You are on page 1of 21

สื่ อการเรี ยนการสอน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ ที่ ๑
เรื่ อง การสร้างคำ
โดย
คุณครู สุวนี บุญน้อม
การสร้างคำตามหลักเกณฑ์ทางภาษา

การสร้างคำตามหลักเกณฑ์ของภาษาเป็ น
ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยอย่างหนึ่ง ซึ่ง
สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การประสมคำ
การซ้อนคำ การซ้ำคำ ทำให้ได้ค ำใหม่ ๆ มา
ใช้ในภาษาได้อย่างหลากหลาย
คำมูล เป็ นคำดั้งเดิมที่มีใช้ในภาษา มีความหมายชัดเจนใน
ตัวเอง อาจเป็ นคำไทยแท้แต่ด้ งั เดิม หรื อเป็ นคำที่ยมื มาจาก
ภาษาต่างประเทศก็ได้
คำมูลแบ่งออกเป็ น ๒ ชนิด คือ
๑. คำมูลพยางค์เดียว
๒. คำมูลหลายพยางค์
a.คำมูลพยางค์ เดียว
๑.๑ คำมูลพยางค์ เดียวทีเ่ ป็ นคำไทยแท้ เช่ น
นาม เช่น คน ไก่ ข้าว ไข่ ช้อน
สรรพนาม เช่น ฉัน เขา ท่าน สู ตู
กริยา เช่น กิน นอน เห็น ยก
วิเศษณ์ เช่น แดง ดำ นิ่ม คด
บุพบท เช่น ใน นอก เหนือ ใต้
สั นธาน เช่น แต่ และ ถ้า
อุทาน เช่น โอ๊ย ว้าย
๑.๒ คำมูลพยางค์เดียวที่ยมื มาจากภาษาต่างประเทศ
เช่น
ภาษาจีน เช่น ก๊ก โต๊ะ เก๋ ง เกี๊ยะ อัว๊ ลื้อ

ภาษาสั นสกฤต เช่น บาตร ผล เวร

ภาษาอังกฤษ เช่น เมตร ลิตร เกม ฟรี


b.คำมูลหลายพยางค์
คำมูลหลายพยางค์เป็ นคำสองพยางค์ข้ ึนไปมี
ความหมายในตัว ไม่สามารถแยกพยางค์ภายใน
คำได้ เพราะทำให้ไม่ได้ความหมาย อาจเป็ นคำ
ไทยแท้ หรื อเป็ นคำที่ยมื มาจากภาษาต่างประเทศ
ก็ได้
๒.๑ คำมูลหลายพยางค์ ทเี่ ป็ นคำไทยแท้ เช่ น
นาม เช่น กระจง ตะไคร้ จิ้งหรี ด ตะลุมพุก โหรพา มะละกอ
สรรพนาม เช่น ดิฉนั กระผม กระหม่อม
กริยา เช่น เขม่น กระหยิม่ สะดุด ละล่ำละลัก
วิเศษณ์ เช่น ตะลีตะลาน ถมึงทึง ทะมัดทะแมง
บุพบท สันธาน เช่น กระทัง่ ฉะนั้น
อุทาน เช่น อุเหม่ โอ้โฮ
๒.๒ คำมูลหลายพยางค์ ทยี่ มื มาจากภาษต่ างประเทศ
ภาษาจีน เช่น บะหมี่ ห้อยจ้อ เฉาก๊วย กุยเฮง
ภาษาสั นสกฤต เช่น บิดา ราชินี นาฬิกา
ภาษาอังกฤษ เช่น คอมพิวเตอร์ สติ๊กเกอร์ แอโรบิค
คำประสม
คำประสม เป็ นคำที่สร้างขึ้นใหม่ โดย
การนำเอาคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไปมารวม
กัน เกิดคำใหม่ ความหมายใหม่ โดยอาจมี
เค้าความหมายเดิม หรื อ มีความหมาย
เปลี่ยนไปก็ได้
ชนิดของคำประสม

๑ คำประสมทีเ่ กิดความหมายใหม่ มเี ค้ าความหมายเดิม เช่ น


เตา + ถ่ าน เตาถ่ าน หมายถึง เตาทีใ่ ช้ เป็ นเชื้อเพลิง
เตา + รีด เตารีด หมายถึง เตาทีใ่ ช้ รีดเสื้อผ้ า
รถ + ไฟ รถไฟ หมายถึง รถทีใ่ ช้ ไฟเป็ นพลังงานขับเคลือ่ น

๒ คำประสมทีเ่ กิดความหมายใหม่ เปลีย่ นไปจากเดิม


ขาย + หน้ า ขายหน้ า หมายถึง รู้ สึกอับอาย
ราด + หน้ า ราดหน้ า หมายถึง อาหารประเภทก๋ วยเตี๋ยวมีน้ำปรุง
หัก + ใจ หักใจ หมายถึง ตัดใจไม่ ให้ คดิ ถึงเหตุการณ์ ต่างๆ
๓. คำประสมทีเ่ กิดจากการย่ อคำให้ กะทัดรัดขึน้ มักขึน้ ต้ นด้ วย การ ความ
ของ เครื่อง ชาว นัก ผู้ ช่ าง เช่ น
การค้ า ความคิด ของหวาน เครื่องเรือน ชาวสวน นักเรียน ผู้ชาย ช่ างภาพ

๔.คำประสมทีเ่ กิดจากการประสมคำไทยกับคำไทย เช่ น


หางเสื อ กล้ วยไม้ ยางลบ

๕.คำประสมทีเ่ กิดจากคำยืมภาษาต่ างประเทศประสมกัน เช่ น


ดำรงศักดิ์ พระศก พระโธรน ฯลฯ
หน้ าทีค่ ำประสม
นาม เช่น ครอบครัว หางเสื อ หัวใจ ตาปลา แปรงสี ฟัน ยาดับกลิ่น คน รถ
รถไฟ เข็มทิศ ผูอ้ ำนวยการ โซดาไฟ
สรรพนาม เช่น ใต้เท้า กระหม่อมฉัน ใต้ฝ่าพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า พ่อคุณ
กริยา เช่น กันท่า ขัดคอ เข้าใจ จับจอง ขอโทษ ก่อการ ยกเลิก แก้ไข เต้นรำ
ขนส่ ง อ่อนใจ ปรับทุกข์ สวดมนต์ ถ่ายรู ป
วิเศษณ์ เช่น ขี้ริ้ว ใจดี น่าเอ็นดู หัวดื้อ น่ารัก ขี้เกียจ ใจบุญ
บุพบท เช่น จนกระทัง่ ตั้งแต่ ต่อเมื่อ โดยเฉพาะ
สั นธาน เช่น เพราะฉะนั้น มิฉะนั้น เพราะเหตุวา่
อุทาน เช่น ตายละวา พุทโธ่เอ๊ย แม่เจ้าโว้ย ว๊ายตาเถร
โครงสร้ างของคำประสม
๑. คำนาม + คำนาม เช่น รถราง รถไฟฟ้ า น้ำปลา
กรอบรู ป

๒. คำนาม + คำสรรพนาม เช่น พระคุณท่าน ข้า


พระพุทธเจ้า

๓. คำกริยา + คำกริยา เช่น ต้มยำ กันชน จดจำ ดู


หมิ่น

๔. คำกริยา + คำนาม เช่น กินใจ สับนก ตีหน้า


๕. คำกริยา + คำวิเศษณ์ เช่น หลับใน ถือดี ดูถูก
๖. คำวิเศษณ์ + คำวิเศษณ์ เช่น หลายใจ ร้อนตัว ดีอก
ดีใจ

๗. คำบุพบท + คำนาม เช่น นอกใจ ถึงที่ นอกเรื่ อง


คำซ้ อน
คำซ้ อน เป็ นการสร้างคำโดยนำคำมูลที่มีความหมายเหมือน
กัน ใกล้เคียงกัน หรื อตรงกันข้ามมาวางซ้อนกัน เกิดคำใหม่
มีความหมายใหม่ โดยความหมายใหม่อาจกว้างขึ้นหนักแน่น
ขึ้นหรื อเบาลงก็ได้
ลักษณะของคำซ้ อน
๑. คำซ้ อนที่ประกอบขึน้ ด้ วยคำ ๒ คำขึน้ ไป มีความหมายทำนองเดียวกัน เช่น กักขัง ข่มขู่
ขัดแย้ง
คัดเลือก แจกแจง ใช้จ่าย ซักฟอก บุกรุ ก ปกครอง ผูกพัน เพิ่มเติม เลือกเฟ้ น เล็กน้อย
๒. ประกอบด้ วยคำ ๒ คำขึน้ ไป ที่มีความหมายตรงข้ าม เช่น ถูกผิด หนักเบา ยากง่าย
เร็ วช้า ชัว่ ดี บาปบุญ ดีร้าย เปรี้ ยวหวาน สูงต่ำ ดำขาว ถูกแพง อ้วนผอม เท็จจริ ง
๓. คำซ้ อนที่ประกอบขึน้ ด้ วยคำ ๒ คำขึน้ ไป ที่ขนึ้ ต้ นด้ วยพยัญชนะเสี ยงเดียวกันหรือมีเสี ยง
เข้ าคู่กนั
เช่น เปรี้ ยงปร้าง วุย้ ว้าย อึกอัก จูจ้ ้ี เปะปะ เอะอะ รุ่ งริ่ ง จุกจิก โคลงเคลง คลอนแคลน
ความหมายของคำซ้ อน
๑. ความหมายชัดเจนยิง่ ขึน้ เช่น ใหญ่โต หมายถึง ใหญ่มาก
เงียบสงัด หมายถึง เงียบที่สุด
๒. ความหมายของอีกคำแปลอีกคำ เช่น เสื่ อสาด สาดภาษาถิ่น มีความ
หมายว่า เสื่ อ
๓. ความหมายเชิงอุปมา เช่น เจ็บไข้ คับแคบ เดือดร้อน ถากถาง
๔. ความหมายกว้ างขึน้ เช่น ข้าวปลาอาหาร หมายถึง อาหารทั้งหมด
๕. ความหมายแคบลง เช่น หัวหู หมายถึง หัว เท็จจริ ง หมายถึง ความ
จริ ง
คำซ้ำ
คำซ้ำ เป็ นการสร้างคำชนิดหนึ่ง โดยการนำคำเดิมคำ
เดียวกันมากล่าวซ้ำ โดยใช้ไม้ยมก (ๆ) กำกับ เช่น ดี ๆ
ต่ำ ๆ แคบ ๆ หรื อเล่นเสี ยงวรรณยุกต์ เช่น ส้วยสวย แก๊
แก่
ชนิดของคำซ้ำ
๑. ความหมายต่ างไปจากเดิม เช่ น ของกล้วยๆ หมายถึง ง่ายมาก
รู้ภาษางูๆ ปลาๆ หมายถึง รู้เพียงเล็กน้อย
๒. ความหมายเบาลง เช่ น
พี่ยกเสื้ อผ้าให้ดูซิยงั ใหม่ๆอยูเ่ ลย หมายถึง อยูใ่ นสภาพใหม่แต่ไม่ใช่ของใหม่
๓. ความหมายแยกจำนวนเป็ นส่ วนๆ เช่ น
หัน่ เนื้อเป็ นชิ้นๆก่อนทอด หมายถึง แบ่งเป็ นชิ้นแยกจากกัน
๔. ความหมายเพิม่ ขืน้ มากกว่ าหนึ่ง เช่ น
เด็กๆมากินข้าวเร็ ว หมายถึง มีเด็กหลายคน
๕. ความหมายแสดงอาการต่ อเนื่อง เช่ น ฝนตกปรอยๆ มาตั้งแต่หวั ค่ำ
๖. ความหมายแสดงอาการกะประมาณไม่ เจาะจง เช่ น
เจอกันตอนเย็นๆ นะ หมายถึง ประมาณตอนเย็นไม่ก ำหนดเวลาใด
๗ ความหมายชัดเจนยิง่ ขึน้ หนักขึน้ เช่ น
ฉันว่าเธอแต่งหน้าเค้มเข้ม หมายถึง เข้มมาก
h. ความหมายเลียนเสี ยงธรรมชาติ เช่ น
แมวร้องเหมียวๆ
สรุป
การสร้างคำมีความจำเป็ นในภาษาเพราะช่วยให้มีค ำใช้มากขึ้น คำที่
สร้างใหม่เหล่านี้ คือ คำประสม คำซ้อน คำซ้ำ คำทั้ง ๓ ชนิดนี้ มีวธิ ีการ
สร้างที่แตกต่างกัน แต่มีพ้นื ฐานของคำมาจากคำมูลเหมือนกันทั้งสิ้ น
การศึกษาการสร้างคำนี้ นอกจากจะช่วยให้รู้จกั สร้างคำใหม่ๆมาใช้ใน
ภาษาให้หลากหลายขึ้นแล้ว ยังช่วยให้สามารถนำคำแต่ละชนิดไปใช้ใน
ประโยคเพื่อสื่ อสารได้อย่างเหมาะสมถูกต้องอีกด้วย
จบการนำเสนอ

You might also like