You are on page 1of 16

วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2560 1

การสร้างค�ำใหม่ในภาษาไทถิ่นในสถานการณ์ที่มีการสัมผัสภาษา
Lexical Creation in Tai Dialects in Language Contact Situations
พิณรัตน์ อัครวัฒนากุล1
Phinnarat Akharawatthanakun

บทคัดย่อ
การสร้างค�ำใหม่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางภาษาประการหนึ่งที่พบในสถานการณ์ท่ีมีการสัมผัสภาษา
การสร้างค�ำใหม่มกั เกิดขึน้ จากการทีผ่ พู้ ดู ทีส่ ามารถพูดได้มากกว่า 1 ภาษาน�ำค�ำเดิมหรือส่วนใดส่วนหนึง่ ของค�ำเดิม
ในภาษาแม่ประสมกับค�ำยืมหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของค�ำยืมจากภาษาอื่น ๆ การสร้างค�ำใหม่เป็นปรากฏการณ์หนึ่ง
ที่พบในภาษาไทถิ่นต่าง ๆ เช่น ภาษาลื้อ ขืน พวน ลาว ฯลฯ ซึ่งมีผู้พูดอาศัยอยู่ในบริเวณต่าง ๆ ของประเทศไทย
โดยเฉพาะในจังหวัดต่าง ๆ ทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรูปแบบหรือวิธีการในการ
สร้างค�ำใหม่ในภาษาไทถิ่นต่าง ๆ มีทั้งความคล้ายคลึงและแตกต่างกัน บทความวิชาการเรื่องนี้มุ่งน�ำเสนอรูปแบบ
ของการสร้างค�ำใหม่ที่พบในภาษาไทถิ่นภาษาต่าง ๆ จากงานวิจัยในอดีต รวมทั้งในภาษาไทถิ่น 5 ภาษา ได้แก่
ภาษาค�ำเมือง ลือ้ ขืน พวน และลาวทีพ่ ดู ในจังหวัดน่านทีผ่ เู้ ขียนเคยศึกษาวิจยั ไว้ ซึง่ เป็นการน�ำเสนอให้เห็นภาพรวม
ของรูปแบบการสร้างค�ำใหม่ที่ปรากฏในภาษาไทถิ่นที่พูดในสถานการณ์ที่มีการสัมผัสภาษาในประเทศไทย
ค�ำส�ำคัญ: การสร้างค�ำใหม่ การสัมผัสภาษา ภาษาไทถิ่น

Abstract
Lexical creation is one of linguistic changes found in language contact situations.
New words (neologisms) are usually formed by members of the community with knowledge
of another language using a word or parts of a word from that language to compose
a new word in their mother tongue. Lexical creation is a phenomenon which is also found in
Tai dialects, e.g. Lue, Khün, Phuan, Lao, etc. which are spoken in several areas of Thailand,
especially in provinces in the nothern, the central, and the northeastern regions. The patterns
or methods of lexical creation in Tai dialects are both similar and different. This academic
article describes the patterns of lexical creation found in different Tai dialects in Thailand
both from earlier literature as well as from the author’s research in five Tai dialects spoken in
Nan province, i.e. Kam Mueang, Lue, Khün, Phuan, and Lao. The overall picture of patterns
of lexical creation in Tai dialects spoken in language contact situations in Thailand will be
presented.
Keywords: lexical creation, language contact, Tai dialects

1
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาภาษาศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยพายัพ
2 Journal of Humanities, Naresuan University Year 14 Volumn 2, May - August 2017

บทน�ำ
ในสถานการณ์ที่มีการสัมผัสภาษา (language contact situations) หรือในสถานการณ์ที่มีผู้พูด
ภาษาต่าง ๆ อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันหรือบริเวณใกล้เคียงกัน และผู้พูดมีความสามารถพูดภาษาต่าง ๆ
ได้มากกว่า 1 ภาษา ภาษาต่าง ๆ มักมีอทิ ธิพลต่อกันไม่มากก็นอ้ ย ทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั ระยะเวลาของการสัมผัสภาษา
โดยทั่วไปการสัมผัสภาษามักจะเกิดขึ้นเมื่อภาษา 2 ภาษาหรือมากกว่า 2 ภาษาถูกใช้สลับกันหรือปะปนกัน
ในการพูดของผูม้ ภี าวะสองภาษา (bilingual) หรือผูม้ ภี าวะหลายภาษา (multilingual) เมือ่ มีการสัมผัสภาษา
เกิดขึ้นในระดับตัวบุคคลก็อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในระดับสังคมได้ด้วย ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า
ภาวะสองภาษา (bilingualism) หรือภาวะหลายภาษา (multilingualism) ปรากฏได้ใน 2 ระดับ ได้แก่
ระบบตัวบุคคลซึ่งเกิดขึ้นกับผู้พูดภาษาแทบทุกชาติ ทุกภาษา และระดับกลุ่มคนหรือระดับสังคม ดังที่
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2532: 31–32) ได้ให้ค�ำจ�ำกัดความ “การสัมผัสภาษา” ไว้ว่า เป็นกระบวนการ
ซึ่งภาษา 2 ภาษาหรือมากกว่า 2 ภาษาถูกใช้สลับกันโดยผู้พูดคนเดียวกัน ในตัวผู้พูดสองภาษาหรือ
หลายภาษาเหล่านี้ ภาษาทั้ง 2 หรือมากกว่า 2 จะยืมลักษณะซึ่งกันและกัน ซึ่งถ้าเกิดกับผู้พูดจ�ำนวนมาก
และเป็นระยะเวลานานจะท�ำให้ภาษาต่าง ๆ เหล่านัน้ มีความคล้ายคลึงกันมากขึน้ ๆ ดังนัน้ จึงอาจกล่าวได้วา่
จุดที่มีการสัมผัสภาษาก็คือในตัวผู้รู้หลายภาษานั่นเอง
กลไกส�ำคัญประการหนึง่ ทีเ่ กิดขึน้ ในสถานการณ์ทมี่ กี ารสัมผัสภาษาหรือเมือ่ ผูพ้ ดู ทีม่ ภี าวะสองภาษา
หรือหลายภาษาใช้ภาษาสลับกันหรือปะปนกัน ได้แก่ การสร้างค�ำขึน้ ใหม่ซงึ่ เป็นกลไกทางภาษาประการหนึง่
ทีฮ่ อ็ ฟมัน (Hoffmann, 1991: 103) น�ำเสนอไว้ กลไกดังกล่าวมักเกิดขึน้ ในภาษาของเด็กทีม่ ภี าวะสองภาษา
ทีม่ กี ารน�ำค�ำจากภาษาหนึง่ มารวมกับค�ำในอีกภาษาหนึง่ เกิดค�ำใหม่ขนึ้ ในภาษา ตัวอย่างการสร้างค�ำขึน้ ใหม่
ทีฮ่ ็อฟมันยกตัวอย่างไว้ ได้แก่ การพูดค�ำภาษาอังกฤษ ‘knackberries’ (หมายถึง ‘snowberries’ ซึ่งเกิดจาก
การรวมค�ำว่า ‘snowberries’ กับค�ำในภาษาเยอรมันคือ ‘Knallerbsen’) หรือค�ำภาษาเยอรมัน ‘hinterwärts’
(หมายถึง ‘rückwärts’ ซึ่งมีความหมายตรงกับค�ำในภาษาอังกฤษคือ ‘backwards’)2
การสร้างค�ำใหม่อาจนับเป็นหมวดหมู่หนึ่งของการยืมค�ำ ดังที่ฮอเกน (Haugen, 1950, 1953
อ้างถึงใน Winford, 2013: 172–173) ได้น�ำเสนอไว้ว่า การยืมค�ำ (lexical borrowing) แบ่งกว้าง ๆ ออกเป็น
3 หมวดหมู่ ได้แก่ ค�ำยืม (loanwords) การยืมความหมาย (loan meaning) และการสร้างค�ำใหม่ (creations)3
ในด้านการสร้างค�ำใหม่นั้น มี 2 แบบคือ แบบแรกเป็นการใช้ค�ำหรือวลีในภาษาแม่ในการสื่อความหมาย
ในอีกภาษาหนึ่ง เช่น ชาวพีมา (Pima) สร้างวลี “wrinkled buttocks” ในการเรียกช้าง เป็นต้น ส่วนแบบที่ 2
เป็นการประสม (blends) หน่วยค�ำในภาษาแม่ (native morpheme) กับหน่วยค�ำในภาษาอื่น (foreign
morpheme) และใช้สื่อความหมายหรือความคิดในภาษาอื่นที่ผู้พูดเรียนรู้ใหม่ เช่น ภาษายาคุย (Yaqui)
มีการสร้างค�ำด้วยการประสมค�ำว่า dios ‘God’ ในภาษาสเปนกับค�ำว่า nóoka ‘speak’ ในภาษายาคุย
ได้ค�ำใหม่คือ lios-nóoka ซึ่งมีความหมายคือ ‘pray’ เป็นต้น

2
‘Knallerbsen’ เป็นผลเบอร์รีชนิดหนึ่ง เวลาขว้างลงพื้นจะมีเสียงดังเหมือนเสียงประทัด ส่วนค�ำว่า ‘hinterwärts’ และ
‘rückwärts’ นั้นมีความหมายเหมือนค�ำว่า ‘backwards’ ในภาษาอังกฤษ (ข้อมูลจากการสอบถามอาจารย์ชาวเยอรมัน)
3
ในบทความภาษาอังกฤษบางเรือ่ งทีน่ ำ� เสนอเกีย่ วกับการสร้างค�ำใหม่ในภาษาเรียกการสร้างค�ำใหม่วา่ “lexical innovation”
ซึ่งครอบคลุมถึงการที่เด็กหรือผู้ใหญ่สร้างค�ำใหม่ขึ้นแทนค�ำเดิม เมื่อจ�ำค�ำเดิมไม่ได้ และยังรวมถึงการสร้างค�ำใหม่ที่เกิดขึ้น
เมื่อมีการสัมผัสภาษาด้วย เช่น การสร้างค�ำใหม่ในภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่น (T’Sou, 2001) การสร้างค�ำใหม่ในภาษาอนาง
วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2560 3

การสร้างค�ำใหม่ปรากฏในภาษาไทถิ่นต่าง ๆ เช่น ภาษาลื้อ ขืน พวน ลาว ไทด�ำ (หรือลาวโซ่ง/


ไทยโซ่ง) ฯลฯ ซึ่งมีผู้พูดอาศัยอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การสร้างค�ำใหม่ในภาษาไทถิ่นต่าง ๆ มีความแตกต่างจากการสร้างค�ำใหม่
แบบแรกที่ฮอเกนน�ำเสนอไว้ แต่คล้ายคลึงกับแบบที่ 2 คือ เป็นการสร้างค�ำโดยการประสมหน่วยค�ำหรือ
พยางค์ในภาษาหนึ่งกับหน่วยค�ำหรือพยางค์ในภาษาอื่น แต่อาจไม่ได้ใช้สื่อความหมายใหม่ที่ผู้พูดเรียนรู้
ใหม่เสมอไป กล่าวคือ อาจเป็นการสร้างค�ำใหม่เพือ่ ใช้สอื่ ถึงความหมายหรือความคิดทีม่ อี ยูแ่ ล้วในภาษาแม่
ของผูพ้ ดู ตัวอย่างเช่น “หม้อเนียม” /mɔɔ⁴⁴ niiam³³⁴/ ในภาษาพวน (ลพบุรแี ละสิงห์บรุ )ี มาจากการประสม
ค�ำว่า “หม้อ” /mɔɔ⁴⁴/ กับบางส่วนของค�ำที่ยืมภาษาไทยกรุงเทพฯ คือ “เนียม” /niiam³³⁴/ (หม้ออลูมิเนียม)
เพื่อใช้ในความหมายว่า ภาชนะประเภทหม้อที่ท�ำจากอลูมิเนียม (อุทัยวรรณ ตันหยง, 2526) เป็นต้น
บทความนี้เป็นบทความวิชาการที่มุ่งน�ำเสนอรูปแบบและตัวอย่างการสร้างค�ำใหม่ที่พบในภาษา
ไทถิ่นภาษาต่าง ๆ จากงานวิจัยในอดีต รวมทั้งในภาษาไทถิ่น 5 ภาษา ได้แก่ ภาษาค�ำเมือง ลื้อ ขืน พวน
และลาวที่พูดในจังหวัดน่านที่ผู้เขียนเคยศึกษาวิจัยไว้4 เพื่อให้เห็นภาพรวมของรูปแบบการสร้างค�ำใหม่
ที่ปรากฏในภาษาไทถิ่นที่พูดในสถานการณ์ที่มีการสัมผัสภาษาในประเทศไทย หรือในสถานการณ์ที่ผู้พูด
ภาษาไทถิ่นสามารถพูดได้มากกว่า 1 ภาษา เช่น ผู้พูดภาษาลื้อ ขืน พวน และลาวในจังหวัดน่านสามารถพูด
ภาษาค�ำเมืองซึ่งเป็นภาษากลางที่ผู้พูดภาษาต่าง ๆ ใช้ติดต่อสื่อสารกัน และยังอาจพูดภาษาไทยมาตรฐาน
ซึง่ เป็นภาษาทีใ่ ช้ในราชการได้ดว้ ย การน�ำเสนอรูปแบบและตัวอย่างการสร้างค�ำใหม่ในภาษาไทถิน่ ทัง้ 5 ภาษา
มีความแตกต่างจากงานอื่น ๆ ที่ผ่านมาในแง่ที่ว่า งานอื่น ๆ ส่วนใหญ่น�ำเสนอเกี่ยวกับการสร้างค�ำใหม่
ที่เกิดขึ้นเฉพาะในภาษาไทถิ่นภาษาใดภาษาหนึ่งเท่านั้น หรือศึกษาเฉพาะภาษาไทถิ่นที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
ทีพ่ ดู ในบริเวณต่าง ๆ เช่น ภาษาลาว 5 กลุม่ ทีพ่ ดู ใน 4 จังหวัดลุม่ น�ำ้ ท่าจีนในงานวิจยั ของสุวฒ
ั นา เลีย่ มประวัติ
และกันทิมา วัฒนะประเสริฐ (2539) เป็นต้น แต่บทความนี้ จะน�ำเสนอรูปแบบการสร้างค�ำใหม่ในภาษาไทถิน่
5 ภาษาที่พูดในบริเวณที่มีการสัมผัสภาษาดังกล่าวในข้างต้น

การสร้างค�ำใหม่ในภาษาไทถิ่นในงานวิจัยในอดีต
จากการสื บ ค้ น เอกสารและงานวิ จั ย ที่ ศึ ก ษาด้ า นการแปรทางศั พ ท์ ใ นภาษาไทถิ่ น ที่ พู ด
ในประเทศไทยและได้นำ� เสนอเกีย่ วกับการสร้างค�ำใหม่ในภาษาไทถิน่ เท่าทีส่ บื ค้นได้นนั้ พบว่า งานส่วนใหญ่
เป็นงานวิจัยที่น�ำเสนอในรูปแบบของวิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัยที่จัดท�ำในช่วงปี พ.ศ. 2526–2539
จากการศึกษาเอกสารและงานวิจยั ต่าง ๆ ดังกล่าวพบว่า มีการสร้างค�ำใหม่หรือศัพท์ใหม่ (ในบทความนีจ้ ะใช้
ค�ำว่า “ค�ำใหม่”) เกิดขึน้ ในภาษาไทถิน่ บางภาษาทีพ่ ดู โดยผูพ้ ดู รุน่ อายุตา่ ง ๆ ซึง่ เกิดขึน้ เนือ่ งจากการสัมผัสภาษา
รูปแบบหรือวิธีการสร้างค�ำใหม่ในภาษาไทถิ่นที่เคยมีผู้ศึกษาวิจัยและน�ำเสนอไว้ สรุปพอสังเขปดังนี้

(Anaang) ประเทศไนจีเรีย (Michael, 2013) การสร้างค�ำใหม่ในภาษาอังกฤษ (MacKenzie, 2014) เป็นต้น ในบทความนี้


จะใช้ค�ำว่า “lexical creation” ตามฮอเกน (Haugen, 1950, 1953 อ้างถึงใน Winford, 2013: 172–173)
4
เนื้อหาเกี่ยวกับผลการวิจัยดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ของโครงการวิจัยเรื่อง “การแปรและ
การเปลี่ยนแปลงทางศัพท์และเสียงในภาษาไทถิ่นที่พูดในจังหวัดน่าน” (พิณรัตน์ อัครวัฒนากุล, 2555) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุน
การวิจัยจากส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
4 Journal of Humanities, Naresuan University Year 14 Volumn 2, May - August 2017

1. การประสมค�ำเดิมกับค�ำเดิม ตัวอย่างเช่น ในภาษาพวน (อ�ำเภอเมือง อ�ำเภอบ้านหมี่


จังหวัดลพบุรีและในต�ำบลน�้ำเชี่ยว อ�ำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี)5 มีค�ำว่า “เกิบย้อง” /kəəp²² jɔɔŋ⁴⁵/6
ซึง่ เกิดจากการประสมค�ำเดิมทีเ่ รียกรองเท้าว่า “เกิบ” /kəəp²²/ กับค�ำเดิมคือ “ย้อง” /jɔɔŋ⁴⁵/ ซึง่ หมายถึง “สูง”
รวมได้เป็นค�ำทีม่ คี วามหมายใหม่แทนรองเท้าส้นสูง (อุทยั วรรณ ตันหยง, 2526) หรือในภาษาไทยโซ่ง/ลาวโซ่ง
(ต�ำบลบ้านดอน อ�ำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี)7 มีค�ำว่า “เกือบตีน” /kɨap²¹⁴ tiːn⁴⁴/ ที่เกิดจากการน�ำเอา
หน่วยค�ำในภาษาไทยโซ่งมาประสมกันเป็นค�ำใหม่ (อัญชลี บูรณะสิงห์, 2531) เป็นต้น
2. การประสมค�ำเดิมกับค�ำยืม ตัวอย่างเช่น ในภาษาพวน (ลพบุรแี ละสิงห์บรุ )ี มีคำ� ว่า “หม่าเผ็ด
สิงคโปร์” /maʔ²² phet⁴⁵ siŋ³³⁴ kə³⁴ poo³⁴/ ซึ่งมาจากการน�ำค�ำยืม คือ “สิงคโปร์” /siŋ³³⁴ kə³⁴ poo³⁴/
ประสมกับค�ำเดิม /maʔ²² phet⁴⁵/ และยังคงความหมายเหมือนค�ำเดิมซึง่ ตรงกับค�ำว่า “พริกชีฟ้ า้ ” ในภาษาไทย
กรุงเทพฯ (อุทยั วรรณ ตันหยง, 2526) เช่นเดียวกับในภาษาไทยโซ่ง/ลาวโซ่ง (สุพรรณบุร)ี ทีม่ คี ำ� ว่า “เกือบส้นสูง”
/kɨap²¹⁴ son²¹ˀ suːŋ³¹³/ ซึ่งเกิดจากการประสมหน่วยค�ำในภาษาไทยโซ่งกับหน่วยค�ำที่ยืมจากภาษาไทย
กรุงเทพฯ (อัญชลี บูรณะสิงห์, 2531) หรือในภาษาผู้ไทย (ถิ่นอ�ำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร) มีคำ�
ว่า “เอ็ดงาน” /ʔet⁵ ŋaan⁴/8 หมายถึง “ท�ำงาน (บ้าน)” ซึ่งเกิดจากการประสมค�ำว่า “เอ็ด” จากค�ำเดิมคือ
“เอ็ดเวะ” /ʔet⁵ weʔ²/ กับค�ำว่า “งาน” /ŋaan⁴/ ซึง่ ยืมจากภาษาไทยกรุงเทพฯ (จินตนา ศูนย์จนั ทร์, 2539) เป็นต้น
3. การประสมค�ำเดิมกับบางส่วนของค�ำยืม ตัวอย่างเช่น ในภาษาพวน (ลพบุรีและสิงห์บุรี)
มีค�ำว่า “หม้อเนียม” /mɔɔ⁴⁴ niiam³³⁴/ ซึ่งมาจากการประสมค�ำว่า “หม้อ” /mɔɔ⁴⁴/ กับบางส่วนของค�ำ
ที่ยืมภาษาไทยกรุงเทพฯ คือ “เนียม” /niiam³³⁴/ (หม้ออลูมิเนียม) เพื่อให้ได้ความหมายเฉพาะแทนภาชนะ
ประเภทหม้อที่ท�ำจากอลูมิเนียม (อุทัยวรรณ ตันหยง, 2526) เป็นต้น
4. การประสมบางส่วนของค�ำเดิมกับค�ำยืม ตัวอย่างเช่น ในภาษาลาวโซ่ง (ต�ำบลหนองสองห้อง
อ�ำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร) มีค�ำว่า “สร้อยแขน” [sɔːj³² khɛːn³⁴] ซึ่งมาจากการประสมค�ำว่า
“สร้อย” [sɔːj³²] จากภาษาไทยกรุงเทพฯ กับค�ำว่า “แขน” [khɛːn³⁴] ซึ่งเป็นพยางค์หลังของค�ำเดิมคือ
“สายแขน” /saːj³⁴ khɛːn³⁴/ (สุวฒ ั นา เลีย่ มประวัติ และกันทิมา วัฒนะประเสริฐ, 2539) หรือในภาษาผูไ้ ทย
(อ�ำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร) มีคำ� เดิมที่หมายถึง “คุยกัน” คือ ค�ำว่า /ʔɛɛn³ dew¹/ และมีคำ� ใหม่
คือ /khuy⁴ dew¹/ ทีม่ พี ยางค์หน้ายืมจากภาษาไทยกรุงเทพฯ และพยางค์หลังมาจากค�ำเดิมในภาษาผูไ้ ทย
(จินตนา ศูนย์จันทร์, 2539) เป็นต้น

5
เมื่อกล่าวถึงภาษาพวนที่พูดในถิ่นดังกล่าวในบทความนี้จะเรียกว่า “ภาษาพวน (ลพบุรีและสิงห์บุรี)”
6
การถ่ายถอดเสียง (transcription) ด้วยสัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet (IPA)) ของค�ำในภาษาไทถิน่ ต่าง ๆ
ในงานวิจยั ในอดีตและน�ำมาเสนอในบทความนีจ้ ะใช้รปู แบบเดียวกันกับทีป่ รากฏในงานวิจยั แต่ละชิน้ รวมทัง้ การมีเครือ่ งหมาย
/ / ก�ำกับหน่วยเสียง และเครื่องหมาย [ ] ก�ำกับเสียงที่ใช้ในงานบางชิ้น แต่ไม่ใช้ในงานบางชิ้นด้วย
7
ในบทความนี้จะเรียกภาษาไทยโซ่ง/ลาวโซ่งถิ่นดังกล่าวว่า “ภาษาไทยโซ่ง/ลาวโซ่ง (สุพรรณบุรี)”
8
ระบบวรรณยุกต์ในภาษาผู้ไทยในงานของจินตนา ศูนย์จันทร์ (2539) อ้างจากงานของวิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ (2520)
ซึ่งประกอบด้วยวรรณยุกต์ 5 หน่วยเสียง ได้แก่ 1) เสียงต�่ำเลื่อนขึ้นสูง 2) เสียงสูงตกลงต�่ำ มีเสียงคอหอยหยุดปนด้วย
3) เสียงกลางตกลงต�่ำ 4) เสียงกลางเลื่อนลงต�่ำแล้วเลื่อนขึ้นสูง และ 5) เสียงสูงเลื่อน ในการแสดงตัวอย่างค�ำในภาษาผู้ไทย
ในบทความนี้จะใช้ตัวเลข 1–5 ก�ำกับเสียงวรรณยุกต์ตามงานของจินตนา ศูนย์จันทร์
วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2560 5

5. การเพิ่มพยางค์หน้าค�ำยืม ตัวอย่างเช่น ภาษาลาวพวน (ต�ำบลมะขามส้ม อ�ำเภอบางปลาม้า


จังหวัดสุพรรณบุร)ี มีคำ� ว่า /biː³³ khɛŋ⁴³/ “น่อง” เป็นค�ำเดิม และมีคำ� ใหม่คอื [kha³³ nɔŋ⁴⁵²] ซึง่ มาจากการ
ประสมค�ำว่า [nɔŋ³¹] “น่อง” จากภาษาไทยกรุงเทพฯ และเพิม่ พยางค์แรกคือ [kha³³] (สุวฒ ั นา เลีย่ มประวัติ
และกันทิมา วัฒนะประเสริฐ, 2539)
6. การเพิ่มพยางค์ในค�ำเดิม ตัวอย่างเช่น ในภาษาผู้ไทย (อ�ำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร)
มีค�ำเดิมที่หมายถึง “ขโมย” คือ ค�ำว่า /khii⁵ lak²/ และมีค�ำใหม่คือ /khii⁵ lak² khii⁵ khaʔ⁵ mooy⁴/
ที่มาจากการเติมพยางค์ในค�ำเดิม (จินตนา ศูนย์จันทร์, 2539)
7. การตัดพยางค์ในค�ำเดิม ตัวอย่างเช่น ในภาษาผู้ไทย (อ�ำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร)
มีคำ� เดิมทีห่ มายถึง “ริมฝีปาก” คือ ค�ำว่า /him⁴ suu¹ paʔ⁵/ และมีคำ� ใหม่คอื /him⁴ paʔ⁵/ และ /suu¹ paʔ⁵/
ที่มาจากการตัดพยางค์ในค�ำเดิม (จินตนา ศูนย์จันทร์, 2539)

ลักษณะการใช้ค�ำในภาษาไทถิ่นที่พูดในจังหวัดน่าน
ในงานวิจยั เรือ่ ง “การแปรและการเปลีย่ นแปลงทางศัพท์และเสียงในภาษาไทถิน่ ทีพ่ ดู ในจังหวัดน่าน”
(พิณรัตน์ อัครวัฒนากุล, 2555) ซึง่ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ วิเคราะห์และเปรียบเทียบการแปรและการเปลีย่ นแปลง
ทางศัพท์และเสียงในภาษาไทถิ่น 5 ภาษาได้แก่ ภาษาค�ำเมือง ลื้อ ขืน พวน และลาว9 รวมทั้งศึกษา
สถานการณ์การใช้ภาษาและวิเคราะห์แนวโน้มของการเปลีย่ นแปลงในภาษาไทถิน่ ทัง้ 5 ภาษาทีอ่ าจเกิดขึน้
ในอนาคต ได้เก็บข้อมูลจากผู้บอกภาษา 3 กลุ่มอายุ ได้แก่ กลุ่มอายุที่ 1 อายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มอายุที่ 2 อายุ
35–50 ปี และกลุ่มอายุที่ 3 อายุ 15–25 ปี โดยก�ำหนดจ�ำนวนผู้บอกภาษาเป็นกลุ่มอายุละ 5 คน รวมจ�ำนวน
ผู้บอกภาษาทั้งสิ้น 75 คน (ผู้บอกภาษา 3 กลุ่มอายุ X กลุ่มอายุละ 5 คน X ภาษาไทถิ่น 5 ภาษา) ในแง่ของ
การศึกษาการแปรทางศัพท์ งานวิจัยดังกล่าวได้เก็บข้อมูลจากรายการค�ำ 2 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 เป็นรายการ
ค�ำทีภ่ าษาไทถิน่ ทุกภาษาใช้เหมือนกัน (cognates) ประกอบด้วยค�ำจ�ำนวน 250 ค�ำ และชุดที่ 2 เป็นรายการ
ค�ำที่ภาษาไทถิ่นแต่ละภาษาใช้แตกต่างกัน หรือภาษาไทถิ่นภาษาใดภาษาหนึ่งหรือบางภาษาใช้แตกต่าง
จากภาษาไทถิ่นภาษาอื่น ๆ (non-cognates) จ�ำนวน 550 ค�ำ รวมจ�ำนวนค�ำทั้งสิ้น 800 ค�ำ
การเก็บข้อมูลในงานวิจัยดังกล่าวใช้วิธีสัมภาษณ์หรือถามค�ำถามให้ผู้บอกภาษาตอบหรือ
ออกเสียงค�ำที่มีความหมายตามที่ก�ำหนดในรายการค�ำ โดยใช้รูปภาพ ของจริง หรือแสดงท่าทางประกอบ
และมีการถ่ายถอดเสียงค�ำด้วยสัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet (IPA)) ระหว่างเก็บข้อมูล
มีการบันทึกเสียงไว้ด้วย เพื่อให้สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้ในภายหลัง ส่วนการวิเคราะห์
ข้อมูลใช้วธิ กี ารเปรียบเทียบค�ำในภาษาไทถิน่ แต่ละภาษา กรณีทภี่ าษาไทถิน่ ภาษาใดมีคำ� ใดเหมือนกันหรือ
แตกต่างกัน จะตรวจสอบว่า เป็นความเหมือนหรือความแตกต่างทีม่ มี าแต่เดิม หรือเกิดจากการได้รบั อิทธิพล

9
จุดเก็บข้อมูลภาษาไทถิน่ ในงานวิจยั ดังกล่าว ได้แก่ 1) ภาษาค�ำเมือง หมูบ่ า้ นท่าค�ำ้ สอง ต�ำบลริม อ�ำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
2) ภาษาลือ้ หมูบ่ า้ นหนองบัว ต�ำบลป่าคา อ�ำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน 3) ภาษาขืน หมูบ่ า้ นหนองม่วง ต�ำบลป่าคา อ�ำเภอท่าวังผา
จังหวัดน่าน 4) ภาษาพวน หมูบ่ า้ นฝายมูล ต�ำบลป่าคา อ�ำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน และ 5) ภาษาลาว หมูบ่ า้ นน�ำ้ ปัว้ ต�ำบลน�ำ้ ปัว้
อ�ำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
6 Journal of Humanities, Naresuan University Year 14 Volumn 2, May - August 2017

จากภาษาอื่น เกณฑ์ที่ใช้ตรวจสอบจะใช้วิธีการเปรียบเทียบกับแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่เคยมีผู้น�ำเสนอไว้


เช่น เอกสาร งานวิจัย และพจนานุกรม เป็นต้น10
จากการวิเคราะห์ลกั ษณะการใช้คำ� ในภาษาไทถิน่ 5 ภาษา สามารถจ�ำแนกประเภทของค�ำทีใ่ ช้ใน
ภาษาไทถิ่นแต่ละภาษาได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1) ค�ำเดิม11 ในทีน่ หี้ มายถึง ค�ำทีม่ มี าแต่เดิมในภาษาไทถิน่ ซึง่ มีเกณฑ์พจิ ารณาด้วยการเปรียบเทียบ
กับแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่เคยมีผู้น�ำเสนอไว้ เช่น พจนานุกรม เอกสารและงานวิจัย รวมทั้งพิจารณาจากการ
ใช้ค�ำของผู้พูดกลุ่มอายุที่ 1 และ 2 โดยเฉพาะกลุ่มอายุที่ 1 ที่มีแนวโน้มจะยังใช้ค�ำเดิมในภาษา ในกรณีที่
ค�ำเดิมมีการแปรของเสียงพยัญชนะ สระ หรือวรรณยุกต์ แต่ยงั คงรูปค�ำหรือพยางค์ให้เห็นชัดเจนว่าเป็นค�ำเดิม
ในทีน่ จี้ ะวิเคราะห์ให้เป็นค�ำเดิมด้วย ตัวอย่างเช่น ค�ำว่า “ผูห้ ญิง” ในภาษาขืน มีการใช้คำ� ว่า [mɛː³¹ ɲiŋ³⁵] กับ
[mɛː³¹ yiŋ³⁵] ซึ่งมีการแปรของเสียงพยัญชนะต้นในพยางค์ที่ 2 ในที่นี้จะจัดให้ค�ำทั้งสองค�ำดังกล่าวอยู่
ในประเภทค�ำเดิมเหมือนกัน หรือค�ำว่า “ลูกชิด” ในภาษาลื้อ มีการใช้ค�ำว่า [mak³⁵ taːw³⁵] [ma-taːw³⁵]
[ba-taːw³⁵] ซึ่งพยางค์แรกมีความแตกต่างกัน ในที่นี้จะจัดให้ค�ำทั้งสามค�ำดังกล่าวอยู่ในประเภทค�ำเดิม
เหมือนกัน
2) ค�ำยืม หมายถึง ค�ำที่ผู้พูดภาษาไทถิ่นยืมมาจากภาษาอื่น เช่น ภาษาค�ำเมือง ลื้อ ขืน พวน และ
ลาวมีค�ำยืมจากภาษาไทยมาตรฐาน หรือภาษาลื้อ ขืน พวน และลาวมีค�ำยืมจากภาษาค�ำเมือง เป็นต้น
เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาว่าค�ำใดเป็นค�ำยืมคล้ายคลึงกับเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาค�ำเดิมในข้างต้น กล่าวคือ
ใช้วธิ กี ารเปรียบเทียบกับแหล่งข้อมูลอืน่ ๆ ทีเ่ คยมีผนู้ ำ� เสนอไว้ ประกอบกับการพิจารณาจากการใช้คำ� ของผูพ้ ดู
รุ่นอายุที่ 2 และรุ่นอายุที่ 3 โดยเฉพาะรุ่นอายุที่ 3 ที่มีแนวโน้มจะยืมค�ำจากภาษาอื่นมาใช้ ตัวอย่างเช่น
ค�ำว่า “ตกปลา” ในภาษาค�ำเมือง มีค�ำเดิมคือ [cɔm²² bet³⁵] หรือ [cɔːm²² bet³⁵] ซึ่งผู้พูดทั้ง 3 รุ่นอายุ
ต่างก็ใช้สองค�ำนี้ และมีค�ำยืมจากภาษาไทยมาตรฐานคือ ค�ำว่า [tok³⁵ paː²³] ซึ่งมีเฉพาะผู้พูดรุ่นอายุที่ 3
เท่านั้น ที่ใช้ค�ำนี้
3) ค�ำใหม่ ในที่นี้หมายถึง ค�ำที่สันนิษฐานว่าเป็นค�ำที่ผู้พูดสร้างขึ้นใหม่ในภาษา โดยค�ำใหม่
อาจมาจากการประสมค�ำเดิมกับค�ำยืม หรือการประสมพยางค์ใดพยางค์หนึ่งในค�ำเดิมกับพยางค์ใด
พยางค์หนึ่งในค�ำยืม ตัวอย่าง เช่น ค�ำว่า “ยอ (น.)” ในภาษาลาวมีค�ำใหม่ คือ [ɲɔː²³ cam²³] ซึ่งมาจาก
การประสมค�ำว่า [yɔː³³] ค�ำยืมจากภาษาไทยมาตรฐานกับค�ำว่า [cam²³] ค�ำยืมจากภาษาค�ำเมือง และ
10
แหล่งข้อมูลค�ำในภาษาไทถิ่นที่น�ำมาเปรียบเทียบกับงานวิจัยดังกล่าว มีดังนี้ ภาษาค�ำเมือง: พจนานุกรมภาษาล้านนา
(สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 2550) ภาษาลื้อ: ลื้อ สิบสองปันนา (ปราณี กุลละวณิชย์
และคณะ, 2527) ลื้อ เมืองยองและลื้อ เชียงรุ้ง (Gedney, 1964 in Hudak, 1996) ภาษาขืน: ขืนกลางเมืองและขืนบ้านเวียง
(Gedney, 1964 in Hudak, 1994) ขืนกลางเมือง (Petsuk, 1978) ภาษาพวน: ภาษาพวน อ�ำเภอเมือง อ�ำเภอบ้านหมี่
จังหวัดลพบุรี และในต�ำบลน�้ำเชี่ยว อ�ำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี (อุทัยวรรณ ตันหยง, 2526) พจนานุกรมภาษาไทยพวน
(วรวิทย์ เลีย้ งถนอม, 2532) ภาษาพวน อ�ำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี (สุวฒ ั นา เลีย่ มประวัตแิ ละกันทิมา วัฒนะประเสริฐ,
2539) ภาษาลาว: วัจนานุกม พาสาลาว (มะหาสิลา วีระวงส์, 2549) พจนานุกรมลาว-ไทย-อังกฤษ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ
(คณาจารย์ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2543) พจนานุกรมลาว-ไทย (วีระพงศ์ มีสถาน,
2543)
11
การใช้ค�ำว่า “ค�ำเดิม” ในบทความนี้ ไม่ได้หมายถึงค�ำดั้งเดิม (proto-word) หรือค�ำในภาษาดั้งเดิม (proto-language) ที่มา
จากการสืบสร้าง (reconstruction) ด้วยวิธีการทางภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ (Comparative Linguistics) แต่หมายถึง
ค�ำที่ผู้เขียนสันนิษฐานว่าเป็นค�ำที่มีมาแต่เดิมในภาษา นั่นคือ ไม่ใช่ค�ำที่ยืมมาจากภาษาอื่น หรือไม่ใช่ค�ำที่สร้างขึ้นใหม่
วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2560 7

มีการปรับเสียงพยัญชนะต้นในพยางค์แรก และเสียงวรรณยุกต์ในทัง้ สองพยางค์ตามระบบเสียงของภาษาลาว


นอกจากนี้ในภาษาไทถิ่นอาจมีการสร้างค�ำใหม่ด้วยการเพิ่ม หรือตัดพยางค์ใดพยางค์หนึ่งออกจากค�ำเดิม
ตัวอย่างเช่น ค�ำว่า “คิดถึง” ภาษาค�ำเมืองมีคำ� เดิมคือ [kɨt⁴⁴ təŋ³⁵ haː²³] และมีคำ� ใหม่ คือ [təŋ³⁵ haː²³]
[kɨt⁴⁴ haː²³] และ [kɨt⁴⁴ təŋ³⁵] ซึ่งมีการตัดพยางค์ที่ 1 พยางค์ที่ 2 และพยางค์ที่ 3 ตามล�ำดับ
4) ค�ำอื่น ๆ ได้แก่ ค�ำที่ผู้พูดภาษาไทถิ่นใช้ โดยมีรูปค�ำที่แตกต่างจากค�ำประเภทใดประเภทหนึ่ง
ใน 3 ประเภทแรก และไม่สามารถสืบค้นทีม่ าของค�ำนัน้ ๆ ได้ ตัวอย่าง เช่น ค�ำว่า “พัด (น., ก.)” ในภาษาลาว
มีค�ำเดิมคือ ค�ำว่า [wiː²³²/²³] มีค�ำยืมจากภาษาไทยมาตรฐานคือ ค�ำว่า [pʰat³³] และมีค�ำที่ในที่นี้จัดให้
เป็นประเภทค�ำอื่น ๆ คือ ค�ำว่า [bay²³²/²³ pʰat³³] เนื่องจากพยางค์แรกคือ [bay²³²/²³] ไม่ได้เป็นค�ำเดิม
ในภาษาที่ใช้ในความหมายว่า “พัด” และแม้อาจวิเคราะห์ให้เป็นค�ำยืมในภาษาไทยมาตรฐานได้ แต่ค�ำว่า
“ใบ” ในภาษาไทยมาตรฐานก็ไม่ได้หมายถึง “พัด” แต่อย่างใด ดังนัน้ จึงวิเคราะห์ให้คำ� ว่า [bay²³²/²³ pʰat³³]
อยู่ในประเภทค�ำอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างจากกรณีของค�ำเดิม ค�ำยืม และค�ำใหม่ที่กล่าวถึงในข้างต้น
จากการจ�ำแนกค�ำเป็น 4 ประเภทข้างต้น ในทีน่ จี้ ะน�ำค�ำเดิมและค�ำยืมเป็นแนวทางในการวิเคราะห์
การสร้างค�ำใหม่ในภาษาไทถิน่ ทัง้ 5 ภาษาทีพ่ ดู ในจังหวัดน่าน เนือ่ งจากการสร้างค�ำใหม่สว่ นใหญ่มกั มีทมี่ า
จากการประสมค�ำเดิมกับค�ำยืม หรือบางส่วนของค�ำเดิมกับบางส่วนของค�ำยืม ดังรายละเอียดต่อไปนี้

การสร้างค�ำใหม่ในภาษาไทถิ่นที่พูดในจังหวัดน่าน
เมื่อพิจารณาเฉพาะค�ำใหม่ซึ่งเป็นจุดเน้นในบทความนี้ พบว่า ภาษาไทถิ่นที่พูดในจังหวัดน่าน
มีการสร้างค�ำใหม่ 8 รูปแบบ ได้แก่ 1) การประสมค�ำเดิมกับค�ำเดิม 2) การประสมค�ำเดิมกับค�ำยืม
3) การประสมค�ำเดิมกับบางส่วนของค�ำยืม 4) การประสมบางส่วนของค�ำเดิมกับค�ำยืม 5) การประสมบางส่วน
ของค�ำเดิมกับบางส่วนของค�ำยืม 6) การประสมบางส่วนของค�ำยืมกับค�ำยืม 7) การตัดพยางค์ในค�ำเดิม
หรือค�ำยืม และ 8) การเพิ่มพยางค์ในค�ำเดิมหรือค�ำยืม การสร้างค�ำใหม่แต่ละรูปแบบมีตัวอย่างดังนี้12
1) การประสมค�ำเดิมกับค�ำเดิม การสร้างค�ำใหม่ในกรณีนี้เกิดจากการน�ำค�ำเดิมทั้งค�ำประสม
กับค�ำเดิมทั้งค�ำ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเมื่อภาษาไทถิ่นนั้น ๆ มีค�ำเดิมมากกว่า 1 ค�ำ ดังตัวอย่างต่อไปนี13้
ค�ำที14่ ความหมาย ภาษาไทถิ่น ค�ำเดิม ค�ำยืม ค�ำใหม่
4. “ขอบ” ขืน [him³⁵], [kʰɔːp²²] - [him³⁵ kʰɔːp²²]
10. “ด้าย” ค�ำเมือง [faːy⁴⁴ˀ], [may²³ ɲip³⁵] - [faːy⁴⁴ˀ may²³ ɲip³⁵]
ลื้อ [faːy²¹³ˀ], [may³⁵ yip³⁵] - [faːy²¹³ˀ may³⁵ yip³⁵]

12
ในภาษาไทถิน่ บางภาษามีคำ� ใหม่มากกว่า 1 ค�ำและอาจมีคำ� ใหม่ทมี่ าจากการสร้างค�ำมากกว่า 1 รูปแบบ ในทีน่ จี้ ะน�ำเสนอ
ตัวอย่างค�ำใหม่แต่ละรูปแบบ 2–4 ตัวอย่าง เพื่อให้เห็นการสร้างค�ำใหม่แต่ละรูปแบบอย่างชัดเจน
13
เนื่องจากค�ำในภาษาไทถิ่นบางภาษาที่พูดในจังหวัดน่านมีการแปรของเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์เกิดขึ้น ในที่นี้
จึงก�ำกับค�ำด้วยวงเล็บ [ ] ซึ่งแสดงให้เห็นว่าค�ำต่าง ๆ ดังกล่าวมาจากการถ่ายถอดเสียงในระดับสัทศาสตร์ (phonetic
transcription) หรือการถ่ายถอดเสียงอย่างละเอียดตามการออกเสียงของผู้พูดนั่นเอง
14
ตัวเลขแสดงล�ำดับในคอลัมน์ที่ 1 ก�ำหนดตามล�ำดับของค�ำที่ปรากฏในรายการค�ำในงานวิจัยของผู้เขียน
8 Journal of Humanities, Naresuan University Year 14 Volumn 2, May - August 2017

2) การประสมค�ำเดิมกับค�ำยืม ค�ำใหม่ในกรณีนี้เกิดจากการน�ำค�ำเดิมทั้งค�ำประสมกับค�ำยืม
ทัง้ ค�ำ โดยค�ำเดิมในภาษาไทถิน่ และค�ำยืมจากภาษาค�ำเมืองและภาษาไทยมาตรฐานมักเป็นค�ำพยางค์เดียว
หรือสองพยางค์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ค�ำที่ ความหมาย ภาษาไทถิ่น ค�ำเดิม ค�ำยืม15 ค�ำใหม่
8. “แช่ง” พวน [pɔːy⁴¹ˀ] [cɛːŋ³¹] (KM) [pɔːy⁴¹ˀ cɛŋ³¹],
[pɔːy⁴¹ˀ cɛːŋ³¹]
10. “ด้าย” ค�ำเมือง [faːy⁴⁴ˀ], [may²³ [daːy⁴²ˀ], [daːy⁴²ˀ [daːy⁴⁴ˀ may²³ ɲip³⁵]
ɲip³⁵] yep⁴⁵ pʰaː⁴²ˀ] (ST)
พวน [faːy³³ˀ] [may²³ ɲip³⁵] [faːy³³ˀ may²³ ɲip²²],
(KM) [faːy³³ˀ may²³ ɲip³⁵],
[faːy³³ˀ may²² ɲip³⁵]
18. “ยอ (น.)” ลาว [cam²³] [yɔː³³] (ST) [ɲɔː²³ cam²³]
20. “รอ” ค�ำเมือง [tʰaː⁴⁴ˀ] [rɔː³³] (ST) [lɔː³⁵ tʰaː⁴⁴ˀ]
ขืน [tʰaː⁴⁴ˀ] [rɔː³³] (ST) [lɔː³⁵ tʰaː⁴⁴ˀ]
พวน [tʰaː³³ˀ] [rɔː³³] (ST) [lɔː³⁵ tʰaː³³ˀ]

3) การประสมค�ำเดิมกับบางส่วนของค�ำยืม ค�ำใหม่ที่จัดอยู่ในรูปแบบนี้เกิดจากการที่ผู้พูด
ภาษาไทถิน่ น�ำค�ำเดิมทัง้ ค�ำประสมกับพยางค์ใดพยางค์หนึง่ ของค�ำยืม และอาจมีบางกรณีทผี่ พู้ ดู เติมพยางค์อนื่
เข้าไปด้วย ตัวอย่างเช่น
ค�ำที่ ความหมาย ภาษาไทถิ่น ค�ำเดิม ค�ำยืม ค�ำใหม่
5. “ไข่แดง” ลื้อ [mɔːn³¹] [kʰay²¹ dɛːŋ³³] (ST) [mɔːn³¹ dɛːŋ³⁵]
พวน [mɔːn³⁵] [kʰay²¹ dɛːŋ³³] (ST) [mɔːn³⁵ kʰay²²],
[kʰay²² mɔːn³⁵]
7. “คิดถึง” ลาว [kʰɨt³³ [kɨt⁴⁴ təŋ³⁵ haː²³] [kʰit³³ hɔːt³⁵ haː⁴³⁴],
hɔːt³⁵], (KM) [kʰɨt³³ hɔːt³⁵ haː⁴³⁴],
[kʰit³³ hɔːt³⁵] [kʰɨt³³ hɔːt³⁵ haː³⁴]
17. “ไม้กวาด” ค�ำเมือง [ɲuː³⁵] [maːy⁴⁵ˀ kwaːt²¹] [may⁴¹ˀ ɲuː³⁵], [ɲuː³⁵
(ST) kwaːt²²], [ɲuː³⁵ kwaːt³³
hɨən³⁵]
ขืน [yuː³⁵] [maːy⁴⁵ˀ kwaːt²¹] [may⁴¹ˀ yuː³⁵], [yuː³⁵
(ST) kwaːt²²], [ɲuː³⁵
kwaːt²²]
ลาว [ɲuː²³] [maːy⁴⁵ˀ kwaːt²¹] [may³⁵ˀ ɲuː²³],
(ST) [ɲuː²³²/²³ kwaːt⁴⁴],
[ɲuŋ²³ kwaːt⁴⁴],
[may³⁵ˀ ɲuː²³ kwaːt⁴⁴]

15
อักษรย่อในวงเล็บที่ใช้ก�ำกับท้ายค�ำยืมแต่ละค�ำมีความหมายดังนี้ ST = Standard Thai หมายถึง ค�ำยืมจากภาษาไทย
มาตรฐาน และ KM = Kam Mueang หมายถึง ค�ำยืมจากภาษาค�ำเมือง
วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2560 9

4) การประสมบางส่วนของค�ำเดิมกับค�ำยืม ค�ำใหม่ในกรณีนี้มาจากการน�ำพยางค์ใดพยางค์
หนึ่งของค�ำเดิมประสมกับค�ำยืมทั้งค�ำ ตัวอย่างเช่น
ค�ำที่ ความหมาย ภาษาไทถิ่น ค�ำเดิม ค�ำยืม ค�ำใหม่
2. “กระเดือก” ลื้อ [kʰɔː³¹ hɔːy³⁵] [kra-dɨək²¹] (ST) [ka-dɨək²⁴ kʰɔː³¹]
3. “กระเทียม” ขืน [hɔːm²³], [kra-tʰiəm³³] (ST) [hɔːm²³ ka-tʰeːm³⁵]
[hɔːm²³ kʰaːw²³]
13. “น�้ำค้าง” ขืน [mɔːk²² məːy²³] [naːm⁴⁵ˀ kʰaːŋ⁴⁵ˀ] [mɔːk²² nam⁴¹ˀ
(ST) kʰaːŋ⁴¹ˀ]
23. “หน้าต่าง” ค�ำเมือง [pa-tuː²³ pɔŋ²²] [naː⁴²ˀ taːŋ²¹] (ST) [pa-tuː²³ naː⁴⁴ˀ taːŋ²²]

5) การประสมบางส่วนของค�ำเดิมกับบางส่วนของค�ำยืม ค�ำใหม่ในกรณีนเี้ กิดจากการประสม


พยางค์ใดพยางค์หนึง่ ในค�ำเดิมกับพยางค์ใดพยางค์หนึง่ ในค�ำยืม และในบางกรณีคำ� ใหม่อาจมีการแปรของ
เสียงพยัญชนะหรือสระเกิดขึ้นด้วยดังตัวอย่างต่อไปนี้
ค�ำที่ ความหมาย ภาษาไทถิ่น ค�ำเดิม ค�ำยืม ค�ำใหม่
11. “ตกปลา” ค�ำเมือง [cɔm²² bet³⁵] [tok²¹ plaː³³] (ST) [cɔm²² paː²³]
ลื้อ [cɔm³³ bet³⁵] [tok²¹ plaː³³] (ST) [tok³⁵ bet³⁵]
ขืน [cɔm²² bet³⁵] [tok²¹ plaː³³] (ST) [cɔm²² paː²³], [tok³⁵
bet³⁵]
12. “ทอ” ลื้อ [tam²⁴ huːk²⁴] [tʰɔː³³ pʰaː⁴²ˀ] (ST) [tam²⁴ pʰaː²¹³ˀ]
ขืน [tam²² huːk²²] [tʰɔː³³ pʰaː⁴²ˀ] (ST) [tam²² pʰaː⁴⁴ˀ]
พวน [tam²² huːʔ²²] [tʰɔː³³ pʰaː⁴²ˀ] (ST) [tam²² pʰaː³³ˀ]
ลาว [tam²¹ huːk⁴⁴] [tʰɔː³³ pʰaː⁴²ˀ] (ST) [tam²¹ pʰaː⁴⁴ˀ]
14. “ผู้หญิง” ค�ำเมือง [mɛː³¹ ɲiŋ³⁵] [pʰuː⁴²ˀ yiŋ²⁴] (ST) [muː³¹ ɲiŋ³⁵], [muː²²
ɲiŋ³⁵]16
ลื้อ [mɛː³³ yiŋ³¹] [pʰuː⁴²ˀ yiŋ²⁴] (ST) [muː³³ yiŋ³¹]
ขืน [mɛː³¹ yiŋ³⁵] [pʰuː⁴²ˀ yiŋ²⁴] (ST) [muː²² ɲiŋ³⁵]
พวน [mɛː³¹ ɲiŋ³⁵] [pʰuː⁴²ˀ yiŋ²⁴] (ST) [muː²² ɲiŋ³⁵]
19. “รถเข็น” ค�ำเมือง [lɔː⁴¹ˀ ɲuː⁴¹ˀ] [rot⁴⁵ kʰen²³] (ST) [lot⁴⁴ ɲuː⁴¹ˀ], [lɔː⁴¹ˀ
kʰen²³]
ลื้อ [lɔː²²ˀ yuː²²ˀ] [rot⁴⁵ kʰen²³] (ST) [lot³³ yuː²²ˀ], [lɔː²²ˀ
kʰen³⁵]
ขืน [lɔː⁴¹ˀ ɲuː⁴¹ˀ] [rot⁴⁵ kʰen²³] (ST) [lɔː⁴¹ˀ kʰen²³]
พวน [lɔː⁴¹ˀ ɲuː⁴¹ˀ] [rot⁴⁵ kʰen²³] (ST) [lot²² ɲuː⁴¹ˀ], [lɔː⁴¹ˀ
kʰen²³], [lɔː⁴¹ˀ
kʰen²²]

16
กรณีของค�ำใหม่ที่มีความหมายว่า “ผู้หญิง” ในภาษาไทถิ่นทั้ง 5 ภาษา มีการแปรของเสียงสระในพยางค์แรกด้วย คือ
เดิมทุกภาษามีค�ำเดิมคือ “แม่ญิง” และค�ำใหม่คือ “หมู่ญิง/ยิง” ในที่นี้สันนิษฐานว่าเสียงสระ [uː] ในพยางค์แรกมาจากสระ
ในพยางค์แรกของค�ำว่า “ผู้หญิง” ซึ่งเป็นค�ำยืมภาษาไทยมาตรฐาน
10 Journal of Humanities, Naresuan University Year 14 Volumn 2, May - August 2017

6) การประสมบางส่วนของค�ำยืมกับค�ำยืม การสร้างค�ำใหม่ในกรณีนเี้ กิดขึน้ เมือ่ ในภาษาไทถิน่


บางภาษามีค�ำยืมจากทั้งภาษาไทยมาตรฐานและภาษาค�ำเมือง และผู้พูดสร้างค�ำใหม่ด้วยการน�ำพยางค์
จากค�ำยืมมาประสมกัน ตัวอย่างเช่น
ค�ำที่ ความหมาย ภาษาไทถิ่น ค�ำเดิม ค�ำยืม ค�ำใหม่
10. “ด้าย” พวน [faːy³³ˀ] [daːy⁴²ˀ], [daːy⁴²ˀ yep⁴⁵ [daːy³³ˀ may²²
pʰaː⁴²ˀ] (ST)+[faːy³³ˀ ɲip³⁵]
may²³ ɲip²²] (KM)
23. “หน้าต่าง” ลาว [pɔŋ²¹ ʔiəm³⁵], [praʔ²¹ tuː³³] (ST) + [pa-tuː²³ naː⁴⁴ˀ
[pɔːŋ²¹ ʔiəm³⁵] [naː⁴²ˀ taːŋ²¹] (ST) taːŋ²¹]

7) การตัดพยางค์ในค�ำเดิมหรือค�ำยืม การสร้างค�ำใหม่รูปแบบนี้เกิดจากการตัดพยางค์ใน
ค�ำเดิมหรือการตัดพยางค์ในค�ำยืมภาษาไทยมาตรฐานหรือภาษาค�ำเมืองดังตัวอย่างต่อไปนี้
ค�ำที่ ความหมาย ภาษาไทถิน่ ค�ำเดิม ค�ำใหม่ รูปแบบการสร้างค�ำใหม่
7. “คิดถึง” ค�ำเมือง [kɨt⁴⁴ təŋ³⁵ haː²³], [kɨt⁴⁴ təŋ³⁵], [kɨt⁴⁴ การตัดพยางค์ใด
[ka-təŋ³⁵ haː²³] haː²³], [təŋ³⁵ haː²³] พยางค์หนึ่งในค�ำเดิม
ลื้อ [kɨt³³ tɨŋ³⁵ haː³⁵], [kɨt³³ haː³⁵], [kɨt³³ การตัดพยางค์ใด
[kɨt³³ tɨŋ³¹ haː³⁵] tɨŋ³⁵], [kɨt³³ tɨŋ³¹], พยางค์หนึ่งในค�ำเดิม
[tɨŋ³⁵ haː³⁵]
ขืน [kɨt⁴⁴ təŋ³⁵ haː²³], [kɨt⁴⁴ haː²³], [kɨt⁴⁴ การตัดพยางค์ใด
[kɨt⁴⁴ tɨŋ³⁵ haː²³], təŋ³⁵], [təŋ³⁵ haː²³], พยางค์หนึ่งในค�ำเดิม
[ka-tɨŋ³⁵ haː²³], [tɨŋ³⁵ haː²³]
[kʰa-tɨŋ³⁵ haː²³]
พวน - [kʰɨt²² haː²³], การตัดพยางค์ที่ 2 ในค�ำ
[kʰɨt²² haː²²], ยืม คือค�ำว่า [kɨt⁴⁴ təŋ³⁵
[kʰit²² haː²²]
haː²³] (KM)
9. “ซี่โครง” ค�ำเมือง [duːk²² kʰiː⁴⁴ˀ [kʰiː⁴⁴ˀ kʰaːŋ⁴⁴ˀ] การตัดพยางค์แรกของค�ำ
kʰaːŋ⁴⁴ˀ], ว่ า [duːk²² kʰiː⁴⁴ˀ
[ka-duːk²² kʰiː⁴⁴ˀ
kʰaːŋ⁴⁴ˀ] kʰaːŋ⁴⁴ˀ] หรือ [ka-duːk²²
kʰiː⁴⁴ˀ kʰaːŋ⁴⁴ˀ] (ค�ำเดิม
ในภาษาค�ำเมือง)
ขืน [duːk²² kʰiː⁴⁴ˀ [duːk²² kʰaːŋ⁴⁴ˀ] การตัดพยางค์ที่ 2 ของค�ำ
kʰaːŋ⁴⁴ˀ], [ka- ว่ า [duːk²² kʰiː⁴⁴ˀ
duːk²² kʰiː⁴⁴ˀ
kʰaːŋ⁴⁴ˀ] kʰaːŋ⁴⁴ˀ] (ค� ำ เดิ ม ใน
ภาษาขืน)
พวน - [duːʔ²² kʰaːŋ⁴¹ˀ], การตัดพยางค์ในค�ำยืม
[ka-duːʔ²² คือค�ำว่า [duːk²² kʰiː⁴⁴ˀ
kʰaːŋ³³ˀ], [kʰiː³³ˀ
kʰaːŋ³³ˀ] kʰaːŋ⁴⁴ˀ] (KM)
วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2560 11

ค�ำที่ ความหมาย ภาษาไทถิน่ ค�ำเดิม ค�ำใหม่ รูปแบบการสร้างค�ำใหม่


ลาว [duːk⁴⁴ kʰiː⁴⁴ˀ [kʰiː⁴⁴ˀ kʰaːŋ⁴⁴ˀ] การตัดพยางค์ที่ 1 หรือ 2
kʰaːŋ⁴⁴ˀ], [duːk⁴⁴ ในค�ำเดิมคือค�ำว่า [duːk⁴⁴
siː⁴⁴ˀ kʰaːŋ⁴⁴ˀ],
[ka-duːk⁴⁴ kʰiː⁴⁴ˀ kʰiː⁴⁴ˀ kʰaːŋ⁴⁴ˀ],
kʰaːŋ⁴⁴ˀ] [ka-duːk⁴⁴ kʰiː⁴⁴ˀ
kʰaːŋ⁴⁴ˀ] (KM)
23. “หน้าต่าง” ขืน [pa-tuː²³ pɔːŋ²²], [tuː²³ pɔːŋ²²], การตัดพยางค์ที่ 1 และ/
[paŋ³¹ tuː²³ [pɔːŋ²²] หรือพยางค์ที่ 2 ของค�ำเดิม
pɔŋ²²], [paŋ³¹
tuː²³ pɔːŋ²²]

8) การเพิ่มพยางค์ในค�ำเดิมหรือค�ำยืม การสร้างค�ำใหม่ในกรณีนี้พบในภาษาไทถิ่นเพียง
บางภาษาเท่านั้น และพยางค์ที่เพิ่มเข้ามามักไม่ปรากฏในภาษาไทถิ่นนั้น ๆ หรือภาษาอื่น ๆ แต่อย่างใด
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ค�ำที่ ความหมาย ภาษาไทถิ่น ค�ำเดิม ค�ำใหม่ รูปแบบการสร้างค�ำใหม่

6. “ครัว (~ไฟ)” พวน [kʰuə³⁵] [loŋ³⁵ kʰuə³⁵] การเติ ม พยางค์ [loŋ³⁵]


หน้าค�ำเดิม
7. “คิดถึง” พวน - [kʰɨt²² huː⁴¹ˀ haː²³], การตัดพยางค์ที่ 2 ในค�ำว่า
[kʰɨt²² huː⁴¹ˀ haː²²], [kɨt⁴⁴ təŋ³⁵ haː²³] ซึ่งเป็น
[kʰɨt²² huː⁴¹ˀ]
ค�ำยื ม ภาษาค� ำ เมื อ ง และ
เติ ม พยางค์ ใ หม่ คื อ
[huː⁴¹ˀ] เข้ามาแทน
10. “ด้าย” ลาว [faːy⁴⁴] [kʰaw²³ may⁴³⁴ การเพิ่มพยางค์แรก คือ
ɲip³⁵], [kʰam²³ [kʰaw²³] หรื อ [kʰam²³]
maː³⁴ ɲip³⁵]
ในค�ำว่า [may²³ ɲip³⁵] ซึ่ง
เป็นค�ำยืมจากภาษาค�ำเมือง

เมือ่ พิจารณาการสร้างค�ำใหม่รปู แบบต่าง ๆ ในภาษาไทถิน่ ทัง้ 5 ภาษาในภาพรวม ท�ำให้ตงั้ ข้อสังเกต


ได้ว่า กรณีที่ทั้งค�ำเดิมและค�ำยืมเป็นค�ำที่มีพยางค์เดียว ผู้พูดอาจสร้างค�ำใหม่ด้วยการน�ำค�ำเดิมประสมกับ
ค�ำยืมและยังคงใช้ค�ำเดิมร่วมด้วย ตัวอย่างเช่น ค�ำที่ 8. “แช่ง” ค�ำที่ 10. “ด้าย” และค�ำที่ 20. “รอ” เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ในภาษาไทถิ่นบางภาษา มีการสร้างค�ำใหม่ขึ้นใช้แทนค�ำเดิมโดยสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น
ค�ำที่ 18. “ยอ (น.)” ในภาษาลาว (หมู่บ้านน�้ำปั้ว) ผู้พูดภาษาลาวใช้ค�ำใหม่ร่วมกับค�ำยืมจากภาษาค�ำเมือง
และภาษาไทยมาตรฐาน ซึ่งล้วนเป็นค�ำที่แตกต่างจากพจนานุกรมลาว-ไทยซึ่งมีค�ำว่า “กะดุ้ง” และ “สะดุ้ง”
(วีระพงศ์ มีสถาน, 2543: 5, 99) ในความหมายว่า “ยอ (น.)” เช่นเดียวกับในภาษาไทยถิ่นอีสาน (ถิ่นอ�ำเภอ
กุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี) ที่ผู้เขียนพูดเป็นภาษาแม่ซึ่งใช้ค�ำว่า “สะดุ้ง” นอกจากนี้ยังมีค�ำที่ 7. “คิดถึง”
ซึง่ ในพจนานุกรมภาษาไทยพวน (วรวิทย์ เลีย้ งถนอม, 2532) มีคำ� ว่า “คึดฮอด” ภาษาพวนทีพ่ ดู ในจังหวัดสุพรรณบุรี
12 Journal of Humanities, Naresuan University Year 14 Volumn 2, May - August 2017

มีค�ำว่า /kʰit⁴⁴ hɔːt⁴⁵²/ ซึ่งใช้ในผู้พูดทั้ง 3 กลุ่มอายุ และค�ำว่า /kʰit⁴⁴ tʰɨŋ²⁴/ พบในข้อมูลของผู้พูด


วัยกลางคนและรุน่ อายุนอ้ ยเท่านัน้ 17 (สุวฒ
ั นา เลีย่ มประวัตแิ ละกันทิมา วัฒนะประเสริฐ, 2539) ส่วนภาษาพวน
ที่ศึกษาในที่นี้มีการใช้ค�ำยืมจากภาษาไทยมาตรฐาน ค�ำใหม่ และค�ำอื่น ๆ แต่ไม่ปรากฏค�ำว่า “คึดฮอด”
แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่ผู้เขียนสันนิษฐานว่าเป็นค�ำที่สร้างขึ้นใหม่ในภาษาไทถิ่นแต่ละภาษา
แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาจสันนิษฐานได้อีกว่า ค�ำใหม่ค�ำนั้น ๆ อาจสร้างขึ้นในภาษาไทถิ่นภาษาใด
ภาษาหนึ่งก่อน โดยเฉพาะภาษาค�ำเมืองซึ่งเป็นภาษากลางที่ผู้พูดภาษาไทถิ่นภาษาอื่น ๆ ใช้ในการติดต่อ
สื่อสารกัน เมื่อมีค�ำใหม่เกิดขึ้นในภาษาค�ำเมือง ก็อาจเป็นไปได้ว่า ผู้พูดภาษาไทถิ่นภาษาอื่น ๆ ยืมค�ำใหม่
ค�ำนั้น ๆ ไปใช้ในภาษาของตน ตัวอย่างเช่น ค�ำว่า 12. “ทอ” (ต�่ำผ้า) ค�ำที่ 14. “ผู้หญิง” (หมู่ญิง) ค�ำที่ 20
“รอ” (รอถ้า) เป็นต้น18

บทสรุป
เมื่อเปรียบเทียบรูปแบบการสร้างค�ำใหม่ในภาษาไทถิ่น 5 ภาษาที่พูดในจังหวัดน่านกับภาษาไท
ถิ่นภาษาอื่น ๆ ที่เคยมีผู้ศึกษาไว้ในอดีต พบว่า ภาษาไทถิ่นทั้ง 5 ภาษามีรูปแบบหรือวิธีการสร้างค�ำใหม่
คล้ายคลึงกับภาษาไทถิ่นต่าง ๆ ในงานวิจัยในอดีต แต่มีบางรูปแบบที่ซับซ้อนมากกว่า ดังจะเห็นได้จากการ
เปรียบเทียบต่อไปนี้
รูปแบบการสร้างค�ำใหม่ในภาษาไทถิน่ จาก รูปแบบการสร้างค�ำใหม่ในภาษาไทถิ่นที่พูด
งานวิจัยในอดีต ในจังหวัดน่าน
1. การประสมค�ำเดิมกับค�ำเดิม 1. การประสมค�ำเดิมกับค�ำเดิม
2. การประสมค�ำเดิมกับค�ำยืม 2. การประสมค�ำเดิมกับค�ำยืม
3. การประสมค�ำเดิมกับบางส่วนของค�ำยืม 3. การประสมค�ำเดิมกับบางส่วนของค�ำยืม
4. การประสมบางส่วนของค�ำเดิมกับค�ำยืม 4. การประสมบางส่วนของค�ำเดิมกับค�ำยืม
5. การเพิ่มพยางค์หน้าค�ำยืม 5. การประสมบางส่วนของค�ำเดิมกับบางส่วนของค�ำยืม
6. การเพิ่มพยางค์ในค�ำเดิม 6. การประสมบางส่วนของค�ำยืมกับค�ำยืม
7. การตัดพยางค์ในค�ำเดิม 7. การตัดพยางค์ในค�ำเดิมหรือค�ำยืม
8. การเพิ่มพยางค์ในค�ำเดิมหรือค�ำยืม
จากการเปรียบเทียบรูปแบบการสร้างค�ำใหม่ข้างต้น จะเห็นได้ว่า ภาษาไทถิ่นที่ศึกษาในงานวิจัย
ในอดีตมีการสร้างค�ำใหม่ที่สรุปรวมได้ 7 รูปแบบ ในขณะที่การสร้างค�ำใหม่ในภาษาไทถิ่นที่พูดในจังหวัด
น่านมี 8 รูปแบบ และมีบางรูปแบบแตกต่างจากงานวิจัยในอดีต โดยเฉพาะการสร้างค�ำใหม่รูปแบบที่ 6

17
ค�ำว่า /kʰit⁴⁴ tʰɨŋ²⁴/ ในภาษาพวน จังหวัดสุพรรณบุรีในงานวิจัยดังกล่าว อาจเป็นค�ำยืมจากภาษาไทยมาตรฐาน เนื่องจาก
พบว่ามีเพียงผู้พูดวัยกลางคนและผู้พูดรุ่นอายุน้อยเท่านั้นที่ใช้ค�ำนี้
18
ค�ำทีอ่ ยูใ่ นวงเล็บอาจเป็นค�ำทีส่ ร้างขึน้ ใหม่ในภาษาค�ำเมือง และเป็นค�ำยืมในภาษาไทถิน่ ภาษาอืน่ ๆ ในภายหลัง (เนือ่ งจาก
ในภาษาไทถิน่ แต่ละภาษามีการใช้เสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์แตกต่างกัน ในทีน่ จี้ งึ ถ่ายถอดเสียงค�ำด้วยตัวอักษรไทย
แทนการใช้สัทอักษรสากล)
วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2560 13

ทีไ่ ม่พบในงานวิจยั ในอดีต รวมทัง้ รูปแบบที่ 7 และ 8 ทีใ่ นงานวิจยั ในอดีตพบว่า ภาษาไทถิน่ บางภาษามีการ
ตัดพยางค์หรือเพิ่มพยางค์ในค�ำเดิม แต่ไม่พบว่ามีการตัดพยางค์หรือเพิ่มพยางค์ในค�ำยืม ความแตกต่าง
จากงานวิจยั ในอดีตอีกประการคือ มีบางกรณีทภี่ าษาไทถิน่ ทีพ่ ดู ในจังหวัดน่านมีคำ� ใหม่ทคี่ อ่ นข้างหลากหลาย
ตัวอย่างเช่น ค�ำที่ 7. “คิดถึง” ค�ำที่ 10. “ด้าย” และค�ำที่ 13. “น�้ำค้าง” ในภาษาไทถิ่นแต่ละภาษามีค�ำใหม่
จ�ำนวน 3–8 ค�ำ และในภาษาไทถิ่นบางภาษามีค�ำใหม่ที่เกิดจากการสร้างค�ำมากกว่า 1 รูปแบบ
นอกจากนีย้ งั ตัง้ ข้อสังเกตได้วา่ เมือ่ มีคำ� ใหม่เกิดขึน้ ในภาษา มีบางกรณีทผี่ พู้ ดู ภาษาไทถิน่ บางภาษา
ในจังหวัดน่านใช้ค�ำเดิมในความหมายที่เปลี่ยนไป ตัวอย่างเช่น ค�ำที่ 5. “ไข่แดง” ในภาษาค�ำเมืองและ
ภาษาลาวมีการใช้ค�ำเดิมคือค�ำว่า “มอน” และ “มอนไข่” ซึ่งเดิมหมายถึง ไข่แดงทั้งที่สุกและดิบ แต่ผู้พูด
ภาษาค�ำเมืองทั้ง 3 กลุ่มอายุใช้ค�ำดังกล่าวในความหมายแคบเข้าคือ ไข่แดงสุก และใช้ค�ำว่า “ไข่แดง”
ซึง่ เป็นค�ำยืมจากภาษาไทยมาตรฐานในความหมายว่า ไข่แดงดิบ หรือกรณีของค�ำที่ 10. “ด้าย” ในภาษาพวน
มีคำ� เดิมคือค�ำว่า “ฝ้าย” ซึง่ มีความหมายว่า ด้ายทีใ่ ช้เย็บผ้า แต่ผพู้ ดู กลุม่ อายุที่ 3 ใช้คำ� ดังกล่าวในความหมาย
ว่า ฝ้ายที่ใช้ผูกข้อมือ เป็นต้น
เมื่อพิจารณาในภาพรวมจะเห็นได้ว่า การสร้างค�ำใหม่ในภาษาไทถิ่นทั้งที่ศึกษาในงานวิจัยของ
ผูเ้ ขียนและทีป่ รากฏในงานวิจยั อืน่ ๆ ล้วนแต่มที มี่ าคล้ายคลึงกัน นัน่ คือ การสร้างค�ำใหม่มกั เกิดขึน้ ในบริบททีม่ ี
การสัมผัสภาษา หรือในสถานการณ์ที่ภาษาไทถิ่นได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่น ๆ โดยเฉพาะภาษาที่เป็น
ภาษากลาง (lingua franca) ในแต่ละท้องถิ่น และภาษาราชการ (official language) ที่ใช้ในบริบทที่เป็น
ทางการ เช่น ภาษาไทยมาตรฐาน เป็นต้น นอกจากนีย้ งั มีความเป็นไปได้ทกี่ ารสร้างค�ำใหม่ทปี่ รากฏในภาษา
ไทถิ่นจะน�ำไปสู่ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของค�ำที่อาจเกิดขึ้นในภาษาไทถิ่นต่าง ๆ ในอนาคต
โดยเฉพาะการสร้างค�ำใหม่ด้วยวิธีการประสมพยางค์ในค�ำเดิมกับพยางค์ในค�ำยืมซึ่งอาจเป็นรูปแบบของ
การสร้างค�ำใหม่ที่ปรากฏมากที่สุด นอกจากนี้อาจมีความเป็นไปได้ที่ค�ำเดิมในภาษาอาจถูกแทนที่ด้วย
ค�ำทีผ่ พู้ ดู สร้างขึน้ ใหม่ ในกรณีทผี่ พู้ ดู รุน่ อายุนอ้ ยใช้คำ� ใหม่มากขึน้ เรือ่ ย ๆ ดังทีป่ รากฏให้เห็นตัวอย่างค�ำเดิม
บางค�ำในภาษาไทถิ่นที่พูดในจังหวัดน่านที่สูญไปจากภาษาแล้วและถูกแทนที่ด้วยค�ำใหม่และ/หรือค�ำยืม
จากภาษาอื่นโดยสิ้นเชิง
จากการศึกษาการสร้างค�ำใหม่ทงั้ ในภาษาไทถิน่ จากงานวิจยั ในอดีตและภาษาไทถิน่ ทีพ่ ดู ในบริเวณ
ที่มีการสัมผัสภาษาในจังหวัดน่าน ผู้เขียนมีข้อเสนอบางประการเกี่ยวกับวิธีการศึกษาวิจัยการสร้างค�ำใหม่
ในภาษาทีพ่ ดู ในบริเวณทีม่ กี ารสัมผัสภาษา นัน่ คือ การออกแบบรายการค�ำส�ำหรับเก็บข้อมูลทีต่ อ้ งครอบคลุม
ค�ำหมวดต่าง ๆ ในภาษาให้มากทีส่ ดุ และควรเก็บข้อมูลจากผูพ้ ดู กลุม่ อายุตา่ ง ๆ โดยจ�ำนวนผูพ้ ดู แต่ละกลุม่
อายุควรมีจ�ำนวน 5 คนขึ้นไป เพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และจะช่วยให้เห็นแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลง
ในอนาคตได้อย่างชัดเจน สิ่งส�ำคัญอีกประการคือ การเก็บข้อมูลในภาษาอื่น ๆ ที่พูดอยู่รอบข้างภาษานั้น ๆ
ด้วยซึ่งจะช่วยให้เห็นการมีอิทธิพลต่อกันระหว่างภาษาต่าง ๆ นอกจากนี้ยังจ�ำเป็นต้องมีแหล่งข้อมูลอื่น ๆ
เช่น เอกสาร งานวิจัย หรือพจนานุกรมที่สามารถน�ำมาใช้ยืนยันได้ว่า ค�ำในภาษาเป็นค�ำที่มีมาแต่เดิม
เป็นค�ำยืมจากภาษาอื่น ๆ หรือเป็นค�ำที่สร้างขึ้นใหม่ รวมทั้งการศึกษาที่ครอบคลุมด้านความหมายของค�ำ
ที่อาจมีการแปรหรือเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน
14 Journal of Humanities, Naresuan University Year 14 Volumn 2, May - August 2017

บรรณานุกรม

คณาจารย์ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2543). พจนานุกรม


ลาว-ไทย-อังกฤษ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จินตนา ศูนย์จันทร์. (2539). การวิเคราะห์ค�ำศัพท์ภาษาผู้ไทย อ�ำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร.
วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร, กรุงเทพฯ.
ปราณี กุลละวณิชย์ และคณะ. (2527). ศัพท์ไท 6 ภาษา. ศูนย์ภาษาและวรรณคดีไทย คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิณรัตน์ อัครวัฒนากุล. (2555). การแปรและการเปลีย่ นแปลงทางศัพท์และเสียงในภาษาไทถิน่ ทีพ ่ ดู
ในจังหวัดน่าน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์น�ำเสนอต่อส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและ
ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
มะหาสิลา วีระวงส์. (2549). วัจนานุกม พาสาลาว. (ฉบับปรับปรุงใหม่). นครหลวงเวียงจันทน์: จ�ำปาการพิมพ์.
(เป็นภาษาลาว, พิมพ์ครั้งแรก 2503)
วรวิทย์ เลี้ยงถนอม. (2532). พจนานุกรมภาษาไทยพวน. มูลนิธิไทยพวน. (ม.ป.ท.)
วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. (2520). ภาษาผู้ไท. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วีระพงศ์ มีสถาน. (2543). พจนานุกรมลาว-ไทย. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท
มหาวิทยาลัยมหิดล.
สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2550). พจนานุกรมภาษาล้านนา.
เชียงใหม่: เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.
สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ และกันทิมา วัฒนะประเสริฐ. (2539). รายงานการวิจัยเรื่อง วิเคราะห์การใช้ค�ำ
และการแปรของภาษาของคนสามระดับอายุในชุมชนภาษาลาวลุ่มน�้ำท่าจีน. (พิมพ์ครั้งที่ 2)
นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
อมรา ประสิทธิร์ ฐั สินธุ.์ (2532). ค�ำจ�ำกัดความศัพท์ในภาษาศาสตร์สงั คม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จฬุ าลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
อัญชลี บูรณะสิงห์. (2531). วิเคราะห์การเปลีย่ นแปลงการใช้คำ� ของคนสามระดับอายุในภาษาไทยโซ่ง.
วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.
อุทยั วรรณ ตันหยง. (2526). วิเคราะห์การเปลีย่ นแปลงการใช้คำ� ของคนสามระดับอายุในภาษาลาวพวน.
วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
Gedney, W.J. [1964] (1994). Introduction to Klang Muong Khuen. In T.J. Hudak (Ed.), William
J. Gedney’s Southwestern Tai Dialects: Glossaries, Texts, and Translations (pp. 977–1020).
Ann Arbor: Center for South and Southeast Asian Studies, The University of Michigan.
Haugen, E. (1950). The analysis of linguistic borrowing. Language 26, 210–231.
Haugen, E. (1953). The Norwegian Language in America: A Study in Bilingual Behavior, vol. 1:
The Bilingual Community, vol. 2; The American Dialects of Norwegian. Bloomington: Indiana
University Press. (Reprinted 1969)
วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2560 15

Hoffmann, C. (1991). An Introduction to Bilingualism. London and New York: Longman Linguistics
Library.
MacKenzie, I. (2014). Lexical innovation: cromulently embiggening a language. Alicante Journal
of English Studies, 27, 91–105.
Michael, I. (2013). Lexical innovation in Anaang. Studies in Literature and Language, 7(3), 81–89.
Petsuk, R. (1978). General Characteristics of the Khü n Language. M.A. Thesis, Faculty of Graduate
Studies, Mahidol University, Nakhon Pathom.
T’Sou, B.K. (2001). Language contact and lexical innovation. In M. Lackner, I. Amelung and J.
Kurtz (Eds.), New Terms for New Ideas: Western Knowledge and Lexical Change in Late
Imperial China (pp. 35–56). Leiden; Boston, Mass: Brill.
Winford, D. (2013). Contact and borrowing. In R. Hickey (Ed.), The Handbook of Language Contact
(pp. 170–187). UK: Blackwell Publishing Ltd.
16 Journal of Humanities, Naresuan University Year 14 Volumn 2, May - August 2017

You might also like