard (i เมษายน 2564), จาก
https://thestandard.co/relive-timeline-before-thonglor-ekamai-cluster/
53
สัมภาษณ์ชว่ งเดือนสิงหาคม z{|{
53

ตรวจทุกวันเหมือนเรา มันเลี่ยงยาก มันเป็นงานที่ต้องกิน ต้องดื่มด้วยกัน ต้องเปิด


แมสก์ ต้องคุยกัน

“เราคิดว่าก็ถูกที่รัฐบาลสั่งปิดสถานบันเทิง แต่เราคิดว่าคนเราก็มีโอกาสที่จะติด
จากที่ไหนก็ได้ที่เป็นห้องแอร์ แล้วเชื้อมันอยู่ในนั้นได้ มันก็ติดได้เหมือนกัน”

ดังที่กล่าวมา “บาร์” จึงไม่พ้นตกเป็นจําเลยโทษฐานเป็นต้นเหตุของการแพร่ระบาด


ของโรคโควิด-19 ในไทยหลายต่อหลายระลอก ซึ่งนับแต่การระบาดแพร่ในระลอกที่
3 ในเดือนมีนาคม 2564 เป็นต้นมา รัฐก็ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการควบคุมโรค ไม่นํา
มาตรการปิดเมือง ปิดกิจการ/กิจกรรมแบบปูพรมทั่วประเทศมาใช้อีก เพราะสร้าง
ความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง เอื้อให้เกิดการระบาดครั้งใหม่จากภาคธุรกิจ
นี้ได้อีกเสมอซึ่งหลายฝ่ายค่อนข้างกังวล แต่ทั้งนี้ต้องมิลืมด้วยว่าธุรกิจจําพวกนี้ยังมี
ข้อดีหลายด้าน ด้านสังคม ช่วยให้คนเกิดความผ่อนคลาย สร้างสัมพันธภาพของคนใน
สังคม ด้านเศรษฐกิจ เกิดการจ้างงาน หารายได้เข้ารัฐ ฯลฯ ซึ่งเราคงมองข้ามไม่ได้
เช่นกัน.
54

ปาร์ตี้
Summary

• คลั สเตอร์ จั ดปาร์ ตี ้ ฉลองปิ ดเทอมของนั กศึ กษาสถาบั นอุ ดมศึ กษาใน
เชียงใหม่ตามสถานบันเทิงต่าง ๆ ช่วงปลายเดือนมีนาคม 2564 ในห้วง
ผ่ อ นคลายมาตรการ ก่ อ ให้ เ กิ ด การระบาดใหญ่ ไ ปทั ่ ว ทั ้ ง ภาคเหนื อ
เนื่องจากที่นักศึกษาเหล่านี้ได้กลับบ้านไปพร้อมกับเชื้อติดตัว
• จํานวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจังหวัดเชียงใหม่ทําให้ภาครัฐ
รับมือไม่ไหว ทั้งในเรื่องของการรายงานไทม์ไลน์ผู้ติดเชื้อ ตลอดจนการนํา
ผู้ติดเชื้อเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล นําไปสู่ความตื่นตัวจัดตั้งกลุ่ม
ในสังคมออนไลน์อย่างกลุ่มลูกช้าง มช.ขึ้น เพื่อเผยแพร่ข่าวสารและ
ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมถึงเกิดการปรับเปลี่ยนทางนโยบายโดยใช้
โรงพยาบาลสนาม และให้ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการรุนแรงกักตัวเองอยู่ที่บ้าน
• หลังเกิดคลัสเตอร์โควิด-19 จากสถานบันเทิง แม้รัฐจะพยายามยกระดับ
มาตรการในการควบคุมเข้มข้นขึ้น แต่กระนั้นกลับพบว่าได้มีการหันไป
รวมตัวกันสังสรรค์หรือจัด “ปาร์ตี้” แทน ทั้งที่เป็นการละเมิดต่อกฎหมาย
ควบคุ ม โรคในช่ ว งสถานการณ์ ร ะบาดของโควิ ด -19 โดยพบการแพร่
ระบาดในวงปาร์ตี้เหล่านี้มากมาย

คืนวันฉลองปิดเทอมใหญ่ที่เชียงใหม่: การเดินทางของเชื้อไวรัสจากเมืองสู่ชนบท
55

คลัสเตอร์สถานบันเทิงเชียงใหม่มีการระบาดที่สําคัญ 2 ช่วง คือ การระบาดในช่วง


ปลายปี 2563 ต้นตอมาจากผู้ติดเชื้อที่ทํางานในสถานบันเทิงประเทศเพื่อนบ้านแล้ว
ลักลอบกลับเข้าประเทศ รวมถึงผู้ติดเชื้อจากสถานบันเทิงในกรุงเทพฯ ที่มาท่องเที่ยว
และฉลองเทศกาลรับปีใหม่ในช่วงปลายปี 2563 และการระบาดที่มีจุดเริ่มต้นในช่วง
ปลายเดือนมีนาคม 2564 มีความเชื่อมโยงกับนักเที่ยวจากกรุงเทพฯ (ทั้ง 2 ช่วงเวลา
อยู่ในระยะผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคของประเทศไทย) ทั้งนี้การระบาดในช่วง
ปลายเดือนมีนาคม 2564 ที่ส่งผลให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อในจังหวัดเชียงใหม่พุ่งสูงขึ้นตั้งแต่
ต้นเดือนเมษายน 2564 เป็นต้นไปนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษา
ในเชียงใหม่ที่นัดปาร์ตี้ฉลองปิดเทอมตามสถานบันเทิงต่าง ๆ ก่อนจะพากันกลับไปยัง
ภูมิลําเนาเดิม ส่งผลให้ COVID-19 ลุกลามไปทั่วภาคเหนือจนครบ 17 จังหวัด54 ช่วง
ปลายเดือนเมษายน 2564 จากการคัดกรองของโรงพยาบาลชุมชนในแต่ละอําเภอ
ของจังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นว่ามีการกระจาย
ตัวของเชื้อโควิด-19 ไปยังอําเภอรอบนอกด้วย55 เกิดปรากฏการณ์ระบาดทั้งในเขต
เมืองสู่ชนบทตั้งแต่พื้นราบถึงยอดดอย ทั้งที่ก่อนหน้านี้แทบที่จะไม่มีการระบาดใน
พื้นที่เหล่านั้นเลย

คลัสเตอร์สถานบันเทิงเชียงใหม่ระลอกแรก ๆ ช่วงปลายปี 2563 จนถึงต้นปี 2564


ถือเป็นช่วงแรกที่เชียงใหม่เกิดการระบาดของ COVID-19 จากคลัสเตอร์สถานบันเทิง
เป็นครั้งแรก (ก่อนหน้านี้เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่น ๆ) โดยมีความเชื่อมโยง
กับสถานบันเทิงในประเทศเพื่อนบ้าน

54
“วอร์มอัพยังลาม เจอติดโควิดอีก 19 ราย ใน 4 จังหวัด,” มติชนออนไลน์ (9 มกราคม 2564), จาก
https://www.matichon.co.th/covid19/news_2521623
55
“โควิดเชียงใหม่ทรงตัว ติดเพิ่ม 134 ราย พบผู้ติดเชื้อกระจายต่างอําเภอมากขึ้น,” ประชาชาติธุรกิจ (20
เมษายน 2564), จาก https://www.prachachat.net/local-economy/news-652213
56

28 พฤศจิกายน 2563 รายงานของทางสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่และ


กองระบาดวิทยา สํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ยืนยันว่ามี
หญิงไทย อายุ 29 ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยโรค COVID-19 โดยประวัติที่ได้จาก
การสอบสวนโรคพบว่าช่วงวันที่ 24 ตุลาคม-23 พฤศจิกายน 2563 เธอเข้าไปทํางาน
อยู่ที่สถานบันเทิงในโรงแรม 1G1 จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ผู้ป่วยเริ่มมี
อาการป่วยด้วยอาการไข้ ถ่ายเหลว และจมูกไม่ได้กลิ่น ตั้งแต่ก่อนจะลักลอบเดินทาง
กลับเข้าประเทศไทยทางอําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายในวันที่ 24 พฤศจิกายน
2563 (ต่อมาพบผู้ร่วมคณะอีก 2 คนก็ติดเชื้อ แต่เป็นชาวเชียงรายและพะเยา) ซึ่งเมื่อ
มาถึงจังหวัดเชียงใหม่แล้ว ผู้ป่วยรายนี้ได้ไปเที่ยวสถานบันเทิงแห่งหนึ่งย่านสันติธรรม
กับเพื่อน มีการสูบบุหรี่ร่วมกัน รวมทั้งได้เข้าพักค้างคืนที่คอนโดแห่งหนึ่งของเพื่อน
ที่มาจากสถานบันเทิงด้วยกัน พร้อมกับมีการร่วมดื่มสุรากับผู้พักอยู่ในห้องใกล้กัน
โดยจากการสืบสวนโรคพบว่าผู้ป่วยรายนี้มีผู้สัมผัสถึง 326 ราย56 ต่อมาในวันที่ 4
ธันวาคม 2563 มีการยืนยันว่าชายไทยอายุ 32 ปีที่เคยเป็นดีเจของสถานบันเทิงใน
โรงแรม 1G1 แล้ ว กลั บ มาเชี ย งใหม่ ก ็ พ บการติ ด เชื ้ อ อี ก เช่ น กั น57 โดยในวั น ที ่ 7
ธันวาคม 2563 ได้มีการสรุปตัวเลขผู้ติดเชื้อจากคลัสเตอร์โรงแรม 1G1 พบว่ามีถึง 38
ราย58

การระบาดยังคงเกิดขึ้นกับกลุ่มผู้เที่ยวสถานบันเทิงเชียงใหม่อย่างเงียบ ๆ ในวงจํากัด
มาจนถึงช่วงต้นปี 2564 จึงเริ่มเป็นที่กล่าวขวัญอีกครั้ง เมื่อมีการยืนยันพบผู้ป่วยเพิ่ม

56
“ด่วน! ไทม์ไลน์ สาวเชียงใหม่ติดโควิด สัมผัส 326 ราย เที่ยวห้างดัง-ผับ-นั่งแกร็บหลายครั้ง,” มติชนออนไลน์
(28 พฤศจิกายน 2563), จาก https://www.matichon.co.th/region/news_2462539
57
“เชียงใหม่แจ็กพอต ดีเจหนีจากโรงแรม 1G1 ท่าขี้เหล็ก ติดโควิดรายที่ 45,” ไทยรัฐออนไลน์ (4 ธันวาคม
2562), จาก https://www.thairath.co.th/news/local/north/1989131
58
“บิ๊กตู่ดับกระแสโควิดรอบ2 สรุปแก๊ง1G1ติดเชื้อ38ราย,” ไทยโพสต์ (8 ธันวาคม 2563), จาก
https://www.thaipost.net/main/detail/86235
57

อีก 2 ราย จากการสืบสวนโรคพบว่าผู้ป่วยรายหนึ่งมีประวัติไปสถานบันเทิงย่าน


นิมมานเหมินทร์ อย่างร้านวอร์มอัพ คาเฟ่ และร้านพริตตี้คลับ เอ็กซ์คลูซีฟ ส่วนผู้ติด
เชื้ออีกรายเป็นชาวไทใหญ่ที่ทํางานเป็นพนักงานเสิร์ฟร้านวอร์มอัพ คาเฟ่ ต่อมา
คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่จึงมีคําสั่งปิดสถานบันเทิง 5 แห่ง 3 วัน และ
ให้ พนั กงานกั กตั ว 14 วั น พร้ อมมาตรการเข้ มงวดสํ าหรั บผั บ บาร์ คาราโอเกะ
โดยเฉพาะ เช่น ห้ามใช้สถานที่เพื่อให้บริการตั้งแต่เวลา 23.00-05.00 น., ผู้ใช้บริการ
ต้องลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันไทยชนะเท่านั้น ไม่ให้เขียนลงในกระดาษแบบที่ผ่าน
มา, จํากัดจํานวนผู้ใช้บริการลงเหลือร้อยละ 75 ของพื้นที่ความจุ, ประชาสัมพันธ์ให้ผู้
ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดงดเข้าใช้บริการ และห้ามเต้น รวมไปถึงห้ามดื่ม
แอลกอฮอล์ในร้านตั้งแต่เวลา 23.00 น.เป็นต้นไป59

ในเวลานั้นคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ได้ประกาศให้ประชาชนที่เดินทาง
ไปยังร้านวอร์มอัพ ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2563-3 มกราคม 2564 ถือเป็นผู้สัมผัส
เสี่ยงสูง สามารถเข้ารับการตรวจหาเชื้อ โควิด-19 ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ณ จุด
บริการเคลื่อนที่บริเวณหน้าร้านวอร์มอัพนั่นเอง ข้อมูลสรุปผลระบุว่าคลัสเตอร์ร้าน
วอร์มอัพทําให้มีการติดเชื้อรวม 19 ราย60

59
“เชียงใหม่ติด COVID-19 เพิ่ม 1 คน สั่งปิดสถานบันเทิง 5 แห่ง,” Thai PBS (5 มกราคม 2564), จาก
https://news.thaipbs.or.th/content/299897; “ผู้ว่าฯ เชียงใหม่สั่งปิดผับ-บาร์ทั้งจังหวัด 14 วัน หลังเด็ก
เสิร์ฟร้านดังติดโควิดรายที่ 51,” คมชัดลึก (6 มกราคม 2564), จาก
https://www.komchadluek.net/news/454224
60
“เชียงใหม่ติด COVID-19 เพิ่ม 1 คน สั่งปิดสถานบันเทิง 5 แห่ง,” Thai PBS (5 มกราคม 2564), จาก
https://news.thaipbs.or.th/content/299897; “ผู้ว่าฯ เชียงใหม่สั่งปิดผับ-บาร์ทั้งจังหวัด 14 วัน หลังเด็ก
เสิร์ฟร้านดังติดโควิดรายที่ 51,” คมชัดลึก (6 มกราคม 2564), จาก
https://www.komchadluek.net/news/454224
58

ต่อมาได้มีการรวบรวมสถิติผู้ติดเชื้อจากคลัสเตอร์สถานบันเทิงเชียงใหม่ทั้งหมดพบว่า
มีทั้งสิ้น 23 ราย โดยยอดของผู้ติดเชื้อหยุดไปตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมกราคม 2564 ทํา
ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ โดยอนุญาตให้
สถานบันเทิงกลับมาเปิดให้บริการได้ตามปกติ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 256461
เป็นการผ่อนปรนในระยะสั้น ๆ เท่านั้น ก่อนประเทศไทยจะต้องเผชิญกับการระบาด
ในระลอกที่ 3 เช่นเดียวกับจังหวัดเชียงใหม่ที่ก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน

คลัสเตอร์ฉลองปิดเทอมใหญ่ในระลอกที่สาม การระบาดใหญ่หนนี้ก่อตัวมาตั้งแต่
ช่วงต้นเดือนเมษายน 2564 นับแต่มีรายงานพบผู้ป่วยโควิด-19 เป็นครั้งแรกในรอบ
83 วัน จํานวน 4 ราย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้เดินทางมาจากกรุงเทพฯ และมีความ
เชื่อมโยงกับคลัสเตอร์สถานบันเทิงในกรุงเทพฯ62 จากนั้นก็พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ยอดจากหลักสิบต่อวันกลายเป็นหลักร้อย จนต้องปรับเปลี่ยนมาตรการให้สถาน
บริการ รวมถึงสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายกัน ปิดตั้งแต่เวลา 23.00 น.เป็น
ต้นไป ส่วนร้านอาหารสามารถให้ลูกค้านั่งดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านได้แค่เวลา
23.00 น. พร้อมสั่งปิดร้านวอร์มอัพ คาเฟ่, ร้านกราวน์, ร้านลิฟวิ่งแมชชีน, ร้านดีซี
เชียงใหม่, ร้านท่าช้าง คาเฟ่, ร้านอินฟินิตี้คลับ, ร้านพริตตี้คลับ เอ็กซ์คลูซีฟ และร้าน
ทูไนท์ คาเฟ่ชั่วคราว เป็นเวลา 14 วัน เพราะเป็นร้านที่ปรากฏในไทม์ไลน์ที่ผู้ป่วยให้

61
“ผับบาร์เชียงใหม่มีเฮ! หลังไร้ผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มต่อเนื่อง 19 วัน เตรียมคลายล็อคเปิดบริการได้ 1 กุมภาพันธ์
2564,” เชียงใหม่นิวส์ (31 มกราคม 2564), จาก
https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/1569728/
62
“เชียงใหม่ติดโควิด 4 ราย เชื่อมโยงสถานบันเทิง กทม. ล่าสุด สั่งผับ-บาร์ ปิด 5 ทุ่ม,” ประชาชาติธุรกิจ (5
เมษายน 2564), จาก https://www.prachachat.net/local-economy/news-643057
59

ข้ อ มู ล ว่ า ได้ เ ข้ า ใช้ บ ริ ก าร ส่ ว นใหญ่ ต ั ้ ง อยู ่ บ ริ เ วณลานประเสริ ฐ แลนด์ และย่ า น


นิมมาน63

เฉพาะวันที่ 11 เมษายนวันเดียว มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด 281 ราย ใน


จํานวนนี้มีนักศึกษาแพทย์ และทันตแพทย์รวมอยู่ด้วย64 และผู้ติดเชื้อตลอดทั้งเดือน
รวมแล้วมากถึง 3,575 รายเลยทีเดียว65

จากการตรวจสอบไทม์ไลน์ของผู้ติดเชื้อหลายรายในช่วงดังกล่าวมีข้อสังเกตว่า ผู้ติด
เชื้อกลุ่มนี้เข้าไปใช้บริการสถานบันเทิงในช่วงเวลาที่กฎหมายกําหนดให้ปิด เช่น
ระหว่าง 00.00-02.00 น. ช่วง 02.00-04.00 น. เวลา 00.30-02.00 น. เป็นต้น ทั้งที่
ร้านเหล่านี้เปิดให้บริการได้ถึงเวลา 00.00 น.เท่านั้น (หากไม่ได้รับใบอนุญาตสถาน
บริการ) ในที่นี้บางร้านมีประวัติเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการระบาดในสองระลอกแรก
แต่กลับไม่ปรากฏว่าเคยโดนดําเนินคดีแต่อย่างใด66

เสียงจากนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเชียงใหม่ที่มีส่วนร่วมในเหตุการณ์67

63
“เชียงใหม่พบโควิดอีก 2 ไทม์ไลน์เที่ยวผับ 8 คืนรวด จังหวัดสั่งปิด 14 วัน,” PPTV (6 เมษายน 2564), จาก
https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/145070 “‘เชียงใหม่’ เปิดไทม์ไลน์ 5 ผู้ป่วยโควิดล่าสุด คกก.สั่ง
ปิดสถานบริการเพิ่มอีก 5 แห่ง,” สยามรัฐ (7 เมษายน 2564), จาก https://siamrath.co.th/n/233778
64
“เชียงใหม่ระบาดหนักโควิด ติดเชื้อ 281 ราย ลามเข้าสู่ นศ.แพทย์ มหาลัย,” ไทยรัฐออนไลน์ (11 เมษายน
2564), จาก https://www.thairath.co.th/news/local/north/2067551
65
“จ.เชียงใหม่ พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลงอย่างต่อเนื่อง พร้อมเตรียมยกระดับการควบคุมพื้นที่สีแดงเข้ม,”
สํานักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ (30 เมษายน 2564), จาก
https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG210430153921653
66
“ส่องไทม์ไลน์ผู้ป่วยโควิด-19 เชียงใหม่ระลอกใหม่ พบหลายรายเที่ยวสถานบันเทิงส่อเปิดเกินเวลา,” ผู้จัดการ
ออนไลน์ (10 เมษายน 2564), จาก https://mgronline.com/local/detail/9640000034431
67
สัมภาษณ์ช่วงเดือนพฤษภาคม 2565
60

นักศึกษาหญิงคณะเศรษฐศาสตร์ เปิดเผยว่าช่วงแรกของการระบาดนั้น ยังไม่น่า


กลัว เพื่อนนักศึกษาหลายคนยังคิดว่าจังหวัดเชียงใหม่มีผู้ติดเชื้อน้อย จึงใช้เวลาใน
การสร้างสรรค์ช่วงกลางคืนกันตามปกติ

“..ช่วงของการระบาดโควิดแรก ๆ ในเชียงใหม่มันไม่น่ากลัวเท่าไหร่ ตอนนั้นยังไม่


มีเอทีเคนะคะ ฉะนั้นใครจะติดหรือไม่ติดจะรู้ยากมาก เชียงใหม่เองก็ไม่ได้มีคลัส
เตอร์เยอะขนาดนั้น การออกไปดื่มกับเพื่อน ๆ จึงนับว่าปกติ จนกระทั่งมีสัญญาณ
เตือนแรกที่มีคนติดโควิดจากกรุงเทพฯ แล้วมาเที่ยวเชียงใหม่ ซึ่งพี่คนนี้เขาก็ปัก
หมุดที่วอร์มอัพคืนแรกเลยมั้ง จากนั้นแหละวงแตก..”

เธอยังเสริมอีกว่า แม้สถานบันเทิงชื่อดังย่านถนนนิมมานเหมินทร์จะตกเป็นข่าว
ใหญ่ว่าเป็นสถานที่ ๆ เป็นคลัสเตอร์ในเชียงใหม่เริ่มขึ้น หรืออย่างน้อยที่สุดก็มีผู้ติด
เชื้อจํานวนมากที่ไปใช้บริการ แต่ในความเป็นจริงนักศึกษาในเชียงใหม่ต่างรู้กันดีว่า
ผู้ติดเชื้อนั้นมีเกือบทุกร้าน เพราะโดยทั่วไปแล้วนักศึกษาใช้บริการสถานบันเทิง
และร้านกินดื่มมากกว่า 2 ร้าน

“..สัญญาณเตือนใหญ่ ๆ ครั้งแรกนี่วอร์มอัพรับไปเต็ม ๆ แต่ในความเป็นจริง พวก


เรานักศึกษารู้กันแหละว่ามันมีร้านอื่นอีก ร้านอย่างลิสซึ่มหรือลิฟวิงแมชชีนเนี่ย
เป็นคลัสเตอร์ทั้งนั้น พอเจ้าของร้านรู้ เขาก็ประกาศในเพจว่าปิดสามวัน ห้าวันนะ
อะไรก็ว่าไป แต่ไม่ได้บอกนะว่ามีคนติดโควิด คือบอกเพียงแค่ว่าปิดร้านเพื่อทํา
ความสะดวก ฆ่าเชื้อ เพื่อให้ปลอดภัย บลา ๆ อันนี้ก็คือช่วงแรกที่ร้านเหล้าใน
เชียงใหม่ใกล้จะถูกสั่งปิดแล้ว..”

“..ช่วงนั้นมันมีพวกบ้า ๆ บอ ๆ เยอะนะพี่ คือเขาติดโควิดหรือเปล่าไม่รู้ แต่คงมี


อาการแหละ พวกนี้ก็ไม่สนใจอะไร เที่ยวทุกวันไง มันเสพติด ก็ไปนั่งตามปกติ ไป
61

หมดเลยแถว ๆ นิมมาน แถว ๆ เจ็ดยอด มารู้ทีหลังว่าติดก็ซวยร้านอีก ต้องมาปิด


ร้าน ตามแจ้งลูกค้า คือช่วงแรก ๆ เราเจอกับอะไรแบบนี้เยอะ จะปิดก็ปิดไม่ได้ แต่
จะให้ถามรายคนว่านี่มึงป่วยหรือเปล่าก็ไม่กล้าอีก..” เธออธิบายเพิ่มเติม

นักศึกษาหญิงคณะการสื่อสารมวลชน หนึ่งในผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงนั้นเล่าว่า


แม้ ใ นช่ ว งนั ้ น มหาวิ ท ยาลั ย ประกาศให้ แ ต่ ล ะคณะจั ด การเรี ย นการสอนแบบ
ออนไลน์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ แต่เนื่องจากหลายวิชาเรียนยังคงต้องทํางานกลุ่ม
และต้องใช้บริการสํานักหอสมุด จึงไม่สามารถเดินทางกลับภูมิลําเนาได้

“..ใจหนึ่งก็อยากกลับบ้านค่ะ แต่งานค้างอยู่เป็นจํานวนมาก และเชื่อว่าเพื่อน


หลายคนก็คิดเช่นกัน ไหนจะต้องเข้าไปพบอาจารย์ที่ปรึกษาด้วย ที่สําคัญกว่านั้น
คือ ค่าหอพักที่เราจ่ายมัดจําไปแล้ว หากเราอยู่ไม่ถึงกําหนดที่ทําสัญญาไว้ ก็จะเสีย
เงินไปฟรี ๆ ฉะนั้นก็อยู่ทํางานในเชียงใหม่ดีกว่า..”

สถานการณ์โควิดที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วและเป็นวงกว้างในตอนนั้นส่งผลกระทบ
ต่อการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งกําลังจะเข้าสู่ช่วงประเพณีปี๋ใหม่เมือง
(เทศกาลสงกรานต์ ) คงต้ อ งยอมรั บ ความจริ ง ว่ า สาเหตุ ส ่ ว นหนึ ่ ง มาจากความ
หละหลวมของเจ้าหน้าที่รัฐเอง ไม่ว่าเป็นการปล่อยให้มีการลักลอบข้ามแดน ความไม่
เข้มงวดในการคัดกรองคนเข้าจังหวัด ตลอดจนการยอมให้สถานบันเทิงเปิดเกินเวลา

กลุ่มลูกช้าง มช. การช่วยเหลือเยียวยาซึ่งกันและกันในยามที่หวังพึ่งรัฐไม่ได้

อี ก ปรากฏการณ์ ท ี ่ น ่ า สนใจคื อ กลุ ่ ม ผู ้ ต ิ ด เชื ้ อ ในระลอกนี ้ เ ป็ น นั ก ศึ ก ษาระดั บ


มหาวิทยาลัยและผู้ใกล้ชิดเป็นส่วนใหญ่ กลุ่มนักศึกษาได้โพสต์แสดงความขอโทษคน
ใกล้ชิดและเปิดเผยไทม์ไลน์ของตัวเองโดยละเอียดลงในกลุ่มเฟซบุ๊ก “ลูกช้าง มช.”
เพื่อให้ผู้ที่อาจมีความเสี่ยงได้รับทราบและเฝ้าระวังสังเกตอาการตัวเอง หรือเข้ารับ
62

การตรวจหาเชื้อโดยเร็ว กลายเป็นพื้นที่สื่อสารสาธารณะที่ช่วยระบุสถานที่เสี่ยงต่าง
ๆ ไม่ แ ต่ ก ั บ เฉพาะนั ก ศึ ก ษาของมหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ ท ี ่ ใ ช้ ป ระโยชน์ หากแต่
ประชาชนทั่วไปก็อาศัยข้อมูลจากกลุ่มนี้ในการป้องกันตัวเอง และหลีกเลี่ยงการ
เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง เป็นการช่วยแบ่งเบาภาระที่เกินรับไหวของเจ้าหน้าที่รัฐ
เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจํานวนมากในแต่ละวัน ทางสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด
เชียงใหม่ไม่สามารถรายงานเคสได้อย่างครบถ้วนเหมือนช่วงก่อนหน้านั้น อนึ่ง ผู้ติด
เชื้อกลุ่มนี้โดยส่วนใหญ่เชื่อว่าตัวเองน่าจะติดเชื้อจากการเข้าไปใช้บริการในสถาน
บันเทิง และจากการนั่งดื่มกินในร้านเหล้า ขณะเดียวกันก็พบว่ามีบางส่วนที่ติดเชื้อ
ทั้งที่ใช้ชีวิตตามปกติ ไม่ได้เป็นคนเที่ยวกลางคืน แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย

เสียงจากนักศึกษาและบุคลากรในกลุ่มลูกช้าง มช.68

หนึ่งในแอดมินของกลุ่ม อดีตสมาชิกสภานักศึกษา เปิดเผยกับว่าในช่วงเวลา


ดังกล่าวมีผู้ติดต่อสอบถามถึงสถานที่ ๆ มีความเสี่ยงเข้ามาเป็นจํานวนมาก รวมถึง
จํานวนของผู้ที่เข้ามาแจ้งข่าวการติดเชื้อโควิด-19 วันละหลายสิบราย ทําให้กลุ่ม
เฟสบุ๊คจากที่แอดมินเคยต้องกดอนุมัติโพสต์ของสมาชิก เนื่องจากต้องตรวจทาน
เนื้อหาว่าไม่มีการละเมิดข้อบังคับหรือหมื่นประมาทบุคคลอื่น เปลี่ยนมาให้สมาชิก
ในกลุ่มสามารถโพสต์เนื้อหาได้ทันที

“..ช่ วงนั ้ นหนั กหน่ วงมาก คื อเรากลายเป็ นคล้ าย ๆ กั บแหล่ งข้ อมู ลหลั กของ
นักศึกษาไปเลย คนที่มาโพสต์ก็เยอะมาก มีทั้งนักศึกษาเอง บุคลากร รวมถึงผู้คน
ในเมืองเชียงใหม่ที่เขาอยู่ในกลุ่ม เราก็เลยต้องพยายามดันโพสต์ที่สําคัญ ๆ และแต่
ละวันก็จะมีแอดมินอีกคนคอยสรุปสถานที่ว่าช่วงนี้มีที่ไหนไม่ควรไปบ้าง..”

68
สัมภาษณ์ช่วงเดือนพฤษภาคม 2565
63

นักศึกษาชายคณะการสื่อสารมวลชน ระบุว่าไม่ได้ติดตามข่าวสารจากเฟสบุ๊กของ
โรงพยาบาลหรือสาธารณสุขจังหวัด เพราะมีข้อมูลที่กํากวม และไม่สามารถระบุ
สถานที่เสี่ยงอย่างตรงไปตรงมาได้

“..กลุ่มลูกช้าง มช.ข้อมูลละเอียดมากครับ ทุกคนที่มาแชร์ไทม์ไลน์ เหมือนจะรู้ด้วย


ตัวเองว่าไม่ใช่เรื่องผิดที่ไปไหนมาไหน ต่างกับในข่าวที่คนไปเที่ยวกลายเป็นแพะรับ
บาป ผมเองก็ติดโควิดช่วงปลายปีที่แล้ว (2564) ก็ได้แชร์ไทม์ไลน์ละเอียดมากเลย
จําได้ว่าพิมพ์ใส่โน้ตยาวเลย แชร์ไป 7 วันแบบละเอียด คนก็เข้ามาคอมเมนต์
ขอบคุณ ผมว่าเป็นพื้นที่ ที่นักศึกษาเข้ามาเช็คกันทุกวันน่ะครับ เราหวังจากข่าว
ข้างนอกไม่ได้เลย..”

นักศึกษาต่างชาติคณะสังคมศาสตร์ บอกว่ากลุ่มลูกช้าง มช.ทําให้ตนเองและ


เพื่อน ๆ ระวังตัวมากขึ้น และรับรู้ความเป็นไปของสถานการณ์โควิดในประชาคม
เชี ย งใหม่ ซึ ่ ง ข่ า วจากภายนอกมหาวิ ท ยาลั ย ไม่ ม ี แ หล่ ง ไหนสามารถให้ ข ้ อ มู ล
รายบุคคลได้ละเอียดขนาดนี้

“..เราติดตามข่าวสารข้างนอกจากเพจ ๆ หนึ่งในเชียงใหม่ เป็นสํานักข่าวเอกชน ก็


พอจะรู้ว่าถ้าติดโควิดต้องทําอย่างไร ส่วนของสาธารณสุข ส่วนใหญ่มักจะอธิบาย
มาตรการต่าง ๆ ซึ่งเปลี่ยนบ่อยมาก ในฐานะชาวต่างชาติ เราก็ตามไม่ค่อยทัน การ
ป้องกันตัวเองให้ดีจึงสําคัญมาก กลุ่มลูกช้าง มช.จึงเป็นพื้นที่ซึ่งต้องเข้าไปไล่ดู
ข้อมูลทุกวันในช่วงนั้น คือเราก็ไม่ได้ออกไปไหนมากหรอก แต่ก็เช็คไว้ก่อน เพื่อ
ความชัวร์..”

นักศึกษาหญิงคณะมนุษยศาสตร์ กล่าวว่าสถานการณ์ที่ลําบากที่สุดของการติดโค
วิด-19 คือความสับสนในการเข้ารับการรักษาหรือระบบติดตามในระดับจังหวัด ซึ่ง
64

เธอพบว่าท้ายที่สุดแล้วการจัดการปัญหากันเองภายในชุมชนมหาวิทยาลัยตอบ
โจทย์มากกว่า

“..เราพยายามไม่ไปที่เสี่ยง ๆ โดยเฉพาะที่ปรากฏในไทม์ไลน์ที่เพื่อน ๆ มช.ลง


เอาไว้ในกลุ่ม แต่สุดท้ายเราก็ติดเชื้ออยู่ดี เราเลยต้องเปิดเผยไทม์ไลน์เหมือนกับที่
คนอื่นเขาทํากัน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ปัญหาคือตอนนั้นเราไม่รู้ว่าจะไปหาหมอที่
ไหน ต้องติดต่อใครอะไรยังไง ก็ได้คนในกลุ่มที่คอยบอก สุดท้ายเราก็ได้ลงทะเบียน
แต่รักษาตัวที่บ้าน เพราะเตียงผู้ป่วยไม่เพียงพอ..”

บุคลากรของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เห็นด้วยว่ากลุ่มลูกช้าง มช.มี


อิทธิพลกับการจัดการพื้นที่ของโรงพยาบาลเป็นอย่างมาก เพราะสามารถประเมิน
เบื้องต้นได้ว่าในกลุ่มนักศึกษามีผู้ติดเชื้ออยู่ประมาณเท่าไหร่ในแต่ละช่วงเวลา

“..เราติดตามไทม์ไลน์ของกลุ่มลูกช้าง มช.เข้มข้นเหมือนกัน ช่วงที่ผู้ป่วยเยอะแล้ว


จํานวนเตียงไม่ได้เพียงพอสําหรับทุกคน เราต้องมอนิเตอร์กลุ่มนี้ เพื่อแจ้งให้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับรู้ด้วย จึงเป็นที่มาของโรงพยาบาลสนามในเวลาต่อมา และ
มช.เองก็สามารถจัดทําแผน Home Isolation เพื่อให้ผู้ป่วยโควิดรักษาตัวที่บ้าน
พร้อมกับระบบติดตาม ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นนักศึกษาของเราเอง..”

ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ ว่าด้วยการลักลอบจัดปารตี้เชิงมั่วสุม

หลังการเกิดคลัสเตอร์สถานบันเทิงขึ้นมากมายทําให้มีมาตรการปิดสถานบันเทิงถูก
ยกระดับให้เข้มงวด และเอาจริงเอาจังมากขึ้นในทุกพื้นที่ แต่ก็กลับพบว่าได้มีการ
รวมตัวกันสังสรรค์หรือจัด “ปาร์ตี้” อันถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมโรคในช่วง
การระบาดของโควิด-19 รวมทั้งพบการแพร่ระบาดในวงปาร์ตี้เหล่านี้อยู่เป็นระยะ
ตัวอย่างเช่น ย้อนกลับไปก่อนการเกิดคลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทางหล่อเมื่อช่วง
65

เดือนมีนาคม-เมษายน 2564 ได้เกิด “คลัสเตอร์ปาร์ตี้ดีเจมะตูม” ขึ้นก่อนในเดือน


มกราคม 2564 จากการจัดงานวันเกิดบนชั้นดาดฟ้าโรงแรมบันยันทรี กรุงเทพฯ โดย
มีผู้ติดเชื้อจากคลัสเตอร์นี้ถึง 26 คน69 ตามด้วยอีกหลายกรณี ซึ่งยังไม่เป็นคลัสเตอร์
ใหญ่ จากนั้นหลังการระบาดระลอกเดือนเมษายน 2564 เป็นต้นมาถึงสามารถพบ
ปรากฏการณ์ทํานองนี้ได้ทั่วไปในหลายพื้นที่ของประเทศ ตัวอย่างเช่นที่สงขลา ช่วง
เดือนกรกฎาคม 2564 มีการจับกุมวัยรุ่นชายหญิงได้จํานวน 48 รายที่จัดปาร์ตี้ริมสระ
นํ้าที่พักหรู เดอะเลกเฮาส์ เกาะยอ ภายหลังพบผู้ติดเชื้อจํานวน 5 ราย70 โดยคลัส
เตอร์ปาร์ตี้ที่สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมากที่สุดครั้งหนึ่งมาจากการจัดงานวัน
เกิดในสถานบันเทิงแห่งหนึ่งที่เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี ช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 พบ
ผู้ติดเชื้อจากคลัสเตอร์นี้อย่างน้อย 99 คน ส่งผลทําให้การท่องเที่ยวบนเกาะซบเซาลง
อย่างมาก71 ในเดือนสิงหาคม 2564 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่พบคลัส
เตอร์ใหม่ที่ดีฮัทรีสอร์ท รวมโชค ซึ่งเป็นผู้ที่เดินทางมาจากกรุงเทพฯ เป็นเพื่อนกัน 4
คน ไม่รายงานตัว ไม่กักตัว และจัดปาร์ตี้โดยเรียกเด็กเอ็นมาให้บริการ 4 คน ใน
จํานวนนี้พบผู้ติดเชื้อถึง 6 คน72 เดือนกันยายน 2564 ตํารวจชุดสืบสวนจังหวัด
ระยองแถลงผลการจับกุมกลุ่มวัยรุ่นมั่วสุมเสพยาเสพติดในบ้านสวนพูลวิลล่า สามารถ
จับกุมได้ทั้งสิ้น 39 ราย โดยส่วนใหญ่รู้จักกันในสถานที่กักกันโรค และมีการนัดหมาย

69
“โควิด กทม. กลุ่มดีเจมะตูม ติดเชื้อพุ่ง 26 ราย พบเสี่ยงสูงอีก 113 ราย,” ประชาชาติธุรกิจ (28 มกราคม
2564), จาก https://www.prachachat.net/general/news-603419
70
“ระทึกผลตรวจโควิด แก๊งปาร์ตี้ริมสระ ในพูลวิลล่าสงขลา เจอติดเชื้อ 5 คน,” ไทยรัฐออนไลน์ (24 กรกฎาคม
2564), จาก https://www.thairath.co.th/news/crime/2148925
71
“คลัสเตอร์ผับเกาะสมุย ติดแล้ว 99 คน พบนําเชื้อติดเด็ก 8 ขวบด้วย,” ข่าวสดออนไลน์ (30 กรกฎาคม
2564), จาก https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6538144
72
“ปาร์ตี้อีกแล้ว! ติดเชื้อ 6 คน คลัสเตอร์ ดีฮัทรีสอร์ท รวมโชค ที่เชียงใหม่,” จส.100 (23 สิงหาคม 2564), จาก
https://www.js100.com/en/site/news/view/107523
66

กันว่าหลังพ้นจากการกักตัวจะจัดปาร์ตี้ฉลองวันเกิดย้อนหลังให้กับเพื่อนในกลุ่ม73
ช่วงเดือนตุลาคม 2564 มีการจับกุมกลุ่มวัยรุ่นที่รวมตัวมั่วสุมชุมนุมกันกว่า 220 คน
ฝ่าฝืนข้อกําหนดหรือคําสั่งที่ออกตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. 2548 ซึ่งกําหนดไว้ให้ปิดได้ไม่เกิน 22.00 น. ในพื้นที่สถานีตํารวจภูธรหนองแค
จังหวัดสระบุรี พบบางส่วนมียาเสพติดประเภท 2 (เคตามีน) ในครอบครอง74

การจัดปาร์ตี้เช่นนี้ได้กลายเป็นคลัสเตอร์ย่อย ๆ ขึ้นมาในหลายจังหวัด แทนที่คลัส


เตอร์สถานบันเทิงที่ถูกสั่งปิดเพื่อควบคุมโควิด-19 อย่างเข้มงวดในช่วงที่ประเทศไทย
มีอัตราผู้ติดเชื้อสูง

จากมุมที่แสงสาดส่องไม่ถึง: เสียงสะท้อนของผู้คนในธุรกิจกลางคืนเชียงใหม่

ปรากฏการณ์ที่เชียงใหม่เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคม-เมษายน 2564 ได้กลายเป็นหมุด


หมายสําคัญในฐานะคลัสเตอร์ใหญ่ของการแพร่เชื้อโควิด-19 อีกครั้งของประเทศ ซึ่ง
โดยมากแล้วผู้ติดเชื้อห้วงนั้นได้รับเชื้อต่อกันจากสถานที่ปิด โดยเฉพาะสถานบันเทิง
นํามาซึ่งมาตรการปิดสถานบริการ รวมทั้งที่เกี่ยวเนื่อง แต่ทว่ากลับขาดการเยียวยาที่
ดี

ภายหลังการหยุดให้บริการชั่วคราวของสถานบันเทิง และร้านอาหารในเชียงใหม่
ส่งผลให้พนักงานจํานวนมากถูกเลิกจ้าง ส่วนหนึ่งตัดสินใจเดินทางกลับภูมิลําเนา
ตนเอง หลังเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการ ร้านส่วนใหญ่จึงกลับมาให้บริการเต็ม
รูปแบบอีกครั้งในอีกเกือบ 1 ปีให้หลัง ขณะที่หลายแห่งก็ถึงขั้นปิดกิจการถาวร

73
“จับ 39 วัยรุ่นรู้จักกันในที่กักโควิด นัดปาร์ตี้ยา ในพูลวิลล่าสวนทุเรียน,” ไทยรัฐออนไลน์ (26 กันยายน
2564), จาก https://www.thairath.co.th/news/crime/2203617
74
“ตํารวจบุกจับผับดังที่หนองแค มั่วสุมจัดปาร์ตี้ยา รวบชายหญิง 220 ราย,” ไทยรัฐออนไลน์ (10 ตุลาคม
2564), จาก https://www.thairath.co.th/news/crime/2215727
67

เสียงของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจกลางคืนในเชียงใหม่

ผู้ถือหุ้นร้านอาหารกึ่งบาร์ย่านนิมมาน75 ที่ต้องปิดให้บริการเป็นเวลา 6 เดือน


ระบายว่าร้านอาหารประเภทนั่งกินดื่มที่ไม่ใช่สถานบันเทิงขนาดใหญ่ จําเป็นต้อง
หยุดให้บริการกันหมด เนื่องจากคําสั่งของจังหวัด และแม้จะไม่มีคําสั่งดังกล่าวก็
แทบจะไม่มีลูกค้าเช่นกัน

“..ช่วงที่เชียงใหม่ระบาดแรก ๆ เรายังเปิดให้บริการได้อยู่ เพราะเราขายอาหาร


ด้วย แต่พอคําสั่งเริ่มเข้มข้นขึ้นมา เราก็จําเป็นต้องปิดตัวลง ร้านอาหารทั่วไปหันไป
พึ่งพาระบบส่งอาหาร พึ่งพาแอปพลิเคชันต่าง ๆ แต่ในกรณีของพวกเรา ซึ่งเป็น
อาหารประเภทกับแกล้ม แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะขายในลักษณะนี้ เพราะลูกค้า
ต้องการมาสังสรรค์ที่ร้าน..”

อดีตพนักงานร้านเบอร์เกอร์แห่งหนึ่งบนถนนนิมมานเหมินท์76 เป็นร้านอาหาร
อีกแห่งหนึ่งที่ต้องปิดตัวลงไป เนื่องจากผลกระทบจากโควิด-19 เพราะไม่สามารถ
จําหน่ายแอลกอฮอล์ให้ลูกค้านั่งดื่มในร้านได้ในช่วงปี 2564 ส่งผลให้ร้านมียอดขาย
ไม่ตรงกับที่ตั้งเป้าไว้ ประกอบกับต้องหยุดร้านค่อนข้างบ่อย เพราะมีผู้ติดเชื้อระบุ
ว่าร้านอยู่ในไทม์ไลน์ก่อนจะพบว่าติดเชื้อ

“..คือช่วงนั้นเรายังไม่รู้แนวทางอะไรเลย ร้านส่วนใหญ่ในนิมมาน เมื่อมีคนติดเชื้อ


แจ้งว่ามาร้านเรา เราก็ต้องปิดสามวัน สี่วัน ว่ากันไป เพื่อฆ่าเชื้อในร้าน เราทําแบบ
นี้อยู่หลายครั้ง ร้านอื่น ๆ ก็เหมือนกัน ทีนี้พอมันเกิดขึ้นบ่อย ๆ ร้านใหญ่ ๆ เขาก็
รับภาระไม่ไหว พนักงานก็ถูกเลิกจ้างกันไปเยอะ”

75
สัมภาษณ์ช่วงเดือนมิถุนายน 2565
76
สัมภาษณ์ช่วงเดือนมิถุนายน 2565
68

เจ้าของร้านบาร์แจ๊ซชื่อดังในตัวเมืองเชียงใหม่77 ให้ข้อมูลว่าร้านของเขาใช้
พนักงานร้านแค่ไม่กี่คน ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นพาร์ทไทม์ ผิดกับนักดนตรีที่มีเยอะ
มาก รวมทั้งหมดประมาณ 60-70 คน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมา โดยที่ในแต่ละ
คืนตลอดหนึ่งสัปดาห์จะไม่เจอวงที่ขึ้นเล่นซํ้ากันเลย คืนละ 3 วง พอเจอโควิดทั้ง
เราและกลุ่มคนเหล่านี้ได้รับผลกระทบหนักมาก หลายคนต้องเปลี่ยนเส้นทางทํามา
หากินไปเลยก็มี

“..หนึ่งในสามของนักดนตรียังพอไปต่อได้บนเส้นทางสายเดิม อาศัยศักยภาพที่มี
ไปเป็ น ครู ส อนดนตรี ก ็ เ ยอะ เอางานเพลงของตั ว เองไปขายใน NFT (Non-
Fungible Token) ก็มี ส่วนที่เหลือไม่พ้นต้องเปลี่ยนทิศทางทํามาหาเลี้ยงชีพ เช่น
ไปขับแกร็บรับส่งผู้โดยสาร เปิดร้านกาแฟเล็ก ๆ ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ขาย..”

เจ้าของร้านอาหารเน้นขายเครื่องดื่มในอําเภอหางดง78 กล่าวในลักษณะเดียวกัน
ว่าไม่มีทางที่ธุรกิจเหล่านี้จะฟื้นตัวได้เร็ว เพราะภาระทั้งหมดตกอยู่กับผู้ให้บริการ
ฝ่ายเดียว

“..นอกจากที่เราจะกลายสถานที่เสี่ยงตามความหมายของรัฐแล้ว ซึ่งเราก็ไม่มีทาง
แก้ตัวอะไรเลย ผู้มีอํานาจคิดว่าการติดเชื้อเกิดขึ้นง่าย ๆ ในร้านเหล้า หนําซํ้าของที่
เราสต็อกไว้ ซื้อไว้ ก็จําหน่ายไม่ได้อีก ผมเชื่อว่ามีหลายร้านที่หาทางระบายของ
แบบวิธีลับ ๆ ไม่อย่างนั้นผู้ประกอบการ เจ้าของร้านตายเรียบ..”

เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า “บ่อน บาร์ ปารตี้” ธุรกิจกลุ่มนี้ (ร้านเหล้า ผับ บาร์ คลับ


เลาจน์ สถานบันเทิง อาบอบนวด คาราโอเกะ สนามม้า สนามมวย บ่อนไก่ บ่อนไพ่

77
สัมภาษณ์ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564
78
สัมภาษณ์ช่วงเดือนพฤษภาคม 2565
69

หวยใต้ดิน ฯลฯ) ทั้งที่เผยโฉมอยู่บนดินและซ่อนตัวอยู่ใต้ดิน ที่แม้จะมีการตั้งคําถาม


เชิ งศี ลธรรมถึ งความเหมาะสม แต่ ก็ ได้ สร้ างเม็ ดเงิ นให้ แก่ ระบบเศรษฐกิ จอย่ าง
มหาศาลหลายแสนล้านบาทต่อปี เกิดการจ้างงานไม่ว่าในหรือนอกระบบรวมกันหลัก
หลายล้านคน และเป็นห่วงโซ่ผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมากมาย จนเรียก
ได้ว่าเป็น “ปิศาจที่จําเป็น” ของสังคมไทย

แม้ยามสถานการณ์ปกติ ปีศาจเหล่านี้จะวนเวียนอยู่รอบตัวเรา ทว่ายังไม่ทําให้เรา


รู้สึกหวาดกลัวได้เท่ากับตอนที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งธุรกิจจําพวกนี้ถือ
เป็นต้นตอของหลาย ๆ คลัสเตอร์ใหญ่ ช่วยเผยให้เห็นถึงอคติที่ซ่อนเร้นอยู่ในใจผู้คน
และการตีตราแบบเหมารวมของสังคมได้พอสมควร นํามาซึ่งการถูกเลือกปฏิบัติจาก
หลายมาตรการของภาครัฐอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน.
70

สรุป Timeline สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศ


ไทย และเหตุการณ์สําคัญที่เกี่ยวกับ “บ่อน-บาร์-ปาร์ตี้”

ช่วงเวลา สถานการณ์ ส ํ า คั ญ ช่ ว งการระบาดของ COVID-19


และเหตุการณ์สําคัญที่เกี่ยวกับ “บ่อน-บาร์-ปาร์ตี้”
31 ธันวาคม 2562 จีน ยืนยันว่ามีผู้ป่วย COVID-19 ครั้งแรก จํานวน 27
คน ที่เมืองอู่ฮั่นเมืองหลวงของมณฑลหูเป่ย์ ถือเป็นการ
เริ่มต้นการระบาดของ COVID-19
มกราคม 2563 เริ่มการระบาดของ COVID-19 ระลอกที่ 1 ในประเทศ
ไทย (มกราคม-พฤศจิกายน 2563)
13 มกราคม 2563 ยืนยันพบผู้ป่วย COVID-19 รายแรกในประเทศไทย เป็น
หญิงชาวจีนวัย 61 ปี เดินทางมาท่องเที่ยวในไทย
28 มกราคม 2563 ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทยแตะหลักสิบเป็นครั้ง
แรก
21 กุมภาพันธ์ 2563 มี ร ายงานในภายหลั ง ว่ า กลุ ่ ม ผู ้ ต ิ ด เชื ้ อ กลุ ่ ม แรก ๆ
ของคลัสเตอร์สถานบันเทิงทองหล่อรอบที่ 1 ได้พบปะ
กลุ่มเพื่อนนักท่องเที่ยวชาวฮ่องกงที่มาเที่ยวเมืองไทย
6 มีนาคม 2563 มีการจัดการแข่งขันชกมวยในรายการลุมพินีแชมป์เปี้ยน
เกียรติเพชร มีผู้เข้าชมประมาณ 2,500 คน ที่สนามมวย
ลุ มพิ นี / เริ ่ มต้ นการระบาดของคลั สเตอร์ สนามมวย
ลุมพินี
12 มีนาคม 2563 เริ ่ ม มี ร ายงานผู ้ ต ิ ด เชื ้ อ COVID-19 คลั ส เตอร์ ส ถาน
บันเทิงทองหล่อรอบที่ 1
71

15 มีนาคม 2563 ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทยสะสมแตะหลักร้อย


เป็นครั้งแรก
1 8 ม ี น า ค ม - 1 ปิดสถานบริการยามคํ่าคืนเป็นวงกว้างครั้งที่ 1 เป็นเวลา
กรกฎาคม 2563 105 วัน
26 มีนาคม 2563 ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทยสะสมแตะหลักพัน
เป็นครั้งแรก / รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุก
เขตท้ องที ่ ทั ่ วราชอาณาจั กร และได้ มี การจั ดตั ้ งศู นย์
บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (ศบค.) เริ่มใช้มาตรการล็อคดาวน์หรือ
การปิดเมืองอย่างจริงจัง
31 มีนาคม 2563 เริ่มมีการออกประกาศห้ามจําหน่ายสุราและเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ ท ุ ก ชนิ ด ในจั ง หวั ด ต่ า ง ๆ / จากการ
ตรวจสอบภายหลังของตํารวจพบว่าเริ่มลักลอบเปิดให้
เล่นการพนันในบ่อนที่จังหวัดระยองในช่วงเดือนมีนาคม
2563 / ณ วันที่ 31 มี.ค. 2020 มีรายงานผู้ป่วยยืนยัน
ทั ่ ว โลกกว่ า 197 ประเทศ จํ า นวน 789,240 ราย
เสียชีวิต 38,092 ราย ส่วนในประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อ
สะสม 1,651 ราย เสียชีวิตสะสม 10 ราย
3 พฤษภาคม 2563 เริ ่ ม มี ก ารผ่ อ นคลายให้ ร ้ า นค้ า หรื อ สถานประกอบ
จําหน่ายสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ แต่ยังคงห้าม
จําหน่ายในสถานบันเทิงหรือร้านอาหาร ซึ่งก็แล้วแต่
ประกาศตามสถานการณ์ ร ะบาดของโรคของแต่ ล ะ
จังหวัด
72

13 พฤษภาคม 2563 ถือเป็นวันแรกที่ไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่หลังจากที่มีผู้ติด


เชื้อทุกวันติดต่อกันนานถึง 65 วัน รัฐบาลจึงได้ประกาศ
ผ่อนคลายมาตรการเป็นระยะ ๆ
22 กรกฎาคม 2563 รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 ระลอกที่
1 ในขั้นสุดท้ายนั่นคืออนุญาตให้มีการเดินทางระหว่าง
ประเทศอีกครั้ง
3 กันยายน 2563 ไทยพบผู้ติดเชื้อรายแรกในประเทศในรอบ 100 วัน โดย
เป็นผู้ต้องขังชายที่ต้องโทษในคดียาเสพติดและก่อนหน้า
นั้นทํางานเป็นดีเจในสถานบันเทิง
28 พฤศจิกายน 2563 มีรายงานของทางสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
ยื น ยั น ว่ า มี ห ญิ ง ไทยรายหนึ ่ ง ติ ด เชื ้ อ COVID-19 โดย
ประวั ต ิ ท ี ่ ไ ด้ จ ากการสอบสวนโรคพบว่ า ช่ ว งวั น ที ่ 24
ตุลาคม-23 พฤศจิกายน 2563 เธอเข้าไปทํางานอยู่ที่
สถานบันเทิงในโรงแรม 1G1 จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศ
เมียนมา ผู้ป่วยเริ่มมีอาการป่วยด้วยอาการไข้ ถ่ายเหลว
และจมูกไม่ได้กลิ่น ตั้งแต่ก่อนจะลักลอบเดินทางกลับ
เข้าประเทศไทยทางอําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายใน
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563
กรกฎาคม-พฤศจิกายน ประเทศไทยสามารถควบคุมการระบาดของ COVID-19
2563 ระลอกที ่ 1 ได้ โดย ณ วั น ที ่ 30 พฤศจิ ก ายน 2563
ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อสะสม 3,998 คน เสียชีวิตสะสม
60 คน
ธันวาคม 2563 เกิดการระบาด COVID-19 ระลอกที่ 2 ในประเทศไทย
73

3 ธันวาคม 2563 คณะกรรมการโรคติ ด ต่ อ จั ง หวั ด เชี ย งเชี ย งราย ได้ มี


ประกาศให้ผู้ที่มีสัญชาติไทยและตกค้างอยู่ในจังหวัดท่า
ขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ให้สามารถกลับเข้ามาตาม
ช่องทางปกติตรงด่านพรมแดนไทย-เมียนมาสะพานข้าม
ลํ า นํ ้ า สายแห่ ง ที ่ 2 ได้ โดยได้ ม ี ก ารประสานผ่ า น
คณะกรรมการชายแดนไทย-เมี ย นมา และจะมี ก าร
ตรวจหาเชื้อ COVID-19 ทั้งนี้มีการประเมินว่ามีคนไทยที่
ทํางานในโรงแรม 1G1 ประมาณ 180 คน
18 ธันวาคม 2563 องค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันการระบาดของเชื้อ
COVID-19 สายพันธุ์ B.1.1.7 หรือชื่อเรียกภายหลังคือ
"สายพันธุ์อัลฟ่า" (Alpha) ครั้งแรกในสหราชอาณาจักร
19 ธันวาคม 2563 พบการระบาดคลัสเตอร์ใหม่โดยส่วนใหญ่เป็นแรงงาน
ข้ามชาติในจังหวัดสมุทรสาคร ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการ
ระบาดระลอกที่ 2 ในประเทศไทย นํามาซึ่งมาตรการ
ระดั บ จั ง หวั ด ปิ ด ตลาดกลางกุ ้ ง และสถานที ่ เ สี ่ ย งซึ่ ง
เชื่อมโยงกับแรงงานข้ามชาติ อาทิ สนามกีฬา สนามมวย
โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า สถานบันเทิง ฯลฯ
27 ธันวาคม 2563 ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง แถลงพบผู้ติดเชื้อ COVID-19
จํานวนมาก โดยพบติดจากบ่อนการพนันในอําเภอเมือง
ระยอง
28 ธันวาคม 2563 คนงานที่ติดเชื้อ COVID-19 จากคลัสเตอร์บ่อนระยอง
เสียชีวิต นับเป็นผู้เสียชีวิตรายแรกของประเทศไทยใน
รอบเกือบ 2 เดือน
74

ช ่ ว ง ป ล า ย เ ด ื อ น มีรายงานภายหลังว่ามีผู้ติดเชื้อ COVID-19 จํานวนหนึ่ง


ธันวาคม 2563 ได้เดินทางไปฉลองปาร์ตี้เทศกาลปีใหม่ตามสถานบันเทิง
ในจังหวัดเชียงใหม่
30 ธันวาคม 2563 กระทรวงมหาดไทยได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด
และนายอําเภอทั่วประเทศ งดออกใบอนุญาตการจัดให้
มีการเล่นการพนัน ชนไก่ กัดปลา ชกมวย แข่งม้า ชนโค
และไพ่ผ่องไทย จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
31 ธันวาคม 2563 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 มีผู้ติดเชื้อ COVID-19 ใน
ประเทศไทยสะสม 6,884 ราย เสียชีวิตสะสม 61 ราย
ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อสะสม 83,060,536 ราย เสียชีวิตสะสม
1,812,050 ราย
8 มกราคม 2564 คนไทยที่ทํางานในคาสิโนสกายคอมเพล็กซ์ จังหวัดเมีย
วดี ประเทศเมียนมา ขอเดินทางกลับประเทศ ซึ่งพบว่ามี
ผู ้ ต ิ ด เชื ้ อ COVID-19 หลายราย ถื อ เป็ น การยื น ยั น
เกิดคลัสเตอร์คาสิโนสกายคอมเพล็กซ์
9 มกราคม 2564 คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ได้ประกาศให้
ประชาชนที่เดินทางไปยังร้านวอร์มอัพคาเฟ่ ระหว่าง
วันที่ 31 ธันวาคม 2563-3 มกราคม 2564 ถือเป็นผู้
สัมผัสเสี่ยงสูงสามารถเข้ารับการตรวจหาเชื้อ COVID-19
9 มกราคม 2564 เกิด "คลัสเตอร์ดีเจมะตูม" จากปาร์ตี้ฉลองวันเกิดของดี
เจและพิธีกรมีชื่อในวงการบันเทิงไทย ณ โรงแรมแห่ง
หนึ่งในกรุงเทพฯ โดยณวันที่ 28 มกราคม 2564 สรุปมีผู้
ติดเชื้อจากคลัสเตอร์ดีเจมะตูมถึง 26 คน
9 มกราคม 2564 ผู้ติดเชื้อในประเทศไทยสะสมแตะหลักหมื่น
75

กุมภาพันธ์ 2564 ประเทศไทยเริ่มควบคุม การระบาด COVID-19 ระลอก


ที่ 2 ได้ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ประเทศไทยมีผู้
ติดเชื้อ COVID-19 สะสม 25,951 ราย เสียชีวิตสะสม
83 ราย
มีนาคม 2564 เกิดการระบาด COVID-19 ระลอกที่ 3 ในประเทศไทย
16 มีนาคม 2564 จุ ด เริ ่ ม ต้ น คลั ส เตอร์ ส ถานบั น เทิ ง ในกรุ ง เทพฯ และ
ปริมณฑลครั้งในปี 2564 จากการสืบสวนไทม์ไลน์การ
ติดเชื้อภายหลังพบว่าเริ่มจากกลุ่มนักศึกษาซึ่งไปเที่ยวใน
ผับชมดาว พร่างพราว ณ กํ้ากึ่ง รังสิต จังหวัดปทุมธานี
ก่อนที่จะพบการติดเชื้อ 6 ราย ซึ่งในช่วงระหว่างนั้นก็มี
นักศึกษาที่ไปในผับดังกล่าว ไปเที่ยวต่อในร้านใกล้เคียง
และมีการติดเชื้อตามมา รวมไปถึงมีการไปใช้บริการต่อ
ในจังหวัดนนทบุรีและนครปฐม ซึ่งนอกจากนักศึกษา
กลุ่มนักร้อง นักดนตรี และครอบครัวก็เป็นอีกกลุ่มที่
นําไปสู่การติดเชื้อต่อเนื่อง
25 มีนาคม 2564 เริ่มคลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทองหล่อครั้งที่ 2 โดยจาก
รายงานการสืบสวนโรคในภายหลังพบว่ากลุ่มนักเที่ยวใน
สถานบันเทิงย่านทองหล่อในวันนี้ (25 มีนาคม 2564)
ทยอยติดเชื้อ COVID-19 เป็นจํานวนมาก ซึ่งรวมผู้มี
ชื่อเสียงอย่าง คาสุยะ นะชิดะ เอกอัครราชทูต ประจํา
ประเทศไทย (ทราบผลการติดเชื้อ 3 เมษายน 2564)
รวมทั้งผู้มีความเกี่ยวข้องและสัมผัสใกล้ชิดกับนักเที่ยว
ในวั น นั ้ น เช่ น ศั ก ดิ ์ ส ยาม ชิ ด ชอบ รั ฐ มนตรี ว ่ า การ
กระทรวงคมนาคม กลายเป็นรัฐมนตรีคนแรกที่ติดเชื้อ
76

COVID-19 โดยเขาอ้างว่าติดจากคนใกล้ชิดที่ได้รับเชื้อ
มาการไปเที่ยวสถานบันเทิงย่านทองหล่อ
ปลายเดื อ นมี น าคม นักศึกษามหาวิทยาลัยในเชียงใหม่ที่สอบเสร็จแล้วเที่ยว
2564 สั งสรรค์ ผั บบาร์ จุ ดเสี ่ ยงหลายแห่ งในเชี ยงใหม่ ก่ อน
เดินทางกลับบ้านในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดอื่น ๆ
ใกล้เคียง ซึ่งต่อมาพบว่าติดเชื้อ COVID-19 เป็นจํานวน
มาก และได้ระบาดระเป็นลอกใหม่ในพื้นที่ภาคเหนือทุก
จังหวัดในช่วงต้นเดือนเมษายน 2564
4 เมษายน 2564 องค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันการระบาดของเชื้อ
COVID-19 สายพันธุ์ B.1.617.2 หรือชื่อเรียกภายหลัง
คือ "สายพันธุ์เดลต้า" (Delta) ครั้งแรกในอินเดีย
5 เมษายน 2564 จังหวัดเชียงใหม่มีรายงานพบผู้ป่วย COVID-19 เป็นครั้ง
แรกในรอบ 83 วัน จํานวน 4 ราย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้
เดินทางไปยังกรุงเทพฯ และมีความเชื่อมโยงกับคลัส
เตอร์สถานบันเทิงในกรุงเทพฯ
7 เมษายน 2564 มีการยืนยันว่าผู้ป่วยจากคลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทอง
หล่อ ติดเชื้อ COVID-19 สายพันธ์อัลฟ่า
9 เมษายน 2564 มี ร ายงานผู ้ ต ิ ด เชื ้ อ COVID-19 จากคลั ส เตอร์ ส ถาน
บันเทิงย่านทองหล่อเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทําให้กรุงเทพฯ ต้อง
ออกประกาศ เรื่อง สั่งปิดสถานที่ชั่วคราว (ฉบับที่ 23)
ขยายขอบเขตพื้นที่ปิดสถานบริการ สถานประกอบการ
ที ่ ม ี ล ั ก ษณะคล้ า ยสถานบริ ก ารฯ ครอบคลุ ม ทั ่ ว ทั้ ง
กรุงเทพฯ
77

10 เมษายน 2564 มีการประกาศปิดสถานบริการยามคํ่าคืนเป็นวงกว้างทั่ว


ประเทศครั้งที่ 2
27 เมษายน 2564 มี ก ารเปิ ด เผยว่ า ณ ช่ ว งเวลานั ้ น เชื ้ อ COVID-19 ที่
ระบาดในไทยส่วนใหญ่เป็นสายพันธ์อัลฟ่า ร้อยละ 98
30 เมษายน 2564 เฉพาะการระบาดในรอบเดื อ นเมษายนเดื อ นเดี ย ว
จังหวัดเชียงใหม่มีผู้ติดเชื้อ COVID-19 รวมถึง 3,575
ราย จากข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2564 ปรากฏการณ์
ที ่ พ บคื อ กลุ ่ ม ผู ้ ต ิ ด เชื ้ อ ในระลอกนี ้ ท ี ่ เ ป็ น นั ก ศึ ก ษา
มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ แ ละผู ้ ใ กล้ ช ิ ด เป็ น ส่ ว นใหญ่
จากคลั ส เตอร์ ป าร์ ต ี ้ ฉ ลองปิ ด เทอมช่ ว งปลายเดื อ น
มีนาคม 2564
16 พฤษภาคม 2564 ผู้ติดเชื้อในประเทศไทยสะสมแตะหลักแสน
กรกฎาคม 2564 ผู้ติดเชื้อ COVID-19 เริ่มเพิ่มสูงขึ้นจนยากแก่การควบคุม
ได้ ม ี ก ารแบ่ ง แต่ ล ะจั ง หวั ด ออกตามกลุ ่ ม สี ข องระดั บ
สถานการณ์ย่อยเป็นสีแดงเข้ม (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและ
เข้มงวด) สีแดง (พื้นที่ควบคุมสูงสุด) สีส้ม (พื้นที่ควบคุม)
และสีเหลือง (พื้นที่เฝ้าระวังสูง) โดยมาตรการที่แต่ละ
จังหวัดนํามาใช้นั้นก็ต้องเป็นไปตามกรอบที่กําหนดลงมา
โดยส่วนกลาง
10 สิงหาคม 2564 มี ก ารเปิ ด เผยว่ า ณ ช่ ว งเวลานั ้ น เชื ้ อ COVID-19 ที่
ระบาดในไทยส่วนใหญ่เป็นสายพันธ์เดลต้า ใน กทม.
95.4% ในภูมิภาค 83.2%
20 สิงหาคม 2564 ผู้ติดเชื้อในประเทศไทยสะสมแตะหลักล้าน
78

สิงหาคม 2564 ประเทศไทยเผชิญกับการระบาดของ COVID-19 รุนแรง


ที่สุด ในด้านความรุนแรงของโรคเมื่อพิจารณาจํานวน
ผู้เสียชีวิต โดย ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ไทยมีผู้ติด
เชื้อสะสม 597,287 ราย เสียชีวิตสะสม 4,857 ราย แต่
ณ วั น ที ่ 31 สิ ง หาคม 2564 ไทยมี ผ ู ้ ต ิ ด เชื ้ อ สะสม
1,204,729 ราย เสียชีวิตสะสม 11,589 ราย เท่ากับว่า
ภายในระยะเวลาเพี ย ง 1 เดื อ น มี ผ ู ้ เ สี ย ชี ว ิ ต รวมถึ ง
6,732 รายเลยทีเดียว
กันยายน 2564 สถานการณ์เริ่มดีขึ้น ศบค.จึงเริ่มสั่งให้มีการคลายล็อก
ให้กับบางกิจการ/กิจกรรมตามแต่พื้นที่สีในการควบคุม
1 พฤศจิกายน 2564 วันแรกที่ประเทศไทยประกาศเปิดประเทศอย่างเป็น
ทางการ เพื ่ อ ต้ อ นรั บ นั ก ท่ อ งเที ่ ย วจากต่ า งประเทศ
รวมทั ้ ง ขั บ เคลื ่ อ นเศรษฐกิ จ ในภาพรวมของประเทศ
หลั ง จากที ่ ไ ด้ ร ั บ ผลกระทบจาการแพร่ ร ะบาดของ
COVID-19 มาเกือบ 2 ปี โดยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ประมาณ 2,300 คนและคนไทยเดิ น ทางกลั บ จาก
ต่างประเทศอีกบางส่วนรวมมีคนเดินทางเข้าประเทศ
ประมาณ 3,000 คน
24 พฤศจิกายน 2564 องค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันการระบาดของเชื้อ
COVID-19 สายพันธุ์ B.1.1.529 หรือชื่อเรียกภายหลัง
คือ "สายพันธุ์โอไมครอน" (Omicron) ครั้งแรกในหลาย
ประเทศแถบแอฟริกาตอนใต้
ธันวาคม 2564 เริ ่ ม พบผู ้ ต ิ ด เชื ้ อ COVID-19 สายพั น ธุ ์ โ อไมครอนใน
ประเทศไทย มี ก ารเปิ ด เผยว่ า ณ ช่ ว งเวลานั ้ น เชื้ อ
79

COVID-19 ที่ระบาดในไทยส่วนใหญ่พบเป็นสายพันธุ์
เดลต้าเป็นส่วนใหญ่หรือคิดเป็น 83.8% สายพันธุ์โอ
ไมครอน 16.2%
31 ธันวาคม 2564 ครบรอบ 2 ปี การระบาดของโรค COVID-19 ข้อมูลจาก
Worldometers ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อรวม 286,904,582
ราย เสียชีวิต 5,446,652 ราย รักษาหาย 253,254,670
ราย ส่วนไทยมีผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,223,435 ราย รักษา
หาย 2,168,494 ราย เสียชีวิต 21,698 ราย
มกราคม 2565 เกิดการระบาด COVID-19 ระลอกที่ 4 ในประเทศไทย
โดยผู้ติดเชื้อ COVID-19 สูงขึ้นอีกระลอกหนึ่งจากการ
ระบาดของสายพั น ธุ ์ โ อไมครอน / ส่ ว นในระดั บ โลก
พบว่ า ในเดื อ นมกราคม 2565 นี ้ เ ป็ น ช่ ว งที ่ ผ ู ้ ต ิ ด เชื้ อ
COVID-19 เพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุดจากการระบาดของสาย
พันธุ์โอไมครอนด้วยเช่นกัน
7 มกราคม 2565 มติ ศบค. เลื่อนการเปิดสถานบันเทิง ผับ บาร์ และคารา
โอเกะ ออกไปอย่ า งไม่ ม ี ก ํ า หนด จากเดิ ม จะให้ เ ปิ ด
ดําเนินการในวันที่ 16 มกราคม 2565 แต่ผับและบาร์
สามารถขออนุญาตเปิดในรูปแบบร้านอาหารแทนได้
โดยให้ขออนุญาตจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด
กุมภาพันธ์ 2565 เชื้อ COVID-19 ที่ระบาดในไทยส่วนใหญ่พบเป็นสาย
พันธุ์โอไมครอนเกือบ 100%
มีนาคม-เมษายน 2565 สถิติผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายวันในประเทศไทยพุ่งขึ้น
เรื่อยๆ โดยถึงจุดสูงสุดเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2565 ที่
28,379 ราย (เฉพาะตรวจ RT-PCR) จากนั้นตัวเลขผู้ติด
80

เชื ้ อก็ ไ ด้ ทยอยลดลง หลั ง จากที ่ เ พิ ่ มขึ ้ นมาโดยตลอด


ระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2565
18 มีนาคม 2565 ศบค.เห็นชอบปรับลดพื้นที่ “สีส้ม” เหลือ 20 จังหวัด
และเพิ่มพื้นที่ “สีเหลือง” เป็น 47 จังหวัด และยังคงให้
ปิดสถานบริการ สถานบันเทิงทุกพื้นที่
8 เมษายน 2565 ศบค.คงมาตรการรองรั บ COVID-19 ช่ ว งเทศกาล
สงกรานต์ ไม่ได้ห้ามจัดกิจกรรม แต่ต้องขออนุญาตเล่น
นํ้าอย่างปลอดภัย แนะใช้รูปแบบ ริน-รด-พรม ไม่สาดนํ้า
พฤษภาคม 2565 สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศลดลงเรื่อยๆ
17 พฤษภาคม 2565 โรงเรียนทั่วประเทศ 35,000 แห่ง เปิดเทอมเรียน on-
site 100% วันแรก
20 พฤษภาคม 2565 ที่ประชุม ศบค. มีมติ อนุญาตให้เปิดสถานบันเทิง ผับ
บาร์ คาราโอเกะ อาบอบนวด ได้เฉพาะพื้นที่สีฟ้า และ
พื้นที่สีเขียวโดยเริ่มวันที่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป
โดยการให้บริการที่มีการคลุกคลีและสัมผัสใกล้ชิดกับ
ลูกค้า เช่น อาบ อบ นวด จะต้องสวมหน้ากากอนามัย ผู้
ให้บริการต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ พนักงานต้องผ่าน
การคัดกรอง ตรวจ ATK ทุก 7 วัน หรือเมื่อมีความเสี่ยง
และยั ง ต้ อ งปฏิ บ ั ต ิ ต นตามมาตรการ Universal
prevention ส่วนผู้เข้าบริการแค่รับวัคซีนตามเกณฑ์ก็
เข้าใช้บริการได้แล้ว แต่ยังงดสําหรับกลุ่ม 608
1 มิถุนายน 2565 ไทยเปิ ด ประเทศโดยจากเดิ ม กํ า หนดให้ ช าวไทยและ
ชาวต่างชาติต้องลงทะเบียนผ่านระบบไทยแลนด์พาส
(Thailand Pass) เปลี่ยนเป็นยกเลิกการลงทะเบียนใน
81

ส่วนของคนไทย แต่สําหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติยัง
ต้องลงทะเบียนตามเดิม สําหรับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนหรือ
ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ สามารถเดินทางเข้าไทยได้
โดยไม่ต้องกักตัวเพียงแค่แสดงผลตรวจ RT-PCR หรือ
Professional ATK ภายใน 72 ชม. ก่อนเดินทาง หรือ
หากไม่มีผลตรวจก่อนเดินทางสามารถรับการตรวจได้
เมื่อเดินทางถึงประเทศไทย
1 มิถุนายน 2565 เปิ ด สถานบั น เทิ ง ผั บ บาร์ คาราโอเกะ อาบอบนวด
หลังจากปิดไปเมื่อ 10 เมษายน 2564 รวมระยะเวลา
417 วัน
82

กราฟฟิกโดย: กิตติยา อรอินทร์


83

กราฟฟิกโดย: กิตติยา อรอินทร์


84

You might also like