You are on page 1of 152

กำเนิดลิขสิทธิ:์

จากเครื่องมือเซ็นเซอร์สิ่งพิมพ์ยุคปฏิรูปศาสนา
สู่ "ทรัพย์สินทางปัญญา" ยุคอาณานิคม

อธิป จิตตฤกษ์ เขียน


ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ บรรณาธิกาฬ

สานักพิมพ์ วิชากาฬ
2565
“ในความมืด ยังมีความมืดมิดยิง่ กว่า”
กาเนิดลิขสิทธิ์:
จากเครื่องมือเซ็นเซอร์สิ่งพิมพ์ยุคปฏิรูปศาสนา
สู่ "ทรัพย์สินทางปัญญา" ยุคอาณานิคม

พิมพ์ครัง้ แรก : สานักพิมพ์ วิชากาฬ, สิงหาคม 2565


พิมพ์ท่ี : ภาพพิมพ์, นนทบุร ี

ราคา 200 บาท

ออกแบบปก/รูปเล่ม
กาฬหลังแอ่น

สานักพิมพ์ วิชากาฬ
“ในความมืด ยังมีความมืดมิดยิง่ กว่า”

ติดต่อ สานักพิมพ์ วิชากาฬ


เพจ Facebook วิชากาฬ
คานาผู้เขียน
การเดินทางของ “หนังสือ” จากยุคก่อนการพิมพ์หนังสือ
จนถึงยุคหลังการพิมพ์หนังสือ

“หนังสือเล่มนี้” เดินทางมาไกลมาก ตัวเนื้อหาหลักของมันพูดถึง


ผลของการปฏิว ัติก ารพิม พ์แ ละกฎเกณฑ์ต่ า งๆ ที่ร ายล้อ มมัน ที่ค่ อ ยๆ
“กลายพันธุ”์ มาเป็ นสิง่ ทีเ่ รารูจ้ กั กันในปั จจุบนั ว่า “ลิขสิทธิ ์” ในทีส่ ดุ
ซึง่ เอาจริงๆ “ต้นฉบับ” ของมันก็เดินทางมาไกลเช่นกัน เริม่ จาก
โครงการทีจ่ ะตีพมิ พ์บทความออนไลน์ทางเว็บประชาไทโดยคาดหวังว่ าจะ
พิมพ์หนังสือในทีส่ ดุ ผ่านดีลกับสานักพิมพ์แห่งหนึ่ง มันก็เลยมีเรื่องราวและ
โครงสร้ า งแบบหนั ง สื อ อย่ า งไรก็ ด ี ด้ ว ยความเป็ น “ขาลง” ของ
อุตสาหกรรมหนังสือในครัง้ โน้น ทางสานักพิมพ์กเ็ ลยต้องขอพักการพิมพ์
อย่างไม่มกี าหนด
นัน่ นามาสู่ “การเดินทาง” อันยาวนานของ “ต้นฉบับ” หนังสือเล่ม
นี้ ทีม่ นั ผ่านมือบรรณาธิการสานักพิมพ์จานวนมากมาแล้วนับไม่ถว้ น และ
ทุกคนก็ลงความเห็นตรงกันว่า “มันไม่น่าจะขายได้” และนัน่ ก็คอื ในระดับที่
ผูเ้ ขียนบอกว่าไม่เอาค่าต้นฉบับก็ได้ คาตอบของเหล่าสานักพิมพ์กย็ งั เป็ น
ดังเดิม
ผูเ้ ขียนก็ไม่ได้คดิ อะไรมาก เพราะสุดท้ายสานักพิมพ์ทงั ้ หลายคือ
องค์กรทางธุรกิจ ไม่ใช่องค์กรการกุศล ทุกชีวิตในกระบวนการก็ต้องกิน
ข้าวและปากกัดตีนถีบในสังคมทุนนิยม การทีเ่ ค้าจะมาเสีย่ งพิมพ์งานทีข่ าย
ไม่ได้ของผูเ้ ขียน มันก็ดจู ะไม่ใช่ “ความเสีย่ ง” ทีค่ มุ้ ค่า

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I v
...แต่สุดท้า ยก็มมี ติ รสหายท่านหนึ่ งติด ต่อมา ว่าต้องการจะเอา
ต้นฉบับไปพิมพ์เผยแพร่ออนไลน์ และตีพมิ พ์แบบ Print On Demand
ผูเ้ ขียนก็ตอบตกลงอย่างไม่ตอ้ งคิด เพราะนัน่ ควรจะเป็ นทีท่ างทีเ่ หมาะสม
ของหนังสือเล่มนี้แล้ว
นี่คือที่ม าว่ า ที่ต้น ฉบับ ของหนังสือเล่ม นี้ จะมาอยู่ในมือของท่า น
ผูอ้ า่ น (ไม่ว่าจะอ่านด้วยสองมือ มือเดียว หรือไม่ใช้มอื ก็ตาม)
ทีน่ ้ี ผูอ้ า่ นควรจะคาดหวังหรือไม่คาดหวังอะไรกับหนังสือเล่มนี้ ?
จริงๆ หนังสือเล่มนี้ตอนแรกทีว่ างแผนเอาไว้มนั เป็ นแค่ “ภาคแรก”
ของหนังสือแบบไตรภาค ซึง่ ผูเ้ ขียนดีลกับสานักพิมพ์ในตอนแรกสุดว่าจะ
ตีพมิ พ์มนั ทัง้ ไตรภาคเลย อย่างไรก็ดี ก็อย่างทีเ่ ล่า สานักพิมพ์แรกทีด่ ีลมี
การเลื่อนพิมพ์ไม่มกี าหนดสาหรับ “ภาคแรก” ซึง่ ในขณะนัน้ ผูเ้ ขียนกาลัง
เขียน “ภาคสอง” อยู่ ป ระมาณครึ่ ง หนึ่ ง ผู้ เ ขีย นก็ เ ลยหยุ ด เขีย น
จนกว่าจะมีผตู้ พี มิ พ์ “ภาคแรก”
...แน่ นอนจนถึงทุกวันนี้ “ภาคสอง” ก็เขียนไม่จบ และถ้าสงสัยว่า
ผูเ้ ขียนแบ่งยังไง ภาคแรก (ซึ่งก็คอื เล่มนี้) ผูเ้ ขียนจะเล่าเรื่องความเป็ นมา
ของลิขสิทธิ ์ที่จากทีเ่ ป็ นสิทธิแปลกๆ ของอังกฤษ มันกลายมากลายเป็ น
สิทธิทย่ี อมรับกันทัวยุ
่ โรปได้อย่างไร ภาคสอง (ซึง่ เขียนไม่จบ) ผูเ้ ขียนตัง้ ใจ
จะเล่าถึงการเดินทางของลิขสิทธิ ์ในสหรัฐอเมริกาว่าประเทศนี้เดินทางจาก
ประเทศทีป่ ฏิเสธลิขสิทธิ ์แข็งขันและ “ละเมิดลิขสิทธิ ์” กันเป็ นวัฒนธรรม
กลายมาเป็ นชาติท่ี “ฟาด” ชาติอ่นื ด้วยข้อหา “ละเมิดลิขสิทธิ ์” ได้อย่างไร
และภาคสาม (ซึ่งไม่ได้เ ขีย น) ผู้เ ขีย นก็จ ะเล่ า ถึงพัฒ นาการใหม่ๆ ของ
ลิข สิทธิใ์ นยุคดิจิทลั ที่ม นั ยิ่งโกลาหลไปใหญ่ เพราะทุกอย่า งที่ถูกสร้า ง
ขึน้ มาบนอินเทอร์เน็ตมันถูกตัง้ คาถามว่ามันมีลขิ สิทธิ ์หรือไม่ หรือทาแล้ว

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I vi
แล้วมันละเมิดลิขสิทธิ ์หรือไม่ทงั ้ นัน้ ตัง้ แต่การโพสต์ขอ้ ความสัน้ ๆ การเอา
เสียงบางอย่างในใส่ในคลิปสัน้ หรือกระทังการสร้ ่ าง AI ขึน้ มาเพื่อสร้าง
“งานสร้างสรรค์” (ถ้ายุคปั จจุบนั คงต้องพูดเรือ่ ง NFT ด้วย)
แต่ก็นัน่ เอง สุดท้ายสิง่ ที่เขียนจบจริงๆ ได้มแี ต่ “ภาคแรก” ซึ่ง
เรื่องราวมันก็จะเชยๆ พูดถึงพัฒนาการของข้อกาหนดในการพิมพ์หนังสือ
ในยุโรปเมือ่ หลายร้อยปี กอ่ น แต่เรื่องบางเรื่อง อ่านดูผอู้ ่านก็อาจรูส้ กึ ว่ามัน
ติดค้างอยูบ่ า้ ง เหมือนจะปูให้ม ี “ภาคต่อ” ก็อยากจะให้เข้าใจว่ามันถูก “ตัด
จบ” ก่อนเวลาอันควร ถ้าพูดกันในภาษามังหงะ
แล้วผูเ้ ขียน เขียนหนังสือเล่มนี้มาทาไม?
ถ้าจะอธิบายง่ายๆ ผู้เขียนเป็ นสิง่ มีชวี ิตที่สงสัยในสิง่ รอบๆ ทุก
อย่างว่ามันมีทม่ี าทีไ่ ปอย่างไร ซึง่ ตอนเด็กๆ ก็จะถามผูใ้ หญ่ไปเรื่อย และโต
มาเรื่อยๆ ก็ถามจนผู้ใหญ่ไม่รู้แล้ว ก็ต้องค้นคว้าเพื่อตอบคาถามเอง ซึ่ง
สาหรับคนทีโ่ ตมาในช่วงปี 2000 เป็ นต้นมา พวกสานักพิมพ์ต่างประเทศ ก็
มัก จะมี “หนั ง สื อ เล่ ม เล็ ก ” ทีจ่ ะตอบคาถามทีเ่ ราอยากรูส้ ารพัดเกีย่ วกับ
ประเด็นหนึ่งได้แบบไม่เสียเวลานัก (ความยาวมันมักจะไม่เกิน 200 หน้า)
ไม่ว่าจะเป็ นซีรสี ส์ ากกะเบือยันเรือรบอย่าง A Very Short Introduction
ของ Oxford University Press (ทีจ่ ริงๆ ผูเ้ ขียนก็เคยแปลเป็ นภาษาไทยมา
หลายเล่ม) หรือซีรสี ์ Edible ทีต่ อบคาถามเกีย่ วกับทุกสิง่ ทีอ่ ย่างทีเ่ รากิน
เข้าไปว่ามันมีประวัตยิ งั ไงของ Reaktion Books
แต่ ณ ตอนโน้น มันไม่ม ี “หนังสือเล่มเล็ก” เล่มไหนจะตอบแบบ
เดียวกันได้ว่าลิขสิทธิ ์คืออะไร (Intellectual Property: A Very Short
Introduction เพิง่ ออกมาในปี 2017) มันก็เลยเป็ นประเด็นหนึ่งทีผ่ เู้ ขียน
ต้องไปค้นเอง

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I vii
ซึ่งผลของการค้นคว้า ก็น่ าเวีย นหัว มาก และทาให้เข้าใจเลยว่ า
ทาไมไม่มคี น “กล้า” เขียนออกมา เพราะคนจะเขียนเรื่องนี้ได้ แน่ นอนต้อง
แม่นประวัตศิ าสตร์ยโุ รประดับหนึ่ง แต่มากกว่านัน้ มันต้องการความรูท้ งั ้ ใน
เชิงประวัติศาสตร์ห นัง สือ ประวัติศ าสตร์ก ฎหมาย และประวัติศ าสตร์
เทคโนโลยีกต็ ้องมีความเข้าใจ และผูเ้ ขียนหันไปรอบๆ ก็รสู้ กึ ว่าอย่าว่าแต่
นักวิชาการไทยเลย นักวิชาการในโลกภาษาอังกฤษ ผูเ้ ขียนก็ยงั นึกไม่ออก
ว่าใครจะเป็ นผูเ้ หมาะสมที่จะเขียน (มันมีเหตุผลทีด่ ี ที่เรื่องพื้นฐานที่มนั
เกี่ยวกับชีวิตคนยุคอินเทอร์เน็ ตอย่าง “ลิขสิทธิ”์ นัน้ ไม่มคี นกล้าเขีย น
ออกมาเป็ น A Very Short Introduction)
และถามว่าผูเ้ ขียนนีค่ ดิ ว่าตัวเอง “เก่งมาจากไหน” ถึงกล้าเขียนใน
ประเด็นนี้?
ผูเ้ ขียนไม่ใช่คนเก่งมาจากไหน แต่ผเู้ ขียนคิดง่ายๆ ว่า “ถ้ากูไม่ทา
แล้วใครจะทา” ผูเ้ ขียนไม่คดิ ว่าหนังสือเล่มนี้มนั จะสมบูรณ์ แต่มนั ก็น่าจะ
“ถู ก และดี ” พอที่ผอู้ ่านจะอ่านไปแล้วได้ความรูใ้ นเรื่องต่างๆ และมันดี
พอทีจ่ ะเผยแพร่ต่อสาธารณชนแน่ ๆ ผูเ้ ขียนจึงตัดสินใจเผยแพร่มนั แต่แรก
สุด
เพราะสุดท้าย ก็ดงั ทีป่ ระเด็นในเนื้อหาหนังสือย้าแล้วย้าอีก การ
ตีพ ิม พ์เ ผยแพร่ หรือ กระทัง่ สปิ ร ิต ดัง้ เดิม ของกฎหมายลิข สิท ธิ ์ คือ มัน
เป็ นไปเพื่อให้ขอ้ มูลที่ “มีประโยชน์ ” สามารถแพร่กระจายไปได้ในสังคม
ส่วนข้อมูลเหล่านัน้ จะถูกตัดสินว่าไร้ประโยชน์ หรือกระทังเปลี ่ ่ยนแปลง
สังคมอย่างพลิกฟ้ าคว่ าแผ่นดินอย่างไรก็สุดแท้แต่ ประเด็นคือข้อมูลมัน
ต้องแพร่กระจายไปให้ได้กอ่ น

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I viii
สุ ด ท้ า ย ผู้เ ขีย นก็ ย ิน ดี จ ะเผยแพร่ เ นื้ อ หาของหนั ง สือ เล่ ม นี้ สู่
สาธารณะชนอย่างเสรี และผูเ้ ขียนก็ย้าว่าผูเ้ ขียนไม่จาเป็ นต้อง “อนุ ญาต”
ด้วยซ้าถ้าใครจะเอาข้อความใดๆ ในหนังสือเล่มนี้ไปผลิตซ้าในแบบใดๆ
เพราะมันเป็ นสิทธิอนั ชอบของท่านทีจ่ ะทาแบบนัน้
ถ้า จะมีเ รื่อ งที่ผู้เ ขีย นเสนอแนะ ก็อ าจเป็ นแค่ หากท่ า นจะเอา
ข้อความใดๆ ในหนังสือเล่มนี้ไปอ้าง ก็อยากให้อา้ ง “มิตรสหายท่านหนึ่ง”
เป็ นผูเ้ ขียน เพราะผูเ้ ขียนเชื่ออย่างยิง่ ว่า หากข้อความใดๆ มันเป็ นความ
จริง ไม่ว่าใครจะพูด ไม่ว่ามันจะถูกตีพมิ พ์หรือไม่ มันก็ยงั เป็ นจริงทัง้ นัน้
แล้วถามว่าแบบนี้จะใส่ช่อื จริงมาทาไม? คาตอบคือ ถ้าไม่ใส่ช่อื
จริงมา หนังสือเล่มนี้ทม่ี อี า้ งอิงทางวิชาการยาวเหยียด ก็จะไม่มที างถูกอ้าง
ทางวิชาการแน่นอน ซึง่ นันไม่ ่ ใช่กลยุทธทีด่ เี ลยทีอ่ ยากจะให้หนังสือเล่มนี้ม ี
“เอ็นเกจเม้นท์” จากสังคม
และถ้าถามว่า ทาไมเราถึงหมกมุน่ นักกับการทีข่ อ้ เขียนมันต้อง “มี
ชื่อผูเ้ ขียน” ผูเ้ ขียนก็คดิ ว่าหนังสือเล่มนี้น่าจะเป็ นข้อเขียนทีด่ ที ส่ี ุดชิน้ หนึ่ง
ในโลกภาษาไทยทีจ่ ะตอบคาถามนี้ได้อย่างไม่มากก็น้อย

อธิป จิตตฤกษ์
24/06/22

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I ix
กาเนิดลิขสิทธิ ์ I x
จากบรรณาธิกาฬ
หนัง สือ เล่ ม นี้ หากนับ จากการแก้ไ ขไฟล์ล่ า สุด ในปี 2014 ก็นั บ ว่ า
กาเนิดลิขสิทธิ์ฯ ใช้เวลาเดินทางมากว่า 8 ปี แล้ว อันที่จริงอธิป จิตตฤกษ์ได้
เผยแพร่บทความในชุด “ประวัตศิ าสตร์ลขิ สิทธิ”์ มาก่อนในเว็บไซต์ ประชาไท
ตัง้ แต่ต้นปี 2014 เวลาที่ผ่านไป ก็พบว่าความรู้เรื่องลิขสิทธิในสั ์ งคมไทยยังมี
ความคลาดเคลื่อนอยู่เสมอ และพบว่าองค์ความรู้ดา้ นนี้มไี ม่มากนัก ด้วยความ
ไม่รู้ ทาให้คนไม่น้อยถูกเอาเปรียบจากอานาจทางกฎหมายลิขสิทธิ ์ รวมไปถึง
การตีค วามลิข สิท ธิท์ ่ีท าให้อ านาจของสามัญ ชนตกกลายเป็ น เบี้ย ล่ า งเหล่ า
นายทุนอุตสาหกรรมลิขสิทธิไปอย่ ์ างน่าเจ็บใจ
มีโคว้ทหนึ่งทีอ่ ยู่ในหนังสือได้กล่าวไว้ว่า "งานเขียนใดๆ ไม่ใช่ผลผลิต
ของใครคนใดคนหนึ่ ง แต่ เ ป็ น ผลผลิต ต่ อ ยอดของภู มิปั ญ ญาของมนุ ษ ยชาติ
เท่านัน้ ดังนัน้ มันจึงไม่ควรจะมีกรรมสิทธิ"์ เช่นเดียวกับอีกหนึ่งข้อความทีแ่ สดง
ให้เห็นสปิ รติ อื่นๆ ในฐานะประโยชน์สาธารณะ "การมีวนั หมดอายุของลิขสิทธิคื์ อ
สิง่ จาเป็ น เพราะสาธารณชนคือ เจ้าของทีแ่ ท้ของลิขสิทธิ"์
เรายังสามารถมองโลกที่ต่างไปจากไอเดียแรกของกฎหมายลิขสิทธิ ์
อังกฤษที่ให้ความสาคัญกับการเรียนรู้ของผู้คนว่า “An Act for the
Encouragement of Learning, by Vesting the Copies of Printed Books in
the Authors or Purchasers of such Copies, during the Times therein
mentioned” ซึ่งมันสะท้อนว่ากฎหมายนี้ เป็ นไปเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ใน
สังคมอังกฤษตอนนัน้ มากกว่าจะเป็ นกฎหมายเอาใจอุตสาหกรรมลิขสิทธิด์ ัง
กฎหมายลิขสิทธิอย่ ์ างทีเ่ ป็ นอยู่
หนังสือเล่มนี้ยงั มีนัยที่สะท้อนถึงการสนับสนุ นเสรีภาพการแสดงออก
โดยชี้ให้เ ห็น เงื่อนไขของการเกิดขึ้น และผลของกฎหมายลิข สิท ธิว์ ่ า "เพราะ
สุดท้ายกฎหมายลิขสิทธิก็์ ไม่เคยเป็ นหลักประกันว่าสังคมจะอุดมปั ญญาดังที่
ผูส้ นับสนุนมันชอบอ้างได้เลยแม้แต่ครัง้ เดียวในประวัตศิ าสตร์"

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I xi
นอกจากแก่นหลักของประวัตศิ าสตร์ลขิ สิทธิแล้ ์ ว ด้วยความที่ผู้เขียน
ชีใ้ ห้เห็นว่า บริบทของการเกิดขึน้ ของกฎหมายและลิขสิทธิส์ าคัญเพียงใด ทาให้
หนังสือเล่มนี้ฉายภาพประวัตศิ าสตร์สงั คม การเมือง เศรษฐกิจยุโรปที่ซ่อนอยู่
ระหว่างบรรทัด โดยเฉพาะ 3 ประเทศยุโรปมหาอานาจอย่าง อังกฤษ ฝรังเศส ่
และเยอรมัน สองประเทศแรกเป็ นรัฐเดีย่ ว อังกฤษสามารถจะรักษากษัตริยไ์ ว้มา
จนถึงทุก วัน นี้ ขณะที่ฝรัง่ เศสเป็ น ประเทศที่สาธารณรัฐแบบใหม่ ตงั ้ มัน่ ส่ว น
เยอรมันนัน้ ต่างออกไป เพราะเกิดขึน้ มาเป็ นประเทศได้ช้ากว่า บนฐานของรัฐ
จานวนมากทีเ่ คยอยู่ภายใต้จกั รวรรดิโรมันอันศักดิสิ์ ทธิ ์ หนังสือเล่มนี้จงึ ชีใ้ ห้เห็น
ฉากหลังของการตัดเศียรกษัตริยใ์ นอังกฤษ หรือบรรยากาศช่วงโค่นราชบัลลังก์
ในฝรังเศส
่ และการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันอันศักดิสิ์ ทธิไปอย่ ์ างน่ าตื่นตาตื่น
ใจ
การปฏิวตั ิฝรังเศสมาพร้
่ อมกับกระแสนิยมเรื่องสิทธิธรรมชาติ จึงไม่
แปลกที่จะเชื่อว่ า ลิขสิท ธิม์ ีลกั ษณะเป็ นสิทธิธรรมชาติท่ผี ูกกับตัวผู้สร้างงาน
ออกมาร่ว มกับ แนวคิด แบบโรแมนติก (ซึ่งเราจะเห็น ได้ช ัดกับ แนวคิด คีต กวี
อัจฉริยะอย่างโมซาร์ต หรือบีโธเฟน) ซึ่งต่ างจากทางอังกฤษที่มองว่าลิขสิทธิ ์
ไม่ได้เป็ นอะไรไปมากกว่าสิทธิทางเศรษฐกิจทีร่ ฐั มอบให้พลเมืองได้ในเงื่อนไขที่
เป็ นประโยชน์ต่อรัฐ
ส่วนเยอรมันด้วยความที่เป็ นประเทศเกิดใหม่อยู่บนฐานรัฐเล็กน้ อย
จ านวนมาก กิจ การหนัง สือ ไม่ ไ ด้ถู ก วางกรอบผ่ า นกฎหมายลิข สิท ธิ ์ ท าให้
กฎหมายออกมาล่าช้ากว่าอังกฤษและฝรังเศส ่ และทีต่ ลกร้ายก็คอื การทีเ่ ยอรมัน
สามารถจุ ด ติด กระแสชาตินิ ย มก็เ พราะการรุ ก รานของนโปเลีย นท าให้ช าว
เยอรมันมีศตั รูร่วมอย่างฝรังเศส ่ หลังนโปเลียนตกจากอานาจ การประชุ ม คอง
เกรสแห่ งเวีย นนาทาให้เ ยอรมัน และนานาชาติถ กเถีย งกัน ในหลายประเด็น
ลิขสิทธิก็์ ถอื ว่าเป็ นหนึ่งในนัน้
และในที่สุด กฎหมายลิข สิท ธิก์ ็เ ดิน ทางมาครองโลก อุ ต สาหกรรม
ลิขสิทธิท์ าเงินมหาศาลมาจากการผลิตซ้า จากข่าวการจับลิขสิทธิเพลงร้ ์ านคารา

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I xii
โอเกะในบางประเทศสู่การฟ้ องละเมิดลิขสิทธิภาพแมวตั
์ วหนึ่ง และอีกหลายๆ
ข่าว คงเป็ นเรื่องที่ฟังแล้วไม่น่าสบายใจนัก ในโลกที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็ว ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ ถูก ทาให้กลายเป็ นสินค้า
มากขึ้นไปตามเทคโนโลยีจู่โจมเราได้ถึงในส่วนที่ลบั ที่สุดอย่างห้องนอนและ
ห้อ งน้ า การเถลิงอ านาจของระบอบลิขสิทธิม์ กั เป็ นที่ถกเถียงกัน อยู่เสมอว่ า
สุดท้ายแล้วมันมีผลเพียงใดต่อการเหนี่ยวรัง้ การสร้างสรรค์และการเรียนรู้ของ
มนุษยชาติ หนังสือเล่มนี้คงไม่ได้มคี าตอบให้ เท่ากับการชีใ้ ห้เห็นถึงเส้นทางการ
เดินทางของกฎหมายที่ชวนคนสับสน และสร้างกาไรมหาศาลอย่างน่ ากังขามา
ตลอดหลายปี ทผ่ี ่านมา
อนึ่ง กาเนิดลิขสิทธิฯ์ เป็ นผลงานหนังสือเล่มแรกของสานักพิมพ์วชิ า
กาฬ พวกเรามีความตัง้ ใจที่จะผลิตผลงานหนังสือเพื่อการเข้าถึงคนในวงกว้าง
โดยจะท าการทดลองเผยแพร่ ใน 2 รูปแบบนัน่ คือ จัดท าเป็ นไฟล์ PDF และ
เผยแพร่อย่างอิสระ ยอมให้ผู้อ่านทาซ้าต่อได้ และในอีกรูปแบบหนึ่งสาหรับผู้
ต้องการรูปเล่ม ก็จะรับจัดทาตามสังหรื ่ อ On Demand เพื่อไม่ให้สานักพิมพ์ต้อง
แบกรับภาระสต๊อกสินค้า และต้นทุนทีจ่ มลงไปกับหนังสือทีข่ ายไม่ออก หากการ
ทดลองนี้เป็ นไปด้วยดีก็อาจจะมีการนาไปสู่การทดลองเล่มที่ 2 3 4 แล้วแต่
โอกาสจะอานวย
สุดท้ายนี้ ขอจากไปพร้อมกับสโลแกนของสานักพิมพ์วชิ ากาฬว่า “ใน
ความมืด ยังมีความมืดมิดทีย่ งิ่ กว่า”

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
บรรณาธิกาฬ

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I xiii
สารบัญ

หน้า
คานาผู้เขียน v
จากบรรณาธิกาฬ xi
บทนา: อะไรคือลิขสิทธิ์ 1
บทที่ 1 รู้จักกับสังคมยุโรปยุคสมัยใหม่ตอนต้น 11
บทที่ 2 อังกฤษ การเซ็นเซอร์ 25
และกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับแรกของโลก
2.1 โครงสร้างธุรกิจหนังสือในลอนดอนปลายศตวรรษที่ 15 26
2.2 วิถแี ห่งการ "เซ็นเซอร์" สิง่ พิมพ์ของราชสานักอังกฤษ 29
2.3 ระบบการควบคุมสิง่ พิมพ์องั กฤษก่อนมี” เสรีภาพสือ่ ” 35
2.4 จุดจบระบบเซนเซอร์ 39
2.5 ปริศนาเจตนารมณ์ของ "กฎหมายลิขสิทธิฉบั ์ บแรกของโลก" 44
2.6 ความไร้ประโยชน์ของลิขสิทธิในสายตาพ่
์ อค้าหนังสืออังกฤษ 51
2.7 กาเนิดคลังทรัพย์สนิ ทางปั ญญาสาธารณะ 57
บทที่ 3 จากการเซ็นเซอร์ในระบอบเก่าฝรั่งเศส 65
สู่การปฏิวัติและลิขสิทธิ์
3.1 จุดเริม่ “กองเซ็นเซอร์” ในระบอบเก่าฝรังเศส
่ 66
3.2 วิวาทะกรรมสิทธิงานเขี
์ ยนช่วงก่อนปฏิวตั ฝิ รังเศส
่ 70
3.3 จากการปฏิวตั สิ กู่ ฎหมายลิขสิทธิแห่
์ งสาธารณรัฐ 76

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I xiv
บทที่ 4 โลกภาษาเยอรมัน 91
การปฏิรูปศาสนาและลิขสิทธิ์ในอีกเส้นทาง
4.1 การปฏิรปู ศาสนาและการเติบโตของ 92
รัฐราชการในโลกภาษาเยอรมัน
4.2 งานเทศกาลหนังสือไลป์ ซิกกับสานักพิมพ์ในโลกภาษาเยอรมัน 98
4.3 เส้น ทางอันแปลกประหลาดในการสถาปนาลิข สิทธิใ์ นดินแดน 104
เยอรมัน
บทที่ 5 บทสรุป: การขึ้นครองยุโรป 111
ของลิขสิทธิ์ในศตวรรษที่ 19

บรรณานุกรม 127

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I xv
กาเนิดลิขสิทธิ ์ I xvi
บทนำ:
อะไรคือลิขสิทธิ์

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 1
ในโลกภาษาไทยการใช้ค าว่า “ลิขสิทธิ”์ นัน้ ถูกใช้อย่า งหลากหลาย
ไม่ใช่เพียงแต่ “งานสร้างสรรค์” ทีไ่ ด้รบั การยอมรับภายใต้ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ ์ พ.ศ.
2537 อันเป็ นกฎหมายลิขสิทธิฉบั ์ บปั จจุบนั เท่านัน้ ที่จะ “มีลขิ สิทธิ”์ เพราะคน
ไทยก็อา้ งว่าสารพัดสิง่ นัน้ “มีลขิ สิทธิ”์ ได้โดยไม่ต้องพึง่ พากฎหมาย ตัง้ แต่สงิ่ ที่
ยังคลุมเครือว่าจะถือว่ามีลขิ สิทธิห์ รือไม่บนมาตรฐานของกฎหมายลิขสิทธิใน ์
ปั จจุบนั อย่างสเตตัสบนเว็บเครือข่ายสังคมอย่างเฟซบุ๊คก็ผอู้ า้ งว่ามัน “มีลขิ สิทธิ1์
หรือแม้แต่ครีมทาผิวไปจนถึงมันฝรังทอด ่ ก็มคี นอ้างว่า “มีลขิ สิทธิ”์ ได้ ตามการ
ใช้คาๆ นี้ของชาวไทยแม้ว่าสิง่ เหล่านี้จะอยู่นอกความหมายของ “ลิขสิทธิ”์ ใน
กฎหมายลิขสิทธิไทยหรื์ อทีใ่ ดๆ ในโลกอย่างแน่นอน
การใช้ค าว่ า “ลิข สิท ธิ”์ ใน “แบบไทยๆ” ก็เ ป็ น ประเด็น ที่ น่ า สนใจ
อย่างไรก็ดมี นั ก็คงจะเกินขอบเขตของงานชิ้นนี้ทจ่ี ะพูดถึงความเข้าใจทีม่ าทีไ่ ป
ของ “ลิขสิทธิ”์ ตามมาตรฐานของกฎหมายและชุมชนวิชาการในโลกตะวันตก
เป็ นหลัก
“ลิขสิทธิ”์ ในภาษาไทย ถ้าจะแปลแบบตรงตัวก็หมายถึง “สิทธิอนั เกิด
จากการเขียน” ซึง่ คานี้กเ็ กิดจากการสมาสคาภาษาบาลีว่า “เลขา/ลิข” เข้ากับคา
ภาษาสัน สกฤตว่ า “สิท ธิ” อย่ า งไรก็ดีตัง้ แต่ ก ฎหมายไทยฉบับ แรกที่ค าว่ า
“ลิข สิท ธิ”์ ปรากฏขึ้นอย่า ง พ.ร.บ. คุ้ม ครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.
2474 ก็มีขอบเขตการคุ้มครองงานไม่ได้ถูก “เขียน” ขึ้นมาแล้ว เพราะอย่า ง
น้อยๆ กฎหมายฉบับนี้มนั มีขอบเขตการคุ้มครองลิขสิทธิไ์ ปถึงภาพถ่ ายและ

*ภาพจากหน้า XVI : The Compositor โดย Hesiquio Iriarte ปี 1854


https://www.oldbookillustrations.com/illustrations/compositor-composing-stick/
1
ปั จจุบนั กฎหมายลิขสิทธิ ์นานาชาติกย็ งั ไม่มมี าตรฐานร่วมกันทีช่ ดั เจนว่าข้อเขียนสัน้ ๆ บน
“โลกออนไลน์” จะถือว่ามีลขิ สิทธิได้
์ หรือไม่ อย่างไรก็ดสี านักงานลิขสิทธิ ์ของสหรัฐอเมริกาก็
เคยได้ออกมาชีแ้ ล้วว่าข้อเขียนสัน้ ๆ ยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร บนเว็บ Twitter ไม่ถอื ว่าเป็ น
งานวรรณกรรมตามกฎหมายลิขสิทธิอเมริ ์ กา และถือว่า “ไม่มลี ขิ สิทธิ”์ ดู Michael, 2014

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 2
ภาพยนตร์2 ซึ่งในภาษาพูดของคนทัวไปก็ ่ คงไม่มใี ครนับว่าการสร้างสิง่ เหล่านี้
เรียกว่า “เขียน”
หากจะไปดูคาภาษาต่างประเทศที่มกั จะแปลเป็ นภาษาไทยรวมๆ ว่า
“ลิข สิท ธิ”์ เราก็จ ะพบว่ า แต่ ละภาษาก็มีค วามหมายตรงตัวที่แ ตกต่ า งกัน ใน
ภาษาอังกฤษ คานี้คอื Copyright ซึง่ แปลตรงตัวหมายถึง “สิทธิในการทาซ้า”
อย่างไรก็ดหี ากหันไปดูในภาษาอย่างฝรังเศสและเยอรมั
่ น เราก็จะพบคาว่า droit
d'auteur และคาว่า urheberrecht ตามลาดับ ซึง่ คาทัง้ สองน่ าจะแปลตรงตัวเป็ น
ภาษาไทยได้ว่า “สิทธิของผูป้ ระพันธ์” (หรือถ้าให้สละสลวยก็ว่านัน้ ก็อาจจะเรียก
ได้ว่า “ประพันธกรสิทธิ”)์
รากของความหมายลิขสิทธิใ์ นแต่ละภาษาที่แตกต่ างกันดูจะสะท้อ น
ทีม่ าของกฎหมายนี้ทต่ี ่างกัน อย่างไรก็ดแี ต่สงิ่ ทีเ่ กิดขึน้ ทุกวันนี้คอื มาตรฐานการ
คุม้ ครองลิขสิทธิในโลกนี
์ ้มนั ตกอยู่ใต้ “มาตรฐานเดียว” กล่าวคือ ไม่ว่าคาๆ นี้จะ
เรียกว่าอะไรในภาษาใด แต่ความหมายของมันในกฏหมายระหว่างประเทศมัน
คือ สิ่ง เดีย วกัน เพราะมัน คือ สิท ธิข องผู้สร้า งงานทางศิลปวัฒ นธรรมในการ
ผูกขาดการผลิต ซ้ า และดัดแปลงงานทางศิลปวัฒ นธรรมนัน้ ๆ ภายใต้เวลาที ่
กาหนดไว้ในกฎหมาย

2
กฎหมายทีน่ ่าจะชือ่ ได้ว่ากฎหมายลิขสิทธิไทยฉบั
์ บแรกคือ พ.ร.บ. คุม้ ครองวรรณกรรมและ
ศิลปกรรม พ.ศ. 2474 ก่อนหน้านัน้ ใน พ.ร.บ. กรรมสิทธิ ์ผูแ้ ต่งหนังสือ ร.ศ. 120 (พ.ศ. 2444)
หรือ พ.ร.บ. แก้ไข พ.ร.บ. กรรมสิทธิผู์ แ้ ต่งหนังสือ พ.ศ. 2453 นัน้ ล้วนไม่ได้ใช้คาว่า “ลิขสิทธิ”์
แต่ใช้คาว่า “กรรมสิทธิ”์ แทน และขอบเขตการคุม้ ครองก็มแี ต่เพียง “หนังสือ” เท่านัน้ ซึ่งทีม่ า
ที่ไ ปของการเปลี่ย นจากการใช้คาว่า “กรรมสิท ธิ”์ มาเป็ น “ลิข สิท ธิ”์ ก็เป็ น คาถามในทาง
ประวัตศิ าสตร์ไทยทีน่ ่าสนใจซึง่ ผูเ้ ขียนไม่เคยเห็นผูใ้ ดศึกษามาก่อน เช่นเดียวกันข้อสังเกตอีก
ประการคือ ในพ.ร.บ. คุม้ ครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2474 จะใช้คาว่า “ผูป้ ระพันธ์”
เรียกผูส้ ร้างงานขึน้ อย่างไรก็ดกี ฎหมายไทยฉบับแรกทีม่ คี าว่า “ลิขสิทธิ”์ อยู่ในชื่อกฎหมาย
อย่าง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ ์ พ.ศ. 2521 ก็จะเปลีย่ นมาเรียกผูส้ ร้างงานว่า “ผูส้ ร้างสรรค์” แทน ซึ่งนัย
ของการเปลีย่ นนี้กม็ คี วามน่าสนใจในทางประวัตศิ าสตร์เช่นกัน

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 3
นี่น่าจะเป็ นนิยามสัน้ ๆ ของลิขสิทธิที์ น่ ่าจะครอบคลุมคาว่า “ลิขสิทธิ”์ ที่
หนังสือเล่มนี้จะใช้ เพื่อจะตอบคาถามใหญ่ของงานทีว่ ่า “ลิขสิทธิมาจากไหน?” ์
โดยทัวไปนั
่ กวิชาการด้านลิขสิทธิใน ์ “โลกตะวันตก” ก็จะเห็นตรงกันว่า
กฎหมายลิขสิทธิฉบั ์ บแรกของโลกก็คอื Statute of Anne ซึง่ เป็ นกฎหมาย
อังกฤษทีเ่ ริม่ ใช้ในปี 1710 ดังนัน้ ดูเผินๆ การเล่าถึงทีม่ าทีไ่ ปของกฎหมายฉบับ
นี้ก็น่าจะเพียงพอในการตอบว่า “ลิขสิทธิม์ าจากไหน?” อย่างไรก็ดีในการจะ
เข้าใจ “พัฒนาการ” ของมาตรฐานการคุ้มครองลิขสิทธิในโลกตะวั ์ นตก ความ
เข้าใจในประวัตศิ าสตร์ของกฎหมายลิขสิทธิในอี ์ กสองรัฐทีม่ อี ทิ ธิพลในการสร้าง
มาตรฐานกฎหมายลิขสิทธิอย่ ์ างฝรังเศสและเยอรมั
่ นก็เป็ นสิง่ สาคัญ เพราะอย่าง
น้อยๆ แม้ว่าอังกฤษ (หรือบริเตน) จะเป็ นรัฐทีเ่ ริม่ ใช้กฎหมายลิขสิทธิเป็ ์ นรัฐแรก
แต่รฐั ที่มีบทบาทสาหรับที่ทาให้กฎหมายลิขสิทธิสามารถขึ ์ ้นครองยุโรปได้คือ
ฝรังเศสและเยอรมั
่ น
ดังนัน้ งานชิ้นนี้ท่ตี ้องการจะชี้ให้เ ห็นที่มที ่ไี ปของกฎหมายลิขสิทธิจึ์ ง
ต้องครอบคลุมถึงประวัติศาสตร์ของกฎหมายลิขสิทธิของประเทศฝรั ์ งเศสและ

เยอรมัน ด้วยก่ อ นที่เ นื้ อหาจะไปจบสิ้น ณ จุ ดที่ก ฎหมายลิข สิท ธิข์ องทัง้ สาม
ประเทศมาบรรจบกันเป็ นกฎหมายมาตรฐานที่ถูกบังคับใช้ไปทัวยุ ่ โรป และจะ
กระจายไปทัว่ โลกในเวลาต่ อ มา (ซึ่ง นี่ท าให้เ วลาถามว่า “เจตนารมณ์ ” ของ
กฎหมายลิ ข สิท ธิค์ ือ อะไรมัน เป็ นค าถามที่ ดู น่ า เวีย นหัว พอสมควรเพราะ
“เจตนารมณ์ ” ของกฎหมายทัง้ สามรัฐที่ว่ า มา ก็มีค วามแตกต่ า งกัน อย่ า งมี
นัยสาคัญ)
แนวทางประวัตศิ าสตร์ทง่ี านวิชาการในโลกภาษาอังกฤษนิยมใช้ในการ
เล่ า ประวัติ ศ าสตร์ ลิข สิท ธิม์ ัก จะเป็ น แนวทางแบบประวัติศ าสตร์ก ฎหมาย
แนวทางแบบประวัตศิ าสตร์กฎหมายนัน้ จะเล่าทีม่ ที ไ่ี ปของกฎหมายลิขสิทธิผ่์ าน
กระบวนการออกกฎหมายเป็ นหลัก ซึง่ โดยทัวไปก็ ่ จะเป็ นประวัตศิ าสตร์ช่วงสัน้ ๆ
ทีเ่ ริม่ ตัง้ แต่มพี ฒั นาการของร่างกฎหมายลิขสิทธิฉบั ์ บต่างๆในสภาไปจนถึงจุดที่
กฎหมายลิขสิทธิฉบั ์ บแรกได้รบั การอนุ มตั ใิ ห้บงั คับใช้ในรัฐ ซึง่ รายละเอียดของ

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 4
งานในแนวทางนี้กม็ กั จะเป็ นการพูดถึงการอภิปรายกฎหมายในสภา พู ด ถึ ง
ความต่ า งกั น ด้ า นตั ว บทของแต่ ล ะร่ า งกฎหมายและนั ย ต่ า งๆ ของการ
เปลีย่ นแปลงของตัวบทในแต่ละร่าง ไปจนถึงพูดถึงการตีความกฎหมายของศาล
ผ่านคาตัดสินภายหลังกฎหมายบังคับใช้
งานชิ้นนี้จะไม่ใช้วธิ ดี งั กล่าวเป็ นวิธหี ลักในการเล่าเรื่องประวัตศิ าสตร์
ลิข สิท ธิ ์ วิธีเ ล่ า เรื่อ งที่ง านชิ้น นี้ ใ ช้จ ะเป็ น ส่ ว นผสมของประวัติศ าสตร์ส ัง คม
ประวัติศ าสตร์ว ัฒ นธรรม ประวัติศ าสตร์เ ศรษฐกิจ ประวัติศ าสตร์ก ารเมือ ง
ประวัติศ าสตร์หนังสือ รวมไปถึงประวัติศ าสตร์กฎหมายเองด้วย ซึ่งอิทธิพ ล
เหล่านี้กจ็ ะสะท้อนมาในงานทีง่ านชิน้ นี้อา้ งอิง
เหตุ ผ ลที่ ง านชิ้ น นี้ จ ะเล่ า แบบนี้ ก็ เ พราะการเล่ า เรื่ อ งในแบบ
ประวัตศิ าสตร์กฎหมายแม้จะทาให้เห็นพัฒนาการอย่างละเอียดของกฎหมายได้
จริงๆ แต่ ถ้าผู้อ่านไม่มีความรู้ด้าน “บริบท” ของสังคมที่กฎหมายเกิดขึ้นเป็ น
อย่างดีโอกาสทีจ่ ะเข้าใจทีม่ ากฎหมายนัน้ ผิดๆ ก็มมี าก โดยเฉพาะอย่างยิง่ ถ้าเรา
จะทาความเข้าใจกฎหมายทีไ่ ม่ได้เกิดจากการ “นาเข้า” มาจากทีอ่ ่นื ๆ เราจะไม่
สามารถเข้าใจ “ที่มา” ของกฎหมายได้เลยหากเราไม่ได้มองถึงพัฒนาการของ
ความคิดและระเบียบข้อห้ามในสังคมวัฒนธรรมต่ างๆ ไปจนถึงการต่ อสู้ทาง
การเมืองของกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ทีผ่ สมปนเปกลายมาเป็ นกฎหมายในทีส่ ุด
เพราะสุ ด ท้ า ยกฎหมายอย่ า งกฎหมายลิ ข สิ ท ธิ ก์ ็ ไ ม่ ไ ด้ เ กิ ด ขึ้ น จากการที่
นักการเมืองบางคนนึกสนุ กแล้วเสนอกฎหมายนี้ออกมาแล้วสภาก็บงั เอิ ญผ่าน
มันมาเป็ นกฎหมายลิขสิทธิดั์ งทีร่ จู้ กั กันแน่ๆ
อย่างไรก็ดใี นอีกด้านหนึ่ง กฎหมายลิขสิทธิก็์ ไม่ได้เกิดขึน้ เพราะวันดี
คืนดีเหล่านักการเมืองมองเห็นว่าผูส้ ร้างสรรค์งานทางศิลปวัฒนธรรมนัน้ ได้สร้าง
สิง่ ที่มีคุณค่ าอันควรได้ร ับ การยอมรับเป็ น ทรัพ ย์สิน เช่ นกัน การกล่ า วอ้างว่ า
กฎหมายลิขสิทธิเกิ ์ ดขึน้ เพื่อ “คุม้ ครองผูผ้ ลิตงานสร้างสรรค์” นัน้ เป็ นความจริงก็
จริง แต่เป็ นความจริงเพียงเสีย้ วเดียวเท่านัน้ เพราะอย่างน้อยๆ ในช่วงเวลาที่
เกิ ด กฎหมายลิ ข สิ ท ธิ ข์ ้ึ น ในอัง กฤษและฝรัง่ เศส แนวความคิ ด เรื่ อ งการ

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 5
“สร้างสรรค์” ในความหมายปั จจุบนั ที่หมายถึงการก่อร่างสร้างบางสิ่งมาจาก
ความว่างเปล่าก็ยงั ไม่ปรากฏชัดบนโลกด้วยซ้า นอกจากนี้ในยุคก่อนศตวรรษที่
19 “การลอกงาน” ก็ไม่ได้กินความกว้างและก็ไม่ใช่เรื่องผิดบาปอย่างทุกวันนี้
ด้วย ซึง่ ก็ไม่ต้องไปดูท่ไี หนไกล เพราะนักแต่งบทละครมือชัน้ เอกของโลกจาก
ศตวรรษที่ 16 และ 17 อย่าง William Shakespeare ก็เป็ นนักลอกงานตัวยงใน
แบบที่ถ้าทาแบบนี้ทุกวันนี้ ก็คงจะโดนประจานไปทัวอิ ่ นเทอร์เน็ตไปเรียบร้อย
เนื่องจากบางครัง้ เขาก็ “ก๊อป” งานอื่นมาแบบคาต่อคาด้วยซ้าในบทละครของเขา
ซึ่งอันที่จริงแล้วถ้าเราใช้มาตรฐานปั จจุบนั ขนาดกวีเอกของอังกฤษรุ่นต่ อมา
อย่าง John Milton ก็คงจะถูกคนสมัยนี้เรียกว่า “นักก๊อป” ได้ไม่ยากนักเช่นกัน
(Rose, 1993: 2)
กฎหมายลิขสิทธิยุ์ คต้นกาเนิดคือ “กฎหมายห้ามทาซ้า” เท่านัน้ ซึง่ การ
ทาซ้าก็มคี วามหมายทีแ่ คบมากๆ หมายถึงการ “ห้ามพิมพ์ซ้า” และนี่กเ็ ป็ นการชี้
กลับไปต้นกาเนิดของกฎหมายลิขสิทธิซึ์ ง่ ก็คอื การเป็ นกฎหมายควบคุมสิง่ พิมพ์
กฎหมายลิขสิทธิคื์ อกฎหมายทีม่ บี ทบาทในการกากับควบคุมสิง่ พิมพ์
หรือ “หนังสือ” เป็ นหลักตัง้ แต่มนั ถือกาเนิดมาถึงศตวรรษที่ 18 ซึ่งจริงๆ แล้ว
คาถามว่า “ลิขสิทธิมาจากไหน?”
์ ถ้าถามในบริบทของการที่ลขิ สิทธิถื์ อกาเนิด
ขึน้ มา เราก็จะเห็นว่าจริงๆ แล้วมันก็คอื คาถามว่า “กฎหมายลิขสิทธิมาแทนที ์ ่
กฎหมายสิ่ง พิม พ์ท่ีมีก่ อ นหน้ า มัน ได้อ ย่ า งไร?” ซึ่ง หากเราพิจ ารณาในเชิง
ประวัตศิ าสตร์ความคิด เราก็จะพบว่าการเกิดขึน้ ของลิขสิทธิ ์ มีต้นกาเนิดมาจาก
การเปลีย่ นความคิดจากความคิดว่า “สิทธิในการผูกขาดการพิมพ์” เป็ นอภิสทิ ธิ ์
ของกษัตริย์ มาเป็ นความคิดว่า “สิทธิในการผูกขาดพิมพ์” เป็ นสิทธิของใครก็
ตามทีเ่ ป็ นผูส้ ร้างงานเขียนขึน้ มา
อย่างไรก็ดสี งิ่ ทีเ่ ราจะต้องไม่สบั สนเช่นกันว่าพวก “นักเขียน” เป็ นตัวตัง้
ตัวตีในการเรียกร้องกฎหมายลิขสิทธิเพื ์ ่อปกป้ องสิทธิตนอง เพราะผูเ้ ล่นหลักที่
ทาให้เกิดกฎหมายลิขสิทธิขึ์ น้ ครัง้ แรกของโลกในอังกฤษก็ไม่ใช่พวกนักเขียนที่
โดน “ละเมิดลิขสิทธิ”์ แต่ เป็ นพวกสานักพิมพ์ท่เี คยหากินกับการผูกขาดการ

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 6
พิมพ์ภายใต้อานาจกษัตริย์ (เพราะถึงกษัตริย์จะอ้างว่ามีสทิ ธิน้ี แต่ กษัตริย์ก็
ไม่ได้ใช้เอง แต่กระจายไปให้สานักพิมพ์ใช้) ซึง่ พออานาจนี้หมดไป เหล่าพวก
สานัก พิม พ์ท่ีต้อ งการผูก ขาดต่ อก็พยายามหาข้ออ้างในการผูกขาดกัน อย่ า ง
จ้าละหวัน่ และทางออกทีช่ อบธรรมของสานักพิมพ์พวกนี้กค็ อื การพยายามอ้าง
ว่าผูเ้ ขียนหนังสือมีสทิ ธิอนั ชอบธรรมในการผลิตซ้างานของตนไปชัวกั ่ ลปาวสาน
กล่าวคือสานักพิมพ์อ้างว่าสิทธิในการผลิตซ้างานเขียนเป็ น “ทรัพย์สนิ ” อย่าง
หนึ่งของผูเ้ ขียน ทีใ่ นยุคนัน้ แทบจะร้อยทัง้ ร้อยขาย “ทรัพย์สนิ ” นี้ให้สานักพิมพ์3
นี่ เ ป็ นการกล่ า วอ้า งที่พิลึก พิลัน่ ในยุ ค นั น้ เพราะในกรอบคิด ด้ า น
กฎหมายดัง้ เดิม “สิง่ ทีจ่ บั ต้องไม่ได้” ไม่สามารถจะนับเป็ น “ทรัพย์สนิ ” ได้ซง่ึ เรา
จะเห็น วิธีคิด แบบนี้ ไ ด้ ใ นระบบกฎหมายโรมัน หรือ กระทัง่ กฎหมายมุ ส ลิม
(Hesse, 2002: 26-46) นอกจากนี้อนั ทีจ่ ริงในยุคนัน้ แม้แต่เจ้าพ่อทฤษฎี
ทรัพย์สนิ อย่าง John Locke ก็ยงั ไม่ยอมรับเลยว่าสิทธิในการพิมพ์หนังสือควร
จะถือว่าเป็ นทรัพย์สนิ เช่นเดียวกับสิง่ ทีจ่ บั ต้องได้ต่างๆ (แม้ว่าภายหลังจะมีคน
เอาทฤษฎีทรัพย์สนิ ของ Locke มาสร้างความชอบธรรมให้กบั “ทรัพย์สนิ ทาง
ปั ญญา” บ่อยครัง้ ก็ตามที)
ผลของการโวยวายของเหล่าพ่อค้าหนังสือก็คอื ทางฝ่ ายนิตบิ ญ ั ญัตซิ ง่ึ
ก็คอื สภาของอังกฤษไม่ยอมรับว่ามี “ทรัพย์สนิ ” อยู่จริงดังตามเหล่าสานักพิมพ์
อ้างและก็ออก “กฎหมายลิขสิทธิ”์ มาแทนที่ระเบียบการควบคุมสิง่ พิมพ์ทม่ี อี ยู่
เดิม ซึ่งเงื่อนไขสาคัญของลิขสิทธิก็์ คอื การให้สทิ ธิในการผลิตซ้างานเขียนแก่
ผู้เ ขีย นอย่ า ง “จ ากัด ” โดยบัญ ญัติไ ว้ว่ า ผู้น างานไปขึ้น ทะเบีย นจะได้ร ับ การ
คุม้ ครองการผูกขาดการพิมพ์ไป 14 ปี (และถ้าผู้เขียนยังไม่ตายหลังจาก 14 ปี
ดังกล่าว ก็สามารถจะต่ออายุการคุม้ ครองไปได้อกี 14 ปี ) กล่าวคือ ลิขสิทธิก์ ค็ อื

3
ระบบการ “ซื้อขาดต้นฉบับ” หรือระบบจ่ายค่าต้นฉบับทีเดียวจบไม่แบ่งเปอร์เซ็นตามยอด
พิมพ์แต่ละครัง้ แบบนี้มมี าในอังกฤษตลอดก่อนมีกฎหมายลิขสิทธิ ์ และก็ยงั อยู่มาตลอด
ศตวรรษที่ 18 ซึง่ มีกฎหมายลิขสิทธิ ์แล้ว ดังนัน้ ในทางปฏิบตั จิ ะมีลขิ สิทธิหรื
์ อไม่ รายได้ของ
นักเขียนอังกฤษก็ไม่ได้เปลีย่ นไปนัก ดู Raven, 2001: 20-21

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 7
สิทธิก์ ารผูกขาดการพิมพ์ในเวลาจากัดทีพ่ วกสานักพิมพ์ได้มาแทนทีส่ ทิ ธิในการ
ผูกขาดการพิมพ์ทพี ่ วกสานักพิมพ์ได้จากกษัตริยโ์ ดยตรงทีไ่ ม่มเี วลาจากัด
นี่คอื ต้นกาเนิดลิขสิทธิโดยสั
์ งเขป อย่างไรก็ดถี ้าเรื่องราวความเป็ นมา
ของลิขสิทธิน์ ัน้ สามารถจะย่นย่อให้เหลือไม่ก่หี น้ ากระดาษได้ดงั ที่เพิ่งเล่ามา
หนังสือเล่มนี้กค็ งจะไม่จาเป็ น เพราะเรื่องย่อๆ นี้ยงั ทิง้ คาถามไว้อกี มากมาย เช่น
ทาไมการควบคุมการพิมพ์ถึงเกิดขึน้ มาได้แต่แรก? อานาจในการควบคุมการ
พิมพ์ของกษัตริยห์ มดไปได้อย่างไร? ทาไมฝ่ ายนิตบิ ญ ั ญัตถิ งึ ยอมออกกฎหมาย
ลิขสิทธิ?์ ทีม่ าของกฎหมายลิขสิทธิของฝรั
์ งเศสและเยอรมั
่ นเหมือนหรือต่างจาก
อังกฤษอย่างไร? ไปจนถึงคาถามว่า ทาไมกฎหมายลิขสิทธิที์ แ่ ตกต่างกันทัง้ ทีม่ า
และบทบัญญัตขิ องแต่ละประเทศกลายสภาพไปมีบทบัญญัตเิ หมือนกันในทีส่ ดุ ?
หนังสือเล่มนี้คอื การพยายามตอบคาถามเหล่านี้ดว้ ยการค้นคว้าข้อมูล
ต่างๆ ซึง่ คาตอบทีไ่ ด้กด็ ูจะแตกต่างไปจากความเข้าใจทัวๆ ่ ไปเกีย่ วกับลิขสิทธิ ์
ของผูค้ นในปั จจุบนั อยู่โขทีเดียว.

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 8
กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 9
กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 10
บทที่ 1
รู้จักกับสังคมยุโรป
ยุคสมัยใหม่ตอนต้น

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 11
“...ข้าได้มาฟรีๆ ข้าให้ไปฟรีๆ และข้าก็ไม่ตอ้ งการอะไรตอบแทน...”
Martin Luther ผูร้ เิ ริม่ การปฏิรปู ศาสนา (1544)

ในแง่ของประวัตศิ าสตร์เทคโนโลยี ก็คงจะปฏิเสธได้ยากว่า “การปฏิวตั ิ


การพิมพ์” นัน้ ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลต่อสังคมยุโรปผ่านการ
ลดต้นทุนการผลิตหนังสืออย่างล้นหลาม 1 ซึง่ การเพิม่ พูนของปริมาณหนังสือนี้
เป็ นเงื่อนไขให้เกิดความพยายามในการ “ปฏิรูปศาสนา” โดย Martin Luther
พระคาทอลิกจากรัฐเล็กๆ ทีใ่ นยุโรปกลางก่อนมันจะแพร่กระจายไปทัวยุ ่ โรปไป
พร้อมๆ กับการปฏิรปู ศาสนาระลอกสองโดยคนอย่าง John Calvin ทีม่ ฐี านทัพที่
อยู่สวิตเซอร์แลนด์
สิง่ พิมพ์ทาให้รฐั ต่ างๆ ที่ต้องการ "ปฏิรูปศาสนา" สามารถจะปฏิรูป
ศาสนาและสถาปนาอานาจรัฐของตนอย่างเป็ นอิสระจากศาสนจักรได้ และการ
เกิด ขึ้น ของรัฐ โปรเตสแตนต์ เ หล่ า นี้ ก็ท าให้เ ครือ ข่า ยอ านาจทางปั ญ ญาของ
ศาสนาจักรในยุโรปยุคกลางบนฐานของการอ่านเขียนภาษาละตินต้องพังทลาย
ลง และเปิ ดทางให้ภาษาถิ่นต่างๆ กลายมาเป็ นภาษาปั ญญาชนในแต่ละรัฐไป
พร้อมๆ กับการขยายตัวของเทคโนโลยีการพิมพ์ทห่ี นั ไปพิมพ์ภาษาถิน่ มากขึน้

*ภาพจากหน้า 10 : Masting sheer in the port of Karlskrona โดย Auguste Etienne


François Mayer ปี 1852
ทีม่ า https://www.oldbookillustrations.com/illustrations/masting-sheer-karlskrona/
1
งานทีเ่ สนอแบบนี้ในระดับคลาสสิก ได้แก่งานของ Elizabeth Eisenstein (1979) อย่างไรก็ดี
ภายใต้กระแสการทบทวนประวัติศาสตร์ใหม่ (revisionism) ที่กนิ อาณาบริเวณกว้างและ
ประเด็นหลากหลาย งานศึกษาใหม่ๆ อย่างงานของ Adrian Johns (1998) ก็พยายามจะเสนอ
ว่า “การปฏิวตั กิ ารพิมพ์” ไม่ได้ยงิ่ ใหญ่อย่างทีเ่ ข้าใจกัน หรืออย่างน้อยๆ ถ้าดูในระดับข้อมูล
เชิงประจักษ์กจ็ ะเห็นปั ญหามากมายว่าสุดท้าย “เทคโนโลยีการพิมพ์” ก็ไม่ได้มคี วามชัดเจนว่า
จะสร้าง “ความเปลีย่ นแปลง” ในสังคมจริงๆ เพราะหลักฐานว่าฝ่ ายทีถ่ อื ครองอานาจในสังคม
ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์เพือ่ “ต่อต้านความเปลีย่ นแปลง” ก็ดจู ะมีมากจนไม่อาจละเลยได้

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 12
เรื่อยๆ แทนทีจ่ ะเป็ นละติน นี่ทาให้ยุโรปเริม่ หลุดพ้นจากยุคกลางทีศ่ าสนาจักร
เป็ นใหญ่มาสูย่ ุคสมัยใหม่ตอนต้นทีก่ ษัตริยแ์ ละเจ้าปกครองรัฐเป็ นใหญ่ แทน
แต่การปฏิวตั กิ ารพิมพ์กม็ อี กี ด้าน แม้ว่าเมื่อการปฏิวตั กิ ารพิมพ์ทางาน
ไปพร้อมๆ การปฏิรูปศาสนาจะทาให้รฐั ชาติสมัยใหม่ ทม่ี พี รมแดนชัดเจนค่อยๆ
ก่อตัวขึน้ แต่ภายในรัฐแทบทุกรัฐมักจะเกิดการปะทะกันของฝ่ ายคาทอลิกและ
โปรเตสแตนต์ ซึง่ สุดท้ายเมื่อความขัดแย้งกันหนักข้อขึน้ ทางราชสานักก็ได้ตงั ้
“กองเซ็นเซอร์” เพื่อผ่านตาพิจารณาสิง่ พิมพ์ภายในรัฐขึน้ มาเป็ นครัง้ แรก กล่าว
อีกแบบก็คอื “กองเซ็นเซอร์” เป็ นผลพวงของการปฏิวตั กิ ารพิมพ์ และระบบนี้เอง
ทีผ่ กู พันกับการก่อตัวของลิขสิทธิอย่ ์ างลึกซึง้
พัฒนาการของการควบคุมสิง่ พิมพ์ท่นี าไปสู่ลขิ สิทธิในที ์ ่สุดเกิดขึน้ ใน
สภาวะที่ยุโรปไม่ได้มสี ถาบันทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองดังเช่นทุกวันนี้
ซึ่ง จุ ด เน้ น ย้ าในที่น้ี ก็ค งจะเป็ น ลัก ษณะสาคัญ 4 ประการของภาวะสมัย ใหม่
ตอนต้นที่ผู้อ่านต้องเข้าใจเป็ นพื้นฐานก่อนที่จะไปทาความเข้าใจปรากฏการณ์
ย่อยๆ ต่างๆ ในยุโรป
ประการแรก กิ ล ด์ คื อ สถาบัน ทางเศรษฐกิ จ ที ม่ ี บ ทบาทในการ
กาหนดการผลิตสิง่ ต่างๆ ในเมืองยุคสมัยใหม่ตอนต้น โครงสร้างเศรษฐกิจช่วง
สมัย ใหม่ ต อนต้น ก็ไ ม่ ไ ด้ต่า งจากเศรษฐกิจ ยุ ค กลางตอนปลายมากนัก เมื่อ
กล่าวถึงเศรษฐกิจยุคกลาง โดยทัวไปคนก็ ่ จะนึกถึงความสัมพันธ์แบบ “ฟิ วดัล”
ระหว่างชาวนากับเจ้าทีด่ นิ (บ้างก็เรียก “ไพร่” กับ “เจ้าศักดินา”) อย่างไรก็ดใี น
โลกยุคกลางก็มอี ะไรมากกว่านัน้ เพราะแม้แต่ในยุคกลางก็มสี งิ่ ทีเ่ รียกว่า “เมือง”
(town) อยู่ไม่ได้มแี ค่ “ชนบท” (country)
เมือ งในยุ ค กลางคือ พื้น ที่ศู น ย์ก ลางทางการค้า ไปจนถึง สิน ค้า และ
บริการสารพัดซึ่งต้องอาศัยอาหารจากการทาการเกษตรในชนบทไปหล่อเลี้ ยง
ไม่ได้ต่างจากเมืองยุคนี้ อย่างไรก็ดอี งค์กรทางเศรษฐกิจของเมืองในยุคกลางก็
ต่างจากองค์กรทางเศรษฐกิจของยุคนี้ท่ขี บั เคลื่อนด้วยบรรษัททัง้ ท้องถิ่นและ
ข้ามชาติ เพราะสถาบันทางเศรษฐกิจหลักของเมืองในยุคกลางคือกิลด์ (guild)

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 13
กิลด์ คือ คาเรียกรวมๆ ของการรวมกลุ่มกันของช่าง/พ่อค้าสินค้าและ
บริการในเมืองหนึ่งๆ ซึง่ ในยุคกลางช่างก็มกั จะเป็ นพ่อค้าในตัวด้วย 2 กล่าวคือ
ผูผ้ ลิตสินค้าและผูข้ ายสินค้าปลีกคือคนคนเดียวกับหรือกลุ่มเดียวกัน ดังนัน้ เวลา
กล่าวถึง Shoemaker ในยุคนี้กม็ คี วามหมายทัง้ ช่างทารองเท้าและพ่อค้ารองเท้า
ซึ่งเป็ นคนเดียวกัน เป็ นต้น กิลด์มคี วามต่างจากสิง่ ที่เรียกว่า “สมาคมการค้า ”
ทุกวันนี้ทช่ี ดั เจนทีส่ ดุ ตรงทีก่ ลิ ด์มลี กั ษณะการควบคุมกระบวนการของสินค้าและ
บริการอย่างเบ็ดเสร็จ มันไม่ใช่แค่เพียงมีอานาจในการควบคุมราคาสินค้าและ
บริการในเมืองและควบคุมมาตรฐานการผลิตสินค้าและบริการเท่านัน้ แต่มนั ยัง
เป็ นสถาบันที่มบี ทบาทในการกาหนดว่าใครจะสามารถผลิตสินค้าและบริการ
นัน้ ๆ ได้ในเมืองนัน้ รวมไปจนถึงมันยังเป็ นสถาบันการศึกษาที่ใช้ผลิตซ้าตัว
ผูผ้ ลิตสินค้าและบริการด้วย
โดยทัวไปโครงสร้
่ างของกิลด์จะประกอบไปด้วยสมาชิกระดับสูงสุดทีจ่ ะ
เป็ นเจ้าของ “เวิรก์ ช็อป” (workshop) ทีเ่ ป็ นทัง้ สถานทีผ่ ลิตสินค้าและร้านค้าไป
พร้อมๆ กัน เจ้าของเวิรก์ ช็อปพวกนี้จะเรียกว่า “มาสเตอร์” (master) มาสเตอร์
เหล่ า นี้ ก็ มี ห น้ า ที่ ใ นการฝึ กนายช่ า งฝึ ก หั ด ซึ่ ง ก็ เ รี ย กว่ า “แอพเพร็ น ทิ ซ ”
(apprentice) การทางานในเวิรก์ ช็อปของมาสเตอร์นนั ้ เป็ นทัง้ การทางานและฝึ ก
อาชีพไปพร้อมๆ กันซึ่งโดยทัวไปแอพเพร็ ่ นทิซ ก็จ ะอาศัยอยู่ในเวิร์กช็อปซึ่ง
มักจะเป็ นบ้านของมาสเตอร์ด้วย สิง่ ที่มาสเตอร์จะได้รบั การตอบแทนจากแอพ
เพร็นทิซก็คอื การทีแ่ อพเพร็นทิซจะทางานเป็ นคนงานของมาสเตอร์ดว้ ยค่าจ้าง
ทีต่ ่ากว่าราคาตลาดในระยะเวลาทีก่ าหนดไว้ในสัญญาทีท่ าไว้แต่แรกการฝึ ก (ซึง่
ก็คล้ายกับการทางานเพื่อ “ใช้ทุน” ทุกวันนี้) หลังจากแอพเพร็นทิซฝึ กงานสาเร็จ

2
การบรรยายสภาพของกิลด์ในยุโรปสมัยใหม่ตอนต้นปรากฎในงานมากมากมาย และเนื้อหา
ก็มลี กั ษณะไปในทางเดียวกันหมด ทัง้ นี้กลิ ด์กไ็ ม่ได้ใช้ชอ่ื เรียกว่า Guild ไปหมด บางครับ้ กิลด์
ก็จะใช้ช่อื เรียกว่า Company หรือ Corporation ซึ่งในยุคนัน้ หมายถึงองค์กรทางเศรษฐกิจที่
เรียกรวมๆ ว่ากิลด์ ไม่ใช่หมายถึงบริษทั และบรรษัทอย่างทุกวันนี้ ดูเช่น Bruford, 1935:
136-139; Sewell, 1980: 16-39; Epstein & Prak, 2008

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 14
แล้วเขาจะกลายเป็ น “จอร์ นี ย์ แ มน” (journeyman) หรือเป็ นช่างที่ “สาเร็จ
การศึกษา” และพร้อมจะคิดค่าแรงต่อวันในการทางานได้เต็มที่ 3 หรือมีสถานะ
เป็ นแรงงานรับจ้างตามเวิร์กช็อปต่างๆ ได้ ทว่าจอร์นีย์แมนไม่สามารถจะเปิ ด
เวิร์กช็อปเองได้ การที่จะเปิ ด เวิร์กช็อปเองได้กต็ ้องไปสอบเพื่อเป็ น มาสเตอร์
กับเหล่ามาสเตอร์ในกิลด์ ซึ่งโดยทัวไปก็ ่ จะเป็ นตาแหน่ งที่มจี ากัดที่มีราคาค่า
สอบแพงมาก และทางกิลด์กจ็ ะคัดเอาคนทีเ่ หมาะสมมาเป็ นมาสเตอร์ต่อจากคน
เก่าทีต่ ายหรือสูญหายไป
สิน ค้ า หลายๆ อย่ า งที่ ทุ ก วั น นี้ ม องเป็ นชิ้ น เดี ย วในยุ ค นั ้น แต่ ล ะ
“ส่วนประกอบ” ก็มกี ลิ ด์แยก เช่น ในสวิตเซอร์แลนด์กลิ ด์ทเ่ี กีย่ วกับนาฬิกาก็แยก
ย่อยเป็ นกิลด์ท่ผี ลิตส่วนประกอบต่างๆ อย่างนาฬิกา หรือในกรณีของการผลิต
หนังสือยุคก่อนการปฏิวตั ิการพิมพ์ การที่ในเมืองเมืองหนึ่งจะมีกิลด์ของช่าง
คัดลอกหนังสือ กิลด์ของคนทาปก กิลด์ข องช่างลงรักปกหนังสือ และกิลด์ของ
ช่างเย็บเล่ม แยกออกจากกันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไร แม้ว่าในหลายๆ
เมืองจะมีกลิ ด์ใหญ่ของช่างทาหนังสือทีร่ วมเอาสารพัดช่างทีก่ ล่าวมาไว้ดว้ ยกัน
กิลด์เป็ นหน่ วยทางเศรษฐกิจที่สาคัญมากของเมืองต่างๆ ในยุคกลาง
ตอนปลาย พอกษัตริยส์ ถาปนาอานาจในการออกกฎหมายต่างๆ เหนือดินแดน
ในช่วงสมัยใหม่ตอนต้น กษัตริยก์ ไ็ ด้อ้างอานาจเหนือกิลด์ด้วยเช่นกัน แต่ทาง
กิลด์เองก็เป็ นสถาบันทางเศรษฐกิจทีต่ ้องการอานาจการผูกขาดการผลิตสินค้า
และบริการในพืน้ ทีอ่ ยู่แล้วตัง้ แต่ยุคกลาง และคนให้อานาจนี้กไ็ ม่ใช่ใครนอกจาก
ทางสภาเมืองหรือเจ้าครองนคร ดังนัน้ เมื่อกษัตริย์มอี านาจเหนือ ดินแดน ทาง
กิลด์ทงั ้ หลายจึงหันไปขอสิทธิผู์ กขาดจากกษัตริย์แทนไม่ว่าจะเป็ นกิลด์ในเมือง
หลวงหรือเมืองอื่นๆ ซึง่ กษัตริยจ์ ะตอบรับคาขอของกิลด์หรือไม่กแ็ ล้วแต่กรณีไป
อย่างไรก็ดีก ษัตริย์ก็มกั จะตอบรับคาขอของกิลด์ ใ นกรณีของพวกกิลด์ท่ผี ลิต
สินค้าที่เกี่ยวพันกับความมันคงไม่่ ว่าจะเป็ นกิลด์ท่ผี ลิตสิง่ ที่เอามาทาอาวุธได้
อย่างกิลด์ช่างเหล็ก หรือกิลด์ทผ่ี ลิตสิง่ ทีส่ นคลอนอุ
ั่ ดมการณ์หลักของรัฐได้อย่าง
3
รากของคาว่า journeyman คือ journée อันเป็ นภาษาฝรังเศสที
่ แ่ ปลว่าการทางานหนึ่งวัน

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 15
หนังสือ ดังนัน้ ในแง่หนึ่งนี่คอื การทีก่ ษัตริยต์ ้องการผูกอานาจกับกิลด์ เพื่อพึ่งพา
กิลด์ให้ทาการสอดส่องการผลิตนอกระบบให้กษัตริยด์ ว้ ยด้วย ซึง่ นี่กเ็ ป็ นหน้าทีท่ ่ี
สาคัญของกิลด์ในยุคทีร่ ฐั ยังไม่มเี จ้าหน้าทีเ่ พื่อรักษากฎหมายโดยเฉพาะอย่าง
ตารวจ
ประการทีส่ อง ในยุคสมัยใหม่ตอนต้น สังคมและศาสนายังไม่แยกออก
จากกัน การทีท่ าให้ “การปฏิรปู ศาสนา” เป็ นเรื่องใหญ่เพราะตัง้ แต่อดีตกาลก่อน
ยุคกลาง ไม่ว่าจะสังคมไหน ศาสนาและสังคมก็ไม่ได้แยกออกจากกัน ในโลก
โบราณศาสนาไม่ใช่เรื่องส่วนตัวแบบยุคนี้ แต่เป็ นเรื่องสาธารณะหรือเป็ นเรื่อง
ของชุมชนหรือรัฐ รัฐในอดีตมีสทิ ธิในการบั์ งคับให้คนนับถือศาสนาเดียวกันหรือ
นิกายเดียวกันได้ ซึง่ ในทางปฏิบตั กิ ห็ มายความรวมถึงการบังคับให้คนมีวถิ ชี วี ติ
ตามหลักของศาสนาหรือนิกายนัน้ ๆ ด้วย
ในแง่น้กี ารควบคุมการเผยแพร่ความเชื่อทางศาสนาจึงเป็ นการควบคุม
อุดมการณ์ทางการเมืองด้วย และหลังการปฏิวตั กิ ารพิมพ์และการปฏิรูปศาสนา
เครื่อ งมือ ในการเผยแพร่ ความเชื่อ ทางศาสนาที่ดีก็คือสิ่ง พิม พ์ท่ีผ ลิต ซ้ าเป็ น
จานวนมากได้อย่างรวดเร็วต่างจากยุคก่อนที่ต้องนัง่ คัดลงบนกระดาษเอาทีละ
แผ่น ดังนัน้ กษัตริยย์ ุคศตวรรษที่ 16-17 นัน้ จึงค่อนข้างจะจริงจังในการควบคุม
สิง่ พิมพ์ด้านศาสนามาก เพราะสิง่ พิมพ์ท่นี อกลู่นอกทางทางศาสนาก็หมายถึง
นอกลู่นอกทางทางการเมืองด้วย และนันเป็ ่ นภัยต่อความมันคง

ดังนัน้ สิง่ ที่เราจะเห็นได้กค็ อื ในช่วงสมัยใหม่ตอนต้น ฝ่ ายศาสนาในรัฐ
(ทีโ่ ยงกับกษัตริย์) จะมีบทบาทในการควบคุมสิง่ พิมพ์มากๆ โดยเฉพาะในช่วง
การปฏิรปู ศาสนา ทีก่ นิ เวลาตัง้ ตัง้ แต่กลางศตวรรษที่ 16 ไปจนสิน้ ศตวรรษที่ 17
ประการทีส่ าม ยุคสมัยใหม่ตอนต้นเป็ นยุคแรกทีก่ ษัตริยย์ ุโรปมีอานาจ
สมบูรณ์และกษัตริย์กส็ ามารถ “ออกอภิสทิ ธิ์” แก่ผู้คนได้สารพัด มิติสาคัญของ
การปฏิรูปศาสนาในช่วงสมัยใหม่ตอนต้นก็คอื การสถาปนาอานาจของกษัตริย์
ให้เหนือกว่าศาสนจักร กล่าวง่ายๆ คือการแยกตัวออกจากศาสนจักรก็หมายถึง

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 16
การปฏิเสธพิธกี รรมการสถาปนากษัตริย์ผ่านการสวมมงกุฎของทางศาสนจักร
และยืนยันสิทธิในการกาหนดตัวเองสารพัด
การก าหนดตัว เองนี้ ห มายถึ ง กษั ต ริ ย์ จ ะเริ่ม มีก ารกล่ า วอ้ า งสิท ธิ
ทัง้ หลายที่ไม่เคยมีมาก่อนซึ่งสิทธิเหล่านัน้ ก็คอื สิทธิใ์ นการควบคุมสังคมผ่าน
กิลด์ เช่ น การอ้างสิท ธิเ หนื อป่ าไม้แ ละแม่ น้ า ก็หมายถึง การอ้างสิท ธิใ นการ
ควบคุมกิลด์ช่างเหล็กในทางอ้อมเป็ นต้น (Pfister, 2008: 35) ซึ่งในแง่ความ
มันคงการควบคุ
่ มกิลด์ท่สี ามารถผลิตอาวุธได้ก็ดูจะเป็ นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจ
เพราะเป็ นเรื่องของความมันคงทางการทหาร
่ ซึ่งคาอธิบายเรื่องการคุมกิลด์ใน
นามความมันคงของกษั
่ ตริยก์ ใ็ ช้ได้กบั การไปคุมกิลด์ช่างเงินช่างทอง เพราะนี่ก็
เป็ นเรื่องของความมันคงทางค่
่ าเงิน และก็ใช้ได้กบั การไปคุมกิลด์ช่างทาหนังสือ
เพราะนี่กเ็ ป็ นเรื่องของความมันคงทางด้ ่ านความเชื่อ (Gadd & Wallis, 2008)
ซึง่ นี่เป็ นการอ้างสิทธิที์ ไ่ ม่เคยมีมาก่อนแน่ นอน เพราะในยุคกลาง แนวคิดเรื่อง
“สิทธิในการผลิตซ้าหนังสือ” เป็ นสิง่ ทีไ่ ม่มแี น่ ๆ และการคัดลอกหนังสือก็เป็ นไป
โดยเสรี (Pfister, 2010: 118)
ในกรอบการอ้างสิทธิสารพั ์ ดของกษัตริย์ กษัตริยก์ ไ็ ด้นาเอาระบบทีม่ ใี ช้
มาตัง้ แต่ในเมืองยุคกลางอย่ า งสิ ท ธิ บ ั ต ร (patent) มาเป็ นเครื่องมือ ในยุคนี้
สิทธิบตั รหมายถึงใบอนุญาตในการผูกขาดการผลิตและการค้าทุกรูปแบบทีอ่ อก
โดยองค์กรทางการเมืองที่มอี านาจในการออกกฎหมาย สิทธิบตั รในยุคแรกไม่
จาเป็ นต้องมีมคี วามเกีย่ วโยงใดๆ กับ “สิง่ ประดิษฐ์” หรือ “นวัตกรรม” แบบทุก
วัน นี้ เพราะกษั ต ริ ย์ ก็ อ าจออกสิท ธิ บ ั ต รสิ่ง ที่ ค้ า ขายกั น อย่ า งดาษดื่ น ได้
เช่นเดียวกับออกสิทธิบตั รให้สงิ่ ทีน่ บั ว่า “ใหม่” ในตอนนัน้ นี่หมายความว่าในยุ ค
นัน้ ถ้าต้องการผูกขาดการพิมพ์หนังสือก็ต้องไปขอสิทธิบตั รจากทางราชสานัก
หรือทางสภาเมือง ซึ่งสิทธิบ ัตรนี้ ก็จะอยู่ใ นระบบเดียวกับสิทธิบตั รเครื่องมือ
สิท ธิบ ัตรยา สิท ธิบ ัตรดินปื น ไปจนถึงสิทธิบ ัตรอาหารชนิ ดใหม่ เป็ นต้น ซึ่ง
ทัง้ หมดก็ไม่ใช่อะไรนอกจากสิทธิในการผูกขาดการผลิตและการค้าไปพร้อมๆ
กัน (Kostylo, 2001)

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 17
ในยุคสมัยใหม่ตอนต้นถือว่าสิทธิในการผูกขาดทางการผลิตการค้ าที่
สิทธิบตั รให้แก่ผถู้ อื มันคือ อภิสทิ ธิ ์ (privilege) แบบหนึ่ง4 ซึง่ บางพืน้ ทีก่ เ็ รียกสิง่
ทีร่ าชสานักออกเพื่อให้สทิ ธิการผู ์ กขาดการผลิตและซือ้ ขายสินค้าและบริการนี้ว่า
อภิสทิ ธิเลยไม่
์ ได้แยกอภิสทิ ธิและสิ
์ ทธิบั์ ตรออกจากกัน ในกรณีของการพิมพ์ เรา
ก็จะเห็นให้ว่าจะมีการใช้คาว่า สิทธิบตั รการพิมพ์ (printing patent) และอภิสทิ ธิ ์
การพิมพ์ (printing privilege) แตกต่างกันไปในแต่ละรัฐเพื่อเรียกสิทธิในการ
ผูกขาดการพิม พ์ห นัง สือ เล่ม หนึ่ งๆ ที่รฐั มอบให้ ดัง นัน้ ในกรณีของการพิม พ์
สิทธิบตั รและอภิสทิ ธิก็์ คอื สิง่ เดียวกัน
โดยทัว่ ไปในช่ ว งสมัย ใหม่ ต อนต้น สิท ธิแ บบนี้ จ ะถือ ก าเนิ ด มาจาก
อานาจของกษัตริยห์ รือสภาเมืองทีม่ เี หนือดินแดนหนึ่งๆ ซึง่ ในกรอบแบบนี้ สิง่ ที่
จะเห็น ชัด เจนก็คือ หากพ้น ไปจากดิน แดนที่ก ษัต ริย์ห รือ สภาเมือ งมีอ านาจ
อภิสทิ ธิต่์ างๆ เหล่านี้กไ็ ม่มคี วามหมาย ซึง่ นี่รวมถึงอภิสทิ ธิการพิ
์ มพ์หนังสือด้วย
ดัง นั น้ ปั ญ หาของพวกพ่ อ ค้า หนัง สือ ช่ ว งสมัย ใหม่ ต อนต้น ก็คือ จะมีก ารผลิต
หนังสือจากดินแดนทีอ่ ภิสทิ ธิไม่ ์ มอี านาจในการผูกขาดไปถึงมาแข่งกับหนังสือที่
ถูกผลิตขึน้ มาใต้อภิสทิ ธิตลอด์
สาหรับแนวทางการออกอภิสทิ ธิ ์ กษัตริยห์ รือสภาเมืองล้วนมีอานาจใน
การออกอภิสทิ ธิการพิ ์ มพ์ให้กบั หนังสือเป็ นเล่มๆ ตามแต่ ช่างพิมพ์จะร้องขอ
หรือกษัตริย์หรือสภาเมืองสามารถจะออกอภิสทิ ธิการพิ ์ มพ์โดยการให้อานาจ
ผูกขาดกับกิลด์หนังสือให้ทางกิลด์ไปจัดการแบ่งผูกขาดกันเองก็ได้ว่าช่างพิมพ์
คนไหนจะมีสทิ ธิผู์ กขาดหนังสืออะไรเล่มไหนก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ทงั ้ สองระบบ
นี้กอ็ าจดาเนินไปพร้อมกันในช่วงเวลาเดียวกันก็ได้อย่างไม่ขดั แย้งกัน

4
ทีก่ ล่าวเช่นนี้กเ็ พราะ คาว่า “อภิสทิ ธิ”์ ไม่ได้มคี วามหมายแค่สทิ ธิเฉพาะทีก่ ษัตริยอ์ อกเท่านัน้
สิทธิโดยกาเนิดของอภิชนก็นับเป็ นอภิสทิ ธิ ์ ซึ่งสิทธิพวกนี้กเ็ ช่น สิทธิในการพกดาบ สิทธิใน
การล่าสัตว์ สิทธิในการขึน้ ศาลพิเศษ ฯลฯ ซึง่ ทัง้ หมดเป็ นสิทธิทส่ี ามัญชนไม่ม ี ดู Doyle 1995;
Doyle 2010

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 18
ประการทีส่ ่ี ในช่วงสมัยใหม่ตอนต้นผูอ้ ่านและผูเ้ ขียนหนังสือส่วนใหญ่
เป็ นอภิชนผูช้ ายแทบทัง้ นัน้ บรรดารัฐโปรเตสแตนท์ได้ทาการปฏิรูปศาสนาไป
พร้อมๆ กับการเริม่ สอนการอ่านในหมู่สามัญชนก็จริง (เพราะมันจาเป็ นต่อการ
อ่านคัมภีรไ์ บเบิล) แต่ประชากรทีส่ ามารถอ่านหนังสือได้ในยุคนัน้ คือพวกอภิชน
ผูช้ ายแทบทัง้ นัน้ ดังนัน้ คนเหล่านี้จงึ เป็ นตลาดหลักของหนังสือในช่วงสมัยใหม่
ตอนต้น
ปั จจัยที่ทาให้สามัญชนไม่ค่อยเข้าถึงหนังสือได้นักนอกจากการไม่รู้
หนังสือแล้วก็ยงั เป็ นเรื่องราคาค่างวดของหนังสือด้วย แม้ว่าการปฏิวตั กิ ารพิมพ์
จะทาให้ก ารผลิตซ้ า หนัง สือ เกิด ได้ร วดเร็ว เป็ น จ านวนมาก แต่ ห นังสือ ในยุ ค
สมัยใหม่ตอนต้นราคาแพงมากๆ จัดเป็ นของฟุ่มเฟื อยทีส่ ามัญชนทัวๆ ่ ไปไม่มี
งบประมาณจะซือ้ หา และถึงแม้จะมีสถาบันทางเลือกอย่าง “ห้องสมุดสาธารณะ”
(ที่จริง ๆ เหมือ น “ร้า นเช่ า หนัง สือ ” ในไทยสมัย นี้ม ากกว่ า เพราะต้อ ง “เช่ า ”
หนังสืออ่าน) 5 เกิดขึน้ เพื่อรองรับความต้องการอ่านการขยายเร็วกว่ากาลังซื้อ
หนังสือในบางพืน้ ที่ อย่างไรก็ดนี ่ีกด็ ูจะเป็ นปรากฏการณ์ทเ่ี พิง่ เกิดตอนศตวรรษ
ที่ 18 ทีม่ าพร้อมๆ กับการขยายตัวของ “คนระดับกลางของสังคม” (หรือทีน่ ิยม
เรียกกันว่า “ชนชัน้ กลาง” ซึ่งเป็ นคาที่ถูกใช้ในความหมายหลากหลายจนชวน
สับสน) ซึง่ ยังไม่ปรากฏชัดนักในช่วงศตวรรษที่ 16-17
ดังนัน้ จึงน่ าจะอนุ มานได้ว่าผูอ้ ่านหนังสือในช่วงสมัยใหม่ตอนต้นส่วน
ใหญ่ น้ี ก็คือ อภิช นผู้ช ายแทบทัง้ นั น้ 6 ซึ่ง อภิช นในความหมายแบบสมัย ใหม่
ตอนต้นก็ดจู ะแทบไม่เหลือรอดมาจนถึงปั จจุบนั เท่าไรแล้ว ดังนัน้ เราควรจะมาทา

5
งานหลายชิน้ มีการพูดถึง “ห้องสมุดสาธารณะ” (รวมถึง “ชมรมหนังสือ” ทีด่ จู ะทาหน้าทีไ่ ม่
ผิดกัน) เหล่านี้ เช่น Altick, 1967; Sutherland, 2007; Selwyn, 2000
6
นอกเหนือจากอภิชนผูช้ าย พระก็เป็ นคนอีกกลุ่มทีอ่ ่านหนังสือออกมาตัง้ แต่ยุคกลางแล้ว แต่
ด้วยบริบทของงานนี้ทพ่ี ดู ถึงภาวะสมัยใหม่ตอนต้น พระซึง่ เป็ นกลุ่มคนทีล่ ดบทบาทลงมาก
ในช่วงนี้ และทีส่ าคัญพระไม่ใช่ตลาดสาคัญของหนังสือ จึงขอละไม่พดู ถึงการอ่านและตลาด
หนังสือของพระไว้ในทีน่ ้ี

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 19
ความรู้จ ัก ชนชัน้ น ากลุ่ ม นี้ ท่ีมีบ ทบาทในการก าหนดความเป็ น ไปของสัง คม
สมัยใหม่ตอนต้นโดยเฉพาะธุรกิจหนังสือกันสักหน่อย7
อภิชนในทีน่ ้ถี า้ จะให้จากัดความกว้างๆ ก็คงหมายถึงเหล่าผูม้ เี ชือ้ สาย
จากตระกูลเก่าที่มีรายได้จากค่าเช่า ที่ดินในระดับที่ไม่ต้องดิ้นรนทามาหากิน
นอกจากพวกทีม่ าจากตระกูลเก่าแก่แล้วอภิชนไม่น้อยก็สบื เชือ้ สายมาจากอัศวิน
ในยุคกลางทีไ่ ด้ทด่ี นิ จากกษัตริยเ์ พื่อเป็ นการตอบแทนทีค่ นพวกนี้ออกรบให้ และ
ยามสงบอัศวินเหล่านี้แหละครอบครัวก็มรี ายได้จากการเก็บส่วนแบ่งของผลผลิต
ของชาวนาผู้มาเช่าที่ดินใช้ และวิถีชวี ิตแบบเป็ นเจ้าที่ดนิ ยามสงบและออกรบ
ยามทีก่ ษัตริยร์ อ้ งขอก็เป็ นพืน้ ฐานของวิถชี วี ติ ของอัศวินและครอบครัวมาจวบจน
การใช้ดนิ ปื นในสงครามทาให้บทบาทของอัศวินใส่เกราะบนหลังม้าลดลงไปใน
สนามรบในช่วงปลายยุคกลางและทาให้คนในตระกูลอัศวินไม่ได้มบี ทบาททาง
การทหารเช่นเดิมอีก แม้จะมีบทบาททางการทหารน้อยลงแต่ทด่ี นิ ของตระกูล
อัศวินพวกนี้กย็ งั คงอยู่ และทรัพย์สนิ ทีต่ กทอดมานี้กท็ าให้คนพวกนี้กลายมาเป็ น
อภิชนผูเ้ ป็ นเจ้าทีด่ นิ ในช่วงสมัยใหม่ตอนต้น
เนื่องจากอภิชนเป็ นชนชัน้ ทีไ่ ม่ต้องทามาหากินด้วยมือตัวเอง คนพวก
นี้กย็ ่อมมีเวลาว่างมาก ทาให้มเี วลาฝึ กฝนกิจกรรมทางปั ญญามากกว่าชนชัน้ ที่
วันๆ ต้องทามาหากิน 8 และกิจกรรมอย่างหนึ่งที่พวกอภิชนนิยมทากันในเวลา
ว่างคือการอ่านและเขียนหนังสือ อภิชนมักจะได้รบั การศึกษาระดับที่อ่านออก
เขียนได้หลายภาษาทัง้ นัน้ ในขณะเดียวกันเราก็จะพบว่าสามัญชนยุโรปทีอ่ ่าน

7
ภาพรวมของคนกลุ่มนี้อ่านได้ท่ี Doyle, 2010; Lukowski, 2003
8
อย่างไรก็ดี กิจกรรมที่ “ใช้กาลัง” ก็เป็ นกิจกรรมยามว่างของอภิชนทีน่ ่ าจะเป็ นจารีตทีส่ บื มา
ตัง้ แต่ต้น ตระกูล ของคนเหล่ านี้ออกรบ ทัง้ การขีม่ ้า ล่ าสัตว์ ดวลดาบ ดวลทวน ก็ล้วนเป็ น
กิจกรรมยามว่างยอดนิยมของพวกอภิชนทีม่ คี วามคาบเกีย่ วกับการซ้อมรบอย่างเบาะๆ ทัง้ นี้
อันที่จริงหลายๆ กิจกรรมก็จดั เป็ นอภิสทิ ธิของชนชั
์ น้ ด้วยซ้ า เช่น การล่าสัตว์ท่มี กี ฎหมาย
กาหนดให้สามัญชนไม่สามารถล่าได้ ไปจนถึงการพกดาบทีส่ ามัญชนก็ไม่สามารถพกพาในที่
สาธารณะเช่นกัน

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 20
หนังสือได้ในระดับที่เซ็นเอกสารของทางราชการในยุคเดียวกันก็หายากแล้ว
ดังนัน้ ในแง่น้สี งิ่ ทีเ่ ราต้องไม่ลมื เลยเวลามองหนังสือในโลกสมัยใหม่ตอนต้นก็คอื
มันเป็ นสินค้าฟุ่มเฟื อยทีถ่ ูกผลิตขึน้ มาตอบสนองผูค้ นระดับสูงสุดของสังคมเป็ น
หลัก
อย่างไรก็ดใี นอีกด้านหนึ่งเราก็จะเห็นว่าคนเขียนหนังสือส่วนใหญ่ใน
สมัยใหม่ตอนต้นก็คือพวกอภิชนเช่นกัน 9 แต่ น่ีก็ไม่ ได้แปลกประหลาดอะไร
เพราะภาวะที่วฒ ั นธรรมการอ่านเขียนเป็ นเรื่องที่จากัดอยู่ในชนชัน้ สูงนี้ก็เป็ น
เรื่องปกติทม่ี มี าตลอดประวัตศิ าสตร์ ด้วยพืน้ ฐานทางรายได้ของคนในชนชัน้ ทีไ่ ม่
ต้องทามาหากินนี้เมื่อพวกเขาเป็ น “นักเขียน” พวกเขาก็ไม่ต้องเผชิญปั ญหา
ทานอง “นักเขียนก็ตอ้ งกินข้าว” และเราก็จะเห็นได้ว่าการอ้างกรรมสิทธิยิ์ บย่อย
ในงานเขียนนัน้ ก็ไม่ใช่เรื่องทีเ่ กิดขึน้ ในประวัตศิ าสตร์เลยก่อนศตวรรษที่ 18 ซึง่
เอาจริงๆ ในกรอบความคิดของโลกอภิชนการรับเงินจากการเขียนหนั งสือดูจะ
เป็ นเรื่องเสื่อมเกียรติดว้ ยซ้าเพราะมันเป็ นการกระทาเยีย่ งการขายแรงงานตน
แบบพวกช่างและพ่อค้าทีเ่ ป็ นชนชัน้ ต่ากว่าอย่างสามัญชน
กว่าทีย่ ุโรปบางประเทศเริม่ มี “นักเขียนอาชีพ” หรือกลุ่มผูค้ นทีท่ ามา
หากินด้วยการเขียนหนังสือแต่เพียงอย่างเดียวเกิดขึน้ ก็ในช่วงศตวรรษที่ 18 เข้า
ไปแล้ว และคนพวกนี้ ก็เ กิด ขึ้น ได้เ พราะตลาดของหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่า งๆ
ขยายตัวขึน้ ไปในหมู่คนระดับกลางของสังคมอย่างพ่อค้าและช่างต่างๆ ซึง่ ในอีก
ด้าน นักเขียนอาชีพจานวนไม่น้อยก็เป็ นลูกหลานของชนชัน้ เหล่านี้น่เี อง และนี่ก็
เป็ นเหตุผลให้นักเขียนที่ “บ้านไม่ได้รวย” เหล่านี้จะต้องการรายได้เพื่อเลีย้ งชีพ
จากงานเขียน
การเกิดขึน้ ของ “นักเขียนอาชีพ” พวกนี้เองทีท่ าให้ขอ้ เรียกร้องด้านให้
มีก ฎหมายลิข สิท ธิเ์ พื่อ คุ้ม ครองสิทธิเ หนื องานเขีย นเป็ น สิ่ง สมเหตุ สมผลขึ้น

9
ข้อยกเว้นที่สาคัญคือเหล่ารัฐทีใ่ ช้ภาษาเยอรมันที่อภิชนนิยมใช้ภาษาฝรังเศสในการอ่
่ าน
เขียน และผู้ทอ่ี ่านเขียนหนังสือเป็ นภาษาเยอรมันก็ลว้ นแต่เป็ น “ข้าราชการ” ที่ขยายตัวไป
พร้อมๆ กับโครงสร้างรัฐแบบใหม่หลังการปฏิรปู ศาสนา

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 21
อย่างไรก็ดใี นประวัตศิ าสตร์ กลุ่มคนที่พยายามจะอ้างว่าในโลกนี้มี “สิทธิเหนือ
การพิมพ์งานเขียน” ดารงอยู่ นัน้ เอาจริงๆ ก็ดูจะเป็ นพวกสานักพิมพ์ทค่ี ดิ ว่าตน
ได้ซ้อื สิทธิดงั กล่า วมาจากนัก เขียนพร้อ มๆ กับ ต้น ฉบับ มากกว่ าที่จ ะเป็ น ตัว
นักเขียนเองทีอ่ า้ งว่าสิทธิดั์ งกล่าวดารงอยู่ เพราะแม้แต่ในศตวรรษที่ 18 เอง ก็มี
นักเขียนไม่กค่ี นเท่านัน้ ทีล่ ุกขึน้ มาโวยวายว่าตนถูกละเมิดเวลามีพ่อค้าหนังสือ
ตีพมิ พ์งานตนโดยไม่ได้รบั อนุ ญาต เพราะถึงทีส่ ุดแล้วหนังสือขายได้เท่าไร ใคร
จะพิม พ์ ตัว นัก เขีย นก็ไ ม่ ไ ด้ค่ า ตอบแทนทางเศรษฐกิจ ไปมากกว่ า เดิม อยู่ ดี
เนื่องจากขายต้นฉบับขาดไปแล้ว10

10
แต่น่ีกไ็ ม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเพราะค่ายเพลงทุกวันนี้ก็ยงั อ้าง “สิทธิของนักดนตรี” กันอยู่
เวลารณรงค์ด้านลิขสิทธิทั์ ง้ ๆ ที่ในทางปฏิบตั ิค่ายเพลงก็ได้ซ้อื สิทธินั์ น้ มาจากนักดนตรีแล้ว
และในหลายๆ ครัง้ ผลตอบแทนจากลิขสิทธิก็์ ไม่ไปถึงนักดนตรีดว้ ยซ้า ก็ไม่แปลกอะไรเพราะ
ภาพของนักเขียนไส้แห้ง นักดนตรีจนๆ ทีถ่ ูกละเมิดสิทธิกด็ ูจะน่ าสงสารกว่าภาพของพ่อค้ า
หนังสือรายใหญ่หรือค่ายเพลงข้ามชาติถูกละเมิดสิทธิเป็ นไหน

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 22
กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 23
กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 24
บทที่ 2
อังกฤษ การเซ็นเซอร์
และกฎหมายลิขสิทธิ์
ฉบับแรกของโลก

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 25
2.1 โครงสร้างธุรกิจหนังสือในลอนดอนปลายศตวรรษที่ 15

ในยุคก่อนการปฏิวตั กิ ารพิมพ์ในยุโรป การผลิตหนังสือก็มอี ยู่แล้ว โดย


กระบวนการผลิตหนังสือก็ไม่ได้เหมือนสมัยนี้ทส่ี ง่ ไฟล์ไปโรงพิมพ์แล้วโรงพิมพ์ก็
จะจั ด การให้ เ รี ย บร้ อ ยมาเป็ นรู ป เล่ ม การผลิ ต หนั ง สือ ประกอบไปด้ ว ย
กระบวนการของช่างต่ างๆ ที่ทางานแยกกัน นายช่างคนแรกคือ ช่างคัด ลอก
หนั ง สือ ที่ท าหน้ า ที่ค ัด เนื้ อ ความจากเอกสารต้ น ฉบับ ลงในกระดาษ พอได้
กระดาษที่มเี นื้อความมาแล้ว ปกหนังสือคือสิง่ ที่ต้องทาตามมาซึ่ งก็เป็ นหน้าที่
ของช่างทาปกหนังสือ ซึ่งแน่ นอนว่าหนังสือสมัยนัน้ เป็ นของมีมูลค่าสูงมากๆ
เพราะผลิตได้ยาก ปกก็ย่อมจาเป็ นต้องแข็งแรงเป็ นธรรมดาและก็จะมีนายช่าง
เฉพาะที่ทาปก ปกโดยทัวไปก็ ่ จะต้องมีกระบวนการลงเลื่อมมันๆ สะท้อนแสง
เพื่อ ความสวยงามซึ่ง คล้า ยๆ การลงรัก ของช่ า งไทย นี่ ก็เ ป็ น กระบวนการที่
ต้องการช่างเฉพาะ และสุดท้ายเมื่อได้ปกและเนื้อในหนังสือมาแล้ว ช่างทีจ่ ะทา
ให้หนังสือสมบูรณ์คอื ช่างทีจ่ ะทาการเข้าเล่ม ก่อนทีห่ นังสือจะมาวางเป็ นสินค้า
อยู่ในร้านของพ่อค้าหนังสือในท้ายทีส่ ดุ
การจัดองค์กรของช่างทีท่ าหนังสือทัง้ หมดไม่ได้ จาเป็ นต้องเหมือนกัน
ในแต่ละท้องถิน่ ในกรณีของอังกฤษผูค้ นทัง้ หมดในกระบวนการทาหนังสือตัง้ แต่
ช่างคัดลอกหนังสือถึงพ่อค้าหนังสือเรียกโดยรวมว่า Stationer อันเป็ นคาทีห่ าคา
ไทยเทียบเท่าได้ยาก คาว่า Stationer มันมีรากเดียวกับคาว่า Station ซึง่ สื่อว่า
พวกนี้ทางานอยู่กบั ที่ ซึง่ สถานทีด่ งั กล่าวก็เป็ นย่านหนึ่งของกรุงลอนดอน
แม้ว่าคาว่า Stationer จะหมายถึง สารพัดช่างที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทา
หนังสือในลอนดอนไปจนถึงพ่อค้าหนังสือและเจ้าของร้านหนังสือ แต่เวลาคน
นอกธุ ร กิ จ หนั ง สื อ พู ด ถึ ง Stationer ส่ ว นใหญ่ ก็ ม ั ก จะหมายถึ ง พ่ อ ค้ า
หนั ง สื อ หรือเจ้าของร้ า นหนั ง สื อ เพราะคนกลุ่มนี้ม ั ก จะเป็ นผู้ ป ระสานงาน
*ภาพจากหน้า 24 : Statute of Anne, the first modern copyright law ปี 1709
ทีม่ า https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/e/ec/Statute_of_anne.jpg

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 26
กระบวนการของเหล่า Stationer ทัง้ หมดเพื่อให้ได้มาซึง่ หนังสือเล่มหนึ่งๆ และ
คนพวกนี้เป็ นกลุ่มคนทีม่ บี ทบาททีส่ ุดใน Stationers’ Company หรือน่ าจะแปล
ได้ว่า สมาคมผู้ผลิตหนังสือแห่งกรุงลอนดอนอันเรียกได้ว่าเป็ นกิลด์ของผู้ผลิต
และผูค้ ้าหนังสือในกรุงลอนดอนซึ่งตัง้ มาตัง้ แต่ปี 1403 กล่าวคือแม้ว่าสมาคม
ผูผ้ ลิตหนังสือแห่งกรุงลอนดอนจะประกอบไปด้วยสารพัดช่างทาหนังสือ แต่ผทู้ ม่ี ี
บทบาททีส่ ดุ ในสมาคมก็คอื พวกพ่อค้าหนังสือซึง่ เป็ นเจ้าของร้านหนังสือด้วย
อย่างไรก็ดีท่เี รียกว่า “ร้านหนังสือ” ในยุคนัน้ จริงๆ ก็มกั จะขายของ
อย่างอื่นด้วย ดังที่คาว่า Stationer คือรากของคาว่า Stationery ในสมัยนี้ท่ี
แปลว่า “ร้านขายเครื่องเขียน” นัน่ เอง Stationery ในศตวรรษที่ 16 ขายทัง้
หนังสือและเครื่องเขียนสารพัด ซึง่ อันทีจ่ ริงสินค้าหลักอย่างหนึ่งของ Stationer
ก็คอื กระดาษ ซึ่งกระดาษที่ว่านี้กเ็ ป็ นกระดาษเดียวกับที่ทางร้านหนังสือส่งให้
ช่างคัดนาไปคัดเพื่อเริม่ กระบวนการทาหนังสือนัน่ เอง ดังนัน้ ในแง่น้ีรา้ นหนังสือ
นอกจากจะเป็ นผูป้ ระสานงานกับพวกช่างในการทาหนังสือและขายหนังสือแล้ว
ร้านหนังสือก็ยงั เป็ นผูจ้ ดั หาวัตถุดบิ ทาหนังสือให้พวกช่างด้วย หรือกล่าวอีกแบบ
คือพวกนี้ก็คอื นายทุ นที่นากระดาษไปจ้างช่างต่างๆ แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่ามา
ขายเป็ นหนังสือในทีส่ ดุ
การปฏิวตั กิ ารพิมพ์ในยุโรปน่ าจะเริม่ อย่างเป็ นทางการเมื่อ Johannes
Gutenberg ช่างโลหะจากรัฐไมนซ์ (ในตอนนัน้ เป็ นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน
อันศักดิสิ์ ทธิ ์ แต่ปัจจุบนั เป็ นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมัน) ได้พมิ พ์ไบเบิลภาษา
ละตินออกมาในตอนกลางทศวรรษที่ 1450 และในปี 1476 William Caxton ช่าง
ชาวอังกฤษผู้ไปฝึ กวิชาการพิมพ์มาจากภาคพื้นทวีปยุโรปหลังการปฏิวตั ิการ
พิมพ์ของ Gutenberg ก็ได้นาความรูพ้ ร้อมแท่นพิมพ์กลับมาทีอ่ งั กฤษและตัง้ โรง
พิมพ์แห่งแรกของอังกฤษขึน้ ในลอนดอน และการพิมพ์ในลอนดอนก็ค่อ ยๆ
ขยายตัวมาเรื่อยๆ หลังจากนัน้
Caxton ตายไปในปี 1492 แต่สงิ่ ที่เขาได้บุกเบิกไว้ก็คอื การรวบ
บทบาทของช่างพิมพ์ (Printer) ไว้กบั พ่อค้าหนังสือ (Feature, 2006: 15-16)

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 27
ดังทีก่ ล่าวมาแล้วว่าพ่อค้าหนังสือนัน้ ดัง้ เดิมคือผูเ้ ริม่ กระบวนการผลิตหนังสือและ
ผูข้ ายหนังสือเมื่อเสร็จสิน้ อยู่แล้ว เมื่อแท่นพิมพ์เข้ามาในอังกฤษ พ่อค้าหนังสือ
จึงสามารถรวบบทบาททีเ่ คยเป็ นหน้าทีข่ องช่างคัดไว้กบั ตัวเองได้ พูดง่ายๆ คือ
ภายใต้เทคโนโลยีการพิมพ์ กระบวนการส่งกระดาษให้ช่างคัด ลอกหนังสือก็ไม่มี
ความจาเป็ นอีกต่ อไป เพราะกระบวนการนี้ พ่อ ค้าหนังสือ ผู้เป็ นเจ้าของร้า น
หนังสือจะจัดการเอง (แต่กระบวนการทาปก เข้าเล่มก็ยงั ต้องพึง่ พาช่างอื่นๆ)
ดังนัน้ หากจะพูดในภาษาร่วมสมัยแล้ว หลังมีแท่นพิมพ์ ร้านหนังสือก็
ได้มบี ทบาททัง้ สานักพิมพ์และโรงพิมพ์ไปด้วย ดังนัน้ จึงไม่แปลกทีห่ ลังจากการ
ปฏิวตั พิ มิ พ์ การพูดถึง Stationer จึงขยายความหมายถึง กลุ่มคนทีเ่ ป็ นเจ้าของ
ร้านหนังสือ เจ้าของสานักพิมพ์ และเจ้าของโรงพิมพ์ไปพร้อมๆ กัน เพราะคน
กลุ่มนี้คอื คนกลุ่มเดียวกันผูร้ วบอานาจเหนือการผลิตและขายหนังสือไว้ได้เกือบ
หมดหลังการปฏิวตั กิ ารพิมพ์
ไม่ว่าอย่างไรก็ดี การปฏิวตั กิ ารพิมพ์ในอังกฤษก็ไม่ใช่สงิ่ ทีจ่ ะเกิดขึน้ ชัว่
ข้ามคืน มันเป็ นกระบวนการที่ค่อยเป็ น ค่อยไป พวกร้านหนัง สือค่ อยๆ พ่ว ง
บทบาทช่างพิมพ์ไปอย่างต่อเนื่องหลัง Caxton บุกเบิกบทบาทใหม่ของพ่อค้า
หนังสือทีป่ ระสานโรงพิมพ์เข้ากับร้านหนังสือเป็ นทีเ่ ดียวกัน ซึง่ ทีน่ ่ าสังเกตเป็ น
พิ เ ศษก็ คื อ เหล่ า พ่ อ ค้ า หนั ง สือ อัง กฤษเหล่ า นี้ ก็ ไ ม่ ไ ด้ มี แ นวคิ ด “ต่ อ ต้ า น
เทคโนโลยี” การพิมพ์แม้แต่นิด และเหตุผลของการไม่ต่อต้านเทคโนโลยีน้ีกค็ อื
ด้วยโครงสร้างของธุรกิจหนังสือในลอนดอนตอนนัน้ การ “รับเทคโนโลยี” มันมี
ผลดีก ับ ผู้มีอ านาจในธุ ร กิจ หนั ง สือ มากกว่ า เสีย พ่ อ ค้า หนั ง สือ ได้ ป ระโยชน์
มากกว่าทีจ่ ะรับเอาแท่นพิมพ์มาใช้และรวบเอากระบวนการผลิตที่เดิมเป็ นของ
ช่างคัดเข้ามาจัดการเองอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า ซึง่ นี่เป็ นเรื่องของผลกาไร
ทีม่ ากกว่าด้วย1

1
นี่น่าจะเป็ นอีกตัวอย่างหนึ่งทีช่ ้ใี ห้เห็นว่า “กิลด์” ไม่ได้ม ี “ธรรมชาติ” ที่ต่อต้านนวัตกรรม
อย่างทีม่ กั จะเข้าใจกันมาตัง้ แต่ Adam Smith ทัง้ นี้งานศึกษายุคหลังๆ ก็ช้วี ่ากิลด์กไ็ ม่ได้ต่าง

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 28
2.2 วิถีแห่งการ "เซ็นเซอร์" สิ่งพิมพ์ของราชสานักอังกฤษ

“...ตัง้ แต่น้ไี ปไม่มผี ใู้ ดในอาณาจักรจะพิมพ์หนังสือภาษาอังกฤษออกมาได้ แต่หาก


หนังสือได้รบั การตรวจจากคณะองคมนตรีหรือผูใ้ ดก็ตามทีอ่ งค์กษัตริย์แต่งตัง้ แล้ว
เขาก็จงึ ได้รบั อนุญาตให้พมิ พ์...”
พระบรมราชโองการของ Henry VIII (1538)

ตลาดหนังสือในอังกฤษหลังปฏิวตั ิการพิมพ์นัน้ โตได้เนื่องจากตลาด


อังกฤษ (ซึง่ จริงๆ ก็คอื ตลาดลอนดอน) มีความต้องการหนังสือทีไ่ ม่มผี ลิตทีอ่ ่นื ๆ
ในตอนนัน้ แน่นอนว่าการปฏิวตั กิ ารพิมพ์กระจายในยุโรปก่อนประเทศชายขอบที่
มีลกั ษณะเป็ นเกาะอย่างอังกฤษ และยุคนัน้ คนทีพ่ อจะมีเงินซื้อสิง่ ฟุ่มเฟื อยอย่าง
หนังสือมาอ่านก็เป็ นพวกอภิชนที่รู้ภาษาละตินอันเป็ นภาษานานาชาติของชน
ชัน้ สูงยุโรปทัง้ นัน้ กล่าวคือพวกอภิชนและปั ญญาชนในอังกฤษก็อ่านงานทีพ่ มิ พ์
เป็ นภาษาละตินทีน่ าเข้ามาจากในภาคพืน้ ทวีปทีพ่ มิ พ์มาปริมาณมากๆ ได้
ธุรกิจการพิมพ์หนังสือในอังกฤษเกิดภายหลังธุรกิจการพิมพ์หนังสือใน
ภาคพืน้ ทวีป เหล่าพ่อค้าหนังสืออังกฤษไม่มที างจะผลิตหนังสือภาษาละตินมา
ขายในอัง กฤษเพื่อ จะแข่ ง ขัน หนั ง สือ ภาษาละติ น จากภาคพื้น ทวีป ที่มีข้ อ
ได้เปรียบในการผลิตหนังสือในจานวนมากได้ พูดง่ายๆ ก็คอื ถ้าพ่อค้าหนังสือใน
อังกฤษพิมพ์หนังสือภาษาละตินมาในอังกฤษก็ขายได้แค่ในอังกฤษเพราะตลาด
ในภาคพืน้ ทวีปถูกจับจองไปแล้ว ซึง่ นี่หมายถึงการพิมพ์มาขายในปริมาณไม่ก่ี
ร้อยเล่มหรือหลักสิบเล่ม ซึง่ ปริมาณการผลิตทีน่ ้อยก็ทาให้ราคาต่อหน่ วยต้องสูง
ในระดับที่การนาเข้าหนังสือภาษาละตินจากโรงพิมพ์ในภาคพื้นทวีปมาก็ย ัง
สามารถขายในตลาดได้ในราคาทีถ่ ูกกว่า

จากบรรษัทสมัยนี้ ทีจ่ ะรับเอาเทคโนโลยีทต่ี นได้ประโยชน์มาใช้ แต่จะปฏิเสธเทคโนโลยีทท่ี า


ให้ตนเสียประโยชน์ ดู (Epstein & Prak, 2008)

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 29
ตลาดหนังสือภาษาละตินไม่สามารถโตได้ในอังกฤษแน่ๆ ด้วยเหตุผลที่
กล่ าวมา อย่า งไรก็ดีสิ่งที่ทาให้ธุ ร กิจ การพิม พ์ในอัง กฤษโตได้ก็คือการพิม พ์
หนังสือภาษาอังกฤษมาขายในตลาดอังกฤษ ตลาดภาษาอังกฤษเป็ นตลาด
เฉพาะของอัง กฤษ และภาษาอัง กฤษก็เ ป็ น ภาษาถิ่น ที่พ วกช่ า งและพ่ อ ค้า
สามารถอ่านได้ และความสามารถในการอ่ านหนังสือของสามัญชนก็ดูจะเป็ น
ลักษณะพิเศษของอังกฤษถ้าเปรียบเทียบกับประเทศยุโรปอื่นๆ ในช่วงนัน้
ตอนกลางศตวรรษที่ 16 คนอังกฤษผู้ชายที่เป็ นผู้ใหญ่กล่าวประมาณ
ร้อยละ 60 อ่านออกเขียนได้บา้ งแล้ว ซึง่ นี่เป็ นอัตราทีส่ งู มากถ้าเทียบกับประเทศ
อื่นๆ ในยุโรป เพราะในฝรังเศสและกลุ
่ ่มประเทศภาษาเยอรมันในตอนกลาง
ศตวรรษที่ 18 อัตราการอ่านออกเขียนได้กย็ งั อยู่ราวๆร้อยละ 40 และร้อยละ 15
ตามลาดับเท่านัน้ 2 คาอธิบายหนึ่งถึงสาเหตุคนอังกฤษอ่านออกเขียนได้อย่าง
แพร่ ห ลายก็คือ การเติบ โตทางการค้า ของอัง กฤษท าให้เ หล่ า ช่ า งและพ่ อ ค้า
จาเป็ นต้องมีทกั ษะในการอ่านสัญญาต่างๆ เพื่อจะไม่ถูกโกง อย่างไรก็ดนี อกจาก
พวกช่างและพ่อค้าแล้ว พวกชาวนามีทด่ี นิ (yeoman) ของอังกฤษกว่าครึง่ ก็อ่าน
ออกเขียนได้กนั เป็ นปกติ ซึง่ นี่ต่างจากสภาวะในภาคพืน้ ทวีปทีโ่ ดยทัวไปชาวนา

จะอ่า นหนัง สือ ไม่ อ อก และการรู้ห นัง สือ ในสัง คมก็แ ทบจะจากัด อยู่ แ ค่ ในหมู่
อภิชนกับพระเท่านัน้
หนังสือขายดีในอังกฤษช่วงนัน้ นอกจากหนังสือรายปี ท่รี วมข่าวสาร
ของทัง้ ปี ไว้ทเ่ี รียกว่า Almanac ก็น่าจะได้แก่คมั ภีรไ์ บเบิลซึง่ กลายมาเป็ นหนังสือ
ขายดีอย่างเทน้ าเทท่าหลังกษัตริย์ Henry VIII ประกาศแยกตัวออกจากศาสน
จักร ด้วยเหตุผลว่าพระสันตะปาปาไม่ยอมรับการหย่าร้างของ Henry VIII ทัง้ นี้

2
อย่างไรก็ดตี วั เลขทีแ่ น่นอนของอัตราการรูห้ นังสือของคนอังกฤษก็ยงั เป็ นทีถ่ กเถียงของนัก
ประวัตศิ าสตร์ประชากร ทัง้ นี้ปริมาณประชากรทัง้ หมดของอังกฤษ (หมายความว่าไม่รวม
เวลล์และสก็อตแลนด์) ในช่วงกลางศตวรรษที่ 16 มีประมาณ 3 ล้านคน (ก่อนทีจ่ ะขึน้ อย่าง
ต่อเนื่องมาเป็ น 4 ล้านคนตอนสิน้ ศตวรรษ) ดู Feather, 2006: 11-12; Guy, 2000: 3; Botein,
Censer and Ritvo, 1981: 464-490 และ Boyle, 2008: 73

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 30
ปรากฏการณ์ทค่ี มั ภีรไ์ บเบิลเป็ นหนังสือขายดีนนั ้ ก็ไม่ได้จากัดอยู่แค่ในอังกฤษ
แต่เป็ นปรากฏการณ์ทวไปของรั ั่ ฐทีท่ าการปฏิรูปศาสนา เพราะรากฐานทีส่ าคัญ
ทีส่ ดุ ของการปฏิรปู ศาสนาก็คอื การอ่านคัมภีรโ์ ดยตรงแทนทีจ่ ะฟั งการถ่ายทอด
สิง่ ทีอ่ ยู่ในคัมภีรจ์ ากพระดังทีเ่ ป็ นมาตลอดยุคกลาง
การปฏิรปู ศาสนาไม่ใช่แค่การปฏิรปู ความเชือ่ เท่านัน้ แต่เป็ นการปฏิรูป
สังคมด้วยเพราะศาสนากับสังคมในช่วงสมัยใหม่ตอนต้นก็เป็ นเนื้อเดียวกันไม่ได้
ต่างจากยุคกลาง ในแง่น้คี วามเชื่อทางศาสนาทีต่ ่างไปจากความเชื่อทางการของ
รัฐก็จงึ จัดเป็ นภัยคุกคามต่อความมันคง ่ และสาหรับรัฐทีโ่ อบรับการปฏิรปู ศาสนา
อย่างแข็งขัน ความเชื่ออันตรายดังกล่าวก็คอื ความเชื่อ คาทอลิกตามแบบศาสน
จัก รนั น่ เอง ดัง นัน้ ในบริบ ทของการปฏิรูป ศาสนา การควบคุ ม เทคโนโลยีท่ี
สามารถจะแพร่กระจายความเชื่อไปได้อย่างรวดเร็วจึงเป็ นเรื่องสาคัญ3
Henry VIII นัน้ มักจะเป็ นทีจ่ ดจาในประวัตศิ าสตร์ในฐานะของกษัตริยท์ ่ี
เจ้าชูท้ ห่ี ย่าร้างนับครัง้ ไม่ถ้วน อย่างไรก็ดบี ทบาททีส่ าคัญของ Henry VIII ทีส่ บื
เนื่องมาจากการหย่าร้างครัง้ แรกและการประกาศแยกศาสนจักรอังกฤษออกจาก
ศาสนาจักรทีว่ าติกนั ในปี 1533 ก็คอื การรวบอานาจการปกครองมาทีก่ ษัตริย์
ตัง้ แต่ ยุคกลาง กษัตริย์โดยทัวไปก็
่ จะปกครองโดยใช้ความเห็นชอบ
ของสภาเป็ นหลัก เพราะโดยพืน้ ฐานสภาก็ไม่ใช่ใครอื่น แต่เป็ นพวกอัศวิน (ที่มี
ลูกหลานกลายมาเป็ นอภิชนในช่วงสมัยใหม่ตอนต้น) (Doyles, 2010: 22-26)
ซึง่ เป็ นกลุ่มคนที่มศี กั ยภาพในการก่อกบฏหรือกระทังท ่ ารัฐประหาร ดังนัน้ การ
ปกครองทีม่ เี สถียรภาพจึงต้องให้คนเหล่านี้มสี ว่ นร่วมในการปกครองด้วยเพื่อให้
คนเหล่านี้แบ่งปั นผลประโยชน์ของระบบการปกครองจะได้ไม่ลุกฮือขึน้ มาล้มล้าง
การปกครอง นี่เป็ นเหตุผลทีก่ ารออกกฎหมายใดๆ ของกษัตริยก์ ็มกั จะต้องผ่าน

3
น่าสนใจว่าปั ญหาของรัฐยุโรปในการตอบรับเทคโนโลยีการพิมพ์คอื ปั ญหาในการคุมให้
สิง่ พิมพ์เป็ นไปตามอุดมการณ์ของรัฐ ไม่ใช่ปัญหาว่าจะรับหรือไม่รบั เทคโนโลยีการพิมพ์ นี่
ต่างจากสุลต่าน Selim I แม่งอาณาจักรออตโตมันทีเ่ ป็ นกษัตรย์รว่ มสมัยกับ Henry VIII ที่
ออกกฎหมายว่าการพิมพ์หนังสือใดๆ ล้วนมีโทษประหาร ดูBurke and Briggs, 2005: 13

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 31
สภาก่ อ น (ซึ่ง จริง ๆ เรื่อ งคอขาดบาดตายที่สุ ด ก็คือ การขึ้น ภาษี ) และการ
พยายามปกครองโดยไม่ผ่านสภาก็เป็ นสิง่ ที่อนั ตรายมากเพราะในระยะยาวจะ
สร้างความเป็ นอริต่อบรรดาอภิชนในสังคมซึง่ อาจลุกลามใหญ่โตได้
Henry VIII เป็ นคนทีไ่ ม่ฟังสภา แต่ฟังองคมนตรีซ่งึ ก็คอื คณะอภิชน
และพระระดับสูงที่เป็ นที่ปรึกษาใกล้ชดิ ของกษัตริย์ และชอบใช้อานาจในการ
ออกกฎหมายและระเบียบสารพัดผ่านการออกพระราชโองการโดยตรง แทนที่
กระบวนการผ่านกฎหมายปกติทส่ี ภาจะต้องเสนอกฎหมายมาก่อนแล้วกษัตริย์
อนุ มตั ิจึงจะมาเป็ นกฎหมายได้ ในการออกกฎหมายที่ไม่ผ่านสภาเหล่านี้ก็มี
ตัง้ แต่การออกพระบรมราชโองการโพล่งมาเลยในปี 1538 ว่าหนังสือทุกเล่มทีจ่ ะ
ตีพมิ พ์ในราชอาณาจักรต้องผ่านตาหรือผ่าน “การเซ็นเซอร์” โดยองคมนตรีหรือ
คนที่กษัตริย์แต่งตัง้ ก่อน (Feather, 2006: 26) ไปจนถึงการเพิม่ อานาจ
องคมนตรีดว้ ยการเพิม่ บทบาทให้ศาลสตาร์แชมเบอร์ (Court of Star Chamber)
ซึง่ ก็ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากการเพิม่ อานาจให้อานาจองคมนตรีเพื่อเป็ นศาลสูงสุด
ในการพิจารณาคดีอย่างลับๆ ในห้องประชุมองคมนตรีท่เี ต็มไปด้วยลวดลาย
ดวงดาว ไปจนถึงการตัง้ ศาลกรรมาธิการสูง (Court of High Commission) อัน
เป็ นศาลศาสนาที่ตงั ้ มาเพื่อพิจารณาคดีความทางศาสนาโดยเฉพาะ ซึ่งในทาง
ปฏิบตั ิก็คือศาลที่เอาไว้ใช้จดั การความไม่เข้าร่อ งเข้ารอยทางศาสนาทัง้ หมด
นัน่ เอง นอกจากนี้ Henry VIII ก็ยงั ได้ตงั ้ คณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาหนังสือ
ทางศาสนาก่อนตีพมิ พ์โดยเฉพาะด้วย
สิง่ ที่ Henry VIII ทา ถ้าจะเรียกในภาษาปั จจุบนั ก็คอื การ “เซ็นเซอร์”
ซึง่ ความหมายก็คอื การ “ตัง้ กองเซ็นเซอร์” หรือตัง้ คณะบุคคลที่มอี านาจในการ
อนุมตั กิ ่อนการตีพมิ พ์ขน้ึ ซึง่ นี่เป็ นแนวทางจัดการหนังสือทีน่ อกลู่นอกทางทีต่ ่าง
จากในอดีตซึง่ คือการ “แบน” หรือการห้ามซือ้ ขายและเผยแพร่หนังสือหลังจากที่
หนังสือเหล่านัน้ มีการเผยแพร่ไปแล้ว
ในแง่น้เี ราจะเห็นได้ว่าในขณะที่ “การแบน” หนังสือทีแ่ พร่กระจายอยูใ่ น
สังคมเป็ นสิง่ ที่มมี านานแล้ว แต่ “การเซ็นเซอร์” ก่อนการพิมพ์กลับเป็ นผลผลิต

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 32
ของการขยายตัวเทคโนโลยีการพิมพ์โดยเฉพาะ เทคโนโลยีการพิมพ์ทาให้การ
เผยแพร่ความคิดแหกคอกได้อ ย่างรวดเร็วเกินกว่า ทีจ่ ะไปไล่ “แบน” เอาทีหลัง
ในมุมของผูม้ อี านาจปกครองก็จงึ เห็นว่าต้องมีการ “เซ็นเซอร์” ก่อนทีส่ งิ่ พิมพ์จะ
เผยแพร่ได้ ดังนัน้ ความหมายสาคัญของภาวะ “ปลอดเซ็นเซอร์” หรือภาวะที่มี
“เสรีภาพแท่นพิมพ์” ของอังกฤษทีเ่ กิดขึน้ หลัง Henry VIII ตายไปเป็ นร้อยปี กค็ อื
การทีจ่ ะพิมพ์สงิ่ ใดๆ ออกมานัน้ ก็ไม่ตอ้ งไปขออนุญาตกับผูใ้ ดก่อน ซึง่ เป็ นคนละ
เรื่องกับการที่สงิ่ พิมพ์เหล่านี้จะไม่ถูก “แบน” ในภายหลังเพราะมันไปละเมิด
กฎหมายข้ออื่นๆ
การตัง้ กองเซ็นเซอร์เป็ นกลไกสาคัญในการควบคุมสิง่ พิมพ์ในอังกฤษที่
Henry VIII ริเริม่ ขึน้ แต่มนั ก็ยุ่งเหยิงน่ าดู เพราะอย่างน้อยๆ แม้หนังสือในยุค
ของ Henry VIII จะไม่ได้มมี ากมายเช่นในยุคปั จจุบนั แต่การให้คณะองคมนตรีท่ี
ไล่อ่านทุกเล่มก่อนทีจ่ ะออกมาในราชอาณาจักรนี่กด็ ูจะเป็ นสิง่ ทีไ่ ม่สมเหตุสมผล
ในแง่ท่วี ่ามันเป็ นสิง่ ที่เกินความสามารถขององคมนตรี และปั ญหานี้กไ็ ม่ได้รบั
การแก้ไขจนสิน้ รัชกาล หรือกระทังรั ่ ชสมัยทีส่ นั ้ ๆ ของ Edward VI (ทีเ่ ป็ นลูก
ชายคนแรกของ Henry VIII แต่เป็ นลูกของเมียคนทีส่ าม) ปั ญหาว่าในทางปฏิบตั ิ
ใครคือผูเ้ หมาะสมจะเป็ นกองเซ็นเซอร์กย็ งั ค้างคาอยู่
ผูท้ ม่ี าวางระบบใหม่คอื ราชินีทค่ี รองราชย์ต่อจาก Edward VI ก็คอื
Mary I (ทีเ่ ป็ นลูกเมียคนแรกของ Henry VIII) ผูเ้ ป็ นคาทอลิกทีก่ ลับมาไล่ลา้ ง
การปฏิรปู อังกฤษเป็ นโปรเตสแตนต์ของ Henry VIII สิง่ ที่ Mary I ทาก็ไม่ได้ต่าง
จาก Henry VIII เพียงแต่กลับขัว้ กัน เพราะ Mary I ก็ได้ไล่การฆ่าล้างชาว
โปรเตสแตนต์ในอังกฤษ ราวกับจะเป็ นการล้างแค้นการที่ Henry VIII ฆ่าล้าง
ชาวคาทอลิกในอังกฤษช่วงการปฏิรปู ศาสนา4
Mary I ประสบปั ญหาในการปกครองไม่น้อยเพราะกลไกรัฐเดิมๆ นัน้ ก็
ยังภักดีกบั ระบอบโปรเตสแตนต์ของ Henry VIII นี่ทาให้ Mary I ไม่สามารถใช้

4
นี่ทาให้ Mary I ได้รบั ฉายา Bloody Mary ทัง้ ทีจ่ ริงๆ Mary I ก็ไม่ได้ถอื ว่าเหีย้ มโหดไปกว่า
มาตรฐานของเหล่ากษัตริยใ์ นศตวรรษที่ 16 ดู Guy, 2000: 60

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 33
งานเหล่าองคมนตรีและกลไกต่างๆ ที่ Henry VIII ได้ตงั ้ ขึน้ มาในตอนแรกเพื่อ
ปราบปรามและ “เซ็นเซอร์” สือ่ คาทอลิกโดยเฉพาะได้ อย่างน้อยๆ การถอนราก
ของระบอบโปรเตสแตนต์กไ็ ม่ใช่สงิ่ ทีจ่ ะทาได้ในเวลาอันสัน้ นี่ทาให้ Mary I หัน
ไปเปลีย่ นกลยุทธการควบคุมสิง่ พิมพ์โดยการตัง้ ตนเป็ นเป็ นองค์อุปถัมภ์รบั รอง
สถานะการผูกขาดการพิมพ์ทุกสิง่ ทุกอย่างในอังกฤษของกิลด์ของผูผ้ ลิตหนังสือ
ซึง่ ก็คอื สมาคมผูผ้ ลิตหนังสือแห่งลอนดอนแทน
การไปเป็ นองค์อุป ถัมภ์น้ีในทางปฏิบตั ิกค็ อื การออกกฎหมายรับรอง
สถานะทางกฎหมายของประธาน (master) ผู้ ดู แ ล (wardens) และบรรดา
สมาชิกของสมาคมผูผ้ ลิตหนังสือแห่งลอนดอน พร้อมห้ามผูผ้ ลิตหนังสือใดๆ ทัว่
ราชอาณาจักรทีไ่ ม่ได้เป็ นสมาชิกสมาคมผูผ้ ลิตหนังสือแห่งลอนดอนผลิตหนังสือ
ออกมาโดยเด็ดขาดพร้อมกาหนดโทษการละเมิดข้อกาหนดนี้ นอกจากนี้ Mary I
ยังให้อานาจกับประธานและบรรดาผูด้ ูแลของทางสมาคมให้ทาการตรวจค้นโรง
พิมพ์และร้านหนังสือเพื่อหาหนังสือเถื่อนทีไ่ ม่ได้เป็ นไปตามกฎหมายฉบับนี้อกี 5
นี่ทาให้สมาคมผูผ้ ลิตหนังสือแห่งลอนดอนมีความสัมพันธ์แบบต่างตอบ
แทนกันกับราชบัลลังก์เป็ นครัง้ แรก กล่าวคือตัง้ แต่น้ไี ปสมาคมผูผ้ ลิตหนังสือแห่ง
ลอนดอนก็จะมีความภักดีต่อราชบัลลังก์เพื่อเป็ นการตอบแทนสิทธิการผูกขาด
การพิมพ์หนังสือทีก่ ษัตริยม์ อบให้ พูดง่ายๆ คือความสัมพันธ์กบั ราชบัลลังก์น้ีได้
ทาให้พวกสมาคมผูผ้ ลิตหนังสือแห่งอังกฤษต้องทาตัวเป็ นกองเซ็นเซอร์ไปโดย
ปริยาย และนี่ทาให้ในทางทฤษฎี Mary I สามารถ “เซ็นเซอร์” สิง่ พิมพ์ใน
ราชอาณาจักรได้โดยไม่ต้องใช้กลไกรัฐแบบเดิมอย่างองคมนตรีและศาลศาสนา
อย่างไรก็ดคี วามภักดีน้ีกไ็ ม่ได้ขน้ึ กับนิกายทางศาสนาเพราะหลังจากที่ Mary I
ตายไปและ Elizabeth I ขึ้ น ครองราช ย์ และทาให้องั กฤษกลับมาเป็ น

5
ซึง่ สิง่ ทีต่ อ้ งเข้าใจเช่นกันก็คอื อังกฤษและประเทศในยุโรปในช่วงนัน้ ไม่มตี ารวจ ในฐานะของ
เจ้าพนักงานของรัฐที่มหี น้าที่บงั คับใช้กฎหมายโดยเฉพาะ ตารวจในบทบาทดังกล่าวน่ าจะ
เกิดขึน้ ครัง้ แรกในกรุงปารีสในปี 1667 ภายใต้การปกครองของ Louis XIV ซึ่งโดยทัวไปก็ ่ มี
หน้าทีต่ รวจตราและรักษาความสงบในเมือง

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 34
โปรเตสแตนต์ ระบบการเซ็นเซอร์ผ่านสมาคมผู้ผลิตหนังสือแห่งลอนดอนนี้ก็
ยังคงอยู่ และมันก็อยู่ยนื หยัดมาผ่านช่วง “การปฏิวตั อิ งั กฤษ” ได้ดว้ ยซ้า เพราะ
สุด ท้า ยสาหรับ เหล่า พ่ อ ค้า หนัง สือ จะมีก ษัต ริย์ห รือ ไม่ ก็ไม่ สาคัญ ขอให้ฝ่ าย
ปกครองให้สทิ ธิอานาจในการผูกขาดการค้าได้กเ็ ป็ นพอ

2.3 ระบบการควบคุมสิ่งพิมพ์อังกฤษก่อนมี” เสรีภาพสื่อ”

“...ตัง้ แต่ น้ ีไ ปไม่มหี นังสือ จุล สาร หรือ เอกสาร หรือส่ ว นใดๆ ของสิง่
เหล่านี้จะถูกตีพมิ พ์ เย็บเล่ม และนาออกมาขายได้โดยผูใ้ ดทัง้ นัน้ เว้นแต่จะได้รบั
อนุญาตและออกใบอนุญาตจากจากทางสภาหรือผูไ้ ด้รบั แต่งตัง้ จากสภา และนาไป
ขึ้นทะเบียนทีห่ นังสือทะเบียนของสมาคมผู้ผลิตหนังสือตามธรรมเนียมโบราณ...
และไม่มผี ใู้ ดต่อจากนี้ทจี ่ ะสามารถตีพมิ พ์หนังสือหรือส่วนหนึง่ ของหนังสือ... โดย
ไม่มใี บอนุญาตหรือการยินยอมจากกรรมการและผูช้ ่วยของทางสมาคม...”
An Ordinance for the Regulating of Printing (1643)

“เหนือกว่าเสรีภาพใด โปรดให้เสรีภาพทีข่ า้ จะรู้ ทีข่ า้ จะเอื้อนเอ่ย ทีข่ า้ จะ


โต้เถียงอย่างเสรีไปตามมโนสานึกแก่ทขี า้ เถิด”
John Milton, Areopagetica (1644)

อันทีจ่ ริงในตอนทีส่ มาคมผูผ้ ลิตหนังสือแห่งลอนดอนได้สทิ ธิในผูกขาด


การพิมพ์หนังสือจากราชสานัก ระบบการพิมพ์หนังสือของทางสมาคมก็มอี ย่าง
ชัดเจนอยู่แล้ว หากช่างพิมพ์ผู้ใดในสมาคมต้องการจะพิมพ์หนังสือเล่ มใด ช่าง
พิมพ์ก็ต้อ งไปขึ้น ทะเบียนในหนัง สือเล่ม โตที่วางอยู่ท่หี ้อ งโถงกลางของที่ตัง้
สมาคมทีเ่ รียกว่า Stationers’ Hall (ซึง่ เป็ นสถานทีย่ งั อยู่ในลอนดอนมาจนทุก
วันนี้) และก่อนจะขึน้ ทะเบียน ผูไ้ ปขึน้ ทะเบียนก็มหี น้าทีต่ ้องตรวจสอบว่ามีผนู้ า
หนังสือเล่มเดียวกันมาขึน้ ทะเบียนไปก่อนแล้วไปแล้วหรือยัง
การผลิตหนังสือออกมาขายของสมาชิกสมาคมนี้อยู่ภายใต้ “มารยาท
ทางการค้า” ทีแ่ ต่ละเจ้าจะพิมพ์หนังสือไม่ซ้ากัน อย่างไรก็ดใี นกรณีทม่ี กี ารพิมพ์

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 35
ซ้ากัน ทางพ่อค้าหนังสือในสมาคมทีเ่ ห็นว่าพ่อค้าคนอื่นพิมพ์หนังสือซ้ากับเขา
(ในทางปฏิบตั ิอ าจเป็ นหนังสือเนื้อหาคล้ายกันมากก็ได้) ก็จะต้องส่งเรื่องให้ผู้
อาวุโสของสมาคมสองคนพิจารณาเนื้อหาของหนังสือที่มปี ั ญหาทัง้ สองเล่มว่า
เหมือนกันจริงหรือไม่ก่อนทีจ่ ะส่งรายงานการสอบสวนให้ศาล ซึง่ ผูม้ คี วามผิดก็
จะโดนศาลสังปรั ่ บเล็กน้อย ไม่ใช่ค่าปรับทีจ่ ะทาธุรกิจล้มละลายแบบค่าปรับการ
ละเมิดลิขสิทธิสมั ์ ยนี้ ทีน่ ่าสนใจคือกระบวนการพิจารณาคดีในสมาคมถือว่าเป็ น
ความลับมาก ผูใ้ ดแพร่งพรายมีโทษถึงการยกเลิกสมาชิกภาพซึง่ นัน่ ก็หมายถึง
ถูกยกเลิกสิทธิในการพิมพ์และขายหนังสือกันเลยทีเดียว6
ระบบแบบนี้ดารงอยู่มาตลอดคู่กบั อานาจผูกขาดของทางสมาคม และ
อัน ที่จ ริง ระบบการ “ขึ้น ทะเบีย น” นี้ ก็ไ ด้ร ับ การสืบ ทอดมาในยุ ค ที่อ ัง กฤษมี
กฎหมายลิขสิทธิ ์ และทาให้ขนบการคุม้ ครองลิขสิทธิของอั ์ งกฤษแยกไม่ออกจาก
การขึน้ ทะเบียน กล่าวคือสาหรับระบบอังกฤษงานทีย่ งั ไม่ขน้ึ ทะเบียน (หรือบาง
คนก็อาจเรียก “จดลิขสิทธิ”์ ) ก็ยงั ถือว่า ไม่มีลขิ สิทธิ ์ ซึ่งระบบการขึ้นทะเบียน
เพื่อให้เริม่ มีการคุม้ ครองลิขสิทธินี์ ้กเ็ พิง่ มายกเลิกเอาตอนต้นศตวรรษที่ 20 นี่เอง
ระบบนี้ถูกใช้มาตลอดการปกครองของ Elizabeth I และสืบเนื่องมาใน
สมัยของ James I และ Charles I แห่งราชวงศ์สจ๊วตทีม่ าครองบัลลังก์องั กฤษ
แทนราชวงศ์ทวิ ดอร์ทส่ี น้ิ สุดไปเพราะ Elizabeth I ไม่มที ายาท อย่างไรก็ดี
อานาจของสมาคมผูผ้ ลิตหนังสือแห่งลอนดอนเซไปพัก หนึ่งในช่วง “การปฏิวตั ิ
อังกฤษ” ที่ความขัด แย้งทางศาสนาได้นาไปสู่สงครามกลางเมือง และความ
วุ่นวายสารพัด จนสุดท้ายก็ได้ทาให้สภาอังกฤษตัดสินบันคอกษั ่ ตริยใ์ นที่สุดและ
กลายเป็ นสาธารณรัฐช่วงสัน้ ๆ ในตอนกลางศตวรรษที่ 16
ในช่วงสงครามกลางเมืองอังกฤษ สภาที่งดั ข้อกับกษัตริย์ Charles I
อย่างสุดฤทธิก็์ ได้ใช้อานาจในการยกเลิกกลไกทางตุลาการสารพัดทีข่ น้ึ ตรงกับ
กษั ต ริ ย์ โ ดยตรง ทัง้ ศาลสตาร์ แ ชมเบอร์ ท่ีข้ึน ตรงกับ องคมนตรี และศาล
กรรมาธิการสูงทีข่ น้ึ ตรงกับศาสนาจักรอังกฤษล้วนถูกยกเลิกไปหมด อย่างไรก็ดี
6
Adrian Johns, ibid, pp. 25-26

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 36
สภาในตอนนัน้ ก็ได้ออก An Ordinance for the Regulating of Printing (นัก
ประวัตศิ าสตร์ลขิ สิทธินิ์ ยมเรียกว่า Licensing Order of 1643) มา ทีส่ ร้างระบบ
เซ็นเซอร์ทไ่ี ม่ได้ต่างไปจากระบบเซ็นเซอร์ของราชสานักก่อนหน้านี้
อานาจในการผูกขาดการพิมพ์สงิ่ พิมพ์ส่วนใหญ่ยงั อยู่ท่สี มาคมผู้ผลิต
หนังสือแห่งลอนดอนอยู่เพราะหนังสือทุกเล่มก็ต้องได้รบั การอนุ มตั จิ ากสมาชิก
ระดับ สูง ของสมาคมก่อ นตีพิม พ์ อย่ างไรก็ดีนอกเหนื อจากนัน้ อานาจในการ
อนุญาตพิมพ์สงิ่ พิมพ์บางประเภทต่างๆ (เช่น หนังสือฟิ สกิ ส์ หนังสือคณิตศาสตร์
หนัง สือกฎหมาย สิ่งพิม พ์เ กี่ย วกับ ข่า ว จุลสาร เป็ น ต้น) ที่สภาก าหนดก็ถู ก
กระจายไปทีน่ ายทะเบียน (licensor) ของสิง่ พิมพ์แต่ละประเภททีร่ ะบุไว้ชดั เจน
ในคาสังสภา่ กล่าวคือนับแต่น้เี ป็ นต้นไป ชะตากรรมว่าจะได้พมิ พ์หรือไม่ได้พมิ พ์
สิง่ พิมพ์จานวนมาก ก็จะไปอยู่ท่นี ายทะเบียนเหล่านี้ ซึ่งในแง่หนึ่งระบบนาย
ทะเบียนก็เป็ นกองเซ็นเซอร์แบบกระจายอานาจนัน่ เอง ซึ่งนี่กไ็ ม่ใช่เรื่องเล็กๆ
เพราะนี่หมายความว่าไม่ใช่หนังสือเท่านัน้ แต่สงิ่ พิมพ์อ่นื ๆ อย่าง “หนังสือพิมพ์”
ก็ต้องผ่ านการเซ็น เซอร์ของนายทะเบีย นด้า นสิ่ง พิม พ์เ กี่ยวกับข่า วก่ อ นการ
ตีพมิ พ์ ภาวะของการ “ไร้เสรีภาพสื่อ” นี้ทาให้กวีอย่าง John Milton ได้เขียน
Areopagitica มาวิจ ารณ์ และต่ อ มามัน ก็ไ ด้ ก ลายมาเป็ น ข้อ เขีย นสนั บ สนุ น
“เสรีภาพการแสดงออก” ทีโ่ ด่งดังทีส่ ดุ ในโลกชิน้ หนึ่ง แม้ว่าในยุคนัน้ ข้อเขียนอัน
ทรงพลังนี้มนั จะไม่สง่ ผลในทางการเมืองใดๆ ก็ตาม
หลัง จากสาธารณรัฐ ล่ ม ไปไปนานหลัง การตายของขุ น ศึก ผู้พิท ัก ษ์
สาธารณรัฐอย่าง Oliver Cromwell อังกฤษก็ได้อญ ั เชิญ Charles II มา
ครองราชย์ต่อ แน่ นอนความวุ่นวายของการปฏิวตั กิ ย็ งั หลอกหลอน Charles II
ทีก่ ค็ งไม่อยากลงเอยอย่าง Charles I ผูเ้ ป็ นบิดาแน่ ๆ ดังนัน้ Charles II ก็จงึ มี
มาตรการการคุมสื่ออย่างเข้มงวดและเป็ นวาระเร่งด่วนหลังครองราชย์ไม่นาน
ซึง่ ผลก็คอื มีการออก Licensing Act of 1662 ทีโ่ ดยเนื้อหาก็มนั ไม่ได้แตกต่างไป
จาก Licensing Order of 1643 ของสภาทีส่ งประหารพระบิ
ั่ ดามากนัก เพียงแต่
มันมีการเปลีย่ นนายทะเบียนใหม่ทงั ้ แผงและมีการเพิม่ หมวดหมู่หนังสือทีจ่ ะต้อง

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 37
ถูก “เซ็นเซอร์” ก่อนพิมพ์เช่นหนังสือประวัติศาสตร์แม้ว่าหนังสือทุกเล่มจะยัง
ต้องไปขึน้ ทะเบียนทีห่ อ้ งโถงของสมาคมอยู่ อย่างไรก็ดตี อนนี้อานาจการผูกขาด
การพิมพ์ไม่ ได้อยู่ท่สี มาคมผู้ ผ ลิต หนังสือแห่ง ลอนดอนอีก แล้วในทางปฏิบ ัติ
ความวุ่น วายที่สืบ เนื่ อ งมาจากสงครามกลางเมือ งท าให้มีช่ า งพิม พ์หน้ า ใหม่
ลักลอบเปิ ดโรงพิมพ์มากมาย ตอนนี้แม้ว่าใน Licensing Act of 1662 จะกาหนด
ว่าจะมีเจ้าของโรงพิมพ์ (master printer) ได้เพียง 20 คน (นอกเหนือไปจากโรง
พิมพ์ของราชสานักและของมหาวิทยาลัย 2 แห่ง) ซึ่งก็เป็ นปริมาณโรงพิมพ์ท่ี
ถูกต้องตามกฎหมายในช่วงก่อนปฏิวตั อิ งั กฤษ แต่พอนายทะเบียนทีไ่ ด้รบั การ
แต่งตัง้ มาใหม่เรียกบรรดาเจ้าของโรงพิมพ์ท ัง้ หมดมารายงานตัวในปี 1663 ก็
ปรากฏว่ามีคนถึง 59 คนมารายงานตัว (Feather : 38, 46) ซึง่ ก็แน่นอนว่าจะไม่
มีใครจะยอมเลิกกิจการไปง่ายๆ ซึง่ หลังจากนัน้ เป็ นสิบปี จานวนโรงพิมพ์แม้จะ
ลดมาตามความพยายามของนายทะเบียนแต่จานวนโรงพิมพ์ทย่ี งั ประกอบการ
อยู่กย็ งั มากกว่าทีก่ ฎหมายกาหนดเป็ นเท่าตัว
แนวทางของการใช้นายทะเบียน “เซ็นเซอร์” หนังสือถูกใช้มาตลอดรัช
สมัยของ Charles II มันถูกใช้มาสืบเนื่องในรัชสมัย James II ทีเ่ ป็ นน้องชาย
ของ Charles II ผู้ครองราชย์ต่อมา อย่างไรก็ดคี วามฝั ก ใฝ่ ในคาทอลิกของ
Charles II สุดท้ายก็ทาให้ขวั ้ การเมืองในสภาทีเ่ คยต่อต้านและสนับสนุ นเขา
กลับมาผนึกกาลังกันภายใต้อตั ลักษณ์โปรเตสแตนต์และผลักเขาออกจากบัลลังก์
ในเหตุการณ์ทางประวัตศิ าสตร์องั กฤษทีเ่ รียกว่า “การปฏิวตั อิ นั รุ่นโรจน์ ” (The
Glorious Revolution) และคนทีม่ าครองราชย์แทนก็ไม่ใช่ใครอื่นนอกจากลูกของ
Charles II เองอย่าง Mary II และสามีของเธออย่าง William III ซึง่ ล้วนเป็ น
โปรเตสแตนต์
สภาอังกฤษดูจะเหม็นเบื่อการใช้อานาจเกินไปของกษัตริยท์ เ่ี กิดมาครัง้
แล้วครัง้ เล่าเป็ นร้อยปี ในทัง้ สองราชวงศ์ จึงได้ผลักดัน บัญญัตวิ ่าด้วยสิทธิ (Bill
of Rights) ทีเ่ ป็ นการจากัดอานาจของกษัตริยใ์ นแง่ต่างๆ ทีเ่ คยก่อปั ญหาทาง
การเมืองในอังกฤษขึน้ และกษัตริยแ์ ละราชินีใหม่อย่าง Mary II และ William III

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 38
ก็ดจู ะยอมรับเป็ นอย่างดี หลังจากนี้ไป กษัตริยจ์ ะมาแทรกแซงการเลือกสมาชิก
สภาไม่ได้อกี หลังจากนี้ไปกษัตริยจ์ ะออกกฎหมายและตัง้ ศาลตามใจชอบโดยไม่
ผ่านสภาไม่ได้อกี หลังจากนี้ไปกษัตริยบ์ ญ ั ญัตภิ าษีเองโดยไม่ผ่านสภาไม่ได้อกี
การทีอ่ านาจกลับมาทีส่ ภานี้พลิกโฉมการเมืองอังกฤษจนทุกวันนี้ และผลพวงที่
ไม่มใี ครคาดถึงก็คอื การสิน้ สุดของการ “เซ็นเซอร์”

2.4 จุดจบระบบเซ็นเซอร์

“….ใส่ใจคนซื้อหนังสือบ้างอย่ าใส่ ใจแต่ พวกพ่อค้าหนังสือ …มัน ทัง้ ไร้


สาระและน่ าขันมากทีใ่ ครก็ตามจะอ้างว่าตนเป็ นเจ้าของหรืออ้างว่าตนมีอานาจ
เหนือการตีพมิ พ์หนังสือทีผ่ แู้ ต่งมีชวี ติ อยู่ก่อนทีช่ าวยุโรปจะรูจ้ กั การตีพมิ พ์”
John Locke เขียนจดหมายถึง
สมาชิกสภา Edward Clarke (1693)

“...เพราะกฎหมายนี้ยนื ยัน...การผูกขาดหนังสือของนักเขียนคลาสสิก...
พร้อมกับหนังสือทีด่ ที สี ่ ุดและหนังสือทัวไปส่
่ วนใหญ่โดยสมาคมผู้ ผลิตหนังสือแห่ง
ลอนดอน... นักวิชาการในราชอาณาจักรจึงถูกบังคับให้ช้อื หนังสือพวกนี้ในราคาบ้า
คลังที
่ ท่ างสมาคมเรียกร้องไปพร้อมๆ กับต้องพึงพอใจในข้อผิดพลาดในการพิมพ์
ทัง้ หมด...

...เพราะกฎหมายนี้ห้ามไม่ให้มกี ารพิมพ์ก่อนทีจ่ ะได้รบั อนุ ญาต แต่ไม่ได้ระบุว่า


นายทะเบียนต้องมีหรือชี้แจงหลักการใดๆ ในการอนุ ญาตหรือไม่อนุ ญาต นีอ่ าจ
นาไปสู่การกดขีอ่ ย่างล้นหลาม และมันก็ได้เกิดขึน้ มาแล้ว”
เหตุผลบางส่วนของสภา
ในการไม่ต่ออายุ Licensing Act (1695)

อัง กฤษน่ า จะเป็ นชาติ ต ะวัน ตกแรกในช่ ว งสมัย ใหม่ ต อนต้ น ที่ มี
“เสรีภาพสื่อ” (free press) เป็ นของตนเองอย่างถาวรมาตัง้ แต่ปลายศตวรรษที่
17 เสรีภาพทีว่ ่านี้คอื เสรีภาพสือ่ จะไม่ถูก “เซ็นเซอร์” ในความหมายทีว่ ่าสือ่ จะไม่

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 39
ถูกระงับยับยัง้ โดยผูใ้ ดก่อนทีม่ นั จะได้รบั การเผยแพร่ออกมา ส่วนหลังเผยแพร่
มาถ้าจะถูก “แบน” เนื่องจากมันเป็ นสิง่ ที่ผิดกฎหมาย (ไม่ว่าจะเป็ นการหมิ่น
ประมาทหรือปลุกปั น่ ทางการเมือง) ก็เป็ นอีกเรื่องหนึ่ง การถูกแบนทีว่ ่านี้กไ็ ม่ได้
นับว่าเป็ นการบ่อนทาลาย “เสรีภาพสื่อ” เพราะการพูดถึงเสรีภาพสื่อในบริบท
ของศตวรรษที่ 17-18 นัน้ มีความหมายถึงการไม่ตอ้ งผ่านกองเซ็นเซอร์ก่อนทีจ่ ะ
ตีพมิ พ์อะไรออกมา ซึ่งในกรอบแบบนี้การต่อสูเ้ พื่อเสรีภาพสื่อจึงหมายถึงการ
ต่อสูเ้ พื่อล้มและถอนรากระบบเซ็นเซอร์ทงั ้ ระบบ ไม่ใช่สเู้ พื่อให้ระบบเซ็นเซอร์
ยอมใช้อานาจในการไม่แบนอะไรก็ตาม พูดง่ายๆ คือมันคือการต่อสูเ้ พื่อล้มการ
เซ็นเซอร์ไม่ใช่การต่อสูเ้ พื่อให้ได้รบั อนุ ญาต แต่เป็ นการต่อสูเ้ พื่อให้ไม่ ต้องขอ
อนุ ญาตอีก ทีไ่ ม่ใช่การต่อสูเ้ พื่อให้กองเซ็นเซอร์มคี วามปราณี แต่เป็ นการต่อสู้
เพื่อให้ยุบกองเซ็นเซอร์สถานเดียว
อย่ า งไรก็ดีใ นกรณี ข องอัง กฤษจะบอกว่ า มีข บวนการล้ม เซ็น เซอร์
เพื่อให้เกิดเสรีภาพสื่อก็คงจะไม่ถูกนัก เพราะก็ไม่ได้มกี ารจัดตัง้ ขบวนการอะไร
ขนาดนัน้ แต่มนั เป็ นผลจากการขึน้ มามีอานาจเหนือกษัตริย์เต็มที่ของฝั ง่ สภา
มากกว่า และนี่เป็ นผลโดยตรงของเหตุการณ์ทเ่ี รียกว่า “การปฏิวตั ิอนั รุ่งโรจน์ ”
(Glorious Revolution) ในปี 1988
ในช่วงปฏิวตั ิ ขัว้ การเมืองอังกฤษที่มีบทบาทสาคัญในการปฏิวตั ิคือ
พวก Whig และ Tory ซึง่ หากจะให้อธิบายง่ายๆ ด้วยภาษาในยุคปั จจุบนั พวก
แรกนัน้ ก็คอื พวกเสรีนิยมที่สนับสนุ นระบอบกษัตริย์ภายใต้รฐั ธรรมนู ญ ส่วน
พวกหลังเป็ นพวกอนุ รกั ษ์นิยมทีส่ นับสนุ นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พวกนี้
เป็ นขัว้ การเมืองในสภามาตัง้ แต่ ก่อนการปฏิวตั ิอนั รุ่งโรจน์ แล้ว และหลังการ
ปฏิวตั พิ วกนี้กก็ ลายมาเป็ นพรรค Whig และพรรค Tory อันเป็ นแกนกลางของ
การเมืองระบบสองพรรคของอังกฤษจนถึงการเกิดขึน้ ของขัว้ ใหม่ในศตวรรษที่
19
พวก Whig เป็ นแกนหลักสาคัญของปฏิวตั ิอนั รุ่งโรจน์จนทาให้เกิด
สถาบันกษัตริยภ์ ายใต้รฐั ธรรมนูญสาเร็จ อย่างไรก็ดนี ่ีกไ็ ม่ได้ต่างจากการปฏิวตั ิ

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 40
จานวนมากที่ระบบใหม่จะตัง้ ขึน้ มาพรวดเดียวได้ หลังปฏิวตั ิอนั รุ่นโรจน์ ระบบ
เก่าๆ ของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ยงั คงอยู่หลังการปฏิวตั ิ และระบบหนึ่งก็คือ
ระบบ Licensing Act
ดังทีไ่ ด้กล่าวมาในบทก่อนแล้ว Licensing Act คือกฎหมายเพื่อรองรับ
สถานะของนายทะเบียนสิง่ พิมพ์ต่างๆที่จะมีอานาจในการอนุ ญาตในการพิมพ์
อะไรก็ไ ด้ใ นราชอาณาจัก ร ระบบนี้ ถู ก ตัง้ ขึ้น มาช่ ว งการปฏิว ัติอ ัง กฤษ และ
ภายหลังอังกฤษเลิกการปกครองแบบสาธารณรัฐแล้วกลับมามีกษัตริยก์ ย็ งั ถูกใช้
ต่อมา อย่างไรมันก็เป็ นระบบทีต่ ้องการการ “ต่ออายุ” เรื่อยๆ ซึง่ การต่ออายุแต่
ละครัง้ มัน ก็ต้อ งมีก ารออกเป็ น กฎหมายโดยสภาซึ่ง ก็อ าจมีก ารปรับ เปลี่ย น
รายละเอียด ไปจนถึงแต่งตัง้ นายทะเบียนใหม่ มันไม่ใช่กฎหมายที่จะมีความ
คงทนถาวร หากสภาเลิกต่ออายุเมื่อไรระบบ “เซ็นเซอร์” ก็จะจบไปเมื่อนัน้
และสุดท้ายในปี 1695 ทางสภาก็พจิ ารณาไม่ต่ออายุ Licensing Act
ในที่สุด และสื่ออังกฤษก็มี “เสรีภ าพของแท่น พิมพ์ ” ตัง้ แต่ ว ัน นัน้ จนถึงวัน นี้
อย่างไรก็ดเี ราต้องมาดูทม่ี าทีไ่ ปมันหน่อยว่าทาไมสภาถึงตัดสินใจเช่นนัน้
ก่อนการปฏิวตั อิ นั รุ่งโรจน์ได้มกี ารต่ออายุ Licensing Act ในปี 1685
เป็ นเวลา 7 ปี ซง่ึ ส่งผลให้มนั ไปหมดอายุตอนสิ้นปี 1692 ซึง่ เป็ นช่วงหลังปฏิวตั ิ
แล้ว และสภาในช่วงปี 1693 ก็มีพนั ธกิจที่จะพิจารณาว่าจะต่ออายุมนั อีกรอบ
หรือไม่ ในปี นนั ้ มีจดหมายไปถึงสมาชิกสภาฝั ง่ Whig อย่าง Edward Clarke
จากนักคิดทางฝั ง่ Whig ผูย้ งิ่ ใหญ่อย่าง John Locke ใจความสาคัญของ
จดหมายคือ Locke ต้องการให้ให้ระงับการต่ออายุเสียและทาให้ Licensing Act
จบสิน้ ไปอย่างถาวร
สาหรับผูส้ นใจประวัตคิ วามคิดทางการเมืองก็คงจะพอทราบว่า “บิดา
แห่งเสรีนิยม” ผูน้ ้ีได้รบั การตีพมิ พ์หนังสือ Two Treatise on Government
ออกมาครัง้ แรกในปี 1689 อย่างนิรนาม ซึง่ ก็อาจเป็ นเพราะความเผ็ดร้อนของ
การวิจ ารณ์ ค วามชอบธรรมของอ านาจกษัต ริย์ใ นหนัง สือ เล่ ม นี้ ว่ า กษัต ริย์มี
ความชอบธรรมเพราะการปกครองของพระองค์เ ป็ น ไปเพื่อ รัก ษาชีวิต และ

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 41
ทรัพย์สนิ ของประชาชน ไม่ใช่มีความชอบธรรมเพราะกษัตริย์สบื เชื้อสายมา
จากอดัม ในพระคัม ภี ร์ด ัง ที่มีผู้ ก ล่ า วอ้ า ง ซึ่ง นี่ ก็ม าจากฐานคิด แบบสัญ ญา
ประชาคมว่าชีวติ ของคนจะดีขน้ึ เมื่ออยู่ภายใต้รฐั ถ้าชีวติ ไม่ดขี น้ึ คนก็ไม่มเี หตุผล
ทีจ่ ะยอมอยู่ภายใต้รฐั
และนี่นามาสู่แนวคิดเรื่อง “ทรัพย์สนิ ” ของ Locke ที่ยงั คลาสสิกอยู่
จนถึงทุกวันนี้ ในเชิงทรัพย์สนิ Locke มองว่าเป็ นสิง่ ทีเ่ กิดจากการมีปฏิสมั พันธ์
กับธรรมชาติของมนุษย์ มันต้องเป็ นสิง่ ทีม่ นุษย์สร้างขึน้ ด้วยน้ าพักน้ าแรงในการ
ปฏิสมั พันธ์กบั ธรรมชาติ ในกรอบแบบนี้ทรัพย์สนิ ทีเ่ กิดจากการอุปโลกน์ขน้ึ มา
ลอยๆ ด้วยอานาจรัฐอย่าง “อภิสทิ ธิ”์ ต่างๆ รวมไปถึงอภิสทิ ธิทางการค้ ์ าดังเช่น
สิทธิในการผูกขาดการพิมพ์ต่างๆ อันผูกพันกับ Licensing Act นัน้ จึงไม่อาจ
นับเป็ นทรัพย์สนิ ได้อยู่แล้วในกรอบคิดอย่าง Locke
สาหรับ Locke นัน้ Licensing Act ไม่ใช่อะไรนอกจากหลักประกันว่า
พวกพ่อค้าหนังสือจากลอนดอนจะสามารถผูกขาดการผลิตหนังสือได้ทงั ้ อังกฤษ
โดยเฉพาะเหล่า “งานคลาสสิก” ที่คนเขียนได้ล้มตายไปนานแล้ว ซึ่งในสายตา
ของ Locke พวกพ่อค้าหนังสือทีม่ สี ทิ ธิผูกขาดการผลิตหนังสือพวกนี้ นอกจาก
จะผลิตหนังสือมามีคุณภาพห่วยแตกมากแล้ว พวกพ่อค้าหนังสือเหล่านี้ยงั นา
หนังสือที่พมิ พ์มาคุณภาพต่ าแบบนี้มาขายโก่งราคาอีกด้วย ดังนัน้ สิทธิผูกขาด
เหล่านี้จงึ ควรยกเลิกไปเพื่อให้เกิดการแข่งขัน ซึง่ Locke ก็เน้นอีกว่าระบบการ
เซ็นเซอร์โดยมีนายทะเบียนสิง่ พิมพ์เป็ นสิง่ ทีเ่ กินความจาเป็ น เพราะเอาเข้าจริง
แล้วถ้าสิง่ พิมพ์ใดๆ มีลกั ษณะปลุกปั น่ ทางการเมือง มันก็มคี วามผิดบนฐานของ
กฎหมายจารีตประเพณี (Common Law) อยู่แล้ว ไม่มคี วามจาเป็ นจะต้องไปวาง
กลไกทางเพื่อเพิม่ ความผิดให้มนั ซ้าซ้อนอีก (Deazley, 2004: 2-3)
นี่คอื หลักใหญ่ใจความของจดหมายของ Locke ถึง Edward Clarke ใน
ปี 1693 ซึง่ ผลก็คอื อีก 2 ปี ให้หลังทางสภาสามัญชน (House of Common) ที่
ตอนนี้เหล่าผูแ้ ทนฝั ง่ Whig เป็ นใหญ่กแ็ ถลงปฏิเสธการต่ออายุของ Licensing

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 42
Act โดยมีเนื้อหาแทบจะเหมือนกับจดหมายจาก Locke ถึง Clarke และเสรีภาพ
สือ่ ของอังกฤษก็เกิดขึน้ ง่ายๆ เช่นนี้เอง
ตัง้ แต่ปี 1695 อังกฤษได้มเี สรีภาพสื่อไปพร้อมๆ กับสภาที่มีอานาจ
เหนือกษัตริย์ และไม่นานระบบ 2 พรรคการเมืองก็เริม่ เติบโตขึน้ อย่างรวดเร็ว
และในปี 1700 ขัว้ พรรคการเมืองอังกฤษก็แยกเป็ น Whig และ Tory ชัดเจนแล้ว
สื่อ ที่มีเ สรีภ าพเป็ น ตัว กระตุ้ น ให้ เ กิด การแยกขัว้ การเมือ งอัง กฤษ
โดยตรง ทัง้ Whig และ Tory ก็มหี นังสือพิมพ์ของขัว้ การเมืองตัวเองขัว้ ละสอง
สามฉบับ และเอาจริงๆ ในอังกฤษช่วงนัน้ การแบ่งขัว้ การเมืองก็มไี ปถึงระดับ
ร้านกาแฟ โรงแรม ไปจนถึงสถานพยาบาลด้วยซ้า ซึง่ ขัว้ ทีว่ ่านี่กไ็ ม่ได้หมายถึง
การออกมาไล่ฆ่าฟั นกันบนถนน แต่ หมายถึงการที่แต่ ละขัว้ การเมืองจะเลือก
สนับสนุนองค์กรทางธุรกิจของฝั ง่ ตนมากกว่า
ทีน่ ่ าสนใจคืออังกฤษหลังเกิด “เสรีภาพสื่อ” ก็ไม่มใี ครมองว่า “สื่อต้อง
เป็ นกลาง” หนังสือพิมพ์เลือกข้างเลือกขัว้ ดูจะเป็ นเรื่องปกติมากกว่าจะเป็ นเรื่อง
ผิดแปลกพิสดารอะไร และสิง่ ทีค่ นอังกฤษกลัวจริงๆ ดูจะไม่ใช่ “สือ่ เลือกข้าง” แต่
เป็ น “กองเซ็นเซอร์เลือกข้าง” มากกว่า เพราะอันทีจ่ ริงปั ญหาใหญ่ของการมีนาย
ทะเบียนสิง่ พิมพ์หรือกองเซ็นเซอร์กค็ อื หากหน่วยงานเหล่านี้มขี วั ้ การเมืองขัว้ ใด
ขัว้ หนึ่งเป็ นใหญ่ขน้ึ มา หน่ วยงานเหล่านี้กจ็ ะมีแนวโน้มทีจ่ ะมีบทบาทในการปิ ด
กัน้ ข้อมูลของอีกขัว้ การเมืองไปโดยอัตโนมัติ7
ดังนัน้ เนื่องไม่มผี ใู้ ดจะเป็ นกลางอย่างแท้จริงได้ในการกาหนดว่าสื่อใด
ควรจะได้รบั การเผยแพร่หรือไม่ควร ระบบสื่อทีด่ ที ่สี ุดในระบบการเมืองแบบ 2
พรรคก็คอื การปล่อยเสรีไม่มกี ารกลันกรองใดๆ ่ จะมีปัญหาอะไรก็ไปดาเนินการที
หลังตามกฎหมายทีม่ อี ยู่แล้ว
นี่ดูจะสะท้อนวิธีคดิ ของชาวอังกฤษว่าไม่มี “คนดี” ที่ไหนจะอยู่เหนือ
หรือเลยพ้นการเมืองไปได้ ไม่มีใครจะควรมีสทิ ธิอานาจในการควบคุมข้อมูล

7
นี่คอื ความเห็นของนักเขียนทีเ่ คยติดคุกด้วยข้อหาทางการเมืองอย่าง Daniel Dafoe
เกีย่ วกับเสรีภาพสือ่ ดู (Deazley, 2004: 26)

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 43
ข่าวสารว่าอะไรควรจะได้เข้ามาในระบบ อะไรไม่ควร และความเป็ นกลางของสื่อ
ก็ไม่ได้จะเกิดจากคนกลางหน้าไหนมาคัดกรองแต่ขอ้ มูลทีเ่ ป็ นกลางให้ประชาชน
แต่จะเกิดจากสมดุลของสือ่ เอียงข้างทีม่ ปี ริมาณไม่มากน้อยไปกว่ากันมากกว่า

2.5 ปริศนาเจตนารมณ์ของ
"กฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับแรกของโลก"

“ในขณะทีเ่ หล่ า ช่ า งพิม พ์ พ่ อ ค้า หนั ง สือ และบุ ค คลอืน่ ๆ มัก จะใช้
เสรีภาพในการพิมพ์ ในการพิมพ์ซ้ า ในการเผยแพร่หนังสือและงานเขียนแบบอืน่ ๆ
การใช้เสรีภาพนี้ลว้ นไม่ได้รบั การยินยอมจากผูเ้ ขียนหรือเจ้าของหนังสือและงาน
เขียนแบบอืน่ ๆ เหล่านัน้ ซึง่ ทาให้ครอบครัวของพวกเขาต้องเสียหาย เพือ่ เป็ นการ
ป้ อ งกัน ไม่ให้การกระทาดังนี้เกิดขึ้น อีกในอนาคต และเพือ่ ทีจ่ ะสนับสนุ นให้ผู้ม ี
ความรูไ้ ด้เขียนหนังสือทีม่ ปี ระโยชน์ออกมา...”

ส่วนแรกสุดของ Statute of Anne


กฎหมายลิขสิทธิฉบั
์ บแรกของโลก

วัน ที่ 10 เมษายน 1710 เป็ นวัน ที่ ก ฎหมายที่นั ก ประวัติ ศ าสตร์
กฎหมายนิยมเรียกกันว่า Statue of Anne 8 เริม่ บังคับใช้ในอังกฤษ จนถึงทุก
วันนี้คนก็แทบไม่รเู้ นื้อหาของมันแล้ว แต่เหล่าผูน้ ิยมลิขสิทธิและนั
์ กวิชาการด้าน
ลิขสิทธิก็์ จะอ้างซ้าๆ เสมอว่ากฎหมายฉบับนี้คอื “กฎหมายลิขสิทธิฉบั ์ บแรกของ
9
โลก” ซึง่ แน่นอนว่าการอ้างแบบนี้กเ็ กีย่ วพันกับการพูดถึง “เจตนารมณ์ลขิ สิทธิ”์

8
อ่านตัวบทได้ท่ี http://www.copyrighthistory.com/anne.html
9
ซึง่ จริงๆ นี่กไ็ ม่ถอื ว่าเทีย่ งตรงนักเพราะไม่มคี าว่า Copyright ปรากฏแม้แค่คาเดียวใน
Statute of Anne คาว่า “Copy-Right” ดูจะมีบนั ทึกว่าปรากฎครัง้ แรกในร่างกฎหมายเพือ่ แก้
Statute of Anne ในปี 1735 ดู Deazley, 2004: 95, 101

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 44
ทีส่ ง่ ผลมาจนถึงปั จจุบนั แน่นอนว่าทาไมสิง่ ทีเ่ รียกว่า “ลิขสิทธิ”์ ถึงอุบตั มิ ายังโลก
นี้เป็ นครัง้ แรก ปั ญหาคืออะไรคือเจตนารมณ์จริงๆ ของกฎหมายฉบับนี้?
นักวิชาการจานวนไม่น้อยอ้างว่ากฎหมายฉบับนี้เกิดจากแรงกดดันจาก
พวกสมาคมผู้ผลิตหนังสือแห่งลอนดอนที่สูญเสียสิทธิในการผูกขาดการพิมพ์
หนังสือภายใต้ “เสรีภาพสื่อ” หลังการจบสิน้ ของ Licensing Act ไปในปี 1695
ซึง่ “เสรีภาพสือ่ ” หมายถึงการพิมพ์นนั ้ เกิดได้ทวราชอาณาจั
ั่ กรโดยไม่ต้องไปขอ
อนุญาตใครทัง้ นัน้ ไม่ว่าจะนายทะเบียน ทางสมาคมผูผ้ ลิตหนังสือแห่งลอนดอน
ไม่เว้นแม้กระทังผู ่ เ้ ขียนหนังสือเล่มนัน้
ข้อเท็จจริงคือพวกกลุ่มพ่อค้าหนังสือโวยวายมาตัง้ แต่ Licensing Act
จบลงแล้วว่าพวกเขาต้องการ Licensing Act ฉบับใหม่ทจ่ี ะยืนยันสิทธิในการ
ผูกขาดการพิมพ์ของสมาคมอยู่ แต่ความพยายามนัน้ ล้มเหลวมาตลอด 10 ปี
หลังจาก Licensing Act หมดอายุลง และอันทีจ่ ริงในรอบ 10 ปี ตงั ้ แต่ปี 1795-
1704 ก็มีการพยายามจะผ่ านกฎหมายที่มีลกั ษณะควบคุ มสิง่ พิมพ์มาถึง 13
ฉบับ แต่มฉี บับเดียวทีผ่ ่านคือกฎหมายเกีย่ วกับสิง่ พิมพ์หมิน่ ศาสนา (Deazley,
2004: 28-29) ดังนัน้ เสรีภาพสื่อของอังกฤษในภาพรวมช่วง 10 ปี แรกนัน้ จึง
มันคงมากๆ
่ ทัง้ ในทางการเมืองและเศรษฐกิจ
สมาคมผูผ้ ลิตหนังสือแห่งลอนดอนไม่สามารถจะทาให้สภาคล้อยตาม
ได้ว่าสิทธิเหนือการพิมพ์ไม่ว่าจะในรูปแบบใดเป็ นสิง่ ทีด่ ี อย่างไรก็ดคี นที่พลิก
เกมการต่อสูเ้ พื่อสิทธิในการผูกขาดของทางสมาคมผูผ้ ลิตหนังสือแห่งลอนดอน
คือนักเขียนขายดีอย่าง Daniel Dafoe ทีต่ พี มิ พ์เรียงความ An Essay on the
Regulation of the Press ออกมาในปี 170410 ในเรียงความนี้ Dafoe ดูจะ
เรียกร้องสิทธิของผูเ้ ขียนในฐานะของ “เจ้าของ” งานเขียนผูไ้ ม่ควรถูกละเมิดสิทธิ
อย่างแข็งขัน11 และสิง่ ที่ Dafoe ยืนยันก็คอื แม้ว่าอังกฤษควรจะมีเสรีภาพสื่อ แต่

10
อ่านออนไลน์ได้ท่ี http://www.luminarium.org/renascence-editions/defoe2.html
11
ซึง่ ทีน่ ่าสนใจคือความคิดเรื่อง “เจ้าของ” ของเขาดูจะวางอยู่บนฐานคิด ว่าผูเ้ ขียนเป็ น “พ่อ”
ของงานเขียน และงานเขียนก็เป็ นดัง่ “ลูก” ดังนัน้ ในแง่หนึ่งแนวคิดเรื่องทรัพย์สนิ วรรณกรรม

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 45
ก็ควรจะมีกฎหมายคุม้ ครองไม่ให้ผเู้ ขียนถูกพวกพ่อค้าหนังสือละเมิดตีพมิ พ์งาน
โดยไม่ได้รบั อนุญาตด้วย ซึง่ เขามองว่าเป็ นช่องโหว่ของกฎหมายหลัง Licensing
Act หมดอายุ เพราะการตีพมิ พ์อะไรก็ได้ภายใต้ “เสรีภาพของแท่นพิมพ์” มัน
รวมถึงการตีพมิ พ์งานโดยไม่ได้รบั อนุญาตจากผูเ้ ขียนด้วย12
การเรี ย กร้ อ งของ Defoe ถูกบางฝ่ ายตีความหมายเป็ นการที่
“นัก เขีย น” ลุ ก ขึ้น มาสู้เ พื่อ สิท ธิเ หนื อ “ลิข สิท ธิ”์ งานตัว เองก่ อ นจะมีลิข สิท ธิ ์
อย่างไรก็ดใี นกรอบความคิดของยุคนัน้ สิง่ ที่ Defoe ทาก็ดูจะเป็ นเรื่องทีพ่ สิ ดาร
พอควร เพราะแนวคิดว่างานเขียนเป็ นเลือดเนื้อและจิตวิญญาณของนักเขียนก็

ของ Defoe จึงเป็ นแบบ “พ่อปกครองลูก” ตามลาดับอานาจของสังคมอังกฤษในสมัยนัน้ ทีล่ ูก


และเมียก็ถอื เป็ นทรัพย์สนิ แบบหนึ่งของพ่อ ดู Rose, 1993: 34-41
12
คงไม่ใช่เรื่องบังเอิญอีกเช่นกันทีค่ นอย่าง Defoe ใช้คาว่า Piracy ในความหมายทีไ่ ม่ได้
เกี่ยวกับ “โจรสลัด” ในแบบดัง้ เดิม แต่หมายถึงการตีพมิ พ์หนังสือโดยไม่ได้รบั อนุ ญาต นัก
ประวัตศิ าสตร์ “ไพเรซี่” อย่าง Adrian Johns เองก็ช้วี ่าคาๆ นี้ยงั มีความหมายเกีย่ วกับโจร
สลัดเป็ นหลักอยู่ในปี 1600 แต่พอมาปี 1700 คาๆ นี้กเ็ ริม่ ถูกใช้ในความหมายของการตีพมิ พ์
หนังสือโดยไม่ได้รบั อนุ ญาตอย่างแพร่หลาย และหลังจากนัน้ คานี้กแ็ พร่กระจายไปทัวสั ่ งคม
อังกฤษโดยหมายถึงอะไรที่มลี กั ษณะ “เถื่อ น” หรือ “ลอกเลียนแบบโดยไม่ได้รบั อนุ ญาต”
เพราะสุดท้ายพวกหมอ (ทีใ่ นยุคนัน้ ก็น่าจะถือว่าเป็ นช่างจาพวกหนึ่ง) ก็ยงั เรียกหมอคนอื่นที่
ลอกเลียนวิธรี กั ษาของเขาว่า “ไพเรต” เลยในช่วงทศวรรษ 1730 อย่างไรก็ดสี งิ่ ทีต่ ้องเข้าใจไป
พร้อมกับก็คอื “โจรสลัด” ดูจะเป็ นส่วนหนึ่งของ “ป็ อปคัลเจอร์” ของชาวอังกฤษในช่วงปลาย
ศตวรรษที่ 17 และต้ น ศตวรรษที่ 18 เพราะยุ ค นั น้ ก็ค ือ ยุ ค ทองของโจรสลัด ในทะเล
แคริบเบียนที่มโี จรสลัดดังๆ ที่คนอังกฤษรู้จกั มากมาย ส่ว นจะชื่น ชมหรือ เดีย ดฉันท์ก็ดูจะ
ต่างกันไปในแต่ละบุคคล อันทีจ่ ริงตัว Defoe เองก็เป็ นผูเ้ ชีย่ วชาญด้านโจรสลัดพอควรเพราะ
Defoe ก็น่าจะเป็ นตัวจริงของนักเขียนลึกลับนามว่า Captain Charles Johnson ผูเ้ ขียน
หนังสือเกีย่ วกับโจรสลัด A General History of the Pyrates ในปี 1924 (นี่เป็ นสิง่ ที่นัก
ประวัตศิ าสตร์วรรณกรรมรุ่นหลังเชือ่ กันบนฐานของการวิเคราะห์สานวนของนักเขียนลึกลับผู้
นี้เทียบกับ Defoe แล้วพบว่ามีความคล้ายคลึงกัน) หรืออย่างน้อยๆ เรือ่ งราวเกีย่ วกับโจรสลัด
ก็มอี ยู่ในนวนิยายเรื่องดังของ Defoe อย่าง Robinson Crusoe ในปี 1719 ดู Johns, 2009:
23-24

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 46
ยังไม่เกิดขึน้ ในยุโรปต้นศตวรรษที่ 18 นอกจากนี้ปัญหาของการทีง่ านโดนพิมพ์
ซ้าแบบไม่ได้รบั อนุญาตหรือโดน “ไพเรต” ก็ไม่ใช่ปัญหาปกติของนักเขียนยุคนัน้
ทีไ่ ม่มใี ครเป็ นนักเขียนอาชีพ สุดท้ายการขายต้นฉบับขาดให้สานักพิมพ์กเ็ ป็ น
เรื่องปกติ ดังนัน้ นักเขียนทัวๆ ่ ไปก็จงึ ไม่ใช่ผู้ จะยินดียินร้ายกับการที่งานของ
ตัวเองถูกตีพมิ พ์ไปโดยไม่ได้รบั อนุญาตอยู่แล้ว
สิง่ ทีต่ อ้ งเข้าใจคือการออกมาโวยวายของ Defoe ดูจะเป็ นกรณียกเว้น
มากๆ ซึง่ ข้อยกเว้นนี้กเ็ ข้าใจได้เพราะ Defoe เป็ นนักเขียนระดับเบสต์เซลเลอร์
อันดับหนึ่งด้วยซ้าของอังกฤษต้นศตวรรษที่ 18 ดังที่บทกวีเสียดสีการเมืองในปี
1701 ของ Defoe อย่าง “The True-Born Englishman” ตีพมิ พ์แบบทีไ่ ด้รบั
อนุญาตไป 9 ครัง้ และถูกพิมพ์แบบ “ไพเรต” ไป 10 กว่าครัง้ รวมเป็ นยอดพิมพ์
รวมกว่า 80,000 ฉบับภายใน 4 ปี (Altick, 1957: 71) ซึง่ นี่กค็ งจะไม่ใช่ตวั เลข
ธรรมดาแน่ ๆ ในยุคทีป่ กติหนังสือเล่มหนึ่งๆ พิมพ์กนั ไม่ถึง 1,000 เล่มด้วยซ้า
โดยเฉลีย่
Defoe ดูจะเป็ นเสียงที่ไม่ได้เป็ น “ตัวแทน” ของนักเขียนในยุคนัน้ ได้
แน่ๆ แต่กต็ งั ้ แต่ตอนนัน้ แล้วทีบ่ รรดาพ่อค้าศิลปวัฒนธรรมก็ไม่ได้สนใจคาถามว่า
เสียงของตัวผูผ้ ลิตศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้จะเป็ นตัวแทนได้ดหี รือไม่ไปมากกว่า
คาถามว่าเสียงเหล่านี้สามารถรับใช้วาระทางการเมืองของเหล่าพ่อค้าได้หรือไม่
ซึง่ ผลคือหลังจาก An Essay on the Regulation of the Press ทางสมาคมผูผ้ ลิต
หนังสือแห่งอังกฤษก็ได้ปรับเปลีย่ นกลยุทธ์การกดดันสภาที่เปลีย่ นกฎหมายจาก
เดิมเพื่อสิทธิในการผูกขาดของทางสมาคม มาเป็ นให้ออกกฎหมายเพื่อรับรอง
กรรมสิทธิเหนื ์ องานเขียนของนักเขียน ซึง่ ในทางปฏิบตั แิ ล้วกรรมสิทธินี์ ้กจ็ ะถูก
นักเขียนขายขาดและโอนมาเป็ นของพ่อค้าหนังสืออยู่ดี ดังนัน้ สิง่ ที่ Defoe เสนอ
นัน้ ก็ไม่ได้ทาให้ชวี ติ นักเขียนหน้าไหนดีขน้ึ และการโวยวายเรื่องการ “ละเมิด
ลิขสิทธิ”์ ของผูผ้ ลิตงานก็ถูกใช้เป็ นเครื่องมือในการกดดันรัฐของ “อุตสาหกรรม
ลิขสิทธิ”์ มาตัง้ แต่โลกยังไม่มกี ฎหมายลิขสิทธิและไม่์ รจู้ กั คาว่า “ลิขสิทธิ”์ แล้ว

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 47
การกดดันครัง้ ใหม่ทเ่ี ป็ นไปอย่างต่อเนื่องดูจะส่งผลต่อสภาในทีส่ ุดเมื่อ
มีการร่างกฎหมายมาในปี 1709 และผ่านกฎหมายมาในที่สุดในปี 1710 ซึ่ง
กฎหมายนี้กร็ จู้ กั กันในนาม Statute of Anne ดังทีไ่ ด้ว่ามา
ปั ญหาคือสภาอังกฤษในยุคนัน้ คล้อยตาม “แรงกดดันจากอุตสาหกรรม
ลิขสิทธิ”์ ง่ายๆ ดังนี้เลยหรือ? หากวิเคราะห์ตวั บทของ Statute of Anne เองไป
จนถึงการวิเคราะห์การใช้กฎหมายนี้ในช่วงกว่าครึง่ ศตวรรษให้หลัง คาตอบดูจะ
เป็ นไม่ใช่
เบื้องต้น สภาไม่ได้ทาตามคาเรียกร้องของสมาคมผู้ผ ลิตหนังสือแห่ง
ลอนดอนทีเ่ รียกร้องให้สภาออกกฎหมายยืนยันว่ามันมีสงิ่ ที่เรียกว่า “ทรัพย์สนิ
ทางวรรณกรรม” อยู่ และไม่ได้มคี วามต่างจากทรัพย์สนิ อื่นๆ ทีส่ ามารถซือ้ ขาย
และถือครองได้ตลอดไปชัวกาลนาน ่ เพราะสิง่ ทีส่ ภาทาใน Statute of Anne คือ
การไม่ยอมใช้คาว่า Property แม้แต่คาเดียวในกฎหมาย พร้อมการระบุชดั เจน
ว่าการคุม้ ครองลิขสิทธิหรื์ อ สิทธิในการพิมพ์ซ้า (ซึง่ ในตอนนัน้ หมายถึงการพิมพ์
ซ้าทุกตัวอัก ษรจริงๆ) ภายใต้ก ฎหมายฉบับนี้มีวนั หมดอายุโดยวันหมดอายุ
สาหรับหนังสือทีไ่ ด้ตพี มิ พ์มาแล้วนัน้ นับไป 21 ปี หลังจากกฎหมายบังคับใช้ และ
สาหรับหนังสือทีพ่ มิ พ์ออกมาหลังกฎหมายบังคับใช้แล้วก็นบั ไปอีก 14 ปี ซึง่ การ
กาหนดวันหมดอายุของลิขสิทธินี์ ้เป็ นไปตาม Statute of Monopolies จากปี
1624 (Rose, 1993: 44-45) อันเป็ นกฎหมายสิทธิบตั รอังกฤษทีท่ างสภาออกมา
เพื่อจากัดการออกสิทธิบตั รพร่ าเพรื่อโดยกษัตริยไ์ ปจนถึ งการต่ออายุสทิ ธิบตั ร
ไปเรื่อยๆ ในแง่น้ีสภาก็ไม่ได้เห็นว่าสิทธิในการผูกขาดการผลิตหนังสือควรจะ
ได้รบั อภิสทิ ธิทางการค้
์ าไปยาวนานกว่าสิทธิในการผูกขาดการผลิตศิลปะเชิง
กลไก (mechanical art) หรือนวัตกรรมอื่นๆ
พูดง่ายๆ คือสภาไม่เห็นว่าสิทธิในการผูกขาดการผลิตหนังสือที่ พมิ พ์
ใหม่เล่มหนึ่งๆ ไม่ควรจะมีอายุยดื ยาวไปกว่าสิทธิในการผูกขาดยาชนิดใหม่ไป
จนถึง เครื่อ งจัก รกลชนิ ด ใหม่ สภาเห็น ว่ าระยะเวลา 14 ปี ก็มากเกินพอแล้ว
สาหรับการผูกขาดการตีพมิ พ์หนังสือสักเล่ม ซึง่ นี่ไม่ใช่สงิ่ ทีส่ มาคมผูผ้ ลิตหนังสือ

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 48
แห่งลอนดอนต้องการแน่ นอนเพราะหนังสือ ที่ขายดีทส่ี ุดและขายได้เรื่อยๆ คือ
พวกหนังสือคลาสสิกของนักเขียนรุ่นก่อนๆ ทีต่ ายไปหลายสิบปี หรือกระทังเป็ ่ น
ร้อ ยๆ ปี แ ล้ว และทางสมาชิก สมาคมก็ถือ สิท ธิใ์ นการผู ก ขาดพิม พ์ห นั ง สือ
คลาสสิกมายาวนานก่อน Licensing Act จะจบสิน้ ลง
ทาไมสภาถึงทาเช่นนี้? อันทีจ่ ริงแล้วหากไปดูสว่ นอื่นๆ ของ “กฎหมาย
ลิขสิทธิฉบั ์ บแรกของโลก” นี้เจตนารมณ์ของกฎหมายก็ดูจะชัดเจนขึ้น เพราะ
เกือ บครึ่ง หนึ่ ง ของกฎหมายฉบับ นี้ คือ บทบัญ ญัติท่ีพู ด ถึง การร้ อ งเรีย นกับ
เจ้าหน้าทีร่ ฐั ในกรณีทพ่ี วกพ่อค้าหนังสือขายหนังสือแพงเกินไป ซึง่ บทบัญญัตกิ ็
ให้อานาจเจ้าหน้ า ที่รฐั ในการปรับเปลี่ยนราคาใหม่ตามที่เหมาะสมพร้อมกับ
กาหนดค่าปรับสูงลิบกับพ่อค้าหนังสือที่ยงั ยืนยันจะขายหนังสือราคาแพงอยู่อกี
หลังรัฐประกาศปรับราคาหนังสือลง นอกจากนี้ก็ยงั มีบทบัญญัติท่เี รียกร้องให้
พวกพ่อค้าหนังสือส่งหนังสือทีต่ พี มิ พ์ดว้ ยกระดาษทีด่ ที ส่ี ุดถึง 9 เล่มไปให้ เหล่า
ห้องสมุดทีร่ ฐั กาหนดอีก และนี่กม็ าพร้อมกับค่าปรับสูงลิบสาหรับพ่อค้าหนังสือที่
ไม่ยอมส่งหนังสือให้รฐั เช่นกัน บทบัญญัตเิ หล่านี้ดูจะเป็ นไปเพื่อการส่งเสริมการ
เรีย นรู้ใ นสัง คมอังกฤษตอนนัน้ มากกว่า จะเป็ นกฎหมายเอาใจอุ ตสาหกรรม
ลิขสิทธิดั์ งกฎหมายลิขสิทธิทุ์ กวันนี้ซง่ึ ให้อานาจแก่เจ้าของลิขสิทธิล้์ นฟ้ า อย่าง
น้อยๆ บทบัญญัตทิ ว่ี ่าของ Statute of Anne ก็ดูจะมุ่งสร้างสมดุลให้กบั สิทธิใน
การผูกขาดการพิมพ์ในระดับสูงจนผูส้ นับสนุ นการดารงอยู่ของกฎหมายลิขสิทธิ ์
ทุกวันนี้ดว้ ยเหตุผลว่ามัน “สร้างสมดุล” ในระบบการผลิตศิลปวัฒนธรรมควรจะ
ละอาย เพราะทุกวันนี้ “สมดุล” ในระดับนี้กไ็ ม่มเี หลือแล้วไม่ว่าจะในกฎหมาย
ลิขสิทธิของชาติ
์ ไหน
หากนี่ยงั เป็ นเหตุผลไม่พอ กฎหมายทีอ่ อกมาควบคุมภาษีกระดาษและ
หนังสือในปี 1711 ทีเ่ รียกว่า Stamp Act ยังมีขอ้ กาหนดเกีย่ วกับการส่งเสริม
ความรู้ใ นการให้อานาจรัฐในการลดหย่ อ นภาษีห นัง สือ บางประเภทอีก ด้ว ย
(Deazley, 2008: 43-44) ดังนัน้ บรรยากาศของสภาในช่วงนัน้ จึงดูจะเป็ นไปใน
เชิงออกกฎหมาย “ส่งเสริมการเรียนรู้” จริงๆ ไม่ใช่เป็ นการเอา “การส่งเสริม

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 49
ศิลปวัฒนธรรม” มาเป็ นข้ออ้างเพื่อทาให้ลขิ สิทธิมี์ ขอบเขตการคุม้ ครองมากขึน้
แบบทีอ่ ุตสาหกรรมลิขสิทธิทุ์ กวันนี้ชอบอ้าง และหากเจตนารมณ์ของสภาจะยัง
ไม่ชดั เจนอีก ชื่อเต็มของ Statute of Anne นัน้ คือ “An Act for the
Encouragement of Learning, by Vesting the Copies of Printed Books in
the Authors or Purchasers of such Copies, during the Times therein
mentioned” ก็ค งจะไม่ ใ ช่ เ หตุ บ ัง เอิญ ที่ช่ือ ของกฎหมายนี้ เ ริ่ม ด้ว ยถ้อ ยค าว่ า
“พระราชบัญญัตเิ พื่อส่งเสริมการเรียนรู.้ ..”13
ดังนัน้ กล่าวโดยสรุปแล้ว กฎหมายลิขสิทธิฉบั ์ บแรกของโลกมันไม่ได้
เป็ นไปเพื่อผลประโยชน์ของเหล่าพ่อค้าหนังสือหรือกระทังผู ่ เ้ ขียน แต่มนั เป็ นไป
เพื่อ ให้ส าธารณชนคนอัง กฤษได้มีโ อกาสเรีย นรู้เ พิ่ม ขึ้น มัน ไม่ ไ ด้เ ป็ น อะไร
นอกจากนโยบายทางเศรษฐกิจทีอ่ อกมาในรูปกฎหมายให้สทิ ธิในการผูกขาดใน
ระยะเวลาจากัดเพื่อกระตุน้ ให้มกี ารตีพมิ พ์หนังสือมากขึน้

2.6 ความไร้ประโยชน์ของลิขสิทธิ์
ในสายตาพ่อค้าหนังสืออังกฤษ

ในสายตาของนักประวัตศิ าสตร์วรรณกรรมเยอรมัน การทีว่ รรณกรรม


เยอรมันสูว้ รรณกรรมอังกฤษไม่ได้เท่าทีค่ วรในศตวรรษที่ 18 เป็ นผลมาจากการ
ทีเ่ ยอรมันไม่มกี ฎหมายลิขสิทธิ ์ หรืออย่างน้อยๆ การไม่มกี ฎหมายลิขสิทธิก็์ ดูจะ
เป็ นปั จจัยให้เหล่านักเขียนในเยอรมันมีชวี ติ ที่ยากลาบากกว่านักเขียนอังกฤษ
เพราะมีรายได้น้อยกว่า (Bruford, 1935: 272-279; Woodmansee, 1994: 36,
79) คาอธิบายครอบจักรวาลแบบ “ไม่มกี ฎหมายลิขสิทธิ ์ ชีวติ ไม่ด”ี แบบนี้ยงั
ดาเนินอยู่ถึงทุกวันนี้แม้ว่านักประวัติศาสตร์วรรณกรรมและนักประวัติศาสตร์
13
สิง่ ทีน่ ่าสนใจอีกประการทีม่ กั จะเป็ นได้รบั การกล่าวถึงก็คอื กฎหมายฉบับนี้เป็ นกฎหมายที่
ไม่ได้ใส่ใจจะคุม้ ครองนักเขียนโดยตรงเลย เพราะอย่างน้อยทีส่ ุดกฎหมายฉบับนี้กไ็ ม่มกี ารระบุ
ใดๆ ว่างานเขียนทีย่ งั ไม่ได้รบั การตีพมิ พ์จะได้รบั การคุม้ ครองแต่อย่างใด

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 50
กฎหมายของอัง กฤษจะชี้ใ ห้ เ ห็น แล้ ว ว่ า กฎหมายลิข สิ ท ธิข์ องอัง กฤษเป็ น
กฎหมายที่เ จ้า ของลิข สิท ธิแ์ ทบจะไม่ ใ ช้ด าเนิ น คดีจ ริง จัง เลยมาเป็ น ร้อ ยปี
(Suarez, 2010; Deazley, 2004)
นี่ดูจะเป็ นสิง่ ที่เข้าใจไม่ได้หากเข้าใจว่ากฎหมายลิขสิทธิของอั์ งกฤษ
เป็ นกฎหมายที่สมาคมผู้ผลิตหนังสือแห่งลอนดอนผลักดันมาอย่างยากลาบาก
อย่างไรก็ดี ก็ดงั ที่ผู้เขียนได้ช้ใี ห้เห็นแล้วว่าหากพิจารณาอย่างละเอียดจริงๆ
กฎหมายลิขสิทธิของอั์ งกฤษดูจะเป็ นกฎหมายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของทาง
สภาอันเกิดจากการทีส่ ภาเอาข้อเรียกร้องของสมาคมฯ มาปรับปรุงเปลีย่ นแปลง
จนสมาคมฯ จาไม่ได้ และผลผลิตก็คอื กฎหมายลิขสิทธิท์ ่ที างสมาคมไม่นิยม
ชมชอบเลยแม้แต่นิด
แม้ว่าจะมีขอ้ กาหนดเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของลิขสิทธินั์ น้ กาหนดให้
หนังสือทุกเล่มทีจ่ ะได้รบั การคุม้ ครองลิขสิทธิต้์ องไปขึน้ ทะเบียนกับทางสมาคม
พ่อค้าหนังสือแห่งลอนดอนโดยไปเขียนรายนามหนังสือที่ต้องการคุ้มครองใน
หนังสือทะเบียนเล่มใหญ่พร้อมจ่ายค่าธรรมเนียมไม่เกิน 6 เพนนี (มูลค่ามันพอๆ
กับการรับประทานอาหารมือ้ เย็นนอกบ้านดีๆ หน่ อยสักมือ้ ของเสมียนยุคนัน้ 14
ถ้า จะเทีย บเป็ น หน่ ว ยเงิน ไทยในปั จ จุ บ ัน คร่ า วๆ โดยปรับ ค่ า ครองชีพ แล้ว
ค่าธรรมเนียมในการขึน้ ทะเบียนลิขสิทธิก็์ ไม่น่าจะเกิน 300-400 บาท ซึง่ นี่เป็ น
เงินเล็กน้ อยมากในสารบบต้นทุนการผลิตหนังสือ) ซึ่งดูเผินๆ ก็เหมือนจะให้
อานาจกับทางสมาคม ทว่าในความเป็ นจริงคือสมาคมไม่มสี ทิ ธิปฏิเสธการขึน้
ทะเบียน และการขัดขวางการขึ้นทะเบียนก็มโี ทษเช่นกัน ทัง้ นี้หลังจากไปขึ้น

14
ดู ราคาสินค้าและบริการสมัยนัน้ ได้ท่ี
http://footguards.tripod.com/08HISTORY/08_costofliving.htm หรือ
http://www.oldbaileyonline.org/static/Coinage.jsp ทัง้ นี้หน่วยเงินอังกฤษนัน้ 12 เพนนี
เท่ากับ 1 ชิลลิง่ ส่วน 20 ชิลลิง่ เท่ากับ 1 ปอนด์ วิธเี ขียน ประมาณเงิน 1 ปอนด์ 2 ชิลลิง่ 3
เพนนี คือ £1.2s.3d.

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 51
ทะเบียนหนังสือทีส่ มาคมแล้ว หนังสือทีต่ อ้ งการการคุม้ ครองทางลิขสิทธิก็์ ตอ้ งส่ง
หนังสือทีต่ พี มิ พ์ดว้ ยกระดาษทีด่ ที ส่ี ดุ ไปให้หอ้ งสมุดทีท่ างการกาหนด 9 แห่ง
ข้อกาหนดนี้อาจดูเล็กน้ อยในมาตรฐานทุกวันนี้ แต่ในศตวรรษที่ 18
หนังสือก็ไม่ได้ราคาถูกๆ เหมือนทุกวันนี้ และการตีพมิ พ์หนังสือโดยทัวๆ ่ ไปก็
พิม พ์ก ัน ไม่ ถึง 1,000 เล่ ม ด้ว ยซ้ า การบัง คับ ส่ ง หนั ง สือ คุ ณ ภาพดีสุ ด ไปให้
ทางการจึงอาจเทียบเท่าการเก็บภาษีเป็ นหนังสือทีเ่ ป็ นปริมาณราวๆ 1-2% ของ
ยอดพิมพ์ทเี ดียว การทีย่ อดหนังสือทีส่ ง่ ให้หอ้ งสมุดคงที่ ก็หมายความว่าหนังสือ
ยิง่ พิมพ์น้อยก็ยงิ่ เสียภาษีเป็ นอัตราส่วนทีม่ าก และนี่กเ็ ป็ นเรื่องใหญ่ของหนังสือ
ทีน่ อกจากจะพิมพ์มาน้อย ก็ยงั ต้องลุน้ ว่าพิมพ์มาแล้วจะขายหมดหรือไม่
ในทางกลับกันถ้าไม่ต้องการการคุม้ ครองลิขสิทธิ ์ ทางพ่อค้าหนังสือก็
ไม่ต้องจ่ายทัง้ ค่าธรรมเนียมการขึน้ ทะเบียนลิขสิทธิและการมอบหนั
์ งสือ 9 เล่ม
ให้รฐั ซึง่ การค้าขายหนังสือโดย “ไม่มลี ขิ สิทธิ”์ ก็ไม่ได้ผดิ กฎหมายอะไร ในแง่น้ี
จึงไม่แปลกอะไรทีพ่ ่อค้าหนังสือแทบทัง้ หมดไม่ยอมไปขึน้ ทะเบียนลิขสิทธิเลยถ้ ์ า
ไม่จาเป็ น นี่น่าจะเป็ นเหตุผลให้หนังสือเพียงไม่ถงึ 5% ทีต่ พี มิ พ์มาในอังกฤษใน
ศตวรรษที่ 18 เท่า นัน้ ที่ไ ปลงทะเบีย นเพื่อให้ไ ด้ร ับการคุ้ม ครองลิ ข สิท ธิห์ ลัง
กฎหมายลิขสิทธิออกมา ์ (Suarez, 2010: 57) พูดง่ายๆ ก็คอื ถ้าพ่อค้าหนังสือ
ต้องเสียรายได้และเสียเวลาเพื่อให้มกี ารคุม้ ครองลิขสิทธิ ์ ก็มเี หลือเพียงน้อยคนที่
ยังจะต้องการการคุม้ ครองลิขสิทธิอยู ์ ่อกี
ยิง่ พอเป็ นคดีความแล้วกฎหมายลิขสิทธิยิ์ ง่ มีบทบาทน้อยใหญ่ หนังสือ
ทีจ่ ะถูก “ไพเรต” หรือถูกพิมพ์ซ้าโดยไม่ได้รบั อนุ ญาตทัง้ หมดน่ าจะเป็ นหนังสือ
ขายดีทงั ้ นัน้ ซึง่ หนังสือเหล่านี้กน็ ่ าจะเป็ นหนังสืออันน้อยนิดทีไ่ ปขึน้ ทะเบียนกับ
ทางสมาคมฯ อย่างไรก็ดี พอเป็ นคดีความขึน้ มา แทบไม่มคี ดีใดเลยทีจ่ ะไปอ้าง
กฎหมายลิขสิทธิฉบั ์ บแรกของโลกอย่าง Statute of Anne ในการฟ้ องร้อง เพราะ
คดีความเกี่ยวกับการตีพมิ พ์หนังสือซ้าโดยไม่ได้รบั อนุ ญาตแทบทัง้ หมด ทาง
โจทก์มกั “อ้าง” สิทธิตามกฎหมายจารีตประเพณีว่าทางสานักพิมพ์ท่พี ิมพ์มา
ก่อนมีกรรมสิทธิอั์ นเป็ นนามธรรมในการผูกขาดการตีพิมพ์หนังสือแต่ เพียงผู้

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 52
เดียวไม่ต่างจากทรัพย์สนิ อื่นๆ อย่างน้อยๆ ถ้าอ่านสานวนฟ้ องคดีความแรก
เกีย่ วกับ “หนังสือคลาสสิก” หลังมี Statute of Anne ทีโ่ ผล่มาในปี 1735 ก็จะ
พบว่าทางทนายก็ทาราวกับว่า Statute of Anne ไม่ได้ดารงอยู่ และอ้างราวกับ
ว่า “ทรัพย์สนิ ทางวรรณกรรม” เป็ นสิง่ ทีด่ ารงอยู่ในสารบบการคุม้ ครองทรัพย์สนิ
ของระบบกฎหมายจารีตประเพณีอยู่แล้ว (Deazley, 2004: 74-75)
ข้อ อ้ า งแบบนี้ ป รากฏทัว่ ไปในคดีค วามเกี่ ย วกับ “ทรัพ ย์ สิน ทาง
วรรณกรรม” ช่วงกลางศตวรรษที่ 18 ในอังกฤษ ซึง่ ถึงที่สุดเหล่าพ่อค้าหนังสือ
และทนายอังกฤษไม่มใี ครสนใจจะอ้าง “กฏหมายลิขสิทธิ”์ เพราะทุกคนอ้างว่า
กฎหมายนี้ออกมาเพื่อเป็ นเพียงส่วนเสริมของสิทธิทม่ี อี ยู่แล้วในระบบกฎหมาย
จารีต ประเพณี เ ท่ า นั น้ แน่ น อนว่ า สิท ธิด ัง กล่ า วไม่ เ คยถู ก กล่ า วอ้า งมาก่ อ น
ศตวรรษที่ 18 แต่มนั ถูกอ้างราวกับว่ามันมีมาแล้วอย่างยาวนานในศตวรรษที่ 18
นี่เอง
สิทธิน้ีไม่มที างดารงอยู่มาก่อนอยู่แล้ว เพราะถ้าสิทธิดงั กล่าวมีอยู่จริง
มาแต่ แรก ทางสมาคมพ่อค้าหนังสือแห่งลอนดอนก็คงไม่ต้องลาบากออกมา
รณรงค์เพื่อ ให้สภาออกกฎหมายคุ้มครอง “ทรัพย์สนิ ทางวรรณกรรม” มาให้
วุ่ น วาย ซึ่ง สุด ท้า ยพอผลของการเรีย กร้อ งกฎหมายคุ้ม ครองทรัพ ย์สิน ทาง
วรรณกรรมทีก่ ลับได้กฎหมาย “ลิขสิทธิ”์ ทีม่ เี จตจานงในการสร้างสมดุลของสิทธิ ์
ในการพิ ม พ์ ห นั ง สื อ มากกว่ า ที่ จ ะยื น ยัน ว่ า สิท ธิ ใ นการพิ ม พ์ ห นั ง สือ เป็ น
“ทรัพ ย์สนิ ” แบบหนึ่ ง ทางสมาคมก็พร้อ มจะหันหลังให้กบั ผลของการต่ อสู้ท่ี
ออกมาผิดพลาดนี้อย่างไม่เหลียวแล
สุดท้ายกฎหมายใหม่อย่างลิขสิทธิก็์ ดูจะไม่ได้รบั ความนิยมในการใช้
เพื่อต่ อสู้ “ไพเรซี่” เลย เพราะถ้าไม่นับการฟ้ องศาลเพื่อดาเนินคดีการละเมิด
“ทรัพย์สนิ ทางวรรณกรรม” ให้ศาลตัดสิน เทคนิคยอดนิยมทีเ่ หล่าพ่อค้าหนังสือ
นิยมใช้ต่อสูก้ บั เหล่าหนังสือทีพ่ มิ พ์มาโดยไม่ขออนุ ญาตพวกเขาทีใ่ ห้ผลแน่ นอน
กว่าการฟ้ องละเมิดคือ การขอหมายศาลสูงให้ยดึ “ของกลาง” ซึง่ นี่เป็ นเทคนิค
ทางกฎหมายทีม่ มี านานแล้วก่อนมีกฎหมายลิขสิทธิ ์

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 53
การดาเนินคดีภายใต้กฎหมายลิขสิทธิหมายถึ ์ งการให้ศาลตัดสินว่าการ
ละเมิดลิขสิทธิเกิ์ ดขึน้ จริงหรือไม่ต่อเมื่อทัง้ โจทย์และจาเลยอยู่ต่อหน้าศาลเท่านัน้
กล่าวคือมันให้สทิ ธิจาเลยในการแก้ต่างว่าตนไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิด้์ วยก่อนจะมี
การดาเนินการทางกฎหมายใดๆ นี่คอื ความยุตธิ รรมต่อฝ่ ายจาเลยทีท่ างพ่อค้า
หนังสือไม่ตอ้ งการให้มี พวกเขาจัดการ “จาเลย” โดยใช้กฎหมายจารีตประเพณี
ทีไ่ ด้ผลเร็วกว่า มันคือการขอให้ศาลสูงออกหมายมาเพื่อยึดหนังสือทีต่ พี มิ พ์โดย
ไม่ได้รบั อนุ ญาตเลย โดยที่ผถู้ ูกกล่าวหาก็ไม่มสี ทิ ธิจะแก้
์ ต่างใดๆ ก่อนโดนยึด
เลยไม่ว่าหนังสือจะละเมิดลิขสิทธิจริ ์ งหรือไม่ (เพราะอย่างน้อยในหลายๆ กรณีก็
มีความก้ากึง่ เช่นในกรณีของงานเขียนแบบดัดแปลงทีใ่ นยุคนัน้ ถือว่าไม่ได้อยู่ใน
ขอบเขตการคุ้ ม ครองของกฎหมายลิ ข สิท ธิ )์ นี่ เ ป็ นเทคนิ ค บนฐานของ
กระบวนการยุตธิ รรมแบบ “มีความผิดจนกว่าจะพิสจู น์ได้ว่าตนบริสุทธิ”์ ทีท่ าให้
ภาระการพิสูจน์ ว่าตกไปที่จาเลย และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่าง
จริงจังได้ในทางอ้อมซึง่ มันก็ได้ผลชะงัด และนี่กไ็ ม่ใช่แนวทางแบบโบร่าโบราณที่
เลิกใช้แล้วอะไรเลย เพราะทุกวันนี้เทคนิคการแจ้งละเมิดลิขสิทธิเพื ์ ่อให้ทางผูใ้ ห้
บริการอินเทอร์เน็ตลบข้อมูลไปจนถึงบล็อ กเว็บไซต์กด็ ูจะไม่ใช่เทคนิคทีต่ ่างกัน
นัก เพราะมันก็คอื การ “กล่าวหา” ทีส่ ง่ ผลให้มกี ารลงโทษผูถ้ ูกกล่าวหาได้โดยไม่
ผ่านกระบวนการยุตธิ รรม
นอกจากเทคนิคในการเอาอานาจรัฐมาใช้โดยอีกฝ่ ายยากจะตอบโต้
ดังทีก่ ล่าวมาแล้ว เทคนิคทีพ่ ่อค้าหนังสือใช้กนั ประจาเพื่อเป็ นมาตรการป้ องกัน
การตีพิม พ์ห นั ง สือ โดยไม่ ไ ด้ร ับ อนุ ญ าตคือ การผู ก พัน ธมิต รทางการค้า เพื่อ
ควบคุมไม่ให้พ่อค้าในเครือข่ายทัง้ หมดตีพมิ พ์หนังสือซ้าซ้อนกัน ซึง่ ผูม้ อี านาจ
ในเครือข่ายก็สามารถจะลงโทษทางเศรษฐกิจกับผูล้ ะเมิดข้อตกลงของเครือข่าย
ได้หลายต่อหลายวิธี เช่น หากพ่อค้าหนังสือเจ้าใหญ่ของลอนดอนพบว่าร้าน
หนังสือตามส่วนภูมิภาคนาหนังสือเถื่อนมาขาย ทางพ่อค้าหนังสือเจ้าใหญ่ ก็
สามารถจะระงับการส่ง หนังสือไปขายยังร้านดังกล่าวเป็ นต้น และนี่กด็ ูจะเป็ น
เทคนิคการค้าแบบโบราณทีใ่ ช้กนั มาถึงทุกวันนี้

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 54
ในภาพรวมน่ า จะกล่า วได้ว่า บรรดาพ่ อค้า หนังสือ ในอังกฤษดาเนิ น
ธุรกิจของพวกเขาไปราวกับกฎหมายลิขสิทธิไม่ ์ ได้ดารงอยู่มาตลอดศตวรรษที่
18 เลย ดังนัน้ การกล่าวอ้างว่ากฎหมายลิขสิทธิมี์ ผลใดๆ ต่อการค้าหนังสือใน
อังกฤษไม่ว่าจะในทางไหนก็ดจู ะเป็ นการกล่าวเกินจริงทัง้ สิน้ แทบตลอดศตวรรษ
อันทีจ่ ริงคาอธิบายทีด่ กี ว่าของความรุ่งเรืองของตลาดหนังสืออังกฤษก็น่าจะเป็ น
เพราะว่าลักษณะการกระจุกตัวทางประชากรของอังกฤษทีไ่ ปออกันทีล่ อนดอน
อันเป็ นตลาดหลักของหนังสืออังกฤษ นี่ทาให้แม้ประชากรอังกฤษจะน้อยกว่า
ฝรังเศสและโลกภาษาเยอรมั
่ นเป็ นเท่าตัว แต่ องั กฤษก็กลับมีตลาดหนังสือที่
แข็งแกร่งกว่าเพราะการรวมศูนย์ทล่ี อนดอน ทาให้การปราบปรามการออกนอกลู่
นอกทางทางการค้า เป็ น ไปได้อย่ า งง่ า ยดาย ซึ่ง ลัก ษณะกลยุ ท ธการผูก ขาด
การค้ า นี่ เ ป็ นไปได้โ ดยไม่ เ กี่ย วกับ กฎหมายพิ เ ศษพิส ดารในสมัย นั น้ อย่ า ง
กฎหมายลิขสิทธิซึ์ ่งอังกฤษมีเป็ นประเทศเดียวในโลกแทบจะตลอดศตวรรษที่
18
นี่ดูจะทาให้เหล่านักวิชาการทีโ่ บ้ยความสาเร็จของวรรณกรรมอังกฤษ
ไปจนถึงการค้าหนังสือในศตวรรษที่ 18 ไปให้การมีกฎหมายลิขสิทธิต์ ้องขบ
คิดถึงข้อเสนอนี้กนั ใหม่ไปคานึงถึงลักษณะตลาดหนังสือที่เฉพาะของอังกฤษ
แทนทีจ่ ะไปอธิบายด้วยกฎหมายฉบับเดียวทีแ่ ทบไม่มใี นธุรกิจหนังสือสนใจ ซึง่
อันที่จริงปั จจัยที่ทาให้องั กฤษมีเอกลักษณ์ต่างจากชาติอ่นื ๆ ในศตวรรษที่ 18
นอกจากกฎหมายลิขสิทธิก็์ มอี กี มากมาย ไม่ว่าจะเป็ นเสรีภาพในการตีพมิ พ์สงิ่
ต่างๆ โดยไม่มกี องเซ็นเซอร์ทาให้สงิ่ พิมพ์สามารถเกิดขึน้ ได้อย่างคล่องตัวและ
หลากหลาย ลักษณะของสังคมทีเ่ อือ้ ให้คนระดับกลางของสังคมเติบโตทัง้ ในเชิง
ปริมาณและทางอุดมการณ์มากกว่าชาติอ่นื ๆ ทาให้ปริมาณการบริโภคขยาย
ควบคู่ไป อัตราการรู้หนังสือที่สูงกว่าชาติยุโรปอื่นๆ อย่างมีนัย ยะสาคัญที่เป็ น
เงื่อนไขให้การอ่านโตได้ในวงกว้าง การเจริญก้าวหน้าทางการคมนาคมทางบกที่
เกิด จากการตัด ถนนเชื่อ มเมือ งใหญ่ ๆ ทัง้ อัง กฤษไว้ท าให้ห นัง สือ พิม พ์ข อง
อังกฤษสามารถกระจายไปทัวประเทศได้ ่ เร็วกว่าหนังสือพิมพ์ของชาติอ่นื ๆ และ

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 55
ทาให้ “วัฒนธรรมการอ่าน” ของอังกฤษขยายตัวเร็วกว่า ไปจนถึงสารพัดปั จจัยที่
นักประวัตศิ าสตร์เศรษฐกิจยกมาอธิบายว่าเหตุใดอังกฤษจึงเป็ นประเทศทีป่ ฏิวตั ิ
อุตสาหกรรมสาเร็จเป็ นชาติแรก
ทัง้ นี้ทงั ้ นัน้ เรื่องตลกร้ายที่สุดของการพยายามจะใช้การดารงอยู่ของ
กฎหมายลิขสิทธิอ์ ธิบายความสาเร็จของการค้าหนังสือในอังกฤษ ก็คอื จริงๆ
แล้วกฎหมายลิขสิทธิของอั ์ งกฤษกลับถูกนามาใช้เพื่อยืนยันว่าสารบบกฎหมาย
อังกฤษ มันไม่มสี งิ่ ทีเ่ รียกว่า “ทรัพย์สนิ ทางวรรณกรรม” อยู่ กล่าวคือมันถูกเอา
มาใช้ในการอ้างว่างานหมดลิขสิทธิแ์ ล้ว ไม่ได้ถูกนามาใช้เพื่อคุม้ ครองลิขสิทธิแต่ ์
อย่ า งใด แต่ นัน่ ก็เ ป็ น เรื่ อ งที่เ กิด ในปี 1774 เมื่อ เกิด คดีค วามที่ท าให้ต้อ งส่ง
Statute of Anne กลับขึน้ ไปให้สภาขุนนางตีความเจตนารมณ์ทแ่ี ท้จริงของ
กฎหมายภายหลังจากทีส่ ภาผ่านมันมาแล้ว 64 ปี

2.7 กาเนิดคลังทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะ

"ข้าพเจ้าใคร่อยากจะรู้ว่าผูพ้ พิ ากษาหรือศาลใดๆ มีอานาจที จ่ ะจัดการ


กับกฎหมายของประเทศชาติตามใจชอบ หรือไม่ใส่ใจกฎหมายจากสภาหรือไม่?
ถ้าพวกเขามีอานาจเช่นนัน้ ข้าพเจ้าก็ขอกล่าวเลยว่าจะไม่มคี วามปลอดภัยในชีวติ
และทรัพย์สนิ ของพสกนิ กรของพระองค์ใดๆ เลย เพราะไม่ว่าพวกเขาจะเคารพ
กฎหมายหรือ ไม่ พวกเขาก็ย ังมีส ิท ธิ์โ ดนลงโทษเช่ น เดีย วกัน ผู้อ อกกฎหมาย
สามารถจะถอดถอนและแก้กฎหมายได้ แต่การถอดถอนและแก้กฎหมายเหล่านัน้
ย่อ มไม่มผี ลย้อ นหลัง ถ้าผู้พ ิพ ากษาผู้ส ามารถละเลยกฎหมายได้ หรือ สามารถ
ลงโทษผู้มองเห็นการละเลยนัน้ ได้ พวกเขายอมมีอานาจมากกว่ากษัต ริย์ เหล่ า
เจ้านาย และสามัญ ชน หากผู้พ ิพ ากษาท าเช่ น นัน้ ได้จ ริง ๆ มัน ก็ค ือ จุด จบของ
ธรรมนูญของรัฐ"

Alexander Donaldson พ่อค้าหนังสือชาวสก็อต

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 56
บรรดาพ่อค้าหนังสือจากลอนดอนดาเนินธุรกิจผูกขาดการพิมพ์หนังสือ
ทีผ่ เู้ ขียนตายไปนานแล้วได้อย่างสะดวกในอังกฤษศตวรรษที่ 18 เนื่องจากศาล
อังกฤษนัน้ “ไม่เห็นหัว” กฎหมายลิขสิทธิฉบั ์ บแรกของโลกทีร่ ะบุชดั เจนว่างานจะ
หมดลิขสิทธิห์ ลังการตีพิมพ์ไป 14 ปี ในช่วงแรกศาลในอังกฤษมองว่ามีสงิ่ ที่
เรียกว่า “ทรัพย์สนิ ทางวรรณกรรม” อยู่ในระบบกฎหมายจารีตประเพณีอยู่แล้ว
กฎหมายลิขสิทธิเป็ ์ นแค่ส่วนเสริม ซึง่ นี่ส่งผลให้ศาลปฏิบตั ริ าวกับว่าสิทธิในการ
พิมพ์หนังสือเป็ นทรัพย์สนิ ทีค่ งทนถาวรและละเมิดไม่ได้เฉกเช่นทรัพย์สนิ อื่นๆ
อย่างไรก็ดวี ธิ คี ดิ แบบนี้กด็ ูจะเป็ นความพิลกึ พิลนที
ั ่ อ่ งั กฤษมีอยู่ทเ่ี ดียว
ในโลก เพราะไม่ต้องไปไหนไกล ขนาดสก็อตแลนด์หลัง “รวมประเทศ” วิธคี ดิ
แบบนี้กไ็ ม่ได้ดารงอยู่
ราชอาณาจักรอังกฤษรวมเป็ นหนึ่งเดียวกับราชอาณาจักรสก็อตแลนด์
และกลายเป็ นสหราชอาณาจักร “เกรทบริเตน” ในปี 1707 ภายใต้ Acts of
Union ซึ่งเงื่อนไขของการรวมประเทศคือ แม้ว่าทัง้ สองราชอาณาจักรจะมี
กษัตริย์ร่วมกัน แต่ทงั ้ สภาและศาลของสก็อตแลนด์กย็ งั สามารถดาเนินการได้
อย่างเป็ นเอกเทศอยู่ นันหมายความว่
่ าสิง่ ทีผ่ ดิ กฎหมายในอังกฤษ ก็อาจเป็ นสิง่
ที่ถูกกฎหมายในสก็อตแลนด์กไ็ ด้เพราะทัง้ สองพื้นที่มที งั ้ ระบบนิติบญ ั ญัติและ
ตุ ลาการคนละชุดกัน กล่าวในศัพท์แสงเทคนิคก็คือมันมีลกั ษณะพหุนิยมเชิง
กฎหมาย (Legal Pluralism) ดารงอยู่ในเกรทบริเตน
พ่อค้าหนังสือจากลอนดอนนัน้ มองว่าพวกพ่อค้าหนังสือในเมืองใหญ่ๆ
ของสก็อตอย่างเอดินเบอระเป็ นไม้เบื่อไม้เมามานานแล้ว เพราะมองจากมุม
ลอนดอน พวกพ่อค้าหนังสือนี้เป็ น “ไพเรต” ที่ตีพิมพ์หนังสือซ้าโดยไม่ได้รบั
อนุญาตจากสานักพิมพ์ในลอนดอนทีซ่ อ้ื ต้นฉบับมาจากนักเขียนหรือซือ้ สิทธิใน ์
การผู ก ขาดการพิม พ์ ซ้ า มา ชัย ชนะอย่ า งต่ อ เนื่ อ งในศาลอัง กฤษของพ่ อ ค้า
หนังสือจากลอนดอนในการอ้างว่าตนถูกละเมิด “ทรัพย์สนิ ทางวรรณกรรม” โดย
เหล่า “พ่อค้าหนังสือเถื่อน” ดูจะสร้างความมันใจให้ ่ พ่อค้าเหล่ านี้ จนทาให้พวก
เขาพยายามข้ามมาฟ้ องศาลในสก็อตแลนด์เพื่อดาเนินคดีกบั เหล่าพ่อค้าหนังสือ

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 57
ในเอดินเบอระทีพ่ มิ พ์หนังสือจากฝั ง่ อังกฤษโดยไม่ได้รบั อนุญาตมาอย่างนมนาน
อยู่แล้วก่อนรวมประเทศ
อย่างไรก็ดีเมื่อพวกพ่อ ค้าหนังสืออังกฤษฟ้ องว่ าพวกพ่อ ค้าหนังสือ
สก็อ ต “ละเมิด ทรัพ ย์สิน ทางวรรณกรรม” กับ ศาลในสก็อ ตแลนด์ บรรดาผู้
พิพากษาของสก็อตก็ดูจะเห็นร่วมกันเกือบหมดว่าสิง่ ที่เรียกว่า “ทรัพย์สนิ ทาง
วรรณกรรม” ที่พ่ อ ค้า หนัง สือ จากลอนดอนอ้า งว่ า ตนถือ ครองอยู่ ต ามระบบ
กฎหมายจารีตประเพณีนัน้ ไม่เคยมีอยู่ในสารบบกฎหมายจารีตประเพณีของ
สก็อต ซึง่ สิง่ ทีต่ อ้ งเข้าใจก็คอื แม้ว่าสก็อตจะใช้ระบบกฎหมายจารีตประเพณีของ
อังกฤษ แต่สก็อตก็มจี ารีต ประเพณีคนละชุด จารีตประเพณีทางกฎหมายของ
สก็อตมีรากฐานอยู่บ นกฎหมายโรมันอย่า งเข้มข้น และกฎหมายโรมันก็เป็ น
ระบบกฎหมายทีไ่ ม่ยอมรับการดารงอยู่ของทรัพย์สนิ ทีจ่ บั ต้องไม่ได้อย่างชัดเจน
(Deazley 2004: 182-183) ซึง่ นี่กไ็ ม่ใช่เรื่องแปลกพิสดารอะไร เพราะแนวคิด
ด้านกฎหมายในอารยธรรมโบราณตัง้ แต่ อารยธรรมยิว อารยธรรมคริสเตียน
อารยธรรมอิสลาม ยันอารยธรรมจีนก็ล้วนไม่ยอมรับว่ามนุ ษย์จะสามารถเป็ น
เจ้าของสิง่ ทีไ่ ม่สามารถจับต้องได้ทงั ้ นัน้ (Hesse 2002: 27)
แม้ว่าสาหรับบรรดาผูพ้ พิ ากษาอังกฤษในตอนกลางศตวรรษที่ 18 สิทธิ
อันเป็ นนามธรรมเหนืองานเขียนที่เรียกว่า "ทรัพย์สนิ ทางวรรณกรรม" จะเป็ น
เรื่องปกติธรรมดาในระดับสามัญสานึกทีไ่ ม่ต้องการการพิสจู น์ใดๆ แต่ทางด้าน
บรรดาผู้พพิ ากษาจากสก็อตที่โดยส่วนใหญ่ร่าเรียนขนบกฎหมายโรมันมาจาก
มหาวิทยาลัยในภาคพืน้ ทวีป (Mann, 2010: 52) การกล่าวอ้างว่ามีทรัพย์สนิ บาง
ประเภทที่จบั ต้องไม่ได้อยู่เป็ นสิง่ ที่ผดิ กับสามัญสานึกทางกฎหมายโดยสิน้ เชิง
"ทรัพย์สนิ ทางวรรณกรรม" เป็ นสิทธิอนั พิลกึ พิลนที ั ่ ไ่ ม่มที ใ่ี ดในโลกจะมีนอกจาก
อังกฤษ และบรรดาผู้พพิ ากษาสก็อตเห็นว่าการมี “ทรัพย์สนิ ทางวรรณกรรม”
หมายถึงการมีสทิ ธิในการผูกขาดการพิมพ์หนังสือ อย่างไม่มวี นั สิน้ สุด การดารง
อยู่ของสิทธิแบบนี้เป็ นภัยต่อการเรียนรู้ และผลทีจ่ ะตามมาของภัยทางปั ญญานี้

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 58
มันจะเลวร้ายกว่าการที่พวกคนเถื่อนอย่างพวกกอธและแวนดาลมาบุกเสียอีก
(Deazley, 2004: 185-187)
ความพ่ายแพ้อย่างต่อเนื่องในศาลสก็อตดูจะทาให้พวกพ่อค้าหนังสือ
ลอนดอนไม่กล้าไปอ้าง “ทรัพย์สนิ ทางวรรณกรรม” ทีส่ ก็อตอีก และถอยร่นมาสู้
ในพืน้ ทีข่ องตัวเองต่อไป แต่น่กี ไ็ ม่ใช่ปัญหานักเพราะอย่างน้อยๆ ตลาดหนังสือ
ของลอนดอนก็ดูจะใหญ่ทส่ี ุดในโลก ณ ขณะนัน้ ถ้าเราจะเอาจานวนประชากร
เป็ นตัวชี้วดั ขนาดตลาด ในโลกในศตวรรษที่ 18 ลอนดอนเป็ นเมืองที่ใหญ่ทส่ี ุด
แบบทีท่ ง้ิ เมืองใหญ่ๆ ในประเทศอื่นๆ จนไม่เห็นฝุ่ นด้วยซ้า ดังนัน้ แม้ความพ่าย
แพ้ในศาลสก็อตแลนด์จะชวนให้พ่อค้าหนังสืออังกฤษเจ็บใจ แต่เอเดินเบอระก็ดู
จะเป็ น ตลาดหนั ง สือ เล็ก ๆ บ้า นนอกเท่ า นั น้ ที่ค วามพ่ า ยแพ้ม ัน ไม่ ไ ด้ท าให้
โครงสร้างธุรกิจในภาพใหญ่ระคายเคืองเลย
พ่อค้าหนังสือจากลอนดอนระงับการผลิต “หนังสือเถื่อน” จากสก็อต
ไม่ได้ แต่ท่พี วกเขาทาได้คอื ทาให้หนังสือเหล่านี้ไม่มที ย่ี นื ในท้องตลาดอังกฤษ
โดยไล่ ฟ้ องบรรดาผู้ น าหนั ง สือ จากสก็อ ตเข้า มาขายบนฐานของการอ้ า ง
“ทรัพ ย์สิน ทางวรรณกรรม” ตามจารีต ประเพณี อย่ า งไรก็ดีปั ญ หาในทาง
กฎหมายทีค่ ่อยๆ เปิ ดเผยมาก็คอื การอ้างแบบนี้ขดั กับ “กฎหมายลิขสิทธิฉบั ์ บ
แรกของโลก” เพราะในนัน้ มีก ารระบุ ช ัด เจนว่ า สิท ธิใ นการผูก ขาดการพิม พ์
หนังสือนัน้ มีวนั หมดอายุ พูดง่ายๆ คือสิทธิตามจารีตประเพณีดูจะขัดกับสิทธิ
ตามกฎหมายลายลักษณ์อกั ษร และในตอนนัน้ ก็ไม่มใี ครตัง้ คาถามว่าถ้าทัง้ สอง
สิทธิขดั แย้งกัน ในทางกฎหมายจะถือว่าสิทธิไหนเป็ นใหญ่?
ในทางปฏิบตั ิ ปั ญหาทีช่ วนให้สงสัยของความขัดแย้งระหว่างสองสิทธินี์ ้
ก็อ ย่า งเช่ น ในกรณี ท่ีมีผู้พิมพ์ห นัง สือที่ “หมดลิข สิท ธิ”์ ไปแล้วตามกฎหมาย
ลิขสิทธิ ์ แต่ทางพ่อค้าหนังสือยังฟ้ องอีกโดยอ้าง “ทรัพย์สนิ ทางวรรณกรรม” ที่
ดารงอยู่แม้ลขิ สิทธิหมดอายุ
์ ไปแล้ว ในกรณีแบบนี้ศาลจะว่าอย่างไร? คาตอบคือ
ศาลอังกฤษโดยทัวไปมองว่่ า “ทรัพย์สนิ ทางวรรณกรรม” ยังถือว่าดารงอยู่ ดังนัน้
ผูท้ พ่ี มิ พ์งานอันหมดลิขสิทธิไปแล้
์ วก็ยงั ถือว่าทาผิดกฎหมายอยู่

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 59
นี่เป็ นสิง่ ที่เกิดขึ้นอย่างต่ อเนื่องช่วงกลางศตวรรษที่ 18 ในลอนดอน
และพ่ อ ค้า หนัง สือ ลอนดอนก็สามารถยืด อกตราหน้ า ผู้ตีพิม พ์ห นัง สือ ที่ห มด
ลิขสิทธิไปแล้วว่าเป็ นโจรหรือ “ไพเรต” ได้อย่างสะดวก อย่างไรก็ดี “ไพเรต”
จากสก็อตคนหนึ่งก็ได้เปลีย่ นแปลงทุกอย่าง หลังจากเขาลุกขึน้ สูค้ ดีจนถึงขัน้ ให้
สภาตีความเจตจานงของกฎหมาย
พ่อค้าหนังสือจากสก็อตผูน้ ้ีมนี ามว่า Alexander Donaldson เขาเป็ น
พ่อค้าหนังสือผูก้ ว้างขวางทีส่ ก็อตทีต่ พี มิ พ์หนังสือสารพัดรูปแบบขายรวมทัง้ การ
ตีพมิ พ์หนังสือทีม่ กี ารตีพมิ พ์ในลอนดอนซ้าเพื่อขายในสก็อตด้วย (หรือ “ไพเรต”
นัน่ แหละในสายตาพ่อค้าหนังสือลอนดอน) เขาได้ประกอบธุรกิจจนใหญ่โตใน
สก็อต เมื่อเขาขยับขยายธุรกิจของเขามาที่ลอนดอน เขาก็จงใจจะไปเปิ ดร้าน
หนังสือทีก่ ลางลอนดอนเพื่อขายงานทีห่ มดลิขสิทธิไปแล้ ์ วในราคาทีต่ ่ากว่าทีพ่ วก
พ่อค้าหนังสือในลอนดอนอื่นๆ ขายถึง 30-50% (Johns, 2009: 121-123) ซึ่ง
เขาก็มองว่าเขาไม่ได้ทาผิดกฎหมายใดๆ เพราะกฎหมายลิขสิทธิฉบั ์ บแรกของ
โลกก็ประกาศชัดเจนระบุชดั เจนว่าสิทธิผกู ขาดหมดไปแล้ว
แน่ น อนนี่ เ ป็ นการหยามหน้ า พ่ อ ค้ า หนั ง สื อ ลอนดอนมาก และ
Donaldson โดนฟ้ องไปตามระเบียบฐานทีเ่ ขาพิมพ์และขายหนังสือรวมบทกวี
The Seasons ของ James Thompson ซึง่ พ่อค้าหนังสือฝั ง่ อังกฤษอ้างว่าตนถือ
สิทธิผูกขาดการพิมพ์อยู่ (บทกวีน้ีเป็ นบทกวียอดฮิตช่วงต้น ศตวรรษที่ 18 มัน
ค่อยๆ ตีพิมพ์ทีละส่วนจนส่ว นสุดท้ายตีพิมพ์ในปี 1730 ส่วนตัว Thompson
ตายในปี 1748 ดังนัน้ หากจะคิดคานวณแล้ว บทกวีน้ีจะหมดลิขสิทธิอย่ ์ างช้า
ทีส่ ุดก็คอื ปี 1758 หรือหมดลิขสิทธิมาเป็ ์ นสิบปี แล้วในตอนที่ Donaldson โดน
ฟ้ องว่าละเมิดทรัพย์สนิ ทางวรรณกรรม) นี่คอื จุดเริม่ ต้นของคดี Donaldson v
Beckett ในปี 1774 ทีจ่ ะพลิกโฉมลิขสิทธิไปชั ์ วกาลนาน

หากจะกล่าวเรื่องราวของคดีน้ีสนั ้ ๆ แล้ว มันเริม่ จากทางพ่อค้าหนั งสือ
ลอนดอนที่เป็ น “เจ้าของ” สิทธิในการพิ ์ มพ์ The Seasons ก็ได้ไปร้องเรียนกับ
ศาลและศาลก็ได้ออกหมายศาลให้ Donaldson ระงับการขาย The Seasons ซึง่

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 60
นี่กเ็ ป็ นกระบวนการปราบปรามหนังสือเถื่อนมาตรฐานของพ่อค้าหนังสือจาก
ลอนดอนในศตวรรษที่ 18 อย่างไรก็ดี Donaldson มองว่าศาลไม่มสี ทิ ธิจะออก
หมายศาลแบบนี้ เพราะกฎหมายลิขสิทธิฉบั ์ บแรกทีท่ างสภาออกก็บอกชัดเจนว่า
งานชิ้นนี้หมดลิขสิทธิไ์ ปแล้ว ใครจะพิมพ์ก็ได้ ไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งจริงๆ แล้ว
Donaldson เคยเขียนแสดงความไม่พอใจกับการใช้อานาจของศาลอันขัดกับ
กฎหมายของสภาไว้ในข้อเขียนทางการเมืองของเขาก่อนทีค่ ดีความจะเริม่ ด้วย
ซ้า และเขาก็แ สดงความเห็น ต่ า งๆ เกี่ย วกับ ความวิป ริต ของระบบยุ ติธ รรม
อังกฤษในแบบที่ถ้าเขาทาตัวแบบเดียวกันทุกวันนี้เขาก็คงจะถูกจัดเป็ น “นัก
กิจกรรมด้านการปฏิรปู ลิขสิทธิ”์ ได้ไม่ยาก ดังนัน้ พูดในอีกแง่หนึ่ง Donaldson ดู
จะจงใจท้าทายทัง้ พ่อค้าหนังสืออังกฤษและศาลอังกฤษในการตีพมิ พ์งานทีห่ มด
ลิขสิทธิแล้์ วออกมา และการทีเ่ ขาโดนฟ้ องก็ไม่น่าจะเกิดความคาดหมายของเขา
แน่ นอนว่าเขาสูค้ ดีและแพ้ไปในศาลระดับล่าง ซึ่งนัน่ ก็คงไม่ผดิ ความ
คาดหมายของ Donaldson เช่นกัน เอาเรื่องไปอุทธรณ์กบั สภาอภิชนทีส่ มัยนัน้
ทาหน้ า เป็ นศาลสูง ด้ว ยเพื่อ ให้ท างสภาชี้ใ ห้ช ัดว่ า ข้อก าหนดของ “กฎหมาย
ลิขสิทธิฉบั ์ บแรกของโลก” ทีท่ างสภาออกมานัน้ มีสถานะสูงหรือต่ ากว่ากฎหมาย
จารีตประเพณีทอ่ี า้ งกันกันแน่? และการหมดอายุลขิ สิทธิมี์ อยู่จริงหรือไม่ในระบบ
กฎหมายอังกฤษ? ผลคือทางคณะผู้พิพากษาของสภานัน้ ก็ล งความเห็นด้วย
เสียงส่วนใหญ่ว่า “กฎหมายลิขสิทธิฉบั ์ บแรกของโลก” นัน้ มีผลในการลบล้างสิทธิ
ทางการพิมพ์ใดๆ ทีม่ มี าก่อนมันทัง้ หมด กล่าวคือไม่ว่าจะมีหรือไม่มี “ทรัพย์สนิ
ทางวรรณกรรม” ในสารบบกฎหมายจารีตประเพณีมาก่อนหรือ ภายหลังจาก
สภาผ่าน “กฎหมายลิขสิทธิฉบั ์ บแรกของโลก” ออกมาก็ให้ถอื เอาข้อกาหนดของ
กฎหมายฉบับนี้เป็ นกฎหมาย15 และคดี Donaldson v. Beckett อันยืดยาวนี้กไ็ ด้
สิน้ สุดลงในเดือนกุมภาพันธ์ 1774 ดังนี้เอง

15
ทุกวันนี้ขอ้ ถกเถียงว่าสภามองว่า “ทรัพย์สนิ ทางวรรณกรรม” เคยมีอยู่จริงในระบบ
กฎหมายจารีตประเพณีหรือไม่? ก็ยงั ไม่จบลง แม้แต่นกั ประวัตศิ าสตร์กฎหมายก็ยงั มี
ความเห็นไม่ตรงกัน

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 61
พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือสภาตัดสินว่า “การหมดลิขสิทธิ”์ มีอยู่จริง และ
ข้ออ้าง “ทรัพย์สนิ ทางวรรณกรรม” ของพ่อค้าหนังสือลอนดอนทัง้ หลายทีเ่ คยใช้
มาหลายสิบ ปี ตลาดศตวรรษที่ 18 นั ้น ใช้ ไ ม่ ไ ด้ ไม่ มี ก ฎหมายรองรับ นี่
หมายความว่า “ไพเรต” อย่าง Donaldson ก็ไม่ได้ทาอะไรผิดกฎหมายเพราะเขา
แค่ ตีพิม พ์แ ละขายงานที่ห มดลิข สิท ธิแ์ ล้ว นี่ เ ป็ น จุ ด เริ่ม ต้ น ของสิ่ง ที่ทุ ก วัน นี้
เรียกว่า “คลังทรัพย์สนิ ทางปั ญ ญาสาธารณะ” หรือ Public Domain ซึ่ง
ความหมายของมันคือพืน้ ทีเ่ สมือนทีร่ วมงานทัง้ หมดในโลกทีไ่ ม่ได้ถูกกากับให้มี
การผูกขาดการผลิตซ้าด้วยกฎหมายลิขสิทธิอี์ กต่อไป กล่าวคือคาตัดสินของสภา
นัน้ ปฏิเสธการดารงอยู่ของ “ทรัพย์สนิ ทางวรรณกรรม” ไปพร้อมๆ กับยืนยันการ
ดารงอยู่ของ “คลังทรัพย์สนิ ทางปั ญญาสาธารณะ”
การตัด สิน ของสภาในกรณี น้ี เ ป็ น การรองรับ สถานะของกฎหมาย
ลิขสิทธิฉ์ บับแรกของโลกให้เป็ นกฎหมายที่มีอานาจในการควบคุมกากับการ
พิมพ์ในสหราชอาณาจักรจริงๆ อย่างไรก็ดนี ่ีกเ็ ป็ นกฎเกณฑ์ทไ่ี ม่ได้บงั คับใช้กบั
ทีใ่ ดในโลกนอกจากในหมู่เกาะอังกฤษและอาณานิคมของอังกฤษ ซึง่ ในแง่น้ี การ
ล่าอาณานิคมอังกฤษนี่เองที่เป็ นตัวแพร่กระจายแนวทางกฎหมายลิขสิทธิแบบ ์
อังกฤษไปนอกยุโรป
มาถึงตรงนี้คงจะไม่ต้อ งถกเถียงกันให้มากความว่า “ลิขสิทธิ”์ มีต้น
กาเนิดมาจากไหน เพราะมันมีต้นกาเนิดจากอังกฤษแน่ นอน แต่หากจะบอกว่า
“จิต วิญ ญาณ” ลิขสิทธิท์ งั ้ โลกเป็ น อย่ างอัง กฤษไปหมดก็ดูจะไม่ เที่ยงตรงนัก
เพราะอย่างน้อยๆ บรรดาประเทศในภาคพื้นทวีปยุโรปก็ไม่ได้มี “จิตวิญญาณ”
ลิขสิทธิแบบอั
์ งกฤษ และสิง่ ทีส่ งั เกตง่ายๆ ก็คอื คาว่า ลิขสิทธิในภาษายุ
์ โรปจะมี
ความหมายตรงตัวว่า “สิทธิของประพันธกร” (Author’s Right) แทนทีจ่ ะเป็ น
ความหมายตรงตัวว่า “สิทธิในการทาซ้า ” (Copyright) แบบภาษาอังกฤษ ซึ่ง
ความแตกต่างนี้ทาให้ตวั บทของกฎหมายไปจนถึงการใช้วจิ ารณญาณในการ
ตัดสินของศาลในจารีตกฎหมายลิขสิทธิของอั ์ งกฤษและประเทศในภาคพืน้ ทวีป
ยุโรปแตกต่างกัน และมันก็กลายมาเป็ นประเด็นขัดแย้งสาคัญในช่วงเวลาของ

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 62
การพยายามสถาปนากฎหมายลิขสิทธิให้
์ มมี าตรฐานเดียวทัง้ ยุโรป (ตะวันตก)
ในศตวรรษที่ 19

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 63
กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 64
บทที่ 3
จากการเซ็นเซอร์ในระบอบเก่าฝรั่งเศส
สู่การปฏิวัติและลิขสิทธิ์

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 65
3.1 จุดเริ่ม “กองเซ็นเซอร์” ในระบอบเก่าฝรั่งเศส

“หลังจากเราได้รบั คาแนะนาจากคณะองคมนตรีแล้ว ...ตัง้ แต่น้ ีไปเราก็


ขอสังห้
่ ามไม่ให้พ่อค้าหนังสือและช่างพิมพ์ทาการพิมพ์ ขาย หรือเผยแพร่หนังสือ
ใดก็ต ามทีเ่ กีย่ วกับคัม ภีร์ศ ักดิ์ส ิท ธิ์ โดยเฉพาะอย่ างยิง่ หนังสือ ทีม่ าจากเจนีว า
เยอรมนี และจากทีแ่ ปลกๆ ทีอ่ นื ่ เว้นเสีย แต่จะผ่านการตรวจสอบของคณะเทว
วิทยา มหาวิทยาลัยปารีสแล้ว ผูล้ ะเมิดก็จะถูกยึดหนังสือและทรัพย์สนิ ได้”

French Censorship Act, Fontainebleau (1547)

ทศวรรษที่ 1510 เป็ นทศวรรษที่เ ต็มไปด้วย “เหตุ การณ์ ” สาคัญใน


ประวัติศ าสตร์ยุโ รปหลายๆ แขนงและหลายประเทศ มันเป็ นทศวรรษที่พระ
ปั ญญาชนจากแดนลุ่มต่ าอย่าง Erasmus ออกหนังสือ Praise of Folly (1511)
มาเสีย ดสีศ าสนจัก ร มัน เป็ น ทศวรรษที่พ ระฟรานซิส กั น ขบถอย่ า ง Martin
Luther ออกไปปะ “ข้อเสนอ 95 ประการ” อันลือลันตามโบสถ์
่ ในรัฐเยอรมัน
(1517) ทางฝั ง่ อังกฤษพระอย่าง Thomas More ก็เล่นบทบาทนักเขียนโดยการ
เขียน Utopia วรรณกรรมสังคมนิยมอุดมคติออกมา (1516) ก่อนจะไปรับ
ตาแหน่งสมุหนายกของ Henry VIII จนสิน้ ชีวติ (จากการประหารฐานคัดค้าน
การแยกตัวออกจากศาสนจักร) ทรงของนครรัฐอิตาลีกไ็ ม่น้อยหน้าที่คนอย่าง
Niccolo Machiavelli ได้เขียน The Prince (1513) ออกมา และทางฝั ง่ สเปนแม้
จะไม่มีว รรณกรรมอะไรออกมา แต่ ท ศวรรษนี้ สเปนก็ได้ส่งคนอย่า ง Hernán
Cortés ก็ได้ไปถึงเม็กซิโก (1513) และเริ่มกระบวนการอาณานิคมกวาดล้าง
ประชากรในทวีปอเมริกาไปจนเหลือ 1 ใน 8 ภายในเวลาไม่ก่สี บิ ปี (Brotton,
2006: 85)
*ภาพจากหน้า 64 : October 5 and 6, 1789 โดย Denis Auguste Marie Raffet ปี 1835
ทีม่ า https://www.oldbookillustrations.com/illustrations/october-5-6/

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 66
ฝรั ง่ เศสดู จ ะเป็ นประเทศที่ ไ ม่ ไ ด้ มี บ ทบาทหวื อ หวาอะไรใน
ประวัตศิ าสตร์ยุโรปในทศวรรษนี้ อย่างไรก็ดใี นมุมของฝรังเศสทศวรรษนี ่ ้กม็ จี ุด
หักเหทีส่ าคัญอยู่ หลังจาก Francis I ขึน้ ครองราชย์ในปี 1515 ทางฝรังเศสก็ ่ ได้
เริ่มยุค “ฟื้ นฟูศิลปวิทยาการ” ของตัวเองหลังจากที่ทางนครรัฐอิตาลีฟ้ื นฟู กนั
เกือบสองร้อยปี แล้ว และทาง Francis I ก็ได้ “นาเข้า” รูปเคารพของยุคฟื้ นฟู
ศิลปวิทยาการอย่าง Leonardo Da Vinci มาพานักทีฝ่ รังเศสในบั ่ น้ ปลายด้วย
(และนี่คอื เหตุผลว่าทาไมภาพ Mona Lisa จึงอยู่ทฝ่ี รังเศส) ่
แม้ว่าจะไม่ได้มบี ทบาทอะไรนักต่อประวัติ ศาสตร์ยุโรปโดยรวมๆ แต่
Francis I ก็เป็ นกษัตริยท์ ม่ี บี ทบาทมากต่อภาษาฝรังเศส ่ เพราะในยุคของ
Francis I นี่เองทีม่ กี ารประกาศภาษาฝรังเศสเป็
่ นภาษาราชการแทนภาษาละติน
ภายใต้ Ordinance of Villers-Cotterêts มีการตัง้ College des Lecteurs
Royaux (ต่อมากลายมาเป็ น College de France อันเป็ นสถาบันทางวิชาการที่
ทรงเกียรติสู์ งสุดในโลกภาษาฝรังเศส) ่ นอกจากนี้ในสมัยของ Francis I นี่เองที่
คัมภีรไ์ บเบิลได้รบั การแปลเป็ นภาษาฝรังเศสในที่ ส่ ุดในปี 1529 (Lyons, 2010:
18-19)
ฝรังเศสในช่
่ วงแรกก็เปิ ดรับการฟื้ นฟูศาสนาเป็ นอย่างดีซ่งึ ส่วนหนึ่ งก็
เพราะน้องสาวของ Francis I เห็นดีเห็นงามกับขบวนการปฏิรูป แต่หลังจาก
เหล่าโปรเตสแตนต์ในฝรังเศส ่ (ซึ่งเรียกกันว่า Huguenots) ขยายตัวและเริม่ มี
การปะใบปลิวโจมตีคาทอลิกในปี 1534 “ความอดกลัน้ ” ทางศาสนาก็หมดไปจาก
แผ่นดินฝรังเศส่ 1 และหลังจากนัน้ ทางราชสานักก็ใช้ไม้แข็งในการจัดการกับพวก
โปรเตสแตนต์
เป็ นเหตุ บ ั ง เอิ ญ มากที่ ร าชส านั ก ฝรั ง่ เศสหมดความอดทนกั บ
โปรเตสแตนต์ไล่เลีย่ กับทีท่ างฝั ง่ อังกฤษ Henry VIII ได้ประกาศแยกตัวออก
จากศาสนจักรในปี 1533 ซึง่ ก็บงั เอิญอีกเช่นกันที่ Francis I ได้ส่งทูตไปเกลีย้
กล่อมไม่ให้ทาง Henry VIII เห็นแก่การหย่าเมียจนแยกตัวออกจากศาสนจักร
1
เหตุการณ์น้เี รียกว่า Affair of Placards

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 67
แต่กเ็ กลีย้ กล่อมไม่สาเร็จ 2 อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ทงั ้ หมดก็หมายถึงจุดแตกหัก
ระหว่างคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ทงั ้ ในอังกฤษและฝรังเศส ่ แม้ว่ารัฐจะถือหาง
คนละฝั ง่ กันก็ตาม
สิง่ พิม พ์ภายใต้การปฏิว ัติการพิม พ์นัน้ มีศกั ยภาพมหาศาลที่ จ ะเป็ น
อาวุ ธ ทางความคิด ให้ท ัง้ ฝั ง่ โปรเตสแตนต์ แ ละคาทอลิก นี่ ท าให้ผ ลของการ
แตกหักที่เหมือนกันทัง้ อังกฤษและฝรังเศสก็ ่ คอื การตัง้ กองเซ็นเซอร์เพื่อไม่ให้
สิง่ พิมพ์ข องนิ ก ายฝั ง่ ตรงข้า มกับ รัฐสามารถมีท่ีท างในพื้น ที่สาธารณะโดยที่
Henry VIII ก็ได้รเิ ริม่ มันมาในปี 1538 โดยใช้คณะองคมนตรีเป็ นกองเซ็นเซอร์
ส่วนทางฝรังเศส ่ Francis I แม้จะไม่ได้ตงั ้ กองเซ็นเซอร์ในช่วงชีวติ แต่ Henri II ที่
ครองราชย์ต่อมาก็ไม่รอช้าทีจ่ ะตัง้ กองเซ็นเซอร์ในปี 1547 ซึง่ ก็เป็ นผลจากความ
ขัดแย้งทางศาสนาของฝรังเศสที ่ ค่ ุกรุ่นอยู่ (ซึง่ กองเซ็นเซอร์ทท่ี างฝรังเศสใช้
่ กค็ อื
คณาจารย์ในคณะเทววิทยา มหาวิทยาลัยปารีส)
นี่เป็ นจุดเริม่ ต้นของระบบเซ็นเซอร์ของฝรังเศสที ่ ด่ ารงอยู่และ “พัฒนา”
มาอย่างต่ อเนื่องยาวนานจนถึงช่วงปฏิวตั ิในหลายศตวรรษที่ 18 พัฒนาการ
ช่วงแรกของระบบเซ็นเซอร์ของฝรังเศสก็ ่ ดูจะละม้ายกับอังกฤษมากแบบทีเ่ รียก
ได้ว่าพัฒนาตามกันมา นอกจากฝรังเศสจะตั ่ ง้ กองเซ็นเซอร์กองแรกตามอังกฤษ
มาดังทีว่ ่าแล้ว แนวทางต่อมาทีจ่ ะทาให้การควบคุมการพิมพ์รดั กุมก็คอื การเข้า
ควบคุมสมาคมผูผ้ ลิตหนังสือในเมืองหลวงผ่านการรับรองสิทธิในการผูกขาดการ
พิมพ์เพื่อให้ทางสมาคมแลกเปลี่ยนสิทธิในการผูกขาดนี้ โดยการเป็ นหูเป็ นตา
คอยสอดส่องสิ่งพิมพ์น อกลู่น อกทางให้ก ับทางราชสานัก นี่ เป็ นสิ่ง ที่อ ังกฤษ
เริม่ ทามาตัง้ แต่ปี 1557 ภายใต้การอุปถัมภ์สมาคมผูผ้ ลิตหนังสือแห่งลอนดอน
ของ Mary I อย่างไรก็ดี ในฝรังเศสแนวนโยบายแบบเดี
่ ยวกันเริม่ ขึน้ ในปี 1618
ภายใต้การปกครองของ Louis XIII (และพระคาร์ดนิ ัล Richelieu) เมื่อทางรัฐ

2
ทูตทัง้ สองคือบุคคลในภาพวาด The Ambassador ของ Hans Holbein อันเป็ นภาพวาดอัน
ลือลันของอั
่ งกฤษและของยุโรปในศตวรรษที่ 16

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 68
ออกกฎหมายสถาปนาสมาคมผู้ผลิตหนังสือแห่งปารีสขึน้ พร้อมระเบียบต่างๆ
อย่างถีย่ บิ
นี่ ท าให้ร ะบบการเซ็น เซอร์ห นั ง สือ ของอัง กฤษและฝรัง่ เศสดูจ ะไม่
ต่างกันนักในระดับโครงสร้างใหญ่ อย่างไรก็ดหี ลังสิน้ ศตวรรษที่ 17 อังกฤษก็ได้
กลายเป็ นชาติทม่ี ี “เสรีภาพของแท่นพิมพ์” ด้วยเงื่อนไขทางการเมืองทีน่ าโดย
สองขัว้ การเมืองในสภาสามัญชนทีท่ าให้ระบบนายทะเบียนสิง่ พิมพ์แบบเดิมไม่
เหมาะสมอีกต่อไป ในทางกลับกันทางด้านฝรังเศสภายใต้ ่ การปกครองของ “สุรยิ
ราชา” สมบูรณาญาสิทธิราชอย่าง Louis XIV ระบบเซ็นเซอร์กย็ งิ่ เข้มข้นขึน้ ไป
กว่าเดิมอีก เพราะในบริบทของศตวรรษที่ 18 ทีฝ่ รังเศสไม่ ่ มชี าวโปรเตสแตนต์
3
อีกต่ อไป ภัยของการปกครองก็ได้กลายมาเป็ นบรรดาความคิดอันตรายของ
เหล่านักคิดแห่งยุคการรูแ้ จ้งทีร่ จู้ กั กันในฝรังเศสโดยรวมๆ
่ ว่า Philosophes การ
ตัง้ รับกับภัย ความมันคงแบบใหม่ ่ ทาให้ระบบเซ็นเซอร์ของฝรังเศสได้ ่ พฒ ั นา
ต่อไปอีก กล่าวโดยสรุปคือในศตวรรษที่ 18 ที่องั กฤษยกเลิกระบบเซ็นเซอร์
ทัง้ หมดและมีก ฎหมายลิข สิท ธิแ์ ล้ว ระบบเซ็น เซอร์ข องฝรัง่ เศสกลับ พัฒ นา
ซับซ้อนขึน้ ไปอีก
ทัง้ นี้ทงั ้ นัน้ ระบบเซ็นเซอร์ของฝรังเศสในตอนปลายระบอบเก่
่ าก็เป็ น
ระบบทีล่ อื ชื่อว่าเป็ นระบบเซ็นเซอร์ทด่ี ุเดือดทีส่ ุดในยุโรป ในแง่ทม่ี กี ารเซ็นเซอร์
ซ้ อ นกัน หลายชัน้ และมีบุ ค ลากรจ านวนมากท างานอยู่ ใ นระบบ “ต ารวจ
วรรณกรรม” ผูม้ หี น้าทีต่ ระเวนตรวจเนื้อหาของสิง่ พิมพ์ในฝรังเศสในยุ ่ คทีย่ ุโรป
ยังไม่มสี งิ่ ทีเ่ รียกว่า “ตารวจ” ด้วยซ้า อย่างไรก็ดกี ารสอดส่องทีโ่ หดทีส่ ุดในยุโรป
นี้ ก็ดูจ ะไร้น้ า ยาต่ อ หน้ า ระบบหนัง สือ เถื่อ นที่ย ัง ท าให้ห นั ง สือ เถื่อ นจากนอก

3
ตลอดศตวรรษที่ 17 ชาวโปรเตสแตนต์ดารงอยู่ในฝรังเศสได้
่ อย่างชอบธรรมภายใต้ Edict of
Nantes (1598) ของปฐมกษัตริยแ์ ห่งราชวงศ์ Bourbon อย่าง Henri IV (ผูเ้ ป็ นโปรเตสแตนต์)
อย่างไรก็ดพี อมารุ่นหลานอย่าง Louis XIV ก็ได้มกี ารถอดถอน Edict of Nantes พร้อม
เนรเทศชาวโปรเตสแตนต์ออกนอกฝรังเศสในปี
่ 1685

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 69
ฝรังเศสเข้
่ ามาถึงในปารีสได้สบายๆ (Darnton 1971; Darnton, 1989) ไม่ว่า
หนังสือเถื่อนพวกนี้จะเป็ นชนวนปฏิวตั หิ รือไม่กต็ าม4

3.2 วิวาทะกรรมสิทธิ์งานเขียนช่วงก่อนปฏิวัติฝรั่งเศส

“งานเขียนไม่ได้เป็นของผูเ้ ขียนแบบทีเ่ ข้าเป็นเจ้าของบ้านและทีด่ นิ หรอกหรือ?”


Denis Diderot, “Letter on the Book Trade”, (1776)

“…เราไม่น่ าจะรู้ส ึกได้เ ลยว่ าการเป็ น เจ้าของงานเขีย นมัน เป็ น เรือ่ ง


เดีย วกับการเป็ น เจ้าของทีด่ ิน ซึง่ ทาการเพาะปลูกได้ หรือ กระทัง้ การเป็ น เรือ่ ง
เดียวกับการเป็ น เจ้าของเฟอร์นิเจอร์ทคี ่ นสามารถใช้ได้เพีย งคนเดียว การเป็ น
เจ้าของสิง่ เหล่านี้แต่เพียงผู้เดียวเป็ นผลพวงจากธรรมชาติของสิง่ เหล่านี้เอง การ
เป็ นเจ้าของงานเขียนมันไม่ได้มาจากระเบียบของธรรมชาติทสี ่ งั คมได้ยอมรับ แต่
มัน เป็ น ทรัพย์ส ินทีส่ งั คมสร้างขึ้นมาเอง มัน ไม่ใช่ทรัพ ย์สนิ ทีแ่ ท้จริง แต่ มนั เป็ น
อภิสทิ ธิ”์
Marquis de Condorcet,
“Fragments Concerning the Freedom of the Press”, (1776)

ในตอนทีส่ ภาอังกฤษออกกฎหมายลิขสิทธิมา ์ ความคิดเรื่องสิทธิของ


ผู้เ ขีย นไม่ ไ ด้อ ยู่ใ นสารบบกฎหมายอัง กฤษ และมัน ก็ไ ม่ ใ ช่ เ รื่อ งที่เ คยเป็ น ที่
ถกเถียงกันในหมู่ปัญญาชนอังกฤษหรือกระทังในหมู ่ ่นักกฎหมายของอังกฤษ
อย่ า งไรก็ดีใ นกรณี ข องฝรัง่ เศส กว่ า ฝรัง่ เศสจะมีก ฎหมายลิข สิท ธิเ์ กิด ขึ้น
ความคิดเรื่อง “สิทธิของผู้เขียน” ก็ได้มกี าร “พัฒนา” การไกลแล้วและมันก็ผ่าน
การโต้เถียงมาอย่ างต่อเนื่องในระบอบเก่ามาอย่างยาวนาน ซึ่งนี่เป็ นรากฐาน

4
งานศึกษาการปฏิวตั ฝิ รังเศสช่
่ วงครึง่ หลังศตวรรษที่ 20 ตัง้ คาถามขึน้ เรือ่ ยๆ กับอิทธิพลของ
แนวคิดยุคแห่งการรูแ้ จ้งกับการปฏิวตั แิ ละให้ความสาคัญกับความขัดแย้งในหมูช่ นชัน้ นาใน
ฐานะของชนวนการปฏิวตั มิ ากกว่าทีจ่ ะอธิบายปฏิวตั ฝิ รังเศสในแนวทางแบบ
่ “ปฏิวตั จิ ากเบือ้ ง
ล่าง” อันเป็ นการตีความแบบมาร์กซิสต์ ดู Doyle, 1995; Dolye 2001

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 70
สาคัญให้กฎหมายลิขสิทธิของฝรั ์ งเศสที
่ อ่ อกมาในช่วงการปฏิวตั สิ ามารถรับเอา
แนวคิด “สิทธิของผูเ้ ขียน” ไว้ในหลักการของกฎหมายได้ และต่อมาแนวคิดนี้ก็
ได้กลายมาเป็ นกรอบความคิดแกนกลางของกฎหมายลิขสิทธิในภาคพื ์ น้ ทวีปทีม่ ี
ความเอนเอียงทีจ่ ะมองลิขสิทธิเป็ ์ นสิทธิธรรมชาติมากกว่าทีจ่ ะมองว่าเป็ นสิทธิท่ี
รัฐ สร้า งขึ้น ตามแนวทางของกฎหมายลิข สิท ธิอ์ ัง กฤษ (ที่เ ป็ น รากฐานของ
กฎหมายลิขสิทธิสหรั ์ ฐอเมริกาและเหล่าอาณานิคมของอังกฤษ) ซึง่ การเกิดขึน้
ของ “สิทธิข องผู้เขียน” ดูจะเป็ นผลผลิตของการต่ อสู้กนั ทางความคิด ในช่ว ง
ศตวรรษที่ 18 โดยตรง
แรกเริม่ เดิมทีกฎหมายฝรังเศสในระบอบเก่
่ ามีรากมาจากฎหมายโรมัน
และกฎหมายโรมันก็ไม่ได้มแี นวคิดเกี่ยวกับทรัพย์สนิ ทีจ่ บั ต้องไม่ได้ ในกรอบ
แบบกฎหมายโรมัน การเขียนก็ไม่ได้ต่างจากการพูด สิง่ ทีค่ นพูดออกมาไม่ถอื ว่า
มีกรรมสิทธิ ์ งานเขียนก็เช่นกัน ในแง่น้หี ากงานของของคนๆ หนึ่งถูกพิมพ์ลงไป
บนกระดาษ เจ้าของงานเขียนที่พมิ พ์มาบนกระดาษนัน้ จึงเป็ นเจ้าของกระดาษ
ไม่ใช่คนทีเ่ ขียนมันออกมาในตอนแรก (Pfister, 2010: 124)
อย่างไรก็ดนี ่ีกไ็ ม่ได้หมายความว่าเหล่านักเขียนในฝรังเศสในโลกยุ
่ ค
หลังปฏิวตั กิ ารพิมพ์จะไร้ซง่ึ หนทางจะปกป้ องสิทธิเหนือการพิมพ์งานตัวเองเลย
นักเขียนสามารถยื่นขอ “อภิสทิ ธิ”์ หรือสิทธิบตั รเพื่อผูกขาดการพิมพ์งานเขียน
ตัวเองกับองค์กรทีก่ ุมอานาจการปกครองในท้องถิน่ ได้ ซึง่ ในฝรังเศสนี ่ ่หมายถึง
5
การยื่นขอได้กบั ตัง้ แต่ทางราชสานักไปถึง parlement ต่างๆ (Armstrong 1990)
พูดง่ายๆ คือแม้กฎหมายฝรังเศสในช่ ่ วงสมัยใหม่ตอนต้นจะไม่ยอมรับกรรมสิทธิ ์

5
อธิบายอย่างง่ายๆ parlement คือรัฐบาลท้องถิ่นต่างๆ ทีก่ ระจายตัวอยู่ทวฝรั
ั ่ งเศส
่ ซึ่งมี
บทบาทเป็ นทัง้ ฝ่ ายบริหาร ฝ่ ายนิตบิ ญ
ั ญัติ และฝ่ ายตุลาการไปพร้อมๆ กันถ้าจะพูดถึงอานาจ
ทีแ่ ตกแยกย่อยต่างๆ ตามมาตรฐานปั จจุบนั พูดอีกแบบคือ parlement เป็ นสภาทีม่ อี านาจใน
การบริหารจัดการกิจกรรมในท้องถิน่ ออกกฎหมาย (หรืออนุ มตั กิ ฎหมายจากส่วนกลาง) และ
เป็ นศาลไปพร้อมๆ กัน อภิสทิ ธิต่์ างๆ มีสถานะเป็ นเหมือนกฎหมายฉบับหนึ่งๆ ทีใ่ ห้สทิ ธิใน
การผูกขาดทางการค้ากับผูใ้ ต้ปกครองดังนัน้ parlement ก็จงึ มีอานาจในการออกอภิสทิ ธิ ์

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 71
อันเป็ นนามธรรมเหนืองานเขียนในทานองเดียวกับสิทธิเหนือทีด่ นิ และทรัพย์สนิ
อันจับต้องได้แน่ นอน แต่อานาจรัฐสามารถสร้างสิทธิในการผูกขาดการผลิตซ้า
งานเขียนในช่วงเวลาทีก่ าหนดผ่านการออกอภิสทิ ธิการพิ ์ มพ์ได้
ทัง้ นี้แม้คาว่า Auteur ปรากฏเป็ นครัง้ แรกในกฎหมายฝรังเศสมาตั่ ง้ แต่
ปี 1551แต่ เ หตุ ผ ลที่ร ัฐหัน มาสนใจ Auteur ก็ไ ม่ ไ ด้เ ป็ น เพราะสนใจที่จ ะให้มี
“กรรมสิท ธิ”์ ในเชิง ทรัพ ย์สิน เหนื อ งานเขีย นแต่ อ ย่ า งใด แต่ สนใจเพราะรัฐ
ต้องการหา “ผู้รบั ผิด” ในงานเขียนทีส่ นคลอนความมั
ั่ นคงมากกว่
่ า (Pfister,
2010: 120-121) ซึ่งในยุคนี้คาว่า Auteur ก็ไม่ได้มคี วามหมายเฉพาะถึง
“นักเขียน” แม้แต่นิด เพราะก่อนศตวรรษที่ 18 คาๆ นี้มคี วามหมายถึง “ผูส้ ร้าง/
ผูร้ เิ ริม่ ” โดยรวมๆ เช่น ผูส้ ร้างโลก ผูส้ ร้างเครื่องจักร ผูต้ ัง้ กลุ่มการเมือง ผูร้ เิ ริม่
ตระกูล เป็ นต้น สิง่ เหล่านี้นับเป็ น Auteur ทัง้ นัน้ ไม่ใช่แค่ “ผูส้ ร้างงานเขียน” ซึง่
ความหมายของ Auteur ว่า “ผูส้ ร้างงานเขียน” ก็ไม่ใช่ความหมายอันดับต้นๆ
ของคาว่า Auteur ในดิกชันนารีภาษาฝรังเศสในปี ่ 1690 ด้วยซ้า (Chartier,
1994: 39-40)
การเกิดขึน้ ของคาว่า Auteur ในสารบบกฎหมายฝรังเศสบ่ ่ งชี้ถึงการ
ขยายตัวของระบบเซ็นเซอร์ในนามของความมันคง ่ ในช่ วงศตวรรษที่ 16 นี่
หมายความว่าเงื่อนไขในการพิมพ์หนังสือในศตวรรษนี้กค็ อื ต้องผ่านการอนุ มตั ิ
ของกองเซ็นเซอร์ก่อน จะมีแค่อภิสทิ ธิการพิ ์ มพ์เป็ นสิง่ ทีไ่ ม่เพียงพอ อย่างไรก็ดี
ในทีส่ ดุ ระบบเซ็นเซอร์และอภิสทิ ธิการพิ ์ มพ์ในเมืองทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ ของฝรังเศสอย่
่ าง
ปารีสก็มาบรรจบกันในปี 1618 เมื่อรัฐฝรังเศสมี ่ การก่อตัง้ สมาคมผูผ้ ลิตหนังสือ
แห่งปารีสขึน้ (Pfister, 2010: 123)
ตัง้ แต่ ปี 1618 จนถึง การปฏิว ัติ สมาคมผู้ผ ลิตหนัง สื อแห่ ง ปารีสได้
กลายมาเป็ นองค์กรเดียวที่มีสทิ ธิขาดในการพิมพ์และขายสิง่ พิมพ์ทงั ้ หมดใน
ปารีส ระเบียบในกฎหมายที่ให้อานาจสมาคมในการผูกขาดกาหนดชัดเจนว่า
ผู้ผลิตและผู้ขายสิง่ พิมพ์ต้องเป็ นสมาชิกสมาคมเท่านัน้ นอกจากนี้กฎหมายก็
ระบุระเบียบในการรับสมาชิกสมาคมเพิม่ ใหม่อย่างยิบย่อย เจตจานงทีร่ ฐั ฝรังเศส ่

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 72
ตัง้ สมาคมฯ ขึน้ มาก็เพื่อจากัดการพิมพ์ให้อยู่ภายใต้หูตาของรัฐอย่างเต็มที่ ซึ่ง
นัยยะสาคัญของการตัง้ องค์กรแบบนี้กไ็ ม่ใช่แค่ควบคุมการพิมพ์เท่านัน้ แต่เป็ น
การควบคุมชีวติ ของทุกคนทีอ่ ยู่ในธุรกิจการพิมพ์ดว้ ย เพราะในโลกของช่างใน
ระบอบเก่า “เจ้าของร้าน/หัวหน้าช่าง” (Master) ที่ได้รบั สิทธิผูกขาดการทา
การค้าและผลิตสินค้าก็มีหน้ าที่ในการสอดส่องดูแลบรรดาลูกน้ องของตัวเอง
ทัง้ หมดให้อยู่กบั ร่องกับรอยด้วย พูดง่ายๆ คือ “เจ้าของร้าน/หัวหน้าช่าง” ก็ต้อง
ทาหน้าทีเ่ ป็ น “ตารวจ” ให้รฐั ด้วยในยุคทีฝ่ รังเศสยั
่ งไม่ได้มกี ลไกรักษาระเบียบรัฐ
ทีเ่ รียกว่า “ตารวจ” อย่างเป็ นระบบเช่นทุกวันนี้ (Sewell, 1980: 119) และนี่ก็
เป็ นระเบียบปกติของสมาคมช่างทัวๆ ่ ไปไม่ใช่แค่สมาคมผูผ้ ลิตหนังสือด้วยซ้า
กล่ าวคือ ตัง้ แต่ ต้น ศตวรรษที่ 17 ปารีสก็มีระบบควบคุม การพิม พ์ท่ี
เบ็ดเสร็จทีค่ วบคุมตัง้ แต่ชวี ติ ประจาวันในร้านหนังสือ /โรงพิมพ์ยนั เนื้อหาทีพ่ มิ พ์
เป็ นทีเ่ รียบร้อยแล้ว ผลกระทบของการรวบอานาจผูกขาดการพิมพ์ไปทีส่ มาคม
ผูผ้ ลิตหนังสือแห่งปารีสก็คอื นักเขียนก็ไม่สามารถจะยื่นขออภิสทิ ธิเพื ์ ่อผูกขาด
การพิมพ์งานตัวเองได้อีก แล้ว และมันก็ทาให้การ “ขายต้น ฉบับ” ให้กบั ทาง
สมาชิกสมาคมผูผ้ ลิตหนังสือแห่งปารีสกลายมาเป็ นสิง่ ที่หลีกเลีย่ งไม่ได้สาหรับ
นักเขียนผูต้ อ้ งการตีพมิ พ์หนังสือในปารีสศตวรรษที่ 17 (แม้ว่าจะเป็ นสิง่ ทีป่ ฏิบตั ิ
กันทัวไปมานานแล้
่ ว)
นี่เ ป็ น จุ ดเริ่ม ต้น ของยุ ค ทองของการผูก ขาดการตีพิม พ์ห นัง สือ ของ
สมาคมผูผ้ ลิตหนังสือแห่งปารีสทีก่ นิ เวลาเป็ นร้อยปี อย่างไรก็ดผี ทู้ า้ ทายสิทธิใน
การผูกขาดของทางสมาคมก็ไม่ใช่ใครอื่นนอกจากกษัตริย์ โดยในตอนต้นรัชกาล
ของ Louis XV ในปี 1725 ฝ่ ายราชสานักก็เห็นว่าทางสมาคมผูผ้ ลิตหนังสือแห่ง
ปารีสได้ใช้อภิสทิ ธิการพิ ์ มพ์โดยมิชอบ จึงทาการยกเลิกอภิสทิ ธิการผู ์ กขาดการ
พิมพ์หนังสือจานวนมากของทางสมาคมเสีย นี่ทาให้ทางสมาคมออกมาโวยวาย
และอ้างทฤษฎีทรัพย์สนิ (อย่างสับสน) ว่าเมื่อนักเขียนเขียนหนังสือมา เขามี
สิทธิธรรมชาติ
์ ชอบธรรมในการผูกขาดการตีพมิ พ์หนังสือ พอทางพ่อค้าหนังสือ
สมาคมได้ซอ้ื สิทธินั์ น้ มา พ่อค้าผูน้ ัน้ ก็ย่อมมีสทิ ธิชอบธรรมในการผู
์ กขาดตีพมิ พ์

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 73
หนังสือ และนี่เป็ นสิทธิตามธรรมชาติท่กี ษัตริย์กพ็ รากไปไม่ได้ อย่างไรก็ดกี าร
กล่าวอ้างแบบนี้กด็ ูจะเป็ นเรื่องตลกในยุคนัน้ ที่โดยทัวไปไม่ ่ มใี ครคิดว่าคนจะมี
“ทรัพย์สนิ ” เหนือสิง่ ทีจ่ บั ต้องไม่ได้ได้ และการทีข่ อ้ อ้างใช่ไม่ได้ผลก็หมายความ
อภิสทิ ธิของหนั
์ งสือต่างๆ ทีท่ างกษัตริยค์ ดิ ว่าควรจะยกเลิกก็ได้รบั การยกเลิกไป
ในทีส่ ดุ (Pfister, 2010: 125-126)
การยกเลิกอภิสทิ ธิหนั ์ งสือต่างๆ ของทางปารีสหมายถึง “การแข่งขัน”
การพิมพ์หนังสือเล่มเดียวกันจากหลายๆ โรงพิมพ์จะสามารถทาได้อย่างชอบ
ธรรม นี่บ่งถึงการขยายตัวของผูอ้ ่านหนังสือในฝรังเศสที ่ เ่ ริม่ มากถึงขนาดทีก่ าร
พิมพ์หนังสือเล่มเดียวกันมาแข่งกันโดยหลายๆ โรงพิมพ์เป็ นสิง่ ทีส่ มเหตุสมผล
ทางเศรษฐกิจ
การขยายตัวของ “นักอ่าน” ไม่ได้เกิดขึน้ ในปารีสเท่านัน้ ในศตวรรษที่
18 สิง่ ที่จะพบเช่นกันคือการเติบโตของการผลิตหนังสือตามเมืองใหญ่ๆ ต่างๆ
ในดินแดนอันกว้างใหญ่ของฝรังเศสด้ ่ วย และการค้าหนังสือก็กลายมาเป็ นธุรกิจ
ทีใ่ หญ่โตขึน้ เรื่อยๆ ในทศวรรษนี้
การขยายตัวของการค้าหนังสือตาม “เมืองต่างจังหวัด” หรือในหัวเมือง
ใหญ่ ๆ ต่ า งๆ สร้ า งความไม่ พ อใจให้ ก ับ บรรดาพ่ อ ค้ า หนั ง สือ ในปารี ส นั ก
โดยเฉพาะอย่างยิง่ เมื่อพ่อค้าหนังสือตามต่างจังหวัดเหล่านี้ตพี มิ พ์หนังสือเล่ม
เดียวกันขาย ซึง่ นี่นามาสูว่ วิ าทะใหญ่ของเหล่าปั ญญาชนฝรังเศสในช่ ่ วงทศวรรษ
ที่ 1770 ทีว่ ่าด้วยปั ญหาว่าผูเ้ ขียนเป็ นเจ้าของหนังสือในระดับนามธรรมหรือไม่?
ทีม่ าของการวิวาทะนี้กด็ ูจะสืบ เนื่องมาจากการการเปลี่ยนรัชกาลและ
การขึน้ ครองราชย์ของ Louis XVI ในปี 1774 ซึง่ ก็เป็ นปกติท่ี “ช่วงต้นรัชกาล”
ในยุคที่อานาจในแผ่นดินอยู่ในมือกษัตริย์น้ีกลุ่มผลประโยชน์ ต่างๆ จะทาการ
ต่อรองผลประโยชน์กนั ใหม่ ซึ่งในกรณีน้ีกลุ่มพ่อค้าหนังสือจากปารีสเจ้าเก่าก็
ออกมาเรียกร้องแบบตอนต้นรัชกาลของ Louis XV แทบจะทุกประการว่า
นักเขียนเป็ นเจ้าของ “งานเขียน” และมีสทิ ธิในการผู ์ กขาดในการพิมพ์งานเขียน
ของตน และถ้ า ทางสมาคมได้ซ้ือ ต้ น ฉบับ งานเขีย นดัง กล่ า วแล้ว กรรมสิท ธิ ์

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 74
ดัง กล่ า วก็ย อมต้อ งอยู่ในมือ ของผู้ซ้ือ โดยชอบธรรมและผู้ซ้ือก็ย่ อ มมีส ิท ธิจ์ ะ
ผู ก ขาดไปชัว่ กัล ปาวสาน แต่ ค ราวนี้ ท างสมาคมก็ม าพร้ อ มกับ ข้อ เขีย นที่
สนับสนุนแนวคิดดังกล่าวของปั ญญาชนชื่อดังในยุคนัน้ อย่าง Denis Diderot
ด้วย
การกล่าวอ้างแบบนี้มเี ป้ าหมายเพื่อโจมตี “การตีพมิ พ์หนังสือโดยไม่ได้
รับอนุญาต” ของบรรดาพ่อค้าหนังสือนอกปารีสทีต่ พี มิ พ์หนังสือทีไ่ ม่ได้มอี ภิสทิ ธิ ์
ก ากับ อีก แล้ว ทางฝั ง่ พ่ อ ค้า หนัง สือ ในปารีสก าลัง พยายามอ้า งว่ า เหนื อ กว่ า
อภิสทิ ธิที์ ก่ ษัตริยม์ อบให้ (ทีถ่ ูกยกเลิกไป) มันยังมีสทิ ธิตามธรรมชาติ
์ เหนืองาน
6
เขียนทีถ่ ูกละเมิดอยู่ อย่างไรก็ดที างฝั ง่ พ่อค้าหนังสือนอกปารีสก็อา้ งกฎหมาย
จารีตประเพณี (ซึง่ คือขนบกฎหมายโรมัน) ทีถ่ อื ว่างานเขียนถ้าเก็บไว้กบั ตัวก็ถอื
เป็ นทรัพย์สนิ ส่วนบุคคล แต่เวลาเผยแพร่มาสู่สาธารณะแล้ว มันก็ถอื ว่าเป็ นของ
สาธารณะ จะอ้างว่าเป็ นทรัพย์สนิ ส่วนบุคคลไม่ได้อกี อภิสทิ ธิที์ ก่ ษัตริย์ให้กค็ อื
อภิสทิ ธิเท่์ านัน้ ไม่ใช่ทรัพย์สนิ ดังนัน้ ถ้าไม่มอี ภิสทิ ธิการผู
์ กขาดการพิมพ์กากับ
แล้ว งานเขีย นทัง้ หมดที่อ อกมาสู่สาธารณะแล้ว ย่ อ มเป็ น ของสาธารณะ ซึ่ง
ปั ญญาชนอย่าง Marquis de Condorcet ก็เป็ นคนทีอ่ อกมาสนับสนุ นแนวคิด
แบบนี้อย่างแข็งขัน (Pfister, 2010: 130-131)
ท้ายทีส่ ดุ ในการโต้เถียงของพ่อค้าหนังสือทัง้ ในและนอกปารีสและเหล่า
ปั ญญาชนทีถือหางทัง้ สองฝ่ ายก็ไปสิ้นสุดที่ทางราชสานักออกฎหมายมาในปี
1777-1778 และระบุว่างานเขียนถือว่าเป็ นทรัพย์สนิ ของผูเ้ ขียนและผูเ้ ขียนก็มี
กรรมสิทธิไปชั ์ วกั่ ลปาวสานตราบทีเ่ ขายังไม่ขายงานเขียนให้ผอู้ ่นื และแม้ว่าทาง
สมาคมผู้ผลิตหนังสือแห่งปารีสจะยังมีสทิ ธิผู์ กขาดการขายหนังสือในปารีสอยู่
แต่น่กี เ็ ป็ นครัง้ แรกนับแต่การตัง้ สมาคมทีน่ กั เขียนก็มสี ทิ ธิขายหนั
์ งสือของตัวเอง

6
น่ าสนใจว่าการอ้างแบบนี้กด็ ูจะเทียบเก่ากับการอ้าง “ทรัพย์สนิ ทางวรรณกรรม” (literary
property) ของพวกพ่อค้าหนังสือจากอังกฤษที่ร่วมสมัยกัน อย่างไรก็ดที างฝั ง่ อังกฤษสภา
อภิชนจะเล่นบทศาลสูงและชี้ว่าสิทธิดงั กล่าวไม่มจี ริงและจบการอ้างดังกล่าวในปี 1774 ซึ่ง
เป็ นปี ทพ่ี วกพ่อค้าหนังสือปารีสเริม่ เรียกร้องพอดี

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 75
ทีบ่ า้ นตัวเองได้ ทัง้ นี้เมื่อใดก็ตามทีผ่ เู้ ขียนได้ขายสิทธิในการผู
์ กขาดงานเขียนไป
ให้พ่อค้าหนังสือแล้ว สิทธิในการผูกขาดทีไ่ ปอยู่ในมือ ของพ่อค้าหนังสือก็จะหด
เหลือแค่ชวชี ั ่ วติ ของผูเ้ ขียน (Pfister, 2010: 133-135) และระบบแบบนี้กด็ าเนิน
มาจนถึงช่วงการปฏิวตั ิ
ทัง้ นี้สงิ่ ทีน่ ่ าสนใจของข้อถกเถียงด้านกรรมสิทธินี์ ้กค็ อื มันแสดงให้เห็น
ถึง “สองด้าน” ของยุคแห่งการรู้แจ้ง ที่เป็ นแกนกลางความขัดแย้งภายในของ
กฎหมายลิ ข สิท ธิ ม์ าจนทุ ก วัน นี้ โดยในด้ า นหนึ่ ง มั น คื อ ค่ า นิ ย มเกี่ ย วกั บ
“ทรัพย์สนิ ” ที่เกิดจากการผลิตด้วยแรงงานอันนามาสู่ข้อสรุปที่ว่างานเขียนที่
เขียนมากับมือย่อมเป็ นกรรมสิทธิของผู ์ เ้ ขียนซึง่ Diderot เป็ นผูส้ นับสนุ นหลัก
และอีกด้านหนึ่งมันคือค่านิยมเกี่ยวกับ “ความรู้” ที่จะทาให้สงั คมพัฒนาขึน้ อัน
น ามาสู่ข้อ สรุ ป ว่ า งานเขีย นใดๆ ไม่ ใ ช่ ผ ลผลิต ของใครคนใดคนหนึ่ ง แต่ เ ป็ น
ผลผลิตต่ อยอดของภูมิปัญญาของมนุ ษยชาติเท่านัน้ ดังนัน้ มันจึงไม่ควรจะมี
กรรมสิทธิซึ์ ่ง Condorcet เป็ นผู้สนับสนุ นหลัก อย่างไรก็ดใี นท้ายที่สุดตัว
Condorcet นี่ เ องที่ เ ป็ นผู้ ร่ า งข้ อ เสนอเกี่ ย วกับ ทรัพ ย์ สิน เหนื อ งานเขีย นที่
ประนีประนอมระหว่างสองแนวคิดทีต่ ่อมากลายมาเป็ น “กฎหมายลิขสิทธิ”์ แห่ง
สาธารณรัฐฝรังเศสในที่ ส่ ดุ ภายหลังการปฏิวตั ิ

3.3 จากการปฏิวัติสู่กฎหมายลิขสิทธิ์แห่งสาธารณรัฐ

“สาธารณะชนควรจะเป็ น เจ้าของงานอันยิง่ ใหญ่ ...แต่ ระบอบทรราช


นิยมก็ได้เข้ารุกรานยึดทรัพย์สนิ ร่วมของชุมชนดังกล่าวและคว้านมันออกมาสร้าง
เป็นอภิสทิ ธิเ์ ฉพาะของเอกชน”

Isaac-Rene-Guy Le Chapelier, (1791)

ดัง ที่เหล่ าผู้ศึกษาการปฏิว ัติฝ รัง่ เศสน่ า จะเข้าใจกัน ดี การ “ปฏิว ัติ”
ฝรังเศสในช่
่ วงแรกมันน่ าจะเทียบเท่ ากับการก่อ “รัฐประหาร” เพื่อการปฏิรูป

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 76
มากกว่ า ถ้า จะพูด ในภาษาปั จ จุ บ ัน หรือ พูด ในอีก แง่ ห นึ่ ง มัน ก็คือ การล้า งไพ่
ระเบียบเก่าและเริม่ ต้นระเบียบใหม่ เพราะอย่างน้อยๆ การปฏิวตั ใิ นช่วงแรกก็ดู
จะเป็ นความพยายามสถาปนาระบอบกษัตริย์ท่มี ีอานาจจากัดใต้รฐั ธรรมนู ญ
มากกว่าทีเ่ ป็ นการตัง้ ใจทีจ่ ะ “ล้มเจ้า” และก่อตัง้ สาธารณรัฐฝรังเศส่ อย่างไรก็ดี
เมื่อ “การปฏิรปู ” นี่หนักข้อขึน้ ๆ ไปถึงจุดหนึ่งมันก็ได้เปลีย่ นความหมายของคา
ว่า “การปฏิวตั ”ิ ไปสูค่ วามหมายของการล้มล้างสิง่ เก่าและสร้างสรรค์สงิ่ ใหม่ ซึง่
จริงๆ แล้วจุดเริม่ ทีส่ าคัญของความเปลีย่ นแปลงมันก็คอื การยกเลิก “อภิสทิ ธิ”์
ต่างๆ
การยกเลิก อภิ ส ิท ธิใ์ นระลอกแรกของการปฏิว ัติ ฝ รัง่ เศสคือ การ
“ยกเลิก” อภิสทิ ธิของเหล่
์ าอภิชนและพระ รวมไปจนถึงตาแหน่ งต่างๆ ของรัฐที่
ซือ้ ขายกันเป็ นปกติในระบอบเก่า สิทธิพวกนี้มลายหายไปในคืนวันที่ 4 สิงหาคม
1789 ซึง่ ในมุมของเหล่าอภิชนในสภาการเสียอภิสทิ ธิที์ ่เคยขายได้เป็ นเงินเป็ น
ทองเหล่ า นี้ ก็ไ ม่ ใ ช่ ก ารเสีย สละเพื่อ ความเท่ า เทีย มเท่ า กับ เป็ น การเปลี่ย น
ทรัพย์สนิ แบบหนึ่งไปเป็ นอีกแบบหนึ่งเพราะอย่างน้อยๆ ในหลายๆ พื้นที่ใน
ฝรังเศสอภิ
่ สทิ ธิพวกนี
์ ้กร็ าคาตกไปเรียบร้อยแล้ว และการยกเลิกอภิสทิ ธิโดยรั์ ฐนี้
ก็ไม่ใช่การริบไปเฉยๆ มีการจ่ายเงินทดแทน ซึง่ การให้รฐั ซือ้ อภิสทิ ธิที์ ไ่ ม่ค่อยมี
ราคานี้คืนไปก็เป็ นการตัด สิน ใจเศรษฐกิจ ที่สมเหตุ สมผล และถ้า มองว่ าการ
ยกเลิกอภิสทิ ธิของพวกพระมั
์ นพ่วงมากับการ “ยึดทีด่ นิ ” ของพวกพระมาเป็ น
ของรัฐเพื่อขายทอดตลาดนัน้ คนซือ้ ก็ไ ม่ใช่อะไรนอกจากพวกอภิชนในสภาทีซ่ อ้ื
ทีด่ นิ ได้ในราคาทีถ่ ูก การยกเลิกอภิสทิ ธิทั์ ง้ หมดก็ดูจะเป็ นการกระทาทีม่ เี หตุผล
ทางเศรษฐกิจกากับไปไม่น้อยกว่าเหตุผลทางการเมือง 7 อย่างไรก็ดสี งิ่ ทีต่ ามมา

7
นี่เป็ นการตีความแบบดัง้ เดิมทีน่ กั ประวัตศิ าสตร์รุ่นหลังอย่าง William Doyle ไม่เห็นด้วยนัก
ด้วยเหตุผลที่ว่า ราคาที่รฐั ซื้ออภิสทิ ธิคื์ อไปนัน้ ถูกกว่าราคาตลาดของตาแหน่ งในบางเขตที่
อภิสทิ ธิ ์ยังราคาดีเช่ น Bordeaux อย่างไรก็ดี เราก็อาจมองได้ว่านี่เป็ นข้อยกเว้นมากกว่า
ลักษณะทัวไป ่ เพราะในเขตอื่นๆ ราคาตลาดของอภิสทิ ธิก็์ ตกจริง ทัง้ นี้ แม้แต่ Doyle เองที่
พยายามจะลดบทบาทของเหตุ ผลทางเศรษฐกิจในการยกเลิกอภิสทิ ธิก็์ ปฏิเสธไม่ได้ว่าการ

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 77
ในปี 1791 ก็คอื การยกเลิกกิลด์ (guild) ทัง้ หมดในปารีสไปพร้อมๆ กับอภิสทิ ธิ ์
ต่างๆ ของสมาคมเหล่านี้กเ็ ป็ นสิง่ ทีส่ ่งผลอย่างยิง่ ยวดต่อชีวติ ของผูค้ นทัวไปใน

ปารีสและฝรังเศส ่ (Sewell, 1980: 120)
การยกเลิกกิลด์หมายความว่า นับแต่น้ีไปคนในปารีสจะอยู่ในภาวะที่
“ใครใคร่คา้ ค้า” กล่าวคือมันจะไม่มขี อ้ จากัดอีกแล้วว่าเฉพาะสมาชิกระดับสูงของ
กิล ด์เ ท่ า นั น้ ที่จ ะท าการผลิต และซื้อ ขายสิน ค้า และบริก ารได้ ไม่ มีอีก แล้ว ที่
ตาแหน่ งมาสเตอร์ (master) ที่มีจากัดของสมาคม จะถูกกันเอาไว้ทางอ้อมๆ
ด้วยค่าสอบทีแ่ สนแพงเพื่อให้ลกู หลานของมาสเตอร์คนเก่าเท่านัน้ ทีจ่ ะรับช่วงต่อ
ได้ เพราะต่อจากนี้ไปใครทีม่ ที กั ษะพอก็สามารถจะเปิ ด ร้านของตัวเองได้ทงั ้ นัน้
ไม่ต้องมีตาแหน่ งมาสเตอร์กากับ ภาวะแบบนี้ครอบคลุมไปในทุกๆ สินค้าและ
บริการที่เคยผลิตและซื้อขายกันภายใต้ระบบกิลด์ในระบอบเก่าในปารีส ซึ่งใน
ทีน่ ้จี ะขอเน้นไปทีห่ นังสือ
โลกของหนังสือในปารีสในระบอบเก่าคือโลกทีม่ กี ารผูกขาดการค้าโดย
สมาคมผู้ผลิตหนังสือแห่งปารีสมาเป็ นร้อยปี ตงั ้ แต่ต้นศตวรรษที่ 17 และแม้ว่า
การปฏิรูปตอนต้นรัชกาลของ Louis XVI ในทศวรรษที่ 1770 จะลดอานาจของ
ทางสมาคมในการผูกขาดและให้อานาจบรรดาพ่อค้าหนังสือนอกปารีสเพิม่ ขึน้ ไป
แล้ว แต่ในทศวรรษที่ 1780 อานาจทางทางสมาคมก็กลับมาอีกเพราะตัง้ แต่ปี

ยกเลิกอภิสทิ ธิเป็์ นไปได้เพราะในภาพรวมพวกในสภาก็ไม่เสียหายทางเศรษฐกิจเพราะการ


“ขาดทุน” ในการทีร่ ฐั ซื้ออภิสทิ ธิคื์ นไปถูก มันก็ได้รบั การทดแทนด้วยการ “ได้กาไร” จากทีด่ นิ
พระทีถ่ ูกนามาขายทอดตลาดในกระบวนการยกเลิกอภิสทิ ธิเดี ์ ยวกัน
อย่ า งไรก็ดีเ พื่อ ความเป็ นธรรมกับ Doyle สิ่ง ที่เ ขาเสนอก็ไ ม่ ใ ช่ ก ารลดทอน
ตัวกาหนดการปฏิวตั ิให้เหลือแต่เพียงมิติอุดมการณ์ทางการเมือง ประเด็นของเขาคือ การ
ปฏิวตั เิ กิดขึน้ ด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองไม่น้อยไปกว่าด้วยเงือ่ นไขทางเศรษฐกิจ ซึ่งเขายก
มาแย้ง การตีค วามปฏิว ตั ิฝ รังเศสตามจารี
่ ต ของนักประวัติศ าสตร์ Marxist ที่มองว่าตัว
ขับเคลือ่ นการปฏิวตั ฝิ รังเศสคื
่ อ แรงจูงใจทางเศรษฐกิจของพวกกระฎุมพี (ซึง่ Doyle ก็ชอ้ี กี ว่า
ในฝรั ่งเศสช่วงปฏิวตั กิ ระฎุมพีและอภิชนเป็ นสิง่ ทีแ่ ทบจะแยกกันไม่ได้เพราะมันคือกลุ่มคนทีม่ ี
วิถชี วี ติ และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแบบเดียวกัน) ดู Doyle, 1995: 151, 173-178

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 78
1783 ทางรัฐก็มนี โยบายว่าหนังสือทีเ่ ข้ามาในฝรังเศสทั ่ ง้ หมดต้องส่งมาทีป่ ารีส
เพื่อผ่านการเซ็นเซอร์โดยสมาคมผูผ้ ลิตหนังสือแห่งปารีสก่อน (Darnton, 1971)
นี่ แ สดงให้เ ห็น ถึง บทบาทของทางสมาคมผู้ผ ลิต หนั ง สือ แห่ ง ปารีส
ในช่วงก่อนปฏิวตั ทิ เ่ี ล่นเป็ นกองเซ็นเซอร์อย่างเข้มข้น และก็ไม่น่าแปลกใจนักที่
บรรดาคนของสมาคมจะเป็ นทีร่ งั เกียจของเหล่าอภิชนหัวก้าวหน้าและนักเขียน
หัวก้าวหน้ามาตัง้ แต่ก่อนปฏิวตั แิ ล้วเพราะสิง่ ทีพ่ วกนี้นิยมอ่านกันก็ลว้ นแต่เป็ น
“หนังสือเถื่อน” ที่ไม่มีวนั จะผ่านเซ็นเซอร์ทงั ้ นัน้ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจอีกที่การ
ยกเลิกกิลด์โดยรัฐบาลปฏิวตั ใิ นปี 1791 จะเป็ นสิง่ ทีเ่ หล่าปั ญญาชนหัวก้าวหน้า
รอมาแสนนาน เพราะนันหมายถึ ่ งการทีส่ งิ่ พิมพ์จะเป็ นอิสระโดยสมบูรณ์
เอาจริงๆ หลังการปฏิวตั ิในทันที สิง่ พิมพ์ท่ผี ดิ กฎหมายการพิมพ์ใน
ระบอบเก่าก็ได้กลายมาเป็ นถูกกฎหมายทัง้ หมดในทางปฏิบตั ิอยู่แล้ว เพราะ
กลไกในการควบคุมเดิมอย่างระบบเซ็นเซอร์ทข่ี น้ึ ตรงกับทางราชสานักก็ได้หยุด
นิ่งไปแม้ว่าจะไม่ได้มกี ารยกเลิกกลไกเหล่านี้อย่างเป็ นลายลักษณ์อกั ษร อย่างไร
ก็ดใี นทางกฎหมาย สิง่ ที่ยงั เป็ นอุปสรรคของการตีพมิ พ์สงิ่ ต่ างๆ โดยเสรีกค็ ือ
อานาจในการผูกขาดการผลิตและขายหนัง สือของสมาคมผู้ผลิต หนังสือแห่ ง
ปารีสซึ่ง ยังมีอยู่เพราะอภิสทิ ธิใ์ นการผูก ขาดการค้า หนัง สือในปารีสของทาง
สมาคมยัง ไม่ ย กเลิก ไป ดัง นัน้ การยกเลิก “สมาคมช่ า ง” ในปี 1791 จึง เป็ น
กระบวนการสุ ด ท้า ยในการปลดปล่ อ ยสิ่ง พิม พ์ใ นปารีส เป็ น อิสระอย่ า งเป็ น
ทางการนันเอง ่
เหล่าทายาททางความคิดของปั ญญาชนแห่งยุครูแ้ จ้งหวังเป็ นอย่างยิง่
ว่าการปลดปล่อยสิง่ พิมพ์เป็ นอิสระจะเป็ นการผลักดันอุดมการณ์แห่งยุครูแ้ จ้งไป
ในหมู่คนส่วนใหญ่ เพราะก่อนหน้านัน้ หนังสือสาคัญของยุครูแ้ จ้งทัง้ หลายๆ ก็
จัดเป็ นหนังสือเถื่อนผิดกฎหมายทัง้ นัน้ และมันก็ไม่ใช่สงิ่ ทีจ่ ะหาอ่านกันง่ายๆ ใน
ปารีส การปลดปล่อยสิง่ พิมพ์ทาให้บรรดาหนังสือต้องห้ามทัง้ หลายกลายมาเป็ น
หนังสือขายดีกจ็ ริง อย่างไรก็ดภี าวะดังกล่าวก็ไม่ได้แค่ทาให้หนังสือชูอุดมการณ์
แห่งยุครูแ้ จ้งจะเต็มบ้านเต็มเมืองเท่านัน้ แต่พวกหนังสือทีไ่ ม่ได้ประเทืองปั ญญา

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 79
บนฐานของอุดมการณ์การรูแ้ จ้งตัง้ แต่หนังสือทานองซุปซิบนินทาเรื่องใต้สะดือ
ของราชวงศ์ Bourbon ไปจนถึงจุลสารที่เน้นการใส่ความที่เน้นความบันเทิง
มากกว่าข้อเท็จจริงไปจนถึงการปลุกปั น่ ทางการเมืองก็ออกมาท่วมท้นล้นตลาด
แตกเช่นกันด้วย
“เสรีภาพสื่อ” หรือภาวะการพิมพ์อะไรก็ได้ดูจะไม่ได้นาไปสู่สงั คมอุดม
ปั ญ ญาแบบที่เ หล่า นัก คิด ในยุ ค แห่ ง การรู้แ จ้ง วาดหวัง ไว้ใ นตอนแรก นัก คิด
เหล่านี้เคยคิดว่าถ้ามี “เสรีภาพสือ่ ” ความรูต้ ่างๆ จะแพร่กระจายไปได้อย่างอิสระ
แต่ความเป็ นจริง ผูค้ นส่วนใหญ่ในปารีสช่วงปฏิวตั กิ ไ็ ม่ได้แตกต่างไปจากมวลชน
ส่วนใหญ่ ใ นประวัติศาสตร์โ ลกที่สนใจเรื่อ งซุ บซิบนิ นทาบ้าๆ บอๆ ไปจนถึง
ข้อเขียนปลุกปั น่ เอามันอันไม่มเี นื้อหาสาระมากกว่าทีจ่ ะสนใจงานทางความคิดที่
จะไปเพิม่ พูนสติปัญญาหรือกระทังความกิ่ นดีอยู่ดขี องพวกเขา8
น่าสนใจว่าตัวการสาคัญในการตีพมิ พ์สงิ่ พิมพ์ปลุกปั น่ บันทอนปั
่ ญญาก็
คือ เหล่าบรรดาพ่อค้าหนังสือของสมาคมผูผ้ ลิตหนังสือแห่งปารีสทีเ่ คยมีอภิสทิ ธิ ์
ผูกขาดการพิมพ์ในระบอบเก่านัน่ เอง แม้ว่า ในทางกฎหมายอานาจของทาง
สมาคมจะยังไม่หมดไปทันทีหลังการปฏิวตั ิ แต่กลไกรัฐเก่า ที่หยุดนิ่งไปก็ทาให้
อานาจในการผูกขาดของทางสมาคมนัน้ ไม่ดารงอยู่จริงเรียบร้อยแล้วในทาง
ปฏิบตั กิ ่อนทีท่ างสมาคมจะหมดอานาจไปจริงๆ หลังการยกเลิกกิลด์ในปี 1791
เมื่อไม่มอี านาจผูกขาดพ่อค้าหนังสือของทางสมาคมอ้างว่าพวกเขาไม่
มีความสามารถจะแข่งขันกับเหล่าพ่อค้าหนังสือหน้าใหม่ทพ่ี มิ พ์หนังสือคลาสสิก

8
อย่างไรก็ดนี ่กี อ็ าจจะเป็ นความเข้าใจผิดของพวกปั ญญาชนเองมาแต่แรก เพราะจากบันทึก
ทางประวัติศ าสตร์ท่หี ลงเหลือ มาของโรงพิมพ์ท่ีผ ลิต หนังสือ เถื่อ นขายตัง้ แต่ ก่อ นปฏิว ัติ
ยอดขายของงานของปั ญญาชนทีเ่ ป็ นทีเ่ คารพกันอย่าง Voltaire และ Rousseau ก็สหู้ นังสือ
จาพวกพวก “แฉชีวติ ราชวงศ์” หรือนวนิยายทีม่ เี นื้อหาหมิน่ เหม่ต่อความมันคงต่
่ างๆ อื่นๆ อัน
ลึกซึ้งน้อยกว่าและอ่านง่ายกว่าไม่ได้ พูดง่ายๆ คืองานทางปั ญญาของยุคแห่งการรูแ้ จ้งมันก็
ไม่ใช่หนังสือเถื่อนผิด กฎหมายที่คนเลือกอ่านอันดับต้นๆ มาตัง้ แต่ก่อนการปฏิวตั ิแล้ว ดู
Darnton, 1989

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 80
“ดีๆ” ที่พวกเขาเคยถืออภิสทิ ธิผู์ กขาดพิมพ์มาแข่งได้ เพราะการหยุดนิ่งของ
กลไกระบอบเก่าก็ทาให้มกี ารตีพมิ พ์ทุกสิง่ ทุกอย่างมาขายกันอย่างเสรีไม่ว่าจะ
เป็ นหนังสือต้องห้ามในระบอบเก่าหรือหนังสือทีข่ ายดี “บนดิน” อยู่แล้วในระบอบ
เก่าซึง่ หนังพวกนี้หลักๆ ก็คอื หนังสือคลาสสิก หนังสือประเภทหลังนี่เองทีพ่ ่อค้า
หนังสือของสมาคมผู้ผลิตหนังสือแห่งปารีสเคยผูกขาดการขายไปก่อน เมื่อสิน้
อานาจผูกขาดในทางปฏิบตั ไิ ปแล้ว พ่อค้าหนังสือของทางสมาคมพวกนี้กต็ ้อง
ประสบภาวะทีผ่ ลกาไรลดลงฮวบฮาบ
ดังนัน้ ทางรอดในทางเศรษฐกิจ ของพวกเขาอย่างหนึ่งก็คอื การตีพมิ พ์
งานอันไม่ประเทืองปั ญญาไปจนถึงงานที่มลี กั ษณะเอามันและปลุกปั น่ ออกมา
ขาย (Hesse, 1990: 118) ซึง่ ในแง่น้พี วกเขาก็ยอมรับโดยนัยด้วยว่างานไร้สาระ
เหล่านี้เป็ นงานทีท่ ากาไรได้ดี
เมื่อ การปฏิว ัติยิ่ง ผ่ า นไป สิ่ง ที่ยิ่ง ปรากฏชัด ก็คือ งานอัน ประเทือ ง
ปั ญญาทีพ่ วกปั ญญาชนหัวก้าวหน้านิยมลักลอบหามาก่อนกันตอนปลายระบอบ
เก่าก็ยงิ่ หายไปจากสารบบการค้าหนังสือหลังภาวะเห่อ “หนังสือเคยต้องห้าม”
จบสิน้ ลงในเวลาไม่นาน ในตอนนี้เหล่าพ่อค้าหนังสือในยุคปฏิวตั ิกโ็ วยวายกับ
ทางรัฐบาลหลังปฏิวตั วิ ่าการไร้ซง่ึ “อภิสทิ ธิการพิ ์ มพ์” หรือภาวะไร้ซง่ึ สิทธิในการ
ผูกขาดการพิมพ์โดยสิน้ เชิงนัน้ เป็ นต้นเหตุของภาวะถดถอยทางปั ญญาดังกล่าว
ของคนฝรังเศส ่ อย่างไรก็ดี คาอธิบายทีน่ ่ าจะเหมาะสมกว่าก็คอื ฝรังเศสนั ่ น้ ได้
สูญเสียตลาดงานประเทืองปั ญญาทีผ่ บู้ ริโภคหลักคืออภิชนในระบอบเก่าไปอย่าง
มหาศาลหลังการปฏิว ัติ เพราะคนพวกนี้จานวนก็ล้ภี ัย การเมืองออกไปนอก
ฝรังเศส
่ ทาให้ตลาดหนังสืออ่านยากๆ หดตัวไปมาก และทาให้ตลาดสิง่ พิมพ์อนั
ไม่ประเทืองปั ญญาและอ่านง่ายอันมีฐานผูอ้ ่านเป็ นพวกช่างในปารีสเติบโตแทน
นอกจากนี้หลังปฏิวตั ิฝรังเศส ่ ฝรังเศสก็
่ ได้เข้าสู่ภาวะสงครามทัง้ ในและนอก
ประเทศด้วย ความวุ่นวายทัง้ หลายทัง้ มวลอันเป็ นผลพวงของการปฏิวตั ดิ ูจะเป็ น
คาอธิบ ายสาเหตุ ค วามซบเซาของตลาดหนังสือฝรัง่ เศสโดยรวมๆ ได้ดีก ว่ า

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 81
คาอธิบายว่าเป็ นเพียงเพราะฝรังเศสไม่ ่ มีกฎหมายลิขสิทธิห์ รือกฎหมายเพื่อ
รองรับการผูกขาดการพิมพ์ใดๆ ดารงอยู่เลย (Hesse, 1991: 128-129)
จริงๆ แล้วฝรังเศสช่
่ วงปฏิวตั กิ ไ็ ม่ใช่ภาวะทีจ่ ะไร้กฎหมายควบคุมการ
พิมพ์เลย ในปี 1790 ทางสภาก็ได้เริม่ ทาการพิจารณากฎหมายควบคุมสิง่ พิมพ์
บางแบบขึน้ ท่ามกลางความวุ่นวายในทุกระดับของการปฏิวตั ิ ซึง่ อันทีจ่ ริงมูลเหตุ
ของกฎหมายนี้กด็ ูจะมีรากฐานมาจากการที่รฐั บาลเห็นว่าเสรีภาพของการพิมพ์
นั น้ ดู จ ะน าไปสู่เ สรีภ าพของสิ่ง พิม พ์นิ ร นามเพื่อ ปลุ ก ปั น่ ทางการเมือ งด้ว ย
(โดยเฉพาะจากฝ่ ายต่อต้านการปฏิวตั )ิ ซึง่ นัน่ ไม่เป็ นผลดีต่อเสถียรภาพของรัฐ
(Hesse, 1991: 120)
ในปี เดียวกันนี้เอง Abbe Sieyes พระคาทอลิกนักปฏิวตั ิผโู้ ด่งดังก็ได้
เสนอร่างกฎหมายลิขสิทธิ9์ ขึน้ โดยมีหลักใหญ่ใจความว่าให้ถอื ว่างานเขียนเป็ น
ทรัพย์สนิ อันจากัดของผู้เขียน และผู้เขียนก็มอี ภิสทิ ธิจะผู ์ กขาดการตีพมิ พ์ (ไป
จนถึง ขายอภิส ิท ธิน์ ้ี ) ไปตลอดชีวิต และสิท ธิน์ ้ี ก็ย ัง จะคงอยู่ไ ปอีก 10 ปี ห ลัง
ผู้เ ขีย นตาย (ซึ่ง สิท ธิท์ ่ีว่ า จะตกอยู่ ก ับ ทายาทหรือ ส านั ก พิม พ์ ก็สุ ด แท้ แ ต่ )
ระยะเวลา 10 ปี น้ีกต็ งั ้ ไว้เพื่อให้ต้นฉบับของผู้เขียนทีย่ งั ไม่ได้รบั การตีพมิ พ์มา

9
ซึ่งร่างนี่ก็เป็ นที่รกู้ นั ทัวไปว่
่ าเป็ นร่างกฎหมายที่จริงๆ แล้วมาจากฝี มอื ของปั ญญาชนนัก
คณิตศาสตร์อภิชนอย่าง Marquis de Condorcet ที่ Abbe Sieyes เป็ นแค่ “นอมินี” เหตุผลที่
เชื่อกันดังนี้ก็เพราะเนื้อหาในร่างกฎหมายลิขสิทธินี์ ้ ก็ไปพ้องกับจุลสาร Fragment on the
Freedom of the Press ที่ Condorcet เขียนมาในปี 1776 เพื่อสนับสนุ นการปฏิรูปกฎหมาย
สิง่ พิมพ์ในระบอบเก่า
เนื้อหาและโครงสร้างโดยรวมของร่างกฎหมายลิขสิทธิของ ์ Sieyes และจุลสารของ
Condorcet มีค วามคล้ายคลึงกัน มาก ความต่ างที่สาคัญมีเพีย งส่ ว นเกี่ย วกับ “อภิส ิท ธิ”์ ที่
Condorcet ในปี 1776 มองว่าความคิดนัน้ เป็ นผลผลิตของสังคม ไม่ใช่ของปั จเจก ดังนัน้ จึงไม่
มีควรจะมีอภิสทิ ธิ ์อะไรทัง้ นัน้ เพื่อให้ความรูน้ นั ้ แพร่กระจายไปได้อย่างไม่มขี อ้ จากัดทีส่ ุด แต่
พอมาในปี 1790 เมื่อ Condorcet ร่างกฎหมายลิขสิทธิก์ ลับมองว่าการให้ “อภิส ิทธิ”์ แก่
ผูเ้ ขียนในบางระดับนัน้ จาเป็ นต่อการเผยแพร่ความรู้ แต่ “อภิสทิ ธิ”์ ทีว่ ่านี้กต็ ้องไม่มากจนเป็ น
ภัยทางภูมปิ ั ญญาต่อสาธารณชน ดู Hesse, 1990: 119

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 82
ก่อนตอนยังมีชวี ติ ได้รบั การชาระและตีพมิ พ์หลังผู้ เขียนตาย ทัง้ นี้หลังจากเวลา
10 ปี ดงั กล่าวงานเขียนก็จะตกเป็ นของสาธารณชนฝรังเศสไปซึ ่ ่งใครจะเอาไป
ตีพมิ พ์กไ็ ด้ ลักษณะนี้มคี วามต่างอย่างชัดเจนกับ “อภิสทิ ธิ”์ ภายใต้ระบอบเก่าที่
ในทางทฤษฎีอาจไม่มวี นั หมดอายุและยืดไปเรื่อยๆ ได้ตามทีก่ ษัตริยต์ อ้ งการและ
บรรดาพ่อค้าหนังสือร้องขอ กล่าวโดยสรุปคือร่างกฎหมายนี้บอกว่างานเขียนมี
ลักษณะเป็ น “ทรัพย์สนิ แบบจากัด” (limited property) ทีส่ ทิ ธิผูกขาดถือว่ามีได้
ในระยะหนึ่งโดยผูท้ ส่ี ร้างมันขึน้ มา ก่อนทีม่ นั จะกลายมาเป็ นของสาธารณะ
ร่างกฎหมายนี้โดนยาและรุมทึง้ จนเละเทะจากแทบทุกฝ่ ายทันทีทร่ี ่าง
กฎหมายออกมา ทางฝ่ ายผูม้ คี วามคิดถึงรากถึงโคนก็มองว่าร่างกฎหมายดูจะมี
เจตนาสร้างเงื่อนไขความรับผิดชอบแก่ตวั ผูเ้ ขียนในนามของการยอมรับว่างาน
เขียนเป็ นทรัพย์สนิ ของผูเ้ ขียน กล่าวคือมันถูกร่างขึน้ มาเพื่อสร้างเงื่อนไขในการ
เอาผิดในทางกฎหมาย ซึง่ ขัดแย้งกับ “เสรีภาพของแท่นพิมพ์” ทีต่ ้องหมายถึง
การพิมพ์อะไรก็ได้โดยไม่ตอ้ งติดคุกหรือโดนดาเนินคดีใดๆ อีกฝ่ ายก้าวหน้าฝ่ าย
หนึ่งก็วจิ ารณ์ว่าการทาให้ “งานเขียน” เป็ น “ทรัพย์สนิ ” นี้ไม่ใช่อะไรนอกจากการ
ร่ า งกฎหมายให้ พ วกส านั ก พิม พ์ เ อาความรู้ ซ่ึง เป็ นสมบัติ ส าธารณะไปหา
ประโยชน์ 10 ส่ ว นทางฝั ง่ กลุ่ ม พ่ อ ค้า หนัง สือ ก็ม องว่ า การคุ้ม ครองแบบครึ่ง ๆ
กลางๆ ที่ถอื ว่ากรรมสิทธิเหนื์ องานเขียนเป็ น “ทรัพย์สนิ แบบจากัด” แบบนี้ไม่
ถูกต้อง เพราะงานเขียนนัน้ ควรจะเป็ นทรัพย์สนิ ดังเช่นทรัพย์สนิ อื่นๆ ทีเ่ จ้าของ
ถือครองไปได้ช วั ่ กาลปาวสาน นอกจากนี้คาวิจารณ์ในส่วนของระยะเวลาการ
10
ความย้อนแย้งทีน่ ่ าขันคือ ข้อโต้แ ย้งกฎหมายนี้กไ็ ม่ได้ต่างจากสิง่ ทีเ่ จ้าของร่างกฎหมาย
ลิขสิทธิตั์ วจริงอย่าง Condorcet เสนอมาเองในปี 1776 ว่า “ความรู”้ ทัง้ หลายไม่ควรจะเป็ น
ทรัพย์สนิ ของเอกชน อันที่จริงข้อโต้แย้งร่างกฎหมายนี้ในปี 1790 ก็ถูกยกมาโดยคนอย่าง
Auguste de Keralio ผูซ้ ง่ึ เคยทางานเป็ นเลขาให้ Condorcet ในช่วง 1770-1780 นัน่ เอง พูด
ง่ายๆ คือสาหรับ de Keralio แล้ว Condorcet เจ้านายเก่าของเขาผูเ้ ป็ น “เจ้าของร่างกฎหมาย
ลิขสิทธิตั์ วจริง” นัน้ ทรยศต่อจุดยืนด้านลิขสิทธิตั์ วเองในช่วงก่อนการปฏิวตั ิ ซึ่งการทรยศต่ อ
จุดยืนของตัวเองนี้กอ็ าจเป็ นเหตุผลให้ Condorcet ให้ Sieyes เป็ นคนออกหน้าแทนในการ
เสนอร่างกฎหมายลิขสิทธิ ์ก็เป็ นได้

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 83
คุม้ ครองการผูกขาดนี้กม็ ผี วู้ จิ ารณ์ไปอีกด้านเช่นกันว่าการคุม้ ครองไปตลาดชีวติ
ผู้เ ขีย นนั น้ ยาวนานเกิน ไป และก็ค วรย่ น ระยะเวลาคุ้ม ครองมาให้เ ป็ น แบบ
กฎหมายลิขสิทธิอั์ งกฤษทีอ่ งั กฤษใช้อยู่กค็ อื คุม้ ครองการผูกขาดการพิมพ์ไป 14
ปี หลังการตีพมิ พ์ครัง้ แรก และถ้าผูเ้ ขียนยังไม่ตายก็ต่ออายุได้อกี 14 ปี ก่อนงาน
จะเป็ นของสาธารณะต่อไป กล่าวโดยสรุปแล้ว ร่างกฎหมายนี้ แทบไม่ถูกใจฝ่ าย
ใดเลย และมันโดนถล่มเละก่อนทีถ่ ูกนาไปพิจารณาอะไรต่อไปทัง้ นัน้
หลังจากร่างนี้ตกไป ความพยายามที่สาคัญที่ในทีส่ ุดนามาสู่กฎหมาย
ลิขสิทธิของฝรั
์ งเศสก็
่ ไม่ได้มาจากในสภาแต่มนั กลับกลับมาจากเหล่านักเขียน
บทละคร พวกนัก เขีย นบทละครมีค วามพยายามอย่ า งแข็ง ขั น ที่จ ะให้ร ัฐนั น้
ยกเลิกอภิสทิ ธิในการผู์ กขาดการแสดงละครของโรงละคร Comedie Francais
อันเป็ นซากเดนของระบอบเก่า และให้รฐั ยืนยันว่าพวกตนนัน้ เป็ นเจ้าของบท
ละครที่ตนเขียนมากับมือ เพราะในระบอบเก่านัน้ ไม่เคยมีการรองรับสิทธิใดๆ
เหนือบทละครของนักแต่งบทละคร แต่กลับรองรับ “อภิสทิ ธิ”์ ของผู้กากับละคร
ในการนาบทละครไปแสดงจนถึงพิมพ์บทละครขายได้ (ซึง่ แน่ นอนว่าการได้มา
ซึง่ อภิสทิ ธิดั์ งกล่าวต้องผ่านการอนุมตั จิ ากกษัตริยอ์ กี ที)
นี่นาไปสู่การประท้วงทีน่ าโดย Caron de Beaumarchais ซึง่ ได้
นั ก เขีย นบทละคร 21 คนที่ล งนามเจตจ านงร่ ว มกัน เพื่อ ร้ อ งเรีย นต่ อ สภา
(Primary Sources on Copyright (1450-1900), 1791; Hesse, 1991: 116) คน
ทีน่ าเรื่องไปเสนอในสภาก็คอื Jean-François de La Harpe นักเขียนบทละครที่
เป็ นสมาชิกสภาอยู่ และในที่สุดกฎหมายรองรับสิทธิเหนือบทละครก็ออกมา
(Hesse 1991: 118) โดยเนื้อหาของกฎหมายก็แทบจะเหมือนร่างกฎหมาย
ลิขสิทธิของ์ Sieyes เพียงแต่เปลีย่ นเนื้อหาจากหนังสือเป็ นบทละครเท่านัน้ และ
เปลีย่ นระยะเวลาคุม้ ครองจาก 10 ปี หลังนักเขียนตายตามข้อเสนอของ Sieyes
มาเป็ น 5 ปี หลังนักเขียนบทละครตายแทน นักกฎหมายผูน้ าเสนอกฎหมายฉบับ
นี้ในสภาอย่าง Isaac-Rene-Guy Le Chapelier ก็กล่าวชัดเจนว่าการมีวนั

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 84
หมดอายุของลิขสิทธิคื์ อสิง่ จาเป็ น เพราะสาธารณชนคือ เจ้าของทีแ่ ท้ของลิขสิทธิ ์
(Hesse, 1990: 126)
กฎหมายนี้ ผ่า นมาในปี 1791 และทาให้ใ นตอนต้นปี ปี 1792 เหล่ า
นักเขียนและนักแต่งเพลงรวม 30 คนก็รวมตัวกันเรียกร้องให้พวกตนให้มี สทิ ธิ
เหนืองานเขียนตัวเองเหมือนพวกนักแต่งบทละครมีบ้าง ซึ่งราว 1 ปี ต่อมาใน
เดือนกุมภาพันธ์ 1793 ทางการสาธารณรัฐขณะนัน้ ก็ตอบรับข้อเรียกร้องในทีส่ ุด
และได้มอบหมายให้นักเขียนบทละครอย่าง Joseph Chenier ไปจัดการร่าง
กฎหมายลิขสิทธิมา ์ ผลสุดท้ายคือ Chenier ก็ได้ร่างกฎหมายมาที่กม็ เี นื้อหา
เหมือนร่างของ Sieyes ทีต่ กไปในปี 1790 ออกมาและทางสภาขณะนัน้ ก็ผ่าน
มันไปอย่างรวดเร็ว
ทีต่ ลกคือทัง้ Chenier และบรรดาผูเ้ กีย่ วข้องกับร่างกฎหมายลิขสิทธิ ์
ทัง้ หมดซึง่ จานวนมากก็คอื เหล่านักเขียนทีเ่ ป็ นสมาชิกสภาคือ ปี กขัว้ การเมืองใน
สภาล้วนไม่ได้อยู่ในสภาทัง้ สิน้ ในตอนทีก่ ฎหมายผ่าน (Hesse, 1990: 120)11
11
พวกนี้เรียกรวมๆ ว่าพวกฌิรงแดง (Girondins) คาๆ นี้ไม่ใช่คาทีใ่ ช้กนั สมัยปฏิวตั ฝิ รังเศส ่
แต่ เป็ น คาที่เกิดภายหลังในช่ว งปลายศตวรรษที่ 19 ในสมัย ปฏิว ตั ิฝ รังเศสพวกนี่ ้ ถูกเรีย ก
เรียกว่า บริสโซแตง (Brissotins) ตามชื่อผูน้ าของกลุ่มคือ Jacques Pierre Brissot ทัง้ นี้พวก
นี้เป็ นพวกทีม่ คี วามเห็น ต่างจากพวกสมาชิกสภากลุ่ม “มงตาญญาร์ด” (Montagnard) ที่นา
โดย Maximillien Robespierre ผูโ้ ด่งดัง
พวก บริสโซแต็ง คือพวกที่ยงิ่ ปฏิวตั ิผ่านไปก็ยงิ่ ไม่นิยมมาตรการขัน้ เด็ดขาดใน
การปฏิว ตั ิ ซึ่งฐานสนับสนุ น เป็ น พวกกลุ่ มผู้ทาอาชีพ ระดับสูง คนรวยและอภิช นเก่าที่ย ัง
เหลืออยู่ทวฝรัั ่ งเศส
่ ซึ่งก็ไม่แปลกเพราะพวก “ฌิรงแดง” ดังทีถ่ ูกเรียกกันภายหลังนัน้ มาจาก
เขตฌิรงด์ (ซึ่งเป็ นฐานการผลิตสินค้าส่งออกชื่อดังอย่างไวน์บอร์กโดซ์) ซึ่งเป็ นไม่กเ่ี ขตใน
ฝรั ่งเศสก่อนปฏิวตั ทิ ร่ี าคาของอภิสทิ ธิในการด
์ ารงตาแหน่ งขุนนางยังคงทะยานสูงขึ้นเรื่อยๆ
อันบ่งชี้ถึงสายสัมพันธ์อนั แนบแน่ นของพ่อค้าระดับสูงและขุนนางซึ่งจริงๆ แทบจะแยกกัน
ไม่ได้เพราะพ่อค้าระดับสูงในฝรังเศสศตวรรษที
่ ่ 18 ก็เลือ่ นชนชัน้ ตัวเองด้วยการซื้ออภิสทิ ธิใน

ตาแหน่งขุนนางกันเป็ นปกติ (Doyles, 1995: 87-103)
ในขณะทีพ่ วกฌิรงแดง มีแนวทางที่ประนีประนอมกับระบอบเก่าพอควรเมื่อการ
ปฏิวตั เิ คลื่อนตัวไป พวกมงตาญญาร์ด คือพวกทีเ่ น้นนโยบายขัน้ เด็ดขาดและรุนแรงในตอน

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 85
เพราะในช่วงทีก่ ฎหมายผ่านได้ไม่นาน เหล่าผูร้ ่างมันก็กาลังหนีหวั ซุกหัวซุนเพื่อ
ไม่ให้โดน “กิโยติน” ในช่วงเวลาอันในการกาจัดเหล่าศัตรูของการปฏิวตั ิอย่าง
นองเลือดที่สุดของปฏิวตั ิฝรังเศสที่ ่ขนานนามกันว่า “ยุคแห่งความกลัว ” (The
Terror) พู ด ง่ า ยๆ คือ บรรดาผู้ร่ า งกฎหมายและผลัก ดัน ลิข สิท ธิฝ์ รัง่ เศสนั น้
สุดท้ายก็แทบจะถูกล้างบางไปหมดด้วยข้อหา “ศัตรูของการปฏิวตั ิ” แทบทัง้ สิน้
ตัง้ แต่ Condorcet ผูร้ ่างกฎหมายลิขสิทธิตั์ วจริงทีต่ ายในคุก ยัน Chenier ผูร้ ่าง
กฎหมายทีร่ อดกิโยตินมาอย่างหวุดหวิด (แต่ Andre Chenier พีช่ ายของเขาที่
เป็ นกวีกไ็ ม่รอด)
ทีน่ ่ าสนใจที่สุดร่างกฎหมายลิขสิทธิของฝรั
์ งเศสที
่ ่ผ่านมานี้กด็ ูเหมือน
ร่างของ Sieyes ทุกอย่างยกเว้นทีม่ นั ระบุชดั เจนว่ามันไม่มผี ลย้อนหลังและมัน
ไม่รบั รองอภิสทิ ธิในการผู
์ กขาดการตีพมิ พ์หนังสือใดๆ ทัง้ สิน้ ที่มมี าในระบอบ
12
เก่า พูดง่ายๆ คือกฎหมายมันยืนยันว่างานเขียนช่วงก่อนปฏิวตั ทิ งั ้ หมดนัน้ ถือ
ว่าเป็ นของสาธารณะทัง้ หมด ดังนัน้ นี่จงึ เป็ นหลักประกันว่างานเขียนของเหล่า
นักเขียนยุค แห่งความรู้แจ้ง รวมไปถึง บรรดางานคลาสสิกสารพัด จะเป็ นของ
สาธารณะทีส่ าธารณชนชาวฝรัง่ เศสจะสามารถเข้าถึงได้ทงั ้ หมด หรืออย่างน้อย

ปฏิวตั อิ ย่างสม่าเสมอ พวกนี้ฐานสนับสนุ นหลักเป็ นพวกช่วงในปารีส ทีห่ ลังการยุบกิลด์ในปี


1971 ก็ได้รวมตัวกันโดยไม่แบ่งแยกลาดับสูงต่าตามระเบียบเดิมของกิลด์ กลายเป็ นมวลชน
ปารีสทีเ่ รียกว่า sans-culottes (แปลตรงตัวว่า พวกไม่ใส่กางเกงกูลอ็ ต อันเป็ นสัญลักษณ์ของ
ความเป็ นอภิชน) (Sewell, 1980: 92-113) ทัง้ นี้แกนนาของทัง้ ฌิรงแดงและมงตาญญาร์ดก็
เป็ นสมาชิกของสมาคมจาโคแบงทัง้ สิ้น และฝ่ ายแรกก็เคยเรืองอานาจมาก่อนที่ Robespierre
จะเรือ่ งอานาจในสมาคม
12
ประเด็นนี้ค่อนข้างซับซ้อน เพราะกลไกอภิสทิ ธิทั์ ง้ หลายตัง้ แต่กระบวนการผ่านอภิสทิ ธิ ์
กองเซ็นเซอร์ และระบบตารวจวรรณกรรมนัน้ พังไปก่อนหน้านี้ กจ็ ริง แต่กลไกของรัฐจานวน
ไม่น้อยอย่างศาลก็ยงั ปฏิบตั ริ าวกับว่าอภิสทิ ธินั์ น้ ยังดารงอยู่เมือ่ มีการดาเนินคดีละเมิดอภิสทิ ธิ ์
ในช่วงปฏิวตั ิ (แม้จะไม่ค่อยมีคดีในทานองนี้) ดังนัน้ รัฐบาลสาธารณรัฐก็จงึ มีความจาเป็ นตัด
รากถอนโคนระบอบอภิสทิ ธิอย่ ์ างเป็ นลายลักษณ์อกั ษร

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 86
ทีส่ ดุ ก็เป็ นหลักกระกันว่าการตีพมิ พ์และขายงานเหล่านี้ในสาธารณรัฐสามารถทา
ได้โดยเสรี ไม่ตอ้ งไปขออนุญาตใครทัง้ นัน้
ไม่มบี นั ทึกจากสภาว่า ร่างกฎหมายลิขสิทธินี์ ้ผ่านมาได้อย่างไรทัง้ ๆ ที่
บรรดาผู้ ร่ า งกฎหมายและผลัก ดัน กฎหมายได้ ถู ก ขับ ออกไปจากสภาแล้ ว
(Hesse, 1991: 120)13 อย่างไรก็ดี กฎหมายนี้กด็ ูจะผ่านมาในรัฐบาลทีใ่ ห้
ความสาคัญแก่สาธารณชนมากๆ อย่างรัฐบาลจาโคแบง คุณค่านี้ดูจะสะท้อนมา
ในน้าหนักแก่ผลประโยชน์ของสาธารณชนอย่างล้นหลามในการประกาศว่างาน
ก่อนปฏิวตั ทิ งั ้ หมดถือว่าไม่มลี ขิ สิทธิ ์ ซึง่ ก็คอื การประกาศยืนยันสถานะทีค่ วามรู้
แห่งยุคแห่งการรูแ้ จ้งเป็ นของสาธารณะ นี่ดูจะทาให้ความฝั นของเหล่านักคิดยุค
แห่งการรูแ้ จ้งเป็ นจริงในระดับหลักการ แต่สดุ ท้ายสิง่ ทีก่ าหนดว่าหนังสือทีน่ ักคิด
เหล่านี้อยากให้สาธารณชนอ่านจะอยู่ในตลาดได้หรือไม่ก็ดูจะไม่ใช่ก ฎหมาย
เพราะสุดท้ายกฎหมายลิขสิทธิก็์ ไม่เคยเป็ นหลักประกันว่าสังคมจะอุดมปั ญญา
ดังทีผ่ สู้ นับสนุนมันชอบอ้างได้เลยแม้แต่ครัง้ เดียวในประวัตศิ าสตร์
ทัง้ นี้กฎหมายลิขสิทธิฉบั
์ บปฏิวตั นิ ้ขี องฝรังเศสก็
่ เป็ นกฎหมายลิขสิทธิที์ ่
ฝรังเศสใช้
่ อย่างต่อเนื่องยาวนานอีกเป็ นร้อยปี โ ดยแทบไม่มกี ารแก้ไขตัวบทใดๆ
เลยใน “ดินแดนแห่งการปฏิวตั ิ” แห่งนี้ทม่ี กี ารเปลีย่ นแปลงการปกครองกลับไป
มาหลายต่อหลายครัง้ ในศตวรรษที่ 19 ซึง่ เหตุผลประการหนึ่งของการไม่มกี าร
เปลี่ยนแปลงก็คือ มันเป็ น กฎหมายฉบับสัน้ ๆ ที่เขียนอย่า งเปิ ดกว้า งต่ อ การ
ตีค วามมากๆ และศาลฝรัง่ เศสตลอดศตวรรษที่ 19 ก็ไ ด้ใ ช้ลัก ษณะนี้ ข อง
กฎหมายในการขยายขอบเขตการคุ้มครองลิขสิทธิไ์ ปยังสิง่ ที่กฎหมายไม่ไ ด้
กล่าวถึงโดยตรง (Rideau, 2010) ซึง่ นี่เป็ นคนละเรื่องกับระบบกฎหมายลิขสิทธิ ์
ของอังกฤษที่มีการแก้กฎหมายลิขสิทธิอ์ ย่างนับไม่ถ้วนในศตวรรษที่ 19 ทัง้
ระดับเล็กน้ อย และระดับยกร่างใหม่ทงั ้ หมดเพื่อเปลี่ยนขอบเขตการคุ้มครอง
ลิขสิทธิ ์

13
เหตุ ก ารณ์ ท่ีผ ลัก ดัน ให้บ รรดาผู้ร่า งต้อ งออกไปจากสภาคือ “การลุ ก ฮือ ในวัน ที่ 31
พฤษภาคมถึง 2 มิถุนายน 1973” ส่วนกฎหมายนี้ผ่านสภามาในวันที่ 17 มิถุนายน 1973

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 87
นี่ดจู ะเป็ นการสะท้อนทัศนคติทต่ี ่างกันด้านลิขสิทธิของทั์ ง้ สองประเทศ
ทีศ่ าลฝรังเศสจะมองว่
่ าลิขสิทธิเป็
์ นเรื่องของสิทธิของพลเมืองของรัฐทีศ่ าลมีสทิ ธิ ์
จะใช้วจิ ารณญาณในการคุม้ ครองเอง ดังนัน้ ศาลจึงรูส้ กึ ว่าตนมีอานาจจะตัดสิน
ได้ว่าอะไรมีหรือไม่มลี ขิ สิทธิและการคุ
์ ม้ ครองมีขอบเขตแค่ไหนตราบทีม่ นั ไม่ขดั
กับตัวบท แต่ศาลอังกฤษจะมองว่าลิขสิทธิเป็ ์ นนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐที่
ทางสภาจะต้อ งก าหนดมาให้ช ัด เจนว่า อะไรมีห รือ ไม่ มีลิข สิท ธิบ์ ้า งไปจนถึง
ขอบเขตการคุม้ ครองต่างๆ ว่ามันเริม่ ต้นและสิน้ สุดตรงไหน ซึง่ นี่หมายความว่า
ศาลไม่มสี ทิ ธิจะใช้
์ อานาจกาหนดขอบเขตการคุม้ ครองลิขสิทธิเองได้ ์
ความขัดแย้งกันของขนบของกฎหมายลิขสิทธิของสองประเทศนี ์ ้กท็ า
14
ให้กฎหมายลิขสิทธิของทั ์ ง้ สองประเทศยากจะลงรอยกัน แต่นนั ่ ก็ไม่ใช่ปัญหา
นักในตอนต้นศตวรรษที่ 19 ที่รากฐานความคิดด้านกฎหมายลิขสิทธิยั์ งยืนอยู่
บนความคิดว่ากฎหมายลิขสิทธ์มลี กั ษณะแบบ “กฎหมายใคร กฎหมายมัน” ไม่มี
ความจาเป็ นใดๆ ที่จะต้อ งเหมือนกันหรือกระทังมี ่ อะไรคล้า ยกัน แต่ ทุ กสิง่ ก็
เปลี่ยนไปในตอนกลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งอังกฤษ ฝรังเศส ่ และชาติอ่นื ๆ เริม่ มี
การพูดคุยกันถึง “มาตรฐานกลาง” ของกฎหมายลิขสิทธิที์ แ่ ต่ละชาติต้องมีขนั ้ ต่ า
เหมือนกัน ความพยายามในการสร้างกฎหมายลิขสิทธินานาชาติ ์ น้ีดูจะเป็ นสิง่
ใหม่สาหรับอังกฤษและฝรังเศส ่ แต่มนั ก็ไม่ได้ประหลาดอะไรเลยสาหรับอีกหนึ่ง
ภาคีในการเจรจาอย่างเยอรมนีท่กี ารทาสนธิ สญ ั ญาณลิขสิทธิระหว่
์ างรัฐต่างๆ

14
เอาจริงๆ โดยทัวไปการรั ่ งเกียจซึ่งกันและกันของอังกฤษและฝรังเศสมี
่ รากฐานมาตัง้ แต่
ปลายยุคกลางแล้ว (Gillingham & Griffiths, 2000) และก็ไม่ได้ดขี น้ึ เลยในศตวรรษที่ 18 เมือ่
เหล่า “ผูด้ มี ที ด่ี นิ ” ของอังกฤษเริม่ ถือค่านิยม “ความสุภาพ” บนฐานของการปฏิบตั กิ บั คนอย่าง
เท่าเทียม เพือ่ ต้านค่านิยม “เกียรติยศ” ของอภิชนฝรังเศสที ่ ว่ างอยู่บนฐานของการปฏิบตั กิ บั
คนแบบมีลาดับชัน้ (Langford, 1997; Langford, 2002) และการปฏิวตั ิก็ไ ม่ไ ด้ช่วยให้
ความสัมพันธ์ของทัง้ สองประเทศดีขน้ึ เลยแม้แต่น้อย เพราะมันก็ยงิ่ ตอกย้าว่าชาวอังกฤษและ
ชาวฝรังเศสมองสิ
่ ง่ ทีเ่ รียกว่า “เสรีภาพ” และ “ความเท่าเทียม” แตกต่างกันขนาดไหน

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 88
เป็ นสิง่ ที่ทามาอย่างต่อเนื่องตัง้ แต่ก่อนการรวมประเทศเป็ นจักรวรรดิเยอรมัน
แล้ว

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 89
กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 90
บทที่ 4
โลกภาษาเยอรมัน
การปฏิรูปศาสนา
และลิขสิทธิ์ในอีกเส้นทาง

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 91
4.1 การปฏิรูปศาสนาและการเติบโตของ
รัฐราชการในโลกภาษาเยอรมัน

“...ไอ้พวกคนจังไรมันโผล่มา ไอ้ช่างเรีย งพิมพ์นีแ่ หละทีม่ ชี วี ิตอยู่บน


ความเหน็ดเหนือ่ ยของเรา พวกมันได้ขโมยต้นฉบับของข้าไปพิมพ์ในต่างแดนก่อน
ข้าจะเขียนจบ มันจึงพิมพ์ออกมาผิดๆ พระเจ้าจะเห็นการกระทาของพวกมัน กาไร
ทีพ่ วกมึง ได้มนั ก็พ อแค่ ค่ าย้อ มสีร องเท้าเท่า นัน้ ! พวกมึงเป็ น ขโมย พระเจ้าจะ
ลงโทษพวกมึง! เรายังได้รบั ความเสียหายอยู่ พวกมันทาหนังสือมาผิดๆ อย่างฉาว
โฉ่ เพราะพวกมันรีบเร่งพิมพ์ออกมา พอข้าได้เห็นหนังสือ ข้าจาไม่ได้ดว้ ยซ้ าว่าข้า
เขียนเอง! มีจุดทีม่ นั พิมพ์ตกไป มีคาทีถ่ ูกเปลีย่ นเอาดี้อๆ มีคาผิดทีไ่ ม่ได้แก้ อ่านไป
ใครก็จะรูส้ กึ ว่าคนเขียนมันไม่ได้ทบทวนข้อเขียนก่อนทีจ่ ะพิมพ์”

Martin Luther, คากล่าวเตือนสติช่างพิมพ์, (1525)

“ส าหรับ หนังสือ ในฐานะงานเขีย น คนทีพ่ ูดกับผู้อ่ านก็ค ือ ตัว ผู้เ ขีย น


หนังสือ ดังนัน้ คนทีพ่ มิ พ์หนังสือออกมานัน้ ก็พูดกับผูอ้ ่านผ่านหนังสือทีพ่ มิ พ์มาแต่
ละเล่ ม ในนามของผู้เ ขีย นหนัง สือ ไม่ใช่ ใ นฐานะของตัว เขาเองทีพ่ ิม พ์ห นัง สือ
ออกมา”

Immanuel Kant, “On the Unlawfulness of Reprinting”, (1785)

แม้ว่าทีม่ าทีไ่ ปของกฎหมายลิขสิทธิของอั


์ งกฤษและฝรังเศสจะมี
่ ความ
แตกต่างกันในรายละเอียดพอสมควร แต่โครงสร้างใหญ่ของทีม่ าของกฎหมาย
ลิขสิทธิของทั
์ ง้ สองประเทศนัน้ ก็มรี ่วมกันก็คอื มันเป็ นกฎหมายทีเ่ กิดขึน้ ในรัฐชาติ
ทีร่ วมศูนย์ กฎหมายลิขสิทธิของทั
์ ง้ อังกฤษและฝรังเศสล้
่ วนเกิดขึน้ ในรัฐชาติทม่ี ี
*ภาพจากหน้า 90 : Old printing press
ทีม่ า https://www.oldbookillustrations.com/illustrations/old-printing-press/

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 92
อานาจเหนือผูค้ นทีใ่ ช้ภาษาเดียวกัน รัฐอังกฤษก็เป็ นรัฐที่มอี านาจเหนือผูค้ นทีใ่ ช้
ภาษาอังกฤษแทบทัง้ หมด เช่นเดียวกับที่รฐั ฝรังเศสก็ ่ เป็ นรัฐที่มีอานาจเหนือ
ผู้คนที่ใช้ภาษาฝรังเศสอย่
่ างกว้างขวาง และทัง้ สองรัฐก็มเี มืองหลวงเป็ นเมือง
ใหญ่ทเ่ี ป็ นศูนย์กลางการบริโภคหนังสือในทานองเดียวกันด้วย
นี่ท าให้ก ารใช้อ านาจในการ “ควบคุ ม การพิม พ์” เพื่อ รับ มือ กับ การ
ปฏิวตั กิ ารพิมพ์ของทัง้ สองรัฐทาได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก (ในมาตรฐานของ
สมัยนัน้ ) พูดง่ายๆ คือโครงสร้างของอานาจรัฐของทัง้ อังกฤษและฝรังเศสล้ ่ วน
เอื้อให้ระบบการเซ็นเซอร์และระบบอภิสทิ ธิการพิ ์ มพ์สามารถทางานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ซึ่งแม้ “เจ้าของอานาจรัฐ” จะเปลี่ยนแปลงไป (จากกษัตริย์เ ป็ น
สภาในกรณีองั กฤษหลังการปฏิวตั อิ นั รุ่นโรจน์ และจากกษัตริยเ์ ป็ น “ประชาชน”
ในกรณีฝรังเศสหลั ่ งปฏิวตั ิฝรังเศส)
่ แต่โครงสร้างอานาจรัฐแบบเดิมก็ยงั คงอยู่
และภายใต้เ จ้า ของอ านาจรัฐใหม่ “เสรีภ าพของแท่ น พิม พ์ ” ที่ม าแทน “กอง
เซ็นเซอร์” และ “ลิขสิทธิ”์ ที่มาแทน “อภิสทิ ธิการพิ ์ มพ์” ก็สามารถจะทางานต่อ
จากระบบการควบคุมการพิมพ์แบบเดิมได้อย่างต่อเนื่อง (แม้ว่าจะทางานบน
ฐานของอุดมการณ์ทต่ี ่างกันก็ตามที)
พูดง่ายๆ ในกรณีของอังกฤษและฝรังเศส ่ มองในแง่หนึ่ง “กฎหมาย
ลิขสิทธิ”์ ก็ไม่ได้เป็ นอะไรไปมากกว่า “อภิสทิ ธิก์ ารพิมพ์” ในสภาวะสมัยใหม่
ตอนต้นทีถ่ ูกนามาดัดแปลงปั ดฝุ่ นใหม่ เปลีย่ นอุดมการณ์เข้าไป และนากลับมา
ใช้นนเอง
ั่
หากจะกล่าวในแบบนี้ เราก็อาจจะกล่าวในเชิงทฤษฎีได้ว่า “ลิขสิทธิ”์ ก็
ไม่ใช่อะไรนอกจาก “อภิสทิ ธิการพิ ์ มพ์” ทีถ่ ูกทาให้เป็ นสมัยใหม่ไปพร้อมๆ กับรัฐ
อย่างไรก็ดคี าอธิบายแบบนี้กด็ ูจะเป็ นคาอธิบายทีใ่ ช้ได้แค่ในอังกฤษและฝรังเศส ่
เท่านัน้ เพราะสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ใน “เยอรมัน” นัน้ ก็ไม่น่าจะเทียบเคียงอะไรได้เลยกับ
สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ในอังกฤษและฝรังเศส ่ ซึง่ เหตุผลทีน่ ่ าจะสัน้ และได้ใจความทีส่ ุดก็คอื
“เยอรมันไม่ใช่รฐั รวมศูนย์”

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 93
ในขณะทีร่ ฐั อังกฤษและฝรังเศสลุ
่ กขึน้ มาตัง้ ฐานทัพของกองเซ็นเซอร์ท่ี
เมืองหลวงในช่วงปฏิรูปศาสนาในศตวรรษที่ 16 มันไม่มสี งิ่ ทีเ่ รียกว่า “เยอรมัน”
ในฐานะของรัฐชาติดว้ ยซ้า ชนชาติเยอรมันคือชนชาติผใู้ ช้ภาษาเยอรมันทีอ่ าศัย
อยู่ในรัฐเล็กรัฐน้อยในแถบยุโรปกลาง รัฐเหล่านี้โดยรวมๆ เรียกว่าจักรวรรดิ
โรมันอันศักดิสิ์ ทธิ ์ ในจักรวรรดิจะมีการเลือกตัง้ จักรพรรดิโดยบรรดาเจ้าผูค้ รอง
รัฐในจักรวรรดิต่างๆ ก็จริง1 แต่จกั รพรรดิกไ็ ม่ได้มอี านาจในการออกกฎหมาย
หรือเก็บภาษีจากบรรดารัฐในจักรวรรดิเลย รัฐแต่ละรัฐเป็ นรัฐอิสระที่มสี ทิ ธิใน ์
การออกกฎหมายเองทัง้ หมด
ในกรอบแบบนี้มนั เป็ นไปไม่ได้เลยทีร่ ะบบเซ็นเซอร์แบบรวมศูนย์ของ
โลกภาษาเยอรมันแบบที่มกี ารสถาปนาขึน้ ในอังกฤษและฝรังเศสจะเกิ ่ ดขึน้ ได้
“การปฏิรูปศาสนา” ที่เป็ นมูลเหตุของระบบเซ็นเซอร์ทงั ้ ในอังกฤษและฝรังเศส ่
ส่ง ผลที่แ ตกต่ า งอย่ า งสิ้น เชิง ในโลกภาษาเยอรมัน ในกรณี ข องอัง กฤษและ
ฝรังเศสการเลื
่ อกว่าจะปฏิรปู ศาสนาหรือไม่คอื ทางเลือกของรัฐเพียงรัฐเดียว แต่
สาหรับโลกภาษาเยอรมัน นี่คอื ทางเลือกแบบตัวใครตัวมันของรัฐเล็กรัฐน้อยเป็ น
ร้อยๆ รัฐ ซึง่ สาหรับรัฐเหล่านี้การรับหรือไม่รบั การปฏิรูปศาสนาก็เป็ นประเด็น
ทาง “การเมือง” พอๆ กัน เพราะการตัดขาดจากศาสนาจักรมันก็ไม่ใช่แค่เรื่อง
ความเชื่อ แต่มนั หมายถึงการสามารถขยายอานาจรัฐของตนเข้าไปในศาสนจักร
อันเป็ นสถาบันทีท่ งั ้ ทรงอิทธิพลและมังคั่ งด้
่ วย และการได้อานาจเพิม่ นี้กเ็ ป็ นสิง่ ที่
พึงปรารถนาของรัฐเล็กรัฐน้อยจานวนมาก (Marshall 2009: 63)
แน่นอนว่าการแปรพักตร์ทางความเชื่อนี้มนั ก็ทาให้ฝ่ายรัฐคาทอลิกไม่
พอใจ และผลก็คอื มันมีการทาสงครามกันอย่างวุ่นวายทัวยุ ่ โรปตัง้ แต่การปฏิรูป
ศาสนาใหม่ๆ ตอนกลางศตวรรษที่ 16 ในกรณีของเหล่ารัฐภาษาเยอรมันใน
จักรวรรดิโรมันอันศักดิสิ์ ทธิ ์ สงครามทีห่ นักข้อทีส่ ดุ ก็คอื “สงคราม 30 ปี ” ช่วงต้น
ศตวรรษที่ 17 ซึง่ ไปจบด้วยสนธิสญ ั ญาสันติภาพแห่งเวสต์ฟาเลียในปี 1648 ทีม่ ี

1
ไม่ใช่เจ้าผูป้ กครองรัฐทัง้ หมดจะมีสทิ ธิเลื
์ อกตัง้ จักรพรรดิ บรรดาเจ้าผูป้ กครองรัฐทีม่ สี ทิ ธิ ์
เลือกตัง้ จักรพรรดิจะเรียกกันว่า Electors

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 94
เนื้อหาสาคัญหนึ่งคือการยอมรับการ “เลือกศาสนา” ของรัฐต่างๆ ในอาณาจักร
เยอรมันอันศักดิสิ์ ทธิ ์
สงคราม 30 ปี สร้ า งความเสีย หายทางกายภาพให้ ก ับ รัฐ ในโลก
ภาษาเยอรมันอย่างมหาศาลระดับทีป่ ระชากรบางรัฐลดลงไป 25%-40% ก็ไม่ใช่
เรื่อ งแปลกอะไร (แต่ ค วามเสีย หายก็ต่ า งกัน ไปในแต่ ละรัฐ) ดัง นัน้ ภายหลัง
สงคราม แต่ละรัฐก็จงึ ไม่ได้ทาอะไรนักนอกจากการฟื้ นฟูขน้ึ มาจากความเสียหาย
ของสงคราม เมื่อเหล่ารัฐ โปรเตสแตนต์ (ที่มกั จะอยู่ทางเหนือของอาณาจักร
โรมันอันศักดิสิ์ ทธิ)์ ได้อานาจการการควบคุมฝ่ ายศาสนามากับตัวเองแล้ว การ
ฟื้ นฟู ท่ีร ัฐ เหล่ า นี้ ท าก็คือ การเพิ่ ม บุ ค ลากรทางศาสนาของตัว เองมาประจ า
ตาแหน่ งทางศาสนาที่ต อนนี้ถู กผนวกมาในกลไกรัฐหมดแล้วไม่ว่ าจะเป็ นใน
ชนบทหรือในเมือง เพื่อบรรลุวตั ถุประสงค์น้ี รัฐทางฝั ง่ โปรเตสแตนต์จงึ ต้องตัง้
มหาวิทยาลัยโปรเตสแตนต์ข้นึ มาเพื่อสร้างบุค ลากรมาอยู่ในกลไกรัฐ 2 ซึ่งนี่ก็
สะท้อนว่ามหาวิทยาลัยในช่วงนัน้ ก็ยงั อยู่ในกรอบคิดของมหาวิทยาลัยยุคกลาง
คือการเป็ น “โรงงานผลิตพระ” นันเอง ่ (Hofstetter, 2001: 3) ซึง่ ก็ไม่แปลกอีกว่า
ทาไม “คณะเทววิทยา” ถึงเป็ น หนึ่ งในคณะยอดฮิต ของมหาวิท ยาลัย ในโลก
ภาษาเยอรมันช่วงนัน้ เพราะเป้ าหมายในการเรียนเทววิทยาก็คอื การจบมาเป็ น
พระอันเป็ นอาชีพทีม่ นคง ั ่ ซึง่ นี่กเ็ ป็ นอาชีพในฝั นของพวกลูกชาวนาและช่างในรัฐ
โปรเตสแตนต์ อย่างไรก็ดอี กี ด้านหนึ่งในโลกของคนร่ารวยในโลกภาษาเยอรมัน

2
การตัง้ มหาวิทยาลัยของรัฐโปรเตสแตนท์มมี าอย่างต่อเนื่องตลอดการปฏิรูปศาสนา เช่น
มหาวิทยาลัย Konigsberg (ตัง้ โดยรัฐปรัสเซียในปี 1544) มหาวิทยาลัย Malburg (ตัง้ โดยรัฐ
เฮสเสในปี 1527) มหาวิทยาลัย Jena (ตัง้ โดยรัฐไวมาร์ในปี 1558) Helmstedt (ตัง้ โดยรัฐบ
รุนส์วคิ -วูล์ฟเฟนบุทเทลในปี 1576) เป็ นต้น นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเก่าตัง้ แต่ก่อนปฏิรูป
ศาสนาในรัฐทีเ่ ลือกจะปฏิรปู ศาสนาก็ได้กลายมาเป็ นมหาวิทยาลัยโปรเตสแตนต์เช่นกันในช่วง
ปฏิรูปศาสนา เช่น มหาวิทยาลัย Wittenberg และมหาวิทยาลัย Leipzig ในรัฐซักซอน
มหาวิทยาลัย Tubingen ในรัฐเวิร์ธเทมเบิร์ก มหาวิทยาลัย Rostock ในรัฐเมคเคลนเบิร์ก
มหาวิทยาลัย Greifswald ในรัฐปอมเมอเรเนีย มหาวิทยาลัย Heidelberg ในรัฐปาลาติเนท
(ทีช่ ่วงนัน้ เป็ นส่วนหนึ่งของรัฐบาวาเรีย) เป็ นต้น ดู Bruford, 1935: 240

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 95
ก็จะไม่ส่งลูกเรียน “คณะเทววิทยา” เพราะนัน่ เป็ นคณะของคนจน แต่จะส่งลูก
เรียน “คณะนิตศิ าสตร์” อันเป็ นคณะยอดฮิตของคนรวยแทน เพราะความรูด้ า้ น
กฎหมายก็เป็ นเงื่อนไขพืน้ ฐานในการทางานเป็ นกลไกของรัฐระดับสูง กล่าวคือ
ในโลกภาษาเยอรมันหลังสนธิสญ ั ญาเวสต์ฟาเลียไม่ว่าจะคนรวยหรือจนก็ล้วน
ต้องการจะส่งบุตรหลานไปทางานกับรัฐกันทัง้ นัน้ (Bruford, 1935: 49-50) ทัง้ นี้
ผลก็คอื ในศตวรรษที่ 17 นี่เองเหล่าประเทศภาษาเยอรมันทีม่ ปี ระชากรมากกว่า
อังกฤษเพียง 4-5 เท่า ก็มปี ริมาณมหาวิทยาลัยมากกว่าในอังกฤษถึงกว่า 20
เท่า (Boyles, 2008: 7)
แม้ว่าภาพของสังคมในโลกภาษาเยอรมันที่เต็มไปด้วยมหาวิทยาลัย
นัน้ จะดูราวกับว่ามันจะเต็มไปด้วยคนทีม่ คี วามรู้ แต่อนั ทีจ่ ริงในภาพกว้างคนใน
โลกภาษาเยอรมันอ่านออกเขียนได้น้อยมาก มีการประเมินว่าในช่วงปี 1770 มี
ผูอ้ ่านออกเขียนได้เพียงร้อยละ 15 เท่านัน้ ก่อนจะขึน้ เป็ นร้อยละ 25 เท่านัน้ ใน
ตอนสิน้ ศตวรรษที่ 18 (Woodmansee, 1994: 24; Boyes, 2008: 73) ซึง่ นี่น้อย
กว่าตัวเลขประเมินของทางฝั ง่ อังกฤษแบบเทียบไม่ได้เพราะชายอังกฤษเกินร้อย
ละ 50 ก็น่าจะอ่านออกเขียนได้แล้วในตอนกลางศตวรรษที่ 18 และก็น้อยกว่า
ฝรังเศสที
่ ต่ อนสิน้ ศตวรรษที่ 18 ชายราวร้อยละ 40 ก็น่าจะอ่านออกเขียนได้แล้ว
(Botein, Censer & Ritvo, 1983: 475)
ความต่างของอัตราส่วนนี้น่าจะอธิบายได้ว่าเกิดจากการที่คนในโลก
ภาษาเยอรมัน โดยรวมนัน้ แทบจะแบ่ ง เป็ น คนทัว่ ไปผู้ไ ม่ รู้ห นัง สือ เลยกับ ผู้รู้
หนังสือที่มกี ารศึกษาสูงที่มกั จะไปทางานกับรัฐหรือเป็ น “ข้าราชการ” กันหมด
(ไม่ ว่ า จะจบเทววิท ยาไปเป็ น พระที่เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของระบบราชการหรือ จบ
นิติศาสตร์ไปเป็ นเจ้าหน้าที่ด้านปกครองของรัฐ) ซึ่งในมุมของรัฐ การที่ “คนมี
ความรู้ ” ระดับ อ่ า นออกเขีย นได้ แ ทบจะทัง้ หมดเป็ น กลไกรัฐ นั น้ ก็ดู จ ะเป็ น
หลักประกันด้วยว่าคนพวกนี้จะไม่เอา “ความรู”้ แปลกๆ เข้ามาสันคลอนความ ่
มันคงของรั
่ ฐ และการทีร่ ฐั เป็ น “นายจ้าง” และทาให้ลกู จ้างต้อง “เซ็นเซอร์ตวั เอง”
ไม่ว่าจะต้องการหรือไม่ดว้ ย

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 96
แต่อย่างไรก็ดสี งิ่ ทีต่ ้องไม่ลมื เช่นกันก็คอื มันก็ไม่มหี ลักประกันใดๆ ว่า
เหล่า ปั ญญาชนข้า ราชการจะจงรัก ภัก ดีต่อ รัฐแบบเต็ม ร้อย เพราะถึง รัฐจะมี
อานาจเบ็ดเสร็จในการเล่นงานทางหน้าทีก่ ารงานไปจนถึงการแบนสิง่ พิมพ์ของ
ปั ญญาชนทีก่ ระด้างกระเดื่อง แต่อานาจรัฐแต่ละรัฐมันก็มไี ปสุดแค่พรมแดนของ
รัฐเท่านัน้ ปรากฏการณ์ทเ่ี หล่าปั ญญาชนเอางานทีร่ ฐั ของตนอาจมองว่าล่อแหลม
ไปตีพมิ พ์อย่างนิรนามทีร่ ฐั อื่นเป็ นเรื่องปกติธรรมดามากในโลกภาษาเยอรมัน
นี่เป็ นตัวบ่งชี้พ้นื ฐานว่าอานาจรัฐแต่ละรัฐในโลกภาษาเยอรมันนัน้ ไร้
น้ายาในการควบคุมสิง่ พิมพ์ทเ่ี ป็ นภัยต่อความมันคงของรั ่ ฐตนในกรอบของโลก
ภาษาเยอรมันโดยรวมๆ หรือก็อาจจะพอกล่าวได้ว่าปั ญญาชนเยอรมันมีเสรีภาพ
ทางความคิดได้แบบเถื่อนๆ อย่างไรก็ดสี งิ่ ทีน่ ่ าสนใจก็คอื ภาวะที่ร ั ฐแต่ละรัฐไม่
สามารถ “ผูกขาด” และควบคุมสิง่ พิมพ์ได้เลยนี้กลับไม่ได้นาไปสู่ภาวะของการ
ตีพิมพ์ “หนัง สือเถื่อน” หรือการตีพิม พ์แบบซ้าซ้อ นกันอย่ างบ้า คลังดั ่ งเช่น ที่
เกิดขึน้ ในช่วงของ “เสรีภาพทางการพิมพ์” แบบสมบูรณ์ช่วงสัน้ ๆ ในอังกฤษและ
ฝรังเศส

อย่างไรก็ดสี าหรับปั ญญาชนเยอรมันตัง้ แต่ Luther ถึง Kant นี่กไ็ ม่ใช่
“เสรีภาพ” ทีพ่ งึ ประสงค์นักซะทีเดียว เพราะภาวะที่ไม่สามารถควบคุมสิง่ พิมพ์
ได้อย่างเบ็ดเสร็จในโลกภาษาเยอรมันก็หมายถึงการทีช่ ่างพิมพ์จากทีไ่ หนก็ตาม
ก็สามารถจะนา “ต้นฉบับ ” งานเขียนไปปรับแก้และพิมพ์ยงั ไงก็ได้โดยไม่ต้ อง
ผ่านการอนุ มตั ิของผู้เขียน ปั ญหาสาคัญที่เหล่าปั ญญาชนเยอรมันกังวลก็คือ
ความคลาดเคลื่อนของเนื้อ หาที่เกิด ขึ้น ซึ่ง เวลางานมัน พิม พ์ออกมาผู้ท่ตี ้อ ง
รับผิดชอบก็คอื ตัวของผูเ้ ขียนเอง พูดง่ายๆ คือถ้า “หนังสือเถื่อน” พิมพ์เนื้อหา
หนังสือมาผิดๆ คนอ่านก็จะเข้าใจว่าคนเขียนเขียนมาผิดๆ แบบนัน้ ซึ่งทาให้
ผูเ้ ขียนทัง้ เสือ่ มเสียชื่อเสียงและไม่สามารถสือ่ สารได้ดงั ทีต่ นต้องการได้
นี่ทาให้ปัญญาชนในโลกภาษาเยอรมันต้องการสิทธิบางประการเหนือ
งานเขียนมาตลอด แต่พวกเขาก็ไม่ใช่กลุ่มผลประโยชน์ท่มี อี านาจในการออก
กฎหมายและระเบียบต่างๆ ในสังคม เพราะสุดท้ายการเปลีย่ นแปลงของระเบียบ

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 97
การพิ ม พ์ ท่ี น ามาสู่ ก ฎหมายลิ ข สิ ท ธิ ใ์ นที่ สุ ด ดู จ ะเกิ ด ขึ้ น จากพลวั ต ของ
ความสัม พัน ธ์ แ ละการรวมกลุ่ ม ทางการค้ า ของบรรดาส านั ก พิ ม พ์ ใ นโลก
ภาษาเยอรมันเสียมากกว่า

4.2 งานเทศกาลหนังสือไลป์ซิก
กับสานักพิมพ์ในโลกภาษาเยอรมัน

“ถ้าสานักพิมพ์ซ้ ือหนังสือมาหนึง่ เล่มและพิมพ์มนั ซ้ า เขาก็จะช่วยพล


เรือนคนอืน่ ๆ ให้ไม่ต้องส่งเงินไปนอกรัฐ เพราะเขาจะสามารถหาซื้อหนังสือทีเ่ ขา
ปรารถนาในรัฐได้ ดังนัน้ หนังสืออันมีค่าทีต่ พี มิ พ์ทไี ่ หนก็ตามแต่กถ็ ือเป็ นต้น ฉบับ
เพือ่ พิมพ์ซ้ าฉบับสาหรับสานักพิมพ์ของเราทัง้ นัน้ ”

Frederick The Great, Testament politique, (1752)

ระเบียบการพิมพ์ในโลกภาษาเยอรมันตัง้ แต่หลังสนธิสญ ั ญาเวสต์ฟา


เลียไปถึงช่วงศตวรรษที่ 18 นัน้ อันทีจ่ ริงก็ไม่ได้มคี วามซับซ้อนนัก รัฐแต่ละรัฐมี
สิทธิอานาจในการออกอภิสทิ ธิในการผู ์ กขาดการพิมพ์ทม่ี ขี อบเขตในการบังคับ
ใช้ตามอานาจอธิปไตยของตน และในทางทฤษฎีสานักพิมพ์แต่ละสานักพิมพ์ก็
สามารถไล่ขออภิสทิ ธิการพิ์ มพ์กบั ทีละรัฐไปจนหมดทุกรัฐได้เพื่อการผูกขาดการ
พิมพ์ทงั ้ โลกภาษาเยอรมัน
อย่างไรก็ดมี นั ก็ไม่มสี านักพิมพ์ไหนจะทาแบบนัน้ ได้ เพราะรัฐในโลก
ภาษาเยอรมันที่เ ต็มไปด้ว ยรัฐเล็ก รัฐน้ อยก็มี จานวนมากเกินกว่าที่ก ารไล่ข อ
อภิสทิ ธิก์ ารพิมพ์ไปทุกรัฐจะเป็ นสิง่ ที่สมเหตุ สมผล และมันก็ไม่มีสถาบันทาง
การเมืองใดทีจ่ ะมีอานาจเหนือทุกรัฐทีจ่ ะออกอภิสทิ ธิการพิ์ มพ์ทจ่ี ะมีผลบังคับใช้
ไปทุกกรัฐด้วย ในแง่น้พี ่อค้าหนังสือในโลกภาษาเยอรมันจึงไม่มหี ลักประกันทาง
กฎหมายใดๆ ทีจ่ ะรับรองว่าสานักพิมพ์อ่นื ๆ จากรัฐอื่นๆ จะไม่พมิ พ์งานซ้ากับ
หนังสือทีต่ อนเองได้ย่นื ขออภิสทิ ธิกั์ บรัฐแล้ว ซึง่ ภายใต้จุดยืนแบบพาณิชย์นิยม

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 98
(Mercantilism) เจ้าผู้ปกครองของรัฐต่ างๆ ก็เห็นดีเห็นงามในการ “ละเมิด
อภิสทิ ธิ”์ การพิมพ์หนังสือของรัฐอื่นๆ ของสานักพิมพ์ในรัฐตัวเองด้วยซ้า เพราะ
นัน่ เป็ นทาให้เงินทองไม่รวไหลออกนอกรั
ั่ ฐ กล่าวคือ การที่พลเรือนในรัฐต้อง
จ่ายเงินซื้อหนังสือจากรัฐอื่นมันทาให้รฐั เสียดุลการค้า แต่การที่สานักพิมพ์เอา
หนังสือเล่มเดียวกันมาพิมพ์ขายในรัฐเองนัน้ จะทาให้รฐั ไม่เสียดุลการค้า
มาตรการทางกฎหมายในการปราบ “การละเมิดอภิสทิ ธิการพิ ์ มพ์” นัน้
ก็ไม่ใช่ทางออกเดียวสาหรับพ่อค้าหนังสือ และในโลกแบบนี้สถาบันพื้นฐานที่
เหล่าพ่อค้าหนังสือใช้ป้องกัน “การตีพมิ พ์โดยไม่ได้รบั อนุญาต” คือ “งานเทศกาล
หนังสือไลป์ ซิก” (Leipzig Book Fair) อันเป็ นงานเทศกาลหนังสือทีใ่ หญ่
ทีส่ ดุ ในโลกภาษาเยอรมันศตวรรษที่ 17-18 ซึง่ จัดเป็ นประจาราวปี ละ 2-3 ครัง้ ที่
รัฐซักโซนี (Saxony)3
งานหนังสือไลป์ ซิกมีจุดประสงค์หลักก็เพื่อให้สานักพิมพ์จากรัฐต่างๆ
ทัวโลกภาษาเยอรมั
่ นได้มา “แลกเปลีย่ น” หนังสือทีส่ านักพิมพ์ของตนพิมพ์กบั

3
อันทีจ่ ริงในโลกภาษาเยอรมันช่วงสมัยใหม่ตอนต้นมีหลายต่อหลายเมืองทีม่ เี ทศกาลหนังสือ
ของตัวเอง อย่างไรก็ดงี านเทศกาลหนังสือที่ “ใหญ่” ทีส่ ุดในแง่ทม่ี จี านวนหนังสือมาค้าขายใน
งานมากทีส่ ุดนัน้ ก็คอื งานเทศกาลหนังสือไลป์ ซิก และงานเทศกาลหนังสือ
แฟรงก์เฟิ รต์ ในตอนแรกทัง้ สองเมืองเป็ นศูนย์กลางทางการค้าหนังสือได้กเ็ พราะตาแหน่ งทาง
ภูมศิ าสตร์ของทัง้ สองเมืองล้วนเป็ นจุดตัดของเส้นทางการค้าสาคัญในโลกภาษาเยอรมัน โดย
แฟรงก์เฟิ ร์ต ก็เป็ นศูนย์กลางทางการค้ามาตัง้ แต่ยุคกลางแล้วและการเป็ นศูนย์กลางการค้า
หนังสือด้วยในช่วงแรกของการปฏิวตั กิ ารพิมพ์กไ็ ม่แปลกอะไร อย่างไรก็ดงี านเทศกาลหนังสือ
แฟรงก์เฟิ ร์ตก็มบี ทบาทน้อ ยลงมากตัง้ แต่ ศตวรรษที่ 17 และงานหนังสือ ไลป์ ซิกก็ข้นึ มามี
บทบาทแทนอย่างช้าๆ ซึง่ เหตุผลก็มตี งั ้ แต่การทีพ่ วกพ่อค้าหนังสือทีไ่ ลป์ ซิกเป็ นมิตรกับพ่อค้า
หนังสือจากรัฐอื่นๆ มากกว่าพวกพ่อค้าหนังสือ แฟรงก์เฟิ ร์ตไปจนถึงการทีก่ องเซ็นเซอร์ของ
แฟรงก์เฟิ ร์ต นัน้ เข้มงวดกับการพิมพ์ห นังสือ มากกว่าที่ไ ลป์ ซิก ซึ่งเปิ ดกว้า งต่ อ สิ่งพิมพ์ท่ี
หลากหลายกว่า ซึง่ นี่กย็ งั ไม่นบั การเปลีย่ นแปลงทางโครงสร้างรวมๆ หลังสงคราม 30 ปี ทท่ี า
ให้แฟรงก์เฟิ รต์ ต้องเสียหลักจากการเป็ นศูนย์กลางทางการค้าหลักของโลกภาษาเยอรมันอีก
ดู Selwyn, 2000: 107-120: Bruford, 1935: 183-185

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 99
หนังสือทีส่ านักพิมพ์จากถิน่ อื่นพิมพ์ (Vogel, 2010: 117) หลักการเบือ้ งหลัง
ของ “การแลกเปลี่ย น” นี้ ก็เ ป็ น ไปเพื่อ สร้า งพัน ธะผู ก พัน ทางธุ ร กิจ ระหว่ า ง
สานัก พิม พ์ท วั ่ โลกภาษาเยอรมัน เพื่อ ไม่ ใ ห้มีก ารพิม พ์ห นั ง สือ ซ้ า กัน ท าให้
สานักพิมพ์ทวโลกภาษาเยอรมั
ั่ นเล่นบทบาทเป็ น "ตัวแทนจาหน่าย" หนังสือของ
สานักพิมพ์ต่างถิ่นแทนที่แลกเปลี่ยนมาจากงานนี้แทนที่จะไปพิมพ์ขายเองใน
ท้องถิน่ ตัวเอง
ปริมาณการค้าขายและแลกเปลี่ยนหนังสือในงานเทศกาลหนังสือไลป์
ซิกนัน้ มหาศาลมากจนเรียกได้ว่าหนังสือส่วนใหญ่ของสานักพิมพ์ในการพิมพ์
ครัง้ หนึ่ง ๆ จะถู กขายหรือ แลกเปลี่ยนที่นัน่ นี่ ทาให้ห ลายๆ ครั ง้ แม้แต่ พ่ อค้า
หนังสือจากกรุงเบอร์ลนิ ในรัฐปรัสเซียทีถ่ อื ว่าเป็ นทีพ่ านักของสานักพิมพ์ใหญ่ๆ
รองจากไลป์ ซิกก็เ ลือกที่จะตีพิมพ์หนังสือที่ไลป์ ซิกเลยมากกว่าที่จะตีพิมพ์ท่ี
เบอร์ลนิ แล้วส่งไปขายทีง่ านหนังสือไลป์ ซิก เพราะค่าขนส่งหนังสือยุคนัน้ ก็เป็ น
ต้นทุนทีส่ งู ไม่ใช่เล่น (Selvyn, 2000: 63-64)
ผลที่ตามมาคือไลป์ ซิกก็เลยกลายเป็ นศูนย์กลางการพิมพ์ขนาดใหญ่
ที่สุ ด ที่ส านัก พิม พ์จ ากทัว่ โลกภาษาเยอรมัน แห่ ก ัน มาพิม พ์ห นั ง สือ ซึ่ง การ
ขยายตัว ของอุต สาหกรรมการพิมพ์ของไลป์ ซิก ก็เป็ นภาคเศรษฐกิจที่ดูดซับ
แรงงานของนักศึกษาจบใหม่ทย่ี งั หาตาแหน่งหน้าทีใ่ นกลไกของรัฐทางานได้เป็ น
อย่างดี ดังจะเห็นได้ว่าอาชีพยอดฮิตอย่างหนึ่งของบัณฑิตเทววิทยาทีย่ งั ไม่มงี าน
ทาก็คอื การรับจ้างพิสจู น์อกั ษร (Bruford, 1935: 247-248) และงานพิสจู น์อกั ษร
ก็ไหลมาเทมาเพราะหนังสือสารพัดทีจ่ ะพิมพ์มาขายในงานเทศกาลหนังสือนี่เอง
ระบบการแลกเปลีย่ นในงานหนังสือไลป์ ซิกดาเนินการมาอย่างราบรื่น
และมันก็เป็ นมาตรการป้ องกันการ “ละเมิด” สิทธิเหนือการผูกขาดพิมพ์ของ
สานักพิมพ์ในโลกภาษาเยอรมันที่ไม่มีกฎหมายรองรับมาตลอดครึ่งแรกของ
ศตวรรษที่ 18 อย่างไรก็ดสี งิ่ ทีท่ าลายสมดุลนี้กไ็ ม่ใช่อะไรอื่นนอกจากพัฒนาการ
ของหนังสือของพวกรัฐโปรเตสแตนต์ทางเหนือเอง

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 100
ตัง้ แต่ กลางศตวรรษที่ 18 รัฐทางเหนือมีพฒ ั นาการด้านวรรณกรรม
มากๆ อย่างหลากหลายซึง่ ศูนย์กลางก็ไม่ใช่อ่นื ใดนอกจากรัฐไวมาร์ และผูน้ าก็
คือ “มหากวี” เยอรมันอย่าง Goethe นันเอง ่ งานเขียนแบบใหม่ของรัฐทางเหนือ
เป็ นที่นิยมของนักอ่านมากและขายดีเป็ นเทน้ าเทท่าได้ทวโลกภาษาเยอรมัั่ น
ในขณะทีร่ ฐั ทางใต้ไม่มปี รากฏการณ์แบบเดียวกัน นี่ทาให้เหล่าสานักพิมพ์ของ
รัฐทางเหนือเริม่ ไม่ยอมแลกหนังสือกับสานักพิมพ์ทางใต้ท่งี านเทศกาลหนังสือ
ไลป์ ซิกอีก
เมื่อสานักพิมพ์ทางใต้ไม่สามารถแลกเปลีย่ นหนังสือกับสานักพิมพ์ทาง
เหนือได้ดงั ทีเ่ ป็ นมา สานักพิมพ์ทางใต้กไ็ ม่มหี นังสือจากเทศกาลหนังสือกลับไป
ขายทัง้ ๆ ที่นักเขียนอย่างของรัฐทางใต้กม็ คี วามต้องการหนังสือของนักเขียน
ทางเหนื อ อยู่ ในสภาวะแบบนี้ พ วกสานัก พิม พ์ใ นรัฐทางใต้ ก็เ ลือ กที่จ ะพิม พ์
หนังสือของรัฐทางเหนือขายเองเพราะนัน่ ก็ถูกกว่าการนาเข้ามาขายหรือกระทัง่
ซือ้ แบบราคาขายส่งทีง่ านเทศกาลหนังสือไลป์ ซิก (Vogel, 2010: 117-118) ซึง่
การที่สานักพิมพ์ทางใต้พมิ พ์หนังสือของสานักพิมพ์ทางเหนือซ้าโดยไม่ได้ขอ
อนุญาตก็ไม่ใช่ “กิจกรรมผิดกฎหมาย” แต่อย่างใดในมุมของรัฐทางใต้ และอันที่
จริงรัฐทางใต้กม็ รี ายได้อย่างเป็ นล่าเป็ นสันในการขายอภิสทิ ธิการพิ ์ มพ์หนังสือที่
มีต้นก าเนิ ด ทางเหนือ ให้ส านัก พิมพ์ท างใต้มีสทิ ธิผ์ ูก ขาดการพิม พ์ ซึ่ง รัฐ ที่มี
กิจกรรมดังกล่าวก็ไม่ใช่รฐั เล็กๆ เท่านัน้ แต่รฐั ทีเ่ ป็ นตัวตัง้ ตัว ตีคอื รัฐทีใ่ หญ่ทส่ี ุด
ในโลกภาษาเยอรมันอย่างออสเตรียที่เป็ นรัฐคาทอลิก (Kawohl, 2010: 217;
Bruford, 1935: 207; Sach 1973: 32)
ออสเตรี ย ในศตวรรษที่ 18 ดู จ ะเป็ นชาติ ม หาอ านาจในโลก
ภาษาเยอรมัน เพราะนอกจากที่มนั มีขนาดใหญ่โตและประชากรมหาศาลแล้ว
มันก็ยงั เป็ นทีต่ งั ้ ของเมืองทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ ในโลกภาษาเยอรมันอย่างเวียนนาอันเป็ นที่
พ านั ก ของจัก รพรรดิ โ รมัน อัน ศัก ดิส์ ิท ธิอ์ ีก ออสเตรีย เป็ นมหาอ านาจทาง
การทหารอย่างไม่ตอ้ งสงสัย แต่มนั ก็เป็ นมหาอานาจด้านศิลปวัฒนธรรมด้วย แต่
นันก็
่ เป็ นศิลปวัฒนธรรมแบบอภิชนทีไ่ ปเน้นทางการดนตรีและการแสดงต่างๆ ที่

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 101
ช่วงศตวรรษที่ 18 อภิชนทีไ่ หนในยุโรปก็เอาอย่างฝรังเศส ่ และออสเตรียก็เป็ น
4
หนึ่งในรัฐทีเ่ อาอย่างศิลปวัฒนธรรมแบบราชสานักฝรังเศส ่
ในโลกภาษาเยอรมัน ถ้าพืน้ ทีท่ างศิลปวัฒนธรรมอภิชนสามารถยึดที่
มันได้
่ กห็ มายความว่างานเขียนในภาษาเยอรมันก็จะไม่โตตามไปด้วย เพราะใน
ภาพรวมอภิชนเยอรมันไม่ได้สนใจวรรณกรรมภาษาเยอรมันแม้แต่นิด (Bruford,
1935: 64-66) การทีค่ นอย่าง Goethe ไปรุง่ เรืองในราชสานักของรัฐเล็กๆ อย่าง
ไวมาร์นนั ้ ดูจะเป็ นข้อยกเว้นมากว่าสภาวะทัวไป
่ เพราะขนาดมหากษัตริยข์ องรัฐ
ทางเหนืออย่าง Frederick The Great แห่งปรัสเซียผูเ้ ป็ นทีเ่ คารพนับถือด้าน
ความใจกว้ า งต่ อ การแสดงความคิ ด เห็ น ก็ ย ัง เป็ นคนที่ ไ ม่ อ่ า นเขีย นเป็ น
ภาษาเยอรมัน เลย ในขณะที่ ง านเขีย นภาษาเยอรมัน เติ บ โตในปรัส เซี ย
Frederick The Great ก็อ่านแต่งานภาษาฝรังเศส ่ และเวลาแต่งวรรณกรรม
ออกมาเองก็แต่งเป็ นภาษาฝรังเศสเช่
่ นกัน (Bruford, 1935: 13-14)
ในกรอบแบบนี้ จึง ไม่ มีค วามขัด แย้ ง ใดๆ ที่ร าชส านั ก เวีย นนาจะ
อุปถัมภ์ดนตรีคลาสสิกและการแสดงต่างๆ ทีเ่ ป็ นศิลปวัฒนธรรมร่วมของอภิชน
ยุโรป ไปพร้อมๆ กับไม่แยแสวรรณกรรมภาษาเยอรมันทีม่ นั เป็ นเรื่องของ “คน
ระดับ กลาง” ที่เ กิดขึ้น ใหม่ ใ นสัง คมเยอรมัน จากการขยายตัว ของการศึก ษา
มหาวิทยาลัยและระบบราชการอันเป็ นสิง่ ทีโ่ ตมากในรัฐทางเหนือ

4
เอาจริงๆ หลังจากราชสานักฝรังเศสที ่ ่แวร์ซายล่มสลายไปพร้อมกับการปฏิวตั ิ ราชสานัก
ยุโรปที่ทรงอิทธิพลด้านศิลปวัฒนธรรมด้านดนตรีก็คอื ราชสานักออสเตรียที่เวียนนา ซึ่งใน
ออสเตรียช่วงทศวรรษที่ 1790 และ 1800 การแสดงความเหนือกว่าทางชนชัน้ ของพวกอภิชน
เพื่อ ตอบโต้การขยายตัว ของชนชัน้ กลาง ก็คอื การเลือ กที่จะอุปถัมภ์ดนตรีท่ี “ฟั งยาก” ใน
มาตรฐานของคนยุคนัน้ พูดง่ายๆ ก็คอื การทีพ่ วกราชสานักเวียนนาเลือกจะเป็ น “สปอนเซอร์
คอนเสิร์ตต่างๆ ที่เต็มไปด้วยดนตรีซ่งึ คนยุคนัน้ ไม่เข้าใจ (ไม่ว่าจะเป็ นงานของ Beethoven
หรือ งานชิ้น ฟั งยากๆ ของ Mozart ที่ปกติไม่นิย มมาแสดงกัน ) มัน ก็ค ือ การยืน ยัน ความ
เหนือกว่าทางชนชัน้ ทีส่ ามารถฟั งเพลงยากๆ เหล่านี้ “รูเ้ รื่อง” ในขณะทีช่ นชัน้ กลางงงงวยกับ
ดนตรีเหล่านี้ เพราะไม่รจู้ ะฟั งมันยังไง ดู DeNora 1991

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 102
แน่นอนว่า การกระทาของออสเตรียและรัฐทางใต้ทาให้รฐั ทางเหนือไม่
พอใจมาก และมัน ก็เ ริ่ม ท าให้พ วกพ่ อ ค้า หนั ง สือ ในรัฐทางเหนื อ ต้อ งเริ่ม หา
มาตรการในการจัดการพ่อค้าหนังสือจากรัฐทางใต้ซง่ึ อยู่นอกขอบเขตอานาจรัฐที่
ตนสังกัดให้ได้ อย่างไรก็ดอี อสเตรียก็เป็ นยักษ์ใหญ่ทร่ี ฐั อื่นๆ ไม่สามารถจะต่อกร
ได้ง่ายๆ ระเบียบการพิมพ์ในโลกภาษาเยอรมันจึงไม่มอี ะไรเปลีย่ นแปลงไปนัก
ในศตวรรษที่ 18

4.3 เส้นทางอันแปลกประหลาดในการสถาปนาลิขสิทธิ์
ในดินแดนเยอรมัน

"...กฎหมายเยอรมัน ไม่ ส ามารถคุ้ม ครองสิท ธิน้ ี ไ ด้ และมัน ก็ไ ม่ใ ช่


ความผิดของผม แต่เป็นความผิดของพวกสานักพิมพ์ทไี ่ ม่ยอมสูเ้ พือ่ สิทธิน้ ี ซึง่ พวก
เขาไม่สามารถรวมเป็ นหนึง่ ได้เพราะผลประโยชน์และแนวทางการประกอบธุรกิจ
ของพวกเขาก็ต่างกันมาก"

Johann Nepomuk Hummel


นักประพันธ์เพลงชาวออสเตรียเชือ้ สายฮังการี

ตลอดศตวรรษที่ 18 น่ าจะเรียกได้ว่า ไม่มสี งิ่ ที่เรียกว่าลิขสิทธิเลยใน



โลกภาษาเยอรมัน แม้ว่าแต่ละรัฐจะเริม่ มีกฎหมายห้ามการพิมพ์ซ้าโดยไม่ได้รบั
อนุ ญาตเป็ นกิจจะลักษณะขึน้ เช่น Austrian Statutes on Censorship and
Printing (1785) ของออสเตรีย หรือข้อกาหนดเกีย่ วกับสิทธิของสานักพิมพ์กม็ ี
การกล่าวถึงในประมวลกฎหมายปรัสเซียในปี 1795 (ชื่อเต็มคือ Allgemeines
Landrecht fur die Preussischen Staaten ปกติจะนิยมเรียกย่อกันว่า ALR) แต่
ก็ไม่มีท่ไี หนในกฎหมายในโลกภาษาเยอรมันเลยที่จะยืนยันว่าผู้เขียนมิสทิ ธิ
เหนืองานเขียน แม้ว่าคนอย่าง Martin Luther จะบ่นมาแล้วกว่าสองร้อยปี

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 103
สิทธิเหนืองานเขียนดูจะไม่ใช่กงการอะไรของนักเขียนเท่ากับทีม่ นั จะ
เป็ นเรื่องของสานักพิมพ์ และเหล่าสานักพิมพ์กไ็ ม่ได้มกี ลไกใดๆ ทีจ่ ะสามารถ
ควบคุมไม่ให้เกิดการตีพมิ พ์งานซ้ากันโดยไม่ได้รบั อนุ ญาตจากสานักพิมพ์ท่ีเริม่
พิมพ์ก่อนได้ โดยเฉพาะหลังจากที่สายสัมพันธ์การแลกเปลี่ยนหนังสือระหว่าง
สานักพิมพ์ของรัฐโปรเตสแตนต์ทางเหนือกับสานักพิมพ์จากรัฐคาทอลิกทางใต้
ผ่านงานหนังสือไลป์ ซิกพังไปในช่วงกลางศตวรรษที่ 18
ถ้าไม่มกี ารประชุมเพื่อตัง้ ข้อตกลงกันระหว่างรัฐทัง้ โลกภาษาเยอรมัน
เกีย่ วกับมาตรฐานด้านการคุม้ ครองไม่ให้เกิดการพิมพ์ซ้า มาตรการแบบนี้กย็ ่อม
เกิ ด ขึ้ น ไม่ ไ ด้ และตลอดศตวรรษที่ 18 มั น ก็ ไ ม่ มี มู ล เหตุ ใ ดๆ ที่ ร ั ฐ ที่ ใ ช้
ภาษาเยอรมันทัง้ หมดจะมาประชุมเพื่อหาข้อสรุปในประเด็นทานองนี้ เพราะ
อย่างน้อยๆ รัฐทีใ่ หญ่ทม่ี อี านาจทีส่ ดุ อย่างออสเตรียก็ไม่ได้สนใจว่านักเขียนจาก
รัฐอื่นจะมีสทิ ธิอ์ ะไรหรือไม่ในออสเตรียมากกว่าที่จ ะใส่ใจว่าเนื้ อหาหนังสือ ที่
ตีพมิ พ์มาในรัฐนัน้ สันคลอนความมั
่ นคงหรื
่ อไม่ พูดง่ายๆ คือออสเตรียสนใจการ
เซ็นเซอร์หนังสือมากกว่าทีจ่ ะสนใจคุม้ ครองสิทธิของผูเ้ ขียนไม่ว่าจะเป็ นนักเขียน
จากรัฐอื่นๆ หรือนักเขียนของออสเตรียเอง
อย่างไรก็ดใี นทีส่ ดุ การประชุมระหว่างชาติเยอรมันก็เกิดขึน้ และมูลเหตุ
ทีท่ าให้เกิดเวทีประชุมขึน้ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการค้าหนังสือทัง้ นัน้ แต่เกิดจาก
การทีจ่ กั รพรรดินโปเลียนแห่งฝรังเศสมาบุ
่ กถล่มดินแดนในโลกภาษาเยอรมันซะ
เละเทะ สิง่ ที่นโปเลียนทาคือการยุบรัฐเล็กรัฐน้อยในโลกภาษาเยอรมันจากกว่า
300 รัฐให้เหลือเพียง 40 รัฐซึง่ นี่เป็ นการทาลายสานึกท้องถิน่ เล็กๆ ในแบบเดิม
และเปิ ดทางให้เกิดสานึกของชนชาติเยอรมันมากขึ้น แต่ทม่ี ากกว่านัน้ ก็คอื การ
รุกรานของนโปเลียนนัน้ ก็ได้ก่อให้เกิดกระแสเกลียดฝรังเศสและท่ าให้เกิดกระแส
ชาตินิยมเยอรมันขึน้ (Boyle, 2008: 12, 72)
หลังจากนโปเลียนจากไป รัฐที่ใช้ภาษาเยอรมันทัง้ หลายก็รวมตัวกัน
อย่างหลวมๆ ภายใต้ช่อื สมาพันธรัฐเยอรมัน (German Confederation) และก็มี
การส่งทูตไปประชุมเจรจาเพื่อหาข้อตกลงร่วมกันตัง้ แต่การทางการทหารถึงทาง

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 104
เศรษฐกิจในนาม “คองเกรสแห่งเวียนนา” (Congress of Vienna) ในปี 1814-
1815 และการหาข้อตกลงร่วมกันด้านลิขสิทธิ ์ ก็เป็ นหนึ่งในวาระการประชุมด้วย
ในการประชุมขัว้ อานาจในการประชุมหลักๆ ก็คอื รัฐทีท่ างอิทธิพลทาง
เหนืออย่างปรัสเซีย (ทีค่ ่อยๆ ขยายอานาจมาท้าทายออสเตรียตลอดศตวรรษที่
18) และรัฐที่ทรงอิทธิพลทางใต้อย่างออสเตรีย ทางปรัสเซียทีต่ อนนัน้ เป็ นรัฐที่
“ส่งออก” งานเขียนรายใหญ่ต้องการกฎหมายลิขสิทธิร่์ วมกันในหมู่รฐั เยอรมัน
ทางออสเตรียไม่ได้มปี ั ญหาอะไรแต่ยนื ยันว่าระบบลิขสิทธินานาชาติ
์ เยอรมันทีว่ า่
นัน้ ต้องผนวกไปพร้อมกับ ระบบเซ็นเซอร์กลางด้วย นี่สะท้อนถึงกรอบความคิด
ของออสเตรียที่ใส่ใจการเซ็นเซอร์มากกว่าการคุ้มครองลิขสิทธิ ์ การปล่อยให้มี
ลิขสิทธิน์ านาชาติเยอรมันนัน้ หมายความว่ าก็ต้องยอมรับ งานทุ กชิ้น ที่ร ัฐอื่น
ยอมรับ และนันท ่ าให้การเซ็นเซอร์เป็ นไปไม่ได้ ออสเตรียจึงเสนอระบบเซ็นเซอร์
แบบนานาชาติเ ยอรมัน มาทดแทน พูด ง่ า ยๆ คือ ออสเตรีย เสนอว่ า ถ้ า จะมี
ลิขสิทธิก็์ ได้ แต่เวลาจะเซ็นเซอร์กต็ ้องเซ็นเซอร์ไปด้วยกัน แน่ นอนว่าปรัสเซียที่
เป็ นรัฐทีเ่ อนเอียนไปทางเสรีภาพในการตีพมิ พ์มากกว่ามาช้านานแล้วก็ย่อมไม่
เห็นด้วย ผลก็คอื การประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาก็จบไปโดยไม่บรรลุขอ้ ตกลง
ด้านลิขสิทธิใดๆ ์ ในสมาพันธรัฐเยอรมัน (Vogel, 2010: 119-120)
ความล้มเหลวของการประชุมไม่ได้ทาให้ปรัสเซียลดละความพยายาม
ในการสถาปนามาตรฐานการคุ้มครอง “ลิขสิทธิ”์ ในระดับนานาชาติเยอรมัน
เพราะหลังความล้มเหลวของการประชุมในการสร้างมาตรฐานกลางด้านลิขสิทธิ ์
สิง่ ทีป่ รัสเซียทาก็คอื การไล่เจรจากับรัฐอื่นๆ ในโลกภาษาเยอรมันทีละรัฐเพื่อทา
สนธิสญ ั ญาทวิภาคีท่แี ต่ละรัฐจะไม่อนุ ญาตให้มกี ารพิมพ์ซ้างานของกันและกัน
(Primary Sources on Copyright, 1827)
ในขณะทีร่ ฐั ปรัสเซียรุดหน้าไล่ทาสนธิสญ
ั ญา ทางฝั ง่ สานักพิมพ์ของรัฐ
ต่ า งๆ เองก็พ ยายามจะสร้า งข้อ ตกลงในการไม่ ล ะเมิด กัน และกัน ด้ว ยและ
ข้อตกลงทีส่ ่งผลสาคัญต่อพัฒนาการของกฎหมายลิขสิทธิในโลกภาษาเยอรมั
์ น
คือ Konventional-Akt อันเป็ นข้อตกลง “ไม่ตีพิมพ์งานกันและกันโดยไม่ได้รบั

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 105
อนุญาต” ทีส่ านักพิมพ์โน้ตดนตรีทาระหว่างกันทีง่ านเทศกาลหนังสือไลป์ ซิกในปี
1829
โดยทัวไปพวกส
่ านักพิมพ์โน้ตดนตรีไม่ได้มบี ทบาทนักในการกาหนด
กฎหมายลิขสิทธินั์ กไม่ว่าจะที่ใดในโลก แต่ ในกรณีน้ี พอพวกสานักพิมพ์โน้ ต
ดนตรีของออสเตรียร่วมลงนามข้อตกลง Konventional-Akt ในปี 1830 ความ
เปลีย่ นแปลงก็ดจู ะเกิดขึน้ แต่ดงั ้ เดิมมาท่าทีเพิกเฉยต่อลิขสิทธิของออสเตรี
์ ยนัน้
ก็สอดคล้องกับการทีส่ านักพิมพ์ในออสเตรียมีความปรารถนาจะตีพมิ พ์สงิ่ พิมพ์
จากรัฐอื่นๆ โดยไม่ตอ้ งขออนุญาต แต่ท่าทีแบบนี้ค่อยๆ เปลีย่ นไปเมื่อออสเตรีย
เริม่ มี “สินค้าลิขสิทธิ”์ ขายเรื่อยๆ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 อย่างไรก็ดี “สินค้า
ลิขสิทธิ”์ ของออสเตรียที่น่าจะสาคัญที่สุดก็ไม่ใช่วรรณกรรม แต่เป็ นโน้ตเพลง
เพราะตอนต้นศตวรรษที่ 19 ออสเตรียก็ดูจะเป็ นแหล่งทีม่ นี ักประพันธ์เพลงชุก
ชุมทีส่ ดุ ในยุโรปทีห่ นึ่ง ในภาวะแบบนี้การทีอ่ อสเตรียไม่ยอมรับลิขสิทธิของชาติ

อื่นๆ ก็ทาให้นักประพันธ์ของออสเตรียรวมไปจนถึงสานักพิมพ์โน้ตดนตรีของ
ออสเตรียไม่สามารถจะหาประโยชน์จากการพิมพ์โน้ตเพลงได้อย่างเต็มเม็ดเต็ม
หน่วยด้วย ในแง่น้กี ารทีเ่ หล่าสานักพิมพ์จากออสเตรียไปลงนาม Konventional-
Akt ก็เป็ นตัวบ่งชีว้ ่าขณะนี้มสี านักพิมพ์ในออสเตรียทีพ่ ร้อมรับกฎหมายลิขสิทธิ ์
นานาชาติแล้ว แม้ว่าทางรัฐจะไม่ยอมรับ (Sachs, 1973)
ผลของการแสดงเจตจานงของสานักพิมพ์โน้ตเพลงในออสเตรียดูจะ
ส่งผลเร็วมากเพราะในปี 1832 ทางรัฐออสเตรียก็ยนิ ยอมรับหลักการของลิขสิทธิ ์
นานาชาติเยอรมันที่คงค้ ั ่ างมาตัง้ แต่ส้นิ การประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาในปี
1815 ในที่สุด (Sachs, 1973: 32) เหล่าผู้แทนจากรัฐต่างๆ ในสมาพันธรัฐ
เยอรมันใช้เวลาทัง้ หมด 5 ปี ในการสร้างมาตรฐานการคุม้ ครองลิขสิทธิร่์ วมกันใน
โลกภาษาเยอรมัน ออกมาได้ ใ นที่สุ ด ในปี 1837 อัน เป็ น ปี ที่ ปรัส เซีย ผ่ า น
กฎหมายลิขสิทธิฉบั ์ บแรกออกมาพอดี ซึ่งแน่ นอนว่ามีรายละเอียดทีส่ อดคล้อง
กับข้อตกลงด้านลิขสิทธิของทุ ์ กรัฐในโลกภาษาเยอรมันอันได้มาอย่างยากลาบาก
ด้วย

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 106
นี่เป็ นก้าวสาคัญของกฎหมายลิขสิทธิของโลกภาษาเยอรมั
์ น อย่างไรก็
ดีกระบวนการรวมศูนย์และสร้างมาตรฐานเดียวของกฎหมายลิขสิทธิก์ ็ยงั ไม่
สิน้ สุด ในปี 1866 เกิดสงครามออสโตร-ปรัสเซียน (หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “สงคราม
เจ็ดสัปดาห์”) ทีป่ รัสเซียและออสเตรียพร้อมพันธมิตรของแต่ละฝ่ ายได้ห้าหันกั ่ น
ผลของสงครามทาให้เกิด “สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ ” ทีแ่ ยกออกจากออสเตรีย
และรัฐพันธมิตรทางใต้ขน้ึ เมื่อปราศจากออสเตรีย ปรัสเซียก็ได้เป็ นรัฐทีม่ อี านาจ
เหนือรัฐอื่นโดยสมบูรณ์ และก็ได้ผลักดันกฎหมายลิขสิทธิของตนจากในปี
์ 1837
ให้กลายมาเป็ น กฎหมายลิขสิทธิแห่ ์ งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือในปี 1870 ซึ่ง
กฎหมายลิขสิทธิน์ ้ีมผี ลบังคับใช้ทุกรัฐในสหพันธรัฐเยอรมันเหนือที่ตอนนี้การ
รวมเป็ นสหพันธรัฐเป็ นเรื่องของการมีกฎหมายร่วมกันแล้ว ไม่ใช่รวมกันแต่เพียง
ในนามแบบตอนเป็ น “สมาพันธรัฐเยอรมัน” หลังสงครามนโปเลียน
ท้ายที่สุดพอสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือได้กลายร่างมาเป็ น จักรวรรดิ
เยอรมัน (German Empire) อย่างรวดเร็วในปี 1871 ภายใต้การรวมชาติของ
Otto Von Bismark กฎหมายลิขสิทธิจากปี ์ 1837 ของปรัสเซียที่ได้มาเป็ น
กฎหมายลิขสิทธิแ์ ห่งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือในปี 1870 ก็ได้กลายมาเป็ น
กฎหมายลิขสิทธิแห่ ์ งจักรวรรดิเยอรมันไปในปี ต่อมา และกฎหมายลิขสิทธิฉบั ์ บ
แรกแห่งประเทศเยอรมันทีเ่ กิดขึน้ มาพร้อมๆ กับรัฐชาติเยอรมันก็มที ่มี าแบบนี้
นี่เอง

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 107
กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 108
บทที่ 5
บทสรุป: การขึ้นครองยุโรป
ของลิขสิทธิ์ในศตวรรษที่ 19

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 111
เกือบตลอดศตวรรษที่ 18 ลิขสิทธินั์ น้ ถือว่าเป็ นแนวคิดแปลกๆ ของ
พวกอัง กฤษมาโดยตลอด โดยทัว่ ไปไม่ มีใครในยุ โรปยอมรับ ว่า ลิขสิท ธิห์ รือ
กรรมสิทธิอั์ นเป็ นนามธรรมเหนือการทาซ้างานเขียนจะเป็ นสิง่ ทีเ่ ป็ น “สากล” ที่
อารยประเทศต้องยอมรับร่วมกัน ครัง้ หนึ่งทีส่ ภาไอร์แลนด์มสี มาชิกสภาเสนอให้
พิจารณากฎหมายลิขสิทธิ ์ ผลคือสมาชิกสภาคนอื่นก็ตอบโต้อย่างรุนแรงกระทัง่
ตราหน้าผูเ้ สนอกฎหมายว่า “ทรยศต่อชาติ” ทีเ่ อาแนวทางกฎหมายของอังกฤษ
มาใช้ (Johns, 2009: 174) ซึง่ นี่กเ็ ป็ นตัวอย่างทีไ่ ม่เลวนักของทัศนคติโดยทัวไป ่
ของชาวยุโรปต่อกฎหมายลิขสิทธิของอั ์ งกฤษ
นี่เป็ นสิ่งที่แตกต่ างไปในช่ว งต้นศตวรรษที่ 19 ที่รฐั ใหญ่ ๆ ในยุโรป
กลางและตะวันตก ก็ล้วนมีกฎหมายลิขสิทธิบางรู ์ ปแบบกันแล้ว หรืออย่างน้อย
ในช่วงนัน้ กระแสความคิด "โรแมนติกนิยม" (romanticism) ก็ได้เริม่ แพร่กระจาย
เพื่อเป็ นฐานให้เกิดกฎหมายลิขสิทธิเรี์ ยบร้อยแล้ว (Marshall, 2005) เมื่อกรอบ
คิดแบบโรแมนติกขยายไป ผูค้ นในวงกว้างขึน้ เรื่องๆ ก็เริม่ มีความเชื่อจริงๆ ว่า
นักเขียนคือ ผูท้ ใ่ี ห้กาเนิดงานขึน้ มาจากความว่างเปล่าด้วยอัจฉริยภาพของตน
แทนทีจ่ ะคิดกันว่านักเขียนก็ไม่ได้ต่างจากนายช่างอื่นๆ ทีเ่ ป็ นเพียงผูใ้ ห้บริการ
ผลิต สิ่ง ที่ผู้ว่ า จ้า งต้อ งการไปตามจารีต เท่ า นัน้ ตามกรอบที่มีม าก่ อ นหน้ า นัน้
(Woodmansee, 1994: 36-37) และแนวคิดนี้กไ็ ม่ได้จากัดอยู่แค่ในแวดวงงาน
เขียนเท่านัน้ เพราะแวดวงการประพันธ์ดนตรีกม็ กี ารเคลื่อนจากกรอบความคิด
ว่าดนตรีคือ สิง่ ที่นักแต่งเพลงสร้างขึน้ มาจากการ “เลียนแบบ” ธรรมชาติหรือ
ได้รบั การ “ดลใจ” จากสิง่ เหนือธรรมชาติ มาเป็ นดนตรีในฐานะของ “ผลผลิต ”
ของตัวตนของนักประพันธุเ์ พลงเองเช่นกัน (Johnson, 1991)
แนวคิดแบบโรแมนติกทาให้ความพยายามทีจ่ ะแยก “ศิลปิ น” ออกจาก
“ช่าง” ที่มีมาเนืองๆ ในศตวรรษที่ 18 มีความชอบธรรมขึ้นในศตวรรษที่ 19
กิจกรรมของศิลปิ นถูกมองว่าเป็ นการ “สร้างสรรค์” ขึน้ มาจากตัวตนของตน
*ภาพจากหน้า 110 : Europe! Russia! France! โดย Paul Dominique Philippoteaux
ทีม่ า https://www.oldbookillustrations.com/illustrations/europe/

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 112
กิจกรรมของช่างกลับเป็ น เพียง “ปฏิบ ัติตามจารีต ” ที่สบื ทอดมาเท่านัน้ เมื่อ
ความคิด เรื่อ งการสร้า งสรรค์ท่ีเ ป็ น นามธรรมเริ่ม ลงหลัก ปั ก ฐานไปทัว่ ยุ โ รป
ความคิดที่ว่าจะทาให้กฎหมายลิขสิทธิมี์ ขอบเขตคุ้มครองทัง้ โลกก็ดูจะมีความ
เป็ นไปได้มากขึน้ เพราะอย่างน้อยๆ ในโลกของพวก “ศิลปิ น” มันก็เริม่ มีการ
ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าสิง่ ที่ “ศิลปิ น” สร้างมาในงานแต่ละชนิดมันมีความ
เป็ นนามธรรมเหนือไปกว่าตัวงานทีส่ มั ผัสได้ดว้ ยประสาทสัมผัสทัง้ ห้า ตัวตนของ
งานเขียนไม่ใช่สงิ่ ทีเ่ ห็นในกระดาษเท่านัน้ ตัวตนของบทพระพันธ์เพลงก็ไม่ใช่สงิ่
ทีถ่ ูกเขียนลงบนบรรทัดห้าเส้นหรือสิง่ ทีน่ ักดนตรีเล่นออกมาให้ฟังเท่านัน้ มันมี
การดารงอยู่อนั เป็ นนามธรรมที่เหนือกว่านัน้ และนี่กเ็ ป็ นยุคแรกที่พวกผู้ผลิต
ศิลปวัฒนธรรมเชื่อว่าตัวเองได้สร้างสิง่ อันเป็ นนามธรรมนัน้ ขึน้ มา และพวกเขาก็
เชื่อเช่นกันว่าสิง่ อันเป็ นนามธรรมนัน้ คือทรัพย์สนิ ของพวกเขาที่ต้องการการ
คุม้ ครอง ซึง่ ในทางปฏิบตั พิ น้ื ฐานการคุม้ ครองทีว่ ่าก็ไม่ใช่อะไรมากไปกว่าการที่
รัฐต้องออกกฎหมายป้ องกันไม่ได้มกี ารตีพมิ พ์งานพวกเขาอย่างไม่ได้รบั อนุญาต
เท่านัน้ เองไม่ว่าจะเป็ นหนังสือหรือโน้ตเพลง หรือพูดง่ายๆ ภายใต้เทคโนโลยีใน
ยุคโรแมนติกบรรดา “ศิลปิ น” ก็ไม่ได้มองว่าการละเมิดทรัพย์สนิ อันเป็ นธรรม
ธรรมของพวกเขาจะเป็ น อะไรไปมากกว่ าการตีพิมพ์โดยที่พวกเขาไม่ ได้ร ับ
อนุญาต หรือพวกเขาต้องการกฎหมายลิขสิทธินั์ นเอง ่
อย่างไรก็ดใี นตอนต้นศตวรรษที่ 19 ในยุคโรแมนติก กฎหมายลิขสิทธิ ์
ก็ดารงอยู่แล้วในที่ๆ กระแสโรแมนติกไปถึง ใน “อังกฤษ” ที่ตอนนี้กลายเป็ น
เกรทบริเตนไปแล้ว (ต่อจากนี้จะเรียกว่า “บริเตน”) กฎหมายลิขสิทธิก็์ มมี าอย่าง
ต่อเนื่องกับกฎหมายลิขสิทธิที์ ่ออกโดยสภาอังกฤษตัง้ แต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 18
และตอนปลายศตวรรษที่ 18 ฝรังเศสก็ ่ มกี ฎหมายลิขสิทธิของตั ์ วเองแล้วเช่นกัน
และช่วงเวลาเดียวกันปรัสเซียก็มกี ารปฏิรูปกฏหมายทีใ่ ห้สทิ ธิเหนือการตีพมิ พ์
อย่างใกล้เคียงกับลิขสิทธิแล้ ์ ว (แม้ว่าจะยังไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็ นกฎหมาย
ลิขสิทธิได้
์ ซะทีเดียว) กล่าวง่ายๆ คือลิขสิทธิเป็์ นกฎหมายทีเ่ ก่าแก่กว่ากรอบคิด
แบบโรแมนติก

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 113
แม้ว่ากฎหมายเหล่านี้จะดารงอยู่แล้วในตอนต้นศตวรรษที่ 19 ก็ไม่ได้
หมายความว่า “ลิขสิทธิ”์ จะได้รบั การคุม้ ครองในมุมของ “ศิลปิ น” ที่มชี ่อื เสียง
ระดับนานานาชาติ ไม่ว่าจะเป็ นพวกนักเขียนหรือนักประพันธ์เพลงที่มชี ่อื เสียง
ไปทัวยุ
่ โรป เพราะในยุคโรแมนติกเอง กฎหมายลิขสิทธิถึ์ งจะมีอยู่ในหลายรัฐก็
จริง แต่มนั ก็ไม่ได้มขี อบเขตคุม้ ครองไปนอกรัฐชาติของตัว “ศิลปิ น” คนนัน้ ๆ นี่
หมายความว่า งานของนักเขียนของบริเตนก็ถูกพิมพ์ซ้าในฝรังเศสได้ ่ โดยไม่ตอ้ ง
รับ อนุ ญ าตจากนั ก เขีย นหรือ ส านั ก พิม พ์ จ ากบริเ ตน และหนั ง สือ จากโล ก
ภาษาเยอรมัน ก็ถู ก ตี พิม พ์ไ ด้ ใ นโลกภาษาอัง กฤษโดยที่นั ก เขีย นจาก โลก
ภาษาเยอรมันไม่มสี ทิ ธิอนุ
์ ญาตใดๆ ทัง้ นัน้
แม้ว่ากิจกรรมการ “พิมพ์ซ้า” ทีก่ ล่าวมาจะไม่ใช่เรื่องที่ “ผิดกฎหมาย”
แต่ในมุมของนักเขียนที่มองว่างานเขียนของตนเป็ นอะไรมากกว่าต้นฉบับ (ที่
มัก จะ “ขายขาด” ให้ส านั ก พิม พ์) สิ่ง ที่ “ถู ก กฎหมาย” ที่ก ล่ า วมาทัง้ หมดก็
“ละเมิดสิทธิ” ได้ ในมุมของพวกนักเขียน (และสานักพิมพ์ท่ซี ้อื สิทธิน์ ้ีมาจาก
นักเขียน) การกาจัดการละเมิดสิทธิน้ีกไ็ ม่มวี ธิ อี ่นื ใดนอกจากการให้แต่ละรัฐทา
สนธิสญ ั ญากันเพื่อยอมรับลิขสิทธิของกั์ นและกัน ซึง่ ผลคือลิขสิทธิจะไม่
์ ใช่สทิ ธิ ์
ระดับชาติอกี ต่อไป แต่เป็ นสิทธิระดับนานาชาติทจ่ี ะสามารถกล่าวอ้างเพื่อบังคับ
ใช้ในชาติอ่นื ๆ ได้
ในแง่น้ีปรากฏการณ์สาคัญระดับนานาชาติของลิขสิทธิในช่ ์ วงครึง่ แรก
ศตวรรษที่ 19 ก็คอื การทีส่ ามขัว้ มหาอานาจทางศิลปวัฒนธรรมของยุโรปอย่าง
บริเตน ฝรังเศส
่ และปรัสเซีย ได้ยอมลงนามทาสนธิสญ ั ญาระหว่างประเทศเพื่อ
ยืนยันการคุม้ ครองลิขสิทธิของ์ “ประพันธกร” ของกันและกัน ก็จงึ เป็ นการกระทา
ทีส่ อดคล้องกับ “จิตวิญญาณแห่งยุคสมัย” ทีเ่ หล่า “ศิลปิ น” ในภาคพืน้ ยุโรปเชื่อ
กันแล้วว่างานทีต่ นผลิตผูกกับตัวตอนของตนโดยตรง และต้องได้รบั การปกป้ อง
คุม้ ครองทางกฎหมาย
อย่างไรก็ดแี ม้ว่าการเปลีย่ นแปลงของกฎหมายลิขสิทธิจะไป ์ “เข้าทาง”
เหล่ า “ศิลปิ น แต่ ก ารบอกว่ า ความต้อ งการการคุ้ม ครองของเหล่ า “ศิล ปิ น ”

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 114
สารพัดแขนงภายใต้กรอบคิด โรแมนติก เป็ น “สาเหตุ ” ให้รฐั ต้องลาบากไปทา
ข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อคุ้ ม ครอง “ประพันธกร” ก็ดูจะเป็ นการกล่าวถึง
อานาจทางการเมืองของเหล่า “ศิลปิ น” เกินไปหน่อย เพราะอย่างน้อยๆ ไม่ว่าใน
ยุค ไหน เหล่ า “ศิลปิ น ” ก็ดูจ ะไม่เ คยเป็ นกลุ่ ม ผลประโยชน์ ท่ีมีอ านาจในการ
ก าหนดทิศ ทางของนโยบายรัฐ สัก เท่ า ไร เพราะสุ ด ท้า ยถ้ า มัน ไม่ ใ ช่ ค วาม
ปรารถนาของรัฐเอง แรงกดดันของเหล่า “ศิลปิ น” ย่อมไร้ผล
คาถามคือทาไมรัฐทัง้ สามถึงต้องการจะขยายการคุม้ ครองด้านลิขสิทธิ ์
งานของประเทศตนไปในประเทศอื่นๆ? นี่เป็ นคาถามที่น่าสนใจเพราะ ดัง้ เดิม
เราจะแทบไม่พบแรงจูงใจใดๆ ที่ประเทศเหล่านี้จะต้องมาขยายการคุ้มครอง
ลิขสิทธิข์ องตนเลย เพราะตัง้ แต่ การปฏิวตั ิการพิมพ์ถึงปฏิวตั ิฝรังเศส ่ “สินค้า
ลิข สิท ธิ”์ หลัก ๆ ที่มีก ารผลิต ในแต่ ล ะรัฐ ก็คือ หนั ง สือ และในช่ ว งเวลาทาง
ประวัติศาสตร์ท่เี รียกว่า “สมัยใหม่ตอนต้น” นี้มนั คือช่วงของการขยายตัวของ
การอ่านภาษาถิน่ และนักอ่านสามัญชน ซึง่ แทนทีน่ กั อ่านหนังสือหลักในยุคกลาง
ของยุโรปซึง่ ก็คอื พวกพระทีใ่ ช้ภาษานานาชาติอย่างละตินในการสือ่ สารกัน การ
เปลีย่ นมาเป็ นภาษาถิน่ หลักๆ ก็หมายถึงการทีห่ นังสือทีม่ ตี ้นกาเนิดในชาติเอง
นัน้ ได้กลายมาเป็ นสินค้าหลักของพวก “พ่อค้าหนังสือ” ในแต่ละรัฐด้วย ในแง่น้ี
ตลาดหนังสือของทัง้ สามรัฐในช่วงสมัยใหม่ ตอนต้นจึงเป็ นตลาดหนังสือที่แยก
ออกจากกันโดยมีภาษาทีใ่ ช้ในรัฐซึง่ ต่างกันเป็ นพรมแดนสาคัญของตลาด
กล่าวคือ ในสภาวะสมัยใหม่ตอนต้น มันไม่มปี ระโยชน์นักทีอ่ งั กฤษจะ
ไปคุ้ ม ครองลิ ข สิท ธิใ์ นปรัส เซีย เพราะแม้ แ ต่ ค นปรัส เซีย ที่ “มีก ารศึก ษา”
โดยทัวไปก็
่ ไม่ได้มคี วามสามารถอ่านหนังสือภาษาอังกฤษกันเป็ นล่าเป็ นสันแบบ
ทีพ่ ่อค้าหนังสือปรัสเซียจะพิมพ์หนังสืออังกฤษมาขายได้ และก็เช่นเดียวกันก็ไม่
มีประโยชน์ ท่ฝี รังเศสจะคุ
่ ้มครองลิขสิทธิห์ นังสือของตนในอังกฤษ เพราะคน
อังกฤษในช่วงนัน้ ก็ไม่ได้มคี วามสามารถในการอ่านหนังสือภาษาฝรังเศสกั ่ น
มากมายขนาดทีจ่ ะพิมพ์หนังสือภาษาฝรังเศสขายในอั
่ งกฤษได้ง่ายๆ

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 115
แล้ ว ท าไมอยู่ ดีๆ ทัง้ ทางบริ เ ตน ฝรัง่ เศส และปรัส เซี ย ถึ ง มาท า
สนธิสญ ั ญาลิขสิทธิกั์ นในศตวรรษที่ 19? เหตุผลดูจะต้องแยกกันเป็ นคู่สญ ั ญาไป
ซึง่ อันที่จริงทีจ่ ะเห็นได้กค็ อื ความต้องการในการทาสนธิสญ ั ญาลิขสิทธินี์ ่กด็ ูจะ
ไม่ใช่ความต้องการของทัง้ สองฝ่ ายด้วยซ้า มันคือความต้องการจากฝ่ ายเดียวแต่
ฝ่ ายทีร่ บั ข้อเสนอก็ดจู ะยินยอมไปในนามของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้าน
เศรษฐกิจ ในยุค ที่แ นวคิด อย่ าง “การค้าเสรี” และการค้า ระหว่ างประเทศเริ่ม
ขยายตัวขึน้ ซึง่ จากมุมของของรัฐการยินยอมคุม้ ครองลิขสิทธิของพลเมื์ องอีกรัฐ
ก็ไม่ใช่สงิ่ ทีจ่ ะทาให้รฐั เสียประโยชน์อะไรนักหนา
ความพยายามแรกที่จะทาให้มหาอานาจด้านอุตสาหกรรมในตอนนัน้
อย่างบริเตนทาสนธิสญ ั ญากับรัฐอื่นๆ เกิดจากสานักพิมพ์ Tauchnitz อันเป็ น
สานักพิมพ์จากโลกภาษาเยอรมัน สินค้าหลักของสานักพิมพ์ Tauchnitz คือ
หนังสือรวมงานเขียนภาษาอังกฤษของนักเขียนจากทางฝั ง่ บริเตนและอเมริกา
ซึง่ ทาง Tauchnitz ก็จะใช้กระดาษราคาถูกเพื่อพิมพ์หนังสือเป็ นปริมาณมากๆ
มาขายตลาดในภาคพืน้ ทวีปโดยเฉพาะ
แน่ นอนว่าตอนทีท่ าง Tauchnitz เริม่ ธุรกิจ ทาง Tauchnitz ก็สามารถ
จะเอางานของนักเขียนจากบริเตนมาตีพมิ พ์ขายในภาคพืน้ ทวีปได้โดยไม่ตอ้ งขอ
อนุ ญาตและจ่ายค่า ลิขสิทธิก์ บั ใครทัง้ นัน้ อย่างไม่ผิดกฏหมายของประเทศใด
ทัง้ สิน้ แต่สงิ่ ทีท่ าง Tauchnitz ทาก็คอื การสร้างความสัมพันธ์อนั ดีกบั เหล่า
นักเขียนจากบริเตนโดยจ่าย “สินน้ าใจ” ให้นักเขียนเมื่อทางสานักพิมพ์ได้พมิ พ์
งานเขีย น ซึ่งนี่ ก็น่ าจะเป็ นส่วนหนึ่ งของจารีตการจ่ ายสิน น้ า ใจให้นักเขีย นที่
แพร่หลายในโลกภาษาเยอรมันตัง้ แต่ไม่มกี ฎหมายลิขสิทธิใดๆ ์
เมื่อศตวรรษที่ 19 ดาเนินไป ตลาดหนังสือก็ขยายตัวขึน้ ไปพร้อมๆ กับ
การขยายตัวของประชากรและการเพิม่ ขึน้ ของอัตราการรูห้ นังสือของประชากร
ในยุโรปช่วง “ปฏิวตั อิ ุตสาหกรรม” ตลาดทีข่ ยายตัวก็ย่อมทาให้มสี านักพิมพ์อ่นื ๆ
พิมพ์หนังสือมาแย่งตลาดกับ Tauchnitz ทาง Tauchnitz ก็เลยต้องหาทาง
ผูกขาดตลาดไว้และวิธที เ่ี ป็ นไปได้ทจ่ี ะทาให้ทางสานักพิมพ์ผูกขาดสิทธิในการ

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 116
ตีพมิ พ์งานของนักเขียนจากบริเตนในโลกภาษาเยอรมันก็คอื การทาให้รฐั บริเตน
และปรัสเซียยอมรับลิขสิทธิของกั ์ นและกันให้ได้ ซึง่ เหตุท่ี Tauchnitz ใช้ปรัสเซีย
เป็ นตัวชูโรงก็คงจะไม่ใช่เหตุผลอื่นนอกจากการทีป่ รัสเซียเป็ นชาติมหาอานาจใน
โลกภาษาเยอรมันทีเ่ ป็ นตัวตัง้ ตัวตีในการสร้างระบบลิขสิทธินานาชาติ ์ เยอรมัน
มาตลอดตัง้ แต่หลังสงครามนโปเลียน นี่ทาให้ Tauchnitz เอาประเด็นเรื่อง
ลิขสิทธิขึ์ น้ ไปสู่โต๊ะเจรจาในอังกฤษทีก่ ารประชุม A s s o c i a t i o n f o r t h e
Protection of British Literature ในอังกฤษ
อย่างไรก็ดกี ารประชุมครัง้ นี้ล้มเหลวเพราะ นักเขียนและสานักพิมพ์
อัง กฤษมีค วามกัง ขาในแนวทางนี้ เพราะการยอมให้บ ริเ ตนลงนามยอมรับ
ลิข สิท ธิข์ องปรัส เซีย ก็ไ ม่ ไ ด้ห มายความว่ า “นัก เขีย น” จากบริเ ตนจะได้ร ับ
ค่ า ตอบแทนเวลามีก ารพิม พ์ง านในปรัส เซีย เท่ า นั น้ แต่ ม ัน หมายถึง การที่
สานักพิมพ์จากบริเตนจะหมดสิทธิส่์ งออกหนังสือไปตีตลาดหนังสือภาษาอังกฤษ
ในโลกภาษาเยอรมันด้วย ซึง่ จากมุมของเหล่าพ่อค้าหนังสือจากสานักพิมพ์น่กี าร
ลงนามเพื่อคุม้ ครองลิขสิทธินี์ ้จะเป็ นเรื่องของการกีดกันทางการค้ามากกว่าการ
ลงนามยอมรับสิทธิบางอย่างที่มีความเป็ นสากล กล่าวง่ายๆ คือ พวกพ่อค้า
หนังสือจากบริเตนยังมองสานักพิมพ์ Tauchnitz เป็ นคู่แข่งทางการค้า อยู่ และ
นักเขียนจานวนมากก็เข้าข้างพวกพ่อค้าหนังสือ
แม้ว่ า การเจรจาครัง้ นี้ จ ะไม่ไ ด้ร ับ การสนับ สนุ นจากสานัก พิม พ์แ ละ
นักเขียนที่เข้าร่ วม แต่ มนั ก็ได้ทาให้ประเด็นเรื่องสนธิส ญ ั ญาลิขสิท ธิร์ ะหว่า ง
ประเทศได้กลายมาเป็ นประเด็นสาธารณะที่ได้รบั การสานต่ อในการเจรจาอีก
หลายต่ อหลายครัง้ ที่ขยายชาติภาคีไปเรื่อยๆ จนในปี 1845 รัฐที่เป็ นคู่เจรจา
สนธิสญ ั ญาลิขสิทธิกั์ บบริเตนก็มี ฝรังเศส ่ เบลเยียม และปรัสเซีย ซึง่ ในปี 1846
ปรัสเซียก็เป็ นรัฐแรกในโลกทีล่ งนามยอมรับลิขสิทธิของบริ ์ เตน (Seville, 2006:
50-51)
การยอมรับข้อเสนอของทางบริเตนของปรัสเซียดูจะเป็ นไปเพื่อช่วยให้
พ่อค้าหนังสือในปรัสเซียและโลกภาษาเยอรมันเองสามารถผูกขาดการพิมพ์และ

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 117
ขายหนังสือของนักเขียนจากบริเตนได้อย่างชอบธรรม นี่น่าจะเป็ นเหตุผลให้ป
รัส เซีย ไม่ ต่อ รองมากกับ ขอบเขตการคุ้ม ครองลิข สิท ธิท์ ่ีบ ริเ ตน มอบให้ต าม
กฎหมายของตน แต่น่ไี ม่ใช่เงื่อนไขทีฝ่ รังเศสจะยอมรั่ บได้ กล่าวคือในการเจรจา
ทีไ่ ล่เลีย่ กันฝรังเศสไม่
่ ยอมลงนามรับรองลิขสิทธิอั์ งกฤษภายใต้เงื่อนไขเดียวกับ
ปรัสเซียเพราะเห็นว่ากฎหมายลิขสิทธิของอั ์ งกฤษมีขอบเขตการคุม้ ครองทีค่ บั
แคบเกินไป
ฝรัง่ เศสลือชื่อ มาตัง้ แต่ เ ริ่มมีก ฎหมายลิข สิทธิแ์ ล้ว ว่า มีข อบเขตการ
คุม้ ครองลิขสิทธิที์ ก่ ว้างมากซึง่ ศาลก็ใช้อานาจศาลในการตีความกฎหมายขยาย
ขอบเขตลิขสิทธิเรื์ ่องมาตลอดครึง่ แรกศตวรรษที่ 19 (Rideau, 2010) ในฝรังเศส ่
ก็มคี วามเชื่อกันทัวไปว่่ าลิขสิทธิมี์ ลกั ษณะเป็ นสิทธิธรรมชาติท่ผี ูกกับตัวผูส้ ร้าง
งานออกมา ซึง่ เป็ นแนวคิดทีต่ ่างจากทางอังกฤษทีม่ องว่าลิขสิทธิไม่ ์ ได้เป็ นอะไร
ไปมากกว่า สิท ธิท างเศรษฐกิจที่รฐั มอบให้พลเมือ งได้ใ นเงื่อนไขที่ว่า มัน เป็ น
ประโยชน์ ต่อรัฐ ซึ่งวิธีคิดแบบนี้กย็ งั ดารงอยู่ในแวดวงกฎหมายและนโยบาย
สาธารณะของอังกฤษในช่วงที่พวก “ศิลปิ น” อังกฤษเริม่ รับแนวคิดแบบโรแมน
ติกมาแล้ว
ในกรอบแบบที่ฝ รัง่ เศสมองว่ า กฎหมายลิข สิท ธิเ์ ป็ น เรื่อ งของการ
คุม้ ครองทรัพย์สนิ ทีศ่ ลิ ปิ นสร้างขึน้ มาจริงๆ ก็ไม่แปลกนักทีฝ่ รังเศสมองสิ
่ ง่ ทีท่ ุก
วันนี้เรียกกันในภาษากฎหมายลิขสิทธิว่์ า “งานดัดแปลง” ว่าเป็ นสมบัติอนั ชอบ
ธรรมของผูส้ ร้างงานด้วยในขณะทีท่ างฝั ง่ บริเตนจะไม่มวี ธิ คี ดิ แบบเดียวกันอยู่ใน
สารบบการคิดเรื่องลิขสิทธิ ์ เพราะสาหรับพวกบริเตน โดยทัวไป ่ “งานดัดแปลง”
นัน้ ถือว่าเป็ นงานคนละชิ้นกันและการนางานผูอ้ ่นื มาดัดแปลงก็ไม่ต้องการการ
อนุมตั จิ าก “เจ้าของงาน” ก่อน
ประเด็นที่ฝรังเศสกั
่ งวลเป็ นพิเศษว่า ไม่มใี นกฎหมายลิขสิทธิของ ์ บริ
เตนจนท าให้ไม่ ยอมท าสนธิส ญ ั ญาลิข สิท ธิก์ ับทางบริเ ตนก็คือ งานดัด แปลง
จาพวก “งานแปล” เพราะภายใต้กฎหมายลิขสิทธิข์ องบริเตน (และเอาจริงๆ
ปรัสเซียก็ดว้ ย) ในตอนนัน้ ยังไม่มกี ารยอมรับว่า “สิทธิในการแปลงาน” เป็ นส่วน

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 118
หนึ่งของลิขสิทธิ ์ กล่าวคือ พวกบริเตนช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ไม่ได้มองว่าการ
แปลงานจากภาษาต่ างประเทศเป็ นสิง่ ที่ต้องขออนุ ญาตใครทัง้ นัน้ เพราะงาน
แปลทีอ่ อกมาเป็ นต้นฉบับงานแปลก็เป็ นผลจากน้ าพักน้ าแรงของผูแ้ ปลเอง มัน
ถือเป็ นงานชิ้นใหม่ ที่มศี กั ดิศ์ รีในการยื่นขอลิขสิทธิไ์ ม่ได้ต่างจากงานที่เขียน
ขึน้ มาใหม่ดว้ ยซ้า
ถ้าเป็ นดังนี้ ถึงอังกฤษจะเซ็นรองรับลิขสิทธิของฝรั
์ งเศส
่ การรองรับ
ลิขสิทธิก์ ็เป็ นการรองรับลิขสิทธิเพี ์ ยงแค่งานภาษาฝรังเศสที่ ่มาขึ้นทะเบียนที่
ลอนดอนที่ Stationer’s Hall เท่านัน้ (เพราะทางบริเตนไม่มกี รอบคิดว่าลิขสิทธิ ์
จะต้องคุม้ ครองโดยอัตโนมัตโิ ดยไม่ตอ้ งขึน้ ทะเบียน) ถ้างานภาษาฝรังเศสนั ่ น้ ถูก
แปลเป็ น ภาษาอัง กฤษมาตีพิม พ์ข ายในอังกฤษ ทาง “เจ้า ของลิข สิท ธิ”์ จาก
ฝรัง่ เศสที่ไ ด้น างานภาษาฝรัง่ เศสของตนมาขึ้น ทะเบีย นแล้ ว ก็ไ ม่ ส ามารถ
ดาเนิ น การทางกฎหมายใดๆ ได้ก ับ ส านั ก พิม พ์ท่ีพิม พ์ง านแปลขายเพราะ
กฎหมายลิข สิท ธิอ์ ัง กฤษไม่ ค รอบคลุ ม ถึง การคุ้ ม ครองสิท ธิเ หนื อ งานแปล
นอกจากนี้งานที่แปลจากฝรังเศสเป็ ่ นอังกฤษมานัน้ หากถูกนามาขึน้ ทะเบียน
ลิขสิทธิ ์ งานมันก็จะกลายเป็ นลิขสิทธิของผู์ แ้ ปลหรือสานักพิมพ์ไปด้วย (ตามแต่
จะตกลงกัน) และทาง “เจ้าของลิขสิทธิ”์ ภาษาฝรังเศสก็ ่ จะไม่ได้รบั ส่วนแบ่งใด
จากรายได้ทเ่ี กิดขึน้
การไม่ยอมให้ลขิ สิทธิงานชิ
์ ้นหนึ่งๆ คุ้มครองไปถึงงานแปลเป็ นสิง่ ที่
เข้าใจได้บนฐานของกฎหมายลิขสิทธิอั์ งกฤษทีม่ พี น้ื ฐานหลักการเป็ นกฎหมาย
สนับสนุนการเรียนรูม้ าแต่แรกแล้ว (Deazley, 2004) เพราะอย่างน้อยๆ เงื่อนไข
นี้กท็ าให้งานภาษาต่างๆ ถูกนามาแปลเป็ นภาษาอังกฤษได้อย่างอิสระ คนจะ
แปลกันมากีส่ านวนก็ได้ เจ้าของงานในภาษาต้นฉบับไม่มสี ทิ ธิจะอนุ ์ ญาตหรือไม่
อนุญาตให้มกี ารแปลงาน
อย่ า งไรก็ ดี ส าหรับ ฝรัง่ เศส กฎหมายลิ ข สิท ธิ ม์ ัน ไม่ ใ ช่ ก ฎหมาย
สนับสนุ นการเรียนรูเ้ ท่ากับทีเ่ ป็ นกฎหมายคุม้ ครองทรัพย์สนิ ที่จบั ต้องไม่ได้มา
ตัง้ แต่แรก มาตรการการส่งเสริมการเรียนรู้ของทางฝั ่งบริเตนซึ่งเปิ ดให้มีการ

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 119
แปลงานอย่างอิสระจึงเป็ นการส่งเสริมละเมิดเสียมากกว่าจากมุมของฝรังเศส ่
และผู้ท่ีก ัง วลเป็ น พิเ ศษก็คือ บรรดานั ก เขีย นบทละครฝรัง่ เศสซึ่ง เป็ น สิ น ค้า
ส่งออกหลักทางศิลปวัฒนธรรมขณะนัน้ (Seville, 2006: 52) เพราะถ้าอังกฤษไม่
ทาการแก้กฎหมายลิขสิทธิให้ ์ คุ้มครองงานแปล การทาสนธิสญ ั ญาลิขสิทธิกั์ บ
อังกฤษก็แทบไม่มปี ระโยชน์ไรเลยต่อพวกเขา เพราะสุดท้ายพวกพ่อค้าหนังสือ
จากบริเตนก็ยงั จะสามารถแปลบทละครของพวกเขาเป็ นภาษาอังกฤษพิมพ์ขาย
ได้อยู่ดี และพวกเขาก็ไม่ได้อะไรตอบแทน
ในท้า ยที่สุด ฝรัง่ เศสก็ยิน ยอมเซ็นสนธิสญ ั ญากับ บริเ ตนในปี 1851
ภายใต้คามันสั ่ ญญาของบริเตนที่จะแก้กฎหมายเพื่อให้การคุ้มครองลิขสิทธิม์ ี
ขอบเขตในการคุม้ ครองงานแปลด้วย และกฎหมายดังกล่าวของบริเตนก็ปรากฏ
มาตามสัญญาในปี 1852 ซึ่งทางบริเตนก็ระบุชดั เจนว่างานภาษาต่างประเทศ
จากประเทศคู่สญ ั ญาต้องมีการพิมพ์ยนื ยันสิทธิในการแปลในส่
์ วนหน้าของปก
ด้วย (ภายหลังหลักการนี้พฒ ั นาไปเป็ นการเขียน “all rights reserved” ในหน้า
แรกๆ ของหนั ง สือ ที่พ บเห็น ได้ท ัว่ ไปในยุ ค ปั จ จุ บ ัน ) นอกจากนั น้ น ามาขึ้น
ทะเบีย นพร้อ มมอบให้ห้อ งสมุ ด ต่ า งๆ ตามเงื่อ นไขของกฎหมายลิข สิท ธิบ์ ริ
เตนภายในเวลา 3 เดือนนับจากตีพมิ พ์ครัง้ แรก และการแปลบางส่วนจะต้องทา
ภายใน 1 ปี หรือการแปลทุกส่วนจะต้องทาภายใน 3 ปี นับจากขึ้นทะเบียนมิ
เช่นนัน้ สิทธิกจ็ ะถือเป็ นโมฆะ (Seville, 2006: 51) นี่เป็ นจุดยืนทีแ่ สดงให้เห็นถึง
แนวทางของกฎหมายลิขสิทธิของบริ ์ เตนอย่างชัดเจนอีกครัง้ ทีเ่ ป็ นกฎหมายเพื่อ
กระตุ้นให้มีการผลิตงานออกมาเพิ่มขึ้นมากกว่าจะเป็ นกฎหมายเพื่อคุ้มครอง
ทรัพย์สนิ โดยตัวมัน เองแบบฝรัง่ เศส แม้ความจุก จิก ในเงื่อ นไขการคุ้ม ครอง
เหล่านี้จะไม่มใี นกฎหมายของฝรังเศสที ่ ก่ ารคุม้ ครองเป็ นไปโดยอัตโนมัตแิ ละถือ
ว่าเริ่มมีการคุ้มครองตัง้ แต่ มกี ารสร้างงานขึ้น แต่ น่ีกน็ ับเป็ นก้าวสาคัญในการ
คุม้ ครองของทางฝั ง่ อังกฤษทีท่ างฝรังเศสยอมรั
่ บได้
การยอมรับลิขสิทธิของกั ์ นและกันของอังกฤษ ฝรังเศส ่ และปรัสเซีย
ในช่ ว งกลางศตวรรษที่ 19 เป็ นก้า วส าคัญ ที่ท าให้ลิข สิท ธิเ์ ริ่ม มีล ักษณะเป็ น

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 120
“มาตรฐานสากล” ที่ต่อมารัฐเหล่านี้ ก็เป็ นแกนหลักสาคัญในการจุดการประชุม
นานาชาติดา้ นลิขสิทธิที์ ท่ าให้เกิด อนุสญั ญาเบิรน์ (Berne Convention) ในเวลา
ต่อมา อนุสญ ั ญาเบิรน์ เป็ นเหมือนทางลัดทีจ่ ะทาให้แต่ละรัฐยุโรปไม่ต้องมาตกลง
ต่อรองด้านการคุม้ ลิขสิทธิกั์ นแบบรัฐต่อรัฐให้ยุ่งยาก มันเป็ นข้อตกลงนานาชาติ
ว่าด้วยมาตรฐานขัน้ ต่ าร่วมกันของกฎหมายลิขสิทธิใ์ นประเทศภาคีท่มี าเจรจา
ร่วมกัน ซึ่งการลงนามในข้อตกลงนี้ของรัฐๆ หนึ่งก็คอื การยืนยันลิขสิทธิข์ อง
พลเมืองในรัฐตนเองไปในรัฐภาคีทงั ้ หมดของอนุ สญ ั ญา โดยมีสงิ่ ที่รฐั ที่ลงนาม
ต้องตอบแทนก็คอื การยอมรับลิขสิทธิของพลเมื
์ องในรัฐภาคีอ่นื ๆ ทัง้ หมดภายใต้
ขอบเขตกฎหมายของรัฐตน
อนุ สญั ญาเบิร์นเป็ นผลผลิตของการประชุมเพื่อหาข้อตกลงระหว่า ง
ประเทศว่า ด้วยลิข สิทธิส์ บื เนื่อ งจากการริเริ่มเจรจากัน อังกฤษ ฝรัง่ เศส และ
ปรัสเซียทีไ่ ด้เล่ามาแล้ว ซึง่ หลักจากทัง้ สามยอมรับลิขสิทธิของกั
์ นและกันหลาย
ต่อหลายประเทศเข้ารวมในการประชุมย่อยๆ ทีส่ บื เนื่องมาเรื่อยๆ จนสุดท้ายมี
การจัด ประชุ ม ใหญ่ เ พื่อ ร่ า งข้อ ตกลงมาตรฐานระหว่ า งชาติข้ึน ที่เ มือ งเบิร์น
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี 1883 (อันเป็ นปี ท่ี Karl Marx ตายพอดี) หลังจากนี้
ก็มกี ารประชุมพร้อมการปรับแก้เงื่อนไขต่างๆ อย่างต่อเนื่องจนมีการลงนามใน
อนุสญ ั ญาเบิรน์ กันรอบแรกในปี 1887 ซึง่ รายนามของรัฐทีล่ งนามในอนุ สญ ั ญาก็
มี 8 รัฐได้แก่ บริเตน ฝรัง่ เศส เยอรมัน (ซึ่งตอนนัน้ รวมประเทศแล้ว) อิตาลี
สเปน เบลเยีย่ ม สวิตเซอร์แลนด์1
กล่าวง่ายๆ คือในปี 1887 ลิขสิทธ์กไ็ ด้กลายมาเป็ นสิง่ ที่มผี ลบังคับใช้
ระดับระหว่างประเทศไปแล้ว เพราะอย่างน้อยๆ ประเทศมหาอานาจในยุโรป

1
8 รัฐดังกล่าวเริม่ อนุ สญ
ั ญาเบิร์นในปี 1887 หลังจากนัน้ ไม่นานก็มอี กี 3 รัฐคือลักเซมเบิร์ก
นอร์เวย์ และญี่ป่ ุน ที่เข้าร่วมอนุ สญ
ั ญาเบิร์น กล่าวคือใน ศตวรรษที่ 19 มี 11 รับที่เข้าร่วม
อนุสญั ญาเบิรน์ ดู
http://www.wipo.int/export/sites/www/treaties/en/documents/pdf/berne.pdf

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 121
ตะวัน ตกแทบทัง้ หมด (รวมไปจนถึง อาณานิ คมของประเทศเหล่ า นี้ ) ก็ย อม
คุม้ ครองลิขสิทธิของกั
์ นและกันแล้ว
อย่ า งไรก็ดีการลงนามอนุ สญ ั ญาเบิร์น ก็ไ ม่ไ ด้ห มายความว่ า ระบบ
ลิขสิทธิในยุ
์ โรปจะมี “มาตรฐานเดียว” หรือมี “จิตวิญญาณเดียว” เพราะแต่ละรัฐ
ก็ยงั มีเหตุผลและทีม่ าทีไ่ ปของกฎหมายลิขสิทธิที์ ต่ ่างกัน ซึง่ รัฐทีด่ ูจะมีแนวทาง
“นอกคอก” ด้านลิขสิทธิก็์ ดูจะไม่ใช่รฐั อื่นใดนอกจากบริเตนอันเป็ นดินแดนต้น
กาเนิดลิขสิทธิ ์ แม้ว่าจะลงนามในอนุ สญ ั ญาเบิรน์ แนวทางแบบ “อังกฤษ” ด้าน
ลิขสิทธิท์ ่มี องลิขสิทธิเ์ ป็ นเรื่องนโยบายของรัฐที่จะต้องกระตุ้นให้เกิดการผลิต
ด้า นศิลปวัฒ นธรรมก็ย ัง ดาเนิ น ต่ อ ไป เพราะอย่ า งน้ อ ยๆ รัฐบริเ ตนก็ไ ม่ เ คย
ประนีประนอมต่อแนวทางการ “คุม้ ครองลิขสิทธิแบบอั ์ ตโนมัต”ิ อันเป็ นแนวทาง
ทีแ่ พร่หลายในภาคพืน้ ทวีปใต้อทิ ธิพลแบบฝรังเศส ่
ในมุมของบริเตนการคุ้มของลิขสิทธิต้์ องมี “เงื่อนไขเพื่อให้เกิดความ
คุม้ ครอง” (formality) เสมอ และนี่กเ็ ป็ นขนบทีม่ มี ายาวนานกว่ากฎหมายลิขสิทธิ ์
การคุ้มครองลิขสิทธิแ์ บบบริเตนจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเจ้าของลิขสิทธิท์ าตาม
เงื่อนไขของรัฐ ไม่ว่าจะเป็ นการไปขึน้ ทะเบียนที่ Stationer’s Hall การเขียน
สงวนลิขสิทธิในการแปลไว้
์ ดา้ นหน้าหนังสือ ไปถึง งานเขียนสงวนลิขสิทธิการน ์ า
บทเพลงไปเล่น (Alexander, 2010) ซึง่ หากไปทาตามเงื่อนไขนี้ ทางรัฐอังกฤษก็
จะถือ ว่ า ผู้ส ร้า งงานไม่ ไ ด้ยืน ยัน ลิข สิท ธิต์ นเอง และจะไม่ ไ ด้ร ับ การคุ้ม ครอง
ลิขสิทธิ ์ และสาธารณชนก็จะได้ประโยชน์จากการละทิง้ ลิขสิทธินี์ ้ไป
นี่ดูจ ะเป็ น การยืน ยัน ว่ า กฎหมายลิข สิท ธิอ์ ัง กฤษไม่ ใ ช่ ก ฎหมายที่มี
หน้าที่คุ้มครองพวก “ศิลปิ น” แบบไม่มเี งื่อนไข เพราะแม้แต่กฎหมายลิขสิทธิ ์
อังกฤษทีอ่ อกมาเพื่อควบคุมลิขสิทธิภาพวาดตอนกลางศตวรรษที
์ ่ 19 ทีแ่ นวคิด
โรแมนติกกระจายไปทัว่ แล้ว กฎหมายยัง มุ่ งเน้ น ไปที่การป้ องกันไม่ใ ห้พ วก
“ศิลปิ น ” ใช้ช่องโหว่กฎหมายลิขสิทธิแ์ บบผิด ๆ มากกว่า ที่จะเป็ นไปเพื่อการ
คุม้ ครองพวก “ศิลปิ น” (Deazley, 2010)

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 122
พวกเจ้าของลิขสิทธิในบริ ์ เตนก็ดูจะไม่ได้มสี านึกด้าน “กรรมสิทธิ”์ ใน
ท านองเดีย วกับ รัฐ นั ก ผลประโยชน์ ท างเศรษฐกิจ ดู จ ะเป็ น ตัว ก าหนดแนว
ทางการใช้กฎหมายลิขสิทธิมากกว่ ์ าสานึกการเป็ นเจ้าของ ซึง่ สิง่ ทีจ่ ะเห็นได้เลย
ก็คอื พวกนักแต่งเพลงและสานักพิมพ์โน้ตดนตรีของบริเตนมองว่า “สิทธิในการ
แสดงต่อสาธารณะ” (ซึง่ ในทางปฏิบตั หิ มายถึงสิทธิในการนาแสดงต่อสาธารณะ)
ทีพ่ วกเขาได้มาโดยบังเอิญจากการเรียกร้องของพวกนักเขียนบทละคร เป็ นสิง่ ที่
ไม่ควรจะนามาใช้ในการเก็บค่าลิขสิทธิ ์ เพราะบทเพลงนัน้ ยิง่ มีคนร้อง โน้ตเพลง
ก็ยงิ่ ขายดี (Alexander, 2010: 339-340) นี่เป็ นสิง่ ทีพ่ วกนักแต่งเพลงในบริเตน
ยืน ยัน ในช่ ว งปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่ง นี่ เ ป็ น คนละเรื่อ งกับ พวกนัก แต่ ง เพลง
ฝรังเศสที
่ ่มสี านึกว่าตัวเองเป็ นเจ้าของบทประพันธ์ใครเอาไปใช้กต็ ้องจ่ายเงิน
โดยพวกนักแต่งเพลงฝรังเศสเป็ ่ นคนฟ้ องศาลให้ศาลยืนยันว่าพวกเขามี“สิทธิใน
การแสดงต่อสาธารณะ” ตามแบบพวกนักแต่งบทละครด้วยซ้า และนี่กเ็ ป็ นการ
เรียกร้องตัง้ แต่กลางศตวรรษที่ 19 (Attali, 1895: 77-78)
พวกบริเตนไม่ว่าจะเป็ นรัฐหรือเหล่าผู้สร้างสรรค์และพ่อค้าคนกลาง
ต่างๆ ในศตวรรษที่ 19 ดูจะยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าลิขสิทธิไม่ ์ ได้เกี่ยว
อะไรกับสิทธิตามธรรมชาติ แต่เป็ นระเบียบทางเศรษฐกิจทีร่ ฐั สร้างขึน้ ดังนัน้ รัฐ
จะก าหนดเงื่อ นไขอะไรมา มัน ก็มีค วามชอบธรรมทัง้ นัน้ และการต่ อ สู้ด้า น
ลิขสิทธิมั์ นก็เป็ นเรื่องของการต่อสูเ้ พื่อภาวะทีด่ ขี น้ึ ทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่การต่อสู้
เพื่อสิทธิ ซึ่งนี่แทบจะตรงกันข้ามกับฝรังเศสที ่ ่ลิขสิทธิเ์ ป็ นเรื่องของสิทธิตาม
ธรรมชาติ ทีร่ ฐั ต้องคุม้ ครอง ดังนัน้ แนวทางแบบอังกฤษทีร่ ฐั ออกกฎระเบียบโน่ น
นี่ เ พื่อ เป็ น เงื่อ นไขให้เ กิด การคุ้ม ครองลิข สิท ธิจ์ ึง ไม่ ส มเหตุ ส มผลในมุ ม ของ
ฝรังเศส
่ และพออยู่ในเวทีนานาชาติอย่างอนุ สญ ั ญาเบิร์นฝรังเศสก็
่ ต้องการให้
ลิขสิทธิเป็ ์ นไปตามแนวทางฝรังเศสมากกว่ ่ า
ในที่สุด ในการประชุ ม อนุ สญ ั ญาเบิร์นครัง้ ต่ อ มาที่ก รุง เบอร์ลิน ในปี
1908 ฝรังเศสก็ ่ ได้ชยั ชนะในการวางระเบียบลิขสิทธิยุ์ โรปให้เป็ นแบบฝรังเศส ่
หลังจากทาให้เกิดข้อตกลงในการ “ยกเลิกการสร้างเงื่อนไขให้เกิดการคุม้ ครอง”

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 123
ทัง้ หมดในการคุม้ ครองลิขสิทธิ ์ หรือพูดง่ายๆ ในภาษาชาวบ้านก็คอื การยกเลิก
เงื่อนไขว่าการคุ้มครองลิขสิทธิจะต้ ์ องเกิดจาก “การจดลิขสิทธิ”์ และให้เกิดการ
คุ้มครองโดยอัตโนมัติทนั ทีท่มี ีการสร้างงาน ซึ่งทางบริเตนก็ต้องยอมรับด้วย
และผลก็คอื ใน Copyright Act of 1911 ของทางสภาบริเตน การงานเงื่อนไข
ต่างๆ ของการคุ้มครองก็ถูกยกเลิกไปหมด และกฎหมายลิขสิทธิของบริ ์ เตอน
ในตอนนี้ ก็ดูจ ะมีห น้ า ตาละม้า ยคล้า ยกฎหมายลิข สิท ธิข์ องฝรัง่ เศสมากกว่ า
“กฏหมายลิขสิทธิฉบั ์ บแรกของโลก” อย่าง Statute of Anne ของอังกฤษเองที่
ออกมาเมื่อ 200 ปี ก่อน
นี่คอื ความพ่ายแพ้ของขนบแบบ “อังกฤษ” ในการกาหนดทิศทางของ
นโยบายลิขสิทธิในโลก ์ อย่างไรก็ดสี งิ่ ที่ต้องสังเกตก็คอื รัฐมหาอานาจอีกรัฐหนึ่ง
ในโลกตะวัน ตกที่ไ ด้ร ับค าเชิญมาร่ ว มประชุ มอนุ สญ ั ญาเบิร์นด้ว ยแต่ ก็ไ ม่ ส่ง
ผู้แ ทนมาและท้ า ยที่สุ ด ก็ไ ม่ ไ ด้ร่ ว มลงนาม รัฐ ดัง กล่ า วก็คือ สหรัฐ อเมริก า
ข้อเท็จจริงทีอ่ าจจะสร้างความแปลกใจก็คอื ในขณะทีร่ ฐั ยุโรปตะวันตกลงนามใน
อนุ สญ ั ญาเบิร์นกันเกือบหมดทุ กประเทศแล้วในตอนสิน้ ศตวรรษที่ 19 แต่กว่า
อเมริกาจะลงนามอนุ สญ ั ญาเบิร์นเวลาก็ได้ผ่านมาเป็ นร้อยกว่าปี หลังจากนัน้
เพราะอเมริกาเพิง่ จะลงนามในอนุสญ ั ญาเบิรน์ เมื่อปี 1989
สหรัฐอเมริกาในศตวรรษที่ 19 ดูจะไม่ได้ต่างจากเหล่า “ประเทศกาลัง
พัฒนา” จานวนมากในศตวรรษที่ 20 และ 21 ทีไ่ ม่ได้มองว่าการยอมรับลิขสิทธิ ์
ของคนต่างชาติมนั จะเป็ นเรื่องของการยอมรับสิทธิที์ เ่ ป็ นสากลอะไร แนวคิดแบบ
นี้เป็ นแนวคิดแปลกๆ ทีด่ ารงอยู่ในภาคพืน้ ทีย่ ุโรปแถบตะวันตกทีไ่ ม่ได้ขา้ มทะเล
มาถึงบริเตนด้วยซ้าดังทีไ่ ด้กล่าวมาแล้ว สหรัฐอเมริกาก็ไม่ได้ต่างจากบริเตนและ
ทีอ่ ่นื ๆ ทีไ่ ม่ได้มองว่าลิขสิทธิเป็ ์ นอะไรนอกจากสิทธิผูกขาดทางเศรษฐกิจชนิด
หนึ่ ง ที่ ร ัฐ ให้ เ พื่ อ กระตุ้ น การผลิ ต งานในรั ฐ เท่ า นั ้น หรื อ พู ด อี ก แบบก็ คื อ
สหรัฐอเมริกามองว่าลิขสิทธิเ์ ป็ นนโยบายทางเศรษฐกิจที่สภาคองเกรสมีสทิ ธิ ์
ปรับเปลีย่ นได้ตามปรารถนามากกว่าทีจ่ ะเป็ นกฎหมายเพื่อรองรับสิทธิพลเมือง
อันล่วงละเมิดมิได้ เพราะอย่างน้ อยๆ รัฐธรรมนู ญอเมริกนั ก็แยกลิขสิทธิแ์ ละ

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 124
สิท ธิบ ัต รออกจาก “ทรัพ ย์สิน ” ทัว่ ๆ ไปอย่ า งชัด เจนในตัว บท ซึ่ง หลัง จาก
มาตรฐานแบบอังกฤษจะต้องยอมสยบให้มาตรฐานแบบฝรังเศสในการประชุ ่ มที่
เบอร์ลิน ในปี 1908 แต่ ส หรัฐ อเมริ ก าก็ดูจ ะเป็ น ทายาททางอุ ด มการณ์ ข อง
กฎหมายลิขสิทธิอั์ งกฤษทีย่ นื ยันแนวทางว่ากฎหมายลิขสิทธิต้์ องเป็ นเรื่องของ
การสร้า งสมดุ ลระหว่ า งผู้สร้า งสรรค์ง านทางศิลปวัฒ นธรรมกับ สาธารณชน
มากกว่าทีจ่ ะเป็ นกฎหมายรับรองสิทธิตามธรรมชาติของเจ้าของผูส้ ร้างงาน และ
อเมริก าก็ยืน หยัด ใช้แ นวทางแบบนี้ ตัง้ แต่ ห ลัง ประกาศอิส รภาพตอนปลาย
ศตวรรษที่ 18 มาจนถึงตอนกลางศตวรรษที่ 20
ความแข็งขืนของสหรัฐอเมริกาดูจะชีใ้ ห้เห็นว่า แม้ว่าจะยิง่ ใหญ่ในยุโรป
ศตวรรษที่ 19 แต่ลขิ สิทธิก็์ ไม่ได้ยงิ่ ใหญ่ในโลกอย่างทุกวันนี้ เพราะอย่างน้อยๆ
ในศตวรรษที่ 19 ก็มีรฐั ในโลกเพีย ง 11 รัฐเท่านัน้ ที่ลงนามอนุ สญ ั ญาเบิร์นซึ่ง
แทบทัง้ หมดเป็ นรัฐในยุโรปตะวันตก ซึง่ เทียบไม่ได้กบั ทุกวันนี้ทม่ี รี ฐั ถึง 168 รัฐ
จากทัวทุ ่ กทวีปในโลกทีล่ งนามในอนุสญ ั ญาเบิรน์ แล้ว
อย่างไรก็ดเี ราก็ไม่ควรจะสับสน เพราะทุกวันนี้สงิ่ ที่มบี ทบาทในการ
กาหนด “ระเบียบโลกด้านลิขสิทธิ”์ เป็ นหลักก็ไม่ใช่อนุ สญ ั ญาเบิร์นอีกแล้ว แต่
เป็ นข้อตกลงทางการค้าสารพัดที่มสี หรัฐอเมริกาเป็ นหัวหอกในการเจรจาซึ่ง
ข้อตกลงที่มบี ทบาทมากในช่วงที่ผ่านมาก็คอื ทริปส์ (TRIPS หรือชื่อเต็มคือ
Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights) ที่
ล้วนเป็ นข้อตกลงทีร่ ฐั แทบทุกรัฐในโลกต้องปฏิบตั ติ ามเพราะมันเป็ นเงื่อนไขของ
การเป็ นสมาชิกขององค์กรการค้าโลก (WTO)
ในแง่น้กี ารลงนามในอนุ สญ ั ญาเบิรน์ ของสหรัฐอเมริกาในปี 1989 ดูจะ
ไม่ ใ ช่ สญ
ั ญาณของการก้ม หัว ให้ร ะเบีย บโลกที่มีอ ายุ เ ป็ น ศตวรรษจากยุ โ รป
เท่ากับการที่สหรัฐอเมริกาส่งสัญญาณชัดเจนว่าตนจะมาเป็ นส่วนหนึ่งของการ
สร้างระเบียบโลกด้านลิขสิทธิแล้ ์ ว และมันก็เป็ นเช่นนัน้ จริงๆ อย่างไรก็ดเี รื่องราว
การเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายลิขสิทธิของสหรั ์ ฐอเมริกาจากรัฐชาติท่มี นี โยบาย
ไม่เคารพลิขสิทธิของรั ์ ฐอื่นๆ เลย มาเป็ นรัฐทีว่ างนโยบายเพื่อพยายามให้โลกทัง้

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 125
ใบมาเคารพลิขสิทธิของตนนั
์ น้ ก็ดูจะเป็ นมหากาพย์ท่คี งจะต้องการหนังสืออีก
เล่มเพื่อจะเล่ามันออกมาอย่างเหมาะสม.

กาเนิดลิขสิทธิ ์ I 126
บรรณานุกรม

กำเนิดลิขสิทธิ ์ I 127
‘An Ordinance for the Regulation of Printing, London (1643)’
‘Austrian Statutes on Censorship and Printing, Vienna (1785)’
‘Beaumarchais's petition, Paris (1791)’
‘Book trade regulations and incorporation of the Parisian book trade, Paris
(1618)’
‘French Censorship Act, Fontainebleau (1547)’
‘French Literary and Artistic Property Act, Paris (1793)’
‘Henrician Proclamation, London (1538)’
‘Kant: On the Unlawfulness of Reprinting, Berlin (1785)’
‘Licensing Act, London (1662)’
‘Luther's 'Admonition to the Printers', Wittenberg (1525)’
‘Luther's 'Warning to the Printers', Wittenberg (1545)’
‘Prussian Statute Book (ALR), Berlin (1794)’
‘Stationers' Charter, London (1557)’
‘Statute of Anne, London (1710)’
‘Treaties on reciprocal protection between Prussia and various German States,
Berlin (1827)’
Adrian Johns, Piracy: The Intellectual Property Wars From Gutenberg to Gates,
Chicago: University of Chicago Press, 2009.
Adrian Johns, The Nature of the Book: Print and Knowledge in the Making,
Chicago: Chicago University Press, 1998.
Alastair J. Mann, " ‘A Mongrel of Early Modern Copyright’: Scotland in
European Perspective " in Privilege and Property: Essays on the History
of Copyright, Ronan Deazley, Martin Kretsmer and Lionel Bently (eds.),
Cambridge: OpenBook Publishers, 2010.
Carla Hesse, "The Rise of Intellectual Property, 700 B.C.-A.D. 2000: An Idea in
the Balance", Daedalus, Vol. 131, No. 2, On Intellectual Property
(Spring, 2002)

กำเนิดลิขสิทธิ ์ I 128
Carla Hesse, Enlightenment Epistemology and the Laws of Authorship in
Revolutionary France, 1777-1793, Representations, No. 30, Special
Issue: Law and the Order of Culture (Spring, 1990)
Carla Hesse, Publishing and Cultural Politics in Revolutionary Paris, 1789-1810,
Berkeley: University of California Press, 1991.
Catherine Seville, The Internationalisation of Copyright Law: Books, Buccaneers
and the Black Flag in the Nineteenth Century, Cambridge: Cambridge
University Press, 2006.
Denis Diderot, "Letter on the Book Trade", Translated by Arthur Goldhammer,
Daedalus, Vol. 131, No. 2, On Intellectual Property (Spring, 2002)
Elizabeth Armstrong, Before Copyright: The French Book-Privilege System,
1498-1526, Cambridge: Cambridge University Press, 1990.
Elizabeth Eisenstein, The Printing Press as an Agent of Change:
Communications and Cultural Transformations in Early-Modern Europe,
New York: Cambridge University Press, 1979.
Frédéric Rideau, "Nineteenth Century Controversies Relating to the Protection
of Artistic Property in France" in Privilege and Property: Essays on the
History of Copyright, Ronan Deazley, Martin Kretsmer and Lionel Bently
(eds.), Cambridge: OpenBook Publishers, 2010.
Friedemann Kawohl, ‚The Berlin Publisher Friedrich Nicolai and the Reprinting
Sections of the Prussian Statue Book of 1794‛ in Privilege and
Property: Essays on the History of Copyright, Ronan Deazley, Martin
Kretsmer and Lionel Bently (eds.), Cambridge: OpenBook Publishers,
2010.
Gabriel J. Michael, "Copyright Office Rejected My Attempt To Copyright A
Tweet" (2014) Techdirt,
https://www.techdirt.com/articles/20140802/07535628090/copyright-
office-rejected-my-attempt-to-copyright-tweet.shtml

กำเนิดลิขสิทธิ ์ I 129
Ian Anders Gadd and Patrick Wallis, "Reaching beyond the City Wall: London
Guilds and National Regulation, 1500–1700" in Guilds, Innovation and
the European Economy, 1400-1800, S. R. Epstein & Maarten Prak,
(eds.), Cambridge: Cambridge University Press, 2008
Isabella Alexander, " ‘Neither Bolt nor Chain, Iron Safe nor Private Watchman,
Can Prevent the Theft of Words’: The Birth of the Performing Right in
Britain " in Privilege and Property: Essays on the History of Copyright,
Ronan Deazley, Martin Kretsmer and Lionel Bently (eds.), Cambridge:
OpenBook Publishers, 2010.
Jacques Attali, Noise: The Political Economy of Music, Translated by Brian
Massumi, Minneapolis: University of Minnesota Press, 1985.
James H. Johnson, ‚Beethoven and the Birth of Romantic Musical Experience
in France‛, 19th-Century Music, Vol. 15, No. 1 (Summer, 1991)
James Raven, ‚The Book Trades‛ in Books and Their Readers in Eighteenth-
Century England: New Essays, Isabel Rivers (ed.), London: Continuum,
2001.
Jerry Brotton, The Renaissance: A Very Short Introduction, Oxford: Oxford
University Press, 2006.
Jerzy Lukowski, The European Nobility in the Eighteenth Century, New York:
Palgrave Macmillan, 2003.
Joanna Kostylo, "From Gunpowder to Print: The Common Origins of Copyright
and Patent" in Privilege and Property: Essays on the History of
Copyright, Ronan Deazley, Martin Kretsmer and Lionel Bently (eds.),
Cambridge: OpenBook Publishers, 2010.
Joel Sachs, "Hummel and the Pirates: The Struggle for Musical Copyright", The
Musical Quarterly, Vol. 59, No. 1 (Jan., 1973)
John Alexander Guy, The Tudors: A Very Short Introduction, Oxford: Oxford
University Press, 2000.

กำเนิดลิขสิทธิ ์ I 130
John D. Lyons, French Literature: A Very Short Introduction, Oxford: Oxford
University Press, 2010.
John Feather, A History of British Publishing, Second Edition, London:
Routledge, 2006.
John Gillingham and Ralph A. Griffiths, Medieval Britain: A Very Short
Introduction, Oxford: Oxford University Press, 2000.
John Sutherland, Bestsellers: A Very Short Introduction, Oxford: Oxford
University Press, 2007.
Laurent Pfister, "Author and Work in the French Print Privileges System: Some
Milestones" in Privilege and Property: Essays on the History of
Copyright, Ronan Deazley, Martin Kretsmer and Lionel Bently (eds.),
Cambridge: Open Book Publishers, 2010.
Lee Marshall, Bootlegging: Romanticism and Copyright in the Music Industry,
London: Sage Publications, 2005.
Mark Rose, Authors and Owners: The Invention of Copyright, Cambridge,
Harvard University Press, 1993.
Marquis de Condorcet, "Fragments Concerning the Freedom of the Press",
Translated by Arthur Goldhammer, Daedalus, Vol. 131, No. 2, On
Intellectual Property (Spring, 2002)
Martha Woodmansee, The Author, Art, and the Market: Rereading the History of
Aesthetics, New York: Columbia University Press, 1994.
Martin Vogel, "From privilege to modern copyright law" in Global Copyright:
Three Hundred Years Since the Statute of Anne, from 1709 to
Cyberspace, Lionel Bently, Uma Suthersanen & Paul Torremans (eds.),
Cheltenham: Edward Elgar Publishing, 2010.
Michael F. Suarez, S.J., "To what degree did the Statute of Anne (8 Anne,
c.19, [1709]) affect commercial practices of the book trade in
eighteenth- century England? Some provisional answers about

กำเนิดลิขสิทธิ ์ I 131
copyright, chiefly from bibliography and book history" in Global
Copyright: Three Hundred Years Since the Statute of Anne, from 1709 to
Cyberspace, Lionel Bently, Uma Suthersanen & Paul Torremans (eds.),
Cheltenham: Edward Elgar Publishing, 2010.
Michael J. Hofstetter, The Romantic Idea of A University: England and
Germany, 1770–1850, New York: Palgrave, 2001.
Nicholas Boyle, German Literature: A Very Short Introduction, Oxford: Oxford
University Press, 2008.
Pamela Eve Selwyn, Everyday Life in the German Book Trade: Friedrich Nicolai
As Bookseller and Publisher in the Age of Enlightenment, 1750-1810,
Pennsylvania: The Pennsylvania State University Press, 2000.
Paul Langford, "British Politeness and the Progress of Western Manners: An
Eighteenth-Century Enigma", Transactions of the Royal Historical
Society, Sixth Series, Vol. 7 (1997)
Paul Langford, "The Uses of Eighteenth-Century Politeness", Transactions of
the Royal Historical Society, Sixth Series, Vol. 12 (2002)
Peter Burke and Asa Briggs, A Social History of The Media: From Gutenberg to
The Internet 2nd ed., Cambridge: Polity, 2005
Peter Marshall, The Reformation: A Very Short Introduction, Oxford: Oxford
University Press, 2009.
Primary Sources on Copyright (1450-1900) <http://www.copyrighthistory.org>
Richard D. Altick, The English Common Reader: A Social History of the Mass
Reading Public, 1800-1900, Second Edition, Columbus: Ohio State
University Press, 1957.
Robert Darnton, "The Forbidden Bestsellers of Prerevolutionary France",
Bulletin of the American Academy of Arts and Sciences, Vol. 43, No. 1
(Oct., 1989)

กำเนิดลิขสิทธิ ์ I 132
Robert Darnton, ‚Reading, Writing, and Publishing in Eighteenth-Century
France: A Case Study in the Sociology of Literature‛, Daedalus, Vol.
100, No. 1, Historical Studies Today (Winter, 1971)
Roger Chartier, The Order of the Book: Readers, Authors, and Libraries in
Europe between the Fourteenth and Eighteenth Centuries, Translated by
Lydia G. Cochrane, California: Stanford University Press, 1994.
Ronan Deazley "Breaking the Mould? The Radical Nature of the Fine Arts
Copyright Bill 1862" in Privilege and Property: Essays on the History of
Copyright, Ronan Deazley, Martin Kretsmer and Lionel Bently (eds.),
Cambridge: OpenBook Publishers, 2010.
Ronan Deazley, On the Origin of the Right to Copy: Charting the Movement of
Copyright Law in Eighteenth-Century Britain (1695–1775), Hart
Publishing: Oxford, 2004.
S. R. Epstein & Maarten Prak, "Introduction: Guilds, Innovation, and the
European Economy, 1400–1800" in Guilds, Innovation and the
European Economy, 1400-1800, S. R. Epstein & Maarten Prak, (eds.),
Cambridge: Cambridge University Press, 2008.
Stephen Botein, Jack R. Censer and Harriet Ritvo, "The Periodical Press in
Eighteenth-Century English and French Society: A Cross-Cultural
Approach", Comparative Studies in Society and History, Vol. 23, No. 3
(Jul., 1981)
Tia DeNora, ‚Musical Patronage and Social Change in Beethoven's Vienna‛,
The American Journal of Sociology, Vol. 97, No. 2 (Sep., 1991)
Ulrich Pfister, "Craft Guilds, the Theory of the Firm, and Early Modern Proto-
industry" in Guilds, Innovation and the European Economy, 1400-1800,
S. R. Epstein & Maarten Prak, (eds.), Cambridge: Cambridge University
Press, 2008.

กำเนิดลิขสิทธิ ์ I 133
W. H. Bruford, Germany in the Eighteenth Century: The Social Background of
The Literary Revival, Cambridge: Cambridge University Press, 1935.
William Doyle, Aristocracy: A Very Short Introduction, Oxford: Oxford University
Press, 2010.
William Doyle, Officers, Nobles and Revolutionaries: Essays on Eighteenth-
Century France, London: The Hambledon Press, 1995.
William Doyle, The French Revolution: A Very Short Introduction, Oxford:
Oxford University Press, 2001.
William H. Sewell, Jr., Work and Revolution in France: The Language of Labor
from the old Regime to 1848, New York: Cambridge University Press,
1980.

กำเนิดลิขสิทธิ ์ I 134

You might also like