You are on page 1of 17

ใบความรู้

เรื่อง คำวิเศษณ์

สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษาไทย ชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๖


มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษา
และพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักภาษาไทย ไว้เป็นสมบัติของชาติ
ตัวชี้วัด ป.๖/๑ วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค
จุดประสงค์ ๑. นักเรียนสามารถจำแนกประเภทของคำวิเศษณ์แต่ละชนิดได้
๒. นักเรียนสามารถบอกหน้าที่ของคำวิเศษณ์ในประโยคได้

ความหมายของคำวิเศษณ์

คำวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำนาม คำกริยา คำสรรพนาม หรือคำวิเศษณ์ด้วย


กันเพื่อบ่งชี้ลักษณะต่าง ๆ ให้มีความละเอียดชัดเจน เพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้นใน
เรื่องของการบอกขนาด รูปทรง จำนวน ปริมาณ สี กลิ่น รส เช่น

น้ำร้อนอยูในกระติกสีขาว
คำว่า "ขาว" เป็นคำวิเศษณ์ที่ใช้ขยายเพื่อบอกลักษณะสีของกระติกน้ำร้อน
ว่าเป็นกระติกน้ำร้อนสีขาว
จานใบใหญ่ราคาแพง
คำว่า "ใหญ่" เป็นคำวิเศษณ์ที่ใช้ขยายเพื่อบอกขนาดของจานว่าเป็นจาน
ใบใหญ่
ถังขยะมีกลิ่นเหม็น
คำว่า "เหม็น" เป็นคำวิเศษณ์ที่ใช้ขยายเพื่อบอกกลิ่นของถังขยะว่าเป็น
ถังขยะมีกลิ่นเหม็น
ฉันมีเงินห้าบาท
คำว่า "ห้า" เป็นคำวิเศษณ์ที่บอกจำนวนที่มีว่ามีเงินอยู่ห้าบาท
ประเภทของคำวิเศษณ์

คำวิเศษณ์แบ่งออกเป็น ๑๐ ประเภท ดังนี้

๑. ลักษณวิเศษณ์
หรือคำวิเศษณ์บอกลักษณะ

เป็นคำวิเศษณ์ที่ใช้เพื่อบอกลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ บอกขนาด บอกสัณฐาน บอก


ชนิด บอกสี บอกเสียง บอกกลิ่น บอกสัมผัส บอกรส บอกอาการ เช่น สาว สูง ขาว
กลม หอม หวาน ช้า เย็น ใหญ่ เบา

ตัวอย่างเช่น ดอกมะลิมีกลิ่นหอม
คำว่า "หอม" เป็นคำวิเศษณ์ที่ใช้ขยายเพื่อบอกลักษณะ
ของดอกมะลิว่าเป็นดอกที่มีกลิ่นหอม
แม่ไม่ชอบน้ำหวาน
คำว่า "หวาน" เป็นคำวิเศษณ์ที่ใช้ขยายเพื่อบอกลักษณะ
ของน้ำว่าเป็นน้ำที่มีรสหวาน

๒. กาลวิเศษณ์
หรือคำวิเศษณ์ที่บอกเวลา

เป็นคำวิเศษณ์ใช้บอกเวลาของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น


ค่ำ ดึก อดีค อนาคต

ตัวอย่างเช่น ฉันไปโรงเรียนแต่เช้า
คำว่า "เช้า" เป็นคำวิเศษณ์ที่ใช้ขยายเพื่อบอกเวลาว่ามาที่
พระอาทิตย์กำลังขึ้น
พี่กลับบ้านมาตอนค่ำ
คำว่า "ค่ำ" เป็นคำวิเศษณ์ที่ใช้ขยายเพื่อบอกเวลาว่า
กลับถึงบ้านตอนไหน
๓. สถานวิเศษณ์
หรือคำวิเศษณ์บอกสถานที่

เป็นคำวิเศษณ์ที่เพื่อบอกตำแหน่งหรือทิศทางของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เหนือ ใต้ ไกล


ใกล้ บน ล่าง ซ้าย ขวา

ตัวอย่างเช่น ฉันเป็นคนภาคเหนือ
คำว่า "เหนือ" เป็นคำวิเศษณ์บอกตำแหน่งว่าเป็นคนที่
มาจากภาคเหนือหรือเติบโตมากับวัฒนธรรมของคนภาคเหนือ
นกอยู่บนต้นไม้
คำว่า "บน" เป็นคำวิเศษณ์บอกตำแหน่งว่าบนต้นไม้นั้นมี
นกอยู่

๔ .ประมาณวิเศษณ์
หรือคำวิเศษณ์บอกปริมาณ
หรือจำนวน
เป็นคำวิเศษณ์ที่บอกจำนวนหรือปริมาณ เช่น หนึ่ง สอง สาม ที่หนึ่ง มาก น้อย
ต่าง บ้าง ทั้งหลาย ทั้งหมด

ตัวอย่างเช่น บ้านฉันมีสุนัขสามตัว
คำว่า "สาม" เป็นคำวิเศษณ์ที่บอกจำนวนสุนัขที่บ้านว่ามีสามตัว
น้องกินข้าวเยอะมาก
คำว่า "มาก" เป็นคำวิเศษณ์ที่บอกปริมาณการกินข้าวของ
น้องว่า น้องกินข้าวเยอะกว่าปริมาณที่ปกติ
๕. ประติชญาวิเศษณ์
หรือคำวิเศษณ์แสดงคำขานรับ

เป็นคำวิเศษณ์ที่ใช้แสดงการขานรับในการเจรจาหรือโต้ตอบกัน มักจะใช้พูดเมื่อ
จบประโยค เช่น ครับ ค่ะ จ๊ะ จ๋า ขอรับ

ตัวอย่างเช่น วันนี้ฉันทำอาหารหลายเมนูค่ะ
คำว่า "ค่ะ" เป็นคำวิเศษณ์แสดงการขานรับประกอบท้าย
กับคำว่า "เมนู" และใช้พูดเมื่อจบประโยค
ขอบคุณครับ
คำว่า "ครับ" เป็นคำวิเศษณ์แสดงการขานรับประกอบท้าย
กับคำว่า "ขอบคุณ" และใช้พูดเมื่อจบประโยค

๖. ประติเษธวิเศษณ์
หรือคำวิเศษณ์แสดงความปฏิเสธ

เป็นคำวิเศษณ์ที่บอกความปฏิเสธ การแสดงการไม่ยอมรับ เช่น ไม่ ไม่ใช่ มิใช่ มิได้

ตัวอย่างเช่น สมุดเล่มนี้ไม่ใช่ของฉัน
คำว่า "ไม่ใช่" เป็นคำวิเศษณ์ที่ใช้บอกปฏิเสธว่า "สมุด" หรือ
ของสิ่งนี้ไม่ได้เป็นของฉัน
ฉันไม่ได้ชอบเธอ
คำว่า "ไม่ได้" เป็นคำวิเศษณ์ที่ใช้บอกปฏิเสธว่า "เธอ" คือ
คนที่ฉันไม่ได้ชอบ
๗. นิยมวิเศษณ์
หรือคำวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ

เป็นคำวิเศษณ์ที่บอกความชี้เฉพาะ เช่น นี้ นี่ นั่น โน่น ทั้งนี้ ทั้งนั้น แน่นอน เอง
ทีเดียว อย่างนี้ อย่างนั้น

ตัวอย่างเช่น ฉันเองที่ทำแจกันแตก
คำว่า "เอง" เป็นคำวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะว่าคนที่ทำ
แจกันแตกไม่ใช่คนอื่นแต่เป็น "ฉัน"
เสื้อตัวนี้สวยมาก
คำว่า "นี้" เป็นคำวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะว่าเป็น "เสื้อ"
ไม่ใช่สิ่งอื่น

ข้อสังเกตระหว่างนิยมวิเศษณ์และนิยมสรรพนาม
คำว่า นี่ นั่น โน่น นี้ นั้น โน้น ถึงแม้ว่าจะมีรูปคำซ้ำทั้งนิยมวิเศษณ์และนิยม
สรรพนาม แต่ทั้งสองชนิดก็มีความแตกต่างกัน คือ นิยมวิเศษณ์จะอยู่หลังคำนาม ส่วนที่
เป็นนิยมสรรพนามจะไม่มีคำนามนำหน้า เช่น

ตัวอย่าง นิยมวิเศษณ์ นิยมสรรพนาม

๑ ขนมนี่เป็นของฉัน นี่คือขนมของฉัน

๒ กระเป๋าโน้นเป็นของฉัน โน้นคือกระเป๋าของฉััน

๓ แม่เธอนั่นใช่ไหม นั่นใช่แม่เธอไหม
๘. อนิยมวิเศษณ์
หรือคำวิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะ

เป็นคำวิเศษณ์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะ เช่น ใด อื่น ไหน อะไร ใคร ฉันใด


เช่นไร ฉันใด ทำไม

ตัวอย่างเช่น ประเทศไหนที่น่าไปเที่ยว
คำว่า "ไหน" เป็นคำวิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะว่าต้อง
เป็นประเทศนี้ แต่เป็นประเทศไหนก็ได้ที่น่าไปเที่ยว
เธอจะมาเวลาใดก็ได้
คำว่า "ใด" เป็นคำวิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะว่าต้อง
เป็นเวลานี้ แต่เป็นเวลาไหนก็ได้ที่จะมา

ข้อสังเกตระหว่างอนิยมวิเศษณ์และอนิยมสรรพนาม

คำว่า ใคร อะไร ไหน ใด ถึงแม้ว่าจะมีรูปคำซ้ำทั้งอนิยมวิเศษณ์ และ


อนิยมสรรพนาม แต่ทั้งสองชนิดก็มีความแตกต่างกัน คือ อนิยมวิเศษณ์จะอยู่
หลังคำนาม ส่วนอนิยมสรรพนามจะไม่มีคำนามนำหน้า เช่น

ตัวอย่าง อนิยมวิเศษณ์ อนิยมสรรพนาม

๑ ผลไม้อะไรฉันก็กินได้ อะไรฉันก็กินได้

๒ ฉันไม่เห็นเพื่อนใครมาเลย ฉันไม่เห็นใครแล้ว

ปัญหาใด ๆ ในโลกล้วนมี
๓ ใด ๆ ในโลกล้วนมีทางแก้
ทางแก้
๙. ปฤจฉาวิเศษณ์
หรือคำวิเศษณ์แสดงคำถาม

เป็นคำวิเศษณ์ที่แสดงคำถามหรือแสดงความสงสัย เช่น ใด ไร ไหน อะไร สิ่งใด


ทำไม เท่าไร เมื่อไร อย่างไร อื่น

ตัวอย่างเช่น นักเรียนคนไหนไม่ส่งการบ้าน
คำว่า "ไหน" เป็นคำวิเศษณ์แสดงความสงสัยว่า นักเรียน
คนไหนที่ไม่ส่งการบ้าน
ดินสอแท่งนี้ราคาเท่าไร
คำว่า "เท่าไร" เป็นคำวิเศษณ์แสดงคำถามว่า ดินสอ
นี้ราคากี่บาท

ข้อสังเกตระหว่างปฤจฉาวิเศษณ์และอนิยมวิเศษณ์
ปฤจฉาวิเศษณ์จะอยู่หลังคำนามจะสื่อความเป็นคำถาม แต่ถ้าไม่สื่อเป็น
คำถามจะเป็นอนิยมวิเศษณ์

ตัวอย่าง ปฤจฉาวิเศษณ์ อนิยมวิเศษณ์

๑ บ้านใครมีแอร์บ้าง บ้านใครก็มีแอร์กันทั้งนั้น

เธอขายขนมราคาเท่าไร
๒ เธอจะขายขนมราคาเท่าไร
ก็เรื่องของเธอ

๓ เขาจะดื่มน้ำอะไร เขาดื่มน้ำอะไรก็ได้
ข้อสังเกตระหว่างปฤจฉาวิเศษณ์และปฤจฉาสรรพนาม
ปฤจฉาวิเศษณ์กับปฤจฉาสรรพนามแม้จะใช้คำคำเดียวกัน แต่ก็มีความแตกต่าง
กัน คือ ปฤจฉาวิเศษณ์จะอยู่หลังคำนาม ส่วนปฤจฉาสรรพนามจะไม่มีคำนามนำหน้า

ตัวอย่าง ปฤจฉาวิเศษณ์ ปฤจฉาสรรพนาม

๑ เธอชอบสัตว์อะไร เธอชอบอะไร

๒ เธออยู่จังหวัดไหนหรอ เธออยู่ไหนหรอ

๓ เมื่อเช้านี้เพื่อนใครมาหาฉัน เมื่อเช้านี้ใครมาหาฉัน

๑๐. ประพันธวิเศษณ์

เป็นคำวิเศษณ์ที่ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์เพื่อเชื่อมประโยคให้มีความ
เกี่ยวข้องกัน เช่น ที่ ซึ่ง อัน อย่างที่ ชนิดที่ ให้ ว่า ที่ว่า คือ เพื่อ

ตัวอย่างเช่น นักเรียนทุกคนตั้งใจที่จะไปเข้าค่ายพักแรม
คำว่า "ที่" เป็นคำวิเศษณ์ประกอบคำกริยา คำว่า "ตั้งใจ"
และเชื่อมประโยคที่อยู่ข้างหน้า
ครูวันเพ็ญท่านใจดีมากอันหาที่เปรียบมิได้
คำว่า "อัน" เป็นคำวิเศษณ์ประกอบคำวิเศษณ์ คำว่า "มาก"
และเชื่อมประโยคที่อยู่ข้างหน้า
ข้อสังเกตระหว่างประพันธวิเศษณ์และประพันธสรรพนาม

คำว่า ผู้ ที่ ซึ่ง อัน เป็นได้ทั้งประพันธวิเศษณ์และประพันธสรรพนาม


แต่ทั้งสองชนิด ก็มีความแตกต่างกัน คือ ประพันธวิเศษณ์จะอยู่หลังคำกริยา
ส่วนประพันธสรรพนามจะอยู่หลังคำนาม เช่น

ตัวอย่าง ประพันธวิเศษณ์ ประพันธสรรพนาม

เพราะเขาเป็นคนที่ดี เพื่อนจึง
๑ เพื่อนยอมรับที่เขาเป็นคนดี
ยอมรับ

ไม้บรรทัดสีเหลืองอันวางอยู่ ไม้บรรทัดอันสีเหลือง

เป็นของฉัน เป็นของฉัน

๓ คนเกียจคร้านมากซึ่งต้องลำบาก คนซึ่งเกียจคร้านต้องลำบาก

หน้าที่ของคำวิเศษณ์

๑. ขยายคำนามในประโยค

คำวิเศษณ์ที่ขยายคำนามในประโยค จะวางไว้ข้างหลังเพื่อขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า

ตัวอย่างเช่น บ้านสวยราคาไม่แพง
"สวย" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำนาม "บ้าน"
ตำรวจหลายคนจับโจรผู้ร้าย
"หลาย" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำนาม "ตำรวจ"
๒. ขยายคำกริยาในประโยค

คำวิเศษณ์ที่ขยายคำกริยาในประโยค จะวางไว้ข้างหลังคำกริยาเพื่อขยาย
คำกริยาที่อยู่ข้างหน้า

ตัวอย่างเช่น คนตื่นเช้ามักได้เปรียบคนอื่น
"เช้า" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำกริยา "ตื่น"
นักกีฬาว่ายน้ำเก่ง
"เก่ง" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำกริยา "ว่ายน้ำ"

๓. ขยายคำสรรพนามในประโยค

คำวิเศษณ์ที่ขยายคำสรรพนามในประโยค จะวางไว้ข้างหลังคำสรรพนามเพื่อ
ขยายคำสรรพนามที่อยู่ข้างหน้า

ตัวอย่างเช่น เราทั้งหมดช่วยกันทำงานให้เรียบร้อย
"ทั้งหมด" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำสรรพนาม "เรา"
ฉันเองเป็นคนบอกความจริง
"เอง" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำสรรพนาม "ฉัน"
๔. ขยายคำวิเศษณ์ในประโยค

คำวิเศษณ์ที่ขยายคำวิเศษณ์ในประโยค จะวางไว้ข้างหลังคำวิเศษณ์เพื่อขยาย
คำวิเศษณ์ที่อยู่ข้างหน้า

ตัวอย่างเช่น นางสาวไทยคนนี้มีหน้าตาสวยมาก
"มาก" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำวิเศษณ์ "สวย"
สมชายร้องเพลงเพราะจริง
"จริง" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำวิเศษณ์ "เพราะ"
ชื่อ: นามสกุล: ชั้น: เลขที่:

ใบงานที่ ๑ คะแนน

เรื่อง จำแนกประเภท
ของคำวิเศษณ์

คำชี้แจง: ให้นักเรียนนำชนิดของคำที่กำหนดให้เติมลงในช่องว่างให้ถูกต้อง

ลักษณวิเศษณ์ กาลวิเศษณ์ สถานวิเศษณ์ ประมาณวิเศษณ์ ประติเษธวิเศษณ์


ประติชญาวิเศษณ์ นิยมวิเศษณ์ อนิยมวิเศษณ์ ปฤจฉาวิเศษณ์ ประพันธวิเศษณ์

๑. แน่นอน

๒. ฉลาด

๓. อื่น ๆ

๔. ใคร

๕. นั่น

๖. หลาย

๗. โบราณ

๘. เปรี้ยว

๙. เหนือ

๑๐. พรุ่งนี้
ชื่อ: นามสกุล: ชั้น: เลขที่:

ใบงานที่ ๒ คะแนน

เรื่อง จำแนกประเภท
ของคำวิเศษณ์

คำชี้แจง: ให้นักเรียนระบุว่าคำวิเศษณ์ที่ขีดเส้นใต้เป็นคำวิเศษณ์ชนิดใด โดยเติมคำตอบลงในช่องว่างให้ถูกต้อง

ลักษณวิเศษณ์ กาลวิเศษณ์ สถานวิเศษณ์ ประมาณวิเศษณ์ ประติเษธวิเศษณ์


ประติชญาวิเศษณ์ นิยมวิเศษณ์ อนิยมวิเศษณ์ ปฤจฉาวิเศษณ์ ประพันธวิเศษณ์

๑. ฉันทำการบ้านตอนเย็น

๒. บ้านฉันอยู่ไกลโรงเรียน

๓. ฉันไม่อยากไปหาหมอ

๔. สอบครั้งนี้เราต้องรอดนะจ๊ะ

๕. ฉันให้ขนมเธอเป็นสิ่งตอบแทน

๖. น้ำผึ่งมีรสหวาน

๗. ขนมเลย์ถุงละ 20 บาท

๘. เมื่อไรเธอจะมาหาฉัน

๙. เสื้อกันหนาวไม่ใช่ของฉัน

๑๐. ฟ้าจ๋ามาหาพี่หน่อย
ชื่อ: นามสกุล: ชั้น: เลขที่:

ใบงานที่ ๓ คะแนน
เรื่อง บอกหน้าที่
ของคำวิเศษณ์

คำชี้แจง: ให้นักเรียนระบุว่าคำวิเศษณ์ที่ขีดเส้นใต้ทำหน้าที่อะไรในประโยค โดยเติมคำตอบลงในช่องว่างให้ถูกต้อง

ขยายคำนามในประโยค ขยายคำกริยาในประโยค

ขยายคำสรรพนามในประโยค ขยายคำวิเศษณ์ในประโยค

๑. บ้านสวยราคาไม่แพง

๒. อ้อมเป็นคนดีมาก

๓. ใครบ้างจะไปเที่ยวกับฉัน

๔. เธอเป็นคนน่ารักมาก

๕. เมื่อวานนี้ฝนตกหนัก

๖. รถไฟฟ้่าแล่นเร็ว

๗. คนหนุ่มสาวไปท่องเที่ยว

๘. เขาทั้งหมดเป็นลูกศิษย์ครูรุ้ง

๙. วรรณภาเรียนเก่ง

๑๐. เขาเองที่เป็นคนทำ
ชื่อ: นามสกุล: ชั้น: เลขที่:

เฉลยใบงานที่ ๑ คะแนน

เรื่อง จำแนกประเภท
ของคำวิเศษณ์

คำชี้แจง: ให้นักเรียนนำชนิดของคำที่กำหนดให้เติมลงในช่องว่างให้ถูกต้อง

ลักษณวิเศษณ์ กาลวิเศษณ์ สถานวิเศษณ์ ประมาณวิเศษณ์ ประติเษธวิเศษณ์


ประติชญาวิเศษณ์ นิยมวิเศษณ์ อนิยมวิเศษณ์ ปฤจฉาวิเศษณ์ ประพันธวิเศษณ์

๑. แน่นอน นิยมวิเศษณ์

๒. ฉลาด ลักษณวิเศษณ์

๓. อื่น ๆ อนิยมวิเศษณ์

๔. ใคร ปฤจฉาวิเศษณ์

๕. นั่น นิยมวิเศษณ์

๖. หลาย ประมาณวิเศษณ์

๗. โบราณ กาลวิเศษณ์

๘. เปรี้ยว ลักษณวิเศษณ์

๙. เหนือ สถานวิเศษณ์

๑๐. พรุ่งนี้ กาลวิเศษณ์


ชื่อ: นามสกุล: ชั้น: เลขที่:

เฉลยใบงานที่ ๒ คะแนน

เรื่อง จำแนกประเภท
ของคำวิเศษณ์

คำชี้แจง: ให้นักเรียนระบุว่าคำวิเศษณ์ที่ขีดเส้นใต้เป็นคำวิเศษณ์ชนิดใด โดยเติมคำตอบลงในช่องว่างให้ถูกต้อง

ลักษณวิเศษณ์ กาลวิเศษณ์ สถานวิเศษณ์ ประมาณวิเศษณ์ ประติเษธวิเศษณ์


ประติชญาวิเศษณ์ นิยมวิเศษณ์ อนิยมวิเศษณ์ ปฤจฉาวิเศษณ์ ประพันธวิเศษณ์

๑. ฉันทำการบ้านตอนเย็น กาลวิเศษณ์

๒. บ้านฉันอยู่ไกลโรงเรียน สถานวิเศษณ์

๓. ฉันไม่อยากไปหาหมอ ประติเษธวิเศษณ์

๔. สอบครั้งนี้เราต้องรอดนะจ๊ะ ประติชญาวิเศษณ์

๕. ฉันให้ขนมเธอเป็นสิ่งตอบแทน ประพันธวิเศษณ์

๖. น้ำผึ่งมีรสหวาน ลักษณะวิเศษณ์

๗. ขนมเลย์ถุงละ 20 บาท ประมาณวิเศษณ์

๘. เมื่อไรเธอจะมาหาฉัน ปฤจฉาวิเศษณ์

๙. เสื้อกันหนาวไม่ใช่ของฉัน ประติเษธวิเศษณ์

๑๐. ฟ้าจ๋ามาหาพี่หน่อย ประติชญาวิเศษณ์


ชื่อ: นามสกุล: ชั้น: เลขที่:

เฉลยใบงานที่ ๓ คะแนน
เรื่อง บอกหน้าที่
ของคำวิเศษณ์

คำชี้แจง: ให้นักเรียนระบุว่าคำวิเศษณ์ที่ขีดเส้นใต้ทำหน้าที่อะไรในประโยค โดยเติมคำตอบลงในช่องว่างให้ถูกต้อง

ขยายคำนามในประโยค ขยายคำกริยาในประโยค

ขยายคำสรรพนามในประโยค ขยายคำวิเศษณ์ในประโยค

๑. บ้านสวยราคาไม่แพง ขยายคำนามในประโยค

๒. อ้อมเป็นคนดีมาก ขยายคำวิเศษณ์ในประโยค

๓. ใครบ้างจะไปเที่ยวกับฉัน ขยายคำสรรพนามในประโยค

๔. เธอเป็นคนน่ารักมาก ขยายคำวิเศษณ์ในประโยค

๕. เมื่อวานนี้ฝนตกหนัก ขยายคำกริยาในประโยค

๖. รถไฟฟ้่าแล่นเร็ว ขยายคำกริยาในประโยค

๗. คนหนุ่มสาวไปท่องเที่ยว ขยายคำนามในประโยค

๘. เขาทั้งหมดเป็นลูกศิษย์ครูรุ้ง ขยายคำสรรพนามในประโยค

๙. วรรณภาเรียนเก่ง ขยายคำกริยาในประโยค

๑๐. เขาเองที่เป็นคนทำ ขยายคำสรรพนามในประโยค

You might also like