You are on page 1of 132

สุนทรียศาสตร์และการจัดดอกไม้อิเคะบะนะ

โดย
นางสาวศุภานัน นรารัตน์วงศ์

ศิลปนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปบัณฑิต
สาขาวิชาทัศนศิลป์ (ทฤษฎีศิลป์)
ภาควิชาทฤษฎีศิลป์
คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปีการศึกษา 2562
สุนทรียศาสตร์และการจัดดอกไม้อิเคะบะนะ

โดย
นางสาวศุภานัน นรารัตน์วงศ์

ศิลปนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปบัณฑิต
สาขาวิชาทัศนศิลป์ (ทฤษฎีศิลป์)
ภาควิชาทฤษฎีศิลป์
คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปีการศึกษา 2562
Aesthetics and Floral Art (Ikebana)

By
Miss Supanun Nararatwong

A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree


Bachelor of Fine Arts ( B.F.A ), Program in Visual Arts
Department of Art Theory
The Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts
Silpakorn University
Academic Year 2019
คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อนุมัติให้ศิลปนิพนธ์
เรื่อง “สุนทรียศาสตร์และการจัดดอกไม้อิเคะบะนะ” เสนอโดย นางสาวศุภานัน นรารัตน์วงศ์ เป็น
ส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ กลุ่มวิชาเอกทฤษฎีศิลป์

................................................................
( ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ กุญแจทอง )
คณบดีคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์
................./............................./...............

ผู้ควบคุมศิลปนิพนธ์
รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ อิษฏ์วรพันธุ์

คณะกรรมการตรวจศิลปนิพนธ์ ................................................................ ประธานกรรมการ


( รองศาสตราจารย์ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล )
................./............................./...............

................................................................ กรรมการ
( รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์ )
................./............................./...............

............................................................... กรรมการและเลขานุการ
( ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปวีณา สุธีรางกูร )
................./............................./...............
หัวข้อศิลปนิพนธ์ สุนทรียศาสตร์และการจัดดอกไม้อิเคะบะนะ
ชื่อนักศึกษา นางสาวศุภานัน นรารัตน์วงศ์
สาขาวิชา ทัศนศิลป์
ภาควิชา ทฤษฎีศิลป์
ปีการศึกษา 2562

บทคัดย่อ

ศิลปนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ แนวคิด ปรัชญา และรูปแบบ


ของการจัดดอกไม้อิเคะบะนะแบบญี่ปุ่น โดยจะทำการศึกษาใน 3 ประเด็น อันได้แก่ วิเคราะห์จาก
แนวคิด, ปรัชญา และรูปแบบ โดยศึกษาจากผลงานการจัดอิเคะบะนะของสำนักอิเคะบะนะที่ มี
ชื่อเสียง 3 สำนัก คือ สำนักอิเคะโนะโบ โอฮะระ และ โซเก็ทสึ ซึ่งในแต่ละสำนักต่างก็มีรู ปแบบ
เฉพาะตัวที่โดดเด่น และทำให้เห็นถึงพัฒนาการของอิเคะบะนะอย่างชัดเจน ซึ่งผลการศึกษาพบว่า
ในการจั ด อิ เ คะบะนะแบบดั ้ ง เดิ ม ได้ ร ั บ อิ ท ธิ พ ลมาจากศาสนา วั ฒ นธรรม และ
สถาปัตยกรรมแบบญี่ปุ่น โดยมีการตั้งกฎเกณฑ์เน้นไปในเรื่องของจิตวิญญาณและธรรมชาติ เมื่อเข้าสู่
สมัยใหม่ อิทธิพลจากชาติตะวันตกแทรกซึมเข้ามาในวัฒนธรรมญี่ปุ่นจึงทำให้อิเคะบะนะมีการพัฒนา
เป็นแบบร่วมสมัย มีอิสระในการสร้างสรรค์ ละทิ้งกฎเกณฑ์บางอย่าง การใช้รูปแบบทางศิล ปะ
ตะวันตกเข้ามาร่วม มีการใช้พื้นที่อย่างอิสระ จึงทำให้งานศิลปะและอิเคะบะนะผสมผสานเข้าด้วยกัน
ผู้จัดอิเคะบะนะรุ่นใหม่ต่างมีการริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานในแบบของตนเอง เกิดรูปแบบใหม่ๆ เป็นการ
รวมกันของงานศิลปะแบบติดตั้ง (Installation Art) กับการจัดดอกไม้ในพื้นที่สาธารณะ อิเคะบะนะ
ไม่เป็นเพียงแค่การจัด หรือการชมความงามของดอกไม้ แต่เป็นการแสดงออกรวมกันของศิลปะ เซน
และสุนทรียศาสตร์ญี่ปุ่น วัฒนธรรมการจัดอิเคะบะนะยังคงสืบทอดกันต่อมาจนถึงปัจจุบัน กล่าวได้ว่า
เป็นศิลปะที่อยู่ในระดับของชีวิตประจำวัน ต่างจากศิลปะที่ต้องไปดูตามพิพิธภัณฑ์


Thesis Title Aesthetics and Floral Art (Ikebana)
Name Miss Supanun Nararatwong
Concentration Visual Arts
Department Art Theory
Academic Year 2019

Abstract

This art thesis is aimed to study and analyze the concept, philosophy and
format of Japanese flower arrangement ‘Ikebana’, which is studied through the 3
categories: Analysis of meaning, Asthetic analysis and Physical analysis. This is studied
from 3 famous school of Ikebana such as Ikenobo, Ohara and Sogetsu, which each
school has its different unique style, showing a clear development in Ikebana, resulting
in:
The original style of Ikebana is influenced by religion, culture and Japanese
architecture that have a clear arrangement principle focused on spirituality and nature.
Later on it is influenced by Western culture that is infiltrating into Japanese culture,
bringing Ikebana into a contemporary form and has more freedom in creation, some
principles has been excepted, using Western style in flower arrangement and using
freedom in arrangement space. Combining these styles, it brings Ikebana into a new
generation, and people start to create and invent new styles of Ikebana, which it has
been combined with Installation art in public space. Therefore, Ikebana is now not
only flower arrangement and praising the beauty of flowers, but is appreciating the
overall beauty of the artwork, Zen philosophy and the beauty of Japanese aesthetic.
In result, Ikebana is deeply rooted in Japanese culture and is passed on through
generations. It’s also said that this is in everyday life, contrasting the art must go to the
museum to admire.


กิตติกรรมประกาศ

ศิลปนิพนธ์เรื่อง สุนทรียศาสตร์และการจัดดอกไม้อิเคะบะนะ ฉบับนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วย


ความกรุณาของรองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ อิษฏ์วรพันธุ์ อาจารย์ที่ปรึกษาศิลปนิพนธ์ ซึ่งได้ให้
คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ และความช่วยเหลือ จนกระทั่งสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี ขอขอบพระคุณเป็นอย่าง
สูงมา ณ ที่นี้
ขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล และผู้ช่วยศาสตราจารย์
ปวีณา สุธีรางกูร กรรมการสอบศิลปนิพนธ์ ที่ให้ความกรุณาในการชี้แนะ คอยให้ความช่วยเหลือ และ
แก้ไขข้อบกพร่องต่างๆของศิลปนิพนธ์ฉบับนี้
ขอขอบพระคุณสถาบันโซเก็ทสึ ที่ได้รับข้าพเข้าเข้าไปศึกษาอบรมการจัดดอกไม้ และ
อาจารย์โคโย ซาวะดะที่คอยแนะแนวให้คำปรึกษาเรื่อยมา สุดท้ายขอกราบขอบพระคุณบุพการี
ครอบครัว และคนใกล้ชิด ที่คอยให้กำลังใจ และให้ทุกสิ่งทุกอย่างจนทำให้มาถึงจุดนี้ได้


สารบัญ

หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย ............................................................................................................ ง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ....................................................................................................... จ
กิตติกรรมประกาศ ............................................................................................................. ฉ
สารบัญภาพ ....................................................................................................................... ฌ

บทที่
1 บทนำ ................................................................................................................. 1
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ................................................ 1
วัตถุประสงค์ของการศึกษาศิลปนิพนธ์ ................................................... 6
ขอบเขตของการศึกษาศิลปนิพนธ์ .......................................................... 7
วิธีการศึกษาศิลปนิพนธ์ .......................................................................... 7
2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ......................................................................... 9
ความหมายของการจัดดอกไม้อิเคะบะนะ .............................................. 9
ญี่ปุ่น ธรรมชาติ และอิทธิพลของศาสนา ................................................ 10
แนวคิดของศาสนาชินโต ........................................................ 11
แนวคิดของเซน ...................................................................... 16
ดอกไม้ญี่ปุ่นกับฤดูกาล ........................................................................... 18
ดอกไม้ในฤดูใบไม้ผลิ .............................................................. 18
ดอกไม้ในฤดูร้อน .................................................................... 32
ดอกไม้ในฤดูใบไม้ร่วง ............................................................. 44
เส้นและรูปแบบการจัดวางในอิเคะบะนะ ............................................... 47
ภาชนะของอิเคะบะนะ ........................................................................... 51
อิเคะบะนะกับโทโคโนมะ ....................................................................... 54
3 การจัดดอกไม้อิเคะบะนะ .................................................................................. 56
การลำดับเหตุการณ์ประวัติความเป็นมาของการจัดอิเคบานะนะ .......... 57
ประวัติความเป็นมาและทฤษฎีของการจัดดอกไม้อิเคะบะนะในแต่ละ
ยุคสมัย ........................................................................................... 62


บทที่ หน้า
สุนทรียศาสตร์ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น ........................................................... 72
4 วิเคราะห์อิเคะบะนะตามรูปแบบของแต่ละสำนัก............................................... 78
สำนักอิเคะโนะโบ ................................................................................... 79
สำนักโอฮะระ ......................................................................................... 86
สำนักโซเก็ทสึ ......................................................................................... 90
5 สรุป .................................................................................................................... 95
สรุปผลการศึกษา ................................................................................... 95
ปัญหาที่พบในการทำศิลปนิพนธ์ ............................................................ 98
ข้อเสนอแนะ .......................................................................................... 99

บรรณานุกรม ..................................................................................................... 100


ภาคผนวก .......................................................................................................... 103
ประวัติผู้วิจัย ...................................................................................................... 121


สารบัญภาพ
ภาพที่ หน้า
1 3 กิ่งหลัก ........................................................................................................... 3
2 Japanese Interior with Arrangement of Spring Flowers ....................... 18
3 ดอกยุคิยะนะงิ ................................................................................................... 19
4 ดอกอุเมะ ........................................................................................................... 21
5 “ไม้สนไม้ไผ่และพลัม” (sho-chiku-bai) ........................................................... 24
6 ดอกซากุระ ........................................................................................................ 25
7 ดอกทสึบากิ ....................................................................................................... 27
8 ภาพฮยะคุจินสุ (百椿図) ยาว 24 เมตร ........................................................... 29
9 ดอกโมะกุเรน ..................................................................................................... 30
10 Japanese Interior with Summer Flowers ................................................. 32
11 ดอกอะจิไซ ....................................................................................................... 33
12 ดอกฟูจิ .............................................................................................................. 35
13 ดอกไอริสจากภูเขาไฟฟูจิ ................................................................................... 36
14 ดอกโบตัน .......................................................................................................... 39
15 ดอกฮะซึ ............................................................................................................ 40
16 ดอกอะซะงะโอะ ................................................................................................ 42
17 ดอกคิคุ .............................................................................................................. 44
18 ตราแผ่นดินญี่ปุ่น (菊花紋章 Kikkamonshou) .............................................. 44
19 ดอกชูเมะอิงิค .................................................................................................... 46
20 การจัดวางรูปแบบเส้นของกิ่งก้าน ในการจัดดอกไม้ (Lineal Arrangement
of Stems in Flower Design) ............................................................. 49
21 การจัดดอกไม้แบบ 3 กิ่ง (Various Trilineal Arrangements of Stems) ...... 50
22 การจัดดอกไม้แบบ 3 กิ่ง (Various Trilineal Arrangements of Stems) ...... 51
23 แจกันทรงสูง (Standing Vase) ......................................................................... 51
24 แจกันทรงสูงที่ทำจากบรอนซ์และเครื่องลายคราม (Various Standing
Vases of Bronze and Porcelian) ................................................................. 52
25 แจกันสำหรับพืชน้ำ ............................................................................................ 53


ภาพที่ หน้า
26 โครงสร้างชั้นวางสำหรับดอกไม้ ......................................................................... 55
27 ถาดสำหรับทำ Suna-no-mono ....................................................................... 63
28 การจัดดอกไม้แบบริกกะ .................................................................................... 65
29 The nine key Rikka positions ...................................................................... 66
30 การจัดดอกไม้แบบโชกะ ในรูปแบบของหลากหลายสำนัก ................................ 69
31 การจัดดอกไม้แบบโมริบะนะ ............................................................................. 70
32 Flower by naked ........................................................................................... 71
33 อิเคะบะนะในรูปแบบริกกะ ............................................................................... 81
34 อิเคะบะนะรูปแบบโชกะ จัดโดย เซนเอ อิเคะโนะโบ ......................................... 84
35 อิเคะบะนะแบบ Landscape Ikebana จัดโดยสำนักโอฮะระ .......................... 88
36 กฎของโมริบะนะ ............................................................................................... 90
37 ผลงานอิเคะบะนะ ชื่อ At Lake Motosu จัดแสดงที่ Lake Motosu,
Yamanashi โดยอะคะเนะ เทชิกะฮะระ (2016) ................................... 93
38 ผลงานอิเคะบะนะประจำฤดูกาล เดือนมกราคม ............................................... 93
1

บทที่ 1
บทนำ

1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในบริเวณเขตที่มีปริมาณน้ำฝนตั้งแต่ปานกลางถึ งค่อนข้างมาก มีการ
เปลี่ยนแปลงของฤดูกาลทั้งสี่ฤดูกาลอย่างชัดเจน อันประกอบไปด้วย ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง
และฤดูหนาว ซึ่งเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต มีภูมิประเทศที่โดยส่วนมากเป็นด้วยภูเขา เนินเขา มี
ป่าไม้ปกคลุมซึ่งโดยทั่วไปจะมีสีเขียวขจีและดอกไม้นานาพรรณตามฤดูกาล นอกจากนี้ยังมีน้ำพุร้อน
น้ำตก สายน้ำ แม่น้ำ ก้อนหิน อย่างไรก็ตามประเทศญี่ปุ่นมีภัยธรรมชาติค่อนข้างมาก เช่น พายุ,
แผ่ น ดิ น ไหว, คลื ่ น ทสึ น ะมิ ไปจนกระทั ่ ง ภู เ ขาไฟระเบิ ด ด้ ว ยเหตุ น ี ้ ช าวญี ่ ป ุ่ น จึง มี ค วามรู้ ส ึกที่
ละเอียดอ่อนต่อการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและความสงบร่มเย็นของธรรมชาติ จนกลายเป็นลักษณะ
ประจำชาติที่โดดเด่น มนุษย์ได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลจากธรรมชาติ แต่ในขณะเดียวกันในบาง
เวลาก็เป็นภัยต่อมนุษย์เช่นกัน ชาวญี่ปุ่นจึงมีความรัก ความเคารพและความเกรงกลัวต่ อธรรมชาติ
สำหรับชาวญี่ปุ่นแล้วธรรมชาติกับมนุษย์นั้นต้องอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน
ศาสนาชินโตที่เป็น ศาสนาท้องถิ่นของญี่ปุ่น พัฒนาจากความเชื่อที่มีลักษณะสัม พันธ์
ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ โดยเกื้อหนุนกับการดำรงชีวิตโดยเฉพาะทางการเกษตรกรรม และการ
ประมงที่ได้ผลดี ในปีปฏิทินเกษตรกรรมจะมีการทำพิธีกรรมต่างๆ ตามฤดูกาล ดังนั้นการจัดการพื้นที่
เพื่อต้อนรับเทพเจ้า หรือ คะมิ (Kami) ซึ่งเสด็จลงมายังพื้นที่การเกษตรจึงเป็นหนึ่งในพื้นฐานของการ
ก่อกำเนิดแนวคิดการจัดสร้างพื้นที่พิเศษ รูปแบบของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มีหลากหลายรูปแบบ โดย
พื้นฐานที่สุด คือ ความสัมพันธ์ระหว่างภูเขาซึ่งเป็นที่สถิตของเทพแม่น้ำ คือ ซุ้มประตูโทะริอิ (Torii)
และที่นา จะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ค่อนข้างชัดเจนและเรียบง่าย มีการ
แยกแยะบริเวณศักดิ์สิทธิ์ ของเทพออกจากโลกปัจจุบัน ระบบการจัดสรรพื้นที่นี้มีผลต่อพื้นฐานการ
สร้างสวน หรือ นิวะ แปลว่าลานกลางที่ล้อมรอบด้วยสิ่งปลูกสร้างญี่ปุ่นสมัยโบราณใช้ในความหมาย
ถึงสถานที่เกิดพิธีศักดิ์สิทธิ์1
ในศาสนาชินโตความศักดิ์ของธรรมชาติเรียกว่า โกะชินไต (go-shintai) ที่อาศัยแห่งพระ
เจ้า เป็นหินรูปทรงแปลก ต้นไม้ที่ผ่านกาลเวลามาหลายร้อยปี ภูเขาที่สลับซับซ้อน โดยพันเชือกรอบ

กกกกกกกก1 ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์, หิมะ พระจันทร์ ดอกไม้ สวนญี่ปนุ่ (กรุงเทพฯ: สารคดีภาพ, 2557), 57-58.
1
2
หินหรือต้นไม้เหล่านี้ เป็นการสร้างความหมายซึ่งจะพบได้ในสวนญี่ปุ่นทุกประเภททุกสมัย เพราะสวน
ญี่ปุ่นไม่เคยทิ้งความเชื่อเก่าแต่ นำมาประสานเข้ากับ ความเชื่อหรือปรัชญาใหม่ วัฒนธรรมการให้
ความสำคัญแก่องค์ประกอบตามธรรมชาติทั้งก้อนหิน ต้นไม้ น้ำตก สายน้ำ ฯลฯ ของศาสนาชินโต
หลอมละลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการก่อสร้างสวนหรื อแม้แต่ในวัฒนธรรมญี่ปุ่นจนถึงในยุค
ปัจจุบัน2
ในยุคสมัยแรกที่คนญี่ปุ่นสร้างบ้านให้เปิดรับกับธรรมชาติ คือ ยุคเฮอัน (คริสต์ศตวรรษที่
8-10) ชนชั้นขุนนางและชนชั้นปกครองจะอาศัยอยู่ในบ้านพักที่หรูหรา เรียกว่า สถาปัตยกรรมแบบ
ชินเด็น ซึคุริ (shinden zukuri) ลักษณะเฉพาะของชินเด็น ซึคุริ คือ ห้องแต่ละห้องจะถูกจัดเรียงไว้
รอบลานสนาม ในแต่ละห้องจะถูกแบ่งโดยประตูบานเลื่อนโดยที่ผนังด้านที่หันไปทางลานสนามของ
บ้านจะสามารถยกขึ้นเปิดห้องออกไปยังระเบียงและสวนด้านนอก ซึ่งจะทำให้ผู้อาศัยรู้สึกราวกับอยู่
นอกบ้านในทุกส่วนของบ้ าน เป็นการผสมผสานให้กลมกลืนกับธรรมชาติโดยมีสวนล้อมรอบตัวบ้าน
เพื่อรับชมความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ซึ่งจะมีผลต่อการจัดห้องโทะโคะโนะมะ (Tokonoma) หรือ
ห้องรับแขกของบ้านที่ใช้เป็นพื้นที่สำหรับทำพิธีการจัดดอกไม้อิเคะบะนะ (Ikebana) ในเวลาต่อมา3
“อิเคะบะนะ (Ikebana) (生け花)” มาจากคำสองคำ คือ “อิเคะ” (生け) ที่แปลว่ามีชีวิต
และ “บะนะ” (花) ที่หมายถึงดอกไม้ 4 เมื่อความรวมกันแล้วจึงหมายถึง การจับชีวิตของดอกไม้
เหมือนวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยโบราณ โดยจะเน้นความเรียบง่าย เมื่อมองดูจะรู้สึกสงบนิ่งผ่อน
คลายแต่แฝงไว้ด้วยความงามจากธรรมชาติมีความแนบแน่นกับปรัชญาและศาสนา โดยเฉพาะตาม
แบบอย่างเซน การจัดอิเคะบะนะมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “คะโด” (華道) หรือ วิถีแห่งดอกไม้ เป็นดั่ง
ความงามที่เรียบง่ายและเป็นธรรมชาติ อาจประกอบด้วยกิ่งไม้ ดอกไม้ อย่างละเล็กน้อย ดูแล้วสมถะ
และสง่างาม แม้พืชจะถูกตัดกิ่งออกจากต้นไปแล้วแต่เมื่อนำไปแช่น้ำก็ยังมีความสด สวยงามเบ่งบาน
อยู่ในระยะเวลาหนึ่ง
ในยุคหนึ่ง อิเคะบะนะสงวนไว้สำหรับเหล่าซามูไรเท่านั้น และถือเป็นพิธีกรรมสำคัญที่ทำ
ก่อนออกศึก เพราะการจัดดอกไม้แบบอิเคะบะนะช่วยให้สงบจิตใจและมีสมาธิมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันนี้ อิ
เคะบะนะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่คนทั่วไป โดยชาวญี่ปุ่นนิยมนำมาจัดในห้องรับแขก
ของบ้าน ในพื้นที่เหมือนซุ้ม ที่เรียกว่า โทะโคะโนะมะ (tokonoma) และตกแต่งสถานที่ต่างๆโดยที่
2
เพ็ญศรี กาญจโนมัย, “ศาสนากับการพัฒนาประเทศญี่ปุ่น”, ว.เกษตรศาสตร์ (สังคม) 7, 1
(ตุลาคม, 2529) 2
3
Shozo Sato, Ikebana: The Art of Arranging Flowers (Hong Kong: Tuttle Publishing ,
2008), 21
4
สำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, ศิลปะการจัดดอกไม้
ญี่ปุ่น, วารสารประจำปีที่ 8, 1 (กันยายน-ตุลาคม 2557)
3
กระบวนการจัดอิเคะบะนะนั้นมีระเบียบแบบแผน และรูปแบบที่ชัดเจนอย่างมาก มีการเปลี่ยนแปลง
ไปตามยุคสมัย ตามสำนักที่โด่งดังของแต่ละยุค ศิลปะการจัดดอกไม้ ไม่เพียงจัดดอกไม้ให้งาม ยังจัดใจ
ให้นิ่ง การจัดวางองค์ประกอบ เลือกบางอย่างให้เหมาะสมและสมดุล
ในภาษาญี่ปุ่นจะมีส ุภาษิตที่ว่า อิวะนุกะฮะนะ ( 言わぬが花) แปลว่า “การไม่พู ดคื อ
ดอกไม้” ที่แสดงให้เห็นถึงแก่นแท้ของอิเคะบะนะ เป็นกิจกรรมยามว่างที่ลึกซึ้งและนุ่มนวล โดย
หลักการสำคัญของการจัดอิเคะบะนะก็มาจากธรรมชาติ คือ “3 กิ่งหลัก” ประกอบด้วย ชิน , โซเอะ
และไท หรือ ฮิคะเอะ (ภาพที1่ )
กกกกกกกก1. ดอกไม้หรือกิ่งไม้หลัก ชิน (真) เป็นกิ่งไม้ที่ยาวที่สุด เป็นตัวแทนของสวรรค์ ก้านหรือกิ่ง
ชินควรจะมีโครงสร้างชัดเจนที่สุดและตั้งตรงได้
กกกกกกกก2. ดอกไม้หรือกิ่งไม้รอง โซเอะ (副) เป็นกิ่งที่มีความยาวปานกลาง ความยาวประมาณ 2
ใน 3 ของชิน โซเอะเป็นตัวแทนของมนุษย์
กกกกกกกก3. ดอกไม้หรือกิ่งไม้รอง ไท หรือ ฮิคะเอะ (控) เป็นกิ่งที่สั้นที่สุด ความยาวประมาณ 2 ใน
3 ของโซเอะ กิ่งนี้เป็นตัวแทนของโลกธรรมชาติหรือผืนดิน

ภาพที1่ 3 กิ่งหลัก
ที่มา: Mona Anita K. Olsen, IKEBANA, accessed September 25, 2019, available from
https://www.xfengnet.com/touch/view.asp?typ=3&kid=58
4

ทั้งหมดนี้เป็นตัวแทนของความสัมพันธ์ระหว่าง สวรรค์–มนุษย์–โลกธรรมชาติ มักจัด


อิเคะบะนะมักเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า และจำนวนก้านที่ใช้จะเป็นจำนวนคี่ ออกแบบมา
เพื่อให้เรียบง่ายและความอสมมาตร 5 แต่ยังมีสิ่งสำคัญอีก 2 ประการนอกเหนือจากกิ่งไม้และดอกไม้
คือ
กกกกกกกก1. พื้นที่ว่าง หรือ พื้นที่หลังภาชนะที่จัดวางแล้วไม่คับแคบ อึดอัด
กกกกกกกก2. พื้นที่สามเหลี่ยม หรือเรียกว่ารูปทรง ระดับของดอกไม้ มีมิติสามเหลี่ยม
กกกกกกกกโดยหลักการต่างๆ ยุยิโตะ ซะกะตะ (Yuyito Sakata) นักจัดดอกไม้อิเคะบะนะ กล่าวถึง
ความหมายในรูปแบบการจัดวางต่างๆไว้ดังนี้
กกกกกกกก1. กิ่งของดอกไม้หลัก หมายถึง มนุษย์ต้องมีแก่นหรือหลักยึดสำหรับการดำเนินชีวิต
กกกกกกกก2. กิ่งของดอกไม้รอง หมายถึง มนุษย์นอกจากมีแก่นที่เป็นหลักยึดแล้ว ยังต้องมีภาวะกก
กกกกกกกกยืดหยุ่นในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งได้
กกกกกกกก3. พื้นที่ว่าง หมายถึง มนุษย์ต้องมีจังหวะชีวิตมีสันติ และการเคารพในพื้นที่คนอื่นหรือ
การเคารพความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกัน
กกกกกกกก4. พื้นที่สามเหลี่ยม หมายถึง มนุษย์ต้องมีหลักแห่งความมั่นคงเข้มแข็งในทุกสภาวะของ
กกกกกกกกการเปลี่ยนแปลง
ภายใต้หลักการทั้ง 4 อย่างนี้ จึงเป็นสภาวะที่อยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ แต่ถูก
ย่อส่วนไว้ในภาชนะของผู้จัดดอกไม้ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแก้ว จาน กระถาง พื้น กระดาน
และผนั ง พื ้ น ที ่ ต ั ้ ง ฉาก ฯลฯ 6 การเปลี ่ ย นแปลงรู ป แบบต่ า งๆ ของอิ เ คะบะนะมี ผ ลมาจากการ
เปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรมของที่อยู่อาศัยในญี่ปุ่นอีกด้วย เมื่อการจัดวางของโทโคโนมะเปลี่ยนไป
อิเคะบะนะจึงมีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย
กกกกกกกกในคริสต์ศตวรรษที่ 6 เมื่อพุทธศาสนาได้เข้ามาถึงประเทศญี่ปุ่น การถวายดอกไม้เป็นส่วน
หนึ่งของการบูชาพระ อิเคะบะนะจึงถูกพัฒนามาจากการมอบดอกไม้ให้แก่ผู้ตายในพิธีทางศาสนา
พุทธ รูปแบบแรกสุดของอิเคะบะนะเริ่มต้นขึ้นกลางคริสต์ศตวรรษที่15 ผู้ริเริ่ม อิเคะบะนะกลุ่มแรก

กกกกกกกก5 Erin Niimi Longhurst, Japonisme (กรุงเทพฯ: BROCCOLI, 2562), 78


กกกกกกกก6 สำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ , ศิลปะการจัดดอกไม้
ญี่ปุ่น, วารสารประจำปีที่ 8, 1 (กันยายน-ตุลาคม 2557) 6-8
5
คือ พระสงฆ์ เมื่อเวลาผ่านไป สำนักต่างๆ ได้ถือกำเนิดขึ้น รูปแบบได้เกิดการเปลี่ยนแปลง และใน
ที่สุดอิเคะบะนะได้กลายเป็นประเพณีอย่างหนึ่งในสังคมญี่ปุ่น
กกกกกกกกอิเคะบะนะได้พัฒนารูปแบบต่างๆ นานา ตามกาลเวลา รูปแบบที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบันมี
ริ ก กะ (Rikka) เซกะ (Seika) นะเงะอิ เ ระ (Nageire) โมะริ บ ะนะ (Moribana) รู ป แบบฟรี ส ไตล์
(Freestyle) และอื่นๆอีกมากมาย มีสำนักจัดดอกไม้ราว 2,000 - 3,000 แห่ง สำนักที่ใหญ่ที่สุด คือ อิ
เคะโนะโบ (Ikenobou) มีลูกศิษย์หลายล้านคน สำนักที่รองลงมาคือ โอะฮะระ (Ohara) และโซเกทสึ
(Sougetsu) เป็นต้น
กกกกกกกกอิเคะบะนะจึงไม่ได้เป็นเพียงการรับชมความงามของดอกไม้ แต่เป็นการรวมกันของศิลปะ
ปรัช ญาเซน และสุน ทรีย ศาสตร์ โดยเซนเป็นหนึ่งในรูปแบบของศาสนาพุทธที่พัฒ นาขึ้นในช่วง
คริสต์ศตวรรษที่ 8 ซึ่งอันที่จริงมีจุดเริ่มต้นมาจากจีนในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 เซนนำเสนอการ
เข้าถึงจิตวิญญานของพระพุทธเจ้าโดยไม่ยึดติดกับพิธีกรรม คัมภีร์ หรือปรัชญาที่เกี่ยวกับเชื้อชาติด้วย
เซนคือการเข้าถึงจิตวิญญานของพระพุทธเจ้าอย่างตรงไปตรงมา
กกกกกกกกปรัชญาทำให้คนพิจารณาความเป็นจริงที่มากกว่าแค่ปรากฏการณ์ เมื่อเราเข้าถึงปรัชญา
จึงจะเกิดญาณหยั่งถึงความสำคัญของชีวิตและโลก กรุณาจะมีอิสระในตัวเอง ซึ่งหมายความว่าความ
รักจะสามารถเผื่อแผ่ไปยังทุกที่โดยไม่ถูกขัดขวางไว้โดยความเห็นแก่ตัว เผื่อแผ่ไปจนกระทั่งสิ่งทีไม่มี
ชีวิต เซนปลุกปรัชญาของผู้คนขึ้นมาจากการหลับไหลจากความเขลา และกรรมที่มาจากการยอม
จำนนต่อความรู้ (intellect) เมื่อความรู้แสดงตัวออกมาในรูปของตรรกะและคำพูด เซนจะย้อนกลับ
กระบวนการนี้ เซนรังเกียจตรรกะและจะนิ่งเงียบเมื่อถูกเรียกให้แสดงออก หมายความว่าเซนต้องการ
ย้อนกระบวนการสร้างความรู้แบบปกติและวางลงไปในวิธีการฝึกจิตที่เฉพาะเจาะจง เพื่อปลุกปัญญา
สูงสุด หรือปรัชญาขึ้นมา
กกกกกกกกการเรียนรู้ของเซนจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาอย่างตรงไปตรงมาได้ ดังนั้นคติ
พจน์ของเซน คือ “ไม่พึ่งพาคำพูด” เซนจึงอยู่ตรงข้ามกับทุกอย่างที่เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องของ
บุคคล ลักษณะเฉพาะของวิธีคิดของเซนที่มีต่อสรรพสิ่งในโลกจึงถูกถ่ายทอด และหล่อหลอมกลายเป็น
วัฒนธรรมและลักษณะเฉพาะของญี่ปุ่น โดยเฉพาะที่เห็นได้ในศิลปะของบุชิโด (วิธีแห่งนักรบ) ใน
การศึกษาขิงลัทธิขงจื๊อ และการกำเนิดของการชงชา7
กกกกกกกกในลักษณะเฉพาะของญี่ปุ่นนี้ เป็นการรวบยอดความคิดมาจากวิถีมองโลกของเซน ซึ่งจะมี
ผลต่ออัจฉริย ภาพทางศิลปะของญี่ปุ่น ก่อให้เกิดเป็นสุนทรียศาสตร์แบบญี่ปุ่นซึ่งจะแตกต่างกับ
สุนทรียศาสตร์แบบตะวันตก จากหนังสือโคจิเอ็น (Kojien) กล่าวว่า “จิตสำนึกแห่งความงาม หรือ

กกกกกกกก7 ชัยยศ อิษฎร์วรพันธุ,์ เซนและวัฒนธรรมญี่ปุ่น (กรุงเทพฯ: บิ, 2559), 42-53


6
สุนทรียศาสตร์ญี่ปุ่น (日本の美意識) หมายถึง การตระหนักถึงความงาม ความรู้สึกของความงาม
และการตัดสิน” สุนทรียศาสตร์ญี่ปุ่นยังอยู่ในวัฒนธรรมต่างๆของญี่ปุ่น เช่น พิธีชงชา 8
กกกกกกกกศิลปะญี่ปุ่นมีลักษณะโดดเด่นสี่ประการ คือ ความประทับใจ ( 印象性) การตกแต่ง (装飾
性) การแสดงนั ย ( 象徴性) ความเห็ น อกเห็ น ใจ ( 感傷性) นอกจากนี ้ ย ั ง มี ก ารให้ น ิ ย ามศั พ ท์ แ ละ

คุณลักษณะเฉพาะของสุนทรียศาสตร์ญี่ปุ่นที่หลากหลายจากแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ ซึ่งจะกล่าวถึงในบท
ต่อไป
กกกกกกกกส่วนผู้วิจัยจึงจำแนกสุนทรียศาสตร์ญี่ปุ่นโดยแบ่งเป็นหัวข้อ อ้างอิงจากหนังสือ หิมะ
พระจันทร์ ดอกไม้ สวนญี่ปุ่น , The Oxford Handbook of World Philosophy9 และ วิทยานิพนธ์
ของมหาวิทยาลัยญี่ปุ่น10 ว่าด้วยเรื่องสุนทรียศาสตร์ญี่ปุ่น ออกมาดังนี้
กกกกกกกก1. โมะโนะ โนะ อะวะเระ (Mono no Aware) การตระหนักรู้ความรู้สึกของสรรพสิ่ง
2. มุ โ จ (Mujo) อนิ จ จั ง หรื อ การเห็ น ความเปลี ่ ย นแปลงของสรรพสิ ่ ง การยอมรั บ
ก่อให้เกิดความงาม
กกกกกกกก3. มะ (Ma) การรับรู้พื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา
กกกกกกกก4. วะบิ (Wabi) ความยากจน ความพึงพอใจในความไม่สมบูรณ์
กกกกกกกกุ5. สะบิ (Sabi) ความงามที่มากับความเปลี่ยวเหงา ความโดดเดี่ยว
กกกกกกกก6. ชิบุอิ (Shibui) ความงามที่ลุ่มลึก
กกกกกกกกึ7. โยะฮะคุ (Yohaku) การตีความจากความว่างเปล่า
กกกกกกกก8. โมะโนะมะเนะ (Monomane) การเลียนแบบสรรพสิ่ง
กกกกก
1.2 วัตถุประสงค์ของการทำศิลปนิพนธ์
เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ แนวคิด ปรัชญา และรูปแบบของการจัดดอกไม้ อิเคะบะนะแบบ
ญี่ปุ่นโดยวิเคราะห์จากสุนทรียศาสตร์ญี่ปุ่น

กกกกกกกก8 Izuru Shinmura, Kojien (Tokyo: Iwanami Shoten, 2008), 105.


กกกกกกกก9 Jay L. Garfield, The Oxford Handbook of World Philosophy (Oxford: Oxford University
Press, 2011) 498.
10
渋谷 裕理“日本人の美意識” (早稲田社会科学総合研究. 別冊, 学生論文集
,2010), 17-26
7
1.3 ขอบเขตของการทำศิลปนิพนธ์
ศึกษาเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ญี่ปุ่นโดยจำกัดเฉพาะ 8 หัวข้อเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์กับ
ผลงานอิเคะบะนะในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
กกกกกกกก1. โมะโนะ โนะ อะวะเระ (Mono no Aware) การตระหนักรู้ความรู้สึกของสรรพสิ่ง
2. มุ โ จ (Mujo) อนิ จ จั ง หรื อ การเห็ น ความเปลี ่ ย นแปลงของสรรพสิ ่ ง การยอมรั บ
ก่อให้เกิดความงาม
กกกกกกกก3. มะ (Ma) การรับรู้พื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา
กกกกกกกก4. วะบิ (Wabi) ความยากจน ความพึงพอใจในความไม่สมบูรณ์
กกกกกกกกุ5. สะบิ (Sabi) ความงามที่มากับความเปลี่ยวเหงา ความโดดเดี่ยว
กกกกกกกก6. ชิบุอิ (Shibui) ความงามที่ลุ่มลึก
กกกกกกกกึ7. โยะฮะคุ (Yohaku) การตีความจากความว่างเปล่า
กกกกกกกก8. โมะโนะมะเนะ (Monomane) การเลียนแบบสรรพสิ่ง
กกกกกกกกศึกษาเฉพาะผลงานการจัดดอกไม้อิเคะบะนะโดยแบ่งตามรูปแบบของอิเคะบะนะ ได้แก่
ริ ก กะ (Rikka) เซกะ (Seika) นะเงะอิ เ ระ (Nageire) โมะริ บ ะนะ (Moribana) รู ป แบบฟรี ส ไตล์
(Freestyle)

1.4 วิธีการศึกษาศิลปนิพนธ์
กกกกกกกกการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการ
รวบรวมข้อมูลและทฤษฎีจากหนังสือ บทความและเอกสารทางวิชาการ โดยมีขั้นตอนการทำศิลป
นิพนธ์ดังต่อไปนี้
1. การศึกษาโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research) โดยมี
รายละเอียดดังต่อไปนี้
1.1 รวบรวมเอกสารที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดดอกไม้อิเคะบะนะ
1.2 รวบรวมเอกสารที่มีความเกี่ยวข้องกับสุนทรียศาสตร์ญี่ปุ่นในหัวข้อ
ต่างที่เกี่ยวข้อง
Dd 1.3 รวบรวมทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับศาสนาชินโตและเซนที่มีความเกี่ยวข้องกับ
8
สุนทรียศาสตร์ญี่ปุ่น
2. การวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ อย่างครบถ้วน จึงดำเนินการวิเคราะห์
ข้อมูลโดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
2.1 ขั้นตรวจสอบข้อมูล ความถูกต้องและความครบถ้วนตามกรอบความคิดเห็น
ในการวิจัย
2.2 ขั้นจัดระเบียบข้อมูล หรือประมวลผลข้อมูล โดยนำข้อมูลทั้งหมดมาแยกเพื่อ
วิเคราะห์ตามกรอบความคิดในการวิจัยต่อไป
2.3 ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล ตามกรอบความคิดในการวิจัย
3. สรุปผลการศึกษา
4. เขียนรายงานการวิจัย โดยนำเสนอในรูปของความเรียง ตาราง และภาพถ่าย
5. จัดทำเอกสารต้นฉบับเป็นรูปเล่มสำหรับการนำเสนอและเผยแพร่
9

บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาสำคัญในบทนี้จะกล่าวถึงนิยามความหมาย ประวัติความเป็นมาของการจัดดอกไม้
อิเคะบะนะไป ซึ่งนำไปสู่ ความเข้าใจในต้นกำเนิดและพัฒนาการของอิเคะบะนะมาจนถึงปัจจุบัน
งานวิจัยฉบับนี้จึงมีเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแบ่งตามเนื้อหาได้ดังนี้
2.1 ความหมายของการจัดดอกไม้อิเคะบะนะ
2.2 ญี่ปุ่น ธรรมชาติ และอิทธิพลของศาสนา
2.3 ดอกไม้ญี่ปุ่นกับฤดูกาล
2.4 เส้นและรูปแบบการจัดวางในอิเคะบะนะ
2.5 ภาชนะของอิเคะบะนะ
2.6 อิเคะบะนะกับโทะโคะโนะมะ

2.1 ความหมายของการจัดดอกไม้อิเคะบะนะ
“อิเคะบะนะ (生け花)” มาจากคำศัพท์ในภาษาญี่ปุ่นสองคำประกอบรวมกัน คือ ‘อิเค’
(生け) ที่มาจากคำว่า ‘อิค’ิ (生き) ที่แปลว่ามีชีวิต ซึ่งเชื่อมโยงกับสุนทรียภาพแบบอิคิ คือ ความงาม
แบบร่วมสมัย ความหมายของคำว่า อิคิ นั้นค่อนข้างหลากหลาย เพราะถูกครอบคลุมคุณลักษณะหลาย
อย่างในตนเอง อาจเรียบง่ายแต่ก็มีส่วนผสมของความซับซ้อน โรแมนติกแต่ก็ตรงไปตรงมา สะท้อน
ความมั่นใจแต่ก็ไม่แสดงออกจนเกินไป ดูมีความคิดแต่จะไม่ประณีต ละเอียดอ่อน ยาก ฉูดฉาด หรือ
สูงส่งจนเกินไป หากให้สรุปโดยรวมก็คือ ความไม่ประเจิดประเจ้อแต่ก็มั่นใจในตนเอง สิ่งที่สะท้อน
ความหมายของ อิคิ ได้ดีที่สุด คือ ความพอดีในชีวิตประจำวัน
ส่วนของคำที่สอง ‘บานะ’ หรือ ‘ฮานะ’ (花) หมายถึง ดอกไม้ เมื่อความรวมกันแล้วจึง
หมายถึง การจัดดอกไม้ให้ดูมีชีวิตชีวา มุ่งเน้นความเรียบง่ายเลียนแบบธรรมชาติ เหมือนวิถีชีวิตของ
คนญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยโบราณ โดยจะเน้นความเรียบง่าย เมื่อมองดูจะรู้สึกสงบนิ่งผ่อนคลายแต่แฝงไว้ด้วย
ความงามจากธรรมชาติมีความแนบแน่นกับปรัชญาและศาสนา โดยเฉพาะตามแบบอย่างเซน การ
จัดอิเคะบะนะมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “คาโด” (華道) หรือ ศาสตร์แห่งการจัดดอกไม้ เป็นดั่งความงามที่
เรียบง่ายและเป็นธรรมชาติ อาจประกอบด้วยกิ่งไม้ ดอกไม้ อย่างละเล็กน้อย ดูแล้วสมถะและสง่างาม

9
10
แม้พืช จะถูกตัด กิ่งออกจากต้น ไปแล้ว แต่เมื่อนำไปแช่น้ำก็ยังมีความสด สวยงามเบ่งบานอยู่ใน
ระยะเวลาหนึ่ง
อิเคะบะนะจึงไม่ได้เป็นเพียงการรับชมความงามของดอกไม้ แต่เป็นการรวมกันของศิลปะ
ปรัช ญาเซน และสุน ทรี ย ศาสตร์ โดยเซนเป็นหนึ่งในรูปแบบของศาสนาพุทธที่พัฒ นาขึ้นในช่วง
คริสต์ศตวรรษที่ 8 ซึ่งอันที่จริงมีจุดเริ่มต้นมาจากจีนในช่วงต้น คริสต์ศตวรรษที่ 6 เซนนำเสนอการ
เข้าถึงจิตวิญญานของพระพุทธเจ้าโดยไม่ยึดติดกับพิธกรรม คัมภีร์ หรือปรัชญาที่เกี่ยวกับเชื้อชาติด้วย
เซนคือการเข้าถึงจิตวิญญานของพระพุทธเจ้าอย่างตรงไปตรงมา

2.2 ญี่ปุ่น ธรรมชาติ และอิทธิพลของศาสนา


‘เมื่อกิ่ง ดอกไม้ หรือใบหญ้าถูกตัด มันจะต้องถูกใส่ลงไปในน้ำเพื่อให้คงอยู่ได้นานขึ้น ’
นี่คือเรื่องพื้นฐานว่า ต้นไม้ทุกต้นล้วนต้องการน้ำเพื่อการอยู่อย่างยั่งยืน และการตื่นรู้นี้เองเป็น
จุดเริ่มต้นของการจัดดอกไม้อิเคะบะนะในหลายศตวรรษที่ผ่านมา
เกาะญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในบริเวณเขตที่มีปริมาณน้ำฝนตั้งแต่ปานกลางถึงค่อนข้างมาก มี ฤดูกาล
ทั้งหมดสี่ฤดูที่แตกต่างกัน มีภูมิประเทศที่ปกคลุมไปด้วยภูเขาและป่าไม้ซึ่งโดยทั่วไปจะมีสีเขียวขจี และ
ดอกไม้นานาพรรณตามฤดูกาล ความรักและการอยู่ร่วมกับธรรมชาติจึงฝังลึกอยู่ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น
พุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาศิลปะญี่ปุ่นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6 ไป
จนถึง 16 แนวคิดของศาสนาพุทธ ถูกนำเข้ ามาในประเทศญี่ปุ่นผ่านประเทศจีนผ่านเกาหลี ศิลปะ
แบบพุทธได้รับ การสนับ สนุนจากมกุฎ ราชกุมารโชโตกุในสมัยซุยโกะ ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 โดย
จักรพรรดิโชโม่ในสมัยนาราในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ในช่วงต้นสมัยเฮอัน (Heian)
ศิลปะและสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนามีอิทธิพลอย่างมากต่อศิลปะชินโตแบบดั้งเดิม
และการวาดภาพแบบพุทธ กลายเป็นกระแสนิย มในหมู่ชาวญี่ปุ่นในสมัยคามาคุระ ศาสนาพุทธนิกาย
อมิดะ (Amida) เป็นพื้นฐานสำหรับงานศิลปะที่ได้รับความนิยมมากมาย ศิลปะแบบพุทธกลายเป็นที่
นิยมในหมู่คนทั่วไปผ่านทางภาพวาดในม้วนคัมภีร์ ภาพวาดที่ใช้ในการสักการะ ภายใต้ศาสนาพุทธ
นิกายเซนภาพบุคคลของนักบวช เช่น ท่านโพธิธรรม (Bodhidharma) ได้รับความนิยม เช่นเดียวกับ
การประดิษฐ์การเขียนอักษรในคัมภีร์และการวาดพู่กัน sumi-e11

11
Tsuneko S. Sadao, Discovering the Arts of Japan: A Historical Overview
(Kodansha International, 2003), 42.
11
2.2.1 แนวคิดของศาสนาชินโต
ประเทศญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่ง 3 ศาสนา คือ ศาสนาขงจื๊อ พุทธศาสนา และ
ศาสนาชินโต โดยญี่ปุ่นรับเอาศาสนาขงจื๊อมาจากจีน และรับเอาพุทธศาสนาแบบจีนผ่านประเทศ
เกาหลี ส่วนศาสนาชินโตนั้นเป็นศาสนาพื้นเมืองดั้งเดิมของชนชาติญี่ปุ่น เป็นศาสนาที่เกิดมาควบคู่กับ
ประวัติศาสตร์ของชนชาติญี่ปุ่นตั้งแต่โบราณมาจนถึงปัจจุบัน
เสฐียร พันธรังษีกล่าวว่า ศาสนาชินโตเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่คู่กั บชนชาติญ่ปี ุ่น
มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่เริ่มตั้งเป็นชาติมากว่าสองพันปี ชินโต แปลว่า วิถีของพระเจ้า หรือทางของ
สวรรค์ มีความหมายว่า บุคคลต้องปฏิบัติตนตามทางของสวรรค์ ภักดีต่อพระเจ้าเพื่อผลดีต่อตนเอง
คำว่า พระเจ้า ศาสนาชินโตมุ่งเอาธรรมชาติที่มีอยู่รอบตัวของมนุษย์ ญี่ปุ่นมีนิยายปรัมปรามาแต่
โบราณหลายพันปีว่า พระอาทิตย์หรือเหล่ากอของพระอาทิตย์เป็นผู้สร้างเกาะญี่ปุ่นชาวญี่ปุ่นที่ เกิดใน
เกาะนี้จึงเป็นลูกหลานของพระอาทิตย์ซึ่งภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า อะมะเทระสุ-โอมิคะมิ (天照大御神)
เลือดพระอาทิตย์ก้อนแรกที่ปรากฏเป็นมนุษย์ในประวัติ ศาสตร์คือ จินมุ เทนโน (神武天皇) ซึ่งเป็น
พระนามของพระเจ้าจักรพรรดิที่เป็นมนุษย์องค์แรกของญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นจึงเชื่อว่า จักรพรรดิทุก
พระองค์ทรงมีเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์12
สุชีพ ปุญญานุภาพ ได้กล่าวไว้ในลักษณะเดียวกันว่า คำว่า ชินโต เป็นภาษาจีนแต่ออก
เสียงตามสำเนียงญี่ปุ่น กล่าวคือ คำนี้มาจากภาษาจีนว่า “สิ่งเต๋า” คำว่า “สิ่ง” แปลว่า เทพเจ้า ส่วน
คำว่า “เต๋า” แปลว่า ทาง เมื่อรวมกันแปลว่า ทางแห่งเทพเจ้า อาจหมายถึงการบูชาเทพเจ้า หรือคำ
สอนของเทพเจ้าหรือศาสนาของเทพเจ้าก็ได้13
ส่วนในภาษาญี่ปุ่นเรียกศาสนานี้ว่า คะมิ-โนะ-มิจิ ซึ่งแปลว่า ทางของเทพเจ้า เมื่อแปล
ออกเป็นภาษาจีนเรียกว่า ชินเต๋า ชาวญี่ปุ่นอ่านออกเสียงว่า ชินโต คำว่า “ชินโต” ได้กลายเป็นคำที่
คุ้นเคยและนิยมเรียกกันอย่างแพร่หลาย ชินโตเป็นศาสนาที่มีลักษณะพิเศษกว่าศาสนาใดๆ ในแง่ของ
อิทธิพลที่มีต่อความคิดทางการเมือง และเสถียรภาพของประเทศผู้นับถือ ตามคัมภีร์ของศาสนาชินโต
หมู่เกาะญี่ปุ่นได้ถูกสร้างขึ้นด้วยอำนาจของเทพเจ้าและพระจักรพรรดิองค์แรกของญี่ปุ่นบนพื้นโลกก็
สืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์14

12
เสฐียร พันธรังษี, ศาสนาเปรียบเทียบ (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, 2542), 260.
13
สุชีพ ปุญญานุภาพ, ประวัติศาสตร์ศาสนา, พิมพ์ครั้งที่ 10 (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์รวมสาส์น,
2545), 103.
14
ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์, ศาสนาและปรัชญาในจีน ทิเบตและญี่ปนุ่ (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
สุขภาพใจ, 2545), 261.
12
ชนชาติญี่ปุ่นในสมัยโบราณมีเผ่าต่างๆ หลายเผ่า แต่ละเผ่าก็เคารพบรรพบุรุษของตน และ
เทพเจ้าที่เผ่าตนรู้จักและนับถือเป็นแบบเดียวกัน เทพเจ้าที่นับถือนั้นมีมากมายหลายองค์ ทางราชการ
ก็ผูกพันอยู่อย่างเคร่งครัดกับการบูชาเทพเจ้าทั้งหลายเลยกลายเป็นระบบการปกครองที่เรียกว่า
ไซเซอิ-อิทชิ แปลว่า การรวมกันแห่งศาสนาและการปกครองเดิมทีเดียวก็เป็นเพียงการเคารพบู ชา
บรรพบุรุษและเทพเจ้า ยังไม่มีชื่อเรียกศาสนานี้ แต่เมื่อพุทธศาสนาและศาสนาขงจื๊อได้แพร่ไปสู่
ประเทศญี่ปุ่น จึงได้มีนามเรียกศาสนานี้เพื่อให้ต่างจากศาสนาพุทธและศาสนาขงจื๊อ โดยเรียกว่า
ชินโต15
จินดา จันทร์แก้ว กล่าวว่า คำว่า ชินโต เป็นชื่อที่ชาวพุทธใช้ เรียกศาสนาดั้งเดิมของญี่ปุ่น
เมื่อคณะพระธรรมทูตจากจีนเดินทางมาถึงญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 6 แห่งคริสตกาลพร้อมกับนำเอาพุทธ
วิธีการดับทุกข์มาเผยแพร่พบศาสนาท้องถิ่น จึงได้บัญญัติศัพท์ขึ้นมาเรียกศาสนาดั้งเดิม ของญี่ปุ่นว่า
“เชนเต๋า” (Shen-Tao) แปลว่า ทางแห่งเทพเจ้าทั้งหลาย เพราะชาวญี่ปุ่นบูชาเทพเจ้าเป็นร้อยๆองค์
ซึ่งมีลักษณะเป็นเทพเจ้าประจำธรรมชาติเห็นได้ในศาสนาโบราณทั่วๆไป และมีการนับถือวิญญาณที่
เชื่อกันว่าสิงอยู่ตามภูเขา ต้นไม้ แม่น้ ำ เป็นต้น ดังนั้น คำว่า เชนเต๋า หรือ ชินโต จึงไม่มีลักษณะเป็น
ศาสนาระดับโลก เช่นพุทธศาสนาหรือศาสนาคริสต์แต่เป็นเพียงคำเรียกศาสนาโบราณประจำชาติของ
ญี่ปุ่นและปรากฏการณ์ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้16
อาจกล่าวได้ว่า ศาสนาชินโตมีอิทธิพลครอบคลุมวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นตั้งแต่เกิดจนกระทั่ง
ตาย โดยแทรกซึ มเข้าไปในความคิด ความเชื่อ พฤติกรรม อารยธรรม วัฒนธรรมขนบธรรมเนียม
ประเพณี เป็นศาสนาที่หล่อหลอมทำให้ชาวญี่ปุ่นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างจากชนชาติอื่นอย่าง
ชัดเจน แม้จะมีศาสนาอื่น ๆหลั่งไหลเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นก็จะถูกอิทธิพลของศาสนาชินโตเข้า
ครอบงำและผสมผสาน เนื่ องจากชาวญี่ปุ่นไม่อาจละทิ้งความเชื่อดั้งเดิมของศาสนาชินโตได้อย่าง
สิ้นเชิงนั่นเอง
ในยุคแรกๆก่อนจะมีการเผยแพร่ศาสนาอื่นเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นนั้น ชาวญี่ปุ่นไม่ได้เรียก
ศาสนาของพวกตนว่าเป็นศาสนา และไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ เป็นความเชื่อที่นับถือและปฏิบัติสืบต่อกัน
มาประจำชนชาติญี่ปุ่น และได้มีการรวบรวมความเชื่อ ธรรมเนียม พิ ธีการปฏิบัติและเรื่องราวตำนาน
โบราณนิทานต่างๆไว้ในคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเรียกว่า บันทึกแห่งสิ่งโบราณ หรือโคะชิคิ โดยในบันทึกนี้ได้
รวบรวมเรื่องราวของเทพเจ้าต่างๆ ประวัติศาสตร์เทพนิยาย และกำเนิดของพระเจ้าจักรพรรดิองค์
แรกของญี่ปุ่น เป็นต้น

15
สุชีพ ปุญญานุภาพ, ประวัติศาสตร์ศาสนา, 104.
16
จินดา จันทร์แก้ว, ศาสนาปัจจุบนั , พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
2532), 108.
13
เมื่อชาวญี่ปุ่นมาติดต่อกับจีนก็ได้นำการเขียนแบบจีนมาใช้นำพุทธศาสนาแบบจีน ศาสนา
ขงจื๊อและรากฐานทางวัฒนธรรมจีนแบบอื่นๆจำนวนมากมาใช้ โดยเฉพาะพุทธศาสนาแบบจีนที่ญี่ปุ่น
นำมาปรับปรุงเข้ากับพิธีกรรมและความเชื่อดั้งเดิมของตน เช่นเดิมทีเดียว ชาวญี่ปุ่นนับถือเทพเจ้า ผี
สางเทวดาและธรรมชาติ เมื่อรับความเชื่อแบบจีนเข้ามาจึงมีการนับถือเซ่นไหววิญญาณของบรรพบุรุษ
เพิ่มเข้าไปด้วย จนกลายมาเป็นศาสนาพื้นเมือง ซึ่งภาษาจีนเรียกว่า เชนเต๋าหรือชิ นเต๋า หรือ ชินโต
ดังนั้น คำนี้จึงเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาตั้งแต่นั้น แม้จะมีชื่อญี่ปุ่นว่า คะมิโนะมิชิ ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้รับ
ความนิยมเท่ากับคำว่า ชินโต
โดยมากเมื่อกล่าวถึงศาสนาชินโต ก็เป็นที่รู้จักทั่วไปว่าไม่มีศาสดาหรือผู้ตั้งศาสนา เพราะ
ศาสนาชินโตเป็นศาสนาที่ เกิดสืบเนื่องมาจากขนบประเพณีในการบูชาบรรพบุรุษ และบูชาเทพเจ้า
ดังกล่าวแล้ว แต่เมื่อแบ่งศาสนาชินโตออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือชินโตที่เป็นของรัฐ (State
Shinto) หรือ ชินโตศาลเทพเจ้า (Shrine Shinto) และชินโตที่เป็นนิกาย (Sectarian Shinto) ชินโต
แบบแรกอาจไม่มีศาสดาก็จริง แต่ชินโตแบบหลังที่เป็นนิกายต่างๆ มีศาสดาแน่นอน เช่น นิกายกอนโก
มีกอนโกเป็นศาสดาพยากรณ์เป็นต้น

2.2.1.1 หลักคำสอนของศาสนาชินโต
แนวคิดเรื่องเทพเจ้าเป็นแนวความคิดที่ส ำคัญ และมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของศาสนา
ชินโตอย่างยิ่ง ในภาษาญี่ปุ่น คำที่ใช้เรียกเทพเจ้า คือ คำว่า คะมิ มีความหมาย 3 ประการ คือ ความ
บริสุทธิ์ หรือสว่างรุ่งเรือง ความสูงส่งกว่า และความแปลกประหลาด ลึ กลับ น่ากลัว ซ่อนเร้น เหนือ
ธรรมชาติ
ตามทัศนะของศาสนาชินโต คะมิไม่ใช่เป็นเพียงแต่มนุษย์เท่านั้น แม้แต่นก สัตว์ พืช ต้นไม้
ทะเล ภูเขา และทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นอะไรที่สมควรแก่การเกรงขาม และแสดงออกถึงพลังที่
พิเศษและเด่น เหล่านี้เรียกว่า “คะมิ” และไม่จำเป็นที่จะต้องเด่นในด้านความงดงาม ความดี หรือ
ความสามารถเท่านั้น สิ่งที่ร้ายกาจและสิ่งที่ประหลาดลึกลับซึ่งบุคคลทั่วไปเกรงกลัวก็เรียกว่าคะมิพระ
จักรพรรดิที่สืบสันติวงศ์กันลงมา มนุษย์ที่สูงส่งซึ่งมีตัวอย่างอยู่มากทั้งในสมัยโบราณและสมัยปัจจุบัน
สุนัขจิ้งจอก เสือ หมาป่า ลูกท้อ เพชร พลอยล้วนเรียกว่า คะมิทั้งสิ้น17
เทพเจ้าที่สำคัญและมีชื่อเสียงในยุคเริ่มแรกมี 2 องค์คือ

17
ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์, ศาสนาและปรัชญาในจีน ทิเบตและญี่ปนุ่ , 266.
14
1. อิซะนะงิ ( Izanagi ) ซึ่งแปลว่า “เพศชายผู้เชื้อเชิญ”
2. อิซะนะมิ ( Izanami ) ซึ่งแปลว่า “เพศหญิงผู้เชื้อเชิญ”
เทพเจ้าทั้งสององค์นี้เป็นบรรพบุรุษของเทพเจ้าทั้งมวล เทพเจ้าทั้งเพศหญิงและชายมีการ
กระทำในลักษณะต่างๆ เช่น มีการเกิด การแต่งงาน การให้กำเนิดบุตรธิดา การไม่สบาย การอิจฉา
ริษยา การตาย การฝังศพ ฯลฯ พระจักรพรรดิของญี่ปุ่นก็มีสิทธิในการเลื่อนชั้นตำแหน่งให้แก่เทพเจ้า
เหล่านี้ด้วย เทพเจ้าในศาสนาชินโตมีความประพฤติทางศีลธรรมเช่นเดียวกับของมนุษย์ เช่นเทพเจ้า
บางกลุ่มเป็น เทพเจ้าที่โกหก เป็นต้น
บุคลิกภาพที่น่าสนใจบางประการของเทพเจ้าบางองค์ตามที่ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์ เช่น เทพ
เจ้าสึสะ-โนะ-โอะ ( Susa-No-Wo ) มีธรรมชาติที่ชั่วร้ายมาก พฤติกรรมหยาบคาย เมื่อลิงโลดจะ
ทำลายคันนา ทำลายคูคลอง และถลกหนังสัตว์ที่ยังเป็นๆ เป็นต้น ดังนั้น เทพเจ้าทั้งแปดล้านจึงสั่งให้
ตัดเคราและถอดเล็บมือกับเล็บเท้า และเนรเทศเทพเจ้าองค์นี้ออกไป18
ศาสนาชินโตบูชาธรรมชาติมาแต่เดิม เทพเจ้าเกือบทั้งหมดตามที่ระบุไว้ในเอกสารแต่
ดั้งเดิมเป็นวัตถุหรือพลังในธรรมชาติ เทพเจ้าประจำธรรมชาติที่สำคัญมีดังนี้
1. เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ชื่อ อะมะ-เทระสุ แปลว่า ผู้ส่องแสงแห่งสวรรค์เป็นเทพเจ้าเพศ
หญิงที่สำคัญที่สุดในบรรดาเทพเจ้าประจำธรรมชาติทั้งหลาย บรรพบุรุษของเทพเจ้าทั้งหมดได้แต่งตั้ง
ให้เทพอะมะ-เทระสุ เป็นใหญ่เหนือเทพเจ้าทั้งปวง
2. เทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ชื่อ ทสึ คิ-โยะมิ เป็นเทพเจ้าเพศชายที่ได้รับการแต่งตั้งให้คอย
ช่วยเหลือเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ในการปกครอง
3. เทพเจ้าแห่งดวงดาวชื่อ คะงะเสะโอะ
4. เทพเจ้าแห่งพายุชื่อ สึสะ-โนะ-โอะ
5. เทพเจ้าแห่งหมอกควันชื่อ ทะ-คิร-ิ บิมา
6. ภูเขา ฟุจิ-ยะมะ เป็นภูเขาที่มีผู้เคารพนับถือมากที่สุดในบรรดาภูเขาที่ศักดิ์สิทธิ์ใน
ประเทศญี่ปุ่น19

18
เรื่องเดียวกัน, 268.
19
เรื่องเดียวกัน.
15
2.2.1.2 จริยธรรมของศาสนาชินโต
จริยธรรมของศาสนาชินโต ส่วนใหญ่เป็นประมวลหลักความประพฤติของชาวญี่ปุ่น เป็น
ข้อปฏิบัติของซามูไร นักรบหรือขุนนาง โดยสรุปดังต่อไปนี้
1. ความกล้าหาญ นับเป็นจริยธรรมข้อแรกของศาสนาชินโต โดยจะสั่งสอนเด็กตั้งแต่
เยาว์วัยพอที่จะเริ่มเข้าใจได้ เมื่อเด็กเริ่มที่จะร้องไห้ บิดามารดาจะดุเด็กน้อยที่ยอมแพ้ และมีความ
อ่อนแอ ชาวญี่ปุ่นจึงเป็นคนกล้าหาญ โดยถือว่าการตายอย่างกล้าหาญถือเป็นเกียรติสูงสุด การตาย
อย่างกล้าหาญดีกว่ามีชีวิตอยู่อย่างไร้เกียรติ จะเห็นได้จากการคว้านท้องตัวเองตายของพวกซามูไร
เพราะถือว่าเป็นการตายอย่างกล้าหาญ
2. ความขลาดเป็นความชั่ว ตามคำสอนของชินโต บาปทุกอย่างไม่ว่าเล็กหรือใหญ่จะได้รับ
การให้อภัยถ้าสำนึกผิด ยกเว้นการกระทำ 2 อย่าง คือ ความขลาดและการลักขโมย
3. ความภักดี โดยเฉพาะการจงรักภักดีต่อพระเจ้าจักรพรรดิ ต่อมาขยายออกไปถึงสมาชิก
ภายในครอบครัวและสังคมอีกด้วย
4. ความสะอาด ศาสนาชินโตเคร่งครัดในความสะอาดมาก ทำให้ชาวญี่ปุ่นนิยมอาบน้ำ
ก่อนรับประทานอาหารเย็นและก่อนทำพิธีกรรมต่างๆ นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่ นยังถือว่าการอาบน้ำเป็น
การพักผ่อนในเวลาว่างงาน โดยจะอาบน้ำในบ่อน้ำหรือสระน้ำโดยแช่น้ำ ขัดถูตัวนานๆ และอาบน้ำ
รวมกันได้ การเป็นคนสกปรกนับเป็นบาป เป็นการผิดต่อเทพเจ้าเพราะเทพเจ้าเองก็รักความสะอาด
การพิจารณาว่าสิ่งใดสกปรกหรือสะอาดนี่เองก่อให้เกิดพิธีกรรมมากมาย ซึ่งก็มีวัตถุประสงค์เพื่อจะไม่
แสดงอาการลบหลู่ต่อเทพเจ้าทั้งหลายด้วยการพัฒนาพิธีกรรมดังกล่าว การอาบน้ำในญี่ปุ่นจึงเป็นทั้ง
ความสะอาดและพิธีกรรมทางศาสนาดังกล่าวแล้ว
5. การมีชีวิตแบบธรรมชาติ ศาสนาชินโตมีความเชื่อว่า ธรรมชาติมีอำนาจทางการรักษา
ไม่ว่าจะเป็นใบไม้หรือดอกไม้ ภูเขาหรือลำธาร เป็นต้น การเกี่ยวข้องกับธรรมชาตินอกจากเพื่อสุขภาพ
แล้วยังสามารถมองเห็นเทพเจ้าทำงานอยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเหล่านั้นด้วย ธรรมชาติ
ทุกอย่างเป็นของดีและยุติธรรม ดังนั้น การมีชีวิตแบบธรรมชาติก็คือการมีชีวิตที่ดีและยุติธรรม ใน
ธรรมชาติย่อมไม่มีความชั่วร้ายใดๆทั้งสิ้น ความชั่วก็คือการเกินพอดี ความอยากความปรารถนาตาม
ธรรมชาติเป็นของดี เป็นความชั่วก็ต่อเมื่อมีความอยากมากเกินไปเท่านั้น20

20
จินดา จันทร์แก้ว, ศาสนาปัจจุบนั , 111-112.
16
2.2.2 แนวคิดของเซน
คำว่า ‘เซน’ เป็น ศัพท์ญี่ปุ่นที่ตรงกับคำว่า ‘ฉาน’ ในภาษาจีน ฉานจะมาจากคำว่า
‘ธฺยาน’ ในภาษาสันสกฤตอีกทอดหนึ่ง เมื่อเทียบถึงที่สุดแบบที่ชาวพุทธเรารู้จักกัน ธฺยานก็คือ ‘ฌาน’
ในภาษาบาลีนั่นเอง
ฌานคือจิตที่เข้าถึงความเป็น ‘อัปปนาสมาธิ’ คือ มีความแนบแน่นอยู่ในอารมณ์เดียว จิต
ใหญ่เป็นมหัคคตะ ไร้ความคิดอันเป็นเหตุให้ซัด ส่ายจากความเป็นหนึ่ ง จึงสว่างจ้าอยู่อย่างมั่นคง
ในช่วงเวลานานเต็มอิ่ม
ปรัชญาเซนเป็นนิกายหนึ่งในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เริ่มต้นที่ประเทศจีนในราว ค.ศ.
527 ก่อนจะเข้าไปในประเทศญี่ปุ่นราว ค.ศ. 1215 โดยพระเอะอิไซ (Eisai) พระญี่ปุ่นที่เข้าไปศึกษาใน
จีน และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากนับตั้งแต่จักรพรรดิผู้ปกครอง นักปราชญ์ รวมถึงประชาชนชาว
ญี่ปุ่น ปรัชญาเซนจึงรุ่งเรืองในประเทศญี่ปุ่นกระทั่ งปัจจุบัน ก่อนจะแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ ทั้ง
ยุโรป อเมริกา เอเชีย โดยจุด มุ่งหมายของนิกายเซนนั้นให้ความสำคัญกับการตรัสรู้ “ซาโตริ” 21 คือ
การตัดขาดจาก อวิชา ตัณหา อุปทาน จนเข้าสู่การหลุดพ้น “สูญญตา” หรือ ความว่าง ความเชื่อที่ว่า
สรรพสิ่งนั้นว่างเปล่าจึงทำให้บุคคลที่ปฏิบัติเซน ใช้ชีวิตที่เรียบง่าย อยู่อย่างสมถะ ไม่ยึดติดกับตัวตน
หรือสิ่งของที่ไม่จำเป็น อยู่กับปัจจุบันขณะ ปรัชญาเซนยังไม่ยึดติดกับตัวอักษร หรือคำสอนที่อยู่ใน
คัมภีร์ หรือตำรา เพราะเซนเชื่อว่า พุทธศาสนาเกิดขึ้นจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าแต่เพียงล ำพัง
แต่พุทธศาสนากลับมีพัฒนาการต่อไปกระทั่งมีนิกายต่างๆเกิ ดขึ้นมากมาย นั้นหมายความว่าคำสอน
หรือพระธรรมย่อมถูกตีความหรือถูกบิดเบือนตามแต่จุดประสงค์ของผู้นำในนิกายนั้นๆ นอกจากนี้การ
ตรัสรู้ได้เกิดขึ้นกับพระพุทธองค์แต่เพียงผู้เดียว นั้นเป็นการยากที่จะถ่ายทอดสภาวะดังกล่าว หรือทำ
ความเข้าใจสภาวะดังกล่าวด้วยตำราหรือตรรกะเชิงเหตุผล จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ประสบการณ์
ตรงในการเข้ า ถึ ง สภาวะดั ง กล่ า วด้ ว ยตนเอง ประสบการณ์ ต รงทางศาสนาจึ ง เป็ น สิ ่ ง ที ่ เ ซนให้
ความสำคัญมากกว่าคำสอนในคัมภีร์หรือตำราที่คร่ำครึ
การบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเซน (禅) เรียกว่า “ซาโตริ” (悟り) หมายถึงการรู้แจ้งแห่ง
สภาวะความจริงสูงสุด กล่าวคือ ซาโตริ เป็นประสบการณ์การรับรู้ความจริงว่าสรรพสิ่งในจักรวาลล้วน
เป็นหนึ่งเดียวกัน หรือกล่าวได้ว่าประสบการณ์ซาโตรินี้เป็นการทำลายความยึดมั่นถือมั่นที่ทำให้เกิด
ความแบ่งแยก เป็นการได้มาซึ่งความเข้าใจว่าที่แท้แล้วทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นหนึ่งเดียว กล่าวคือ เป็น
เพียงความว่าง หรือความเป็นเช่นนั้นเอง (Suchness) มีวิธีการหลักเพื่อการบรรลุธรรม 3 วิธีด้วยกัน
คือ ซาเซน (座禅) หรือการนั่งสมาธิ ซันเซน (参禅) หรือการขบคิดปริศนาธรรม (公案 ) และ มน
21
เซนไค ชิบายามะ, ดอกไม้ไม่จำนรรจ์, แปลโดย พจนา จันทรสันติ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ลายสือ
ไทย, 2522), 42.
17
โด (問答) หรือ การถามตอบอย่างฉับพลัน ท่านเซนไค ชิบายามะ (Zenkai Shibayama) ได้อธิบาย
ปรัชญาเซนไว้ดังนี้
เซนมิใช่ข้อสรุปทางความนึกคิด ที่เข้าถึงได้ด้วยเหตุผลและการคิดใคร่ครวญ วิถีแห่งเซน
นั้นมิอาจพบได้โดยความรู้แบบแบ่งแยกของเรา และมิใช่เพียงเท่านี้ แม้ความรู้และความคิดของเรา
ทั้งหมด ซึ่งเป็นผลผลิตของจิตสำนึกก็จำเป็นจะต้องขจัดออกอย่างสิ้นเชิงด้วย หากทำได้สำเร็จแล้วจะ
เข้าถึงสัจจะแห่งประสบการณ์บริสุทธิ์ ซึ่งจะช่วยให้เราตื่นขึ้นสู่ความว่างหรือสุญญตาและใน
ประสบการณ์ภายในอันลึกล้ำนี้แหละที่เซนดำรงอยู่ ถ้าพูดในแง่จุดหมายแล้ว ประสบการณ์แห่งเซนก็
คือ การตระหนักรู้ถึงรากฐานแห่งการดำรงอยู่ ถ้าพูดในแง่มุมส่วนตัวแล้วก็อาจอธิบายได้ว่า
เซน คือ การตื่นขึ้นสู่จิตอันล้ำลึกของมนุษย์ ซึ่งโดยภาษาแห่งเซน เราเรียกการตื่นขึ้นนั้นว่า ‘ซาโตริ’
ซึ่งแปลว่า การตรัสรู้ เพื่อหมายถึงสัจจะแห่งประสบการณ์ทางศาสนา22
เซนมองว่าสรรพสิ่งคือความว่าง เซนมองว่ามนุษย์มิใช่ศูนย์กลางแห่งจักรวาล สรรพสิ่ง
ล้วนต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน และเชื่อว่าสรรพสัตว์มีพุทธภาวะอยู่ในตัวอยู่แล้ว การบรรลุซาโตริก็คือ
การเห็นตามความเป็นจริงของโลกและชีวิตโดยที่โลกและชีวิตนั้น คือ ความว่าง ในเมื่อว่างจากตัวตน
แล้ว ก็จะว่างจากการยึดติด เมื่อว่างจากการยึดติดก็จะประจักษ์ถึงศูนยตาธรรมในที่สุด
จะเห็นได้ว่าสภาวะของซาโตริดังที่กล่าวมานั้นเป็นสภาวะที่ยากแก่การเข้าใจด้วยเหตุผล
ธรรมดาทั่ว ไป ทั้งนี้เพราะซาโตริ ไม่ อาจแสดงออกมาในรูปของตรรกะหรื อภาษาใดๆ หากไม่ มี
ประสบการณ์ตรง ถึงแม้เมื่อมีประสบการณ์ตรงก็ยังเป็นเรื่องยากในการสื่อสาร เพราะซาโตริเป็น
สภาวะแห่งการรู้แจ้งอย่างฉับพลันที่ก้าวพ้นสามัญสำนึกแห่งทวินิ ยม เช่น การแยกแยะเชิงมโนทัศน์
กายกับจิต ดีกับชั่ว ผู้รับรู้กับสิ่งที่ถูกรับรู้ โลกภายนอกกับโลกภายใน เป็นต้น สำหรับผู้ที่บรรลุซาโตริ
แล้ว จะไม่ยึดติดกับสมมติบัญญัติต่างๆ เพราะสมมติบัญญัติเหล่านี้มีลักษณะสัมพัทธ์ กล่าวคือ ใน
บริบทหนึ่ง สมมติบัญญัติชุดหนึ่งอาจเข้ากับบริบทหนึ่งนั้นได้ เมื่อบริบทเปลี่ยน ชุดของสมมติบัญญัติที่
เคยใช้อาจต้องเปลี่ยนตามไปด้วย แต่ผู้ปฏิบัติเซนจะดำรงชีวิตตามความเป็นจริง คือ มองโลกตามที่
เป็นและไม่ไปยึดมั่นกับโลก กล่าวคือ บุคคลสามารถมองตนเองว่าเป็นตนเองอยู่ได้ แต่ทั้งนี้จะอยู่
ภายใต้กรอบความจริงที่ว่าความเป็นตนเองไม่มี มีแต่ความว่างอันเป็นหนึ่งเดียว23

22
เรื่องเดียวกัน, 59.
23
ติช นัท ฮันห์, กุญแจเซน (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2532)
18
2.3 ดอกไม้ญี่ปุ่นกับฤดูกาล
ในหัวข้อนี้จะหยิบยกมาจากบท “The Flowers of Japan” จากหนังสือ The Flowers
of Japan and The Art of Floral Arrangement กล่าวถึงดอกไม้ที่มีความสำคัญและนิยมใช้ในการ
จัดอิเคะบะนะในตามแต่ละฤดูกาล โดยจำแนกเป็น ดอกไม้ในฤดูใบไม้ผลิ (春の花), ดอกไม้ในฤดู
ร้อน (夏の花), ดอกไม้ในฤดูใบไม้ร่วง (秋の花) และการจำแนกดอกไม้ของ 12เดือน ตามปฏิทิน
โบราณ24

2.3.1 ดอกไม้ในฤดูใบไม้ผลิ (春の花)

ภาพที2่ Japanese Interior with Arrangement of Spring Flowers


ที่มาภาพ: Josiah Conder, The Flower of Japan and The Art of Floral Arrangement, (Tokyo:
Kodansha International,2002)

24
Josiah Conder, The Flower of Japan and The Art of Floral Arrangement, (Tokyo:
Kodansha International,2002), 57-73
19

ภาพที3่ ดอกยุคยิ ะนะงิ


ที่มาภาพ: 植物百科, 雪柳, , accessed September 25, 2019, available from
https://www.xfengnet.com/touch/view.asp?typ=3&kid=58

2.3.1.1 Snow willow หนึ่งในดอกไม้ที่เป็นสัญญานเตือนว่าฤดูใบไม้ผลิที่อบอุ่นมาเยือน


แล้ว คือ ดอก “ยุคิยะนะงิ” (雪柳) ยุคิยะนะงิ เป็นไม้พุ่มต้นเตี้ยสูงราว 1 เมตร สายพันธุ์เดียวกับ
กุหลาบ มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “โคะโงะเมะซากุระ” (ซากุระเม็ดข้าวสาร) เมื่อแตกกิ่งเต็มที่ กิ่งจะยาว
เลื้อยลงด้านล่าง บางครั้งยาวถึง 2 เมตร เติบโตตามริมแม่น้ำหรือโขดหินตั้งแต่ทิศเหนือของเกาะฮอน
ชูไล่ไปจนถึงเกาะคิวชูทางใต้ของประเทศ ใบเรียวยาวราว 2-3 เซนติเมตร แตกใบหลังจากที่เริ่มออก
ดอกได้สักพัก ตัวดอกเป็นสีขาวสะอาด มีกลีบ 5 กลีบกลมๆ เส้นผ่าศูนย์กลางดอกราว 4-8 มิลลิเมตร
เล็กมาก
ชื่อทางวิทยาศาสตร์มีชื่อว่า Spiraea thunbergii (珍珠绣线菊) เติบโตได้ดีในดินร่วน
หรือพื้นผิวที่เป็นทราย25 ต้นยุคิยะนะงิยามบานเต็มที่มองมาแต่ไกลจะเห็นเป็นพุ่มสีขาวดังหิมะปกคลุม
ผิวดินสมดังชื่อ “ยุคิ” (หิมะ) “ยะนะงิ” (ต้นหลิว) จากชื่อภาษาจีนที่ใช้คำว่า「噴雪花」(ฟุงเซทสุกะ)
ซึ่งมีคำว่า “หิมะ” (雪) เหมือนกัน จึงเชื่อกันว่าดั้งเดิมเป็นไม้ดอกที่มีถิ่นฐานในประเทศจีนก่อนที่จะ
แพร่หลายเข้ามาในญี่ปุ่น เป็นไปได้ว่าประวัติของมันอาจจะไม่เก่าแก่นักเพราะไม่พบชื่อในหนังสือเพลง
โบราณหรือกลอนในสมัยเอโดะเลย เพิ่งจะมาปรากฏในกลอนไฮกุสมัยช่วงหลัง แต่จากการที่ยุคยิ ะนะงิ
เป็นไม้ดอกทีเ่ ลี้ยงง่าย ไม่กินที่สวยงาม และยังเปลี่ยนสีในฤดูใบไม้ร่วง ทำให้ผู้คนในปัจจุบันนิยมนำไป
ปลูกเป็นไม้ประดับสวนทั้งในสวน และริมรั้ว และยังเป็นดอกไม้สำหรับจัดอิเคะบะนะอีกด้วย

25
The Royal Horticultural Society, Spiraea thunbergii, accessed April 15, 2020,
available from https://www.rhs.org.uk/Plants/49685/i-Spiraea-thunbergii-i/Details
20
นักแต่งสวนแนะนำว่าถึงแม้ว่า ยุคิยะนะงิที่ปล่อยทิ้งไว้ไม่ดูแลจะมีกิ่งก้านยาวไม่เ กิน
2 เมตรก็ตาม แต่หากไม่ตัดกิ่งหรือดูแลบ้าง กิ่งก็จะโตอ้วน และสากๆ ทำให้ความอ่อนช้อ ยโดย
ธรรมชาติจางลง ดังนั้นหลังดอกโรยไปราวปลายเดือนเมษายนจึงควรแต่งกิ่งโดยเลือกตัดจากโคนกิ่ง
แก่ๆ ออกไป และหากกอใดที่โตเกินไปก็ควรถอนรากถอนโคน เอากิ่งใหม่มาลงแทนราวเดือนมกราคม
หรือกุมภาพันธ์ ผู้ที่เรียนการจัดดอกไม้อิเคะบะนะหลายคนก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าถูกใจกิ่งดอกยุคิ
ยะนะงิมาก เพราะดอกสีขาวเล็กๆ น่ารักมักเริ่มบานก่อนดอกไม้อื่นๆ ในฤดูใบไม้ผลิพอนำมาจั ดแซม
กับดอกไม้อื่นจะให้ความเร้าใจ และสีขาวยังเป็นสีแบคกราวนด์ที่ดีอีกด้วย
ดอกยุคิยะนะงิ หมายถึง “ความน่ารัก” “ความพยายามให้ผู้อื่นยินดี” “ความอ่อนโยน”
เหมาะสมกับสีสัน และเอกลักษณ์ของมันอย่างมาก ทั้งยุคยิ ะนะงิ ซากุระ คาเมลเลีย บ๊วย โบตั๋น ฯลฯ
ซึ่งจะทยอยบานในฤดูใบไม้ผลิตามลำดับนั้น ต่างก็เป็นดอกไม้ที่โรยไปอย่างรวดเร็วภายในราวสอง
สัปดาห์หลังแรกบาน และน่าแปลกใจตรงที่คนญี่ปุ่นใช้คำศัพท์ที่สุนทรีย์บรรยายการโรยของดอกไม้
เหล่านี้ แตกต่างกันไปตามธรรมชาติของมัน ดังนี้
梅 散りしおれる อุเมะ จิริชิโอะเระรุ ดอกบ๊วยแห้งโรย
椿 落ちる ทสุบะคิ โอะจิรุ คาเมลเลียหล่นจากขั้ว
桜 舞う ซากุระ มะอุ ซากุระปลิวไสว
牡丹 くずれる โบะตัน คุซุเระรุ โบตั๋นโรยเฉา
雪柳 吹雪く ยุคยิ ะนะงิ ฟุบุคุ ยุคยิ ะนิงิปลิวว่อน
ยุคิยะนะงิ งามดังหิมะที่ปกคลุมพื้นดินเมื่อแรกบาน และยามโรยก็ปลิวว่อนดังพายุหิมะ
เบาๆ ประทับใจทุกปีที่ได้เห็ น ถึงแม้มันจะเป็นดอกไม้พุ่มเตี้ยๆ รอบๆ ต้นซากุระบ้างหรื อเป็นเพียง
แบคกราวนด์ช่วยให้ดอกไม้สีสดๆ ดูเด่นขึ้นบนแจกกันดอกไม้ก็ตาม26

2.3.1.2 Plum blossom หรือ ดอกอุเมะ (梅) คนไทยจำนวนไม่น้อยที่มาญี่ปุ่นเป็นครั้ง


แรกมักเข้าใจผิดว่าดอกบ๊วยเป็นดอกซากุระ แต่สำหรับคนญี่ ปุ่นแล้วเพียงเห็นดอกหรือต้นก็จะรู้ทันที
ว่าไม่ใช่ กลีบของดอกบ๊วยจะกลมไม่เป็นหยักที่ปลายกลีบ เส้นผ่านศูนย์กลางราว 25 มิลลิเมตร พันธุ์
กลีบเดี่ยวปกติในหนึ่งดอกมี 5 กลีบ มีหลากสีได้แก่ขาว ชมพู แดงสด

26
TPA news, ภาษาดอกไม้, เข้าถึงเมื่อ 25 กันยายน 2562, เข้าถึงได้จาก
http://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/108/ContentFile2122.pdf
21

ภาพที4่ ดอกอุเมะ
ที่มาภาพ: nerimakanko, 梅之花正迎接正好看的時候, accessed September 25, 2019, available
from https://www.nerimakanko.jp.c.afl.hp.transer.com

บ๊วยสำหรับชมดอกนั้น มีการพัฒนาสายพันธุ์ในสมัยเอโดะรวมกว่า 300 สายพันธุ์ด้วยกัน


และไม่ว่าพันธุ์ใดๆ ก้านของดอกบ๊วยจะสั้นมากจนดูเหมือนบานจากกิ่งโดยไม่มีก้านดอกเหมือนซากุระ
ลำต้นของต้นบ๊วยจะขรุขระมีสีออกดำๆ ไม่สูงใหญ่นัก ต้นที่มีอายุน้อยมักมีกิ่งชี้ขึ้นฟ้าเหมือนไม้กวาด
หากคอยตัดแต่งกิ่งก้านก็จะค่อยๆ คดงอสวยงามเหมือนต้นแก่ ที่มักโค้งไปมาดูขลัง ทำให้จิตรกรพู่กัน
หมึกดำทั้งในเมืองจีนแหล่งกำเนิดดอกบ๊วย และในญี่ปุ่นนิยมนำไปวาดเป็นภาพเขียนหรือภาพประดับ
บานเรือนทึบ (ฟุสุมะ) การชมดอกบ๊วยบนกิ่งที่โค้งงอไปมาถือเป็นหนึ่งในสามวิธีชมบ๊วยของคนญี่ปุ่นที่
นอกเหนือไปจากการชมดอกบ๊วยยามแรกบาน และการเดินชมบ๊วยนานาพันธุ์หลากสีสันในสวน
ดอกบ๊วยเมื่อแรกบานจะมีกลีบกลมใหญ่ เกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียจะยาวใหญ่ และค่อยๆ มี
กลีบเล็กลงหลังบานได้ราวสองสัปดาห์ พระสงฆ์ในวัดพุทธนิกายเซนเทศนาว่า “ดอกบ๊วยถึงแม้จะเล็ก
แต่งดงามแข็งแกร่ง คลี่กลีบได้ท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็น พวกเรามักพิจารณาตนยามฝึกสมาธิดว้ ย
ความอดทนว่าสักวันหนึ่งจะบรรลุได้ดังดอกบ๊วยที่ผลิบาน”
ในบทเพลง “มันโยชู” (万葉集) เป็นหนังสือที่รวบรวมบทเพลง หรือบทกวีที่เก่าแก่ที่สุด
ของญี่ปุ่น มีทั้งหมด 20 เล่ม ใช้เวลาในการรวบรวม “มันโยชิ” ประมาณ 350 ปี แล้วเสร็จสมบูรณ์ใน
สมัยนะระ จำนวน 4,500 เพลงที่ราชวงศ์ และขุนนางญี่ปุ่น เขียนไว้ราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-8 บทกวี
ของมันโยชินั้น ใช้คําโบราณในการแต่งประพันธ์ขึ้น ดังนั้นคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ในปัจจุบันที่ไม่เข้าใจ
ความหมายของคําโบราณจึงมีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน เป็นบทกวีเก่าแก่ที่เรียบง่าย พรรณนาถึง แม่น้ำ ลำ
22
ธาร ภูเขา ความสวยงามของธรรมชาติ ผัก สัตว์ นก เป็นต้น กล่าวคือมีบทกวีที่หลากหลายมากมายใน
“มันโยชู”27
พบชื่อของดอกบ๊วยหรือ “อุเมะ” ( 梅) ถึง 118 เพลง มากกว่าซากุระดอกไม้ยอดนิยมใน
ปัจจุบันที่มีเพียง 42 เพลง ว่ากันว่าในอดีตทั้งราชวงศ์ และขุนนางญี่ปุ่นนิยมชมดอกบ๊วยมากกว่า
ซากุระด้วยซ้ำไป ขุนนางที่ผูกพันกับดอกบ๊วยจนกลายเป็นสัญลักษณ์ของเขามาจนทุกวันนี้ คือ ซุกะวะ
รา มิจิโนะสะเนะ (ค.ศ.845-903 ) อดีตเสนาบดีฝ่ ายขวาในสมัยเฮอัน (ค.ศ.794-1192 ) บทเพลง
สุดท้ายอันโด่งดังที่เขาประพันธ์ไว้หลังจากถูกศัตรูทางการเมืองกลั่นแกล้งจนต้องอับเปหิตนเองไป
ประจำที่ๆ ว่าการดะไซฟุในคิวชูคือ “โคะจิฟุคะบะนิโอยโอะโกะเซะโยะ อุเมะโนะฮะนะ อะรุยินะชิ
โ ต ะ เ ต ะ ฮ ะ ร ุ โ อ ะ ว ะ ซ ุ ร ุ น ะ ” (東風吹かば 匂ひおこせよ 梅の花 主なしとて 春な忘るな)
มีความหมายว่า “ยามพระพายพัดมาจากทิศตะวันออกในฤดูใบไม้ผลิ กลิ่นหอมของดอกบ๊วยก็จะโชย
มา เจ้าบ๊วยเอย ถึงฉันจะไม่อยู่แล้ว ก็อย่าลืมฤดูใบไม้ผลินา”28
“หลังเขาจบชีวิตลง ผู้คนจึงพากันตั้งศาลรำลึกในทุกๆ ที่ ๆ เขาเดินทางผ่านไปพร้อม
ประดับประดาสวนรอบๆ ด้วยดอกบ๊วย ทั้งศาลดะไซฟุเทมมังงุในจังหวัดฟุกุโ อกะ ศาลคิตะโนะ
เทมมังงุในเกียวโต และโอซากาเทมมังงุต่างก็มีชื่อเสียงเรื่องดอกบ๊วยงาม” แม้ทุกวันนี้ดอกบ๊วยยังคง
เป็นสัญลักษณ์แห่งการมาเยือนของฤดูใบไม้ผลิของผู้คนทั่วไป
ความงามของบ๊วยไม่ได้อยู่ที่ดอกเท่านั้น แต่อยู่ที่ลำต้น และกิ่งก้านของมันที่ยิ่งมีอายุมาก
ยิ่งงดงามคดเคี้ยวไปมาดูแข็งแกร่งตัดกับดอกบ๊วยที่มีขนาดเล็ก และอ่อนช้อยได้อย่างเหมาะเจาะด้วย
ตั้งแต่โบราณกาลมาแล้วที่ผู้คนชื่นชมกับต้นไม้เก่าแก่ด้ วยวลีที่ว่า “โซะโซโอชะ” (疎痩横斜) ต้นบ๊วย
เก่าแก่ดูจะเหมาะสมกับวลีที่ว่านี้จริงๆ ลำต้นที่อ้วนใหญ่หายาก(疎) ผิวที่ออกดำ และขรุขระ (痩) กิ่งที่
เอนเอียงคดเคี้ยวไปมา (横斜) ล้วนเกิดขึ้นตามธรรมชาติจากลม และฝนที่พัดชะเป็นสิบๆ ร้อยๆ ปี
นอกจากนี้ยังมีบทความวิจัยที่กล่าวถึ ง กลอนดอกบ๊วย 32 บทในมั นโยชู โดยทำการ
เปรียบเทียบภาพลักษณ์ดอกบ๊วยใน มันโยชูกับ โคะกิงวะกะชู ซึ่งประพันธ์ขึ้นในงานเลี้ยงชมดอกบ๊วย
ที่จัดขึ้นที่บ้านของโอโตะโมะ โนะ ทะบิโตะ ที่ดะสะอิฟุ ในค.ศ. 730 อรรถยา สุวรรณระดาได้กล่าวว่า
งานเลี้ยงชุมนุมกวีดังกล่าวจัดขึ้นในช่ วงเดือนหนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงหลังผ่านพ้นฤดูหนาวอันยาวนานเข้าสู่ปี
ใหม่ตรงกับช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ (ญี่ปุ่นโบราณนับเดือนหนึ่งถึงเดือนสามเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิ) ซึ่งบรรดา
พืชพรรณที่เหี่ยวเฉาในฤดูหนาวจะเริ่มแตกกิ่งใหม่หรือผลิดอก ในสมัยนารานั้น คนญี่ปุ่นจะเฝ้ารอชื่น
ชมความงามของดอกบ๊วยในฤดูใบไม้ ผลิ ก่อนที่จะเปลี่ยนความนิยมหันไปชื่นชมความงามของดอก
27
Kodansha, Man'yoshu (Tokyo: Kodansha Encyclopedia of Japan, 1983)
28
TPA news, ภาษาดอกไม้, เข้าถึงเมื่อ 25 กันยายน 2562, เข้าถึงได้จาก
http://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/89/ContentFile1809.pdf
23
ซากุระแทนในสมัยต่อมา การที่คนญี่ปุ่นสมัยก่อนชื่นชมความงามของดอกบ๊วย จึงทำให้ดอกบ๊วยหรือ
มักถูกหยิบยกมาเป็นหัวข้อในการแต่งกลอนญี่ปุ่น29
ในทุกปี กรมอุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่นจะพยากรณ์ระยะเวลาเริ่มบานของดอกบ๊วยโดยใช้ต้น
บ๊วยพันธุ์กลีบเดี่ยวสีขาวเป็นมาตรฐาน หากมีดอกคลี่กลีบมากกว่า 4-5 ดอกขึ้นไป ก็จะประกาศการ
บานในจังหวัดนั้นๆ ซึ่งจะเริ่มจากโอกินาว่าในกลางเดือนมกราคม ไล่ขึ้นไปยังหมู่เกาะชิโกะกุ และ คิว
ชูจากปลายเดือนมกราคม คันไซ และคันโตในราวกลางหรือปลายเดือนกุมภาพันธ์ โทฮกกุหรือภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนมีนาคม และเดือนเมษายนสำหรับฮอกไกโดตามลำดับ เช่นเดียวกับ
ซากุระ ผู้คนจะพากันออกไปชมดอกบ๊วยตามสวนมีชื่อที่กระจายอยู่แทบทุกจังหวัด
ธรรมเนียมชมบ๊วยตามสวนดังกล่าวมาแพร่หลายในสมัย เอโดะ เมื่อโทะกุกะว่ะ นะริอะกิ
ไดเมียวมณฑลมิโตะคนที่ 9 บัญชาให้พัฒนาที่ดินแปลงใหญ่ริมทะเลสาปให้เป็นสวนเดินทอดน่อง
(ไคยูชิกิเทเอน) พร้อมสร้างที่พักผ่อนหย่อนใจให้นักรบที่เล่าเรียนวิชาการไว้ในปีค.ศ.1842 ในครั้งนั้น
นะริอะกิได้ตั้ง ชื่อสวนว่า “ไครักกุ เอน” ( 偕楽園) ซึ่งมาจากปรัช ญาของเม่งจื๊อที่ถื อว่า “ความ
สนุกสนาน (รักกุ) ที่แท้จริงเป็นความสนุกสนานที่ไพรฟ้า (ไค) ก็ร่วมสนุกได้ด้วย” นะริอะกิได้ยึดเอา
ปรัชญาดังกล่าวเป็นกฏเหล็กในการปกครองมณฑลและได้เปิดโอกาสให้ผู้คนเข้าชมสวนซึ่งปลูกต้น
บ๊วยนับร้อยๆ สายพันธุ์จำนวนราว 3,000 ต้นได้ในวันที่มีเลข 3 และ 8 ของทุกเดือน นับแต่นั้นมา
มณฑลอื่นๆ หลายแห่งได้พากันการสร้างสวนสำหรับชมดอกไม้ และเปิดให้ผู้คนเข้าชมได้
ตามๆ กันเทคนิคในการชมสวนที่ผู้ดูแลสวนไครักกุเอนในปัจจุบันแนะนำไว้ คือ เริ่มต้นชมจากประตู
ด้านหลังซึ่งมีสวนไผ่ และสวนสนอยู่ก่อน จึงค่อยๆเดินไปสู่ สวนบ๊วยต้นเก่าแก่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสีขาว
และไปจบที่บ๊วยสีแดงสดและสีผสมนานาพันธ์ที่ปลูกทีหลัง ผู้ดูแลสวนบอกว่าการเดินชมด้วยลำดับ
ดังกล่าวจะเพิ่มความเร้าใจมากกว่า สวนที่นี่เป็นหนึ่งในสามสวนงดงามที่สุดของญี่ปุ่น และทุกวันนี้ก็ยัง
เปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ฟรีอยู่เช่นเดิม

29
อรรถยา สุวรรณระดา, “กลอนดอกบ๊วย 32 บทใน มันโยฌู: เปรียบเทียบภาพลักษณ์ดอกบ๊วยใน
มันโยฌู กับ โคะกิงวะกะฌู” (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), 42.
24

ภาพที5่ “ไม้สนไม้ไผ่และบ๊วย” (sho-chiku-bai)


ที่มาภาพ: Josiah Conder, The Flower of Japan and The Art of Floral Arrangement, (Tokyo:
Kodansha International,2002)

ดอกบ๊วย เมื่อรวมเข้ากับต้นสน และ ไม้ไผ่ จะถูกเรียกว่า “ไม้สนไม้ไผ่และบ๊วย” (sho-


chiku-bai) เป็นส่วนผสมที่เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตที่ยืนยาวความเข้มแข็งและความมีชีวิตชีวา สนยืน
สำหรับ ยืน ยาวและความอดทนและไม้ไผ่มีความยืดหยุ่นและความแข็งแรงและบ๊วยหมายถึงจิต
วิญญาณหนุ่มสาว ใช้ตกแต่งในโอกาสแสดงความยินดี ดอกบ๊วยมักจะถูกเปรียบเป็นพี่ชายคนโตใน
ตระกูลดอกไม้ของญี่ปุ่น เพราะเป็นดอกที่ออกเร็วที่สุดของปี
ในการจัดอิเคะบะนะเองดอกบ๊วยก็ถูกหยิบยกมาใช้ค่อนข้างมาก ด้วยลักษณะผิวที่ขรุขระ
และลักษณะกิ่งที่มีฐานที่แข็งแรงแต่มีการกระจายในช่วงปลาย มีตากิ่งที่สวยงาม นอกจากนี้คนญี่ปุ่น
ยังนิยมตัดแต่งรูปทรงและกิ่งของบ๊วยให้มีความโค้ง ความบิดอีกด้วย
25

ภาพที6่ ดอกซากุระ
ที่มาภาพ: 吉野美来,「知って得する季語」「桜・サクラ・SAKURA」, accessed
September 25, 2019, available from https://tenki.jp/suppl/m_yoshino/2019/03/24/28944.html

2.3.1.3 Cherry Blossoms หรือ ดอกซากุระ (桜) เป็นดั่งสัญลักษณ์แห่งฤดูใบไม้ผลิ เป็น


ดอกไม้ประจำชาติของญี่ปุ่น ที่มีอยู่มากกว่า 300 สายพันธุ์ที่แตกต่างกันที่ สี รูปร่าง และช่วงเวลาใน
การบาน ซึ่งพันธุ์ทั่วๆไปคือสายพันธุ์ที่มีชื่อว่า “โซเมอิโยชิโนะ” เพราะมีอยู่มากที่สุดในญี่ปุ่น เมื่อถึง
ฤดูใบไม้ผลิที่ดอกซากุระบานช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ประเทศญี่ปุ่นจะจัดงานที่เรียกว่า ฮานามิ
(Hanami) ว่ากันว่าเหล่าเทพจะมาเยือนญี่ปุ่นในช่วงนี้ของปี ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ อุณหภูมิ
เริ่มอุ่นขึ้นจากฤดูหนาวที่หมดไป และซากุระยังเป็นต้นไม้ที่มีอยู่ทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น ในยามที่ดอกไม้
บาน ก็จะบานสะพรั่งพร้อมกันทั้งต้น และก็จะร่วงโรยลาในเวลาเพียง 1-2 สัปดาห์
ในแต่ละปี ซากุระจะบานเร็วช้าไม่เท่ากัน นักอุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่นอธิบายว่าเพราะ
อุณหภูมิที่สูงในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนั่นเอง ที่ทำให้ตาของซากุระตื่นจาก “การจำศีลในฤดูหนาว” (โทมิน)
ช้ากว่าปกติ ซากุระที่สมาคมอุตุนิยมวิทยาใช้เป็นพื้นฐานในการพยากรณ์ คือ ซากุระพันธุ์ “โซเมะอิโย
ชิโนะ” ซึ่งเป็นพันธุ์ผสมระหว่างซากุระป่าสองพันธุ์ คือ พันธุ์ เอโดะฮิงังกับพันธุ์โอชิม่ะหรืออีกนัยหนึ่ง
เป็นซากุระโคลนนิ่งที่มีเอกลักษณ์เหมือนกันง่ายต่อการพยากรณ์ 30
โซะเมะอิโยชิโนะเพิ่งเริ่มนำออกวางขายในสมัยปลายเอโดะโดยช่างทำสวน และพ่อค้า
ต้นไม้ที่หมู่บ้านโซะเมะอิมุร่ะ แรกเริ่มใช้ชื่อว่า “โยะชิโนะ”ซึ่งเป็นชื่อภูเขาต้นกำเนิดซากุระที่มีชื่อเสียง
ในจังหวัดนารา แต่เมื่อซากุระพันธุ์ใหม่เริ่มติดตลาดในสมัยกลางเมจิ ผู้คนได้พากันขนานนามมันว่า

30
TPA news, ภาษาดอกไม้, เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2562, เข้าถึงได้จาก
http://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/107/ContentFile2102.pdf
26
“โซะเมอิโยชิโนะ” เพื่อไม่ให้ซ้ำกับพันธุ์ดั้งเดิมของนารา ว่ากันว่าการที่โซะเมอิโยชิโนะแพร่หลายไป
เกือบทั่วประเทศนับตั้งแต่โทฮกกุ ไปจนถึงคิวชูนั้นมาจากการที่มันบานเฉพาะดอกก่อนค่อยแตกใบ ทำ
ให้เป็นอุโมงค์สีชมพูอ่อน เห็นแต่ไกล ดอกก็ใหญ่ดูอลังการ
อย่างไรก็ตาม สำหรับคนญี่ปุ่น จำนวนไม่น้อย และสำหรับนักชมซากุระและช่างภาพแล้ว
“เอโดะฮิงัง” 1 ใน 9 ซากุระป่าดูจะมีเสน่ห์กว่ามาก ลำต้นที่สูงใหญ่ถึง 15-25 เมตร ดอกทรงเรียวยาว
สีขาวหรือชมพูอ่อนดกเต็มต้น หลายๆ ต้นยังเป็นซากุระพันธ์ย้อย (ชิดะเระ) ที่ยามบานเต็มที่ กิ่งก้าน
จะย้อยลงมาจรดพื้นดินทำให้ดูอ่อนโยนเป็นพิเศษ และเหนือไปกว่าอื่นใด โดยทั่วไปเอโดะฮิงังยังเป็น
ซากุระที่อายุยืนนานมากถึง 3-400 ปี โดดเด่นสง่างามเดี่ยวๆ ตามป่ าเขาลำเนาไพรหรือริมคันนา เอ
โดะฮิงังสามต้นใหญ่ที่มีชื่อเสียงก็เช่น “ทะรุมิ โนะ โอซากุระ” ในจังหวัดเฮียวโกะ อายุ 1,000 ปี
“อุสุซุมิ ซากุระ” จังหวัดกิฟุ อายุ 1,500 ปี และ “ชินไดซากุระ” จังหวัดยามานาชิ อายุ 2,000 ปี จาก
ชื่อของมันทำให้คนญี่ปุ่นบางคนเข้าใจผิดว่า เอโดะฮิงัง ถือกำเนิดในแถบเมืองเอโดะหรือโตเกียว ทั้งๆ
ที่ในโตเกียวไม่พบเอโดะฮิงังตามธรรมชาติ ก่อนหน้านี้มันยังมีชื่อเรียกอื่ นๆ อีก เช่น “อะซุม่ะฮิงัง”
หรือ “อุบะฮิงัง”
คำว่า “ฮิงัง” หมายถึงเทศกาลรำลึกถึงบรรพบุรุษในฤดูใบไม้ผลิราวกลางถึงปลายเดือน
มีนาคม ซึ่งเป็นช่วงที่เอโดะฮิงังเบ่งบานพอดี ผู้รู้อธิบายว่าตามธรรมชาติของเอโดะฮิงัง ซึ่งเป็นซากุระ
ป่าแล้ว จะไม่เกิดพันธุ์ย้อยได้เลย แต่ เมื่อต้นแก่ลงจะขาดฮอร์โมน Gibeerellin ซึ่งเป็นตัวเร่งการ
เจริญเติบโตด้านแนวตั้งของเซลส์กิ่งจึงไม่ยืดยาวขึ้นไปด้านบน แต่กลับย้อยลงมาด้านล่าง เมื่อเอากิ่งที่
ย้อยมาชำแพร่พันธุ์ก็จะได้ซากุระพันธุ์ย้อย ซึ่งงดงามมาก ยิ่งย้อยมากและยิ่งต้นใหญ่โตก็ยิ่งทั้งสง่างาม
และอ่อนโยน บางต้นมีประวัติเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของตระกูลซามูไรที่มีชื่อเสียง บางต้นเป็นที่
ชื่นชอบของโชกุนสำคัญๆ ในอดีต และยังอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ แม้โชกุนหรือซามูไรนั้นๆ จะดับสูญไป
แล้ว
คำว่า "ซากุระ" ในภาษาญี่ปุ่นนั้นเชื่อกันว่ากร่อนมาจากคำว่า "ซากุ ยะ" (咲耶 หมายถึง
ผลิบาน) อันเป็นชื่อของเทพธิดา "โคะโนะฮะนะซากุยะฮิเมะ" (木花之開耶姫) ในเทพปกรณัมของ
ญี่ปุ่น มีศาลบูชาของพระองค์อยู่บนยอดเขาฟุจิด้วย สำหรับพระนามของเทพธิดาองค์ดังกล่าวนั้น มี
ความหมายว่า "เจ้าหญิงดอกไม้บาน" และเนื่องจากซากูระเป็นดอกไม้ที่นิยมกันมากในญี่ปุ่ นสมัยนั้น
คำว่าดอกไม้ดังกล่าวจึงหมายถึงดอกซากุ ระนั่นเอง เทพธิดาองค์ดังกล่าวได้รับพระนามเช่นนั้ น ก็
เพราะมีเรื่องเล่ามาว่าทรงตกจากสวรรค์มาบนต้นซากุ ระ ดังนั้น ดอกซากุ ระจึงถือเป็นตัวแทนของ
ดอกไม้ญี่ปุ่น ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศให้ดอกเบญจมาศ เป็นดอกไม้ประจำชาติ31

31
Ryo Sakurai, “Culture and climate change: Japanese cherry blossom festivals
27

ภาพทึ่7 ดอกทสึบากิ
ที่มาภาพ: All About Flowers, FROM THE GARDEN OF ZEN: A Tsubaki camellia flower in Jochiji,
accessed September 30, 2019, available from http://iloveflowers7.blogspot.com/2016/12/from-
garden-of-zen-tsubaki-camellia.html

2.3.1.4 Camellia Japonica หรือ ดอกทสึบะกิ (椿) เป็นดอกไม้ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก


โดยทั่วไปจะมีสีแดงสด ดอกเรียวๆ เส้นผ่าศูนย์กลางดอกราว 3-10 เซนติเมตร แบบกลีบเดี่ยวมีกลีบ
5-6 กลีบ บางพันธุ์จะเป็นสีชมพู ขาว หรือแดงลายขาว แบบกลีบซ้อนมีหลายชนิดเช่นกัน และมักจะ
กลม บางพันธุ์มีถึง 50 หรือ 100 กลีบ เริ่มบานจากราวเดือนมกราคมไปจนถึงมีนาคม มีถิ่นกำเนิด
ดั้งเดิมในญี่ปุ่น และจีน บางสายพันธุ์พบในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เช่นที่ เวียดนาม ชื่อภาษาอังกฤษ
ที่ว่า Camellia นั้นสืบเนื่องมาจากนักสอนศาสนาชาวเชคโก นาย Kamell ได้นำดอกทสึบะกิ จาก
ประเทศฟิลิปปินส์ไปเผยแพร่ในยุโรปราวศตวรรษที่ 1832
ก่อนหน้านั้นนานมาแล้วที่คนญี่ปุ่นรู้จักดอกทสึบะกิจากศัพท์ที่ว่า “Sen-nen Tsubaki”
หรือ “ทสึบะกิ ดอกไม้พันปี” เพราะต้นทสึบะกิหรือคาเมลเลียญี่ปุ่นเป็นต้นไม้ที่มีอายุยืนนาน แม้ใน
ฤดูหนาวใบของมันก็ไม่แห้งเหี่ยวยังคงเขียวเข้มเป็นมันส่องประกายตลอดทั้งปี ทำให้ผู้คนเชื่อว่าทสึบะ
กิเป็นสัญลักษณ์ของ “การมีอายุมั่นขวัญยืน” ใช้เป็นไม้มงคลในการขับไล่ความไม่ดีไม่งามในวันปีใหม่
ภาษาดอกไม้สำหรับ ทสีบะกิได้แก่ “งามแบบไม่ต้องเสริมแต่ง” “ถ่อมเนื้ อถ่อมตน” “อ่อนโยน และ

and stakeholders’ knowledge and attitudes about global climate change” (a School of Natural
Resources & Environment and Department of Wildlife Ecology and Conservation, University of
Florida, 2010)
32
TPA news, ภาษาดอกไม้, เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2562, เข้าถึงได้จาก
http://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/88/ContentFile1784.pdf
28
สง่างาม” ซึ่งต่างก็ดูเหมาะกับโลกทัศน์ของคนญี่ปุ่นมาก ด้ วยเหตุนี้ในโลก “วะบิสะบิ” (เรียบง่าย แต่
งดงาม) ของการชงน้ำชามักใช้ดอกทสึบะกิเพียงดอกเดียวปักแจกันประดับไว้ในห้องชงชาเล็กๆ ที่มีแต่
แสงจากธรรมชาติสาดส่องเข้ามานอกจากความงาม และความหมายของดอกทสึบะกิข้างต้นแล้ว
ผู้หญิงญีป่ ุ่นยังรู้จักใช้น้ำมันที่กลั่นจากเมล็ดทสึบะกิเพื่อรักษาผมให้ดำงามมากันตั้งแต่สมัยเฮอัน (ค.ศ.
794-1185)
น้ำมันสึบากิในญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักกันมานานหลายพันปี ในฐานะที่เป็นน้ำมันสำหรับใช้
ทำอาหาร แต่ในเกาะโอชิมะของญี่ปุ่น เหล่าหญิงสาวที่เก็บเกี่ยวน้ำมันเป็นที่รู้ จักกันว่ามีผมยาวสลวย
มากและมีผิวที่เปล่งปลั่ง แล้วก็ทำให้ได้พบว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะพวกเธอได้ทาน้ำมันที่เก็บเกี่ยวมาจาก
เมล็ดกับผมและผิวหนังของพวกเธอ และนั่นคือสาเหตุที่ทำไมหญิงสาวญี่ปุ่นทุกคนเริ่มใช้สึบากิเพื่อ
ความงาม เหล่าเกอิช าเองก็ร ั บ เอาเคล็ ดลับ ความงามนี้ มา และเริ่มใช้น้ำมั น คะมิ ล เลีย เพื่ อ ล้ า ง
เครื่องสำอาง ด้วยน้ำมันเพียงไม่กี่หยดเท่านั้นก็สามารถลบกระทั่งการแต่งหน้าที่หนาที่สุดออกได้33
ดอกทสึบะกิ ปรากฏชื่อในเอกสารทางประวัติศาสตร์ เช่น จากหนังสือ “Kojiki” และ
“Nihon-shoki” โดยใช้ตัวหนังสือคันจิแตกต่างกัน ตัวหนังสือคันจิที่ใช้ในปัจจุบันหรือ 「椿」 นั้นเป็น
ตัวคันจิที่ใช้เฉพาะในญี่ปุ่นเท่านั้นแปลตรงตัวว่า “ดอกไม้ฤดูใบไม้ผลิ” น่าจะเพราะว่าสามารถบาน
คงทนไจนถึงราวเดือนมีนาคมหรือพฤษภาคมในบางพื้นที่ พบเป็นครั้งแรกใน“Manyoshu” อันเป็น
หนังสือรวมกลอน และเพลงสั้นเกี่ยวกับดอกไม้ของราชวงศ์ และขุนนางชั้นสูงในปลายศตวรรษที่ 7 ถึง
ต้นศตวรรษที่ 8 ชื่อที่อ่านว่า “ทสึบะกิ” นั้นสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากใบมันเป็นประกายหรือ “ซึ
ยะบะกิ” แต่ที่น่าแปลกใจคือในรวมบทเพลง และกลอนดังกล่าว กลับพบกลอนที่ใช้ดอกทสึบะกิ
บรรยายไม่มากนักเมื่อเทียบกับดอกซากุระหรือดอกไม้อื่นที่เข้ามาในญี่ปุ่นจากประเทศเพื่อนบ้าน
ทสึบะกิในสมัยนั้นยังคงเป็นดอกไม้ ต้นไม้มงคล และน้ำมันสำหรับรักษาเส้นผมของหญิง
สาวเท่านั้น เพิ่งจะมาเป็นดอกไม้ชมกันในสวนในสมัยมุโระมะจิ (ค.ศ.1336-1573) และสมัยอะซึจิ
โมะโมะยะมะ (ค.ศ.1573-1603) เป็นต้นมา ทั้งนี้เพราะบรรดาขุนนางพระสงฆ์ทั้งหลายต่างพากัน
หลงไหลในพิธีชงชา นำเอาดอกทสึบะกิมาประดับห้องน้ำชาหรือปลูกไว้ชมในสวน
เรื่องราวเกี่ยวกับ ทสึบะกิที่โด่งดังจนเป็นเรื่องถ่ายทอดกันต่อมาคือในปี ค.ศ.1603 เมื่อ
พระสงฆ์กิเอนเจ้าอาวาสวัดไดโกะซัมโบอินในเกียวโตได้ส่งดอกทสึบะกิสีขาวซึ่งไม่พบในกรุงเอโดะมา
เป็นของกำนัลแก่โทะคุคะวะ อิเอะยะสุ โชกุนคนแรกที่รวบรวมประเทศในสมัย เอโดะ (ค.ศ.1603-
1868) ต่อมาอิเอะทะดะ โชกุนคนที่สองได้สั่งให้ไดเมียวทั่วประเทศนำส่งดอกทสึบะกิสายพันธุ์ต่างๆ
เข้ามาให้ชม จนเป็นที่สนใจของบรรดานักรบจากมณฑลต่างๆ มีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆมากมาย
33
Alexis Lavaud, “Tsubaki (Camellia japonica) cold-pressed oil: composition,
protection from oxidation and moisturizing properties” (Naturex SA, Site d’Agroparc, 2014)
29
เห็นได้จากหนังสือที่เกี่ยวข้องจำนวนหลายต่อหลายเล่ม และจากภาพฮยะคุจินสุ (百椿図) สีสัน
งดงามยาว 24 เมตรที่ศิลปินในสมัยนั้นวาดภาพดอกทสึบะกินานาพันธุ์ไว้

ภาพที8่ ภาพฮยะคุจินสุ (百椿図) ยาว 24 เมตร


ที่มาภาพ: Nezu Museum, 百椿図, accessed October 3, 2019, available from http://www.nezu-
muse.or.jp/jp/collection/detail.php?id=10701

ปัจจุบันนี้ลำพังในญี่ปุ่น เชื่อกันว่ามีดอกทสึบะกิกว่า 1,000 ประเภท และหากรวมสายพันธุ์


ต่างๆ ทั่วโลกอาจมีถึง 4,000-6,000 ประเภททสึบะกิที่นิยมแพร่หลายกันมากในญี่ปุ่นนั้น ได้แก่
1. ยะบุทสึบะกิ ดอกเรียวใหญ่ กลีบหนา เวลาร่วงจะร่วงทั้งดอกเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของญี่ปุ่น
และเป็นพันธุ์ที่นิยมนำมาทำเป็นน้ำมันใช้กับเครื่องสำอางค์
2. ยุคิทสึบะกิ ดอกเรียวใหญ่ ร่วงทั้งดอกเช่นกัน ใบจะเล็กละเอียด พบเฉพาะพื้นที่หนาว
เย็นทางฝั่งทะเลญี่ปุ่น
3. ซะซังกะ ดอกออกกลม กลีบแบนราบเวลาบานเต็มที่ และจะร่วงทีละกลีบๆ เริ่มบาน
ตั้งแต่กลางฤดูใบไม้ร่วง
4. คังทสึบะกิ ดอกเล็กๆ บานช่วงที่อากาศหนาวเย็นจัด ร่วงทั้งดอกเช่นกัน
5. นัทซุทสึบะกิ บานในฤดูร้อน
เหตุผลที่ดอกทสึบะกิเป็นที่ชื่นชอบของคนญี่ปุ่นว่า “น่าจะมาจากความงามภายนอก เช่น สี
และรูปร่างส่วนหนึ่ง กับความรู้สึกทางใจของคนญี่ปุ่นที่ถ่ายทอดผ่านดอกทสึบะกิ” ทั้งจาก “ความ
อดทน” (忍従性)“,“ความมุ่งมั่น” (意気地) และ “การยอมรับความพ่ายแพ้อย่างเฉียบพลัน” (あき
らめ) ดอกทสึบะกิที่งามได้แม้ในความหนาวเย็น และร่วงลงดินหรือพื้นหิมะขาวโพลนทั้งๆ ที่ยังงดงาม
30
อยู่จึงเป็นเสมือนโลกทัศน์ความงามของคนญี่ปุ่นที่พอใจจะจบชีวิตเยี่ยงซามูไรหรือเกษียณตนเองใน
ขณะที่ยังไม่ชราเป็นภาระกับบริษัทหรือองค์กร34

ภาพที9่ ดอกโมะกุเรน
ที่มาภาพ: mimimin, 白木蓮(ハクモクレン)の花言葉&写真, accessed October 5, 2019,
available from mimimin.com/hakumokuren/

2.3.1.5 Magnolia หรือ โมะกุเรน (木蓮) เป็นดอกไม้ประจำฤดูใบไม้ผลิที่แทบทุกคนรู้จัก


กันดี หน้าตาคล้ายลิลลี่แรกบาน ดอกเรียวๆ หันหน้าชี้ฟ้า ขนาดค่อนข้างใหญ่ แยกเป็นแบบดอกสีม่วง
หรือ “ชิโมะกุเรน” กับแบบดอกสีขาวหรือ “ฮะกุ โมะกุเรน”
ชิโมะกุเรน มีลำต้นไม่สูงใหญ่นัก อย่างเก่งก็ราว 4 เมตรเศษ เส้นผ่านศูนย์กลางของดอก
ราว 5 เซนติเมตร กลีบด้านนอกเป็นสีม่วงเข้มด้านในม่วงอ่อน กลีบจะไม่คลี่บานเหมือนกุหลาบหรือ
ดอกไม้อื่น โดยจะโรยไปก่อน ชิโมะกุเรนเริ่มชมได้งามในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ส่วนฮะกุโมะ
กุเรนลำต้นสูงใหญ่กว่า 15 เมตรขึ้นไป ตัวดอกก็ใหญ่ด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางราว 15 เซนติเมตร มัก
บานตั้งแต่ราวปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน หากปีใดที่หมอกลงหนากลีบขาวบริสุทธิ์ของฮะ
กุโมะกุเรน จะกลายเป็นสีน้ำตาลด่างๆ ก่อนร่วงโรยไปอย่างรวดเร็ว

34
The International Camellia Society, 山茶花的花, accessed October 3, 2019, available from
http://wwwws.gov.taipei/001/Upload/public/mmo/pkl/%E5%B1%B1%E8%8C%B6%E8%8A%B1%E
8%A7%80%E8%B3%9E%E5%8F%8A%E6%A0%BD%E5%9F%B9%E6%89%8B%E6%9C%AD%E6%91
%BA%E9%A0%81-1021227-04.pdf
31
ทั้งชิโมะกุเรน และฮะกุโมะกุเรน มีต้ นกำเนิดในประเทศจีน ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเข้ามาใน
ญี่ปุ่นตั้งแต่เมื่อใด แต่จากหนังสือ “เอนเงโชะ” หรือหนังสือแต่งสวนที่ออกวางขายใน สมัยเอโดะก็พบ
ชื่อของโมะกุเรนทั้งสองสายพันธุ์แล้ว จึงเชื่อว่าโมะกุเรนเผยแพร่เข้ามา ในญี่ปุ่นก่อนหน้านั้นแน่ และ
ด้วยความที่โมะกุเรนหน้าตาละม้ายคล้ ายดอกบัวก่อนเบ่งบานเต็มที่ ชาวจีนจึงใช้ตัวหนังสือคันจิที่
หมายถึงดอกบัว ( 蓮) บนต้นไม้สูง ( 木) หรือ「木蓮」กำกับเป็นชื่อไว้ และนิยมปลูกตามวั ดหรื อ
พระราชวัง ทำให้เมื่อโมะกุเรนเข้ามาในญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นก็มักนำไปปลูกตามวัด และศาลชินโตทั่วไป
เช่นกัน35
แท้จริงแล้ว โมะกุเรนมีสายพันธุ์หลากหลายมากกว่า 90 ชนิดพบได้ทั่วไป ทั้งในทวีปเอเซีย
และอเมริกา สำหรับในอเมริกามีสายพันธุ์ไทสังโบะกุ ซึ่งทั้งดอก และใบมีขนาดใหญ่สีขาว สายพันธุ์โฮ
โอะ โนะคิ โคะบุชิ ชิเดะโคะบุชิ ฯลฯ ถือเป็นหนึ่งในสามดอกไม้ หลักที่ถูกนำไปใช้เป็นวั ตถุดิบในการ
ทำน้ำหอม (อีกสองอย่างคือ คาเมลเลีย และอาซาเลีย)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Magnolia liliflora ซึ่งมาจากศาสตราจารย์ Pierre Magno นัก
พฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้ค้นพบโมะกุเรนคนแรก liiliflora มาจากการที่ยามเริ่มบานจะคล้ายดอกลิล
ลี่ โมะกุเรนจัดเป็นไม้ที่มีเ มล็ด แต่ถูกหุ้มไว้มิดชิดแถมเกสรตัวเมียยังเติบโตขณะที่ดอกยังไม่คลี่บาน
ในขณะที่เกสรตัวผู้จะโตหลังกว่านั้นมาก ทำให้ไม่อาจผสมพันธุ์ภายในดอกเดียวกันเองได้ ต้องอาศัย
แมลงหอบเอาเกสรจากดอกอื่นมาผสมเท่านั้น จากฟอสซิลกว่า 100 ล้านปีที่แล้ว พบว่าโมะกุเรนมี
รูปร่างหน้าตาเช่นที่เห็นทุกวันนี้มาแต่ดึกดำบรรพ์ เรียกได้ว่าเป็นต้นไม้มีดอกที่เก่าแก่ที่สุดในโลกก็ว่า
ได้
ภาษาดอกไม้ของโมะกุเรน หมายถึง “ความรักที่ยั่งยืนต่อธรรมชาติ” “ความสง่างาม”
“ความกตัญญู” จากหนังสือกลอนเกี่ยวกับดอกไม้ของโฮะชิโนะ โทะมิฮิโร ที่ใช้ชื่อเรื่องว่า “ซุ ซุโนะนา
รุมิจิ” (ถนนที่มีเสียงระฆัง , ไคเสชะ, 1986) มีบทกลอนสั้นๆ ที่สื่อให้เห็นเอกลักษณ์ของโมะกุเรนได้
ชัดเจนดังนี้36

35
mimimin, 白木蓮(ハクモクレン)の花言葉&写真, accessed October 5, 2019,
available from mimimin.com/hakumokuren/
36
TPA news, ภาษาดอกไม้, เข้าถึงเมื่อ 11 ตุลาคม 2562, เข้าถึงได้จาก
http://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/120/ContentFile2343.pdf
32
“ตั้งตรง สง่างามเฉพาะช่วงแรกๆ เท่านั้น
สักพักก็จะสีหม่นเฉา เหี่ยวแห้ง โรยราไปกับสายลม
แต่ฉันก็ยังชอบโมะกุเรน
มันมีอะไรที่ละม้ายฉันไม่น้อย
โมะกุเรนบานงดงามภายใต้ฟ้าสีคราม”
ในวันที่ลมแรงๆ จัดๆ กลีบเรียวใหญ่มีน้ำหนักค่อนข้างมากของโมะกุเรนที่บานเต็มที่แล้ว
จะพร้อมใจกันโรยลงมาใต้ต้น เสมือนเจ้าดอกไม้กำลังส่งสัญญานให้ลำต้น และกิ่งก้ านว่า “หมดเวลา
ของฉันแล้วนะ”

2.3.2 ดอกไม้ในฤดูร้อน (夏の花)

ภาพที1่ 0 Japanese Interior with Summer Flowers


ที่มาภาพ: Josiah Conder, The Flower of Japan and The Art of Floral Arrangement, (Tokyo:
Kodansha International,2002)

2.3.2.1 Hydrangea หรือ อะจิไซ (アジサイ) คนทั่วโลกรู้จักอาจิไซในนามของดอกไฮ


เดรนเยีย และคงเข้าใจกันว่าเป็นดอกไม้ของตะวันตก ทั้งๆ ที่แท้จริงแล้วเป็นดอกไม้ที่มีถิ่นกำเนิดใน
ญี่ปุ่นมาตั้งแต่โบราณกาล เอกสารชิ้นเก่าแก่ที่สุดที่บันทึกเกี่ยวกับอาจิไซคือหนังสือรวมบทเพลง “มัน
โยชู” ในสมัยนาราซึ่งเป็นหลักฐานแสดงว่าอาจิไซมีปลูกกันตามสวนของราชวงศ์หรือขุนนางญี่ปุ่น
ตั้งแต่เมื่อราวกว่า 1,200 ปีมาแล้ว ถึงแม้จะไม่มีภาพวาดหรือข้อเท็จจริงเป็นลายลักษณ์อักษรว่า อาจิ
33
ไซที่พบในบทเพลงดังกล่าวเป็นอาจิไซพันธุ์ใดก็ตาม แต่ผู้เชี่ยวชาญก็ปักใจเชื่อว่ามันเป็นอาจิ ไซพันธุ์
“กักกุ อาจิไซ” ซึ่งเป็นพันธุ์ดั้งเดิมขึ้นตามป่าเขาของญี่ปุ่นดอกมีกลีบเดี่ ยวราวไม่เกิน 10 กว่าดอก
รอบๆ ดอกเล็กๆ ที่เหมือนเกสร มีใบเขียวเข้มขนาดใหญ่ ดั้งเดิมเป็นสีฟ้าหรือฟ้าอมม่วง37
เมื่อญี่ปุ่นยังปิดประเทศอยู่ในปลายสมัย เอโดะ นายแพทย์ซีโบลด์ (Philipp Franz B.von
Siebold) ชาวเยอรมันที่มากับเรือสินค้าของฮอลแลนด์ และเข้ามาพำนักที่เมื องนางาซากิเป็นคนแรก
ที่นำเอากักกุ อาจิไซของญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งพร้อมตัวอย่างดอกไม้แห้ง และภาพวาดกลับไปที่ยุโรป เขา
ได้แนะนำดอกไม้เหล่านี้ไว้ในหนังสือเรื่อง Flora Japonica ซึ่งเขาเขียนร่วมกับเพื่อนนักพฤกษศาสตร์
และยังได้ตั้งชื่ออาจิไซชนิดหนึ่งที่นำกลับไปว่า Hydrangea Otakusa อันเป็นชื่อของ “โอตะกิ”
ภรรยาชาวญี่ปุ่นที่ต้องมาจากกันเมื่อเขาถูกบังคับให้ออกนอกประเทศไปในเหตุการณ์ต่อต้านคน
ต่างชาติปลายสมัยเอโดะในปี 1829 จากนั้นเป็นต้นมา อาจิไซของญี่ปุ่นก็ได้รับการแปลงพันธุ์มากมาย
ในยุโรป มีทั้งกลีบซ้อน ช่อเรียวยาว ช่อกลม สีสันก็หลากหลายมากขึ้น

ภาพที1่ 1 ดอกอะจิไซ
ที่มาภาพ: 木通野みのる, 6月はアジサイの季節。アジサイにはたくさんの逸話が
ありました, accessed October 5, 2019, available from
https://tenki.jp/suppl/daaaaamegane/2017/06/10/23311.html

อาจิไซที่ได้รับการแปลงพันธุ์จำนวนหนึ่งได้ถูกนำกลับ เข้ามาในญี่ปุ่นอีกครั้ง พร้อมๆ กับที่นัก


พฤกษศาสตร์ และผู้รักการปลูกอาจิไซเองก็พากันแปลงพันธุ์ใหม่ๆ ขึ้นมากมายจนปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญ

37
TPA news, ภาษาดอกไม้, เข้าถึงเมื่อ 12 ตุลาคม 2562, เข้าถึงได้จาก
http://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/94/ContentFile1918.pdf
34
เชื่อว่ามีมากกว่า 2,000 ชนิด จากการสำรวจเกี่ยวกับดอกไม้ที่คนญี่ปุ่นชื่นชอบของ NHK ในปี 2003
ต่อผู้คนที่มีอายุเกินกว่า 16 ปีขนึ้ ไปจำนวน 3,600 คนซึ่งอาศัยอยู่ทั่วประเทศ พบว่าอาจิไซติดอันดับที่
10 ในดอกไม้สิบอย่างที่คนญี่ปุ่นชื่นชอบมากกว่าดอกวิสทีเรียหรือดอกเบญจมาศ ซึ่งเป็นดอกไม้
ประจำชาติด้วยซ้ำไป
อย่างไรก็ตามอาจิไซที่คนญี่ปุ่นชอบก็ยังคงเป็นอาจิไซสีฟ้าสด โดยเฉพาะอาจิไซสี “เมเงทซึอิน
บลู” ซึ่งหมายถึงอาจิไซพันธุ์ฮิเมะที่วัดเมเงทซึอิน วัดพุทธเก่าแก่ในเมืองคามาคุระ จังหวัดคานากาว่า
อันเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของญี่ปุ่น
เสน่ห์ประการแรกอยู่ที่ “สีสันที่หลากหลาย” (ชิจิเฮนกะ) ของมัน อาจิไซพันธุ์เดียวกันอาจ
เป็นสีฟ้าหากดินเป็นกรด เพราะอลูมิเนียมในดินจะละลายและถูกดูดซึมไปที่ดอก แถมบางดอกยังเป็น
สีฟ้าบางดอกยังออกเป็นสีม่วงทั้งนี้แล้วแต่การดูดซึมอลูมิเนียมของแต่ละดอกอีกด้วย และหากดินเป็น
ด่าง ดอกก็จะออกสีชมพู ในญี่ปุ่นจะพบอาจิไซสีฟ้าตามธรรมชาติมากกว่าอาจิไซสีชมพู เพราะดินใน
ญี่ปุ่นเป็นกรด ขณะที่ดินในยุโรปมักเป็นด่าง และไม่ว่าอาจิไซสีฟ้าหรือชมพูก็ตาม ตั้งแต่แรกบานจนถึง
โรย สีของดอกยังเปลี่ยนสีสันอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย จุดนี้เองที่ทำให้ผู้คนหลงใหลในความงามของอาจิ
ไซ
เสน่ห์ประการที่สองดูเหมือนจะอยู่ที่ฟอร์มของดอกอาจิไซที่มีทั้งกลีบกลม กลีบเรียว กลีบ
หยัก แม้ในช่อเดียวกันบางดอกมี 5 กลีบ บางดอกมี 4 กลีบ ซ้อนกันไปมาดังเพชรที่เจียระไนงดงาม
จากรูปร่าง และสีสันอ่อนโยนนี้เองทำให้ช่างฝีมือกิโมโน ถ้วยชาม พัด และขนมนำไปออกแบบผลงาน
ของตนกันตามๆ เสน่ห์ประการสุดท้ายคือความทนทานของทั้งต้นและดอกอาจิไซ ไม่ว่าฝนจะตก แดด
จะแรงแค่ไหน อาจิไซก็บานงดงามได้ตลอด และจะงามดังเพชรเจียระไนแล้วจริงๆ เมื่อโดนแดดอ่อนๆ
กระทบหลังเปียกน้ำฝน38
อาจิไซพันธุ์ “ชิจิดังกะ” (七段花 = เจ็ดชั้น) ที่นายแพทย์ซีโบลต์เคยนำกลับไปยุโรป และตั้ง
ชื่อมันโดยใช้ชื่อภรรยา “โอตะกิ” (ปัจจุบันในวงการวิชาการเลิกใช้แล้ว) ด้วยกลีบที่ ซ้อนกัน 7 ชั้น
ดอกเล็กๆ จิ้มลิ้มของมันน่ารักน่าเอ็นดู ผู้คนที่รู้เรื่องราวของนายแพทย์ซีโบลต์มักอดที่จะนึก ถึง
ครอบครัวของเขาไม่ได้ และก็พลอยยินดีกับลูกสาว “อิเนะ” ที่ต้องจากกับบิดาตั้งแต่ 3 ขวบซึ่งต่อมา
โตเป็นสูตินารีแพทย์คนแรกของญี่ปุ่น และยังเข้าทำหน้าที่แพทย์ในราชสำนักในสมัยเมจิอีกด้วย39

38
木通野みのる, 6月はアジサイの季節。アジサイにはたくさんの逸話が
ありました, accessed October 5, 2019, available from
https://tenki.jp/suppl/daaaaamegane/2017/06/10/23311.html
39
TPA news, ภาษาดอกไม้, เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2562, เข้าถึงได้จาก
http://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/94/ContentFile1918.pdf
35

ภาพที1่ 2 ดอกฟุจิ
ที่มาภาพ: Sugawara Florist, フジ(藤) , accessed October 10, 2019, available from
http://sugawara.tokyo/dictionary/fuji

2.3.2.2 Wisteria Blossoms หรือ ดอกฟูจิ (藤) มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย เช่น เกาหลี จีน
และญีป่ ุ่น รวมไปถึงฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ทำให้มีหลากหลายสีและสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่
นิยมเพาะปลูกกันมากคือ สายพันธุ์เจแปนนีสวิสทีเรีย (Japanese Wisteria) และสายพันธุ์ไชนีสวิสที
เรีย (Chinese Wisteria)
ดอกฟูจิ เป็นพืชวงศ์ถั่ว ในสกุลไม้ดอก บางสายพันธุ์ลำต้ นและดอกมีพิษ เป็นพันธุ์ไม้ที่มี
ความเก่าแก่และมักจะถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงในกวีหลายยุคหลายสมัย Noda Fuji (Japanese
Wisteria) มีชื่อเรียกต่างกันไปตามสีของดอก เช่น Usubeni fuji (ชมพูอ่อน), Murasaki fuji (ม่วง),
Naga fuji (พันธุ์ยาว), Yae kokuryu (กลีบซ้อน), and Shiro fuji (ขาว), และ Kingusari (สีเหลือง)
หรือต้นชัยพฤกษ์ในประเทศไทย เป็นดอกไม้ที่มีความสำคัญกับคนญี่ปุ่นไม่แพ้ดอกซากุระ ดอกวิสทีเรีย
ยังถูกหยิบยกเข้ามาในแฟชั่นแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น เช่น kanzashi และ กิโมโน อีกทั้งยังเป็นแม่แบบ
ของลายกิโมโนซึ่งเกี่ยวข้องกับชนชั้นสูง ตระกูลขุนนางเนื่องจากชาวสามัญถูกห้ามไม่ให้สวมสีม่วง40

40
Sugawara Florist, フジ(藤) , accessed October 10, 2019, available from
http://sugawara.tokyo/dictionary/fuji
36

ภาพที1่ 3 ดอกไอริสจากภูเขาไฟฟูจิ
ที่มาภาพ : Easytogrowbulbs, Japanese Iris Mt Fuji, accessed October 15, 2019, available from
https://www.easytogrowbulbs.com/collections/white/products/japanese-iris-mt-fuji

2.3.2.3 Irises ดอกไอริส หรือ อีกชื่อในภาษาญี่ปุ่นว่า “อายาเมะ” ( 菖蒲) มีความหมาย


ว่า เรื่องดีๆ กำลังจะมา จึงทำให้ดอกอายาเมะมักจะถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อถึงความหวัง ความ
กล้า และการให้กำลังใจสำหรับชาวญี่ปุ่น ดอกอายาเมะจะมีลักษณะเด่นอยู่ ตรงสีม่วงสดใส ขนาดของ
ดอกประมาณ 8 เซนติเมตร และจะบานพร้อมกันทั่วทั้งประเทศในช่วงเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือน
มิถุนายน
นับตั้งแต่ที่เมล็ดข้าวแพร่พันธุ์เข้ามาในญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยโจมง (Jomon) ชาวไร่ ชาวนา มัก
อาศัยดอกไอริสที่มักบานก่อนฤดูฝนมาเยือนทำหน้าที่เป็นสัญญานบอกเวลาลงกล้าในนา หลังจากที่ได้
เริ่มหว่านเมล็ดไว้ตั้งแต่เมื่อซากุระร่วงโรยไป ราวกลางหรือปลายเดือนเมษายน ดอกไอริสจึงเป็น
ดอกไม้สัญลักษณ์ของฤดูฝนอย่างหนึ่ง (เดือนมิถุนายน) และเป็นหนึ่งในดอกไม้ที่อยู่คู่กับชาวญี่ปุ่นมา
ช้านาน41
ไอริส คือ เทพีแห่งข่าวสารของพระนางจูโน หรืออีกนัยหนึ่งคือเทพีแห่งสายรุ้ง ชาวกรีก
นิยมปลูกดอกไอริสไว้ที่หลุมศพ เนื่องจากเชื่อกันว่าเทพีไอริสคือผู้นำทางดวงวิญญาณของผู้หญิงไปสู่
สุคติ เนื่องจากเทพีไอริส คือ เทพีประจำพระองค์เทพีจูโน และกลายเป็นสัญลักษณ์ของการพูดจาคม
คาย และความมีพลัง ชาวอียิปต์เชื่อว่า กลีบทั้งสามของไอริส หมายถึงความศรัทธาปัญญา และความ
กล้าหาญ ดอกมีลักษณะเด่นสำคัญคือมีกลีบดอกสามอย่าง ซึ่งเป็นกลีบที่ใ หญ่ที่สุด และจะมีเกสรตัว

41
Sugawara Florist, アイリス , accessed October 10, 2019, available from
http://sugawara.tokyo/dictionary/iris
37
เมีย อยู่เป็น กลีบ ดอกสามกลีบ ที่มีขนาดใหญ่ ดอกไอริส มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ และแถบ
ตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ดอกมีสีฟ้า สีเหลือง สีน้ำเงินอมม่วงและสีม่วง ให้สีที่สวยงาม
คล้ายๆกับสีของดอกกล้วยไม้ และไอริสทุกสายพันธุ์ล้วนมีกลิ่นที่หอมนวลทุกเวลา
“Iris” เป็นภาษากรีก หมายถึง “รุ้งกินน้ำ” มักขึ้นในที่ชื้นหรือในน้ำตื้นๆตัวต้นสูงราวหัว
เข่าของผู้ใหญ่ กลีบของดอกไอริสจะใหญ่ยาวอ่อนระทวยโดยมีจุดเด่นอยู่ที่เกสรที่ใหญ่ตรงกลาง และ
ฟอร์มของดอกที่ตั้งตรงดูสง่างาม ดูเหมือนว่าเอกลักษณ์เหล่านี้จะเป็นที่ถูกใจคนญี่ปุ่นอย่างมาก ทำให้
สามารถพบภาพของดอกไอริสบนแผ่นพับเบียวบุ (Byobu) ตามหนังห้องในวัดวาอาราม หรือเป็นลาย
บนพัดหรือบนกิโมโน รวมทั้งเป็นดอกไม้ที่ใช้ประดับในวันเด็กผู้ชาย เป็นต้น
ดอกไอริสในภาษาญี่ปุ่นมีชื่อเรียกต่างๆ กันไปตามลักษณะสีสัน และพื้นที่ๆบาน แยกได้
เป็นดอกอายะเมะ (Ayame) บานตามไร่นาในที่ๆ มีน้ำระบายได้ดี ที่กลีบของดอกจะมีลายเส้นๆ ซ้อน
กันเห็นได้ชัด คะคิซึบะตะ (Kakitsubata) บานอยู่ริมน้ำ มีลายสีขาวเป็นเส้นเดียวตรงกลางกลีบ และ
ฮะนะโชบุ (Hanashobu) ซึ่งขึ้นในที่ชื้น ที่ขั้วของกลีบจะมีสีเหลือง ความแตกต่างข้างต้นนี้แม้แต่คน
ญี่ปุ่นทั่วไปที่เห็นดอกไอริสกันมาแต่เล็กแต่น้อยก็แยกไม่ออก ต้องอาศัยป้ายบอกหรือสอบถามจากผู้รู้
ในบรรดาดอกไอริ ส ทั ้ ง 3 ชนิ ด ที ่ ก ล่ า วมา ฮะนะโชบุ ด ู จะเป็ น ที ่ น ิ ย มกั น มากที ่ สุ ด
โดยเฉพาะเมื่อได้รับ การพัฒ นาสายพันธุ์จากมัทสุไดระ สะดะโตะโมะ (Matsudaira Sadatomo)
นักรบ (Bushido) ระดับฮะตะโมะโตะ (Hatamoto) ซึ่งโปรดปรานการจัดแต่งสวนแต่เล็ก และได้ผสม
พันธุ์จากดอกดั้งเดิมจนได้พันธุ์ใหม่ๆ กว่า 300 ชนิดในสมัยเอโดะ พันธุ์ที่เขาพัฒนาในครั้งนั้นจัดอยู่ใน
สายพันธุ์เอะโด (Edo-kei) ซึ่งมีหลากสีแต่ส่วนใหญ่จะมีกลีบ 3 กลีบ แต่ละกลีบจะห่างกันเห็นช่องไฟ
เล็กๆ รูปร่างเปรียว ดูสง่างาม แข็งแรงทนทานต่อลม และฝน จึงเหมาะกับการปลูกในที่แจ้ง
ต่อมาหลังจากที่ฮะนะโชบุได้แพร่หลายไปยังมณฑลฮิโงะ (Higo หรือจังหวัดคุมาโมะโตะ
ในปัจจุบัน) นักรบในมณฑลจึงพัฒนาพันธุ์ใหม่ที่เหมาะสมกับการปลูกใส่กระถางไว้ชมในที่ร่มหรือใน
บ้านเรือนและนั่นคือที่มาของสายพันธุ์ฮิโงะ (Higo-kei) ซึ่งมีต้นเตี้ยกว่า มีกลีบที่ใหญ่ โดยกลีบทั้ง 6
จะซ้อนกันอยู่ตรงริมๆ ถึงแม้จะปลูกในที่แจ้งได้ก็ตามแต่ก็ไม่แข็งแรงเท่าใดนัก
ส่วนสายพันธุ์หลักสุดท้ายคือ อิเสะ (Ise-kei) ซึ่งแพร่หลายจากเอโดะไปยังภูมิภาคมัทซุสะ
กะ (Matsuzaka หรือ จังหวัดมิเอะในปัจจุบัน) นั้น จะมี 3 กลีบ แต่ละกลีบจะใหญ่ และย้อยซ้อนกันที่
ริมกลีบ ดูอ่อนช้อยกว่าอีกสองสายพันธุ์
เหตุผลที่นักรบ (Bushido) ในสมัยเอโดะ ให้ความสนใจต่อการพัฒนาสายพันธุ์ของดอกฮะ
นะโชบุนั้น ว่ากันว่า นอกจากจะมาจากความสุขสงบตลอด 300 กว่าปี และธรรมเนียมการเล่นคำเอา
ฤกษ์ยามของคนญี่ปุ่นที่โดนใจนักรบซึ่งให้ความสำคัญกับ “การแพ้ชนะ” (Shobu) แล้วพวกเขายัง
38
มองว่าการทุ่ มเทชีวิตเพื่อพัฒนาดอกไม้ที่อยู่ได้เพียงสามวันหลังจากบานนั้นเป็นเสมือนการฝึกจิต
วิญญานของนักรบ
การพัฒนาสายพันธุ์ของพวกเขาแรกเริ่มเน้นไปที่กลีบ สี และความแข็งแรงทนทาน จึงเกิด
ดอกฮะนะโชบุที่มีกลีบหลายๆ แบบ หลายๆสี ขึ้นมาก่อน ต่อมาจึงมาหันมาให้ความสนใจกับการ
พัฒนาเกสรที่ใหญ่และตั้งเห็นได้ชัดกว่าดอกไม้อื่นๆ ในวงการผู้นิยมปลูกดอกฮะนะโชบุจะไม่เรียกเกสร
ว่า “Oshibe” ซึ่งเป็นศัพท์ที่ใช้กับเกสรดอกไม้ทั่วไป แต่จะเรียกว่า “Shin”(芯)หรือ “แกน” ซึ่ง
หมายถึง “หัวใจสำคัญของต้นไม้ใบหญ้า” การพัฒนาให้ แกนใหญ่ย่อมทำให้ตัวดอกไม้โตตามไปด้วย
ฉันใด การฝึกจิตของคนจึงทำให้คนไม่ขี้ขลาด แต่เป็นคนมีจิตใจกว้างฉันนั้น พวกเขาจึงทุ่มเทกับการ
พัฒนาเกสรดอกฮะนะโชบุกันเป็นแรมปีหรือแม้กระทั่งตลอดชั่วชีวิต ด้วยเหตุนี้จุดแรกสำหรับการชม
ดอกฮะนะโชบุที่ถูกต้องจึงอยู่ที่เกสร42
สำหรับจุดที่สองนั้นว่ากันว่าอยู่ที่สี ที่ไล่โทนสวยงามในดอกเดียวกัน โดยเฉพาะสีม่วง หรือ
สีฟ้าอมม่วงซึ่งดูเย็นตาในฤดูฝนที่ท้องฟ้ามักจะหม่นหมอง อากาศก็จะร้อนอบอ้าว ส่วนจุดที่สามในการ
ชมดอกฮะนะโชบุน ั้น อยู่ที่การจัดวางตำแหน่งของดอกไม้ในสวนให้ดูงดงามเมื่ออยู่รวมๆ กันทั่ว
ประเทศญี่ปุ่น มีแหล่งชมดอกฮะนะโชบุอยู่ราว 200 แห่งด้วยกัน การจัดวางตำแหน่งดูจะเป็นสิ่งสำคัญ
ที่ทุกแห่งเน้น บางแห่งก็ปลูกให้สีต่างๆ ปะปนกัน โดยไม่ให้กอข้างๆ มีสีซ้ำกันในสวนอันกว้างใหญ่บาง
แห่งก็แยกเป็นแถวๆ ตามสีตามพันธุ์ไป แต่ก็ให้ความสำคัญเรื่องสีโดยพยายามเอาสีม่วงเข้มมาปะปน
ไว้ในจุดต่างๆ โดยเฉพาะใกล้กับต้นสีชมพูหรือสีม่วง สีฟ้าอ่อน เพราะหากเอาสีอ่อนๆ ไว้เดี่ยวๆ เมื่อ
มองมาจากไกลๆ จะดูจืดชืดไป บางแห่งก็จัดวางเป็นกอๆ ตามลำธารแคบๆ เสมือนในป่าเขา และบาง
แห่งก็มีการวางเรือลำเล็กๆ โดยมีการปล่อยฝูงเป็ดว่ายไปมา มีศาลา และทางเดินเข้าไปนั่งหรือเดินชม
ได้ถึงกลางสวน เป็นต้น

42
TPA news, ภาษาดอกไม้, เข้าถึงเมื่อ 19 ตุลาคม 2562, เข้าถึงได้จาก
http://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/82/ContentFile1646.pdf
39

ภาพที1่ 4 ดอกโบตัน
ที่มาภาพ: 生活漫步者, 唯有牡丹真国色——牡丹古诗10首 , accessed October 18, 2019,
available from https://k.sina.cn/article_6360832389_17b229985001005elf.html

2.3.2.4 Peonies and Lotus Flowers ดอกโบตั๋นและดอกบัว ดอกโบตั๋นเป็นดอกไม้ที่


นิยมใช้ในงานศิลปะมายาวนาน และหนึ่งในสัญลักษณ์ประจำชาติของจีน โดยถือเป็นดอกไม้แห่ง
จักรพรรดิและความร่ำรวย กับนิยมใช้ในเชิงสัญลักษณ์ในศิลปะจีนอีกด้วย ในประเทศญี่ปุ่น ดอกโบตั๋น
ชนิด Paeonia lactiflora เรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า ebisugusuri (แปลว่า ยาจากต่างแดน) ตามตำรับ
ยาของญี่ปุ่น ถือว่ารากโบตั๋นใช้รักษาอาการชักได้ นอกจากนี้ยังปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ โบตั๋นชนิด
Paeonia suffruticosa ในญี่ปุ่น ถือว่าเป็น เจ้าแห่งบุปผา และชนิด Paeonia lactiflora ถือว่า เป็น
อัครเสนาบดีแห่งบุปผา ภาษาญี่ปุ่นเรียกโบตั๋นว่า โบตัน ( 牡丹) ก่อนสมัยเมจิ เนื้อจากสัตว์สี่เท้าไม่
นิยมบริโภคมากนัก เนื่องจากชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา เมื่อเอ่ยถึงเนื้อสัตว์จึงเลี่ยงมาใช้ชื่อ
ดอกไม้แทน คำว่า โบตัน (ボタン) ถูกใช้เรียกเนื้อหมูป่า มาตั้งแต่ครั้งนั้นจนปัจจุบัน ทั้งนี้ก็เพราะเนื้อ
หมูป่าเมื่อแล่เป็นชิ้นบางๆ จะคล้ายกับดอกโบตั๋นนั่นเอง ในทำนองเดียวกัน ชาวญี่ปุ่นใช้ดอกซากุระ
แทนคำเรียกเนื้อม้า43

43
Sugawara Florist, シャクヤク(芍薬), accessed October 17, 2019, available
from http://sugawara.tokyo/ dictionary/peony
40

ภาพที1่ 5 ดอกฮะซึ
ที่มาภาพ: Sugawara Florist, ハス(蓮), accessed October 20, 2019, available from
http://sugawara.tokyo/dictionary/nelumbo

ดอกบัวมีถิ่นฐานดั้งเดิมในอินเดีย และทวีปเอเซีย เผยแพร่ไปตามประเทศต่างๆ ทั่วโลกใน


ฐานะสัญลักษณ์สำคัญของพุทธศาสนา เรียกกันในภาษาญี่ปุ่นว่า “ฮะสึ”(蓮) เพี้ยนมาจากคำว่า “ฮะ
จิซึ” หรือ “รังผึ้ง” เพราะหลังจากที่ดอกบัวโรยไปจะเหลือฝักบัวที่หน้าตาคล้ายรังผึ้ง ใบจะเขียวขจี
ออกดอกงดงามในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม ราวเดือนกันยายน และพฤศจิกายน เกษตรกรที่เลี้ยง
บัวจะเก็บรากบัวหรือ “เรนกอง” ( 蓮根) ส่งขาย และเมื่อเข้าฤดูหนาวก็จะแห้งกลายเป็นเสมือนตอ
ไหม้ๆ ไปอีกเกือบหนึ่งปีเต็มๆ ความที่คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่ได้เห็นดอกบัวกันตลอดปี เหมือนคนไทยนี้
เอง ที่ทำให้หลายคนมักแยกไม่ออกว่าดอกไหนเป็น “บัวหลวง” (ฮะสึ) ดอกไหนเป็น “บัวสาย” (ซุย
เรน) เพราะบัวทั้งสองชนิดมักอยู่ และบานพร้อมๆ กัน โดยเรียกรวมๆ ว่า “เรงเงะ” ( 蓮華) ซึ่งเป็น
ศัพท์ทพี่ บบ่อยในพุทธศาสนา44
ตามหลักพุทธศาสนา “มหายาน” ของญี่ปุ่น ตามวั ดพุทธต่างๆ ในญี่ปุ่นจึงมีพระโพธิสัตว์
เป็นพระประธานเป็นส่วนใหญ่ และแทบทุกองค์มักประทับนั่งหรือยืนบนฐาน ไดอิซะ( 台座) รูป
ดอกบัวหรือ “เรงเงะซะ” (蓮華座) ด้วยความเชื่อว่าดอกบัวเป็นดอกไม้ที่บริสุทธิ์ สง่างามแม้จะเกิดมา
จากใต้โคลนตม เสมือนผู้ที่บรรลุแสงสว่างของธรรมะไปสู่นิพพานได้ และนอกจากองค์พระโพธิสัตว์บน
ฐานดอกบัวแล้ว ดอกไม้ประดับทำด้วยไม้ลงรักปิดทองก็เป็นดอกบัวเช่นกัน บางวัดยังมีขนมถวายพระ
เป็นรูปดอกบัวอีกด้วย เอกลักษณ์อีกประการหนึ่งของดอกบัวที่ถูกยกมาเกี่ ยวข้องกับคำสอนทางพุทธ
ศาสนา คือ ยามดอกบัวเป็นดอกจะมีผลอยู่ในฝัก ด้วย เปรียบได้กับความเชื่อที่ว่า “ผลย่อมมาจาก
44
TPA news, ภาษาดอกไม้, เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2562, เข้าถึงได้จาก
http://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/95/ContentFile1940.pdf
41
เหตุ” หรือ “อิงกะกุจิ” (因果倶時) ผู้รู้ได้อธิบายเอกลักษณ์เฉพาะของดอกบัวที่มีรากลึกในโคลนตม
แต่สามารถรับอากาศมาเลี้ยงกิ่งก้านดอกใบให้เติบโตงดงามได้ว่า อยู่ที่ “รู” ทั้งที่รากบัว และที่ก้านบัว
โดยที่ก้านบัวจะมีรูเพียง 4 รูคอยส่งอากาศลงไปที่รากบัวใต้ตม รากบัวมีรูตรงกลาง 1 รู และรูรอบๆ
ราว 9 รู แม้รูใดรูหนึ่งหรือหลายรูจะอุดตันไป ก็ยังมีรูอื่นๆ ทำหน้าที่แทนได้
คนญี่ป ุ่น นิย มใช้ร ากบัวมาประกอบอาหาร และยังเชื่อว่า เป็นเมนูมงคลอย่างหนึ่ง รู
มากมายเหล่านี้เชื่อว่าหมายความถึง การสามารถส่องให้เห็นหนทางในวันข้างหน้าได้ “มิโทชิ งะ คิคุ”
(見通しが効く) อาหารปีใหม่และอาหารในงานมงคลต่างๆ จึงมักมีรากบัวอยู่ด้วยเสมอจากความ
งดงามของดอกบัวที่ไม่อาจพบได้จากดอกไม้ชนิดอื่นๆ ข้างต้นนี่เองที่ ทำให้ดอกบัวได้รับเลือกให้เป็น
สัญลักษณ์ของพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า45
นักพฤกษศาสตร์ให้ความรู้ว่า แท้จริงแล้วดอกบัวไม่ได้เพิ่งถือกำเนิดในสมัยพุทธกาล แต่
เชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์แล้วเพราะมีการค้นพบซากดอกบัวที่แข็งตัวเป็นฟอสซิล แม้ในปัจจุบัน
นี้ดอกบัวก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของดอกไม้ดึกดำบรรพ์อยู่หลายประการ ตั้งแต่กลีบที่สลับซับซ้อน
หลายชั้น เกสรตัวผู้ และตัวเมียจำนวนนับไม่ถ้วนที่อยู่ปะปนกัน แถมเกสรตัวเมียก็ห่างจากกันเรียงราย
ไม่เป็นระเบียบ ต่างกับดอกไม้ที่วิวัฒนาการตนเองไปตามกาลเวลาใหม่ๆ ซึ่งมักมีเกสรตัวผู้ และตัวเมีย
แยกกันอย่างมีระเบียบและมีจำนวนน้อยลงได้สมดุล
ส่วนเหตุผลที่ดอกบัวเวลาบานเต็มที่มีลักษณะแบนราบเหมาะกับการเป็นฐานพระพุทธรูป
นั้น นักพฤกษศาสตร์มองว่ามันเป็นเอกลักษณ์ประการหนึ่งของดอกไม้ดึกดำบรรพ์ ที่หลังจากสมัย
ไดโนเสาร์เป็นต้นมา มีแมลงปีกแข็ง เช่น ด้วงมาเป็นพาหะในการผสมเกสรแทนลม แต่แมลงเหล่านี้ไม่
สามารถบินได้ดีเหมือนผึ้งหรือผีเสื้อพอไปเกาะที่ดอกไม้ก็มักจะหมุนตัวไปมาอย่างเชื่องช้า ดอกบัวจึง
วิวัฒนาการตนเองให้มีฐานแบนราบยามบานเพื่อที่ด้วงจะสามารถหมุนตัวไปมานำเกสรติดตัวไปแพร่
พันธุ์ได้ง่าย ดอกบัวสำหรับคนโบราณยังทำให้ผู้คนจินตนาการโลก และจักรวาลไว้ต่างๆ นานา ที่
เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนามหายานก็เช่น ภาพของพระไวโรจนะพุทธะประทับนั่งบนดอกบัวที่มีก ลีบ 1
พันกลีบ แต่ละกลีบต่างเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ และยังมีโลกในพุทธศาสนากลีบ
ละร้อยล้านโลก ซึ่งแต่ละโลกล้วนมีพระพุทธเจ้าโลกละหนึ่งองค์อีกต่างหาก เปรียบเสมือนดวงดาว
จำนวนนับไม่ถ้วนในจักรวาล46

45
Sugawara Florist, ハス(蓮), accessed October 20, 2019, available from
http://sugawara.tokyo/dictionary/nelumbo
46
เรื่องเดียวกัน.
42

ภาพที1่ 6 ดอกอะซะงะโอะ
ที่มาภาพ: Plantia,アサガオが枯れる原因と対策。枯れそうなときの復活方法について,
accessed October 29, 2019, available from https://www.hyponex.co.jp/plantia/search/3792

2.3.2.5 Morning Glory หรือ ดอกอะซะงะโอะ (朝顔) เป็นดอกไม้ที่ผู้คนปลูกกันมากใน


ฤดูร้อน ส่วนใหญ่แล้วจะมีดอกกลมคล้ายดอกผักบุ้ง บานเฉพาะยามเช้า และช่วงเย็นก็จะโรยไป บ้าน
ที่มีสวนของตนเองมักจะลงต้นในดิน บ้านที่มีที่น้อยหรือเป็นห้องชุดก็จะปลูกไว้ในกระถางที่ระเบียง
โดยทำราวให้ไต่ขึ้นไปด้านบนจนกลายเป็นกันสาดกันแดดหน้าร้อน
อะซะงะโอะเป็นพืชล้มลุกมีถิ่นฐานดั้งเดิมในประเทศเขตร้อนในเอเซีย เช่น ไทย กัมพูชา
และเชิงเขาสูงทางตอนใต้ของจีน เผยแพร่เข้ามาในญี่ปุ่นผ่านคณะธรรมฑูตที่เดินทางไปศึกษาที่เมือง
จีนในสมัยนารา (ค.ศ.710-794) ในฐานะของยาจีนสำหรับรักษาโรคท้องเสียหรือใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
มาได้รับความสนใจในฐานะของดอกไม้สำหรับชมความงามกันในปลายสมัย เอโดะ (ค.ศ.1804-1860)
เมื่อนักรบชั้นประทวนแถวตำบลโอะกะจิมะจิ (Okachimachi) ในเมืองเอโดะ (กรุงโตเกียว) พากัน
เลี้ยง และพัฒนาสายพันธุ์กันอย่างกว้างขวางจนทำให้เกิดสายพันธุ์จำนวนกว่า 700 ชนิด มีสีสัน และ
หน้าตาแตกต่างกันไปไม่เหมือนกับดอก Morning Glory ที่พบเห็นทั่วไปในเมืองไทยหรือในประเทศ
อื่นๆ บางพันธุ์มีสีชมพูสด มีกรอบสีขาวริมกลีบทั้ง 5 บางดอกเป็นสีฟ้าอมน้ำเงินมีลายสีขาวพาดอยู่
เพียงกลีบเดียว บางดอกครึ่งหนึ่งเป็นสีม่วง อีกครึ่งหนึ่งเป็นสีขาว บางดอกเป็นแฉกๆหายาก บางดอก
ไม่คลี่บานเป็นดอกตูมเท่านั้น แค่ดูอย่างเดียวก็เพลินแล้ว47

47
TPA news, ภาษาดอกไม้, เข้าถึงเมื่อ 29 ตุลาคม 2562, เข้าถึงได้จาก
http://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/83/ContentFile1670.pdf
43
ทุกปีระหว่างวันที่ 6-8 กรกฏาคมที่ตำบลอิริยะ (Iriya) ในเขตไดโท (Daito-ku) ย่านเก่าแก่
ในโตเกียวยังมีเทศกาลอะซะงะโอะ (Iriya Asagao Matsuri) กันเป็นประจำ โดยจะมีพ่อค้าแม่ค้าใน
ชุดฮัปปิ (เสื้อคลุมญี่ปุ่น) กว่า 120 เจ้านำเอากระถางดอกอะซะงะโอะกว่า 20,000 กระถางมาวางขาย
พร้อมตะโกนเรียกแขกกันอย่างครึกครื้นตั้งแต่ตี 5 จนถึง 11.00 น.
ในสมัยเอโดะที่ดินแถวนี้เหมาะกับการปลูกดอกอะซะงะโอะมาก จึงมีชาวสวนดอกไม้มา
ตั้งบ้านเรือน และร้านค้าอยู่หลายสิบราย ในปลายสมัยเมจิ (ค.ศ.1889-1906) นายนาริตะยะ โทะเมะ
จิโร่ะ (Naritaya Tomejiro) ชาวสวนในตำบลคนหนึ่งซึ่งเลืองลื่อว่าเป็นยอดนักเลี้ยงดอกอะซะงะโอะ
ได้ออกเดินหาพันธุ์แปลกๆ มาจากเกียวโต โอซากา และในโตเกียวกว่า 84 ชนิดมาจัดแสดง และยัง
หมั่นนำดอกไม้ที่เลี้ยงดูนานาพันธุ์ไปจัดแสดงตามที่ต่ างๆ สร้างชื่อเสียงให้กับตำบลอย่างมาก ช่วงนั้น
ดอกอะซะงะโอะที่เป็นที่นิยมไม่ใช่ดอกกลมๆ เช่นที่เห็นกันทั่วไปในทุกวันนี้ ส่วนใหญ่เป็นชนิด “คะวะ
ริซะกิ” (Kawari-zaki) รูปร่างเป็นแฉกๆ เหมือนดอกเบญจมาศบ้าง เป็นแบบกลีบซ้อนเหมือนดอก
โบตั๋นบ้าง ว่ากันว่าช่วงนั้นเป็นช่วงพีคของการค้า และเลี้ยงดอกอะซะงะโอะก็ว่าได้
ปัจจุบันนี้ มีชมรมผู้นิยมปลูกดอกอะซะงะโอะอยู่ทั่วทั่วประเทศญี่ปุ่น พวกเขามักจะบอก
กันว่า “การเลี้ยงดูดอกอะซะงะโอะคล้ายๆ การเลี้ยงดูเด็ก จะโตเป็นผู้ใหญ่อย่างไรไม่อาจคาดการณ์ได้
ได้แต่ตั้งความหวัง ตั้งแต่เมื่อใบเลี้ยง 2 ใบคู่เริ่มคลี่บาน” ในปีหนึ่งๆ พวกเขาจะเตรียมเมล็ดที่เก็บแยก
เป็นซองๆ ตามสายพันธุ์ที่จดบันทึกไว้ นำมาแยกปลูกเป็นร้อยๆกระถาง และจะคัดเอาต้นที่มีใบเลี้ยง
ลักษณะเด่น ที่มีโ อกาสเจริญ พัน ธุ์เป็นแบบ “Kawari-zaki” ได้ออกไปเลี้ยงดูต่ างหากภายใต้ ก ฏ
พันธุกรรมที่ได้เรียนรู้มาตั้งแต่บรรพบุรุษในสมัย เอโดะ เช่นโอกาสที่จะเกิดพันธุ์ดอกกลมกลีบเดี่ยวจะ
เท่ากับ 9 ต่อ 16 พันธุ์ดอกโบตั๋น 3 ต่อ 16 และพันธุ์แบบกลีบแฉก 1 ต่อ 16 เป็นต้น ยิ่งเมื่อโลก
ออนไลน์แพร่หลายเช่นทุกวันนี้ พวกเขาพากันสร้างบล็อกแนะนำการเลี้ยงดูหรือนำเอาภาพดอกอะซะ
งะโอะพันธุ์ใหม่ๆ มาอวดกันอย่างสนุกสนาน 48
ดอกอะซะงะโอะจึงเป็นเสมือนสัญลักษณ์แสดงความละเอียด และเพียรพยายามของคน
ญี่ปุ่นที่ต้องบอกว่าเป็น “พันธุกรรม” ถ่ายทอดกันมาจากบรรพบุรุษ ในสมัยเอโดะพวกเขาไม่เคยรู้เรื่อง
กฎพันธุกรรมของเมนเดลเลย แต่จากความเพียรแยกเมล็ดปลูก และผสมเกสรกัน ปีแล้วปีเล่า ทำให้
พวกเขาเข้าใจกฎดังกล่าวได้จากประสบการณ์ ทั้งยังถ่ายทอดความรู้เรื่องพันธุกรรมของดอกอะซะ
งะโอะและพันธุกรรมความเป็นชนชาติที่ละเอียดมุมานะให้ลูกหลานสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้อีกด้วย

48
坂本 稔, 木の年代をはかる, accessed October 30, 2019, available from
http://sugawara.tokyo/dictionary/nelumbo
44
2.3.3 ดอกไม้ในฤดูใบไม้ร่วง (秋の花)

ภาพที1่ 7 ดอกคิคุ
ที่มาภาพ: Inochio Flowers, 精の輪, accessed October 30, 2019, available from
https://www.seikoen-kiku.co.jp/list/1270

ภาพที1่ 8 ตราแผ่นดินญี่ปุ่น (菊花紋章 Kikkamonshou)


ที่มาภาพ: Wikiwand, 菊花紋章, accessed October 30, 2019, available from
https://www.wikiwand.com/zh-mo/%E8%8F%8A%E8%8A%B1%E7%B4%8B%E7%AB%A0

2.3.3.1 Chrysanthemum หรือ ดอกเบญจมาศ ภาษาญี่ปุ่นเรียนว่าดอกคิ คุ (菊) เป็น


ดอกไม้ประจำราชวงศ์ญี่ปุ่น โดยดอกเบญจมาศถูกนำเข้ามาจากประเทศจีนเมื่อสมัยนารา (ค.ศ. 710-
793) โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำมาใช้ทำเป็นยารักษาโรค แต่กลับได้รับความนิยมจากราชวงศ์ญี่ปุ่นเป็น
อย่างมาก จนถูกนำมาใช้เป็นตราแผ่นดินซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ของราชวงศ์ญี่ปุ่นตั้ งแต่สมัยเมจิ (ค.ศ.
45
1868-1912) เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ตามภาพที1่ 7 มีชื่อเรียกว่า พระราชลัญจกรดอกเบญจมาศ (菊
花紋章 Kikkamonshou)49

ในรัฐธรรมนูญสมัยเมจิมีข้อกำหนดไว้ว่า ตราประทับรูปดอกเบญจมาศ 16 กลีบและมี


กลีบซ้อนอีก 16 กลีบ จะใช้เป็นตราประทับประจำองค์สมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่นเท่านั้น ส่วนเชื้อ
พระวงศ์พระองค์อื่น ๆ จะใช้ตราประทับรูปดอกเบญจมาศ 14 กลีบ ส่วนทางรัฐบาลญี่ปุ่นจะใช้รูป
ดอกเบญจมาศ 16 กลีบสำหรับ เป็นตราประทับบนเอกสารสำคัญทางราชการ เช่น หนังสือเดินทาง
หนังสือคำสั่งต่าง ๆ และสถานที่สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้รูปดอก
เบญจมาศ เป็นต้น นอกจากจะใช้เป็นตราประทับแล้ว ดอกเบญจมาศก็ยังมีความเกี่ยวข้องกับชาว
ญี่ปุ่นอีกมากมาย โดยจะเห็นได้จากทั้งรูปและสัญลักษณ์ดอกเบญมาศที่ปรากฏอยู่บนข้าวของเครื่องใช้
เช่น ลวดลายบนชุดกิโมโน กระเป๋า เครื่องประดับต่าง ๆ รวมไปถึงเหรียญ 50 เยน เป็นต้น50
ดอกเบญจมาศยั ง ถื อ ว่ า เป็ น ดอกไม้ ป ระจำฤดู ใ บไม้ ร ่ ว งของญี ่ ป ุ ่ น และเป็ น ดอกไม้
ประจำเดือนกันยายนด้วย โดยจะมีพิธีดื่มสาเกที่ลอยด้วยกลีบดอกเบญจมาศในวันที่ 9 กันยายน ตาม
ความเชื่อที่ว่าเพื่อให้มีอายุยืนและขจัดสิ่งชั่วร้ายออกไป แต่พิธีการนี้ไม่ได้เป็นที่นิยมมากนัก รวมถึงยัง
มีการจัดเทศกาลชมดอกเบญจมาศตามสถานที่ต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่นช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน
ด้วย51

49
TPA news, ภาษาดอกไม้, เข้าถึงเมื่อ 29 ตุลาคม 2562, เข้าถึงได้จาก
https://www.tpapress.com/knowledge_detail.php?k=153
50
Wikiwand, 菊花紋章, accessed October 30, 2019, available from
https://www.wikiwand.com/zh-mo/%E8%8F%8A%E8%8A%B1%E7%B4%8B%E7%AB%A0
46

ภาพที1่ 9 ดอกชูเมงิคุ
ที่มาภาพ: shuminoengei, シュウメイギクの写真, accessed October 30, 2019, available from
https://www.shuminoengei.jp/?m=pc&a=page_image_slideshow&target_plant_code=222&num=3

2.3.3.2 Japanese anemone หรือ ดอกชูเมงิคุ” (秋明菊) คือ ชื่อทั่วไปของดอกไม้เล็กๆ


มีเสน่ห์งดงามดังกล่าว ด้วยความที่ที่ทั้งใบเขียวจัดเป็นหยักมีขนอ่อนๆและเกสรของมันมีส่วนคล้าย
เบญจมาศ (Kiku) มาก ผู้คนจึงตั้งชื่อมันโดยใช้อักษรจีนที่หมายถึง “คิคุ” (菊) หรือเบญจมาศกำกับไว้
โดยเพิ่มคำว่า “ชู” (秋) หรือ “ฤดูใบไม้ร่วง” ลงไปด้วย เพราะมันจะบานรับฤดูใบไม้ร่วงทุกปี
นักพฤกษศาสตร์อธิบายว่าแท้จริงแล้วชูเมะอิงิคุไม่ใช่ดอกไม้สายพันธุ์เบญจมาศแต่อย่างไร
เป็นดอกไม้ในตระกูล Ranunculacea มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Japanese anemone แพทย์ และนัก
พฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนที่เดินทางมาญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 18 เป็นผู้ตั้งชื่อไว้ อย่างไรก็ต าม พันธุ์สีขาวที่
เห็นกันทั่วไปทุกวันนี้ไม่ใช่พันธุ์ดั้งเดิมแต่เป็นพันธุ์ผสมจากดอก Anemone vitifolia สีขาว และชมพู
ของเนปาลที่ถูกส่งไปอังกฤษโดยทางเรือจากเซียงไฮ้ราวปีค.ศ.1847 พันธุ์ดั้งเดิมจริงๆ เป็นสีชมพูสด
กลีบซ้อนรูปร่างเรียวยาว ขนาดเล็กกว่าที่พบเห็นกันทั่วไปในทุกวันนี้ 52
ต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน เผยแพร่เข้ามาในญี่ปุ่นช้านานมาแล้ว โดยเฉพาะที่ป่าเขา
บริเวณรอบๆ ศาลคิฟุเนะทางตอนเหนือของเกียวโต ซึ่งขึ้นเป็นดงตามธรรมชาติ คนที่นั่นจะเรียกขาน
มันว่า “คิฟุเนะงิคุ” ( 貴船菊) ตามชื่อของศาลนั่นเอง ศาลคิฟุเนะเป็นศาลชินโตเล็ กๆ ที่มีประวัติว่า
เป็นที่สถิตย์ของเทพเจ้าแห่งน้ำ สร้างขึ้นในปีค.ศ.818 คอยปกป้องแม่น้ำที่ไหลผ่านเทือกเขาในบริเวณ
ดังกล่าว และยังเป็นศาลที่ราชวงศ์ญี่ปุ่นในสมัยโบราณเสด็จมาประกอบพิธีขอฝนเป็นประจำ และคง

52
Lovegreen, シュウメイギク(秋明菊)の育て方|植物図鑑, accessed October
30, 2019, available from https://lovegreen.net/library/flower/p92009/
47
ด้วยลำธารน้ำใสสะอาด และอุณหภูมิที่ไม่สูงนักแม้ในฤดูร้อนนี่เองที่ทำให้ชูเมะอิงิคุพันธุ์ดั้งเดิมงอกงาม
ตามธรรมชาติจนถึงทุกวันนี้ ทางศาลเองก็ถือว่าดอกคิฟุเนะงิคุเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของศาล มิโกะที่
ฟ้อนรำถวายเทพเจ้าช่วงฤดูใบไม้ร่วงก็จะสวมเครื่องประดับศรีษะที่เป็นดอกคิฟุเนะงิคุสีชมพูสด ดูเด่น
และแปลกตา
สิ่งที่น่าแปลกใจเกี่ ยวกับดอกชูเมะอิ งิคุหรือคิฟุเนะงิคุนี้คือ ในเพลงจำนวนทั้งสิ้นราว
4,500 เพลงที่มีผู้ประพันธ์ไว้ในหนังสือรวมเพลงโบราณ “มันโยชู” (คริสต์ศตวรรษที่ 7-8) พบว่าจาก
ดอกไม้ 157 ชนิดที่มีผู้กล่าวถึง กลับไม่ปรากฏชื่อของดอกชูเมะอิงิคุ และคิคุ (เบญจมาศ) เลยแม้แต่
เพลงเดียว ทั้งๆ ที่ดอกไม้ทั้งสองประเภทเป็นที่ชื่นชอบของคนญี่ปุ่นแม้ในทุกวันนี้ ผู้รู้สันนิษฐานว่าอาจ
เป็นไปได้ว่าก่อนหน้านี้ ดอกชุเมะอิงิคุ และดอกเบญจมาศอาจยังไม่เข้ามาแพร่หลายในญี่ปุ่น ผู้คนคง
รู้จักแต่จากจินตนาการหรือภาพวาดจากวรรณกรรมจีนเท่านั้น
ปัจจุบันนี้ ชูเมะอิงิคุได้รับการแปลงพันธุ์หลากหลายมากขึ้นบางพันธุ์มีกลีบซ้อนกันมากถึง
กว่า 30 กลีบ สียังคงอยู่ในเฉดสีขาว ชมพูอ่อน ชมพูแก่ และชมพูออกม่วง เป็นที่นิยมทั้งในหมู่ผู้รักการ
ตกแต่งสวนทั้งตามบ้านเรือนทั่วไป และตามวัดวาอารามต่างๆ ตามเรือนน้ำชาที่ต้องมีดอกไม้ประดั บ
(อิเคะบะนะ) แจกันประจำช่วงนี้หลายแห่งก็จะใช้ดอกชูเมะอิงิคุเป็นหลัก สื่อความหมายของ “ความ
อดทน” “อารมณ์ที่แปรปรวนง่ายตามฤดูกาล”53

2.4 เส้นและรูปแบบการจัดวางในอิเคะบะนะ
การจัดดอกไม้ของญี่ปุ่นนั้น มีการคำนึงถึงเส้นและทิศทาง โดยใช้กิ่งและก้านมาจัดวางใน
ลักษณะที่แตกต่างกัน โดยจะต่างกับการจัดดอกไม้ในแบบตะวันตก ซึ่งจะคำนึงถึงองค์รวมของการใช้
ชนิดดอกและโทนสีในแต่ละช่อ ความสมดุลและความกลมกลืนในการปันส่วน โดยให้ตัวดอกและใบ
ทำหน้าที่ของตนเอง ในขณะที่การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น จะเน้นไปที่เอกลักษณ์ของแต่ละกิ่ งก้าน รวม
ไปถึงส่วนของเงา
การออกแบบเส้น และรูปแบบการจัดวางแบบญี่ปุ่นจะมีล ักษณะโครงสร้างคล้ายกั บ
สถาปัตยกรรม โดยจะเน้นไปที่เส้นแกนกลางทั้งสาม อันได้แก่ ลำต้นเรียวยาว ดอกไม้ และใบไม้ที่โดน
เด่นแตกต่างกันไป (ภาพที่ 19)
การจัดวางด้วยองค์ประกอบ 3 อย่าง เป็นการแสดงถึงการเจริญเติบโตของดอกไม้ได้เป็น
อย่างดี และใช้ในการจัดอิเคะบะนะเป็นหลัก โดยจะสื่อถึงความมั่นคงและควาแข็งแกร่ง จะประกอบ

53
TPA news, ภาษาดอกไม้, เข้าถึงเมื่อ 31 ตุลาคม 2562, เข้าถึงได้จาก
http://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/98/ContentFile2010.pdf
48
ไปด้วย กิ่งหลัก กิ่งรอง และส่วนประกอบ ในส่วนของกิ่งหลักนั้นหมายถึง ชีวิต และความแข็งแรง เป็น
ตำแหน่งของฐาน หรือแกนหลัก ซึ่งจะมีความยาวที่สุดใน 3 องค์ประกอบนี้ และอยู่กึ่งกลางสุด แต่ไม่
จำเป็นที่จะต้องเป็นเส้นตั้งตรง หรือเป็นแนวดิ่ง โดยที่สามารถสร้างเป็นรูปร่างเส้นโค้งคู่ (Double
curve) ทั้งกับด้านบนและด้านล่าง ในส่วนของเส้นรอง หรือกิ่งรอง ควรมีความยาวอยู่ประมาณ
ครึ่งหนึ่งของเส้นหลัก และเส้นส่วนประกอบ ควรมีความยาว 1 ½ ของกิ่งรอง 54
นอกจากนี ้ ย ั ง มี ก ารจั ด วางโดยใช้ อ งค์ ป ระกอบในอี ก หลากหลาย อย่ า งเช่ น การใช้
องค์ ป ระกอบสองอย่ า ง (Bilineal Arrangement) การใช้ อ งค์ ป ระกอบ 7 อย่ า ง (Seven lined
Arrangement) หรือการใช้องค์ประกอบ 5 อย่าง (Five lined Arrangement) (ภาพที่ 19)
แม้ว่าจะเป็นการใช้องค์ประกอบจำนวนที่เท่ากัน อย่างเช่น การใช้องค์ประกอบทั้ง 3 แต่
เมื่อปรับเปลี่ยนองศาหรือมุมเพียงเล็กน้อย ก็จะให้ความรู้สึก และเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน เมื่อกิ่งหลัก
มีการหันโค้งไปทางใดทางหนึ่งที่มากกว่า จะทำให้พื้นที่นั้นถูกเติมเต็ม จึงมีการเรียกว่า องค์ ประกอบ
ซ้าย และองค์ประกอบขวา โดยปรับเปลี่ยนเพียงทิศทางโค้งของกิ่งนั้นๆ (ภาพที่ 20)

54 Josiah Conder, The Flower of Japan and The Art of Floral Arrangement, (Tokyo:
Kodansha International,2002), 80
49

ภาพที่ 20 การจัดวางรูปแบบเส้นของกิ่งก้าน ในการจัดดอกไม้ (Lineal Arrangement of Stems in Flower


Design)
ที่มาภาพ: Josiah Conder, The Flower of Japan and The Art of Floral Arrangement, (Tokyo:
Kodansha International,2002), 80

แม้ว่าจะเป็นการใช้องค์ประกอบจำนวนที่เท่ากัน อย่างเช่น การใช้องค์ประกอบทั้ง 3 แต่


เมื่อปรับเปลี่ยนองศาหรือมุมเพียงเล็กน้อย ก็จะให้ความรู้สึก และเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน เมื่อกิ่งหลัก
มีการหันโค้งไปทางใดทางหนึ่งที่มากกว่า จะทำให้พื้นที่นั้นถูกเติมเต็ม จึงมีการเรียกว่า องค์ประกอบ
ซ้าย และองค์ประกอบขวา โดยปรับเปลี่ยนเพียงทิศทางโค้งของกิ่งนั้นๆ (ภาพที่ 20)
50
การจัดองค์ประกอบของกิ่งหลัก กิ่งรอง ยังต้องคำนึงถึงทิศทางที่เป็นองค์ประกอบแบบ
สามเหลี่ยมด้านไม่เท่า หรือสามเหลี่ยมแบบอสมมาตร เพื่อเป็นตัวแทนของการแสดงถึง สวรรค์ โลก
และมนุษย์อีกด้วย (ภาพที่ 21) 55

ภาพที่ 21 การจัดดอกไม้แบบ 3 กิ่ง (Various Trilineal Arrangements of Stems)


ที่มาภาพ: Josiah Conder, The Flower of Japan and The Art of Floral Arrangement, (Tokyo:
Kodansha International,2002), 82

55 Josiah Conder, The Flower of Japan and The Art of Floral Arrangement, (Tokyo:
Kodansha International,2002), 82
51

ภาพที่ 22 การจัดดอกไม้แบบ 3 กิ่ง (Various Trilineal Arrangements of Stems)


ที่มาภาพ: Josiah Conder, The Flower of Japan and The Art of Floral Arrangement, (Tokyo:
Kodansha International,2002), 84

2.5 ภาชนะของอิเคะบะนะ
เนื่องจากวัสดุพืชและดอกไม้ที่นำมาใช้มีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นที่จะต้อง
แยกประเภทของภาชนะที่นำมาจัดให้เข้ากันกับรูปทรงของพืชชนิดนั้นๆ รูปแบบและลักษณะของ
ภาชนะดังกล่าวมีอิทธิพลอย่างมากต่อลักษณะองค์ประกอบการจัดดอกไม้ ภาชนะเหล่านี้มีความ
หลากหลายของรูปทรงและวัสดุที่แตกต่างกัน เช่น เครื่องเคลือบดินเผา วัสดุบรอนซ์ ทองเหลือง เหล็ก
และตะกร้าสาน

แจกันทรงสูง

ภาพที่ 23 แจกันทรงสูง (Standing Vase)


ที่มาภาพ: Josiah Conder, The Flower of Japan and The Art of Floral Arrangement, (Tokyo:
Kodansha International,2002), 104
52

ภาชนะที่เก่าแก่ที่สุดที่ใช้ในการจัดอิเคะบะนะ คือ เครื่องเคลือบดินเผาคอยาว หรือแจกัน


สีบ รอนซ์ที่มีความสูง พอสมควร และองค์ ประกอบดอกไม้ที่ใช้จัดด้วยนั้นมีความสูงตามสัดส่วน
(ภาพที่ 22) การปรับสมดุลในการจัดแจกันทรงนี้ คือ การจัดเรียงจากดอกที่สูงไปสู่ ดอกที่สั้นลง และ
ลดจำนวนการใช้วัสดุ โดยแจกันทรงนี้จะให้ความรู้สึกที่มั่นคง
แจกันทรงนี้เป็นที่นิยมมากในการจัดดอกไม้แนวตั้งตรง และสามารถสร้างขึ้นได้จากวัสดุที่
หลากหลาย ทำให้ความรู้สึกที่ได้ต่างกัน เหมาะกับการจัดวางในห้องชาที่ค่อนข้างเล็ก ซึ่งอาจะมี
ลักษณะปากเป็นทรงรี หรือช่วงตัวลำจากวัสดุเครื่องลายคราม (ภาพที่ 23) 56

ภาพที่ 24 แจกันทรงสูงที่ทำจากบรอนซ์และเครื่องลายคราม (Various Standing Vases of Bronze and


Porcelian)
ที่มาภาพ: Josiah Conder, The Flower of Japan and The Art of Floral Arrangement, (Tokyo:
Kodansha International,2002), 112-113

56 Josiah Conder, The Flower of Japan and The Art of Floral Arrangement, (Tokyo:
Kodansha International,2002), 90
53
แจกันสำหรับพืชน้ำ
เพื่อจุดประสงค์ในการแสดงลักษณะเด่นของพืชน้ำและหญ้า จึงใช้ภาชนะที่มีลักษณะ
คล้ายอ่างต่ำ มี 2 ชนิดหลักใช้เรียกตามลำดับ คือ ชามทราย (Sand-bowl) และ Horse-tub
ชามทราย (Sand-bowl) เป็นภาชนะตื้นกว้าง เป็นรูปสี่เ หลี่ยมผืนผ้า หรืออาจะมีหลาย
เหลี่ยม บางครั้งอาจเป็นรูปไข่ ทำจากบรอนซ์ หรือเครื่องเคลือบลาย มีชั้นก้อนกรวดหรือทราย และ
ปกคลุมไปด้วยน้ำ

ภาพที่ 25 แจกันสำหรับพืชน้ำ
ที่มาภาพ: Josiah Conder, The Flower of Japan and The Art of Floral Arrangement, (Tokyo:
Kodansha International,2002), 119

Horse-Tub ตามชื่อของมันหมายถึง อ่างไม้ตื้นทรงกลม เคลือบด้วยสีดำ แจกันชนิดนี้ใช้


ในช่ว งสงคราม ซึ่งเป็น ที่น ิย มสำหรับเหล่าเหล่าบัณฑิต ใช้ในการจัดดอกไม้เพื่อพักผ่อนและรั บ
สุนทรียศาสตร์ทางความงาม มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบแสดงพื้นผิวที่กว้างของ
น้ำ หรือพื้นดิน แอ่งน้ำ และพืชที่เกี่ยวข้องกับการดำรงอยู่ของน้ำ โดยใช้พืชน้ำเป็นส่วนมาก ความสูง
ของการจัดจะอยู่ประมาณ 1 ½ ของความกว้างของภาชนะ และไม่ถูกควบคุมโดยความสูงเฉกเช่น
แจกันทรงสูงทั่วไป57

57 Josiah Conder, The Flower of Japan and The Art of Floral Arrangement, (Tokyo:
Kodansha International,2002), 91
54
2.6 อิเคะบะนะกับโทะโคะโนะมะ
ในยุคสมัยแรกที่คนญี่ปุ่นสร้างบ้านให้เปิดรับกับธรรมชาติ คือ ยุคเฮอัน (ศตวรรษที่ 8-10)
ชนชั ้ น ขุ น นางและชนชั ้ น ปกครองจะอาศั ย อยู ่ ใ นบ้ า นพั ก ที ่ ห รู ห ราที ่ ไ ด้ ร ั บ การจำแนกในทาง
สถาปัตยกรรมว่า shinden zukuri ลักษณะเฉพาะของชินเด็น สุคุริ คือ ห้องแต่ละห้องจะถูกจัดเรียง
ไว้รอบลานสนาม ในแต่ละห้องจะถูกแบ่งโดยประตูบานเลื่อนโดยที่ผนังด้านที่หันไปทางลานสนามของ
บ้านจะสามารถยกขึ้นเปิดห้องออกไปยังระเบียงและสวนด้านนอก
ห้องที่สำคัญของห้องพักแบบญี่ปุ่น ไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือเล็ก ได้ตกแต่งด้วยซุ้มที่เรียกว่า
“โทะโคะโนะมะ” ในห้องซึ่งจะยกสูง กว่าพื้น เป็นสัดส่วนที่ยิ่งใหญ่โดยครอบครองครึ่งหนึ่งของผนัง
ด้านขวาและตกแต่งด้วยพื้นยกสูงขัดเงา เคลือบแลคเกอร์ และมุมหล่อที่ทำจากไม้หายาก ส่วนที่เหลือ
ของกำแพงด้านซ้ายถูกครอบครองโดยย่อมุมที่สอดคล้องกันพอดีกับชั้นวางประดับ และตู้วางเครื่อง
ชาม เรียกว่า “จิไก-ดะนะ” (Chigai-dana)
การแบ่งระหว่างซุ้มทั้งสองนี้ถูกทำเครื่องหมายด้วยเสาไม้ประดับด้านหน้ า บางครั้งก็เป็น
พาร์ทิชั่นแผ่นโลหะบางๆ เจาะทะลุผ่านช่องหน้าต่าง ถ้าโทะโคะโนะมะอยู่ด้านซ้าย จิไก-ดะนะ จะอยู่
ด้านขวา นี่คือรูปแบบที่อยู่อาศัยของญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม เจ้าของบ้ านจะแสดงสมบัติทางศิลปะทางหน้า
ซุ้มเพื่อให้แขกผู้มีเกียรติได้รับชม
ผนั ง ด้ า นหลั ง ของโทะโคะโนะมะ เป็ น พื ้ น หลั ง ที ่ จ ั ด แสดงภาพ “คะเคะโมะโนะ”
(Kakemono) หรือ ภาพเขียนม้วน การจัดดอกไม้จะแสดงอยู่ด้านหน้าของภาพเขียนเหล่านั้น เป็น
เรื่องสำคัญที่องค์ประกอบของดอกไม้ไม่ควรขัดแย้งกับภาพวาดที่แสดงด้านหลัง ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่ง
เส้นแนว หรือความรู้สึก ทั้งสองอย่า งนี้ควรสร้างองค์ประกอบที่กลมกลืนกัน หากแขวนรูปภาพไว้สอง
รูป ก็ควรวางดอกไม้ไว้ตรงกลางระหว่างกัน ในกรณีของการใช้ภาพ 3 ภาพ ก็ควรใช้แจกันทั้งหมด 2
ใบ หากมี 4 ภาพ ควรใช้ 3 แจกันที่มีองค์ประกอบคล้ายกัน หรือ ใช้พื้นที่ตรงกลางเป็นรูปปั้นหรือ
กระถางธูปแทน แจกันที่บรรจุดอกไม้มักยกขึ้นไปไว้บนแท่น หรือโต๊ะยกขนาดเล็ก58 (ภาพที่ 25)

58 Josiah Conder, The Flower of Japan and The Art of Floral Arrangement, (Tokyo:
Kodansha International,2002), 120
55

ภาพที่ 26 โครงสร้างชั้นวางสำหรับดอกไม้
ที่มาภาพ: Josiah Conder, The Flower of Japan and The Art of Floral Arrangement, (Tokyo:
Kodansha International,2002), 121
56

บทที่ 3
การจัดดอกไม้อิเคะบะนะ

ภายในบทที่ 3 นี้ เป็นการกล่าวถึงการจัดดอกไม้อิเคบานะ โดยแบ่งออกเป็นส่วนประกอบ


สำคัญทั้งหมด 3 หัวข้อ เนื้อความของหัวข้อแรกเป็นการลำดับเหตุการณ์ประวัติความเป็นมาของการ
จัดอิเคบะนะนะ โดยจำแนกเป็นตารางซึ่งแบ่ง เป็นปี รูปแบบ(สกุลช่าง) และเหตุการณ์ ตามลำดับ
ตั้งแต่ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ถึงปี 1965 ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของการจัดดอกไม้แบบฟรีสไตล์ที่ใช้จนถึง
ปีคริสตศักราช 1965 ต่อมาเป็นหัวข้อประวัติความเป็นมาและทฤษฎีของการจัดดอกไม้อิเคะบะนะใน
แต่ละยุคสมัย ซึ่งจะเป็นข้อมูลประวัติ การริเริ่ม และรูปแบบของการจัดดอกไม้อิเคะบะนะในแต่ละยุค
สมัย

56
57
3.1 การลำดับเหตุการณ์ประวัติความเป็นมาของการจัดอิเคบานะนะ
เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่มีบันทึกเกี่ยวกับดอกไม้ มีการจดบันทึกลงไปในบทเพลง
“มันโยชู” (万葉集) เป็นหนังสือที่รวบรวมบทเพลง หรือบทกวีที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น มีทั้งหมด 20
เล่ม ใช้เวลาในการรวบรวม “มันโยชู” ประมาณ 350 ปี แล้วเสร็จสมบูรณ์ในสมัย นารา จำนวน
4,500 เพลงที่ราชวงศ์ และขุนนางญี่ปุ่นเขียนไว้ราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-8 บทกวีของมันโยชูนั้น ใช้คํา
โบราณในการแต่งประพันธ์ขึ้น ดังนั้นคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ในปัจจุบันที่ไม่เข้าใจความหมายของคํ าโบราณ
จึงมีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน เป็นบทกวีเก่าแก่ที่เรียบง่าย พรรณนาถึง แม่น้ำ ลำธาร ภูเขา ความสวยงามของ
ธรรมชาติ ผัก สัตว์ นก เป็นต้น
ตารางที่1 เหตุการณ์ตามลำดับตั้งแต่ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงปีคริสตศักราช 1965 ซึ่งเป็นการ
เริ่มต้นของการจัดดอกไม้แบบฟรีสไตล์ ที่ใช้จนถึงปัจจุบันโดยจำแนกเป็นปี รูปแบบ (สกุลช่าง) และ
เหตุการณ์
ปี รูปแบบ เหตุการณ์
ก่อนคริสตกาล
2000 ยุคโจมง, ยุคหินใหม่
500 ยุคยะโยะอิ, ยุคหินใหม่ช่วงปลาย
คริสต์ศักราช
250 จากช่วงยุคสมัยนี้ เริ่มมีความเชื่อทางศาสนาว่า
เทพได้ลงมาสู่โลก โดยการสิงสถิตในธรรมชาติ
ผ่านต้นไม้ ก้อนหิน น้ำตก
350 การรวมตัวของรัฐยะมะโตะ ในพื้นที่แถบโอซะ
กะ-นารา (ที่ราบยามาโตะ)
538 การนำเข้าศาสนาพุทธ
607 วัดโฮริวจิ (法隆寺) จังหวัดนารา
710 ย้ า ยเมื อ งหลวงมาเป็ น เฮโจเคี ย ว ( 平城京)
ก่อน-อิเคะบะนะ
เมืองนารา
759 มันโยชู ( 万葉集) หนังสือรวมบทกวีโ บราณ
ของญี่ปุ่น รวมถึงกลอนที่กล่าวถึงดอกไม้ต่างๆ
ของญี่ปุ่น
58
ปี รูปแบบ เหตุการณ์
794 ดอกไม้เริ่มถูกจัด ย้ายเมืองหลวงมาเป็น เฮอันเคี ยว ( 平安京)
ลงในแจกัน เมืองเกียวโต จุดเริ่มต้นของสถาปัตยกรรมแบบ
พระราชวัง
810 นำดอกไม้มาจัดบูชาเทพเจ้า โดยพระสงฆ์จาก
วัดคังโคะจิ เมืองนารา
864 จัดเทศกาลชมซะกุระในจักรวรรดิเซวะ เมือง
เกียวโต
905 วลี “จัดดอกไม้” ปรากฎในงานวรรณกรรม
913 ตั ้ ง แต่ ใ นช่ ว งนี ้ เริ ่ ม มี ก ารจั ด ประกวดดอก
เบญจมาศ ดอกไม้ ต้นไม้ และสวนที่ดีที่สุดถูก
จัดขึ้นที่ศาลเจ้าในเกียวโตบ่อยครั้ง
1000 ห น ั ง ส ื อ ข ้ า ง ห ม อ น (The Pillow Book,
枕草子) บทประพันธ์บันทึกเหตุการณ์ต ่างๆที่
น่าสนใจในราชสำนักเฮอัน กล่าวถึงการวาง
ดอกซะกุระในแจกันศิลาดลในสวนจักรวรรดิ
1012 ตำนานเกนจิ กล่าวถึงกิจกรรมเดียวกัน
1066 มหากฎบัตร (Magna Carta)
1150 นครวัด (Angkor Wat) ของกัมพูช าถูกสร้าง
ขึ้น
1271 มาร์โค โปโล (Marco Polo) เริ่มออกเดินทางสู่
ตะวันออก
1298 เริ่มมีการนำดอกไม้บูช ามาวางกับ “อิทะบิ”
ป้ายหลุมศพบรรพบุรุษ
1309 ม้วนกระดาษ แสดงเกี่ยวกับดอกไม้บูชา บอน
ไซ และการจัดดอกไม้
1338 เริ่มต้นยุคมุโรมาจิ
59
ปี รูปแบบ เหตุการณ์
1399 ทะเทะบะนะ โชกุนอะชิคะกะ โยะชิมิทสึ จัดการแข่งขันการ
จัดดอกไม้ที่วัดทองคินคะคุจิ (Golden
Pavilion) เป็นจุดเริ่มต้นของการจัด
นิทรรศการจัดดอกไม้ในเทศกาลทะนะบะตะ
ซึ่งกลายเป็นที่นิยมในเวลาต่อมา
1465 เซงเค ผู ้ ก ่ อ ตั ้ ง สำนั ก อิ เ คะโนะโบเริ ่ ม ก่ อ ตั้ ง
โรงเรียน
1466 รูปแบบการจัดดอกไม้รางวงศ์ถังของจีน เริ่ม
เข้ามามีบทบาทในญี่ปุ่น
1476 การออกแบบตกแต่งภายในเริ่มถูกจัดการอย่าง
เป็นระบบ
1482 วั ด กิ น คะคุ จ ิ (Silver Pavilion) ถู ก สร้ า งขึ้ น
โดยอิชะคะกะ โยะชิมะสะ
1486 หนั ง สื อ เกี ่ ย วกั บ การจั ด ดอกไม้ อ ิ เ คะบะนะ
Kaoirai no Kadensho (Book of flower
Arrangement since Kao) ถูกจัดทำขึ้น
1492 โคลัมบัสค้นพบอเมริกา
1499 สวนหินเรียวอังจิ ถูกสร้างขึ้น
1537 หนังสือของอิเคะโนะโบ เซนโนะ ว่าด้วยเรื่อง
(เริ่มมีการจัดตั้งกฎของ ของการจัดดอกไม้ อธิบายถึงความงามของ
การจัดทะเทะบะนะ) ดอกไม้และพืชพรรณ
1549 ฟรานซิสโก ซาเวียร์ เข้ามาเผยแพร่ศาสนาใน
ประเทศญี่ปุ่น
1574 พิธีชงชาเริ่มได้รับความนิยม
1599 ดอกไม้สำหรับวิถีแห่งชา ปรมาจารย์ อ ิ เ คะโนะโบ เซนโค จั ด แสดง
นิทรรศการรูปแบบการจัดดอกไม้ 100 แบบ
ริกกะ ถูกจัดตั้งขึ้น
ของริกกะ
60
ปี รูปแบบ เหตุการณ์
1603 เริ ่ ม ต้ น ยุ ค เอโดะภายใต้ ร ั ฐ บาลของโชกุ น
(Shogunate) ศูนย์กลางอยู่ที่เอโดะ โตเกียว
แต่ราชสำนักอยู่ที่เมืองเกียวโต
1629 จักรพรรดิโกะมิสุโนะจัดแสดงนิทรรศการจัด
ดอกไม้ในพระราชวังอยู่บ่อยครั้ง
1683 ตำราการจัดดอกไม้แบบริกกะถูกเผยแพร่เป็น
จำนวนมาก
1688 นะเงะอิเระ คณาจารย์ อ าวุ โ สของสำนัก อิ เ คะโนะโบเริ่ม
ใคร่ครวญเกี่ยวกับการจัดดอกไม้แบบริ ก กะ
กฎของนะเงะอิเระ และเซกะ
ถูกจัดตั้งขึ้น การจัดแบบริกกะเริ่มเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้น
พ่อค้าที่ร่ำรวย
1750 เซกะถูกจัดตั้งขึ้น เริ่มมีการจัดตั้งกฎการจัดดอกไม้แบบเซกะ
1770 การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิด ขึ้น ในประเทศ
อังกฤษ
1774 ผู้ก่อตั้งสำนักโชเกตสึโดะ โคริว นามว่า เสะชิน
เคนอิจิโร จัดตั้งหลักหยิน -หยาง และธาตุทั้ง5
ในรูปแบบการจัดดอกไม้แบบเซกะ
1776 สหรัฐอเมริกาเป็นอิสระภาพ
1789 ปฏิวัติฝรั่งเศส
1800 กลุ่มบัณฑิต เซนฉะ (Sencha) รูปแบบของชานี้กลายเป็นที่
นิยมท่ามกลางกลุ่มผู้มีความรู้
1806 หลักของการอยู่ร่ว มกันระหว่างสวรรค์ โลก
และมนุษย์ หลักขั้นพื้นฐานทั้ง 3 สร้างขึ้นโดย
เทอิโชะไซ โยะเนะอิจิบะ จากโรงเรียนเอ็นชู
1810 หลั ก ของการจั ด ดอกไม้ แ บบสามเหลี ่ ย มถู ก
เผยแพร่โดยมิโชะไซ อิปโป
1823 ฟิ ล ลิ พ ฟรั น ทซ์ ฟ็ อ น ซี โ บลด์ นั ก เรี ย นทุ น
แพทย์ชาวเยอรมัน เดินทางมาถึงญี่ปุ่ นและเริ่ม
ศึกษาเกี่ยวกับพฤกษศาสตร์
61
ปี รูปแบบ เหตุการณ์
1831 อิเคะบะนะได้เปิดรับให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วม
1868 การฟื้นฟูในสมัยเมจินำมาซึ่งความทันสมัยใน
ญี่ปุ่น
1897 นะเงะอิเระ โมริบะนะ อุนชิน ผู้ก่อตั้งโรงเรียนโอฮาระซึ่งใช้รูปแบบโม
เฮกะ นะเระ ริบะนะ ได้จัดแสดงนิทรรศการครั้งแรก
1899 โจเซีย คอนเดอร์ เขียนหนังสือเกี่ยวกับ
อิเคะบะนะในฉบับภาษาอังกฤษเป็นครั้งแรก
ชื่อ Floral Art in Japan
1922 รูปแบบการจัดแบบฟรีสไตล์ได้รับการ
สนับสนุน
1927 เทะชิกะฮะระ โซฟุ ก่อตั้งโรงเรียนโซเก็ทสึ
1939 เกิดสงครามโลกครั้งที่2
1945 สงครามสิ้นสุด
1951 นิทรรศการอิเคะบะนะ ถูกจัดขึ้นที่เรดิโอซิตี้
นิวยอร์ก เป็นการปรากฎขึ้นครั้งแรกของพิธีชง
ชาที่มาพร้อมกับชะบะนะ (Chabana) บน
รายการโทรทัศน์ของอเมริกา
1956 เริ่มก่อตั้งอิเคะบะนาราหว่างประเทศที่โตเกียว
1963 ริกกะ มีการประชุมอิเคะบะนาราหว่างประเทศ
นะเงะอิเระ อเมริการะดับภูมิภาคภาคเหนือที่เมืองซาครา
เฮกะ เมนโต รัฐแคลิฟอร์เนีย
1964 อิเคะบะนาราหว่างประเทศจัดการประชุม
เซกะ
ระหว่างงานนิวยอร์กเวิล์ด
1965 โมริบะนะ อิเคะบะนาราหว่างประเทศจัดการประชุม
ฟรีสไตล์ ระดับโลกครั้งแรกที่โตเกียว โดยสมาชิกและ
โรงเรียน สำนักจัดดอกไม้อิเคะบะนะต่าง
มาร่วมนิทรรศการครั้งนี้

ที่มา: Kudo Masanobu, The history of Ikebana, (Tokyo : Shufunotomo, 1986), 181-192
62
(ตารางที่ 1) การแบ่งรูปแบบในตาราง จะแบ่งจากเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์
อิเคะบะนะ โดยมีเหตุการณ์สำคัญของโลกมาประกอบคั่น โดยตารางแถวที่ 1 ระบุปีคริสตศักราช,
ตารางแถวที2่ ระบุรูปแบบ (หรือสกุลช่าง), ตารางแถวที่3 อธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น
ในปีคริสตศักราช 1956-1965 เริ่มก่อตั้งอิเคะบะนาราหว่างประเทศที่โตเกียว มีการ
ประชุ ม อิ เ คะบะนาราหว่ า งประเทศอเมริ ก าระดั บ ภู ม ิ ภ าคภาคเหนื อ ที ่ เ มื อ งซาคราเมนโต รั ฐ
แคลิฟอร์เนีย ได้กำหนดรูปแบบหลักมีทั้งหมด 5 รูปแบบ ได้แก่ ริกกะ นะเงะอิเระ(เฮกะ) เซกะ โมริบะ
นะ และฟรีสไตล์

3.2 ประวัติความเป็นมาและทฤษฎีของการจัดดอกไม้อิเคะบะนะในแต่ละยุคสมัย
จากหนึ่งในบันทึกที่เกี่ยวข้องกับดอกไม้อันเก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น พบในกวีนิพนธ์ของ
Kokin-waka-shu อยู่ในต้นคริสตศตวรรษที่ 10 กล่าวไว้ว่า “ในกระถางดอกไม้ซึ่งบรรจุซากุระไว้”
ต่อมาเมื่อต้นคริสตศตวรรษที่ 11 มีอธิบายวลีนั้นเพิ่มเติมไว้ใน หนังสือข้างหมอน (The Pillow Book)
ว่า “ที่ฐานของราวบันได ได้วางถาดสีเขียวขนาดใหญ่”59 ซึ่งเผยให้เห็นถึงสี ขนาด หรือแม้แต่ตำแหน่ง
ที่วางไว้
จากช่ ว งเวลานี ้ ที ่ ศ าลเจ้ า มี ก ารจั ด งานที ่ เ รี ย กว่ า kiku-awase, senzai-awaze และ
hana-awase โดยผู้คนจะนำต้นเบญจมาศ ต้นไม้ในสวน พืชพรรณ และดอกไม้มาจัดวาง และทำการ
แข่งขันกันโดยจะแบ่งออกเป็นสองทีม พวกเขาจะแต่งกลอน หรือบทกวีจากการจัดวางต้นไม้เหล่านี้
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ senzai-awase “ต้นไม้และพืชพรรณ” นำไปสู่ พื้นฐานของบอนไซ (Bonsai) และ
บอนเค (Bonkei) ในเวลาต่อมา
จากหนังสือเกี่ยวกับอิเคะบะนะ “Kaoirai no Kandensho” จะพบภาพประกอบของการ
จัดดอกไม้ในภาชนะที่บรรจุทราย เรียกว่า ‘Suna no mono’ ซึ่งอาจเป็นเป็นแบบของการจัดดอกไม้
แบบโมริบานะ ซึ่งอธิบายประกอบไว้ว่า “ดอกไม้สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้คนชื่นชม”60

59
Kudo Masanobu, The history of Ikebana, (Tokyo : Shufunotomo, 1986), 181
60
Josiah Conder, The Flower of Japan and The Art of Floral Arrangement, (Tokyo:
Kodansha International,2002), 12
63

ภาพที2่ 7 ถาดสำหรับทำ Suna-no-mono


ที่มาภาพ: Josiah Conder, The Flower of Japan and The Art of Floral Arrangement, (Tokyo:
Kodansha International,2002), 119

ในสมัย Muromachi (คริสตศักราช 1879-1516) ด้วยการพัฒนารูปแบบสถาปัตยกรรม


shoin-zukuri เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยของญี่ปุ่นที่ใช้ในคฤหาสน์ของทหารห้องโถงของ
วั ด และพื ้ น ที ่ ข องเจ้ า อาวาสเซน ประกอบไปด้ ว ยภาพแขวน (kakemono) และภาชนะบรรจุ ที่
เหมาะสมจะแสดงเป็นวัตถุศิลปะในโอชิอิตะ ในโทะโคะโนะมะ และชั้นวางต่างระดับ (chigaidana)
นอกจากนี้ยังแสดงในพื้นที่เหล่านี้คือการจัดดอกไม้ในแจกันที่มีอิทธิพลต่อการตกแต่งภายในซึ่ง
กลายเป็นเรื่องง่ายและสวยงามมากขึ้น การตกแต่งสไตล์นี้เรียกว่า zashiki kazari (座敷飾)
ในชุดที่วางจะประกอบไปด้วยวัตถุสามชิ้น ที่แท่นบูชาของชาวพุทธเรียกว่ามิสึสุกุโ งะ
ประกอบด้วยเทียนที่จุดไว้ในที่ถือกระถางไฟและดอกไม้ในแจกัน ดอกไม้ในแจกันถูกจัดเรียงในรูปแบบ
ที่เก่าแก่ที่สุดที่เรียกว่า tatebana (立 ",ดอกไม้ยืน) และประกอบด้วยชิน (motoki) และ shitakusa
การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เมื่อไม่น านมานี้ชี้ให้เห็นว่าการฝึกฝน tatebana มาจากการผสมผสาน
ระหว่างระบบความเชื่อรวมถึงชาวพุทธและความเชื่อของชินโตโยริชิโระน่าจะเป็นที่มาของอิจิบานะ
ญี่ปุ่นที่เรารู้จักในปัจจุบัน พวกเขาช่วยกันสร้างพื้นฐานสำหรับการสืบทอดอิเคะบะนะดั้งเดิมของญี่ปุ่น
64
3.2.1 ทะเทะบะนะ (Tatebana) สู่ ริกกะ (Rikka)
เซนเดนโช (Sendensho) คริสต์ศักราชที่ 1445-1536 เป็นคู่มือเกี่ยวกับการจัดทะเทะบะ
นะ โดยผสมผสานกับรูปแบบนะเงะอิเระ แต่เดิมทะเทะบะนะถูกจัดในกิจกรรมพิเศษ หรือพิธีกรรม
สำคัญ โดยที่รูปร่างและภาชนะหรือแม้แต่วัสดุจะต้องถูกจัดการตามกฎเกณฑ์อย่างถูกต้อง
บางครั้งจะถูกจัดวางในซุ้มของโทะโคะโนะมะ คู่กับภาพวาดม้วนแขวนผนังทั้งสามเป็นพื้น
หลัง ในส่วนของดอกไม้จะถูกจัดาวงไว้ตามความสำคัญกับกระถางธูป เชิงเทียน และแจกัน ด้านใน
แจกันจะถูกจัดด้วย กิ่งหลัก (Shin-no-hana) จากนั้นวางดอกไม้ และกิ่งไม้เล็กๆกระจายออกไป
รูปทรงเหล่านี้ถูกตั้งขึ้นจากกฎกิ่งหลักทั้ง 3 ที่ได้กล่าวไว้ในบทที่2 ในชื่อ Trinitarian Arrangement
โดยที่กิ่งหลัก ลำต้น สะท้อนให้เห็นถึงแหล่งกำเนิดพระพุทธศาสนาเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า หรือ
Shaka (Sakyamuni) รูป ทรงสามเหลี่ยมนี้จึง เป็น กฎเกณฑ์ ท ี่จำเป็น ต้ องยึ ดถื อ ในอิเ คะบะในยุ ค
ทะเทะบะนะ ในปัจจุบันเรียกว่า “Hongatte on Hana”
เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดรูปแบบนะเงะอิเระแล้ว นะเงะอิเระจะสามารถจัดเรียงได้อย่าง
อิสระมากกว่า โดยไม่มีรูปแบบหรือภาชนะที่กำหนด ทะเทะบะนะจึงเป็นรูปแบบที่ไม่เหมาะกับการใช้
ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นภาชนะที่ใส่จึงไม่ใช่ภาชนะธรรมดาทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นภาชนะทรงเรือ ตะกร้า
หรืออย่างอื่นที่ดูไม่เป็นทางการ

3.2.1.1 การจัดอิเคะบะนะแบบริกกะ (Rikka)


ปรากฏขึ้นในช่วงคริสตศตวรรษที่ 15 การจัดดอกไม้ แบบริกกะซึ่งมุ่งสะท้อนถึงความ
ยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ว่าควรจัดดอกไม้ เพื่อบรรยายภาพภูเขาพระสุเมรุ ซึ่งถือ
เป็นภูเขาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ทางพุทธศาสนา และเป็นสัญลักษณ์แห่งจักรวาลด้วย
การจัดแบบริกกะสัมพันธ์กับสัญลักษณ์เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น กิ่ งสนเป็นสัญลักษณ์
ของภูหินและก้อนหิน และดอกเบญจมาศสีขาวเป็นสัญลักษณ์ของแม่น้ำและลำธารสายเล็ก การจัด
แบบริกกะเป็นที่นิยมสูงสุดในช่วงคริสตศตวรรษที่ 17 ปัจจุบันนี้การจัดดอกไม้แบบนี้ถือว่าเป็นการจัด
ดอกไม้แบบโบราณ ครั้งหนึ่งนั้นการจัดดอกไม้แบบริกกะ ถือว่าเป็นการประดับตกแต่งที่เหมาะสมกับ
โอกาสที่เป็นพิธีการหรือการเฉลิมฉลอง แต่ได้เสื่อมความนิยมในหมู่ประชาชนและไม่ค่อยมีผู้ใดฝึกกัน
65
การจัดดอกไม้แบบริกกะนี้จะปักก้านของดอกไม้ไว้บริเวณยอดตรงกลางแจกันให้ตั้งตรง
หลังจากนั้นค่อยปักกิ่งและก้านของดอกไม้พันธุ์อื่นๆ ลงบริเวณด้านหน้าของก้านดอกไม้ มีลักษณะไล่
ระดับความสูงให้สวยงาม เมื่อเวลาเรามองดอกไม้นานๆ จะให้ความรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ

ภาพที่ 28 ตัวอย่างการจัดดอกไม้แบบริกกะ
ที่มาภาพ: Josiah Conder, The Flower of Japan and The Art of Floral Arrangement, (Tokyo:
Kodansha International,2002), 40

รูปแบบในการจัดจะเห็นได้ว่ามีความซับซ้อนและเรียบง่ายในเวลาเดียวกัน ทั้งหมดนี้
สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจและความซาบซึ้งในธรรมชาติ สิ่งที่แสดงออกในริกกะ คือ เหล่าดอกไม้ที่
เบิกบานและแมกไม้นานาพันธุ์ที่เขียวชอุ่มในทั้ง 4 ฤดูกาล เมื่อดอกไม้บานในเวลาที่เหมาะสม ทิวทัศน์
ของต้นไม้ หญ้า รวมไปถึงรากไม้ ถูกจัดอยู่ในองค์ประกอบที่ย่อขนาดลงทั้งหมดนี้ คือ การแสดงออก
ถึงความกลมกลืนของธรรมชาติ
อิเคะบะนะของริกกะ ต้นไม้เป็นสัญลักษณ์ของภูเขา ในขณะที่หญ้าและดอกไม้จะช่วย
รองรับกับน้ำ ภูมิทัศน์ทางธรรมชาติทั้งหมดถูกจัดลงสู่แจกันเดียว ทุกสิ่งในธรรมาติจะถูกสะท้อนให้
เห็นในริกกะอย่างกลมกลืนเพื่อแสดงถึงกฎของธรรมชาติ
66
3.2.1.2 รูปแบบทั้ง 9 ของริกกะ
รูปแบบทั้ง 9 ของสไตล์ริกกะ หรือเรียกว่า The nine key Rikka positions ถูกจัดทำขึ้นโดย
พระสงฆ์ในสำนักจัดดอกไม้ ซึ่งกฎเกณฑ์เหล่านี้ยังใช้มาจนถึงปัจจุบันอันได้แก่

ภาพที่ 29 The nine key Rikka positions


ที่มาภาพ: japanobjects, Ikebana: All You Need to Know About Japanese Flower Art, accessed
November 3, 2019, available from https://japanobjects.com/features/ikebana

1. ชิน (Shin) “จุดสูงสุดหลัก” หรือ “ยอดเขาแห่งจิตวิญญาณ”


2. อุเคะ (Uke) “อีกหนึ่งยอดเขาที่สามารถไปถึง” หรือ “การได้รับ”
3. ฮิคะเอะ (Hikae) “การบรรลุแห่งความสมดุล” หรือ “การรอ/สำรอง”
4. โชะ ชิน (Sho Shin) “จุดศูนย์กลาง” หรือ “น้ำตก”
5. โซเอะ (Soe) “สาขารอง” หรือ “การสนับสนุน”
6. นะงะชิ (Nagashi) “กระแส”
7. มิโคะชิ (Mikoshi) “หมอกที่แบ่งแยกความศักดิ์สิทธิ์และความธรรมดา” หรือ “การ
มองข้าม”
8. โดะ (Do) “กาย”
9. มะเอะ โอะคิ (Mae oki) “กายส่วนหน้า”
67
นอกจากนี้อาจมีองค์ประกอบเพิ่มเติม ได้แก่
10. คิ โดะเมะ (Ki dome)
11. คุสะ โดะเมะ (Kusa dome) 61

เราถูกกระตุ้นโดยพืชพรรณที่มีชีวิตซึ่งแสดงให้เห็นถึงความปีติของชีวิต ความประทับใจใน
การทำงานด้วยตนเอง ในขณะที่ริกกะ ชิมพุไต ยังแสดงวัตถุประสงค์ การสะท้อนถึงแนวโน้มร่วมสมัย
ในขณะที่สืบทอดความงามตามแบบฉบับของอิเคะโนะโบ ทำให้เราเข้าใจถึง “ความสนุกของพืช”
“ลักษณะที่ปรากฏตามธรรมชาติ” และ “โยะโระชิกิโอะโมะคาเกะ” (สุนทรียศาสตร์ในความงามของ
ธรรมชาติ)
การขยายตัว เป็นหนึ่งในคุณสมบัติหลักที่จะแสดงถึง “การเจริญเติบโตของพืชพรรณซึ่ง
นำมาสู่การเติบโตของชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือมนุษย์ ต่างเติบโตขึ้นเป็นหนึ่งเดียว” นั่นคือ
ความพยายามที่จะเพิ่มความเติบโตของพืชที่มีชีวิตชีวาในงาน ทำให้จิตใจของผู้สร้างมีอิสระ และความ
เป็นเอกภาพของทั้งพืชและผู้สร้าง ซึ่งทำให้เกิดการขยายตัวในการทำงานโดยแสดงผ่านวิธีการ เช่น
การใช้ทั้งกิ่งยาวและกิ่งสั้น ในทั้งวัสดุตรงและวัสดุโค้ง หรือแม้แต่ในวัสดุแบนและวัสดุที่ซับรวมเข้า
ด้วยกัน
ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดในประวัติ ของอิเคบานะเกิดขึ้นในระหว่างศตวรรษที่ 16
เมื่อโชกุนอาชิกางะ โยชิมาสะแห่งยุคมุโรมาจิ (Muromachi) ปกครองประเทศญี่ปุ่น อาคารหลังใหญ่
และเรือนหลังเล็กที่โยชิมาสะสร้างขึ้นนั้นได้แสดงออกถึงความรักในความเรียบง่ายของโชกุน เรือนหลัง
เล็กเหล่านี้จะมีบริเวณโทะโคะโนะมะ ซึ่งเจ้าของสามารถตั้งแสดงศิลปวัตถุหรือจัดดอกไม้ตั้งประดับ
ในยุคนี้เองที่กฎต่าง ๆ ของอิเคบานะได้รับการปรับปรุงให้ง่ายขึ้นเพื่อว่าบุคคลทุกระดับชั้นสามารถชื่น
ชมกับศิลปะนี้ได้
การพัฒนาที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อ ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อรูปแบบการ
จัดดอกไม้ที่มีวินัยจัดแต่เรียบง่ายซึ่งเรียกว่า นะเงะอิเระ (มีความหมายว่าโยนเข้าไปหรือเหวี่ยงเข้าไป)
ตาม มีขนาดเล็กรูปแบบการจัดดอกไม้ที่มีวินัยจัดแต่เรียบง่าย ได้เกิดขึ้นในฐานะเป็นส่วนหนึ่งในพิธีชง

61
Josiah Conder, The Flower of Japan and The Art of Floral Arrangement, (Tokyo:
Kodansha International,2002), 60
68
ชา (ชะบะนะ) การจัดดอกไม้ตามรูปแบบนี้ ควรจัดดอกไม้ใส่ในแจกันให้ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุดไม่ว่า
วัสดุที่ใช้จะเป็นอะไรก็ตาม

3.2.2 การจัดอิเคะบะนะแบบเซกะ
การจัดดอกไม้แบบเซกะ หรือ โชกะ (shoka) ที่เน้นความสวยงามของดอกไม้ในแต่ละดอก
โดยดอกไม้จัดแต่งได้ทั้งไล่ระดับจากแนวนอนและแนวตั้ง โดยใช้ลักษณะธรรมชาติและแสดงให้เหมือน
เหล่าดอกไม้นั้นกำลังเติบโตมาจากพื้นดิน แสดงถึงการค่อยๆ เจริญเติบโตของธรรมชาติที่สวยงาม เป็น
สไตล์ที่นำมาใช้อย่างเป็นทางการในสมัยเอโดะตอนปลาย โดยการใช้วัสดุดอกไม้ 1-3 ชนิด โชกะเน้น
การแสดงออกถึงรูปแบบการดำรงชีวิตของพืชที่หยั่งรากในดินและเติบโตขึ้น
การออกแบบดอกไม้ ขั้นสุดท้ายของดอกไม้ และพืชองค์ประกอบอื่น ๆ ควรจะพบใน
ระหว่างการจัด มากกว่าการวางแผนและบังคับโครงสร้างของดอก เป็นเหมือนกับการค้นหาตัวตนใน
ดอกแต่ละดอก เน้นความไม่สมดุลและความไม่สมบูรณ์ผ่านการใช้พื้นที่ว่างที่ไม่สม่ำเสมอ และใช้
ดอกไม้ในจำนวนที่น้อยที่สุด
ในขณะที่ริกกะแสวงหาความงามและความกลมกลืนของพืช โชกะมุ่งเน้นไปที่ชุชโช ที่
แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของพืช ชุชโชเป็นลักษณะเฉพาะของพืชแต่ละชนิด ความงามต่างๆ ที่ค้นพบใน
รูปแบบการปลูกที่หลากหลาย ซึ่งทำให้รูปทรงของพืชแสดงถึงความพยายามในการดำรงชีวิตอยู่
รูปแบบของโชกะเป็นรูปแบบดั้งเดิมของพืชที่พยายามจะกลับไปคงรูปสภาพเดิม หลังจาก
ที่ลำต้นเริ่มมีความโค้งเพื่อตอบสนองต่อปัจจัยในสภาพแวดล้อม การจัดดอกไม้ในรูปแบบนี้เป็นการ
แสดงออกถึงความแข็งแกร่งภายในของพืช ซึ่งลำต้นมีการปรับรูปแบบความโค้งไปตามการรับทิศทาง
ของแสง
โชกะประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ ชิน โซเอะ และ ไท ซึ่งเปรียบได้กับ สวรรค์
โลก และมนุษยชาติ ซึ่งหลักนี้ถูกใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นพื้นฐานของความเป็นอยู่ดั้งเดิมของญี่ปุ่น
ที่เกี่ยวโยงกับศาสนาชินโต ถึงแม้ว่าโชกะจะมีกฎเกณฑ์แต่สำนักทั้งหลายต่างก็คิดค้นองค์ประกอบ
เฉพาะตัวขึ้นมา (ภาพที่ 30)
69

ภาพที่ 30 การจัดดอกไม้แบบโชกะ ในรูปแบบของหลากหลายสำนัก


ที่มาภาพ: Josiah Conder, The Flower of Japan and The Art of Floral Arrangement, (Tokyo:
Kodansha International,2002), 47

3.2.3 การจัดอิเคะบะนะแบบโมริบานะ
ในคริสต์ศศวรรษที่ 1890 หลังจากยุคปฏิรูปเมจิที่นำยุคสมัยใหม่และความเป็นตะวันตก
มาสู่ประเทศญี่ปุ่นเพียงไม่นานนัก ก็ได้มีการพัฒนารูปแบบใหม่ของอิเคบานะเรียกว่า โมริบานะ (กอง
ดอกไม้) รูปแบบโมริบานะสอดคล้องกับการนำดอกไม้ตะวันตกมาใช้ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็น
การเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของชาวญี่ปุ่นเป็นแบบตะวันตก รูปแบบโมริบานะเป็นการริเริ่มความ
มีอิสระในการจัดดอกไม้ด้วยการย่อส่วนของภูมิทัศน์หรือทัศนียภาพของสวน การจัดดอกไม้แบบนี้ให้
ความเจริญตาไม่ว่าจะตั้งอยู่ ณ ที่ใด และสามารถดดัดแปลงให้เหมาะสมกับทั้งสถานการณ์ที่เป็น
ทางการและไม่เป็นทางการ
แต่เดิม อิเคะบะนะถูกจัดอยู่ในชามหรือแจกัน ถูกจัดเรียงในแนวตั้งในรูปแบบ “ยืน”
สไตล์แนวตั้งแบบโบราณนี้มีข้อจำกัดมากมาย มีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดและละเอียดมากจนไม่สามารถ
เพลิดเพลินกับการจัดดอกไม้ได้อย่างอิสระ เมื่อถึงยุคเมจิ ดอกไม้ตะวันตกเริ่มนำเข้าและเพาะปลูก ใน
ประเทศญี่ป ุ่น รูป แบบวิถีช ีว ิตก็เริ่มเปลี่ยนไป จึงทำให้รูปแบบอิเคะบะนะในอดีตไม่เหมาะกั บ
สถานการณ์ของชีวิตประจำวันแบบอีกต่อไป
70
ในเวลานั้น อุนชิน โอฮะระ ผู้ก่อตั้งสำนักโอฮะระได้ให้กำเนิดรูปแบบของอิเคะบะนะซึ่ง
รวมดอกไม้แบบตะวันตก การจัดการของเขาไม่เพียงแค่เหมาะสำหรับโทโคโนะมะซึ่งเป็นรูปแบบ
สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม แต่ยังเหมาะกับห้องแบบตะวันตกใหม่ในยุคนั้น เช่น พื้นที่สำหรับ
ห้องรับแขก และโถงทางเข้า รูปแบบใหม่นี้ให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ เรียกว่า
โมริบะนะ
รูปแบบโมริบะนะเริ่มแพร่พระจายไปยังสำนักจัดดอกไม้ต่างๆ และได้กลายเป็นกระแส
หลักของโลกอิเคะบะนะ เมื่อเปรียบเทียบกับอิเคะบะนะแนวตั้งหรือรูปแบบดั้งเดิม ดอกไม้ในโมริบะ
นะนั้นมีการ “ซ้อนกัน” (Moru) ในภาชนะแบบแบน โดยส่วนใหญ่จะใช้ภาชนะที่เรียกว่า “ซุยบัน”
(Suiban)

ภาพที่ 31 การจัดดอกไม้แบบโมริบะนะ
ที่มาภาพ: Josiah Conder, The Flower of Japan and The Art of Floral Arrangement, (Tokyo:
Kodansha International,2002), 49

3.2.4 การจัดอิเคะบะนะแบบฟรีสไตล์
จิยุกะ (自由花) อิเคบานะฟรีสไตล์ เรียกได้ว่าการจัดอิเคบานะแบบจิยุ กะ เป็นรูปแบบ
การจัดที่ฟรีสไตล์ มีความร่วมสมัยและนามธรรม จิยุกะส่งเสริมการแสดงออกทางศิลปะร่วมสมัย
รูปแบบที่เป็นธรรมชาติและเป็นนามธรรมของจิยุกะแตกต่างกันไปในลักษณะที่ดอกไม้และต้นไม้ถูก
นำมาใช้และนำมาประกอบเป็นองค์ประกอบ ในขณะที่ อดีตเน้นความงามตามธรรมชาติของวัสดุ
71
ดอกไม้ห ลังเน้น คุณภาพการออกแบบของดอกไม้และใบไม้ องค์ประกอบที่ไ ม่ใช่ พืช จะเรี ย กว่ า
Abstract Jiyuka ด้ว ยความเป็น ธรรมชาติและปราศจากความวุ่นวายองค์ประกอบของนักธรรม
ชาตินิยมจิยุกะถ่ายทอดความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติและความเป็นธรรมชาติ ซึ่งจะเรียกว่า Naturalistic
Jiyuka
การจัดอิเคะบะนะแบบฟรีสไตล์ หรือจิยุกะ จึงไม่ใช่เพียงแค่ การใช้ดอกไม้ในการจัด แต่
สามารถหยิ บ ยกสิ ่ ง ของต่ า งๆมาจั ด ได้ เ ช่ น กั น เช่ น ใบไม้ ท ี ่ เ หี ่ ย วแห้ ง ตายแล้ ว โลหะ ฟางข้ า ว
คอมพิวเตอร์ แผ่นซีดี เพราะการจัดอิเคะบะนะเป็นศิลปะที่สูงส่ง ไม่ใช่เพียงแค่การประดับตกแต่ง แต่
ผู้จัดควรมีพื้นฐานในการจัดอิเคะบะนะรูปแบบต่างๆมาก่อน เพราะการจัดแบบฟรีสไตล์จะค่อนข้าง
ยากกว่า เนื่องจากพื้นที่ที่ไม่มีขอบเขต ไม่มีกฎเกณฑ์

ภาพที่ 32 Flower by naked


ท ี ่ ม า ภ า พ : Sogetsu, Akane Teshigahara’s Gallery, accessed November 21, 2019, available from
https://www.sogetsu.or.jp/e/works/
72
3.3 สุนทรียศาสตร์ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น
สุนทรียศาสตร์แบบญี่ปุ่นซึ่งจะแตกต่างกับสุนทรียศาสตร์แบบตะวันตก จิตสำนึกแห่ง
ความงาม หรือ สุนทรียศาสตร์ญี่ปุ่น (日本の美意識) หมายถึง การตระหนักถึงความงาม ความรู้สึก
ของความงามและการตัดสิน62 สุนทรียศาสตร์ญี่ปุ่นยังอยู่ในวัฒนธรรมต่างๆของญี่ปุ่น เช่น พิธีชงชา
อุดมคติเหล่านี้และอื่นๆ เป็นรากฐานของบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมและความงามของ
ญี ่ ป ุ ่ น ในสิ ่ ง ที ่ ถ ื อ ว่ า มี ร สนิ ย มหรื อ สวยงาม ดั ง นั ้ น ในขณะที ่ ถ ู ก มองว่ า เป็ น ปรั ช ญา แนวคิ ด ของ
สุนทรียศาสตร์ในญี่ปุ่นจึงถูกมองว่าเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวัน

3.3.1 โมโนะ โนะ อะวะเระ (Mono no Aware) การตระหนักรู้ความรู้สึกของสรรพสิ่ง


ความรู ้ ส ึ ก ดื ่ ม ด่ ำ ทอดถอนใจในสั จ ธรรมการเปลี่ ย นแปลงที ่ แ สดงให้เ ห็ นความงาม
สุนทรียภาพของชาวญี่ปุ่นที่ได้รับอิทธิพลจากธรรมชาติ การเปลี่ยนผ่านของฤดูใบไม้ร่วงเข้าสู่ฤดูหนาว
ในช่วงปลายปี ใบไม้สีแดงแก่แซมเหลืองที่ลมเบาๆ ก็เพียงพอพัดปลิวให้ร่วงหล่นลงมา โมงยามแห่ง
การผลัดใบที่เปราะบาง แสนสั้น ทว่างดงามที่สุดของฤดูกาล
โมโนะ (mono) แปลตรงตัวได้ว่าสิ่งของ ส่วน อะวะเระ (aware) หมายถึง ความโศกเศร้า
แต่เมื่อรวมกันแล้ว ความรู้สึกทอดถอนใจใน โมโนะ โนะ อะวะเระ (the sorrow of things) นั้นหาใช่
ความเสียใจไม่ หากคือความซาบซึ้งท่วมท้นที่ตระหนักรู้ได้ถึงสัจธรรมสูงสุดว่าสิ่งต่างๆ นั้นไม่จีรัง และ
นั่นคือเหตุแห่งความสวยงาม หาใช่ความน่ากลัวที่ต้องหวั่นเกรง
วัฒนธรรมนั่งชมดอกซากุระบานในฤดูใบไม้ผลิ หรือความนิยมในโคะโยะ การชมฤดูใบไม้
เปลี่ยนสีฤดูใบไม้ร่วงช่วงปลายปีดูจะสะท้อนสุนทรียภาพ โมโน โนะ อะวะเระ ของชาวญี่ปุ่นได้เป็น
อย่างดี ซากุระชมพูสะพรั่ง เมเปิลเหลืองแดงจะงดงามเช่นนั้นไหม หากมันจะอยู่ตรงนั้นตลอดไป ให้
ผู้คนชื่นชมเมื่อไรก็ได้
ทั้งที่เมื่อเวลาผ่านไปใครเล่าจะการันตีได้ว่าเหมือนเดิม นั้นเป็นอย่างไร หากในขนบแบบ
ชิน โตนี้ต่างไปจากการบูร ณะเช่น นั้น คือให้มีการรื้อถอนศาลเจ้าเก่าทิ้งและสร้างใหม่ทุก 20 ปี
ระยะเวลาที่ไม่นานเกินไปที่ผู้เชี่ยวชาญจะถ่ายโอนความรู้ไปสู่อีกรุ่นได้ เพราะสุดท้าย ต่อให้ไม้ที่ใช้
ก่อสร้างจะไม่ใช้ไม้ชิ้นเดิม แต่เฉดสีอ่อนเข้มต่างไปบ้าง แต่สิ่งเดียวที่จะไม่สลายหายไป และส่งต่อได้
อย่างแท้จริงก็คือ ความรู้ ทักษะ ความคิดที่ข้ามพ้นกาลเวลา
ภูมิศาสตร์ที่ทำให้เผชิญกับความไม่แน่นอนตลอดเวลาดูจะทำให้คนญี่ปุ่นไม่เสียเวลาก่นด่า
ฟ้าดินในยามเกิดภัยพิบัติ หากสิ่งที่เราเห็นจากญี่ปุ่นผ่านการเผชิญโจทย์ท้าทายจากธรรมชาติซ้ำๆ ดู

62
Iwanami Shoten, Kōjien, sixth edition (Iwanami Shoten, 2008)
73
จะเป็นการยอมรับเมื่อมันเกิดขึ้น ลุกขึ้นใหม่ และเรียนรู้เมื่อสิ่งๆ นั้น หรือเหตุการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง
สุนทรียภาพในความเศร้านี้สัมพันธ์กับความงามอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า มุโจ

3.3.2 มุโจ (Mujo) อนิจจัง หรือ การเห็นความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง การยอมรับ


ก่อให้เกิดความงาม
“วัตถุย่อมเสื่อมสลายอย่างแน่นอน”63 ประโยคที่จะทำให้เข้าใจว่าพื้นฐานของสวนว่าเป็น
สิ่งเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ยังทำให้นึกถึงสุนทรียภาพที่เรียกว่า มุโจ แนวคิดนี้ไม่มีอยู่ในสังคม
ดั้งเดิมของญี่ปุ่น แต่ปรากฎขึ้นหลังได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา คำในภาษาไทยอาจแปลได้ว่า
“อนิจจัง” ในวัฒนธรรมไทยอาจใช้ในบริบทของศาสนาและคำสอนต่อชีวิต แต่ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น
ขยายความไปยังความงามอีกด้วย
มุโจ คือ การเห็นความงามจากการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ใบไม้ที่ร่วงหล่นจากต้นไป
หมด อาจทำให้เห็นความงามตามธรรมชาติ การยอมรับก่อให้เกิดความงามขึ้นในใจ จะเห็นได้ว่ามุโจมี
ความสัมพันธ์อย่างมากกับโมะโนะโนะอะวะเระ
ในกรณีของสวนญี่ปุ่น องค์ประกอบที่เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ต้นไม้ในความเปลี่ยนแปลง
ตลอดเวลา อันนำมาสู่สุนทรียภาพอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “คิเสะทสึ” แปลว่า ฤดูกาล ในประเทศญี่ปุ่นที่
มีความเปลี่ยนแปลงในแต่ละฤดูค่อนข้างสั้น โดยทั่วไปดอกไม้บานหรือใบไม้เปลี่ยนสี่จะเป็นจุดสนใจ
แต่ความงามในเนื้อแท้กลับความรู้สึกที่ว่าปรากฎการณ์ดังกล่าวนั้นไม่จีรัง หรือแม้แต่หินที่ดูเหมือน
ถาวร แต่การเสื่อมสลายที่ใช้เวลายาวนานกว่าเป็นสิ่งที่วัฒนธรรมญี่ปุ่นตะหนักอยู่ในใจ
นอกจากนี้กรอบเวลาก็เป็นต้นเหตุของมุโจ โดยปกติเรามักใช้กรอบเวลาของชีวิตเราเอง
เป็นตัวตั้งเพื่อทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ แต่โลกหรือจักรวาลนั้นมีกรอบเวลาที่ยาวนานกว่านั้นมาก
ในขณะที่กรอบเวลาของดอกไม้นั้นสั้นจนเราสามารถชื่ นชมทั้งตอนบานสะพรั่ง และตอนเหี่ยวเฉาได้
หลายครั้งในหนึ่งช่วงชีวิตของเรา64

3.3.3 มะ (Ma) การรับรู้พื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา


สวนและพื้นที่ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น มีลักษณะสี่มิติ การชื่นชมใช้ทั้งเวลาและใจ คำว่า “มะ”
ในภาษาญี ่ ป ุ ่ น แปลตรงตั ว ว่า “พื ้ น ที ่ ” ความหมายก็ ค ื อ พื ้ น ที ่ จ ะมี ค วามหมายาเมื ่ อ เกิ ด ความ
เปลี่ยนแปลงในเวลา การวัดพื้นที่ในผัสสะญี่ปุ่นจึงใช้เวลาเป็นปฏิสัมพันธ์ ตัวอย่างคำในภาษาญี่ปุ่น

63
Takei Jirou, Promenade on Garden History, (Kyoto: Showado, 2009. 3
64
ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ,์ เซนและวัฒนธรรมญี่ปุ่น (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บ,ิ 2559), 43-44
74
หลายคำมีคำว่า “มะ” เข้าไปประสมอยู่ด้วย เช่นคำว่า มะโมะนะคุ ที่แปลว่าไม่มีพื้นที่ แต่ความหมาย
ที่แท้จริงนั้นใช้ในกรณีของคำว่า อีกสักครู่
ความหมายของพื้นที่ในวัฒนธรรมญี่ปุ่นจึงเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ความรู้สึกที่สื่อผ่าน
ความเงียบเองก็เป็นส่วนหนึ่งในสุนทรียศาสตร์แบบญี่ปุ่น โดยที่เสียงทำให้พื้นที่เกิดการรับรู้เรื่องเวลา
อย่างเป็นรูปธรรม และขยายอีกด้านหนึ่งของเวลาคือพื้นที่ให้ กว้างไกลกว่าตาเห็น เสียงยังเป็นส่วน
หนึ่งขององค์ประกอบของสวน
ความรู้สึกที่สัมพันธ์กับพื้นที่และเวลา ณ ขณะหนึ่ง พัฒนาไปสู่แนวคิดหนึ่งที่เรียนกว่า
“อิจิโกะ อิจิเอะ” แปลว่า หนึ่งเวลาหนึ่งการประสบ หมายถึงการเกิดประสบการณ์ของคนกับสิ่งแวด
ล้ออมเพียงแค่ครั้งเดียวโดยจะไม่มีวันเกิดสภาวะที่เหมือนกันทุกประการเช่นนั้นอีกแล้ว พื้นที่นั้นจึง
เป็นสภาวะที่สำคัญที่สุด และควรรับรู้ให้ดีที่สุด

3.3.4 วะบิ (Wabi) ความยากจน ความพึงพอใจในความไม่สมบูรณ์


การเกิดสภาวะสันโดษเหนือธรรมชาติ ภายใต้ความหลากหลาย โดยความหมายที่แท้จริง
ของคำว่า “วะบิ” คือ “ความยากจน” ในทางลบ คือ ไม่อยู่ในกระแสสังคมของแต่ละยุค
ยากจน คือ การไม่พึ่งพาสิ่งใดสิ่งหนึ่งในทางโลก ไม่ว่าจะเป็นความมั่งคั่ง อำนาจ และ
ชื่อเสียง แต่ภายในยังตระหนักถึงการปรากฎอยู่ของสิ่งซึ่งทรงคุณค่าสูงสุดเหนือสถานะทางสังคมและ
เวลา นั่นคือ วะบิ
ในชีวิตประจำวัน วะบิ คือ การพึงพอใจกับกระท่อมน้อยที่มีห้องขนาดแค่สองหรือสามเสื่อ
หรือ การฟังเสียงฝนฤดูใบไม้ผลิที่ตกเปาะแปะอย่างอ่อนโยน วิถีแห่งวะบิได้ซึมลึกลง ในวิถีทาง
วัฒนธรรมของคนญี่ปุ่น ภายใต้ความหรูหราแบบสมัยใหม่จากตะวันตก ยังคงมีค วามโหยหาวะบิที่ไม่
ห่างหายไปไหน แม้แต่ในวิถีแบบปัญญาชนก็ตาม เรามีความโหยหาจากภายในสำหรับความเรียบง่าย
แบบดั้งเดิมที่ไม่ห่างไกลจากชีวิตธรรมชาติ วิถีปฏิบัติของเซนในการมองทะลุรูปแบบของการเสแสร้ง
ของมนุษย์และจับสิ่งที่อยู่เบื้องหลังเอาไว้อย่างมั่นคง ความเรียบง่ายไร้การปรุงแต่งนั้น เมื่อนำ
สติปัญญาไปตรวจสอบ จิตที่วิเคราะห์จะเห็นรูปแบบความซับซ้อนอย่างมหาศาล
เมื่อให้ความใส่ใจไปยังจิตวิญญาณอันเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ความใฝ่ใจในรูปทรงจะถูกละ
เลิกไปเอง ไม่พบกับเส้น มวล หรือการสร้างสมดุลในที่ที่คาดหวัง แต่ลักษณะนี้ปลุกความเพลิดเพลินที่
ไม่ได้คาดหมายขึ้น ความไม่สมบูรณ์จึงกลายเป็นรูปแบบอันสมบูรณ์แบบ เห็นได้ว่าความงามจึงไม่
จำเป็นจะต้องมาจากรูปทรงอันสมบูรณ์แบบ65

65
ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์, เซนและวัฒนธรรมญี่ปุ่น (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บ,ิ 2559) 55-64
75

3.3.5 สะบิ (Sabi) ความงามที่มากับความเปลี่ยวเหงา ความโดดเดี่ยว


ความงามจากความไม่ส มบูร ณ์ อยู่ ค ู่ กั บลั ก ษณะโบราณ จะเห็น ส่ว นหนึ่ ง ของสะบิ ที่
ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นให้ค่าไว้สูงมาก ถ้าศิลปะวัตถุบ่งชี้ให้เห็นความรู้สึกของช่วงเวลาประวัติศาสตร์ที่
ประดิษฐ์ขึ้นต่างก็จะมีสะบิอยู่ในนั้น
สะบิประกอบขึ้นในความดิบไร้การดัดจริต หรือความไม่สมบูรณ์แบบโบราณ กระบวนการ
สร้างที่เรียบง่ายไร้ความพยายาม และมีความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ที่เข้มข้น และสุดท้ายวัตถุนั้นมี
องค์ประกอบที่ไม่สามารถอธิบายได้ที่ยกระดับวัตถุนั้นให้ขึ้นสู่ระดับของปฏิบัติการศิลปะ อุปกรณ์ ที่ใช้
ในห้องชามักจะมีคุณสมบัตินี้องค์ประกอบทางศิลปะที่ประกอบขึ้นเป็น “สะบิ”
แปลตรงตัวว่า ความเหงา ความโดดเดี่ยว ซึ่งสัมพันธ์กับการมีสมาธิไตร่ตรอง และไม่
ต้องการการแสดงที่ฟู่ฟ่า แม้จะดูทุกข์ยาก ไร้ความสำคัญ และดูน่าสงสารโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ใน
ฉากตะวันตกและสมัยใหม่ เมื่ออยู่ระหว่างรูปทรงและสีสันที่เปลี่ยนแปลงจัดวางเอาไว้อย่างไม่มีที่
สิ้นสุดนั้นกลับไร้สิ่งที่ต้องมองอย่างสิ้นเชิงความคิดว่าด้วยความโดดเดี่ยวเป็น ของโลกตะวันออกอยู่ใน
สภาพแวดล้อมต้นกำเนิดของตัวเอง
ต้นกำเนิดของความโดดเดี่ยวอาจะเป็นทุ่งหญ้าเขียวในต้นฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งดูแสดงความเป็น
สะบิและวะบิได้ดี ลักษณะสองข้างไม่เสมอกันหรืออสมมาตรเป็นหนึ่งในลักษณะเด่นของศิลปะญี่ปุ่น
ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด เป็นแผนผังของวัดในพระพุทธศาสนา อาคารหลักๆของวัด เช่น ประตูใหญ่
วิหาร หอพระพุทธ อาจวางตัวตามแนวแกนเป็นเส้นตรง แต่ อาคารรองลงมาจะไม่วางให้สมมาตรสอง
ข้างของแกนหลัก อาคารเหล่านี้มักจะวางตัวกระจายไปตามลักษณะเฉพาะของภูมิประเทศ
นักศีลธรรมชาวญี่ปุ่นพยายามอธิบายความชื่นชอบในความอสมมาตรและการต่อต้าน
ประเพณีปฏิบัติ หรือกฎทางเรขาคณิตของศิลปินญี่ปุ่นว่าเป็นเพราะคนญี่ปุ่นถูกฝึกไม่ให้ เป็นฝ่ายบุก
และพยายามทำตัวไม่ให้โดดเด่น และการฝึกจิตที่สร้างแนวทางการทำลายตนเองที่แสดงออกมาใน
ศิลปะ โดยศิลปินปล่อยพื้นที่ว่างตรงกลางที่สำคัญที่สุดว่างไว้ อาจกล่าวได้ว่าอัจฉริยภาพทางศิลปะ
ของชาวญี่ปุ่นนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากวิถีเซนพินิจพิจารณาสิ่งของแต่ละอย่างว่าสมบูรณ์ในตัวเอง
และในขณะเดียวกันก็มีธรรมชาติขององค์รวมที่เป็นหนึ่งเดียว
หลักความงามแห่งการสันโดษ ไม่ได้เป็นหลักพื้นฐานเช่นเดียวกับหลักสุนทรียศาสตร์ของ
เซน ความดึงดูดใจของศิลปะนั้นพุ่งตรงไปยังธรรมชาติของมนุษย์ ศีลธรรมนั้นเป็นกฎในขณะที่ศิลปะ
เป็นการสร้างสรรค์ อย่างหนึ่งเป็นการใช้มาจากภายนอก ในขณะที่อย่างหนึ่งเป็ นการแสดงออกที่
76
ควบคุมไม่ได้จากภายใน เซนพบว่าตัวเองแยกออกจากศิลปะไม่ได้ แต่ไม่ใช่กับศีลธรรม เซนอาจไม่ต้อง
มีศีลธรรมก็ได้แต่ต้องมีศิลปะ66

3.3.6 ชิบุอิ (Shibui) ความงามที่ลุ่มลึก


ชิบุอิ, ชิบุมิ หรือ ชิบุสะ หมายถึงความงามโดยเฉพาะของความงามที่เรียบง่ายบอบบาง
และไม่สร้างความรำคาญ เช่นเดียวกับคำศัพท์ด้านสุนทรียศาสตร์อื่น ๆ ของญี่ปุ่น ชิบุอิสามารถ
นำไปใช้กับหลากหลายสาขาวิชาไม่ใช่แค่ศิลปะหรือแฟชั่นเท่านั้น
ชิบุอิ แม้ว่าจะดูเรียบง่าย แต่เผยให้เห็นตัวแปรที่ซับซ้อนและสลับซับซ้อนในธรรมชาติที่ทำ
ให้โลกของเราไม่เหมือนใคร ความตั้งใจของมันคือทำให้เกิดความตระหนักและซาบซึ้งต่อชีวิตอย่างที่ม
เป็น เห็นความงามโดยนัยในสิ่งที่ได้รับการพิจารณาสามัญหรือทางโลก สุนทรียศาสตร์ของชิบุอิเปิดตา
ของเราต่อความงามของชีวิตจริงปาฏิหาริย์ในชีวิตประจำวันของธรรมชาติ ถูกออกแบบมาโดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อผสานธรรมชาติกับการใช้ชีวิตแบบวันต่อวัน ทุกรูปแบบและรายละเอียดได้รับการ
ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนประสบการณ์ทั้งหมด
อิ เ คะบะนะแสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ความสวยงามของชิ บ ุ อิ โดยดึ ง ความสนใจไปใช้ ใ น
ชีวิตประจำวันรอบตัวเราซึ่งมักจะไม่มีใครสังเกต วัสดุที่คุ้นเคยนำเสนอในรูปแบบที่ไม่คุ้นเคยขอให้เรา
ชะลอและมองอีกครั้งใกล้ ๆ รายละเอียดที่สลับซับซ้อนเปิดเผยความหมาย เราเริ่มเห็นโลกและตัวเรา
เป็นส่วนหนึ่งของมันด้วยความชัดเจน
วัตถุในแบบชิบุอินั้นดูเรียบง่ายโดยรวม แต่มีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นพื้นผิวที่สมดุล
กับความเรียบง่ายกับความซับซ้อน ความสมดุลของความเรียบง่ายและความซับซ้อนนี้ช่วยให้มั่นใจได้
ว่าจะไม่ทำให้เบื่อกับวัตถุ แต่จะพบความหมายใหม่และความงามที่ได้รับการตกแต่ง
ชิบุสะ ไม่ควรสับสนกับวะบิ หรือสะบิ แม้ว่าวัตถุวะบิ หรือสะบิจำนวนมากจะเป็นชิบุอิ แต่
ก็ไม่ได้เป็นวัตถุว ะบิหรือสะบิทั้งหมด วัตถุไม่จำเป็นต้องไม่สมบูรณ์หรือไม่สมมาตร เดินเส้นแบ่ง
ระหว่างแนวความคิดที่ขัดแย้งกันเช่นสง่างามและหยาบหรือเป็นธรรมชาติและยับยั้ง

66 ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์, เซนและวัฒนธรรมญี่ปุ่น (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บ,ิ 2559) 63.


77
3.3.7 โยะฮะคุ (Yohaku) การตีความจากความว่างเปล่า
白の美 Yohaku-no-bi ความงามของพื้นที่ว ่าง พื้นที่ส ีขาวที่เหลือ เป็นการแสวงหา
สุนทรียภาพจากพื้นที่ว่าง และปล่อยให้ผู้ชมเติมเต็มความหมายด้วยตนเอง แหล่งที่มาของสุนทรียภาพ
นี้มาจากอารยธรรมจีน ภาพเขียนจีนแบบหึกดำ เนื่องจากประเพณีภาพเขียนจีนส่วนหนึ่งมุ่งแสดงออก
องค์ประกอบที่มีลักษณะพื้นที่ว่าง หรือบริเวณที่ตามองไม่เห็น
พื้นที่ว่างในทางปรัชญาเซนตามแนวคิด โลกแห่งปรากฏการณ์ภายนอกล้วนเป็นสิ่งที่ลวง
ตาที่เกิดขึ้นจากจิต เมื่อเปรียบกับพื้นที่ว่างบนภาพจึงเป็นดั่งจิตที่สามารถรองรับทุกสิ่ง ไม่มีอะไร
เป็นอยู่จริงเว้นแต่ที่สะท้อนอยู่ในจิ ตการรักษาสภาวะจิตให้ว่างเป็นหัวใจของการปฏิบัติแบบเซน เมื่อ
แปรรูปมาเป็นงานศิลปะ การปล่อยพื้นที่ว่างให้ทำงานจึงเป็นหัวใจของภาพวาดนั้นๆ พื้นที่ว่างย่อม
ตอบสนองต่อจินตนาการของผู้ชม เช่นเดียวกับจิตว่าง
สุนทรียศาสตร์ชนิดนี้เป็นลักษณะร่วมสมัยของต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นสุนทรียภาพที่
โปร่ ง เบา ต่ อ เนื ่ อ งมาจากสุ น ทรี ย ภาพแบบวะบิ สะบิ จิ ต ที ่ น ิ ่ ง สงบจึ ง สามารถรองรั บ ได้ ท ุกสิ่ ง
เปรียบเสมือนกับความว่างเปล่าที่จับความเคลื่อนไหวได้ทุกอย่าง

3.3.8 โมะโนะมะเนะ (Monomane) การเลียนแบบสรรพสิ่ง


การเลียนแบบสรรพสิ่ง ไม่ใช่การเลียนแบบรูปทรงหรือปรากฏการณ์ภายนอก แต่เป็นที่
สาระภายใน โดยผู้เลียนแบบไม่ได้แยกตัวเองออกจากสิ่งที่เลียนแบบ สาระภายในขององค์ประกอบ
ธรรมชาติได้รับอิทธิพลจากปรัชญาเซน
การเลียนแบบสรรพสิ่งต้องเลยจากขั้นตอนการไตร่ตรองว่าจะเลียนแบบสรรพสิ่ง แต่ต้อง
ผนึกผู้เลียนแบบรวมกับธรรมชาติที่จะเลียนแบบเข้าด้วยกัน จึงเป็นการทำความเข้าใจกับสภาวะของ
ธรรมชาติ จากนั้นจึงเลียนแบบจนกระทั่งไม่ต้องเลียนแบบ กลายเป็นร้างเนื้อหาสาระได้เสมอเหมือน
ธรรมชาติด้วยรูปทรงใหม่
78

บทที่ 4
วิเคราะห์อิเคะบะนะตามรูปแบบของแต่ละสำนัก

ภายในบทวิเคราะห์นี้จะศึกษาเฉพาะผลงานการจัดดอกไม้อิเคะบะนะ จากผลงานจาก
สำนักทั้ง 3 อันได้แก่ สำนักอิเคะโนะโบ สำนักโอฮะระ และสำนักโซเก็ทสึ โดยจะแบ่งการวิเคราะห์
เป็น 3 หัวข้อ ได้แก่
1. วิเคราะห์จากแนวคิด
2. วิเคราะห์จากปรัชญา
3. วิเคราะห์จากรูปแบบ

ลำดับการเกิดอิเคะบะนะในแต่ละสำนัก
จากการลำดับเหตุการณ์ประวัติความเป็นมาของการจัดอิเคบานะนะในบทที่ 3 ผู้วิจัยได้
คัดเลือกผลงานอิเคะบะนะตามลำดับการเกิดของแต่ละสำนัก โดยนำมาศึกษาจาก 3 สำนัก ได้แก่
สำนักอิเคะโนะโบ ซึ่งเป็นสำนักต้นกำเนิดของอิเคะบะนะ สำนักโอฮะระ ผู้ริเริ่มอิเคะบะนะแบบร่วม
สมัย และสำนักโซเก็ทสึ ที่มีสไตล์โดดเด่น โดยรวมการจัดอิเคะบะนะเข้ากันกับศิลปะแบบจัดวาง
(Installation Art)

78
8
79
ตารางที2่ อิเคะบะนะตามลำดับการเกิดของแต่ละสำนัก
โอฮาระ

โซเก็ทสึ
อิเคะโนะโบ

Rikka Shoka Moribana Freestyle

4.1 สำนักอิเคะโนะโบ

ประวัติของสำนักอิเคะโนะโบ กล่าวได้ว่าอิเคะบะนะถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมกับสำนัก
อิเคะโนะโบมากว่า 555ปีก่อนที่จะมีสำนัก โรงเรียนอื่นๆ แตกออกมาอีกหลายแขนง อิเคะโนะโบมี
ประวัติศาสตร์ที่ครอบคลุมทั้งอิเคะบะนะแบบดั้งเดิมและสมัยใหม่ โดยทั้งสองรูปแบบนี้ได้รับการ
พัฒนาจนถึงปัจจุบัน ผู้คนในแต่ละยุคสมัยต่างก็รักดอกไม้ แต่สำหรับบรรพบุรุษผู้จัดอิเคะบะนะนั้นไม่
เพียงมองดอกไม้เป็นความสวยงาม แต่ยังสะท้อนถึ งเวลาและความรู้สึกในใจของพวกเขา เมื่อเรา
สามารถรับรู้ถึงคำพูดที่ไม่มีการเอ่ยของพืช และการเคลื่อนไหวอย่างเงียบๆ เราจะเพิ่มความประทับใจ
ผ่านรูปแบบของรูปทรง (ฟอร์ม) ที่กลายเป็นอิเคะบะนะ
อิเคะโนะโบ เน้นการตัดแต่งพืช พรรณที่ถูกตัดออกจากธรรมชาติให้เกิดความงามใน
รูปแบบใหม่ขึ้นท่ามกลางสภาพแวดล้อมแบบใหม่ แทนที่จ ะสร้างรูปร่างที่เหล่าพืชพรรณขึ้นตาม
ธรรมชาติ แต่อิเคะโนะโบประกอบสร้างเหล่ากิ่งไม้ ใบไม้ออกมาในรูปแบบงานศิลปะแบบใหม่ที่เก็บ
ความประทับใจในความงามของพืชเหล่านั้นไว้ด้วย รวมไปถึงจิตวิญญาณของผู้จัด
อิเคะบะนะยังอธิบายถึ งพลังงานธรรมชาติที่สามารถมองได้จากร่องรอยของพืช พรรณ
ต่างๆที่ใช้ เช่น กิ่งก้านที่ถูกลมพัดในฤดูหนาว ใบมี่ถูกแมลงกัดกินจนเหลือครึ่งหนึ่ง อิเคะโนะโบ
คำนึงถึงในจุดนี้ จึงไม่เพียงแต่พิจารณาดอกไม้ที่บานสะพรั่ง แต่ยังหยิบยกดอกไม้ที่เป็นดอกตูมมาใช้
เพื่อบอกกล่าวถึงพลั งแห่งชีวิตของดอกไม้ ที่จะเติบโตและบานสะพรั่งในอนาคต สิ่งเหล่านี้จึงไม่ได้
กล่าวถึงปัจจุบันขณะ แต่เป็นการบอกเล่าเรื่องราวในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตในทุกช่วงเวลา เพื่อให้
80
ผู้คนตระหนักถึงสภาวะที่พืชพรรณและมนุษย์ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ไม่ว่าพืชหรือมนุษย์จึงรวมกันเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
เหล่าผลงานอิเคะบะนะของสำนักอิเคะโนะโบจึงเน้นจัดแสดงความรู้สึกเหล่านี้ในทุก
ช่วงเวลาระหว่างการจัดอิเคะบะนะ เช่นเดียวกับการสรรค์สร้างบทกวีหรือภาพวาด จิต วิญญาณของอิ
เคะโนะโบจึงเป็นการแสดงออกถึงความงามของดอกไม้และให้ ผู้ชมตระหนักถึงความงามของความ
ปรารถนาในจิตใจของตน จิต วิญญาณของอิเคะโนะโบไม่เพียงแต่แพร่กระจายไปทั่วญี่ปุ่นเท่านั้น แต่
วิถีแห่งดอกไม้เหล่านี้ยังแพร่กระจายสู่ทั่วโลก ก่อให้เกิดสำนักอิเคะโนะโบในหลายประเทศ รวมไปถึง
ประเทศไทยเองด้วย
จึงกล่าวได้ว่า อิเคะบะนะเปรียบเสมือนหนึ่งในตัวแทนของวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น ซึ่ง
เริ่มต้นจากสำนักอิเคะโนะโบ วัดโรคคะคุโดซึ่งก่อตั้งโดยเจ้าชายโชโตคุ เมื่อราว 1,400ปี ก่อน โดย
พระสงฆ์ของทางวัดที่จัดทำดอกไม้สำหรับการบูชาพระ วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้กับสระน้ำ ในกระท่อม
เล็กๆ (สระน้ำในภาษาญี่ปุ่น อ่านว่า อิเคะ กระท่อม ในภาษาญี่ปุ่น อ่านว่า โบ) ผู้คนจึงเรียกพระสงฆ์
รูปนี้ว่า อิเคะโนะโบ
ในปีคริสต์ศักราช 1462 นามของ เซงเค อิเคะโนะโบ ปรากฏในบันทึกประวัติศาสตร์ครั้ง
แรกในฐานะผู้ช ำนาญการจัดดอกไม้ อิเคะโนะโบเริ่ มมี บทบาทในช่ว งปลายยุค มุโ รมาจิ (กลาง
คริสตศตวรรษที่16) โดยเผ่ยแพร่หลักปรัชญาของอิเคะบะนะที่เรียกว่า “เซนโนะคุเด็น” อิเคะโนะโบ
สอนว่า
“ไม่เพียงดอกไม้ที่บานสะพรั่งเท่านั้นที่สวยงาม แต่เหล่าดอกไม้ที่ตูม และดอกไม้ที่เหี่ยว
แห้งต่างก็มีชีวิตและความงามในแบบของตนเอง การจัดดอกไม้ด้วยความเคารพเป็นการค้นหาความ
งามในดอกไม้เหล่านี้ โดยเชื่อมโยงกับหัวใจที่ให้ความสำคัญกับธรรมชาติและใส่ใจต่อผู้อื่น สิ่งเหล่านี้
คือ จิตวิญญาณของอิเคะโนะโบอิเคะบะนะ”
สำนักอิเคะโนะโบใช้วลีว่า “อิเคะบะนะแบบดั้งเดิม” เนื่องจากเป็นต้นตำรับการเกิดของ
อิเคะบะนะมากว่า 555 ปี ผู้วิจัยจึงเลือกวิเคราะห์ผลงานโดยเริ่มจากรูปแบบของสำนักอิเคะโนะโบ
ก่อนเป็นพื้นฐาน โดยอาจารย์ใหญ่ของสำนักในปัจจุบัน คือ เซนเอ อิเคะโนะโบ อาจารย์ใหญ่ลำดับ
ที่45 ของสำนัก รูปแบบในการจัดมีความซับซ้อนและเรียบง่ายในเวลาเดียวกัน ทั้งหมดนี้สะท้อนให้
เห็นถึงความเข้าใจและความซาบซึ้งในธรรมชาติ รูปแบบเบื้องต้นของสำนักอิเคะโนะโบจะแบ่ง
ออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
81
4.1.1 ริกกะ (Rikka)

ภาพที3่ 3 อิเคะบะนะในรูปแบบริกกะ โชฟุไต


ที่มา: Ikenobou, Naraimono Nanakajo, Susuki Hito-ha, Accessed January 23, 2019, Available from
http://www.ikenobo.jp/english/gallery/

4.1.1.1 แนวคิดของริกกะ
ริกกะ ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยมุโรมาจิ เป็นรูปแบบเก่าแก่ที่สุดของอิเคะบะนะ โดยใช้กิ่งไม้
และพืชพรรณที่หลากหลาย ริกกะเน้นแสดงให้เห็นถึงความงามของภูมิทัศน์ธรรมชาติทั้งหมด สิ่งที่
แสดงออกในริกกะ คือ เหล่าดอกไม้ที่เบิกบานและแมกไม้นานาพันธุ์ที่เขียวชอุ่มในทั้ง 4 ฤดูกาล เมื่อ
ดอกไม้บานในเวลาที่เหมาะสม ทิวทัศน์ของต้นไม้ หญ้า รวมไปถึงรากไม้ ถูกจัดอยู่ในองค์ประกอบที่
ย่อขนาดลงทั้งหมดนี้ คือ การแสดงออกถึงความกลมกลืนของธรรมชาติ
อิเคะบะนะของริกกะ ต้นไม้เป็นสัญลักษณ์ของภูเขา ในขณะที่หญ้ าและดอกไม้จะช่วย
รองรับกับน้ำ ภูมิทัศน์ทางธรรมชาติทั้งหมดถูกจัดลงสู่แจกันเดียว ทุกสิ่งในธรรมชาติจะถูกสะท้อนให้
เห็นในริกกะอย่างกลมกลืนเพื่อแสดงถึงกฎของธรรมชาติ
รูปแบบนี้ก่อตั้งในสมัยมุโรมาจิ และถูกพัฒนาขึ้นตามกาลเวลา เช่น มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น และ
เพิ่มความซับซ้ อนทางกายภาพ โดยใช้เป็นรูปแบบมาตรฐานไปจนถึงสมัยเมจิ ด้วยความงามแบบ
ดั้งเดิมของอิเคะโนะโบ ทำให้ริกกะ โชฟุไตประกอบไปด้วย 7-9 องค์ประกอบหลัก แต่ละองค์ประกอบ
ต่างสะท้อนถึงบทบาทหน้าที่ของตนเอง
82
คุณสมบัติหลักของริกกะ คือ องค์ประกอบของความสว่าง, ความคมชัด, การเน้น, การ
ขยาย และ “ทสึยะ” (ความกระจ่างใสที่มีชีวิตชีวา) ทั้ง ริกกะ และ โชกะ ไม่ได้แสดงเพียงอย่างใด
อย่างหนึ่งของคุณสมบัติเหล่านี้ แต่เป็นเกือบทั้งหมดของคุณสมบัติทั้งหมดนี้
การขยายตัว เป็นหนึ่งในคุณสมบัติหลักที่จะแสดงถึง “การเจริญเติบโตของพืชพรรณซึ่ง
นำมาสู่การเติบโตของชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือมนุษย์ ต่างเติบโตขึ้นเป็นหนึ่งเดียว” นั่นคือ
ความพยายามที่จะเพิ่มความเติบโตของพืชที่มีชีวิตชีวาในงาน ทำให้จิตใจของผู้สร้างมีอิสระ และความ
เป็นเอกภาพของทั้งพืชและผู้สร้าง ซึ่งทำให้เกิดการขยายตัวในการทำงานโดยแสดงผ่า นวิธีการ เช่น
การใช้ทั้งกิ่งยาวและกิ่งสั้น ในทั้งวัสดุตรงและวัสดุโค้ง หรือแม้แต่ในวัสดุแบนและวัสดุที่ซับรวมเข้า
ด้วยกัน

4.1.1.2 ปรัชญาของริกกะ
เราถูกกระตุ้นโดยพืชพรรณที่มีชีวิตซึ่งแสดงให้เห็นถึงความปิติของชีวิต ความประทับใจใน
การทำงานด้วยตนเอง ในขณะที่ริกกะ ยังแสดงวัตถุประสงค์ การสะท้อนถึงแนวโน้มร่วมสมัย ในขณะ
ที่สืบทอดความงามตามแบบฉบับของอิเคะโนะโบ ทำให้เราเข้าใจถึง “ความสนุกของพืช” “ลักษณะที่
ปรากฎตามธรรมชาติ” และ “โยะโระชิกิโอะโมะคาเกะ” (สุนทรียศาสตร์ในความงามของธรรมชาติ)
หลักปรัชญา หรือสุนทรีย์ศาสตร์ที่ชัดเจนของริกกะ คือ โมะโนะมะเนะ ซึ่งอิเคะโนะโบได้
หยิบยกธรรมชาติมาย่อขนาด โดยแบ่งกิ่งก้านออกเป็นหน้าที่ตัวแทนของตนเอง องค์ประกอบทุกส่วน
มีบทบาทที่เป็นตัวแทนของธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการใช้นิไม-โอฮะ เพื่อแทนใบไม้จำนวนมากในจำนน
สองใบ ซึ่งการลดจำนวนนี้จงใจทำให้เกิดพื้นที่ว่าง และความสมดุล (สุสุกิฮิโตะ-ฮะ) นำมาสู่ปรัชญา
แบบชิบุอิ ซึ่งแสดงความเรียบง่ายโดยไม่แสดงความรำคาญ พื้นที่ว่างที่เกิดจากการตัดทอนของโนโบริ-
โดะ, โอสุไค จะทำให้เกิดพื้นที่ว่างแบบโยฮะคุ เพื่อให้ผู้ชมเติมเต็มความหมายโดยรวมได้ด้วยตนเอง

4.1.1.3 รูปแบบของริกกะ
การวิเคราะห์ ของริกกะ จะหยิบยกมาจากบทเรียนของการจัดอิเคะบะนะแบบริ กกะ
ประจำสำนักอิเคะโนะโบ ‘Naraimono Nanakajo’ หรือ ‘การศึกษา 7 หลัก’ ในชื่อ “สุสุกิ ฮิโตะ-
ฮะ” เป็นตัวอย่างพื้นฐานที่ดีสำหรับผู้ที่เริ่มจัดพื้นฐานริกกะ เนื่องจากมีการใช้เทคนิคที่สำคัญและ
กำหนดโทนที่ใช้จัดสำหรับริกกะพื้นฐานอย่างครอบคลุม การศึกษาทั้ง 7 อันได้แก่ 7 องค์ประกอบ
สำคัญอันได้แก่ (ภาพที่33)
1. โนโบริ-โดะ, โอสุไค ริกกะจะเว้นพื้นที่บางส่วนเพื่อดึงดูดความสนใจทางสายตา และ
เว้นพื้นที่ที่เหลือส่วนอื่นไว้เพื่อความสงบ และเพื่อระลึกถึงความประทับใจ
83
2. อุเคะ-อะกะริ, อุจิ-มิโคะชิ, โอ-อุจิ มิโคชิ การแสดงออกของความเคลื่อนไหวและความ
งามของรูปทรงซ้อนทับ
3. ซุยเซน นะเงะฮะ การเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ริกกะดูมีชีวิต
4. ฟูจิ-คะเคะ-มัทสึ การแสดงแทนบทกวีสั้นๆ แทนการบรรยายถึงธรรมชาติ
5. สุสุกิฮิโตะ-ฮะ ความสมดุลโดยรวม ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวเมื่อจำเป็น
6. นิไม โอฮะ ให้ความรู้สึกถึงปริมาณ การแทนใบไม้จำนวนมากโดยใช้ใบไม้เพียงสองใบ
7. ทะนิคุสะ จัดการกับคุสะมิจิ เมื่อกิ่งหลักไปขัดขวางกระแสทางหลักของลำต้น
องค์ประกอบทั้ง 7 นี้เป็นองค์ประกอบหลักสำคัญในการวิเคราะห์พื้นฐานของริกกะ ซึ่ง
นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ อีก เมื่อใช้หลักการวิเคราะห์จากบทเรียนระดับสูงของริกกะ ได้แก่
- วัสดุของดอกไม้ถูกวางในวิธีการอุบุทะเทะ (Ubutate) ซึ่งกิ่งหลักจะตั้งตรงออกมาจาก
ผิวน้ำ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ดอกรอง เช่น มิคิอะชิ หรือ อุเคะสุทสึ โดยจัดการกับวัสดุดอกไม้ให้มีรูปร่าง
ตามความเหมาะสมและจำเป็น โดยใช้ ทสึเคดะ (การแยกกิ่งไม้ออกจากกัน และประกอบสร้างใหม่ใน
ภาชนะ)
- ตำแหน่งการวางของ “โชะชิน” ควรวางที่ครึ่งหนึ่งของ “ชิน” และ ชิน ควรยื่นออกมา
เป็นกิ่งก้านจากส่วนบน ส่วนกลาง หรือส่วนล่างของโชะชิน
- คุสะโมะโนะ (วัสดุหญ้า) ควรจะวางอยู่ติดกันเพื่อสร้าง คุสะมิจิ (เส้นทางหญ้า) เพื่อให้
คิคะตะ (วิถีไม้) และคุสะคะตะ (วิถีหญ้า) แยกออกจากกันอย่างชัดเจน
- หากวัสดุดอกไม้ที่ใช้ไม่ชัดเจนว่าเป็น คิโมะโนะ (วัสดุไม้) หรือ คุสะโมะโนะ วัสดุที่เป็น
ปัญหานี้ควรใช้เป็น ทสึโยะโมะโนะ (วัสดุที่มีคุณภาพที่ใช้งานได้ทั้งเป็นคิโมะโนะและคุสะโมะโนะ)
84
4.1.2 โชกะ (Shoka)
ด้านหลัก อิชุอิเคะ ด้านตรงข้าม อิชุอิเคะ
(Sanshu (Sanshu
ike) หรือ ike) หรือ
วัสดุทั้ง วัสดุทั้ง
สาม สาม
ของโชกะ ของโชกะ

ด้านหลัก นิชุอิเคะ ด้านตรงข้าม นิชุอิเคะ

ด้านหลัก ซันชุอิเคะ ด้านตรงข้าม ซันชุอิเคะ

ภาพที3่ 4 อิเคะบะนะรูปแบบโชกะ จัดโดย เซนเอ อิเคะโนะโบ


ที่มา: Ikenobo, Rikka Shofutai, Accessed January 21, 2019, Available from http://ikebana-
ikenobo.com/wp-content/uploads/2017/10/Integrated_Curriculum_for_Visiting_Professor_2018.pdf
85
4.1.2.1 แนวคิดของโชกะ
โชกะ เป็นสไตล์ที่นำมาใช้อย่างเป็นทางการในสมัยเอโดะตอนปลาย โดยการใช้ว ัส ดุ
ดอกไม้ 1-3 ชนิด โชกะเน้นการแสดงออกถึงรูปแบบการดำรงชีวิตของพืชที่หยั่งรากในดิ นและเติบโต
ขึ้น ในขณะที่ริกกะแสวงหาความงามและความกลมกลืนของพืช โชกะมุ่งเน้นไปที่ชุชโช ที่แสดงให้เห็น
ถึงวิถีชีวิตของพืช ชุชโชเป็นลักษณะเฉพาะของพืชแต่ละชนิด ความงามต่างๆที่ค้นพบในรูปแบบการ
ปลูกที่หลากหลาย ซึ่งทำให้รูปทรงของพืชแสดงถึงความพยายามในการดำรงชีวิตอยู่
โชกะ หมายถึง ดอกไม้ส ดที่มีช ีว ิตชีว า เพื่อแสดงถึงชีว ิตของดอกไม้ ในอิเคะบะนะ
ความหมายเหล่านี้จะแสดงผ่าน อิน (In) และ โยะ (Yo) หรือก็คือหยิน-หยาง เป็นความแตกต่างของ
ชีวิต เช่น แดดและเงา สูงและต่ำ ดอกตูมและดอกบานสะพรั่ง
โชกะประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ ชิน โซเอะ และ ไท ซึ่งเปรียบได้กับ สวรรค์
โลก และมนุษยชาติ ซึ่งหลักนี้ถูกใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณเป็นพื้นฐานของความเป็นอยู่ดั้งเดิมของญี่ปุ่น
ที่เกี่ยวโยงกับศาสนาชินโต ทั้ง 3 องค์ประกอบนี้ตอบสนองซึ่งกันและกัน
รูปแบบของโชกะเป็นรูปแบบดั้งเดิมของพืชที่พยายามจะกลับไปคงรูปสภาพเดิม หลังจาก
ที่ลำต้นเริ่มมีความโค้งเพื่อตอบสนองต่อปัจจัยในสภาพแวดล้อม การจัดดอกไม้ในรูปแบบนี้เป็นการ
แสดงออกถึงความแข็งแกร่งภายในของพืชซึ่งลำต้นมีการปรับรูปแบบความโค้งไปตามการรับทิศทาง
ของแสง

4.1.2.2 ปรัชญาของโชกะ
จากการที่โชกะแสดงออกถึงชีวิตของพืช และเป็นตัวแทนของโลกธรรมชาติอันได้ แก่
สวรรค์ โลก และมนุษย์ เพื่อให้ผู้ชมตระหนักถึงชีวิต ธรรมชาติเปรียบเสมือนการตระหนักรู้ของสรรพ
สิ่ง (โมโนะ โนะ อะวะเระ) เป็นการสะท้อนสุนทรียภาพเพื่อโอบรับความงามในสัจธรรม
เมื่อตระหนักถึงชีวิต และธรรมชาติจากเส้น วัสดุ การดำเนินชีวิตของพืชแล้วจะเห็นได้ถึง
การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการพยายามมีชีวิตอยู่ของพืช เมื่อนำมาจัดลงแจกันแล้วก็
เสื่อมถอยไปตามเวลา พืชที่ไร้รากแล้ วย่อมไม่สามารถหาอาหารได้อีก แต่ไม่ว่าสรรพสิ่งจะเปลี่ยนไป
ดอกไม้ที่สวยงามจะเหี่ยวเฉา ความงามที่ผู้ชมได้รับ คือ ความงามจากการเปลี่ยนแปลงให้แสดงถึงพลัง
ของชีวิต นำไปสู้การตระหนักถึงพื้นที่ที่เปลี่ยนไปตามเวลาได้เช่นกัน (มะ)
86
4.1.2.3 รูปแบบของโชกะ
รูปแบบนี้ก่อตั้งขึ้นในสมัยเมจิ เป็นรูปแบบอิเคะบะนะขนาดเล็กที่เหมาะสำหรับการวางใน
ห้องโทโคโนมะที่เป็นห้องแบบญี่ปุ่นดั้งเดิมขนาดเล็ก จะแสดงความรู้สึกเหล่านี้ผ่านความสูงต่ำของกิ่ง
ก้าน การเคลื่อนไหว การจัดวางของกิ่งหลัก (ยะคุเอดะ หรือ ชิน) โซเอะ และ ไท ในเคนซัง โดยใช้วัสดุ
แต่ละชนิดที่เน้นสักษณะที่แท้จริงของชุชโช (ภาพที่35)
อิชุอิเคะ (Ishuike) หรือ การใช้วัสดุ 1 ชนิด จึงควรใช้วัสดุดอกไม้ที่มีดอก
นิชุอิเคะ (Sanshuike) หรือ การใช้วัสดุ 2 ชนิด อันที่จริงแล้วมีเป้าหมายเดียวกันกับ อิชุอิ
เคะ คือ การแสดงออกถึงชุชโชและชีวิตของดอกไม้ การใช้นิชุอิเคะไม่จำเป็นต้องใช้วัสดุที่มีดอกไม้ทั้ง
สองอย่าง แต่จะเป็นการผสมผสานระหว่าง วัสดุมีดอก-วัสดุไร้ดอก เช่น ใช้ควินซ์กับดอกไอริส
นอกจากนี้ประเภทวัสดุที่ช้ยังมีหลากหลายชนิด เช่น คิโมะโนะ, คุสะโมะโนะ, มิสุโมะโนะ,
ต้นไม้, หญ้า, แก้ว หรือแม้แต่น้ำ แต่การจะผสมผสานสิ่งเหล่านี้ก็มี กฎเกณฑ์ของนิชิคุเอะ เช่น วัสดุ
จากต้นไม้จะต้องวางไว้ด้านหลังวัสดุหญ้าในเคนซัง เนื่องจากในนิชิดุเอะ การใช้ชินและโซเอะ จะเป็น
การใช้วัสดุเดียวกัน และ ไท จะเป็นวัสดุที่สองโดยจะเรียกว่า “เนะจิเมะ”
ซันชุอิเคะ (Sanshuike) หรือ วัสดุทั้งสามของโชกะ

4.2 สำนักโอฮะระ
อุ น ชิ น โอฮะระ (Unshin Ohara) เกิ ด ในปี ค ริ ส ตศั ก ราช 1861-1916 ผู ้ ก ่ อ ตั ้ ง สำนั ก
โอฮะระ เกิดที่เมืองมัทสึเอะ จังหวัดชิมาเนะ อุนชินเฝ้าสำรวจเหล่าทุ่งหญ้า ภูเขา และพยายามพัฒนา
รูปแบบของอิเคะบะนะเพื่อแสดงความงามของทิว ทัศน์ธรรมชาติ เขายังค้นหาวิธี การจัดดอกไม้
ตะวันตกที่มีสีสันสดใสที่เพิ่งนำเข้ามาในญี่ปุ่น ผลของความพยายามของเขา คือ โมริบะนะ ซึ่งเป็น ก้าว
แรกที่สวยงามของอิเคะบะนะที่ทันสมัยในปีคริสตศักราช 1897
หลังจากนั้นสำนักโอฮะระก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปีคริสตศักราช 1912 และในปี
คริสต์ศักราช 1916 สำนักโอฮะระประสบความสำเร็จโดยอาจารย์ใหญ่คนที่สอง โคอุน โอฮะระ
ผู้พัฒนาและกำหนดเทคนิคการสอนสำหรับโมริบะนะ เขายังให้ความสนใจอย่างมากกับการพัฒนา
วิธีการสอนภาคปฏิบัติและการจำแนกประเภทของเทคนิคการแสดงออกอย่างเป็นระบบ เขาได้สร้าง
กฎและความแตกต่างสำหรับดอกไม้ในโมริบะนะและเฮกะ
87
โคอุนได้สร้างสรรค์สำนักจัดอิเคะบะนะแบบร่วมสมัย โดยส้รางพื้นที่ใหม่ในโมริบะนะ โดย
ใช้ชื่อ แลนด์สเคปโมริบะนะ ที่แสดงออกถึงทิวทัศน์อันงดงามของฮอกไกโดและการพรรณนาถึงการ
ปรากฎตัวของขอบน้ำในการจัดการมิสุโมะโนะซึ่งเป็นพืชน้ำ
หลังจากนั้น อาจารย์ใหญ่คนที่ 3 โฮอุน โอฮะระ ได้ขึ้นมาดูแลสำนักต่อจากโคอุน พ่อของ
เขาในปีคริสตศักราช 1938 เมื่อสงครามโลกครั้งที่2 สิ้นสุด โฮอุนได้นำผลงานมาจัดแสดงที่เมืองโกเบ
ห้างสรรพสินค้าไดมารูที่รอดจากการถูกทำลายในช่วงสงคราม เพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์แก่ประชากรที่
ท้อแท้ ซึ่งเป็นจุดกำเนิด Avant-Garde Ikebana โดยสร้างจากความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่ งานแสดงเดี่ยวของ
เขาในปีคริสตศักราช 1949 เริ่มมีการใช้คำว่า “Objet” ซึ่งเป็นคำศัพท์ภาษาฝรั่งเศสจากศิลปะเหนือ
จริง (Surrealist Art) เป็นครั้งแรกในอิเคะบะนะ นั่นทำให้โฮอุน โอฮะระอยู่ในระดับแถวหน้าของ
วงการอิเคะบะนะร่วมสมัย
ในปีคริสต์ศักราช 1964 โฮอุน โอฮะระ ได้สร้างรูปแบบริมปะ (Rimpa Arrangement)
ซึ่งหยิบยกมาจากภาพวาดริมปะ (Rimpa) อันเป็นที่เฟื่องฟูในสมัยเอโดะ นอกจากนั้นเขายังขยาย
สำนักแตกแขนงออกไปทั่วโลก ต่อมาเขาเริ่มจัดนิทรรศการร่วมกับลูกชาย นัตสึกิซึ่งกลายเป็นอาจารย์
ใหญ่คนที4่ ในปีคริสตศักราช 1972 เขาได้สร้างสรรค์รูปแบบใหม่ๆ ในอิเคะบะนะร่วมสมัย
คริสตศตวรรษที่ 21 สำนักโอฮะระยังคงพัฒนาและมีความเจริญรุ่งเรืองภายใต้การนำของ
อาจารย์ใหญ่คนที่ 5 ฮิโรกิ โอฮะระ เขาได้รับการชื่นชมจากวงการศิลปะในประเทศญี่ปุ่นอย่างมาก
โดยการสร้างรูปแบบใหม่ของอิเคะบะนะ ชื่อ ฮะนะ-คะนะเดะ (Hana-Kanade) เป็นการแสดงออกถึง
ความงามที่ข้ามออกมาจากต้นกำเนิด เน้นความเป็นอิสระจากวัสดุ
88
4.2.1 โมริบะนะ
โอฮะระ โคอุนได้สร้างสรรค์สำนักจัดอิเคะบะนะแบบร่วมสมัย โดยส้รางพื้นที่ใหม่ในโม
ริบะนะ โดยใช้ชื่อ แลนด์สเคปโมริบะนะ ที่แสดงออกถึงทิวทัศน์อันงดงามของฮอกไกโดและการ
พรรณนาถึงการปรากฎตัวของขอบน้ำในการจัดการมิสุโมะโนะซึ่งเป็นพืชน้ำ

ภาพที3่ 5 อิเคะบะนะแบบ Landscape Ikebana จัดโดยสำนักโอฮะระ


ที่มา: Oharayu, Styles , Accessed January 30, 2019, Available from
https://www.ohararyu.or.jp/english/styles.html

4.2.1.1 แนวคิดของโมริบะนะ
เมื่ออุนชิน โอฮะระ ก่อตั้งสำนักโอฮะระขึ้นในช่วงกลางของยุคเมจิ เมื่อญี่ปุ่นเปิดรั บ
อิทธิพลของวัฒ นธรรมตะวัน ตก เขาสร้างรูปแบบโมริบ ะนะซึ่ งเป็นรู ปแบบการจำลองภู มิ ท ั ศ น์
(Landscape Arrangement)
แต่เดิม อิเคะบะนะถูกจัดอยู่ในชามหรือแจกัน ถูกจัดเรียงในแนวตั้งในรูปแบบ “ยืน”
สไตล์แนวตั้งแบบโบราณนี้มีข้อจำกัดมากมาย มี กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดและละเอียดมากจนไม่สามารถ
เพลิดเพลินกับการจัดดอกไม้ได้อย่างอิสระ เมื่อถึงยุคเมจิ ดอกไม้ตะวันตกเริ่มนำเข้าและเพาะปลูกใน
ประเทศญี่ป ุ่น รูป แบบวิถีช ีว ิตก็เริ่มเปลี่ยนไป จึงทำให้รูปแบบอิเคะบะนะในอดีตไม่เหม าะกั บ
สถานการณ์ของชีวิตประจำวันแบบอีกต่อไป
89
ในเวลานั้น อุนชินได้ให้กำเนิดรูปแบบของอิเคะบะนะซึ่งรวมดอกไม้แบบตะวันตก การ
จัดการของเขาไม่เพียงแค่เหมาะสำหรับโทโคโนะมะซึ่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม แต่
ยังเหมาะกับห้องแบบตะวันตกใหม่ในยุคนั้น เช่น พื้นที่ สำหรับห้องรับแขก และโถงทางเข้า รูปแบบ
ใหม่นี้ให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ เรียกว่า โมริบะนะ
ภูมิทัศน์โมริบะนะ (Landscape Moribana) เป็นการรวมกันของทิวทัศน์ธรรมชาติใน
พื้นที่จำกัดของภาชนะ เริ่มแพร่พระจายไปยังสำนักจัดดอกไม้ต่างๆและได้กลายเป็นกระแสหลักของ
โลกอิเคะบะนะ เมื่อเปรียบเทียบกับอิเคะบะนะแนวตั้งหรือรูปแบบดั้งเดิม ดอกไม้ในโมริบะนะนั้นมี
การ “ซ้อนกัน” (Moru) ในภาชนะแบบแบน โดยส่วนใหญ่จะใช้ภาชนะที่เรียกว่า “ซุยบัน” (Suiban)

4.2.1.2 ปรัชญาของโมริบะนะ
โมริบะนะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ศิลปะแบบตะวันตกเข้ามา แต่กระนั้นก็ยังไม่ทิ้งการรับรู้ทาง
สุนทรียภาพแบบดั้งเดิม ความน่าสนใจของโมริบะนะ คือ การนำภูมิทัศน์ทั้งหมดมาย่อลงเป็นขนาด
เล็ก เป็นการศึกษาธรรมชาติที่เลียนแบบโดยทำความเข้าใจสาระภายในองค์ประกอบธรรมชาติที่ได้
อิทธิพลจากเซน และโมะโนะมะเนะ
นอกจากนี้การทิ้งพื้นผิวรอบถาดเป็นน้ำในสัดส่วนที่กำหนดแล้ว เป็นการแสดงความนิ่ง
สงบแบบโยะฮะคุออกมาอย่างดี อีกทั้งเป็นการรักษาสภาวะจิตให้นิ่งเช่นเดียวกั บน้ำในถาด ผู้ชมอาจะ
เกิดสภาวะจิตที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสมาธิและจินตนาการของผู้ชมเอง บางครั้งอาจะเป็นวะบิสะบิ
จากการลดทอนของสภาพธรรมชาติย่อส่วน เป็นความเรียบง่ายที่ไม่ห่างไกลจากธรรมชาติ

4.2.1.3 รูปแบบโมริบะนะ
ศิลปินจะแสดงความงามของทิวทัศน์ผ่านการทำความเข้ าใจเกี่ยวกับลักษณะการเติบโต
ตามธรรมชาติของืช สิ่งแวดล้อม และลักษณะของวัสดุตามฤดูกาล นอกจากนี้ยังรวมถึงการกระทำ
และการแสดงผลของผู้จัด โดยภูมิทัศน์ของโมริบะนะแบ่งออกเป็น 3 มุมมอง อันได้แก่ ไกล-กลาง-ใกล้
จากการพรรณนาเป็นภาพรวมในมุมไกล เหล่าต้นไม้สูงจึงเป็นตัวหลัก ซึ่งแสดงแทนผืนป่าที่มีต้นไม้สูง
และหนาแน่นที่เชิงภูเขาที่ห่างไกล ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่สูงตระหง่านเหนือทุ่งนา ต้นสนขนาดใหญ่ที่ทอด
ยาวตามแนวทะเล
โดยใช้หลักการที่สืบเนื่องมาจากโชกะ แสดงความรู้สึกเหล่านี้ผ่านความสูงต่ำของกิ่งก้าน
การเคลื่อนไหว การจัดวางของกิ่งหลัก (ยะคุเอดะ หรือ ชิน) โซเอะ และ ไท ในเคนซัง ประกอบไป
90
ด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ ชิน โซเอะ และ ไท ซึ่งเปรียบได้กับ สวรรค์ โลก และมนุษยชาติ โดยจะ
เว้นพื้นที่ว่างรอบเคนซังให้เห็นพื้นผิวน้ำไปด้วย (ภาพที่36)

ภาพที3่ 6 กฎของโมริบะนะ
ที่มา: Joshua Liguan, Ikebana Arrangement, Accessed January 21, 2019, Available from
gardeninglife.xyz

4.3 สำนักโซเก็ทสึ
ในปีคริสตศักราช 1927 เมื่อทุกคนเชื่อว่าการฝึกฝนอิเคะบะนะ หมายถึง การปฏิบัติตาม
รูปแบบที่กำหนด โซฟุ เทะชิกะอะระ เนื่องจากพ่อของเขาเป็นอาจารย์อิเคะบะนะ แต่โซฟุต้องการ
เป็นจิตรกร และเขาก็ค้นพบความเป็นไปได้ในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ในการใช้วัสดุพืชนั้นไม่มีที่
สิ้นสุดเช่นเดียวกับการวาดภาพ เขาได้ตัดสินใจว่าอิเคะบะนะเป็นศิลปะเชิงสร้างสรรค์ และก่อตั้งสำนัก
โซเก็ทสึขึ้นมา โดยที่ทุกคนสามารถเพลิดเพลินกับการจัดดอกไม้ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยใช้วัสดุได้ทุก
รูปแบบ อีกทั้งยังสามารถวางโซเก็ทสึอิเคะบะนะได้ที่ประตู ห้องนั่งเล่น บนโต๊ะครัว แม้กระทั่งล็อปปี้
โรงแรม หรือ พื้นที่สาธารณะต่างๆ เพราะว่ามันเหมาะกับพื้นที่ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรม
ญี่ปุ่นหรือตะวันตก
91
ในปีคริสตศักราช 2016 มีอาจารย์ใหญ่ทั้งหมดมาแล้ว 4 คน โดยที่ลูกสาวของโซฟุ คาสุมิ
เป็นศิลปินที่มีพรสวรรค์ เธอกลายเป็นอาจารย์ใหญ่คนที่ 2 จนกระทั่งเธอเสียชีวิตเมื่ออายุ 47 ปี ฮิโรชิ
เทชิกะฮะระ พี่ชายของเธอซึ่งเป็นผู้กำกับได้รับรับตำแหน่งแทน และอาจารย์ใหญ่คนปัจจุบัน คือ อา
กาเนะ ซึ่งเป็นหลานสาวของโซฟุ
โซเก็ทสึเป็นสำนักที่มีความคิดเปิดกว้างและสร้างสรรค์อย่างมาก และเป็นสำนักแรกๆที่มี
หนังสือเรียนเป็นภาษาอังกฤษ โดยยึดหลักว่า “ทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา” ที่สามารถสร้างโซเก็ทสึอิ
เคะบะนะ เพื่อตอบสนองความต้องการตามธรรมชาติ โดยใช้ชื่อว่า “FLOWORK” เป็นคำประกาศ
เกียรติคุณที่รวมการสร้างสรรค์งานศิลปะแบบติดตั้ง (Installation Art) รวมกับการจัดดอกไม้โดยใช้
วัสดุพืชในพื้นที่สาธารณะ

4.3 ฟรีสไตล์
ในส่วนของการฝึกขั้นพื้นฐานของโซเก็ทสึโดยทั่วไปจะเริ่มฝึกจาก โมริบะนะ ซึ่งใช้ภาชนะ
ลักษณะถาด จาน เปิดโล่ง และใช้หนามเตย หรือ เคนซัง เป็นที่ยึดดอกไม้ และ เนเงอิเระ เป็นการจัด
ในแจกันทรงสูงแคบ หนึ่งในแนวคิดหลักของโซเก็ทสึ คือ การจัดเรียงควรมีองค์ประกอบที่แข็งแกร่ง
สามอย่าง แต่ล ะอย่างควรมีส ัดส่ว น มุม และละติจูด องศาที่ แน่น อน ที่จะทำงานร่ว มกับ พื ้ น ที่
สภาพแวดล้อมและแสดงถึงจิตวิญญาณของช่วงเวลา เป็นหลักพื้นฐานของรูปแบบฟรีสไตล์

4.3.1 แนวคิดของฟรีสไตล์
จิยุกะ (自由花) อิเคบานะฟรีสไตล์ เรียกได้ว่าการจัดอิเคบานะแบบจิยุ กะ เป็นรูปแบบ
การจัดที่ฟรีสไตล์ มีความร่วมสมัยและนามธรรม จิยุกะส่งเสริมการแสดงออกทางศิลปะร่วมสมัย
รูปแบบที่เป็นธรรมชาติและเป็นนามธรรมของจิยุกะแตกต่างกันไปในลักษณะที่ดอกไม้และต้นไม้ถูก
นำมาใช้และนำมาประกอบเป็นองค์ประกอบ ในขณะที่อดีตเน้นความงามตามธรรมชาติของวัสดุ
ดอกไม้ห ลังเน้น คุณภาพการออกแบบของดอกไม้และใบไม้ องค์ประกอบที่ไ ม่ใช่ พืช จะเรี ย กว่ า
Abstract Jiyuka ด้ว ยความเป็น ธรรมชาติและปราศจากความวุ่นวายองค์ประกอบของนักธรรม
ชาตินิยมจิยุกะถ่ายทอดความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติและความเป็นธรรมชาติ ซึ่งจะเรียกว่า Naturalistic
Jiyuka
92

4.3.2 ปรัชญาของฟรีสไตล์
ในการจัดอิเคะบะนะแบบฟรีสไตล์ ถึงแม้ว่าจะเป็นการหยิบจับวัสดุต่างๆมาใช้อย่างไม่
จำกัด ไม่มีกฏเกณฑ์ สามารถอยู่ได้ทุกพื้นที่ สิ่งที่ทำให้ฟรีสไตล์แตกต่างจากผลงานศิลปะทั่วไปอยู่ คือ
การใช้สิ่งของ หรือวัสดุเป็นตัวแทนธรรมชาติ (โมะโนะมะเนะ) หรือสิ่งต่างๆ อีกทั้งยังคำนึงถึงการเว้น
พื้นที่ว่าง (โยะฮะคุ) เช่นเดียวกับการจัดอิเคะบะนะปกติ
อันที่จริงแล้วการจัดอิเคะบะนะนี้ สามารถสื่อถึงปรัชญาหรือสุนทรียศาสตร์แบบญี่ปุ่นได้
หลากหลายมากขึ้นอีกด้วย อย่างเช่นการนำกิ่งไม้ไร้ซึ่งชีวิตวตั้งวางกลางทะเลสาปที่โดดเดี่ยว (ภาพ
ที3่ 7) ยังก่อให้เกิดความงามแบบสะบิได้ดีอีกด้วย

4.3.3 รูปแบบของฟรีสไตล์
การจัดอิเคะบะนะแบบฟรีสไตล์ หรือจิยุกะ จึงไม่ใช่เพียงแค่การใช้ดอกไม้ในการจัด แต่
สามารถหยิ บ ยกสิ ่ ง ของต่ า งๆมาจั ด ได้ เ ช่ น กั น เช่ น ใบไม้ ท ี ่ เ หี ่ ย วแห้ ง ตายแล้ ว โลหะ ฟางข้ า ว
คอมพิวเตอร์ แผ่นซีดี เพราะการจัดอิเคะบะนะเป็นศิลปะที่สูงส่ง ไม่ใช่เพียงแค่การประดับตกแต่ง แต่
ผู้จัดควรมีพื้นฐานในการจัดอิเคะบะนะรู ปแบบต่างๆมาก่อน เพราะการจัดแบบฟรีสไตล์จะค่อนข้าง
ยากกว่า เนื่องจากพื้นที่ที่ไม่มีขอบเขต ไม่มีกฎเกณฑ์
93

ภาพที3่ 7 ผลงานอิเคะบะนะ ชื่อ At Lake Motosu จัดแสดงที่ Lake Motosu, Yamanashi โดยอะคะเนะ เทชิกะ
ฮะระ (2016)
ที่มา: Sogetsu, Photo Gallery [online], Accessed Febuary 3, 2563, Available from
https://www.sogetsu.or.jp/e/wp-content/uploads/2019/06/location_3.jpg

ภาพที3่ 8 ผลงานอิเคะบะนะประจำฤดูกาล เดือนมกราคม


ที่มา: Sogetsu, Season, Accessed Febuary 3, 2563, Available from https://www.sogetsu.or.jp/e/wp-
content/uploads/2020/02/d6486137539b54f83454fd22e78af257.jpg
94
(ภาพที่38) ผลงานอิเคะบะนะประจำฤดูกาล เดือนมกราคม ใช้วัสดุ 4 ชนิด อันได้แก่
แอพริคอทญี่ปุ่น (Japanese Apricot), ต้นสน, ใบไม้สำหรับใช้ตกแต่ง (Decorative Kale) และ มิซึฮิ
กิ (Mizuhiki) เป็นกระดาษฝอย ที่ใช้ในงานมงคลของญี่ปุ่น ลักษณะเป็นการมัดรวมกัน โดยที่เดือน
มกราคม จะยังคงอยู่ในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากมีอากาศเย็นจึงส่งผลให้พืชเจริญเติบโตได้ช้า แต่พืช
ตระกูลสน เป็นพืชที่มีความแข็งแรงทนทานต่อการเจริญเติบโตในหน้าหนาว จึงทำให้พืชตระกูลนี้โตได้
ดีกว่าพืชตระกูลอื่น จึงนำมาใช้ประดับตกแต่งบ้านในช่วงปีใหม่ที่ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า “คาโดะมัตสึ” แถม
ต้นสนนั้นก็ยังเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญสัญลักษณ์หนึ่งของญี่ปุ่นอีกด้วย เพราะคนญี่ปุ่นมองว่าต้นสนเป็น
สัญลักษณ์ของความอดทน ที่สามารถต่อสู้กับความหนาวเย็นในฤดูหนาวได้นั่นเอง อีกทั้งต้นสนยังเป็น
ไม้มงคลที่ถูกนำไปใช้ในพิธีมงคล และงานศิลปะต่างๆ
95

บทที่ 5
สรุป

5.1 สรุปผลการศึกษา
การจัดทำศิลปนิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ แนวคิด ปรัชญา และ
รูปแบบของการจัดดอกไม้อิเคะบะนะแบบญี่ปุ่นโดยวิเคราะห์จากสุนทรียศาสตร์ญี่ปุ่น โดยเริ่มศึกษา
จากประวัติความเป็นมาของอิเคะบะนะซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจในต้นกำเนิดและพัฒนาการมาจนถึง
ปัจจุบัน โดยสัมพันธ์ไปกับพื้นฐานของวัฒนธรรมญี่ปุ่นอย่างอิทธิพลของศาสนา ความเปลี่ยนแปลงทาง
สภาพแวดล้อม ฤดูกาล ไปจนถึงการพัฒนาของอิเคะบะนะที่ควบคู่ไปกับการพัฒนาของรูปแบบทาง
สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น ซึ่งทำให้การจัดอิเคะบะนะ หรือ “คาโด” ไม่เป็นเพียงแค่การจัด หรือชมความ
งามของดอกไม้ แต่ เ ป็ น การแสดงออกรวมกั น ของศิ ล ปะ เซน และความงามอย่ า งลึ ก ซึ ้ ง ของ
สุนทรียศาสตร์ญี่ปุ่นในวัฒนธรรมญี่ปุ่น ที่ดูแล้วสมถะและสง่างามในเวลาเดียวกัน
ภายในบทวิเคราะห์จะทำการศึกษาจากผลงานการจัดดอกไม้อิเคะบะนะโดยแบ่งหมวดหมู่
เป็น 3 หัวข้อ อันได้แก่ การวิเคราะห์ทางแนวคิด ปรัชญา และรูปแบบ โดยศึกษาจากผลงานการจัดอิ
เคะบะนะของสำนักอิเคะบะนะที่ มี ช ื่อเสียง คือ สำนักอิเคะโนะโบ โอฮะระ และ โซเก็ทสึ โดย
เรียงลำดับจากการเกิดก่อนหลัง ซึ่งในแต่ละสำนักต่างก็มีรูปแบบเฉพาะตัวที่โดดเด่น และทำให้เห็นถึง
พัฒนาการของอิเคะบะนะอย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยทำให้เข้าใจรูปแบบอิเคะบะนะในแต่ละยุคสมัย
ได้มากยิ่งขึ้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมาทั้งหมดสามารถสรุปได้ดังนี้
เนื่องจากในช่วงต้นของยุคเฮอัน ศิลปะและสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนามีอิทธิพลอย่าง
มากต่อศิลปะชินโตแบบดั้งเดิม ศาสนาชินโตมีอิทธิพลครอบคลุมวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นตั้งแต่เกิด
จนกระทั ่ ง ตาย โดยแทรกซึ ม เข้ า ไปในความคิ ด ความเชื ่ อ พฤติ ก รรม อารยธรรม วั ฒ นธรรม
ขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นศาสนาที่หล่อหลอมทำให้ชาวญี่ปุ่นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างจาก
ชนชาติอื่นอย่างชัดเจน กลายเป็นกระแสนิยมในหมู่ชาวญี่ปุ่นในสมัยคามาคุระ จึงทำให้เกิดความเชื่อ
ในเรื่องการเคารพธรรมชาติ และมีการศึกษาปรัชญาแนวคิดของเซนในเวลาต่อมา

95
8
96
สำนั ก อิ เ คะโนะโบเองก็ เ ริ ่ ม ต้ น มาจากการจั ด ดอกไม้ เ พื ่ อ นำไปใช้ ใ นการบู ช าพระ
อิเคะโนะโบเริ่มมีบทบาทในช่วงปลายยุคมุโรมาจิ โดยเผ่ยแพร่หลักปรัชญาของอิเคะบะนะที่เรียกว่า
“เซนโนะคุเด็น” ซึ่งสรุปความหมายได้ว่าจิ ตวิญญาณของอิเคะโนะโบอิเคะบะนะ คือ การจัดดอกไม้
ด้วยความเคารพในธรรมชาติและความใส่ใจต่อผู้อื่น เหล่าผลงานอิเคะบะนะของสำนักอิเคะโนะโบจึง
เน้นจัดแสดงความรู้สึกเหล่านี้ในทุกช่วงเวลาระหว่างการจัดอิเคะบะนะ เช่นเดียวกับการสรรค์สร้างบท
กวีหรือภาพวาด จิตวิญญาณของอิเคะโนะโบจึงเป็นการแสดงออกถึงความงามของดอกไม้และให้ผู้ชม
ตระหนักถึงความงามของความปรารถนาในจิตใจของตน อิเคะบะนะยังอธิบายถึงพลังงานธรรมชาติที่
สามารถมองได้จากร่องรอยของพืชพรรณต่างๆที่ ใช้ เช่น กิ่งก้านที่ถูกลมพัดในฤดูหนาว ใบมี่ถูกแมลง
กัดกินจนเหลือครึ่งหนึ่ง อิเคะโนะโบคำนึงถึงในจุดนี้ จึงไม่เพียงแต่พิจารณาดอกไม้ที่บานสะพรั่ง แต่ยัง
หยิบยกดอกไม้ที่เป็นดอกตูมมาใช้เพื่อบอกกล่าวถึงพลังแห่งชีวิตของดอกไม้
อิเคะโนะโบ เน้นการตัดแต่งพืช พรรณที่ถู กตัดออกจากธรรมชาติให้เกิดความงามใน
รูปแบบใหม่ขึ้นท่ามกลางสภาพแวดล้อมแบบใหม่ แทนที่จะสร้างรูปร่างที่เหล่าพืชพรรณขึ้นตาม
ธรรมชาติ แต่อิเคะโนะโบประกอบสร้างเหล่ากิ่งไม้ ใบไม้ออกมาในรูปแบบงานศิลปะแบบใหม่ที่เก็บ
ความประทับใจในความงามของพืชเหล่านั้นไว้ด้วย รวมไปถึงจิ ตวิญญาณของผู้จัด อีกทั้งยังเป็น
ต้นแบบของอิเคะบะนะแบบดั้งเดิม รูปแบบในการจัดจะเห็นได้ว่ามีความซับซ้อนและเรียบง่ายในเวลา
เดียวกัน ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจและความซาบซึ้งในธรรมชาติ โดยที่รูปแบบริกกะจะ
เป็นรูปแบบเก่าแก่ที่สุดของอิเคะบะนะเน้นแสดงให้เห็นถึงความงามของภูมิทัศน์ธรรมชาติทั้งหมด ภูมิ
ทัศน์ทางธรรมชาติทั้งหมดถูกจัดลงสู่แจกันเดียวแสดงให้เห็นถึงกฎของธรรมชาติ มีกฎเกณฑ์และองศา
การวางที่ตายตัว ในชื่อ Naraimono Nanakajo เป็นตัวอย่างพื้นฐานที่ดีสำหรับผู้ที่เริ่มจัดพื้นฐาน
ริกกะ เนื่องจากมีการใช้เทคนิคที่สำคัญและกำหนดโทนที่ใช้จัดสำหรับริกกะพื้นฐานอย่างครอบคลุม
การศึกษาทั้ง 7 อันได้แก่ 7 องค์ประกอบสำคัญ
โชกะ เป็นสไตล์ที่นำมาใช้อย่างเป็นทางการในสมัยเอโดะตอนปลาย โดยการใช้ว ัส ดุ
ดอกไม้ 1-3 ชนิด โชกะเน้นการแสดงออกถึงรูปแบบการดำรงชี วิตของพืชที่หยั่งรากในดินและเติบโต
ขึ้น ในขณะที่ริกกะแสวงหาความงามและความกลมกลืนของพืช โชกะมุ่งเน้นไปที่ชุชโช ที่แสดงให้เห็น
ถึงวิถีชีวิตของพืช ชุชโชเป็นลักษณะเฉพาะของพืชแต่ละชนิด ความงามต่างๆที่ค้นพบในรูปแบบการ
ปลูกที่หลากหลาย ซึ่งทำให้รูปทรงของพืชแสดงถึงความพยายามในการดำรงชีวิตอยู่ เป็นรูปแบบ
ดั้งเดิมของพืชที่พยายามจะกลับไปคงรูปสภาพเดิม หลังจากที่ลำต้นเริ่มมีความโค้งเพื่อตอบสนองต่อ
ปัจจัยในสภาพแวดล้อม การจัดดอกไม้ในรูปแบบนี้เป็นการแสดงออกถึงความแข็งแกร่งภายในของพืช
ซึ่งลำต้นมีการปรับรูปแบบความโค้งไปตามการรับทิศทางของแสง ความหมายเหล่านี้จะแสดงผ่าน อิน
(In) และ โยว (Yo) หรือก็คือหยิน-หยาง เป็นความแตกต่างของชีวิต
97
เมื่อเวลาผ่านไป สำนักโอฮะระก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในช่วงกลางของยุคเมจิ เมื่อ
ญี่ปุ่นเปิดรับอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตก ดอกไม้ตะวันตกเริ่มนำเข้าและเพาะปลูกในประเทศญี่ปุ่น
รูปแบบวิถีชีวิตก็เริ่มเปลี่ยนไป จึงทำให้รูปแบบอิเคะบะนะในอดีตไม่เหมาะกับสถานการณ์ ข อง
ชีวิตประจำวันแบบเก่าอีกต่อไป เป็นดั่งยุคสมัยใหม่แห่งวงการอิเคะบะนะโดยอุนชิน โอฮะระได้พัฒนา
รูปแบบของอิเคะบะนะเพื่อแสดงความงามของทิวทัศน์ธรรมชาติ คือ โมริบะนะ ซึ่งเป็นก้าวแรกที่
สวยงามในอิเคะบะนะที่ทันสมัย มีกฎและความแตกต่างสำหรับดอกไม้ในโมริบะนะและแบบดั้งเดิม
เรียกได้ว่าเป็นจัดอิเคะบะนะแบบร่วมสมัย เนื่องจากมีอิสระในพื้นที่ที่ใช้จัดแสดง เป็นจุดกำเนิดของ
Avant-Garde Ikebana เริ่มมีการใช้คำว่า “Objet” ซึ่งเป็นคำที่มาจากศิลปะเหนือจริง (Surrealist
Art) เป็นครั้งแรกในอิเคะบะนะ
รูปแบบโดยหลักของโอฮะระจึงเน้นไปที่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ โดยสามารถสร้างและแสดง
ได้ในทุกที่ ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงพื้นที่และสภาพแวดล้อมเท่ารูปแบบอิเคะบะนะดั้งเดิม มีลักษณะ
พิเศษที่สามารถปรับให้เข้ากับชีวิตประจำวันได้ง่าย เพราะ เหมาะสำหรับห้องหรือพื้นที่ขนาดเล็ ก
ตำแหน่งการวางนั้นเน้นไปที่ความเรียบง่ายและสวยงาม จากการที่เน้นความเป็นอิสระ จึงไม่ยึดติดกับ
การวางกิ่งหลัก กิ่งรอง หรือส่วนเสริมมากนัก สิ่งที่เป็นตัวแปรสำคัญอย่างเดียวของรูปแบบโอฮะระ
คือ ลักษณะของวัสดุดอกไม้ที่ใช้ อิเคะบะนะรูปแบบเหล่านี้ ศิลปินจะแสดงความงามของทิวทัศน์ผา่ น
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะการเติบโตตามธรรมชาติของพืช สิ่งแวดล้อม และลักษณะของวัสดุ
ตามฤดูกาล นอกจากนี้ยังรวมถึงการกระทำและการแสดงผลของผู้จัด
ในส่วนของรูป แบบของสำนักโซเก็ทสึซึ่งกำเนิดขึ้นในเวลาต่อมา เจ้าสำนักได้เปรียบ
อิเคะบะนะเป็นศิลปะเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งจัดว่าเป็นรูปแบบที่มีความเป็นอิสระมากที่สุด โดยทุกคน
สามารถจัดดอกไม้ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยใช้วัสดุได้ทุกรูปแบบ จุดเด่นที่น่าสนใจ คือ โซเก็ทสึอิเคะบะนะ
เป็นการตอบสนองความต้องการตามธรรมชาติ โดยใช้ชื่อว่า “FLOWORK” เป็นการรวมกันของงาน
ศิลปะแบบติดตั้ง (Installation Art) กับการจัดดอกไม้โดยใช้วัสดุพืชในพื้นที่สาธารณะ แต่อย่างไรก็
ตามการจัดอิเคะบะนะยังต้องเริ่มฝึกจากพื้นฐานก่อน โดยทางสำนักโซเก็ทสึจะใช้บทเรียนเริ่มต้นจาก
การจัดโมริบะนะเป็นอันดับแรก ต่อด้วยโชกะ และฟรีสไตล์ หนึ่งในแนวคิดหลักของโซเก็ทสึ คือ การ
จัดเรียงควรมีองค์ประกอบที่แข็งแกร่งสามอย่าง แต่ละอย่างควรมีสัดส่วน มุม และองศาที่แน่นอน ที่
จะทำงานร่วมกับพื้นที่สภาพแวดล้อมและแสดงถึงจิตวิญญาณของช่วงเวลา
เนื่องจากงานอิเคะบะนะของโซเก็ทสึได้ละทิ้งความเป็นขนบดั้งเดิมไปค่อนข้างมาก จึง
อาจจะกล่าวได้ว่างานโซเก็ทสึอิเคะบะนะเป็นเหมือนงานศิลปะติดตั้งมากกว่างานอิเคะบะนะแบบขนบ
ดั้งเดิม เมื่อเปรียบเทียบกับอิเคะบะนะยุคแรกเริ่มแล้วจะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา
ค่อนข้างมาก ผู้จัดอิเคะบะนะรุ่นใหม่ต่างมีการริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานในแบบของตนเอง โดยมี อิทธิพล
98
จากทางศิลปะตะวันตกมาเป็นส่วนเกี่ยวข้อง งานศิลปะและอิเคะบะนะเริ่มมีการผสมผสานเข้าด้วยกัน
แต่วัฒนธรรมการชมดอกไม้ของประเทศญี่ปุ่นนั้นมีมาอย่างยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งความรู้ใน
เรื่องเกี่ยวกับดอกไม้ยังถูกเก็บหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร มีการเขียนภาพต่ างๆที่เกี่ยวข้องลงใน
คัมภีร์ต่างๆ อย่างเช่น บทกวีมันโยชู หรือ The Pillow Book มาโดยตลอด จึงทำให้วัฒนธรรมการ
จัดอิเคะบะนะยังคงฝังรากลึก และไม่สูญสลายไป

5.2 ปัญหาที่พบในการทำศิลปนิพนธ์
1. ถึงแม้ว่าประวัติของการจัดอิเคะบะนะจะมีการเก็บเป็นลายลักษณ์อักษร และมีการ
สืบทอดทางวัฒนธรรมในประเทศญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน แต่ยังไม่ได้มีการเผยแพร่มาในประเทศไทย
มากนัก ทำให้การเข้าถึงข้อมูลในไทยเป็นไปได้ยาก จึงทำให้ผู้วิจัยไม่สามารถค้นคว้าข้อมูลของอิเคะบะ
นะจากหนังสือ ตำรา และรายงานการวิจัยที่น่าเชื่อถือต่างๆได้ อีกทั้งหนังสือที่ใช้ในการค้นคว้าล้วน
เป็นหนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์ที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นภาษาญี่ปุ่น จึงมีคำศัพท์ทางวิชาการเฉพาะทาง
จำนวนมากที่ไม่สามารถหาคำนิยามเป็นภาษาไทยได้มากนัก
2. เนื่องจากการจัดอิเคะบะนะเป็ นความเข้าใจโดยการปฏิบัติ จึงจำเป็นต้องเรียนรู้
ทักษะในทางปฏิบัติควบคู่กับทฤษฎีไปด้วย เพื่อความเข้าใจอย่างละเอียด
3. การจัดอิเคะบะนะ ไม่ได้เป็นการศึกษาเพียงแค่ดอกไม้เพียงอย่างเดียว แต่เป็น
การศึกษาสภาพแวดล้อมในระหว่างการจัด ซึ่งโดยหลักแล้วจะเป็นห้องโทะโคะโนะมะในสถาปัตย-
กรรมญี่ปุ่นดั้งเดิม อีกทั้งยังมีองค์ประกอบต่างๆ เช่น แสง พื้นที่ ฉากหลัง บรรยากาศ หากต้องการ
ศึกษาโดยละเอียดจำเป็นจะต้องเดินทางไปศึกษา ณ สถานที่จริง
4. องค์ประกอบของอิเคะบะนะนั้นยังมีอีกหลากหลายขั้นตอน หลายองค์ประกอบที่
สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ แต่เนื่องด้วยเวลาที่จำกัดทำให้จำเป็นต้องละทิ้งองค์ประกอบที่เป็นส่วน
เล็กน้อยไป
99
5.3 ข้อเสนอแนะ
1. ผลจากการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปต่อยอดเพื่อศึกษาให้สมบูรณ์ในประเด็นของ
สุนทรียศาสตร์ญี่ปุ่ น รวมไปถึงปรัชญาของเซนที่นำมาวิเคราะห์ ซึ่งผู้ที่สนใจจะศึกษาศิลปะญี่ปุ่น
หรืออิเคะบะนะในโอกาสต่อไป อาจะนำผลจากการศึกษาในครั้งนี้ไปวิเคราะห์เปรียบเทีย บและ
เชื่อมโยงเพื่อหาปัจจัยอันนำไปสู่ทฤษฎีและแนวคิดอื่นๆ โดยเปรียบเทียบวิเคราะห์กับอิเคะบะนะใน
รูปแบบหรือสำนักอื่นๆ ให้มีความครอบคลุ มและลึกซึ้งได้มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น สำนักโคริว สำนัก
เอ็นชู สำนักโชเก็ทสึโดะ โคริว สำนักมิโชะ ฯลฯ ที่มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน และยังเป็นสำนักเก่าแก่ที่
เป็นที่รู้จักในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย
2. การศึกษาและวิเคราะห์ แนวคิด ปรัชญา และรูปแบบของการจัดดอกไม้อิเคะบะนะ
แบบญี่ปุ่นโดยวิเคราะห์จากสุนทรียศาสตร์ญี่ปุ่น ควรศึกษาโดยการปฏิบัติจริงควบคู่ไปด้วยจะทำให้
เข้าใจในรายละเอียดของวิถีของอิเคะบะนะได้ดียิ่งขึ้น
3. เนื่องจากอิเคะบะนะเป็นวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นที่สืบทอดกันมายาวนาน และมี
หลากหลายรูปแบบ หลากหลายสำนัก จากการศึกษาในครั้งนี้เป็นเพียงการหยิบยกตัวอย่างผลงาน
ของบางสำนักมาเท่านั้น ดังนั้น ควรมีการศึกษารูปแบบและสำนักที่หลากหลายยิ่งขึ้น เพื่อให้เห็นจุด
ร่วมและข้อแตกต่างของอิเคะบะนะในแต่สำนักได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังเชื่อมโยงไปสู้พื้นฐานของประเพณี
วัฒนธรรมอื่นๆของประเทศญี่ปุ่นที่มีพื้นฐานความเชื่อมาจากจุดเดียวกัน เช่น พิธีชงชา วัฒนธรรมการ
ชมดอกไม้หรือชมซากุระ การจัดสวนญี่ปุ่น ฯลฯ
100

บรรณานุกรม

หนังสือภาษาไทย
จินดา จันทร์แก้ว, ศาสนาปัจจุบัน, พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2532.
ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์, หิมะ พระจันทร์ ดอกไม้ สวนญี่ปุ่น กรุงเทพฯ: สารคดีภาพ, 2557.
ชัยยศ อิษฎร์วรพันธุ์, เซนและวัฒนธรรมญี่ปุ่น กรุงเทพฯ: บิ, 2559.
เซนไค ชิบายามะ, ดอกไม้ไม่จำนรรจ์, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ลายสือไทย, 2522.
ติช นัท ฮันห์, กุญแจเซน กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2532.
ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์, ศาสนาและปรัชญาในจีน ทิเบตและญี่ปุ่น กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพ
ใจ, 2545 .
เสฐียร พันธรังษี, ศาสนาเปรียบเทียบ กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, 2542.
สุชีพ ปุญญานุภาพ, ประวัติศาสตร์ศาสนา, พิมพ์ครั้งที่ 10 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์รวมสาส์น, 2545
Erin Niimi Longhurst, Japonisme กรุงเทพฯ: BROCCOLI, 2562.

บทความในวารสารภาษาไทย
เพ็ญศรี กาญจโนมัย, “ศาสนากับการพัฒนาประเทศญี่ปุ่น”, วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม) 7, 1
(ตุลาคม, 2529) : 2.
สำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ “ศิลปะการจัดดอกไม้
ญี่ปุ่น” วารสารประจำปีที่ 8, 1 (กันยายน-ตุลาคม 2557) : 63.

งานวิจัย
渋谷 裕理“日本人の美意識” 早稲田社会科学総合研究. 別冊, 学生論文集,2010.
อรรถยา สุวรรณระดา, “กลอนดอกบ๊วย 32 บทใน มันโยฌู: เปรียบเทียบภาพลักษณ์ดอกบ๊วยใน
มันโยฌู กับ โคะกิงวะกะฌู” คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
stakeholders’ knowledge and attitudes about global climate change” a School of
Natural Resources & Environment and Department of Wildlife Ecology and
Conservation, University of Florida, 2010.
101
หนังสือภาษาต่างประเทศ
Shozo Sato, Ikebana: The Art of Arranging Flowers Hong Kong: Tuttle Publishing ,
2008.
Izuru Shinmura, Kojien Tokyo: Iwanami Shoten, 2008.
Jay L. Garfield, The Oxford Handbook of World Philosophy Oxford: Oxford
University Press, 2011.
Tsuneko S. Sadao, Discovering the Arts of Japan: A Historical Overview Kodansha
International, 2003.
Josiah Conder, The Flower of Japan and The Art of Floral Arrangement, Tokyo:
Kodansha International, 2002.
Kodansha, Man'yoshu Tokyo: Kodansha Encyclopedia of Japan, 1983.
Kudo Masanobu, The history of Ikebana, Tokyo : Shufunotomo, 1986.
Takei Jirou, Promenade on Garden History, Kyoto: Showado, 2009. 3

ระบบข้อมูลออนไลน์
TPA news, ภาษาดอกไม้, เข้าถึงเมื่อ 25 กันยายน 2562. เข้าถึงได้จาก
http://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/9/ContentFile1809.pdf
พชร สูงเด่น, โมโน โนะ อะวะเระ: ความเศร้าที่งดงามในโมงยามแห่งความเปลี่ยนแปลง, เข้าถึงเมื่อ
19 มกราคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://adaybulletin.com/life-citytales-mono-
no-aware/44980
坂本 稔, 木の年代をはかる, accessed October 30, 2019, available from

http://sugawara.tokyo/dictionary/nelumbo
The Royal Horticultural Society, Spiraea thunbergii, accessed April 15, 2020,
available from https://www.rhs.org.uk/Plants/49685/i-Spiraea-thunbergii-
i/Details
The International Camellia Society, 山茶花的花, accessed October 3, 2019, available
From http://wwwws.gov.taipei/001/
mimimin, 白木蓮(ハクモクレン)の花言葉&写真, accessed October 5, 2019,
available from mimimin.com/hakumokuren/
102
木通野みのる, 6月はアジサイの季節。アジサイにはたくさんの逸話がありました,

accessed October 5, 2019, available from https://tenki.jp/suppl/


daaaaamegane/2017/06/10/23311.html
Sugawara Florist, フジ(藤) , accessed October 10, 2019, available from
http://sugawara.tokyo/dictionary/fuji
Sugawara Florist, アイリス , accessed October 10, 2019, available from
http://sugawara.tokyo/dictionary/iris
Sugawara Florist, シャクヤク(芍薬), accessed October 17, 2019, available from
http://sugawara.tokyo/ dictionary/peony
Sugawara Florist, ハス(蓮), accessed October 20, 2019, available from
http://sugawara.tokyo/dictionary/nelumbo
Wikiwand, 菊花紋章, accessed October 30, 2019, available from
https://www.wikiwand.com/zh mo/%E8%8F%8A%E8%8A%B1%E7%B4%8B
%E7%AB%A0
Lovegreen, シュウメイギク(秋明菊)の育て方|植物図鑑, accessed October 30, 2019,
available from https://lovegreen.net/library/flower/p92009/
103

ภาคผนวก
104
ดอกไม้ญี่ปุ่น เมื่อจำแนกตามเดือนทั้ง 12 เดือน (ปฏิทินโบราณ)

เดือนที่ 1 (เดือนกุมภาพันธ์)
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Fukuju-so Adonis amurensis
Suisen Narcissus Tazetta Narcissus
Uguisu-so Lithospermum Zollingeri
Hakubai Prunus mume White Plum
Yanagi Salix japonica Willow
Kan-giku Pyrethrum sinense Winter Chrysanthemum
Yabu-koji Ardisia japonica
Rengio Forsythia suspensa
Tsubaki Camellia Japonica Camellia
Murozaki-Momo Hot-house Peach
Obai Jasminim Sieboldianum
Kinsenkwa Calendula officinalis
Choshun Rosa indica
Mansaku Hamamelis Japonica
Robai Chimonanthus fragrans Chinese Plum

เดือนที่ 2 (เดือนมีนาคม)
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาองักฤษ
Hakubai Prunus mume flore alba White Pluum
Hi-to Red Peach
Obai Jasminum Sieboldianum
Ko bai Prunus mume flore rosa Red Plum
Higan-zakura Prunus subhirtella
Usu-to Prunus persica Pale Peach
Niwatoko Sambucus racemosa
105
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Keman-so Dicentra spectabilis
Azuma-giku Erigeron Thunbergii
Kinsenkwa Calendula officinalis
Haru-giku Chrysanthemum coronarium Spring Chrysanthemum
Hotei-chiku Bambusa sterilis
Tennan-sho Arisaema japonicum
Oka-kohone Nuphar japonicum
Rengio Forsythia suspensa
Anzu Prunus armeniaca Apricot
Hitoye-zakura Prunus pseudo-cerasus Single Cherry
Yamabuki Kerria japonica
Hitsuji-so Nymphaea tetragona
Niwa-ume Prunus japonica Garden Plum
Wase-Zakura Prunus pseudo-cerasus Early Cherry
Niwa-Zakura Prunus pseudo-cerasus Garden Cherry
Enishida Cytisus scoporius
Moku-renge Magnolia Magnolia
Suwo Caesalpinia Sappan
Yobai-kwa Myrica rubra
Shakunage Rhododendron Metternichii Azelea
Tsutsuji Rhododendron indicum Azelea
Kaido Pyrus spectabilis
Obai Jasminum Sieboldianum
Haran Aspidistra lurida
Bijin-so Papaver rhoeas
Uguisu-so Lithospermum Zollingeri
Yuki-wari-so Anemone hepatica
Kara-omodaka Alisma Plantago
Shun-ran Cymbidium virens
106
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Kobushi Magnolia Kobus Magnolia
Tsubaki Camellia japonica Camellia
Nashi Pyrus ussuriensis Pear
Sumomo Pyrus trifloral
Ringo Pyrus malus Apple
Asebo Andromeda japonica
Sendai-hagi Thermopsis fabecea
Korai-giku Corean Chrysanthemum
Boke Pyrus japonica
Mansaku Hamamelis japonica
Choshun Rosa indica
Wasure-gusa Hemerocallis flava
Ita-dori Polygonum cuspidatum
Sumire Viola Patrinii
Uikio Foeniculum vulgare

เดือนที่ 3 (เดือนเมษายน)
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Haku-to Prunus persica flore alba White Peach
Usu-to Pink Peach
Nojiro-momo Peach
Hi-to Prunus persica Red Peach
Nora-momo Peach
Hosumomo Peach
Ko-to Prumus persica flore rosa Red Peach
Gempei-momo Red and White Peach
Rito Prunus trifloral
Nashi Pyrus ussuriensis Pear
Ringo Pyrus malus Apple
107
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Yamabuki Kerria japonica
Rengio Forsythia suspensa
Kobushi Magnolia Kobus Magnolia
Anzu Prunus armeniaca Apricot
Haru-giku Chrysanthemum coronarium Spring Chrysanthemum
Jinchoke Daphne odora Daphne
Ebine-so Calanthe discolor Kind of Orchid
Kome-zakura Spirea Thunbergii
Niwa-zakura Prunus pseudo-cerasus Garden Cherry
Suwo Caesalpinia Sappan
Wase-zukura Prunus pseudo-cerasus Early Cherry
Korai-giku Corean Chrysanthemum
Mokuren Magnolia Magnolia
Shakunage Rhododendron Metternichii Azalea
Yamamomo Myrica rubra
Asebo Andromeda japonica
Sendai-hagi Thewmopsis fabacca
Fujii-kazura
Shakuyaku Paeonia albiflora Peony
Kakitsubata Iris Iaevigata Iris
Asami Argemone Mexicana
Ayame Iris sibirica Iris
Karamatsu-so Thalictrum aquilegifolium
Tessen Clematis florida Clematis
Wasure-gusa Hermerocallis flava
Togiri Clerodendron squamatum
Keshi Papaver somnirerum
Kodemari Spiraea cantoniensis
Ippatsu Iris tectorum
108
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Shaga Iris japonica
Botan Paeonia moutan
Awamori-so Astilbe japonica
Kazaguruma Clematis patens
Shiran Bletia hyacinthina
Choshun Rosa indica
Suzuran Convallaria majalis
Tsurigane-so Campanula punctate Bluebell
Konniaku Conophallus konjak
Enishida Cytisus scoporius
Ki-fuji Wistaria chinensis Yellow wistaria
Fuji-matsu Larix leptolepis
Tampopo Taraxacum officinale
Sumire Viola patrinii Violet

เดือนที่ 4 (เดือนพฤษภาคม)
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Kiku Chrysanthemum coronarium Chrysanthemum
Kuchinashi Gardenia florida
Sakaki Cleyera japonica
Azami Cnicus Japonicus
Tochi-so Clintonia udensis
Akaza Chenopodium album
Kakitsubata Iris laevigata Iris
Botan Paeonia moutan Tree peony
Ayame Iris sibirica Iris
Ippatsu Iris tectorum Iris
Omoto Rhodea japonica
Kusa-aoi Althaee rosea
109
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Shakuyaku Paeonia albiflora Peony
Utsugi Deutzia Sieboldiana
Yuri Lilium Lily
Zakuro Punica granatum
Sendan Melia azedarach
Tsutsuji Rhododendron indicum Azalea
Hana-nanten Nandina domestica
Kirishima Rhododendron Obtusum
Kinsenkwa Calendula officinalis
Kohone Nuphar japonicum
Tessen Clematis florida Clematis
Natsu-yuki Deutzia Sieboldiana
Kirin-so Sedum kamtschaticum
Bijin-so Papaver rhoeas
Futo-i Scirpus lacustris
Enishida Cytisus scoporius
Hama-nadeshiko Dianthus scoporius
Tsurigane-so Campanula punctate Bluebell
Biyo-riu Hypericum chinense
Kodemari Spiraea cantoniensis
Suwo Caesalpinia Sappan
Kobushi Magnolia Kobus Magnolia
Shaga Iris japonica Iris
Mokuren Magnolia conspicua Magnolia
Shimotsuke Spiraea japonica
Sendai-hagi Thermopsis fabacean
Shiran Bletia hyacinthine
Teppo-yuri Lilium longiflorum Lily
Sasa-yuri Lilium japonicum Lily
110
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Hime-yuri Lilium concolor Lily
Suzu-ran Convallaria majalis
Hankwai-so Senecio japonicus
Giboshi Funkia ovata
Kumagaye-so Cypripedium japonicum
Atsumori-so Cypripedium
Benkei-so Sedum erythrostictum
Hana-yu Citrus aurantium
Kikoku Citrus fusca
Shuro Chamaerops excelsa
Koboku Magnolia hypoleuca Magnolia
Tampopo Taraxacum officinale
Fuji-kazura

เดือนที่ 5 (เดือนมิถุนายน)
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Kiku Chrysanthemum coronarium Chrysanthemum
Giboshi Funkai ovata
Shiran Bletia Hyacinthina
Kuchinashi Gardenia florida
Uki-kusa Lemna minor
Ajisai Hydrangea hortensis Hydrangea
Tochi-so Clintonia udensis
Shimotsuke Spirea japonica
Natsu-yuki Deutzia Sieboldiana
Mokko-kwa Rosa Banksia
Hime-yuri Lilium concolor Lily
Senno Lychnis senno
Matatabi Actinidia polygama
111
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Zakuro Punica granatum
Biyo-riu Hypericum chinense
Hana-nanten Nandina domestica
Tessen Clematis florida Clematis
Kiri-shima Rhododendron obtusum Azalea
Satsuki Rhododendron macranthum Azalea
Kirin-so Sedum kamtschaticum
Natsu-zukashi Lilium Thunbergianum Lily
Kingin-kwa Goodyera parviflora
Nadeshiko Dianthus superbus
Kawara-Nadeshiko Dianthus superbus
Teppo-yuri Lilium Longiflorum Lily
Sasa-yuri Lilium japonicum Lily
Hankwai-so Senecio japonicus
Benkei-so Sedum erythtosticum
Kuma yanagi Berchemia
Kohone Nuphar japonicum
Sasaki Cleyera japonica
Kodemari Spirea cantoniensis
Kwaku-so Phajus grandiflorus
Futo-i Scirpus lacustris
Hoso-i Juncus communis
Sankaku-i Scirpus lacustris
Kayatsuri-gusa Cyperus iria
Sendan Melia azedarach
Hana-shobu Iris laevigata Flag
Kusa-ayame Iris sibirica Wild Iris
Mankeishi Vitex triflolia
Nichi-nichi-so Vinca rosea
112
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Kokwa Carthamus tinctorius
Omoto Rhodea japonica
Kakitsubata Iris laevigata Iris
Hakucho-ke Serissa foetida
Kwannon-so Reineckia carnea
Kurumi Juglans regia
Ochi Melia japonica
Koboku Magnolia htpoleauca Magnolia

เดือนที่ 6 (เดือนกรกฎาคม)
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Kiku Chrysanthemum coronarium Chrysanthemum
Hana-nanten Nandina domestica
Omoto Rhodea japonica
Ran Orchid
Oshiroi-hana Mirabilis jalapa
Seki-chiku Dianthus chinensis Kind of Bamboo
Hishi Trapa bispinosa
Hakucho-ke Serissa foetida
Nadeshiko Dianthus superbus
Hasu Nelumbium speciosum Lotus
Hi-ogi Pardanthus chinensis
Giboshi Funkia ovata
Kuzu Pueraria Thunbergiana
Tora-no-o Lysimachia clethroides
Kikio Platycodon grandiflorum
Tsuta Vitis inconstans Ivy
Gampi Lychnis grandiflora
Senno Lychnis senno
113
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Kazaguruma Clematis patens Clematis
Sakaki Cleyera japonica
Mizu-aoi Monochoria vaginalis
Oguruma Inula britannica
Mokuge Hibiscus syriacus
Nozen-kwa Tecoma grandiflora
Kirin-so Sedum kamtschaticum
Benkei-so Sedum erythrosticum
Medo-hagi Lespedeza sericea
Asagao Ipomea hederacea Morning Glory
Hiru-gao Convolvulus japonicus Convolvulus
Yu-gao Convolvulus
Kohone Nuphar japonicum
Kakitsubata Iris laevigata Iris
Kawara-nadeshiko Dianthus superbus
Futo-i Scirpus lacustris
Hoso-i Juncus communis
Sankaku-i Scirpus lacustris
Anja Dianthus caryophyllus
Shiu-kaido Begonia Evansiana
Otogiri-so Hypericum erecrtum
Omodaka Alisma plantago
Zakuro Punica granatum
Sanzashi Crataegus cuneate
Manjusake Nerine japonica
Sendan Melia azedarach
Mankeishi Vitex trifolia
Kwannon-so
Natsu-tsubaki Stuartia pseudo-camelia
114
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
O-yuri Lilium Lily
Sasa-yuri Lilium japonicum Lily
Teppo-yuri Lilium longiflorum Lily
Hime-yuri Lilium concolor Lily
Natsu-zukashi Lilium Thunberdianum Lily
Itadori Polygonum cuspidatum

เดือนที่7 (เดือนสิงหาคม)
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Kiku Chrysanthemum coronarium Chrysanthemum
Kikio Platycodon grandiflorum
Ran Orchid
Gampi Lychnis grandiflora
Mokuge Hibicus syriacus
Tsuta Vitis inconstans Ivy
Sennichi-so Gomphrena globosa
Medo-hagi Lespedeza sericea
Hasu Nelumbium speciosum Lotus
Oguruma Inula britannica
Senrio Chloranthus brachystachys
Kuzu Puereria Thunbergiana
Ominayeshi Patrinia scabiosaefloria
Asagao Ipomae hederacea
Hishi Trapa bispinosa
Yu-gao Convolvulus
Hiru-gao Convolvulus japonicus Convolvulus
Hagi Lespedeza bicolor
Shiu kaido Begonia Evansiana
Kohone Nuphar japonicum
115
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Futo-i Scirpus lacustris
Hoso-i Juncus communis
Sankaku-i Scipus lacustris
Mizu-aoi Monochoria vaginalis
Omodaka Alisma Plantago
Otogiri-so Hypericum erectum
Shion Aster tartaricus Aster
Keito Celosia argentea
Sawa-gikio Lobelia sessilifolia
Hosen-kwa Impatiens balsamina
Fuyo Hibicus matabilis
Ha-geito Amaranthus melanchilicus
Dandoku Canna indica
Hi-ogi Pardanthus chinensis
Ukon Carcuma longa
Kichijo-so Reineckia carnea
Kushide Rhus semi-alata
Kakitsubata Iris laevigata Iris
Tori-kabuto Aconitum Fischeri
Manjusake Lycoris radiata
Mankeishi Vitex trifolia
Benkei-so Sedum erythorostictum
Hakuchoke Serissa foetida
Kwannon-so Reinackia carnea
Riukiu-giku Convolvulus
Aoi Althea rosea
Tsuru-modoki Celatrus articulatus
Anja Dianthus caryophyllus
Nadeshiko Dianthus superbus
116
เดือนที่8 (เดือนกันยายน)
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Kiku Chrysanthemum coronarium Chrysanthemum
Susuki Eularia japonica
Hasu Nelumbium speciosum
Tsuta Vitis inconstans Ivy
Hagi Lespedeza bicolor
Ogi Kind of Read
Kakitsubata Iris Laevigata Iris
Shion Aster tataricus Aster
Yukinoshita Saxifraga sarmentosa
Fujibakama Eupatorium Chinese
No-giku Wild Chrysanthemum
Hosen-kwa Impatiens balsamina
Fuyo Hibiscus mutabilis
Hi-mawari Helianthus annuus Sunflower
Keito Celosia argentea
Ominayeshi Patrinia scabiosaflolia
Otokoyeshi Patrinia scabiosaflolia alba
Tori-kabuto Aconitum Fischeri
Tsuru-modoki Celastrus articulates
Ume-modoki Ilex Siebodil
Mokuge Hibiscus syriacus
Gan-rai-ko Amaranthus melancholicus
Karukaya Anthistiria arguens
Rindo Kind of Grass
Uzura-guza Autumn Plum
Hassaku-bai Kind of Maple
Usu-mommiji Acer palmatum
Sanzashi Crataegus cuneate
117
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Hama-giku Chrysanthemum niponnicum
Waremoko Poterium officinale
Okina-gusa Anemone cuneate
Medo-hagi Lespedeza sericea
Sawa-gikio Lobelia sessilifolia
Sennichi-so Gomphrena globose
Mizu-aoi Monochoria vaginalis
Kohone Nuphar japonicum
Nishiki-bana Euonymus alatus
Benkei-so Sedum erythrosicum
Kwannon-so
Ukon Curcuma longa
Kichijo-so Reineckia carnea
Kushide Rhus semi-alata
Riukiu-giku Chrysanthemum
kakitsubata Iris laevigata Iris
Nishikigi Euonymus alatus

เดือนที่9 (เดือนตุลาคม)
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Kiku Chrysanthemum coronarium Chrysanthemum
Nanten Nandina domestica
Omoto Rhodea japonica
Hagi Lespedeza bicolor
Ume-modoki Ilex Sieboldi
Tsuru-modoki Celastrus articulates
Ogi Kind of Reed
Rindo Gentuana scabra
Suisen Narcissus tazetta Narcissus
118
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Susuki Eularia japonica
Sawa-gikio Loberia sessilifolia
Tsuwa-buki Senecio Kaempferi
Cha-no-hana Camellia theifera Tea Plant
Yatsude Fatsia japonica
Sazankwa Camellia sasanqua Camellia
Tsuta Vitis inconstans Ivy
Biwa Photinia japonica
Shion Aster tartaricus Aster
Kakitsubata Iris laevigata Iris
Karukaya Anthistiria arguens
Hama-giku Chrysanthemum nipponica Chrysanthemum
Sanzashi Crataegus cuneta
Ominayeshi Patrinia scabiosoefolia
Otokoreshi Patrinia scabiosoefolia alba
Kocho-ke

เดือนที่10 (เดือนพฤศจิกายน)
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Zan-giku Latte Chrysanthemum
Suisen Narcissus tazeta Narcissus
Kan-giku Pyrethmum sinense Winter Chrysanthemum
Sanzashi Crataegus cuneate
Cha-no-hana Camellia theifera Tea Plant
Biwa Photinia japonica
Nanten Nandina domestica
Nebuka-so Allium fistulosum
Yuki-no-shita Saxifraga sarmentosa
Yatsu-de Fatsia japonica
119
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Karukaya Anthistiria arguens
Rindo Gentiana scabra
Hayazaki-tsubaki Camellia japonica Early Camellia
Toji-bai Prunus mume Early Plum

เดือนที่11 (เดือนธันวาคม)
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Kan-giku Winter Chrysanthemum
Suisen Narcissus tazetta Narcissus
Nanten Nandina domestica
Omoto Rhodia japonnica
Neko-yanagi Salix branchystachys
Toji-bai Prunus mume Early Plum
Jugwatsu-zakura Prunus pseudo-cerasus Tenth Month Cherry
Biwa Photinia japonnica
Kocho-ke
Kan-botan Paeonia mouran Winter Peony
Sazankwa Camillia sasanqua Camellia
Yatsu-de Fatsia japonica
Tsubaki Camillia japonica Camellia

เดือนที่12 (เดือนมกราคม)
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Kangiku Winter Chrysanthemum
Suisen Narcissus tazetta Narcissus
Kan-botan Paeonia moutan Winter Peony
Nanten Nandina domestica
Omoto Rhodea japonica
120
ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อในภาษาอังกฤษ
Murozaki momo Forced Peach
Tsubaki Camellia japonica Camellia
Ro-bai Chimonanthus fragrams
Kinsenkwa Calendula officinalis
121

ประวัติผู้วิจัย

ชื่อ-สกุล ศุภานัน นรารัตน์วงศ์


ที่อยู่ 2529/69 หมู่บ้านเอสต้าโฮมไพรเวทพาร์ค ซอยเจริญราษฎร์ 7 แยก 35-5
ถนนพระราม3 แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กรุงเทพฯ 10120
อิเมล์ nararatwong.supanun@gmail.com
โทรศัพท์ 094-286-4642

ประวัติการศึกษา
2553 โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์
2555 Sano High School, Osaka
2556 โรงเรียนสายปัญญาในพระบรมราชินูปถัมภ์
2562 คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

You might also like