You are on page 1of 2

ภาษาจีนที่สัมพันธ์กับภาษาไทย

ประวัติความเป็นมาของภาษาจีน

ภาษาจีนจัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต (Sino-Tibetan language) สาขาจีน (Sinitic) เป็นภาษาคําโดด


(isolating language) และเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ ภาษาจีนสามารถจําแนกได้เป็นหลายกลุม่ และอาจจะเข้าใจหรือไม่
เข้าใจกันก็ได้ ภาษาจีนมีทั้งหมด 7 ถิ่น แต่การจัดถิ่นแบบนี้เป็นเหตุผลทางการเมือง ไม่ใช่เหตุผลด้านความเข้าใจกัน
ระหว่างภาษา เช่น ภาษาจีนแต้จิ๋ว ภาษาจีนฮกเกีย้ น ภาษาจีนไหหลํา จัดอยู่ในถิ่นหมิ่น แต่มีเพียงภาษาจีนฮกเกี้ยนและ
แต้จิ๋วเท่านั้นที่จะพอเข้าใจกันได้ ส่วนตัวอักษรจีน ถือเป็นตัวอักษรประเภทภาพ (pictograph) เพราะใช้สื่อความหมาย
มากกว่าการออกเสียง

ลักษณะสําคัญของภาษาจีน (โดยภาพรวม)

- เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์
- เป็นภาษาคําโดด
- เป็นภาษาที่มีการสร้างคําแบบประสม ซ้อน ซํ้า
- เป็นภาษาที่มีส่วนขยายอยู่หน้าคํานาม คําแสดงการปฏิเสธอยู่หน้าคํากริยา คําแสดงคําถามไม่ได้อยู่หน้า
ประโยค คําบุพบทอยู่หน้าคํานาม
- ภาษาจีนที่มีความแตกต่างที่สุดในหลาย ๆ ถิ่น คือ ภาษาจีนแมนดาริน เนื่องจากมีเสียงม้วนลิ้น (retroflex)

ความสัมพันธ์ของภาษาจีนกับภาษาไทย

ชาวจีนติดต่อกับดินแดนบริเวณแถบนี้มาตั้งแต่สมัยอาณาจักรขอมโบราณแล้ว แต่ถ้านับเป็นอาณาจักรของไทย
นั้น พบว่าติดต่อตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งจีนก็ส่งทูตมาที่สุโขทัย และสุโขทัยก็ส่งทูตไปที่จีน สํารหับด้านเศรษฐกิจ พ่อค้าชาว
จีนได้ผูกขาดสินค้าจากพ่อค้าชาวสุโขทัยไปขายที่จีน

สําหรับสมัยอยุธยามีชาวจีนเข้ามาเพิ่มมากขึ้น แต่มาในทางเศรษฐกิจและการค้ามากกว่า อีกทั้งยังมีชาวจีน


ทํางานให้ราชสํานักไทยเช่นกัน เช่น เจ้าภาษีในอากร

สําหรับสมัยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ ชาวไทยและจีนเริ่มแต่งงานกัน และมีชาวแต้จิ๋วเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย


มากขึ้น เนื่องจากพระบิดาของพระเจ้าตากเป็นชาวแต้จิ๋ว และเริ่มมีการรับวัฒนธรรมและศิลปะเข้ามามากขึ้นอีกด้วย

การอพยพของชาวจีนสู่ไทยมีสาเหตุหลายด้าน ไม่ว่าจะด้านการเมือง ธรรมชาติ เศรษฐกิจก็ตาม เอแพยพมา


ไทยแล้วมีความคล้ายคลึงกันทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมหลาย ๆ ด้าน จึงไม่ยากที่จะปรับตัว เช่น ศาสนาพุทธ
เหมือนกัน กินข้าวเหมือนกัน ภูมิประเภทที่คล้ายกัน ส่วนเหตุผลที่จนี เข้ามาติดต่อค้าขายกับดินแดนบริเวณนี้ เนื่องจาก
การติดต่อกับทางเหนือเป็นเรื่องที่ลําบาก และชาวจีนนิยมทําการค้าทางนํ้าเป็นส่วนใหญ่ การติดต่อดินแดนบริเวณนี้จึง
เป็นเรื่องง่ายกว่า
คํายืมภาษาจีนในภาษาไทยกับการเปลี่ยนแปลงทางความหมาย

คํา ความหมายเดิม ความหมายในภาษาไทย ความหมาย


เก๊กฮวย ดอกเบญจมาศหนู ดอกเบญจมาศหนู คงเดิม
เตี่ย พ่อ พ่อ คงเดิม
กุ๊ย ผี คนเลว ปีศาจ คนเลว แคบเข้า
ซินแส ครู หมอ คุณ ท่าน หมอ แคบเข้า
บะหมี่ บะหมี่เนื้อ เส้นเล็กเหลือง ๆ กว้างออก
กุนซือ ที่ปรึกษากษัตริย์ ที่ปรึกษา กว้างออก
หยําฉ่า ดื่มชา หญิงโสเภณี ย้ายที่
เกาเหลา ตึกสูง แกงที่เหมือนแกงจืด ย้ายที่

You might also like