You are on page 1of 9

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษาข้อมูลในการวิจัย เรื่องการศึกษาและวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการแปลภาษาจีน
เป็นภาษาไทยในระดับคาและระดับประโยคของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ วิทยาลัยนานาชาติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ครั้งนี้ได้มีการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวคิด
ทฤษฎีในการวิจัยดังนี้
1. หลักการแปล (ทฤษฎีและกระบวนการ)
2. หลักไวยากรณ์ภาษาจีนและภาษาไทย
3. กลวิธีการแปลของผู้เรียนและข้อผิดพลาดของการแปล
1. หลักการแปล
การแปลมีกาเนิ ดขึ้น มาตั้งแต่ 3,000 ปีก่อนคริส ตกาล และเริ่มวิวัฒ นาการอย่างรวดเร็ว
ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งในยุคนั้นการแปลได้ขยายตัวเข้าสู่วิทยาการด้านอื่น ๆ หลากหลาย
สาขา จนทาให้การแปลพัฒนาขึ้นจนมีระบบระเบียบของทฤษฎีที่หลายหลากจนสามารถจัดได้ว่าเป็น
ศาสตร์แห่งวิทยาการ ที่อาจเรียกได้ว่า “วิทยาการแปล” (คู่มือนักแปลอาชีพ น.14)
ทฤษฎีพนื้ ฐานของการแปล
ทฤษฎีพื้นฐานของการแปลในปัจจุบันประกอบด้วย
1. ทฤษฎีภาษาศาสตร์
2. ทฤษฎีจิตวิทยา
3. ทฤษฎีการตลาด
4. ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน
7

กระบวนการแปล
กระบวนการแปลในยุคปัจจุบันมีกระบวนการดังต่อไปนี้
1. กระบวนการแปลของไนด้าและเทเบอร์

ภาพที่ 2.1 กระบวนการแปลของไนด้าและเทเบอร์

2. กระบวนการแปลของลาร์สัน

ภาพที่ 2.2 กระบวนการแปลของลาร์สัน


จากแบบจาลองของไนด้าและเทเบอร์ และแผนภูมิของลาร์สันมีขั้นตอนการแปลที่คล้ายคลึง
กันนารวิเคราะห์หรือค้นหาความหมายของเนื้อหาหรือความที่จะแปลก่อนจะถ่ายทอดความหมายออก
มาก ซึ่งกระบวนการแปลแบบนี้เป็นกระบวนการแปลตามทฤษฎีความหมาย (Theory of Sence)
ที่ ก ล่ า วว่ า การแปลคื อ การถ่ า ยทอดความหมาย ไม่ ใ ช่ ก ารถ่ า ยทอดภาษา (Transcodage)
เพียงอย่างเดียว (จิรพรรณ ทองมาก, เอกสารประกอบการสอนการแปล 1, น.6-7)
8

ชนิดของการแปล
การแปลแบ่งในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
1. การแปลแบบตรงตัว
2. การแปลแบบเอาความหรือการแปลแบบเสรี
ลักษณะของการแปล
การแปลในสมัยปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะดังนี้
1. การแปลที่ศักดิ์สิทธิ์ คือการแปลที่รักษาภาษาและโครงสร้างของต้นฉบับ ไว้อย่างเคร่งครัด
จนเกือบขาดการสื่ อความหมายโดยสิ้ น เชิง การแปลลั กษณะนี้มักใช้กั บการแปลคั มภีร์ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์
คาสวดมนต์ เป็นต้น
2. การแปลตามตัวอักษร คือการแปลที่คงรูปโครงสร้างของภาษาไปไว้มากจนไม่คานึงถึง
โครงสร้างของภาษาที่มีความแตกต่างกัน การแปลในลักษณะนี้จะยึ ดการแปลแบบคาต่อคา ซึ่งมักจะ
ใช้ในการสอนภาษาต่างประเทศ
3. การแปลความหมายเพื่อการสื่อสาร คือการแปลแบบตีความของสาร และถ้อยคาภาษา
ในต้นฉบับ แล้วเรียบเรียงเป็นภาษาตามโครงสร้างของภาษาปลายทาง โดยไม่ยึดติดกับถ้อยคาและ
โครงสร้างของภาษาต้นฉบับ
4. การแปลเพื่ออาชีพ คื อการแปลงานต่าง ๆ จากภาษาต่างประเทศ หรือจากภาษาไทย
เป็นภาษาต่างประเทศตามความต้องการของตลาด งานเหล่านี้มีจานวนมากและต้องการความถูกต้อง
แม่นยาและเร่ งด่ว น อาทิ งานแปลด้านกฎหมาย ด้านธุรกิจ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านอักษรศาสตร์
เป็ น ต้ น ซึ่ ง การแปลลั ก ษณะนี้ จ ะผสมผสานการแปลจาก 3 ลั ก ษณะข้ า งต้ น ไว้ ทั้ ง นี้ ขึ้ น อยู่ กั บ
ความต้องการของตลาด แต่ส่วนมากจะยึดรูปแบบการแปลความหมายเพื่อการสื่อสารเป็นสาคัญ
ขั้นตอนการแปล
ขั้นตอนการแปลประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้
1. วิเคราะห์ต้นฉบับ
2. อ่านเพื่อทาความเข้าใจต้นฉบับ
3. ผละจากภาษาของต้นฉบับ
4. ถ่ายทอดความหมายของต้นฉบับมาเป็นภาษาปลายทาง หรือการเขียนบทแปล
9

แผนภูมิแสดงขั้นตอนการแปล

ศึกษา หาความ เข้า ถ่ายทอดเป็น


อ่าน ตรวจสอบ เขียน
วิเคราะ ใจความ ภาษา
ต้นฉบับ หมาย แก้ไข บทแปล
ห์ หมาย ปลายทาง

ภาพที่ 2.3 แผนภูมิแสดงขั้นตอนการแปล


ปัญหาของการแปล
ปัญหาสาคัญในการแปลสมัยปัจจุบันมีดังนี้
1. ปัญหาด้านภาษา
2. ปัญหาด้านวัฒนธรรม
3. ปัญหาด้านความรู้รอบตัว
4. ปัญหาทางการตลาดและการขอลิขสิทธิ์

2. หลักไวยากรณ์ภาษาจีนและภาษาไทย
หลั ก ไวยากรณ์ เ ป็ น หนึ่ ง ในหั ว ใจส าคั ญ ของการแปลหากไม่ เ ข้ า ใจหลั ก ไวยากรณ์ ข อง
ภาษาต้นฉบับและภาษาปลายทาง (ในงานวิจัยนี้หมายถึงหลักไวยากรณ์ของภาษาจีนและภาษาไทย)
จะไม่สามารถสร้างสรรค์งานแปลที่ดีได้ เนื่องจากไวยากรณ์ของภาษาต่าง ๆ นั้น แฝงไปด้วยวัฒนธรรม
และแนวคิดของชนผู้ใช้ภาษานั้น ๆ ด้วย ดังนั้นนักแปลจะต้องเข้าใจไวยากรณ์ของภาษาต้นฉบับและ
ภาษาปลายทางเป็นอย่างดี
ไวยากรณ์ภาษาจีนและภาษาไทยโดยพื้นฐานมีความคล้ายคลึงกัน โครงสร้างของประโยค
พื้นฐานล้วนมีโครงสร้ างที่เหมือกัน คือ ประธาน + กริ ยา + กรรม แต่ที่ต่างกันคือโครงสร้างของ
ส่ ว นขยาย เช่น คาขยายค านาม การแสดงความเป็ นเจ้า ของ การระบุตาแหน่ งสถานที่ เป็นต้ น
ยกตัวอย่างเช่น
wǒ xǐ huān zú qiú
1. 我 喜 欢 足 球
ฉัน ชอบ ฟุตบอล
wǒ de shū
2. 我 的 书
ฉัน ของ หนังสือ
wǒ zài xuéxiào shàng kè
3. 我 在 学 校 上 课
ฉัน อยูท่ ี่ โรงเรียน เรียนหนังสือ
10

จากตัวอย่างประโยคจะเห็นได้ว่าโครงสร้างประโยคของภาษาจีนและภาษาไทยนั้น มีความ
เหมือนกันในตัวโครงสร้างคือ ประธาน + กริยา + กรรม ดังประโยคตัวอย่างที่ 1 แต่เมื่อดูตัวอย่าง
ประโยคที่ 2 และ 3 เราจะเห็ น ว่ า ต าแหน่ ง โครงสร้ า งประโยคของทั้ ง 2 ภาษามี ค วามต่ า งกั น
อย่ า งชั ด เจน ดั ง ตั ว อย่ า งที่ 2 ในภาษาจี น จะกล่ า วถึ ง ประธานผู้ เ ป็ น เจ้ า ของสิ่ ง ของนั้ น ก่ อ นแล้ ว
wǒ de shū
จึงกล่าวถึงกรรมที่เป็นสิ่งของดังตัวอย่า ง 我 的 书 ฉัน ของ หนังสือ แต่ในภาษาไทยสิ่งของ
wǒ zài xuéxiào shàng kè
จะเป็นกรรมที่เป็นประธานคือ หนังสือของฉัน และดังตัวอย่างที่ 3 我 在 学 校 上 课
ฉันอยู่ที่โรงเรียนเรียนหนังสือ ในโครงสร้างภาษาจีนสถานที่จะตามหลังประธานและอยู่หน้ากริยา แต่
ในภาษาไทยสถานที่จะอยู่ท้ายประโยคคือ ฉันเรียนหนังสืออยู่ที่โรงเรียน ดังนั้นหากผู้แปลไม่เข้าใจ
ไวยากรณ์ของทั้งสองภาษาอย่างถ่องแท้ ก็จักทาให้เกิดข้อผิดพลาดในการสื่ อความหมายจากการ
แปลได้
ทั้งนี้สิ่งที่สาคัญอีกอย่างของการแปลภาษาคือการเลือกใช้ความหมายของคาซึ่งในภาษาจีน
นั้ น คาที่มีห ลายความหมายนั้ น มี มาก ผู้ แปลจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในความหมายของค าที่ มี
หลายความหมายเหล่านี้เป็นอย่างดี มิเช่นนั้นจักทาให้เกิดการแปลความหมายที่ผิดพลาดจนทาให้
ความหมายของฉบั บ แปลผิ ด เพี้ ย นหรื อ คลาดเคลื่ อ นไปจากภาษาต้ น ฉบั บ ยกตั ว อย่ า งเช่ น
zǒu
走 มีความหมายแปลว่า เดิน หรือ ไป ดังนั้นหากมีประโยคที่ใช้คานี้จะต้องดูบริบทที่ผู้เขียนต้นฉบับ
สื่อออกมาดังตัวอย่างประโยคที่จะยกตัวอย่างต่อไปนี้
wǒ zǒudào nā biān qù
1. 我 走 到 那 边 去
ฉัน เดิน ไปตรงนั้น
tā zǒu le bù zhīdàoshēng me shíhoucáinéng hu
2. 他 走 了不 知 道 生 么 时 候 才 能 回来。
เขา ไป แล้วไม่รู้ว่าเมื่อไรถึงจะได้กลับมา

3. กลวิธีการแปลและข้อผิดพลาดของการแปล
สุพรรณี ปิ่นมณี (2552) ได้ยกตัวอย่างข้อผิดพลาดของการแปลไว้ในหนังสือ แปลได้ แปลดี
ทั ก ษะการแปลส าหรั บ ผู้ เ รี ย นในระดั บ มหาวิ ท ยาลั ย ว่ า ข้ อ ผิ ด พลาดของนั ก แปลที่ พ บมี ดั ง นี้
(1) แปลผิดความหมายและแปลผิดไวยากรณ์ (2) แปลผิดลีลาภาษา (3) แปลผิดระดับภาษา เช่น
ภาษาพูดกับภาษาที่เป็นทางการ (4) แปลเกิน (5) แปลขาด (6) แปลผิดวัฒนธรรม (7) แปลจุดเน้น
ต่างกัน (8) แปลโดยใช้คา ผิ ด (9) แปลน้าเสียงต่างกัน เช่นคาบอกอารมณ์ความรู้สึก (10) แปลโดยใช้
คาที่มีความหมายเดียวกันแต่มีนัยต่างกัน
11

สุพิชญา ชัยโชติรานันท์ (2558) ทาการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีนโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ


ศึ ก ษาข้ อ ผิ ด พลาดการแปลภาษาไทยเป็ น ภาษาจี น ในมิ ติ ด้ า นไวยากรณ์ ข องนั ก ศึ ก ษาชั้ น ปี ที่ 4
สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา RA 2016 การแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน ซึง่ จาก
ผลการศึกษาพบข้อผิดพลาดดังนี้ (1) การแทนที่ผิดความหมาย ( 误代) (2) การตกหล่นหรือเกินมา
ของคาหรือส่วนประกอบ(遗漏/误加) และ(3) การเรียงลาดับคาในประโยคไม่ถูกต้อง (错序) โดยขอ
ผิดพลาดเหล่านี้มีสาเหตุมาจากการได้รับอิทธิพลจากภาษาแม่ กอปรกับขาดทักษะการใช้ภาษาจีน
จึงส่งผลให้ปรากฏลักษณะของข้อผิดพลาดดังกล่าว
Chen JIe ดร.พัชรินทร์ อนันต์ศิริวัฒน์ (2558) ได้ทาการวิจัยโดยการเปรียบเทียบวรรณกรรม
จีนเรื่อง ซีโหยวจี้ กับ ฉบับที่มีผู้แปลเป็นภาษาไทยใช้ชื่อว่า ไซอิ๋ว ในด้านกลวิธีการแปลคาศัพท์ทาง
วัฒนธรรม และวิเคราะห์ประเภทคาศัพท์ดังกล่าว ผลการวิจัยพบว่า ประเทศไทยและประเทศจีน
มีการไปมาหาสู่กันตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ชาวไทยและชาวจีนจึงมีการแลกเปลี่ยน
ภาษาและวัฒนธรรมมาช้านาน ชาวไทยสนใจที่จะเรียนรู้วัฒนธรรมจีน เป็นเหตุที่ก่อให้เกิดการแปล
วรรณกรรมจี น ขึ้น ซึ่งในสมัย รั ช กาลที่ 6 การแปลยังไม่มีกฎเกณฑ์แบบแผนตายตัว และผู้ สั นทัด
ด้านภาษา ทาให้งานวิจัยฉบับนี้พบรูปแบบกลวิธีการแปลมากถึง 7 ลักษณะ และไม่มีระบบการแปล
ที่เป็นระเบียบ ได้แก่ 1. การใช้คาจาแนกประเภทอย่างกว้าง ๆ (Generic words) 2. การแปลตรงตัว
ตามคาศัพท์ภาษาเดิม (Literal Translation) 3. การใช้การแทนที่ด้วยสิ่งที่ปรากฏในวัฒนธรรมของ
ภาษาแปลเป็นการขยายความโดยวัฒนธรรมปลายทาง (A Cultural Substitute) 4. การใช้คายืม
ที่ เ ป็ น ค าทั บ ศั พ ท์ (A Loan Word) 5. การแปลโดยใช้ ค าทั บ ศั พ ท์ แ ละเพิ่ ม ค าอธิ บ ายภาษาไทย
(A Loan Word with Descriptive Phrase) 6. ค าแปลที่ ไ ม่ ต รงตามต้ นฉบั บภาษาจีน และใช้คาที่
ไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมในภาษาไทย 7. คาแปลมีความหมายใกล้เคียงกับต้นฉบับภาษาจีน คาศัพท์
ทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในต้นฉบับดังกล่าวยังสามารถแบ่งประเภทเป็น 5 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
วั ฒ นธรรมทางนิ เวศวิท ยา วั ฒ นธรรมทางวัต ถุ วัฒ นธรรมทางสั งคม วั ฒ นธรรมทางศาสนา และ
วัฒนธรรมทางภาษา เพราะฉะนั้นรูปแบบของการแปลจึงมีทั้งแปลเหมือน แปลคล้าย แปลต่างและ
การใช้ทับศัพท์ รูปแบบการแปลที่ผู้แปลใช้มากที่สุดคือการใช้ทับศัพท์ ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ว่า
ระหว่างจีนกับไทยมีภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ผู้แปลต้องการให้การดาเนินเรื่องได้ราบรื่น
พรชัย พรวิริยะกิจ วรินทร แดนดี (2558) ได้ทาการศึกษาความผิดพลาดทางโครงสร้างและ
ความหมายในการแปลภาษาอั ง กฤษเป็ น ภาษาไทยของนั ก ศึ ก ษาจ านวน 23 คน สาขาวิ ช า
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่ อสารสากล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลตะวัน ออก โดยใช้แบบทดสอบการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยจานวน 20 ข้อ
สาหรับเก็บข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาแปลผิดพลาดจานวน 151 แห่ง
ซึ่งแบ่งออกเป็ นการแปลผิดพลาดด้านไวยากรณ์ 74 แห่ง และการแปลผิดพลาดด้านความหมาย
12

77 แห่ ง ความผิ ด พลาดในการแปลด้ า นไวยากรณ์ ข องนั ก ศึ ก ษาส่ ว นใหญ่ มี อิ ท ธิ พ ลมาจากเรื่ อ ง


กาล (Tense) และประโยคกรรมวาจก (Passive voice) ส่ ว นการแปลผิ ดพลาดด้า นความหมาย
มีอิทธิพลมาจากการรับรู้ที่ผิดพลาดของผู้แปลและการเข้าใจผิดของความหมายของคาพ้อง กริยา
วลี และสานวน
จิ ร าพร เนตรสมบั ติ ผ ล, เดชา ชาติ ว รรณ (2560) ได้ ท าการวิ จั ย ในหั ว ข้ อ การแปล
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อผิดพลาดการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทยในระดับคา
ของนั ก ศึ ก ษาจี น รวมถึ ง น าเสนอแนวทางแก้ ไ ขข้ อ ผิ ด พลาดดั ง กล่ า ว เพื่ อ น าไปเป็ น แนวทาง
ในการปรับปรุงการเรียนการสอนวิชาทฤษฎีการแปลให้กับนักศึกษาจีนในรุ่นถัดไป โดยจากการศึกษา
พบว่าข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุดคือ (1) นักศึกษาเลือกใช้คาไม่ถูกต้อง (2) การแปลตรงตัวมากเกินไป
และ (3) การสะกดคาไม่ถูกต้องตามอักขระวิธี ซึ่งข้อผิดพลาดเหล่านี้มีสาเหตุมาจากการที่นักศึกษา
ส่วนใหญ่ยังขาดทักษะในการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง ทาให้ใช้ภาษาไทยในการแปลผิดพลาด รวมถึง
การได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนซึ่งเป็นภาษาแม่ของตนเองมากจนเกินไป ทาให้บทแปลมีโครงสร้างและ
รูปแบบขัดกับลักษณะภาษาไทย
สุ พ รรณี อาศั ย ราช, ทั ศ นี ย์ จั น ติ ย ะ, จิ ร าภรณ์ กาแก้ ว (2560) ท าการวิ จั ย เกี่ ย วกั บ
การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยโดยมีจุดประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาปัญหาการแปลบทความ
ทางการศึกษาจากภาษาอังกฤษเป็นไทยของนิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษศึกษา (2) เพื่ อศึกษากลวิธี
การแปลบทความทางการศึกษาจากภาษาอังกฤษเป็นไทยของนิสิตสาขาวิชาภาษาอั งกฤษศึกษา
ซึ่งผลการวิจัยที่ได้แบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้ (1) กลวิธีการแปล ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับคาและ
ระดับโครงสร้าง กลวิธีแปลในระดับคาที่ผู้แปลใช้มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การเติมคาอธิบาย
(ร้ อ ยละ 28.57) การเลื อ กใช้ ค าตามบริ บ ท (ร้ อ ยละ 21.43) และการตั ด ค าหรื อ ส านวนทิ้ ง ไป
(ร้ อยละ 17.86) ตามล าดับ ส าหรั บกลวิธีการแปลในระดับโครงสร้าง กลวิธีที่พบมากที่สุ ด ได้แก่
การเปลี่ ย นโครงสร้ างของค า (ร้ อยละ 21.79) ล าดับต่อมาคือ การทับศัพท์ (ร้อยละ 17.95) และ
การปรับระเบียบวิธีเรียงคาในประโยคหรือวลี (ร้อยละ 14.10) และ (2) ปัญหาในการแปล ผู้วิจัย
สัมภาษณ์ผู้แปลจานวน 4 คน และลาดับความถี่ปัญหาที่ผู้แปลประสบจากมากไปน้อยพบว่า ปัญหา
คือ การขาดความรู้ทางด้านโครงสร้างและไวยากรณ์ภาษาอังกฤษการเลือกใช้คา การขาดความรู้
ทางด้ า นวั ฒ นธรรมเจ้ าของภาษาหรือ ความรู้ เฉพาะทาง อี ก ทั้ ง เวลาในการแปลยั ง เป็ น ข้ อจากัด
ส่งผลให้เกิดการแปลขาด แปลคลาดเคลื่อน และแปลเกิน ซึ่งทาให้ความหมายผิดเพี้ยน
จุฑามณี ทิพราช สุพัฒน์ กู้เกียรติกูล นิติรัตน์ อุทธชาติ ฐานิยา ทองไทย (2560) ได้ศึกษา
ชนิดและแนวโน้มของการแปลภาษาอังกฤษเป็น ภาษาไทยผิดในระดับคา วลี และประโยค กรณีศึกษา
ของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นอกจากนี้ วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ยังต้องการเปรียบเทียบ
ความแตกต่างในการแปล ผิดของนักศึกษาที่มีระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษที่แตกต่างกัน
13

มีนักศึกษาจานวน 156 คน จากสาขาวิชาภาษาอังกฤษ และภาษาวิชาอังกฤษธุรกิจ ของมหาวิทยาลัย


อุบลราชธานี เข้าร่วมงานวิจัยนี้ นักศึกษาทั้งหมดทาแบบทดสอบความสามารถทางภาษาอั งกฤษ
นั กศึกษา 78 คน ได้รั บ การคัด เลื อ กเข้ าร่ว มวิ จัยโดยคั ดเลื อ กจากผลแบบทดสอบความสามารถ
ทางภาษาอั ง กฤษ และแบ่ ง นั ก ศึ ก ษาทั้ ง 78 คน ออกเป็ น 3 กลุ่ ม กลุ่ ม ละ 26 คน ตามระดั บ
ความสามารถทางภาษาอั ง กฤษได้ แ ก่ ระดั บ ต่ า ระดั บ กลาง และระดั บ สู ง นั ก ศึ ก ษาทั้ ง 3 กลุ่ ม
ทาแบบทดสอบการแปลข้อความจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ผลที่ได้จากแบบทดสอบการแปล
จะเก็บไว้เป็นข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อหาชนิดและแนวโน้มความผิดพลาดในการแปล ผลจาก
การวิเคราะห์ข้อมูลพบว่ามี การแปลผิดพลาดที่แบ่งได้เป็น 4 ชนิด ได้แก่ การแปลผิด การแปลขาด
การแปลเกิน และการเรียงลาดับคาและวลีผิด สาเหตุหลักของการแปลผิด คือ นักศึกษาไม่เข้าใจ
ความหมายของคาในบริบทและโครงสร้าง ทางวากยสัมพันธ์ของภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ งานวิจัยนี้
ยังพบว่านักศึกษาที่มีระดับ ความสามารถทางภาษาอังกฤษในระดับที่แตกต่างกันมีการแปลข้อมูล
ชนิดเดียวกันผิด ในปริมาณและชนิดของการแปลผิดที่เหมือนกัน ผลการวิจัยนี้สามารถนามาสรุปได้ว่า
ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษกับการแปลผิด
จรั ส ศรี จิ ร ภาส (2562) ได้วิจัยการถ่ายเสี ยงหรือการถอดเสี ยงคาไทยด้ว ยตัว อัก ษรจี น
เป็นแนวทางปฏิบัติหรือเทคนิคที่สาคัญรูปแบบหนึ่งของการแปลคาเฉพาะภาษาไทยเป็นภาษาจีน
ปั จ จุ บั น ได้ มี นั ก วิ ช าการชาวจี น ก าหนดหลั ก เกณฑ์ ใ นการถ่ า ยเสี ย งค าไทยด้ ว ยอั ก ษรจี น ภายใต้
หลักเกณฑ์ต่าง ๆ มีทั้งจุดเด่นที่ควรศึกษา และส่วนที่ยังไม่ครอบคลุมลักษณะจาเพาะในระบบของ
ค าไทยทั้ ง หมด เพื่ อ ศึ ก ษาทบทวนและขยายขอบเขตศึ ก ษางานแปลค าเฉพาะไทย-จี น รวมถึ ง
เพื่อส่งเสริมและผลักดันคุณภาพและมาตรฐานงานแปลไทย- จีน บทความนี้มีขอบเขตและสาระสาคัญ
ในการอภิปรายดังนี้ 1) การถ่ายเสียงและข้อจากัดของการถ่ายเสียงคาไทยด้วยอักษรจีน 2) วิเคราะห์
หลักเกณฑ์การถ่ายเสียงภาษาไทยเป็นภาษาจีนของประเทศจีน 3) กลวิธีการแปลคาเฉพาะไทย-จีน
ที่พบในปัจจุบัน 4) หลักเกณฑ์การแปลคาเฉพาะไทย-จีนและข้อเสนอแนะ
เอกชัย แสงจันทร์ทนุ (2563) ได้วิเคราะห์กลวิธี การแปลชื่อละครหรือซีรี ย์หลังข่าวของไทย
เป็นภาษาจีน ซึ่งทั้งหมดเป็นละครหรือซีรีย์ที่ได้รับการจัดทาคาบรรยายใต้ภาพ ถูกตั้งชื่อเป็นภาษาจีน
และได้ รั บ การเผยแพร่ บ นเว็ บ ไซต์ ที่ ใ ห้ บ ริ ก ารวี ดี โ อออนไลน์ ใ นประเทศจี น จ านวน 7 แห่ ง
รวม 90 ชื่อเรื่ อง (ภาษาจี น ) โดยนาชื่อละครหรื อซี รี ย์ ดัง กล่ าวมาท าการวิเ คราะห์ แ ยกประเภท
โดยอาศัย แนวคิดของ Newmark (2001) ผู้ เชี่ยวชาญด้านการแปลและมี การศึ กษาเพิ่มเติ ม จาก
งานวิจัยกลวิธีการตั้งชื่อภาพยนตร์ไทยเป็นภาษาจีน ของ Pinpongsab (2018) โดยผลการวิเคราะห์
พบว่ า สามารถแบ่ ง รู ป แบบการแปลได้ เ ป็ น สองกลุ่ ม หลั ก กลุ่ ม ที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มมากที่ สุ ด คื อ
การแปลแบบเน้นที่ความเข้าใจของผู้ชมละครหรือซีรีย์ ไม่เน้นการรักษาคาตามต้นฉบับ ร้อยละ 55.56
และกลุ่ ม ที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มรองลงมาคื อ การแปลแบบเน้ น ที่ ก ารรั ก ษาชื่ อ เรื่ อ งเดิ ม ตามต้ น ฉบั บ
14

ร้อยละ 44.44 และสามารถแบ่งกลวิธีในการแปลออกเป็ น 10 กลวิธี ซึ่งกลวิธีที่ได้รับความนิยมสูงสุด


คือ กลวิธีตั้งชื่อเรื่องใหม่โดยไม่มีความเกี่ยวข้องกับชื่อเรื่องเดิม กลวิธีที่ได้รับความนิยมน้อยที่สุดพบว่า
มีสองกลวิธีคือ 1. การทับศัพท์ชื่อเรื่องทั้งหมดทุกพยางค์ และ 2. การแปลชื่อเรื่องบางส่วนทับศัพท์
บางส่วนละข้อความบางส่วน

You might also like