You are on page 1of 9

ภาษาอังกฤษที่สัมพันธ์กับภาษาไทย

ประวัติความเป็ นมาของภาษาอังกฤษ

ภาษาอังกฤษจัดอยู่ในตระกูลอินโด-ยูโรเปี ยน สาขาเจอร์มานิก สาขาย่อย


เจอร์มานิกตะวันตก เป็ นภาษาร่วมตระกูลภาษาเยอรมัน ดัตช์ ฟริเชียน เป็ นต้น
โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณเกาะบริเตนใหญ่ สหราชอาณาจักร มีประวัติความ
เป็ นมา คือ บรรพบุรุษของชาว anglo-saxon ผู้ที่พูดภาษาอังกฤษยุคเก่า (Old
English) ได้อพยพมาจากบริเวณเดนมาร์กในปั จจุบัน เข้ามาอยู่ในบริเวณเกาะ
บริเตนใหญ่

ปั จจุบันภาษาอังกฤษเป็ นภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดในโลก (2022) ประเทศ


ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็ นภาษาแม่ ได้แก่ ประเทศอังกฤษ เป็ นเทศสหรัฐอเมริกา
ประเทศแคนาดา ประเทศออสเตรเลีย เป็ นต้น แต่ก็มีประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ
เป็ นภาษาที่สองเช่นกัน ได้แก่ ประเทศแอฟริกาใต้ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศ
อินเดีย ประเทศฟิ ลิปิ นส์ เป็ นต้น การเป็ นภาษาที่สองในที่นี้ หมายถึง มีผู้
จำนวนที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วอยู่ และกำหนดให้เป็ น
ภาษาราชการ

ภาษาอังกฤษมีความน่าสนใจที่ใช้แพร่หลายในหลายประเทศ อาจฟั ง
เข้าใจกันบ้างและไม่เข้าใจกันบ้าง เหตุนี้เป็ นเพราะผู้ใช้ภาษาอังกฤษได้อพยพ
จากเกาะบริเตนใหญ่ออกไป และเป็ นเจ้าอาณานิคมของหลาย ๆ ประเทศ
ทำให้เกิดภาษาอังกฤษหลากหลายรูปแบบ เช่น ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน
ภาษาอังกฤษแบบอังกฤษ ภาษาอังกฤษแบบอินเดีย ภาษาอังกฤษแบบ
ออสเตรเลีย เป็ นต้น
ภาษาอังกฤษมีความสำคัญ คือ เป็ นภาษาของการศึกษา ภาษากลางใน
การสื่อสาร ภาษาธุรกิจ และภาษาของเจ้าอาณานิคม

ลักษณะทางหน่วยเสียงในภาษาอังกฤษ

หน่วยเสียงสระ ประกอบไปด้วย สระเดี่ยว 14 หน่วยเสียง และสระ


ประสม 6 หน่วยเสียง มีลักษณะสำคัญ คือ สระเดี่ยวไม่ได้จำแนวความสั้น-ยาว
ของเสียง สระประสมมีจำนวนมากกว่าในภาษาไทย สระที่ระดับลิ้นต่ำเกิดครบ
ทุกตำแหน่ง มีการแบ่งระดับของลิ้น 5 ระดับ สระประสมเกิดจากสระต่ำเปลี่ยน
ไปเป็ นสระสูง

หน่วยเสียงพยัญชนะ มี 24 หน่วยเสียง มีลักษณะสำคัญ คือ หน่วยเสียง


พยัญชนะมีมากกว่าในภาษาไทย หน่วยเสียงที่ไม่สามารถเป็ นพยัญชนะต้นได้
คือ หน่วยเสียง /ŋ/ หน่วยเสียงพยัญชนะกักและกึ่งเสียดแทรกไม่มีการจำแนก
ความมีลม-ไม่มีลม เนื่องจากจะออกเสียงแบบไหนก็ไม่ทำให้ความหมาย
เปลี่ยนแปลง แต่จะเป็ นการจำแนกความก้อง-ไม่ก้องอย่างสมมาตร ส่วนเสียง
พยัญชนะท้ายเป็ นแบบไม่กักลม

สำหรับโครงส้างพยางค์ในภาษาอังกฤษ คือ (C)(C)(C)V(C)(C)(C)(C) โดยมี


ลักษณะสำคัญ คือ พยัญชนะท้ายสามารถเกิดขึ้นได้มากกว่า 2 เสียง มีการลง
น้ำหนักเสียงภายในพยางค์เพื่อแยกความหมาย การลงน้ำหนักคำในพยางค์นั้น
มีผลต่อการจำแนกชนิดของคำและความหมาย

ลักษณะทางหน่วยคำ การสร้างคำ และการลำดับคำในภาษาอังกฤษ

ภาษาอังกฤษเป็ นภาษาคำหลายพยางค์ และมีวิภัตติปั จจัย เวลาที่จะสร้าง


คำก็ใช้อาจจะใช้หน่วยคำเติม (prefix, suffix) ทำให้ความหมายหรือชนิดของคำ
เปลี่ยนไป หรือใช้หน่วยคำผันซึ่งมีผลต่อหน้าที่ทางไวยากรณ์ก็ได้
คำในภาษาอังกฤษมีลักษณะทางไวยากรณ์ที่สำคัญอยู่ที่คำนาม คำกริยา
และคำคุณศัพท์ โดยคำนามจะมีการใช้คำนำหน้านาม (articles) และจำแนก
พจน์ ในขณะที่คำกริยาจะจำแนกบุรุษ พจน์ กาล และวาจก ส่วนคำคุณศัพท์จะ
สามารถแสดงระดับได้ (comparison)

สำหรับการลำดับคำ เป็ นการลำดับคำแบบ SVO แต่มีลักษณะที่แตกต่าง


จากภาษาไทย คือ ส่วนขยายจะอยู่ด้านหน้าคำหลัก ไม่มีการใช้คำลักษณนาม
เป็ นต้น

ความเป็ นมาของภาษาอังกฤษในภาษาไทย

ไทยติดต่อกับอังกฤษมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว แต่มีความสัมพันธ์กับ
ฝรั่งเศสและโปรตุเกสมากกว่า ทำให้ปรากฏคำยืมภาษาฝรั่งเศสและโปรตุเกส
มากกว่าภาษาอังกฤษในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และภาษาอังกฤษเพิ่งมา
เป็ นที่สนใจมากขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 จากหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์เดอร์ของ
หมอบรัดเลย์

ในช่วงแรก ๆ ของคำทับศัพท์ในภาษาอังกฤษเป็ นการรับทางเสียงอ่าน


และมักเป็ นการทับศัพท์ชื่อเฉพาะมากกว่า ต่อมาภายหลังจึงเขียนคำทับศัพท์
ตามรูปภาษาต้นทางมากกว่าตามเสียงอ่าน

การเปลี่ยนแปลงของคำยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทย

การเปลี่ยนแปลงด้านรูปคำ

การเปลี่ยนแปลงทางหน่วยเสียงพยัญชนะ

- หน่วยเสียงพยัญชนะต้น voiceless stop /p, t, k/ กลายเป็ นเสียง


voiceless aspirated stop /pʰ, tʰ, kʰ/ ในภาษาไทย
- หากพยัญชนะต้นเป็ นเสียง /s/ และตามด้วยเสียง voiceless stop
/p, t, k/ เสียงเหล่านั้นจะกลายเป็ น voiceless unaspirated
stop /p, t, k/ ในภาษาไทย
- หน่วยเสียงพยัญชนะต้นที่ไม่ปรากฏในภาษาไทย ได้แก่ /g, ʃ, ʒ, v, tʃ,
dʒ, θ, ð, z/ ทั้ง 9 ตัว เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเสียง ดังนี้
/g/ -> /k/ /ʃ/ -> /tɕʰ/ /ʒ/ -> /tɕʰ/
/v/ -> /w//tʃ/ -> /tɕʰ/ /dʒ/ -> /tɕ, j/
/θ/ -> /tʰ/ /ð/ -> /d/ /z/ -> /s/

เสียง /dʒ/ ถ้าออกเสียงเป็ น /j/ อาจรับผ่านภาษาอื่น


หรือรับผ่านรูปเขียน ถ้าออกเสียงเป็ น /tɕ/ อาจรับผ่านเสียง

- หน่วยเสียงพยัญชนะต้นประสมที่ไม่มีในภาษาไทย จะเกิดการแทรก
เสียงเสียง /ə/ ระหว่างเสียง
- หน่วยเสียงพยัญชนะต้นที่ประสมกับเสียง /r หรือ l/ จะออกเสียงเพิ่ม
ขึ้นมาได้โดยไม่แทรกเสียงสระ /ə/
- หน่วยเสียงพยัญชนะท้ายในภาษาอังกฤษที่เป็ นเสียง released กลาย
เป็ นเสียง unreleased ในภาษาไทย เช่น /-p, -t, -k/ กลายเป็ นเสียง
/-p ̚, -t ̚, -k ̚/ ในภาษาไทย
- หน่วยเสียงพยัญชนะท้ายที่ไม่ปรากฏในภาษาไทย จะเกิดการ
เปลี่ยนแปลงทางเสียงให้เป็ นหน่วยเสียงพยัญชนะท้ายทั้ง 9 หน่วย
เสียง ดังนี้
/b, f, v/ ปรับเป็ นเสียง /p/ ในภาษาไทย
/d, tʃ, dʒ, θ, ð, s, z/ ปรับเป็ นเสียง /t/ ในภาษาไทย
/g/ ปรับเป็ นเสียง /k/ ในภาษาไทย
/l/ ปรับเป็ นเสียง /n, w/ ในภาษาไทย
/r/ ไม่ออกเสียงในภาษาไทย

สาเหตุที่เสียง /l/ ในภาษาอังกฤษสามารถเป็ นได้ทั้ง /n,


w/ สันนิษฐานคำที่ออกเสียง /n/ ว่าอาจเป็ นคำยืมมานาน
แล้วที่รับผ่านรูปเขียน ส่วนคำทับศัพท์ใหม่ ๆ จะรับผ่านการ
อ่านออกเสียง จึงเป็ นเป็ นเสียง /w/

ส่ ว น ส า เ ห ตุ ที่ เ มื่ อ รั บ ผ่ า น เ สี ย ง แ ล้ ว เ ป็ น เ สี ย ง /w/


เนื่องจากเสียง /l/ ที่ท้ายพยางค์มีลักษณะที่เรียกว่า dark L
ซึ่งเป็ นลักษณะที่เสียงเกิดการ velarization และเสียง /w/ ก็
มีลักษณะที่เป็ น velar เช่นกัน

- หน่วยเสียงพยัญชนะท้ายบางหน่วยเสียงที่ไม่ปรากฏในภาษาไทย
ได้แก่ /f, s, l/ จะออกเสียงเมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย
- หน่ยเสียงพยัญชนะท้ายประสมหลายเสียงจะตัดให้เหลือเสียงเดียวใน
ภาษาไทย และเสียงที่ถูกตัดมักเป็ นเสียงท้ายสุด หรือถ้ามีเสียง /r, l/ ก็
จะตัดทิ้งเช่นกัน

การเปลี่ยนแปลงทางหน่วยเสียงสระ

- หน่วยเสียงสระเดี่ยวจะเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับหน่วยเสียงสระเดี่ยวใน
ภาษาไทย เนื่องจากจริง ๆ แล้ว หน่วยเสียงสระในภาษาอังกฤษมีสัท
ลักษณ์ที่แตกต่างจากไทย
- สระประสม เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
/eɪ/ เป็ นเสียง /eː/ /oʊ/ เป็ นเสียง /ow, oː/
/au/ เป็ นเสียง /aw/ /ɔɪ/ เป็ นเสียง /ɔj/
/aɪ/ เป็ นเสียง /aj/ /jʊ/ เป็ นเสียง /iw/
เสียง /i/ และ /u/ ในภาษาไทยจะตีความว่าเป็ นเสียงพยัญชนะเปิ ด
/j/ และ /w/ ซึ่งทั้งสี่เสียงแตกต่างกันเพียง duration ของเสียงเท่านั้น

การเปลี่ยนแปลงทางการลงน้ำหนักในพยางค์

ในภาษาอังกฤษการลงน้ำหนักพยางค์จะแตกต่างกันออกไปและมี
ผลต่อขนิดของคำและความหมาย เมื่อภาษาไทยยืมมา การลงน้ำหนักคำ
จะไปอยู่ที่ท้ายพยางค์ทั้งหมด และมีการเพิ่มหน่วยเสียงวรรณยุกต์เข้ามา
ด้วย ถ้าเป็ นพยางค์เป็ นส่วนใหญ่จะเป็ นเสียงโท เพราะภาษาอังกฤษเป็ น
ทำนองเสียงตกคล้ายกับในภาษาไทย ถ้าเป็ นพยางค์ตายส่วนใหญ่จะเป็ น
เสียงตรี

การเปลี่ยนแปลงด้านอักขรวิธี ส่วนใหญ่คำยืมในภาษอังกฤษจะคงรูป
พยัญชนะไว้ตามต้นทาง แต่จะใส่ทัณฑฆาตบนพยัญชนะที่ไม่ออกเสียง
และคำที่มีหลายพยางค์มักตัดพยางค์ลงให้เหลือเพียงพยางค์หน้า

การเปลี่ยนแปลงด้านความหมาย

ความหมายแคบเข้า : ดาวน์ หมายถึง เงินมัดจำ

โบว์ หมายถึง ผ้าที่ผูกเป็ นหูกระต่าย

ฟรี หมายถึง ให้เปล่า

ความหมายกว้างออก : ก็อปปี้ หมายถึง ถูกอัดแน่น

ความหมายย้ายที่ : ฟิ ต หมายถึง แน่น

ศัพท์บัญญัติ
การบัญญัติศัพท์เกิดขึ้นอย่างเป็ นทางการในสมัยจอมพล ป. ที่ตั้งคณะ
กรรมการบัญญัติศัพท์ขึ้น โดยมีพระองค์วรรณเป็ นประธาน และส่งต่อให้
ราชบัณฑิตยสถานรับผิดชอบต่อ สาเหตุที่ต้องมีกรรมการบัญญัติศัพท์ เนื่องจาก
ความก้าวหน้าทางวิชาการทำให้ภาษาอื่นเข้ามาสู่ภาษาไทยอย่างรวดเร็ว ใน
สมัย ร.5-6 ก็มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นอย่างเป็ นทางการและประกาศใช้เช่นกัน
ศัพท์บัญญัติหลาย ๆ คำ ถ้าคนยอมรับใช้หรือติดก็ไม่มีปั ญหา แต่ถ้าคนไม่
ยอมรับใช้หรือไม่ติดในภาษาก็อาจจะต้องพิจารณาบัญญัติขึ้นมาใหม่

สาเหตุของการบัญญัติศัพท์

- เพื่อรับมโนทัศน์ใหม่เข้ามา
- เพื่อเลี่ยงคำภาษาต่างประเทศ
- เพื่อเผยแพร่ความรู้ในวงกว้าง : การใช้ภาษาต่างประเทศแต่ไม่มีผู้รู้
ภาษานั้น ๆ เท่าที่ควรทำให้การเผยแพร่ความรู้นั้นเป็ นไปได้ลำบาก ดัง
นั้นการบัญญัติศัพท์จะเข้ามาช่วยในเรื่องนี้

การบัญญัติศัพท์ เกิดขึ้นจากแรงกดดันทางวัฒนธรรเพื่อธำรงรักษา
ภาษาของตนให้บริสุทธิ์ การรับวัฒนธรรมใหม่เข้ามาในสังคมหมายถึงการ
รับมโนทัศน์ใหม่เข้ามาด้วย เมื่อมีมโนทัศน์ใหม่ ๆ แล้ว เราก็ต้องการคำที่
จะใช้สื่อมโนทัศน์นั้น ดังนั้น จึงมีการสร้างคำเพื่อสื่อมโนทัศน์ใหม่ ดังนี้

 รับคำนั้น ๆ มาใช้เลย คือ การทับศัพท์/ยืมศัพท์


 สร้างคำใหม่โดยใช้มโนทัศน์เดิม คือ การบัญญัติศัพท์
การบัญญัติศัพท์

บัญญัติศัพท์ (สร้างคำ ทับศัพท์/ยืมศัพท์ (เอา


ใหม่) มาเลย)

ในช่วงแรกของการบัญญัติศัพท์โดยคณะกรรมการบัญญัติศัพท์มี
ลักษณะหลายรูปแบบ ได้แก่

การยืมปน (load blending) หมายถึง ยืมศัพท์ในภาษา


ต้นทางมาแล้วมาประกอบกับภาษาไทย เช่น รถแตรม หอมิวเซียม
โคมฉายสป็ อตไล๊ท์ สกูลโรงเรียน เป็ นต้น

การยืมแปล (load translation) หมายถึง การนำ คำ ศัพท์


ภาษาต้นทางมาแปล เช่น โรงจำนำ (pawn) นุยอก (New York)
โทรศัพท์ (telephone) รถยนต์ (motorcar) เป็ นต้น

สร้างคำใหม่ (neologism) หมายถึง การสร้างคำใหม่ขึ้นมา


เ ช่ น แ ผ่ น เ สี ย ง (disc) ห้ อ ง ล อ ย (elevator) ร ถ ถี บ (bicycle)
เป็ นต้น

วิธีบัญญัติศัพท์ในปั จจุบัน

การบัญยัติศัพท์ในปั จจุบันจะพิจารณาการสร้างคำจากการหาคำไทยก่อน
แล้วจึงพิจารณาภาบาลี-สันสกฤตเป็ นลำดับต่อมา ก่อนที่จะใช้ทับศัพท์ไปเลยใน
กรณีที่บัญญัติคำที่เหมาะสมไม่ได้

- ใช้คำไทยทั้งหมด เช่น ระบบ ระเบียบ ผล จานเสียง เป็ นต้น


- ใช้คำบาลี-สันสกฤต เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรคมนาคม ปรัชญา
คณิตศาสตร์ วิทยาสาสตร์ เป็ นต้น
- ใ ช้ คำ ไ ท ย ป น คำ บ า ลี -สั น ส ก ฤ ต เ ช่ น ปี ป ฏิ ทิ น แ ผ น ภู มิ ภู มิ แ พ้
ภาพลวงตา เป็ นต้น
- ใช้การทับศัพท์ เช่น เยซู มิสซาการ์ตูน (ทับทั้งหมด) ก๊าซน้ำตา เยื่อ
ดูรา เซลล์ต้นกำเนิด (ทับทั้งหมด)

You might also like