You are on page 1of 28

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน 3 บท

เรื่อง
การพัฒนาทักษะการเขียนในภาษามลายูเบือ้ งต้นให้ถูกต้องโดยใช้เพลงประกอบ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบุดี
Developing correct writing skills in Elementary Malay using background music of
Grade 3 students at Ban Budi School.

ณุรอีน หมอนะ
สาขาการสอนภาษามลายู

รายงานวิจัยชั้นเรียนฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา1
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
ปีการศึกษา 2564
ชื่อวิจัย : การพัฒนาทักษะการเขียนในภาษามลายูเบื้องต้นให้ถูกต้องโดยใช้เพลงประกอบ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบุดี
ผู้วิจัย : นางสาวณุรอีน หมอนะ
สาขาวิชา : การสอนภาษามลายู
ปีที่ศึกษา : ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
ครูพี่เลี้ยง : นายฮาดี มะสาเอะ
อาจารย์นิเทศก์ : อาจารย์อมมุลอมมะห์ โตะหลง
บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการการพัฒนาทักษะการเขียนในภาษามลายูเบื้องต้นให้ถูกต้องโดยใช้เพลง
ประกอบ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้าบุดี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อให้ผู้เรียนได้
ศึกษาและเข้าใจในการเขียนภาษามลายู 2. เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้เรียนได้พัฒนาและปรับปรุงการเรียน
การสอนให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น 3. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการเขียนโดยใช้เพลง กลุ่ม
ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบุดี สังกัด สพป.ยะลา
1 ซึ่งกำลังศึกษาในภาคเรียน 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน 29 คน โดยสุ่มเป็นกลุ่ม
ตัวอย่าง 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. เพลง 2. ชุดแบบฝึกหัด
บทที่ 1
บทนำ

1.1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาหาความรู้ เป็นกุญแจสู่คลังความรู้มากมาย ภาษาช่วยให้
บุคคลได้เข้าใจในเรื่องราวต่างๆได้ดี อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยเราเสาะหาความรู้ได้อย่างไม่มีที่
สิ้นสุด นอกจากนี้ภาษายังเป็นเครื่องมือที่ทำให้มนุษย์เราสามารถสื่อสารด้วยกันได้อย่างเข้าใจ ถ้าขาด
ภาษามนุษย์คงอยู่ได้โดยยาก ทั้งในด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และภาษาเปรียบเสมือน
หัวใจของการติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์ ทำให้เกิดความสะดวกและเกิดความเข้าใจตรงกัน ทักษะ
การเขียนเป็นอีกทักษะที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้ชีวิตของมนุษย์ เพราะการเขียนจะทำให้
เรารู้ถึงการรู้สึก นึกคิดและความต้องการไปยังผู้รับสารคือผู้อ่าน โดยใช้ตัวอักษรเป็นสื่อกลางในการ
สื่อสาร นอกจากนี้ทักษะการเขียนยังเป็นการถ่ายทอดด้วยลายลักษณ์อักษรและต้องใช้ภาษาอย่างมี
ศิลปะในการถ่ายทอดออกมาอย่างถูกต้องตามการใช้หลักภาษาของภาษานั้นๆ
ในการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้เลือกหัวข้อเกี่ยวกับการเขียนให้ถูกต้องโดยใช้เพลงประกอบ
เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่มีการเขียนที่ไม่ถูกต้อง โดยที่มีการเขียนไม่เว้นวรรคคำ จบประโยคไม่มีจุด
จบประโยค และสุดท้ายคือเริ่มต้นประโยคโดยที่ไม่รู้ว่าต้องใช้ตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก เป็นปัญหา
ที่พบเจอในขณะที่สอนหลังจากที่ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดหลังเรียนจบ ทำให้ผู้วิจัยเลือกที่จำทำวิจัย
ในหัวข้อการพัฒนาทักษะการเขียนในภาษามลายูเบื้องต้นให้ถูกต้องโดยใช้เพลงประกอบนี้ เพื่อที่จะได้
แก้ปัญหาเหล่านี้ และปรับปรุงเพื่อให้ได้ผลที่ดีขึ้น และที่เลือกใช้เพลงประกอบเนื่องจากง่ายต่อการใส่
ในคลิปวิดีโอการเรียนการสอน เนื่องด้วยปัจจุบันมีสถานการณ์ของโรคไวรัสโควิด -19 ทำให้มรการ
เรียนการสอนในรูปแบบการอัดคลิปวิดีโอ(On demand)ที่สอนและส่งให้นักเรียนได้เรียนและทำ
แบบฝึกหัดหลังเรียนโดยที่มีผู้ปกครองคอยชี้แนะ
การเขียน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึกนึกคิด เรื่องราว ตลอดจนประสบการณ์
ต่างๆไปสู้ผู้อื่นโดยใช้ตัวอักษรเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอด การเขียนเป็นวิธีการสื่อสารที่สำคัญในการ
ถ่ายทอดความรู้ ความคิด และประสบการณ์ เพื่อสื่อไปยังผู้รับได้อย่างกว้างไกล นอกจากนั้นการเขียน
ยังมีคุณค่าในการบันทึกเป็นข้อมูลหลักฐานให้ศึกษาได้ยาวนาน และการเขียนต้องมีหลักการและเป็น
ทักษะที่ต้องเอาใจใส่ฝึกฝนอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความรู้ ความชำนาญ และป้องกันความผิดพลาด
ดังนั้น ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องใช้หลักในการเขียน
ปัจจุบันในสังคมไทยส่วนใหญ่เด็กที่โตมาจะเขียนหนังสือไม่ค่อยได้หรือบางคนเขียนได้แต่ก็
ไม่ได้ถูกต้องตามหลักการ ทำให้เป็นปัญหาต่อตัวเด็กเอง ดังนั้นจึงหยิบการพัฒนาทักษะการเขียนมา
เป็นวิจัย เพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาที่ดีขึ้นและได้รับประสิทธิภาพในการเขียนมากขึ้น โดยเลือกใช้พลง
ประกอบควบคู่แบบฝึกหัดในการวิจัยในครั้งนี้ ทั้งนี้เพลงยังเป็นสื่ออย่างหนึ่งที่สามารถสร้างความ
จรรโลงใจให้กับมนุษย์ ช่วยให้มนุษย์มมีความสุข ความรื่นเริง สนุกสนานเพลิดเพลิน (Bernard 1970
: 16) กล่าวว่า เพลงจะช่วยลดความเหนื่อยล้าทางจิตใจ ลดความตึงเครียด เพลงเป็นเครื่องมือที่ช่วย
สร้างอารมณ์ที่ดี ทำให้เกิดความซาบซึ้งและนำไปสู่การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เพลงยัง
ช่วยให้ผู้เรียนมีการพัฒนาการหลายด้าน เช่น ด้านสติปัญญา ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์
เกิดความสนุกสนานด้านการศึกษา ทำให้ผู้เรียนอยากเรียนมากขึ้น ส่วนแบบฝึกหัดจะช่วยให้ผู้เรียนได้
ฝึกหัดการเขียน และสามารถนำไปสู่การเขียนได้อย่างถูกต้อง
การเรียนการสอนในปัจจุบัน ต้องเน้นการสอนเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้ ให้รู้จริง สื่อสาร
ได้อย่างถูกต้อง เกิดผลที่ดี โดยสามารถใช้ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน เป็นเครื่องมือใน
การสื่อสารในบรรดาทักษะต่างๆ ทักษะการเขียนก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะเป็นหลักฐานที่จะยังคงอยู่อย่าง
ยาวนานยิ่งกว่าทักษะอืน่ ๆ ในการนำเสอนข้อมูล ความรู้ ความคิด และประสบการณ์ต่างๆของผู้ส่ง
สารและผู้รับสาร การเขียนถือเป็นทักษะหนึ่งที่ผู้เรียนเรียนได้ยากที่สุด เนื่องจากต้องอาศัย
ความสามารถในหลายๆด้าน เมื่อเทียบกับทักษะกาพูดจะเห็นว่าการพูดสามารถทำได้ง่ายกว่า เพราะ
เนื่องจากว่ามีผู้ฟัง และสามารถตอบโต้ได้ทันที พูดออกมาได้ง่ายขึ้น แต่ในขณะเดียวกันเราก็ต้อง
ไตร่ตรอง คิดพิจารณาให้ดีก่อนที่จะปล่อยคำพูดออกไป ในขณะที่การเขียนนั้นผู้เขียนต้องทำด้วย
ตัวเอง โดยไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบใดๆเป็นตัวช่วย ผู้เขียนต้องเรียบเรียงถ้อยคำให้สามารถสื่อความหมาย
ได้ออกมาตามที่ต้องการ และสามารถเข้าใจทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร (นันท์มนัส คำเอก, 2551 : 2 )
กล่าวไว้ว่า บางครั้งทักษะการเขียนถูกมองว่าเป็น “ทักษะที่ถูกลืม” เพราะเป็นทักษะสุดท้ายที่ผู้ผู้สอน
ให้ความใส่ใจ เนื่องจากมีเวลาจำกัดในการเรียนการสอนและการตรวจงานแก้ไขงานเขียน อีกทั้งยังคง
ต้องใช้เวลามากในการเตรียมการสอน นอกจากนี้จากการสังเกตยังพบอีกว่า ภาระงานเขียนที่ผู้สอน
มอบหมายให้ทำนั้นเป็นการเขียนระดับประโยคที่ผู้สอนมุ่งตรวจความถูกต้องของการใช้ไวยากรณ์ใน
บทเรียนนั้นๆเท่านั้น ทำให้ผู้เรียนส่วนใหญ่ซึ่งมีความรู้ด้านไวยากรณ์และคำศัพท์อย่างจำกัด รู้สึกวิตก
กังวลเสมอเมื่อได้รับมอบหมายให้ทำงานเขียน เนื่องจากมองว่าการเขียนเป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนยาก
เกินกว่าที่ตนเองจะทำได้ และหากทำผิดจะถูกผู้สอนตำหนิและลงโทษ ซึ่งทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่าย
Read (2010 : 47-52) กล่าวว่า ครูมักจะสั่งให้นักเรียนเขียนงานโดยที่ไม่ได้สอนวิธีเขียน ทำให้นักเรียน
เขียนไม่ได้นักเรียนจะถูกสั่งให้เขียนในหัวข้อที่ไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น และเขียนในรูปแบบที่
ไม่ได้คุ้นเคย ฉะนั้นแล้วผู้เป็นครูต้องคอยสอนและเน้นย้ำผู้เรียนทั้ง 4 ทักษะ 1. การฟัง 2. การพูด 3.
การอ่าน 4. การเขียน โดยสอนตั้งแต่เริ่มต้น และจะต้องไม่เจาะจงทักษะใดทักษะหนึ่ง เพราะจะทำให้
นักเรียนขาดทักษะใดทักษะหนึ่ง ทำให้นักเรียนได้รับความรู้ไม่เต็มที่และไม่มีประสิทธิภาพในการเรียน

1.2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาและเข้าใจในการเขียนภาษามลายู
2. เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้เรียนได้พัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพมาก
ขึ้น
3. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการเขียนโดยใช้เพลง

1.3. สมมุติฐานของการวิจัย
1. การพัฒนาในด้านทักษะการเขียนให้ถูกต้องในภาษามลายูของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
3 มีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม
2. ผลสัมฤทธิ์ขทางการเขียนของนักเรียนมีผลดีขึ้นกว่าเดิม

1.4. ขอบเขตของการวิจัย
ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการวิจัยไว้ดังนี้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบุ
ดี สังกัดสพป.ยะลา 1 ซึ่งกำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน 29 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน
บ้านบุดี สังกัดสพป.ยะลา 1 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 10 คน
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
1. ตัวแปร
1.1. ตัวแปรต้น คือ การจัดการเรียนรู้พัฒนาทักษะการเขียนโดยใช้เพลง
1.2. ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนคำ

ระยะเวลาการวิจัย
ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ใช้เวลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
1.5. นิยามคำศัพท์
การพัฒนา คือ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายของ
“พัฒนา” ว่าคือ “ทำให้เจริญ” ดังนั้นการพัฒนาจึงหมายถึง การทำให้เจริญ
ทักษะ คือ ความสามารถ,ความถนัด,ความชำนาญ,ฝีไม้ลายมือ,ความสามารถเฉพาะ
การเขียน คือ การแสดงออกเพื่อการติดต่อสื่อสารอย่างหนึ่งของมนุษย์โดยใช้สัญลักษณ์
ภาษาตัวอักษร เป็นสื่อเพื่อถ่ายทอดความรู้ความคิด ความต้องการ ความรู้สึก ประสบการณ์ฯลฯ ของ
ตนให้ผู้อื่นรับทราบ การสื่อความคิดหรือข้อมูลทั้งหมดนี้ผู้เขียนต้องถ่ายทอดออกมาโดยผ่านอักษร ไม่
มีสถานการณ์เหมือนการพูด
เพลง คือ สำเนียงขับร้อง, ทำนองดนตรี, บทประพันธ์ดนตรี, กระบวนวิธีรำดาบรำทวนเป็น
ต้น, ชื่อการร้องแก้กัน มีชื่อต่าง ๆ เช่น เพลงปรบไก่ เพลงฉ่อย
ผลสัมฤทธิ์ คือ ผลสำเร็จ,ความสำเร็จ เช่น การจัดงานแสดงสินค้าได้รับผลสัมฤทธิ์ตามที่
คาดหวังเอาไว้
1.6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนสามารถเข้าใจในทักษะการเขียนคำในภาษามลายู
2. นักเรียนมีพัฒนาการทางด้านทักษะการเขียนที่ดีขึ้น
3. ครูผู้สอนสามารถนำเครื่องมือเพลงและชุดแบบฝึกหัดไปปรับใช้กับนักเรียนชั้นอื่นๆได้

1.7. กรอบแนวคิดการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยโดยการศึกษาการพัฒนาทักษะการเขียนคำภาษา
มลายู ของนักเรียนชั้นประถามศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เพลงควบคู่แบบฝึกหัด

ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม

การจัดการเรียนรู้พัฒนาทักษะ ผลสัมฤทธิ์ในการเขียน
การเขียนโดยใช้เพลง ภาษามลายูให้ถูกต้อง
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

แนวคิดทฤษฎีและการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องทักษะการเขียนนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษา
ค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยต่างๆ ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังต่อไปนี้
2.1. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการเขียน
2.1.1. ความหมายของการเขียน
2.1.2. ความสำคัญของการเขียน
2.1.3. จุดประสงค์ของการเขียน
2.1.4. ประโยชน์ของการเขียน
2.2. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการใช้เพลงประกอบ
2.2.1. ความหมายของเพลง
2.2.2. จุดมุ่งหมายของการใช้เพลง
2.2.3. ประโยชน์ของเพลง
2.3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.1. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการเขียน
2.1.1. ความหมายของการเขียน
การเขียนเป็นทักษะหนึ่งที่ต้องใช้เวลา และต้องใช้กระบวนการของทักษะอื่นๆเข้ามาร่วมด้วย
เช่น ทักษะการฟัง ทักษะการอ่าน ทักษะการคิด เพื่อใช้ในการเขียนและถ่ายทอดความคิดออกมา ถือ
เป็นทักษะที่ต้องใช้เวลานานเพราะต้องคอยเขียนตัวอักษรออกมาถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ณ เวลา
นั้นๆ
การเขียนเป็นการสื่อสารด้วยอักษร ถ่ายทอดความรู้ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก
ประสบการณ์ของผู้เขียนไปสู่ผู้อ่าน ทักษะการเขียนเป็นทักษะที่เป็นทั้งศิลป์และศาสตร์ กล่าวคือ การ
เขียนต้องใช้ภาษาที่ไพเราะประณีต สื่อได้ทั้งอารมณ์ ความคิด ความรู้ ต้องใช้ศิลปะ ที่กล่าวว่าเป็น
ศาสตร์เพราะการเขียนทุกชนิดต้องประกอบด้วยความรู้ หลักการและวิธีการ
การเขียน คือ การถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้ความคิด ความต้องการและความรู้สึกของบุคคล
ด้วยการเรียบเรียงถ้อยคำข้อความออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อสื่อสารให้เกิด
ความเข้าใจตามที่ประสงค์
วิจิตรา แสงพลสิทธิ์ และคนอื่นๆ (2522: 269) กล่าวว่า การรเขียนคือการแสดงออกเพื่อการ
สื่อสารอย่างหนึ่งของมนุษย์ โดยอาศัยภาษาตัวอักษรและอุปกรณ์อื่นๆ เป็นสื่อเพื่อถ่ายทอดความรู้สึก
นึกคิด ความต้องการและความสนใจทุกอย่างให้ผู้อื่นได้ทราบ
นภดล จันทร์เพ็ญ (2534: 91) กล่าวว่า การเขียนคือการแสดงออกในการติดต่อสื่อสารอย่าง
หนึ่งของมนุษย์ โดยอาศัยภาษาตัวอักษรเป็นสื่อเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ความต้องการและความ
ในใจของเราให้กับผู้อื่นทราบ
นิตยา ธัญญาพาณิชย์ (2537: 2) กล่าวว่า การรรเขียนเป็นทักษะทางภาษาที่สำคัญประการ
หนึ่ง ใช้ในการติดต่อสื่อสารโดยมีตัวหนังสือตลอดจนเครื่องมือต่างๆ เป็นสัญลักษณ์แทนถ้อยคำใน
ภาษาพูด เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก และประสบการณ์ให้ผู้อื่นทราบ
สมพร มันตะสูตร (2540: 3) กล่าวว่า การเขียนคือการสื่อความรู้ ความคิด ทัศนคติและ
อารมณ์เป็นตัวอักษรจากผู้เขียนถึงผู้อ่าน
สนิท สัตโยภาส (2545: 142) กลล่าวว่า การเขียน หมายถึง การติดต่อสื่อสารอย่างหนึ่งของ
มนุษย์ ที่มนุษย์พยายามถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้ผู้อื่น
อ่านแล้วเข้าใจตามที่ตนต้องการ
พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (2546 : 203) ให้ความหมายคาว่า เขียน ไว้ว่า
ขีดให้เป็นตัวหนังสือหรือเลข, ขีดให้เป็นเส้นหรือรูปต่างๆ, วาด, แต่งหนังสือ
สมบัติ ศิริจันดา (2554: 87) กล่าวว่า การเขียนคือการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึก
ความต้องการ ตลอดจนประสบการณ์ต่างๆจากผู้เขียน ถ่ายทอดผ่านตัวอักษรไปยังผู้รับสาร เพื่อ
จุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง จากกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง และจากรุน่
หนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึง่
โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล (2555 : 77) กล่าวว่า การเขียนหมายถึงทักษะในการใช้ภาษาที่มุ่ง
ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิด ความรู้และข้อมูลต่างๆ เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้ผู้อ่านได้รับทราบ
จุดประสงค์ตามเจตนาของผู้เขียน
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การเขียน คือ การถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความ
ต้องการตลอดจนประสบการณ์ต่างๆ ของผู้เขียน ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือสัญลักษณ์ไปยัง
ผู้อ่านให้เข้าใจตามจุดประสงค์ที่ต้องการ

2.1.2. ความสำคัญของการเขียน
ปัจจุบันในสังคมมีวิธีการที่หลากหลายต่างกันไปเนื่องด้วยเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้า หากแต่
การสื่อสารด้วยการเขียนยังคงมีบทบาทความสำคัญ
การเขียนมีความสำคัญสำหรับมนุษย์ ยิ่งโลกในปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
การเขียนกูยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นตามไปด้วยซึ่งสามารถสรุปความสำคัญของการ เขียนได้ดังนี้
1. การเขียนเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง
2. การเขียนเป็นการแสดงออกซึ่งภูมิปัญญาของมนุษย์
3. การเขียนเป็นเครื่องมือถ่ายทอดมรดกทางสติปัญญา
4. การเขียนเป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคีและความเจริญรุ่งเรือง ในทางตรงกันข้ามก็ใช้เป็นเครื่อง
บ่อนทำลายได้เช่นกัน
เปรมจิต ศรีสงคราม (2534: 3) กล่าวถึงความสำคัญของการเขียนไว้ 3 ประการ ดังนี้
1. ใช้เป็นสื่อ ในการเขียนภาษาไทยมีแบบแผนและถ้อยคำสำนวนสำหรับใช้โดยเฉพาะผู้เขียนจะต้อง
เขียนให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านอ่านด้วยความเข้าใจ และเพื่อสนองความต้องการของผู้เรียนที่ต้องการให้
ผู้อ่านรู้อะไรบ้าง
2. เป็นการให้ความรู้ การเขียนให้ผู้อื่นอ่านนั้น ผู้เขียนจะต้องมีจุดมุ่งหมายอย่างหนึ่งคือการให้ความรู้
แก่ผู้อ่าน เพื่อเป็นการพัฒนาสติปัญญาให้ก้าวไกลยิ่งขึ้น กล่าวคือเมื่อผู้อ่านอ่านข้อเขียนนั้นแล้ว
สามารถนำไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองได้
3. เป็นการพัฒนาความคิด ผู้อ่านได้อ่านข้อเขียนที่ผู้เขียนเขียนไว้ ข้อเขียนเหล่านั้นได้พัฒนาความคิด
ความเข้าใจ ความต้องการของผู้อ่านได้มากน้อยเพียงไร
สนิท ตั้งทวี (2538: 118) ได้แสดงความสำคัญของการเขียนไว้ดังนี้
1. เป็นเครื่องแสดงออกถึงความรู้ ความคิดและความรู้สึกของมนุษย์
2. เป็นเครื่องมือสำคัญที่แสดงถึงอารยธรรมของมนุษย์ในแต่ละยุคสมัย
3. เป็นเครื่องมือสื่อสารของมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ
4. เป็นเครื่องถ่ายทอดวัฒนธรรมที่สำคัญอันเป็นมรดกทางด้านสติปัญญาของมนุษย์ เช่น วรรณกรรม
วรรณคดี ตำนาน ฯลฯ
5. เป็นเครื่องมือที่ช่วยสนองต่อความต้องการของมนุษย์ เช่นความรัก ความเข้าใจ ความเห็นนอกเห็น
ใจ
6. เป็นบันทึกที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สามารถสืบค้นเพื่อการเรียนรู้ของคนรุ่นหลังได้
7. เป็นเครื่องมือในการปะกอบอาชีพของคนบางอาชีพ เช่น นักเขียนข่าว นักประพันธ์ นักวิชาการ
ฯลฯ
สนิท สัตโยภาส (2545: 142) กล่าวถึงความสำคัญของการเขียน ซึ่งสอดคล้องกับสนิท ตตั้ง
ทวี ไว้ดังนี้
1. การเขียนมีความสำคัญในแง่ที่เป็นเครื่องมือสื่อสารของมนุษย์ ใช้ในการถ่ายทอดความรู้นึกคิดและ
สติปัญญาต่อกันและกัน
2. การเขียนเป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดวัฒนธรรม อันเป็นมรดกด้านภูมมิปัญญาของมนุษย์
3. การเขียนช่วยเผยแพร่และกระจายความรู้ ความคิด และข่าวสารได้อย่างกว้างไกล และรวดเร็ว
4. การเขียนเป็นการบันทึกทางสังคมที่ให้คุณค่า อำนวยประโยชน์อย่างมหาศาลแก่ชนรุ่นหลังทั้ง
ปัจจุบันและอนาคต
5. การเขียนสามารถสร้างความรักสามัคคีในมนุษยชาติได้เมื่องานเขียนนั้นมีความหมายเพื่อสร้าง
ความเข้าใจ สร้างความรักเพื่อนมนุษย์ เป็นนงานเขียนที่สร้างสันติสุขแก่สังคมโลก
6. การเขียนสามารถยึดเป็นงานอาชีพที่สำคัญอย่างหนึ่งได้ในปัจจุบัน
7. การเขียนสามารถทำให้บุคคลประสบความสำเร็จในชีวิตได้ โดยเฉพาะด้านการศึกษาเล่าเรียน
ความสำคัญของการเขียนโดยสรุปได้ดังนี้
1. เป็นเครื่องมือสื่อสารอย่างหนึ่งของมนุษย์ ที่ต้องการถ่ายทอดความคิดความเข้าใจ และ
ประสบการณ์ของตนเองออกเสนอผู้อ่าน
2. เป็นการเก็บบันทึกรวบรวมข้อมูล ที่ตนได้มีประสบการณ์มาก่อน
3. เป็นการระบายอารมณ์อย่างหนึ่ง ในเรื่องที่ผู้เขียนเกิดความรู้สึกประทับใจหรือมีประสบการณ์
4. เป็นเครื่องถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรม เช่น ถ่ายทอดสมัยหนึ่งไปสู่อีกสมัยหนึ่ง เป็นต้น
5. เป็นเครื่องมือพัฒนาสติปัญญา เนื่องจากการเรียนรู้ทุกอย่างต้องอาศัยการเขียนเป็นเครื่องมือ
สำหรับบันทึกสิ่งที่ได้ฟังและได้อ่านและนำไปสู่การพัฒนาสืบไป
6. เป็นการสนองความต้องการของมนุษย์ตามจุดประสงค์ที่แต่ละคนปรารถนา เช่น เพื่อต้องการทำให้
รู้เรื่องราว ทำให้รัก ทำให้โกรธและสร้างหรือทำลายความสามัคคีของคนในชาติ
7. เป็นการแสดงออกซึ่งภูมิปัญญาของผู้เขียน
8. เป็นอาชีพอย่างหนึ่ง
9. เป็นการพัฒนาความสามารถและบุคลิกภาพ ทำให้บุคคลมีความเชื่อมั่นในตัวเองในการแสดง
ความรู้สึกและแนวคิด
10. เป็นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

2.1.3. จุดประสงค์ของการเขียน
แนวคิดเกี่ยวกับจุดประสงค์ของการเขียนนั้นได้มีผู้ให้คำอธิบายไว้อาทิ
ดวงใจ ไทยอุบล (2543 : 14) กล่าวว่า จุดประสงค์ของการเขียนที่เกี่ยวข้องกับประเภท ของ
งานเขียนมีดังนี้
1. เพื่อการเล่าเรื่อง เช่น การเล่าประวัติเล่าประสบการณ์หรือเล่าเหตุการณ์ต่างๆ
2. เพื่ออธิบายค าหรือความ เช่น อธิบายการทำอาหาร
3. เพื่อโฆษณาจูงใจ เช่น การโฆษณาสินค้า โฆษณาภาพยนตร์
4. เพื่อปลุกใจ เช่น เพลงปลุกใจ บทความปลุกใจให้รักชาติ
5. เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือแนะน า เช่น บทความเสนอแนะ
6. เพื่อสร้างจินตนาการ เช่น การเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย บทร้อยกรอง
7. เพื่อล้อเลียนเสียดสีเช่น บทความล้อเลียนเสียดสีเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ
8. เพื่อประกาศ เช่น ประกาศแจ้งความ ประกาศเชิญชวน
9. เพื่อวิเคราะห์เช่น วิเคราะห์ข่าว วิเคราะห์เหตุการณ
10. เพื่อวิจารณ์เช่น วิจารณ์หนังสือ วิจารณ์บทความ วิจารณ์สารคดีวิจารณ์ตำรา
11. เพื่อทำข่าว เช่น การเสนอข่าวประเภทต่าง ๆ คือ ข่าวการเมือง ข่าวธุรกิจ
12. เพื่อเขียนเฉพาะกิจ เช่น เขียนจดหมาย เขียนการ์ตูน เขียนธนาณัติ ส
สุนีติ์ ภู่จิรฐาพันธุ์ (2555 : 151-152) อธิบายจุดมุ่งหมายของการเขียนไว้ดังนี้
1. เพื่อเล่าเรื่อง เป็นการเขียนเล่าเรื่องต่างๆ ให้ผู้อ่านทราบ เช่น เล่าเหตุการณ์ เล่าประสบการณ์หรือ
เล่าประวัติ ผู้เขียนต้องใช้วิธีการเล่าให้ชวนอ่านและเห็นภาพจึงจะทำให้ผู้อ่านสนใจมากขึ้น
2. เพื่ออธิบาย เป็นการเขียนอธิบายแจกแจงข้อเท็จจริง ความรู้ หรืออธิบายวิธีการ หลักเกณฑ์และ
ทฤษฎีต่างๆ มักปรากฏในงานเขียนประเภทวิชาการหรือต ารา การเขียนประเภทนี้ต้องใช้ ภาษา
กระชับรัดกุม ลำดับความอย่างมีขั้นตอนจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น
3. เพื่อโน้มน้าวใจ เป็นการเขียนเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความสนใจหรือคล้อยตาม เช่น การเขียน บทโฆษณา
สินค้า บทความโน้มน้าวใจ การเขียนเพื่อโน้มน้าวใจจะต้องใช้ภาษาให้น่าสนใจมีความสละสลวย
คล้องจอง สั้นกะทัดรัดและจดจำง่าย
4. เพื่อปลุกใจ เป็นการเขียนในรูปแบบของการปลูกจิตส านึกในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อให้ ผู้อ่านเกิด
ความรู้สึกเข้มแข็ง พร้อมเพรียง เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การเขียนเพื่อปลุกใจจะออกมา ใน
รูปของบทความ บทเพลง บทละคร บทร้อยกรอง การเขียนลักษณะนี้จะต้องใช้ค าที่มีน้ำหนัก ใช้
ประโยค สั้นๆ อาจมีการเน้นย้ำและยกตัวอย่างประกอบ
5. เพื่อแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์หรือแนะน า เป็นการเขียนเพื่อ แยกแยะให้เข้าใจ
รายละเอียดหรือแก่นแท้ของเรื่อง การแสดงทรรศนะหรือน าเสนอความคิดใหม่ในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง
มักเขียนออกมาในรูปของบทความ การเขียนประเภทนี้ผู้เขียนต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงรวมทั้งใช้
วิจารณญาณที่ถูกต้องยุติธรรมและการใช้ภาษาที่เรียบง่ายกะทัดรัด
6. เพื่อแสดงจินตนาการ เป็นการเขียนสร้างสรรค์ที่ผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการ คล้อยตาม
ดังนั้นผู้เขียนจึงควรใช้ภาษาที่สร้างภาพพจน์เพื่อจูงใจ การเขียนเพื่อแสดงจินตนาการมักปรากฏ ในรูป
ของบทร้อยกรอง เรื่องสั้น นวนิยายหรือบทละคร
7. เพื่อกิจธุระ เป็นการเขียนที่ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ที่จะกระทำกิจใดกิจหนึ่ง เช่น การเขียนประกาศ
การเขียนจดหมายร้องเรียน การเขียนบัตรเชิญ รูปแบบการเขียนและการใช้ภาษาจะแตกต่างกันไป
ตามโอกาสและประเภทของกิจนั้นๆ เช่น การเขียนจดหมายราชการต้องใช้รูปแบบที่แน่นอนและใช้
ภาษาแบบแผน หรือการเขียนประกาศทั่วไปไม่เน้นรูปแบบ แต่ถ้าเป็นการประกาศอย่างเป็นทางการก็
ต้อง เขียนให้ถูกต้องตามรูปแบบ เป็นต้น
8. เพื่อล้อเลียนหรือเสียดสี เป็นการเขียนที่ต้องการหยิบยกเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อาจเป็นส่วน บกพร่องใน
สังคมมากล่าวต าหนิอย่างนุ่มนวล โดยการแทรกอารมณ์ขันด้วยถ้อยค าภาษาทีเล่นทีจริงไม่ รุนแรง
ซึ่งแสดงออกได้หลายวิธี เช่น การเขียนล้อเลียนด้วยภาพและข้อความประกอบ หรืออาจจะเขียนเป็น
ข้อเขียนสั้นๆ หรือเรื่องราวสั้นๆ
สอดคล้องกับโสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล (2555: 78-79) ได้อธิบายไว้ดังนี้
1. เขียนเพื่อเล่าเรื่อง เป็นการเขียนที่มุ่งให้ข้อมูลต่างๆ แก่ผู้อ่านเพื่อให้เห็นเหตุการณ์ และ ภาพรวม
ทั้งได้รับอรรถรสในสิ่งที่ผู้เขียนได้ประสบมา เช่น เล่าเหตุการณ์ เล่าประสบการณ์ ฯลฯ
2. เขียนเพื่ออธิบายหรือให้ความรู้ เป็นการเขียนที่มุ่งให้สาระความรู้แก่ผู้อ่าน โดยการแจกแจง
ข้อเท็จจริง อธิบายวิธีการลำดับขั้นตอนต่างๆ การเขียนลักษณะนี้มักเป็นงานเขียนเชิงวิชาการ เช่น
อธิบายขั้นตอนการตอนกิ่งต้นยางพารา อธิบายการทำขนมช่อม่วง อธิบายเทคนิคการถ่ายภาพด้วย
กล้อง ดิจิตอล ฯลฯ
3. เขียนเพื่อโฆษณาจูงใจ การเขียนแบบนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อโน้มน้าวใจ หรือโฆษณาเพื่อให้ ผู้อ่าน
คล้อยตาม เห็นด้วยหรือเปลี่ยนความคิด ความรู้สึก และทัศนคติ แล้วปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้เขียน
เช่น การเขียนคำขวัญเชิญชวนให้ไปเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเขียนข้อความโฆษณาชวน
เชื่อให้ ซื้อสินค้าหรือใช้บริการต่างๆ ฯลฯ
4. เขียนเพื่อปลุกใจ การเขียนประเภทนี้ ผู้เขียนมีเจตนาจะให้ผู้อ่านมีความคิดเห็น เหมือนกับตนเอง
หรือปลุกเร้าความรู้สึกที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น บทความปลุกใจให้คนไทยรู้รัก สามัคคี บทความ
ปลุกใจให้ร่วมกันธำรงประชาธิปไตย เป็นต้น
5. เขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น การเขียนลักษณะนี้มักเสนอในรูปของบทความทั่วไปในเชิง วิพากษ์
วิจารณ์ แนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น การแนะนำหนังสือ แนะนำสถานที่
การวิจารณ์การทำงานของรัฐบาล การวิเคราะห์สถานการณ์ความไม่สงบในสังคมไทย ฯลฯ
6. เขียนเพื่อสร้างจินตนาการ เป็นการเขียนที่มุ่งให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการคล้อยตามผู้เขียน โดยที่
ผู้เขียนนำเสนอภาพความคิดที่สร้างสรรค์ผ่านการใช้ภาษาซึ่งเลือกสรรแล้วอย่างประณีต เช่น นว
นิยาย เรื่องสั้น บทร้อยกรอง บทละคร ฯลฯ
7. เขียนเพื่อล้อเลียนเสียดสี เป็นการเขียนที่มุ่งให้ความรู้สึกในลักษณะล้อเลียน เสียดสี ประชดประชัน
ท้วงติง เหน็บแนม หรือหยอกล้อด้วยความปรารถนาดี อาจแทรกอารมณ์ขันในการเขียน หรือมี
รูปภาพประกอบบ้าง เช่น การเขียนอธิบายภาพการ์ตูนล้อเลียนการเมือง บทละครเสียดสีสังคม การ
แสดงตลกของนักแสดง ฯลฯ
สอดคล้องกับสมบัติ ศิริจันดา ( 2554 : 88-89) ที่ได้อธิบายจุดมุ่งหมายของการเขียนไว้
เช่นกันดังนี้
1. เขียนเพื่อเล่าเรื่อง คือ การเขียนเพื่อบอกเล่าเรื่องราว เหตุการณ์หรือประสบการณ์ ต่างๆ เพื่อให้
ผู้อ่านได้รับรู้ เช่นการเขียนสารคดี การเขียนข่าว การเขียนอัตชีวประวัติ การเขียนชีวประวัติ เป็นต้น
2. เขียนเพื่ออธิบาย คือ การเขียนเพื่อพรรณนา ชี้แจงบอกขั้นตอนวิธีการ ตลอดจนตอบ ปัญหาข้อ
ข้องใจต่างๆ ให้ผู้อ่านได้เกิดความเข้าใจ เช่น การเขียนชี้แจงขั้นตอนการสลายม็อบที่อำเภอตากใบ
การเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานวิจัย การอธิบายวิธีการทำต้มยำกุ้ง อธิบายวิธีการรับประทานยา
หรือ การใช้ยาฆ่าแมลง เป็นต้น
3. เขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น คือ การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนที่มี ต่อเรื่องใด
เรื่องหนึ่ง ในเชิงวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ แนะนำหรือแสดงข้อมูลใหม่ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ ในทาง
ปฏิบัติแก่ผู้อ่าน โดยมีข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้องมีเหตุผลรองรับ เช่น บทความวิเคราะห์
สถานการณ์ต่างๆ ทั้งด้านการเงิน การเมือง สังคม เศรษฐกิจ หรือบทวิจารณ์ต่างๆ ในวงการเมือง
วงการ บันเทิง เป็นต้น
4. การเขียนเพื่อโน้มน้าวใจ คือการเขียนเพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตาม ปรับเปลี่ยนทัศนคติ ปรับเปลี่ยน
พฤติกรรม ยอมรับหรือปฏิบัติตาม การเขียนประเภทนี้ผู้เขียนต้องสามารถสร้างแรงจูงใจต่อ ผู้อ่านได้
เป็นอย่างดี โดยชี้ให้เห็นประโยชน์ โทษ ข้อดีและข้อเสียต่างๆ ประกอบการชักจูงใจ ซึ่งต้องมีการ
แสดงเหตุผล การเปรียบเทียบ การยกตัวอย่าง ให้ผู้อ่านได้เห็นอย่างชัดเจน การเขียนเพื่อโน้มน้าวใจ
สามารถแบ่งออกได้ 3 ลักษณะดังนี้
1) การเขียนเพื่อโฆษณา คือการเขียนเพื่อให้ผู้อ่านสนใจในสิ่งที่ผู้เขียนต้องการ อาจ ต้องการ
ให้สนใจหรือเร่งเร้าให้ปฏิบัติก็ได้ เช่น โฆษณาขายสินค้า โฆษณาหาเสียง การรณรงค์ปูองกันโรค เอดส์
เป็นต้น
2) การเขียนเพื่อปลุกปลอบใจ คือ การเขียนเพื่อกระตุ้นความรู้สึกให้คล้อยตามหรือให้ เกิด
ร่วมกัน เช่น การเขียนเพื่อให้รักชาติรักแผ่นดิน การเขียนเร้าใจให้ต่อสู้เพื่อความยุติธรรม
3) การเขียนเพื่อจรรโลงใจให้แง่คิด คือการเขียนเพื่อให้แง่คิดหรือยกระดับจิตใจของ ผู้อ่านให้
ดีขึ้น สร้างจิตสำนึกในทางที่ดีที่งาม เช่น การเขียนคำสั่งสอน คำชี้แนะ หลักธรรมะ เป็นต้น
5. การเขียนเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน คือ การเขียนเพื่อให้ผู้อ่านผ่อนคลาย ความเครียดของ
สมอง มุ่งให้เกิดความเพลิดเพลินเจริญใจ เกิดความซาบซึ้งประทับใจ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
1) การเขียนเพื่อสร้างจินตนาการ คือ การเขียนที่สร้างจากจินตนาการของผู้เขียนและ
ต้องการให้ผู้อ่านได้อ่านและจินตนาการตามเรื่องราวที่ผู้เขียนได้เขียนไว้ เช่น นิทาน นิยาย นวนิยาย
เรื่อง สั้น กวีนิพนธ์ เป็นต้น
2) การเขียนเพื่อเสียดสี ยั่วล้อ คือ การเขียนเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความสนุกสนาน เช่นเดียวกัน
โดยผู้เขียนจะเขียนเสียดสีหรือยั่วล้อสังคม บุคคล หรือเหตุการณ์ต่างๆ โดยมุ่งเอาความ สนุกสนาน
เป็นหลัก ไม่ได้หวังให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด ซึ่งในการเขียนอาจมีการสอดแทรกคติ ข้อเตือนใจ
หรือแนวคิดที่ไม่หนักสมองมากนัก รูปแบบการเขียนประเภทนี้อาจใช้ลักษณะของตัวอักษร บรรยาย
ภาพประกอบเช่นในหนังสือพิมพ์รายวัน หรือเขียนเป็นเรื่องราวแบบร้อยแก้วหรือร้อยกรองก็ได้ จาก
แนวคิดจุดประสงค์ของการเขียนที่มีผู้ กล่าวไว้ข้างต้นว่ามีความสอดคล้องกัน และ เห็นได้ว่า
จุดประสงค์ของการเขียนนั้น สัมพันธ์กับการใช้ภาษา และ รูปแบบงานเขียน ดังนั้นผู้เขียนมี
จุดประสงค์ในการเขียนอย่างไร ก็เขียนให้สอดคล้องตามจุดประสงค์ที่ ตั้งไว้ จึงจะทำให้งานเขียน
ประสบ ความสำเร็จ
2.1.4. ประโยชน์ของการเขียน
เปรมจิต ศรีสงคราม (2534 : 12) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการเขียนไว้ดังนี้
1. ทำให้มีการพัฒนาความคิด ประสบการณ์ที่ผู้เขียนพบมาและเขียนให้ผู้อื่นอ่าน เมื่ออ่าน แล้วจะได้
ความรู้ทางปัญญา สามารถนำความรู้ที่ได้มานั้นไปพัฒนาความคิดให้ก้าวไกลไม่สับสน ใน
ขณะเดียวกันก็นำความรู้นั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวมต่อไป
2. ทำให้เขียนได้ถูกต้อง ข้อความใดๆก็ตามไม่ว่าจะเป็นการเขียนจดหมาย เขียนเรียงความ เขียนย่อ
ความ เขียนบันทึกข้อความ เขียนค าโฆษณา ที่ได้อ่านนั้นจะช่วยท าให้เขียนได้ถูกต้องในเรื่อง
ตัวสะกดการันต์และในแต่ละครั้งที่อ่านจะช่วยให้จดจำคำต่างๆ ได้แม่นยำขึ้น
3. เกิดข้อคิดเห็นและความรู้ต่างๆ ที่ได้จากการอ่านข้อเขียนแบบต่างๆในบางครั้งผู้อ่าน สามารถนำ
ความรู้เหล่านั้นไปเป็นข้อคิดในการดำเนินชีวิต
4. ทำให้มีความรู้ใหม่ๆเพิ่มขึ้น ในการอ่านข้อความที่เขียนในบทความ สารคดี หนังสือพิมพ์ฯลฯ นั้น
ผู้อ่านจะได้ความรู้ใหม่ๆ คำศัพท์ใหม่ๆ สำนวนใหม่ๆ ที่ผู้อ่านไม่เคยพบมาก่อน และ สามารถนำมาใช้
ได้ต่อเมื่อได้พิจารณาแล้วว่า สิ่งที่อ่านนั้นให้ประโยชน์ในขณะเดียวกันค าศัพท์ใหม่ๆ นั้น จะต้องเป็นค
าสุภาพและไพเราะด้วย
สมปัต ตัญตรัยรัตน์และคนอื่นๆ (2545 : 9) กล่าวถึงประโยชน์ของการเขียนไว้ดังนี้
1. การเขียนช่วยสร้างเสริมปัญญา บุคคลใช้สติปัญญาในการกระท าข้อมูลที่ได้รับพร้อมกับ จัดระบบ
เพื่อส่งออกด้วยการเขียน
2. ช่วยสร้างจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
3. ช่วยถ่ายทอดความเข้าใจ และประสบการณ์ของบุคคลไปสู่สังคม
4. ช่วยผ่อนคลายและระบายความรู้สึก
5. ช่วยบันทึกผลการค้นคว้า
6. ช่วยในการเรียนรู้และพัฒนาคน
ศ.นพ.ประเวศ วะสี (อ้างใน สมบัติ ศิริจันดา. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. 2554 : 94-95)
กล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้เขียนจะได้รับจากการเขียนโดยสรุปได้ดังนี้
1. เป็นการเรียนรู้ตนเอง ถ้ามีการเขียนจำเป็นต้องมีหลักฐานข้อมูลอ้างอิง ทำให้เราต้องพิถีพิถัน
ตรวจสอบ เพราะฉะนั้นการเขียนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะพัฒนาตนเองพัฒนาปัญญาของตนเอง และ
ในทางวิชาการที่จำเป็นต้องเขียนยิ่งต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆว่าถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่
มี อะไรเป็นหลักฐานอ้างอิง เป็นต้น
2. การเขียนได้เป็นความสุข คือ เมื่อทุกคนเขียนออกมาได้แล้วจะมีความสุขเหมือนกับเรา ได้ประสบ
ความสำเร็จบางอย่างจากความสามารถ สติปัญญาของเราเองทั้งหมด ซึ่งเป็นความสุขจากการ เขียน
เกิดขึ้นได้ด้วยกรณีดังนี้ ความสุขเกิดจากความแจ่มแจ้ง ความสุขเกิดจากความสำเร็จ และความสุข
เกิด จากการช่วยให้ผู้อื่นเขารู้ความจริง
3. นำไปสู่การพัฒนาจิตวิญญาณ การเขียนสามารถจรรโลงใจของคนอ่านให้สูงขึ้น ระลึกถึงแต่สิ่งที่ดี
งาม มุ่งทำแต่ความดี ไม่คิดต่าง ดังนั้นการเขียนที่ดีจะเป็นพลังที่ช่วยพัฒนาคน เมื่อคนทุกคนเป็น คนดี
สังคมก็ดี ประเทศชาติก็จะเจริญรุ่งเรือง จากแนวคิดดังกล่าวเห็นได้ว่า การเขียนทำให้ผู้เขียน ได้
พัฒนาความรู้คือเสริมสร้าง สติปัญญาความคิด พัฒนาด้านจิตใจคือผ่อนคลายถ่ายทอดอารมณ์
ความรู้สึก รวมถึงได้รับความสุขที่เกิดจากการเขียน

2.2. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการใช้เพลงประกอบ
2.2.1. ความหมายของเพลง
เพลง หมายถึง บทประพันธ์ที่มีทำนองใช้ขับร้องหรืออาจจะมีดรตรีประกอบด้วยซึ่งเป็น
ศิลปะวัฒนธรรมที่มีคุณค่าของคนทุกชาติ เป็นสิ่งจรรโลงใจทำให้ทุกคนเกิดอารมณ์คล้อยตามได้ง่าย
ที่สุด (วิจิตรา เจือจันทร์, 2533: 28) ซึ่งผู้สอนสามารถนำมาเป็นสื่อหลักหรือสื่อเสริมในการจัดการ
เรียนการสอนได้
ราชบัณฑิตยสถาน (2546: 601) ได้ให้ความหมายของเพลงไว้ว่า เพลง หมายถึง สำเนียงขับ
ร้อง ทำนองดนตรี กระบวนการวิธีรำดาบ รำทวน เป็นต้น
ธีระศักดิ์ วดีศิริศักดิ์ (2540: 2)ได้ให้ความหมายของเพลงไว้ว่า เพลง หมายถึง ภาษาอย่าง
หนึ่งที่สามารถสื่อความคิดเป็นจินตนาการและความรู้สึกออกมาในรูปของถ้อยคำและเสียง ซ฿งผู้ฟัง
แต่ละคนสามรถรับรู้ด้วยความรู้สึกนึกคิดที่แตกต่างกันออกไป
นิวเฟลค์ท และกูราลนิค (Neufeldt and Guralnik. 1978: 108) กล่าวว่า เพลงคือ ศิลปะ
ของการขับร้อง ดนตรีที่บรรเลงหรือแต่งขึ้นเพื่อบรรเลงเพลง คำประพันธ์หรือบทร้อยยกรองที่แต่งไว้
สำหรับขับร้อง เช่น คำโคลง หรือโคลงที่แสดงความรู้สึก
ชัยวัฒน์ เหล่าสืบสกุลไทย (2549: 16) อธิบายว่า เพลง หมายถึง สำเนียงขับร้องทำนอง
ดนตรีที่เรากระทำขึ้นเพื่อสนองความต้องการทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ตลอดจนเพื่อ
กิจกรรมทางด้านสังคมอีกด้วย
สรุปได้ว่า เพลง เป็นสำเนียงการขับร้อง ที่ผู้ขับร้องต้องการถ่ายทอดออกมาให้ผู้ฟังได้ฟัง และ
สามารถนำมาประกอบการสอนได้ เพื่อเพิ่มความสนใจให้กับนักเรียน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความจำให้กับ
นักเรียนด้วย

2.2.2. จุดมุ่งหมายของการใช้เพลง
สุจริต เพียรชอบ และ สายใจ อินทรัมพรรย์(2536: 373 – 376) แสดง
ความคิดไว้ว่า การนําเอาเพลงมาประกอบการสอนภาษาไทย สามารถทำได้หลายลักษณะ คือ
1. ใช้นำเข้าสู่บทเรียน เพื่อสร้างความสนใจแก่ผู้เรียน
2. ใช้ดำเนินการสอนโดยใช้เพลงบอกเล่าเนื้อหา
3. ใช้สรุปบทเรียนโดยการให้ร้องเพลง หรือช่วยกันแต่งเพลงจากเนื้อหาที่เรียน
4. ใช้แก้ไขข้อบกพร่อง ในการออกเสียงภาษาไทย
5. ใช้เสริมบทเรียนและใช้เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร
6. ใช้ประเมินผลการเรียนการสอน
พิมพ์สวัสดิ์ สุขสวัสดิ์ (ปราโมทย์ ไวยกูล. 2540: 11) กล่าวถึงจุดมุ่งหมายอย่างกว้างๆไว้
เพื่อให้เขข้าใจเนื้อหาของวิชาทำให้ผู้เรียนจดจำเรื่องราวของบทเรียนได้รวดเร็วและง่าย นักเรียนเกิด
ความสนุกสนาน ไม่เบื่อหน่ายทั้งยังช่วยให้บทเรียนนั้นมีกิจกรรมอีกด้วยในการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วน
ร่วมในกิจกรรมการเรียนนั้น สำคัญและจำเป็นมาก การร้อง การรรำ ก็มีบทบาทที่จะส่งผลต่อผู้เรียน
แต่การสอนร้องรำก็ควรให้สัมพันธ์กับวิชาการอื่นๆด้วย
ชัยพร รูปน้อย (2540: 12) บอกถึงจุดมุ่งหมายในการสอนเพลงว่า
1. เพื่อให้ความรู้เรื่องงเพลงและบทเพลงต่างๆ
2. เพื่อฝึกให้สามารถร้องเพลงต่างๆได้ดี และรู้จักเพลง
3. เพื่องส่งเสริมให้กล้าแสดงออก
4. เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน รื่นเริง เพลิดเพลินใจ
5. เพื่อไม่เบื่อหน่ายในการเรียน และวิชาที่เรียน ช่วยให้เข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น
6. เพื่อส่งเสริมความสามัคคีในหมู่คณะ ปลูกฝังความรักชาติบบ้านเมือง

2.2.3. ประโยชน์ของเพลง
เพลงเป็นปัจจัยที่ทำให้มนุษย์เกิดความสุกสนาน เบิกบาน มีความสุข ก่อให้เกิดสุนทรียภาพ
ทางด้านอารมณ์ ช่วยทำให้คลายเครียดและสร้างบรรยากาศให้รื่นรมย์
กริฟฟี (Griffee. 1992: 4-5) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของเพลงในการสอนภาษาไว้ว่า
1. เพลงช่วยสร้างบรรยากาศในห้องเรียน เพลงทำให้นักเรียนรู้สึกผ่อนคลายและสร้างสรรค์บรรยากาศ
ที่สนุกสนานในห้องเรียน
2. เพลงเป็นตัวช่วย ให้เกิดการเรียนรู้ทางภาษา คำพูดกับจังหวะมีความสัมพันธ์กันอย่างยิ่ง ดังนั้น
ประสาทการรับรู้เกี่ยวกับจังหวะจึงเป็นพื้นฐานและบันไดขั้นต้นในการเรียนรู้ภาษาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เพลงป๊อบ เป็นตัวอย่างภาษาพูดอย่างดี
3. เพลงเป็นตัวเรียนรู้ทางวัฒนธรรม เพลงสะท้อนถึงสถานที่ถิ่นเกิดของเพลงอันเต็มไปด้วยข้อมูลทาง
สังคม เมื่อนำเพลงมาใช้ในห้องเรียนจึงเปรียบเสมือนนำนำความรู้ทางวัฒนธรรมเข้าห้องเรียนมาด้วย
4. เพลงเป็นตำรา เพลงสามารถใช้เป็นตำราเช่นเดียวกันกับโคลง กลอน เรื่องสั้น นวนิยาย หรือสื่อ
เอกสารจริงอื่นๆ
5. เพลงเป็นอุปกรณ์เสริม เพลงสามารถใช้เป็นอุปกรณ์เสริมตำราเรียนหรือเป็นตำราโดยตัวของมันเอง
ในสถานการณ์สอนหลายอย่าง เช่น ใช้เพลงหลังการเรียนตามปกติ ใช้เพลงในการเปลี่ยนเนื้อหา
บทเรียนใหม่ ใช้เพลงในโอกาศและวาระพิเศษ
6. เพลงช่วยในการสอนบทสนทนา ครูสามารถใช้เพลงในการนำการสนทนาหรือการอภิปรายได้
7. เพลงช่วยในการสอนคำศัพท์ เพลงสามารถใช้การสอนคำศัพท์ได้เป็นอย่างดี
8. เพลงช่วยในการทบทวนโครงสร้างทางไวยากรณ์ เพลงนำเสนอบริบทที่เป็นธรรมชาติสำหรับ
โครงสร้างทางไวยากรณ์ทั่วไป
9. เพลงช่วยในการสอนการออกเสียง เพลงอันประกอบด้วยระดับเสียง จังหวะ และการเน้นคำ
เหมาะแก่การสอนและฝึกทักษะทางภาษาได้หลายทักษะ
10. เพลงช่วยเพิ่มความคงทนในการจำ เพลงช่วยให้เกิดความคงทนในการจำ มีความกระตือรือร้นใน
การเรียนและไม่เบื่อหน่ายในการฝึกซ้ำๆ
11. เพลงช่วยสร้างความสนใจให้นักเรียน เพลงมีอิทธิพลต่อเรานับตั้งแต่หัดพูดจนกระทั่งเป็นนผู้ใหญ่
ครูสร้างความสนใจได้ด้วยเพลง
เพลงมีความสำคัญต่อจิตใจของผู้ฟัง ให้ความบันเทิงและลดความเครียด ผ่อนคลายอารมณ์
ทำให้มนุษย์เกิดสุนทรียภาพทางอารมณ์ ซึ่งเพลงมีบทบาทต่อชีวิตของเรา เพลงกับชีวิตมี
ความสัมพันธ์ใกล้ชิดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับมนุษย์มาตั้งแต่เกิด เสียงเพลงเกิดจากการสร้างสรรค์ของ
คน นักการศึกษาที่ชาญฉลาดจึงนำเพลงมาเป็นสื่อในการศึกษา ทั้งเป็นสื่อหลักและสื่อเสริมพลังที่ครู
นำมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งประโยชน์ของเพลงในด้านกิจกรรมการเรียนการสอนมีดังนี้
1. เพลงช่วยสร้างบรรยากาศในการเรียนให้สนุกสนาน ลดความตึงเครียดระหว่างครูกับนักเรียน หล่อ
หลอมลักษณะนิสัย จิตใจของนักเรียนให้อ่อนโยน
2. เพลงช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ บุคลิกภาพและด้านสังคมของนักเรียน
3. การเข้าสู่บทเรียน สรุปบทเรียนหรือทบทวนบทเรียน เพลงช่วยย้ำสิ่งที่เรียนไปแล้ว เช่น คำศัพท์
รูป ประโยค กฎไวยากรณ์บางเรื่อง
4. เพลงช่วยพัฒนาทางด้านภาษา ซึ่งเป็นการฝึกการฟังให้เข้าใจข้อความในเนื้อเพลงพร้อมทั้งเป็นการ
ฝึกการออกเสียง เชื่อมคำ และจังหวะไปในตัว ทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ ที่สามารถร้องเพลงได้
ซึ่งเป็นการปลูกฝังให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนและช่วยส่งเสริมให้การเรียนดีขึ้น
5. เพลงให้ความรู้หลากหลายแกนักเรียน เช่น วัฒนธรรม สถานที่สำคัญ วันสำคัญเป็นต้น โดยอาจใช้
เพลงเป็นจุดเริ่มต้นของการสนทนา หรืออภิปรายเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในเพลง
นอกจากนี้เพลงยังมีประโยชน์ที่ยังช่วยในเรื่องของความจำได้อย่างดี เพื่อพัฒนาการเรียนการ
สอนภาษาได้ครบทั้ง 4 ทักษะ ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่านและทักษะการเขียน เพื่อให้
เด็กเกิดการพัฒนาในด้านการใช้ภาษาในชั้นเรียน เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุความมุ่งหมายตามที่ต้องการ เพลงสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางพื้นฐาน
ในการเรียนรู้ที่จะพัฒนาทางด้านต่างๆ
สรุปได้ว่า เพลงมีประโยชน์ทางด้านอารมณ์ บุคลิกภาพ สังคมและการเรียนการสอน ทำ
ให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนการสอน นักเรียนได้รับความรู้จากเพลง และเรียนจากเพลงด้วย
ความสนุกสนาน ดังนั้นครูจึงนำเพลงไปสอดแทรกได้เกือบทุกวิชา

2.4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโดยใช้เพลงประกอบ มีดังนี้

Abdulkareem (2013) ได้ทำการวิจัยเรื่องปัญหาการเขียนเชิงวิชาการของนักเรียนชาว


อาหรับในมหาวิทยาลัย Universiti Teknologi Malaysia โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับ
บัณฑิตศึกษาชาวอาหรับ จำนวน 85 คน แบ่งเป็น สำรวจความคิดเห็น จำนวน 80 คน และทดสอบ
ความสามารถในการเขียน จำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาชาวอาหรับมากกว่า ร้อยละ 50
คิดว่าตนเองมีความสามารถในการเขียนอังกฤษในระดับดี และจากการทดสอบความสามารถทางการ
เขียนพบว่าข้อผิดพลาดในงานเขียนส่วนใหญ่ของนักศึกษาอยู่ในด้านโครงสร้างประโดยคและการใช้
คำศัพท์
Mohsenniasl (2014) ได้ศึกษาเรื่องผลของการสอนกลยุทธ์ในการเขียนที่มีต่อความสามารถ
ทางการรเขียนของผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 42
คน ซึ่งเป็นผู้เรียนภาษาอังกฤษในระดับกลลาง พบว่าการสอนกลยุทธ์ในการเขียนทำให้ผู้เรียนมี
ความสามารถในการเขียนสูงขึ้น
ยุพิน บุญพันธ์ (2535: บทคัดย่อ) ทำการศึกษาผลของการใช้เพลงประกอบการสอน
คณิตศาสตร์ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า นักเรียน
มีความพึงพอใจต่อกาเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้เพลงประกอบการสอนและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
อรอุมา ราษฎร์วงศ์ศรี (2545: บทคัดย่อ) ทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบทางการเรียน และ
เจตคติการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการสอนโดยใช้เพลง
ประกอบและการสอนแบบการโต้ตอบสรีระ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน
บ้างวังคูณ อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น พบว่านักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษด้วยวิธีสอนแบบ
ใช้เพลงประกอบมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่มีการเรียนภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสอนแบ
การโต้ตอบทางสรีระอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตติที่ระดับ 0.1 และมีเจตคติทางบวกต่อการเรียนการ
สอนภาษาอังกฤษสูงกว่านักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสอนแบบการโต้ตอบทางสรีระอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1
จิราภรณ์ เลี่ยมไธสง (2546: 90) ทำการศึกษาเกี่ยวกับผลของการใช้กิจกรรมประกอบจังหวะ
ซึ่งประกอบด้วยเพลง โคลง และบทพูดเข้าจังหวะ เป็นสื่อเสริมเพื่อเพิ่มพูนผลสัมฤทธิ์และความพึง
พอใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความ
พึงพอใจในการเรียนและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.05
ครูซ-ครูซ (Cruz-Cruz. 2005: Abstract) ศึกษาผลการสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ในประเทศสเปน ด้วยการใช้ดยรีและเพลงในการสอนไวยกรณ์และคำศัพท์ พบว่าดนตรีและเพลง
สามารถช่วยพัฒนาการเรียนรู้ไวยากรณ์และคำศัพท์ของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คลิงเกอร์ (Klinger. 1993: 33) ได้วิจัยเกี่ยวกับการสอนเพลงให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
2 จำนวน 39 คนในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าการสอนเพลงโดยบูรณาการเข้ามาสอนนักเรียน
ระดับชั้นประถมศึกษา บทบาทของเพลงได้เข้ามาพัฒนาความเข้าใจและการอ่านการเขียนของ
นักเรียนและได้ครอบคลุมไปถึงการเรียนบทละครที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม อีกทั้งในการสองเพลงก็ส่งเสริม
เรื่องความคงทนในการจำของนักเรียนอีกด้วย
บทที่ 3
วิธีการดำเนินวิจัย

3.1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบุ
ดี สังกัดสพป.ยะลา 1 ซึ่งกำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน 29 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน
บ้านบุดี สังกัดสพป.ยะลา 1 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 10 คน

3.2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย
1. แผนการจัดการเรียนรู้ตามปกติ
2. เพลงประกอบการสอน
3. แบบทดสอบก่อนเรียน แบบอัตนัย ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ
4. แบบทดสอบหลังเรียนเพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากจบการเรียนการสอน แบบอัตนัย
ตรวจสอบโดยผู้เชียวชาญ

3.3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลดังนี้
1. นำแบบทดสอบก่อนเรียนให้กับกลุ่มตัวอย่างได้ทำก่อนที่จะทดลองสอน แล้วเก็บรวบรวมข้อมูลผล
การทดสอบก่อนเรียนไว้เพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อไป
2. ดำเนินการสอนนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โดยใช้เพลงประกอบการ
สอนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียน มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในแผนการ
จัดการเรียนรู้
3. ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบหลังเรียน หลังจากนั้นนำมาวิเคราะห์กันระหว่าง
แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อหาผลสัมฤทธิ์

3.4. การวิเคราะห์ข้อมูล
การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ในการทดลองในครั้งนี้ผู้วิจัยนำเสนอดังนี้
ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล จากคะแนนที่ได้จาก แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้
ค่าสถิติพื้นฐาน ประกอบด้วยค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
เปรียบเทียบคะแนนก่อน และหลังการใช้แบบทดสอบ โดยศึกษาพัฒนาการเป็นร้อยละของ
โอกาสที่พัฒนาได้ของแต่ละคน ตามสมการ ดังนี้

คะแนนหลังการพัฒนา – คะแนนก่อนการพัฒนา
ร้อยละของคะแนนพัฒนาการ= ×100
คะแนนเต็ม – คะแนนก่อนการพัฒนา

You might also like