You are on page 1of 28

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน 3 บท

เรื่อง
การพัฒนาทักษะการอ่านโดยใชนิทาน
DEVELOPMENT OF READING SKILLS BY USING STORY

นางสาวภัทรินา กาโบะ
(การสอนภาษามลายู)

รายงานวิจัยชั้นเรียนฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการปฏิบัติการสอนใน
สถานศึกษา1
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
ปีการศึกษา 2564
ชื่อเรื่องวิจัย : การพัฒนาทักษะการอ่านโดยใช้นิทาน
ผู้วิจัย : นางสาวภัทรินา กาโบะ
สาขาวิชา : การสอนภาษามลายู
ปีทศี่ ึกษา : ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
ครูพี่เลี้ยง : นางฮะห์สนะ เจะโยะ
อาจารย์นิเทศก์ : ดร.ซูไรยา จะปะกียา

บทที่1
บทนำ
1.1ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาวิจัย
ภาษาในโลกนี้นับ ว่ามีความสำคัญกับมนุษย์และมนุษย์นำมาใช้อย่างแพร่ห ลายมากมายทั่วไป
ภาษาหนึ่งคือ ภาษามลายู ซึ่งเป็นภาษาที่สำคัญในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรใช้
ภาษามลายู ป ระมาณ300 ล้ านคนมี ส ถานภาพเป็ น ภาษาประจำชาติข องประเทศต่ างๆในประชาคม
อาเซียน ได้ แก่ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน อีกทั้งยังเป็นอีกหนึ่งจากบรรดาภาษาทางการใน
ประเทศสิงค์โปร นอกจากนี้ภาษามลายูยังนับว่าเป็นภาษาราชการในอีกหลายประเทศ อาทิ ภาคใต้ ของ
ประเทศไทย ฟิลิป ปิน ส์ กัมพูชา แอฟริ กาใต้และติมอร์ตะวันออกอีกด้วย(อัตถากร หะยีอ , 2554) การ
รวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนทำให้สังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการติดต่อสื่อสารและ
แข่งขันกันในการดำเนินการทางธุรกิจมากขึ้น ทำให้ภาษาที่สามารถใช้สื่อสารบทบาทและความสำคัญมาก
ขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษามลายูซึ่งมีประชาชนของไทยที่อาศัยอยู่ในสามจังหวัดชายแดนใต้ใช้กันเป็น
จำนวนมากอยู่แล้วสามารถใช้สื่อสารกับประเทศในอาเซียนที่ใช้ ภาษาดังกล่าวได้เลย
ปัจจุบันชาวมลายูมีตัวอักษรสำหรับใช้ในการเขียนและจดบันทึก 2รูปแบบคือ อักษรญาวี และ
อักษรรูมี สำหรับสามจังหวัดชายแดนใต้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถใช้ภาษามลายูเป็นภาษาในการพูด
สื่อสารได้ แต่ยังขาดทักษะด้านการเขียนและการอ่านซึ่งหลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตร แกนกลางขั้น
พื้นฐาน2551พ.ศ ได้กำหนดให้สาระภาษามลายูเป็นสาระสำคัญที่ผู้เรียนอิสลามศึกษาต้องเรียนเพราะใช้
เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เกี่ยวกับศาสนาอิสลามโดยสาระภาษามลายูมาตรฐาน1 ได้กําหนดมาตรฐาน
ของผู้เรียนไว้ว่า เข้าใจพึงรู้และกระบวนการฟัง พูด อ่าน และเขียน มีทักษะและ เห็ นคุณ ค่าในการใช้
ภาษามลายู เพื่ อ การเรี ย นรู้ ศึ กษาค้น คว้ าจากแหล่ งวิท ยาการเกี่ ย วกั บ อิส ลามและการสื่ อ สารอย่ าง

1
2

สร้างสรรค์ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553)จะเห็นว่าหลักสูต รดังกล่าวให้ ความสําคัญกับการส่งเสริมให้


นักเรียนรักการอ่านและการเขียน
จากประสบการณ์การสอนนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6/3ในรายวิชาภาษามลายูของผู้วิจัย พบว่า
นักเรียนส่วนมากยังขาดทักษะการอ่านและการเขียนภาษามลายูอย่างมาก สาเหตุที่เกิดขึ้นมาจากการ
เรี ย นการสอนโดยใช้ รู ป แบบการอ่ า นสะกดคำต่ อ คำและการเรี ย นการสอนแบบผิ ด วิ ธี แ ละด้ ว ยกั บ
สถานการณ์ปัจจุบัน โควิท19 ทำไห้การเรียนการสอนจะต้องมีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนไห้เข้ากับ
สถานการณ์ปัจจุบันและอีกปัญหาที่ผู้วิจัยเจอคือ เด็กนักเรียนมีเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ทั่วถึงมีแค่ส่วน
น้อยเท่านั้นที่สามารถใช้อิเล็กทรอนิกส์ โดยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงนำทฤษฎีการสร้างความรู้มาพั ฒนาทักษะการ
อ่านและการเขียน
อย่างไรก็ตามการสอนโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ จะเกิดผลดีได้หากผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำ
ด้วยตนเองมากกว่า การรับการถ่ายทอดความรู้จากผู้อื่น โดยการมอบหมายงานที่ท้าทายความสามารถ
ของผู้เรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ค้นคว้า และความเข้าใจด้วยตัวของผู้เรียนเอง
จะเห็นได้ว่าทฤษฎีการสร้างความรู้เป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการ
สร้างความรู้ความ เข้าใจจากประสบการณ์ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปล
ความหมายเหตุการณ์และ สิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรี ยนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล หลักการจัดการ
เรียนการสอนตามทฤษฎีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้ เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจาก
การถ่ายทอดให้ ผู้ เรียนได้รับ สาระความรู้ที่ แน่นอน ตายตัว ไปสู่ การสาธิตกระบวนการแปลและสร้าง
ความหมายที่หลากหลาย ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ และจะต้องสร้าง
ความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง
ดังนั้น ผู้วิจัยจำเป็นต้องหาวิธีการเรียนรู้ที่มีความเหมาะสม ความสามารถไปใช้ในการพัฒนา ด้าน
การเรียนรู้คำศัพท์ภาษามลายูของนักเรียน และพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้เ กิดขึ้น
ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุม ตนเองในการเรียนรู้ และ
ผู้วิจัยคอยให้ความร่วมมือ อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนนั้นประสบ
ผลสัมฤทธิ์ตามต้องการ จึงเกิดเป็นแนวทางการนำทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตัวเองมาช่วยในการเรียนรู้คำศัพท์
ของเพื่องผู้เรียนให้ผู้เรียนได้เข้าใจ

1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.2.1 เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษามลายู(รูมี)โดยใช้ นิทานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี
ที6่ /3โรงเรียนบ้านลากอ จังหวัดยะลา
3

1.3 สมมุติฐานของการวิจัย
1.3.1 มีการพัฒนาทักษะการเรียนภาษามลายู(รูมี)ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียน
บ้านลากอ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ที่เรียนโดยใช้นิทานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
1.3.2 ผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษามลายู(รูมี)นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนบ้านลากอ
จังหวัดยะลา ที่เรียนโดยใช้ทฤษฎีนิทานหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน

1.4 ขอบเขตของการวิจัย
ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการใช้ นิทานเพื่อพัฒนาทักษะการเขียน ภาษา มลายู(รูมี) และได้
กำหนดขอบเขตการวิจัยไว้ดังนี้
1.4.1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3ของโรงเรียนบ้านลากอ
จังหวัดยะลา ประจำปีการศึกษา2564จำนวนทั้งหมด24 คน
1.4.2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึก ษาปีที่6/3ของโรงเรียนบ้านลากอ จังหวัดยะลา
ประจำปีการศึกษา2564 จำนวนทั้งหมด 10 คน ชาย 5 คน หญิง 5 คน
1.4.3 ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง
ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง คือ ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา2564 จำนวน 3 ครั้ง ครั้งละ2ชั่วโมง รวม 6
ชั่วโมง ซึ่งรวมเวลาทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
1.4.4 ตัวแปรวิจัย
ตัวแปรต้น คือ นิทาน
ตัวแปรตาม คือการพัฒนาทักษะการเขียนภาษามลายู(รูมี)ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3
โรงเรียนบ้านลากอ

1.5 นิยามศัพท์
1.5.1ภาษามลายูห มายถึงภาษาที่ ใช่ในการสอนวิชาภาษามลายูให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี
ที6่ /3 โรงเรียนบ้านลากอ
1.5.2อักษรรูมี(tulisan rumi) คืออักษรโรมันที่ใช้ เขียนในภาษามลายูในรายวิชาภาษามลายูชั้น
ประถมศึกษาปีท6ี่ /3 โรงเรียนบ้านลากอ
4

1.5.3นิ ท าน หมายถึ ง นวั ต กรรมที่ จ ะใช้ ในการพั ฒ นาทั ก ษะการอ่ า นของเด็ ก นั ก เรี ย นชั้ น
ประถมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนบ้านลากอ

1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.6.1 ด้านผู้เรียน
1.6.1.1 เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการอ่านออกเสียงและการเขียนภาษามลายู(รูมี)ได้ถูกต้องและ
สามารถสะกดคำศัพท์ได้ด้วยตนเอง
1.6.1.2 เพื่อให้ทราบถึงผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษา มลายูรูมีโดยใช้
นิทานก่อนและหลังรูปทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเอง
1.6.2 ด้านผู้สอน
1.6.2.1 สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้
1.6.2.2 นำไปใช้ในหลักสูตรสถานศึกษาได้
บทที่2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาผลของการใช้นิทานในการอ่านออกเสียงของนักเรียนโรงเรียนบ้านลากอ อำเภอยะหา
จังหวัดยะลา ผู้ วิจั ย ได้ท ำการศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องโดยนำเสนอผลการศึกษา
ตามลำดับต่อไปนี้
1.หลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551
2.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับบการอ่าน
2.1. ความหมายของการอ่าน
2.2. ความสําคัญของการอ่าน
2.3. จุดมุ่งหมายของการอ่าน
2.4. ประเภทของการอ่าน
2.5. การสอนอ่าน
2.6. ทฤษฎีการอ่าน
3.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาที่ควรคํานึงในการสอนอ่าน
4.เอกสารที่เกี่ยวข้องการใช้นิทาน
4.1 ความหมายของนิทาน
4.2 ลักษณะของนิทาน
4.3 จุดประสงค์ของนิทาน
4.4 ประเภทของนิทาน
4.5 หลักการเขียนนิทานสําหรับเด็ก
4.6 ประโยชน์ของนิทานที่มีต่อการเรียนการสอน
5.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน2551พุทธศักราชได้ยึด วิสัย
ทัศนของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551พุทธศักราชมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่ง เป็นกำลัง
ของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้คุณธรรมวามเป็น มีจิตสำนึก พลเมืองไทยและ
เป็ น พลโลก ยึ ดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข มี
ความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จ ำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอา และการศึกษาตลอด
ชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่ าทุกคนสามารถเรียนรู้และ พัฒนาตนเองได้เติม

5
6

เต็มศักยภาพนอกจากนี้ หลักสูตรอิส ลามศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศัก


2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็ นคนที่มีศรัทธามั่น มีความจงรักภักดีตออัลลอฮฺ สุบหานะฮุ บุคลิกภาพตาม
แบบอย่างนบีมุฮัมมัด อฮุอะลัยฮิวะสัลลัมศ็อลลัลล มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ คุณธรรมมีจิตสำนึกใน
ความเป็นพลเมืองไทยและพลโลกที่ดี เพื่อพัฒนาตนเอง ครอบครัว และสังค ก่อให้เกิดสันติสุขทั้งในโลกนี้
และโลกหนา(กระทรวงศึกษาธิการ,2553:32-34)
สมรรถนะของผู้เรียน
หลักสูตรมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิด
สมรรถนะสำคัญ5 ประการ ดังนี้
1.ความสามารถในการสื่อสารเป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ ภาษา
ถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกและทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารและ
ประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรอง เพื่อขจัดและ
ลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหต ความถูกต้อง ตลอดจนการ
เลือกใช้วิธีการสื่อระสารที่มีปิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเอง และสังคม
2.ความสามารถในการคิด เป็น ความสามารถในการวิเคราะห์ การคิดสั งเคราะห์ การคิดอย่าง
สร้างสรรค์การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ สารสนเทศ
เพือ่ การตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
3.ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่ เผชิญ
ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศเข้าใจ ความสัมพันธ์
และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ ในสั งคมแสวงหาความรู้ประยุกต์ความรู้มาใช้ ในการป้องกัน
และแก้ไขปั ญ หา และมีการตัดสิ น ใจที่มี ประสิ ทธิภ าพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิด ตนเอง สั งคมและ
สิ่งแวดล้อม
4.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในำกระบวนการต่างๆารน ไปใช้ใน การ
ดำเนิ น ชี วิ ต ประจำวั น การเรี ย นรู้ ด้ ว ยตนเอง อย่ า งต่ อ เนื่ อ งการเรี ย นรู้ การทำงาน ด้ ว ยการสร้ า ง
ความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุ คคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆอย่างเหมาะสมการปรับ ให้ทัน
กับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่ประสงค์ที่ส่งผล
กระทบต่อตนเองและผู้อื่น
7

5.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ
และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยีเพื่อการพัฒ นาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้การ สื่อสาร
ทำงานการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ถูกต้องเหมาะสมและมีคุณธรรมนอกจากนี้หลักสูตรอิสลามศึกษา
กำหนดสมรรถนะเพิ่มเติม คือ ความสามารถในการอ่านอัล -กุรฺอาน เป็นความสามารถของผู้เรียนในการ
อ่าน-กุรฺอานตามหลักการอันเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ ศาสนาอิสลาม เพื่อการพัฒนาตนเองด้านการ
ยึดคุณธรรมจริยธรรมอิสลาม และการอยร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างเหมาะสม และสันติสุข

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
หลักสูตรอิสลามศึกษา มุ่งพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ดังนี้ คือ
1.รักการอ่านอัล-กรุอาน
2.รักการละหมาด
3.รักความสะอาด
4.มีมารยาทแบบอิสลาม
5.มีความรับผิดชอบ

สาระการเรียนรู้
มาตรฐาน ย 1 รู้เข้าใจกระบวนการฟัง พูด อ่าน และเขียน มีทักษะและเห็นคุณค่าในการใช้ภาษา
มลายู เพื่ อ การเรี ย นรู ศึ ก ษาค้ น คว้ าจากแหล่ งวิท ยาการเกี่ ย วกั บ ศาสนาอิ ส ลามและการสื่ อ สารอย่า ง
สร้างสรรค์
2.1การอ่าน
2.2การอ่านถือเป็นเครื่องมือสําคัญในการเรียนรู้ของนักเรียน และคุณภาพการอ่าน นักเรียนย่อม
ส่งผลกระทบถึงคุณภาพของการจัดการศึกษานักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมาย ของการ
อ่านไว้ดังนี้

2.1 ความหมายของการอ่าน
การอ่านถือเป็นเครื่องมือสําคัญในการเรียนรู้ของนักเรียนและคุณภาพการอ่านของนัก เรียนย่อม
ส่งผลกระทบถึงคุณภาพของการจัดการศึกษานักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของการอ่าน ไว้ดังนี้
8

วรรณีโสม ประยูร(2537, หน้า121) กล่าวว่า การอ่านเป็นกระบวนการทางสมองที่ต้องการใช้


สายตาสัมผัสตัวอักษรหรือสิ่งสิ่งพิมพ์อื่นๆเข้าใจความหมายของคำหรือสัญลักษณ์รับรู้และแปลออกมาเป็น
ความหมายที่ใช้สื่อความคิดและความรู้ระหว่างผู้เขียนกับผู้อ่านให้เข้าใจตรงกันและผู้อ่ านสามารถนำเอา
ความหมายนั้นๆไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

บันลือ พฤกษะวัน (253, หน้า2) ได้ให้ความหมายของการอ่านไว้ว่า


1.การอ่านเป็นการเปล่งเสียงออกมาเป็นคําพูดโดยการผสมผสานเสียงเพื่อใช้ในการ ออกเสียงให้
ตรงกับคําพูด
2.การอ่านเป็นการใช้ความสามารถในผสมผสานของตัวอั กษร ออกเสียงเป็นคําหรือเป็น ประโยค
ทําให้เข้าใจความหมายในการสื่อสารโดยการอ่าน
3.การอ่าน เป็นการสื่อความหมายที่ถ่ายโยงความคิด ความรู้ จากผู้เขียนถือผู้อ่าน
4.การอ่านเป็น การพัฒ นาความคิด โดยที่ผู้ อ่านต้องใช้ความสามารถหลายๆ ด้าน เช่น ใช้การ
สังเกต จํารูปคํา
นพดล จัน ทร์เพ็ญ (2539 , หน้า73 ) กล่ าวว่าการอ่าน เป็นกระบวนการแปลความหมายของ
ตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ออกมาเป็นถ้อยคําหรือความคิดของตนเองแล้วผู้อ่านก็นําความคิด ความ เข้าใจที่
ได้จากการอ่านนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์
เตือนใจ กรุยกระโทก(2543, หน้า15) กล่าวว่าการอ่ านเป็นกระบวนการแปลความหมายของ
ตัวอักษร เป็นความคิดโดยอาศัยประสบการณ์เดิม แล้วนําความคิดไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ต่อไป
จากความหมายของการอ่านดังกล่าว สรุปได้ว่าการอ่านเป็นกระบวนการคิดที่ผู้อ่านเกิด ความ
เข้าใจและถ่ายทอดออกมาเป็นถ้อยคําที่มีความหมายสื่อให้ตรงกันระหว่าผู้อ่านและผู้เขียน เป็นการแปล
ความหมายจากสัญลักษณ์หรือการเปล่งเสียงออกมาเป็นคําพูดให้ตรงกับตัวอักษรรือตัวอักษรที่อ่านเข้าใจ
ความหมายของคําแล้วเข้าตรงกับ ที่ผู้เขียนต้องการโดยอาศัยประสบการณ์ เดิมที่มีอยู่มาเชื่อมโยงกับ
ความรู้ ใหม่จนเกิดความเข้าใจในเรื่องนั้น

2.2 ความสำคัญของการอ่าน
การอ่านเป็นทักษะที่มีความสําคัญยิ่ง เพราะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหา ความรู้ ใน
ทักษะ วิชา ด้านอื่น ๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และนํามาใช้ในการดําเนินชีวิตต่อไป มีนัก ศึกษาได้กล่าวถึง
ความสําคัญของการอ่านไว้ ดังนี้
9

ชุ ติ ม าสั จ จานั น ท์ (2525,หน้ า 815)อธิ บ ายว่ า การอ่ า นทํ า ให้ เกิ ด การพั ฒ นาไม่ ว่ า จะเป็ น ด้ า น
สติปัญญาความรู้ความสามารถประสบการณ์พฤติกรรมและด้านการดําเนินชีวิตศีลธรรมจริยธรรม ค่านิยม
การอ่านช่วยปรับปรุงชีวิตให้สดใสสมบูรณ์ การอ่าน หมายถึงการมีชีวต อยู่( Reading is Living) เพราะ
ตราบที่โลกไม่ห ยุดหมุนวิทยาการต่างๆ จะเจริญอย่างมาก มีการค้นคว้าค้นพบทฤษฎีความรู้ใหม่ๆ ได้
เรียนรู้โดยไม่สิ้นสุดความสำเร็จของการศึกษา มักจะเจอผลมาจากความสามารถในการอ่านขอบเขตและ
ลักษณะของการอ่านอีกด้วย นอกจากนี้การอ่านยังทำให้ เกิดความสนุกสนานสร้างจินตนาการ ขยาย
ขอบเขตของชีวิตและเนื่องจากคน คือประชากรของประเทศชาติการอ่านจึงเป็นปัจจัยในการพัฒนาสังคม
วัฒนธรรมและเศรษฐกิจของประเทศด้วย
ระวิ ว รรณ ศรี ค ร้ า มครั น (2527,หน้ า 1)กล่ า วว่ า ความเจริ ญ ของการอ่ า นอยู่ ที่ ว่ า ผู้ อ่ า นมี
ความสามารถในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ หรือไม่
1.สามารถเข้าใจในสิ่งที่อ่านไปแล้วมากน้อยแค่ไหน
2.สามารถจับใจความสําคัญได้หรือไม่
3.สามารถที่จะเปรียบเทียบหรือแยกความแตกต่างได้ว่าในบทความหรือสิ่งที่อ่านไปแล้วนั้นส่วน
ไหนที่เป็นความจริงเป็นเนื้อเรื่องที่สําคัญ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนหรื คิดเห็นโดยทั่วไป
4.สามารถที่จะเข้าใจและปฏิบัติตามที่อ่านมาได้อย่างถูกต้อง
ประเทิน มหาขันธ์(2530, หน้า161) ได้กล่าวถึงความสําคัญของการอ่านไว้ดังนี้
1.ช่วยให้ได้รับความรู้ หรือสนองในสิ่งที่อยากรู้
2.ช่วยให้พัฒนาตนเองทั้งงร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยนําความรู้ จากการอ่านมา
ปรับปรุงพัฒนาชีวิตของตนเองให้ดีขึ้น
3.ช่วยปรับปรุงสถานภาพของตนเองให้ดีขึ้นพัฒนาอาชีพของตนเองให้ก้าวหน้าจากการอ่าน
4.ช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน ช่วยผ่อนคลาย
5.ช่วยให้ชีวิตปลอดภัยและพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าเพราะถ้าประชาชนอ่านหนังสือได้ ปฏิบัติ
ตามกฎหมายได้ถูกต้อง เกิดความสงบในบ้านเมือง
สุ ธี พ ร ปาคะดี ( 2531, หน้ า 20) ได้ ส รุ ป ว่ า การอ่ า นมี ค วามจำเป็ น ต่ อ ชี วิ ต มนุ ษ ย์ ใ นการ
ติดต่อสื่อสารทำความเข้าใจและแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ดังนั้นการสอนอ่านอ่านจึง
เป็น ทักษะที่สำคัญที่ครูผู้สอนจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและสามารถนำไปใช้
ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
วรรณี โสมประยูร(2537, หน้า121-122) ให้ความสําคัญของการอ่านไว้ ดังนี้
1.การอ่านเป็นเครื่องมือที่สําคัญยิ่งในการศึกษาเล่าเรียนทุกระดับ
10

2.ในชีวิตประจําวันต้องอาศัยการอ่านติดต่อสื่อสารเพื่อทําความเข้าใจกับบุคคลอื่น
3.การอ่านช่วยให้บุคคลสามารถนําความรู้และประสบการณ์จากสิ่งที่อ่านไปปรับปรุงพัฒนา
อาชีพหรือธุรกิจการงาน
4.การอ่านสามารถสนองความต้องการพื้นฐานของบุคคลในด้านต่างๆ
5.ช่วยเสริมให้บุคคลได้ขยายความรู้ และประสบการณ์เพิ่มขึ้อย่างลึกซึ้ง และกว้างขวาง
7.การอ่านหนังสือและหนังสือพิมพ์หลายชนิด เป็นกิจกรรมนันทานาการที่น่าสนใจมากการอ่าน
เรื่องราวในอดีตช่วยให้คนรุ่นหลังรู้จักอนุรักษ์มรดกดกทางวัฒนธรรมของไทย
บันลือ พฤกษะวัน(2538 , หน้า10-11) กล่าวถึงความสําคัญของการอ่านไว้ว่า
1.การอ่านเป็นเครื่องมือสําคัญในการเรียนรู้
2.นักเรียนที่อ่านเป็นย่อมได้รับการยอมรับสามารถอยู่ร่วมกับบุคคลในสังคมได้อย่างมั่นใจ
3.การอ่านได้อ่านเป็ เป็น นสิ่งที่ส่งเสริมให้ นักเรียนสามารถค้ นคว้าหาความรู้ เพิ่มเติมได้ อย่าง
กว้างขวาง
4.การอ่านเป็นเครื่องมือสําคัญในการประกอบอาชีพของผู้เรียนในอนาคต
5.การอ่านมีความจําเป็นต่อการเป็นพลเมืองดีในการรับรู้ ข่าวสาร เหตุการณ์บ้านเมือง
6.การอ่านเป็นเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์ตัดสินใจในการเลื อกตัวแทนในด้านการเมืองการ
ปกครอง
7.การอ่านนับเป็นกิจกรรมสําคัญในการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ได้รับความสนใจ เพลิดเพลิน
และพัฒนาด้านจิตใจอีกด้วย
8.การอ่านช่วยให้ผู้เรียนทราบและสามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม
พัฒนาตนเองและอาชีพของตนได้
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์ (2543,หน้า1) กล่าวว่า การอ่านเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการแสวงหา
ความรู้และการใช้วิธีอ่านที่ถูกต้อง จึ งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ อ่านทุกคน จากความสำคัญ ของการอ่าน
ดังกล่าวสรุปได้ว่า การอ่านมีความสำคัญต่อการเรียนรู้และจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินชี วิตของมนุษย์ใน
สังคมปัจจุบัน เพราะเป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็น ใช้เป็นเครื่องในการเรียนศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในด้าน
อื่นๆต่อไป และสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ การดำเนินชีวิตให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

2.3 จุดมุ่งหมายของการอ่าน
การสอนของแต่ละบุคคลแต่ละวัยและแต่ละอาชีพย่อมจะมีจุดมุ่งหมายในการอ่านที่แตกต่างกัน
ออกไป ซึ่งมีนักการศึกษาได้เสนอแนะจุดมุ่งหมายในการอ่านไว้หลายประการ ดังนี้
11

เสาวลักษณ์ รัตนวิชชฺ(2533, หน้า 21) กล่าวไว้ว่า การอ่านโดยทั่วๆไปมีจุดมุ่งหมายหลัก 3 ประการ คือ


1.อ่านเพื่อบันเทิง
2.อ่านเพื่อรู้ และเข้าใจวิธีกระบวนการ(เพื่อทําเป็น)
3.อ่านเพื่อศึกษาค้นคว้า(เพื่อคิดเป็น)
วรรณี โสมประยูร(2537, หน้า127-128) ได้สรุปจากประสบการณ์ที่ได้ทดลองปฏิบัติและ ทดลอง
สอนมาแล้ว ซึ่งจุดมุ่งหมายที่ได้ตัไว้มีดังนี้
1.อ่านเพื่อค้นหาความรู้ เพิ่มเติม เช่นอ่านตํารา อ่านบทความ อ่านสารคดี
2.อ่านเพื่อความบันเทิง เช่น อ่านนวนิยาย อ่านการ์ตูน อ่านวรรณคดี
3.อ่านเพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น อ่านหนังสือประเภทชวนหัวต่างๆ
4.อ่านเพื่อหารายละเอียดของเรืเช่นองอ่านสารคดี อ่านประวัติศาสตร์
5.อ่านเพื่อวิเคราะห์วิจารณ์จากข้อมูลที่ได้ เช่น การอ่านข่าว
6.อ่านเพื่อหาประเด็นว่า ส่วนใดเป็นข้อเท็จจริง เช่น การอ่านคําโฆษณาต่าง ๆ
7.การอ่านเพื่อจับใจความสําคัญของเรื่องที่อ่าน เช่น อ่านบทความในวารสาร
8.อ่านเพื่อปฏิบัติตาม เช่น อ่านคําสั่ง อ่านคําแนะนํา คู่มือการใช้เครื่องไฟ้ฟ้า
9.อ่านเพื่อออกเสียงให้ถูกต้อง ชัดเจน มีน้ำเสียงเหมาะกับเนื้อเรื่องและเหมือนกับพูดอ่านบท
ละครต่างๆ
สนิท ตั้งกวี(2538 , หน้า4) กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการอ่านไว้ดังนี้
1.อ่านเพื่อศึกษาหาความรู้ ในเรื่องราวต่างๆ โดยละเอียดหรือโดยย่อ
2.อ่านเพื่อสนองความอยากรู้ อยากเห็น
3.อ่านเพื่อศึกษาค้นคว้า
4.อ่านเพื่อต้องการทราบข้อมูลข่าวสารข้อเท็จจริง
5.อ่านเพื่อต้องการเป็นที่ยอมรับในวงสังคม
6.อ่านเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน
เตือนใจ กรุยกระโทก(2543, หน้า 18) กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการอ่านไว้ว่า การอ่าน หนังสือ
ทุ ก ครั้ ง ผู้ อ่ านควรกํ า หนดจุ ด มุ่ งหมายของการอ่ า น เช่ น อ่ านเพื่ อ ศึ ก ษาหาความรู้ อ่ า น เพื่ อ ความ
สนุกสนาน หรืออ่านเพื่อต้องการอยากรู้
12

จากจุดมุ่งหมายที่กล่าวมาสรุปได้ว่าการอ่านของแต่ละคนมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาหาความรู้ เพื่อ
สนองความต้ อ งการของตนเองเพื่ อ ความสนุ ก สนานเพลิ ด เพลิ น และอ่ านเพื่ อ ให้ มี ค วามรู้ เท่ า ทั น ต่ อ
เหตุการณ์และการดํารงชีวิตในปัจจุบัน

2.4 ประเภทของการอ่าน
วิจิตรา แสงพลสิทธิ์และคนอื่น ๆ (2522 ,หน้า135) ได้แบ่งประเภทของการอ่านไว้ 2 ชนิด คือการ
อ่านออกเสียง คือการอ่านตามตัวหนังสือเพื่อให้ผู้อื่นฟัง ผู้อ่านจะต้องอ่านได้ ถูกต้องตามหลักภาษาและ
ความนิยม
1.การอ่านในใจ คือ การทําความเข้าใจกับตัวอักษร เป็นการอ่านเพื่อตัวผู้อ่านเองซึ่งจะ ได้รับ
ประโยชน์มากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้อ่านแต่ละคน
นอกจากนั้น ทัศนีย์ ศุภเมธี(2527,หน้า 67-70) ก็ได้แบ่งประเภทของการอ่านเป็น 2 ประเภท
เช่นเดียวกัน คือ
1.การอ่านในใจซึ่งเป็นสิ่งจําเป็นนมากในชีวิตประจําวันที่จะทําให้วัตถุประสงค์ทั้งหมดบรรลุผล
อาทิเช่นการอ่านเพื่อจับใจความสําคัญการอ่านเพื่อตอบคําถามการอ่านเพื่อเรียงลําดับเหตุการณ์
แม้แต่การอ่านเพื่อความเพลิดเพลิน
2.การอ่านออกเสี ยง มีคุณ ค่าทางการเรียนมากช่วยให้ เด็กมีทักษะมากขึ้นอ่านได้ คล่องแคล่ ว
ถูกต้อง รู้จักความไพเราะของบทร้อยกรองต่าง ๆ
การอ่ า นออกเสี ย งมี ก ระบวนการแตกต่ า งจากการอ่ า นในใจทฤษฎี ท างจิ ต ภาษาศาสตร์
(Paycholinguistics) ได้อธิบายกระบวนการของการอ่านไว้ว่า กระบวนการของการอ่านเป็นการแสดง
ปฏิกิริยาร่วมระหว่างความคิดและภาษา กล่าวคือ ไม่ว่าผู้อ่านจะใช้วิธีออกเสียงปากเปล่า หรือออกเสียงใน
ใจต่างก็ใช้คิดของตนเองเข้าไปวิเคราะห์ความหมายของภาษาเขียนซึ่งใช้อ้างอิงมาจาก Goodmen 1968 ,
หน้า16) ได้สรุปกระบวนการของการอ่านไว้ดังในแผนผังข้างล่างนี้
13

ภาพที1่ แผนผังกระบวนการอ่าน

ที่มา: สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์2527, หน้า 17-18 อ้างอิงมาจาก กู๊ดแมน(Goodmen 1968, หน้า16)

จากภาพที่1 แผนผังกระบวนการอ่าน จะเห็นได้ว่าการอ่านออกเสียงมีกระบวนการ3ขั้น คือจาก


ขั้นที1่ ไปขั้นนที่2และขั้นที่3ส่วนการอ่านในใจใช้กระบวนการเพียง2ขั้น คือ จากขั้นที่1 ข้ามขั้นที่2ไปยังขั้น
ที3่ เลย อย่างไรก็ตาม ผู้อ่านในใจอาจใช้ทั้ง3ขั้นก็ได้แต่ไม่ปรากฏเสียง ออกมา ส่วนอัตราเร็วในการอ่านจะ
ช้ากว่าคนที่อ่านโดยผ่านขั้นที่1ไปขั้น
จากลักษณะการอ่านในใจและการอ่านออกเสียงตามที่กล่าวมาพอจะสรุปได้ว่าการอ่านในใจเป็น
สิ่ งจํ าเป็ น มากในชี วิตประจํ าวัน แต่ก ารอ่านออกเสี ยงเป็ นทั ก ษะเบื้ องต้ น ของการอ่านในใจซึ่งจาที่ นั ก
การศึกษาได้แบ่งประเภทของการอ่านออกเป็น 2ประเภทคือการอ่านออกเสียงและการอ่าน ซึงการออก
เสียงเป็นทักษะที่ควรเน้นมากๆในวิชาภาษาไทยเพื่อให้นักเรียนได้นําไปใช้ประโยชนน์ได้จริง นใชีวิตประจํา
วั น กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร (กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร2526 , หน้ า 50) จึ ง กํ า หนดให้ ก ารสอนอ่ า นในชั้ น
ประถมศึกษาเน้นทั้งการอ่านออกเสียงและอ่านในใจด้วย

2.5 การสอนอ่าน
ปัจจุบันทักษะการอ่านเป็นทักษะที่มีบทบาทและมีความจําเป็นในชีวิตประจําวันเพิ่มขึ้นนักเรียน
นักศึกษาจําเป็นต้องใช้ทักษะการอ่านเพื่อการศึกษาหาความรู้วิทยาการแขนงต่ างๆแม้เมื่อจบการศึกษา
แล้วการอ่านก็ยังเป็นสิ่งที่จําเป็นในชีวิตประจําวันต่อไป ดังนั้นการสอนจำเป็นต้องปูพื้นฐานที่ดีและถูกต้อง
เพื่อพอที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
14

จุฑามาศ สุ วรรณโครธ(2519 ,หน้า27-29)ได้ให้ ความเห็ นเกี่ยวกับการสอนอ่านออกเสียง ให้


ครูผู้สอนคํานึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1.อ่านชัดเจน ฝึกอ่านออกเสียงพยัญชนะทุกตัวให้ชัดเจน โดยเฉพาะการออกเสียง
2.อ่านถูกต้อง สามารถอ่านได้ถูกต้องตามอักขรวิธี ไม่อ่านตกหล่น หรือเพิ่มเติมขึ้นมา
3.อ่านคล่อง รู้ จักกวาดสายตาล่วงหน้าไปก่อน และออกเสียงตามภายหลัง เพื่อให้อ่าน ข้อความ
ได้ต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก
4.การเว้นจังหวะและวรรคตอนที่ถูกต้อง รู้ จักการเน้นคํา และแบ่งวรรคตอน หยุดออก เสียงในที่
ควรหยุด ถ้าหยุดผิดที่จะทําให้ข้อความนั้นมีความผิดไปจากเดิม ควรฝึกนักเรียนให้ ระมัดระวังให้
มากในเรื่องนี้
5.น้ำเสียงแสดงอารมณ์ตามเนื้อเรื่อง เป็นแบบคําพูดหรือบรรยาย
6.ท่าทางในการอ่าน เน้นการจับหนังสือที่ถูกต้อง การวางระยะห่างจากสายตามอง
ผู้ฟัง และท่ายืนที่งดงามน่าดู

สุพิณ เลิศรัตนการ และคนอื่น(2540ๆ ,หน้า193-195) ได้แนะนําวิธีการอ่านไว้ดังนี้


1.การฝึกอ่านแบบคร่าว ๆ
ในการอ่านแบบคร่าว ๆ นักเรียนควรอ่านให้เร็วกว่าการอ่านปกติ 2เท่าและต้อง เปลี่ยนวิธีการ
อ่านกล่ าวคือแทนที่จะอ่านทุกคําให้ อ่านข้ามคําหรือประโยคที่ไม่สําคัญ อ่านเพียงคำสํ าคัญที่บอกให้ รู้
ใจความสําคัญเท่านั้น นักเรียนควรปฏิบัติดังนี้
1.1 อ่าน2-3 ประโยคแรกและตั้งคําถามว่าเรื่องนี ้เกี่ยวกับอะไร
1.2 อ่านย่อหน้าต่อไปอย่างเร็วเท่าที่จะจับใจความได้
1.3 อ่านเพียง 2-3 คําในแต่ละย่อหน้าโดยหาคําที่บอกใจความสําคัญ ซึ่งโดยปกติ จะอยู่ตอนต้น
ของย่อหน้า แต่บางครั้งอาจอยู่ตอนท้ายของย่อหน้า
1.4 อ่านอย่างเร็วและจําไว้เสมอว่ารายละเอียดขอบเรื่องไม่ใช้เรื่องสําคัญ
2.การอ่านเร็ว
เมื่อความเร็วในการอ่านมีความสำคัญ ดังกล่าว ควรส่งเสริมให้นักเรียนเพิ่มความเร็วในการอ่าน ฝึก
อ่านเร็ว มีวิธีการอ่านดังนี้
2.1 พยายามอ่านเป็นหน่วยความคิดไม่ใช่อ่านทีละคํา
2.2 ฝึกอ่านในใจ การอ่านออกเสียงจะทําให้การอ่านช้าลง
15

2.3 การสร้างภาพจากตัวหนังสือให้เป็นรูปธรรมจะช่วยให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ
และจําได้
2.4 ควรอ่านข้อความอย่างเร็ว 1รอบก่อนอย่าอ่านข้อความกลับไปกลับมาให้ อ่านไปเรื่อย ๆ
อาจจะเข้าใจได้ในที่สุด
2.5 ควรจับสายตาไว้เหนือตัวหนังสื อเล็กน้อย แล้วให้กวาดสายตาอ่า นจับข้อความเป็น กลุ่มๆ
อ่านจากบนลงไม่ใช่จากซ้ายไปขาว กล่าวคือ ต้องฝึกช่วงสายตกว้ างให้เท่ากับความยาว1 ช่วงบรรทัดเพื่อ
ไม่ให้เสียเวลาในการกวาดตา
2.6 ควรอ่านประโยคแรกและประโยคสุดท้ายของแต่ละย่อหน้าก่อนเสมอ
2.7 มีสมาธิในการอ่าน วิธีการอ่านที่จะทําให้ได้ผ ลดีที่สุด คือ ผู้อ่านจะต้องมีความเข้าใจเรื่องที่
อ่านและมีความสามารถในการอ่านเร็ว ดังที่ ถนอมวงศ์ ลำยอดมรรคผล (2537, หน้า54) กล่ าวไว้ว่า
ผู้อ่าน ทั้งงหลายปรารถนาจะมีสามารถดังนี้
1.อ่านได้เร็ว
2.เข้าใจทุกเรื่องที่อ่าน
3.ใช้เวลาอ่านน้อยแต่ได้ประโยชน์จากการอ่านมาก
4.มีเวลามากพอที่จะอ่านได้ตามต้องการ
5.อ่านแล้วจําได้มากที่สุด
6.นําความรู้ ความคิดและสาระไปใช้ได้ดีและมากที่สุด
ความสามารถทั้งหมดดังที่กล่าวมาแล้วนั้นผู้อ่านแต่ละคนจะมีไม่ครบถ้วนแต่อาจเรียกได้หาก
ได้รับการฝึกที่ถูกต้องนั่นคือฝึกอ่านเพื่อจับใจความสําคัญและเมื่อผู้อ่านสามารถจับใจความสําคัญเป็นแล้ว
ต่อไปก็จะสามารถอ่านได้เร็วขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเวลาอ่านสิ่งที่ไม่สําคัญ หรือส่วนที่ไม่ต้องการในการอ่าน
อีกต่อไป
วิภาดา ประสานทรัพย์(2542 ,หน้า76) ยังได้กล่าวถึงการสอนอ่านว่า ทักษะการอ่านเป็นทักษะที่
ใช้ในการรับสารนเดียวกับทักษะการฟังและมีความสําคั ญมากในยุคเช่นนี้ เนื่องจากผู้คนเป็นจํานวนมากที่
สื่อสารกันด้วยตัวหนังสือในการสอนทักษะการอ่านได้ทําการแบ่งกิจกรรม ออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้ คือ
1.กิจกรรมการสอนช่วงก่อนการอ่าน
เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีความสนใจ หรือเพื่อเป็นการโน้ม น้าวให้
นักเรีย นให้เข้ามาสู่เรื่องที่จ ะอ่าน โดยอาศัยกิจกรรมที่สําคัญอย่างหนึ่งคือการคาดการล่ วงหน้านั่นคือ
ก่อนที่นักเรียนจะได้อ่านเรื่องราวของบทเรียนที่ครูได้เตรียมมาสอนก็จะให้นั กได้ลองคาดเดาเรื่องราวนั้นๆ
16

ก่อนประกอบกับการใช้ประสบการณ์เดิมเข้าช่วยโดยอาศัยข้อมูลเบื้ องต้นเป็นแนวทาง ซึ่งสามารถทําได้


หลายวิธีดังนี้
1.1 ใช้ชื่อเรื่อง รูปภาพประกอบเรื่องที่จะอ่านและคําถามนําเป็นแนวทางในการโน้ม น้าวนักเรียน
มาสู่เรื่องที่จะเรียน
1.2ให้ชื่อเรื่องและรายการคําศัพท์มาจํานวนหนึ่งแล้วให้นักเรียนเดาว่าจะมีคําศัพท์ใด อยู่ในเรื่อง
ทีจ่ ะเรียนบ้าง
1.3 ใช้รูปภาพที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะสอนเป็นสื่อให้นักเรียนล่วงหน้าจากเรื่องที่อ่า
1.4 ใช้รูปภาพของเรื่องที่จะใช้สอนสื่อในการให้นักเรียนลองแต่งประโยคล่วงหน้า จากคําศัพท์ใน
เรื่อง
2.กิจกรรมการสอนระหว่างการอ่าน
เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนได้เข้าใจเรื่องที่จะได้อ่านมากขึ้นโดยจะยึดหลักว่าจุดมุ่งหมายของ
การอ่านครั้งนี้คืออะไรแล้วพยายามทำกิจกรรมเพื่อได้สิ่งนั้น ดังตัวอย่างกิจกรรมต่อไปนี้
2.1 คิดอะไรออกไห้เล่าออกมา เป็นกิจกรรมที่ไห้นักเรียนคิดในสิ่งที่ตัวเองเข้าใจหลังจากได้ฟัง
นิทาน
2.2 ให้นักเรียนจับคู่รูปภาพและคำบรรยายจากเรื่องอ่าน
2.3 ให้นักเรียนเรียงลำดับก่อน-หลังจากการอ่าน

3.กิจกรรมการสอนหลังการอ่าน
กิจกรรมที่หลังจากการอ่านจัดได้ว่ามีประโยชน์มากเพราะนอกจากจะเป็น เหมือนการสรุปเรื่อง
ที่อ่านแล้วยังสามารถใช้เวลานี้ในการรวบรวมความคิดในด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องคําศัพท์จากเรื่อง

2.6 ทฤษฎีการอ่าน
ณรงค์ ทองปาน(2526 , หน้า 3 ) ได้กล่าวถึงความพร้ในการอ่านของนักเรียนว่าเกิดมาจากปัจจัย
ที่สําคัญ 2 ประการ คือ ปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวเด็ก และปัจจัยที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวเด็ก
ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี
1.ความพร้อมทางด้านร่างกาย ได้แก่ ความสามารถในการมองเห็น ความสามารในการ ฟัง การ
ออกเสียงนอกจากนี้ยังรวมถึงเพศด้วย
17

2.ความพร้อมทางด้านสมอง ได้แก่ ความสามารถในการเรียนรู้ ความสามารถในการ จําแนก


ความแตกต่างของภาพและเสียง ความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลที่เกี่ยวกับการ แก้ปัญหาในการ
เรียนอ่าน
3.ความพร้อมทางด้านสมอง ได้แก่ ความสามารถในการเรียนรู้ ความสามารถในการ จําแนก
ความแตกต่างของภาพและเสียง ความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลที่เกี่ยวกับการ แก้ปัญหาในการ
เรียนอ่าน
4.ความพร้อมทางวิชาการ หมายถึง ความรู้ ที่เด็กมีอยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ได้แก่ การรู้ภาพ รู้จัก
หาความสัมพันธ์ของภาพ รู้จักวิธีการอ่านจากซ้ายไปขวา การรู้จักคำศัพท์ออกเสียงได้ถูกต้องหรือสนใจที่
จะอ่าน
ฉนั้ น การอ่านจะมี ป ระสิ ทธิภ าพดี ก็เนื่ องจากมีความพร้อมในด้านต่างๆ ทั้ งความพร้อม ทาง
ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และวิชาการ ตลอดจนความพร้ อมทางสภาพแวดล้อมจึงเป็นหน้าที่ที่
สําคัญยิ่งของผู้สอน และผู้ปกครองจะช่วยเหลือให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในการอ่ านที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
ระดับประถมศึกษา
จากทฤษฎี เกี่ ย วกั บ การอ่ านจะเห็ น ได้ ว่ าในการสอนอ่ านจะต้ อ งคํ านึ งถึ งหลั ก การเรีย นรู้ซึ่ ง
เกี่ย วข้อ งกั บ พั ฒ นาการทางด้านต่างๆ เป็ น อย่างมากในแต่ ล ะวัย ผดั งนั้ น ครูผู้ ส อนจึงควรจะมี ความรู้
ทางด้านการสอนที่ถูกต้องตามพัฒนาการต่างๆ ตามวัยและสภาพแวดล้อม การสอนอ่านจึงจะบรรลุผล

3. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาที่ควรคำนึงในการสอนอ่าน
การวิเคราะห์ด้านจินตนาการและพัฒนาการเด็กร่วมกับจิตวิทยาด้านการอ่านออกเสียง
ของเด็กในแต่ละวัยตามที่ บันลือ พฤกษะวัน(2521 ,หน้า24 -25 ,134-136) ดังนี้
1) อายุ6-12 ปี
1.1) อายุ6-7 ปี สนใจนิทานสัตว์ และต้นไม้พูดได้
1.2) อายุ8 ปี สนใจเทพนิยาย สภาพการดํารงชีวิต การเล่นเครื่องเล่นต่างๆ
1.3) อายุ9 ปี สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตจริง สนใจเรื่องธรรมชาติแปลกๆ ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น
1.4) อายุ10 ปี สนใจเรื่องผจญภัย เรื่องต่างแดน การท่ องเที่ ยว และชีวประวัติบุคคลสําคัญ
เด็กชายบางคนเริ่มสนใจเครื่องยนต์กลไก การประดิษฐ์ ตํานานและนิทาน เกี่ยวกับอภินิหาร
1.5) อายุ11 ปี เริ่มสนใจเรื่องลึกลับ ผสมการผจญภัย
18

1.6) อายุ12 ปี สนใจเรื่องชีวประวัติของครอบครัว ประวัติโ รงเรียน ท้องถิ่น เรื่องที่เต็ม ไปด้วย


ความตื่นเต้น เด็กผู้หญิงจะสนใจนิยายแบบผู้ใหญ่มากยิ่งขึ้น
2) อายุ13-18 ปี
2.1) อายุ13 ปี เริ่มสนใจอ่านหนังสือที่เป็ นนิยายแบบผู้ใหญ่ นิยายเชิงประวัติศาสตร ชีวประวัติ
บุคคลที่สําคัญ การโลกโผนผจญภัย
2.2) อายุ 14 ปี สนใยสารคดี ท่ อ งเที่ ย วในต่ า งแดน การดํ า เนิ น ชี วิ ต ที่ มี ค วามแตกต่ า ง ด้ า น
วัฒนธรรม และความรู้ รอบตัวต่าง ๆ
2.3) อายุ15 ปีสนใจอ่านหนังสือเริงรมย์ที่ยาวขึ้น การแข่งขัน ตํานาน อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ต่าง ๆ
2.4) อายุ16 ปี สนใจข่าวคราวเหตุการณ์ และคอลัมน์เฉพาะเรื่อง
2.5) อายุ17-18 ปี สนใจเรื่องราวเฉพาะประเภทที่ตนนิยม

ณรงค์ ปานทอง(2526 , หน้า32-36) ได้ให้หลักสําคัญในการสอนอ่านต่อไปนี ้


1.ความพร้อมของเด็ก การเรียนรู้ เกี่ยวกับการอ่านนั้น จะเกิดผลดีต่อเมื่อนักเรียนมีค วามพร้อม
ความพร้อมในการอ่านของเด็กเกิดจากปัจจัยสําคัญ 2ประการ คือปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวเด็ก และปัจจัยที่
เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
1.1 ปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวเด็กประกอบด้วย ความพร้อมทางด้านร่างกาย สมอง อารมณ์และ ความ
พร้อมทางวิชาการ
1.2 ปัจจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่นพของบิดามารดาอาชี บุคคลแวดล้อม สภาพสังคมที่ อาศัย
การสะสมหนังสือ เพื่อนคนใกล้ และตัวครูผู้สอนด้วย
การอ่านของเด็กจะมีประสิทธิภาพดี ก็เนื่องจากความพร้ อมในด้านต่าง ๆ จึงเป็นหน้าที่ ของ
ครูผู้สอนและผู้ปกครองจะช่วยเหลือให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในการอ่านที่ดี

4 เอกสารที่เกี่ยวข้องการใช้นิทาน
4.1 ความหมายของนิทาน
นิทานเป็นประสบการณ์ทางการศึกษา โดยมีความสุขสนุกสนานเป็นองค์ประกอบสําคัญ และได้มี
ผู้ให้ความหมายของนิทานไว้หลายประการดังนี้
เกริก ยุ้นพันธ์(2539 ,หน้า8) ได้ให้ความหมายของนิทานหมายถึงเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกัน มาตั้งแต่
สมัยโบราณเป็นการผูกเรื่องขึ้นเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนุกสนานแฝงคําสอนจรรยาในกา ใช้ชีวิตเป็นการ
ถ่ายทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องของผู้เล่าให้คนรุ่นใหม่ฟัง
19

ทัศนีย์ อินทรบํารุง(2539 ,หน้า14) ได้ให้ความหมายของนิทานไว้ดังนี้ นิทาน หมายถึง เรื่องราวที่


เล่ า ต่ อ ๆ กั น มาหรื อ แต่ ง ขึ้ น มาใหม่ โ ดยมี จุ ด มุ่ ง หมายเพื่ อ อบรมสั่ ง สอนและเพื่ อ ความ สนุ กสนาน
เพลิดเพลิน
ดวงเดือน แจ้งสว่าง(2542 , หน้า1) ได้สรุปความหมายของนิทานไว้ดังนี้ นิทานคือเรื่อง เล่าซึ่งผู้ เล่า
ต้องการที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ในสิ่งที่ได้พบเห็นความคิดฝันจินตนาการและความมุ่งหวังของตนไปสู่
ผู้ฟัง
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน(2542 ,หน้า447) ให้ความหมายว่า นิทานคือเรื่องที่เล่ากันแต่
โบราณ รวมความหมายแปลว่าเรื่องเล่า
4.2 ลักษณะของนิทาน
นิ ทานเป็ น สิ่ งจําเป็ น และเป็ นที่ ต้องการของเด็กเป็ นอัน มากแม้ ว่าในสมั ยปัจจุบั นความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์จะก้าวหน้ามากและเด็กได้รู้ ความจริงทางวิทยาศาสตร์ว่ าเป็นอย่างไรก็ตามแต่นิทานก็ยังมี
เสน่ห์จับใจเด็กอยู่หลายอย่าง
หม่อมหลวงจ้อย นันทิวัชรินทร์(2526, หน้า6) กล่าวถึง นิทานที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ คือ มีความ
เคลื่อนไหวอยู่ในเรื่องมีเนื้อเรื่องเร้าใจข้อความคล้องจองกัน ปฏิภ าณไหวพริบของตัวละคร ความรู้สึ ก
สะเทือนใจเรื่องผีซึ่งไม่ควรน่ากลัวเกินไปเรื่องเกี่ยวกับเด็ก นิทานสุภาษิต ตํานาน นิทานพื้นเมืองเรื่องขํา
ขันและ เทพนิยาย
สมชาย ตัน ติสั น ติส ม(2527, หน้ า38) กล่ าวว่า นิ ทานช่วยให้ เด็กได้คลายเครียดและ ส่ งเสริม
พัฒนาการด้านอารมณ์ต่างๆ ส่งเสริมความคิดให้เด็กได้มีจินตนาการในขณะที่ได้ฟังหรือ อ่านนิทานนิทาน
จึงเป็นเครื่องมือที่ใช้สอน จริยศึกษา จิตวิทยา สังคมวิทยา และเป็นเครื่องมือ ที่ช่วยพัฒนาการอ่านได้การ
เลือกนิทานที่ตรงกับความสนใจจะพัฒนาทักษะทางด้านการอ่านของนักเรียนได้ดี
พรจันทร์ จันทวิมล(2528, หน้า45) กล่าวถึงลักษณะของนิทานว่าเป็นเรื่องที่มีการขึ้นต้น ดําเนิน
เรื่อง และจบ มีความสมบู รณ์ ในตัว เองมีการเคลื่ อนไหวต่อเนื่องกัน ใครทํ าอะไร ที่ ไหน เมื่อไร ได้ผ ล
อย่างไร สนองความปรารถนาบางอย่างที่ไม่อาจมีในชีวิตจริง ส่งเสริมจินตนาการอัน เป็นความสุขความ
พอใจอย่างหนึ่งของคนเรา

4.3 จุดประสงค์ของนิทาน
สมศักดิ์ปริปุรณะ (2542 , หน้า7-13) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของนิทานไว้ดังนี้
1.ใช้เป็นเครือ่ งมือในการถ่ายทอดวัฒนธรรม
1.1 เพื่อลดความตึงเครียดของครอบครัว
20

1.2 เพื่อลดความกดดันจากกฎเกณฑ์ และระเบียบทางสังคม


1.3 เพื่อสอนระเบียบของสังคม
1.4 เพื่อถ่ายทอดความเชื่อและพิธีกรรม
1.5 เพื่อสร้างเอกลักษณ์และประวัติของท้องถิ่นในแต่ละท้องถิ่น
1.5.1 อธิบายประวัติของสถานที่
1.5.2 บันทึกประวัติผู้นําท้องถิ่น
1.5.3 บันทึกประวัติศาสตร์ของกลุ่มชน
2. ใช้เป็นเครื่องมือและสื่อในการเรียนการสอนจุดมุ่งหมายของนิทานที่ใช้เป็นเครื่องมือ และสื่อในการ
เรียนการสอนมีดังต่อไปนี้
2.1 จุดมุ่งหมายเกี่ยวกับเนื้อหาที่ใช้สอน
2.2 จุดมุ่งหมายเกี่ยวกับตัวผู้เรียน
2.3 จุดมุ่งหมายเกี่ยวกับสื่อและเทคนิคการสอน
2.4 จุดมุ่งหมายเกี่ยวกับวิธีสอน
สรุปจุดมุ่งหมายของการเล่านิทาน คือ เพื่อความบันเทิงและเหตุผลที่ต้องการอบรมกล่อมเกลา
จิตใจให้ผู้ฟังนิทานเป็นคนดีอีกทั้งนิทานยังเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพในการสร้าง
บรรยากาศที่ดี สร้างความรู้ความเข้าใจรวมทั้ง ช่วยฝึกทักษะทางภาษา ทักษะการคิดและนิทานยังก่อไห้
เกิดประโยชน์ด้านอื่นๆ อีกมากมาย

4.4 ประเภทของนิทาน
การแบ่งประเภทของนิทานสามารถแบ่งได้หลายประเภท เช่น แบ่งตามเขตพื้นที่แบ่งตามยุคสมัย
แบ่งตามดรรชนีแบบเรื่องหรือแบ่งตามชนิดของการเล่านิทาน แต่ที่นิยมกันมากคือ การ แบ่งตามรูปแบบ
ของนิทาน
การแบ่งประเภทของนิทามตามรูปแบบของนิทาน สามารถจําแนกและแบ่งได้ตามเนื้อหา สาระที่
เป็นเรื่องราวของนิทานซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านได้อธิบายถึงวิธีการแบ่งประเภทของ นิทานตามรูปแบบ
นิทาน ไว้ดังนี้
เกริก ยุ้นพันธ์(2539 ,หน้า20-22) ได้กล่าวถึง การแบ่งประเภทของนิทานตามรูปแบบของ นิทาน
โดยได้แบ่งนิทานออกเป็ นประเภทต่าง8 ๆประการไว้ คือ
1. เทพนิทานหรือเทพนิยายหรือเรื่องราวปรัมปรา เป็นนิทานหรือนิยายที่เกินเลยความเป็น
21

จริง เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอภินิหาร ตัวเอกของเรื่องหรือตัวละครเด่นๆ จะมีอภินิหารหรือเวทย์มนต์


ฤทธิ์เดช ฉากหรือสถานที่ในเนื้อเรื่องมักจะเป็นสถานที่พิเศษหรือสถานที่ที่ถูกกําหนดขึ้นมา
2. นิทานประจําถิ่นหรือนิทานพื้นบ้าน มักจะเป็นนิทานที่ถูกกล่าวขานตกทอดต่อเนื่อง มาเป็น
เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตํานานพื้น บ้านามเป็นประวัติควนมาของท้องถิ่น ภูเขา ทะเล แม่น้ำเรื่องราวของ
โบราณวัตถุที่มีแหล่งที่มาของการสร้าง การเกิด เป็นต้น
3. นิทานคติสอนใจ เป็นนิทานที่เลียบเคียงเชิงเปรียบเทียบกับชีวิต และความเป็นอยู่ร่วมกันใน
สั งคมมนุ ษ ย์ บั งเกิ ด ผลในการดํ ารงชี วิ ต และความเป็ น อยู่ ให้ พิ ถี พิ ถั น เอี ย ดรอบคอบและ ไม่ ป ระมาท
ช่วยเหลือและเมตตาต่อผู้อื่น และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
4.นิทานวีบุรุษ เป็นนิทานที่มีการกล่าวอ้างถึงบุคคลที่มีความสามารถ องอาจและกล้าหาญ นิทาน
วีรบุรุษมักเป็นเรื่องราวที่ถ่ายทอดเรื่องจริงของบุคคลที่สําคัญๆ ไว้แต่มักสร้างฉากสถานการณ์น่าตื่นเต้น
หรือเกิน ความเป็ น จริง เพื่อให้ เรื่องราวสนุกสนานและทําให้ เกิดความรู้ ส คล้ อยตามว่าบุคคลผู้ที่ เป็ น
วีรบุรุษนั้นมีความสามารถและน่าสนใจจริงๆ
5.นิทานอธิบายเหตุ เป็นนิทานที่เป็นเรื่องราวของเหตุที่มาของสิ่งหนึ่งสิ่งใดและอธิบาย พร้อม
ตอบคําถามเรื่องราวนั้นๆ ด้วย เช่น เรื่อกระต่ายในดวงจันทร์เป็นต้น
6.เทพปกรณัมเป็นนิทานที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อโดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีอภินิหารเหนือ
ความจริง ลึกลับ ได้แก่ พระอินทร์ พระพรหมทศกัณฑ์ เป็นต้น
7.นิทานที่มีสัตว์เป็นตัวเอกและมีการเปรียบเรื่องาวที่เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ เป็นเรื่องราวที่ เกี่ยวข้อง
กับการอยู่ร่วมกันในสังคม สอนจริยธรรมแฝงแง่คิดและแนวทางแก้ไขเป็น บางครั้ง หรือ บางครั้งงสอน
แบบทางอ้อมหรือผู้ฟังจะต้องพิจารณาเอง มักเป็นเรื่องราวบันเทิงคดีที่มีความสนุกสนา
8.นิทานตลกขบขัน เป็น นิทานที่มีเรื่องราวเปรียบเทียบชีวิตความเป็นอยู่แต่มีมุมที่ต ลกขบขัน
สนุกสนานทําให้เกิดความรู้สึกเป็นสุข เนื้อเรื่องจะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับไหวพริบเรื่องราวแปลกๆ เรื่อง
เหลือเชื่อ เรื่องเกินความเป็นจริง เป็นต้น

4.5 หลักการเขียนนิทานสำหรับเด็ก
สวัสดิ์เรืองวิเศษ (2520 ,หน้า71- 76) ได้เขียนหลักเกณฑ์ที่สําคัญในการเขียนเรื่อง สําหรับเด็กไว้
ดังต่อไปนี้
1.จุดมุ่งหมายในการเขียน ผู้เขียนจะต้องทราบว่าจะเขียนเรื่องเพื่ออะไรซึ่งจําแนกได้อย่างกว้างๆ 2แบบ
คือ
1.1 เขียนเรื่องเพื่อใช้เล่าให้เด็กฟัง หรือใช้สําหรับอ่านให้เด็กฟัง
22

1.2 เขียนเพื่อให้เด็กอ่านเอง
ทั้งนี้เพราะจุดมุ่งหมาย 2 ข้อดังกล่าวจะต้องใช้วิธีเขียนที่แตกต่างกัน
2.ศึกษาธรรมชาติของเด็ก
ในการเขียนเรื่องสําหรับเด็กไม่ว่าด้วยจุดประสงค์ใด ผู้เขียนจะต้ผู้ฟังว่ามีความต้องการและความ
สนใจอย่างไรบ้างซึ่งจะต้องพิจารณาให้ละเอียดลงไปว่าเป้นเด็กวัยใดช่วงอายุประมาณเท่าใด เพศหญิงหรือ
เพศชาย เพราะธรรมชาตความสนใจของเด็กแตกต่างกันออกไปตามวัยและเพศ นอกจากนี้ผู้เขียนจะต้อง
ศึกษาถึงสภาพแวดล้อมของสิ่งที่เด็กสนใจด้วยเพื่อจะนำสิ่งเหล่านั้นมาเขียนให้มีชีวิตชีวาและดูสมจริง
3.การวางโครงเรื่อง
หลังจากศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้วก็นำมาวางโครงเรื่องให้ สัมพันธ์กัน โครงเรื่องควร
เป็นลักษณะสั้นๆ ไม่สลับซับซ้อน อ่านหรือฟังแล้วสามารถจับใจความได้ถ้าเป็นเด็กโต ความยาวและความ
สลับซับซ้อนของเรื่องก็ควรจะเพิ่มขึ้น ลักษณะตัวละครควรออยู่วัยเดียวกับผู้อ่าน การวางโครงเรื่องควรให้
ผู้อ่านได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับท้องเรื่อง หรือไห้เกิดความรู้สึกตื่นเต้นชวนคิดตามเนื้อเรื่องไม่
กวนไปมา และมีการลำดับความคิดอย่างต่อเนื่องกันไปโดยสมบูรณ์ไม่ขาดตอน ข้อควรระวังคือไม่ควรสอน
แทรกความคิดหรือแสดงให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเกิดความรู้สึกถูกเหยีด หยามหรือถูกตำหนิติเตียนจะทำให้เกิด
ความเบื่อหน่ายและความไม่สบายใจ
4.การใช้สํานวนภาษา
ภาษาที่ใช้เขียนนิทานสําหรับเด็กเล็กๆ ควรเป็นคําธรรมดาที่จะสามารถเข้าใจได้ง่ายๆ โดยไม่ต้อง
คิดหาคําแปล เป็นคําสั้นๆที่กะทัดรัด้ มีความหมายในตัวเองชัดเจนการเรียบเรียง ถ้อยคําให้สละสลวย
และมีความสืบเนื่องสัมพันธ์อย่างราบรื่นไม่ติดขัด ชวนให้เด็กคิดตาม ใน บางครั้งถ้าเขียนนิทานขึ้นเพื่อเล่า
ให้เด็กฟัง จะใช้คํามากๆ คํายาวๆ สะกดยาวๆ ได้ แต่ก็ควรเ คนที่เด็กชอบและเข้าใจได้ด้วย
จากหลักการเขียนดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า ผู้เขียนต้องสื่อความหมายให้ผู้อ่านสร้าง จินตนาการ
และมีอารมณ์ร่วมในการอ่าน โดยศึกษาศึกษาธรรมชาติของเด็ก กําหนดจุดมุ่งหมาย ของเรื่องไว้ วางโครง
เรื่องที่ไม่สลับซับซ้อนกันมาก และควรใช้คําสั้นๆ ที่กะทัดรัดมีความหมา ตัวเองชัดเจนราบรื่นไม่ติดขัด

ประโยชน์ของนิทานที่มีต่อการเรียนการสอน
นิทานเป็นเรื่องราวที่ช่วยเด็ก ให้เกิดความเข้าใจในเชิงรูปธรรมเพราะมีตัวละคร พฤติกรรม และ
ปัญหาของตัวละครซึ่งเป็นเด็กวัยเดียวกันย่อมโน้มน้าวให้อยากประพฤติเลียนแบบ หรือ เอาอย่างได้
ม.ล. จ้อย นันทิวัชรินทร์(2526, หน้า44-46) กล่าวถึงคุณค่าของนิทานว่า การเล่ านิทานเป็นการ
เรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ วิ ธีหนึ่งที่ไม่มีแบบแผนเป็นการเรียนรู้ ที่ได้ผลเร็วมากกว่าเรียนรู้อย่างมีระบบ
23

แบบแผน เด็ ก จะพอใจที่ จ ะเรี ย นรู้ ป ระสบการณ์ จากนิ ท านตั้ งแต่ เมื่ อ อ่ านหนั งสื อ เองได้ จึ งแสวงหา
ประสบการณ์จากการอ่าน และได้เลือกสิ่งที่ต้องการอ่านด้วยตนเองซึ่งจะช่วยส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
ล้วน เลิศอาวาส(2542 ,หน้า6) กล่าวถึงประโยชน์ของนิทาน สรุปได้ว่านิทานเป็นเรื่องที่เด็กชอบ
ฟังนิทานมีทั้งอารมณ์ขบขัน ตื่นเต้น รัก โกรธ หลง เศร้าโศกของตัวละคร ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ พืช เทวดา
ภูติปีศาจ นิทานยังช่วยส่งเสริมทั กษะการอ่าน พูด ฟัง และเขียนสัมพันธ์เป็ นสื่อ ระหว่างครอบครัว ครู
ศิษย์ และสังคม ให้มีความสนิทสนมใกล้ชิดกัน
จากที่ ก ล่ าวมา สรุ ป ได้ ว่า นิ ท านเป็ น สื่ อ ในการพั ฒ นาทั ก ษะการฟั ง พู ด อ่ า นและเขี ย นได้ ด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการอ่าน เพราะนิทานเป็นสิ่งที่เด็กระยะเริ่มฝึกอ่า นสนใจการใช้นานเป็นสื่อในการ
พัฒนาทักษะการอ่านจะทําให้ผู้เรียนพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว สามารถจําคํา อ่านคําและนําคําไปใช้ได้การ
พัฒนาทักษะการอ่านจะทําให้ผู้เรียนพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว สามารถจําคํา อ่านคำ และนําคําไปใช้ได้อย่าง
เหมาะสม นอกจากนี้ นิ ท านยั งสามารถปลู กฝั ง คุณ ธรรม จริยธรรม ค่านิ ยม ที่ ดี แก่ผู้ อ่า น รวมทั้ งให้
ความรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลินอีกด้วย การเลือกนิทานเพื่อให้เป็นสื่อใน
การพัฒนาทักษะการอ่านสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา6ควรเลือกเรื่องที่มีตัวละครเป็น สัตว์
หรือคนที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับเด็ก เป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อน มีตัวละครไม่มากนัก ไม่น่ากลัว โหดร้าย ครู
ต้องใช้ภาษาง่ายๆ ที่เหมาะสมกับเด็ก ใช้ท่าทางน้ำาเสียง รูปภาพ ประกอบการเล่า นิทานจึงจะน่าสนใจ
บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องผู้ศึกษาได้ศึกษาเกี่ยวกับ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกับการอ่านและ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้นิทานในการพัฒนาการอ่าน
เพ็ ญ จา สุ ริ ย กานต์ ( 2544 ,บทคั ด ย่ อ )ได้ ศึ ก ษาการใช้ นิ ท านอี ส ปเป็ น สื่ อ สํ า หรั บ นั ก เรี ย นชั้ น
ประถมศึกษาปีที่6ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน80/80 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การ อ่านออก
เสียงคําควบกล้าของนักเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกอ่านออกเสียงคําควบกล้ำและได้ ศึกษาความสนใจ
ของนักเรียนต่อการฝึกอ่านออกเสียงคําควบกล้ำาโดยใช้นิทานอีสปเป็นสื่อ พบว่า ชุดฝึกการอ่านออกเสียง
มีประสิทธิภาพ80.69/85.60 และพบว่าผลสัมฤทธิ์การอ่านออกเสียงคํา ควบกล้ำาของนักเรียนเพิ่มขึ้น
จากก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.05และนักเรียนมี ความสนใจต่อการฝึกอ่านออกเสียงคํา
ควบกลำาโดยใช้นิทานอีสปเป็นสื่อในระดับ“มาก”
บทที่3
วิธีการดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการอ่าน ออก
เสียงในด้านการอ่านได้ถูกต้องตามอักขรวิธี อ่านได้ชัดเจน อ่านได้คล่องแคล่วของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปี ที่6/3จํานวน10 คน ก่อนและหลังการใช้นิทาน
ผู้วิจัยได้ดําเนินการวิจัยโดยกระทําตามลําดับขั้นดังนี้
1.ระเบียบวิธีวิจัย
2.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3.เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
4.ขั้นตอนในการดําเนินงาน
5.การเก็บรวบรวมข้อมูล
6.การวิเคราะห์ข้อมูล

3.1 ระเบียบวิธวี ิจัย


การวิจัยในครั้งนี้การวิจัยเชิงทดลอง โดยการใช้รูปแบบการวิจัยเป็นแบบหนึ่งกลุ่มสอบ ก่อน-สอบ
หลัง(One Group Pretest-Posttest Design) เขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ดังนี้
O1 X O2
สัญลักษณ์ที่ใช้ในงานวิจัยในครั้งนี้
O1 หมายถึง ทดสอบก่อนการจัดกระทํา
X หมายถึง การจัดกระทํา
O2 หมายถึง ทดสอบหลังการจัดกระทํา

3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาป6/3 ของโรงเรียนบ้านลากอ จํานวน23 คน
กลุ่ มตัว อย่าง เป็ น นั กเรีย นชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6/3ของโรงเรียนบ้ านลากอ อำเภอยะหาจังหวัดยะลา
จำนวน 10 คน โดยมี ขั้ น ตอนการสุ่ ม กลุ่ ม ตั ว อย่ า งนั ก เรี ย นโดยคั ด เลื อ กแบบเจาะจงนั ก เรี ย นที่ ท ำ
แบบทดสอบก่อนที่มีคะแนนต่ำสุดจำนวน 10 คน ในโรงเรียนบ้านลากอ

24
25

3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน ออกเสียง
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี6/3และนิทานจํานวนที่3เรื่อง ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึนเองโดยมี ขั้นตอนการสร้าง
แบบทดสอบและนิทาน ดังนี้
1.ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าการสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษามลายูจากหนังสือ
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และศึกษาหนังสือภาษามลายูของชั้น
ประถมศึกษาปีท6ี่ แล้วนำเอาคำที่นักรียนควรรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่6 คําในหนังสือภาษามลายูซึ่งได้ศึกษา
แล้วว่าเป็นคําที่นักเรียนอ่านไม่ได้ซึ่งเป็นคำที่ใช้ทดสอบจำนวนทั้งสินแบ่งเป็น2ตอน
2.นําคําในแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภามลายูมาให้นักเรียนทั้งหมดอ่านแล้วนำ
แบบทดสอบมาปรับปรุงอีกครั้ง
3.นําคําที่ได้จากแบบทดสอบมาแต่งนิทานจํานวน4เรื่อง
4.นําแบบทดสอบและนิทานไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
5.นําแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านออกเสียงและนิทานไปปรับปรุงแก้ไขอีกครั้ง
6.นํ าแบบทดสอบวั ด ความสามารถในการอ่ านออกเสี ย งมาวั ด ผลอี ก ครั้งโดยแบบทดสอบมี
ลักษณะเป็นคำและประโยคสั้นๆที่เหมาะสมกับระดับชั้นของนักเรียนซึ่งเกณฑ์ในการสร้างแบบทดสอบ
ก่อน-หลังในการอ่านเสียงมีดังนี้
1.6.1) ประกอบด้วยคําศัพท์พื้นฐานที่กําหนดไว้ในชั้นประถมศึกษาปีที่6 จำนวน 137 คํา
1.6.2) คำศัพท์ที่ประกอบด้วยสระภาษามลายู A E I O U
1.6.3) รวมคำศัพท์ที่มาทดสอบทั้งหมด 150 คำ

3.4 ขั้นตอนในการดำเนินงาน
ผู้ วิ จั ย นำแบบทดสอบวั ด ความสามารถในการอ่ านออกเสี ย งของนั ก เรี ย นไปใช้ ท ดสอบกั บ
ประชากรจำนวน 26 คนจากนั้นคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง 10 คนที่มีคะแนนต่ำที่สุดโดยมีขั้นตอนการสอบ
ดังนี้
1.นำนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมาฝึกอ่านโดนยใช้นิทานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาจำนวน 3 เรื่องโดย
การฝึกให้นักเรียนออกเสียงและสะกดคำศัพท์ที่ต้องการเน้นก่อนที่จะอ่านพร้อมกันจากนั้นให้นักเรียนอ่าน
นิทานพร้อมกัน แล้วให้นักเรียนแต่ละคนตอบปากเปล่าในเนื้อเรื่องที่ได้อ่านจนกระทั่งครบ 3 เรื่อง เวลา 6
ชั่วโมง
26

2.นําแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาไทยก่อน- หลังมาทดสอบ อีกครั้ง


โดยการใช้สัญลักษณ์ในการบันทึกแล้วนําผลที่ไโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนมาวิเคราะห์ เบี่ยงเบนมาตรฐาน
วิเคราะห์งานวิจัยในครั้งนี้

3.5 การเก็บรวบรวมข้อมูล
1.นํ า แบบทดสอบก่ อ น- หลั ง ในการอ่ า นออกเสี ย งฉบั บ ของผู้ ดํ า เนิ น การสอบที่ ได้ บั น ทึ ก
ข้อผิดพลาดในการอ่านของนักเรียนเป็นรายบุคคล แล้วมาแปลสัญลักษณ์ให้ครบทุกสัญลักษณ์ โดยขีดรอย
คะแนนลงในแบบบันทึกการอ่าน
2.รวบรวมความถี่ของข้อผิดพลาดในการอ่านออกเสียงของนักเรียนในแต่ละด้านจากที่ได้กําหนด
ไว้ แล้วให้คะแนนความสามารถในการอ่านออกเสียงของนักเรียนคิดคะแนนเต็ม100 คะแนน โดยการหัก
คะแนน
3.เกณฑ์ในการให้คะแนนวัดทักษะการอ่านออกเสียงของนักเรียนกําหนดไว้3ด้านดังนี้
3.1ความสามารถในการอ่านได้ถูกต้อง เป็นการให้คะแนนโดยคำละ 1 คะแนน จากนั้นนำคำที่
นักเรียนอ่านได้ถูกต้องมาหาร้อยละ ซึ่งการตัดสินว่าอ่านถูก -ผิดนั้น ใช้หลักการอ่านเป็นหลัก โดย
มีรายละเอียดในการพิจารณา คังต่อไปนี้
3.1.1 ออกเสียงพยัญชนะ สระหรือตัวสะกด ไม่ถูกต้องพิจารณาหักคำละ 1 คะแนน
3.1.2 อ่านไม่ได้ หมายถึง อาการที่เด็กหยุดคิดสะกดนานเกินควร เมื่ออ่านมาถึงคำที่ยาก
คำใดคำหนึ่ง โดยนิ่งอยู่นานเกินกว่า 4-5 วินาทีจนผู้ดำเนินการสอบต้องบอกคำอ่านให้พิจารณา
หักคำละ 1 คะแนน
3.1.3 อ่านผิด หมายถึง อ่านออกเสียงผิดโดยใช้คําอื่นแทน เช่น Jalan อ่านว่า Jangan
ให้พิจารณาหักคำละ 1 คะแนน
3.2 ความสามารถในการอ่านออกเสียงได้ชัดเจนในการนี้จะใช้มาตรฐานเสียง การอ่านของทาง
ราชการในส่วนกลางเป็นเกณฑ์ โดยพิจารณาคิดเป็นร้อยละของคําที่อ่านได้ ดังต่อไปนี้
3.2.1 ออกเสี ย ง R L ไม่ ชั ด เจน เช่ น Rumah อ่ านเป็ น Lumah Lubang อ่ านเป็ น
Rubang เป็นต้น พิจารณาหักเป็น 1 คะแนน
3.2.2 อ่านผิดแล้วกลับอ่านแก้ใหม่ให้ถูก พิจารณาหักคําละ1คะแนน
4. ทดสอบหลังเรียน โดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษามลายูที่ผู้วิจัย สร้างขึ้น
ซึ่งเป็นแบบทดสอบชุดเดียวกับที่ใช้ทดสอบก่อนเรียน
27

5. นําข้อมูลที่ได้จากการทดสอบการสอนโดยใช้นิทานเป็นสื่อนั้นมาวัดความสามารถในการอ่าน
ออกเสียงมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากแบบทดสอบ
ก่อน-หลังเรียนมาบรรยายผล

3.6 การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลมีขั้นตอนในการวิเคราะห์ดังนี้
1 นําคะแนนการอ่านออกเสียงของนักเรียนก่อน-หลัง การฝึกฝนโดยใช้นิทานเป็นรายบุคคลมาคิด
เป็นร้อยละ
2 นำคะแนนรวมที่ได้จากการอ่านออกเสียงจากแบบก่อนและหลังการฝึกออกเสียงโดยใช้นิทาน
ของนักเรียนเป็นรายบุคคลมาหาความถี่ตามระดับความสามารถที่กำหนดไว้ดังนี้
ระดับความสามารถในการอ่านสูงมากได้คะแนนตั้งแต่ร้อยละมากกว่า80ของคะแนนเต็ม
-ระดับความสามารถในการอ่านสูงได้คะแนนระหว่างร้อยละ 61-89 ของคะแนนเต็ม
-ระดับความสามารถในการอ่านปานกลางได้คะแนนระหว่างร้อยละ56 - 60ของคะแนนเต็ม
-ระดับความสามารถในการอ่านตํ่าได้คะแนนน้อยกว่าร้อยละ55 ของคะแนนเต็ม
3. นําความถี่ของนักเรียนที่ได้คะแนนความสามารถตามข้อ 1มาคํานวณเป็นค่าร้อยละ ของกลุ่ม
ตัวอย่างทั้งหมด
สถิติที่นํามาใช้วิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้มีดังต่อไปนี้
สถิติที่ใช้ในการหาค่าเฉลี่ย ศึกษาพัฒ นาการเป็นร้อยละของโอกาสที่พัฒ นาได้ของแต่ล ะคนตาม
สมการ ดังนี้

คะแนนหลังการพัฒนา – คะแนนก่อนการพัฒนาคะแนนเต็ม
ร้อยละของคะแนนพัฒนาการ= ×100
– คะแนนก่อนการพัฒนา

You might also like