You are on page 1of 100

 

หลักภาษาไทย ม.ปลาย
ม.4 - ม.6

/ajgolf
ajarngolf
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (1)
ความรู้เกี่ยวกับภาษา
ความหมายของภาษา
ความหมายอย่างกว้าง คือ การแสดงออกเพื่อสื่อความหมายโดยมีระบบมีเกณฑ์ที่เข้าใจกันได้
ระหว่าง 2 ฝ่าย ผู้ใช้ภาษาอาจจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ สิ่งที่ใช้สื่อความหมาย อาจจะเป็นเสียง ท่าทาง
สัญลักษณ์ หรือสัญญาณ
ความหมายอย่างแคบ คือ ถ้อยคําที่มนุษย์ใช้พูดเพื่อสื่อความหมายกัน
ผู้ใช้ภาษา คือ _________________ สิ่งที่ใช้สื่อความหมาย คือ ________________

***นักภาษาศาสตร์สนใจศึกษาภาษา
***ภาษาในโลกนี้มีภาษาพูดประมาณ 3000 ภาษา
***ภาษาไทยมีลักษณะทางภาษาที่คล้ายภาษาจีน คือ มีเสียง ____________

นอกจากนี้ความหมายของคํา “ภาษา” อาจจะเปลี่ยนไปตามบริบท เช่น


น้องยังไม่รภู้ าษาต้องใจเย็น ๆ = การปฏิบัติตนที่ถูกต้อง
สําเนียงส่อภาษากิริยาส่อสกุล = ...................................
ตัวแต่นี้รภู้ าษาแล้ว = ...................................
ฉันก็แต่งตัวตามภาษา = ...................................

กําเนิดของภาษา ภาษาคู่กับมนุษย์มานานและยังไม่มีใครตอบได้ว่าภาษาเกิดขึ้นได้อย่างไรหรือเกิด
ในเวลาใด แต่จากการศึกษาเรื่องกําเนิดของภาษาพอสรุปได้ดังนี้
1. แนวคิดจากศาสนาและความเชื่อโบราณ
ศาสนาคริสต์ - พระเจ้าประทานอํานาจแก่อาดัมให้ตั้งชื่อสิ่งต่าง ๆ
ชาวอียิปต์ - เทพชื่อธอท
ชาวบาบิโลเนียน - เทพชื่อนาบู
ชาวฮินดู - พระนางสุรัสวดี เป็นมเหสีของพระพรหม
2. ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น โดยพิจารณาจากเสียง วัตถุ หรือการกระทํา
3. ภาษาเกิดมาจากการแสดงออกทางดนตรีและการแสดงออกทางอารมณ์
4. ภาษาเกิดจากวิวัฒนาการของระบบร่างกายและสมองของมนุษย์ ซึ่งมีความซับซ้อน
และพิเศษต่างไปกับระบบร่างกายและสมองของสัตว์
5. นักปราชญ์ทางนิรุกติศาสตร์สันนิษฐานว่า

เกิดจากการเลียนเสียงธรรมชาติ ได้แก่ เสียงร้องของสัตว์ เช่น กา อึ่งอ่าง ตุ๊กแกหรือเสียง


ธรรมชาติอย่างอื่น เช่น แปะ ตูม ปึ้ง ปัง ฉิ่ง ฉาบ
เกิดจากเสียงอุทาน ได้แก่ เสียงที่มนุษย์อุทานออกมาเพื่อแสดงอารมณ์ต่าง ๆ เช่น โอย อุ๊ย
เกิดจากการเลียนเสียงเด็กสอนพูด เช่น ว้าก แว้ ว้า
เกิดจากมนุษย์แต่ละกลุ่มชนิดคําขึ้น เช่น
ที่อยู่อาศัย คนไทย เรียก บ้าน คนญี่ปุ่น เรียก อุจิ
คนจีนกลาง เรียก เจีย คนฝรั่งเศส เรียก เมซอง
คนจีนแต้จิ๋ว เรียก ไหล หรือ อู่ คนเขมร เรียก ผทะ

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (2)


ชายผู้ให้กําเนิด ภาษไทย เรียก พ่อ ภาษาบาลี เรียก บิดา
ภาษาจีน เรียก ป๊า ภาษาสันสกฤต เรียก ปิตฺฤ
นักภาษาศาสตร์ปัจจุบันเชื่อว่า
- ภาษาเป็นสิ่งที่พัฒนาไปพร้อมกับมนุษย์ และพัฒนามาตั้งแต่มนุษย์เริ่มรู้จักใช้เครื่องมือชนิดต่างๆ
เพื่อการดํารงชีวิต ไม่ใช่พระเจ้าหรือผู้ใดผู้หนึ่งสร้างภาษาขึ้นมา
- มนุษย์ทุกคนมีความสามารถในการเรียนภาษาแต่กําเนิด และรู้จักใช้ภาษาเป็นเครื่องมือใน
การดํารงชีวิต
- ภาษาเป็นสมบัติเฉพาะของมนุษย์ เมื่อมีมนุษย์ก็มีภาษา

ประเภทของภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
1. วัจนภาษา คือ ภาษาถ้อยคํา ได้แก่
- เสียงพูด หรือ ............................... - ตัวหนังสือ หรือ ..........................
2. อวัจนภาษา คือ ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคํา ได้แก่
- การแสดงออกทางดวงตา - ท่ายืน ท่านั่ง และการทรงตัว
- การแต่งกาย - การเคลื่อนไหว
- การใช้มือและแขน - การใช้นัยน์ตา
- การใช้น้ําเสียง

องค์ประกอบของภาษา
1. เสียง 2. ความหมาย 3. ไวยากรณ์

ลักษณะสําคัญของภาษาไทย
1. ภาษาไทยมีตัวอักษรเป็นของตนเอง
2. ภาษาไทยมีรปู สระวางไว้หลายตําแหน่ง
- ข้างหน้าพยัญชนะ เช่น ไว้ - ข้างล่าง พยัญชนะ เช่น ปู
- ข้างหลังพยัญชนะ เช่น นะ - ข้างหน้าและข้างหลัง เช่น เด๋อ
- ข้างบนพยัญชนะ เช่น พี่ - ข้างหน้าและข้าง
3. ภาษาไทยเป็น ภาษาคําโดด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคําเพื่อบอกหน้าที่ เพศ พจน์ กาล
4. ภาษาไทยแท้เป็นภาษาที่มีพยางค์เดียว เช่น
พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา กิน นั่ง นอน พูด หมู หมา กา ไก่ ถ้วย ชาม ไร่ นา
5. ภาษาไทยแท้มตี ัวสะกดตรงตามมาตรา มาตราตัวสะกดของไทย มี 8 มาตรา คือ
แม่ กบ ใช้ ก สะกด เช่น นก แม่ กง ใช้ ง สะกด เช่น งง
แม่ กบ ใช้ บ สะกด เช่น กบ แม่ กม ใช้ ม สะกด เช่น นม
แม่ กด ใช้ ด สะกด เช่น มด แม่ เกย ใช้ ย สะกด เช่น ยาย
แม่ กน ใช้ น สะกด เช่น ฉัน แม่ เกอว ใช้ ว สะกด เช่น ยาว
6. ภาษาไทยมีคําคําเดียวที่มีความหมายหลายอย่าง เช่น
“กัน1เห็นเขาสนุกสนานกัน2ในห้อง แต่พอกัน3จะเข้าไปเขากลับกัน4กัน5”
7. ภาษาไทยเป็นภาษาเรียงคํา
7.1 การเรียงคําในภาษาไทยมีความสําคัญต่อความหมาย ถ้าเรียงคําสลับที่ความหมายจะเปลี่ยนไป
เช่น แม่ไก่ไข่วันละ 1 ฟอง ฉันเลี้ยงไก่ไข่ไว้ 10 ตัว จึงเก็บไข่ไก่ได้วันละ 10 ฟอง
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (3)
7.2 การเรียงคําในภาษาไทยจะบอกหน้าที่ของคํา
เช่น โบราณกล่าวว่า ปลาหมอตายเพราะปาก แต่ฉันไม่กลัวเพราะฉันว่าฉันพูดเพราะ

สังเกต ระเบียบการเรียงประโยคตามปกติเรียงแบบ ______________________

คําขยายอยู่หลังคําหลัก เช่น คนไหนตั้งใจเรียนคนนั้นก็จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้


ยกเว้น - คําแสดงจํานวนประมาณอยู่ข้างหน้าหรือข้างหลังก็ได้ เช่น มากหมอมากความ
- คําปฏิเสธอยู่ข้างหน้า เช่น อย่าขี้เกียจไม่ดี
- คําขยายกริยา ที่มีกรมจะอยู่หลังกรรม เช่น เขากินข้าวจุ
ประโยคคําถามไม่เปลี่ยนรูปประโยค เติมคําแสดงคําถามไว้หน้าหรือหลัง
เช่น เขาไปเมื่อไร เมื่อไรเขาไป
คํากริยาอาจซ้อนกันได้ในประโยคเดียวตั้งแต่สองคําขึ้นไป
เช่น ฉันเดินขึ้นเดินลงหลายเที่ยวแล้ว
8. คําในภาษาไทยมีเสียงสัมพันธ์กับความหมาย เช่น
คําที่ประสมด้วยสระ ออ มี ม สะกด = งอ หรือโค้งเข้าหากัน เช่น น้อม ล้อม อ้อม หง่อม ค้อม
9. ภาษาไทยเป็นภาษาดนตรี คือ ภาษาไทยมีระดับเสียงสูงต่ําหรือเสียงวรรณยุกต์
ทําให้คําเปลี่ยนความหมาย มีคําใช้มากขึ้น เช่น เสือ เสื้อ นา น่า น้า
ทําให้ภาษาไพเราะ เช่น “ไผ่ซออ้อเอียดเบียดออด ลมลอดไล่เลี้ยวเรียวไผ่”
มีจังหวะและนิยมความคล้องจอง เช่น “ในน้ํามีปลา ในนามีข้าว”
เลียนเสียงธรรมชาติหรือเลียนสําเนียงภาษาอื่นได้ชัด เช่น เอ้กอีเอ้กเอ้ก
10. ภาษาเขียนมีวรรคตอน ภาษาพูดมีจังหวะ ถ้าเว้นวรรคผิดหรือหยุดจังหวะในการพูดจะทําให้เสียความ
หรือความเปลี่ยนไป เช่น พูดไปสองไพเบี้ยนิ่งเสียตําลึงทอง ราคาข้าวตกลงเกวียนละ 2,500 บาท
11. ภาษาไทยมีลักษณะนาม บ้าน 3 หลัง ช้าง 1 ช้าง ช้าง 1 ตัว ช้าง 1 เชือก
12. ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับ สมเด็จพระสังฆราชสิ้นพระชนม์หลังจากพระมหาสุภาพมรณภาพ 2 วัน
13. ภาษาไทยมีคําพ้องรูป พ้องเสียง เช่น เรือโคลงเพราะโคลงเรือ สรร1 สรรค์2 สรรพ์3 สันต์4 สัณฑ์5 สัญ6
14. ภาษาไทยมักจะละคําบางคํา เช่น บ้านฉันอยู่ดอนเมือง
15. ภาษาไทยมีคําเสริม หรือคําอนุภาค เช่น
ไปด้วยกันนะ = …………. ฉันเอาปากกาด้ามนี้ไปนะ = ……………
ไปด้วยกันน่า = …………. ว่าไงนะ = ……………….
16. ภาษาไทยมีการลงเสียงหนักเบา เช่น ข้าวเย็นหมดแล้ว ฉันไม่กินข้าวเย็น
17. ภาษาไทยมีวิธีสร้างคําขึ้นใหม่โดยการประสมคํา เช่น หมวกกันน็อก ทางด่วนยกระดับ
เรื่องลักษณะสังเกตของภาษาไทย
1. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะทั่วไปของภาษาต่างๆ
1. มีเสียงสระ 2. มีเสียงวรรณยุกต์
3. มีหน่วยกริยา 4. มีหน่วยเชื่อม
2. ข้อใดให้ความรู้เรื่องของภาษาถูกต้อง
1. บางภาษาเท่านั้นที่มีการขยายประโยคให้ยาวออกไปได้เรื่อยๆ
2. แม้ภาษาของชาติที่ไม่ได้ตดิ ต่อกับชาติอื่นก็มีการเปลี่ยนแปลง
3. พยางค์ในแต่ละภาษาย่อมประกอบด้วยเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์
4. บางภาษามีคํานามคํากริยา แต่ไม่มีคําขยายนามและคําขยายกริยา
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (4)
3. ข้อใดเป็นความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติของภาษา
1. ถึงแม้เสียงในภาษาจะมีจํานวนจํากัด แต่ก็สามารถใช้สร้างประโยคได้ไม่จํากัดจํานวน
2. คําในแต่ละภาษาใช้ไม่ตรงกันเพราะคําที่ใช้นั้นล้วนแต่เป็นคําที่เสียงและความหมายไม่สัมพันธ์กัน
3. ภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลง ถือได้ว่าภาษานั้นกําลังวิบัติและอาจจะกลายเป็นภาษาตายในที่สุด
4. การศึกษาภาษาเขียนเป็นสิ่งที่ไม่จําเป็น เพราะภาษาใช้สื่อความหมายโดยอาศัยเสียงเป็นสําคัญ
4. ก. แม่ซื้อผ้า
ข. คุณแม่ซื้อผ้าให้น้อง
ค. คุณแม่ซื้อผ้าสีแดงให้น้อง
ง. คุณแม่ซื้อผ้าสีแดงให้น้องคนเล็ก 3 เมตรครึ่ง
จ. คุณแม่ท่านใจดีได้ซื้อผ้าลายสีแดงให้น้องคนเล็ก 3 เมตรครึ่ง
ตัวอย่างประโยคข้อ ก – จ แสดงลักษณะภาษาชัดเจนที่สุดตามข้อใด
1. หน่วยในภาษาเกิดขึ้นจากการตกลงของกลุ่ม
2. หน่วยในภาษาประกอบกันให้เป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้นได้
3. หน่วยในภาษาประกอบขึน้ จากคําที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
4. หน่วยในภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงได้
5. ข้อความต่อไปนี้แสดงให้เห็นลักษณะของภาษาตามข้อใด
คนไทยเหนือใช้คําว่า “อู้” คนไทยอีสานใช้คําว่า “เว่า”
คนไทยใต้ใช้คําว่า “แหลง” ในความหมายเดียวกับคําว่า “พูด” ในภาษาไทยกลาง
1. ภาษามีระดับต่างกัน 2. ภาษามีการเปลี่ยนแปลง
3. ภาษาสะท้อนวัฒนธรรมท้องถิ่น 4. ภาษาเป็นไปตามกําหนดของกลุ่มชน

จงพิจารณาบทสนทนาต่อไปนี้ แล้วตอบคําถามข้อ 6 – 7
ลูก : แม่ขา ! สีน้ําตาลเป็นสียังไงคะ
แม่ : สีเหมือนกระเป๋าของแม่
(ชี้ให้ดูกระเป๋าสีน้ําตาล)
ลูก : ไม่ใช่ค่ะ ! สีน้ําตาลเป็นสีขาว
แม่ : !
6. การที่ลูกเข้าใจว่า “สีน้ําตาลหมายถึงสีขาว” แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางความหมายของภาษาที่
เนื่องมาจากสาเหตุใด
1. ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม 2. การพูดจากันในชีวิตประจําวัน
3. อิทธิพลของภาษาอื่น 4. การเรียนภาษาของเด็ก
7. เสียงพยางค์หลังในคํา “ยังไง” เปลี่ยนแปลงมาจาก “อย่างไร” ตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงเสียงข้อใด
1. กร่อนเสียง ร 2. กร่อนเสียง ง
3. กลมกลืนเสียง ร ตามเสียง ง 4. กลมกลืนเสียง ง ตามเสียง ร
8. ประโยคใดผิดหลักการใช้ภาษาไทยที่ดี
1. คุณสมศรีเป็นอะไรไปหรือเปล่า 2. มันเป็นอะไรที่สวยงามจนผมนึกไม่ถึง
3. เขาเห็นฉันเป็นอะไรถึงได้ทําหมางเมินอย่างนี้ 4. เวลาก็ล่วงมาจนป่านนี้จะเป็นอะไรก็เป็นไป
9. ข้อใดมีสํานวนต่างประเทศ
1. เขาสนใจวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ 2. เธอโดยสารรถไฟจากรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่
3. ฉันได้ยินข่าวว่าเขาจะไปอังกฤษในอนาคตอันใกล้นี้
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (5)
4. อาจารย์นํานักเรียนและเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนไปเยี่ยมทหารที่บาดเจ็บ
10. ข้อใดไม่ใช่สํานวนต่างประเทศ
1. เขาถูกจับไปเรียกค่าไถ่
2. เธอพบว่าตัวเองกําลังร้องไห้อยู่คนเดียวในห้อง
3. เขาเดินเข้ามาในห้องพร้อมกับหนังสือหอบใหญ่
4. เราควรรักษาไว้ซึ่งเกียรติยศ และความรับผิดชอบ

เรื่องลักษณะสังเกตของภาษาไทย (2)
1. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะทั่วไปของภาษา
1. มีเสียงวรรณยุกต์ 2. มีจํานวนเสียงจํากัด
3. แปรและเปลี่ยนได้ 4. มีคําเกิดใหม่ ดํารงอยู่ และตายไป
2. ข้อใดไม่ถูกต้อง
1. ภาษาเป็นมรดกทางสังคม 2. ภาษาเป็นเครื่องจรรโลงวัฒนธรรม
3. ภาษาเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงความเป็นชาติ
4. ทุกชาติย่อมมีภาษาพูดและภาษาเขียนของตน
3. ข้อความในข้อใดไม่ถูกต้อง
1. ภาษาไทยมาตรฐานคือภาษาราชการ 2. ภาษาไทยมีการออกเสียงหนักเสียงเบา
3. ภาษาไทยรับคําจากภาษาอื่นในรูปศัพท์เดิมเป็นส่วนใหญ่
4. คนไทยบางคนออกเสียงพยัญชนะบางเสียงตามเสียงภาษาอังกฤษ
4. ความในข้อใดไม่ถูกต้อง
1. สระประสมเกิดจากการประสมของสระเดี่ยว 2 เสียง
2. ภาษาไทยจัดเป็นภาษาคําโดด เพราะคําในภาษาเป็นคําพยางค์เดียวทั้งหมด
3. การเขียนที่รักษารูปคําเดิมช่วยให้แยกความหมายของคําพ้องเสียงได้
4. การออกเสียงของผู้พูดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้ภาษาเปลี่ยนแปลงได้
5. ข้อใดกล่าวถึงธรรมชาติของภาษาอย่างไม่ถูกต้อง
1. เสียงในภาษาใดๆ อาจเพิ่มจํานวนขึ้นได้ถ้ายืมคําภาษาอื่นมาใช้ โดยมิได้ดัดแปลงเสียงให้ใกล้เคียงกับ
เสียงในภาษาของตน
2. เมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนไป หรือความคิดของคนในสังคมเปลี่ยนไป ย่อมมีผลทําให้ภาษาเปลี่ยนแปลง
ไปได้เสมอ
3. เสียงในภาษามีจํานวนจํากัด แต่มนุษย์สามารถสร้างประโยคได้ต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่จํากัดจํานวน
4. คนต่างชาติกันใช้คําคล้ายคลึงกันเพราะเสียงสัมพันธ์กับความหมาย
6. ข้อใดไม่ใช่ธรรมชาติของภาษา
1. ภาษาของสังคมหนึ่งอาจถูกสังคมอื่นยืมไปใช้และสร้างความเจริญให้สังคมใหม่นั้นได้
2. ผู้ใช้ภาษาสามารถแต่งประโยคใหม่ๆ ขึ้นมาได้ทุกวัน แม้จะไม่ใช้ประโยคที่เคยเรียนจากพ่อแม่
3. ภาษาประกอบขึ้นด้วยเสียงและความหมายการศึกษาภาษาพูดจําทําให้รู้ลักษณะแท้จริงของภาษา
4. ผู้ใช้ภาษาจากสังคมหนึ่งจะสามารถเข้าใจภาษาของสังคมอื่นได้ถ้าภาษานั้นมีระบบการเขียนที่
แน่นอน

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (6)


7. ข้อใดไม่ถูกต้อง
1. ภาษาทุกภาษามีลักษณะร่วมกันคือใช้เสียงสื่อความหมาย ประกอบด้วยหน่วยเล็กซึ่งรวมกันเป็น
หน่วยที่ใหญ่ขึ้น
2. วัจนภาษาคือถ้อยคําที่มนุษย์ใช้พูดเพื่อสื่อความหมาย ดังนั้นผู้ใช้ภาษาจึงต้องเป็นมนุษย์เท่านั้นและ
สิ่งที่สื่อความหมายก็คือเสียงพูด
3. เสียงที่ใช้อยู่ในแต่ละภาษามีจํานวนไม่รู้จบ เราสามารถนําเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์มา
สร้างเป็นคําได้จํานวนมากเพื่อสื่อสารกับคนในสังคม
4. การที่คนไทยเรียกละอองน้ําที่แข็งเย็นมีลักษณะเป็นปุยหิมะ คนอังกฤษเรียกสโนว์ คนญี่ปุ่นเรียกยุคิ
เป็นเรื่องของการตกลงกันของคนแต่ละกลุ่ม ไม่ได้เป็นเพราะความสัมพันธ์ของเสียงกับความหมาย
แต่อย่างใด
8. คําว่า “ยาย” ในภาษากรุงเทพฯ มีใช้ต่างออกไปในภาษาถิ่นอื่น เช่น ภาษาลําพูนใช้ “อุ๊ย” ภาษา
สกลนครใช้ “แม่เฒ่า” ข้อใดอธิบายลักษณะของภาษาดังกล่าวข้างต้น
1. ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้สื่อความหมาย
2. ภาษาถิ่นหมายถึงภาษาที่แตกต่างกันตามถิ่นที่อยู่
3. เสียงในภาษาไม่จําเป็นต้องสัมพันธ์กับความหมาย
4. ลักษณะของภาษาถิ่นต้องแตกต่างกับภาษามาตรฐาน
9. ข้อใดแสดงว่าภาษาไทยกําลังมีการเปลี่ยนแปลง
1. “มอง” ภาษาเหนือใช้ “ผ่อ” ภาษาอีสานใช้ “เบิ่ง” และภาษาใต้ใช้ “แล”
2. “เรือน รัก” ในภาษากรุงเทพฯ ออกเสียงเป็น “เฮือน ฮัก” ในภาษาถิ่นเหนือ
3. “ส่งสินค้าออก” ปัจจุบันใช้ว่า “ส่งออกสินค้า”
4. “ดิฉัน” แต่เดิมทั้งผู้หญิงและผู้ชายใช้เป็นสรรพนามแทนตัว
10. ข้อใดไม่แสดงการเปลี่ยนแปลงของภาษา
1. “เพ็ญ” เป็นคําที่มาจากภาษาเขมร มีความหมายว่า “เต็ม”
2. “วิสัยทัศน์” เป็นศัพท์บัญญัติของคํา “vision” ในภาษาอังกฤษ
3. “พอ” เมื่อเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์เป็น “พ่อ” จะมีความหมายต่างไป
4. “เพื่อ” เดิมใช้เป็นคําบุพบทบอกเหตุ ปัจจุบันใช้เป็นคําบุพบทบอกจุดมุ่งหมาย
11. ข้อใดไม่แสดงการเปลี่ยนแปลงของภาษา
1. ทางเท้า อาจใช้ทับศัพท์ว่าฟุตบาท หรือใช้ศัพท์บัญญัติว่า บาทวิถี
2. จึ่ง เป็นคําที่แผลงมาจาก จึง มีความหมายเหมือนกันมักใช้ในคําประพันธ์
3. ดี ในข้อความว่า คนดี ทําดี ดีแตก ถือเป็นคําเดียวกัน แต่ทําหน้าที่ต่างกัน
4. ถ้า และ หาก เมื่อนํามาซ้อนกันเป็น ถ้าหาก จะใช้เป็นคําเชื่อมบอกเงื่อนไข เช่นเดียวกับ ถ้า และ หาก
12. ข้อใดใช้สํานวนต่างประเทศ
1. ประชาชนส่วนใหญ่ของจังหวัดมีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม
2. เกษตรกรควรได้รับความรู้เพื่อพัฒนาการเพาะปลูกของตน
3. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดเป็นแนวคิดหลักของระบบบริหารแบบใหม่
4. การบริหารงานภายใต้การนําของผู้ว่าราชการจังหวัดระบบใหม่จะทําให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้น
13. ข้อใดใช้สํานวนต่างประเทศ
1. ผู้บริโภคในอเมริกาเห็นว่าโยเกิร์ตที่ทําจากนมวัวมีรสชาติดีที่สุด
2. การสื่อสารเป็นกิจกรรมที่มนุษย์เราต้องเกี่ยวข้องอยู่เป็นนิจ
3. เยาวราชเป็นย่านที่ปนเปื้อนไปด้วยมลพิษทางอากาศมากที่สุด
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (7)
4. ใจของมนุษย์มีความซับซ้อนเกินกว่าจะสัมผัสได้
14. ข้อใดเป็นสํานวนต่างประเทศ
1. คําชมของพ่อแม่เปรียบได้กับพรของเทวดา
2. เด็กที่ได้รับการอบรมย่อมไม่ล่วงเกินผู้ใหญ่
3. การภาวนา “พุธโธ” เป็นการสร้างมงคลให้แก่ชีวิต
4. คุณครูสอนว่าความเพียรย่อมนํามาซึ่งความสําเร็จ
15. ข้อใดใช้สํานวนภาษาต่างประเทศ
1. ในช่วงที่เขายังเป็นวัยรุ่นเขามีเรื่องทะเลาะวิวาทบ่อยๆ
2. เรื่องแปลกๆ เหล่านี้หาซื้ออ่านได้ที่ร้านขายหนังสือทั่วไป
3. มีทางเป็นไปได้ว่าจะมีการปรับหลักสูตรวิชาภาษาไทยในอนาคตอันใกล้นี้
4. กองอุตสาหกรรมในครอบครัวจะจัดฝึกอบรมการทําผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา
16. ข้อใดใช้สํานวนภาษาต่างประเทศ
1. ข้อมูลที่ปราศจากการตีความอาจเป็นข้อมูลขยะก็ได้
2. ประเทศไทยขาดแคลนทรัพยากรบุคคลด้านสิ่งแวดล้อม
3. ค่านิยมของสังคมไทยอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ
4. คุณภาพของคนในประเทศเป็นดัชนีวัดความสําเร็จในการพัฒนาประเทศ
17. ข้อใดใช้สํานวนต่างประเทศ
1. กาชาดเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังของคนยากไร้ คนเจ็บป่วยและคนพลัดถิ่นฐานที่อยู่
2. เมือ่ ส่วนสูงกับน้ําหนักสมดุลกัน นั่นคือข้อบ่งชี้ถึงสุขภาพดี คุณสมบัตินี้มักเป็นของหนุ่มสาวโดย
ธรรมชาติ
3. สถานการณ์เลวร้ายในต่างประเทศมีผลกระทบทําให้ผู้ปกครองหันมาให้บุตรหลานเรียนต่อใน
ประเทศมากขึ้น
4. เวลานี้การเกษตรทฤษฎีใหม่เกิดขึ้นทั่วทุกภูมิภาคของประเทศแล้ว เพราะฉะนั้นเราต้องขยายการ
ฝึกอบรมให้แพร่หลายยิ่งขึ้น
18. ข้อใดใช้สํานวนต่างประเทศ
1. พื้นฐานอันสําคัญยิ่งของสังคมไทยอยู่ที่ความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว
2. นายกรัฐมนตรีมีนโยบายพัฒนาการศึกษาด้วยการสร้าง “หนึ่งอําเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน”
3. ความนิยมสินค้าต่างประเทศกําลังทําลายเศรษฐกิจและสังคมไทยอยู่ในขณะนี้
4. เขาต้องพยายามแสดงความสามารถให้โดดเด่นขึ้นมาท่ามกลางการต่อสู้อันหนักหนาสาหัส
19. ข้อใดไม่ใช้สํานวนภาษาต่างประเทศ
1. การจัดสัมมนาครั้งนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจํานวนมาก
2. การท่องเที่ยวของไทยในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนไปสู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
3. ในอนาคตโทรศัพท์ที่จะพัฒนาให้มีความสามารถในการใช้ที่ทันสมัยขึ้น
4. การบรรลุความตกลงระหว่างสองชาติในภูมิภาคนี้น่าจะเกิดขึ้นได้ในเร็ววันนี้
20. ข้อใด ไม่ใช้ โครงสร้างประโยคแบบภาษาต่างประเทศ
1. เรื่องนี้ง่ายต่อการเข้าใจ
2. งานเขียนของเขาเป็นที่สนใจของคนหมู่มาก
3. แม่มีลูกถึง 7 คน จึงต้องรู้จักวิธีบริหารเงิน
4. ทุกสิ่งทุกอย่างจบลงด้วยความตายของตัวเอก

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (8)


21. ข้อใด ไม่ใช้ สํานวนภาษาต่างประเทศ
1. ชาวต่างชาติมักจะกล่าวว่าวิชาภาษาไทยยากแก่การเรียน
2. รัฐบาลพยายามประชาสัมพันธ์ให้คนไทยช่วยกันประหยัดอย่างจริงจัง
3. คณะกรรมการชมรมนักเรียนเก่าชุดนี้ถูกจับตามองจากสมาชิกตลอดเวลา
4. การนําชาวบ้านมาชุมนุมประท้วงครั้งนี้ทําให้ประเทศได้รับความเสียหายมาก
22. ข้อใด ไม่ใช้ สํานวนภาษาต่างประเทศ
1. โรงเรียนต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมผู้ปกครองครั้งนี้รายละ 300 บาท
2. ในอดีตแหล่งน้ําของไทยมีอยู่อย่างเพียงพอต่อการใช้ประโยชน์
3. การท่องเที่ยวของไทยในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนไปสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
4. ปัจจุบันโทรศัพท์ได้วิวัฒนาการให้มีความสามารถในการใช้ที่ทันสมัยขึ้น
23. ข้อใด ไม่ใช้ สํานวนต่างประเทศ
1. การร่วมมือกันแก้ปัญหาจะนําไปสู่การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
2. ชุมชนควรนําเทคโนโลยีมาใช้ในการเกษตรเพราะจะทําให้เศรษฐกิจดีขึ้น
3. ชุมชนหลายแห่งประสบความสําเร็จในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
4. ความด้อยประสบการณ์ของผู้นําชุมชนทําให้การพัฒนาชุมชนเป็นไปอย่างล่าช้า
24. ข้อใดไม่ใช้สํานวนภาษาต่างประเทศ
1. โรคตับอักเสบในผู้ใหญ่มีอาการรุนแรงและเป็นนานกว่าในเด็กเล็ก
2. เราควรเลือกซื้อผักที่มรี ูพรุนจากการถูกแมลงกัดกินบ้างจะดีกว่า
3. วิธีทําไม่ยาก เมื่อผักสุกตักออกแช่น้ําเย็น เพื่อหยุดการสุกของผัก
4. โรงเรียนควรกระตุ้นผู้ปกครองให้ช่วยกันเอาใจใส่เรื่องการเรียนของลูกหลาน
25. ประโยคใดไม่ใช้สํานวนต่างประเทศ
1. ถ้าเราช่วยกันแยกขยะ ก็จะง่ายต่อการนําไปผ่านกระบวนการผลิตใหม่
2. ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษประการสําคัญคือการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของขยะที่ย่อยสลาย
3. การที่พลาสติกและโฟมถูกนํามาผลิตใหม่จะทําให้ขยะที่ย่อยสลายยากมีปริมาณเพิ่มขึ้น
4. ถ้าเรารู้จักนําถุงพลาสติกและกล่องโฟมกลับมาใช้ใหม่จะทําให้ปัญหาเรื่องขยะน้อยลง
26. ข้อใดไม่ใช่สํานวนต่างประเทศ
1. ประชากรโลกกําลังเผชิญโศกนาฏกรรมเงียบจากโรคร้าย ทั้งเอดส์ มาลาเรีย และวัณโรค
2. ต่อข้อซักถามของผู้สื่อข่าว ตัวแทนสภากาชาดสากลแถลงว่าสถานการณ์โรคร้ายในปัจจุบันกําลัง
น่าวิตก
3. สภากาชาดสากลพร้อมด้วยผู้นําจากประเทศในเอเชียแถลงว่าประเทศในทวีปแอฟริกาเป็นพื้นที่ที่มี
โรคเอดส์ระบาดมากที่สุด
4. รัฐบาลแต่ละประเทศควรสนใจปัญหาโรคเอดส์ เพราะปัจจุบันโรคเอดส์เป็นมหันตภัยที่ทําลาย
เศรษฐกิจและสังคม
27. ข้อใดไม่ใช้สํานวนต่างประเทศ
1. เป็นเวลา 3 วันที่หน่วยกู้ภัยค้นหาผู้ประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตก
2. ปัจจุบันประเทศไทยส่งผักและผลไม้ไปจําหน่ายที่อังกฤษและญี่ปุ่นเดือนละกว่า 120 ตัน
3. กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี่พร้อมด้วยนักบินอวกาศ 7 คน เดินทางกลับถึงพื้นโลกโดยสวัสดิภาพ
4. สถานการณ์หวาดผวาโรควัวบ้าซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคสมองฝ่อในมนุษย์ยังคุกคามประเทศเพื่อนบ้านอยู่
ขณะนี้

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (9)


เสียงในภาษาไทย
เสียงในภาษาไทยที่เราเปล่งออกมาในแต่ละพยางค์ประกอบไปด้วย
1. พยัญชนะต้น 2. สระ
3. พยัญชนะท้าย (ตัวสะกด) *** 4. วรรณยุกต์

รูป กิน ** เสียง **


พยัญชนะต้น
สระ
พยัญชนะท้าย
วรรณยุกต์
รูป ทราบ ** เสียง **
พยัญชนะต้น
สระ
พยัญชนะท้าย
วรรณยุกต์

1. พยัญชนะต้น
พยัญชนะต้น คือ เสียงพยัญชนะที่อยู่ต้นพยางค์ / นําหน้าเสียงสระ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
! เสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว : ออกเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดียว เช่น _________________________
! เสียงพยัญชนะต้นประสม : ออกเสียงพยัญชนะต้น 2 เสียง (ควบกล้ํา) เช่น _________________
เสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว มี 21 เสียง ได้แก่
1. เสียง /ก/ ใช้รูป _______________ 12. เสียง /ป/ ใช้รูป _______________
2. เสียง /ค/ ใช้รูป _______________ 13. เสียง /พ/ ใช้รูป _______________
3. เสียง /ง/ ใช้รูป _______________ 14. เสียง /ฟ/ ใช้รูป _______________
4. เสียง /จ/ ใช้รูป _______________ 15. เสียง /ม/ ใช้รูป _______________
5. เสียง /ช/ ใช้รูป _______________ 16. เสียง /ร/ ใช้รูป _______________
6. เสียง /ย/ ใช้รูป _______________ 17. เสียง /ล/ ใช้รูป _______________
7. เสียง /ด/ ใช้รูป _______________ 18. เสียง /ว/ ใช้รูป _______________
8. เสียง /ต/ ใช้รูป _______________ 19. เสียง /ซ/ ใช้รูป _______________
9. เสียง /ท/ ใช้รูป _______________ 20. เสียง /ฮ/ ใช้รูป _______________
10. เสียง /น/ ใช้รูป _______________ 21. เสียง /อ/ ใช้รูป _______________
11. เสียง /บ/ ใช้รูป _______________
ตรงนี้สําคัญ
1. เสียง /ร/ ออกเสียงต่างกับ /ล/ 2. เสียง /ฤ/ ออกเสียง /ร/ ส่วน /ฦ/ ออกเสียง /ล/
3. /ฑ/ ออกเสียงได้ 2 อย่าง คือ
3.1 /ด/ ได้แก่ บัณฑิต มณฑป
3.2 /ท/ ได้แก่ มณฑา มณฑก
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (10)
เสียงพยัญชนะต้นประสม (ควบกล้ํา)
อักษรควบกล้ํา แบ่งเป็น
1. อักษรควบแท้ คือ คําที่ออกเสียงรูปพยัญชนะทั้ง 2 รูปที่ปรากฏ ตัวหลังเป็น .........................
เช่น กราด พลิก คว้า เปรียบ ผลีผลาม ปรักปรํา
2. อักษรควบไม่แท้ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ออกเสียงพยัญชนะตัวหน้า เช่น จริง สร้าง เสริม เศร้า
2. เปลี่ยนเสียงพยัญชนะต้นทั้ง 2 รูป เป็นเสียงพยัญชนะต้นตัวอื่น (เปลี่ยน /ทร/ เป็น /ซ/)
เช่น ทรง ทรัพย์ ทราบ ไทร ทรุดโทรม
หมายเหตุ /ทร/ ที่ใช้เป็นอักษรควบในภาษาไทยมักเป็นอักษรควบไม่แท้
ส่วนคําที่ออกเสียงเป็นเสียงควบแท้มักมาจากภาษาสันสกฤต อาทิ อินทรา จันทรา จันทรุปราคา นิทรา

เสียงควบกล้ําไทยแท้ มีทั้งหมด 11 เสียง


/กร/ /คร/ /ปร/ /พร/ /ตร/
/กล/ /คล/ /ปล/ /พล/
/กว/ /คว/

เราท่องว่า _____________________________________________________________________

ระวัง! ขรัว - ครัว


ขวัก - ควัน
ขลัง - คลัง ถือว่าเป็นเสียงพยัญชนะต้นเดียวกัน
ผลัน - พลัด ระวังให้ดี !!!
รู้มั๊ยว่านักภาษาศาสตร์ไม่ถือว่าอักษรควบไม่แท้ เป็นอักษรควบกล้ํา
เพราะเสียงที่ออกเสียงมานั้นออกเสียงพยัญชนะต้นเป็นเสียงเดียว
ปัจจุบันมีเสียงควบกล้ําแท้ที่ภาษาไทยได้รับอิทธิพลมาจากภาษาอังกฤษ 6 เสียง
(แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ใช่คําไทยนะ เพราะว่าคําควบกล้ําของไทยมีเพียง _________ เท่านั้น )
/บร/ เช่น _________________________________________________________
/บล/ เช่น _________________________________________________________
/ดร/ เช่น _________________________________________________________
/ฟร/ เช่น _________________________________________________________
/ฟล/ เช่น _________________________________________________________
/ทร/ เช่น _________________________________________________________

อักษรนํา คือพยัญชนะ 2 ตัว ประสมสระเดียวกันเช่นเดียวกับอักษรควบกล้ําแต่ต่างกันตรงวิธีการออกเสียง


อักษรนํามีวิธีการออกเสียงดังนี้
1. อ่าน 2 พยางค์ ได้แก่ อักษรสูงหรืออักษรกลางนําหน้าอักษรต่ําเดี่ยว โดยที่พยางค์หน้าออกเสียง
“อะ” พยางค์หลังออกเสียง “ห” นํา (เอกลักษณ์อักษรนําอ่านแล้วมีเสียง “ห” นํา) เช่น ผงก สนิม
ตวาด ถลํา ฉวัด ผวา สยาย ตลาด ฉงน ขยาย ผลิต สวิง ถวาย ขนม ตลับ
ถนน สลาก สมัน ฉนํา ฉลาม สมัคร ขนัด จรวด ตลก อเนก แปรก ปรัก แถง
สมาน จรด อนาถ จริต สมุทร สมุน สลัด
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (11)
2. อ่านออกเสียง 1 พยางค์ ได้แก่ “ห” นําหน้าอักษรต่ําเดี่ยว หรือ “อ” นํา “ย” เช่น อย่า
อยู่ อย่าง อยาก หงอน หญิง หนอน หน่อย หยอย หรู หวาน หมอน หมู หลาก
หลาน หนู ไหน ไหว หมด หมอ

คําบางคําได้รับอิทธิพลการอ่านแบบอักษรนํา แต่ไม่ใช่อักษรนํา เพราะพยางค์หน้าไม่ออกเสียงสระ “อะ”


เช่น ดําริ ประโยชน์ ตํารวจ ประมาท สิริ อํามาตย์ บําราบ บัญญัติ ดิลก อาขยาย
ดํารัส ประวัติ ประโยค สังขยา กําเนิด บุรุษ ยุโรป เทศนา วาสนา ศักราช

ให้นักเรียนบอกเสียงพยัญชนะต้นของคําคู่ต่อไปนี้ แล้วทําเครื่องหมาย ! ในข้อที่มีเสียงตรงกัน


กลุ่ม = _________ " กรัม = _________
กวง = _________ " กวาด = _________
ซ่า = _________ " สาว = _________
ลุ = _________ " ฤกษ์ = _________
ศรี = _________ " ทรุด = _________
ข้าง = _________ " ขวา = _________
พร = _________ " พรหม = _________
ปราบ = _________ " ปรากรม= _________
ทราบ = _________ " จันทรา = _________
หมู = _________ " หู = _________
ตลาด = _________ " ตราด = _________
ปรอท = _________ " ปราม = _________
อยู่ = _________ " ย่า = _________

2. พยัญชนะท้าย (ตัวสะกด)
พยัญชนะท้าย คือพยัญชนะที่ตามหลังสระ มีทั้งหมด 37 รูป 8 เสียง (มาตรา)
บางพยางค์ไม่จําเป็นต้องมีเสียงพยัญชนะท้ายก็ได้ (พยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะท้าย : ___________ )
1. เสียง /ก/ สะกด (แม่กด) ใช้ตัวอักษรสะกด : _______________________________________
2. เสียง /ป/ สะกด (แม่กบ) ใช้ตัวอักษรสะกด : _______________________________________
3. เสียง /ต/ สะกด (แม่กด) ใช้ตัวอักษรสะกด : _______________________________________
4. เสียง /ม/ สะกด (แม่กม) ใช้ตัวอักษรสะกด : _______________________________________
5. เสียง /น/ สะกด (แม่กน) ใช้ตัวอักษรสะกด : _______________________________________
6. เสียง /ง/ สะกด (แม่กง) ใช้ตัวอักษรสะกด : _______________________________________
7. เสียง /ย/ สะกด (แม่เกย) ใช้ตัวอักษรสะกด : _______________________________________
8. เสียง /ว/ สะกด (แม่เกอว) ใช้ตัวอักษรสะกด : _______________________________________

ระวัง !!!
1. สระ อํา – ไอ – ใอ – เอา มีเสียงตัวสะกดเสมอ

2. อย่าสับสน ว่าคําที่มีรูปสระบางคํา ไม่ใช่รูปพยัญชนะสะกด เป็นเพียงสระเท่านั้น


เช่น เฮีย เสีย วัว เสือ ชัว่ (เป็นสระ ไม่ใช่ตัวสะกด)
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (12)
***นักภาษาศาสตร์ถือว่าคําที่มีสระเสียงสั้นที่อยู่ท้ายพยางค์ที่เรียกว่า Glottal Stop จะมีเสียง /อ/ หรือ /?/
ถือว่าเป็นพยางค์ปิด เช่น พระ ติ เตะ ดุ เผียะ แตะ โปะ จะจะ เกะกะ
หรือคําที่มีเสียงสัน้ ที่อยู่ต้นคําที่ออกเสียงหนักหรือเน้น เช่น ทุเลา ทุเรียน กระสา ตะกร้า

1. ข้อใดมีคําที่มีเสียงพยัญชนะสะกดเสียงเดียวกันมากที่สุด
1. พยัคฆ์ใหญ่ครุฑยักษ์สมัครสมาน ยอยศมารมนุษย์เหนือพุทธะ
2. เมื่อพบลาภภาพนั้นพลันกลับหาย สรรพสิ่งวอดวายวับไปกับตา
3. นุชนาฏพลาดพลัดกษัตรา มิอาจมาทรงราชรถบุษบางาม
4. ไทยล้วนรุ่มรวยด้วยผลไม้ จิตใจก็สวยใสงดงามจริง
2. ข้อใดเป็นพยางค์ปิดทั้งหมด
1. ลงเขื่อนมั่นลั่นดาลทันใด 2. เร่งรัดจัดพลอาสา
3. ขึ้นประจําเสมาทุกด้าน 4. ประตูเมืองสี่ทิศให้ปิดบาน
3. ข้อใดมีคําที่มีตัวสะกดมากที่สุด
1. อันบ่วงกรรมทําไว้ในปางหลัง เป็นพืชยังปางนี้ให้มีผล
2. หว่านพืชดีผลดีมีแก่ตน หว่านพืชชั่วกลั้วผลที่คับแค้น
3. อันความจริงข้อนี้มีมาแล้ว ไม่คลาดแคล้วเป็นอื่นทุกข์หมื่นแสน
4. จะเปลี่ยนชั่วให้ดีมีมาแทน ถึงแม้นแมนแม่นไม่เปลี่ยนได้เอง

ภาษาไทยเรามีรูปพยัญชนะบางรูปที่ไม่ออกเสียง
เช่น องค์ พงศ์ วิทย์ พรหม ปรารถนา สามารถ พุทธ จักร ทศกัณฐ์ ศีรษะ หลาย
หลาก หมอน หมา อยาก อยู่ หนอน ไหว สรวล สระ เสร็จ ไซร้ สงฆ์ สุภัทร จริง เสาร์
นัยน์ จันทร์ ลักษณ์ ลักษมณ์ ฯลฯ

3. สระ สระในภาษาไทย มี 21 รูป 21 เสียง


รูปสระ เป็นเครือ่ งหมายทีเ่ ขียนขึ้นแทนเสียงสระ โดยใช้เขียนโดดๆ หรือใช้เขียนประกอบกับรูปสระอื่น
เพื่อให้เกิดสระใหม่ มี 21 รูป ดังนี้

ให้นักเรียนลองถอดรูปสระของคําต่อไปนี้
1. 2. 3. 4. 5.

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (13)


เสียงสระ เสียงสระในภาษาไทยมี 21 เสียง แบ่งเป็น 1. สระเดี่ยว 18 เสียง 2. สระประสม 3 เสียง
1. สระเดี่ยว (สระแท้) มี 18 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น – ยาว ได้ 9 คู่ (เป็นคู่สระกัน)
สระเสียงสั้น สระเสียงยาว ตัวอย่าง ตัวอย่าง
อะ อา ละ ลาน
อิ อี ปิ ปี
อึ อื อึด อืด
อุ อู ดุจ ดูด
เอะ เอ เตะ เต
แอะ แอ แกะ แก
โอะ โอ ดม โดม
เอาะ ออ เหาะ หอ
เออะ เออ เจอะ เจอ

2. สระประสม มี 3 เสียง คือ เอีย เอือ อัว

1. สระสั้น – ยาว ส่งผลต่อความหมาย เช่น

2. การออกเสียงสระไม่ตรงกับรูป ปกติรูปสระยาวจะออกเสียงยาว รูปสระสั้นจะออกเสียงสั้น


แต่บางคําจะออกเสียงสระไม่ตรงกับรูปสระ นักเรียนต้องอ่านออกเสียงมากๆให้คล่องและอ่านให้ถูกต้อง
เพื่อให้รู้ว่าคําๆนั้นออกเสียงอย่างไร เช่น ท่าน ร่อยหรอ ท้องร่อง กราบไหว้ เพชร อิเหนา คลินิก
คอมพิวเตอร์
3. รูปสระบางรูปไม่ออกเสียง เช่น ยาธาตุ พยาธิ ญาติ ประวัติ เหตุ เกตุ ชาติ มาตุ เมรุ

ประเภทของรูปสระ
การลดรูป การเปลี่ยนรูป การคงรูป
ณ ธ พณ กัน มัน ตัน ดัน ปัน จะ คะ นะ
เด็ก เป็ด เข็ด เสร็จ เตะ เละ
แข็ง แท็งก์ แกะ แคะ แตะ
กง คน ขน โปะ โละ โต๊ะ
กร จร บ่ ธร จอ รอ ขอ
วอกแวก ล่อกแล่ก น็อก ล็อก ช็อก ก็ เกาะ เฉาะ เลาะ
เขย เสย เฮย เชย เกิน เขิน เดิน เชิญ เธอ เทอญ เจอ
เลิ่กลั่ก เปิ่น เงิน เถอะ เลอะ เขรอะ
พวก ปลวก จวก สวบ ผัวะ
กวน ทวน ชวน สวย กลัว บัว มัว

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (14)


4. วรรณยุกต์
ภาษาไทยมีรูปวรรณยุกต์ 4 รูป คือ ่ ้ ๊ ๋ (ยกเว้น สามัญ)
ภาษาไทยมีเสียงวรรณยุกต์ 5 เสียง คือ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา
เสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงดนตรีในภาษาไทยและเป็นเอกลักษณ์ของไทยที่ภาษาอื่นไม่มี
คําทุกคําต้องมีเสียงวรรณยุกต์แต่ไม่จําเป็นต้องมีรูปวรรณยุกต์

จุดสําคัญที่นักเรียนทํากันไม่ค่อยได้ก็คือ นักเรียนไม่สามารถผันหาเสียงวรรณยุกต์ของคํานั้นๆได้
ให้นักเรียนลองเขียนเสียงวรรรยุกต์ของข้อความต่อไปนี้
1) ใครอยากสอบติดบ้าง _______ _______ _______ _______ _______
2) อยากเรียนคณะอะไร _______ _______ _______ _______ _______ _______
3) พรหมลิขิตบันดาลชักพา _______ _______ _______ _______ ______ _______ _____
4) นั่นแน่จับตัวได้แล้วหรือสมศรี _____ _____ _____ _____ _____ _____ _____ _____ ______
5) เหตุใดสุรศักดิ์จึงเสียใจนัก _____ _____ _____ _____ _____ _____ _____ _____ ______

5. พยางค์ : เสียงที่เปล่งออกมาในแต่ละครั้ง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือพยางค์เปิดและพยางค์ปิด


พยางค์เปิด คือ พยางค์ทไี่ ม่มีเสียงพยัญชนะท้าย เช่น ที่ ลา ว่า หมู ปี
พยางค์ปิด คือ พยางค์ทมี่ ีเสียงตัวสะกด เช่น วิ่ง เดิน รับ รวมถึง อํา ไอ-ใอ เอา
และพยางค์ลหุที่ลงเสียงหนัก

โครงสร้างพยางค์ / องค์ประกอบของพยางค์
พยัญชนะท้าย " พยัญชนะต้น " วรรณยุกต์ " สระ
เราท่องว่า ( ____________________________ )

1) พยางค์ “ขรรค์” กับ “คัน” มีองค์ประกอบอะไรที่ต่างกัน


2) คําใดประกอบด้วยพยางค์เปิดทุกพยางค์
1) ไฟฉาย 2) พ่อครัว 3) อําเภอ 4) น้อยหน่า
3) ข้อใดมีทั้งพยางค์เปิดและพยางค์ปิด
1) เหลวไหล 2) ทําเล 3) เนื้อคู่ 4) เฝ้าไข้
4) คําใดมีองค์ประกอบพยางค์ต่างจากคําอื่น
1) น้ํา 2) น้อย 3) แพ้ 4) ไฟ
5) ข้อใดมีโครงสร้างของพยางค์ต่างกับคําอื่น
1) น้ําใจ 2) เจ้าฟ้า 3) บัวสาย 4) ข่าวลือ
6) คําในข้อใดมีโครงสร้างพยางค์เหมือนกันทุกคํา
1) อารมณ์ 2) บําเพ็ญ 3) ชมเชย 4) ไพรพง
7) คําในข้อใดมีลักษณะโครงสร้างของพยางค์เหมือนกันหมด
1) ดั่ง ไร่ นั่ง ชั่ว 2) ถ้อย ท่อ ทั่ว ถ้า
3) ข่า บ้า หล้า ว่า 4) พลาย ความ เกรง กลืน
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (15)
8) คําในข้อใดมีลักษณะโครงสร้างเหมือนกันทุกคํา
1) ขวาน หวาน หยาม ผลาญ 2) เกี้ยว เชื่อม น่วม ห้วง
3) พลัด ครุฑ ผลุบ พริบ 4) เปิด ซูบ โขก ชอบ
9) คําในข้อใดมีลักษณะโครงสร้างพยางค์เหมือนกันทุกคํา
1) ฟื้น ก้าม โค่น ล้อม 2) เชี่ยว ส่วย เกี่ยง เลื่อน
3) น่ะ จ้ะ ล่ะ ย่ะ 4) แท้ ลู่ ซี่ หนี้
10) คําประพันธ์ในข้อใดไม่มพี ยางค์เปิด
1) ทั้งจากที่จากคลองเป็นสองข้อ 2) ยังจากกอนั้นก็ขั้นในคลองขวาง
3) โอ้ว่าจากนั้นช่างรวบประจวบทาง 4) ทั้งจากบางจากไปใจระบม
11) พยางค์สุดท้ายของคําในข้อใดมีลักษณะเป็นพยางค์ปิดทั้งหมด
1) สมาธิ ล้มเหลว เกมโชว์ นิวเคลียร์ 2) ระเรื่อ ผ้าไหม ว้าเหว่ ลํานํา
3) ใจเบา ชัยชนะ สร้างสรรค์ หวั่นไหว 4) ชําแหละ ดื่มด่ํา คันไถ ดอกเบี้ย
12) ข้อใดมีโครงสร้างพยางค์เหมือนกับคํา “บรรพบุรุษ”
1) องค์อวตาร 2) อินทรชิต 3) กัลปพฤกษ์ 4) วรรณสุคนธ์
13) ข้อใดมีจํานวนพยางค์น้อยที่สุด
1) คณะรัฐบุรุษ 2) ประชาธิปไตย 3) ผลิตภัณฑ์ชุมชน 4) ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
14) ข้อใดมีจํานวนพยางค์มากที่สุด
1) คณะวิทยาศาสตร์ 2) คณะมนุษยศาสตร์ 3) คณะวิจิตรศิลป์ 4) คณะแพทยศาสตร์
15) ข้อใดมีจํานวนพยางค์ปิดน้อยที่สุด
1) ลําพูรายพรายพร้อยหิ่งห้อยจับ 2) สว่างวับแวววามอร่ามเหลือง
3) เสมอเม็ดเพชรรัตน์จํารัสเรือง 4) ค่อยประเทืองทุกข์ทัศนาชม

6. คําเป็น - คําตาย

1. ข้อใดมีคําตายมากที่สุด
1. ริมโบสถ์ระเบียงเคียงฐานบาตร ดื่นดาษผู้คนอยู่จนสาย
1. เห็นน้ํารักพร่ําออกทั้งดอกผล ไม่มีคนรักรักมาหักสอย
2. ถือขันตีทีนั้นจะขันแตก ทั้งศีลแทรกสูดออกกระบอกหู
3. ถึงมาดแม้นตกยากต้องถากหญ้า จะอาสาแทนน้องอย่าหมองศรี

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (16)


7. คําครุ - ลหุ

อินทรวิเชียรฉันท์ ราตรีก็แม่นมี ขณะดีและร้ายปน


ไป่ผิดกะคนคน คุณโทษประโยชน์ถม

วสันตดิลกฉันท์ ราตรีกลีกลพิโรธ หฤโหดคระหึมลม


มืดตื้อกระพือพิรุณพรม และฤเราจะแยแส

8. เสียงหนัก – เสียงเบา ภาษาไทย พยางค์ที่มักมีเสียงเน้นหนัก คือ ______________________


คํา 2 พยางค์ ลงเสียงหนักที่พยางค์ที่ 2 เช่น พูดช้า ช้า หน่อย คนเราต้องมีมานะ

ถ้าเป็นคํา 3 พยางค์ มักลงเสียงหนักที่พยางค์ที่ 3 และอาจลงเสียงหนักที่พยางค์ที่ 1 หรือ 2 ด้วย


ถ้าพยางค์ที่ 1 หรือ 2 นั้นมีสระเสียงยาวหรือมีเสียงพยัญชนะท้าย
ปัจจุบัน เขาเลิกกิจการไปแล้ว (ลงเสียงหนักที่ ____________________________ )
จริยาไม่ปฏิบัติตามกฎของโรงเรียน (ลงเสียงหนักที่ ____________________________ )
สมาคมอยู่ข้างธนาคาร (ลงเสียงหนักที่ ____________________________ )
ถ้าเป็นคําตั้งแต่ 4 พยางค์ขึ้นไป มักลงเสียงหนักที่พยางค์สุดท้าย ส่วนพยางค์อื่นๆก็ออกเสียงหนักหรือ
เบาตามส่วนประกอบของพยางค์
ทรัพยากร (ลงเสียงหนักที่ ___________ ) เจดีย์ยุทธหัตถี (ลงเสียงหนักที่ ___________ )
1) พยางค์ “กะ” ในข้อใดลงเสียงหนัก
1) เขาเหมือนพ่อราวกะแกะ 2) ครูกะเกณฑ์ให้นักเรียนทํางาน
3) เสื้อตัวนี้สีกะดํากะด่าง 4) ปู่กะย่า ไปวัดทุกวันพระ
2) คําคู่ใดทีต่ ้องลงเสียงหนักทั้งสองพยางค์
1) ลินิน มณเฑียร 2) ความสุข ระราน
3) ปั้นจั่น มะเฟือง 4) ระวัง ยอกแยก

อักษรไทย พยัญชนะไทยแบ่งได้เป็น 3 หมู่ โดยแบ่งพื้นเสียงที่ยังไม่ได้ผันซึ่งมีระดับ สูง กลาง ต่ํา


เรียกว่า ไตรยางศ์ จัดไว้เพื่อความสะดวกในการผันวรรณยุกต์
อักษรกลาง อักษรสูง อักษรต่ําคู่ อักษรต่ําเดี่ยว

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (17)


เรื่องเสียงในภาษาไทยและอักษรไทย
1. ข้อใดใช้เสียงพยัญชนะต้นเสียงเดียวกันทุกคํา
1. ลนลาน ลูกหลวง ลุฤกษ์ 2. พริ้งเพริศ พรพรหม พรักพร้อม
3. ศึกษา สมศรี ทรุดโทรม 4. ขวักไขว่ เคว้งคว้าง ข้างขวา
2. คําคู่ใดมีเสียงพยัญชนะต้นต่างกัน
1. หน่ายแหนง เณรน้อย 2. ควรแขน คว้าไขว่
3. ทรวดทรง ศีรษะ 4. ฟ้าฮ่าม ฝายหิน
3. ข้อใดมีคําที่ออกเสียงพยัญชนะต้นแตกต่างจากคําอื่น
1. ทราย โทรม ทรุด สร้าง สร้อย 2. อย่า หยิบ อยู่ อย่าง หยัก
3. สร้าง เศร้า เทริด สรวม เสริม 4. เปราะ ปรุง แปรก ปรัง ปริ่ม
4. คําคู่ใดมีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกันทั้ง 2 พยางค์
1. ไรฟัน ลอยฟ้า 2. วันไหน ไหวหวั่น
3. ช่างเหล็ก ฉอเลาะ 4. ฤกษ์ยาม ลดหย่อน
5. ข้อความใดมีเสียงพยัญชนะต้นของทุกพยางค์รวมได้ 2 หน่วยเสียง
1. ตามตํารับราชรณยุทธ์ 2. พันลึกล่มลั่นฟ้า
3. คั่งคับขอบคงคา 4. อธึกท้องแถวธาร
6. คําคู่ใดมีเสียงพยัญชนะต้นในพยางค์ที่ 1 และพยางค์ที่ 2 เหมือนกัน
1. คู่ชีพ เข้าทรง 2. นิราศ หนูหริ่ง
3. อมมือ อยู่หมัด 4. เวียนหัว หวั่นไหว
7. ข้อใดมีพยัญชนะควบกล้ําน้อยที่สุด
1. ทุกข์ไม่กล้ํากรายหากบริโภคกวางทองตอนพฤษภาที่บ้านกฤษณ์
2. นึกแปลกใจไยแสร้งแกว่งไกวขรรค์ จะมุ่งผลาญชีพกันกระไรหรือ
3. กรมพละฯ ตระเตรียมแข่งตระกร้อตลอดเดือนมกราคมปีหน้า
4. ซึมเศร้าคร่ําครวญกลางหาดทราย ปริศนานี้ไกลเกินปัญญาแก้
8. ข้อใดออกเสียงควบกล้ําทุกคํา
1. ขวัญ ความ กรุ ขลัง พลัง 2. คล้ํา ปรัง ทลาย เกร็ง พลอย
3. ปริ เตรียม กรํา พลาง ขวิด 4. กรน ครวญ กร้าน ขลุง ผลิต
9. เสียงพยัญชนะควบกล้ําในข้อใดตรงกับเสียงพยัญชนะควบกล้ําในภาษาไทยที่มีมาแต่เดิม
1. ทรีตเมนต์ 2. อิเควเตอร์ 3. ฟลอร์โชว์ 4. บรอดเวย์
10. เสียงพยัญชนะควบกล้ําในข้อใดตรงกับเสียงพยัญชนะควบกล้ําในภาษาไทยที่มีมาแต่เดิม
1. ฟรักโทส 2. ดราฟท์ 3. คริปตอน 4. บริดจ์
11. พยัญชนะ “ฑ” ในข้อใดอ่านออกเสียง / ด / ทุกคํา
1. บัณฑิต บิณฑบาต 2. บัณเฑาะก์ มณฑก
3. บุณฑริก บัณฑุกัมพล 4. ปาณฑพ ขัณฑสกร
12. ข้อใดที่มี “ฤ” ทําหน้าที่เป็นเสียงพยัญชนะต้น
1. คฤนถ์ พฤฒิ กฤป 2. พฤนท์ กฤษฎา ปฤจฉา
3. กฤษณา ตฤณมัย ปฤษฎางค์ 4. ทฤษฎี คฤหาสน์ พฤษภ

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (18)


ให้ใช้คําประพันธ์ต่อไปนี้ ตอบคําถามข้อ 13 – 14
1. ปลากรายว่ายเคียงคู่ เคล้ากันอยู่ดูงามดี
2. แต่นางห่างเหินพี่ เห็นปลาเคล้าเศร้าใจจร
3. หางไก่ว่ายแหวกว่าย หางไก่คล้ายไม่มีหงอน
4. คิดอนงค์องค์เอวอร ผมประบ่าอ่าเอี่ยมไร
13. ข้อใดมีคําที่ใช้อักษรควบแท้และควบไม่แท้
1. ข้อ 1 2. ข้อ 2 3. ข้อ 3 4. ข้อ 4
14. ข้อใดมีคําที่ใช้อักษรนํา 2 คํา
1. ข้อ 1 2. ข้อ 2 3. ข้อ 3 4. ข้อ 4
15. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะท้ายเพียง 2 เสียง
1. เจ้าสาวไปหาบ่าวไพร่ในพารา 2. พระพายเราเขาช่างใจร้ายเหลือ
3. ใครหนอทําร้ายเจ้าได้ลงคอ 4. อย่าทําหัวร่องอหาย หัวใจเต้นน่ากลัว
16. ข้อใดมีคําที่ไม่มี่เสียงพยัญชนะท้าย
1. ไม่คอยรับทรัพย์ใดจากใครหมด 2. ทั้งศักดิ์ยศสดใสลาภไพศาล
3. ไม่หวังให้ใครหนุนบุญบันดาล 4. หวังผลงานทุกอย่างสร้างด้วยตัว
17. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะท้ายเป็นเสียงนาสิกทั้งสองพยางค์
1. ภาคภูมิ 2. แช่มช้อย 3. ร้าวราน 4. สร้างสรรค์
18. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะท้ายน้อยที่สุด
1. ยามค่ําคืนฝืนทนหนาว 2. มุ่งเรียนต้องหมั่นอ่าน
3. จันทร์ส่องหล้าฟ้าสว่างใส 4. มารร้ายร่ายรําลวง
19. ประโยคในข้อใดมีจํานวนเสียงพยัญชนะท้ายมากที่สุด
1. นักเรียนต้องเข้าแถวเคารพธงชาติทุกเช้า
2. ประชาชนตักบาตรภิกษุสามเณรในวันปีใหม่
3. น้องสาวหมายตาจะสอยมะม่วงต้นนี้นานแล้ว
4. แม่บ้านสมัยใหม่ชอบซื้อสินค้าเงินผ่อน
20. ข้อใดไม่ออกเสียง “อะ” ในคําทั้งสองคํา
1. ราชบุรี คุณสมบัติ 2. ผลิตภัณฑ์ พระชนมพรรษา
3. ปรัชญา วิตถาร 4. ศีลธรรม โบราณวัตถุ
21. ข้อใดออกเสียงสระเหมือนกันทุกคํา
1. จํา คํา น้ํา 2. ก้าว เท้า เก้า
3. ชอล์ก กล่อง ลอง 4. แล่น แข็ง แรง
22. ข้อใดประกอบด้วยสระที่ออกเสียงสั้นทั้งหมด
1. ไปเอาน้ําให้กินหน่อยได้ไหม 2. ท่านแนะให้คุณไปขุดร่องมันฝรั่ง
3. คนกินเหล้าเก้าสิบคนจะเป็นอะไรไหมครับ 4. เด็กที่เกล้าผมคนนั้นตื่นเช้าจริงๆ
23. คําทุกคําในข้อใดออกเสียงสระยาวทุกพยางค์
1. ร้อยกรอง ต้องการ ไม้หมอน 2. ท้องร่อง เท้าช้าง แตกร้าว
3. กีดขวาง จอมเกล้า กราบไหว้ 4. กลองเพล ร่อยหรอ ตามรอย
24. ข้อใดประกอบด้วยพยางค์ที่ออกเสียงยาวทั้งหมด
1. ตอนเช้าแตงถือข้าวมาวางที่ทางเท้า
2. โฉมศรีเกล้ามวยด้วยไม้ทองหลางสีน้ําเงิน
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (19)
3. ชาวเมืองต่างคลานมากราบไหว้ท่านอย่างต่อเนื่อง
4. ชาวจีนถือไม้เท้าไหว้เจ้าตอนสายของวันที่เก้า
25. คําในข้อใดมีเสียงสระเสียงยาวสองพยางค์และสระเสียงสั้นสองพยางค์
1. จับได้ไล่ทัน 2. ส้มสูกลูกไม้
3. น้ําตาลใกล้มด 4. บุญทํากรรมแต่ง
26. ข้อใดมีเสียงสระของทุกพยางค์เป็นสระเดี่ยว
1. มีพี่น้องสองสาวในเกียวโต 2. อาวุโสยี่สิบสองยี่สิบห้า
3. อันทหารฆ่าศัตรูด้วยศัสตรา 4. สองกัลยาฆ่าชายม้วยด้วยเนตรเธอ
27. ข้อใดประกอบด้วยสระเดี่ยวทุกคํา
1. โน่นระแทะวิ่งระเกะกะ ลัดเลาะลื่นละลานตา
2. สังข์เสียงระเซ็งแซ่ ทั้งเสียงแตรก็อึกทึกกึกก้อง
3. แสนระกําใจให้ร้อนผ่าว หัวอกระร้าวราน
4. ชิชะทําท่ามาเกาะแกะ เหมือนหมาแทะกระดูกไก่
28. ข้อใดแต่ละพยางค์เป็นสระประสม
1. พวกเราควรร่วมมือช่วยเหลือเสี่ยกวง 2. เสียงวัวตัวเมียร้องเรียกผัว
3. ลัวะกลัวเสือเตี้ยเหยียบหัว 4. ตั้วเฮียคั่วถั่วแระเผื่อเจ้าสัว
29. คําในข้อใดไม่มเี สียงสระประสม
1. ถึงแม้เขาจะพูดจาวกวนไม่ได้ความ 2. แต่ฉันก็ไม่รู้สึกว่าถูกกวนประสาท
3. ส่วนเธอคล้ายๆ กับพูดจาได้ความชัด 4. ยิ่งทําให้ฉันปวดหัวมากที่สุด
30. ข้อใดไม่มเี สียงสระประสม
1. คนที่ยิ้มและหัวเราะอยู่เสมอมักจะมีใบหน้าอ่อนกว่าอายุจริง
2. ดินแดนแห่งทะเลสาบนับพันคือประเทศฟินแลนด์
3. สมองส่วนหน้ามีหน้าที่ควบคุมการพูด การเคลื่อนไหว และบุคลิกภาพ
4. นักท่องเที่ยวจะชื่นชมสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวตลาดน้ําวัดไทร
31. ข้อใดมีคําที่รูปสระออกเสียงทุกคํา
1. โรคาพยาธิ คุณวุฒิ ขัดสมาธิ 2. ชาตินิยม ชาติพันธุ์ ชาติภูมิ
3. ประวัติการณ์ ปริยัติธรรม ประวัติกาล 4. ยาธาตุ โลกธาตุ ธาตุเจดีย์
32. ข้อใดมีคําที่รูปสระออกเสียงทุกคํา
1. นิตินัย ภูมิลําเนา โลกธาตุ 2. ประณิธิ ภูมิฐาน ประสูติกาล
3. ชาติรส ภูมิประเทศ เหตุวาจก 4. สวัสดิการ ภูมิปัญญา ญาติกา
33. ข้อใดออกเสียงตรงกับรูปเขียนทุกคํา
1. สมัยนี้คอมพิวเตอร์จําเป็นสําหรับนักธุรกิจทุกคน
2. ถ้าตรากตรําเกินไปอาจต้องไปหาหมอที่คลินิกนะ
3. คนจนชอบซื้อลอตเตอรี่ คนรวยชอบเล่นหุ้นมากกว่า
4. การเล่นฟุตบอลทําให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์
34. ข้อใดออกเสียงต่างจากรูปเขียนทุกคํา
1. ทราย ฉะเชิงเทรา ประปราย 2. สรรค์สร้าง ทรุดโทรม ประสิทธิภาพ
3. เพชรพลอย กิโลเมตร เลเซอร์ 4. ไมโครโฟน ฟิสิกส์ นิวเคลียร์

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (20)


35. ข้อใดมีสระออกเสียงต่างจากรูป
1. ภาคเหนืออากาศหนาวจัดกว่าทุกปีที่ผ่านมา
2. ภาคกลางนั่งหม่นหมองเพราะข้าวเปลือกราคาไม่ดี
3. ภาคอีสานเดือดร้อนใจเพราะป่าใหญ่ถูกทําลาย 4. ภาคใต้น้ําตานองเพราะข้าวของถูกน้ําท่วม
ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 36 – 37
1. โอษฐ์งามยามยั่วยิ้ม 2. หญิงใดไม่มีเหมือน
3. เรียมคอยสั่งใจเจ้า 4. นิ่มเนื้อเมื่อสรวลแย้ม
36. ข้อใดใช้สระประสมมากที่สุด
1. ข้อ 1 2. ข้อ 2 3. ข้อ 3 4. ข้อ 4
37. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะท้ายทุกพยางค์
1. ข้อ 1 2. ข้อ 2 3. ข้อ 3 4. ข้อ 4
38. คําทุกคําในข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ในพยางค์ที่ 1 และพยางค์ที่ 2 เหมือนคําว่า “พริกหยวก”
1. ชกต่อย ลักไก่ เก้าสิบ 2. ยุแหย่ ฆ้องเหล็ก จิ้งหรีด
3. ลดหลั่น เต้าส่วน ช้างเผือก 4. แพะแกะ เว้าแหว่ง ท้องถิ่น
39. คําทุกคําในข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ในพยางค์ที่ 1 , 2 และ 3 เหมือนคําว่า “สานุศิษย์”
1. ฝูงม้าศึก หลังคาบ้าน 2. ถุงเท้าเด็ก สวนยุโรป
3. เสาน้ํามัน ขึงตาข่าย 4. เหวนรก สนทะเล
40. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์สามัญ เอก โท ตรี อย่างละเท่ากัน
1. เหยี่ยวปีกลายน่าดูมากนะครับ 2. หากเธอว่าดีก็แย่แล้วจ้ะ
3. แม่บอกกี่ครั้งแล้วว่าอย่าซน 4. ทําโต๊ะเก้าอี้หักไปกี่ตัว
41. ข้อใดไม่มเี สียงวรรณยุกต์โท
1. ให้ทราบซึ้งโสตทรวงดวงสมร 2. เจ้าเคืองขัดตัดสวาทขาดระวาง
3. พี่แกล้งเฉยเลยชมชลาสินธุ์ 4. มีน้ําน้อยหยาดหยดอย่างเม็ดฝน
42. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์เอกมากที่สุด
1. เซ่งเล่าเหตุการณ์น่าตื่นเต้นพร้อมทําตาเลิ่กลั่ก
2. หากสังเกตเตาอบจะพบว่ามีสิ่งผิดปกติติดอยู่
3. กว่าจะมาถึงที่นี่ได้ แรกๆ เขาทําท่าไม่อยากมา
4. น้ําเชี่ยวกรากอย่างนี้ ไม่มีกบอยู่อย่างแน่นอน
43. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์เหมือนกันทุกคํา
1. พี่วาดรูปเจ้า เฝ้าคลั่งดั่งคลื่นบ้า 2. รักนี้ซิ มิคิดละไว้ ณ วัดร้าง
3. เศษขยะ กระจก กระจุกใหญ่ช่างน่าเกลียด 4. โอ ไยคนเราชอบทํางานกันกลางวัน
44. ข้อใดใช้เสียงวรรณยุกต์ตรงกับข้อความต่อไปนี้
“นกน้อยนอนแนบน้ําในนา”
1. มดเล็กกัดเจ็บแท้จริงเจียว 2. ยักษ์นั้นตัวใหญ่ล้ําเหลือคณา
3. โต๊ะนี้เราเพิ่งซื้อวันวาน 4. ฟ้าร่ําครืนครั่นคล้ายครวญคราง
45. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์เหมือนกับคําในข้อความว่า “เรื่องดีแค่ไหนก็น่าเบื่อทั้งนั้นแหละ”
1. นี่คือข้าวของที่พ่อซื้อให้น้องสุ 2. พวกชาวนาคึกคักเมื่อได้ข้าวร้อยหาบ
3. โชคยังไม่หิวน่ะ ว่าแต่พิศพักตร์เถอะ 4. ที่คุณว่าหอมไม่ใช่ดอกกล้วยไม้หรอก

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (21)


46. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบทั้ง 5 เสียง
1. เราต่างรู้จักกันดีทั้งหมด 2. พ่อแม่มีพระคุณต่อเราเสมอ
3. ระวังใครมาทําร้ายท่านหนา 4. แม่ไก่ตัวนั้นร้องกระต๊ากตอนออกไข่
47. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบทั้ง 5 เสียง
1. ปากเหวลึกอย่านึกว่าเหวตื้น 2. ปากเหวลื่นอย่าจ้องไปลองผลัก
3. ตกเหวหินปีนป่ายได้ง่ายนัก 4. ตกเหวรักเสือกสนไปจนตาย
48. บทประพันธ์ในข้อใดที่มีเสียงวรรณยุกต์ครบ 5 เสียงทั้งสองวรรค
ก. มันดําน้ําล่องไปช่างไวเหลือ ข. ดังพระพายพัดเวียนดูเหียนหัน
ค. นาวาเอียงเสียงกุกลุกขึ้นร้อง ง. ช่างยาวลากเลื้อยเจื้อยจนเหนื่อยหู
1. ข้อ ก และ ข 2. ข้อ ข และ ค
3. ข้อ ค และ ง 4. ข้อ ข และ ง
49. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบทุกเสียง
1. จับลงตรงพักตร์ภูวเรศ 2. จิกเอานัยน์เนตรเบื้องขวา
3. แล้วโบกบินไปโดยบูรพา 4. พระผวาตื่นขึ้นด้วยพลัน
50. บทประพันธ์ในข้อใดที่มีเสียงวรรณยุกต์ครบ 5 เสียง
1. คําขนานธารเกษมก็สมชื่อ สนุกคือเรื่องอิเหนาเสน่หา
2. ดอกพะยอมหอมหวนลําดวนดง สายหยุดประยงค์โยทะกา
3. วันรุ่งแรมสามค่ําเป็นสําคัญ อภิวันท์ลาบาทพระชินวร
4. ทั้งคนฟังคนอ่านสารแสดง ฉันขอแบ่งส่วนกุศลทุกคนเอย
51. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ไม่ครบ 5 เสียง
1. หนังสือพิมพ์เหล่านี้น่าอ่านมาก 2. อรสาชอบอ่านนิตยสารเล่มนั้น
3. ทับทิมอยากหางานใหม่ทําไหมนะ 4. โลกนี้หรือคือละครโรงใหญ่
52. พยางค์ “ขรรค์” กับ “คัน” มีอะไรต่างกัน
1. พยัญชนะต้น 2. สระ
3. พยัญชนะท้าย 4. วรรณยุกต์
53. คําในข้อใดเหมือนกันเฉพาะเสียงสระกับเสียงวรรณยุกต์
1. วรรค พักตร์ 2. ฤกษ์ เทิด
3. น้ํา ช้ํา 4. เนตร เพชร
54. คําในข้อใดมีเสียงพยัญชนะต้นกับพยัญชนะท้ายเป็นเสียงเดียวกัน
1. เณร 2. ภาพ 3. ธาตุ 4. ศิษย์
55. รูปพยัญชนะที่ทําหน้าที่เป็นทั้งตัวสะกดและพยัญชนะต้นในข้อใดที่เป็นเสียงเดียวกัน
1. สัญลักษณ์ 2. กัลยา 3. ราชรถ 4. วัยวุฒิ
56. พยางค์ใดมีโครงสร้างต่างจากพยางค์อื่น
1. ค่ํา 2. ถ้อย 3. พ่อ 4. เจ้า
57. คําในข้อใดมีองค์ประกอบของพยางค์เหมือนคําว่า “อัศว์”
1. โยชน์ 2. เสร็จ 3. นิตย์ 4. มารค
58. เสียงของพยางค์ในข้อใดมีโครงสร้างต่างจากพยางค์อื่น
1. กริ้ว 2. สร้อย 3. ไขว้ 4. ครั่ง
59. คําใดมีองค์ประกอบของพยางค์ต่างจากคําอื่น
1. น้ํา 2. น้อย 3. แพ้ 4. ไฟ
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (22)
60. คําในข้อใดมีโครงสร้างพยางค์เหมือนกันทุกพยางค์
1. อารมณ์ 2. บําเพ็ญ 3. ชมเชย 4. ไพรพง
61. ข้อใดมีโครงสร้างของพยางค์ต่างกับข้ออื่น
1. จีวร 2. ตาแดง 3. เสาเอก 4. โคราช
62. คําในข้อใดมีจํานวนพยางค์เท่ากับคํา “กุลธิดา” ทุกคํา
1. คุณสมบัติ รสนิยม 2. อุณหภูมิ กาลสมัย
3. โฆษณา สมาคม 4. ธรรมทายาท อุทกภัย
63. คําในข้อใดมีจํานวนพยางค์เท่ากับคํา “ปรารถนา” ทุกคํา
1. ศาสตรา จักจั่น 2. สรรพางค์ ตุ๊กตา
3. นมัสการ สัพยอก 4. มูลนิธิ ลักลั่น
64. คําทุกคําในข้อใดมีจํานวนพยางค์เท่ากับคํา “ปริญญาบัตร”
1. บุริมพรรษา นักขัตฤกษ์ 2. นาวิกโยธิน สารประโยชน์
3. บุญราศี ปรมาณู 4. ธารกํานัล นาคบริพันธ์
65. ข้อใดมีจํานวนพยางค์มากที่สุด
1. เทศบาลเมืองพัทยา 2. แพทยศาสตรบัณฑิต
3. คณะอักษรศาสตร์ 4. กระทรวงคมนาคม
66. คําใดประกอบด้วยพยางค์เปิดทุกพยางค์
1. ไฟฉาย 2. พ่อครัว 3. อําเภอ 4. น้อยหน่า
67. ข้อใดเป็นคําพยางค์ปิดทุกคํา
1. เจ็บช้ําน้ําใจ 2. วัวหายล้อมคอก 3. สิบเบี้ยใกล้มือ 4. ติเรือทั้งโกลน
68. ข้อใดเป็นพยางค์ปิดทุกคํา
1. คําโบราณเคยกล่าวขานไว้ 2. หากน้ําตาลมาวางใกล้มด
3. เชื่อหรือมดเพียงเมียงมอง 4. ไม่ยอมลองลิ้มเลียเอย
69. คําในข้อใดมีทั้งพยางค์ปิดและพยางค์เปิด
1. เหลวไหล 2. ทําเล 3. เนื้อคู่ 4. เฝ้าไข้
70. คําทุกคําในข้อใดที่พยางค์ต้นออกเสียงได้ทั้งสั้นและยาวแล้วความหมายคงเดิม
1. ลางสาด ตะวัน 2. รังวัด ปรับทุกข์
3. สัมพันธ์ ป้านชา 4. ชะตา กังขา
71. คําในข้อใดที่พยางค์หน้าออกเสียงสั้นหรือยาวได้โดยความหมายไม่เปลี่ยน
1. ใต้ถุน น้ําคํา ผู้หญิง 2. ตะราง ปันใจ วังหิน
3. ขันรับ มิดี วันนี้ 4. ไขมัน ตักดิน มะพูด
72. คําคู่ใดที่ต้องลงเสียงหนักทั้งสองพยางค์
1. ลินิน มณเฑียร 2. ความสุข ระราน
3. ปั้นจั่น มะเฟือง 4. ระวัง ยอกแยก
73. ข้อใดลงเสียงหนักทุกพยางค์
1. อนุมัติ ผู้บริโภค การเจรจา
2. โรงภาพยนตร์ รถมอเตอร์ไซค์ หนังสือพิมพ์
3. ความจงรักภักดี มีมานะพยายาม ลําบากตรากตรํา
4. ข่าวสาระบันเทิง ชนชั้นกรรมาชีพ ต้อยติ่งต๊ะติ้งโหน่ง

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (23)


74. ข้อใดออกเสียงพยัญชนะทุกตัว
1. อัจกลับ เรขาคณิต พรหมเทพ 2. คมนาคม ยนตรกิจ พันธมิตร
3. ภยันตราย วิทยายุทธ อุตตรประเทศ 4. เทศบาลพัทยา อนารยชน กลกามเทพ
75. ข้อใดที่คําทุกคําไม่ออกเสียงพยัญชนะบางตัว
1. สร่าง พรหม พุทธ 2. จริง สร้อย ขวัญ
3. เนตร เหตุ ประวัติ 4. โทรม จักร ญาติ
76. ข้อใดมีพยัญชนะที่ไม่ออกเสียงมากที่สุด
1. ฝ่ายสมณะชีพราหมณ์ทั้งหลาย 2. ทศกัณฐ์รบกับพระรามพระลักษมณ์
3. พิจักขณ์ปรารถนาจะสร้างวัดจริง 4. นวลอนงค์ยังสวยอยู่อย่างไม่สร่าง
77. ข้อใดอ่านออกเสียงตามแบบอักษรนํา
1. ปริตร 2. ปริตตะ 3. ปริตยาค 4. ปริตรโตทก
78. คําในข้อใดอ่านออกเสียงแบบอักษรนําทุกคํา
1. สมรรถภาพ สมานฉันท์ 2. สมรรถชัย สมานไมตรี
3. สมรรถนะ สมานคติ 4. สมัชชา สมานมิตร
79. คําในข้อใดอ่านออกเสียงอย่างอักษรนําทุกคํา
1. ขนาง ขนิษฐ์ ขนอน 2. ขมา ขมวน ขม่อม
3. ขรัว ขรม ขริบ 4. ขยอก ขยด ขย้อน
80. ข้อใดอ่านออกเสียง 2 พยางค์หน้าไม่เหมือนกันทุกคํา
1. กรบูร กรกฎ กรวิก 2. จรลี จรดล จระเข้
3. กรมการ กรมพระ กรมท่า 4. วรกาย วรชายา วรวิหาร
81. คําในข้อใดอ่านผิด
1. สรรพางค์ อ่านว่า สัน-ระ-พาง 2. สรรเสริญ อ่านว่า สัน-ระ-เสิน
3. สรรพากร อ่านว่า สัน-พา-กอน 4. สรรพสามิต อ่านว่า สัน-พะ-สา-มิด
82. กลุ่มคําในข้อใดแตกต่างจากข้ออื่นๆ
1. ถมอ ขนิษฐา ฉมา สราญ 2. ถนัด เขนย ไฉน สรุป
3. ไถง ขนาด ฉนวน เสนอ 4. ถนน ขยาย เฉลย สนอง
83. ข้อใดมีคําที่อ่านออกเสียงไม่ต่อเนื่องกันแบบสมาสทั้งสองคํา
1. รัชมังคลาภิเษก ภูมิศาสตร์ 2. รัชสมัย ภูมิอากาศ
3. รัฐนิยม ภูมิภาค 4. รสนิยม ภูมิลําเนา
84. ข้อใดมีตําแหน่งคําเป็นคําตาย เหมือนข้อความต่อไปนี้
“จวบคราวจะเป็นหญิง วธุยิ่งละเลิงเหลิง”
1. ยามเกิดอุโฆษศัพท์ ก็สนั่นนภาดล
2. ส่ําสัตว์จลาจล และกระเจิดกระเจิงหนี
3. คณานิกรชน คิดหลบพ้นมากมายมี
4. จะเหลือเฉพาะที่ ทุรพลและหมดแรง
85. ข้อใดมีตําแหน่งของคําเป็นและคําตายเหมือนข้อความต่อไปนี้
“รักกษัตริย์ศาสน์ชาติและญาติตัว ย่อมเหมือนขั้วเค้าคุณวิบุลอารย์”
1. ปากตระบัดพลิกจิตกลับคิดชั่ว เหมือนคนกลั้วเคล้ามารหมายราญรอน
2. มิตรสนิทคิดคาดจะจับไถ มุ่งหมายในแผ่นดินถวิลหวัง
3. จะออกปากบอกนุชสุดจะข่ม ยอมขื่นขมตรมทรวงเฝ้าห่วงหา
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (24)
4. เก็บขยะสักนิดผิดด้วยหรือ ถ้าไม่ถือว่าฉันนั้นผู้ใหญ่
86. คําประพันธ์นี้มี ครุ และ ลหุ ตรงกับ
“เคยเห็นณเพ็ญพระรศมี รชนีถนัดเนา
เหนือนั้นแน่ะพลันจะสละเงา กลเงินอร่ามงาม”

87. คําประพันธ์นี้มีครุ และ ลหุ ตรงกับข้อใด


“ประเพณีไทยสมัยก่อนเก่า ก็คงมีเค้าจะเนานานถ้า
ดรุณลูกหลานสถานท้องนา สมัครรักษาขนบธรรมเนียม”

88. ข้อใดมีตําแหน่งคําครุ คําลหุ เหมือนข้อความต่อไปนี้


“ประภาพรรณดนุรักษ์ อินทรศักดิ์ศจีศรี”
1. อรุณรุ่งอาทิตย์ส่อง ฟ้าก็ผ่องตระการตา 2. แช่มชื่นผกาพงา กําจายกลีบสุวคนธ์
3. ประลุยามสายัณห์เยี่ยม ดวงตะวันก็หลบพ้น 4. นิศากรก็สิดล แจ่มกระจ่างทิฆัมพร
89. ข้อใดมีตําแหน่งของคําครุและคําลหุเหมือนข้อความต่อไปนี้
“ดรุณสยามมิคร้ามอุส่าห์ หทัยจะหาวิชาประสงค์”
1. ประโยชน์กระจายสบายสุดทน มิให้ปะปนวิกลมินาน
2. ทะเลอรุณคุกรุ่นสงบ สวรรค์มิสบเล่ห์กลประสาน
3. สตรีมิดีตระหนี่พิกล พะวักพะวนมิทนผู้ใด
4. ผิจิตมิชอบจะลอบยุยง อิถีจะคงมิรักไฉน
90. ข้อใดมีพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ําน้อยที่สุด
1. ขอกายเจ้าจงเป็นเช่นต้นไม้ 2. รู้จักเพียงพอดีที่จะรับ
3. เลิกเดือดร้อนดิ้นรนคนใยดี 4. และชื่นเชยกับชีวิตทุกทิศทาง
จงใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบข้อ 91 – 93
ก. ภูเขาสูงแผ่นดินกว้างทางรก เรายกทัพฝ่ากล้าหาญ
ข. ใครขวางฟันฟาดแหลกลาญ ล้างผลาญปี้ป่นวอดวาย
ค. ชีวิตอุทิศเพื่อชาติ เราสู้เพื่อราษฎร์ทั้งหลาย
ง. ชาติเสือแล้วต้องไว้ลาย ชาติชายแล้วต้องต่อกร
91. ข้อใดมีคําตายมากที่สุด
1. ก. 2. ข. 3. ค. 4. ง.
92. ข้อใดมีคําซ้อนมากที่สุด
1. ก. 2. ข. 3. ค. 4. ง.
93. ข้อใดมีพยัญชนะต้นเป็นอักษรสูงมากที่สุด
1. ก. 2. ข. 3. ค. 4. ง.
ให้ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 94 – 96
ก. ย่อเหลี่ยมเยี่ยมลอยบัลลังก์เลิศ
ข. โอ่เทิดองค์ธาตุทิพย์ไอศูรย์
ค. สีเทียนศรัทธาสง่าทูน
ง. จํารูญจํารัสยอดฉัตรชัย
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (25)
94. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบห้าเสียง
1. ข้อ ก. 2. ข้อ ข. 3. ข้อ ค. 4. ข้อ ง.
95. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะท้ายสี่เสียง
1. ข้อ ก. 2. ข้อ ข. 3. ข้อ ค. 4. ข้อ ง.
96. ข้อใดมีคําตายมากที่สุด
1. วรรค ก. และ ข. 2. วรรค ข. และ ค.
3. วรรค ข. และ ง. 4. วรรค ก. และ ค.
ให้ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 97 – 99
(1) พริกเผ็ดผสมเข้า กะปิเคล้ากระเทียมหอม
(2) หมู่ย่างอร่อยลิ้น ตะละชิ้นอร่ามเหลือง
(3) ส้มตํามะกอกช่อ มะละกอสะเด็ดหลาย
(4) พริกทอดกะข้าวแช่ กะละแมขนุนหวาน
97. ข้อความในข้อ (1) มีเสียงพยัญชนะต้นกี่เสียง
1. 11 เสียง 2. 10 เสียง 3. 9 เสียง 4. 8 เสียง
98. ข้อความในข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์เพียง 4 เสียง
1. ข้อ 1 2. ข้อ 2 3. ข้อ 3 4. ข้อ 4
99. คําครุทุกคําในข้อใดเป็นคําเป็น
1. ข้อ 1 2. ข้อ 2 3. ข้อ 3 4. ข้อ 4

เสียงในภาษาไทย (2)
1. ข้อใดประกอบด้วยคําหรือพยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะเดี่ยวทั้งหมด
1. ผูกงูด้วยมนตรา 2. วิทยาอาคมหมาย
3. ผูกสารบ่เคลื่อนคลาย 4. ด้วยเชือกบาศกระสันพัน
2. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยวมากที่สุด (ไม่นับเสียงซ้ํา)
1. วันพฤหัสเดือนอ้ายขึ้นหกค่ํา 2. กําหนดนําเฝ้าอนงค์อันทรงศักดิ์
3. สองอังกฤษคิดภักดีเป็นที่รัก 4. มาชวนชักให้สนานสําราญกาย
3. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยวซ้ํากันมากที่สุด
1. นุ่งยกนอกดอกวิเศษเกล็ดพิมเสน 2. โจงกระเบนประคดคาดไม่หวาดไหว
3. บ้างใส่เสื้อผ้าระบับเข้มขาบใน 4. ข้างนอกใส่ครุยกรองทองสํารด
4. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดียวกันมากที่สุด
1. เรือชัยไวว่องวิ่ง รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม
2. เรือสิงห์วงิ่ เผ่นโผนโจนตามคลื่นฝืนฝ่าฟอง
3. หวีเกล้าเจ้าสระสาง เส้นเกศสลวยรวยกลิ่นหอม
4. ชะแวงแฝงฝั่งแนบ ชะวาดแอบแปบปนปลอม
5. คําในข้อใดออกเสียงควบกล้ําทุกคํา
1. กลวง แปรก ควาย ตรอง หลั่น 2. แขวน กลัว แตร กริช ครุย
3. สรวล ครบ กล้า ปรัก ปลาต 4. เกล็ด คลาด หวาด ปลาย กราบ
6. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะควบกล้ํามากที่สุด
1. อย่าเล่นสนุกสนานครื้นเครงบนซากปรักหักพัง
2. ครอบครัวนี้รวมพลังสู้กับผีพรายในนิทานปรัมปรา
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (26)
3. เหล่าวัวควายเดินกินน้ําบนหาดทรายใกล้บ่อสร้าง
4. นกปรอดตัวเล็กขาวปลอดบินปร๋อไวยังกะปรอท
7. เสียงควบกล้ําในข้อใดไม่ปรากฏในระบบเสียงภาษาไทย
1. บรั่นดี 2. นิวเคลียส 3. อิเควเตอร์ 4. เพนกวิน
8. ข้อใดพยางค์แรกไม่มเี สียงพยัญชนะสะกด
1. โฆษณา 2. กรรมาธิการ 3. วาตภัย 4. ทิฐิ
9. ข้อใดมีคําที่มีตัวสะกดมากที่สุด
1. อันบ่วงกรรมทําไว้ในปางหลัง เป็นพืชยังปานนี้ให้มีผล
2. หว่านพืชดีผลดีมีแก่ตน หว่านพืชชั่วกลั้วผลที่คับแค้น
3. อันความจริงข้อนี้มีมาแล้ว ไม่คลาดแคล้วเป็นอื่นทุกข์หมื่นแสน
4. จะเปลี่ยนชั่วให้ดีมีมาแทน ถึงแม้นแมนแม่นไม่เปลี่ยนได้เอง
10. คําขวัญต่อไปนี้มีเสียงพยัญชนะสะกดกี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ํา)
“รักในหลวง ห่วงลูกหลาน ช่วยกันต้านยาเสพติด”
1. 5 เสียง 2. 6 เสียง 3. 7 เสียง 4. 8 เสียง
11. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะสะกดน้อยที่สุด (นับทุกเสียง)
1. ฉันชอบนั่งดูดาวพราวรังสี 2. อันเป็นที่ชื่นชมอารมณ์ฉัน
3. รัศมีสีแสงแข่งตะวัน 4. ในสวรรค์สงสัยว่าไม่มี
12. ข้อความต่อไปนี้มีพยางค์ที่ปรากฏเสียงพยัญชนะท้ายกี่พยางค์
“มัวแต่พูดว่า ‘จะ จะ’ อยู่นั่นเอง ทําไมไม่ลงมือเสียที”
1. 7 พยางค์ 2. 8 พยางค์ 3. 9 พยางค์ 4. 10 พยางค์
13. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะสะกดมากที่สุด (ไม่นับเสียงซ้ํา)
1. จงรู้จักรักษาคุณค่าหญิง 2. อย่าทอดทิ้งทางงามทุกความหมาย
3. แม้นราคีมีหมองต้องเสียดาย 4. จะอับอายออกนามคนหยามเรา
1. ข้อ 1 2. ข้อ 2 3. ข้อ 3 4. ข้อ 4
14. ข้อใดมีคําที่มีเสียงพยัญชนะสะกดเสียงเดียวกันมากที่สุด
1. พยัคฆ์ใหญ่ครุฑยักษ์สมัครสมาน ยอยศมารมนุษย์เหนือพุทธะ
2. เมื่อพบลาภภาพนั้นพลันกลับหาย สรรพสิ่งวอดวายวับไปกับตา
3. นุชนาฏพลาดพลัดกษัตรา มิอาจมาทรงราชรถบุษบางาม
4. ไทยล้วนรุ่มรวยด้วยผลไม้ จิตใจก็สวยใสงดงามจริง
15. ข้อใดมีคําที่มีเสียงสระต่างกับข้ออื่น
1. กะทันหัน ซักไซ้ อะไหล่ 2. เยาว์วัย ไผท เผ่าพันธุ์
3. มักกะสัน บรรเทา ลําไย 4. บรรลัย ย่อมเยา สําปะหลัง
16. ข้อใดมีคําที่ประกอบด้วยเสียงสระเดี่ยวทุกคํา
1. สิ่งแวดล้อมกําลังเสื่อมลงอย่างมาก 2. อันเนื่องมาจากการกระทําของมนุษย์เอง
3. โลกจะสวยงามได้ด้วยสองมือของคน 4. จงมาพิทักษ์ธรรมชาติ ลําธาร และป่าไม้
17. ข้อใดมีคําที่ประสมสระเดี่ยวสั้นมากที่สุด (ไม่นับเสียงซ้ํา)
1. ยิ้มกันวันละนิดจิตแจ่มใส 2. ครอบครัวคือกําแพงแห่งชีวิต
3. ขับรถถูกกฎช่วยลดอุบัติเหตุ 4. อย่ารักเหากว่าผม อย่ารักลมกว่าน้ํา

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (27)


18. ข้อใดมีสระเดี่ยวเสียงยาวน้อยที่สุด (ไม่นับเสียงซ้ํา)
1. เสียงปี่ตอดแตรต่อสีซอรับ 2. ได้ระเบียบเรียบงามสักสามร้อย
3. ปี่พาทย์คอยบรรเลงเพลงสดับ 4. กลองขยับมือถี่ตีออกรัว
19. ข้อใดมีจํานวนพยางค์ที่ประกอบด้วยสระลดรูปมากที่สุด
1. กวนขนม ทุ่มทุน ทางขนาน 2. ปลดปลง ปกป้อง ครบครัน
3. ตกใจ สิ้นเคราะห์ กราบกราน 4. เกรี้ยวกราด กลบเกลื่อน เกรงกริ่ง
20. ข้อใดมีคําที่ประกอบด้วยเสียงสระประสมทุกคํา
1. เฟื่องฟ้า ร่ํารวย เสียหน้า 2. มัวหมอง เชื่อใจ เลิศล้ํา
3. เปรี้ยวปาก เกรอะกรัง พร่ําเพรื่อ 4. เรื่องราว เพลี่ยงพล้ํา แท่นพิมพ์
21. ข้อใดมีพยางค์ที่ใช้สระประสมมากที่สุด
1. นึกเฉลียวเสียวทรวงถึงดวงจันทร์ 2. กรับประสานสวบสวบส่งเสียงใส
3. ทั้งหวายตรวนล้วนเครื่องที่ลําบาก 4. พลุกระจายช่อช่วงดังดวงเดือน
22. ข้อใดมีสระประสมมากที่สุด
1. เพียนทองงามดั่งทอง ไม่เหมือนน้องห่มตาดพราย
2. ปลาเสือเหลือที่ตา เลื่อมแหลมกว่าปลาทั้งปวง
3. เนื้ออ่อนอ่อนแต่ชื่อ เนื้อน้องฤๅอ่อนทั้งกาย
4. คางเบือนเบือนหน้ามา ไม่งามเท่าเจ้าเบือนชาย
23. ข้อใดไม่มเี สียงสระประสม
1. ศาสนาสอนสั่งให้ ประพฤติดี 2. หนึ่งยุติธรรมไป่มี เลือกผู้
3. ประพฤติเพื่อประโยชน์ศรี สวัสดิ์ทั่ว กันแฮ 4. สามสิ่งควรรอบรู้ เคารพเรื้องเจริญคุณ
24. ข้อใดไม่มเี สียงสระประสม
1. มโนมอบพระผู้ เสวยสวรรค์ 2. พูดมากเปล่าเปลืองปน ปดเหล้น
3. สิ่งใดในโลกล้วน เปลี่ยนแปลง
4. คําแสลงเสียดแทงระคน คําหยาบ หยอกฤๅ
25. ข้อใดไม่มสี ระประสม
1. พิเคราะห์น้ําสมคําบุราณกล่าว 2. หอมควันธูปเทียนตรลบอยู่อบอาย
3. ตาข่ายแก้วปักกรองเป็นกรวยห้อย 4. บ้างกอบปรายเบี้ยโปรยอยู่โกรยกราว
26. ข้อความต่อไปนี้ส่วนใดไม่มเี สียงสระประสม
(1) ย่างเข้าช่วงฤดูหนาวในจังหวัดนครพนมตอนปลายปี (2) อากาศบริเวณนั้นออกจะหนาวเย็น
ถึงขนาดต้องห่อหุ้มร่างกายเพิ่มความอบอุ่น (3) ทั้งนี้ก็ด้วยอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกที่พัดผ่านมา
จากประเทศเพื่อนบ้าน (4) ตั้งแต่เวียดนามถึงสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่อยู่ฝั่งตรงข้าม
แม่น้ําโขง
1. ส่วนที่ (1) 2. ส่วนที่ (2) 3. ส่วนที่ (3) 4. ส่วนที่ (4)
27. ข้อความต่อไปนี้มีคําที่ประกอบด้วยสระประสมกี่คํา (ไม่นับคําซ้ํา)
จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู
ไม่ควรพูดอื้ออึงขึ้นมึงกู คนจะหลู่ล่วงลามไม่ขามใจ
แม้นจะเรียนวิชาทางค้าขาย อย่าปากร้ายพูดจาอัชฌาสัย
จะซื้อง่ายขายดีมีกําไร ด้วยเขาไม่เคืองจิตระอิดระอา
1. 5 คํา 2. 6 คํา 3. 7 คํา 4. 8 คํา

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (28)


28. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์น้อยที่สุด (ไม่นับเสียงซ้ํา)
1. เติมชีวิตฟูมฟักเจ้านักหนา 2. สูงเกินคนคว้าดอกมาดมได้
3. บัดนี้เจ้าเติบใหญ่แตกก้านกิ่ง 4. นานเพียงไหนจะถนอมดอมกลิ่นเจ้า
29. ข้อใดมีวรรณยุกต์เหมือนคํา “นกคุ่ม” ทุกคํา
1. ทุกเส้น ยกยอด ชิดชอบ 2. รักส้ม คุกเข่า ฟ้ารั่ว
3. เล็ดลอด เล้าไก่ รู้หลัก 4. ก๊กเก่า เย้าหยอก คิดว่า
30. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์เหมือนคํา “ขดลวด” ทุกคํา
1. รสชาติ อบอ้าว ปากบอน 2. แจ่มจ้า น่องไก่ ไหล่เขา
3. ข่าวล่า บดบัง ล่องหน 4. สร่างไข้ ปกป้อง จะแจ้ง
31. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ในข้อความ
“สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น”
1. หากใจมุ่งมั่นไร้แปรผัน 2. เด็กเก่งมักขวนขวายสร้างสรรค์
3. รีบเกี่ยวข้าวให้ทันวันเสาร์ 4. บุกบั่นมุ่งสร้างบ้านชวนฝัน
32. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบทั้ง 5 เสียง
1. ประหยัดวันนี้สบายวันหน้า 2. สมบัติเมาเดินเซถลาหัวทิ่ม
3. หมึกแดงแผลงฤทธิ์ให้รสอร่อย 4. จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ
33. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบ 5 เสียง
1. บรรจงปลูกแต่ต้นยังน้อยนิด 2. จะหอมกลิ่นลั่นทมที่ถูกใจ
3. ต้องเตรียมใจรอดอกเจ้าร่วงมา 4. ผ่านร้อนหนาวกี่คราวครั้งยังยืนต้น
34. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบทุกเสียง
1. ประเทืองฟ้าบ่าฝันนิรันดร 2. นิรมิตวิจิตรกรรมร่ําเฉลย
3. ระยับร้อยพลอยเพชรเกล็ดมณี 4. เปล่งลําแสงสีทองปองเป้าหมาย
35. ข้อใดมีวรรณยุกต์ครบทุกเสียง
1. บ้านใดไร้สุข ทุกข์ครอบขังตราบสิ้น 2. ชีวินไร้สุข ทุกคนคิดหม่นหมอง
3. บ้านใดมีสุข ทั่วทุกคนใฝ่ปอง 4. พ่อแม่พี่น้อง มีสุขทุกนาที
36. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ไม่ครบทุกเสียง
1. เวลานี้เธออยู่ที่ไหนหนอ 2. ยังจําได้สายลมแห่งความรัก
3. น้ําค้างหยดแตะแต้มบนแก้มหญ้า 4. ข้าเก็บดอกหญ้ามาทัดหู
37. ข้อใดมีวรรณยุกต์ไม่ครบห้าเสียง
1. เหม่อจ้องมองฟ้าหาดาวส่อง 2. จิตหม่นหมองสองมือล้าพาอดสู
3. สิ่งเคยรักของที่ห่วงมาเป็นศัตรู 4. ชีวิตที่เหลืออยู่ คืออะไรไม่รู้เลย
38. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ไม่ครบห้าเสียง
1. ฉันรักภาษาไทยมากที่สุด 2. ฉันชอบอ่านวรรณคดีไทยมาก
3. ฉันภาคภูมิใจในภาษาไทยของเรา
4. เพื่อนของฉันมักกล่าวว่าภาษาไทยค่อนข้างยาก
39. ข้อใดมีคําทุกคํามีจํานวนพยางค์เท่ากับ “กลไก”
1. ทิวทัศน์ ผลกรรม พลีชีพ 2. กิจกรรม คุณภาพ จักจั่น
3. เกียรติยศ ฆาตกรรม จัตุรัส 4. กรมหลวง จิตแพทย์ ซอมซ่อ

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (29)


40. ข้อใดมีจํานวนพยางค์น้อยที่สุด
1. คณะรัฐบุรุษ 2. ประชาธิปไตย
3. ผลิตภัณฑ์ชุมชน 4. ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
41. ข้อใดมีจํานวนพยางค์มากที่สุด
1. คณะวิทยาศาสตร์ 2. คณะมนุษยศาสตร์
3. คณะวิจิตรศิลป์ 4. คณะแพทยศาสตร์
42. ข้อใดเป็นพยางค์ปิดทั้งหมด
1. ลงเขื่อนลั่นดาลทันใด 2. เร่งรัดจัดพลอาสา
3. ขึ้นประจําเสมาทุกด้าน 4. ประตูเมืองสี่ทิศให้ปิดบาน
43. ข้อใดมีจํานวนพยางค์ปิดน้อยที่สุด
1. ลําพูรายพรายพร้อยหิ่งห้อยจับ 2. สว่างวับแวววามอร่ามเหลือง
3. เสมอเม็ดเพชรรัตน์จํารัสเรือง 4. ค่อยประเทืองทุกข์ทัศนาชม
44. ข้อใดมีโครงสร้างพยางค์ต่างกับข้ออื่น
1. ขึ้น 2. คับ 3. ซึ้ง 4. นก
45. ข้อใดมีโครงสร้างพยางค์เหมือนกับคํา “บรรพบุรุษ”
1. องค์อวตาร 2. อินทรชิต 3. กัลปพฤกษ์ 4. วรรณสุคนธ์
46. คําในข้อใดมีโครงสร้างพยางค์เหมือนคําว่า “พรรณนา”
1. ชนนี 2. ปรัชญา 3. ทรรศนา 4. ดุษฎี
47. ข้อใดมีโครงสร้างพยางค์เหมือนคําว่า “ชันษา”
1. กัณหา 2. มารยา 3. ปริศนา 4. จินตหรา
48. คําในข้อใดมีโครงสร้างพยางค์เหมือนกันทั้งสองคํา
1. ตั้งร้าน 2. ข้างขึ้น 3. คล่องแคล่ว 4. ทรุดโทรม
49. คําในข้อใดมีโครงสร้างพยางค์เหมือน “ชาติภูมิ”
1. นพมาส 2. เทศกาล 3. เมรุมาศ 4. ภาพยนตร์
50. ข้อใดประกอบด้วยพยางค์คําตายทั้งหมด
1. กฎเกณฑ์ 2. ผลลัพธ์ 3. พิษสง 4. อุกฤษฎ์
51. ข้อใดมีพยางค์คําเป็นน้อยที่สุด
1. ตับเหล็กลวกหล่อนต้ม เจือน้ําส้มโรยพริกไทย
2. โอชาจะหาไหน ไม่มีเทียบเปรียบมือนาง
3. เทโพพื้นเนื้อท้อง เป็นมันย่องล่องลอยมัน
4. เรือม้าหน้ามุ่งน้ํา แล่นเฉื่อยฉ่ําลําระหง
52. ข้อใดไม่มพี ยางค์คําตาย
1. ไม้แก้วกางกิ่งพิงกับกิ่งเกด 2. ฝูงโนเรศขันขานประสานเสียง
3. น้ําตาคลอท้ออกเห็นนกเรียง 4. เหมือนเรียมเคียงร่วมคูเ่ มื่ออยู่เรือน
53. ข้อใดมีคําตายน้อยที่สุด
1. ทั้งไพร่นายรายเรียงกันเรียดไป ตัดใบไม้มุงเหมือนหลังคาบัง
2. พระเปรมปรีดิ์ดีใจอยู่ในพักตร์ มิให้ประจักษ์คนทั้งหลาย
3. คําโบราณท่านผูกถูกทุกสิ่ง เขาว่าลิงจองหองมันพองขน
4. เสพอาหารหวานคาวเมื่อคราวยาก ล้วนของฝากเฟื่องฟูค่อยชูชื่น

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (30)


54. ข้อใดมีคําตายมากที่สุด
1. น้ําตาเปรียบเหมือนเพื่อน จะตักเตือนอนุสรณ์
2. เศร้าสุขทุกข์ม้วยมรณ์ รื่นเริงใจใช้น้ําตา
3. ระบายความในใจจิต จึงเหมือนมิตรเสน่หา
4. คู่ทุกข์คู่ชีวา เห็นใจฉันนิรันดร์เอย
55. ข้อใดมีคําตายมากที่สุด
1. ริมโบสถ์ระเบียงเคียงฐานบาตร ดื่นดาษผู้คนอยู่จนสาย
2. เห็นน้ํารักพร่ําออกทั้งดอกผล ไม่มีคนรักรักมาหักสอย
3. ถือขันตีทีนั้นจะขันแตก ทั้งศีลแทรกสูดออกกระบอกหู
4. ถึงมาดแม้นตกยากต้องถากหญ้า จะอาสาแทนน้องอย่าหมองศรี
56. ข้อใดมีคําตายมากที่สุด
1. นักธุรกิจต่างแลกนามบัตรกัน 2. ใฝ่ใจศึกษาเพื่ออนาคตอันรุ่งโรจน์
3. แมวน้อยนอนบิดขี้เกียจอย่างเป็นสุข 4. หลบหลีกให้ห่างจากคนพาลสันดานหยาบ
57. ข้อความต่อไปนี้มีคําเป็นและคําตายกี่คํา
“เกศาปลายงอนงามทรง เอวองค์สารพัดไม่ขัดตา”
1. คําเป็น 12 คํา คําตาย 2 คํา 2. คําเป็น 11 คํา คําตาย 3 คํา
3. คําเป็น 10 คํา คําตาย 4 คํา 4. คําเป็น 9 คํา คําตาย 5 คํา
58. เหง่งหงั่งระฆังเสนาะสนัน่ ระยะพรรษวัสสา
คําประพันธ์ข้างต้นมีครุและลหุตรงกับข้อใด
1. ยอดไม้ก็เอนประดุจดัง ทลายโค่นถล่มลง
2. คราวชอบประกอบกุศลบุญ วรคุณพิสุทธิ์ใส
3. ฟ้าไห้พิรุณดูดุจไห้ ชลไหลฉะอ้อนดิน
4. หรีดหริ่งระงม
ใช้คําประพันธ์ต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 59 – 61
“ทั้งนอกเมืองในเมืองเนืองมา พร้อมกันยังหน้าศาลากลาง”
59. คําประพันธ์ข้างต้นมีเสียงสระเดี่ยวกี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ํา)
1. 3 เสียง 2. 4 เสียง 3. 5 เสียง 4. 6 เสียง
60. คําประพันธ์ข้างต้นมีเสียงพยัญชนะท้ายกี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ํา)
1. 4 เสียง 2. 5 เสียง 3. 6 เสียง 4. 7 เสียง
61. คําประพันธ์ข้างต้นมีเสียงวรรณยุกต์ใดบ้าง (ไม่นับเสียงซ้ํา)
1. สามัญ เอก โท ตรี จัตวา 2. สามัญ โท ตรี จัตวา
3. เอก โท ตรี จัตวา 4. สามัญ เอก ตรี จัตวา

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (31)


คําไทยแท้และคําภาษาต่างประเทศ
ลักษณะของคําไทยแท้
1. คําไทยแท้ส่วนมากเป็นคําพยางค์เดียว และมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง
เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตุ่ม โอ่ง ไห ไร่ นา หมา แมว หนาว ลม ไฟ เธอ ผม กิน ตัว
2. คําไทยแท้มักจะสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด
3. ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ (เสียงสูงต่ํา)
4. คําไทยแท้ไม่มีตัวการันต์
5. คําไทยแท้ไม่ใช้พยัญชนะ ( ฆ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ธ ฒ ณ ศ ษ )

ข้อควรระวัง
1. คําไทยแท้อาจมีมากกว่า 1 พยางค์ ซึ่งเกิดจาก
1.1 การเพิ่มเสียงหน้าศัพท์ เช่น
ชิด กบ เดี๋ยว
คบ จวบ ท้วง
ทํา โดด แอม
ไขว่ ครื้น อุ่ม
นกยาง ลูกดุม โงก

1.2 การกลายเสียงเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของภาษา (การกร่อนเสียง)


หมากม่วง หมากพร้าว หมากปราง
ตัวเข้ ตัวขาบ ตัวกวด
ตาวัน ตาปู ตากร้า
ต้นเคียน ต้นโก ต้นไคร้
ฉันนั้น ฉันนี้ ฉาดฉาด
สายเอว สายดือ สายดึง

คําบางคําที่สะกดตรงตามมาตราอาจไม่ใช่คําไทยแท้
โลก กาย พน ชน ราม ธน มน กนก วัย ชัย อภัย อาลัย จมูก เดิน
ตะบันหมาก ละออง บายศรี เลอโฉม โง่เขลา โปรด กราบ ทาย ปรุง ติ แข็ง

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (32)


คําภาษาต่างประเทศ
ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต
1. บาลีใช้สระ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ 1. สันสกฤตใช้สระ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
เช่น อริยะ สาระ อิสี อุตุ เสล โมลี *เพิ่ม* ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ไอ เอา
เช่น ฤษี ฤๅษี ฤดู กฤษณ์ ไมตรี ไพศาล
เมาลี เปาราณ

2. บาลีใช้ “ส” เช่น สาสนา สิสสะ สันติ วิสาสะ 2. สันสกฤตใช้ ศ,ษ เช่น ศาสนา ศิษย์
สาลา สิริ สีสะ สุกกะ สูญ ศานติ พิศวาส ศาลา ศรี ศีรษะ ศุกร์ ศูนย์

3. บาลีใช้ “ฬ” เช่น จุฬา กีฬา ครุฬ เวฬุริยะ 3. สันสกฤตใช้ “ฑ” เช่น จุฑา กรีฑา บีฑา
ครุฑ ไพฑูรย์

4. บาลีใช้พยัญชนะเรียงพยางค์ เช่น กิริยา สามี ฐาน 4. ใช้อักษรควบกล้ํา / พยัญชนะประสม


ถาวร ปทุม เปม ปิยะ ปฐม ปชา ปกติ ภัทท ปีติ เช่น กริยา สวามี สถาน สถาวร ปัทมะ
จิต เปรม ปรียะ ประถม ปรกติ ภัทร ปรีติ

5. บาลีใช้ตัวสะกดและตัวตามตัวเดียวกัน เช่น ธัมม 5. สันสกฤตใช้ตัว “รร” เช่น ธรรม กรรม


กัมม มัคค สัคค สัพพ วัณณ สวรรค์ สรรพ

6. บาลีมีหลักตัวสะกดตัวตามที่แน่นอน
พยัญชนะวรรค (เราสังเกต......................)

พยัญชนะวรรค แถวที่ 1 แถวที่ 2 แถวที่ 3 แถวที่ 4 แถวที่ 5


วรรคกะ (กัณฑชะ) ก ข ค ฆ ง
วรรคจะ (ตาลุชะ) จ ฉ ช ฌ ญ
วรรคฏะ (มุทธชะ) ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
วรรคตะ (ทันตชะ) ต ถ ท ธ น
วรรคปะ (โอษฐชะ) ป ผ พ ภ ม
เศษวรรค ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ ๐

พยัญชนะแถวที่ 1 เป็นตัวสะกด ตามด้วยพยัญชนะแถวที่ 1 และ 2


อุกกาบา สักกะ สักการะ จักกะ ตักกะ ภิกขุ
ภิกขา จักขุ รุกขะ ทุกข์ กักขฬะ อักขร
ยักข์ สิกขา ปัจจุบัน สัจจะ ปัจจัย มัจจุ
โสรัจจะ นัจจะ อุจจาระ ปัจเจก ทิฏฐิ(ทิฐิ) รัฏฐ(รัฐ)
อัฏฐ(อัฐ) บุปผา ปัปผาสะ

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (33)


พยัญชนะแถวที่ 3 เป็นตัวสะกด ตามด้วยพยัญชนะแถวที่ 3 และ 4
อัคคะ อัคคี มัคคะ พยัคฆ์ อุคโฆส วิชชา เวชช มัชฌิม อัชฌาสัย
อุปัชฌาย์ วุฑฒิ (วุฒิ) อัฑฒ (อัฒ) วัฑฒน (วัฒน) สิทธิ พุทธ สัทธา ยุทธ
ทัพพะ นิพพาน ลัพภ์ สมุทท ลัทธิ

พยัญชนะแถวที่ 5 เป็นตัวสะกด ตามด้วยพยัญชนะแถวที่ 1 – 5 ในวรรคเดียวกัน


สังกร อังกูร สังข์ สังขาร สงฆ์ ชงฆ์ อังคาร องค์ สัญญา กัญญา กุญจร
ปัญจร บุญญ ธัญญะ กุณฑล มณฑล สัณฐาน กัณฑ์ เกณฑ์ ภัณฑ์ มัณฑนะ
มณฑป สันติ สันธาน สันถาร สนทนา นันท์ คัมภีร์ สัมผัส สมภาร สมโพธิ

การนําภาษาบาลีและสันสกฤตมาใช้ บางครั้งเราก็ใช้ทั้งสองคําในความหมายเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน
คําที่มาจากภาษาบาลี คําที่มาจากภาษาสันสกฤต ความหมายว่า
อิทธิ ฤทธิ์ อํานาจศักดิ์สิทธิ์
สิงคาร ศฤงคาร ความรัก ความโอ่โถง
ติณ ตฤณ หญ้า
อิสริยะ ไอศวรรย์ ความเป็นใหญ่
เวชช แพทย์ แพทย์
วุฒิ พฤฒิ ภูมิรู้ ความเจริญ
อุตุ ฤดู เวลาตามกําหนด
รุกข์ พฤกษ์ ต้นไม้
อัคค อัคร เลิศ ยอด
สัจจะ สัตย์ ความซื่อ ความจริง
อัคคี อัคนี ไฟ
วิชา วิทยา ความรู้

บางครั้งภาษาไทยรับมาใช้ทั้งสองภาษา แต่ใช้ในความหมายที่ต่างกัน
บาลี ความหมาย สันสกฤต ความหมาย
อัจฉริยะ เก่งกาจ น่าพิศวง อัศจรรย์ น่าพิศวง
กีฬา การแข่งขัน การออกกําลังกาย กรีฑา การแข่งขันประเภทลู่
การแข่งขันประเภทลาน
เขต กําหนดแดน ขอบ เกษตร การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์
ฐาน ที่ตั้ง ที่รองรับ สถาน ที่ตั้ง ประการ
สถานะ ความเป็นไป ความเป็นอยู่
กิริยา อาการ มารยาท ความประพฤติ กริยา คําที่แสดงกิริยาอาการ
รัฐ แว่นแคว้น ราษฎร ประชาชน พลเมือง

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (34)


เปรียบเทียบคําบาลีและสันสกฤต

คําบาลี คําสันสกฤต คําสันสกฤต คําบาลี


จริยา ....................................... อัศจรรย์ .......................................
ภริยา ....................................... ไอศวรรย์ .......................................
มัจจุ ....................................... อารยะ .......................................
อิจฉา ....................................... จักษุ .......................................
มัจฉา ....................................... ภิกษุ .......................................
อัจฉรา ....................................... พฤกษา .......................................
ปุจฉา ....................................... ศึกษา .......................................
นิจ ....................................... อักษร .......................................
สัจจะ ....................................... ลักษณะ .......................................
ขัตติยะ ....................................... อาทิตย์ .......................................
จิต ....................................... อาตมา .......................................
วัตถุ ....................................... เกียรติ .......................................
วิตถาร ....................................... ราตรี .......................................
หัตถี ....................................... บุตร .......................................
อิตถี ....................................... มิตร .......................................
จตุ ....................................... สวัสดี .......................................
รัฐ ....................................... ศาสดา .......................................
ทิฐิ ....................................... แพทย์ .......................................
บุปผา ....................................... เกษตร .......................................
กัปป์ ....................................... โบสถ์ .......................................
อัคคี ....................................... ศรัทธา .......................................
อัชฌาสัย ....................................... วิเศษ .......................................
อิทธิ ....................................... มัธยม .......................................
วุฒิ ....................................... อัธยาศัย .......................................
อุตุ ....................................... ฤๅษี .......................................
อาญา ....................................... วิทยา .......................................

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (35)


นาสา ....................................... วิทยุ .......................................
ปัญญา ....................................... มารดา .......................................
ปัญหา ....................................... สามานย์ .......................................
กัณหา ....................................... กฤตติกา .......................................
หทัย ....................................... นฤคหิต .......................................
ติณ ....................................... รัศมี .......................................
กิริยา ....................................... ปรียา .......................................
ฐานะ ....................................... ปรีดา .......................................
สามี ....................................... ปรกติ .......................................
ถาวร ....................................... ประถม .......................................
ฐาปนา ....................................... ประทุม .......................................
ฐาปนิก ....................................... ประเทศ .......................................
สาวก ....................................... สถูป .......................................
สิริ ....................................... สมัคร .......................................
สันติ ....................................... ศิลา .......................................
สุริยะ ....................................... ดรรชนี .......................................
มเหสี ....................................... ศูนย์ .......................................
วิริยะ ....................................... อธิษฐาน .......................................
วิสาสะ ....................................... อิศวร .......................................
อมตะ ....................................... อุทยาน .......................................
ขีร ....................................... อาขยาน .......................................
ขีณ ....................................... ประภัสสร .......................................
ขณะ ....................................... อวกาศ .......................................
มโน ....................................... สัปตะ .......................................

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (36)


ภาษาเขมร หลักสังเกต ได้แก่
1. คําเขมรมักสะกดด้วยพยัญชนะ จ ญ ร ล ส
เผด็จ เสด็จ เสร็จ ตรวจ ผจญ เจริญ เผชิญ บําเพ็ญ ตระการ
จาร กํานัล ทูล ประมวล สรรเสริญ จัญไร อัญขยม ตรัส
2. คําเขมรมักใช้พยัญชนะควบกล้ํา เช่น
กรวด กระบือ เกลอ ขลาด กระแส ไพร ตระกอง โปรด กราน
กรม กระทรวง กระเพาะ กระจอก โขลน เพลา กระโปรง คลัง
ควาญ ประชุม ประกายพรึก ประเดิม ปรุง เพลิง ผลาญ
3. คําเขมรมักใช้อักษรนํา เช่น
ขยม โขมด เขม่า ขนอง เสวย เขนย จมูก ถวาย ฉนํา เฉลียง
ฉงาย ขนุน ขยํา ขนม จรวด ฉงน ฉลอง ฉลาด เฉลียว ฉบับ
สนิม ขวนขวาย โตนด ขนง สนาน ฉนวน ถนน
4. คําเขมรมักขึ้นต้นด้วย “อํา” เช่น กํา คํา จํา ชํา ดํา ตํา ทํา สํา อํา
กําหนด กําเนิด คํารบ จําแนก จําหน่าย ชํานาญ ชํารุด ดําเนิน ดํารง
ดําริ ดํารัส ตํารวจ ตํารา ทํานบ ทําเนียบ สําราญ สํารวล อํานวย กําจัด
5. คําเขมรมักแผลงคําได้ เช่น
5.1 แผลง ข เป็น กระ
ขจาย (กระจาย) ขจอก (กระจอก) แขส (กระแส)
ขทง - กระทง ขดาน - กระดาน ขจัด - กระจัด
ขม่อม - กระหม่อม ขโดง - กระโดง
5.2 แผลง ผ เป็น ประ - บรร
ผจง (ประจง บรรจง) ผทม - ประทม บรรทม ผสม - ประสม บรรสม
เผชิญ - ประเชิญ ลาญ - ผลาญ ประลาญ ผทับ - ประทับ
ผชุม - ประชุม เผดียง - ประเดียง ผจบ - ประจบ บรรจบ
ผสาน - ประสาน บรรสาน ผสบ - ประสบ ผดุง - ประดุง
แผก - แผนก เผดิม - ประเดิม ผจาน - ประจาน
5.3 แผลง เป็น บัง บํา บัน
เผอิญ (บังควร) เพ็ญ - บําเพ็ญ เหิน - บันเหิน
ควร - บังควร ปราบ - บําราบ เดิน - ดําเนิน
คม - บังคม เปรอ - บําเรอ ลือ - บันลือ
เกิด - บังเกิด บัด - บําบัด โดย - บันโดย
คับ - บังคับ ปราศ - บําราศ ตาล - บันดาล
5.4 แผลง เป็น ๐ และแทรกพยัญชนะ
เกตา (กําเดา) ขลัง - กําลัง จง - จํานง ติ - ตําหนิ
แหง - กําแหง อวย - อํานวย เถกิง - ดําเกิง ชาญ – ชํานาญ
ถกล - ดํากล อาจ - อํานาจ เถลิง - ดําเลิง พัก - พํานัก
ขจร - กําจร สรวล - สํารวล เสวย - สังเวย ทลาย – ทําลาย
ถวาย - ตังวาย ฉัน - จังหัน กราบ - กําราบ เทียบ– ทําเนียบ
เสร็จ - สําเร็จ ตรัส - ดํารัส ตริ - ดําริ ทูล – ทํานูล
ตรวจ – ตํารวจ ตรง - ดํารง ตรับ - ตํารับ ทรง – ธํามรงค์
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (37)
5.5 คําเพิ่มเติมนอกกฎ คําเขมร
แข ศก ศอ เรียม เฉนียน กระจาย กระดาน กระโดง ประจง ประจบ
ประทม จัด ฉะเชิงเทรา เชวง ชะเอม เฌอ เฌอเอม เดิม เดิน โดม แถง
ไถง ทบวง ทะลาย ทหาร ผกาย ผกา ละเอียด ระบือ ลําเนา สไบ เสน่ง
เสนียด สาแหรก อุตพิด แสะ ระบือ ฉบับ เขม่า

คําไทยแท้และคําที่มาจากภาษาต่างประเทศ
1. ข้อใดเป็นคําประสมที่ประกอบด้วยคําไทยกับคํายืมทุกคํา
1. โรงพัก ตู้โชว์ 2. กินเจ ข้าวสาร
3. ชาวโลก น้ําพุ 4. ฝูงชน ลําแข้ง
2. ข้อใดมีคํามาจากภาษาบาลีทุกคํา
1. พิสดาร วิทยุ มัจฉา 2. ทิฐิ ลักขณา วุฒิ
3. บุญ บารมี เชษฐา 4. องค์ ครรภ์ สังข์
3. ข้อใดมีคําที่มาจากภาษาบาลีทุกคํา
1. อมตะ กีฬา วัตถุ 2. ถาวร นิพพาน นิตยสาร
3. ภักดี นิมิต มัธยม 4. พิสดาร ปัจฉิม ธัญบุรี
4. ข้อใดมีคําสันสกฤตทุกคํา
1. จักร มรรค ปัญจวัคคีย์ 2. ปูชนีย์ สัพพัญญู โอฬาร
3. วรรณะ พยัคฆ์ อัธยาศัย 4. สังสรรค์ สุวรรณ พัสดุ
5. ข้อใดไม่มคี ําที่มาจากภาษาสันสกฤต
1. ร้านศรีวิชัย สินทรัพย์ธานี 2. หอศิลป์เจ้าฟ้า องค์การเภสัชกรรม
3. หมู่บ้านกฤษฎา เมืองทองนิเวศน์ 4. ศึกยุทธหัตถี หมู่บ้านโอฬาร
6. ข้อใดมีคําที่มาจากภาษาต่างประเทศมากที่สุด
1. จงเจริญชเยศด้วย เดชะ 2. ปราชญ์แสดงดําริด้วย ไตรยางค์
3. อ้าจอมจักรพรรดิผู้ เพ็ญยศ 4. บัญฑิตวินิจเลิศ แถลงสาร

คําไทยแท้และคําที่มาจากภาษาต่างประเทศ
1. ข้อใดเป็นคํายืมทุกคํา
1. จงกรม จงอาง จรณะ 2. ดรุณ ตรุษ ตฤณ
3. ทําเล ทําลาย ทําเนา 4. ไต่คู้ ไต้ฝุ่น ไตรเพท
2. ข้อใดมีคําภาษาต่างประเทศ
1. จากจวนชวนกันลงบันได 2. ผีซ้ําด้ําพลอยให้ผวา
3. ท่านผู้ชายผู้หญิงก็ตามมา 4. แวะหาม้าสีหมอกบอกคดี
3. ข้อใดมีคําภาษาต่างประเทศมากที่สุด
1. ใครมีลูกว่าง่ายกายปราศไข้ มีใจเสาะหาวิชาขลัง
2. มีเพื่อนฉลาดเฉลียวเที่ยวเหนี่ยวรั้ง มีเมียฟังถ้อยคําประจําใจ
3. ผู้นั้นดีมีบุญอาจจุนค้ํา โลกให้จําเริญสุขปลดทุกข์ได้
4. ชนทั้งหลายคลายร้อนหย่อนแยงภัย เพราะเขาได้ความสุขปราศทุกข์เจียว

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (38)


4. ข้อใดไม่มคี ํายืมจากภาษาต่างประเทศ
1. พ่อแม่ควรสอนลูกว่ายาเสพย์ติดและเครื่องดื่มมึนเมาเผยแพร่กันอย่างไร
2. การยกตัวอย่างจากรายการโทรทัศน์เพื่อสอนให้ลูกเข้าใจอันตรายเป็นวิธีที่ดี
3. ในกรณีที่ลูกอายุต่ํากว่า 10 ขวบ พ่อแม่ควรอธิบายสั้นๆ ให้เข้าใจง่าย
4. ถ้าสอนอะไรยาวๆ เกี่ยวกับสิ่งที่เด็กไม่รู้จัก เด็กจะเบื่อและสับสน
5. ข้อใดไม่มคี ําต่างประเทศ
1. การทํามาหากินในสมัยนี้มีปัญหามาก
2. คนไทยหันมาประกอบธุรกิจส่วนตัวมากขึ้น
3. นักเรียนไทยได้รับทุนให้เรียนในชั้นสูงมีมากขึ้นทุกปี
4. พ่อค้าที่ร่ํารวยบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลน
6. ข้อใดไม่มคี ําภาษาต่างประเทศ
1. เห็นเขาป่าวร้องมาตามถนน ประหลาดอยู่ผคู้ นแออัด
2. คาดเข็มขัดประจํายามงามสุดใจ พวงมาลัยใส่ข้อมือถือยาดม
3. เพราะแก่หง่อมผอมซูบรูปร่าง แก้มคางไม่ครัดเคร่งเปล่งปลั่ง
4. อวดรู้อวดหลักฮักฮึก ข้าเคยพบรบศึกมาหลายยก
7. ข้อใดไม่มคี ําภาษาต่างประเทศ
1. ถึงทวารโรงหมอก็รอรถ พร้อมกันหมดเดินเรียงเคียงไสว
2. ยุรยาตรเยื้องย่างเข้าข้างใน ตึกนั้นใหญ่กว้างรึสูงสี่ชั้น
3. มีกระดูกคนตายทั้งชายหญิง ประหลาดจริงหลากล้ําทําขันขัน
4. อีกกระดูกคนโบราณที่นานครัน ดูยืนยันเหมือนยังเปรตสังเวชใจ
8. ข้อใดมีคําทีไ่ ม่ได้มาจากภาษาต่างประเทศ
1. พิธี มุกดา สบู่ ถนน 2. ปิ่นโต บํารุง โกดัง บุหงา
3. ประปา สบาย ปั้นหยา กุหลาบ 4. รสชาติ เวที สําเนียง ประสบ
9. คําประพันธ์ข้อใดมีคํายืมจากภาษาบาลีสันสกฤตน้อยที่สุด
1. พระแต่งองค์เป็นพราหมณ์งามลอย เอาเพลิงจ่อจุดเผาสําเภายนต์
2. สองพระองค์อันดํารงอยุธเยศ กระเดื่องเดชเลิศลบจบสถาน
3. ชําระพักตร์หยิบสบู่มาถูล้าง เสร็จสําอางคลาไคลเหมือนใจหมาย
4. เมื่อพระองค์ยังทรงพระพิโรธ ที่ไหนจะโปรดยกโทษให้
10. ข้อความต่อไปนี้มีคํายืมจากภาษาบาลีสันสกฤตกี่คํา
ไว้เป็นมหรสพซร้อง สุขศานติ์
สําหรับราชสําราญ เริ่มรั้ง
บําเทิงหฤทัยบาน ประดิยุทธ์ นั้นนา
เสนอเนตรมนุษย์ตั้ง แต่หล้าเลอสรวง
1. 6 คํา 2. 7 คํา 3. 8 คํา 4. 9 คํา
11. ข้อใดไม่มคี ํายืมจากภาษาเขมร
1. เสียงเสือกวางกลางเนินพนมวัน ให้หวั่นหวั่นวังเวงหวาดฤทัย
2. พวกแตกทัพคงกลับไปกราบทูล เป็นเค้ามูลว่าเราคิดขบถ
3. ทั้งผัวเมียแสนอนาถเพียงขาดใจ สุดอาลัยแล้วก็กอดกันโศกา
4. ไก่ป่าขันแจ้วอยู่แนวไพร เขี่ยคุ้ยขุยไผ่เป็นถิ่นถิ่น

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (39)


12. ข้อใดไม่มคี ําที่มาจากภาษาเขมร
1. จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความเห็นชอบ
2. คุณปู่ทํากนกแก้วลายไทยงามไพจิตร
3. ให้รื่นเริงสุขสําราญเหมือนดอกไม้บานยามเช้า
4. เพลงลาวดําเนินทรายมีทํานองไพเราะอ่อนหวาน
13. ข้อความตอนใดมีคํายืมภาษาต่างประเทศน้อยที่สุด
1 2 3
เมื่อพูดกับบุคคลที่เรายกย่อง / ต้องเลือกใช้คําพูดที่สุภาพ แสดงว่าให้เกียรติ / เมื่อพูดกับผู้ที่มีฐานะทาง
4
สังคมเท่าๆ กัน / อาจใช้คําแสดงความเป็นกันเองได้
1. ตอนที่ 1 2. ตอนที่ 2 3. ตอนที่ 3 4. ตอนที่ 4
14. คําซ้อนในข้อใดประกอบด้วยคําไทยกับคําเขมรทุกคํา
1. ปรับปรุง แลกเปลี่ยน ล้างผลาญ 2. คุ้มกัน ละเอียดลออ ด่าทอ
3. กล้าหาญ บั่นทอน เพื่อนเกลอ 4. โง่เขลา เงียบสงัด ฝุ่นละออง
15. ข้อความต่อไปนี้มีคํายืมภาษาเขมรและภาษาจีนกี่คํา
ห้างสรรพสินค้าที่เพิ่งเปิดใหม่จําหน่ายสินค้ามีคุณภาพสูง เช่น เสื้อผ้า เครื่องใช้ เครื่องเรือนพวกตู้
โต๊ะ เก้าอี้ และนาฬิกาหาลายยี่ห้อ ฉันอยากไปซื้อเสื้อสักตัวไว้ใส่แทนเสื้อตัวโปรดที่ใช้จนเก่าแล้ว
1. ภาษาเขมร 3 คํา ภาษาจีน 4 คํา 2. ภาษาเขมร 2 คํา ภาษาจีน 3 คํา
3. ภาษาเขมร 2 คํา ภาษาจีน 2 คํา 4. ภาษาเขมร 1 คํา ภาษาจีน 3 คํา
16. ข้อใดจําเป็นต้องใช้คําภาษาต่างประเทศ
1. วันนี้สมศรีจะไปรับค่าสปอนเซอร์ที่บริษัทคุณป้าซึ่งอยู่ที่ถนนสาทร
2. สมปองจะใช้หนี้เรา ถ้าเราได้สปอนเซอร์จากการจําหน่ายเครื่องสําอาง
3. ทุกครั้งที่ไปกินข้าวนอกบ้าน คุณแม่จะให้ค่าทิปแก่พนักงาน
4. บริษัทของชูศักดิ์เป็นผู้แทนจําหน่ายลิฟต์แก้วแห่งเดียวในประเทศไทย
17. ข้อใดจําเป็นต้องใช้คําทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
1. ผู้หญิงชอบขับรถเกียร์อัตโนมัติ เพราะง่ายดี
2. นักเรียนโรงเรียนนี้เข้าคิวรอให้บริการต่างๆ เสมอ
3. เขาจับฉลากได้เบอร์หนึ่ง จึงต้องพูดหน้าชั้นเป็นคนแรก
4. เขามีความรับผิดชอบ เพื่อนจึงโหวตให้เขาเป็นหัวหน้าห้อง
18. ข้อใดจําเป็นต้องใช้คําภาษาต่างประเทศ
1. สมชายบอกนงนุชว่าหลังเลิกงานแล้วจะไปเที่ยวคาราโอเกะกัน
2. ผาสุกจะเปิดแฟรนไชส์ขายข้าวแช่สูตรโบราณทั่วกรุงเทพฯ
3. สมพรบอกน้องสาวให้เคลียร์งานให้เรียบร้อยก่อนลาออก
4. สมศักดิ์ชอบสไตล์การแต่งตัวของสมศรี
19. ข้อใดจําเป็นต้องใช้คําทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
1. โรงพิมพ์ส่งงานพิมพ์มาให้ตรวจปรู๊ฟที่สองแล้ว
2. ห้างสรรพสินค้าที่เปิดใหม่มักจะมีของแถมแจกฟรีแก่ลูกค้า
3. นักศึกษาที่เรียนได้เกรดเอห้าวิชาในเทอมใดจะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตในเทอมต่อไป
4. นักกีฬาวีลแชร์ของไทยได้เหรียญทองจากการแข่งขันกีฬาคนพิการที่ประเทศออสเตรเลีย

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (40)


20. คําทับศัพท์ภาษาอังกฤษในข้อใดเขียนถูกต้องทุกคํา
1. วิลลี่ขึ้นแท็กซี่ไปคลินิกเพื่อเอ็กซเรย์กระดูก
2. ดอนไปแบงก์เพื่อแลกดอลล่าร์แล้วเลยเอาเช็คไปขึ้นบัญชี
3. สปาเกตตีและมะกะโรนีที่เสริฟวันนี้ถูกปากมอสทั้งนั้น
4. ก่อนไปพัทยาเจมส์เอารถไปซ่อมเบรกแล้วเปลี่ยนคลัตช์และแบตเตอรี่ใหม่
21. ข้อใดใช้คําภาษาต่างประเทศโดยไม่จําเป็น
1. เวลาไปเที่ยวป่า ฉันชอบสวมกางเกงยีนและหมวกแก๊ป
2. ขณะนี้น้ํามันเบนซินราคาแพงมาก อีกทั้งแก๊สก็กําลังขึ้นราคา
3. พอถึงสนามหลวง คนขับรถเมล์เหยียบเบรกกะทันหันจนเราหัวคะมํา
4. ที่ทํางานของฉันกําลังซ่อมลิฟต์ ที่ห้องทํางานก็ต้องซ่อมสวิตช์ไฟด้วย
22. ข้อใดมีคําภาษาต่างประเทศทีไ่ ม่ควรใช้
1. เวลาขับรถที่มีเกียร์อัตโนมัติ เราไม่ต้องเหยียบคลัตช์ จึงไม่รู้สึกเหนื่อยมาก
2. บริษัทนํารถแบรนด์เนมดังๆ ทั้งเบนซ์ เชฟโรเลต และซีตรองมาให้คณะรัฐมนตรีชม
3. ในการแข่งขันแรลลี่ครั้งที่ 17 ของสมาคม ปรากฏว่ามีผู้สนใจสมัครเข้าแข่งขันเกินกว่าที่คาดหมาย
4. นายกรัฐมนตรีเห็นว่าควรสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของไทย
23. ข้อใดใช้คําภาษาต่างประเทศโดยไม่จําเป็น
1. เมื่อไฟดับควรตรวจดูว่าเป็นเพราะฟิวส์ขาดหรือปลั๊กหลุด
2. เด็กๆ ชอบรับประทานไอศกรีมช็อกโกแลตมากกว่าไอศกรีมกะทิสด
3. ก่อนเข้าแบงก์ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ต้องถอดหมวกกันน็อกและแว่นตาดําออก
4. นักกอล์ฟหลายคนอยากเปลี่ยนวงสวิงให้คล้ายกับไทเกอร์ วูดส์ เพื่อให้ตีลูกได้แม่นและไกล
24. ข้อใดไม่จําเป็นต้องใช้คําทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
1. เขาคิดจะปลูกบ้านแบบบังกะโลสักหลังหนึ่ง
2. เขาจับฉลากได้เบอร์หนึ่ง จึงต้องพูดหน้าชั้นเป็นคนแรก
3. นักศึกษาปีที่ 1 ซ้อมร้องเพลงเชียร์ทุกเย็นตลอดเดือนนี้
4. มหาวิทยาลัยจะจ่ายเงินเป็นเช็ค ถ้าจํานวนเงินเกิน 5,000 บาท
25. ข้อใดไม่จําเป็นต้องใช้คําทับศัพท์
1. ประเทศกรีซเป็นแชมป์ฟุตบอลยูโร 2004
2. ชาวบ้านพอใจที่มีออร์เดอร์สั่งสินค้าโอท็อปมาจากทั่วโลก
3. คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนทมีบทบาทสําคัญในยุคนี้
4. รัฐบาลอนุมัติสร้างที่พักเพิ่มเติม เพื่อต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมเอเปค

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (41)


คําและการสร้างคํา
คือ เสียงพูดที่เปล่งออกมาเพียงครั้งเดียวแล้ว _______________
คําดั้งเดิมซึ่งไม่ได้เกิดจากการรวมกันของคําอื่น ๆ เรียกว่า คํามูล
เมื่อเรานําคํามูลหลายๆคํามารวมกัน อาจสร้างคําได้เพิ่มขึ้นอีกหลายชนิด ได้แก่ _____________________

1. คํามูล หมายถึงคําที่มีใช้ตั้งแต่ดั้งเดิมในภาษาไทย อาจเป็นคําพยางค์เดียวหรือคําหลายพยางค์


เป็นคําไทยแท้หรือคํายืมมาจากภาษาอื่นก็ได้
# คํามูลพยางค์เดียว เป็นคํามูลที่มีพยางค์เดียวโดดๆ และมีความหมายในตัวเอง เช่น น้า ป้า ลิง หมา
ภาษาไทย ได้แก่
ภาษาเขมร ได้แก่
ภาษาบาลี – สันสกฤต ได้แก่
ภาษาอังกฤษ ได้แก่
# คํามูลหลายพยางค์ คือคํามูลที่มี 2 พยางค์ขนึ้ ไป ถ้าแยกพยางค์เหล่านั้นออกจะไม่มี _____________
ภาษาไทย ได้แก่
ภาษาจีน ได้แก่
ภาษาเขมร ได้แก่
ภาษาบาลี – สันสกฤต ได้แก่
ภาษาอังกฤษ ได้แก่

2. คําประสม
คําประสมคือคําที่เกิดจากคํามูล 2 คําขึ้นไปมารวมกัน แล้วเกิดความหมายใหม่โดยคงเค้าความหมาย
เดิมเพื่อใช้เรียกสิ่งใหม่ คํามูลเหล่านั้น ห้าม ความหมาย เหมือน คล้ายหรือตรงข้ามกัน มิฉะนั้นจะกลาย
เป็น คําซ้อนเพื่อความหมาย คําประสมเป็นคํานาม คํากริยา หรือคําวิเศษณ์ก็ได้

โครงสร้างของคําประสม __________________________________________________

1. คํานาม + คํานาม
แม่ยาย พ่อบ้าน รถไฟ คนกรุง สวนครัว กระถางธูป
แผนภูมิ ลูกน้อง แบบเสื้อ ดอกไม้ หางเสือ
เกษตรจังหวัด ขันหมาก ปากน้ํา ไม้เท้า ดินปืน น้ําซุป
ฟองน้ํา น้ําฝน น้ําผึ้ง น้ําทะเล น้ําปลา สวนสัตว์
ตีนแมว หัวหน้างาน หัวคะแนน ทางเท้า เจ้ามือ เจ้าบ้าน
ปากฉลาม คนสวน เจ้ามือ เจ้าบ้าน นายท่า นายทุน
ลูกเสือ ลูกเรือ ลูกมือ เครื่องเงิน ลายมือ แสงอาทิตย์

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (42)


2. คํานาม + คํากริยา
ผ้าไหว้ ยาถ่าย ข้าวตาก หมอดู ที่นอน นักวิ่ง
ไม้ตาย เรือบิน เครื่องเซ่น แท่นพิมพ์ นักเขียน คนใช้
ช่างปั้น ช่างหล่อ เครื่องเขียน เครื่องใช้ นักเรียน นักร้อง
นักบิน นักศึกษา ของเล่น ของกิน ที่อยู่ เรือจ้าง
เรือรบ หมอนวด ม้านั่ง เหล็กดัด รถเข็น ไข่ต้ม
3. คํานาม + คําวิเศษณ์
แกงเผ็ด ปลาเค็ม กล่องดํา มะม่วงมัน รถด่วน เรือด่วน
ปลาแห้ง น้ําแข็ง น้ําหวาน เงินสด รถเร็ว ของเหลว
น้ําสุก น้ําหอม น้ํามัน แกงจืด น้ําจืด ข้าวสวย
กล้วยหอม กระดานดํา น้ําเน่า น้ําเค็ม มดแดง ส้มเขียวหวาน
4. คํานาม + คําบุพบท
คนกลาง กางเกงใน นางใน ของกลาง บ้านนอก เบี้ยล่าง
เครื่องใน ความหลัง คนใน เมืองนอก ชั้นบน หมอนข้าง
5. คํากริยา + คํากริยา
ห่อหมก ต้มยํา พิมพ์ดีด กันสาด กันชน
6. คํากริยา + คํานาม
เรียงความ รองเท้า บังตา ยกทรง เรียงเบอร์ นั่งร้าน
พัดลม ต้มข่า ย่อความ ห้ามล้อ
7. คํานาม + คํากริยา + คํานาม
ผ้าเช็ดหน้า ทางยกระดับ ลวดเย็บกระดาษ จานรองแก้ว
ขอสับหน้าต่าง เครื่องตัดหญ้า ที่เปิดกระป๋อง ที่เขี่ยบุหรี่
เครื่องคิดเลข ที่ทิ้งขยะ ห้องทําครัว ผ้าปูโต๊ะ
ไม้จิ้มฟัน ไม้ตีพริก ของถวายพระ ห้องรับแขก
โต๊ะกินข้าว เครื่องซักผ้า * คนขายขนม * ช่างตัดเสื้อ
เครื่องตัดผม สมุดสะสมแสตมป์ ยารักษาโรคเอดส์ หม้อกรองน้ํา
8. คํากริยา + คํากริยา
ซักซ้อม รับประทาน ขานตอบ เลือกตั้ง ติดตั้ง ติดต่อ
เดินเที่ยว ขนส่ง แก้ไข เดินเล่น ตกแต่ง
9. คํากริยา + คํานาม
ทํางาน ฉีกหน้า แจ้งความ จูงใจ ลอยตัว เข้าใจ
ตั้งใจ ตั้งต้น กินที่ ปิดปาก ตัดถนน วิดพื้น
สะกดรอย วางยา สูบลม วิ่งราว เดินสาย หักหน้า
ไว้ตัว ถือหาง ออกตัว เป็นใจ ตีเข่า หักใจ
10. คํากริยา + คําวิเศษณ์
อวดดี คิดคด คิดร้าย หวังดี ตายด้าน ถือดี
11. คํานาม + คํากริยา
อกแตก ใจแตก หัวหมุน หน้าเสีย ตาขวาง
12. คําวิเศษณ์ + คํานาม
แข็งใจ อ่อนใจ น้อยใจ ดีใจ
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (43)
13. คํานาม + คําวิเศษณ์
ปากหวาน ใจจืด ใจเย็น หัวแข็ง คอแข็ง ใจจืด

คําประสมที่ใช้เรียกสิ่งต่างๆ
อาหาร : ไข่หวาน ไข่ยัดไส้ ไข่ดาว น้ําผลไม้ น้ําอัดลม ลูกอม
อมยิ้ม ทองหยอด แกงส้ม แกงเหลือง แกงจืด อาหารเช้า
อาหารเย็น น้ําพริก ต้มยํา ฝอยทอง ถ้วยฟู น้ําส้มคั้น

ของใช้ : ที่เย็บกระดาษ เตารีด เตาอบ พัดลม เครื่องปรับอากาศ


ผ้าเช็ดหน้า กล่องกระดาษ ผ้ากันเปื้อน ยกทรง ถุงมืออนามัย

บุคคล : ผู้แทน ตัวแทน หัวคะแนน มือปืน คนไข้ ขอทาน


คนงาน คนใช้ นายท่า นายท้าย พ่อบ้าน แม่ครัว

กีฬา : มวยปล้ํา พุ่งแหลน กระโดดไกล ขว้างจักร ทุ่มน้ําหนัก วิ่งผลัด

ส่วนประกอบบ้าน : บานเลื่อน บานพับ บานเกล็ด ลูกบิด วงกบ

คมนาคม : โทรศัพท์เคลื่อนที่ จดหมายลงทะเบียน เรือหางยาว จดหมายด่วน


รถไฟฟ้า เรือดําน้ํา ทางยกระดับ จานดาวเทียม
โทรศัพท์มือถือ ทางคู่ขนาน สะพานแขวน รถด่วน

วิเคราะห์โครงสร้างคําประสมของคําเหล่านี้
1) การศึกษาทางไกล 2) จดหมายลงทะเบียน 3) ทางคู่ขนาน
4) แปรงทาสี 5) ผ้าขนหนู 6) เครื่องกรองแสง
7) โทรศัพท์มือถือ 8) รถลอยฟ้า 9) รถไฟเหาะตีลังกา
10) เครื่องถ่ายเอกสาร

3. คําซ้อน
1. คําซ้อนเพื่อความหมาย คือ การนําคํามูลที่มีความหมายใกล้เคียงหรือเหมือนกันมาซ้อนกัน
คําซ้อนเพื่อความหมาย : คํามูล 2 คําที่มีความหมาย เหมือน / คล้าย / ตรงข้าม มาซ้อนกัน
ซ้อนแล้วความหมายเหมือนเดิม หรือชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น
จิตใจ ซื่อสัตย์ รูปร่าง ข้าทาส ว่างเปล่า
มากหลาย ข่มเหง พัดวี เสื้อแสง เสื่อสาด
ก่อสร้าง เปลี่ยนแปลง พลัดพราก เลวทราม เลือกเฟ้น
หยอกล้อ เศร้าโศก ศึกสงคราม เลือกสรร ร่างกาย

ซ้อนแล้วความหมายแคบหรือเฉพาะเจาะจงมากกว่าคําเดิม เช่น
ขัดถู ใจคอ ปากคอ หน้าตา ดื้อดึง หัวหู เนื้อตัว
หูตา หยิบยืม หลับนอน เชื่อมต่อ ญาติโยม
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (44)
ซ้อนแล้วความหมายกว้างกว่าเดิม เช่น
ถ้วยชาม ข้าวปลา ทุบตี พี่น้อง ทรัพย์สิน
หลักฐาน รากฐาน คัดเลือก

ซ้อนแล้วความหมายเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น
หนักแน่น ดูดดื่ม อ่อนหวาน คับแคบ เดือดร้อน
ยุ่งยาก อบรม มัวหมอง เด็ดขาด กดขี่
ทิ่มตํา วิ่งเต้น บากบั่น ค้ําจุน ขวากหนาม
บีบคั้น แง่มุม ลู่ทาง ช่องทาง ดูแล
อบรม ตัดสิน ตัดขาด เสียดสี บกพร่อง

ซ้อนแล้วความหมายไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การใช้
ความหมายตรงกันข้ามมาซ้อนกัน เช่น
ชั่วดี ผิดถูก เป็นตาย ร้ายดี จนมี
ดีเลว แพ้ชนะ ได้เสีย ขาดเหลือ ยากง่าย

วิธีการสร้างคําซ้อน
1. สร้างจากคําไทยกับคําไทย เช่น ใหญ่โต อ้วนพี งูเงี้ยว ตัดสิน พัดวี คอยท่า ข่มเหง ผีสาง
บ้านช่อง เสื่อสาด เจ้านาย ภูเขา บ้านเรือน บกพร่อง รู้จัก

2. สร้างจากคําไทยกับคําภาษาต่างประเทศ เช่น
+ ภาษาบาลี : รูปร่าง ร่างกาย ข้าทาส แก่นสาร ช้างสาร สูญหาย สาปแช่ง เขตแดน จิตใจ
จิตใจ หยิ่งยโส เค้ามูล ทุกข์ยาก ถิ่นฐาน สูญเสีย รากฐาน เชื้อชาติ รูปโฉม
+ ภาษาสันสกฤต: ซากศพ ซื่อสัตย์ นัยน์ตา โคตรเหง้า ทรัพย์สิน สร้างสรรค์ ศูนย์กลาง ผิวพรรณ
กงจักร เนืองนิตย์ สรวงสวรรค์ ชั่วช้าสามานย์ พรรคพวก โกรธแค้น โศกเศร้า
+ ภาษาเขมร : ทรวงอก แสวงหา เด็ดขาด เงียบสงบ แบบฉบับ ยกเลิก โง่เขลา แมกไม้ ด่าทอ
เมิลมอง เมียงมอง เงียบสงัด ถนนหนทาง เขียวขจี สรรหา เลือกสรร สดับตรับฟัง
เชี่ยวชาญ พงไพร ตริตรอง ตรวจตรา ติเตียน
+ ภาษาจีน : หุ้นส่วน ห้างร้าน ชื่อแซ่ กักตุน ต้มตุ๋น เก๊กท่า ถัวเฉลี่ย
+ ภาษาอังกฤษ : แบบแปลน เสื้อเชิ้ต แบบฟอร์ม ท่อแป๊บ รุมสกรัม

3. สร้างจากคําภาษาต่างประเทศทั้งหมด เช่น
ภาษาบาลี + ภาษาบาลี : รูปภาพ กิจธุระ ภัยอันตราย สบถสาบาน กฎเกณฑ์ มารยาสาไถย
รสชาติ กาลเวลา เภทภัย พิกลพิการ
ภาษาบาลี + สันสกฤต : อุดมสมบูรณ์ เหตุการณ์ อิทธิฤทธิ์ ญาติมิตร เวทมนตร์ เวรกรรม
ยานพาหนะ บาปกรรม สมณพราหมณ์
สันสกฤต + บาลี : ฤกษ์ยาม ฤทธิ์เดช ภิกษุสงฆ์ ยักษ์มาร พระสงฆ์ มิตรสหาย ฤดูกาล
ประชาชน
สันสกฤต + สันสกฤต : วิพากษ์วิจารณ์ ศักดิ์ศรี ทรัพย์สมบัติ ประสิทธิ์ประสาท ประชาราษฎร์
วิจิตรพิสดาร เคราะห์กรรม มิตรไมตรี
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (45)
ภาษาเขมร + ภาษาสันสกฤต : สรงสนาน เสบียงอาหาร ขนบประเพณี
ภาษาเขมร + ภาษาบาลี : ไพรสณฑ์ โขลนทวาร
ภาษาบาลี + ภาษาเขมร : รูปทรง สุขสงบ พละกําลัง ภูมิลําเนา วิตกกังวล
ภาษาเขมร + ภาษาเขมร : สนุกสนาน สงบเสงี่ยม เลอเลิศ เฉลิมฉลอง สนียดจัญไร เดินเหิน เหาะเหิน
ภาษาจีน + ภาษาจีน : เฮงซวย

2. คําซ้อนเพื่อเสียง คือ การนําคํามูลที่มีเสียงใกล้เคียงกันมาซ้อนกัน เพื่อให้เกิดเสียงคล้องจองกัน


วิธีสร้างคําซ้อนเพื่อเสียง
1. นําคํามูลที่มีความหมาย และมีเสียงสระหรืออักษรที่ใกล้เคียงกันมาซ้อนกัน เช่น
ก่อเกิด เก่งกล้า แข็งขัน ขับขี่ เคร่งเครียด ค้างคา
ห้องหับ ว่างเว้น เสือสาง ร้างรา ทรุดโทรม บู้บี้
2. สร้างคําที่มีเสียงคล้ายกับคํามูลที่เป็นคําหลัก เสียงที่สร้างขึ้นมาไม่มีความหมาย มีหน้าที่เพียงก่อให้เกิด
เสียงคล้องจอง ความหมายของคํายังคงอยู่ที่คําหลัก และอาจมีหลายพยางค์ เช่น
โยกเยก เยินยอ โอนเอน อุบอิบ ยั่งยืน โป้ปด ชิงชัง
เทือกเถาเหล่ากอ ภูเขาเลากา ผลหมากรากไม้ โกหกพกลม
ข้าเก่าเต่าเลี้ยง ผ้าผ่อนท่อนสไบ อดตาหลับขับตานอน จุดหมายปลายทาง
บ้าบอคอแตก น้ําใสใจจริง ต้อนรับขับสู้ ขับไล่ไสส่ง
* ดีเด่ * กระดูกกระเดี้ยว
3. คํามูลหลายพยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะซ้อนกันอยู่ มีลักษณะเป็นเสียงควบคู่ เนื่องจากศัพท์ดังกล่าว
ไม่สามารถแยกคําได้ ดังนั้นคําชนิดนีอ้ าจเรียกได้ว่าเป็นคํามูลที่มีเสียงซ้อนกัน แต่บางตํารา
ก็จัดเป็นคําซ้อนเพื่อเสียง
โลเล โยเย งอแง วอกแวก ลอกแลก
ตุ้งติ้ง ตึงตัง ร่อแร่ จุกจิก จุ๋มจิ๋ม
คะยั้นคะยอ ตะลีตะลาน ตะกรุมตะกราม สะเปะสะปะ มะลอกมะแลก
ประนีประนอม กะโตงกะเตง กะร่องกะแร่ง ดุกดิก เล่อล่า

4. คําซ้ํา คําประสมชนิดหนึ่ง คําที่นํามาซ้ํากับพยางค์แรกต้องเป็นคําที่มีความหมายเดียวกับคําแรก


ถ้าเป็นคําเดียวกันแต่ทําหน้าที่ต่างกัน ถือว่า ไม่ใช่คําซ้ํา
การเขียนคําซ้ําในปัจจุบันมีการใช้ ไม้ยมก (ๆ) แทน แต่มีบางคําต้องใช้รูปของคําซ้ําเสมอ
เช่น จะจะ นานา จึงถือว่าเป็น คํามูล ไม่ใช่ คําซ้ํา

คําที่ทําหน้าที่ต่างกันในประโยค ไม่ใช่คําซ้ํา
1. สถานที่ทฉี่ ันชอบมากที่สุดคือห้างสรรพสินค้า ( “ที่” คําแรกเป็น _______ คําหลัง เป็น _______ )
2. ของของใคร ทิ้งไว้เกะกะ ( “ของ” คําแรกเป็น ____________ คําหลัง เป็น ___________ )
3. ฉันชอบเพลงเพลง นี้มากมาก ( “เพลง” คําแรกเป็น ____________ คําหลัง เป็น ___________ )

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (46)


ความหมายที่เกิดจากคําซ้ํา
1. เพื่อบอกพหูพจน์ เพื่อนๆมากันมากเลย น้องๆชอบกินทุเรียน
ฉันซักเสื้อเป็นกองๆ เรามีเสื้อเป็นตู้ ๆ
2. เพื่อเน้นความหมาย พี่ของเธอซ้วยสวย พี่ชายเธอหน้าเด๊กเด็ก
บ้านเธออยู่ไก๊ลไกล (ละ ๆ)
3. ความหมายไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เจอกันตอนเช้าๆ พบกันแถวๆสนามหลวง เขานั่งข้างๆ ถนน
4. ความหมายแยกเป็นส่วน ๆ แจกของเด็กเป็นคน ๆ ไป พูดทีละประเด็น ๆ
5. เพื่อเปลี่ยนความหมายไปจากเดิม แม่พูดหยก ๆ ลืมแล้วหรอ เรื่องพื้นๆ สบายมาก
อย่าทํารายงานแบบลวก ๆ มาส่งนะ ข้อสอบปีนี้หมู ๆ ไป ๆมา ๆ คุณก็ต้องกลับมาฉันอยู่ดี
อยู่ๆ คุณพ่อก็เดินเข้าครัว
6. เพื่อบอกความไม่ตั้งใจ ฉันก็ชอบๆ เขาอยู่เหมือนกัน ทําส่งๆ ไปเถอะ
เขียนๆไปเถอะ เดี๋ยวก็เสร็จ
7. เพื่อบอกกริยาอาการนั้น ว่าทําไปเรื่อย ๆ เน้นกริยา เขาพูดๆ แล้วก็สะอึก มองๆ เขาแล้วก็หัวเราะ
นั่งๆ อยู่เขาก็เข้ามา เดินๆ อยู่แล้วก็สะดุด
8. เพื่อบอกลักษณะ ฉันชอบผู้ชายหล่อๆ พี่ชายฉันชอบผู้หญิงอวบๆ ฉันชอบกินของดีๆ

วิเคราะห์คําซ้ําต่อไปนี้ว่าใช้ถูกหรือผิด
1. บ้านพี่แดงอยู่ซอยนา ๆ ถนนสุขุมวิท 6. คน ๆ นี้เป็นคนดี
2. ฉันเห็นพี่ชายเธอกับพี่ชายของฉัน จะ ๆ เข้าไปกัน 2 คน 7. เขามีที่ ๆ เชียงใหม่
3. เรียกตุ๊ก ๆ มาแล้วเธอ 8. นายดํา ๆ ลงไปลึกมาก
4. อาแป๊ะเอา ไวๆ 2 ห่อคะ 9. หล่อนใช้แปรง ๆ ผมที่ยาวสลวย
5. เรื่อย ๆ มารอน ๆ ทิพากรจะตกต่ํา 10. ฉันมีที่ที่คุณตายกให้ 2 ไร่แถวสุขุมวิท

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (47)


5. คําสมาส เป็นการประสมคําระหว่างคํามูลที่เป็นคําภาษาบาลีและสันสกฤตเกิดเป็นคําที่มีความหมายใหม่
หลักการสมาสคํา
1. เกิดจากคําภาษาบาลี – สันสกฤต มารวมกันเท่านั้น
ปิยมิตร ปัจฉิมวัย วัฒนธรรม
อักษรศาสตร์ กรรมการ วิศวกรรมศาสตร์
วิทยฐานะ
2. เอาคําขยายวางหน้าคําหลัก (ตรงข้ามกับภาษาไทยที่เอาคํา ............................................)
วิชาเกี่ยวกับอดีต วิชาเกี่ยวกับการคิดคํานวณ
พาหนะทางอากาศ ความรู้เกีย่ วกับดวงดาว
การช่วยเหลือสังคม
3. เวลานําคําทั้ง 2 คํามาสมาสกัน ห้ามใส่เครื่องหมาย ะ และ ์ ระหว่างคําเด็ดขาด
ลักษณะ + นาม ศิลปะ + วัฒนธรรม
วาระ + สาร กาญจน์ + บุรี
สวัสดิ์ + ภาพ แพทย์ + ศาสตร์
4. เวลาอ่านคําสมาส ตรงกลางระหว่างคําจะอ่านเสียงสระด้วย เราเรียกว่า อ่านเนื่องเสียง
กุลสตรี อุดมการณ์ อุดมคติ สมการ กิจการ
อักษรศาสตร์ สุขภาพ รสนิยม ปรากฏการณ์

คําต่อไปนี้ ไม่ใช่คําสมาสเพราะอะไร ***


ทุนนิยม อนุกาชาด สรรพสิ่ง คุณค่า พระเจ้า ผลไม้ พลความ พระที่นั่ง
พลเมือง พลังงาน ราชดําเนิน กระยาหาร ชํานาญศิลป์ บันเทิงสถาน คริสตจักร

คําที่ลงท้ายด้วยคําต่อไปนี้มักจะเป็นคําสมาส
กิจ การ กรรม กร ศึกษา ภัย สถาน
ภาพ วิทยา ศิลป์ ธรรม ศาสตร์

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (48)


6. คําสนธิ
คําสนธิมีการเชื่อมกลมกลืนเสียง มี 3 วิธี
1. สระสนธิ คือ การเชื่อมด้วย สระกับสระของคําแรกกับคําหลัง
1.1 ตัดสระท้ายคําหน้า ใช้สระหน้าคําหลัง เช่น
หิมะ + อาลัย ตัด ะ ใช้ า สนธิเป็น ____________
ตัวอย่าง ชล + อาลัย ____________ วิทย + อาลัย ______________
เทว + อาลัย ____________ ศิว + อาลัย ______________
วชิร + อาวุธ ____________ คฑา + อาวุธ ______________
ขีปน + อาวุธ ____________ มหา + อรรณพ ______________
มหา + ไอศวรรย์ ____________ มหา + อัศจรรย์ ______________
พุทธ + โอวาท ____________ วร + โอกาส ______________
อน + เอก ____________ ภุช + องค์ ______________

1.2 ตัดสระท้ายคําหน้า ใช้สระหน้าคําหลัง แต่เปลี่ยนได้ 3 วิธี คือ


1.2.1 ถ้าสระท้ายคําหลังเป็น อะ เปลี่ยนเป็น อา เช่น ราช + อธิราช ______________
ตัวอย่าง ประชา + อธิปไตย ____________ ธรรม + อธิปไตย ______________
เทศ + อภิบาล ____________ ธรรม + อธรรม ______________
ทูต + อนุทูต ____________ ฐาน + อนุกรม ______________

1.2.2 ถ้าสระท้ายคําหลังเป็น อิ เปลี่ยนเป็น เอ เช่น ราม + อิศวร _____________


ตัวอย่าง ปรม + อินทร์ ____________ นร + อิศวร ______________
นร + อินทร์ ____________ มหา + อิสี ______________
คช + อินทร์ ____________ มหา + อิศวร ______________
ยกเว้น !!! ภูมิ + อินทร์ ____________ กรี + อินทร์ ______________
มุนิ + อินทร์ ____________ โกสี + อินทร์ ______________

1.2.3 ถ้าสระท้ายคําหลังเป็น อุ เปลี่ยนเป็น โอ เช่น ราช + อุบาย ! __________


ตัวอย่าง นย + อุบาย ____________ นร + อุดม _____________
ศิร + อุตม ____________ วัญจน + อุบาย _____________
ภาร + อุปกรณ์ ____________ ชล + อุทก _____________
ชล + อุทร ____________

ถ้าสระท้ายคําหลังเป็น อุ เปลี่ยนเป็น อู เช่น ราช + อุปโภค ______________


ตัวอย่าง ราช + อุปถัมภ์ ____________ ราช + อุทิศ _____________
คุณ + อุปการ ____________ ราชินี + อุปถัมภ์ _____________
## ยกเว้น ## มัคค + อุเทศก์ ____________

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (49)


1.3 เปลี่ยนสระท้ายคําหน้า อิ อี " ย อุ อู " ว
เช่น รติ + อารมณ์ เปลี่ยน อิ เป็น ย ! รตย ! รตยารมณ์
ตัวอย่าง มติ + อธิบาย ____________ สามัคคี + อาจารย์ _____________
อัคคี + โอภาส ____________ รังสี + โอภาส _____________
อธิ + อาศัย ____________ ราชินี + อนุสรณ์ _____________
ยกเว้น หัตถี + อาจารย์ ____________ ศักดิ + อานุภาพ _____________

ธนู + อาคม เปลี่ยน อู เป็น ว เป็น ธนว ! ธันวาคม


เหตุ + อเนกรรถ____________ สินธุ + อานนท์ _____________
จักขุ + อาพาธ ____________ จตุ + อังค์ _____________

2. พยัญชนะสนธิ คือ การเชื่อมด้วยพยัญชนะกับพยัญชนะของคําแรกกับคําหลัง มีหลักดังนี้


2.1 คําที่ลงท้ายด้วย ส สนธิกับพยัญชนะ ให้เปลี่ยน ส ! โอ (มนัส + ธรรม ___________ )
ตัวอย่าง มนัส + มัย ____________ มนัส + กรรม _____________
มนัส + คติ ____________ ศิรัส + เวฐน์ _____________
รหัส + ฐาน ____________ มนัส + ธรรม _____________
2.2 อุปสรรค ทุสฺ กับ นิสฺ สนธิกับพยัญชนะ ให้เปลี่ยน ส ! ร (ทุส + ชน _____________ )
ตัวอย่าง ทุส + ราชย์ ____________ ทุส + ลักษณ์ _____________
ทุส + กันดาร ____________ ทุส + โยชน์ _____________
ทุส + ยศ ____________ ทุส + พล _____________
ทุส + พิษ ____________ ทุส + ยุค _____________
ทุส + กรรม ____________ ทุส + ชาติ _____________
นิส + คุณ ____________ นิส + ทุกข์ _____________
นิส + เทศ ____________ นิส + อาศ _____________
นิส + ภัย ____________ นิส + โทษ _____________
นิส + กรรม ____________ นิส + อันตร _____________

3. นฤคหิตสนธิ คือ สํ เชื่อมกับ พยัญชนะ หรือ สระของคําหลัง มี 3 วิธี


3.1 สํ + สระ ให้เปลี่ยน ( ํ ) ! ม แล้วสนธิกัน เช่น สํ + อาคม ! ____________
ตัวอย่าง สํ + อิทธิ ____________ สํ + อาทาน _____________
สํ + ฤทธิ์ ____________ สํ + อาบัติ _____________
สํ + อาโยค ____________ สํ + อุจเฉท _____________
สํ + อุฏฐาน ____________ สํ + อุทัย _____________

3.2 สํ + พยัญชนะวรรค ให้เปลี่ยน ( ํ ) เป็นพยัญชนะต้นตัวสุดท้ายของวรรคที่สนธิด้วย


( พยัญชนะต้นตัวสุดท้ายของพยัญชนะวรรค คือ ง ญ ณ น ม )
ตัวอย่าง สํ + กร ____________ สํ + คม _____________
สํ + เกต ____________ สํ + ฆาฏิ _____________
สํ + คีต ____________ (ก ข ค ฆ ง)

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (50)


สํ + จร ____________ สํ + ชาติ _____________
สํ + ญา ____________ สํ + ญาณ _____________
(จ ฉ ช ฌ ญ)
สํ + ฐาน ____________ สํ + ฐิติ _____________
(ฏ ฐ ฑ ฒ ณ)

สํ + นิบาต ____________ (ต ถ ท ธ น)
สํ + นิวาส ____________

สํ + ปทา ____________ สํ + ปทาน _____________


สํ + ผัส ____________ สํ + มติ _____________
สํ + บูรณ์ ____________ สํ + บัติ _____________
(ป ผ พ ภ ม)

3.3 สํ + เศษวรรค (ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ ํ ) ให้เปลี่ยน ( ํ ) เป็น ง เท่านั้น


ตัวอย่าง สํ + โยค ____________ สํ + วร _____________
สํ + หรณ์ ____________ สํ + วาส _____________
สํ + เวค ____________ สํ + หาร _____________

วิเคราะห์ว่าคําต่อไปนี้ คําใดเป็นคําสมาส คําใดเป็นคําสนธิ


1. สุขาภิบาล _______________ 33. เยาวชน _______________
2. มัคคุเทศก์ _______________ 34. ทูตานุทูต _______________
3. ปิโยรส _______________ 35. เสรีภาพ _______________
4. คณบดี _______________ 36. พัสตราภรณ์ _______________
5. ศัลยแพทย์ _______________ 37. ภัตตาคาร _______________
6. ธนาคาร _______________ 38. พุทธจักร _______________
7. ธเนศวร _______________ 39. อภิบาล _______________
8. วนาราม _______________ 40. คเชนทร์ _______________
9. วโรกาส _______________ 41. พิทยาจารย์ _______________
10. สุรินทร์ _______________ 42. คุณูปการ _______________
11. อรินทร์ _______________ 43. ปรมินทร์ _______________
12. สารคดี _______________ 44. บุญญาธิการ _______________
13. สมิทธิ _______________ 45. กมลาสน์ _______________
14. อุทกภาชน์ _______________ 46. วโรรส _______________
15. ทศชาติ _______________ 47. กัมปนาท _______________
16. เอกภาพ _______________ 48. ยุคคลบาท _______________
17. ราชูปถัมภ์ _______________ 49. กัมปนาการ _______________
18. ราไชศูรย์ _______________ 50. รัชมังคลาภิเษก ______________
19. สุริโยทัย _______________ 51. เวสสันดร _______________
20. วิทยากร _______________ 52. คหกรรม _______________
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (51)
21. วิเทโศบาย _______________ 53. พุทธศักราช _______________
22. ราชาธิราช _______________ 54. ประถมศึกษา_______________
23. ราชูปถัมภ์ _______________ 55. วิทยฐานะ _______________
24. มไหศวรรย์ _______________ 56. วรรณคดี _______________
25. ธนบัตร _______________ 57. บดินทร์ _______________
26. มหัศจรรย์ _______________ 58. หัตถาภรณ์ _______________
27. สัมมนา _______________ 59. มเหสี _______________
28. วิทยาลัย _______________ 60. อุปัทวันตราย _______________
29. อนุกาชาด _______________ 61. สาธารณสมบัติ _______________
30. อรุโณทัย _______________ 62. ศิษยานุศิษย์ _______________
31. วิทยาเขต _______________ 63. มุรธาภิเษก _______________
32. พลานามัย _______________ 64. ทานัธยาศัย _______________

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (52)


การสร้างคําในภาษาไทย
1. คําในข้อใดเป็นคํามูลทุกคํา
1. อลหม่าน กระจาด ตะกั่ว 2. โกโรโกโส ขรุขระ แจ่มใส
3. ทะเล เข้มข้น ลําดวน 4. กลางวัน คู่มือ ปราบ
2. ข้อใดเป็นคําประสมทุกคํา
1. ปากเปล่า อ่อนน้อม หัวแข็ง 2. บ้านช่อง ตาถั่ว คอหอย
3. ลูกฟูก ยกเลิก รถเร็ว 4. ทางออก รับสั่ง รองพระบาท
3. คําในข้อใดเป็นคําประสมทุกคํา
1. แก้วตา จอมปลวก วางเฉย ร่อยหรอ 2. จับตาย เสาเข็ม ไข่เค็ม จับจด
3. โอดครวญ ร่วงโรย โลดโผน อดโซ 4. ดินเปรี้ยว เข้าเฝือก โขดหิน เขียวขจี
4. ข้อใดมีคําที่มีความหมายไม่เข้ากลุ่ม
1. เงินต้น เงินปันผล เงินผ่อน เงินยวง 2. คู่กรณี คู่แข่ง คู่ชีวิต คู่พระคู่นาง
3. ข้าวเก่า ข้าวกล้อง ข้าวหอม ข้าวบูด 4. ตากลับ ตาเหลือก ตาโปน ตาแข็ง
5. ข้อใดมีคําทีไ่ ม่ใช่คําประสม
1. มะม่วงกวน สวนลําไย ไฟสวาท 2. นิราศรัก ยักษ์วัดโพธิ์ โถดอกไม้
3. คนใช้ถนน โรงงานป่นพริกกระป๋อง ช่องลม 4. ผสมเทียม เยี่ยมราษฎร กลอนเปล่า
6. คําประสมในข้อใดเป็นคํานามทุกคํา
1. หน้าม้า หน้าเสีย หน้าผา 2. น้ําย่อย น้ํามือ น้ําหน้า
3. ปั้นสิบ ปั้นลม ปั้นปึ่ง 4. บังโคลน บังหน้า บังตา
7. ข้อใดมีคําประสมทุกคําที่ประกอบด้วยคํานามกับคํากริยา
1. เครื่องดื่ม น้ําหวาน บ้านพัก 2. กันชน ห้องเรียน นักเขียน
3. ใจดํา น้ําใช้ ใบพัด 4. เข็มกลัด ข้าวต้ม ส้มตํา
8. ข้อใดที่ทุกคํามีโครงสร้างเหมือนกับคําว่า “ห้องเก็บของ”
1. คนกวาดถนน แมวนอนหวด ค่ายกักกัน 2. เก้าอี้รับแขก รถดับเพลิง ตั๋วแลกเงิน
3. ช่างทาสี คนทรงเจ้า ยาเสพย์ติด 4. คนเดินตลาด แมวเก้าชีวิต สนามเด็กเล่น
9. คําต้นกับคําเติมในคําประสมข้อใดที่แสดงความสัมพันธ์ทางความหมายแบบเดียวกับคํา “รถม้า”
1. เรือบิน รถไฟ 2. ม้าใช้ ยาดม
3. ปืนลม เตาถ่าน 4. แม่บ้าน สวนงู
10. ข้อใดที่คําต้นกับคําเติมสัมพันธ์กันในลักษณะเดียวกับคําที่ขีดเส้นใต้
“คุณจะพักทีเ่ รือนรับรองก็ได้”
1. ทางด่วน ปลาทอด 2. ปากน้ํา สวนหย่อม
3. ตีนผี อวนลาก 4. รถเช่า เตียงนอน
11. ข้อใดมีโครงสร้างของการประกอบคําเหมือนกันทุกคํา
1. ทางด่วน รถเมล์ไฟฟ้า อาคารชุด
2. ยารักษาโรคเอดส์ สมุดเก็บข้อมูล ศูนย์ช่วยเหลือคนจน
3. การศึกษาทางไกล มหาวิทยาลัยเปิด ปีท่องเที่ยว
4. โทรทัศน์วงจรเปิด หน่วยบริการเคลื่อนที่ ผักบุ้งลอยฟ้า
12. คําประสมในข้อใดทีไ่ ม่มคี วามหมายเชิงอุปมา
1. ตาขาว ตาค้าง ตาพอง ตาโต 2. รู้มาก รู้ทัน รู้ไส้ รู้อยู่
3. ปากแข็ง ปากตลาด ปากเบา ปากคม 4. หน้าไม้ หน้าแข้ง หน้าบัน หน้าจั่ว
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (53)
13. คําประสมในข้อใดที่ใช้เป็นประโยคได้ทุกคํา
1. โต๊ะเขียนหนังสือ ห้องอัดเสียง ม้าดีดกะโหลก 2. รถบดถนน พนักงานเก็บตั๋ว ฟ้าแลบ
3. ใบขับขี่รถยนต์ เก้าอี้โยก สมุดฉีก 4. ไม้แคะหู ผ้ากันเปื้อน คนกวาดขยะ
14. ข้อความต่อไปนี้มีจํานวนคําประสมตรงกับข้อใด
“นายพอล ติเกล้า ผู้จัดการร่วมของแชมป์โลกชาวไทย เขาทราย กาแล็คซี่ ได้เปิดเผยถึงการชก
ป้องกันตําแหน่งครั้งต่อไปของเขาทรายว่า ตนจะบินด่วนกลับไปสหรัฐ เพื่อทําสัญญากับผู้ท้าชิงราย
ต่อไปคือ ซูการ์ โรฮาล นักชกโคลัมเบีย”
1. 5 คํา 2. 6 คํา 3. 7 คํา 4. 8 คํา
15. คําในข้อใดมีวิธีการสร้างคําเหมือนคํา “รูปภาพ”
1. เครื่องยนต์ สะพานไฟ ศูนย์การค้า 2. วนศาสตร์ เศวตฉัตร เศรษฐกิจ
3. ถ่ายเท ทรัพย์สิน เจ็บไข้ 4. สุญญากาศ ธนาคาร เหตุการณ์
16. คําในข้อใดเป็น “คําซ้อนเพื่อความหมาย” ทุกคํา
1. เขตแดน เดินทาง บ้านเรือน 2. สูญเปล่า ขัดแย้ง เก็บตก
3. เร็วไว สื่อสาร กาลเวลา 4. รอคอย หมู่คณะ บอกเล่า
17. คําในข้อใดจัดว่าเป็นคําซ้อนทุกคํา
1. ตกอับ ทรัพย์สิน กินนอน 2. แปดเปื้อน เข้มงวด กวดขัน
3. ชั่วดี ถี่ห่าง ทางลัด 4. มิดชิด ติดตั้ง สั่งเสีย
18. คําในข้อใดเป็นคําซ้อนทุกคํา
1. ชักชวน ชักนํา ชักใย 2. ติดขัด ติดลม ติดตาม
3. มืดค่ํา มืดมัว มืดหน้า 4. ดื้อดัน ดื้อรั้น ดื้อดึง
19. คําในข้อใดเป็นคําซ้อนทุกคํา
1. ไขมัน ครั่นคร้าม ซบเซา บอกเล่า 2. ข่าวสาร ข่าวคราว ข้าวสาร ข้าวแกง
3. เขี้ยวเล็บ เหล่ากอ คอหอย พริกขิง 4. ผิดถูก ชั่วดี ถี่ห่าง วางใจ
20. ข้อใดไม่มคี ําซ้อน
1. ร่มระรื่นครื้นครึกล้วนพฤกษา 2. งามประโลมหลงแลดังแขไข
3. ข่าวขจรเจริญมาเนิ่นนาน 4. จึงต้อนรับเชิญนั่งที่ตั่งเตียง
21. ข้อใดมีคํากริยาทุกคําทีไ่ ม่ได้เกิดจากการซ้อนคํา
1. ไขว่คว้า แบ่งปัน เปิดเผย 2. ค้นพบ ไต่ถาม สืบหา
3. กลุ้มรุม ยอกย้อน เสาะหา 4. กักกัน เชือดเฉือน พลัดพราก
22. ข้อใดมีคํากริยาทุกคําทีไ่ ม่ใช่คําซ้อน.
1. เกี่ยวพัน เผยแพร่ ตรวจสอบ ตัดต่อ 2. ถูกคอ ยกเลิก กล่าวหา คัดเลือก
3. ติดตั้ง จูงใจ แข็งข้อ ขวัญหาย 4. กักตุน ค้ําจุน บังคับ ส่งเสีย
23. คําซ้อนในข้อใดมีทงั้ คําซ้อนเพื่อเสียงและเพื่อความหมาย
1. ทอดทิ้ง รีบร้อน เบาบาง 2. แคะไค้ คึกคัก โฉ่งฉ่าง
3. กีดกัน เหงาหงอย ปลอมแปลง 4. พอกพูน เชือนแช ยุยง
24. คําในข้อใดที่สลับตําแหน่งกันแล้วยังมีความหมายคงเดิม
1. ตอบโต้ ร้องเรียก เบิกบาน 2. มัวหมอง อยู่กิน เหลียวแล
3. หลับนอน หนาแน่น อดทน 4. แหนงหน่าย จัดเจน แคล้วคลาด

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (54)


25. คําซ้อนในข้อใดที่สลับตําแหน่งของคําไม่ได้
1. คร่ําครวญ เปล่าเปลี่ยว กลิ้งเกลือก 2. เกรี้ยวกราด เคว้งคว้าง ปลิ้นปล้อน
3. คลาดเคลื่อน แปรปรวน กลับกลอก 4. กลบเกลื่อน ครั่นคร้าม ปราดเปรียว
26. คําที่ขีดเส้นใต้ในข้อใด เมื่อใช้คําหน้าเพียงคําเดียวแล้ว ความหมายของข้อความจะเปลี่ยนไป
1. ใครๆ ก็ว่านักเรียนห้องนีฉ้ ลาดเฉลียว
2. คุณกล้าหาญมากที่ตัดสินใจเช่นนัน้
3. เด็กๆ ที่เธอเลี้ยงดูมาไม่มีใครอดทนเลยสักคน
4. ลูกจ้างบ้านฉันถูกคนมาชักชวนไปทํางานที่อื่น
27. ข้อความต่อไปนี้มีคําซ้อนกี่คํา
คุณยายสอนลูกหลานให้เก็บงําเงินทองและเก็บรักษาเครื่องใช้ให้เป็นระเบียบ
1. 3 คํา 2. 4 คํา 3. 5 คํา 4. 6 คํา
28. ข้อความในข้อใดมี “คําซ้ํา” อยู่ด้วย
1. เขาจัดห้องห้องนี้ไว้สําหรับแขก 2. เธอเดินแถวแถวตลาดขายผลไม้
3. เขามาสายสายกว่าทุกคนในห้อง 4. เธอใช้แปรงแปรงผมซึ่งยาวสลวย
29. ข้อใดใช้เครื่องหมายไม้ยมกแทนคําซ้ําได้
1. เธอทําหน้าเป็นเป็นประจํา 2. ที่ฉันทําเป็นเป็นเพราะเธอ
3. ทําไมรีบฝังเสียยังเป็นเป็นอยู่นี่นา 4. หาเป็นของจําเป็นเป็นต้องซื้อ
30. คําที่มีเสียงซ้ําในข้อใดทําหน้าที่เป็นคําซ้ํา
1. ความรู้รู้ยิ่งได้ สินทรัพย์ 2. รอนรอนอ่อนแสงพระสุริยา
3. แม่ลาลาลดให้ หาศรี 4. ยามคืนคืนทุกข์ทิ้ง กลางไพร
31. ข้อใดใช้ไม้ยมกได้ถูกต้อง
1. เขาจัดเตรียมเสื้อผ้าสําหรับแต่ละวันๆ 2. นักเรียนมีสองกลุ่มๆ นี้เรียนเก่ง
3. พูดกันให้จะๆ จะดีกว่ากระมัง 4. ฉันไม่รู้นี่ว่าของๆ ใคร
32. ข้อใดทีไ่ ม่ควรใช้ไม้ยมก
1. เขาทํางานช้าๆ จนเพื่อนแย่งไปทําแทน
2. เรื่องนี้ฉันคิดๆ จนหัวแทบระเบิด
3. เขาใช้ยางลบๆ จนกระดาษขาด
4. เธอแอบถอนหายใจเบาๆ ด้วยความเบื่อหน่าย
33. ข้อใดไม่ควรใช้ไม้ยมก
1. คนคนนี้ไม่ควรคบหาสมาคมด้วย 2. เคี้ยวเคี้ยวยาเม็ดนี้แล้วรีบกลืนเสีย
3. ลูกหมาตัวนั้นตกน้ําเปียกปอน ดูสิตัวสั่นริกริกทีเดียว 4. ถ้าแน่จริงขอให้มาพบกันซึ่งซึ่งหน้า
34. ข้อความต่อไปนี้ข้อใดไม่ควรใช้ไม้ยมกแทนการซ้ําคํา
1. สมชายถูกตีจนเนื้อสั่นริกริกก็ไม่ร้อง
2. เสียงโทรศัพท์ดังกริ๊งกริ๊งปลุกฉันตื่นแต่เช้า
3. ตอนนี้ดูเขาเนือยเนือยไปไม่ขยันขันแข็งเหมือนเดิม
4. เธอมีที่ที่เธอเองก็นึกไม่ถึงว่าจะขายได้ราคาดีอย่างนี้
35. คําซ้ําในข้อใดที่เกินเข้ามาโดยไม่จําเป็น
1. ใครๆ เขาทํางานกันเสร็จแล้ว เหลือแต่คุณคนเดียว
2. ฉันยังไม่เคยเล่าเรื่องนี้ให้ใครๆ ฟังเลยสักคนเดียว
3. เสียงตวาดของเธอใครๆ ได้ยินก็หวาดผวาไปตามกัน
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (55)
4. เดี๋ยวนี้ใครๆ เขาก็ซ่ากันทั้งนั้นแหละ
36. คํากิริยาในข้อใดซ้ําคําได้
1. นริสาชอบตุ๊กตาตัวนั้น 2. พ่อกําลังจะกินอาหารเช้า
3. พระท่านเทศนานานสองชั่วโมง 4. นักเรียนคงเดินเล่นอยู่หน้าโรงหนัง
37. การซ้ําคําในข้อใด มีความหมายทํานองเดียวกับการซ้ําคําในตัวอย่างนี้
“ฉันชอบเสื้อสีเทาๆ ตัวนั้นของเธอจังเลย”
1. ผู้หญิงสวยๆ คนนั้นเป็นใคร 2. ที่พูดมานี้หวังว่าน้องๆ คงเข้าใจ
3. พรุ่งนี้พบกันข้างๆ สระน้ําจุฬาฯนะ 4. การวัดผลครั้งนี้จะพิจารณาเป็นคนๆ ไป
38. คําซ้ําในข้อใดมีความหมายว่า “ทํากริยานั้นซ้ําๆ”
1. พูดกันอยู่หยกๆ ลืมเสียแล้ว
2. ถูกดุเข้านิด นั่งทําตาปริบๆ เชียวนะ
3. ช่างหวงรูปเสียจริง มองเฉยๆ ก็ไม่ได้
4. เมื่อแรกน่ะอยากไปแต่ไปๆ ก็มายกเลิกเสียนี่
39. คําซ้ําในข้อใดที่บอกความหมายเป็นคําที่แยกประเภท
1. ทํางานควรให้เสร็จเป็นอย่างๆ ไปไม่ใช่ทําโน่นทีทํานี่ที
2. ขอให้คุณทํางานเป็นหลักฐานเสียที เพื่อนๆ เป็นอธิบดีไปแล้ว
3. ห้องนี้เป็นห้องส่วนตัว อย่าให้ใครๆ เข้ามาเป็นอันขาด
4. เด็กๆ ทุกคนอยากให้เป็นที่รักของพ่อแม่ทั้งนั้น
40. คําซ้ําในข้อใด บอกความหมายที่ชัดเจน
1. ฉันว่าวันนั้นเธอใส่เสื้อสีเขียวๆ
2. ตกอยู่แถวๆ นี้แหละทําไมถึงหาไม่เจอก็ไม่รู้
3. ถ้าจะให้เข้าใจคุณควรอธิบายเป็นประเด็นๆ จึงจะถูก
4. สงครามอ่าวเปอร์เซียทําให้ทหารอิรักตายเป็นพันๆ คน
41. การซ้ําคําในข้อใดบอกความหมายว่าอยู่พวกใด แต่ไม่กําหนดแน่นอน
1. ช่วยหั่นหมูเป็นชิน้ เล็กๆ ให้ที 2. ครูกําลังสอนๆ อยู่เขาก็วิ่งเข้ามา
3. ตอนขาไปอ้อยนั่งรถคันหลังๆ ใช่ไหม
4. เธอเล่นกวาดส่งๆ อย่างนี้ บ้านจะสะอาดได้อย่างไร
42. การซ้ําคําในข้อใดมีความหมายเปลี่ยนไปจากคําเดิมมากที่สุด
1. คุณยายชอบไปวัดแถวๆ บ้าน 2. รีบๆ หน่อย เดี๋ยวจะไม่ทันรถออก
3. ครูสัญญาว่าจะบอกคะแนน แต่ไปๆ ก็ลืม 4. เธอรู้จักผู้หญิงคนที่สวมเสื้อสีฟ้าๆ นั่นไหม
43. การซ้ําคําในข้อใดทําให้ความหมายแตกต่างจากข้ออื่น
1. ฝนตกลงมาอย่างแรงจนรู้สึกเจ็บนิดๆ ที่ผิวเนื้อ
2. เมล็ดดอกปีบจะแบน มีปกี บางๆ ปลิวไปตามลมได้ไกล
3. ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนๆ น้ําใจแบบไทยไม่เคยเหือดหายไปจากสายเลือด
4. เรื่องโบราณสถานนั้นเป็นเกียรติของชาติ อิฐเก่าๆ แผ่นเดียวก็มีค่า
44. คําในข้อใดเป็นคําสมาสทุกคํา
1. ทศชาติ พลความ เยาวชน 2. สิทธิบัตร เอกภาพ ราชครู
2. นาฏศิลป์ พิมพ์ดีด กรรมบถ 4. ชีวประวัติ รัฐสภา ภาพเขียน

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (56)


45. คําในข้อใดเป็นคําสมาสทุกคํา
1. คุณสมบัติ คุณากร คุณค่า 2. ราชการ ราชวัง ราชรถ
3. มโหฬาร มหาวิทยาลัย มหาภัย 4. พลานามัย พลศึกษา พลความ
46. ข้อใดมีคําทีไ่ ม่ใช่คําสมาส
1. เปรตวิสัย ภาสกร วิทยาลัย ทวาทศ 2. สังฆทาน คเชนทร์ นขลิขิต ธนูศิลป์
3. ราชการ ยุคลบาท ภาควิชา ปิตุฆาต 4. นราธิป ดุริยางค์ หิรัญบัฏ สมานฉันท์
47. ข้อใดมีคําทีไ่ ม่ใช่คําสมาส
1. ยุทธนาวี ศรีประชา พลานามัย 2. วัยวุฒิ พุทธปรีชา อุตสาหการ
3. ชํานาญศิลป์ กรินทรีย์ วีรกรรม 4. ธรรมบท ทศพร อัปษรสวรรค์
48. คําในข้อใดไม่ใช่คําสมาสทุกคํา
1. ราชาธิราช ศาสตราวุธ ภูมิลําเนา 2. สามัคคีธรรม ราชูปถัมภ์ ทูตานุทูต
3. วนาราม เดชานุภาพ ราชพาหนะ 4. ประวัติการณ์ วิทยาลัย ราไชศูรย์
49. คําทุกคําในข้อใดมีคําสมาสที่ประกอบจากคํา 3 คํา
1. สหราชอาณาจักร ทรัพยากรศาสตร์ จุลชีววิทยา
2. พุทธศตวรรษ สรีรวิทยา พฤติกรรมศาสตร์
3. นิรโทษกรรม กิตติกรรมประกาศ ไตรโลกนาถ
4. สารานุกรม พันธุกรรมศาสตร์ ประชาทัณฑ์
50. ข้อใดเป็นคําประสมที่เลียนแบบวิธีการสร้างคําของสมาส
1. ทุนนิยม 2. พลเมือง 3. พลังงาน 4. ผลไม้
51. ข้อใดมีคําสมาสที่กลมกลืนเสียง
1. ธรรมบท บุญฤทธิ์ มงคลวาร 2. เยาวลักษณ์ วิทยาเขต ทศวรรษ
3. โลกนาถ ภัณฑารักษ์ กรรมฐาน 4. ศุภนิมิต สหกรณ์ นิติกรรม
52. ข้อใดมีคําสมาสแบบสนธิ 2 คํา
1. อุดมโชค เทศาภิบาล กุศลโลบาย มาตรฐาน
2. ภัณฑารักษ์ ธนบัตร นราธิป บุคลาธิษฐาน
3. ทัศนาจร วนาราม อัครชายา อรรถรส
4. เกียรติภูมิ เทวนิยม ทารุณกรรม สุนทรียภาพ
53. “ไพรินทรนาศเพี้ยง พลมาร”
คําทุกคําในข้อใดมีลักษณะการสร้างคําตรงกับคําว่า ไพรินทร
1. คเชนทร์ อรินทร์ ปราจีนบุรี 2. ปุริโสดม กมลาสน์ ราชวินิจ
3. พุทธมณฑล วิเทโศบาย นิโลตบล 4. บุญญาธิการ พิทยาจารย์ รังสิโยภาส
54. ข้อใดมีคําประสมและคําซ้อนจํานวนเท่ากัน
1. จับจด ลืมตัว ตบตี ตัวเปล่า 2. ทางเท้า ฝึกฝน เลิกรา เกินเลย
3. ต้นทุน ปลายแถว รอดพ้น แลกเปลี่ยน 4. ปลดปล่อย ทอดทิ้ง ลอยตัว รุ่งริ่ง
55. ข้อความต่อไปนี้มีคําซ้อนและคําประสมอย่างละกี่คํา
“ในคลองมีสาหร่ายและพืชน้ําขึ้นเต็มไปหมด จนเกิดปัญหาทําให้ลําน้ําตื้นเขินและเน่าเสียได้”
1. คําซ้อน 3 คํา คําประสม 2 คํา 2. คําซ้อน 3 คํา คําประสม 3 คํา
3. คําซ้อน 2 คํา คําประสม 2 คํา 4. คําซ้อน 2 คํา คําประสม 3 คํา

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (57)


56. ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางของความเจริญทางเศรษฐกิจ แต่จะต้องพัฒนาอุตสาหกรรมให้
เจริญก้าวหน้าเพราะพื้นฐานของประเทศมีการผลิตแบบเกษตรกรรม
ข้อความข้างต้นมีคําซ้อนและคําสมาสกี่คํา
1. คําซ้อน 2 คํา คําสมาส 2 คํา 2. คําซ้อน 3 คํา คําสมาส 3 คํา
3. คําซ้อน 3 คํา คําสมาส 4 คํา 4. คําซ้อน 4 คํา คําสมาส 3 คํา
จงอ่านข้อความที่ยกมาแล้วตอบคําถามข้อ 57 – 58
“สตรีร่างบอบบางผู้นี้หากดูจากรูปลักษณ์ภายนอกแล้ว จะดูไม่รู้เลยว่าเธอมีบรรดาศักดิ์เป็นถึง
คุณหญิง เพราะความที่ไม่แต่งองค์ทรงเครื่อง ไม่ค่อยประดับเพชรนิลจินดา แพรวพราวเหมือนคนอื่น”
57. ข้อความข้างต้นมีคําซ้อนกี่คํา
1. 3 คํา 2. 4 คํา 3. 5 คํา 4. 6 คํา
58. ข้อความข้างต้นมีคําประสมกี่คํา
1. 1 คํา 2. 2 คํา 3. 3 คํา 4. 4 คํา

การสร้างคําในภาษาไทย (2)
1. ข้อใดมีคําประสม
1. เห็นกิ่งกีดมีดพร้าเข้าราราน 2. หลังคาใหญ่พื้นเล็กเป็นโลงผี
3. ดูเหย้าเรือนหาเหมือนอย่างไทยไม่ 4. ถึงหนามกรานก็ไม่เจ็บเหมือนเหน็บแนม
2. คําประสมทุกคําในข้อใดมีส่วนประกอบเหมือนคําว่า “คนพิมพ์ดีด”
1. เครื่องตัดหญ้า รถลอยฟ้า 2. คนเก็บขยะ นักการเมือง
3. หัวก้าวหน้า ผู้ใจบุญ 4. ห้องนั่งเล่น ผ้ากันเปื้อน
3. ข้อใดมีกริยาเป็นคําประสมทั้งหมด
1. คุณปู่นั่งเล่านิทาน หลานๆ ยิ้มแป้น 2. เวลาแดดร้อนจัดต้องเดินกางร่ม
3. เขาชอบออกตัวเพราะเพรงใจเพื่อนๆ 4. พ่อถ่ายรูปน้องขณะนอนหลับ
4. ข้อใดเป็นคําประสมทุกคํา
1. จานเด็ด จานร้อน จานแบน จานเปล 2. คิดถึง คิดอ่าน คิดค้น คิดดู
3. เตะจมูก เตะตา เตะก้น เตะฉาก 4. คําขวัญ คําคม คําตั้ง คําตาย
5. ข้อใดเป็นคําประสมทุกคํา
1. กรรมเก่า น้ําเน่า สาดโคลน สั่นคลอน 2. แกะดํา นั่งร้าน วางมวย ผุยผง
3. เล่นตัว วางมือ หมกเม็ด แพแตก 4. จุดจบ สับหลีก เลวทราม ลายคราม
6. ข้อใดเป็นคําประสมทุกคํา
1. ของขลัง ชุมนุม เรือด่วน สามขุม 2. เรียงเบอร์ ข้าวสวย มูมมาม เหล็กดัด
3. มือถือ เครื่องบิน ต้มเค็ม รูปภาพ 4. แม่พิมพ์ เครื่องคิดเลข แกงไก่ ขายหน้า
7. คําในข้อใดเป็นคําประสมทุกคํา
1. แผงลอย โอดครวญ เสื้อนอน ผักดอง 2. เรือนแพ เผ็ดร้อน ไขมัน โหยหวน
3. มืออาชีพ หอบหิ้ว กล่องข้าว ป่าวร้อง 4. เดินหน้า ข้องใจ ร่างทรง อ่อนโยน
8. ข้อใดมีคําทีไ่ ม่ใช่คําประสม
1. ขั้วโลก ข้าวหลาม เข้ารอบ 2. จนมุม จวนตัว ใจเพชร
3. ชูชีพ เชิดหุ่น เชิงกราน 4. ดินดาน เดิมพัน เดินสาย

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (58)


9. ข้อความต่อไปนี้มีคําประสมกี่คํา
สมศักดิ์เป็นหัวหน้าในสํานักงาน เขามีเพื่อนร่วมงานอีก 4 คน เวลาคนอื่นไม่อยู่สมศักดิ์จะต้องยืน
โรงคอยรับลูกค้า
1. 6 คํา 2. 5 คํา 3. 4 คํา 4. 3 คํา
10. ข้อความต่อไปนี้มีคําประสมจํานวนเท่าใด (ไม่นับคําซ้ํา)
“ปัจจุบันสินค้าต่างๆ ที่ขายได้ ไม่ได้ขายด้วยคุณภาพอย่างเดียวแล้ว แต่ขายด้วยภาพลักษณ์ที่ดีด้วย
นั่นหมายความว่าห้างนั้นบริษัทนั้นมีชื่อเสียงดี มีสินค้าดี มีภูมิหลังดี และสินค้านั้นเป็นที่น่าเชื่อถือใน
วงการค้า”
1. 4 คํา 2. 5 คํา 3. 6 คํา 4. 7 คํา
11. ข้อใดมีคําซ้อน
1. มาอยู่ในป่าเปลี่ยวเที่ยวซังตาย จะหมายพิงอิงใครก็ไม่มี
2. อนิจจาทุกข์ยากลําบากตัว เกลือกกลั้วปถพีธุลีลม
3. สุริยนเย็นสนธยาค่ํา ประทับลําเรือเรียงเคียงขนาน
4. จนไก่เถื่อนเดือนขันสนั่นแจ้ว ดุเหว่าแว่วหวาดหมายว่าสายสมร
12. ข้อใดไม่มคี ําซ้อน
1. ธรรมดาเกิดมาเป็นสตรี ชั่วดีคงได้คู่มาสู่สม
2. ตาปะขาวเฒ่าแก่แซ่กันมา พร้อมนั่งปรึกษาที่วัดนั้น
3. ได้ถือน้ําพระพิพัฒน์สัจจา จะหลบลี้หนีหน้าไปทําไม
4. แสนรโหโอฬาร์น่าสบาย หญิงและชายต่างกลุ้มประชุมกัน
13. ข้อใดไม่มคี ําซ้อน
1. หน้าตาของสลวยดูสดใสขึ้นเมือ่ ทราบข่าวคนรักของเธอ
2. สาลินไม่รู้จักมักคุ้นกับอัศนีย์แต่เขาก็มาชวนเธอทํางาน
3. รจนาตกอยู่ในวังวนของความทุกข์ที่ดูจะหาทางออกไม่ได้
4. กนกเรขาไม่เดือดร้อนที่คนเข้าใจผิดเรื่องการทํางานของเธอ
14. ข้อใดเป็นคําซ้อนทุกคํา
1. เปรียบเทียบ พักผ่อน ฟุ้งซ่าน ชิงชัย 2. ปิดบัง เพลี่ยงพล้ํา เฟื่องฟู ลบล้าง
3. ลอดช่อง พิศดู จนถึง สารบรรณ 4. เปิดเผย ฟูมฟัก กรอบเค็ม อุ้มชู
15. ข้อใดเป็นคําซ้อนทุกคํา
1. เหตุการณ์ มิตรสหาย โกรธเคือง พบพาน 2. เงียบสงัด เรืองรอง ขมีขมัน ห้องหอ
3. สูญเสีย พักผ่อน สัตย์ซื่อ วิธีการ 4. ปล่อยวาง ลําน้ํา เผ่นโผน นับถือ
16. ข้อใดเป็นคําซ้อนทุกคํา
1. แนบชิด กับแกล้ม เก่งกาจ 2. รีดไถ กล่าวหา เอาอย่าง
3. อ้อยอิ่ง ป่าวร้อง โยนกลอง 4. หมดสิ้น กดดัน ใหม่เอี่ยม
17. ข้อใดเป็นคําซ้อนทุกคํา
1. กล้ํากลืน เคยตัว ติดตาม 2. อวดอ้าง หมายมาด เคลื่อนคล้อย
3. พรั่งพร้อม หง่างเหง่ง วังเวง 4. ร่อยหรอ โศกศัลย์ ตกยาก
18. ข้อใดมีคําทีไ่ ม่ใช่คําซ้อน
1. ฝืดเคือง เสื่อสาด แปดเปื้อน 2. เจ็บไข้ บ้านเรือน ย่ําค่ํา
3. ลุ่มลึก ลี้ลับ ไหวหวั่น 4. เด็ดขาด เท็จจริง ข่มเหง

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (59)


19. ข้อใดไม่ใช่คําซ้อนประเภทเดียวกัน
1. ใกล้ชิด ขัดแย้ง ใช้จ่าย 2. ได้เสีย ดีร้าย ชั่วดี
3. บาปบุญ เปรี้ยงปร้าง สดใส 4. จุกจิก คลอนแคลน ซากศพ
20. คําซ้อนทุกคําในข้อใดมีโครงสร้างเช่นเดียวกับคําซ้อน “ใหญ่โตโอฬาร”
1. ร้องรําทําเพลง ปวดหัวตัวร้อน 2. แก้วแหวนเงินทอง ข้าทาสบริวาร
3. เหล้ายาปลาปิ้ง แม่น้ําลําคลอง 4. ภูตผีปีศาจ เยื่อใยไมตรี
21. คําซ้อนในข้อใดมีวิธีประกอบคําต่างกับข้ออื่น
1. ตื้นลึกหนาบาง ข้าเจ้าบ่าวนาย ปู่ย่าตายาย
2. เกิดดอกออกผล เก็บภาษีเรียกอากร จุดไต้ตามไฟ
3. ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน ล้มหมอนนอนเสื่อ ก่อร่างสร้างตัว
4. กู้หนี้ยืมสิน ทําไร่ไถนา อุ้มลูกจูงหลาน
22. คําซ้อนในข้อใดมีความหมายต่างกับข้ออื่น
1. เมื่อเรารู้สึกอ่อนเพลียก็ต้องพัก
2. เขาบากบั่นมาชั่วชีวิตจึงพ้นจากความยากจน
3. คนที่ร่างกายอ้วนพีใช่ว่าจะสุขภาพดี
4. ถ้าต้องการชีวิตที่สงบก็ต้องหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทั้งหลาย
23. คําซ้อนในข้อใดมีความหมายนัยตรงและนัยประหวัด
1. ลูกทําตัวเหลวไหลอย่างนี้ทําให้พ่อแม่ร้อนอกร้อนใจตลอด
2. พายุไต้ฝุ่นลูกนี้ทําให้ฝนตกไม่ลืมหูลืมตามาสามวันสามคืนแล้ว
3. ผู้หลักผู้ใหญ่เตือนอะไรก็ควรฟัง ไม่ควรดื้อดึงตามใจตัว
4. เขาเป็นคนน่าเชื่อถือเพราะมีพฤติกรรมคงเส้นคงวา
24. ข้อใดมีคําซ้อนมากที่สุด
1. แต่หนาวใจยากแค้นนี้แสนเข็ญ 2. ออกแออัดผู้คนอยู่ล้นหลาม
3. ในแหล่งหล้าใครไม่มีเสมอเหมือน 4. ไม่สมประกอบทรัพย์สินก็ขัดสน
25. ข้อความต่อไปนี้มีคําซ้อนกี่คํา
ธรรมชาติสรรค์สร้างสิ่งดีๆ ให้มวลมนุษย์ แต่มนุษย์เป็นผู้ทําลายจนโลกเปลี่ยนแปลงจึงต้อง
ตักเตือนกันให้นําโลกเข้าสู่สภาพเดิมโดยเร็วไว
1. 2 คํา 2. 3 คํา 3. 4 คํา 4. 5 คํา
26.ข้อความต่อไปนี้มีคําซ้อนจํานวนกี่คํา
มารดาอบรมปริญญามาอย่างดีเลิศ เขามีมารยาทที่ขัดเกลามาเป็นอย่างดี เมือ่ มาทํางานเขาจึงไม่
ล่วงเกินผู้ใหญ่ ไม่เกี่ยงงอนในการทํางานกับมิตรสหาย
1. 3 คํา 2. 4 คํา 3. 5 คํา 4. 6 คํา
27. คําคู่ใดต้องใช้เป็นคําซ้ําเท่านั้น
1. งกๆ เงิ่นๆ 2. ชั่วๆ ดีๆ 3. ข้างๆ คูๆ 4. หลบๆ ซ่อนๆ
28. คําที่มีรูปเหมือนกันในข้อใดไม่ใช่คําซ้ํา
1. รัศมีสีตนก็หม่นหมอง สิ่งของของตัวก็มัวไหม้
2. ให้สองทรงสีวิกายานมาศ อํามาตย์เดินเคียงเป็นคู่คู่
3. พวกเด็กเด็กหยอกเย้าเข้าฉุด อุตลุดล้อมหลังล้อมหน้า
4. ร้านค้าผ้าผ่อนล้วนดีดี เลือกดูที่งามตามชอบใจ

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (60)


29. ข้อใดมีคําซ้ําที่ใช้เป็นคําเดี่ยวไม่ได้
1. กําลังเดินๆ อยู่ฝนก็ตก 2. เรื่องนี้เกิดขึ้นจริงๆ เชื่อเถอะ
3. นักมวยฝ่ายแดงทําหน้างงๆ เมื่อถูกจับแพ้ 4. เปิดพัดลมเบาๆ เดี๋ยวจะเป็นหวัด
30. ข้อใดซ้ําคําแล้วความหมายเปลี่ยนไป
1. ขอให้นักเรียนเดินเข้ามาทีละคนๆ 2. เขาเล่นสาดน้ํากันอยู่แถวๆ หน้าบ้าน
3. เราควรทํางานพร้อมๆ กัน เพื่อจะได้เสร็จเร็ว 4. เดินเร็วๆ หน่อย จะได้ถึงบ้านก่อนมืด
31. คําซ้ําคู่ในข้อใดมีความหมายเปลี่ยนไป
1. เขาอยู่ด้วยกันอย่างลุ่มๆ ดอนๆ 2. เขาเบื่องานจึงทําๆ หยุดๆ
3. เขากังวลว่าจะตกรถไฟจึงหลับๆ ตื่นๆ 4. คนไทยส่วนใหญ่มีนิสัยกินทิ้งๆ ขว้างๆ
32. คําซ้ําในข้อใดต่างกับข้ออื่น
1. ผู้หญิงกับของสวยๆ งามๆ เป็นของคู่กัน
2. งานนี้เป็นการรวมตัวของพี่ๆ น้องๆ ในวงการบันเทิง
3. การจัดโต๊ะอาหาร ผู้จัดเลือกเอาเมนูเด่นๆ ดังๆ มาเสนอ
4. หากมีความรู้งูๆ ปลาๆ ก็ไม่สามารถเข้าทํางานที่นี่ได้
33. คําซ้ําในข้อใดมีความหมายต่างจากข้ออื่น
1. เรากําลังฟังเพลิน เธอก็หยุดเล่าเสียเฉยๆ 2. คนช่วยงานเยอะแล้วเรานั่งเฉยๆ ดีกว่า
3. นักเรียนมักกลัวครูที่ทําหน้าเฉยๆ 4. ไหนเธอว่าเขาเป็นคนเฉยๆ ไง
34. คําซ้ําในข้อใดทําหน้าที่ในประโยคต่างกับข้ออื่น
1. เห็นกันหลัดๆ ก็ได้ข่าวว่าสมบัติตายเสียแล้ว 2. เขาเดินกระทืบเท้าปังๆ เข้าไปในครัว
3. เขามาถึงสนามบินทันเห็นเครื่องบินออกไปลิบๆ 4. ผู้หญิงสวยๆ ทุกวันนี้ทํางานนอกบ้าน
35. คําซ้ําในข้อใดมีความหมายต่างจากข้ออื่น
1. น้อยมีเสื้อผ้าสวยเป็นตู้ๆ 2. เมื่อตอนเด็กๆ ฉันไม่ชอบว่ายน้ํา
3. ฉันเห็นทหารเดินมาเป็นแถวๆ 4. เขาไปเที่ยวกับเพื่อนๆ ในวันอาทิตย์
36. ข้อใดมีคําซ้ําทีแ่ สดงความหมายต่างจากข้ออื่น
1. แม่นวดแป้งแล้วปั้นเป็นลูกกลมๆ 2. แยกๆ กันไปกินอาหารจะได้ออกรถเร็วขึ้น
3. สมพรอยากย้ายบ้านไปอยู่ใกล้ๆ ที่ทํางาน 4. อายุเกิน 80 แล้วยังชอบใส่เสื้อผ้าสีสดๆ
37. คําซ้ําในข้อใดต่างจากข้ออื่น
1. หลังจบปริญญาตรี ฉันก็คิดๆ อยู่ว่าจะไปเรียนต่อต่างประเทศ
2. เธอก็ชอบๆ เขาอยู่เหมือนกัน เห็นนัดไปเที่ยวต่างจังหวัดกันหลายครั้งแล้ว
3. ผู้อํานวยการจะบรรยายเรื่องประกันคุณภาพ ไปช่วยนั่งๆ ให้ท่านเห็นหน่อย
4. เวลาเด็กวัยรุ่นสมัยนี้ไปดูคอนเสิร์ต จะชอบร้องกรี๊ดๆ และแสดงอารมณ์ตามนักร้อง
38. ข้อใดมีคําซ้ําที่แสดงความหมายต่างจากข้ออื่น
1. ฝนตกพรําๆ ทั้งคืน
2. ป้าของสมชาติชอบพูดซ้ําๆ
3. สมศรีชอบใช้ดินสอให้หมดไปเป็นแท่งๆ
4. สมชายร่ําๆ จะขอเกษียณอายุราชการก่อนกําหนด
39. ข้อใดมีคําซ้ําที่แสดงความหมายต่างจากข้ออื่น
1. ฉันไม่ชอบผ้าตาใหญ่ๆ แบบนี้ 2. ต้องตั้งใจทําการบ้านนะอย่าทําส่งๆ มา
3. ขอยืมเสื้อสวยๆ ใส่สักตัวเถอะ 4. อยู่ดึกๆ มาหลายวันเลยรู้สึกเพลีย

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (61)


40. การใช้คําซ้ําในข้อใดต่างจากข้ออื่น
1. น้ําพระทัยเธอข่อนๆ คิดไม่ขาด
2. น้ําพระชลนัยน์ไหลลงหลั่งๆ
3. พุ่มไม้ครึ้มเป็นเงาๆ ชะโงกเงื้อม
4. ฝูงสกุณาออกหากินบินเกริ่นก้องร้องอยู่แจ้วๆ
41. ข้อใดมีคําสมาส
1. คุณค่า ราชวัง ผลไม้ ปรกติ
2. กาลเวลา ดาษดื่น รอมร่อ ผลผลิต
3. ภูมิลําเนา มูลค่า พลความ วิตถาร
4. นามสมญา ศิลปกรรม โลภาภิวัฒน์ สัปดาห์
42. ข้อความตอนใดมีคําสมาส
(ก)
สัญญาในที่นี้หมายถึงเอกสารที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย / เซ็นสัญญาจะซื้อ
(ข) (ค)
ขายสินค้า สัญญากู้เงิน สัญญาเช่าบ้าน / สัญญาต่างๆ เหล่านี้ทําขึ้นเป็นแบบฟอร์มเพื่อให้คู่สัญญาได้รับ
(ง)
ความสะดวก / ผู้ทําสัญญาต้องลงลายมือชื่อกํากับไว้เพื่อให้สัญญามีผลสมบูรณ์
1. (ก) 2. (ข) 3. (ค) 4. (ง)
43. ข้อใดเป็นคําสมาสทุกคํา
1. ขัณฑสีมา สูตรคูณ อุโบสถศีล บายศรี 2. โอษฐภัย กลเม็ด ประภาคาร องคาพยพ
3. ทิพยจักษุ หิรัญบัตร เมรุมาศ ภูมิลําเนา 4. รัตติกาล วัฎจักร พิพิธพร ทศนิยม
44. ข้อใดเป็นคําสมาสทุกคํา
1. ชาติพันธุ์ ชาติภูมิ ชาตินิยม ชาติรส 2. ชีววิทยา ชีวเคมี ชีวประวัติ ชีวจิต
3. ธรรมจริยา ธรรมกถา ธรรมขันธ์ ธรรมดา 4. ภูมิบาล ภูมิประเทศ ภูมิลําเนา ภูมิภาค
45. ข้อใดเป็นคําสมาสทุกคํา
1. เคหสถาน เพรงกรรม อากาศธาตุ 2. วิบากกรรม นวโลหะ ชัยมงคล
3. วีรกรรม ปฏิบัติการ อัญชุลี 4. ทัศนวิสัย ผลบุญ เพลิงกัลป์
46. ข้อใดเป็นคําสมาสทุกคํา
1. พลความ นาฏศิลป์ สรรพสัตว์ 2. ชลบุรี ธนบัตร พิธีกร
3. ราชดําเนิน สหกรณ์ ชีวประวัติ 4. ยุทธวิธี คริสตจักร เอกภาพ
47. ข้อใดไม่เป็นคําสมาสทุกคํา
1. วีรบุรุษ ทุนทรัพย์ นาฏศิลป์ 2. เอกชน ปาฐกถา วาตภัย
3. ภาพยนตร์ บุตรทาน วิศวกรรม 4. โจรภัย ปิยมหาราช มยุรฉัตร
48. ข้อใดไม่มคี ําสมาส
1. ทหารเป็นผู้มีหน้าที่รบเพื่อปกป้องมาตุภูมิของตนไม่ให้ข้าศึกรุกราน
2. ประชาชนส่งไปรษณียบัตรทายผลฟุตบอลยูโร 2000 เป็นจํานวนมาก
3. ประธานในพิธีกล่าวคาถาอัญเชิญเทวดามาชุมนุมเพื่อเป็นมงคล
4. ชีวเคมีเป็นวิชาวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของสิ่งมีชีวิต

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (62)


49. คําขวัญในข้อใดไม่มคี ําสมาส
1. คุณค่าของมนุษย์ ดีที่สุดคือผลงาน
2. บ้านเมืองสะอาด ประชาชาติปลอดโรค
3. รักชาติ รักประชาธิปไตย ต้องออกไปเลือกตั้ง
4. น้ําประปามีค่าต่อชีวิต ประหยัดวันละนิด ช่วยเศรษฐกิจชาติได้
50. ข้อใดอ่านแบบคําสมาสทุกคํา
1. อธิกมาส อธิกวาร อธิกสุรทิน 2. สุขลักษณะ สุขภาพ สุขศาลา
3. มูลฐาน มูลโค มูลนิธิ 4. รสชาติ รสนิยม รสวรรณคดี
51. ข้อใดมีคําสมาสซึ่งมีสนธิทุกคํา
1. กรรมาวาจาจารย์ นิติศาสตร์ บริจาริกา ทรัพยากร
2. ทิวากร ตันติภาษา เนาวรัตน์ ศาสตราจารย์
3. ไตรดายุค กรรตุวาจก ปัจจามิตร ศิลปะศาสตร์
4. ศัสตราวุธ วิชาชีพ กรรมาธิการ โลกาภิวัตน์
52. ข้อใดเป็นคําสมาสที่มีการสนธิทุกคํา
1. นเรศวร พุทโธวาท ราชูปโภค คชาภรณ์
2. มานุษยวิทยา สุริโยทัย วิเทโศบาย อิทธิฤทธิ์
3. มัจจุราช ศาสนจักร ภัตตาคาร ราชินูปถัมภ์
4. ทูตานุทูต สมาคม รัฐมนตรี วิทยาลัย
53. ข้อใดมีคําสมาสทีม่ ีสนธิทุกคํา
1. คชยาน สุภาภรณ์ เศวตฉัตร 2. พนานต์ นรินทร์ กมลาสน์
3. ราชวาที ศัสตราวุธ อริราช 4. ไชยานุภาพ ขัตติยมานะ พลขันธ์
54. ข้อใดเป็นคําสมาสที่มีสนธิทุกคํา
1. สุขาภิบาล ชิโนรส มกราคม 2. มัคคุเทศก์ มรรคผล วิทยาลัย
3. ประชาภิบาล ทูตานุทูต มหาศาล 4. กันยายน ชานุมณฑล ประชาธิปไตย
55. ข้อใดเป็นคําสมาสที่มีสนธิทุกคํา
1. ทิวากร อมรินทร์ รัตติกาล 2. สรรพางค์ ธันวาคม อรัญวาสี
3. กุศโลบาย มิจฉาทิฐิ บุญญาธิการ 4. ธรรมาสน์ มหัศจรรย์ อรุโณทัย
56. ข้อใดมีคําสมาสไม่มสี นธิ
1. ศาสตราจารย์ ศาสนูปถัมภก ศุลกากร 2. ปรมาณู ปรมินทร์ ปลาสนาการ
3. มิจฉาทิฐิ ประชากร อาชญากรรม 4. กุศโลบาย ทิศานุทิศ ทรัพยากร
57. ข้อใดเป็นได้ทั้งกลุ่มคําและคําประสม
1. เก็บอารมณ์ 2. เขียนหนังสือ
3. ร้อยดอกไม้ 4. ทอดสะพาน
58. ข้อใดเป็นทั้งคําและประโยค
1. ห้องรับแขก ผ้ากันเปื้อน 2. น้ําดอกไม้ รถไฟฟ้า
3. นักศึกษา เครื่องตัดหญ้า 4. หยาดน้ําค้าง น้ําอัดลม
59. ข้อใดเรียงลําดับประเภทของคําดังนี้ : คําประสม , คําซ้อน , คําสมาส
1. แสวงหา สนใจ สุตกวี 2. พิษภัย บทบาท บริโภค
3. จุดหมาย เบิกบาน อรรถคดี 4. อ้างอิง ตกต่ํา เสรีภาพ

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (63)


60. ข้อความต่อไปนี้มีคําประสมและคําสมาสกี่คํา (ไม่นับคําซ้ํา)
ในบรรดาเครื่องปรุงรส สิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถขาดได้เลยในครัวของเราก็คือ “น้ําปลา” เรารู้จัก
น้ําปลากันดี แต่คงมีไม่กี่คนนักที่จะทราบว่า น้ําปลาดีมีคุณภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการเป็นอย่างไร
ส่วนกรรมวิธีในการผลิตก็มีส่วนทําให้รสของน้ําปลาแตกต่างกันด้วย
1. คําประสม 2 คํา คําสมาส 4 คํา 2. คําประสม 3 คํา คําสมาส 3 คํา
3. คําประสม 4 คํา คําสมาส 3 คํา 4. คําประสม 5 คํา คําสมาส 2 คํา
61. ข้อใดมีคําสมาสและคําประสมจํานวนเท่ากัน
1. อดิเรก ถ่ายทอด ประทานพร อํานาจรัฐ
2. ฆาตกรรม สมัยนิยม สามัญชน เบญจวรรณ
3. วิทยุสาร ชัยเภรี กลโกง มารสังคม
4. สัจนิยม อัฐทิศ ภัยธรรมชาติ ขัติยนารี
62. ดาราเป็นนักข่าวที่รับผิดชอบต่อหน้าที่ เธอจะติดตามไปถึงที่มาของแหล่งข่าวอย่างต่อเนื่อง โดยไม่
หวาดหวั่นต่ออันตรายใดๆ เธอจึงได้รางวัลผู้สื่อข่าวดีเด่น
ข้อความข้างต้นมีจํานวนคําประสมและคําซ้อนตามข้อใด
1. คําประสม 7 คํา คําซ้อน 3 คํา 2. คําประสม 6 คํา คําซ้อน 4 คํา
3. คําประสม 5 คํา คําซ้อน 5 คํา 4. คําประสม 4 คํา คําซ้อน 6 คํา
63. ข้อใดมีคําที่สร้างขึ้นด้วยวิธีการที่แตกต่างจากข้ออื่น
1. รู้เรื่องเคืองจิตเจ็บใจ เขียนหนังสือส่งไปให้หลานรัก
2. อ่านจบขบฟันหันหุน เคืองขุ่นดาลเดือดไม่ดับได้
3. กระซิบทูลแถลงแจ้งคดี พูดจาพาทีให้แจ้งใจ
4. อย่าชิงชังรังเกียจที่หนุ่มแก่ จงชมแต่ยศถาบรรดาศักดิ์
64. ข้อใดมีคําที่เกิดจากการสร้างคําต่างจากข้ออื่น
1. หลานของฉันชอบอ่านหนังสือ “พลอยแกมเพชร”
2. เพื่อนที่ธนาคารหลายคนชอบอ่านนิตยสาร “กุลสตรี”
3. ชาวไทยในต่างประเทศชอบอ่าน “สกุลไทย” กันมาก
4. น้องชอบอ่าน “ขวัญเรือน” เพราะมีเรื่องทีน่ ่าสนใจและเป็นประโยชน์
65. ข้อใดมีคําที่เกิดจากการสร้างคํามากชนิดที่สุด
1. ผู้สูงอายุควรรู้จักดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
2. ใบหน้ายิ้มแย้มของเธอทําให้ความโกรธของเราเบาบางลง
3. ถ้าอยากเป็นคนน่ารักอย่างไทย จิตใจควรงามและเป็นธรรม
4. หัวใจของศาสนาพุทธคือละชั่ว ทําดี และทําจิตใจให้ผ่องแผ้ว
66. ข้อใดมีคําที่สร้างขึ้นด้วยวิธีการที่ต่างจากข้ออื่น
1. ยิ้มเป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพและชวนให้เกิดความสบายใจ
2. ยิ้มเป็นเสน่ห์ทําให้ผู้พบเห็นอยากคบหาสมาคมด้วย
3. ผู้ที่มีหน้าตาอิ่มเอิบยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นคนมีเสน่ห์
4. ผู้ที่มีกิริยามารยาทงามและวาจาไพเราะจะมีคนรักมากมาย

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (64)


ชนิดของคําในภาษาไทย
1. คํานาม คําที่ใช้เรียกชื่อสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งรูปธรรมและนามธรรม เช่น คน สัตว์ พืช
สถานที่ อารมณ์ ความรู้สึก ฯลฯ
2 . คําสรรพนาม คําที่ใช้เรียกแทนคํานาม
3 . คํากริยา คําที่แสดงกิริยาอาการหรือสภาพของคํานามและสรรพนาม
4 . คําวิเศษณ์ คําที่ประกอบคําอื่นเพื่อขยายเนื้อความให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
5 . คําบุพบท คําที่มีหน้าที่เชื่อมคํา หรือกลุ่มคําเพื่อแสดงความสัมพันธ์กับคําอื่นๆ ในประโยค
6 . คําสันธาน คําที่มีหน้าที่เชื่อมประโยคเพื่อแสดงความสัมพันธ์กับประโยคอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
7 . คําอุทาน คําที่เปล่งออกมาโดยไม่ตั้งใจ เพื่อแสดงอารมณ์และความรู้สึกของผู้พูด

คํานาม แบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ


1. สามานยนาม คือ คําที่ใช้เรียกชื่อนามทั่วๆไป ไม่เจาะจง ระบุความหมายกว้าง ๆ เช่น
คน สัตว์ พืช หมา แมว ต้นไม้ ดอกไม้ วัด โรงเรียน กวี นักวิทยาศาสตร์ นักกีฬา ทหาร นักร้อง ฯลฯ

2. วิสามานยนาม คือ คําที่ใช้เรียกชื่อนามที่เฉพาะเจาะจง ระบุความหมายแคบและชี้เฉพาะ


นายจัน หนวดเขี้ยว เจ้าดินดิน (ชื่อสุนัข) มาดอนน่า (นักร้อง) เตรียมอุดมศึกษา (โรงเรียน)

3. สมุหนาม คือ คําที่ใช้เรียกชื่อนามที่เป็นหมวดหมู่ บ่งบอกจํานวนมาก


เช่น คณะ ฝูง กอง นิกาย บริษัท สํารับ ก๊ก เหล่า ชุด กลุ่ม โขลง หมู่
**สังเกต** ............................................................................................................................................

4. ลักษณนาม คือ คําที่ใช้บอกลักษณะรูปพรรณสัณฐานของสามานยนาม


ลักษณนามเป็นเอกลักษณ์ของภาษาไทยประการหนึ่ง แสดงให้เห็นถึงความละเอียดลออในการใช้ภาษา
(4.1) บอกชนิด เช่น พระภิกษุ สามเณร บาทหลวง – รูป , ยักษ์.ฤาษี – ตน , ช้างป่า – ตัว
ช้างบ้าน – เชือก
(4.2) บอกอาการ เช่น บุหรี่ – มวน , พลู – จีบ , ไต้ – มัด , ขนมจีน – จีบ.หัว , ผ้า – พับ
คัมภีร์ใบลาน – ผูก
(4.3) บอกรูปร่าง เช่น รถ – คัน , บ้าน เปียโน จักร – หลัง , ดินสอ – แท่ง , ปากกา – ด้าม
กล้วย – เครือ,หวี ,ลูก
(4.4) บอกหมวดหมู่ เช่น ฟืน – กอง , ทหาร – หมวด , พระ – นิกาย , นักเรียน – คณะ
ละคร – โรง , กับข้าว – สํารับ
(4.5) บอกจํานวน มาตรา เช่น ตะเกียบ – คู่ , ดินสอ – โหล , เงิน ทอง – บาท , ผ้า – เมตร
ที่ดิน – ไร่,งาน,ตารางวา
(4.6) ซ้ําคํานามข้างหน้า เช่น วัด – วัด โรงเรียน – โรง คะแนน – คะแนน
คน – คน อําเภอ – อําเภอ จังหวัด – จังหวัด

5. อาการนาม คือ คํานามที่บอกกิริยาอาการ อารมณ์ความรู้สึก สภาวะในจิตใจที่เป็นนามธรรมใช้


เช่น การวิ่ง การเดิน การนอน การอ่านหนังสือ การออกกําลังกาย
ความดี ความชั่ว ความง่วง ความงาม ความสะอาด ความสุข
**สังเกต**
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (65)
คําสรรพนาม แบ่งออกเป็น 6 ชนิด
(1) บุรุษสรรพนาม เป็นสรรพนามที่ใช้แทนบุคคล ซึ่งเป็นผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ถูกกล่าวถึง
บุรุษที่ 1 เช่น กู ตู ฉัน ผม กระผม ดิฉัน เรา ข้าพเจ้า อาตมา ข้าพระพุทธเจ้า
บุรุษที่ 2 เช่น มึง สู เธอ คุณ ท่าน ใต้เท้า ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ฝ่าพระบาท เจ้า
บุรุษที่ 3 เช่น เขา ท่าน พวกเขา มัน พระองค์

(2) ประพันธสรรพนาม เป็นสรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยคย่อยทําหน้าที่แทนคํานามหรือสรรพนามข้างหน้า


ได้แก่คําว่า ที่ ซึ่ง อัน ผู้
คนที่เป็นครูต้องมีความอดทน นายกรัฐมนตรีไปเยี่ยมโรงเรียนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร
ความหวังซึ่งเป็นความหวังทสุดท้ายกําลังเลือนหายไป
เขาพยายามทํางานซึ่งไม่มีใครรับทํา ธรรมอันก่อให้เกิดสันติสุขคืออหิงสา
เหตุอันทําให้เขาท้อแท้ได้แก่ความคดโกง
บุคคลผู้ฝึกฝนมาดีแล้วย่อมไม่หวั่นไหว
เขาผู้ไม่เคยก้มหัวให้ใครคัดค้านโครงการนี้

(3) วิภาคสรรพนาม สรรพนามที่ใช้แยกส่วนคํานามหรือสรรพนามที่อยู่ข้างหน้า ..................................


นักเรียนต่างก็ทําการบ้านของตน นักเรียนบ้างก็หลับ บ้างก็คุยขณะครูสอน
ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชายต่างก็มีสิทธิเท่าเทียมกัน นักมวยคู่นี้ชกกันดุเดือดมาก
เรารักกันมานานแล้ว เราตกลงจะแต่งงานกัน

(4) นิยมสรรพนาม เป็นสรรพนามที่ใช้แทนนามชี้เฉพาะเจาะจง หรือชี้บอกระยะ


เช่น นี้ นี้ นั่น นั้น โน่น โน้น อย่างนี้ อย่างนั้น เช่นนั้น
นี่คือความสําเร็จของพวกเราทุกคน นี้เป็นข้อคิดที่ดีมาก
นั่นเป็นเรื่องของคุณ ไม่เกี่ยวกับผม นั้นเป็นมติของคณะกรรมการ
เธอไปยืนโน่นส่วนฉันจะอยูน่ ี่ ฉันว่าอย่างนี้ดีกว่าอย่างโน้น
โน้นคือที่หมายของเรา

(5) อนิยมสรรพนาม ใช้แทนนามทั่วๆไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง ใคร อะไร ไหน ผู้ใด ใครๆ อะไรๆ ไหนๆ
ใครจะไปเที่ยวเชียงใหม่ก็ได้ ฉันไม่ทราบว่าอะไรเป็นอะไรแล้ว
อะไรๆก็ไม่สําคัญเท่าความดี ผู้ใดพากเพียรวันนีผ้ ู้นั้นสบายวันหลัง
ไหนๆฉันก็ไปได้ ใดๆ ในโลกล้วนอนิจจัง ฉันกินอะไรก็ได้

(6) ปฤจฉาสรรพนาม เป็นสรรพนามใช้แทนนามที่มีเนื้อความเป็นคําถาม เช่น ใคร อะไร ผู้ใด ไหน


ใครจะไปเที่ยวเชียงใหม่บ้าง อะไรอยู่ในห้อง
ผู้ใดบังอาจมากระตุกหนวดเสือ ไหนแมวตัวใหม่ของเธอ
โตขึ้นเธออยากเป็นอะไร

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (66)


คํากริยา แบ่งเป็น 5 ชนิด คือ
(1) สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมมารับจึงจะได้ใจความสมบูรณ์
วัวกินหญ้า หมูกินรํา ปลากินลูกไร ชาวนาปลูกข้าว ชาวไร่ตัดอ้อย
แม่ตนี ้อง น้องเตะฟุตบอล แมวจ้องจิ้งจก พระผ่าฟืน พ่อล้างรถ
ฉันให้อาหารปลาทุกวัน (อาหาร – กรรมตรง. ปลา – กรรมรอง)
แม่ถวายภัตตาหารแด่ภิกษุสงฆ์ (ภัตตาหาร – กรรมตรง – ภิกษุสงฆ์ – กรรมรอง)
ผู้สมัคส.ส.แจกเงินแก่ชาวบ้าน (เงิน – กรรมตรง – ชาวบ้าน – กรรมรอง)

(2) อกรรมกริยา คือ กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ ก็สามารถทําประโยคมีใจความสมบูรณ์


กบร้อง ฝนตก น้ําท่วม ฟ้าร้อง รถติด ฉันยิ้ม
ครูหัวเราะ ไก่ขัน หมาเห่า งูเลื้อย แดดออก ม้าวิ่ง
นกบิน ปลาว่ายน้ํา เขานั่ง จิงโจ้กระโดด

ข้อสังเกต คําลักษณวิเศษณ์ บางคําสามารถทําหน้าที่เป็นภาคแสดงในประโยคได้


ภูเขาสูงเทียมฟ้า ห้องน้ําสะอาด ดอกกล้วยไม้หอม ขนมอร่อย ส้มพันธุ์นี้เปรี้ยวมาก
มะม่วงผลนี้หวาน น้ําแกงจืดไปหน่อย เธอสวยมาก ผิวของเธอขาว ผมของเธอยาว

(3) วิกตรรถกริยา คือกริยาที่ต้องอาศัยส่วนเติมเต็มเพื่อประกอบประโยคให้มีใจความสมบูรณ์เนื่องจากเป็น


กริยาที่ไม่ได้แสดงความเป็นผู้กระทํา ดังนั้นจึงไม่ต้องอาศัยกรรม แต่อาศัยส่วนเติมเต็มมาช่วย
ให้ประโยคสมบูรณ์
เธอคือแม่พระของเด็กๆ แห่งขุนเขา เขาเป็นกําลังสําคัญของครอบครัว
ผมเหมือนพ่อมาก น้องคล้ายแม่มากกว่าพ่อ
ปากกาประดุจอาวุธ กฤษฎาภินิหารแปลว่าอภินิหารที่ได้กระทํามาแล้ว

(4) กริยานุเคราะห์ คือกริยาที่ทําหน้าที่ช่วยกริยาอื่นที่ตามมาทําหน้าที่ช่วยบอกกาลหรือการกระทํา


เพื่อทําให้ประโยคมีใจความที่สมบูรณ์
ฉันย่อมทําในสิ่งที่ฉันพอใจ นักเรียนถูกครูดุเป็นเวลานาน
เขากําลังสร้างต้นแบบหุ่นยนต์คอมพิวเตอร์ตัวแรกของเมืองไทย
ผมคงจะอธิบายให้เธอฟังถ้าเธอเข้าประชุม
พี่ของฉันจะไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกาเดือนหน้า
ประชาชนต้องค่อยจับตาดูการทํางานของรัฐบาล
เขาได้ตกลงใจอุทิศตนแก่พระศาสนาโดยจะบวชไม่ศึก
คุณอาจจะเข้าใจเขาผิดก็ได้
คณะกรรมการได้พิจารณาเรื่องนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว

(5) กริยาสภาวมาลา คือกริยาที่ทําหน้าที่เป็นคํานามอาจเป็นประธาน กรรมหรือบทขยายของประโยค


ออกกําลังกายอย่างสม่ําเสมอมีประโยชน์ต่อร่างกาย เขาชอบว่ายน้ํา
อ่านในใจทําให้จําแม่น เธอฝึกร้องเพลงทุกวัน
เขาวิ่งทุกเช้าเพื่อออกกําลังกาย

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (67)


คําวิเศษณ์ แบ่งออกเป็น 10 ชนิด คือ
(1) ลักษณวิเศษณ์ คือคําวิเศษณ์ที่ประกอบเพื่อบอกลักษณะต่างๆ เช่น บอกชนิด สี สัณฐาน
ขนาด เสียง อาการ กลิ่น รส ความรู้สึก เป็นต้น เช่น ดี ชั่ว ขาว ดํา กลม แบน ใหญ่ เล็ก โครม
เปรี้ยง เร็ว ช้า เหม็น หอม หวาน เปรี้ยว เย็น ร้อน หนาว ฯลฯ
คนดีตกน้ําไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้
เขาเป็นคนแพ้อากาศหนาวดังนั้นเขาจึงรีบหาเสื้อหนาๆ มาใส่
บางครั้งทํางานเร็วเกินไป ก็อาจเป็นผลเสีย เธอชอบส้มตํารสเปรี้ยว เค็ม หรือหวาน

(2) กาลวิเศษณ์ คือคําวิเศษณ์ที่ประกอบเพื่อบอกกาลเวลา เช่น เช้า สาย บ่าย เที่ยง เย็น


เขามาก่อนจึงได้ก่อน เธอมาหลังก็ต้องได้หลัง พระออกบิณฑบาตตามถนนสายนี้ทุกเช้า
เรากําลังจะไปกันเดี๋ยวนี้ เราหยุดพักงานตอนเที่ยง
นกบินกลับรังยามพลบค่ํา

(3) สถานวิเศษณ์ คือคําวิเศษณ์ที่ประกอบเพื่อบอกสถานที่ เช่น บน ล่าง เหนือ ใต้ ไกล ใกล้ บก


น้ํา บ้าน ป่า
ลักษณนามของช้างบ้านใช้เชือกแต่ช้างป่าใช้ตัว
ช้างเป็นสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุด ปลาวาฬเป็นสัตว์น้ําที่ใหญ่ที่สุด
(บ้าน ป่า บก น้ํา ทําหน้าที่เป็นวิเศษณ์)
เขาเก็บกล่องสมบัติไว้ห้องชั้นบน ≠ เขาเก็บกล่องสมบัติไว้บนห้อง (บน - เป็นบุพบท)
ขุนแผนเดินทางผจญภัยไปทางเหนือ ≠
เขาเลือกทํามาที่นี่เพราะบ้านเขาอยู่ใกล้ ≠ เขาเลือกทํางานที่นี่เพราะอยู่ใกล้บ้าน
(ใกล้ - เป็นบุพบท)

(4) ประมาณวิเศษณ์ คือคําวิเศษณ์ที่ประกอบเพื่อบอกปริมาณและจํานวนนับ


มาก น้อย หลาย ทั้งหลาย จุ ทั้งหลาย ทั้งปวง ทั้งหมด บรรดา สิ่งละ บาง ทุก บ้าง กัน
หนึ่ง สอง สาม สี่
บรรดาแขกที่มาในวันนี้เขากินจุที่สุด
สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เพราะทุกสิ่งย่อมไม่เที่ยงแท้ ไม่มีตัวตนและเป็นทุกข์
เราต้องการตัวแทนเพียงสองคน
ถึงแม้จะมีคนสมัครมากแต่น้อยคนที่จะผ่านการคัดเลือกมาได้
นักเรียนบางคนกินบ้างทิ้งบ้าง ( บ้าง – ประมาณวิเศษณ์ )
นักเรียนบ้างก็กินบ้างก็ทิ้ง ( บ้าง – วิภาคสรรพนาม )

(5) นิยมวิเศษณ์ คือคําวิเศษณ์ที่ประกอบเพื่อบอกความชี้เฉพาะหรือจํากัดไปว่าเป็นเช่นนั้นเช่นนี้


สิ่งนั้นสิ่งนี้
นี่ นั่น โน่น โน้น ทั้งนี้ ทั้งนั้น อย่างนี้ อย่างนั้น ดังนี้ ดังนั้น แท้จริง เฉพาะ
เอง ดอก แน่นอน ทีเดียว เจียว เทียว
เธอนี่ทําเรือ่ งอย่างนั้นไปได้ยังไง ฉันเองเป็นคนทําเรื่องนี้ทั้งหมดจริง
เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ฉันต้องออกมารับผิดชอบแน่นอน
ใครจะมาโทษเธอดังนั้นไม่ได้ดอก ทั้งนี้เธอทําไปตามคําสั่ง
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (68)
ที่แท้เราควรยกย่องว่าเธอเป็นคนที่เสียสละมากที่สุดคนหนึ่งทีเดียว

(6 ) อนิยมวิเศษณ์ คือวิเศษณ์ที่ประกอบเพื่อบอกความไม่ชี้เฉพาะหรือไม่จํากัดลงไปว่าเป็นเช่นนั้นเช่นนี้
หรือสิ่งนั้นสิ่งนี้ เช่น ใด ไหน กี่ อะไร ทําไม เช่นไร
คนใดไปก่อนก็ได้ ครูอนุญาตให้นักเรียนไปสมัครชมรมไหนก็ได้
เธอจะเป็นเช่นไรฉันก็ไม่รังเกียจ เธอจะกระฟัดกระเฟียดอย่างไรฉันก็ไม่สนใจ

(7) ปฤจฉาวิเศษณ์ คือวิเศษณ์ที่ประกอบเพื่อบอกเนื้อความที่เป็นคําถามหรือ ความสงสัยที่ต้องการคําตอบ


ใด ไร ไหน กี่ อะไร ทําไม ฉันใด เช่นไร ไหม อันใด อย่างไร เท่าไร ไย หนอ
กรรมใดที่ทําให้เธอต้องเป็นเช่นนี้ สิ่งไรทําให้เขาเปลี่ยนแปลงไปมาก
คุณช่วยเหลือเขาทําไม คุณช่วยเขามากเท่าไรจึงจะพอ
ผมจะทําฉันใดดี คุณรู้ไหมว่าเขาเป็นใคร
ใครหนอรักเราเท่าชีวี

(8) ประติชญาวิเศษณ์ คือคําวิเศษณ์ที่ประกอบเพื่อบอกเสียงร้องเรียกและเสียงขานรับหรือโต้ตอบ


เพื่อแสดงความสละสลวยของภาษา และแสดงระดับภาษา ความเป็นกันเองหรือทางการ
ความสนิทสนม
แดงจ๋า พี่หิวแล้วจ้ะ แม่ครับผมขออนุญาตไปดูหนังกับเพื่อน
นิมนต์พระคุณเจ้าทางนีข้ อรับ อาจารย์ขา คุณแม่หนูมาหาค่ะ
(9) ประติเษธวิเศษณ์ คือคําวิเศษณ์ที่ประกอบเพื่อบอกความปฏิเสธ หรือไม่ยอมรับ
ไม่ มิใช่ ไม่ใช่ บ บ่ บ่มิ ฤ ฤา มิได้ ไม่ได้ หามิได้ หา.....ไม่ หาไม่
เขาไม่เคยตั้งใจทํางานเลย สมควรแล้วที่เขาไม่ได้เลื่อนขั้น
เขามิได้เป็นฝ่ายผิดคําพูด แต่หล่อนต่างหากที่ลืมสัญญาว่าจะรักกันจนกว่าชีวิตจะหาไม่
คนเราใช่จะอยู่ค้ําฟ้า (คนเราไม่อยู่ค้ําฟ้า )
แม่สาวงามนีฤ้ าจะมาทําลายตบะของอาตมา
หญิงงามแต่ใจทรามเช่นนีห้ าคุณค่ามิได้

(10) ประพันธวิเศษณ์ คือคําวิเศษณ์ที่ประกอบคํากริยาหรือคําวิเศษณ์เพื่อเชื่อมประโยค


ให้มีใจความเกี่ยวเนื่องกัน เช่น ที่ ซึ่ง อัน อย่างที่ ชนิดที่ ให้ ว่า ที่ว่า เพื่อว่า
เขาเป็นคนคนตลกชนิดที่ไม่มีใครตามมุกทัน
เขามักจะทําอะไรอย่างที่เขาต้องการจะทํา
คนฉลาดที่ไม่มีคุณธรรมเป็นอันตรายอย่างยิ่ง***
คนที่ไม่มีคุณธรรมเป็นอันตรายอย่างยิ่ง*** ( ที่ – เป็นประพันธสรรพนาม )
เขารับผิดชอบงานดีมากซึ่งเป็นผลดีต่อโครงการของเรา
เขาทํางานซึ่งไม่มีใครกล้าทํา ( ซึ่ง – เป็นประพันธสรรพนาม )
ครูลงโทษนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเข็ดหลาบ
พ่อสั่งให้ฉันไปกวาดบ้าน

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (69)


คําบุพบท แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
(1) บุพบทที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคําต่อคํา เช่น นามกับนาม นามกับสรรพนาม นามกับกริยา
สรรพนามกับกริยา กริยากับวิเศษณ์ เพื่อบ่งบอกสถานการณ์ให้ชัดเจน
บอกความเป็นเจ้าของ
บ้านหลังนี้เป็นของเขา แม่เตรียมอาหารสําหรับใส่บาตรตอนเช้า
ภารโรงเก็บสมุดหนังสือของนักเรียนที่ทิ้งไว้หลังห้อง
บอกความเกี่ยวข้อง
เขาต้องการดอกไม้ในแจกันแดง แม่ถวายปัจจัยแด่พระสงฆ์
เขาทําให้แต่เธอเท่านั้น ฉันเห็นแก่ความเป็นเพื่อน ฉันให้อภัย
เธอจะไปกับฉัน หรือจะไปกับเขา
บอกจุดหมาย
เด็กเร่ร่อนขอทานเพื่อความอยู่รอด เขาทํางานนีเ้ พื่อชื่อเสียง
บอกเวลา
เรารู้จักกันเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผมมารอคุณตั้งแต่เช้า
บอกสถานที่
เรานัดกันมาพบกันที่สถานีรถไฟหัวลําโพง เราจอกันที่โรงหนังโดยบังเอิญ
ต้นตระกูลของเขามาจากปักกิ่ง
บอกความเปรียบเทียบ
เธอสวยเหมือนแม่ เขาสูงกว่าน้อง
(2) บุพบทที่ไม่แสดงความสัมพันธ์กับบทอื่น ส่วนมากจะอยู่ต้นประโยค ใช้เป็นคําร้องเรียก
หรือทักทาย เช่น ดูกร ดูก่อน ดูรา ข้าแต่ ใช้นําหน้าคํานามหรือสรรพนาม
ดูกรสงฆ์ผู้ทรงศีลวิสุทธิโอภาสตัดขาดกิเลสสิ้นแดนสงสาร
ดูก่อนท่านจะไม่ลองคิดตรึกตรองอีกสักครั้งหรือ
ดูราสหายทุกท่าน เราจงมาร่วมปลดแอดให้กรรมกรและชาวนากันเถิด
ดูแน่ะพี่น้องทั้งหลาย เรามาตามสัญญาแล้ว
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพเจ้าทั้งหลายขอนอบน้อมบูชาพระองค์

ข้อสังเกต คําบุพบทบางคําสามารถละได้ โดยความหมายคงเดิม เช่น


เขาเป็นน้องของฉัน - เขาเป็นน้องฉัน ครูให้รางวัลแก่นักเรียน - ครูให้รางวัลนักเรียน
เขาชอบเธออย่างมาก - เขาชอบเธอมาก ฉันไปที่โรงเรียน - ฉันไปโรงเรียน

คําสันธาน แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ


(1) สันธานเชื่อมประโยคความรวม
(1.1) เชื่อมให้ใจความคล้อยตามกัน ได้แก่ ก็ และ แล้วจึง ครัน้ ......ก็ เมื่อ......ก็........
พอ...... ก็....... ทั้ง......ก็......... .....ก็ดี..... ......ก็ตาม........
ถ้าฝนไม่ตกฉันก็จะมาหาเธอ
ฉันและเพื่อนตั้งใจจะสอบเข้าคณะอักษรศาสตร์
ฉันสวดมนต์เสร็จแล้วจึงเข้านอน ครั้นเขาทํางานเสร็จเขาก็จากไป
เมื่อครูสั่งนักเรียนก็ต้องทําตาม พอเขามาฉันก็ไป
ทั้งฝนตกก็ตกรถก็ติดหงุดหงิดเป็นบ้า คนก็ดีสัตว์ก็ดี รักชีวิตกันทั้งนั้น
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (70)
ผู้ชายก็ตามผู้หญิงก็ตาม สามารถทํางานนี้ได้
ครั้นน้ําลดลงชาวบ้านจึงกลับไปซ่อมแซมบ้าน
(1.2) เชื่อมให้ใจความขัดแย้งกัน ได้แก่ แต่ แต่ทว่า แต่......ก็....... กว่า.......ก็........
ถึง.......ก็....... แม้......ก็.........
เขาอยากเรียนเก่งแต่ไม่เคยอ่านหนังสือ
เขามักสัญญากับประชาชนแต่ทว่าไม่เคยรักษาสัญญาสักครั้งเดียว
ฝ่ายกบฏบุกโจมตีอย่างหนักตั้งแต่เช้ายันค่ําแต่ก็ยึดที่มั่นของฝ่ายรัฐบาลไม่ได้
กว่าลูกจะโตเป็นผู้ใหญ่ แม่ก็ผอมเหลือแต่กระดูก
ถึงเขาจะจนแต่เขาก็ไม่เคยรบกวนใคร
แม้ว่าเขาจะพ่ายแพ้มาหลายครั้งเขาก็ไม่เคยท้อถอย
(1.3) เชื่อมให้ใจความเป็นเหตุเป็นผลกัน ได้แก่ เพราะ ...จึง....... ด้วย....จึง.........
เพราะฉะนั้น........จึง............ ดังนั้น..........จึง.............
เพราะเขาเจ็บเขาจึงจํา
ด้วยเธอเป็นเจ้านายจึงไม่อาจแสดงความรู้สึกที่แท้จริงต่อเขา
เขาทํางานด้วยความรอบคอบ เพราะฉะนั้นงานจึงประสบความสําเร็จ
เครื่องยนต์เกิดขัดข้องดังนั้นกัปตันจึงตัดสินใจนําเครื่องบินลงกลางทุ่งนา
(1.4) เชื่อมให้มีใจความเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไดแก่ หรือ ไม่เช่นนั้น ไม่ก็ มิฉะนั้น
หรือมิฉะนั้น
เธอจะนอนหรือจะไปดูหนังกับฉัน
นักเรียนต้องส่งรายงานตามกําหนดไม่เช่นนั้นจะถูกครูหักคะแนน
ลูกควรอ่านหนังสือไม่กท็ ําการบ้าน
เธอควรตั้งใจเรียนมากกว่านีม้ ิฉะนั้นครูจะแจ้งผู้ปกครอง
เธอควรอ่านหนังสือหรือมิฉะนั้นก็ทําการบ้าน
(2) สันธานเชื่อมประโยความซ้อน
(2.1) เพื่อเชื่อมประโยคความซ้อนชนิดนามานุประโยคเพื่อบอกการกระทําหรือ เนื้อความแห่ง
คําพูดโดยมีคําว่า “ให้” “ว่า” เป็นตัวเชื่อม เช่น
พ่อบอกให้ผมอ่านหนังสือ แม่เตือนฉันว่าอย่าลืมเลี้ยงแมว
(2.2) เพื่อเชื่อมประโยคความซ้อนชนิดวิเศษณานุประโยค
เพื่อแสดงเวลา
เรารู้จักกันตั้งแต่เป็นเด็ก เขามาเมื่อทุกคนกลับไปหมดแล้ว
เพื่อแสดงเหตุผล
ห้องสกปรกเพราะทุกคนทิ้งขยะไม่เป็นที่ เขาแพ้เพราะไม่เชื่อฟังโค้ช
เพื่อบอกผล
เขาขุดดินจนมือแตก เขาเล่นการพนันจนเมียทิ้ง
เพื่อแสดงความเปรียบเทียบ
กวนอูพูดดังราวกับฟ้าร้อง แม่หวงลูกเหมือนจงอางหวงไข่
เธอติดตามเขาทุกฝีก้าวดุจเงาตามตัว
กรรมใดใครก่อย่อมติดตามตัวไปดังล้อเกวียนหมุนไปตามโค

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (71)


คําอุทาน แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
(1) คําอุทานบอกอาการ เป็นคําอุทานเพื่อบอกอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูด เช่น
อารมณ์โกรธ ชิๆ ชิชะ อุเหม่ ดูดู๋ เหม่ๆ
อารมณ์สงสาร โถ อนิจจัง อนิจจา พุทโธ่พุทธังเอ๋ย โธ่เอ๋ย
อารมณ์ตกใจ โอ๊ะ ว๊าย คุณพระช่วย
อารมณ์ดีใจ ไชโย เฮ้
ความรู้สึกเจ็บ อุ๊ย โอ๊ย โอย
ความรู้สึกสงสัย เอ เอ๊
ความรู้สึกประหลาดใจ โอ้โฮ เอ๊ะ เอ๋ โอ๊ะ
ความรู้สึกรําคาญ แหม อุบ๊ะ
ความรู้สึกผิดหวัง โธ่เอ๊ย เฮ้อ ว้า
(2) อุทานเสริมบท
(2.1) เสริมบทที่เป็นคําสร้อย ในคําประพันธ์ประเภทโคลงและร่าย
“นา แฮ เฮย แล รา ฮา เฮย” คําเหล่านี้ไม่มีความหมาย ใช้เติมในคําประพันธ์ให้ครบ
ฉันทลักษณ์เท่านั้น เช่น
ครูคือผู้อาจกล้า กลางสมร ภูมเิ ฮย
หมู่เด็กคอยราญรอน ต่อสู้
ใช้ชอล์กปากกาสอน กําราบ ศึกนา
นําศิษย์ให้รอบรู้ หลากล้วนเวียนมา ฯ

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (72)


ชนิดคําในภาษาไทย
1. บริบทของคํานามในข้อใดที่แสดงว่าประธานของประโยคเป็นพหูพจน์
1. นักเรียนต้องผลัดกันเล่นทีละคน 2. เด็กเล็กๆ ยังไม่มีความระมัดระวังมากนัก
3. ครูสั่งให้พวกเราทําการบ้านมาส่งพรุ่งนี้ 4. ใครจะคิดว่าพวกเขาเป็นคนทําเรื่องทั้งหมด
2. คําถามในข้อใดที่คําตอบละบทกริยาไม่ได้
1. ใครจะไปซื้อของ 2. ติ๋วอยากได้อะไร
3. เสื้อตัวนี้สวยไหม 4. นิดชอบกระโปรงตัวไหน
3. ข้อใดที่คํากริยาบ่งบอกจํานวนประธานต่างกับข้ออื่น
1. โถมแทงสุดแรงที่มี 2. รุมจับไพรีไว้ให้ได้
3. กรูเข้ามาฟาดฟันให้บรรลัย 4. ล้อมไว้ทุกทางอย่างมั่นคง
4. ข้อใดขีดเส้นใต้คํากริยาหลักของประโยคได้ถูกต้อง
1. อมรเป็นบุคคลหนึ่งทีช่ ื่นชมเจ้าหญิงไดอานา
2. นักการเมืองสิงคโปร์เห็นแก่บ้านเมืองมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว
3. ด้านล่างของโฆษณาเขาสาธยายคุณสมบัติของรถอย่างยืดยาว
4. การพิจารณากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญก็มีกรอบเวลาชัดอยู่แล้วเช่นกัน
5. ประโยคใดบ่งเวลาผิดกับประโยคอื่น
1. เด็กคงตบประตู เขาถึงโมโห 2. คุณแม่คงพอใจ ถ้าพวกเราให้ของขวัญ
3. คนเจ็บคงสะเทือน เลือดจึงออก 4. เครื่องยนต์คงเสื่อม รถเลยติดเครื่องไม่ได้
6. คําที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดทําหน้าทีต่ ่างจากคําในข้ออื่นๆ
1. บัตรประชาชนของฉันขาดอายุ 2. เสื้อตัวนี้ขาย 50 บาทขาดตัว
3. เศรษฐกิจไม่ดีค้าขายอะไรก็ขาดทุน 4. ตอนนี้ยังซื้ออะไรไม่ได้เพราะเงินขาดมือ
7. การใช้คําว่า ไม่ ในข้อใดที่ต่างไปจากข้ออื่น
1. ทําไมไม่กินข้าว 2. ฉันดูเขาไม่ออก
3. ไม่ไปเที่ยวหรือ 4. ไม่มีเงินเลยวันนี้
8. ข้อใดใช้คําบุพบทได้เหมาะสมที่สุด
1. เขาตรงเข้าไปพบเธอถึงที่ในบ้าน
2. ฉันตื่นขึ้นมาก็เห็นน้ําเอ่อมาเกือบจดริมๆ ขอบฝั่ง
3. ความสัมพันธ์ของระหว่างสองประเทศนี้นับวันก็จะแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
4. รัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ว่า ไม่เห็นด้วยกับแผนการปฏิรูปการศึกษาของคณะกรรมการการศึกษา
แห่งชาติ
9. คํา “ก็” ในข้อใดเชื่อมระหว่างคํานามกับคํากริยา
1. กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ 2. ถ้าเธอไม่เรียนก็ทํางาน
3. ฉันจะซื้อไม่กระเป๋าก็รองเท้า 4. สอบก็ตกแล้วยังไม่ขยันเรียน
10. ข้อใดแสดงชนิดของคําต่างไป
1. ชายคา 2. ชายตา 3. ชายฝั่ง 4. ชายธง
11. ประเภทของคําในข้อใดต่างกับข้ออื่น
1. กลมกลืน หนักแน่น บีบคั้น ล่มจม 2. แก้หน้า ถ่อมตัว เข้าหม้อ ถอดสี
3. ฟืนไฟ เสื้อแสง ปากคอ ร่ําเรียน 4. โยกโย้ ทรุดโทรม คลอนแคลน ถากถาง

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (73)


12. “โจรกรรมลึกลับในโรงจํานํา” ข้อความนี้บกพร่องในข้อใด
1. ขาดประธาน ขาดกรรม 2. ขาดประธาน ขาดคําเชื่อม
3. ขาดกริยา ขาดกรรม 4. ขาดกริยา ขาดคําเชื่อม
13. ข้อใดใช้คําเชื่อมได้เหมาะสม
1. เขาไปเที่ยวทุกแห่งที่มีโอกาส
2. ความคิดเห็นของคนรุ่นนี้ต่างกับคนรุ่นเรามาก
3. เขาเข้าเรียนภาษาอังกฤษสม่ําเสมอ ซึ่งเขาใช้ภาษาอังกฤษได้ดีมากอยู่แล้ว
4. วิภาเสียใจมากที่ทราบว่าคุณป้าเสียชีวิต ถึงอย่างไรท่านก็เป็นญาติผู้ใหญ่ที่เธอรักมาก
14. ข้อใดใช้คํา “ที”่ เป็นคําเชือ่ มประโยคทั้ง 2 แห่ง
1. กิจกรรมที่ฉันสนใจคือไปดูนิทรรศการที่ศูนย์การค้าต่างๆ
2. ขณะที่ฉันเดินเพลินๆ ก็ได้พบเพื่อนเก่าที่จากกันไปนาน
3. เมื่อเขาไปบ้านที่ระยอง เขาจึงรู้ว่าบ้านที่เคยอยู่ถูกไฟไหม้
4. ฉันดีใจมากที่รู้ว่าครูที่ฉันรักได้รับรางวัลครูดีเด่น
15. ข้อความต่อไปนี้มีคําเชื่อมกี่คํา
“นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นคว้าทดลองแล้วพบว่ายังมีอาหารชนิดหนึ่งที่คนทั่วโลกนิยมรับประทานมา
ช้านาน อีกทั้งยังเป็นสมุนไพรเก่าแก่ซึ่งใช้เป็นยารักษาโรคอันขึ้นชื่อมาแต่ยุคกรีกโบราณที่สําคัญ
สามารถช่วยลดอัตราการเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้อย่างชะงัด นั่นก็คือกระเทียม”
1. 6 คํา 2. 7 คํา 3. 8 คํา 4. 9 คํา
16. คําในข้อใดเหมาะสมที่จะเติมช่องว่างในข้อความต่อไปนี้
“โครงการศูนย์วิทยาศาสตร์______เทคโนโลยีประจําจังหวัดเป็นโครงการ______ให้ประชาชน
ตระหนัก______ความสําคัญของวิทยาศาสตร์”
1. กับ เพื่อ ต่อ 2. หรือ เพื่อ ถึง 3. และ ที่ ต่อ 4. และ ที่ ถึง
17. “ 1 มีการสอนวิชากฎหมายในหลายมหาวิทยาลัย 2 คนที่รู้กฎหมาย 3 ยังมีน้อยกว่าคนที่
ไม่รู้ 4 5 ทําความผิดจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้”
ข้อใดนํามาเติมช่องว่างในข้อความข้างต้นนี้แล้วได้ความหมายถูกต้อง
1. ถึงแม้ว่า , เป็นเหตุให้ , จึง , ดังนั้น , หาก 2. เพราะ , ทําให้ , ซึ่ง , ด้วยเหตุนี้ , หาก
3. ทั้งๆ ที่ , แต่ , ก็ , อย่างไรก็ตาม , ถ้า 4. ด้วยเหตุที่ , แต่ , ก็ , ทั้งๆ ที่ , ถ้า

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (74)


ชนิดคําในภาษาไทย (2)
1. คํานามในข้อใดทําหน้าที่ต่างกับข้ออื่น
1. หนังสือเล่มนี้ไม่มีใครสนใจเลย
2. เขาชอบอ่านหนังสือเล่มนี้มากที่สุด
3. นวนิยายชุดนี้พวกเขาเหล่านั้นชอบมาก
4. นวนิยายเรื่องนี้น่าสนใจ เพราะเป็นเรื่องที่ดีมาก
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคําถามข้อ 2 – 3
“เสด็จเพคะ เสด็จให้มาทูลถามเสด็จว่าเสด็จจะเสด็จหรือไม่เสด็จ ถ้าเสด็จจะเสด็จ เสด็จก็จะเสด็จ
ถ้าเสด็จไม่เสด็จ เสด็จก็ไม่เสด็จ”
2. ข้อความข้างต้นนี้มีบุรุษสรรพนามที่ 2 และที่ 3 อย่างละกี่คํา
1. 3 คํา , 5 คํา 2. 4 คํา , 4 คํา 3. 5 คํา , 3 คํา 4. 6 คํา , 2 คํา
3. ข้อความข้างต้นนี้มีกริยาราชาศัพท์กี่คํา
1. 5 คํา 2. 6 คํา 3. 7 คํา 4. 8 คํา
4. คําว่า “กัน” ในข้อใดเป็นคําสรรพนาม
1. พี่ไม่ชอบให้เธอกันคิ้ว 2. กันไว้ดีกว่าแก้
3. คนบ้านนี้ชอบตีกัน 4. เด็กของเราถูกันไม่ให้เข้าไป
5. ข้อความต่อไปนี้มีคําสรรพนามปรากฏอยู่กี่คํา
“คนที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องอาหารการกินของครอบครัว โดยเฉพาะแม่บ้านผู้ทําครัวเองต้องคิด
ทุกวันว่า วันนี้ใครจะกินอะไร กินสามมื้อ คิดทั้งสามมื้อติดต่อกันเป็นลูกโซ่ เพราะต้องเตรียมล่วงหน้า
เช่น กินโจ๊กเป็นอาหารเช้าก็บดข้าวสารแล้วต้มเอาไว้ตั้งแต่เย็น ตอนเช้าก็ทําได้ทันทีเหมือนที่เขาปรุง
ขาย”
1. 4 คํา 2. 5 คํา 3. 6 คํา 4. 7 คํา
6. คําที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดเป็นคํากริยาสกรรม
1. พวกตัดไม้ยังตัดกันไม่หยุด 2. วัวแดงตัวนั้นล้มจมพงหญ้า
3. ขบวนเรือถึงวัดตอนดึกเกือบห้าทุ่ม 4. ไม้สักต้นกําลังงามขึ้นปนกับไม้แดงไม้ยาง
7. คําที่ขีดเส้นใต้ข้อใดเป็นคํากริยาอกรรม
1. บริเวณป่ารอบตัวมืดสนิท 2. น้ําหวานเหนียวข้นกระเซ็นติดฝามุมห้อง
3. เราต่างถอดรองเท้าออกวางไว้ข้างบันได 4. สายลมแรงโยกกิ่งก้านต้นไม้ให้ไหวเอน
8. คํากริยาที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดไม่ใช่กริยาอกรรม
1. ตัวละครผ่านออกมาทางประตูนี้ 2. นางกินรีพํานักอยู่ที่เขาไกรลาส
3. พระสุธนตามนางมโนราห์ไป 4. ผู้แสดงร่ายรําด้วยท่วงท่าเข้ากับทํานองเพลง

ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 9 – 10
ก. เธอจงถักทอฝันที่เธอหวัง
ข. หนึ่งชีวิตหนึ่งใจมอบให้เพียงเธอ
ค. อุปสรรคขวากหนามทิ่มแทงอย่างโหดร้าย
ง. เกิดคําถามขึ้นในใจว่าทําไมผู้ใหญ่ถูกเสมอ
9. คําที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดทําหน้าที่กริยาหลัก
1. ข้อ ก. 2. ข้อ ข. 3. ข้อ ค. 4. ข้อ ง.

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (75)


10. ข้อใดเป็นประโยคที่ไม่มีบทกรรม
1. ข้อ ก. 2. ข้อ ข. 3. ข้อ ค. 4. ข้อ ง.
11. ข้อใดมีคําชนิดเดียวกับคําที่ขีดเส้นใต้ในประโยค “ฉันจะซื้อหนังสือสามเล่ม”
1. เขาสั่งก๋วยเตี๋ยวอีกชาม 2. ฉันนั่งอ่านหนังสือคนเดียว
3. แม่มีลูกคนที่สองเป็นชาย 4. ในสวนมีต้นมะพร้าวหลายต้น
12. ข้อใดเป็นคําอธิบายที่ถูกต้องของข้อความที่ว่า “ห้ามไม่ให้เดินลัดสนาม”
1. เป็นข้อความที่ใช้กันมาแต่โบราณ
2. เป็นการใช้ปฏิเสธซ้อนปฏิเสธเพื่อย้ําความ
3. เป็นข้อความที่ความหมายในทางบอกเล่า
4. เป็นข้อความที่ใช้เกณฑ์ทางคณิตศาสตร์มาอธิบาย
13. คําที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดเป็นคําบุพบท
1. แสงอาทิตย์ส่องกระทบแหวนทีเ่ ธอสวมอยู่
2. ผมเห็นเด็กชายถือขนมปังและขนมแป้งอบ
3. สาวน้อยนางหนึ่งยืนอยูร่ ิมลําธาร
4. นกสาลิกาดงจากเราไปแล้ว
14. ข้อความนี้ส่วนใดไม่มีคําบุพบท
(1) โรคพาร์กินสันเป็นโรคทางระบบประสาทโรคหนึ่งที่พบเพิ่มขึ้นตามอายุประชากร / (2) ผู้ป่วย
จะแสดงลักษณะท่ายืนที่ผิดปรกติ มือสั่น สีหน้าเฉยเมย ไม่แสดงอารมณ์หรือความรู้สึก / (3) โรคนี้มีผล
ต่อการเคลื่อนไหวและการทรงตัวของผู้ป่วยจนอาจหกล้มได้ง่ายๆ / (4) ปัจจุบันนี้รักษาด้วยยากินแต่ไม่
หายขาด
1. ส่วนที่ (1) 2. ส่วนที่ (2) 3. ส่วนที่ (3) 4. ส่วนที่ (4)
15. ข้อใดใช้คําบุพบทถูกต้อง
1. เราทุกคนมั่นใจต่อมติของส่วนรวม
2. ผู้ส่งออกข้าวต้องจดทะเบียนต่อกรมการค้าต่างประเทศ
3. นิสิตยื่นคําร้องต่อมหาวิทยาลัยหากต้องการเปลี่ยนวิชา
4. ประเทศไทยกําลังหาลู่ทางคว่ําบาตรต่อประเทศอินโดนีเซีย
16. ข้อใดใช้คําบุพบทไม่ถูกต้อง
1. เด็กจะถูกผลักดันเข้าสู่ระบบการศึกษาด้วยวิธีการแข่งขัน
2. เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับบรรทัดฐานของสังคมจากโรงเรียน
3. สถาบันที่มีอิทธิพลกับความคิดของเด็กมากก็คือโรงเรียน
4. รางวัลสําหรับผู้ชนะการแข่งขันก็คือการได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่ต้องการ
17. ข้อใดใช้คําว่า “กับ” ไม่ถูกต้อง
1. เรื่องการใช้สารเคมีนี้ นอกจากจะทําให้ชื่อเสียงของประเทศไทยเสียหายแล้วยังกระทบกับภาวะการ
ส่งออกพืชผลของประเทศอย่างรุนแรง
2. แนวทางเดียวที่สามารถแก้ไขได้ คือต้องสร้างจิตสํานึกในการใช้สารเคมีให้มีความถูกต้องและ
เหมาะสมกับสินค้า
3. เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับเกษตรกรโดยตรง เพราะเกษตรกรไม่สามารถทําให้พืชผักผลไม้ในบ้านเราปลอด
จากสารพิษได้
4. มาตรการสําคัญ คือต้องตรวจสอบปริมาณสารเคมีและรับรองคุณภาพสินค้าการเกษตรเพื่อสร้าง
ความมั่นใจให้เกิดขึ้นกับผู้บริโภค
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (76)
18. คําที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดเป็นคําสันธาน
1. โรงพยาบาลนี้ตรวจรักษาโรคด้วยเครื่องมือทันสมัย
2. พอได้ยินเสียงร้องว่าช่วยด้วยชาวบ้านก็รีบวิ่งไปทันที
3. ใครๆ ก็อยากให้เธอไปเที่ยวด้วยเพราะเป็นคนคุยสนุก
4. ทางราชการจะปรับปรุงวิธีการเก็บภาษีด้วยปรากฏว่ามีผู้เลี่ยงภาษีกันมาก
19. ข้อใดมีการใช้คําสันธาน
1. อันว่าความกรุณาปรานีย่อมไม่มีใครบังคับได้ ต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจเท่านั้น
2. ภิกษุในพระพุทธศาสนาครองตนอยู่อย่างสมถะตามพุทธบัญญัติ ไม่สะสมข้าวของเครื่องใช้เกิน
จําเป็น
3. ผู้บริหารได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบบริหารภายในเพือ่ ความคล่องตัวและประสิทธิภาพในการ
ดําเนินงานขององค์กร
4. ในรายวิชาศึกษาอิสระนั้น ผู้เรียนอาจเลือกศึกษาหัวข้อเฉพาะตามความสนใจของตนโดยมีอาจารย์
เป็นผู้ให้คําปรึกษา
20. ข้อใดใช้สันธานบอกความสัมพันธ์ของประโยคแตกต่างจากข้ออื่น
1. ฉันไปรอเธออยู่ตั้งนานก็ไม่เห็นมา เลยกลับบ้าน
2. สัปดาห์นี้ไม่ว่างต้องไปเมืองเพชร จากนั้นต้องไปภูเก็ตอีก
3. เขาต้องดูแลพ่อที่ป่วยหนัก จึงต้องลาออกจากงาน
4. แม่ทํางานหนักมาตั้งแต่เด็ก จนไม่มีเวลาดูแลสุขภาพของตน

ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 21 – 22
ก. ทุกวันนี้ชาวต่างประเทศชื่นชมกับอาหารไทย ยิ่งมีอุปกรณ์ตกแต่งร้านอาหารเป็นศิลปะไทยๆ ก็
ยิ่งจะเป็นที่นิยมมากขึ้น
ข. คนไทยควรเชิญชวนให้ชาวต่างประเทศหันมาสนใจรับประทานอาหารไทยซึ่งมีคุณค่าต่อ
ร่างกายไม่แพ้อาหารของชาติอื่นๆ
ค. ร้านอาหารของคนไทยในต่างประเทศดําเนินการอยู่ได้เพราะชาวต่างประเทศนิยมอาหารที่มี
รสชาติแบบไทยๆ
ง. ตลาดต่างประเทศเกี่ยวกับธุรกิจร้านอาหารเป็นตลาดที่ใหญ่โตมาก แต่ผู้บริโภคมีกําลังซื้อสูง
21. ข้อใดใช้คําบุพบทไม่ถูกต้อง
1. ข้อ ก. 2. ข้อ ข. 3. ข้อ ค. 4. ข้อ ง.
22. ข้อใดใช้คําสันธานไม่ถูกต้อง
1. ข้อ ก. 2. ข้อ ข. 3. ข้อ ค. 4. ข้อ ง.
ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 23 - 24
(1) สิงคโปร์เป็นเกาะเล็กๆ ตั้งอยู่ในชัยภูมิอันเหมาะสมจึงได้เป็นศูนย์กลางของสายการบิน
นานาชาติ (2) เมื่อสิงคโปร์เริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมจนมีผู้อุปถัมภ์มากมาย โดยเฉพาะอเมริกากับอังกฤษ
เปิดรับสินค้าจากสิงคโปร์อย่างเต็มที่ (3) ประเทศไทยและประเทศกลุ่มอาเซียนอื่นๆ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้
เป็นผู้อุปถัมภ์สิงคโปร์แต่ก็เหมือนเป็น (4) เพราะประเทศไทยเป็นแหล่งรองรับสินค้าจากสิงคโปร์และ
เป็นผู้ส่งแรงงานราคาถูกให้กับสิงคโปร์ด้วย
23. ข้อความตอนใดใช้คําบุพบทผิด
1. ตอนที่ (1) 2. ตอนที่ (2) 3. ตอนที่ (3) 4. ตอนที่ (4)

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (77)


24. ข้อความตอนใดใช้สันธานผิด
1. ตอนที่ (1) 2. ตอนที่ (2) 3. ตอนที่ (3) 4. ตอนที่ (4)
25. ข้อใดใช้คํา “ถึง” ได้อย่างเหมาะสม
1. อาจารย์ใหญ่กล่าวถึงผลงานของโรงเรียนในรอบปีที่ผ่านมาว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ
2. นายกสมาคมกล่าวขอบคุณและชื่นชมถึงแนวคิดของสมาชิกที่ได้เสนอในครั้งนี้
3. การจัดงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกคนเข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ที่มีต่อชุมชน
4. เมื่อรัฐบาลประกาศถึงเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มดีขึ้น ทําให้ต่างชาติมาลงทุนเพิ่มขึ้นในทันที
26. ข้อใดมีคําว่า “ถึง” แตกต่างจากข้ออื่น
1. ยังมีแพทย์อีกกลุ่มหนึ่งที่เลือกเป็นแพทย์ชนบท ถึงจะเป็นส่วนน้อย แต่ก็ทําให้คนในชนบทมีที่พึ่ง
2. โรงพยาบาลเอกชนให้ค่าตอบแทนสูง ดังนั้นการที่แพทย์ขอย้ายไปโรงพยาบาลเอกชนถึงไม่ใช่เรื่อง
แปลก
3. หมอพยายามเข้าไปแนะนําชาวบ้านถึงพวกเขาจะยังมีความเชื่อเกี่ยวกับการรักษากับหมอผีประจําเผ่า
อยู่ก็ตาม
4. หมอบอกชาวบ้านว่า ที่คนเราไม่ค่อยสบาย ถึงสาเหตุจะมาจากเชื้อโรคเป็นหลักแต่พฤติกรรมการกิน
ก็เป็นสาเหตุที่สําคัญอีกอย่างหนึง่
27. คําว่า “ที”่ ในข้อใดที่ทําหน้าทีต่ ่างกับข้ออื่น
1. ความปรารถนาของเขาก็คือการไปอยู่ในที่ห่างไกลผู้คน
2. ผมรู้จักชื่อเสียงเขามานานแล้วตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นอาจารย์
3. ผมเคยสนทนาแบบผิวเผิน 1 ครั้ง ตอนที่เขาเข้ามาทํางานใหม่ๆ
4. คนเก่งไม่ใช่คนที่ไม่เคยทําอะไรผิด แต่หมายถึงคนที่ทําผิดพลาดแล้วแก้ไขได้เร็ว
28. คําว่า “ที”่ ในข้อใดทําหน้าที่แตกต่างจากข้ออื่น
“ผู้ใหญ่ว่าเยาวชนยุคดิจิทัลนี้ลุ่มหลงอยู่ในวิถีชีวิตสมัยใหม่ตามแบบวัฒนธรรมตะวันตกโดยเฉพาะ
ประเทศทุนใหญ่ที่ (1) มือยาวสาวได้สาวเอา แต่พอถึงคราวผู้ใหญ่ที่ (2) เป็นครูบาอาจารย์จะลงมือแก้ไข
กลับเอาอย่างตะวันตกตามที่ (3) ได้เรียนรู้มา ไม่ได้แยกแยะให้ดีว่าควรจะเอาอะไรมาจึงจะเหมาะสมกับ
เด็กบ้านเมืองนี้ การแก้ปัญหาเยาวชนของชาติจึงเหมือนลิงแก้แหยิ่งแก้ยิ่งยุ่ง เพราะพ่อแม่ที่ (4) ใกล้ชิด
กับเด็กตกยุคคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตไปแล้ว”
1. ข้อ (1) 2. ข้อ (2) 3. ข้อ (3) 4. ข้อ (4)
29. ข้อใดใช้ “ซึ่ง” ได้ถูกต้อง
1. นมชนิดพร่องมันเนยไม่เหมาะกับเด็กซึ่งอยู่ในวัยเจริญเติบโต
2. ผู้ประสงค์จะเข้าอบรมโปรดแจ้งความจํานงล่วงหน้าซึ่งรายละเอียดการฝึกปฏิบัตินั้นจะได้แจ้งให้
ทราบภายหลัง
3. ราคาข้าวของชาวนาไทยตกต่ําทุกปีซึ่งไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหนต่างก็เคยประสบปัญหานี้มาแล้ว
ทั้งสิ้น
4. เด็กสมัยนี้มีพัฒนาซึ่งเร็วกว่าสมัยก่อนมาก ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้หรือการแสดงออกทางความคิด
30. ข้อใดใช้คํา “ซึ่ง” ถูกต้อง
1. บริษัทควรปรับเปลี่ยนการวางแผนใช้เงินเป็นการวางแผนใช้คนซึ่งก็คือพนักงานของบริษัทนั่นเอง
2. ปัจจุบันสังคมไทยประสบปัญหาคนว่างงานอย่างรุนแรง ซึ่งรัฐบาลกําลังหามาตรการแก้ไขอยู่
3. วันนี้โรงพยาบาลบริการตรวจสายตาฟรี ซึ่งทุกคนมารับบริการนี้ได้ตั้งแต่ 9.00 น. ถึง 16.00 น.
4. ร่างกายจะสูญเสียน้ําวันละประมาณ 2-3 ลิตร ซึ่งถ้าเราไม่ดมื่ น้ําเข้าไปชดเชยจะทําให้กระหายน้ํา

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (78)


31. ข้อใดใช้คําเชื่อมได้ถูกต้อง
1. บริษัทจะจัดฝึกอบรมให้กับพนักงานขายประมาณปลายเดือนนี้
2. เขาได้รับเชิญให้บรรยายเรื่องเทคนิคการสมัครงานต่อนักศึกษาชั้นปีที่ 4
3. การสัมมนาครั้งนี้เป็นประโยชน์แก่อาจารย์และนักศึกษาที่เข้าฟังอย่างยิ่ง
4. ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ของหน่วยงานของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
32. ข้อใดใช้คําเชื่อมถูกต้อง
1. พิธีกรประกาศกําหนดการช่วงบ่ายกับผู้เข้าสัมมนา 2. นายกสมาคมติดต่อขอมอบทุนกับนักเรียน
3. บรรณาธิการสนทนากับผู้อ่านในหน้าคํานํา
4. กระเป๋าใบนี้คุณต้องส่งให้กับเจ้าหน้าที่เปิดดูเอง
33. ข้อใดใช้คําเชื่อมถูกต้อง
1. สื่อมวลชนอันได้แก่หนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาของนักเรียน
2. พจนานุกรมไทยฉบับซึ่งอาจารย์นํามาให้นักเรียนดูคือพจนานุกรมของมานิต มานิตเจริญ
3. คนโบราณได้คิดคําให้มีเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ต่างกันออกไปเพื่อที่ต้องการให้มีคําใช้ใน
ภาษามากขึ้น
4. ภาษาสื่อมวลชนมีทั้งภาษาที่ใช้ถูกต้องตามแบบแผนกับผิดแบบแผนจนมีผู้กล่าวโทษสื่อมวลชนว่า
ทําให้ภาษาไทยวิบัติ
34. ข้อใดใช้คําเชื่อมไม่ถูกต้อง
1. แม่ทํากับข้าวแปลกๆ ให้เรากินเสมอ 2. เขาเห็นกับตาว่าเธอหยิบของใส่กระเป๋า
3. แม่เห็นแก่ลูกเพราะมาอยู่กับลูกตอนสอบ
4. เขารีบกลับจากต่างประเทศเพื่อจัดงานวันเกิดให้แม่
35. ข้อใดใช้คําเชื่อมไม่ถูกต้องเหมาะสม
1. ถึงแม้เราจะพิถีพิถันล้างจานจนสะอาดเพียงใดก็อาจมีแบคทีเรียหลงเหลืออยู่
2. คนที่มีความเครียดมักจะปวดหัวบ่อยๆ บางคนปวดหัวข้างเดียวหรือที่เรียกกันว่าไมเกรน
3. ถ้าใช้น้ําบาดาลมากเกินไปอาจเกิดปัญหาหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นน้ําท่วม ดินทรุด และน้ําเค็ม
หนุน
4. การประกอบอาชิพสุจริต การรับผิดชอบต่อครอบครัว ตลอดจนการทําประโยชน์ต่อสังคมล้วนเป็น
คุณสมบัติที่น่ายกย่อง
36. คําเชื่อมในข้อใดเมื่อเติมในช่องว่างแล้วได้ความถูกต้องเหมาะสม
“ปัจจุบันนี้ทั่วโลกให้ความสําคัญ______ข่าวสงครามในตะวันออกกลาง______กอบทัพ
สัมพันธมิตรบุกประเทศอิรัก______กล่าวหาว่าอิรักผลิตและครอบครองอาวุธร้ายแรง______ขัดต่อ
กติกาของสหประชาชาติ”
1. ต่อ เมื่อ และ ใน 2. แก่ เมื่อ โดย ซึ่ง
3. เมื่อ สําหรับ กับ ที่ 4. ใน ต่อ หรือ และ
37. คําเชื่อมในข้อใดเมื่อเติมลงในช่องว่างต่อไปนี้แล้วได้ความถูกต้องเหมาะสม
“คนโบราณเชื่อกันว่าอําพันมีพลังอํานาจลึกลับ______การรักษาความเจ็บป่วย ถือกันว่าเป็นของมี
ค่าที่หายากอย่างหนึ่ง อําพันส่วนใหญ่เป็นสีเหลืองน้ําผึ้ง______ที่เป็นสีแดงแก่ สีขาวน้ํานม สีเขียว หรือ
สีน้ําเงินก็มี ถิ่นที่พบ คือแถบทะเลบอลติก สาธารณรัฐโดมินิกนั ______เม็กซิโกตอนใต้”
1. ต่อ นอกจากนี้ ตลอดจน 2. สําหรับ ส่วน อีกทั้ง
3. เพื่อ หรือ กับ 4. ใน แต่ และ

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (79)


38. คําเชื่อมในข้อใดใช้เติมในช่องว่างได้อย่างถูกต้อง
“แผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2______จะเลอเลิศขนาดไหน______คนไทยไม่ช่วยกันจริง มัวแต่
เลื่อยขากันเอง______ประโยชน์ส่วนตัวแล้ว______จะทําให้ขาดความเชื่อมั่น______ขาดความเชื่อมั่น
เมื่อไรประเทศไทยล้มแน่นอน”
1. ถึง หาก โดย คง ซึ่ง 2. แม้ว่า หาก ก็ จึง พอ
3. แม้ ถ้า เพื่อ ก็ หาก 4. ถึง ถ้า สําหรับ ที่ เมื่อ

ชนิดคําในภาษาไทย (3)
1. ข้อความต่อไปนี้มีคํานามและคํากริยาหลักอย่างละกี่คํา (ไม่นับคําซ้ํา)
กิจกรรมนั้นเป็นของดี แต่สถาบันอุดมศึกษาไม่ได้ตั้งขึ้นสําหรับรับนักศึกษาเพื่อทํา
กิจกรรม กิจกรรมมีไว้ให้นักศึกษาใช้เวลาว่างทําประโยชน์และเปลี่ยนบรรยากาศ
1. นาม 7 คํา กริยา 8 คํา 2. นาม 6 คํา กริยา 8 คํา
3. นาม 7 คํา กริยา 7 คํา 4. นาม 6 คํา กริยา 6 คํา
2. ข้อความต่อไปนี้มีคํานามและคํากริยาหลักอย่างละกี่คํา (ไม่นับคําซ้ํา)
การกู้ยืมจะมีประโยชน์ต่อเมื่อที่กู้มานั้นใช้อย่างมีคุณภาพและสร้างรายได้เพื่อเพิ่มต้นทุน
ของเงินจํานวนนั้น
1. นาม 4 คํา กริยา 3 คํา 2. นาม 5 คํา กริยา 4 คํา
3. นาม 6 คํา กริยา 5 คํา 4. นาม 7 คํา กริยา 6 คํา
3. ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ ก. และ ข้อ ข.
วัตถุดิบที่จะผลิตเครื่องปั้นดินเผามีหลายอย่างเพื่อให้ได้คุณภาพตามความต้องการที่จะใช้ประโยชน์
ก. ข้อความข้างต้นมีคํานามกี่คํา
1. 4 คํา 2. 5 คํา
3. 6 คํา 4. 7 คํา
ข. ข้อความข้างต้นมีคํากริยาหลักกี่คํา
1. 3 คํา 2. 4 คํา
3. 5 คํา 4. 6 คํา
4. ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคําถาม ข้อ ก. และข้อ ข.
นอกจากการดูนก นักท่องเที่ยวบางคนอาจสนใจผีเสื้อซึ่งอยู่ในป่าบางแห่งมีรูปร่างและสีสันต่างๆ
ก. ข้อความข้างต้นมีคํานามกี่คํา
1. 3 คํา 2. 4 คํา 3. 5 คํา 4. 6 คํา 5. 7 คํา
ข. ข้อความข้างต้นมีคํากริยาหลักกี่คํา
1. 2 คํา 2. 3 คํา 3. 4 คํา 4. 5 คํา 5. 6 คํา
5. ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคําถาม ข้อ ก. และ ข้อ ข.
เกาะเกร็ดมีร้านที่จําหน่ายเครื่องปั้นดินเผาเรียงรายอยู่บนเกาะ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทําขึ้นในท้องถิ่น
ก. ข้อความข้างต้นมีคํานามกี่คํา
1. 3 คํา 2. 4 คํา
3. 5 คํา 4. 6 คํา 5. 7 คํา
ข. ข้อความข้างต้นมีคํากริยาหลักกี่คํา
1. 2 คํา 2. 3 คํา
3. 4 คํา 4. 5 คํา 5. 6 คํา
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (80)
6. ข้อความต่อไปนี้มีบุพบทและสันธานกี่คํา
คนไทยสมัยโลกาภิวัตน์ได้เปรียบคนไทยรุ่นก่อนในด้านที่มีความรู้กว้างขวางเพราะ
สามารถแสวงหาความรู้ได้จากแหล่งต่าง ๆทั้งหนังสือ วิทยุ โทรทัศน์ และคอมพิวเตอร์
1. บุพบท 1 คํา สันธาน 3 คํา 2. บุพบท 2 คํา สันธาน 3 คํา
3. บุพบท 1 คํา สันธาน 4 คํา 4. บุพบท 2 คํา สันธาน 4 คํา
7. ข้อความต่อไปนี้มีคําสันธานและคําบุพบทกี่คํา (นับคําซ้ํา)
น้ําเป็นองค์ประกอบสําคัญต่อร่างกายของมนุษย์ และทําให้เราสามารถดําเนินชีวิตอยู่
ได้ ถ้าร่างกายขาดน้ําเราจะไม่สามารถดํารงชีวิตอยู่ได้เลย
1. สันธาน 2 คํา บุพบท 1 คํา 2. สันธาน 2 คํา บุพบท 2 คํา
3 สันธาน 1 คํา บุพบท 2 คํา 4. สันธาน 1 คํา บุพบท 1 คํา
8. ข้อความต่อไปนี้มีคําสันธานและคําบุพบทกี่คํา
ทุกวันนี้โลกแคบลงจนสื่อสารกันได้ทันใจและเราก้าวทันโลกได้ตามวิถีโลกาภิวัตน์
วิทยาการ ต่าง ๆ น่าจะสัมพันธ์กันได้มากขึ้น โลกของนักวิชาการมิใช่มีเพียงซีกตะวันออกกับ
ซีกตะวันตกเท่านั้น
1. สันธาน 2 คํา บุพบท 3 คํา 2. สันธาน 2 คํา บุพบท 2 คํา
3. สันธาน 3 คํา บุพบท 3 คํา 4. สันธาน 3 คํา บุพบท 2 คํา
9. ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ ก. และ ข้อ ข.
เนื่องจากวิถีดําเนินชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไป ทั้งพ่อบ้านและแม่บ้านต้องทํางานหารายได้
ให้เพียงพอจึงไม่มีเวลามากในการปรุงอาหาร
ก. ข้อความข้างต้นมีคําบุพบทกี่คํา
1. 2 คํา 2. 3 คํา
3. 4 คํา 4. 5 คํา
ข. ข้อความข้างต้นมีคําสันธานกี่คํา
1. 2 คํา 2. 3 คํา
3. 4 คํา 4. 5 คํา
10. ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคําถาม ข้อ ก. และข้อ ข.
เชื้องูสวัดที่เป็นไม่ได้ติดมาจากใคร แต่เป็นเชื้อตัวเดียวกับอีสุกอีใสที่เราเคยเป็นเมื่อยัง
เป็นเด็ก และเก็บซ่อนไว้ในปมประสาทแล้วถูกกระตุ้นปลุกขึ้นมาใหม่
ก. ข้อความข้างต้นมีคําบุพบทกี่คํา
1. 1 คํา 2. 2 คํา 3. 3 คํา 4. 4 คํา 5. 5 คํา
ข. ข้อความข้างต้นมีคําสันธานกี่คํา
1. 1 คํา 2. 2 คํา 3. 3 คํา 4. 4 คํา 5. 5 คํา

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (81)


ประโยค
เจตนาประโยค

รูปแบบประโยค
1. ประโยคประธาน

2. ประโยคกริยา

3. ประโยคกรรม

ชนิดของประโยค
ประโยคความเดียว
1. เครื่องหมายถูกลบไปเสียแล้ว

ประโยคความรวม
1. อ้อยทําสวนครัวและร้องเพลงเบาๆ

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (82)


ประโยคความซ้อน
รูปแบบประโยคความซ้อน

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (83)


ประโยค
1. คํากริยาในข้อใดบ่งเจตนาแจ้งให้ทราบ
1. เขาเชิญเธอ 2. เขาทักทายเธอ
3. เขาตักเตือนเธอ 4. เขาสัมภาษณ์เธอ
2. บทสนทนาต่อไปนี้มีประโยคที่แสดงเจตนาถามให้ตอบกี่ประโยค
เอ๋ “ทําอย่างไรเอ๋จึงจะเรียนเก่งกับเขาบ้าง”
เป้ “ก็ทําไมไม่ขยันมากๆ ล่ะ”
เอ๋ “ใครบอกว่าเอ๋ขี้เกียจ ไม่เห็นหรือว่าเอ๋ทําการบ้านทุกวันนะ”
1. หนึ่งประโยค 2. สองประโยค
3. สามประโยค 4. สี่ประโยค
3. ข้อใดต้องการคําตอบ
1. คุณจะไปหรือไม่ไปก็ตามใจ
2. คุณต้องการอะไรที่พูดอย่างนี้
3. ผมว่าอย่างนี้หน้าไหนจะเถียงก็บอกมา
4. ผมแปลกใจว่าทําไมเราไม่พดู ความจริงกันนะ
4. “กริ๋ง ถ้าออกไปข้างนอก ซื้อข้าวมาด้วยได้ไหม?”
คําพูดของกริ๋งในข้อใดที่แสดงเจตนาถามให้ตอบ
1. ใครจะซื้อให้ 2. จะซื้อให้ใคร
3. ทําไมจะไม่ได้ 4. ไม่ได้จะทําไม
5. คําขวัญในข้อใดมีลักษณะเป็นคําสั่ง
1. ไปใช้สทิ ธิ์กันทั้งบ้าน เสริมฐานประชาธิปไตย 2. ใช้สิทธิ์อย่าผิดพลาด กากบาทในช่องขวา
3. หนึ่งเสียง หนึ่งชีวิต อย่าคิดขาย 4. เลือกผู้แทนทั้งที อย่าให้มีคนซื้อ
6. คําขวัญใดไม่ใช่ประโยค “บอกให้ทํา”
1. หลงมัวเมาอบายมุข ทําลายความสุขในครอบครัว
2. เพิ่มคุณภาพให้แก่ชีวิต สิ่งเสพติดต้องห่างไกล
3. อย่าบ่อนทําลายชาติ ด้วยการเป็นทาสยาเสพติด
4. ละเว้นอบายมุข เพื่อความสุขของตนเอง
7. ข้อใดไม่ใช่ประโยคบอกให้ทํา
1. สร้างกุศลอันยิ่งใหญ่ บริจาคดวงตาให้สภากาชาดไทย
2. เงินทุกบาทมีคา่ ปิดไฟฟ้าเมื่อไม่จําเป็น
3. เหรียญสลึงหนึ่งอัน ช่วยอาหารกลางวันเด็กยากจน
4. พลังงานมีน้อย ใช้สอยอย่างประหยัด
8. ข้อใดมีเจตนาในการส่งสารต่างจากข้ออื่น
1. ใช้พลังงานอย่างประหยัด ไม่อัตคัดในอนาคต 2. ใช้ทรัพยากรถูกวิธี ชาติจะมีความรุ่งเรือง
3. แม้โลกหมุนไว สํานักข่าวไทยก้าวทัน 4. ต้นไม้ให้ร่มเงา พวกเราอย่าทําลาย
9. “ใครอยากรู้เรื่องอะไรทีฉันตอบได้จะมาถามเมื่อไรที่ไหนก็ได้นะ” สารนี้ผู้พูดมีเจตนาอะไร
1. บอกให้ทํา 2. แจ้งให้ทราบ
3. พูดประชด 4. ถามโดยไม่ต้องการคําตอบ

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (84)


10. ข้อใดแฝงเจตนาเช่นเดียวกับคําขวัญนี้
“ทิ้งขยะไม่เลือกที่ หมดราศีไปทั้งเมือง”
1. น้ํามันมีน้อย ใช้สอยจงประหยัด
2. ตัดไม้ทําลายป่า น้ําท่าจะขาดแคลน
3. หนึ่งเสียงของท่าน สร้างสรรค์ประชาธิปไตย
4. ประหยัดไฟวันละนิด ช่วยเศรษฐกิจเป็นล้าน
11. ข้อความในข้อใดเป็นประโยคสมบูรณ์และมี “ภาคประธาน + ภาคแสดง” ได้
1. ยุงลาย 2. นกต่อ 3. ไก่ชน 4. แมวมอง
12. ข้อใดมีประธานของประโยค
1. รอนรอนอ่อนแสงพระสุริยา ชักม้าเลียบลงตรงน้ําไหล
2. แต่คิดมาคิดไปอกใจตัน สงสารลูกในครรภ์นั้นสิ้นที่
3. หยูกยาสารพัดจะกันดาร ที่นอนหมอนมุ้งม่านก็ไม่มี
4. ดวงตาควักไปไม่ได้คืน กลับเอาดวงอื่นมายื่นให้
13. ก. แสนเสียดายนันทาที่น่ารัก
ข. ชะล่านักเลี่ยงออกนอกถนน
ค. มัวแต่เพลินปลาบปลื้มจนลืมตน
ง. ถูกรถยนต์แล่นทับดับชีวา
วรรคใดที่ไม่ทราบ “ประธาน” ที่แน่นอน
1. วรรค ก 2. วรรค ข 3. วรรค ค 4. วรรค ง
14. คําถามต่อไปนี้ข้อใดที่คําตอบละบทกริยาไม่ได้
1. ใครกันแน่จ๊ะ ที่เธออยากพูดด้วย ทําไมอ้ําอึ้งอยู่
2. ฉันจะไปฮ่องกง ใครอยากได้อะไรบ้าง
3. โอ้โฮซื้ออะไรอีกมากมาย ไหนล่ะของโปรดของฉัน
4. ไหนเธอว่าจะไม่มาที่นี่อีกแล้ว มาทําไมอีกล่ะ
15. ประโยคใดทีไ่ ม่ละกรรม
1. เธอกวนอย่าวางมือนะ เดี๋ยวกะทิเป็นลูกหมด
2. เธอนี่กวนจริงๆ ถามอะไรไม่เคยตอบตรงคําถามเลย
3. อย่ามากวนกันตอนนี้นะ กําลังจะดูหนังสือ
4. ท่าทางเขากวนมาก ดูแล้วน่าหมั่นไส้
16. ข้อใดที่ “กรรม” ไม่มคี ําขยาย
1. เพชรซาอุหรือเพชรรัสเซียฉันไม่ชอบทั้งนั้น
2. ค่าเสียหายผมยินดีรับผิดชอบทั้งหมด
3. เขายังไม่สนใจผู้หญิงสวยๆ อย่างเธออีกหรือ
4. เด็กๆ กินลอดช่องจนหมด 3 ถ้วย
17. ข้อความต่อไปนี้มีการเรียงลําดับแบบใด “นักท่องเที่ยวซื้อของที่ระลึกจํานวนมาก”
1. ประธาน + ขยายประธาน + กริยา + ขยายกริยา
2. ประธาน + ขยายประธาน + กริยา + กรรม
3. ประธาน + กริยา + กรรม + ขยายกริยา
4. ประธาน + กริยา + กรรม + ขยายกรรม

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (85)


18. ประโยคใดมีส่วนประกอบเหมือนประโยค
“กล่องดินสออยู่บนโต๊ะนี้”
1. ข้อสอบข้อนี้เหมือนกับข้อแรก 2. สมุดบันทึกวางไว้ที่โน่น
3. นักเรียนมัธยมปลายขยันดูหนังสือตอนนี้ 4. เด็กผู้หญิงคอยในห้องนั้น
19. ข้อใดมีโครงสร้างของประโยคเหมือนประโยคตัวอย่าง
“แม่ทําขนมปังไส้ไก่อร่อยมาก”
1. คนสวนปลูกผักนานาชนิดไว้หลังบ้าน 2. พี่สาวถักผ้าปูโต๊ะสวยจริงๆ
3. แม่ค้าขายขนมหวานหมดตั้งแต่บ่าย 4. พ่อต่อโต๊ะกินข้าวตัวใหม่เอง
20. ข้อใดมีโครงสร้างของประโยคเหมือนประโยคตัวอย่าง
“ปากกาบนโต๊ะคงหายไป”
1. ขนมในถุงมีหลายอย่าง 2. เสื้อในตู้สวยทุกตัว
3. หนังสือในตู้ใครหยิบไป 4. ตันไม้ในกระถางกําลังโตขึ้น
21. ข้อใดมีลักษณะโครงสร้างของประโยคไม่เหมือนข้ออื่น
1. ฝ่ายค้านต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
2. ตําแหน่งหัวหน้าหน่วยนี้ใครแต่งตั้ง
3. สมาพันธ์นักศึกษาออกพัฒนาชนบท
4. สมาคมแม่บ้านจังหวัดต่างๆ จําหน่ายสินค้าพื้นเมือง
22. โครงสร้างของประโยคในข้อใดต่างจากข้ออื่นๆ
1. แก้วใบนี้ใครทําแตก 2. น้ําหอมขวดนี้ใครจะซื้อ
3. รางวัลนี้ครูใหญ่จะให้นักเรียนเก่ง 4. เพลงนี้ ยอดรัก สลักใจ ร้องคนแรก
23. ประโยคใดเป็นประโยคความเดียว
1. คําพูดของคุณทั้งหมดก็อาจจะเป็นความจริง
2. คนที่หยิบของคุณไปคงเป็นคนที่อยู่บ้านนี้
3. ที่ของหายอย่างนี้เป็นเพราะคุณไม่วางเป็นที่
4. แต่ฉันค้นห้องเด็กทุกห้องแล้วก็ยังไม่พบสร้อย
24. ประโยคใดเป็นประโยคความเดียว
1. โครงการบ้านสุดสัปดาห์ของโรงแรมแห่งหนึ่งช่วยให้คุณหลับสบายภายในบ้านสวยท่ามกลาง
ธรรมชาติ
2. งานวันปลาร้าหอมของแม่บ้านเกษตรกรชาวอยุธยาสําเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความร่วมมือจากทุกฝ่าย
3. เจ้าของแร่ดีบุกเชื่อว่าทางบริษัทรับส่งแร่ในประเทศไทยโจรกรรมสินค้ามูลค่านับพันล้านบาทนี้ไป
4. ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพร่วงกับสถาบันวิจัยโภชนาการปฏิบัติงานเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหาร
ของประชาชน
25. ก. ฝ้ายเป็นแมวที่ชอบเคล้าเคลียเจ้าของ
ข. ความสามารถในการจับนกและหนูของฝ้ายเลื่องลือไปไกล
ค. พอจับหนูเสร็จฝ้ายก็วิ่งกลับมานั่งเฝ้านกอย่างที่เคยทํา
ง. นกเคราะห์ร้ายไม่มีวันที่จะพลาดอุ้งเล็บของฝ้ายไปได้
ข้อใดเป็นประโยคความเดียว
1. ข้อ ก. 2. ข้อ ข. 3. ข้อ ค. 4. ข้อ ง.

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (86)


26. ประโยคใดเป็นประโยคความรวม
1. น้ําฝรั่งตราม้าเมื่อเย็นจัดจะอร่อย
2. นางแบบที่ตากล้องชื่นชอบก็คือน้องเอ
3. แป้งเด็กตรามดจะถนอมผิวอันบอบบางของทารกน้อย
4. น้ํายาล้างจานนี้เพียงช้อนชาเดียวใช้ล้างชามกองใหญ่ได้
27. ข้อใดเป็นประโยคความรวม
1. โครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกยังเป็นความจําเป็นอย่างยิ่งยวดในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ไทย
2. การปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวง ประชาชนมักคิดกันว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลฝ่ายเดียว
3. รถจักรยานยนต์ก่อเหตุกีดขวางการจราจรมากเช่นกันด้วยเหตุว่ามักแข่งกันเป็นแพเต็มถนน
4. ญี่ปุ่นเข้มงวดกับเรื่องการนําเข้าอาหารจากต่างประเทศมากเพื่อสุขภาพของชาวญี่ปุ่นเอง
28. ข้อใดไม่ใช่ประโยคความรวม
1. กระแสน้ําไหลแรงจนเซาะตลิ่งพังไปแถบหนึ่ง
2. แมวน้อยตัวอ้วนไล่ตะครุบลูกบอลอย่างสนุกสนาน
3. เขานอนฟังเสียงปี่จากวิทยุอย่างเพลิดเพลิน
4. ครูใหญ่ของเราไม่ตัดต้นมะขามหลังโรงเรียนแน่ๆ
29. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน
1. หลายจังหวัดขอเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ
2. เจ้าหน้าที่พบว่าที่ดินป่าชายเลนถูกบุกรุกเป็นจํานวนมาก
3. รูปแบบรายการวิทยุเปลี่ยนแปลงไปเพราะอิทธิพลของโทรทัศน์
4. การถ่ายน้ําเสียของโรงงานอุตสาหกรรมเป็นสาเหตุทําให้น้ําในแม่น้ําลําคลองเสีย
30. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน
1. บรรพบุรุษของเราได้สร้างสรรค์วรรณคดีไว้มากมาย
2. ระดับความดังของเสียงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่าเดซิเบล
3. อาหารสมองก็คือสติปัญญาและความเบิกบานสําราญใจ
4. โครงการที่สองได้รับเลือกเพราะให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มากกว่า
31. ประโยคใดเป็นประโยคความซ้อน
1. ขณะนี้นับว่าประเทศไทยประสบความสําเร็จในเรื่องของการเจรจาสิทธิทางการบินอย่างมาก
2. ชาติอื่นในย่านเอเชียบางประเทศก้าวไปอย่างสุดกู่ เช่น สิงคโปร์หรือเกาหลี เป็นอาทิ
3. การที่ออกข่าวมาลักษณะนี้ทําให้ประชาชนที่ต้องการทราบความจริงเกิดความสับสน
4. โครงการนี้เป็นการให้ความช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชน
32. ข้อใดไม่ใช่ประโยคความซ้อน
1. หลานคนเล็กอยู่บ้านหลังที่ยายซื้อใหม่
2. อําเภอไกลปืนเที่ยงที่คุณทํางานมีโทรศัพท์แล้ว
3. ผู้ปกครองนักเรียนเดินไปที่หอประชุมอย่างรวดเร็ว
4. คนสวนกําลังตัดกิ่งไม้ที่อยู่ใกล้เสาไฟฟ้า
33. ก. ถ้าเป็นเงินเกี่ยวกับพิธีมงคล
ข. ต้องใช้น้ําพระพุทธมนต์ประพรมหรืออาบ
ค. ต้องจัดตั้งบาตรบรรจุน้ําไว้สําหรับทําน้ํามนต์
ง. บางทีถ้ามีภาชนะอย่างอื่น เช่น ขัน ก็ตั้งเพิ่มเติมไว้ด้วย
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (87)
ถ้าจะเชื่อมข้อความทั้ง 4 ข้อนี้ด้วยคํา “ซึ่ง” ให้เป็นประโยคเดียวกัน ควรเชื่อมระหว่างข้อใดกับข้อใด
1. ก กับ ข 2. ก กับ ค 3. ข กับ ค 4. ค กับ ง
34. “ยุคสมัยที่ความเจริญทางวัตถุมีอํานาจครอบงําทางจิตและวิญญาณของมนุษย์อย่างรุนแรง”
ข้อความนี้มีโครงสร้างของภาษาตามข้อใด
1. กลุ่มคํา 2. ประโยคความเดียว
3. ประโยคความรวม 4. ประโยคความซ้อน
35. ข้อใดเป็นประโยคต่างชนิดกับข้ออื่น
1. เจ้าด่างแอบขโมยรองเท้าของแขกไปแล้ว 2. ช่างติดกระดุมเสื้อตัวนี้ตั้ง 10 เม็ด
3. คุณยายมักนอนตอนบ่ายที่ในสวน 4. คุณปู่อ่านแต่หนังสือพิมพ์รายวัน
36. ข้อใดเป็นประโยคต่างชนิดกับข้ออื่น
1. รัฐบาลปัจจุบันกําลังปฏิรูปการเมือง 2. พ่อตีเทนนิสที่ดอนเมืองทุกวันอาทิตย์
3. พี่อ่านนวนิยายที่ได้รับรางวัลซีไรต์ 4. เพื่อนคุณแม่ทําบัวลอยไข่หวานเมื่อวานนี้
37. ข้อใดเป็นประโยคต่างชนิดกับข้ออื่น
1. ตะกร้าสร้างนักเขียนมาตลอด
2. รถเที่ยวสุดท้ายออกจากท่ารถไปแล้ว
3. หลอดไฟฟ้าที่เสากลางซอยเสียมาหลายวันแล้ว
4. แม่ของเขาต่อราคาของที่ซื้อจากร้านใกล้บ้านเสมอ
38. ข้อใดเป็นประโยคต่างชนิดกับข้ออื่น
1. แม่ใช้กาไฟฟ้าต้มน้ํา
2. สายลมอ่อนๆ พัดมาไม่ขาดระยะ
3. เพื่อนๆ ชอบดอกกุหลาบในกระถางหน้าบ้านมาก
4. เจ้าแมวน้อยกระโดดขึ้นนั่งบนรั้วอย่างคล่องแคล่ว
39. ประโยคในข้อใดเป็นประโยคต่างชนิดกับประโยคข้ออื่น
1. สาระและเนื้อหาของหนังสือวันเด็กก็เป็นการสะท้อนเสรีภาพนี้ด้วยเช่นกันแม้จะไม่มากนักก็ตาม
2. หนังสือพิมพ์มติชนร่วมกับคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดเสวนาปัญหาการกระจาย
การจัดการศึกษาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
3. หน่วยงานของรัฐบาลไทยควรขยายการส่งเสริมการท่องเที่ยวสําหรับประเทศทั้งสามในอินโดจีน
ตามนโยบายเศรษฐกิจแนวใหม่
4. การท่องเที่ยวปราสาทนครวัดของกัมพูชานั้นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศจะต้องตั้งต้นที่ประเทศ
ไทย
40. ข้อความใดเป็นประโยค
1. พิธีมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยที่ได้รับทุนการศึกษาเพื่อศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาใน
ต่างประเทศ
2. การอนุมัติสถานที่เพื่อให้ค้าขายสินค้าบางประเภท เช่น ขนมเบื้อง หรือกล้วยแขก ซึ่งเป็นวัฒนธรรม
การกินที่จับต้องได้
3. ถิ่นกําเนิดฝูงเยมส์บ็อคที่อยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ โดยมีตัวผู้เป็นจ่าฝูงในบริเวณแอฟริกาใต้จนถึง
นามิเบีย และอังโกลา
4. นโยบายของวิทยาลัยที่ให้เทียบและโอนหน่วยกิตจากสถาบันการศึกษาต่างประเทศ เป็นข้อตกลงที่
ต้องพิจารณาเป็นรายบุคคล

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (88)


41. ข้อใดเป็นประโยคที่สมบูรณ์
1. ฉันเป็นผู้ชายนะยะ 2. อะไรอยู่ในตะกร้า
3. เธอกับเขาและรักของเรา 4. แปดล้านวิธีสวัสดีความตาย
42. ข้อใดเป็นประโยคที่สมบูรณ์
1. ในประเทศเกาหลีที่ได้รับอิทธิพลโดยตรงในความรุนแรงจากการ์ตูนญี่ปุ่น ก็ทวีขึ้นเรื่อยๆ
2. ผู้คนทั่วโลกพากันไว้อาลัยให้แก่เจ้าหญิงซึ่งจากไปอย่างกะทันหัน อันแสดงให้เห็นว่าเป็นเจ้าหญิง
ของคนทั่วโลก
3. การผูกขาดและเล่นการเมืองอยู่ภายในกลุ่มเก่าๆ หน้าเดิมๆ ที่กุมกลไกการเลือกตั้งไว้ได้แทบทุกครั้ง
4. “การบริการสายตรง” สําหรับลูกค้าซึ่งเป็นบริษัทและองค์กรที่สามารถส่งข้อความให้กันในกลุ่ม
ตัวเอง
43. ข้อใดเป็นประโยคที่สมบูรณ์
1. กิจกรรมครั้งต่อไปของสมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทยในวันศุกร์นี้
2. ความสัมพันธ์ระหว่างพรรคดังกล่าวกับสถานทูตของประเทศมหาอํานาจ
3. เมื่อมีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้นก็จะต้องมีการจัดการให้เด็ดขาด
4. การเลือกทําสิ่งใดก็ได้ตามใจปรารถนาของบุคคล
44. ข้อใดเป็นประโยคสมบูรณ์
1. ประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งเป็นองค์กรที่ทํางานด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศ
ไทยมากว่า 10 ปี
2. ในการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติผู้อํานวยการรักษาความ
สงบเรียบร้อยภายในประเทศ
3. กระแสพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงมีต่อบุคคลที่เข้าเฝ้าฯเบื้องพระยุคล
บาท
4. มาร์วิน แฮกเลอร์ อดีตยอดนักมวยเก่าที่หันไปเอาดีทางเล่นหนังขณะนี้พูดถึงการเตรียมตัวเข้ารับบท
ในหนังแต่ละเรื่อง
45. ประโยคในข้อใดยังไม่สมบูรณ์
1. ด้วยวัย 20 ปี ตอนที่เริ่มความเป็นนักข่าวที่กรมประชาสัมพันธ์
2. ละครชนิดอื่นๆ ที่เกิดมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็มักจะแต่งกายให้สมจริง
3. ผู้ที่คิดจะเป็นนักสะสมแสตมป์ ควรรู้จักเก็บรักษาดูแลอย่างดี
4. ข้อบกพร่องในการใช้ภาษาอาจเกิดจากการใช้คําผิดความหมาย
46. ข้อใดเป็นประโยคทีไ่ ม่สมบูรณ์
1. ชายของผ้านุ่งส่วนที่ม้วนจากเอวด้านหน้าแล้วตลบไปเหน็บไว้ที่เอวด้านหลังเรียกว่า ชายกระเบน
2. หนังสือที่เป็นเครื่องสืบทอดความรู้ความคิด ศิลปวัฒนธรรมตลอดจนข้อมูลหลากหลายไม่รู้จบสิ้น
3. ในปัจจุบันการค้นคว้าวิชาการสาขาต่างๆ ขยายวงออกไปกว้างขวางมาก และเป็นไปอย่างรวดเร็ว
4. ผู้คนเป็นห่วงมากขึ้นในเรื่องความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติและสังคม
ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบข้อ 47 - 48
1. เพลงบุหลัน/เป็นเพลงร้องยากที่สุดเพลงหนึ่ง/ที่มีในบรรดาเพลงสามชั้นต้องอาศัยการฝึกฝนนาน
2. เพลงบุหลัน/เป็นเพลงร้องยากที่สุดเพลงหนึ่งที่มีในบรรดาเพลงสามชั้น/ต้องอาศัยการฝึกฝนนาน
3. เพลงบุหลันเป็นเพลงร้องยากที่สุดเพลงหนึ่ง/ที่มีในบรรดาเพลงสามชั้นต้องอาศัยการฝึกฝนนาน
4. เพลงบุหลันเป็นเพลงร้องยากที่สุดเพลงหนึ่งที่มีในบรรดาเพลงสามชั้น/ต้องอาศัยการฝึกฝนนาน

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (89)


47. ข้อความข้างต้นนั้นข้อใดแบ่งวรรคตอนได้เหมาะสม
1. ข้อ 1 2. ข้อ 2 3. ข้อ 3 4. ข้อ 4
48. ข้อความข้างต้นเมื่อจัดวรรคตอนถูกต้องแล้วข้อความนั้นประกอบด้วยประโยคชนิดใดตามลําดับ
1. ประโยคความเดียว ประโยคความซ้อน 2. ประโยคความซ้อน ประโยคความเดียว
3. ประโยคความรวม ประโยคความเดียว 4. ประโยคความซ้อน ประโยคความรวม

ประโยค (2)
1. ข้อใดใช้ประโยคแสดงเจตนาแตกต่างจากข้ออื่น
1. คุณปิดวิทยุเดี๋ยวนี้ 2. คุณควรปิดวิทยุนะ
2. คุณช่วยปิดวิทยุด้วย 4. คุณปิดวิทยุหน่อยได้ไหม
2. ข้อใดไม่ต้องการคําตอบ
1. ใครบ้างที่ไม่อยากทํางานนี้ 2. ทําไมมากันตั้งมากมายอย่างนี้นะ
3. ทุกคนเตรียมพร้อมแล้วใช่ไหม 4. เขาไม่อยากเรียนวิชานี้จริงนะ
3. ข้อใดแสดงเจตนาในการส่งสารต่างกับข้ออื่น
ก. บ้านเมืองสะอาด ประชาชาติปลอดโรค
ข. ทิ้งขยะไม่เลือกที่ หมดราศรีไปทั้งเมือง
ค. คัดขยะแยกใส่ถุง วางข้างถังตั้งรอเก็บ
ง. สะอาดกายเจริญวัย สะอาดใจเจริญสุข
1. ข้อ ก 2. ข้อ ข 3. ข้อ ค 4. ข้อ ง
4. ข้อใดผู้พูดมีเจตนาเช่นเดียวกับประโยคต่อไปนี้
“เขาเป็นคนง่ายๆ อยู่ที่ไหน กินอะไรก็ได้”
1. “เธอจะอยู่กับฉันหรือจะไปกับเขาให้เลือกเอา”
2. “นิดชอบแต่งตัวมาก ซื้อเสื้อผ้าสวยๆ ทุกเดือน”
3. “สวัสดีจ้ะน้อย ไม่ได้เจอกันตั้งนาน อยู่ที่ไหนตอนนี”้
4. “คุณแม่ครับ ถ้าผมสอบเสร็จแล้ว ผมขอไปเที่ยวกับเพื่อน”
5. ข้อใดแสดงเจตนาของประโยคต่างจากข้ออื่น
1. การออกกําลังกายทําให้ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพดี เราจึงต้องหมั่นออกกําลังกายทุกวัน
2. เธอควรเชื่อฟังบิดามารดาในการเลือกคู่ครอง เพราะผู้ใหญ่ย่อมเห็นการณ์ไกล
3. ในสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้ เราน่าจะรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า
4. ปัจจุบันคนที่เรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์มีโอกาสก้าวหน้าในการงานอย่างรวดเร็ว
ใช้คําประพันธ์ต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 6 – 7
ก. สืบราชย์ลุรัชปัจจุบัน ทุกพระองค์ทรงสรร ประสิทธิประสาทสวัสดี
ข. ทรงธรรมนําชาติเกษมศรี รัฐจักรรูจี พระพุทธจักรชัชวาล
ค. ทวยราษฎร์อยู่สุขเกษมศานต์ สืบลูกสืบหลาน และวงศ์กุลสถาพร
ง. ใจตระหนักภักดิ์พึ่งตรึงตรา ในพระราชา ระลึกพระคุณจอมไทย
6. ข้อใดแสดงเจตนาในการส่งสารต่างกับข้ออื่น
1. ก 2. ข 3. ค 4. ง
7. พระมาหากรุณาธิคุณแห่งพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีปรากฏเด่นชัดที่สดุ ในคําประพันธ์ข้อใด
1. ก 2. ข 3. ค 4. ง

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (90)


8. ประโยคใดแสดงอดีตกาล
1. เพื่อนคนที่ท้องคลอดแล้วหรือ 2. เขาลืมเราแล้วกระมัง จึงไม่มาหาเราเลย
3. นักเรียนทําการบ้านจวนแล้วเสร็จ 4. ฉันเคยไปเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์โดยรถไฟ
9. ข้อใดมีส่วนขยายของบทกรรม
1. ลายเชิงเป็นศิลปะการป้องกันตัวที่อ่อนช้อยงดงามของผู้ชายล้านนา
2. คนหนุ่มคนสาวนั่งบนเสื่อแดงผืนยาวที่ปูอยู่บนพื้นด้านหน้า
3. ครูใช้ดอกไม้หอมที่จุ่มน้ําขมิ้นส้มป่อยสะบัดพรมให้แก่ลูกศิษย์
4. พิธีสืบสายลายเชิงเป็นการสืบทอดองค์ความรู้แบบเดิมของล้านนา
10. ส่วนที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดทําหน้าที่ในประโยคแตกต่างจากข้ออื่น
1. ชาวลาวเรียกสิ่งก่อสร้างนี้ว่าอนุสาวรีย์แห่งชัยชนะ
2. บ้านหลังแรกเขาซื้อตั้งแต่ทํางานใหม่ๆ
3. เขาลงมือแต่งลวดลายต่างๆ ให้ดูประณีตยิ่งขึ้น
4. ท้องทุ่งกว้างนี้ผมกับเพื่อนๆ เคยวิ่งเล่นกัน
11. ข้อใดมีวิธีการเรียงประโยคเหมือนประโยคต่อไปนี้
“มาลินียืนนิ่งด้วยความโกรธ หยิบเอาเอกสารปึกใหญ่บนโต๊ะ เดินออกประตูไป”
1. แม่รักและห่วงใยลูกทุกคน ลูกทุกคนต่างรักแม่มาก
2. ทะนงลงจากรถเดินไปที่ประตูบานใหญ่ กดกริ่งเสียงดังกังวาน
3. สมชายมีความเพียรในการเรียนมาก เขาจึงประสบผลสําเร็จ
4. ลูกชายของเขาจากบ้านไปนาน เขาอาจเสียชีวิตไปแล้ว
12. ข้อใดมีโครงสร้างของประโยคแบบ กรรม – ประธาน – กริยา
1. มะเร็งบางชนิดรักษาให้หายได้
2. หนังสือพิมพ์ฉบับเช้าเขามักอ่านเวลากินกาแฟ
3. เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ก่อสร้างสําเร็จแล้วอย่างงดงาม
4. ไวรัสคอมพิวเตอร์ชนิดใหม่ระบาดทําให้ข้อมูลเสียหาย
13. ข้อใดมีส่วนประกอบของประโยคเหมือนประโยคตัวอย่าง “หลานชายชอบอ่านการ์ตูนญี่ปุ่น”
1. ดําไปเที่ยวตามสวนสาธารณะต่างๆ
2. คุณนายบ้านนี้ชอบซื้อผลไม้เป็นประจํา
3. น้องกําลังตรวจบัญชีรับจ่ายของบริษัท
4. เทศบาลตําบลหัวหินเร่งปลูกต้นไม้ต้นใหญ่ๆ
14. ข้อใดมีส่วนประกอบของประโยคเหมือนประโยคตัวอย่าง
“ดอกไม้เหี่ยวในแจกันดูน่าเกลียด”
1. แมวน้อยสีขาวตัวอ้วนนอนหลับสนิท 2. ผู้หญิงแก่ข้างบ้านให้อาหารหมาจรจัด
3. คนกวาดถนนผู้หญิงทํางานอย่างคล่องแคล่ว 4. พนักงานหนุ่มหน้าร้านขี้เกียจมาก
15. ข้อใดมีส่วนประกอบของประโยคเหมือนประโยคต่อไปนี้
“นักเรียนใหม่อยากเรียนร้องเพลงมาก”
1. คนอ้วนชอบนอนตื่นสายทุกวัน
2. ดาราหนุ่มมักซ้อมท่าทางอยู่หลังกล้อง
3. ลูกหมาตัวเล็กไม่กินอาหารหลายวันแล้ว
4. ชายชรากําลังฝึกออกกําลังกายอย่างขะมักเขม้น

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (91)


16. ข้อใดมีส่วนประกอบของประโยคเหมือนประโยคตัวอย่าง
“เทศบาลเร่งปลูกต้นไม้ใหม่”
1. แดงไปเที่ยวตามสวนสาธารณะต่างๆ 2. น้องชอบอ่านการ์ตูนญี่ปุ่น
3. แม่ครัวมักซื้อผลไม้ร้านประจํา 4. แม่กําลังตรวจบัญชีรายจ่ายของบ้าน
17. ข้อใดมีโครงสร้างเช่นเดียวกับประโยค
“ดอกบัวตองบานสะพรั่งชูไสวทั่วท้องทุ่ง”
1. พวกเด็กๆ วิ่งเล่นกันเต็มสนามกีฬา 2. ฟ้าคะนองผ่าเปรี้ยงลงที่ตึกหลังสูง
3. เจ้าด่างครางหงิงๆ วิ่งไปมาตามถนน 4. แม่ครัวนอนเหยียดยาวกลางห้องครัว
18. ข้อใดมีโครงสร้างประโยคเหมือนประโยค
“คนขนขยะออกจากบ้านแต่เช้ามืด”
1. แม่มองดูลูกบนเวทีด้วยความชื่นชม 2. รถบรรทุกวิ่งไปตามถนนอย่างรวดเร็ว
3. ผลงานของคุณเจริญได้รับรางวัลเมื่อปีที่แล้ว 4. เจ้าสิงโตเดินเล่นในสนามหลังอาหารเย็น
19. ประโยคในข้อใดมีโครงสร้างต่างจากข้ออื่น
1. คุณตาจะแจกตุ๊กตาและขนมเด็กๆ
2. สมปองขายเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เพื่อนบ้าน
3. สมชายซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จากบริษัทของสมทรง
4. คุณพ่อมอบเครื่องอิเล็กโทนแก่โรงเรียนสอนคนตาบอด
20. ข้อใดมีโครงสร้างของประโยคต่างกับข้ออื่น
1. สถานที่นี้เป็นเสมือนศูนย์รวมใจของชาวไทย
2. องค์พระธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมสีขาวตบแต่งด้วยลวดลายวิจิตรทั้งองค์
3. ตํานานอุรังคธาตุกล่าวไว้ว่าพระธาตุพนมถูกสร้างขึ้นหลังจากพระพุทธเจ้า ปรินิพพานไม่นานนัก
4. พระธาตุพนมเป็นพระธาตุประจําปีเกิด หนึ่งในจํานวนสิบสองแห่งตามความเชื่อของชาวล้านนา
21. ข้อใดไม่เป็นประโยคกรรม
1. การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวนั้นเริม่ เป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน
2. ถ้าไปเที่ยวตามหมู่เกาะในทะเล สัตว์น้ําใต้ทะเลและปะการังนั้นขออย่าได้จับหรือทําอันตรายเลย
3. กฎและข้อบังคับในการเข้าเขตอุทยานแห่งชาตินักท่องเที่ยวควรเรียนรู้และปฏิบัติตาม
4. เพื่อให้การท่องเที่ยวมีคุณค่าขึ้น ขนบธรรมเนียมประเพณีของคนในท้องถิ่นควรศึกษาไปก่อน
22. ข้อใดไม่มีประโยคกรรม
1. ธรรมเนียมของคนไทยนั้น เมื่อมีแขกมาหา เราต้องต้อนรับอย่างดีเสมอ
2. โทรศัพท์มือถือนี่ ลูกชายคนโปรดของคุณทําหายเป็นเครื่องที่สามแล้ว
3. ทักษะการใช้ภาษานั้น นักเรียนได้รับมาจากการสอนภาษาแบบบูรณาการ
4. เมื่อคุณยายแบ่งที่ดินบางส่วนให้ลูกหลานแล้ว ส่วนที่เหลือทั้งหมดก็ยกให้วัด
23. ข้อใดไม่เป็นประโยคกรรม
1. เรื่องอํานาจเหนือธรรมชาติในลิลิตพระลอนั้นปัจจุบันก็ยังเชื่อกันอยู่
2. แบบเรียนภาษาไทยชุดมูลบทบรรพกิจนักเรียนสมัยก่อนต้องเรียนกันเป็นปีๆ
3. ชื่อทิศที่เป็นชื่อบาลีสันสกฤตอย่างเช่นทิศบูรพา ทิศทักษิณ ไทยได้ยืมมาใช้นานแล้ว
4. กฎหมายสมัยอยุธยาส่วนใหญ่มีที่มาจากการบันทึกคําฟ้องในคดีความต่างๆ ไว้เป็นหลักฐาน
24. ข้อใดเป็นประโยคกรรม
1. ครูคนนี้เป็นต้นแบบและตัวอย่างที่ดีสมควรได้รับรางวัล
2. เนื้อหาวิชาที่เข้มข้นทันสมัยได้มาจากการวิจัยอย่างต่อเนื่อง
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (92)
3. เด็กจะเรียนรู้ได้มากถ้าได้อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม
4. ดินแดนแห่งนี้เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตรูปร่างประหลาดซึ่งไม่พบในที่อื่นๆ ของโลก
25. ข้อใดเป็นประโยคกรรม
1. ผ้าปูโต๊ะสี่เหลี่ยมผืนผ้าลายสวยผืนนี้เป็นงานปักครอสติช
2. กระทงใบนี้คุณยายเย็บอย่างสุดฝีมือเพื่อส่งเข้าประกวดในงานลอยกระทง
3. แหนมเนือง เปาะเปี๊ยะสดและขนมเบื้องญวน เป็นสูตรสําเร็จในการสั่งอาหารเวียดนาม
4. อาจารย์สมศรีมีฝีมือในการสลักผักผลไม้เป็นรูปดอกไม้ต่างๆ เช่น ดอกรักเร่ ดอกบัวสาย ฯลฯ
26. ข้อใดเป็นประโยค
1. เรื่องของคําสรรพนามนี้นับว่าเป็นลักษณะที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของภาษาไทย
2. ท่วงทํานองการเขียนของนักเรียนนั้นครูไม่ควรพยายามเปลี่ยนให้เป็นไปตามที่ครูต้องการ
3. การสอนเรื่องราชาศัพท์นั้นครูไม่จําเป็นต้องให้นักเรียนท่องจําโดยเฉพาะคําที่ไม่ค่อยได้ใช้
4. จุดประสงค์ในการบรรยายเรื่องนี้ก็เพื่อให้พนักงานได้เข้าใจวิธีทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ
27. ข้อใดเป็นประโยคกรรม
1. ประโยชน์ที่เกิดจากโครงการนี้มีผลดีต่อสังคมในระยะยาว
2. เพราะแม่สูบบุหรี่จัดลูกที่คลอดออกมาจึงมีขนาดเล็กกว่าปกติ
3. คนที่เป็นเบาหวานมีโอกาสติดเชื้อทางกรวยไตมากกว่าคนทั่วไป
4. อาคารผู้ป่วยนอกหลังนี้สร้างเสร็จภายในห้าเดือนด้วยเงินบริจาคของประชาชน
28. ข้อใดเป็นประโยคความเดียว
1. รถแล่นมาดีๆ ก็พลิกคว่ํา 2. งูตัวจ้อยเกาะกิ่งไม้ที่ริมรั้ว
3. แม่น้ําสายยาวไหลเซาะตลิ่งพังทลาย 4. คุณตานัดรํามวยจีนกับเพื่อนๆ ทุกวันเสาร์
29. ข้อใดเป็นประโยคความเดียว
1. เขาได้รับโทษแล้ว ธรรมชาติย่อมไม่เข้าข้างคนผิด
2. การสอบไล่เสร็จสิ้นลงแล้ว แต่การเรียนยังไม่เสร็จ
3. อีกสองปีพวกเราจะมีสิทธิ์ในการออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนราษฎร
4. ถ้าทุกคนไม่ร่วมมือกันสัตว์ป่าหลายชนิดจะสูญพันธุไ์ ปจากประเทศของเรา
30. ข้อใดเป็นประโยคความเดียว
1. นักท่องเที่ยวต้องไม่ทําให้เกิดความเสียหายอันจะเกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ
2. ในปัจจุบันการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทํารายได้ให้แก่ประเทศอย่างมากมายมหาศาล
3. ผู้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรแหล่งท่องเทีย่ วควรรู้คุณค่าของแหล่งทรัพยากรเหล่านั้น
4. ปัจจุบันแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นทรัพยากรที่มีความสําคัญในด้านเศรษฐกิจ
31. ข้อใดเป็นประโยคความเดียว
1. สมบัติขึ้นรถไฟไปเที่ยวทางภาคใต้ทุกปี
2. คุณยายตื่นขึ้นมาทําอะไรกุกกักตอนดึกบ่อยๆ
3. เรื่องสั้นของ “วินทร์” มักจะจบแบบหักมุม
4. ตอนเด็กๆ เขาว่ายน้ําไปเกาะเรือโยงเสมอ
32. ข้อใดเป็นประโยคความเดียว
1. คนที่มีสุขภาพดีมาจากคนที่กินอาหารดีถูกหลักโภชนาการ
2. การทํางานให้สําเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพมิได้อยู่ที่คนเพียงคนเดียว
3. ขณะนี้ถึงเวลาที่ทุกคนต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติอย่างจริงจัง
4. ความมีน้ําใจที่แท้ไม่ได้มาจากความจําเป็น หากมาจากความต้องการที่จะให้
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (93)
33. ข้อใดไม่ใช่ประโยคความเดียว
1. บ้านเป็นเสมือนโรงเรียนแห่งแรกของทุกคน
2. วิถีชีวิตของคนในชนบทเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
3. วิชาการสร้างเรือนไทยสืบทอดมาเป็นมรดกของชาวไทย
4. พระวิหารวัดสุทัศน์เทพวรารามเป็นที่รวมของศิลปกรรมเกือบทุกสาขา
34. ข้อใดเป็นประโยคความรวม
1. สุดาร้องเพลงไทยเก่งมาก 2. สมชายกับเพื่อนนัดซ้อมฟุตบอลทุกเย็น
3. ฐานะการเงินของเขาตกต่ําลงอย่างมาก 4. นักกีฬาพิการได้รับคําชมในความอดทน
35. ข้อใดเป็นประโยคความรวม
1. แม่นอนซมตลอดวันเพราะพิษไข้ 2. ขณะนี้เราลดค่าใช้จา่ ยได้หลายอย่าง
3. คุณตาออกกําลังกายด้วยการเดินทุกเช้า 4. เราคงซื้อหนังสือตอนเขาลดราคาเท่านั้น
36. ข้อใดเป็นประโยคความรวม
1. เจ้าหมาน้อยไม่สบายร้องครางทั้งวัน
2. หลานสาวตัวน้อยเดินไปโรงเรียนใกล้บ้าน
3. คนไทยแทบทุกคนรู้จักรู้จกั นักชกเหรียญทองคนนั้น
4. สมบัติดูหนังสืออย่างเอาเป็นเอาตายมาหลายเดือน
37. ข้อใดเป็นประโยคความรวม
1. การทํางานกับคนนั้นเหมือนง่าย แต่ไม่ง่าย
2. นักวิจัยต้องเข้าไปอยู่ร่วมกับคนที่เขาจะศึกษา
3. น้องชายของผมนั่งเล่นของเล่นอย่างเพลิดเพลิน
4. ผู้บริโภคจะเปรียบเทียบระหว่างคุณภาพสินค้ากับเงินที่ต้องจ่ายไป
38. ข้อใดเป็นประโยคความรวม
1. สมศักดิ์ขายรถคันโปรดไปแล้ว
2. เด็กน้อยร้องเพลงของพี่เบิร์ดได้คล่องแคล่ว
3. เจ้าแมวดําจับลูกนกบนต้นมะม่วงอย่างว่องไว
4. คนรู้จักประหยัดจะอยู่รอดในสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้
39. ข้อใดไม่ใช่ประโยคความรวม
1. กายเขาสบายแต่ใจเขาไม่สบาย
2. ปีนี้ฝนตกชุกร่มจึงขายดีกว่าปีก่อน
3. มะลิวัลย์น้องสาวของมาลัยวัลย์เรียนและเล่นกีฬาเก่ง
4. ผู้ไม่ประสงค์ออกนามบริจาคเงินสองแสนบาทให้โรงพยาบาล
40. ข้อใดไม่ใช่ประโยคความรวม
1. พอฝนจะตก เราก็รีบกลับบ้านทันที
2. คนไทยรักสงบ แต่ยามรบก็ไม่ขลาด
3. ทางการประกาศว่าแถวสีลมอากาศเป็นพิษ
4. ประชาชนไม่ใช้สะพานลอย ตํารวจจึงต้องตักเตือน
41. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน
1. คนแก่ที่มีเงิน ไม่เคยขาดคนดูแล 2. หลานสาววิ่งปร๋อไปหาคุณยายทันที
3. สุดาไปซื้อของที่ตลาดกับคุณยายเสมอ 4. แมวขโมยกระโจนขึ้นหลังคาอย่างรวดเร็ว

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (94)


42. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน
1. สาเหตุของการสูบบุหรี่มาจากสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาจากอารมณ์และความรู้สึกด้วย
2. ในการสูบบุหรี่สารนิโคตินจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตภายในเวลาประมาณ 10 นาที
3. บุหรี่นอกจากจะทําให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บแล้ว ยังทําลายความงามของผู้หญิงด้วย
4. คนสูบบุหรี่จะมีริ้วรอยบริเวณหางตามากกว่าคนไม่สูบบุหรี่
43. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน
1. สมชายวางมือจากกิจการทุกอย่างที่บริษัท 2. แม่ใส่นาฬิกาเรือนใหม่ที่พ่อให้
3. คุณยายไปถือศีลแปดที่วัดทุกวันพระ 4. วันนี้พ่อประชุมที่ทํางานตลอดวัน
44. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน
1. ฉันพบอาจารย์ของลูกที่ตลาดเสมอ 2. เราไปซื้อผลไม้ที่ร้านเจ้าประจํา
3. มะม่วงต้นที่อยู่อยู่หลังครัวมีลูกหลายใบ 4. กล้วยไม้ที่คาคบออกดอกแล้ว
45. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน
1. ปัจจุบันท่อน้ําใช้ ท่อระบายน้ําตามอาคารบ้านเรือน ท่อร้อยสายไฟและสายโทรศัพท์มักเป็น
ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เรียกกันทั่วไปว่าท่อพีวีซี
2. ท่อชนิดนี้ได้รับความนิยมมากกว่าท่อเหล็กอาบสังกะสีก็เพราะมีน้ําหนักเบากว่าท่อเหล็กขนาด
เดียวกันถึงห้าเท่า
3. ท่อพีวีซีสะดวกในการขนส่งและติดตั้ง ไม่มีกลิ่นเหม็นและไม่ทําปฏิกิริยาทางเคมีกับกรดอ่อนทุก
ชนิด
4. นอกจากนั้นท่อชนิดนี้ยังเกิดแรงต้านทานการไหลของน้ําน้อย เพราะมีผิวเรียบเป็นมัน
46. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน
1. จู่ๆ เขาก็ได้เป็นข่าวใหญ่ในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ
2. ข้อผิดพลาดในการดําเนินชีวิตของเขา คือการปล่อยให้โอกาสผ่านไปอย่างน่าเสียดาย
3. สํานักข่าวทุกแห่งได้รับโทรสารเกี่ยวกับการประเมินภาพรวมทางเศรษฐกิจจากบุคคลลึกลับผู้หนึ่ง
4. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นแม่ข่ายเชื่อมต่อโครงสร้างการ
บริหารประเทศ
47. ข้อใดไม่ใช่ประโยคความซ้อน
1. พิมลทํางานหนักเพื่อเขาจะได้เงินมากๆ
2. สคราญย้ายไปอยู่ที่เชียงใหม่เป็นเวลา 20 ปีแล้ว
3. คุณพ่อเสนอแนะว่าควรตัดต้นไม้ที่ล้มอยู่หลังบ้าน
4. วิมลทิพย์เก็บผลไม้ในสวนที่อยู่ติดกับสวนดอกไม้
48. ข้อใดไม่ใช่ประโยคความซ้อน
1. สิ่งที่เขาตั้งใจกระทําให้พ่อแม่คือการตั้งใจเรียนและการเป็นคนดี
2. สะพานแห่งใหม่ที่เพิ่งจะเปิดใช้ช่วยให้การจราจรคล่องตัวขึ้น
3. ตึกแถวริมถนนใหญ่ที่หน้าบ้านฉันถูกทุบทิ้งไปแล้ว
4. เขาขายรถยนต์คันที่ถูกรางวัลกาชาดไปเมื่อวานนี้
49. ข้อใดเป็นประโยคชนิดเดียวกับประโยคต่อไปนี้
“ที่โรงพยาบาลของเรา เราให้ความสําคัญยิ่งยวดในการบําบัดฟื้นฟูจิตใจของผู้สูงอายุ”
1. คุณจะได้พบกับศูนย์กายภาพบําบัดในบรรยากาศของบ้านใจกลางเมือง
2. เราสร้างสรรค์สถานที่อันร่มรื่น สะอาด ทันสมัย เพื่อการพักผ่อนอย่างแท้จริง
3. กิจกรรมสันทนาการทั้งในและนอกสถานที่ทําให้การบําบัดรักษาได้ผลดีอย่างยิ่ง
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (95)
4. เราคือโรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศที่บริการผู้ป่วยอย่างเต็มที่ตลอด 24 ชั่วโมง
50. ข้อใดเป็นประโยคต่างชนิดกับประโยคต่อไปนี้
“เมื่อเขาประพฤติตัวดี เข้าสังคมได้ เราก็สบายได้”
1. เราเป็นครอบครัวนักการเมืองจึงต้องเข้ากับประชาชนได้
2. ตํานานรักของคู่รักคนดังคู่นี้เริ่มต้นในงานเลี้ยงของมหาวิทยาลัย
3. คนเราถ้ามีความรู้ ขยัน อดทน ไม่มีวันจะยากจน
4. ยิ่งทั้งสองฝ่ายรู้จักกันมากขึ้น ยิ่งเป็นเหมือนครอบครัวเดียวกัน
51. ข้อความต่อไปนี้เรียงลําดับชนิดของประโยคตามข้อใด
“กว่าสุรศักดิ์กับแม่จะเก็บข้าวของเสร็จก็ดึกเต็มที ฟ้ามืดไปทุกทิศทุกทาง แม่ปูเสื่อลงตรงมุมหนึ่ง
ของห้อง แล้วหลับไปภายในเวลาไม่กี่นาที”
1. ประโยคความซ้อน ประโยคความเดียว ประโยคความซ้อน
2. ประโยคความซ้อน ประโยคความเดียว ประโยคความซ้อน
3. ประโยคความรวม ประโยคความเดียว ประโยคความซ้อน
4. ประโยคความรวม ประโยคความเดียว ประโยคความรวม
52. ข้อความตอนใดเป็นประโยคต่างชนิดจากตอนอื่น
(1) กฎหมายตราสามดวงเป็นเอกสารที่มีคุณค่ายิ่งในไทยคดีศึกษา / (2) กฎหมายดังกล่าวสะท้อน
แบบแผนประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชนไทย-ลาวแต่โบราณ / (3) รัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าฯ ให้ชําระกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่มีมาแต่ครั้งโบราณ / (4) นักวิชาการทีใ่ ช้กฎหมาย
โบราณเพื่อศึกษาเกี่ยวกับสังคมไทยยังมีไม่มากนัก
1. ตอนที่ (1) 2. ตอนที่ (2)
3. ตอนที่ (3) 4. ตอนที่ (4)
53. ข้อใดเป็นประโยคต่างชนิดกับข้ออื่น
1. เย็นนี้แม่จะทําแกงส้มสายบัวพริกสดกับกุ้ง
2. สมัยโบราณประชาชนได้ดูมหรสพในงานวัดเท่านั้น
3. อาทิตย์ที่แล้วนักศึกษาภาควิชาภาษาไทยไปทัศนศึกษาที่ราชบุรี
4. ก่อนหน้านี้นักร้องหลายคนพากันมาเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ดนตรีแห่งนี้
54. ข้อใดเป็นประโยคต่างชนิดกับข้ออื่น
1. ของกินสําหรับเด็กๆ เต็มตะกร้าใบใหญ่ 2. เราจะได้นั่งรถรางรอบเกาะรัตนโกสินทร์
3. สินค้าในร้านของเขาทันสมัยทุกชนิด 4. เรื่องที่เสนอขึ้นไปติดขัดตรงไหนบ้าง
55. ประโยคในข้อใดต่างกับข้ออื่น
1. นิทานเรื่องนี้ให้คติว่าผู้ฉลาดไม่ควรดูถูกผูท้ ี่ด้อยกว่า
2. ผู้ที่จะเรียนปริญญาโทด้านการตลาดควรจะมีประสบการณ์ในการทํางานมาก่อน
3. การศึกษาประวัติศาสตร์มีความสําคัญต่อการเรียนรู้เหตุการณ์ต่างๆ ในโลก
4. ประสบการณ์ที่ล้ําค่าที่สุดในมหาวิทยาลัยคือประสบการณ์จากการทํากิจกรรม
56. ข้อใดเป็นประโยคต่างชนิดกับข้ออื่น
1. บ่อรวมปลาใช้เป็นบ่ออนุบาลลูกปลาที่มีขนาดเล็ก
2. ปลาพันธุ์ต่างๆ กินอาหารธรรมชาติที่เกิดขึ้นในแปลงนา
3. หลังจากที่ไถคราดและปักดําเสร็จแล้วจึงควรปล่อยปลา
4. พันธุ์ปลาที่เหมาะแก่การเลี้ยงในนาข้าวควรมีคุณสมบัติเลี้ยงง่าย

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (96)


57. ข้อใดเป็นประโยคต่างชนิดกับข้ออื่น
1. นักแสดงสมัยนี้ส่วนใหญ่ชอบร้องเพลงแต่ก็ไม่เป็นเพลง
2. พระที่ถูกทําลายคือพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่แห่งศตวรรษที่สอง
3. คุณวรรณีได้พัฒนาระบบการบริหารห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลจนได้รับการรับรองมาตรฐาน
4. ความสามัคคีคือการร่วมมือกันทุกวิถีทางเพื่อที่จะสร้างบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง
58. ข้อใดเป็นประโยคต่างชนิดจากข้ออื่น
1. ต้นข้าวใหม่เป็นชื่ออีกชื่อหนึ่งของต้นชมนาด
2. ปัจจุบันการเรียนแต่ในชั้นเรียนเพียงอย่างเดียวเท่านั้นแทบจะหาไม่ได้ในสังคมไทย
3. ความรู้เรื่องภาษาในด้านต่างๆ เป็นกุญแจไขความรู้เรื่องวัฒนธรรมในภาษาใดภาษาหนึ่ง
4. การหนีปัญหาครอบครัวด้วยการเสพยาเสพติดกําลังบ่อนทําลายเยาวชนไทยอยู่ในขณะนี้
59. ชนิดของประโยคในข้อใดต่างกับข้ออื่น
1. เกาะสิงคโปร์เกือบทั้งเกาะเต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่อง จึงไม่มีพื้นที่สําหรับทําการเกษตร
2. ถ้าพื้นที่ทั้งหมดบนดาดฟ้าสามารถนํามาปลูกพืชผักได้ ก็จะทําให้สิงคโปร์มีวัตถุดิบในการผลิต
อาหารมากเพียงพอ
3. โรงเรียนมัธยมหลายแห่งในสิงคโปร์ได้เปิดหลักสูตรกิจกรรมภาคพิเศษเกี่ยวกับการปลูกผักบน
ดาดฟ้าคอนโดมิเนียม หรือสํานักงานทันสมัย
4. อีกไม่นานเราคงได้เห็นดาดฟ้าตึกระฟ้าของสิงคโปร์เต็มไปด้วยผักลอยฟ้า ส่วนที่เมืองไทยเราจะเห็น
แต่ผักชีโรยหน้าเหมือนเดิม
60. ข้อใดเป็นประโยคที่มีความหมายสมบูรณ์
1. พวกเขาขี่วนเวียนอยู่ที่นั่นนานแล้ว
2. กองทุนหมู่บ้านให้ยืมสําหรับผู้เดือดร้อนการเงิน
3. นายกรัฐมนตรีมอบประกาศนียบัตรวันอาทิตย์นี้
4. ความรุนแรงทีเ่ กิดขึ้นเมื่อวานนี้ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
61. ข้อใดเป็นประโยคสมบูรณ์
1. การประหยัดทรัพยากรธรรมชาติเป็นกระแสของคนรุ่นใหม่
2. การเสนอผลงานวิจัย ที่จะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีนี้
3. การเอ่ยถึงสวรรค์บนดิน ซึ่งห่างไกลจากเมืองเจ้าพ่อ
4. การทําความรู้จักรากเหง้าของบรรพบุรุษของเรา
62. ข้อความใดเป็นประโยคสมบูรณ์
1. น้ํามันเครื่องสูตรสังเคราะห์เพื่อปิคอัพสมรรถนะสูง
2. พลิ้วสวยสมบูรณ์แบบด้วยกระเบื้องหลังคาโกลด์
3. แป้งเค้กอณูละเอียดอําพรางริ้วรอยได้แนบเนียน
4. มาตรฐานประกันภัยที่ก้าวไกลระดับโลก
63. ข้อใดเป็นประโยคสมบูรณ์
1. หนึ่งในบรรดาสารพิษหรือสารเคมีที่นํามาใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อการผลิตภาชนะบรรจุอาหาร
2. เมื่อท่านทราบแล้วว่าอันตรายจากการบริโภคอาหารที่ใส่ถุงกระดาษหนังสือพิมพ์มีมากเพียงใด
3. องค์การอนามัยโลกซึ่งชี้ปัญหาการขาดแคลนธาตุไอโอดีนว่ามักจะมีในประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณ
เทือกเขา
4. การที่จะขจัดโรคขาดสารอาหารในเด็กให้หมดไปจําเป็นต้องรณรงค์ให้เฝ้าระวังโภชนาการของเด็ก
เป็นประจํา
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (97)
64. ข้อใดเป็นประโยคที่สมบูรณ์
1. เพียงแต่เราต้องเริ่มด้วยการสอนลูกหลานให้รู้จักคิด รู้จักรักตนเอง รู้จักรักผู้อื่นและรู้จักให้
2. ความคิดริเริ่มใหม่ๆ เพื่อพัฒนาเด็กไทยให้มีคุณค่าเพื่อรากฐานชีวิตและการเรียนรู้ที่ดีของเด็กไทย
3. ชาติของเราจะอยู่อย่างสันติสุขได้ก็ด้วยระบบเศรษฐกิจผสมผสานเพราะวิธีนี้จะทําให้ชุมชนมี
ความสุขอยู่กับความพอดี
4. นับตั้งแต่ภาวการณ์ถดถอยของการส่งออก การปลดลูกจ้าง การปิดสถาบันการเงิน จนถึงการปล่อย
ค่าเงินบาทลอยตัว
65. ข้อใดเป็นประโยคสมบูรณ์
1. สภาพของโลกาภิวัตน์ที่มีความเข้มข้นและจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นจนมีผลกระทบอย่างจริงจังต่อ
การอุดมศึกษาไทยในอนาคต
2. ปัจจุบันองค์กรปกป้องท้องถิ่นที่นับว่าสําคัญมากที่สุดของประเทศไทยที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ
ชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติมากที่สุด
3. ดังนั้นการมองดูสภาพแห่งโลกาภิวัตน์ที่จะมีผลต่อการอุดมศึกษาไทยจึงน่าจะเป็นจุดสําคัญในการ
หล่อหลอมปรัชญาและความหมายของการอุดมศึกษาไทยในอนาคต
4. ถึงแม้ว่าขณะนี้หลายหน่วยงานจะได้ตระหนักถึงความจําเป็นในการปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนา
เศรษฐกิจให้ดําเนินควบคู่ไปกับการรักษาและฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อม
66. ข้อใดไม่ใช่ประโยค
1. เด็กที่นั่งรถไฟมากับฉันเป็นน้องชายของเพื่อน
2. คณะกรรมการพิจารณาแผนพัฒนาสมาคมสตรี
3. สถานีวิทยุกระจายเสียงทุกแห่งออกอากาศพร้อมกัน
4. สัมมนาเรื่องการพัฒนาสื่อมวลชนของนักข่าวหนังสือพิมพ์
67. ข้อใดไม่ใช่ประโยค
1. เขาย้ํากับเราว่ายุคนี้เป็นยุคของการปฏิรูปการปกครองแบบบูรณาการ
2. ประชาธิปไตยรวมศูนย์เป็นหลักการปกครองที่รัฐบาลยึดถือเป็นแนวทางการแก้ปัญหาของ
ประเทศชาติ
3. แม้ภาพของเขาจะไม่โดดเด่นเป็นที่รู้จักของสื่อมวลชนเท่ากับรุ่นพี่ แต่บทบาทที่อยู่เบื้องหลังนั้น
นับว่าสําคัญยิ่ง
4. หลังจากมีรายงานข่าวว่ารัฐบาลกัมพูชาส่งหนังสือถึงกระทรวงการต่างประเทศอ้างสิทธิเหนือ
ปราสาทแห่งหนึ่งในอําเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
68. ข้อใดไม่เป็นประโยค
1. เราต้องตีราคาคุณค่าของเวลาให้สูงไว้
2. การสูญเสียที่เราไม่สามารถจะโทษผู้อื่นได้นอกจากตัวเราเอง
3. สิ่งสําคัญที่สุดของมนุษย์คือไม่ปล่อยเวลาให้เปล่าประโยชน์
4. การเสียเวลาก็เท่ากับเสียทรัพย์ เสียหนทางแห่งความก้าวหน้า
69. ข้อใดไม่ใช่ประโยค
1. ร่วมกันพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อโลกใบใหญ่ของเรา
2. ธรรมชาติต่างผูกพันด้วยสายใยแห่งชีวิตอันละเอียดอ่อน
3. จากอยุธยาสู่เมืองจันท์ ตามรอยทัพกู้ชาติพระเจ้าตากสินมหาราช
4. 80 ปี อุโมงค์รถไฟถ้ําขุนตาน สถานที่อนุรักษ์ทรัพยากรด้านป่าไม้ของกรมป่าไม้

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (98)


70. ข้อความใดเป็นประโยคไม่สมบูรณ์
1. ถนนดินสีแดงค่อนข้างขรุขระ มีแอ่งน้ําเป็นบางตอน สัญจรไปมาลําบาก
2. หนังสือที่จะช่วยให้เข้าใจจิตวิทยาการเรียนรู้ของเด็กได้มากกว่าที่เคยอ่านมา
3. รถเข็นที่ทําด้วยไม้มีสองล้อจอดคอยรับจ้างขนของอยู่ตรงปากทางเข้าตลาด
4. เขาเอาตะกร้าหวายที่ซื้อมาจากงานแสดงสินค้าขึ้นวางบนตะแกรงท้ายรถ
71. สํานวนในข้อใดเป็นวลี
1. เรือใหญ่คับคลอง 2. ปากไม่สิ้นกลิ่นน้ํานม
3. หวานเป็นลมขมเป็นยา 4. ทรัพย์ในดิน สินในน้ํา
72.ข้อใดเป็นได้ทั้งวลีและประโยค
1. สถานีสูบน้ําพระโขนง 2. เด็กส่งของ
3. นักเรียนมาสาย 4. ผู้จัดการมรดก
73. ข้อใดเป็นได้ทั้งกลุ่มคําและประโยค
1. บริษัทจัดหางาน ถังใส่น้ํามัน
2. บ่อบําบัดน้ําเสีย กรมส่งเสริมการเกษตร
3. คนทําสวน สถานสงเคราะห์เด็กอ่อน
4. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พนักงานตรวจสอบบัญชี
74. ข้อใดไม่มกี ารละส่วนของประโยค
1. ร้านนี้เปิดขายอาหารตามสั่ง ร้านโน้นก็เปิดขายเหมือนกัน
2. ลูกชายบ้านตรงข้ามได้งานทําแล้ว ลูกสาวฉันยังไม่ได้ทํางานเลย
3. เพื่อนๆ ได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ให้ไปหัดขับรถ แต่พ่อแม่ของฉันยังไม่อนุญาต
4. ตํารวจจับผู้ร้ายที่ปล้นร้านทองเมื่อวานนี้ได้ แต่ยังจับผู้ร้ายที่ปล้นตลาดเมื่อเดือนก่อนไม่ได้
75. ข้อความตอนใดละส่วนของประโยคมากกว่า 1 ส่วน
(1) การฟังดนตรีช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้อ่อนโยนนอกเหนือจากความเพลิดเพลิน / (2) ทําให้เด็กมี
ความรักในสุนทรียภาพ ความงดงามของชีวิต / (3) ไม่ใช้แต่อารมณ์ฉุนเฉียวมุทะลุดุดัน / (4) ทําให้เด็ก
ดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
1. ตอนที่ (1) 2. ตอนที่ (2) 3. ตอนที่ (3) 4. ตอนที่ (4)
76. ข้อความใดประกอบด้วยประโยคที่ละทั้งคําที่ทําหน้าที่ประธานและกรรม
1. ฉันไม่ชอบซื้อปลาที่ตลาดสดเพราะไม่อยากเห็นปลาถูกฆ่าต่อหน้าต่อตา
2. วันนี้แม่จะกลับบ้านเย็นคงไม่มีเวลาทํากับข้าว พ่อจะทําเอง
3. บุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ คุณน่าจะเลิกสูบเพื่อสมาชิกในครอบครัว
4. รัฐกําลังดําเนินการเวนคืนที่ดิน เราจะถูกเวนคืนที่ดินบ้างหรือเปล่าก็ไม่รู้
77. ข้อความต่อไปนีไ้ ม่มกี ารร้อยเรียงประโยคตามข้อใด
“เมื่อมาถึงจุดชมวิว ก็จะสามารถมองเห็นลําธารน้ําแข็งสีขาวพาดลงมาสู่พื้นดินเป็นแนวยาว
ระหว่างภูเขาสองลูก ธารน้ําแข็งนี้ยาว 13 กิโลเมตร เคลื่อนตัวลงใกล้ทะเล ถัดลงมาเป็นที่ราบเต็มไปด้วย
ก้อนหิน แต่เดิมเป็นทะเลสาบกว้างใหญ่”
1. การเชื่อม 2. การแทน 3. การละ 4. การซ้ํา
ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 78 – 79
“(1) ประชากรคือทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของประเทศ / (2) เราต้องสูญเสียประชากรจํานวนหนึ่ง
ให้แก่ยาเสพติด / (3) คนเหล่านี้ไม่เรี่ยวแรงทํางาน ทั้งยังก่ออาชญากรรมและแพร่โรคเอดส์ไปพร้อมกัน
/ (4) คิดดูเถิดว่าประเทศจะประสบความวิบัติสักเท่าใด”
  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (99)
78. ข้อความตอนใดมีการละประธานของประโยค
1. ตอนที่ (1) 2. ตอนที่ (2) 3. ตอนที่ (3) 4. ตอนที่ (4)
79. ข้อความตอนใดเป็นประโยคความซ้อน
1. ตอนที่ (1) และ (2) 2. ตอนที่ (2) และ (3)
3. ตอนที่ (3) และ (4) 4. ตอนที่ (4) และ (1)
80. คําที่ขีดเส้นใต้คู่ใดทําหน้าที่ทางไวยากรณ์ต่างกัน
1
การศึกษาที่ดี และการสําเร็จในกิจกรรมต่างๆ ที่อาจทําให้เราเป็นคนใหญ่โตในภายหน้าไม่ใช่แต่จะ
2 1 2
ไปอยูม่ หาวิทยาลัยอย่างเดียว ผู้ที่มกี ารศึกษาที่ดีไม่ใช่ผู้ที่ได้รับโอกาสไปเรียนตามมหาวิทยาลัย แต่เป็นผู้
3 4
ที่สามารถจะเรียนได้ไม่ว่าที่ไหน ผู้ที่ไม่ต้องมีครูผทู้ ี่มีความสามารถมีสมองที่จะเรียนได้ด้วยตนเองไม่ว่า
3 4
จะอยูท่ ี่ไหน โดยใช้หนังสือเป็นมัคคุเทศก์แทนครู
1. คู่ที่ 1 การศึกษาที่ดี 2. คู่ที่ 2 มหาวิทยาลัย
3. คู่ที่ 3 ที่ไหน 4. คู่ที่ 4 ครู

  หลักภาษาไทย ม.ปลาย (100)

You might also like