You are on page 1of 13

Journal of Humanities and Social Sciences Review (JHSSR)

Vol. 21 No.1 January - June 2019 147

การเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยจากการใช้เฟซบุ๊ก
Thai Language Change from Using Facebook
ศิวาพร พิรอด
Siwaporn Pirod

สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี


Thai Program, Faculty of Humanities and Social Sciences,
Phetchaburi Rajabhat University
*Corresponding author E-mail: s_pirod@yahoo.com
(Received: January 5, 2019; Revised: March 27, 2019; Accepted: April 15, 2019)

บทคัดย่อ
บทความเรือ่ งการเปลีย่ นแปลงของภาษาไทยจากการใช้เฟซบุก๊ ศึกษาการใช้ภาษาไทย
ในเฟซบุ๊กในปี พ.ศ. 2562 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีชั้นปีที่ 1-5 ที่มีอายุ
อยูใ่ นช่วง 18-22 ปี ซึง่ ถือเป็นตัวแทนของวัยรุน่ วัยทีช่ อบความแปลกใหม่ ต้องการความแตกต่าง
และมีความคิดสร้างสรรค์ จากการศึกษาพบว่าการใช้ภาษาของวัยรุ่นในเฟซบุ๊กมีลักษณะ
ทีแ่ ตกต่างจากภาษาไทยมาตรฐาน เช่น การใช้คำ� สแลง การใช้ภาษาพูดในภาษาเขียน การสะกด
ค� ำ ผิ ด การใช้ ค� ำ ผิ ด หน้ า ที่ เป็ น ต้ น ซึ่ ง คนส่ ว นใหญ่ อ าจมองว่ า การใช้ ภ าษาลั ก ษณะนี้
เป็นสาเหตุให้ภาษาไทยวิบัติ แต่หากมองในแง่ธรรมชาติของภาษาแล้ว ภาษาทุกภาษาย่อม
มีการเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่าง ๆ ทางสังคม สิ่งที่คนไทยควรให้ความส�ำคัญมากกว่าคือ
การใช้ภาษาให้เหมาะกับบุคคล กาลเทศะ โอกาส และสถานการณ์

ค�ำส�ำคัญ: การใช้ภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษา เฟซบุ๊ก


วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.)
148 ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2562

Abstract
This article aimed tostudy Thai language using in facebook in 2019 by
the 18-22 years students of Phetchaburi Rajabhat University year 1-5. They
were the representative of the teenagers who liked to learn the new things,
wanted the difference things and had thecreative idea. The studying found
that the Thai language using in facebook of teenagers was different from
the Thai standard language such as using idiom, using speaking language in
writing language, missing spelling and using the wrong part of speech etc.
Most people may think that using language like this could cause Thai language
to be destroyed. But if we look at the nature of the language, every language
will change according to various social factors. The thing that Thai people should
realize is to use language to suit people, time, opportunities and situations
Keywords: Thai language usage, Language change, Facebook
บทน�ำ
ปัจจุบนั นีส้ อื่ ประเภทหนึง่ ทีเ่ ข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อชีวติ ของมนุษย์ โดยเฉพาะ
ในกลุม่ วัยรุน่ นัน่ คือ สือ่ อิเล็กทรอนิกส์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึง่ เกิดขึน้ หลากหลายรูปแบบ
เพื่ออ�ำนวยความสะดวกให้กับชีวิตมนุษย์ โดยธรรมชาติของสื่อชนิดนี้มีแนวคิดที่จะก�ำจัด
อุปสรรคในการสื่อสาร และพยายามเชื่อมโยงการสื่อสารที่เป็นเครือข่าย ถึงกันและกันจาก
ทัว่ ทุกมุมโลกด้วยความเร็วสูงสุด เพือ่ ตอบสนองความต้องการและเอือ้ อ�ำนวยความสะดวกแก่
ผูใ้ ช้มากทีส่ ดุ ประกอบกับวัยรุน่ เป็นวัยทีแ่ สวงหาการเปลีย่ นแปลงอยูเ่ สมอ ต้องการความเป็น
อิสระ ชอบทดลอง จึงเกิดเป็นค่านิยมที่มีต่อสื่ออิเล็กทรอนิกส์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ว่า
เป็นสื่อที่แสดงออกถึงความทันสมัย และเป็นที่ยอมรับการอย่างกว้างขวางกันทั่วโลก (สิริชัย
วงษ์สาธิตศาสตร์, 2549: 89)
รูปแบบต่าง ๆ ของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่พบเห็นและได้รับความนิยม เช่น โทรศัพท์
มือถือ บริการต่าง ๆ บนโทรศัพท์มือถือ หรือระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านทางเครื่อง
คอมพิวเตอร์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในการสืบค้นข้อมูล พร้อมบริการต่าง ๆ
ที่ท�ำให้ผู้ใช้สามารถพูดคุย สื่อสารได้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ เช่น เอ็มเอสเอ็น (MSN) คิวคิว
Journal of Humanities and Social Sciences Review (JHSSR)
Vol. 21 No.1 January - June 2019 149

(QQ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้มีรูปแบบของการรวมกลุ่มกันผ่านทางเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า สังคมออนไลน์ หรือ Social Network เพื่อวัตถุประสงค์ใน
การแลกเปลีย่ นข้อมูลข่าวสารทีร่ วดเร็วมากยิง่ ขึน้ ตัวอย่างเช่น ไลน์ (line) ทวิตเตอร์ (twitter)
อินสตราแกรม (instragram) และสื่อสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากในขณะนี้ ได้แก่
เฟซบุ๊ก (facebook)
ข้อมูลจาก (Global Digital) ได้นำ� เสนอสถิตเิ กีย่ วกับสือ่ สังคมออนไลน์ ประจ�ำไตรมาส
ที่ 2 ของปี 2561 (นับสิ้นสุดเมื่อ 12 เมษายน 2561) โดยอาศัยข้อมูลจาก We Are Social
และ Hootsuite เผยว่า เฟซบุก๊ ยังคงเป็นสือ่ สังคมออนไลน์ อันดับ 1 ของโลก ด้วยจ�ำนวนผูใ้ ช้
(Active Users) ทั่วโลก 2,234 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากผลส�ำรวจเดือนมกราคมราว 100 ล้านคน
ส�ำหรับประเทศไทยมียอดผู้ใช้รวม 52 ล้านคน อยู่ในอันดับ 8 ของโลก และกรุงเทพมหานคร
ยังคงเป็นเมืองทีใ่ ช้เฟซบุก๊ เป็นอันดับ 1 ของโลกเป็นปีทสี่ องติดต่อกัน โดยมีจำ� นวนผูใ้ ช้บริการ
กว่า 25 ล้านคน (Shut Waroonkupt, 2018)
จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าปัจจุบันเฟซบุ๊กเป็นสื่ออีกช่องทางหนึ่งที่ยังคงได้
รับความนิยมของคนทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทย

มุมมองที่มีต่อภาษาที่ใช้สื่อสารในเฟซบุ๊ก
การสือ่ สารผ่านเฟซบุก๊ ส่วนใหญ่เป็นการสือ่ สารผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์
มือถือ โดยผู้ใช้ต่างไม่เห็นหน้ากัน ไม่ได้ยินเสียงซึ่งกันและกัน และต้องอาศัยการพิมพ์
เป็นหลัก ดังนั้นลักษณะการใช้ภาษาจึงแตกต่างจากภาษาพูดและภาษาเขียนทั่วไป กล่าวคือ
เนือ้ ความมีลกั ษณะเป็นภาษาพูดทีใ่ ช้สนทนากัน แต่ใช้วธิ สี อื่ สารโดยการพิมพ์ผา่ นคอมพิวเตอร์
หรือโทรศัพท์มือถือเป็นตัวเขียน จึงมีลักษณะของทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนผสมผสานกัน
ภาษาทีใ่ ช้บนสือ่ สังคมออนไลน์รวมถึงเฟซบุก๊ จึงเป็นสาเหตุให้ภาษาไทยเกิดการเปลีย่ นแปลง
ไปในทางไม่ดีหรือเรียกว่าภาษาวิบัติ สอดคล้องกับผลส�ำรวจความคิดเห็นของศูนย์วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) หัวข้อ “ภาษาไทยบนสังคมออนไลน์ของคนรุ่นใหม่”
พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.7 เห็นว่าการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันเข้าขั้นวิกฤติและ
ควรช่วยรณรงค์อย่างจริงจัง ส่วนผูท้ มี่ อี ทิ ธิพลต่อการใช้ภาษาไทยในปัจจุบนั มากทีส่ ดุ คือ ดารา
นักร้อง (ร้อยละ 36.0) รองลงมา คือ สือ่ มวลชนนักข่าว (ร้อยละ 33.3) และ ครู อาจารย์ (ร้อยละ
19.2) โดยร้อยละ 38.8 ให้เหตุผลที่มักนิยมใช้ภาษาไทยผิดเพี้ยนไปในสังคมออนไลน์ ว่าใช้
วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.)
150 ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2562

ตาม ๆ กันจะได้เกาะกระแส รองลงมาร้อยละ 32.4 ให้เหตุผลว่า สะกดง่าย สั้น และสื่อสาร


ได้เร็ว และร้อยละ 26.9 ให้เหตุผลว่าเป็นค�ำที่ใช้แล้วรู้สึกข�ำและคลายเครียดได้ (ส�ำนักงาน
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2557)

ปัจจัยทางสังคมด้านอายุต่อการใช้ภาษา
คูลมัส (Coulmas, 1997 อ้างถึงใน อนนท์ บ�ำรุงภักดี, 2557: 32) ได้แบ่งช่วง
อายุที่มีความสัมพันธ์กับภาษาเป็น 3 ช่วงอายุ ได้แก่ วัยเด็ก วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ โดย
กล่าวถึงภาษากับวัยรุ่นว่า ภาษาที่วัยรุ่นใช้จะนําพาการเปลี่ยนแปลงด้านเสียงมากที่สุด
ภาษาที่วัยรุ่นใช้มักขาดความเป็นมาตรฐานมากที่สุดในทั้งหมด 3 ช่วงอายุ เพราะวัยรุ่น
มีแนวความคิดที่ออกนอกกรอบมากที่สุด กล้าคิด กล้าพูด ดังนั้นภาษาที่วัยรุ่นใช้จึงมี
ความแข็งกระด้างและก้าวร้าวบ้างเป็นบางครั้ง
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2544) กล่าวถึงปัจจัยทางสังคมด้านอายุต่อการใช้ภาษาว่า
อาจเป็นสิง่ ทีบ่ ง่ บอกถึงความเป็นธรรมชาติอย่างแท้จริงของคนในแต่ละสังคม โดยอาจเป็นอีก
ปัจจัยหนึง่ ทีส่ ง่ ผลให้เกิดการใช้ภาษาทีแ่ ตกต่างกัน ภาษาของผูพ้ ดู ทีเ่ ป็นผูใ้ หญ่มคี วามแตกต่าง
จากภาษาวัยรุ่น ในท�ำนองเดียวกันภาษาวัยรุ่นก็ย่อมมีความแตกต่างจากภาษาเด็กเช่นกัน
จะเห็นได้ว่าอายุเป็นปัจจัยที่ท�ำให้ภาษามีการเปลี่ยนแปลง และวัยรุ่นเป็นวัยที่มี
การแปรและเปลี่ยนแปลงของภาษาอย่างเห็นได้ชัด ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่น่าสนใจว่าวัยรุ่น
มี ลั ก ษณะการใช้ ภ าษาอย่ า งไร เนื่ อ งจากวั ย รุ ่ น เป็ น วั ย ที่ ช อบความแปลกใหม่ ช่ า งคิ ด
ช่างจินตนาการ ต้องการสร้างเอกลักษณ์ของตนเอง และต้องการความแตกต่างจากคนอื่น ๆ
ซึง่ รวมถึงการใช้ภาษาด้วย เนือ่ งด้วยวัยรุน่ เป็นกลุม่ ทีม่ กี ารใช้เฟซบุก๊ กันอย่างกว้างขวาง ผูเ้ ขียน
จึงได้ส�ำรวจและสังเกตลักษณะการใช้ภาษาในเฟซบุ๊ก ในปี 2562 ของนักศึกษามหาวิทยาลัย
ราชภัฏเพชรบุรี ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วง 18-22 ปี และถือเป็นตัวแทนของกลุ่มวัยรุ่น พบว่าภาษา
ของวัยรุ่นมีความแตกต่างจากภาษาของคนกลุ่มอายุอื่น ๆ

ลักษณะการใช้ภาษาของวัยรุ่นในเฟซบุ๊ก
แนวคิ ด ทฤษฎี ที่ ใช้ วิ เ คราะห์ ภ าษาของวั ย รุ ่ น ในเฟซบุ ๊ ก ใช้ ห ลั ก เกณฑ์ ท างด้ า น
ภาษาศาสตร์ และภาษาไทยตามแนวคิดของนักวิชาการ ได้แก่ อมรา ประสิทธิร์ ฐั สินธ์ (2543)
กิติมา อินทรัมพรรย์ (2552) กิจมาโนชญ โรจนทรัพย์ (2545) และราชบัณฑิตยสถาน (2554)
ผลการวิเคราะห์สามารถจําแนกลักษณะของการใช้ภาษาในเฟซบุ๊กได้ 14 ประการดังต่อไปนี้
Journal of Humanities and Social Sciences Review (JHSSR)
Vol. 21 No.1 January - June 2019 151

1. ค�ำสแลง หมายถึง ค�ำทีใ่ ช้เฉพาะกลุม่ หรือชัว่ ระยะเวลาหนึง่ ไม่ใช้ในภาษาราชการ


หรือภาษามาตรฐาน โดยมีทั้งค�ำสแลงที่ท�ำหน้าที่เป็นค�ำนาม ค�ำกริยา ค�ำวิเศษณ์ ซึ่งค�ำสแลง
เหล่านี้มีที่มาจากลักษณะการแต่งตัว ลักษณะเด่นและลักษณะนิสัยของคน ในขณะที่บางค�ำ
ก็ไม่มีที่มาของค�ำ เช่น
“นางแอ๊บเก่ง”
“แอ๊บ” ในประโยคนีท้ ำ� หน้าทีเ่ ป็นค�ำกริยา มีความหมายว่าแอบ หรืออาการทีไ่ ม่แสดง
ให้เห็นภาพลักษณ์ที่แท้จริง
“มังกรรรรรรรรรรรรรรรรร แต่แกลบมากกกกกกกกกกกก อีดวกกกกกกกก”

ภาพที่ 1 การใช้ค�ำสแลงค�ำว่า “แกลบ”


“แกลบ” ความหมายตามพจนานุกรม หมายถึง เปลือกข้าวที่สีหรือต�ำแตกออกจาก
เมล็ดข้าว (ราชบัณฑิตยสถาน, 2554: 324) แต่ในที่นี้ผู้ใช้หมายถึง ยากจนมาก ไม่มีจะกิน
“พยายามถ่ายรูปท�ำหน้านิ่ง ๆ ไม่ยิ้มอยากให้ดูคูล ๆ เท่ ๆ แต่ภาพออกมาคือเหมือน
เด็กอ้วนยืนรอแม่เมื่อไหร่จะมารับนะ”
“เท่” ท�ำหน้าที่เป็นค�ำวิเศษณ์ หมายถึง โก้เก๋ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2554: 116)
“อ่อยอีกแล้วววว”
วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.)
152 ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2562

“อ่ อ ย” ตามพจนานุ ก รมหมายถึ ง โปรยเหยื่ อ ล่ อ ปลา มั ก ใช้ ว ่ า อ่ อ ยเหยื่ อ


(ราชบัณฑิตยสถาน, 2554: 81) ท�ำหน้าที่เป็นค�ำกริยา แต่เมื่อเป็นค�ำสแลงจะใช้ในเชิงชู้สาว
2. การใช้ค�ำในภาษาพูด
ภาษาพูด บางทีเรียกว่า ภาษาปาก หรือ ภาษาเฉพาะกลุ่ม เช่น ภาษากลุ่มวัยรุ่น
ภาษากลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ภาษาพูดไม่เคร่งครัดในหลักภาษาบางครั้งฟังแล้วไม่สุภาพมัก
ใช้พูดระหว่างผู้สนิทสนม
ภาษาเขียน มีลักษณะเคร่งครัดในหลักภาษา มีท้ังระดับเคร่งครัดมาก เรียกว่า
ภาษาแบบแผน
การใช้ภาษาในเฟซบุ๊กพบว่ามีการใช้ภาษาพูดแทนภาษาเขียนในลักษณะต่อไปนี้
2.1 การเลียนเสียงของเด็กที่พูดไม่ชัด เช่น
“จุดยอด” มาจากค�ำว่า สุดยอด
“เยิฟ ๆ” มาจากค�ำว่า เลิฟ ๆ
“แย้ว” มาจากค�ำว่า แล้ว
2.2 การเปลี่ยนเสียงของค�ำหรือไม่ออกเสียงในค�ำควบกล�้ำ และออกเสียงควบ
กล�้ำในค�ำที่ไม่ควบกล�้ำอย่างตั้งใจ เช่น
“ปีใหม่มหาวิทยาลัยปีนี้ เต้นแบบสนุกสนานเบา ๆ ก็ยังได้ Tips ไปอี๊ก อิอิ
ขอขอบคุณคร้า” ค�ำว่า คร้า มาจากค�ำว่า ค่ะ
“จร้าาา” มาจากค�ำว่า จ้า
2.3 การตัดค�ำ มีการตัดค�ำทั้งค�ำภาษาไทยและค�ำภาษาต่างประเทศ เช่น
“ปีใหม่นี้คอลข้ามปีจ้า
ค�ำว่า “คอล” เกิดจากการตัดค�ำว่า วิดีโอคอล (video call)
“จะจ�ำไว้ว่าปีใหม่จะไม่ไปเซนเวิร์ลแล้วจ้าเหนื่อยมากจ้า”
ค�ำว่า “เซนเวิร์ล” เกิดจากการตัดค�ำว่า เซ็นทรัลเวิลด์ (central world)
“ติ๊บไม่กี่ร้อย โกงไปเถอะจ้ะ ไม่ซี เดี๋ยวเอาคืน 2 เท่า จุก ๆ”
ค�ำว่า “ซี” เกิดจากการตัดค�ำว่า ซีเรียส (serious)
ตามหาเจ้าของเกงลิง ขื่อขาดขอบดุ้งใส่เสร็จแล้วมาโยนเรี่ยราดแถวนี้
ค�ำว่า “เกง” เกิดจากการตัดค�ำว่า กางเกง
2.4 การใช้ค�ำโดยเน้นเสียงภาษาพูด หรือลากเสียงยาว โดยเพิ่มพยัญชนะท้าย
Journal of Humanities and Social Sciences Review (JHSSR)
Vol. 21 No.1 January - June 2019 153

หรือสระตัวสุดท้ายเพื่อแสดงอารมณ์ ความรู้สึก เช่น


“อ่อยอีกแล้วววว”
“แฟนปายหนายยยย”
“วางไก่ทอดไว้หน้าบ้านน หมาก็เอาไปกินนนน#ไม่น่ารักเลยยยย”
“อยากผอมโว้ยยย”
2.5 การใช้ค�ำหรือส�ำนวนที่ติดปากของวัยรุ่น เช่น “เก่งสุด ๆ จ้า”
2.6 การเขียนตามการออกเสียงแต่เป็นการเขียนที่ไม่ถูกหลักการเขียน เช่น
“มันก็เงียบเนอะ เงียบจนไม่รู้จะยังไงเลย”
“วันหยุดจะหมดแล้วหรอ”
2.7 การเขียนสะกดค�ำให้ผิด หรือตัดค�ำ เปลี่ยนเสียงของค�ำ เปลี่ยนรูปค�ำบางค�ำ
เพื่อเลี่ยงค�ำหยาบ หรือค�ำที่ไม่สุภาพ เช่น
“ชิหายแล้ว”
ค�ำว่า “ชิหาย” มาจากค�ำว่า ฉิบหาย
“ ไว้พากุไปเที่ยวอีกนะ!”
ค�ำว่า “กุ” มาจากค�ำว่า กู
“มังกรรรรรรรรรรรร แต่แกลบมากกกกกกกกก อีดวกกกกกกกกกกกกก”
“อีดวกกกกกกกกกกกก” มาจากค�ำว่า อีดอก ซึ่งในกรณีนี้นอกจากจะเป็น
การเขียนสะกดค�ำให้ผิดเพื่อเลี่ยงค�ำหยาบแล้ว ยังใช้ลักษณะการลากเสียงเพื่อแสดงอารมณ์
ความรู้สึกร่วมด้วย
อีกลักษณะที่พบส�ำหรับการเลี่ยงค�ำไม่สุภาพหรือหยาบคาย คือ การตัด
พยัญชนะบางตัวออก เช่น
“ท�ำไมต้องมาเจอตัสเ-ี้ย ๆ โดน ๆ อะไรแบบนี้”
ค�ำว่า “เ-ี้ย” เป็นการตัดพยัญชนะ ห ออก
2.8 การเขียนโดยจงใจใช้คำ� หยาบคาย ลามก หรือค�ำไม่สภุ าพ เพือ่ แสดงความรูส้ กึ
และอารมณ์ขนั อารมณ์โกรธ ไม่พอใจ ประชดประชัน หรือเพือ่ แสดงความสนิทสนมของกลุม่
เพื่อน เช่น
“แดกไปเหอะ ผอมไปก็ไม่มีผัว”
“ค�ำว่า #เรื่องส่วนตัว คือไม่ต้องการให้มึงเสือกไง...”
วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.)
154 ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2562

“ถ้ามึงยังอยู่ตรงนี้...กูคงคุยกับมึงได้ทุกเรื่องสินะ...”
3. การใช้คำ� ภาษาอังกฤษ หมายถึง การน�ำค�ำภาษาอังกฤษมาใช้ปะปนอยูใ่ นประโยค
พบการใช้ค�ำภาษาอังกฤษ 2 ลักษณะ ดังนี้
3.1 การทับศัพท์ เช่น
“บุฟเฟ่ต์สี่วันติด #เนื้อก็จะแน่นแบบนี้แหละหนา” (buffet)
“โย่ว วอทซับ!” (what’s up)
“ดราม่าเก่งงง” (drama)
“พยายามถ่ายรูปท�ำหน้านิ่ง ๆ ไม่ยิ้มอยากให้ดูคูล ๆ เท่ ๆ แต่ภาพออกมา
คือเหมือนเด็กอ้วนยืนรอแม่เมื่อไหร่จะมารับนะ” (cool)
3.2 การพิมพ์ด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ เช่น
“กลับไปท�ำหน้าที่ต่อ...อีกไม่นานก็จะถึงฝั่งฝันแล้ว Go to เพชรบุรี”
4. การใช้ค�ำซ�้ำหมายถึง การกล่าวค�ำบางค�ำมากกว่า 1 ครั้ง ในบริบทเดียวกันเพื่อ
เน้นหรือย�้ำให้มีความหมายเด่นชัดขึ้น เช่น
“ท�ำงานหน่อย ยิก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ 555”
5. การใช้เครื่องหมายวรรคตอน ซึ่งมีทั้งการใช้เครื่องหมายวรรคตอนอย่างเดียว
เช่น เครื่องหมายมหัพภาค (.) เครื่องหมายปรัศนี (?) และการใช้เครื่องหมายแบบประสม เช่น
เครือ่ งหมาย -!! ซึง่ ใช้เพือ่ แสดงอารมณ์ความรูส้ กึ ต่าง ๆ ซึง่ บางครัง้ อาจไม่ถกู ต้องตามหลักของ
ภาษาไทย เช่น
“-!!อะไรที่ไม่แน่นอนอย่าไปหวัง -!!อะไรที่ไม่จริงก็อย่าไปรอ”
“แล้วคือบ่นอนบาดนิ ถ้าหยังบาดเนี้ย?”
“ผิดที่เราเอง.”
นอกจากนี้ ในปัจจุบันมีเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่
หลาย ใช้เพื่อจัดกลุ่มของเนื้อหาข้อความนั้น ๆ นั่นคือเครื่องหมาย # เรียกว่า Hashtag
(แฮชแทค) เช่น
“555 #เธอกับฉัน”
“ต่อให้เธอไม่ว่างคุยกับเรา เราก็จะรอคุยกับเธอคนเดียว #โปรดให้ความส�ำคัญ
กับเราบ้าง”
Journal of Humanities and Social Sciences Review (JHSSR)
Vol. 21 No.1 January - June 2019 155

6. การใช้ภาษาถิ่น เช่น
“..............คิดฮอด................” (ภาษาอีสาน)
ค�ำว่า “คิดฮอด” หมายความว่า คิดถึง
“วุยยยเฮดงานช้าส�่ำเต่า. กะอ.รัตนบุรี ช้าคัก” (ภาษาอีสาน)
ค�ำว่า “เฮด” หมายความว่า ท�ำ
ค�ำว่า “คัก” หมายความว่า สุด ที่สุด
7. การใช้ค�ำสรรพนามผิด เช่น
“นางน่าสงสารจริง ๆ”
ตามปกติคำ� ว่า “นาง” เป็นค�ำประกอบหน้าชือ่ เพือ่ แสดงว่าเป็นเพศหญิงทีแ่ ต่งงาน
แล้ว แต่ปจั จุบนั บ่อยครัง้ ในเฟซบุก๊ ใช้คำ� ว่า “นาง” เป็นค�ำสรรพนามบุรษุ ที่ 3 เรียกแทนบุคคล
ไม่ว่าจะเพศใดและแต่งงานหรือไม่
“หมอนี่คือใครกันนะ” (พร้อมกับโพสต์รูปผู้หญิง)
ค�ำว่า “หมอ” ถ้าใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 จะใช้กับผู้ชายเท่านั้น แต่ผู้ใช้เฟซบุ๊ก
รายนี้ใช้เพื่อแทนตัวเองซึ่งเป็นผู้หญิง
“เห็นผม ในมุมที่ผมร่าเริงก็พอ”
ค�ำว่า “ผม” เป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 ใช้แทนผู้ชายเท่านั้น แต่ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายนี้
ใช้เพื่อแทนตัวเองซึ่งเป็นผู้หญิง
8. การย่อค�ำหมายถึง ค�ำทีต่ ดั ส่วนใดส่วนหนึง่ ออกไปท�ำให้คำ� สัน้ ลง เช่น แอร์ มาจาก
แอร์โฮสเตส ในเฟซบุ๊กมักจะพบค�ำย่อ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เช่น
“HBD.นะอ้อม ขอให้มีความสุขมาก ๆ มีเงินมีทองใช้ ไม่ป่วยไม่ไข้” (Happy
Birthday)
“เดือนนีห้ มดไปกับค่าหนังสือก็ถงึ พันอยูน่ ะ #การเรียนคือการลงทุน เสียเงินแล้ว
ยังต้องมานั่งอ่านอีก OMG ชีวิต” (Oh My God)
“: อิกไม่กี่ ชม. ก็จะถึงวันเกิดแล้วววว” (ชั่วโมง)
9. การสะกดผิด ลักษณะภาษาในเฟซบุก๊ ทีพ่ บได้บอ่ ยคือการสะกดผิด ทัง้ ค�ำภาษาไทย
และค�ำภาษาต่างประเทศ สาเหตุทสี่ ะกดผิดมีทงั้ ทีต่ งั้ ใจสะกดผิด และความไม่ทราบจริง ๆ ของ
ผู้ใช้ โดยพบการสะกดผิดทั้งพยัญชนะต้น พยัญชนะท้าย สระ และวรรณยุกต์ เช่น
“โดนไฟเทอจะร้อน แต่ถ้าโดนเราอ้อนเทอจะรัก”
“ปีใหม่จะเป็นสาวหวาน น่ารัก ใจดี นะค๊า”
วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.)
156 ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2562

“ของใครหายสามารถติดต่อรับได้ทางอินบล็อกเฟซบุก๊ ครับ” (มาจากภาษาอังกฤษ


Inbox)
“พึ่งเข้าใจกับตัวเองก็วันนี้”
“พรุ่งนี้ก็วันสุดท้ายแล้ว ขอบคุณน้ะค้ะ 1 เทอมที่อยู่ด้วยกันมา”
“ขอบคุณที่ช่วยเหลือทุกอย่างค้า รักน่ะค้ะที่ปรึกษา”
“เมื้อยเนื้อเมื้อยตัว ปวดหัว เจ็บคอ ครบ”
“Run tooooooo.......”
ค�ำว่า “Run Through” หมายถึง การซ้อมใหญ่”
10. การใช้ค�ำผิดหน้าที่ เช่น
“เดินทางปลอดภัยทุกคนนะครับ เจอกัน 21 ม.ค. นะน้อง #ลืมอะไรก็แชทมา
เดี๋ยวเคอรี่ไปให้”
ค�ำว่า “เคอรี่” (Kerry) เป็นบริษัทจัดส่งพัสดุเอกชน เป็นค�ำวิสามานยนาม
แต่ผู้ใช้น�ำมาใช้เพื่อท�ำหน้าที่เป็นค�ำกริยา
11. การใช้ค�ำเลียนเสียงต่าง ๆ พบว่าการใช้การเลียนเสียงต่าง ๆ ในชีวิตประจ�ำวัน
เป็นลักษณะการใช้ภาษาอีกอย่างหนึง่ ทีพ่ บมาก โดยเฉพาะเสียงหัวเราะแบบต่าง ๆ นอกจากนี้
ยังมีเสียงอืน่ ๆ เช่น เสียงพลิกกระดาษ เสียงสัตว์ตา่ ง ๆ เสียงร้องไห้ เสียงถอนหายใจ เสียงกรีด๊
เป็นต้น เช่น
“โอ้ยย!! กูหมั่นเขี้ยวขอกัดหน่อย แง่มม ๆ ๆ”
“เผื่อมีลูกฮ่า ๆ ๆ ๆ”
“ใครก็ได้ มาเอาความขี้เกียจออกไปจากตัวกูที เง้ออออออออ”
“น่าสน ๆ 5555+”
“น่ารัก สนุก ขอบคุณที่มาช่วยสร้างสีสันให้งานของคณะนะคะ จุ๊บ ๆ ๆ”
“ต�ำป่าน่าซี้ดดดดดด”
12. การใช้ค�ำขัดกัน เป็นการน�ำค�ำที่มีความหมายตรงข้ามมาไว้ในประโยคหรือวลี
เดียวกัน (วรวรรธน์ ศรียาภัย, 2556: 189) เช่น “สงสาร...5555”
13. การใช้ประโยคค�ำถาม โดยไม่มีประธาน ไม่ได้ระบุว่าถามใคร หรือเป็นค�ำถามที่
ไม่ต้องการค�ำตอบ เช่น “เหงาได้ไหม” “เคยสนใจไหม....”
14. การเล่นเสียงคือ การเลือกสรรค�ำให้มีเสียงสัมผัสเป็นพิเศษกว่าปกติเพื่อให้เกิด
ท�ำนองเสียงที่ไพเราะน่าฟัง มีทั้งการเล่นเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ เช่น
“ไม่มีสตังค์ แต่มีสไตล์”
Journal of Humanities and Social Sciences Review (JHSSR)
Vol. 21 No.1 January - June 2019 157

ภาพที่ 2 ตัวอย่างการใช้ภาษาในเฟซบุ๊กลักษณะต่าง ๆ

จากลักษณะการใช้ภาษาในเฟซบุก๊ ดังทีก่ ล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้วา่ การใช้ภาษาไทยใน


ปัจจุบนั เปลีย่ นแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้ในเฟซบุก๊ รวมถึงสือ่ ออนไลน์
ต่าง ๆ ที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่มักตัดค�ำให้สั้นลง เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการพิมพ์ การสะกดทั้งที่
ตั้งใจและไม่ตั้งใจ การใช้ภาษาไทยปนภาษาอังกฤษ นอกจากนี้การเพิ่มอรรถรสและชีวิตชีวา
ให้กบั ค�ำศัพท์ โดยการเติมสระและวรรณยุกต์เข้าไปก็มกี ารใช้กนั อย่างแพร่หลาย อีกทัง้ การคิด
ค�ำศัพท์เฉพาะกลุม่ เพือ่ ใช้สอื่ สารระหว่างกันแบบไม่เป็นทางการก็ได้รบั ความนิยมเพิม่ มากขึน้
ด้วยเหตุนี้นักวิชาการบางท่าน หรือคนส่วนใหญ่จึงมองว่าการใช้ภาษาลักษณะไม่ถูกต้อง
ตามหลักภาษาไทย เป็นสาเหตุท�ำให้ภาษาไทยวิบัติ
วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.)
158 ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2562

มุมมองของนักภาษาศาสตร์ อาทิ อมรา ประสิทธิร์ ฐั สินธุ์ (2555: 150) กล่าวว่า ภาษา


เป็นพาหนะและเครื่องมือของสังคมในการเผยแพร่ความรู้สู่มวลชน การพัฒนาสังคมจะท�ำ
ไม่ได้ถา้ ไม่มภี าษา การทีภ่ าษาไทยปรับเปลีย่ นจนมีความหลากหลายเช่นทุกวันนีเ้ ป็นประโยชน์
อย่างใหญ่หลวงต่อสังคมไทย เพราะสังคมไทยใช้ภาษาทุกรูปแบบในการคงอยู่และพัฒนา
การเขียนข่าว นวนิยาย บทความวิชาการ ตลอดจนคูม่ อื ในการปฏิบตั ติ า่ ง ๆ ล้วนต้องใช้ภาษา
ทัง้ สิน้ ภาษาจึงเป็นสิง่ ทีม่ คี า่ ทีส่ ดุ ในสังคม การทีส่ งั คมไทยมีภาษาไทยมาตรฐานทีพ่ ฒ
ั นามาเป็น
เวลาช้านาน จนมีรูปแบบสมัยใหม่ และใช้เป็นเครื่องมือการด�ำรงอยู่ของสังคมไทยมาจน
ทุกวันนี้ เป็นสิง่ ทีน่ า่ จะท�ำให้คนไทยตระหนักถึงความส�ำคัญของภาษาไทย และควรท�ำนุบำ� รุง
ภาษาไทยโดยการสร้างหรืออธิบายหลักเกณฑ์ที่ยังขาดอยู่ของภาษาไทย และเผยแพร่ให้
คนไทยได้เรียนรู้และเข้าใจภาษาไทยดีข้ึน และในขณะเดียวกัน ก็ควรส่งเสริมให้ภาษาไทย
เติบโตต่อไปให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของสังคมไทยปัจจุบันและของโลกด้วย
สอดคล้องกับรื่นฤทัย สัจจพันธุ์ (2549: 22) ที่กล่าวถึงการใช้ภาษาในอินเทอร์เน็ตว่า ภาษา
ในอินเทอร์เน็ตเป็นภาษาที่สะท้อนความต้องการเป็นตัวของตัวเอง มีเสรีภาพ เป็นขบถต่อ
กฎเกณฑ์ ซึ่งสะท้อนลักษณะของวัยรุ่นนั่นเอง ภาษาเน็ตจึงส่องสะท้อนให้เห็นสังคมไทย
ในยุคโลกไร้พรมแดนอย่างแท้จริง

บทสรุป
การใช้ภาษาในเฟซบุ๊กของกลุ่มวัยรุ่นเป็นภาพสะท้อนที่ท�ำให้เห็นว่าภาษามีการ
เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยซึ่งถือเป็นธรรมชาติของภาษาทุกภาษาทั่วโลก การเปลี่ยนแปลง
นี้จะไม่ใช่เรื่องเสียหายตราบใดที่การเปลี่ยนแปลงไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและหลัก
ภาษาไทย และผู้ใช้ภาษาไทยโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นสามารถใช้ภาษาให้เหมาะสมกับระดับ
บุคคล กาลเทศะ โอกาสและสถานการณ์ รวมทั้งไม่ส่งผลท�ำให้การสื่อสารขาดประสิทธิภาพ
Journal of Humanities and Social Sciences Review (JHSSR)
Vol. 21 No.1 January - June 2019 159

เอกสารอ้างอิง
กานติภา วรพงศ์. (2548). การใช้ภาษาในเว็บบอร์ดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.
กิจมาโนชญ โรจนทรัพย. (2545). เรียนภาษาไทยงาย ๆ สไตลครูลิลลี่ (พิมพ์ครั้งที่ 16).
กรุงเทพฯ: สุดสัปดาหส�ำนักพิมพ.
กิติมา อินทรัมพรรย์. (2552). วิทยาหน่วยค�ำ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ก�ำชัย ทองหล่อ.(2543). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
ชัชวดี ศรลัมพ์. (2544). การใช้ภาษาใน “ห้องสนทนา”.
วารสารศิลปศาสตร์, 1(1): 77-92.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ:
ผู้แต่ง.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2549). ภาษาส่องสังคม วรรณคดีส่องชีวิต. กรุงเทพฯ: ณ เพชร.
วรวรรธน์ ศรียาภัย. (2556). ภาษาศาสตร์ภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สัมปชัญญะ.
สิริชัย วงษ์สาธิตศาสตร์. (2549). สื่อออนไลน์ ช่องทางใหม่ในการรายงานข่าวของสื่อมวลชน
ไทย. วารสารรามค�ำแหง, 23(1): 43-69.
ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2557). ภาษาไทยยุคใหม่ รูใ้ ช้ให้ถกู ต้อง.
สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2561, จาก www.thaihealth.or.th/Content/25190-.
html.
อนนท์ บ�ำรุงภักดี. (2557). การศึกษาค�ำไม่มาตรฐานในเฟซบุ๊ก. วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่มที่ 4: วัฒนธรรมการใช้ภาษา
ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). ภาษาในสังคมไทย: ความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลง
และการพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2544). ภาษาศาสตร์สังคม (พิมพค์รั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Shut Waroonkupt. (2561). กทม.ยังแชมป์ใช้ Facebook ปี 2018. สืบค้นเมื่อ 20
ธันวาคม 2561, จาก https://ahead.asia/2018/04/23/%E0%B8%B4
bangkok-most-fb-user-city-2018.

You might also like