You are on page 1of 5

ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความ "จิตตปัญญาพาอ่าน" #4 หัวข้อ ความฝันในวัยเด็ก อาชีพ


และระบบการศึกษาในปัจจุบัน”
-
ตุลาคม 27, 2564

 บทความ "จิตตปัญญาพาอ่าน" #4

“ความฝันในวัยเด็ก อาชีพ และระบบการศึกษาในปัจจุบัน” 

 ผู้เขียน เดโช นิธิกิตตน์ขจร

    บทความนี้มีที่มาจากช่วงที่ Application Club House กำลังได้รับความนิยม เป็ น App ที่คนส่วนใหญ่


ต่างให้ความสนใจในการเข้าไปฟังและแบ่งปันความคิดเห็นเรื่องต่างๆอย่างมากมาย ผมเองก็เป็ นคนหนึ่งที่ท่องไปใน
โลกของ Club House แล้วสายตากับปลายนิ้วก็หยุดลงเมื่อเห็นหัวข้อ “ความฝันในวัยเด็ก VS ระบบการศึกษาใน
ปัจจุบัน” ซึ่งถูกตั้งโดยกลุ่มนักศึกษาแพทย์กลุ่มหนึ่ง ทันใดนั้นความถามหนึ่งก็ดังก้องภายในใจ “ความฝันในวัยเด็ก
ของผมไปไหน?” ด้วยความสงสัยใคร่รู้ปลายนิ้วของผมจึงกดเข้าไปในห้องเพื่อไปฟังความคิดเห็นของน้อง ๆ
นักศึกษา
      การแบ่งปันค่อนข้างออกรสออกชาติ น้อง ๆ ที่อายุน้อยกว่าผมเกินรอบมีการคิดการอ่านที่เรียกได้ว่า “โตเป็ น
ผู้ใหญ่” มากกว่าสมัยผมตอนที่มีที่อายุรุ่นราวคราวนั้นเดียวกัน มีหลายคนที่ความฝันตกหล่ระหว่างทางเนื่องด้วยภาวะ
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
หรือบริบทที่แตกต่างของแต่ละคน
มีหลายคนที่เริ่มกลับมาตั้งคำถามว่าความฝันของตนเองอยู่ตรงไหน และอีกหลาย
คนก็ยังไม่รู้ว่าตำแหน่งที่ตนเองมายืนอยู่ตรงนี้คือความฝันของตัวเองหรือเปล่า

     ระหว่างที่ฟังการแลกเปลี่ยนไปอย่างเพลิดเพลิน มุมหนึ่งในใจของผมกลับรู้สึกถึงความขัดแย้งว่า “ความฝัน


ต้องเท่ากับ อาชีพ อย่างเดียวเท่านั้นหรือไม่ ? ความฝันเป็ นอย่างอื่นได้หรือเปล่า ?” 

ความฝันในวัยเด็ก
    ผมอยากชวนผู้ที่อ่านมาจนถึงตรงนี้ลองตั้งคำถามกับตัวเองว่า 
    “คำว่า อาชีพ มันเข้ามาในชีวิตของพวกเราตั้งแต่เมื่อไร ?” 
     สำหรับผม แรกเริ่มเดิมทีผมไม่มีคำว่าอาชีพอยู่ในหัวเลยเสียด้วยซ้ำ ไม่เคยมีคำว่า วิศวกร หมอ พยาบาล
หรืออะไรก็ตาม แต่ถ้าถามว่า “ผมชอบทำอะไร ?” ผมกลับมีภาพที่ชัดเจน โดยที่ไม่เคยเรียกมันว่าอาชีพเลยสักครั้ง
เดียวด้วยซ้ำ 
    ภาพนั้นของผมคือภาพผมในสมัยเด็ก ผมที่กำลังล้อมวงกับเพื่อน ๆ พูดคุยถกเถียง หัวเราะ บางครั้งก็หัวร้อน
ขณะที่กำลังเล่นเกมส์กระดานษที่เพื่อนสร้างไว้ กระทั่งจนวันหนึ่งผมผันตัวเองจากผู้เล่นไปเป็ นผู้สร้าง คอยสร้าง
เงื่อนไขให้เพื่อน ๆ ได้สนุกเหมือนกับที่ผมเคยได้สัมผัส บรรยากาศในห้วงความทรงจำมันช่างสดใสและอบอุ่นภายใน
ใจ ทุกครั้งที่ผมนึกถึง 
    ถ้ามองกันผ่านๆ ก็คงมองว่า ผมชอบทำสิ่งนี้ก็ควรจะไปทำอาชีพโปรแกรมเมอร์ นักสร้างเกมส์ และอื่น ๆ อีก
มากมายเท่าที่สังคมโลกใบนี้จะกำหนดไว้ หรือบางคนอาจจะมองผมว่าไร้สาระก็เป็ นได้ เพราะสิ่งที่ผมกล่าวถึงมันไม่
สามารถทำเงินได้ในสายตาของคนบางคน
    แต่พอผมได้มองเข้าไปภายใต้ภาพที่ปรากฏในความทรงจำ ผมสัมผัสได้ถึงความรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และที่
สำคัญทำให้ผมกับเพื่อน ๆ มีช่วงเวลาคุณภาพที่ไม่ใช่การคุยกันเรื่องเกมส์แต่ทำให้ต่างคนต่างเข้าใจ รู้จักกันมากขึ้น
ผมรักที่จะได้เห็นช่วงเวลาเหล่านั้น ช่วงเวลาที่คนที่อยู่ตรงหน้าได้เติบโต รู้จักแก้ไขปัญหา เกิดมิตรภาพและความ
สัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น
    ความฝันในวัยเด็กจึงอาจจะไม่ได้อยู่ในรูปของอาชีพ แต่อยู่ในรูปของสิ่งที่ชอบทำ สิ่งที่ทำในวัยเด็กเรามักทำสิ่ง
ที่ชอบโดยลืมเวลา และรู้สึกสุขทุกครั้งที่ได้ทำ

ระบบการศึกษาเพื่ออาชีพ
    พอผมกลับมามองในช่วงอายุที่ผ่านไป ความฝันที่ผมมีก็ดูจะจืดจางลง จนท้ายที่สุดมันก็ถูกเก็บเข้าไปอยู่ในซอก
หลืบของความทรงจำ ไม่มีเวลาและโอกาสที่จะได้ไปแง้มมันออกดูอีกเลย กลับกันมีสิ่งที่เรียกว่า “อาชีพ” ค่อย ๆ
เข้ามาสวมเสื้อที่เรียกว่าความฝันแทน จนในที่สุดเราก็เชื่อว่า “อาชีพ” ก็คือความฝัน 
    พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2555 นิยามคำว่า “อาชีพ” คือ “งานที่ทำเป็ นประจำเพื่อเลี้ยง
ชีพ” ซึ่งเอาจริง ๆ จากนิยามเราจะเห็นได้ว่าตัวนิยามไม่ได้มีอะไรที่ซับซ้อน แต่ทว่า “อาชีพ” ที่ถูกใช้กันในสังคม
กลับมีความซับซ้อนมากกว่าคำนิยามที่ถูกกำหนดไว้
     คำว่า “อาชีพ” ในปัจจุบันมักถูกผูกเอาไว้กับระบบการศึกษา โดยเฉพาะที่เรียกกันว่าระบบการศึกษากระแส
หลัก ซึ่งมีหลักสูตรที่ถูกพัฒนาออกมาให้ผู้เรียนมีอาชีพเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อนำไปสู่การตอบโจทย์ในภาพ
ใหญ่ของประเทศที่อยู่บนฐานของระบบทุน เช่น ภาคเศรษฐกิจ ภาคสาธารณสุข ภาคการศึกษา ภาคเทคโนโลยี
เป็ นต้น แล้วถ้าอาชีพใดยิ่งเป็ นที่ต้องการของระบบ อาชีพนั้นก็จะมีงานรองรับในสังคม ยิ่งมีความต้องการมาก สิ่ง
ตอบแทนที่เข้ามาก็ยิ่งสูงขึ้น ทั้ง เงินตรา ตำแหน่ง เกียรติยศ รวมไปถึง ลำดับชั้นทางสังคม และในทางกลับกัน
อาชีพใดที่ไม่ได้มีความจำเป็ นกับภาพการบริหารประเทศ สิ่งที่ตามมาคือการลดทอนคุณค่าของอาชีพนั้น จากเดิมที่
อาจจะเป็ นสาขา จบไปเพื่อทำสิ่งนั้น ก็แปรเปลี่ยนไปเป็ นรายวิชา หรือหนักเข้าก็ตัดออกไปจากระบบการศึกษา ซึ่ง
เ นส ไ เ สิ่งนั้น แ รเ ลี่ นไ เ นร วิ รื นั เ ไ ร ร ง
การคัดกรองด้วยระบบการศึกษาเช่นนี้นี่เอง
ยิ่งนำมาสู่การสร้างความกลัวที่เกาะกุมขึ้นในใจของผู้คนประชาชนที่อาศัย
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
อยู่ในประเทศโดยไม่รู้ตัวโดยไม่รู้ตัว  

    ผมเคยได้รับคำแนะนำในสมัยที่ผมเรียนมัธยมปลายว่า “เรียนสายวิทย์ไว้ ต่อไปอยากทำงานสายศิลป์ ก็สามารถ


ไปทำได้” คำแนะนำเช่นนี้ มองผ่าน ๆ ก็ดูเป็ นคำแนะนำที่เหมาะสมดีกับสถานการณ์ของสังคมในยุคนั้น เพราะการ
เรียนในสายวิทย์ จะดูมีภาษี และรายวิชาที่สามารถต่อยอดไปได้ไกลกว่า แต่ถ้ากลับไปดูให้ลึกลงไป คำแนะนำดัง
กล่าวแฝงมาด้วยความกลัวบางประการต่ออนาคตหลังการเรียนจบ ไม่ว่าจะเป็ น กลัวไม่มีอันจะกิน กลัวจะจน กลัวที่จะ
ตกงาน กลัวที่จะไม่เป็ นที่ยอมรับ และอีกสารพัดของความกลัวที่เปลี่ยนหน้าตาให้เข้ากับคนแต่ละคน
    เมื่อคำแนะนำแบบนี้ลอยเข้ามาสู่การรับรู้ของผมมากขึ้น ความรู้สึกกลัวก็ก่อรูปร่างขึ้นอยู่ในใจและกลบความฝันใน
วัยเด็กไปจนหมดสิ้น เพราะว่าความฝันไม่ได้จำเป็ นในการเอาตัวรอดในสังคม แล้วสิ่งที่ตามมาจึงเหลือเพียงแค่การกระ
เสือกกระสนทางการศึกษาเพื่อนำไปสู่อาชีพที่ต้องการ เพียงเพื่อให้ชีวิตมั่นคง และจะได้ไม่ต้องกลัวอีกต่อไป
อาชีพจึงมีนิยามที่เปลี่ยนไป

อาชีพไม่ใช่คำตอบ
    ผมเป็ นคนหนึ่งที่สัมผัสได้ถึงความว่างเปล่าในใจจากการทำงาน ผมรู้ว่าผมขาดบางสิ่งบางอย่าง แต่ก็ไม่ทราบว่า
ผมขาดสิ่งใดไป ผมลองเปลี่ยนงานจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งเพื่อค้นหาว่าจะมีสิ่งใดที่เข้ามาช่วยเติมเต็มความว่างเปล่า
ในใจผมได้ แต่สุดท้ายก็ไม่มีสิ่งใดที่มาเติมเต็มได้ 
     จนกระทั่งการเดินทางในสายอาชีพของผมมาถึงทางตัน ตำแหน่งสุดท้ายที่ผมทำคือเจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพ
ผมมีหน้าที่ในการวางระบบคุณภาพด้วยความเชื่อที่ว่า การที่ผมลงทุนทำงานหนักจะช่วยให้เพื่อนร่วมงานของผมมีความ
สุขในการทำงาน แล้วถ้าเขามีความสุข ผมก็จะเป็ นสุขด้วย 
        ผมยังจำได้ดี วันที่บริษัทได้การรับรองจากบริษัทต่างชาติ ช่วงเช้าผมรู้สึกภูมิใจและหวังลึก ๆ ว่าเพื่อน ๆ
จะทำงานได้อย่างสบายมากขึ้น พอตกช่วงบ่ายเพื่อนร่วมงานของผมคนหนึ่งเดินเข้ามาและบอกกับผมตรง ๆ ว่า “สิ่ง
ที่ผมทำนั้นมันเป็ นการสร้างภาระให้กับพวกเขา” ผมรู้สึกจุกอยู่กลางอก พูดอะไรไม่ออก ผมหมดศรัทธากับอาชีพที่ผม
ทำ ไร้เรียวแรง ว่างเปล่า จนเกิดคำถามว่า “ผมเกิดมาเพื่อสิ่งใด ?” ซึ่งคำถามนี้ถือได้ว่าเป็ นจุดเปลี่ยน ผมหยุด
การหางานใหม่ แต่เริ่มหันเข้าสู่วิถีการเรียนรู้ตนเอง 

ความฝันคือต้นทางของชีวิตที่มีความหมาย
     ปัจจุบันผมกำลังเดินอยู่บนเส้นทางของการเป็ น “กระบวนกร” ยิ่งผมเดินไปมากเท่าไร ผมก็ยิ่งตระหนักได้
ชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่าภาพฝันที่ผมมีกับสิ่งที่ผมเลือกทำในฐานะกระบวนกรนั้นเป็ นเรื่องเดียวกัน ผมได้ช่วยและได้
เห็นคนตรงหน้าเติบโตขึ้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ ณ เวลานี้อาจยังไม่ใช่จุดหมายปลายทาง แต่ที่ผมรับรู้ได้คือความสุขที่ผม
ได้รับ แม้บางช่วงอาจจะรู้สึกยากลำบาก บางช่วงอาจจะท้อจนอยากหลีกหนี แต่ภาพฝันที่ปรากฏขึ้นชัดในใจทำให้รู้ว่า
สิ่งที่ผมทำนั้น คือเหตุผลที่ผมมายืนอยู่ที่จุดนี้
      ความฝันในวัยเด็กจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการใช้ชีวิต เนื่องจากความฝันนั้นเป็ นเหมือนเบาะแสสู่การค้นหา
ว่าตัวเราเกิดมาเพื่อสิ่งใด ซึ่ง ปาร์คเกอร์ เจ พาล์เมอร์ ผู้เขียนหนังสือ เสียงเพรียกแห่งชีวิต (Let Your Life
Speak) เรียกสิ่งนี้ว่า ภารกิจของชีวิต (Vocation) การค้ันพบเหตุผลของการมีชีวิตนี้ช่วยให้เรามีความสุข อยาก
ตื่นขึ้นมาทุก ๆ วันเพื่อไปใช้ชีวิต พร้อมกับมีพลังที่จะใช้ชีวิตถึงแม้ว่าจะเจอกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก 
    ผู้คนในสังคมมีแนวโน้มที่จะนโลกใบนี้ถูกกรอบของ “อาชีพ” ที่เต็มไปด้วยข้อจำกัดจากระบบต่าง ๆ ครอบงำ
ชีวิตโดยไม่รู้ตัว ซึ่งถ้ารู้เช่นนี้แล้ว การปล่อยให้ชีวิตของเราเป็ นไปตามครรลองของระบบก็คงเป็ นการไม่รับผิดชอบต่อ
ชีวิตของตนเองสักเสียเท่าไร ตอนนี้คงเป็ นเวลาที่ดีที่พวกเราทุกคนควรจะกลับไปรับรู้ถึงภาพฝันของตนเองอีกครั้งหลัง
จากทอดทิ้งมันไปความฝันไว้มากกว่าค่อนชีวิต แล้วรวบรวมความกล้าจากใจของเราที่จะผสานความฝันเข้ามาเป็ นส่วน
งมันไ ว ม นไว้ม ว่ น วิ แล้วรว รวม ว ม ล้ ใ งเร ส น ว ม นเ ม เ นส่วน
หนึ่งในการดำเนินชีวิต เพื่อก้าวไปสู่การมีวิถีชีวิตที่มีความหมายต่อตัวเราอีกครั้ง
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ขอเป็ นกำลังใจให้นักเดินทางแห่งชีวิตทุกคน

เดโช นิธิกิตตน์ขจร

จิตตปัญญา
จิตตปัญญาพาอ่าน
บทความจิตตปัญญา
มหิดล

ป้อนความคิดเห็นของคุณ...

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทความ "จิตตปัญญาพาอ่าน" #1 หัวข้อ สงบเย็น ในโลกยุคโควิด


-
มิถุนายน 11, 2564

  บทความ "จิตตปัญญาพาอ่าน" #1   หัวข้อ สงบเย็น ในโลกยุคโควิด โดย ลือชัย ศรีเงินยวง


ท่ามกลางโลกยุคโควิดนี้ เราจะมีท่าทีในการมีชีวิตอยู่อย่างไร จึงจะถูกต้อง เหมาะสม และไม่ทุกข์

หรือทุกข์น้อย เรื่องนี้มีสิ่งชวนใคร่ครวญในสองระดับ ระดับแรกคือ เราจะมองการระบาดของโควิดใน

อ่านเพิ่มเติม

บทความ "จิตตปัญญาพาอ่าน" #3 หัวข้อ บทเส้นทางการค้นหาตัวเอง


-
กันยายน 13, 2564

  บทความ "จิตตปัญญาพาอ่าน" #3 หัวข้อ  บทเส้นทางการค้นหาตัวเอง  ผู้เขียน อริสา สุมามาลย์


คุณรู้ตัวเองหรือยังว่ารักหรือชอบทำอะไร           หลายคนคงเคยเห็นภาพวงกลมซ้อนกัน 4 วงที่ถาม
ว่า เรากำลังทำใน "สิ่งที่ชอบ" "สิ่งที่เราทำได้ดี" "สิ่งที่โลกนี้ต้องการ" และ "สิ่งที่สร้างรายได้" หรือ…

อ่านเพิ่มเติม

Mental Garden: ดูแลจิตใจแบบดูแลสวนหลังบ้าน


-
เมษายน 28, 2563
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

Mental Garden: ดูแลจิตใจแบบดูแลสวนหลังบ้าน โดย รศ.นพ. ชัชวาลย์ ศิลปกิจ  ผู้อำนวยการศูนย์


จิตตปัญญาศึกษา วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน 2563  เวลา 19 . 00 - 20 . 00 น. ผ่านระบบ Zoom

Mental Garden              เป้าหมายการฝึกฝนจิตใจคือการมีจิตใจปกติ ผ่องใส โล่ง โปร่ง สบาย มั่นคง

อ่านเพิ่มเติม


ขับเคลื่อนโดย Blogger

ภาพธีมโดย Lokibaho

ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยหิดล

ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยหิดล

ไปที่โปรไฟล์

เก็บ

ป้ ายกำกับ

รายงานการละเมิด

You might also like