You are on page 1of 8

เอกสารประกอบคาสอนวิชา 001222 ภาษา สังคมและวัฒนธรรม สัปดาห์ที่ 7 ดร.

นิภารัตน์ อิ่มศิลป์

ปรัชญาภาษา

https://www.weforum.org/agenda/2023/04/worlds-most-multilingual-countries/

ภาษาเป็ นสิ่งที่อยูค่ สู่ งั คมมานาน เป็ นเครื่องมือหรือเป็ นสื่อกลางในการถ่ายทอดหรือการสื่อสาร ภาษา

ถูกใช้ในกิจกรรมทุกอย่างของมนุษย์ทกุ ชาติ ทุกภาษา ภาษาเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ

ตัวของมนุษย์ ดังคากล่าวที่ว่า เรียนภาษาเท่ากับเรียนวัฒนธรรม (Learning languages is learning about

other cultures)

1
เอกสารประกอบคาสอนวิชา 001222 ภาษา สังคมและวัฒนธรรม สัปดาห์ที่ 7 ดร.นิภารัตน์ อิ่มศิลป์

การเรียนภาษา หากแต่ไม่เข้าใจปรัชญาทางภาษา ก็อาจทาให้ผู้เรียนไม่เข้าใจในสิ่งที่ กาลังศึกษา คาว่า


ปรัชญา หมายถึง วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง (ราชบัณฑิตยสถาน, 2554) ปรัชญาทางภาษา เป็น
แขนงหนึ่งของสาขาปรัชญาที่มุ่งเน้นศึกษาเรื่องของภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษาความหมาย การใช้ภาษา
การเรียนรู้ภาษา ขั้นตอนการสร้างภาษา รวมถึง ความเข้าใจในภาษา การสื่อสาร การตีความและการแปลความ
การศึกษาปรัชญาทางภาษา จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นการศึกษาหลักแห่งความรู้และความจริงที่เกี่ยวข้องกับภาษา ซึ่ง
มีนักคิดและนักเขียนต่างๆ มากมายที่พยายามศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
1. Saussure หรือ Ferdinand de Saussure (1857–1913) เป็นนักภาษาศาสตร์ชาวสวิส ที่ศึกษา
เกี่ย วกับ ความแตกต่างของ ภาษาหรื อสั ญญะและความหมาย ส าหรับนักภาษาศาสตร์ท่านนี้ ภาษาเกิดจาก
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่ง 2 สิ่ง สิ่งแรกคือ สัญญาณหรือรูป (the signifier/ form) ซึ่งหมายถึงสิ่งที่มีความหมาย
หรือให้ความหมาย และตัวความหมาย (the signified/ meaning) ซึ่งความหมายจะเกิดขึ้นในขณะที่เราสื่อสาร
2. Descartes หรือ René Descartes (1596 –1650) นักคณิตศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญา
ชาวฝรั่งเศส ผู้เสนอความคิดเกี่ยวกับภาษาของมนุษย์ สาหรับนักปรัชญาท่านนี้ ภาษาพูดเป็นสิ่งที่สะท้อนความคิด
ของมนุษย์และมีเพียงมนุษย์เท่านั้นที่มีความคิดและสามารถถ่ายทอดออกมาด้วยการสื่อสาร การถ่ายทอดความคิด
ต่างๆ นั้นจะอยู่ในรูปของสัญญาณหรือสัญญะ
3. Benveniste หรือ Émile Benveniste (1902 – 1976) นักภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างและความหมาย
ชาวฝรั่งเศส Benveniste เห็นว่า ภาษานั้นอยู่ในธรรมชาติของมนุษย์ ภาษาจะทาให้มนุษย์สามารถให้ความหมาย
ได้ ในกรณีนี้ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เป็นสิ่งที่มนุษย์ถ่ายทอดออกมา สาหรับ Benveniste การศึกษา
ภาษาต้ อ งศึ ก ษาจากการใช้ ภ าษาของผู้ ใ ช้ ภ าษารายบุ ค คล โดยศึ ก ษา ระหว่ า ง an enunciation (une
énonciation) หรือกระบวนการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ซึ่ง ต้องมีผู้ส่งสาร ช่องทางส่งสารและผู้รับสาร และ an
utterance (un énoncé) หมายถึง สารหรือเนื้อความหรือประโยคที่ถูกพูดออกมา
4. Bourdieu หรือ Pierre Bourdieu (1930 – 2002) นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส ได้ให้ความเห็นถึง
อานาจที่ซ่อนอยู่ในคา คาพูดเป็นเสมือนผลผลิตและเครื่องมือของอานาจ ทั้งนี้เพราะคามีอิทธิพลต่อความเป็นจริง
เช่น คาสั่ง ทวีตต่าง ๆ หรือคาสั่งทางการเมืองจะก่อให้เกิดผลหรือการกระทาเสมอๆ ระหว่างผู้ที่พูดกับผู้ที่ฟัง

2
เอกสารประกอบคาสอนวิชา 001222 ภาษา สังคมและวัฒนธรรม สัปดาห์ที่ 7 ดร.นิภารัตน์ อิ่มศิลป์

5. Humboldt (1767 - 1835) หรือ Wilhelm von Humboldt ชาวปรัสเซียเชื้อชาติเยอรมันผู้เป็นทั้ง


นักภูมิศาสตร์, นักธรรมชาติวิทยา และนักสารวจ เขาเป็นเจ้าของทฤษฎี ภาษาต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็นหน้าต่างของ
สังคม หมายความว่า แต่ละภาษาจะให้ความหมายหรือมุมมองต่อสังคมต่างๆ ภาษาที่พูดจะเป็นสิ่งที่แยกประเภท
ความคิดของมนุษย์
อาจกล่าวได้ว่า นักภาษาศาสตร์ข้างต้นล้วนแล้วแต่มุ่งศึกษาความหมายที่ซ่อนอยู่ในคา หรือในคาพูดที่
สะท้อนความคิดของผู้พูด ภาษาอาจไม่ได้มีความหมายในแง่ของการเป็นรูปแบบหรือสัญญะเพียงอย่างเดียว แต่ยัง
เป็นสิ่งที่ถูกกาหนดให้มีความหมายที่อาจมีอิทธิพลต่อการกระทาของมนุษย์หรือมุมมองที่มีต่อสังคมหรือโลกอีกด้วย
การเข้าใจปรัชญาภาษา จะทาให้เข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างภาษาและความหมายได้
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ นักปรัชญาชาวไทยได้ให้ความหมายของปรัชญาภาษาไว้ดังนี้
ปรัชญาภาษา คือ การศึกษาปรากฏการณ์ที่มีความหมายของภาษา เป็นศูนย์กลางของปรัชญา ที่
นักปรัชญาคิดแสวงหาความจริงแก่นแท้ของสรรพสิ่ง และเป็นวิชาการเริ่มแรกของมนุษย์ใน
อภิปรัชญาหรือญาณวิทยา การถกเถียงเกี่ยวกับธรรมชาติที่แท้จริงของความเป็นจริงหรือความรู้
หรือความดีกับความงาม จากการวิเคราะห์ถ้อยคาในภาษา เพื่อใช้ภาษาเป็นเหมือนกับสะพาน
ข้ามไปสู่การเข้าใจความเป็นจริงหรือโลกธรรมชาติให้เห็นได้ชัดเจน (2558 : 2-5)
จากความหมายข้างต้น โสรั จ จ์ หงศ์ล ดารมภ์มองว่า ปรัช ญาภาษาเป็น การศึกษาปัญหาเชิง มโนทั ศ น์
เกี่ยวกับภาษา ปัญหาเชิงมโนทัศน์ได้แก่ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพื้นฐานความคิด พื้นฐานหรือรากฐานที่ลึกที่สุดของ
วิชาการนั้น ๆ ในกรณีของการศึกษาภาษา ปัญหาเชิงมโนทัศน์ อยู่ที่ปัญหา เช่น ความหมายคืออะไร ถ้อยคามี
ความหมายขึ้นมาได้อย่างไร สาเหตุที่ศึกษาความหมายเป็นหลักเพราะว่า ความหมายเป็นส่วนของภาษาที่สาคัญ
ที่ สุ ด แต่ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ศึ ก ษายากที่ สุ ด เพราะจั บ ต้ อ งไม่ ไ ด้ (2558 : 2-5) ปรั ช ญาภาษาจึ ง เกี่ ย วข้ อ งกั บ การศึ กษา
ความหมายและมีความสัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกกับภาษาศาสตร์
1. ความสัมพันธ์กับภาษาศาสตร์
ปรั ช ญาภาษามี ค วามเกี่ ย วข้ อ งกั บ เนื้ อ หาของวิช าภาษาศาสตร์ อ ย่ างมาก เพราะปรั ช ญาภาษา เป็น
การศึกษางานของนักภาษาศาสตร์ ดังนั้น ศึกษาปรัชญาทางภาษา จึงจาเป็นต้องมีผลสรุปจากงานด้านภาษาศาสตร์
ก่อน แล้วจึงตั้งประเด็นปัญหาต่อไป เพื่อตีความเนื้อหา เปรียบเทียบและหาข้อสรุป
3
เอกสารประกอบคาสอนวิชา 001222 ภาษา สังคมและวัฒนธรรม สัปดาห์ที่ 7 ดร.นิภารัตน์ อิ่มศิลป์

2. ประโยชน์ของปรัชญาภาษา
การศึกษาปรัชญาภาษาจะทาให้ผู้ศึกษาได้ประโยชน์ที่ 3 ประเด็นหลักๆ คือ
1) เพื่อใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องมากขึ้น ทั้งในความเข้าใจและการแสดงออก
การเข้าใจปรัชญาภาษา จะทาให้ผู้ศึกษาเข้าใจโครงสร้างของแต่ละภาษา ความหมาย รวมถึงบริบทในการ
ใช้ภาษาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
2) เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน
การศึกษาปรัชญาภาษานอกจากจะทาให้ผู้ศึกษาใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจความหมายของคา
ประโยค บทอ่านต่างๆ แล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน จากข้อมูลข้างต้น ในโลกนี้มีภาษา
ประมาณ 7,000 ภาษา การเรียนรู้ภาษาและความหมายของภาษานั้นๆ จะทาให้มนุษย์เกิดความเข้าใจที่ดีต่อกัน
เป็นพลเมืองโลกที่ดี ดังคากล่าวของ Nelson MANDELA อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
“If you talk to a man in a language he understands, that goes to his head. If you talk to
him in his language, that goes to his heart.”
"Si vous parlez à un homme dans une langue qu'il comprend, cela va à sa tête. Si vous
lui parlez dans sa langue, cela va à son cœur."
"ถ้าคุณพูดกับ ใครซักคนด้วยภาษาที่เขาเข้าใจ เขาก็จะเข้าใจเพียงสิ่งที่คุณพูด แต่ถ้าคุณพูดกับเขาด้วย
ภาษาของเขา สิ่งที่พูดคุยกันจะเข้าไปถึงหัวใจของเขา"
3) เพื่อสร้างประนีประนอมความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
เมื่อมนุษย์เรียนรู้ภาษาต่างๆ และเข้าใจในความหมายของคาหรือประโยคในภาษานั้นๆ การเข้าใจใน
ความหมายจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน เมื่อมีความเข้าใจอันดีต่อกัน ก็จะเกิดความประนีประนอมและ
ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งการมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ไม่ใช่เป็นสัญลักษณ์ของความผิดพลาดแต่
อย่างใด ดังคากล่าวของ Montaigne นักเขียนชาวฝรั่งเศส ศตวรรษที่ 16 ที่ว่า
“la contradiction n'est pas le signe de l'erreur, mais au contraire l'adhésion à un monde
où tout est perpétuel changement.”

4
เอกสารประกอบคาสอนวิชา 001222 ภาษา สังคมและวัฒนธรรม สัปดาห์ที่ 7 ดร.นิภารัตน์ อิ่มศิลป์

“Contradiction is not a sign of error, but rather the adherence to a world where
everything is in perpetual change.”
“ความขัดแย้ งไม่ใช่สั ญญาณของข้อผิดพลาด แต่เป็นการยอมรับในโลกที่ทุกอย่างเปลี่ ยนแปลงอย่ าง
ต่อเนื่อง”
การศึกษาปรัชญาภาษา ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวผู้ศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถนาไปสู่องค์
ความรู้ในด้านต่างๆ อีกด้วย

3. ปรัชญาภาษากับปรัชญาวิเคราะห์
การศึกษาค้นคว้าทางปรัชญาภาษานาไปสู่ปรัชญาวิเคราะห์ ซึง่ เป็นวิธีการศึกษาปรัชญาแบบใหม่ โดยเป็น
การประยุ กต์ ป รั ช ญาภาษา กล่ าวคือ เมื่อนักภาษาศาสตร์ เข้าใจธรรมชาติของภาษาแล้ ว ก็จะหาวิธีวิเคราะห์
ความหมายของภาษาที่ ใช้ โดยการกาหนดประเด็น ปัญหาและตี ความต่ อ ไป ซึ่งบางครั้งตัว ภาษาอาจไม่ ไ ด้ มี
ความหมายในตัวของมัน แต่อยู่ที่การตีความในบริบทที่แตกต่างกัน นั่นเอง นักปรัชญาวิเคราะห์มุ่งศึกษาค้นคว้าให้
เข้าใจธรรมชาติของภาษาโดยเฉพาะ เพื่อใช้เป็นพื้นฐานสาหรับวิธีการปรัชญาวิเคราะห์

4. ปรัชญาภาษากับกลุม่ นักภาษาวิเคราะห์
จากการศึกษาปรัชญาภาษา ในปัจจุบันได้มีกลุ่มนักภาษาศาสตร์รวมตัวกันและเรียกตนเองว่ากลุ่ม ภาษา
วิเคราะห์ (linguistic analysis) ความเชื่อของนักภาษาศาสตร์กลุ่มนี้จะถือว่า ข้อความใดก็ตามจะต้องมีความหมาย
หรือต้องทดสอบได้ หรือมีองค์ประกอบที่ทดสอบได้ทุกหน่วย นักปรัชญากลุ่มภาษาวิเคราะห์จึงมีขอบข่ายเจาะจง
มากกว่ากลุ่มนักปรัชญาวิเคราะห์ ทีม่ ุ่งใช้วิธีการวิเคราะห์ความหมายของข้อความทั้งที่ทดสอบได้และทดลอบไม่ได้

5. ปรัชญาภาษากับวิวัฒนาการของการใช้เหตุผล
จากการศึกษาปรัชญาภาษาทาให้นักภาษาศาสตร์เกิดการวิเคราะห์ภาษาเพื่อให้เข้าใจภาษาในแง่มุมต่างๆ
มากมาย กีรติ บุญเจือ (2537 : 1-4) ได้แบ่งแนวคิดหรือตรรกวิทยาต่างๆ ดังนี้

5
เอกสารประกอบคาสอนวิชา 001222 ภาษา สังคมและวัฒนธรรม สัปดาห์ที่ 7 ดร.นิภารัตน์ อิ่มศิลป์

1) วิภาษวิธี (dialectic) ของโซคราเตส มุ่งศึกษานิยามของคา


2) ตรรกวิทยานิรนัยของอริสโตเติล มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อความ
3) ตรรกวิยาสัญลักษณ์ของครีซิปปุส มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อความ
4) ตรรกวิทยาอุปนัยของเบคอน มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์กับกฎของภาษา
5) ปฏิพัฒนาการของเฮเก็ล มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวิวัฒนาการของความเป็นจริงกับการดาเนิน
ความคิด
6) ตรรกวิทยาสัญลักษณ์ มุ่งศึกษาระบบความคิด
7) ปรัชญาวิเคราะห์ มุ่งศึกษาความหมายของภาษาที่ใช้ในด้านต่างๆ เดิมเป็นวิธีการของนักปรัชญาลัทธิ
ปฏิฐานนิยมใหม่ (neopositivism) ซึ่งก่อตัวขึ้นในชมรมนักภาษาศาสตร์แห่งเวียนนา (Vienna Circle) ในปี ค.ศ
1920 เพื่อแก้ปัญหาความยุ่งยากในการเสนอเนื้อหาของวิชาต่าง ๆ ต่อมามีนักปรัชญากลุ่มประสบการณ์นิยมแบบ
ตรรกะ (logical empiricism) ยึดถือเอาวิธีการนี้เป็นมาตรฐานตัดสินความจริง แต่มีผู้เห็นด้วยไม่มากนัก นัก
ปรัชญากลุ่มอื่นส่วนมากนาไปใช้ในฐานะเป็นส่ว นหนึ่งของตรรกวิทยา กล่าวคือ ช่วยจาแนกความหมายและ
กาหนดความหมายของคาพูดให้ชัดเจน ก่อนที่จะนาไปใช้ในวิเคราะห์ปัญหาอื่น ๆ

6. การมีความหมาย
จากการที่ได้ศึกษาปรัชญาภาษา จะพบว่า นอกจากนักภาษาศาสตร์จะวิเคราะห์ธรรมชาติและรูปแบบ
(form) ของภาษานั้นๆ แล้ว นักภาษาศาสตร์ยังศึกษาการมีความหมายของภาษานั้นๆ ด้วยเช่นกัน ดังเช่นการ
ยกตัวอย่างของโสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ (2558 : 7-8) ดังนี้ นักโบราณคดีกลุ่มหนึ่งไปสารวจถ้าแห่งหนึ่งแล้วพบรอยขีด
ต่อไปนี้บนผนังถ้า

6
เอกสารประกอบคาสอนวิชา 001222 ภาษา สังคมและวัฒนธรรม สัปดาห์ที่ 7 ดร.นิภารัตน์ อิ่มศิลป์

รอยขีดเหล่านี้ดูไม่มีความหมายอะไรเลย แต่นักโบราณคดีมั่นใจว่ารอยนี้จะต้องมีความหมาย เพราะเห็นได้


ชัดว่าเป็นรอยที่มนุษย์ทาขึ้น (อาจเป็นหมึกชนิดพิเศษที่ทาจากถ่านไม้) นักโบราณคดีสันนิษฐานว่ารอยขีดเหล่านี้ทา
ขึ้นเพื่อสื่อความหมายบางอย่าง
จากตัวอย่างนี้ หากรอยหมึกบนผนังถ้ามีความหมายจริงก็หมายความว่ารอยเหล่านี้บอกอะไรบางอย่าง ที่
สามารถแปลออกมาได้เป็นภาษาไทยหรือภาษาอื่น ๆ ที่เรารู้ความหมายอยู่แล้ว วัตถุกายภาพ เช่น รอยหมึกหรือ
รอยถ่านบนผนังถ้าอาจจะบอกอะไรเราได้ หรือหมายถึงอะไรบางอย่างที่อยู่ในธรรมชาติ หรือแม้แต่ในจิตใจของ
ผู้เขียน เราเรียกปรากฏการณ์เช่นนี้ว่า ‘ปรากฏการณ์มีความหมาย’ สมมติว่า รอยดังกล่าวนี้หมายความว่า “ชน
เผ่าของเราจะประสบชัยชนะ” รอยขีดบนผนังรอยดา ๆ เหล่านี้จึงหมายถึงชัยชนะและเหตุการณ์ ทานายอนาคตที่
บอกว่า ‘จะชนะ’ ได้อย่างไร
ปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแต่ในงานของนักโบราณคดีเท่านั้น แต่เป็นเหตุการณ์หรือสิ่งต่างๆ ที่
เกิดขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับการกาหนดให้มีความหมายของเหตุการณ์ สิ่งต่างๆ ภาพวาด หรือคาต่างๆ นั่นเอง การตกลง
ร่วมกันของกลุ่มคนเพื่อให้ความหมายแก่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจึงเป็นการสร้างความหมายนั่นเอง เช่น คาพูดของมนุษย์อาจ
เป็นเพียงเสียงที่เปล่งออกมา ซึ่งในแง่นี้เสียงไม่ต่างจากอะไรจากรอยขีดบนผนังถ้าเพราะเป็นวัตถุกายภาพ แต่เมื่อ
มนุษย์มีการกาหนดเสียงและให้ความหมายแก่เสียง เมื่อเราได้ยิน เสียงที่เปล่งออกมา จึงทาให้เรารู้เรื่องราวต่าง ๆ
ได้มากมายและสื่อความหมายได้หลากหลายไม่จบสิ้น การตกลงให้มีความหมาย (the signified/ meaning) ของ
ภาพ (the signifier/ form) จะมีความหมาย หรือไม่นั้น สิ่งเหล่านี้เป็นหัวใจของปรัชญาภาษา

7
เอกสารประกอบคาสอนวิชา 001222 ภาษา สังคมและวัฒนธรรม สัปดาห์ที่ 7 ดร.นิภารัตน์ อิ่มศิลป์

เอกสารอ้างอิง
กีรติ บุญเกื้อ. (2526). ปรัชญาภาษา. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
วิโรจน์ อรุณมานะกุล. (2564). ศาสตร์แห่งภาษา : ความเป็นมาและพัฒนาการ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะอักษรศาสตร์. ภาควิชาภาษาศาสตร์.
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์. (2558). ปรัชญาภาษา. กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เว็บไซต์อ้างอิง
https://fr.babbel.com/fr/magazine/le-langage-en-philosophie-principales-theories
https://misterprepa.net/philosophie-langage-principales-theses-connaitre/
https://www.arch.chula.ac.th/journal/files/article/qyYaZ1mab3Sun103124.pdf
https://www.dw.com/en/wilhelm-von-humboldt-unwavering-idealist/a-39519270
https://www.newworldencyclopedia.org/entry/Ferdinand_de_Saussure
https://www.persee.fr/doc/lgge_0458-726x_1971_num_6_21_2078

You might also like