You are on page 1of 10

เค้าโครงวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ในสื่อใหม่
Mr. Ngo Dinh Don
655080029-3

1. ชื่อ CDA
ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์การทำงานของหญิงข้ามเพศในสื่อสังคมออนไลน์
2. ความสำคัญ
2.1. ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวาทกรรม
ภาษาเป็น ช่องทางสื่อสารที่ส ำคัญในชีวิตประจำวันไม่ว ่าจะเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียนเพื่อสร้าง
ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในรอบตัวเรา ส่วนวาทกรรมเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยประกอบสร้างความหมาย
ให้แก่สิ่งเหล่านั้น ดังตัวอย่างเช่นการใช้คำว่า “คุณ” หรือ "นางสาว"เพื่อจะเรียกกลุ่มหญิงข้ามเพศก็สะท้อน
ทัศนคติของผู้ใช้ภาษาว่าหญิงข้ามเพศเป็นคนกลุ่มหนึ่งที่มีสิทธิในการเลือกดำรงชีวิตได้อย่างดีและมีสิทธิอันเท่า
เทียม ในขณะที่คนบางกลุ่มอาจจะเลือกใช้คำเรียกที่สะท้อนทัศนคติแตกต่างกันออกไป เช่น “คนตลก” หรือ
“สาวสอง” ซึ่งปรากฎว่าหญิงข้ามเพศยังเป็นเพศที่ไม่อยู่ในบรรทัดฐานที่คนในสังคมทั่วไปยอมรับ การเลือกใช้
ภาษานั้นสะท้อนทัศนคติของผู้ส่งสารในขณะเดียวกันก็กำหนด มุมมองของผู้รับสารด้วยเช่นกัน งานวิจัยนี้
ตั้งอยู่บนพื้นฐานความคิดที่ว่าวาทกรรมสะท้อนความคิดของคนในสังคม ในขณะเดียวกันสังคมก็มีส่วนในการ
ประกอบสร้างหรือกล่อมเกลาวาทกรรมด้วยเช่นกัน และวาทกรรมไม่เพียงแต่สะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ยังเป็นสิ่ง
ที่สร้างขึ้นตามเป้าหมายของผู้ผลิตวาทกรรมนั้นๆ
2.2. ภาษากับอุดมการณ์มีความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันและกัน
อุดมการณ์มีลักษณะที่เป็นสังคมและความคิดเห็นของกลุ่มมากกว่าจะเป็นของบุคคล ซึ่งตามแนวคิของ
ฟาน ไดก์ (van Dijk, 1998: 11) ได้ขยายความว่า “อุดมการณ์ ” คือไม่ได้หมายความว่าจำกัดอยู่แค่การเป็น
เครื่องมือของกลุ่มผู้ที่มีอำนาจในสังคมเท่านั้น แต่ยังมีอุดมการณ์ของคนกลุ่มอื่นๆใน สังคมที่สามารถสร้าง
อุดมการณ์ขึ้นได้เช่นกัน” และในงานวิจัยนี้ เนื่องจากการประกอบสร้างวาทกรรมทำหน้าที่เป็นองค์กรที่เป็น
สื่อกลางในการถ่ายทอดชุดความคิดความเชื่อต่างๆ ไปสู่กลุ่มคนหมู่มากได้ โดยที่กลุ่มคนที่มีอำนาจในสังคม
หนึ่งๆ ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมหรือกดทับกลุ่มคนที่มีอำนาจน้อยกว่าวาทกรรมที่กลุ่มผู้มีอำนาจนั้นสร้าง

ขึ้นมาอาจทำให้กลุ่มคนบางกลุ่มในสังคมที่เรียกว่า “คนชายขอบ” ถูกมองหรือมีภาพไปในทิศทางว่าเป็นส่วน


ด้อยของสังคมไม่สามารถที่จะรับสิทธิที่เท่าเทียมได้
2.3. การต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมกันในสังคมของกลุ่มหญิงข้ามเพศ
จาการวิจัยของนายคชาธิป พาณิชตระกูล (2556) ที่แสดงให้เห็นความไม่เท่าเทียมกันอย่างเห็นได้ชัดใน
เรื่องความเป็นชายรักชายในสังคมไทยซึ่งประกอบด้วยกลุ่มหญิงข้ามเพศได้สรุปว่าภาพของหญิงข้ามเพศใน
ชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในวาทกรรมกระแสหลักนั้นเกิดจากการประกอบสร้างความหมายโดยผ่าน “ภาษา” ที่
เปรียบเสมือนเครื่องมือสำคัญที่สะท้อนให้เห็นว่ าหญิงข้ามเพศถูกปฏิบัติให้เป็นสีสันของสังคม ถูกตีตราว่าเป็น
ตลกน่าขบขันถูกล้อเลียน บางครั้งสังคมก็ดูเหมือนให้การยอมรับ แต่ในบ่อยครั้งก็ดู เหมือนรังเกียจและกีดกัน
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันสังคมจะพยายามสร้างภาพให้ดูเหมือนว่า หญิงข้ามเพศนั้นมีสิทธิและความเสมอภาคไม่ตา่ ง
จากคนทั่วไป เช่นการดำเนินชีวิด สุขภาพ การทำงาน และบทบาทในสังคม แต่ภายใต้มายาคติทางสังคม
ดังกล่าวนั้น สั ง คมยั ง คงสร้ า งภาพด้ ว ยลั ก ษณ์ ใ ห้ ห ญิง ข้ า มเพศไม่ ม ี ค วามหมายและคุ ณ ค่ า ในเชิ งลบ
ตลอดเวลา เช่น การทำงานบริการขายตัว นางโชว์ คนตลก เป็นต้น ด้วยเหตุนี้หลายครั้งที่ หญิงข้ามเพศ
พยายามแสดงออกตัวตนไม่ว่าจะเป็นช่องทางสื่อสารอย่างไรก็ตาม เช่น ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ Facebook
Youtube หรือ การพูดสด การสัม ภาษณ์ การประกวด เป็นต้น เพื่อแสดงความสามารถเข้าไปทำในอาชีพที่
ชายหญิงทั่วไปทำได้เพื่อได้รับสิธิ์เท่าเทียมในสังคม ซึง่ หญิงข้ามเพศหลายคนพยายามสร้างจุดเด่น แต่ทั้งนี้การ
ยอมรับได้ของสังคมไทยก็ตั้งอยู่บนความจำกัดของระดับการยอมรับได้ตามศักยภาพความสามารถในการ
ทำงาน ฐานะทางเศรษฐกิจของหญิงข้ามเพศที่แตกต่างกัน ซึ่งตามรายงานของ World Bank 2018 มีผลว่า
77% คนข้ามเพศถูกปฏิเสธเข้าทำงานมากกว่า เกย์หรือเลสเบี้ยนที่ถูกกีดกัน 40-50%”
3. วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาที่สื่ออุดมการณ์การทำงานของหญิงข้ามเพศในสื่อสังคมออนไลน์
3.2 เพื่อศึกษาอุดมการณ์การทำงานของหญิงข้ามเพศในสื่อสังคมออนไลน์
4. ประโยชน์งานวิจัย

การวิจัยทางด้านวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์เพื่อมุ่งที่จะทำให้เกิดการตระหนักรู้บทบาททางภาษาและ
วาทกรรมในฐานะเครื่องมือที่ครอบงำความคิดและควบคุมแบบแผนพฤติกรรมของคนในช่องทางสังคม ออน
ไบน์ Facebook กับ Youtube สำหรับงานวิจัยนี้ไม่ได้มุ่งหวังจะเปลี่ยนมุมมองความคิดเกี่ยวกับหญิงข้ามเพศ
ในสังคมไทย หากแต่มุ่งหวังที่จะชี้ให้คนในสังคมตระหนักว่าการดำเนินชีวิตในด้านดีผ่านการทำงานของหญิง
ข้ามเพศในสังคมไทยนั้น อาจเป็นสิ่งที่เกิดจากการประกอบสร้างทางสังคมโดยมี “ภาษา”เป็นเครื่องมือสำคัญ

นอกจากนี้ยังมุ่งหวังให้ผู้ ชมกับผู้ส่งสารทางออนไลน์ในฐานะผู้บริโภคและตีความตัวบทที่เกิดการรู้เท่าทันวาท
กรรมในช่องทางออนไลน์ว่า วาทกรรมเหล่านั้นเป็นเครื่องมือที่กลุ่มผู้มีอำนาจกว่าในสังคมใช้ ในการผลิตซ้ำ
อุดมการณ์หรือชุดความคิดเรื่อง “หญิงข้ามเพศ” เพื่อนำเสนอและควบคุมแบบแผนพฤติกรรมคนในสังคม ซึ่ง
คาดว่างานวิจัยเรื่องนี้จะมีประโยชน์ดังนี้
4.1 ทำให้ทราบกลวิธีทางภาษาและอุดมการณ์การทำง่นของหญิงข้ามเพศที่สร้างและสื่อผ่านสื่อสังคมออน
ไบน์ในปี พ.ศ 2565
4.2 ช่วยให้เข้าใจทัศนคติของคนในสังคมไทยเกี่ยวกับกลุ่ม หญิงข้ามเพศเพื่อสร้างแนวทางที่สนับสนุนหรือ
ให้คำปรึกษาในทางด้านพัฒนาอาชีพของกลุ่มนี้
4.3 สามารถนําผลการวิจัยไปเสนอต่อศูนย์ทจี่ ะให้คำปรึกษางาน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล หรือ องค์กรที่
เกี่ยวข้อง เพื่อนําไปเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนาการทำงานของกลุ่มหญิงข้ามเพศ
5. สมมติฐาน

5.1 กลวิธีทางภาษาที่สื่ออุดมการณ์ การทำงานของหญิงข้ามเพศในสื่อสังคมออนไลน์ปี พ.ศ. 2565 มี


หลากหลายกลวิธี ได้แก่ การเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำ การใช้มูลบท การอ้างถึง การใช้อุปลักษณ์ เป็นต้น
5.2 อุดมการณ์เกียวกับหญิงข้ามเพศที่นำเสนอผ่านสื่อสังคมออนไลน์ปี พ.ศ. 2565 เช่น กลุ่มหญิงข้ามเพศ
ยังไม่ได้รับการยอมรับ เพื่อทำงานเหมือนคนทั่วไป และหญิงข้ามเพศไม่ควรทำงานที่เกี่ยวข้องกับ “ความ
น่าเชื่อถือ”
6. นิยามศัพท์
6.1. กลวิธีทางภาษา หมายถึง การเลือกใช้ภาษาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการสื่ออุดมการณ์ การ
ทำงานของหญิงข้ามเพศในสื่อสังคมออนไลน์
6.2. หญิงข้ามเพศ หมายถึงผู้หญิงที่ได้รับการแปลงเพศมาจากเพศชายเรียบร้อยแล้วหรือเรียกว่า
transwoman
6.3. วาทกรรม (Discourse) หมายถึ ง ระบบและกระบวนการในการสร้ า ง/ผลิ ต (constitute)
เอกลักษณ์ (identity) และความหมาย (significance) ให้แก่สรรพสิ่งต่างๆในสังคมที่ห่อหุ้มเราอยู่ ไม่ว่าจะเป็น
ความรู้ ความ จริง อ่านใจ หรือตัวตนของเราเอง นอกจากนี้ วาทกรรมยังทำหน้าที่ตรึงสิ่งที่สร้างขึ้นให้ดำรงอยู่
และ เป็นที่ยอมรับของสังคมในวงกว้าง (valorize) (Foucault, 1970, อ้างถึงใน ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร,
2552: 3-4)
6.4. อุดมการณ์ (Ideology) หมายถึง ความคิดความเชื่ ออย่างเป็ นระบบที่คนในสังคมหนึ่งๆมี
ร่วมกัน เป็ นสิ่งที่กาหนด พฤติกรรมและการกระทาของคนในสังคมรวมไปถึงพฤติกรรมในการใช้ภาษาของ
คนในสังคมนัน้ ๆ (van Dijk, 1995: 248 อ้างถึงใน กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ 2543)

7. ข้อมูลและขอบเขตของข้อมูล

ศึกษาเรื่องเล่าประสบการณ์ของหญิงข้ามเพศผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์เช่น Facebook กับ


Youtube ด้วยเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยรายละเอียดดังนี้
7.1. Facebook
7.1.1. ทรานส์ทาเลนท์
ทรานส์ทาเลนท์เป็นเพจที่ได้สร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ 2557 โดยหญิงข้ามเพศชื่อนิกกี่ซึ่งเนื้อหาในเพจเกี่ยวกับ
เรื่องเล่าประสบการณ์ในการทำงาน การดำเนินชีวิตเป็นหญิงประเภทสอง ด้วยการแซร์ประสบการณ์สมัครงาน
ให้หญิงข้ามเพศในประเทศไทยซึ่งเพจนี้ได้รับผู้ติดตามจำนวนประมาณ 1,100 คนและมีการลงข่าววันละหนึ่ง
ครั้งที่ได้รับคนกด like จำนวน 2-200 คนต่อ post และคนกดแซร์ จำนวน 1-20 คน
7.1.2. ข้ามเพศมีสุข
ข้ามเพศมีสุขเป็นเพจเพื่อสร้างความสุขของคนข้ามเพศ โดยจะนำเสนอมุมมองของความสุขผ่านอัตลักษณ์
ที่หลากหลายของคนข้ามเพศที่รวมถึงเรื่องราวความสุข สุขภาพ การเยียวยา วิถีชีวิต ชุมชน LGBTIQN+ และ
การต่อสู้ ในสังคม ซึ่งได้รับผู้ติดตามจำนวน 2,300 คนและมีการลงข่าววั นละ 3-4 ครั้ง ที่ได้รับคนกด like
จำนวน 2-500 คนต่อ post และคนกดแซร์ จำนวน 1-30 คน
7.2. Youtube
7.2.1. เรื่องเล่าสาวสอง
เรื่องเล่าสาวสองเป็นช่องวิดีโอของหญิงข้ามเพศคนหนึ่งชื่อว่า หมวย ที่ทำวิดีโอเกี่ยวกบเรื่องเล่าสาวสองต้ง
แต่ปี พ.ศ 2562 โดยมีการลงวิดีโอเดือนละครั้งและได้ผู้ชมประมาณ 2.2 ล้านโดยเฉลี่ย
7.2.2. Mefoytrans
ช่องวิดีโอของผู้ชายชื่อ Warawit โดยเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการข้ามเพศ การเทคฮอร์โมนและไลฟ์สไตล์
ของทรานส์ในเพจแบ่งวิดีโอเป็น 5 ประเภท
- Transtender เนื้อหาสาระเกี่ยวกับการข้ามเพศ โดยมีการลงวิดีโอเดือนละครั้งและได้ผู้ชมประมาณ 5.5 พัน
โดยเฉลี่ย

- Transopen เปิ ด โลกทรานส์ เ จนเดอร์ lgbtq และความหลากหลายทางเพศ เปิ ด มุ ม มอง และแชร์


ประสบการณ์ชีวิต โดยมีการลงวิดีโอ 2 เดือนละครั้งและได้ผู้ชมประมาณ 100,000 โดยเฉลี่ย
-Trans on tour เที่ยวกับทรานส์ ไลฟ์สไตล์ของทรานส์พร้อมสอดแทรกเนื้อหาของ Transgender
- ทรานส์ป่ะลอง Challenge สนุกโหดมันฮา ให้เหล่า lgbtq มาแข่งขันกันทำกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่เคยลอง และ
ท้าทาย
-Mefoy vlog ไลฟ์สไตล์ส่วนตัว ของทรานส์แมน แชร์ข้อมูลต่างๆทั่วไป
โดยมีผู้ตดิ ตามประมาณ 13,000 โดยเฉลี่ย
8. ระเบียบวิธีวิจัย

8.1 ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
8.1.1. งานวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์การทำงานของสตรีข้ามเพศในสื่อสังคม
ออนไลน์ในปีพ.ศ 2565 นี้เกี่ยวข้องกับแนวคิดทฤษฎีต่างๆ ได้แก่
a) แนวคิดเรื่องวาทกรรม (Discourse)
b) แนวคิดเรื่องวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis)
b) แนวคิดเรื่อง อุดมการณ์ (Ideology)
c) แนวคิดสื่อสังคมออนไลน์ (social media)
d) แนวคิดเรื่องเพศสภาวะ (Gender) และ หญิงข้ามเพศ (Female transgender)
8.1.2. งานวิจัยในหัวข้อต่างๆ ดังนี้
a) งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ภาษากับอุดมการณ์
b) งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องวาทกรรมในสื่อสังคมออนไลน์
c) งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องหญิงข้ามเพศ
8.2 การเก็บรวบรวมข้อมูล

ผุ้วิจัยมีการเก็บข้อมูลตามที่ระบุไว้ในขอบเขตวิจัย ในสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่เฟซบุ๊กกับ Youtube ที่มี


เนื้อหาเกี่ยวกับ เรื่องเล่าของหญิงข้ามเพศเกี่ยวกับอาชีพ โดยตรง ซึ่งในเฟซบุ๊กประกอบด้วยเพจ 2 เพจคือ
ทรานส์ทาเลนท์ ข้ามเพศมีความสุข โดยมีการเลือกข้อมูลที่ลงในเพจได้รับผู้กด like, share ไม่ต่ำกว่า 20 คน
ส่วนวิดีโอที่ศึกษาจาก Youtube ผ่าน 2 เพจคือ เรื่องเล่าสาวสอง และ Transopen โดยมีการเลือกวิดีโอที่ลง
ในเพจได้รับผู้ชมไม่ต่ำกว่า 5,000 โดยระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2565
8.3 การวิเคราะห์ข้อมูล
ในขั้นตอนนี้ผู้วิจัยวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์การทำงานของหญิงข้ามเพศในสื่อ
สังคมออนไลน์ในปีพ.ศ 2565 ที่แสดงในข้อมูลและวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการสื่ออุดมการณ์ดังกล่าว
โดยใช้กรอบทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis) ของแฟร์คลัฟ (Fairclough,
1995) ทั้งนี้งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ดังนั้นผู้วิจัยจึงเสนอผลการวิเคราะห์แบบใช้การพรรณนา
วิเคราะห์ โดยจะวิเคราะห์เป็นขั้นตอน ดังต่อไปนี้
8.3.1. การวิเคราะห์ลักษณะตัวบท
การวิเคราะห์ลักษณะตัวบทเพื่อให้เห็นกระบวนการประกอบสร้างและลักษณะที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับหญิงข้ามเพศ
โดยเฉพาะ โดยมีตัวบท 2 อย่างดังนี้
- เพจเฟซบุ๊กที่มีข้อความสั้นๆและคำศัพท์ส่วนใหญ่ใช้ในหัวข้อที่เกี่ยวกับหญิงข้ามเพศ เช่น สาวข้ามเพศ
(132) ทรานส์ (67) ผู้ห ญิงข้ามเพศ (46) และพิจารณาปริมาณและรูปแบบการนำเสนอตัวบทที่มีเนื้อหา
เกี่ย วกับ หญิงข้ามเพศเพื่ อให้เห็น ภาพโครงสร้ างตัว บทได้ช ัดเจนยิ่ง ขึ้น ก่อนนำเข้าสู่การวิเคราะห์ โดย
ตัวอย่างเช่นเพจเฟซบุ๊กชื่อ ทรานส์ทาเลนต์ ซึ่งเจ้าของเป็นหญิงข้ามเพศและได้สำเร็จในชีวิตโดยอาชีพเป็น
CEO ข้ อ มู ล ในตั ว บทจึ ง เป็ น ข้ อ มุ ล ที ่ ม ี ก ารแนะนำงานที ่ ร ั บ สมั ค ร วิ ธ ี ส มั ค รงาน ประสบการณ์ ท ำงาน
ประสบการณ์ขอทุนศึกษา และ ประสบการณ์รักษาชีวิต ซึง่ คำว่า “ทรานส์” หรือ “ผู้หญิงข้ามเพศ” ได้ใช้บ่อย
ในตัวบทนั้น
- ส่วนตัวบทที่เป็นวิดีโอใน Youtube จะเป็นการสัมภาษณ์หญิงข้ามเพศที่กำลังมีปัญหาในชีวิต ไม่มี
โอกาศทำงาน และ pain point ที่กำลังเผชิญในปัจจุบัน ตังอย่างเช่นการสัมภาษณ์ใน เรื่อวเล่าสาวสองโดยมี
การใช้คำว่า “คุณ” หรือ “น้อง” เป็นส่วนใหญ่
8.3.2. การวิเคราะห์กลวิธีทางภาษา

การวิเคราะห์รายละเอียดของตัวบท (Text) ผู้วิจัยจะวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาทั้งวัจนภาษาและอวัจน


ภาษาที่สื่ออุดมการณ์หญิงข้ามเพศโดยประยุกต์ใช้แนวคิดทางอรรถศาสตร์วากยสัมพันธ์วัจนปฏิบัติศาสตร์ เพื่อ
แสดงให้เห็นกลวิธีในการประกอบสร้างอุดมการณ์หรือชุดความคิดเกี่ยวกับอาชีพของหญิงข้ามเพศที่แฝงอยู่
เบื้องหลังวาทกรรมสื่อสังคมออนไลไน์
8.4. การวิเคราะห์อุดมการณ์
ผู้วิจัยจะวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับอุดมการณ์การทำงานของหญิงข้ามเพศที่แฝง
อยู่ในกลวิธีทางภาษาเหล่านั้น เพื่อแสดงให้เห็นว่าในสื่อสังคมออนไลน์ได้ประกอบสร้างอุดมการณ์หรือชุด
ความคิดต่างๆเกี่ยวกับการทำงานของหญิงข้มเพศผ่านกลวิธีทางภาษาอย่างไรและสัมพันธ์กันอย่างไร เช่น จาก
การสัมภาษณ์หญิงข้ามเพศ 80% บอกว่ารู้สึกตัวเองเป็นผู้หญิงตั้งแต่เด็กไม่รู้ว่าตัวเป็นผู้ชายและตัดสินใจแปล
เพศตอนวัยรุ่น ซึ่งทำให้ผู้ชมรู้สึกว่า กลุ่มหญิงข้ามเพศยังไงก็ต้องแปลงเพศเพราะว่ามี ความรู้สึกเป็นหญิงอย่าง
ชัดเจนและไม่อย่ากเป็นตัวผู้ชายอีก
8.5 การวิเคราะห์วิถีปฏิบัติทางวาทกรรมและวิถีปฏิบัติทางสังคมวัฒนธรรม
การวิเคราะห์ระดับวิถีปฏิบัติทางวาทกรรม (Discourse practice) ผู้วิจัยจะนำกรอบ SPEAKING ของ
Dell Hymes มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อให้เห็นองค์ประกอบทางวาทกรรม และเห็นภาพรวมของ
เหตุการณ์การสื่อสารได้อย่าชัดเจนยิ่งขึ้นรวมถึงกระบวนผลิตและกระจายตัวบท และกระบวนการบริโภคและ
การตีความตัวบท
ส่ว นการวิเคราะห์ ในระดั บ วิ ถ ีป ฏิบ ัต ิ ทางสั ง คมและวั ฒ นธรรม (Sociocultural practice) ผู้ว ิจั ย จะ
พิจารณาด้านความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษาที่ สื่ออุดมการณ์กับสังคม ที่อยู่แวดล้อมวาทกรรมนั้นๆ โดย

ตัวอย่างเช่นในเพจทรานส์ทาเลนท์เมื่อวันที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมาเคยลงบทความเกี่ยวกับเรื่องเล่า ความสำเร็จ


ของคุณดิวหญิงข้ามเพศคนหนึ่งที่เป็นนักการทูตคนแรกของไทย

“มีอาชีพใดทีผ่ ู้หญิงข้ามเพศไม่สามารถทำได้?” เคยเป็นหนึ่งในคำถามการประกวดนางงามทรานส์เจนเดอร์ที่


เป็นกระแสในอินเตอร์เน็ตอยู่ช่วงหนึ่ง บ้างก็ว่าผู้หญิงข้ามเพศควรทำงานเฉพาะอย่างเช่น ช่างเสริมสวย หรือ
ช่างตัดชุด บ้างก็เห็นต่างว่าผู้หญิงข้ามเพศควรจะทำได้ทุกอาชีพ แต่หนึ่งในความเห็นที่หลายคนเชื่อก็คือ คน
ข้ามเพศไม่ควรทำงานที่เกี่ยวข้องกับ ‘ความน่าเชื่อถือ’ ก่อนที่เข้าเรื่องประสบการร์ของคุณดิว ข่างต้นของ
ข่าวที่นำเสนออาชีพที่หญิงข้ามเพศเคยทำในอดีตซึ่งชุดความคิดเหล่านี้เป็นประสบการณ์ในอดีดของสังคมด้วย
การมุมมองเกี่ยวกับอาชีพของหญิงข้ามเพศ
8.6. สรุปผลการวิจัยและอภิปรายผล
8.7. เรียบเรียงและนำเสนอในรูปแบบของการวิจัย
9. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
9.1. ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์

- คชาธิป พาณิช ตระกูล (2556) ความสัมพันธ์ระหว่ างภาษากั บ อุด มการณ์ว ่ าด้ว ยชายรั กชายใน
หนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ปี พ.ศ. 2555: การศึกษาวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ สาขาวิชา
ภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ชิษณุพงศ์ อินทรเกษม (2557) ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมโฆษณาสถาบัน
กวดวิชา สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นิธิชญา ใจเย็น (2563) ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมแนะนำวิธีการเลี้ยงลูก
โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: การศึกษาแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ สาขาวิชาภาษาไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เพียรอักษร นามโสภา (2562) ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและอุดมการณ์ความเป็นครอบครัวในเฟ
ซบุ๊กแฟนเพจ “Little Monster” สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร@ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- เพ็ญนภา คล้ายสิงห์โต (2562) วาทกรรมบนเว็บไซต์เฟซบุ๊กระหว่างอาจารย์และนิสิต ในกลุ่มรายวิชา
ภาษาศาสตร์เบื้องต้น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- พงษ์กฤษณ์ จันทร์เชื้อ (2561) ความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างวาทกรรม และปฏิบัติการทางวาทกรรม
กับการประกอบสร้างความจริงในโลกไซเบอร์ บนเฟซบุค
9.2. วามกรรมสื่อออนไลน์
- กุณฑิกา ชาพิมล (2564) วาทกรรมการขอรับบริจาคเงินในสื่อสังคมของไทย: การศึกษาตามแนววาท
กรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ธีระยุทธ สุริยะ (2560) ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับภาพตัวแทนของชาวโรฮิงญาในสื่อ
ออนไลน์ ภ าษาไทย: การศึ ก ษาตามแนววาทกรรมวิ เ คราะห์ เ ชิ ง วิ พ ากษ์ สาขาวิ ช าภาษาไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ณัฐธยาน์ สุวรรณโรจน์ (2556) การสื่อสารการตลาดของอัลคาซ่าร์และภาพตัวแทนเพศที่สาม คณะ
นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นิพัทธา อินทรักษา (2560) การเล่าเรื่องประเด็นสังคมผ่านคลิปวิดีโอบนสื่อออนไลน์ สาขาวิชานิเทศ
ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นิตยา มีสุวรรณ (2563) การวิเคราะห์งานเขียนรีวิวในเฟซบุ๊กแฟนเพจ TripTH ทริปไทยแลนด คณะ
ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- ศรีรัช ลอยสมุทร (2563) การวิเคราะห์วาทกรรมการสร้าง “ความเป็นอื่นคือศัตรู” ในการสื่อสาร
ความเชื่อ ทางการเมืองในสื่อเครือข่ายสังคมสาธารณะ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต
๑๐

9.3. หญิงข้ามเพศ
- ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ (2554) คนข้ามเพศ : ตัวตน วัฒนธรรมย่อย และพื้นที่ทางสังคม สาขาวิชาสังคม
วิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- พงษ์ศักดิ์ สกุลทักษิณ (2551) การพัฒนาระบบบริการสุขภาพและสังคมในกลุ่มชายที่เพศสัมพันธ์กับ
ชายและสาวประเภทสองที่ได้รับผลกระทบจากการตีตรา การเลือกปฏิบัติและความรุนแรงด้วยเหตุ
ปัจจัยด้านเพศสภาวะ : กรณีศึกษานำร่องพื้นที่เมืองพัทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ฝนทอง พันธุ์ต่วน (2541) กระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจแปลงเพศ ของ
สาวประเภทสอง สาขาวิชามานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วัชรินทร์ หนูสมตน (2546) ชีวิตและการทำงานของสาวประเภทสอง คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- วันวิสาข์ โชติปุญโญ (2557) ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติที่ดีและความตั้งใจซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ
บุคคลข้ามเพศบนแฟนเพจของเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊ก: กรณีศึกษา บันทึกของ ตุ๊ด
- สุชาดา น้อยยืนยง (2559) ปัจจัยอิทธิพลที่มีผลต่อการตัดสินใจของสาวประเภทสองในการเข้ารับการ
ศัลยกรรมแปลงเพศ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อานัน ท์กาญจนพัน ธ์. (2545). การต่อสู้เพื่ อความเป็นคนชายขอบในสังคมไทย ศูนย์ส ตรีศึกษา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
- อนุธ ญา ภิร มย์โ ยธี (2552) การศึกษาปัญหา อุปสรรคและการปรับตัวของบุคลากรกลุ่มน้อยใน
องค์การ : กรณีศึกษาเกี่ยวกับสาวประเภทสอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

*************************************************

You might also like