You are on page 1of 95

ความรัก ความเศร้ า ความสะเทือนใจ

โดย
นายไซยนุดดีน กูนิง

ศิลปนิพนธ์ นีเ้ ป็ นส่ วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสู ตรปริ ญญาศิลปบัณฑิต


สาขาวิทศั นศิลป์ (ภาพพิมพ์ )
ภาควิชาภาพพิมพ์
คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปี การศึกษา 2558
Imbroglio of Temper

By
Mr.Zainuddeen Kuning

A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for Degree


Bachelor of Fine Art (B.F.A.), Program in Visual Arts
Department of Graphic Arts
The Faculty of Painting Sculpture and Graphic Arts
Silpakorn University
Academic Year 2015
จิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อนุมตั ิให้ศิลปนิพนธ์ เรื่ อง
“ความรัก ความเศร้า ความสะเทือนใจ” เสนอโดย นายไซยนุ ดดีน กูนิง เป็ นส่ วนหนึ่ งของการศึกษา
ตามหลักสู ตรปริ ญญาศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ กลุ่มวิชาเอกภาพพิมพ์

................................................................................
(อาจารย์อามฤทธิ์ ชูสุวรรณ)
คณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
........................../........................../..........................

ผูค้ วบคุมศิลปนิพนธ์
ผูช้ ่วยศาสตราจารย์สิทธิชยั ปรัชญารัติกุล

คณะกรรมการตรวจศิลปนิพนธ์ ...................................................................ประธานกรรมการ
(รองศาสตราจารย์พศั ยศ พุทธเจริ ญ)
...................../...................../.....................

...................................................................กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ทินกร กาษรสุ วรรณ)
...................../...................../.....................

...................................................................กรรมการ
(ผูช้ ่วยศาสตราจารย์สิทธิชยั ปรัชญารัติกุล)
...................../...................../.....................

...................................................................กรรมการ
(ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ณฎั ฐพล สุ วรรณกุศลส่ ง)
...................../...................../.....................

...................................................................กรรมการและเลขานุการ
(ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ปราการ จันทรวิชิต)
...................../...................../.....................
หัวขอศิลปนิพนธ ความรัก ความเศรา ความสะเทือนใจ

ชื่อนักศึกษา นายไซยนุดดีน กูนิง

สาขาวิชา ทัศนศิลป

ภาควิชา ภาพพิมพ

ปการศึกษา 2558

บทคัดยอ

จากความโศกเศราและความผิดหวังสูญเสียจากความรักที่มีตอบุคคลอันเปนที่รักที่ทํา
ใหสภาวะอารมณทางจิตใจมีแตความหดหู นั้นทําใหขาพเจาถายทอดสภาวะอารมณดังกลาวโดยการ
ใชรูปสัญลักษณ ภาษาทางกายของรางกายมนุษยที่ดําเนินเรื่องราวความรักที่สะทอนถึงความทุกข
ในชั่วขณะนั้นโดยการแสดงออกดวยรองรอยและฝแปรงที่ถายทอดสภาวะอารมณความรูสึกจาก
วิกฤตทางอารมณที่เกิดเปนความสูญเสีย โศกเศราเสียใจกับบุคคลอันเปนที่รักของขาพเจา


Thesis Title Imbroglio of Temper

Name Mr.Zainuddeen Kuning

Concentration Visual Arts

Department Graphic Arts

Academic Year 2015

Abstract

When sadness and disappointment leave my state of mind damped and depress, I
choose to express it on my work, using symbols and human body languages to tell my stories and
reflect the sadness within me at the time. It was the state of feeling when I had lost the most
precious thing of mine.


กิตติกรรมประกาศ

ขาพเจาขอกราบขอบพระคุณ มารดา ผูเปนบุพการี และยังรวมไปถึงสมาชิกครอบครัวที่


คอยใหคําแนะนําในการใชชีวิตที่ตองเผชิญกับสิ่งตาง ๆ ทั้งเรื่องที่ดีหรือเรื่องที่เลวรายเรื่องราวตางๆ
มากมายเหลานี้สอนใหขาพเจาเติบโตและกาวผานไปไดอยางมั่นคงโดยมีมารดาคอยสนับสนุนอยู
เสมอมาคอยเปนกําลังใจในเวลาที่ผิดหวังหรือลมเหลว และยังคอยสนับสนุนทางดานทุนทรัพย
เพื่อใหโอกาสในการศึกษาศิลปะแกขาพเจา และขาพเจาจะนําโอกาสที่ไดรับไปใชใหเกิดประโยชน
สูงสุด และจะใชความสําเร็จตามวัตถุประสงคของการดําเนินงานศิลปนิพนธนี้เปนกาวแรกในการ
ดําเนินชีวิตตอไป ขอขอบคุณผูชวยศาสตราจารยสิทธิชัย ปรัชญารัติกุลอาจารยผูควบคุมศิลปนิพนธ
ที่คอยดูแลใหคําปรึกษาและใหคําเสนอแนะในแนวทางที่ดี คอยตรวจทานความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
ปรับแกไขใหดียิ่งขึ้นไป ตลอดชวงเวลาที่ศึกษาและดําเนินงานศิลปนิพนธ ขาพเจามีความรูสึก
ซาบซึ้งในความเมตตาความกรุณาที่มอบความรู ขอเสนอแนะทางความคิดตาง ๆ ของทานคณาจารย
ทุกทานในคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ
มหาวิทยาลัยศิลปากรที่ไดมอบความรูทางศิลปะและชีวิตที่มีคุณคายิ่งกวาสิ่งใด ๆ ขาพเจาหวังวา
ผลงานและเอกสารประกอบศิลปนิพนธเลมนี้ จะไดนําประโยชนมาแกผูที่สนใจศึกษาทางดาน
ศิลปะ และกอใหเกิดประโยชนตอสังคมและสวนรวมตอไป


คํานํา

เอกสารฉบับนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาและเปนเอกสารประกอบผลงาน ศิลปนิพนธ
สาขาวิชาทัศนศิลป กลุมวิชาเอกภาพพิมพ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ มหาวิทยาลัย
ศิลปากร ในหัวขอ “ความรัก ความเศรา ความสะเทือนใจ” (Imbroglio of Temper) ตามหลักสูตร
ปริญญาศิลปบัณฑิตที่นําเสนอกระบวนการของการดําเนินงานทางการศึกษา และการสรางสรรค
ผลงานชุดศิลปนิพนธ โดยเรียบเรียงใหสามารถเขาใจถึงกระบวนการคิดรวมไปถึงขั้นตอนการ
สรางสรรค ผลงานอย า งละเอีย ด ที่ป ระกอบไปดว ยเรื่อ งราว ความหมายทางความคิ ด รูป แบบ
ทางการสรางสรรคผลงานศิลปนิพนธ และกระบวนการสรางสรรค ศิลปะภาพพิมพชุดศิลปนิพนธนี้
ขา พเจ าสร างสรรค ขึ้นเพื่ อแสดงออกถึงสุน ทรียภาพทางอารมณ ที่ใ ช ภาษาทางศิลปะถายทอด
อารมณห รือสภาวะที่ เกิด ขึ้น ภายในจิ ต ใจ โนมนําไปสูการขัดเกลาจิตใจตนเองและยั ง เปน การ
เชื่อมโยงประสบการณเหลานี้กับผูชมผลงาน นําไปสูความงามที่สรางคุณคาทางจิตใจ


สารบัญ
หนา
บทคัดยอภาษาไทย .................................................................................................................... ง
บทคัดยอภาษาอังกฤษ ............................................................................................................... จ
กิตติกรรมประกาศ..................................................................................................................... ฉ
คํานํา .......................................................................................................................................... ช
สารบัญภาพ ............................................................................................................................... ญ
บทที่
1 บทนํา ........................................................................................................................ 1
ความเปนมาในการสรางสรรค .......................................................................... 3
ความเปนมาในการสรางสรรค .......................................................................... 3
วัตถุประสงคในการสรางสรรค......................................................................... 3
แนวความคิดในการสรางสรรค......................................................................... 3
ขอบเขตในการสรางสรรค ................................................................................ 4
วิธีการศึกษา ...................................................................................................... 4
แหลงขอมูลที่นํามาใชสรางสรรค ..................................................................... 4
2 ทฤษฎีที่เกี่ยวของกับการสรางสรรคและอิทธิพลจากผลงานศิลปกรรม .................... 5
จิตวิทยากับความรัก Psychology and love........................................................ 5
การเผชิญหนากับสภาวะสูญเสีย และโศกเศรา.................................................. 8
การสูญเสีย (Loss)............................................................................................. 8
ความโศกเศรา (Grief)....................................................................................... 9
อิทธิผลที่ไดรับจากการสรางสรรคผลงาน......................................................... 12
รูปแบบผลงานของ จอรท บาซิลิซ (George Baselitz)....................................... 18
3 การพัฒนาและวิธีการสรางสรรคผลงาน ................................................................... 19
เทคนิคและวิธีการสรางสรรค............................................................................ 19
รูปแบบของผลงาน............................................................................................ 20
ลักษณะการทํางานของทัศนะธาตุ ..................................................................... 20
ขั้นตอนการสรางสรรคผลงาน .......................................................................... 28
ขั้นตอนการประมวลความแนวความคิด ........................................................... 28
ขั้นตอนการกําหนดรูปแบบ .............................................................................. 29


ขั้นตอนการเตรียมวัสดุอุปกรณ ......................................................................... 29
ขั้นตอนการสรางสรรคผลงานผานกระบวนการพิมพ....................................... 31
ขั้นตอนการสรางภาพราง.................................................................................. 31
ขั้นตอนการขยายแบบราง ................................................................................. 32
ขั้นตอนการเตรียมแมพิมพแผนอลูมินั่ม ............................................................ 33
ขั้นตอนการสรางสรรคแมพิมพดวยกรรมวิธีตาง ๆ บนแมพิมพ ....................... 33
ขั้นตอนการคัดลอกแบบราง ลงบนแมพิมพ ...................................................... 34
กระบวนการเขียนแมพิมพ ................................................................................ 35
ขั้นตอนการเคลือบกาวและกัดกรด (Etching)ในกระบวนการภาพพิมพหิน ..... 37
ขั้นตอนการลางเขมา ......................................................................................... 41
ขั้นตอนการกลิ้งหมึก......................................................................................... 42
ขั้นตอนการทําชื้นกระดาษ................................................................................ 43
ขั้นตอนการพิมพในเทคนิคภาพพิมพหิน (Lithograph) .................................... 44
ขั้นตอนการพิมพเทคนิคภาพพิมพรองลึก (Intaglio)......................................... 45
4 การวิเคราะหและการพัฒนาผลงาน........................................................................... 48
การสรางสรรคผลงานชุดกอนศิลปนิพนธ ระยะที่ 1 ......................................... 48
การสรางสรรคผลงานชุดกอนศิลปนิพนธ ระยะที่ 2 ......................................... 52
การสราสรรคผลงานชุดกอนศิลปนิพนธ ระยะที่ 3........................................... 58
การสรางสรรคศิลปนิพนธ ................................................................................ 64
5 บทสรุป ..................................................................................................................... 82
บรรณานุกรม............................................................................................................................. 83
รายชื่อผลงานศิลปนิพนธ ป พ.ศ.2558-2559 ............................................................................. 84
ประวัติผูวิจัย .......................................................................................................................... 85


บทที่ 1

บทนา

ความเป็ นมาและความสาคัญของปัญหาของการสร้ างสรรค์


ความรั ก ความรู ้ สึ ก พิ เ ศษที่ เ กิ ด ขึ้ นระหว่า งบุ ค คลด้ว ยความเสน่ ห าหรื อ องค์ป ระกอบ
ทางด้านความรู้สึกด้านบวกที่นาไปสู่ ความต้องการอย่างที่สุด ความรู ้สึกนี้ เองยังเป็ นแรงขับเคลื่อน
ให้บุคคลได้รับความรู้สึกที่มีความสุ ขมากที่สุด ในขณะเดี ยวกันก็อาจทาให้ได้รับความรู ้สึกที่เศร้ า
จนเป็ นที่มานาไปสู่ ความทุกข์ ความรักเกิดขึ้นได้ดว้ ยองค์ประกอบหลายอย่างหากพูดกันใน1ทฤษฎี
ความรักของ Robert Sternberg นักจิตวิทยาได้นาเสนอทฤษฎี “สามเหลี่ ยมความรัก ” จาก
องค์ประกอบทั้ง 3 หากประกอบกันจะเกิดความรักขึ้นแบ่งได้เป็ น 7 แบบด้วยกันนั้นเอง ทฤษฎี
ความรักนั้นเกิดขึ้นได้ดว้ ย 3 หลักองค์ประกอบ ความเสน่ห์หา (Passion) ความหลงใหลเสน่ห์ทาง
เพศ (sex appeal) มีความรู้สึกพอใจในรู ปลักษณ์ภายนอก ความผูกผัน (Intimacy) หมายถึง ความ
ผูกผันอันเกิดจากความใกล้ชิด การใช้เวลาอยูร่ ่ วมกันในฐานะคนรัก การตัดสิ นใจ (Decision) และ
การให้คามัน่ สัญญา (Commitment) คาสัญญาถือเป็ นสิ่ งที่สาคัญมากสาหรับความรัก สิ่ งนี้ เองได้มา
ด้วยความเชื่อใจ ความซื่ อสัตย์ที่ยึดมัน่ ต่อคาสัญญานั้น ความรู ้สึกที่เกิดขึ้นจากความรักนั้น คือสิ่ งที่
ต้องใช้เวลาในการสร้ างหรื อเพิ่มเติมด้วยความรู ้ สึกดี ที่มีต่อกันระหว่างบุคคล หากเรามองย้อนลง
ประวัติศาสตร์ ของมนุ ษย์น้ นั ความรักคือสิ่ งที่มีบทบาทกับการใช้ชีวิตของมนุ ษย์ดูได้จาก บทเพลง
ส่ วนใหญ่ที่มีเนื้ อหาที่กล่าวถึงสภาวะอารมณ์ที่เกิ ดขึ้นจากความรักซึ่ งอาจแตกต่างกันไปในเนื้ อหา
แต่ล ะเพลง ศิ ลปิ นหรื อนัก ประพันธ์ เพลง ภาพยนตร์ ต่ างก็ได้แรงบันดาลใจจากความรู ้ สึก จาก
ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นผ่านบุคคลของแต่ละคน เติมแต่งกลายเป็ นบทเพลงที่แสดงออกถึงความรู ้สึก
ทางความรั ก ในเนื้ อหาเดี ยวกันนี้ เอง ศิ ลปิ นต่างก็สร้ างงานศิ ลปะที่ มีแรงบันดาลใจจากความรัก
เช่นกัน

1
ทฤษฎีความรัก Theories of Love, เข้าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2558, เข้าถึงได้จาก
http://teen.mthai.com/love/70492.html
1
2
2
ความรักเป็ นการตีความของสมองภายใต้อิทธิ พลจากฮอร์ โมน เป็ นหนึ่งในกลไกสาคัญที่
ช่ วยดารงรั ก ษาเผ่า พันธุ์ ม นุ ษ ย์เอาไว้ ความรั ก ระหว่า งชายกับ หญิ ง แต่ เดิ ม มี ไ ว้ส าหรั บ การเพิ่ ม
จานวนประชากรเพื่อดารงเผ่าพันธุ์แห่ งมนุ ษยชาติ เพราะเมื่อยังเยาว์มนุ ษย์น้ นั อ่อนแอ จึงจาเป็ นที่
บิดาและมารดานั้นต้องใช้ความรักประคับประคองเด็กวัยนี้ ความรักของผูค้ นทัว่ ไปนั้น ก็เพื่อดารง
รั ก ษาสั งคมไว้ และสั งคมก็ คื อกลไกที่ ถู กพัฒนาขึ้ นมาอย่า งชาญฉลาดเพื่ อดารงเผ่า พันธุ์ มนุ ษ ย์
คชานนท์ นิ รันดร์ พงศ์ นักศึกษาปริ ญญาเอกด้านฟิ สิ กส์ อนุ ภาค แห่ งมหาวิทยาลัย Bristol อังกฤษ)
ซึ่ ง ข้อเสนอนี้ มี หลัก ฐานสนับ สนุ นชัดเจนว่า เวลาที่ ค นเราตกหลุ ม รั ก หรื อก าลัง มี ค วามรู ้ สึ ก ที่
เรี ยกว่ารั ก สารเคมี ในสมองเปลี่ ยนแปลงไปอย่างไร และมี ผลต่อพฤติ กรรมการแสดงออกหรื อ
ความเปลี่ยนแปลงของร่ างกาย กล่าวคือ หากเราเกิดความรู ้สึกตกหลุมรักนั้น ร่ างกายทางานด้วยการ
สั่งผ่านในระบบสมอง เพื่อเปลี่ยนแปลงสารเคมีจานวนหนึ่ ง สารเคมีหนึ่ งในจานวนนั้นคือ เซโรโต
นิน (Serotonin) เป็ นสารสื่ อประสาท ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสภาพจิตใจ และความยืดหยุน่ ทาง
อารมณ์ เมื่อเราเกิดอาการตกหลุมรักใคร ปริ มาณ เซโรโตนิ น (Serotonin) จะลดต่าลง(ส่ งผลให้เสี ย
การควบคุมสภาพจิตใจและไม่มีความยืดหยุน่ ทางอารมณ์) เมื่อปริ มาณ Serotonin ลดลง จะทาให้
เกิดพฤติกรรมย้ าคิดย้ าทา รวมทั้งกระตุน้ ให้สมองส่ วนหน้าของเปลื อกสมอง (Anterior cingulate
gyrus) ทางานหนัก ขึ้ น เมื่ อสมองส่ วนดังกล่ าวท างานหนัก คนเราก็มี แนวโน้ม ที่ จะติ ดอยู่ก ับ
ความคิดใดความคิดหนึ่ ง และพะวงอยูก่ บั การแสดงพฤติกรรมบางอย่าง อาจพูดได้ว่า สมองส่ วน
หน้าของเปลือกสมอง (Anterior cingulate gyrus) ทางานทาให้คนเราจะคิดถึงบุคคลที่เกิดความรู ้สึก
ตกหลุมรัก

2
หนังสือ "จีด๊ เพราะรัก พักทางนี"้ เขียนโดย กิตติศกั ดิ์ โถวสมบัติ จากบท "รักคืออะไร ในสายตา
นักวิทยาศาสตร์" หน้า28-31, เข้าถึงเมื่อ 22 พฤศจกายน2558
3

ความเป็ นมาและความสาคัญของการสร้ างสรรค์


ความรักเป็ นความรู ้สึกที่บงั เกิดขึ้นได้ที่ไม่จากัดเพศและวัยเป็ นสภาพและเจตคติต่างๆซึ่ งมี
ตั้งแต่ความชอบระหว่างบุคคลเช่น “ฉันรักแม่” หรื อในบริ บททางปรัชญาความรักเป็ นคุณธรรม
แสดงออกซึ่ งความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจและความเสน่หา ความรักสามารถรวมไปถึงความพึง
พอใจที่อาจจะรวมถึ งอารมณ์การดึ งดูดทางเพศและความผูกพันที่เป็ นส่ วนบุคคลอย่างรุ นแรงและ
ความต้อ งการอย่า งเสน่ ห า ขณะที่ ค วามรั ก ที่ เ กิ ด ขึ้ น ระหว่ า งมนุ ษ ย์ก ับ มนุ ษ ย์ด้ว ยกัน นั้น เป็ น
ความรู ้ สึ ก หรื ออารมณ์ ที่ ท รงพลัง กว่า การชอบบุ ค คลธรรมดาท าให้ช่ วงเวลานั้น มี แต่ ค วามสุ ข
หากแต่ว่าความรักและความสุ ขนั้นย่อมสามารถเกิ ดการสู ญเสี ยไปก็ทาให้ช่วงเวลานั้นมีแต่ความ
ทุกข์และความโศกเศร้า

วัตถุประสงค์ ของการสร้ างสรรค์


สภาวะอารมณ์ ที่เกิ ดการสู ญเสี ยและผิดหวังจากความสัมพันธ์กบั บุคคลอันเป็ นที่รักสร้ าง
อารมณ์ ความเศร้าโศกที่เป็ นปฏิกิริยาทางจิตใจและกระบวนทางจิตใจหล่อหลอมจนเกิ ดเป็ นภาวะ
วิกฤตทางอารมณ์ ซ่ ึ งส่ งผลกระทบต่อการดาเนิ นชี วิตที่ไม่มีทางออก จึ งทาให้ขา้ พเจ้าพยายามหา
หนทางออกเพื่อปลดปล่อยความสะเทื อนใจจากประสบการณ์ ที่เกิ ดขึ้น ด้วยวิธีกระบวนการทาง
ศิลปะเครื่ องมือขัดเกลาความรู ้สึกที่สะเทือนใจดังกล่าว

แนวความคิดในการสร้ างสรรค์
จากความโศกเศร้ า และความผิดหวัง สู ญเสี ย ความรั ก ที่ มี ต่อ บุ ค คลอันเป็ นที่ รัก ที่ ท าให้
สภาวะอารมณ์ทางจิตใจมีแต่ความหดหู่น้ นั ทาให้ขา้ พเจ้าถ่ายทอดสภาวะอารมณ์ดงั กล่าวโดยการใช้
รู ปสัญลักษณ์ ภาษาของร่ างกายมนุ ษย์ที่ดาเนิ นถึ งเรื่ องราวความรั ก สะท้อนถึ งความทุ กข์ในชั่ว
ขณะนั้นโดยการแสดงออกด้วยร่ องรอยและฝี แปรงที่ถ่ายทอดสภาวะอารมณ์ ความรู ้สึกจากวิกฤติ
ทางอารมณ์ ที่เกิดเป็ นความสู ญเสี ย เศร้าโศก เสี ยใจกับบุคคลอันเป็ นที่รักของข้าพเจ้า
4

ขอบเขตในการสร้ างสรรค์
ด้วยความรู้สึกในสภาวะทางอารมณ์ของตนเองเป็ นปั จจัยหลักในการสร้างสรรค์โดยนา
เป็ นแรงผลักดันเพื่อถ่ายทอดออกมาเป็ นผลงานภาพพิมพ์หินที่ผสมผสานกับภาพพิมพ์วสั ดุ โดยมี
ขอบเขตดังต่อไปนี้
-ขอบเขตด้านเนื้อหาเป็ นการนาเสนอเรื่ องราวที่สะท้อนความสู ญเสี ยที่เกิดเป็ นความทุกข์
-ขอบเขตด้านรู ปแบบนาเสนอผลงานภาพพิมพ์ในลักษณะ 2 มิติในรู ปแบบกึ่งนามธรรม
(Semi Abstract)
-ขอบเขตด้านเทคนิ คแสดงออกผ่านกระบวนการทางภาพพิมพ์หินผสมผสานกับกระบวน
บวนการภาพพิมพ์วสั ดุ ซ่ ึ งมีลกั ษณะเฉพาะทางเทคนิ คและสามารถถ่ายทอดความรู ้สึกทางสภาวะ
ทางอารมณ์ได้เป็ นอย่างดี

วิธีการศึกษา
การสร้ างสรรค์ศิลปะนิ พนธ์ โดยอาศัยความรู ้สึกที่เกิ ดขึ้นภายในจิตใจมาสร้างมโนภาพที่
มุ่ ง แสดงออกทางด้า นอารมณ์ บนพื้ นที่ ที่ รองรั บ รู ป ทรงที่ ส อดคล้องกับ อารมณ์ ค วามรู ้ สึ ก เพื่ อ
สะท้อนความรู ้ สึกในขณะนั้น เป็ นการแสดงออกในลักษณะฉับพลันเพื่อเป็ นการบันทึ กอารมณ์
ความรู ้สึกที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันหากใช้เวลานานความรู ้สึกที่เกิดขึ้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ จึงเลือกใช้
การแสดงออกแบบฉับพลันปรากฏในผลงานระนาบ 2 มิติ

แหล่ งข้ อมูลทีน่ ามาใช้ ในการสร้ างสรรค์


ค้นหาและวิเคราะห์ ผลงานศิ ล ปะที่ มุ่ง แสดงออกทางด้า นอารมณ์ ค วามรู ้ สึก เป็ นส าคัญ
แสดงออกมาอย่างฉับพลัน ใช้วธิ ี การบันทึกด้วยกระบวนการทางจิตรกรรมเพื่อนาข้อมูลที่เป็ นมโน
ภาพของสภาวะที่ เกิ ดขึ้ นภายในจิ ตใจมาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาและนาไปแสดงออกภาพพิ มพ์ใ น
ลักษณะ 2 มิติในรู ปแบบกึ่งนามธรรม (Semi Abstract)
บทที่ 2

ทฤษฎีทเี่ กี่ยวข้ องกับการสร้ างสรรค์ และอิทธิพลจากผลงานศิลปกรรม

ความงามทางด้านอารมณ์ความรู ้สึก สิ่ งที่พิเศษที่มีอยูภ่ ายในตัวของมนุ ษย์เอง มนุ ษย์ทุกคน


นั้นมีส่ิ งนี้ที่ถูกซ่อนเร้นภายใต้รูปลักษณ์ภายนอกที่ไม่สามารถมองเห็นเป็ นรู ปธรรมมนุ ษย์น้ นั ใช้สื่อ
ในการแสดงออกหลายอย่างเพื่อแสดงออกทางด้านอารมณ์ ความรู ้ สึกเช่ น คาพูด ดนตรี การเขียน
หนังสื อ ภาพยนตร์ เต้นรา เป็ นต้นหนึ่ งในสื่ อเหล่ านั้นคื อศิ ลปะศิ ลปะถู กใช้เพื่อเป็ นภาษาในการ
ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู ้ สึก และความคิดที่อยู่ภายในเหล่านั้นออกมาเป็ นรู ปธรรม การสร้ างสรรค์
ศิ ลปะนั้นเองศิ ล ปิ นย่อมต้องค้นหาความเป็ นตนเองอย่า งที่ สุดเพื่ อให้ก ารสร้ างสรรค์ผลงานนั้น
สมบูรณ์แบบตามความถนัดของแต่ละคน ในการประกอบสร้างสรรค์น้ นั ย่อมต้องมีการพัฒนาด้วย
การค้นหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ความรู ้ที่สอดคล้องกับเรื่ องราวและเนื้ อหาทางด้านความคิดในการ
แสดงออก เพื่ อ ปรุ ง แต่ ง เติ ม รากฐาน วิ ธี ก ารทางความคิ ด เพราะศิ ล ปะนั้นไม่ ใ ช่ ก ารใช้อารมณ์
ความรู ้สึกเพียงอย่างเดียว หากแต่ศิลปะยังมีการใช้ความคิดเพื่อสนับสนุ นอารมณ์ความรู ้สึก ในการ
เลือกหยิบใช้ไปแสดงออกทางด้านศิลปะให้สมบูรณ์แบบมากยิง่ ขึ้น

2.1 จิตวิทยากับความรัก(Psychology and love) 3


ตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ‘รัก’ มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า to love, to care for,
to be fond of ซึ่ งหมายถึง to feel love, desire, or strong friendship นัน่ คือ ‘ความรู้สึกรัก’ ซึ่ ง
รวมถึงความปรารถนาตลอดจนสัมพันธภาพที่เข้มแข็งระหว่างบุคคล

3
www.librarianmagazine.com, จิตวิทยากับความรัก (psychology and love), เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน
2558 เข้าถึงได้จากhttp://librarianmagazine.com/VOL2/NO6/psychology_love.htm#_ftn4
5
6

ส าหรั บ ความรั ก ตามหลัก จิ ต วิ ท ยานั้นได้ถู ก อธิ บ ายที่ มี ค วามหมายถึ ง “ความรั ก ความ


ห่ วงใย” ไว้ว่าพฤติกรรมที่มนุ ษย์ใช้แสดงออกเพื่อทาให้อีกฝ่ ายมีความพึงพอใจ สบายใจ อบอุ่นใจ
ความรั กเป็ นสัมพันธ์ ทางอารมณ์ ระหว่างบุ คคลมิ ใช่ เพียงความต้องการทางร่ างกาย ความรั กนั้น
ไม่ใช่ สิ่งที่ เกิ ดขึ้ นเองตามธรรมชาติ หากแต่ความรั ก เกิ ดขึ้ นระหว่า งมนุ ษ ย์ด้วยสัมพันธ์ ทางด้า น
อารมณ์ความรู ้สึก ความรักเองคือสิ่ งที่ตอ้ งเรี ยนรู ้ดว้ ยประสบการณ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล
ความรักเกิ ดขึ้นได้ แต่การมีความรักนั้น ควรเริ่ มจากการพัฒนาตนเองสิ่ งที่เป็ นธรรมชาติ
ของรักคือการที่เรามอบความรักให้กบั ใครซักคนแล้วนั้น เราย่อมต้องการความรักตอบแทนเช่นกัน
ความพึงพอใจ ความซื่ อตรง จงรักภักดี ความห่วงใย ความคิดถึง และยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือทุก
อย่างที่เราเองสามารถทาได้ความรักตนเองนั้นทาให้เราสามารถรักคนอื่นเป็ น ความรักตนเองย่อม
ตรงข้ามกับความเห็ นแก่ตวั ผูท้ ี่มีความรักย่อมมีทศั นคติที่จะเอื้อเฟื้ อและมีความรับผิดชอบ นับถื อ
เข้า ใจต่ อ ผู ้ที่ เ รารั ก ไม่ เ มิ น เฉยต่ อ ความต้อ งการ และการแสดงออกของอี ก ฝ่ ายหนึ่ ง ค านึ ง ถึ ง
ความรู ้สึกของอีกฝ่ ายเข้าใจได้เป็ นอย่างดี รู ้สึกถึงความต้องการและความจาเป็ นของเขา พร้อมที่จะ
ยอมรับและเข้าใจให้อภัยกันเสมอโดยที่ท้ งั สองฝ่ ายต้องเป็ นผูใ้ ห้และผูร้ ับในขณะเดียวกันทั้งคู่
ความรักเกิดขึ้นได้อาจเกิดจากการความประทับใจแรก (First Impression) ในคุณสมบัติทาง
กาย เช่ น รู ปกาย รู ปสมบัติและคุณงามความดี อื่นๆ หรื ออาจเกิ ดขึ้นได้จากความใกล้ชิดสนิ ทสนม
กัน ความสงสาร ความเป็ นผูม้ ีอุปการคุณและความแตกต่างของฮอร์ โมนเพศในร่ างกาย
ความรักนั้นนามาซึ่ งความผูกผันทางด้านอารมณ์ 3 ประการ
1. ด้านความรู้สึก กล่าวคือ เป็ นความรู ้สึกรักใคร่ รู ้สึกชอบ รู ้สึกมีความสุ ขที่ได้อยูใ่ กล้ ทุก
และคิดถึงเมื่อต้องห่างไกลกัน
2. ด้านความคิด กล่าวคือ การมองคนที่เรารักในแง่ดี มองเห็ นคุ ณค่าและความหมายของเขา
อยากทาในสิ่ งที่ดีๆ เพื่อคนที่รักและปรารถนาที่จะให้คนที่รักนั้นพบแต่ความสุ ข
3. ด้านการกระทา กล่าวคือ เป็ นการปฏิบตั ิกนั อย่างอ่อนโยน การดูแลเอาใจใส่ การสัมผัส การ
กอด หอมแก้ม เป็ นห่วงเป็ นใย ดูแลในยามเจ็บไข้ได้ป่วยและเพศสัมพันธ์
เช่นนั้น พฤติกรรมที่กล่าวถึงในข้างต้นจึงไม่ใช่เรื่ องแปลกสาหรับคนกาลังมีความรักเพราะ
เมื่อความรักได้เกิดขึ้นแล้วระหว่างคนสองคนพวกเขาก็จะแสดงออกถึงความรักที่มีให้แก่กนั และกัน
ซึ่ งการแสดงออกนี้ อยู่บนพื้นฐานของอารมณ์ อันจะแสดงออกมาทางความรู้สึก ความคิด และการ
กระทาต่อคู่รักด้วยกัน
7

ทางทฤษฎีน้ นั ระบุได้วา่ ความรักนั้นประกอบด้วย ความใกล้ชิดผูกพัน (Intimacy) การอุทิศ


ตน (Commitment) และอารมณ์รัก (Passion) นัน่ คือคนที่มีความรั กจะมีความรู ้ สึกว่าอยากใกล้ชิด
สนิ ท สนมกับ คนรั ก มี ค วามผูก พันและมี ค วามรู ้ สึ ก ร่ วมกับ บุ ค คลอันเป็ นที่ รัก เมื่ อต้องเผชิ ญกับ
เหตุการณ์ต่างๆ โดยรู ้สึกเท่ากับว่าเป็ นเรื่ องของตนเองและสามารถถ่ายทอดความรู ้สึกนึ กคิดของกัน
และกันได้ รวมทั้งจะมีความรู้สึกเทิดทูน นับถือและศรัทธาในคนรักของตน ทฤษฎีทางความรักนั้น
ต้องศึ ก ษาความรั ก จากตัวอย่างคู่ รัก ในหลายคู่ และจากการศึ ก ษาพบว่า ความรั กถู ก เลื อกให้เป็ น
องค์ประกอบที่สาคัญมากที่สุดของการมีสัมพันธภาพรักที่มีแต่ความสุ ขนอกจากนี้ ผลการวิจยั ยังพบ
อีกว่าคู่รักที่มีความรู ้สึกรักใคร่ ต่อกันในระดับสู ง เมื่อแต่งงานก็จะมีความพึงพอใจในชีวิตสมรสใน
ระดับสู งอีกด้วย
8

2.2 การเผชิ ญกับภาวะสู ญเสี ยและเศร้ าโศก4


การสู ญเสี ยนั้นคือสิ่ งที่มนุ ษย์ทุกคนสามารถพบเจอได้ตลอดชี วิตตั้งแต่เกิดจนตายไม่มีใคร
สามารถหลีกเลี่ยงการสู ญเสี ยได้โดยเฉพาะกับการสู ญเสี ยบุคคลอันเป็ นที่รักซึ่ งถือว่าเป็ นการสู ญเสี ย
อย่า งถาวรและสมบู ร ณ์ แ ละเมื่ อ มี ก ารสู ญ เสี ย เกิ ด ขึ้ น บุ ค คลจะมี ป ฏิ กิ ริ ย าต่ อ การสู ญ เสี ย ต่ า ง ๆ
โดยมากจะเกิ ดภาวะเศร้ าโศก ซึ่ งเป็ นภาวะทางอารมณ์ ที่ตอบสนองต่อการสู ญเสี ยเป็ นสิ่ งที่พบได้
เป็ นปกติหลังจากการสู ญเสี ย แต่ละบุคคลจะมีปฏิกิริยาการตอบสนองต่อการสู ญเสี ยที่ไม่เหมือนกัน
บางคนสามารถเผชิ ญกับ การสู ญเสี ยสิ่ ง ส าคัญหรื อ รุ นแรงไปได้อย่างปกติ ในขณะที่ บ างคนไม่
สามารถเผชิญต่อการสู ญเสี ยได้ข้ ึนอยูก่ บั ปั จจัยต่าง ๆ หลายประการ เช่น ความรู ้สึกหรื อความผูกพัน
ต่ อสิ่ ง ที่ สู ญเสี ย ประสบการณ์ ก ารสู ญเสี ย บุ ค ลิ ก ภาพและความพร้ อ ม รวมถึ ง แหล่ ง สนับ สนุ น
ครอบครัวและสังคม การที่บุคคลไม่สามารถเผชิ ญการสู ญเสี ยไปได้น้ นั จะส่ งผลกระทบหลายอย่าง
ทั้งด้านร่ างกาย อารมณ์ และพฤติกรรม ก่อให้เกิ ดความรู ้ สึกที่รุนแรงขึ้นไม่ว่าจะเป็ น มีความวิตก
กังวลสู ง กลัว ละอายใจ ช่ วยเหลือตนเองไม่ได้ และพบบ่อยที่สุดคือความซึ มเศร้ า จนถึงขั้นทาร้าย
ตนเอง
ไม่วา่ จะเป็ นการสู ญเสี ยตามวัย เช่น วัยเด็กที่ตอ้ งหย่านมต้องจากบ้านไปโรงเรี ยนเพื่อเรี ยน
หนังสื อ วัยผูใ้ หญ่ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงบทบาทเมื่อต้องทางานหรื อแต่งงาน การสู ญเสี ย ภาพลักษณ์
หรื ออัตมโนทัศน์จากการเจ็บป่ วย การสู ญเสี ยสิ่ งของภายนอก ไม่วา่ จะเป็ นทรัพย์สิน เงิ นทองที่อยู่
อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสู ญเสี ยบุคคลอันเป็ นที่รัก จะทาให้เกิดความรู ้สึกเศร้าโศกได้มากจาก
การสารวจข้อมูลของสุ ภาพันธ์ และคณะพบว่าหญิงที่สูญเสี ยทารกในครรภ์มีความโศกเศร้าที่อยูใ่ น
ระดับค่อนข้างมากประกอบกับการศึกษาของ Prommanartซึ่ งความเศร้าโศกนั้นเป็ นปฏิกิริยาที่มีต่อ
การสู ญ เสี ย เป็ นกระบวนการธรรมชาติ ที่ เ กิ ด จากการสู ญ เสี ย สิ่ ง ที่ เ ป็ นที่ รัก สิ่ ง ที่ ค าดหวัง หรื อ
จินตนาการไว้
การสู ญเสี ย(Loss)
หมายถึงสภาพการณ์ที่บุคคลต้องแยกจาก สู ญหายหรื อต้องปราศจากบางสิ่ งบางอย่างที่เคย
มี อยู่ใ นชี วิตซึ่ ง มี ล ัก ษณะเกิ ดขึ้ น ทันที ท นั ใดหรื อค่ อยเป็ นค่ อยไป โดยสรุ ป แนวคิ ดเกี่ ย วกับ การ
สู ญเสี ยว่ามี ลกั ษณะ 4 ประการได้แก่ (1) มี การแยกจากหรื อปราศจากบางสิ่ งที่ เคยมีอยู่ (2) มี การ
เปลี่ยนแปลงหลายประการที่ทาให้บุคคลไม่สามารถบรรลุเป้ าหมาย (3) บุคคลรับรู ้ถึงคุณค่าของสิ่ ง

4
ปี ที่ 21 ฉบับที่ 7 (ฉบับพิเศษ) 2556 วารสารวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทพิ ย์ สุดา สาเนียงเสนาะ คณะ
พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
9

ที่สูญเสี ยหรื อคาดว่ากาลังสู ญเสี ย และ (4) ประสบการณ์ การสู ญเสี ยในอดีตมีผลต่อการแสดงออก
ในปัจจุบนั ซึ่ งประเภทของการสู ญเสี ยนั้นแบ่งออกเป็ นได้ 4 ประเภท(1) การสู ญเสี ยสิ่ งของภายนอก
(Loss of External Object) คือการสู ญเสี ยสิ่ งของต่าง ๆ ภายนอกร่ างกาย เช่ น ทรัพย์สินเงิน ทอง
เครื่ องประดับ บ้าน หรื อการถูกแยกจากสภาพแวดล้อมเดิมชัว่ คราวและถาวร เช่น การย้ายที่อยู่ การ
เปลี่ ย นที่ท างาน ซึ่ งท าให้เกิ ดความไม่ม น่ั คง ส่ งผลให้ไ ม่ส ามารถตอบสนองความต้องการของ
ตนเองได้เป็ นต้น (2) การสู ญเสี ยตามวัยต่าง ๆ (Maturational Loss) เช่ น เด็กที่ตอ้ งหย่านมแม่การ
ต้องออกจากโรงเรี ยนเมื่อสาเร็ จการศึกษา ออกจากครอบครัวเมื่อไปใช้ชีวิตคู่ การสู ญเสี ยบทบาท
ครอบครัวเมื่อต้องมีลูกหลาน การเปลี่ยนแปลงบทบาทเมื่อแต่งงาน การเปลี่ยนแปลงด้านสรี ระตาม
วัยเมื่ อเข้าสู่ วยั สู งอายุ ซึ่ งเป็ นการสู ญเสี ยจากการเปลี่ ยนแปลงตามวัยที่ เลี่ ยงไม่ได้(3) การสู ญเสี ย
ภาพลักษณ์หรื ออัตมโนทัศน์ (Loss Of Body Image Or Some Aspect Of Self) เป็ นการสู ญเสี ยด้าน
ร่ างกายหรื อจิตสังคม เช่ น การสู ญเสี ยอวัยวะในร่ างกาย หรื อการสู ญเสี ยการทาหน้าที่ของร่ างกาย
อาจจากโรคภัยไข้เจ็บหรื ออุบตั ิเหตุ ซ่ ึ งการการศึกษาพบว่าผูท้ ี่มีปัญหาสุ ขภาพร่ างกาย เช่น เกิดการ
เจ็บป่ วยด้วยโรคเรื้ อรัง จะส่ งผลให้เกิ ดภาวะทุพพลภาพและการสู ญเสี ยความสามารถด้านกิ จวัตร
ประจาวัน ก่อให้เกิ ดความรู ้สึกว่าไม่สามารถจัดการตนเองได้ และมักจะทาให้เกิดภาวะซึ มเศร้ าได้
ง่าย(4) การสู ญเสี ยบุคคลสาคัญหรื อบุคคลอันเป็ นที่รัก (loss of a love or a significant other) เช่น
การตายของบิดา มารดา ญาติพี่ น้อง คู่สมรส บุตร เพื่อนสนิ ท ซึ่ งอารมณ์ เศร้าโศกจากการสู ญเสี ยที่
ผิดปกติมกั จะเกี่ยวข้องกับการสู ญเสี ยบุคคลที่มีความผูกพันใกล้ชิดอย่างมาก [9] ประกอบกับ การ
เสี ยชี วิตของบุคคลอันเป็ นที่รัก พบได้บ่อยครั้งว่าว่านาไปสู่ อารมณ์เศร้าโศก ซึ่ งบางครั้งอาจรุ นแรง
จนเกิดอาการซึมเศร้าตามมา
ความเศร้ าโศก(grief)
คือปฏิกิริยาตอบสนองปกติของบุคคลหรื อครอบครัวเมื่อประสบกับการสู ญเสี ย ความเศร้า
โศกเป็ นกระบวนการที่ เกิ ดขึ้ นหลัง จากการสู ญเสี ย ซึ่ ง ในที่ นี่จะกล่ า วถึ ง ผูท้ ี่ ใ ห้แ นวคิ ดเกี่ ย วกับ
ปฏิกิริยาเศร้าโศกจากการสู ญเสี ย (Grieving Process) เป็ นที่รู้จกั กันดีคือ 2 ท่านได้แก่ Kubler-Ross
และ Engle โดย Kubler-Ross ที่ได้แบ่งปฏิกิริยาเศร้าโศกจากการสู ญเสี ยเป็ น 5 ระยะได้แก่
ปฏิเสธ (Denial) เป็ นระยะเวลาที่บุคคลพยายามปฏิ เสธไม่ยอมรับสิ่ งที่เกิ ดขึ้น เป็ นกลไก
ปกป้ องของบุคคลที่ตอ้ งเผชิญความจริ งที่เจ็บปวด โดยพยายามรวบรวมแหล่งประโยชน์ภายในและ
ภายนอกเพื่ อพยายามผ่อนคลายผลกระทบจากความสู ญเสี ย อาจมี อาการชา ขาดความรู ้ สึ ก ไป
ชัว่ ขณะ รู ้ สึกตัวเองไม่ใช่ ตวั เอง และไม่สามารถที่จะตั้งสติเรี ยงลาดับเหตุการณ์ ที่เกิ ดขึ้นได้ว่าเกิ ด
อะไรขึ้นกับตนเองและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้
10

โกรธ (Anger) โดยแสดงความโกรธต่อการสู ญเสี ยที่เกิดขึ้น โทษบุคคลที่เกี่ยวข้องหรื อ


สิ่ งแวดล้อม รู ้สึกว่าทาไมต้องเกิดเหตุการณ์แบบนี้ กบั ตนเอง ทาไมไม่เกิดกับคนอื่น พยายามโทษว่า
เป็ นความผิดของคนใดคนหนึ่ง
ต่อรอง (Bargaining) ในระยะนี้เริ่ มมีการรับรู ้การสู ญเสี ยแต่ยงั พยายามมองหาสิ่ งต่อรองเพื่อ
ปลอบใจในการที่ยงั ไม่สามารถยอมรับกับสิ่ งที่เกิดขึ้นได้ เช่น ยังไม่สมควรที่จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้
พยามยามให้ผา่ นช่วงเวลานี้ ไปก่อนจะได้หรื อไม่รวมถึ งการพยายามหาที่ย้ าความมัน่ ใจที่ใหม่ เช่ น
กรณี ที่คิดว่าแพทย์วินิจฉัยผิด หรื อรักษาไม่ดี น่าจะมีคนที่ช่วยได้ดีกว่าหรื อขอแลกเปลี่ ยนด้วยชี วิต
ของตนเองแทนจะได้หรื อไม่ ซึ่ งในความเป็ นจริ งการสู ญเสี ยดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขหรื อหาอะไร
มาทดแทนได้
ซึมเศร้า (Depression) เป็ นระยะที่มีพฤติกรรมแยกตัว แสดงความรู ้สึกเสี ยใจต่อการสู ญเสี ย
ที่เกิดขึ้น เนื่ องจากคิดว่าไม่สามารถจัดการแก้ไขกับปั ญหาที่เกิดขึ้นได้แล้ว ซึ่ งเป็ นความรู ้สึกปกติที่
สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้ และยังไม่ถือว่าเป็ นความเจ็บป่ วยแต่อย่างใด แต่ให้พึงระวังไว้วา่ อาจจะ
เป็ นช่ วงเวลาที่มีความเสี่ ยงในการที่ผเู้ สี ยใจจะกระทาการใด ๆ อันเป็ นอันตรายต่อตนเองหรื อผูอ้ ื่น
เช่น การทาร้ายตนเองหรื อแม้กระทัง่ ทาร้ายผูอ้ ื่น
ยอมรับ (Acceptance) เป็ นระยะที่เริ่ มกลับสู่ สภาพเดิม ยอมรับการสู ญเสี ย เมื่อเวลาผ่านไป
ความรู ้ สึกและอารมณ์ เศร้ า รวมถึ งสติค่อย ๆ ฟื้ นกลับมา ร่ วมกับการได้รับข้อมูลที่ทาให้ทราบว่า
อย่างไรเสี ยก็คงไม่สามารถจะแก้ไขการสู ญเสี ยที่เกิดขึ้นได้แล้วการยอมรับจะค่อยๆเกิดขึ้นในที่สุด
อย่างไรก็ตาม แม้จะเกิดการยอมรับแล้ว แต่อาจจะกลับไปสู่ ข้ นั ตอนของการซึ มเศร้าสลับไปมาได้
ถ้าขาดการประคับประคองจิตใจให้เข้มแข็งขึ้น
ปฏิ กิ ริ ย าที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการสู ญ เสี ย ในแต่ ล ะระยะอาจใช้เ วลาไม่ เ ท่ า กัน ไม่ จ าเป็ นต้อ ง
เรี ยงลาดับจากระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 5 แต่อาจจะเกิ ดกลับไปกลับมาหรื อเกิ ดพร้ อมกันหรื อเกิ ดทีละ
ระยะ และยังอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการรับรู้ ความรู้ สึก และพฤติกรรมเมื่อมีการสู ญเสี ย
เกิ ดขึ้ นโดยแต่ละระยะอาจมีพฤติกรรมการแสดงออกที่ แตกต่างกัน ต้องการความเข้าใจและการ
ประเมิ นปั ญหาเพื่อการวางแผนการพยาบาล ให้ค วามช่ วยเหลื ออย่างเหมาะสมเพื่อให้ผูส้ ู ญเสี ย
สามารถปรับตัวยอมรับความจริ งที่เกิดขึ้นได้ปฏิกิริยาต่อการสู ญเสี ยของบุคคลนั้น ออกเป็ น 3 ระยะ
คือ
(1) ระยะ Shock and Disbelief อาการตื่นตลึงเป็ นปฏิกิริยาตอบสนองในระยะแรกเมื่อรับรู้
ถึ งการสู ญเสี ยจะมี ความรู ้ สึกตกใจ ไม่ เชื่ อ ปฏิ เสธสิ่ งที่ เกิ ดขึ้ น เกิ ดความรู ้ สึ กมึ นชา ใช้เวลา 2-3
ชัว่ โมงถึง 2-3 สัปดาห์
11

(2) ระยะ Developing Awareness เป็ นระยะที่บุคคลเริ่ มมีสติรับรู ้มากขึ้นและได้ตระหนักถึง


การสู ญเสี ย ซึ่ งระยะนี้อาจเกิดขึ้นภายในไม่กี่นาทีหรื ออาจเป็ นชัว่ โมงหลังการสู ญเสี ยเกิดขึ้น อาการ
ที่เด่นชัดในระยะนี้คือการร้องไห้ คร่ าครวญ ย้านึกถึงบุคคลที่เสี ยชีวิต ความอยากอาหารลดลง นอน
ไม่หลับ หรื ออาจทาให้หน้าที่กิจวัตรตามปกติลดลงจากเดิมบ้าง หรื อบางครั้งอาจแสดงอาการโกรธ
ใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ แล้วดีข้ ึนเองในเวลา 2-4 เดือน โดยส่ วนใหญ่มกั จะไม่เกิน 6 เดือน
(3) ระยะ Restitution เป็ นระยะการปรั บตัวเพื่อฟื้ นคืนสู่ สภาวะปกติ บุคคลจะรวบรวม
ความรู ้สึกต่อการสู ญเสี ยได้ ยอมรับความจริ ง การหมกมุ่นคิดถึ งสิ่ งที่เสี ยไปน้อยลง มองหาสิ่ งใหม่
มีความหวังใหม่ในชีวติ
การสู ญเสี ย ไม่วา่ จะเป็ นการสู ญเสี ยสิ่ งของภายนอก การสู ญเสี ยตามวัยต่าง ๆ การสู ญเสี ย
ภาพลัก ษณ์ หรื อ อัตมโนทัศ น์และการสู ญเสี ย บุ คคลส าคัญหรื อบุ คคลอันเป็ นที่ รัก จะท าให้เกิ ด
ความรู ้สึกเศร้าโศกซึ่ งเป็ นสิ่ งที่พบได้เป็ นปกติหลังจากการสู ญเสี ย เป็ นปฏิกิริยาตอบสนองโดยรวม
ที่มีต่ออารมณ์ที่เป็ นทุกข์อนั เนื่องมาจากการสู ญเสี ย
12

2.3อิทธิพลทีไ่ ด้ รับจากการสร้ างสรรค์ ผลงานศิลปกรรม


2.3.1 จอร์ ท บาซิลซิ (Georg Baselitz)5
จอร์ ท บาเซลิสส์ เกิดวันที่ 23 มกราคม 1938 ที่ฮนั ส์ -กร์ อก เคิร์น(Hans-Georg Kern in
Deutschbaselitz)ปั จจุบนั เป็ นส่ วนหนึ่ งของ คาเมน , แซ๊กโซ (Kamenz, Saxony) ในเยอรมัน บิดา
ของเขาเป็ นคุณครู สอนโรงเรี ยนประถมศึกษา และครอบครัวอยูอ่ าศัยแถวบ้านโรงเรี ยนท้องถิ่นที่อยู่
ของเขาเอง
ในปี 1958 ในฐานะของนักเรี ยนในเบอร์ ลิน(Berlin Baselitz)การที่เขาได้มาที่นี่จึงทาให้เขา
ได้พบกับได้พบกับภรรยาในอนาคต คือ เอิค เคดเชมา (ElkeKretzschmar) เขาแต่งงานกับ เอิค เคด
เซมา (ElkeKretzschmar) ในปี 1962 และมีบุตรคนแรกชื่ อ เดเนี ยล (Daniel)และในปี 1966 ได้ให้
กาเนิ ดบุตรคนที่สอง แอนตัน (Anton) และครอบครัวได้ยา้ ยไปอาศัยอยู่ที่ ออสโตเฟ้ น (Osthofen)
ใกล้กบั วอร์ ม (Worms) และภายหลังต่อมาได้ยา้ ยไปที่เยอรมันและอิตาลีตามลาดับ
ผลงานจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ ของ จอร์ ท บาซิ ลิซ เป็ นผลงานซึ่ งอยูใ่ นยุค
ของศิลปะที่เรี ยกว่านี โอ-เอ็กซ์เพรสชัน่ นิ สม์(Neo-Expressionism)ผลงานของ จอร์ ท บาซิ ลิซ เป็ น
การใช้การแสดงออกที่เน้นเนื้ อหาทางด้านอารมณ์ ความรู ้ สึกที่อยู่ภายในของจิตใจศิ ลปิ นด้วยการ
แสดงออกที่ ฉั บ พลัน เพื่ อ ทิ้ ง ร่ อ งรอยให้ ฝี แปรงท างานสอดรั บ กับ ความรู ้ สึ ก ที่ ศิ ล ปิ นต้อ งการ
แสดงออกอย่างอิสระ แสดงลักษณะของพื้นผิวที่หยาบ รู ปทรงในภาพเขียนขึ้นอย่างง่ายๆ มีมุมมอง
หรื อองค์ประกอบของภาพที่ ดูแปลกแตกต่างจากมุมมองในชี วิตประจาวัน มีการลดทอน รู ปทรง
หรื อบางครั้งมีการผสมผสานรู ปทรงต่างชนิดต่างประเภทในภาพเดียวกันความรู้สึกภายในนีอ-เอ็กซ์
เพรสชัน่ นิ สม์(Neo-Expressionism)มี ปฏิ กิริยาต่อต้านผลงานศิ ลปะเชิ งแนวคิด (Conceptual Art)
และศิ ล ปะในรู ป แบบศิ ล ปะสมัย ใหม่ (Modernist) โดยใช้ก ระบวนการคิ ด ในการย้อนกลับ ไป
สร้างสรรค์ผลงานด้วยกระบวนการเทคนิ คจิตรกรรม ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก ศิลปะเชิงแนวคิด
(Conceptual Art) ศิ ลปะก่ อนยุค ศิ ลปะสมัยใหม่ ศิ ลปิ นกลุ่ มนี้ เองที่ มีขอ้ จากัดและรู ปแบบเชิ ง
ความคิด)ที่ละทิง้ ความเป็ นต้นแบบทางจิตรกรรม การมุ่งใช้กระบวนการทางความคิดมากกว่าการใช้
การแสดงออกทางจิตรกรรมไม่ได้มุ่งเน้นการแสดงออกทางด้านอารมณ์ความรู ้สึกจอร์ ท บาซิ ลิซได้
ใช้การแสดง ความรู ้ สึกอย่างรุ นแรง ใช้ความหมายและสัญลักษณ์ ที่ในอดี ตเป็ นสิ่ งต้องห้าม ผ่าน
อากัปกิริยาของรู ปทรงคนและการแสดงออกในเชิงอุปมาอุปไมยผลงานศิลปะของ บาซิ ลิซ นั้น เน้น

5
http://www.bloggang.com/ ศิลปะลัทธิ Ne-expression, http://www.gagosian.com/artists/georg-
baselitz
13

ความเป็ น Figurative Art แสดงออกในแบบ Representation (เป็ นตัวแทน) และนิยมใช้ลกั ษณะการ


พรรณนาเล่ า เรื่ อ ง หรื อ การอุ ป มาอุ ป ไมย มี ก ารใช้ สั ญ ลัก ษณ์ ที่ ย ากต่ อ การตี ค วามเพราะเป็ น
สัญลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปิ นผลงานสะท้อนถึงสภาวะของจิตใจอันเป็ นผลกระทบจากสังคมใน
โลกยุคใหม่ที่เกิดการต่อต้าน รสนิ ยมของชนชั้นกลาง ความเสื่ อมโทรมของวิถีชีวิตและวัฒนธรรม
ความไม่แน่นอนของชีวติ ความหวาดวิตกอันเนื่องมาจากสงคราม ความตึงเครี ยดจากการเผชิ ญหน้า
กันในรู ปแบบสงครามเย็น ของสองประเทศมหาอานาจสหรัฐอเมริ กากับสหภาพโซเวียต (รัสเซี ย) ที่
ล่ อแหลมต่ อการเกิ ดสงครามนิ วเคลี ยร์ ชี วิตที่ บริ โภคจนกระทัง่ ตัดขาดจากรากเหง้า วัฒนธรรม
ดั้ ง เดิ ม การใช้ ชี วิ ต อย่ า งฟุ่ มเฟื อยขาดสติ ศิ ล ปิ นน าเสนอผ่ า นเรื่ องราวเทพนิ ย ายปกรณั ม
ประวัติศาสตร์ ความเชื่อ ศาสนา อารมณ์แบบโรแมนติกและกามารมณ์
14

ภาพที่ 1 จอร์ท บาซิลิซ(Georg Baselitz), ‚Ahnenstunde‛ปี ที่สร้าง ค.ศ.2012


จิตรกรรม, สี น้ ามันบนผ้าใบ
ที่มา : http://artobserved.com/2012/08/salzburg-georg-baselitz-at-thaddaeus-ropac-through-
august-30-2012/

ภาพที่ 2 จอร์ท บาซิลิซ(Georg Baselitz), ‚Elk‛ ปี ที่สร้าง ค.ศ. 1976 ,จิตรกรรม, สี น้ ามันบนผ้าใบ
ที่มา : http://pictify.saatchigallery.com/300510/georg-baselitz-elke
15

ภาพที่ 3 จอร์ท บาซิลิซ(Georg Baselitz), The Big Night Down the Drain, ปี ที่สร้าง ค.ศ. 1962,
ขนาด 250x180 เซนตีเมตร ,จิตรกรรม, สี น้ ามันบนผ้าใบ
ที่มา : http://www.independent.co.uk/arts-entertainment/art/great-works/great-works-the-big-
night-down-the-drain-19623-250-x-180cm-georg-baselitz-2183838.html

ภาพที่ 4 จอร์ท บาซิลิซ, The Great Friends, 1965, ปี ที่สร้าง ค.ศ. 1965,จิตรกรรม, สี น้ ามันบนผ้าใบ
ที่มา:https://www.google.co.th/search?q=Georg+Baselitz&biw=1680&bih=949&source=lnms&tb
m=isch&sa=X&ved=0CAYQ_AUoAWoVChMI9Nzj15eIyAIVih2UCh2ylAi4
16

ภาพที่ 5 จอร์ท บาซิลิซ(Georg Baselitz),Malermante, จิตรกรรม สี น้ ามันบนผ้าใบ


ที่มา:https://www.google.co.th/search?q=Georg+Baselitz&biw=1680&bih=905&source=lnms&tb
m=isch&sa=X&ved=0CAYQ_AUoAWoVChMI4cHcqCIyAIVA5iUCh1gTgvX#imgrc=YYTY1
BpKoyQBPM%3A

ภาพที่ 6 จอร์ท บาซิลิซ(Georg Baselitz), Das Motiv: das Gluck daheim, ปี ที่สร้าง ค.ศ.1938
จิตรกรรม, สี น้ ามันบนผ้าใบ
ที่มา : http://www.christies.com/lotfinder/paintings/georg-baselitz-das-motiv-das-gluck-daheim-
5459971-details.aspx
17

ภาพที่ 7 จอร์ท บาซิลิซ(Georg Baselitz), The Brücke Chorus, ปี ที่สร้าง ค.ส.1983, ขนาด 280x450
เซนติเมตร ,จิตรกรรม, สี น้ ามันบนผ้าใบ
ที่มา: http://www.saatchigallery.com/aipe/georg_baselitz.htm

ภาพที่ 8 จอร์ท บาซิลิซ, DreieckZwischen Arm Und Rumpf, ปี ที่สร้าง ค.ส. 1977, ขนาด 250x200
เซนติเมตรจิตรกรรม, สี น้ ามันบนผ้าใบ
ที่มา : http://www.saatchigallery.com/aipe/georg_baselitz.htm
18

รู ปแบบผลงานของ จอร์ ท บาซิลซิ (George Baselitz)


จิตรกรรมของ จอร์ ท บาซิ ลิซ ผูซ้ ่ ึ งเป็ นหนึ่ งในศิลปิ นกลุ่ มลัท ธิ นี โอ-เอ็กซ์ เพลซชั่น
(Neo-Expression) เป็ นการนารู ปแบบของจิตรกรรมกลับมาฟื้ นฟูให้มีชีวิตชี วาขึ้นอีกครั้งจากศิลปะ
รู ปแบบของ ศิลปะเชิงแนวคิด (Conceptual Art) และศิลปะในกลุ่มศิลปะสมัยใหม่(Modernist)การ
ใช้ชุดสี ที่รุนแรง ลักษณะการตัดกันของน้ าหนักที่รุนแรงซึ่ ง จอร์ ท บาซิ ลิซเองนั้นได้รับแรงบันดาล
ใจจากศิลปะรู ปแบบสมัยใหม่ (Modern Art) เพื่อสร้างมิติใหม่ในรู ปแบบของศิลปะ
ผลงานโดยส่ วนใหญ่ของ บาซิ ลิซ นั้นเป็ นการใช้รูปทรงคน(Figure) เป็ นต้นแบบที่
ถ่ายทอดอารมณ์ของศิลปิ นผ่านรู ปทรงคนเกิดเป็ นสัญลักษณ์ใหม่ที่เป็ นอัตลักษณ์ตามแบบเฉพาะตัว
ของบาซิ ลิซ การใช้รูปทรงคน ของศิลปิ นนั้นมีการจัดวางในลักษณะกลับหัวโดยมีการใช้บรรยากาศ
ที่เป็ นลักษณะพื้นที่ว่าง (Space) ระนาบของสี ที่มาเชื่ อมโยงกัน หรื อตัดกันเพื่อใช้ในการสนับสนุ น
รู ปทรงหลักให้มุ่งประเด็นไปที่รูปทรงทางความคิด บางภาพมีลกั ษณะของพื้นที่ห้อง หรื อ ทิวทัศน์
(Landscape) ลักษณะขององค์ประกอบภายในภาพนั้น ไม่ซบั ซ้อนมากศิลปิ นให้ความสาคัญกับการ
จัดองค์ป ระกอบทั้งเรื่ องของ รู ป ทรงหลัก และพื้ นที่ ว่า ง ศิ ล ปิ นต้องการท าลายขนบธรรมเนี ย ม
รู ปแบบจิตรกรรมแบบดั้งเดิ มเพื่อสร้ างมิติใหม่ของรู ปแบบจิตรกรรม และยังเป็ นการตั้งคาถามถึ ง
ขนบธรรมเนี ยมของรู ป แบบศิ ล ปะจิ ตรกรรมแบบดั้งเดิ ม หากถู กท าลายไปอย่า งสิ้ นเชิ ง ผลงาน
จิตรกรรมของศิลปิ นยังมีคุณค่ามากพอกับจิตรกรรมแบบดั้งเดิม คุณค่าทางศิลปะถูกใช้เกณฑ์อะไร
ในการตัดสิ นการกลับหัวผลงานของ บาซิ ลิซ ยังเป็ นการสร้ างมิติใหม่ที่หลุ ดพ้นจากความคุน้ เคย
ลักษณะเดิม รู ปทรงคนที่ศิลปิ นใช้น้ นั ลดทอนลายละเอียดลงเพื่อสร้างสัญลักษณ์ใหม่ไปผสมผสาน
กับ การใช้สี ใ นลัก ษณะที่ เ หนื อ จริ ง (Surrealism) อารมณ์ ที่ ถู ก ปรุ ง แต่ ง ลงไปในภาพนั้น ถู ก ใช้
แสดงออกด้วยอิทธิ ผลของสี ภายภาพในผลงาน การเลือกชุ ดสี ฉูดฉาด ตัดกันอย่างรุ นแรง บางภาพ
ใช้สีที่ หม่นหมอง และทิ้งร่ องรอยฝี แปรงที่รุนแรงบนพื้นที่อิสระสี ขาว เพื่อเติมแต่งรสชาติดว้ ยเนื้ อ
สี ที่นูนขึ้นมาจากระนาบของผืนผ้าใบเพื่อสร้างพื้นผิวขึ้นมามุ่งเน้นการบันทึกอารมณ์ความรู ้สึกของ
ศิลปิ น ที่สะท้อนถึงสภาวะของจิตใจอันเป็ นผลกระทบจากสังคมในโลกยุคใหม่ที่เกิ ดการต่อต้าน
ทาลายรู ปแบบชีวติ เดิมออกไปความเสื่ อมโทรมของวิถีชีวติ และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น และสภาวะของ
สงคราม ที่สร้างร่ องรอยบาดแผลภายในจิตใจ ส่ งผลต่อความคิด วิเคราะห์และการดาเนิ นชี วิต ด้วย
สภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นกับ บาซิ ลิซ ถูกใช้เป็ นแรงขับเคลื่อนในการทางานศิลปะอย่างตรงไปตรงมา
สะท้อนอารมณ์และสภาวะของผูค้ นในยุคสมัยของศิลปิ นได้เป็ นอย่างดี
บทที่ 3

การพัฒนาและวิธีการสรางสรรคผลงาน

การดําเนินงานศิลปนิพนธ รูปแบบงานศิลปะภาพพิมพ ตามแนวคิดในการสรางสรรค


ผลงานศิลปนิพนธเกิดภายใตหัวขอ “ความรัก ความเศรา ความสะเทือนใจ” (Imbroglio of Temper)
ขาพเจาถายทอดการสะทอนถึงสภาวะที่เกิดจากความสูญเสียและผิดหวังจากความสัมพันธกับบุคคล
อันเปนที่รักสงผลกระทบกับสภาวะจิตใจทําใหจิตใจมีแตความ หดหู โศกเศราที่เปนปฏิกิริยาทาง
จิ ต ใจ มุ ง แสดงออกทางด า นอารมณ เ พื่ อ เป น วิ ธี ก ารที่ ช ว ยปลดปล อ ยความสะเทื อ นใจจาก
ประสบการณที่เกิดขึ้นดวยวิธีกระบวนการทางศิลปะเครื่องมือขัดเกลาความรูสึกสะเทือนใจดังกลาว
เพื่อนําไปสูการพัฒนาจิตใจสรางกระบวนเรียนรูที่จะรับมือกับความสูญเสียที่จะผานเขามา ในชีวิต
ของขาพเจา โดยอาศัยการบันทึกความรูสึกดวยวิธีการแบบจิตรกรรมเปนตนแบบเพื่อนําไปสูการ
สรางผลงานดวยเทคนิคภาพพิมพหิน (Lithograph) ผสมผสานกับเทคนิคภาพพิมพรองลึก (Intaglio)

เทคนิคและวิธีการสรางสรรค
ขาพเจาเลือกเทคนิคที่สามารถแสดงออกใหไดผลสอดคลองกับแนวความคิดเพื่อใหเทคนิค
และแนวความคิดนั้นสัมพันธกัน สอดรับกันอยางลงตัวนั้นขาพเจาจึงเลือกใชเทคนิคภาพพิมพหิน
(Lithograph)ผสมกับเทคนิคภาพพิมพรองลึก (Intaglio) ดวยความเรียบแบนและยังสามารถแสดงฝ
แปรงอย า งฉั บ พลั น พื้ น ผิ ว (Texture) ที่ เ ป น ลั ก ษณะเฉพาะของเทคนิ ค ภาพพิ ม พ หิ น เพื่ อ สร า ง
บรรยากาศ รูปทรง และพื้นที่วางอีกทั้งเทคนิคภาพพิมพหิน (Lithograph) ยังเหมาะที่จะใชสีสันเพื่อ
นํามาสรางบรรยากาศผสมผสานกับเทคนิคภาพพิมพรองลึก (Intaglio) ที่สามารถแสดงความรุนแรง
ของฝแปรงและเสนที่แสดงออกไดอยางรุนแรงเฉียบพลัน แสดงลักษณะพื้นผิวของการเผาไหม ขูด
ขีด และพื้นผิวตางตางจากการใชวัสดุอีกมากมาย ที่มีความเฉพาะตัวแตกตางจากภาพพิมพหิน
(Lithograph) ทั้งสองเทคนิคดังกลาวขาพเจาเลือกใชความพิเศษของเทคนิคและวิเคราะหตีความ

19
20

ทดลองหาความเป น ไปได เ พื่ อ นํ า ไปสู ก ารเลื อ กใช ทั้ ง สองเทคนิ ค ดั ง กล า วได อ ย า งลงตั ว และ
สอดคลองกับแนวความคิดในการนําเสนอผลงานซึ่งมีรูปแบบที่มุงเนนการแสดงออกทางดาน
อารมณความรูสึก (Expression) ดังนั้นการใหความสําคัญกับเรื่องของเทคนิคทั้งสองเทคนิคดังกลาว
จึงมีความจําเปนที่ตองเชี่ยวชาญพรอมกับหาความเปนเอกลักษณเฉพาะตัวเพื่อใหงานที่มุงเนนการ
แสดงออกทางดานอารมณ (Expression) บนเทคนิคทางภาพพิมพที่มีขอจํากัดทางเทคนิคมากมาย
ใหไดสําริดผลมากที่สุดจึงตองอาศัยทั้งความชํานาญทางเทคนิค และความกลาแสดงออก กลาเสี่ยง
กลาทดลองสิ่งใหมใหม จึงเกิดมาเปนผลงานภาพพิมพบนระนาบ 2 มิติที่สมบูรณแบบ
1.1รูปแบบของผลงาน
1.1.1.สัญลักษณ (Symbol)
สัญลั กษณ (Symbol) สิ่ งหนึ่ งที่สําคัญที่ถูกสรางดวยการตีความทางประสบการณและ
ความคิด ของศิลปนการเลือกหยิบนํามาใชในการทํางานศิลปะนั้นขึ้นอยูกับผลงานของศิลปนที่
เลือกใช สัญลักษณ (Symbol) ที่ซอนนัยยะทางความคิดที่นําไปสูแนวความคิดที่ศิลปนตองการ
นําเสนอความชาญฉลาดของศิลปนเองที่ควรเลือกใชรูปทรง เสน สี น้ําหนัก พื้นที่วาง แบบใดให
เหมาะสมเพื่อมุงประเด็นทางความคิดใหตรงประเด็นกับความคิดที่ศิลปนตองการนําเสนอ
สัญลักษณในผลงานแสดงออกดวยภาษากายของมนุษยรูปทรงของมนุษยในบริบทของคน
รักภายใตบรรยากาศที่แสดงอารมณความโศกเศราตนเหตุจากความสูญเสียบนพื้นที่ที่ถูกสรางขึ้น
เพื่อบันทึกความรูสึกและความคิดภายในจิตใจความสูญเสียที่สงผลตอสภาวะทางจิตใจซึ่งแตละ
ผลงานมีความแตกตางทางสัญลักษณ พื้นที่ รูปทรง ดวยการบันทึกอารมณความรูสึกในชั่วขณะ
21

ภาพที่ 9 ดวงตาที่แสดงอารมณโศกเศรา
คือสัญลักษณแทนความรูสึกโศกเศราผิดหวังจากความสูญเสียซึ่งสงผลตอสภาวะภายใน
จิตใจสรางใหเกิดสภาวะผิดปกติภายในจิตใจโดยขาพเจาเลือกใชรูปทรงมนุษย(Figure)เพื่อเปนสื่อ
ในการบันทึกความรูสึกของขาพเจาที่เกิดขึ้นการแสดงออกถึงความรูสึกผานดวงตาที่โศกเศราเพื่อ
สื่อสารถึงประเด็นสําคัญในแนวคิดที่ตองการนําเสนอ

ภาพที่ 10 กอด
คือสัญลักษณแทนภาษากายของมนุษยที่เปนการแสดงออกถึงความรักความเปนหวงเปนใย
หรือการปลอบโยน ซึ่งถูกนํามาใชในบรรยากาศที่มืดมน มัวหมอง เพื่อเปนการพูดถึงการสูญเสีย
กอดจากบุคคลคนอันเปนที่รักนั้นไป และยังแฝงนัยยะทางความคิดถึงการฉุดรั้ง ยึดเหนี่ยว ดวยกับ
การที่ไมอยากที่จะสูญเสียความสัมพันธหรือ ประสบการณทางความรูสึกที่ดีที่ผานมาทั้งหมดไป
22

เพื่อเปนการพูดถึงการสูญเสียกอดจากคนรักนั้นไปการยื้อไมใหความรูสึกนี้สูญเสียไป คือการ
แสดงออกถึงความรักที่มีตอบุคคลอันเปนที่รักจนมิอาจสูญเสียมันไปได

ภาพที่ 11 ความไมสมบูรณของรูปทรงมนุษย (Figure)


คือสัญลักษณแทนสภาวะผิดปกติภายในจิตใจที่เกิดจากความเศราที่สูญเสียคนรักไป สงผล
ใหเกิดความไมสมบูรณหรือความผิดปกติภายในจิตใจ ซึ่งถูกแสดงออกผานรูปทรงมนุษย (Figure)
ที่ไมสมบูรณตัดทอนโดยใชความอารมณความรูสึกเปนตัวตั้งแสดงออกภายใตจิตสํานึกเพื่อสราง
รูปทรงหรือสัญลักษณใหม ขึ้นมาใหสื่อถึงแนวคิดในการสรางสรรคผลงานที่ตองการนําเสนอ
อารมณความรูสึกที่มีผลในการแสดงออกสรางรูปทรงใหมที่เกิดจากการตีความจากประสบการณที่
สงผลกับสภาวะจิตของตนเอง
23

ภาพที่ 12 พื้นที่ภายในจิตใจ
คือสั ญลั กษณแ ทนพื้น ที่ ที่ถูก กํา หนดขึ้นมาเพื่อบัน ทึกอารมณความรูสึก ในชั่ว ขณะนั้น
อารมณความรูสึกคิดถึงคนรักที่จากไป ขาพเจามักพบวาเมื่อใดที่ตนเองอยูคนเดียวภายในพื้นที่ของ
ขาพเจาเองความรูสึกโศกเศรามักเกิดขึ้นเสมอ การใชมุมมอง (Perspective) ในลักษณะที่เปนหอง
เพื่อเปนนัยยะแสดงถึงการครุนคิดกับความรูสึกนี้อยูคนเดียว ภายใตชีวิตประจําวันที่ดูเหมือนความ
เศราจะหายไปแตแทจริงแลวความทรงจําตางตางที่มีผลกับความรูสึกเหลานี้ไมเคยจางหายไป

ภาพที่ 13 ดอกไมที่แหงเหี่ยว (Dead Flower)


24

คือสัญลักษณที่แฝงนัยยะถึง สิ่งที่มีชีวิตที่งอกงามดวยน้ําเปนสวนหลอเลี้ยงชีวิตแตเมื่อขาด
น้ํา ความมีชีวิตของดอกไมนั้นก็จากไป การแฝงความคิดเชิงเปรียบเทียบระหวางดอกไมที่แหงเหี่ยว
กับความรักที่โศกเศราที่ครั้งหนึ่งเคยงอกงามเหมือนดอกไมที่สดใส และเมื่อถึงวันที่ตองขาดน้ํา
ความรักก็แหงเหี่ยวรวงโรยเหมือนกับดอกไมที่แหงเหี่ยวนั้นเอง

1.2.ลักษณะการทํางานของทัศนะธาตุ
ศิลปะประกอบไปดวย 2 สวนที่สําคัญคือ เนื้อหาที่เปนแนวความคิด (Concept) และรูปทรง
(Form) เปนภาพรวมขององคประกอบทางทัศนะธาตุ (Elements) ประกอบรวมกันจนเกิดความงาม
ความสมดุล ความเปนเอกภาพทางศิลปะ การสรางสรรคของขาพเจาเกิดจากแรงผลักดันภายใน
ถายทอดออกมาเปนผลงานศิลปะโดยผานทางรูปสัญลักษณของรูปทรงมนุษย (Figure) ที่สื่อถึง
ความสัมพันธที่สอดคลองไปกับแนวความคิด นํามาแสดงผานทางทัศนะธาตุทางศิลปะดังตอไปนี้

ภาพที่ 14 พื้นผิว (Texture)


1.2.1.พื้นผิว (Texture) พื้นผิว ถูกใชเปนลักษณะเดนของผลงานซึ่งเกิดจากการควบคุม
พื้นผิวทั้งเทคนิคภาพพิมพหิน (Lithograph) และ เทคนิคภาพพิมพรองลึก (Intaglio) ในสวนของ
เทคนิคภาพพิมพหิน (Lithograph)นั้นใชลักษณะพิเศษของหมึกไข (Tusche) ที่ถูกใชเปนการสราง
พื้นผิวที่มีความมันลักษณะบนแมพิมพแผนอลูมินั่ม (Aluminum Plate) สรางอารมณความรูสึก การ
ไหลของน้ํา ความละเอียด การแตกตัว เพื่อเพิ่มเนื้อหาภายในผลงานและยังชวยสรางบรรยากาศที่มี
ความเป น ลั ก ษณะเฉพาะได เ ป น อย า งดี ในการสร า งพื้ น ผิ ว ในส ว นของเทคนิ ค ภาพพิ ม พ หิ น
(Lithograph) นั้นภายในผลงานยังใชพื้นผิวที่มีลักษณะฝแปรงที่หยาบ และฉับพลัน จากการใชพูกัน
25

เขียนน้ํามันวานิช (Vanish oil) ลงบนแมพิมพแผนอลูมินั่ม (Aluminum plate) เพื่อเปนการถายทอด


ลักษณะของจิตรกรรมที่เปนตนแบบในการถายทอดลงไปบนเทคนิคภาพพิมพอีกดวย และยังใช
พื้นผิวของเทคนิคภาพพิมพรองลึก ซึ่งมีความหลากหลายในการสรางพื้นผิวซึ่งจะตองอาศัยการ
ทดลอง และความชํานาญในการควบคุมและถายทอดใหเกิดลักษณะของการแสดงออกที่มุงเนน
ทางดานอารมณความรูสึกเปนสําคัญ การสรางพื้นผิวในเทคนิคภาพพิมพรองลึก (Intaglio) ขาพเจา
เลือกใชแมพิมพพาสวูด (Plastwood) ซึ่งมีลักษณะพื้นผิวที่เปนพลาสติสามารถใชไฟเผาเพื่อใหเกิด
พื้นผิว รองรอย ที่มีความพิเศษเฉพาะตัวของเทคนิค การขูดขีด ขัดออก อีกทั้งยังสามารถเพิ่มพื้นผิว
ด ว ยการเพิ่ ม ผิ ว นู น ด ว ยสี พ ลาสติ ก แบบกึ่ ง เงาเพิ่ ม ขึ้ น เพื่ อ สร า งลั ก ษณะร อ งลึ ก บนผลงานด ว ย
กระบวนการทางภาพพิมพที่มีขอจํากัดทําใหการแสดงออกนั้นลดความเปนลักษณะของฝแปรงที่
รุนแรง ฉับพลัน ลงไปขาพเจาจึงทดลองหาความเปนไปไดเพื่อดึงเอาลักษณะของ พื้นผิว ความนูน
ของสี เสนที่รุนแรงออกมาใหไดมากที่สุดเพื่อใหเกิดลักษณะของความฉับพลันลงในกระบวนการ
ทางภาพพิมพ

ภาพที่ 15 สี (Color)
1.2.2.สี (Color) สีคือหนึ่งในทัศนะธาตุที่สําคัญที่ถูกนํามาใชในการสรางบรรยากาศของ
ภาพ บรรยากาศที่ไมมีในความจริงหากแตเกิดจากการจินตนาการแตงเติมดวยความรูสึกในชวงเวลา
นั้น เพื่อใหบรรยากาศนั้นสอดคลองกับแนวความคิดในการนําเสนอผลงาน และยังใชสีในการสราง
มิติของรูปทรงการผลักระยะเพื่อใหเกิดมิติภาพลวงภาพในรูปแบบงาน 2 มิติ สีสามารถบงบอกถึง
ความรูสึก สรางความรูสึกบางอยางใหกับรูปทรงและยังสามารถบงบอกชวงเวลาที่เกิดขึ้น ซึ่งใน
26

ผลงานชุดสีที่นั้นใชดูเปนลักษณะหมนหมอง ไมสดใสเพื่อสรางบรรยากาศความเศราโศกเชื่อมโยง
กับแนวความคิดและความรูสึกในชวงเวลานั้น การทับซอนกันของสีในมิติของภาพพิมพชวยสราง
ลักษณะพิเศษที่แตกตางจากเทคนิคอื่นๆอีกดวย

ภาพที่ 16 พื้นที่วาง (Space)


1.2.3 พื้นที่วาง (Space) มีลักษณะเปนการแสดงมุมมอง (Perspective) ภายในหอง
ที่มีพื้นหอง ผนังหองและหนาตาง การใชพื้นที่วางใหเปนพื้นที่หรือหองที่ถูกใชเปนที่วางที่บันทึก
ความรู สึก ที่เ กิดขึ้นในช วงเวลาขณะนั้น ที่เกิดขึ้นและสงผลตอความรูสึกในปจจุบัน ความรูสึก
ดัง กลา วนี้เองมัก เกิ ด ขึ้น กั บ เมื่ ออยูตั ว คนเดีย วภายในพื้น ที่ของตนเอง ดังนั้ นการทํางานจึงตอง
กําหนดพื้นที่ขึ้นมากอนเปนอยางแรก ซึ่งเปนสิ่งสําคัญในการคิดในเรื่องขององคประกอบ พื้นที่วาง
คื อ ตั ว กํ า หนดรู ป ทรงหลั ก เพื่ อ ให ก ริ ย าของรู ป ทรงมนุ ษ ย (Figure) ภาษากายของมนุ ษ ย แ ละ
บรรยากาศที่อยูภายในหอง หรือบรรยากาศที่อยูนอกหอง นั้นทํางานสอดคลองกันไดอยางลงตัวการ
กําหนดพื้นที่วางคือสิ่งที่สําคัญอยางยิ่ง และยังทําใหภาพนั้นดูมีอากาศหมุนเวียนอยู ไมสรางความ
อึดอัดจนมากเกิน พื้นที่วางยังเปนการแสดงถึงชวงเวลาที่แตกตางกัน ไมวาจะดวยสี พื้นผิว รูปทรง
บรรยากาศก็ตาม
27

ภาพที่ 17 รูปทรง (Form)


1.2.4.รูปทรง (Form)ไดแรงบันดาลใจจากประสบการณความสูญเสียบุคคลอันเปนที่รักที่
เกิดขึ้นสงผลตอสภาวะทางอารมณเกิดความรูสึกโศกเศราหดหูขาพเจาจึงเลือกใชวิธีการบันทึก
ความรูสึกที่เกิดขึ้นดวยกระบวนการเทคนิคจิตรกรรมโดยใชสีน้ํามันเขียนลงบนกระดาษซึ่งเปน
วิธีการที่เหมาะสําหรับการสรางรูปแบบในลักษณะฉับพลันภายใตบรรยากาศที่เลาเรื่องราวความรัก
ผานรูปทรงมนุษยที่ถูกคลี่คลายโดยใชอารมณความรูสึกเปนตัวตั้งเพื่อใหเกิดความอิสระในการ
แสดงออกการสรางสรรครูปทรงโดยไมคํานึงถึงความถูกตองตามหลักกายวิภาคนั้นแฝงดวยนัยยะ
ทางความคิดความไมสมบูรณของรูปทรงมนุษยคือสภาวะจิตใจที่ผิดปกติที่เกิดจากความโศกเศรา
เสียใจ
28

ภาพที่ 18 น้ําหนักออน-เขม (Tone)


1.2.5.น้ําหนักออน- เขม ชวยเพิ่มมิติในเรื่องของการเนนรูปทรง (Form) เพื่อใหเกิดความ
เดนชัดและการแยกกันระหวางพื้นหลัง (Blackground) เพื่อใหเกิดการผลักระยะภายภาพทําให
รูปทรงหลักทํางาน ขับเนนสวนของรายละเอียดของพื้นผิวใหชัดเจนมากยิ่งขึ้น ชวยมุงประเด็นทาง
ความคิดใหชัดเจนมากขึ้นอีกดวย น้ําหนักออน-เขม นั้นยังชวยสรางบรรยากาศใหภาพเกิดมิติลวงตา
บนผลงานระนาบ 2 มิติ ซึ่งถือเปนเรื่องที่สําคัญในการสรางสรรคผลงานศิลปนิพนธ ผลงานให
สมบูรณมากที่สุดจําเปนที่จะตองอาศัยความสมบูรณของน้ําหนักออน-เขมเชนกัน

2.ขั้นตอนการสรางสรรคผลงาน

2.1 ขั้นตอนการประมวลแนวความคิด
การสรางสรรคผลงานศิลปนิพนธของขาพเจามุงแสดงออกทางดานอารมณความรูสึกเปน
สําคัญโดยอาศัยประสบการณที่เกิดขึ้นซึ่งประสบการณที่เกิดขึ้นนั้นสรางสภาวะผิดปกติทางจิตใจ
บนพื้นที่แสดงอารมณความรูสึกที่จําลองภาพเหตุการณความสัมพันธระหวางบุคคลที่สรางความผูก
ผัน ใหคิ ด ถึงการกระทําหรื อคําพูด ที่อ าจจะตองสูญเสียความผูกผัน หรือคํ าพูด สัญญาเหลานี้ ไ ป
ขาพเจาจึงเลือกใชสัญลักษณภาษากายของมนุษยดําเนินถึงเรื่องราวความรัก สะทอนถึงความทุกข
29

ชั่วขณะ โดยแสดงออกดวยรองรอยและฝแปรงอยางฉับพลัน เพื่อสะทอนใหเห็นสภาวะผิดปกติของ


จิตใจ เลือกใชลักษณะของนั้นใหปรากฏในผลงานระนาบ 2 มิติ

2.2.ขั้นตอนการกําหนดรูปแบบ
คนหาแรงบันดาลใจดวยการบันทึกอารมณความรูสึกผานรูปแบบจิตรกรรมลักษณะการ
แสดงออกที่เนนทางดานอารมณความรูสึก (Expression) เพื่อเปนการนําความรูสึกในชวงขณะนั้น
มาตีความ ทั้งดานรูปทรง พื้นที่วาง ชุดสี บรรยากาศ นําไปสูการแสดงออกผานกระบวนการทาง
ภาพพิมพหินและภาพพิมพรองลึก (Lithograph and Intaglio) การใชเทคนิคจิตรกรรมเปนตนแบบ
เพื่อเปนแรงบันดาลใจ สอดคลองกับแนวคิดในการหยิบเอาความรูสึกในชั่วขณะเวลานั้นมาใชอยาง
ฉับพลัน วิธีการแบบจิตรกรรมนั้นจึงเปนวิธีการแสดงออกที่สอดคลองกับแนวความคิดที่ตองการ
นําเสนอมากที่สุด เพื่อสะทอนสภาวะความโศกเศราภายใจจิตใจ การใชอารมณความโศกเศราเปน
ตนของแรงบัลดาลใจในการสรางสรรคผลงานเพื่อสรางสรรครูปทรง พื้นที่วาง บรรยากาศ จาก
ภายในจิ ต ได สํ านึ ก ออกมาเป น การแสดงออกในลั ก ษณะเฉพาะส ว นตั ว ที่ ข า พเจ า เชื่ อ มโยงกั บ
ประสบการณความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับตัวขาพเจาเองการแสดงออกในลักษณะนี้ยังชวยเปนการ
สํารวจความรูสึก ภายใตสภาวะผิดปกติทางจิตใจนี้เองยังมีมุมมองทางความคิดที่ดีหรือความรูสึกที่ดี
เพื่อไปขัดเกลาจิตใจในสภาวะผิดปกติ และยังเปนการเรียนรูที่จะหามุมมองทางความคิดที่ดีใน
สภาวะผิดปกติทางจิตใจ นําไปสูการสรางสภาวะจิตใจที่ดียิ่งขึ้นกวาเดิม

2.3.ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ อุปกรณในการทําภาพพิมพหินและภาพพิมพรองลึก
-กระดาษภาพพิมพฟาเบียโน (Fabriano Printing Paper)
-กระดาษพรูป (Newsprint)
-หมึกพิมพออฟเซท (Offset Ink)
-หมึกพิมพแมพิมพโลหะ (Etching Ink)
-แมพิมพแผนอลูมินั่ม (Aluminum Plate)
-แมพิมพพาสวูด (Plastwood Plate)
-น้ํามันกาซ (Cool Oil)
30

-แลคเกอรคลือบเงา (Laeguer)
-หัวเปาไฟแบบวาลว (Gas Torch)
-เหล็กแหลม (Needler)
-กระดาษทรายขัดเหล็กแบบหยาบ (Sandpaper)
-สีพลาสติก (Plastic colour)
-กาวกระถิน (Arabic Gum)
-เรดแลคเกอร (Red Lacquer)
-น้ํามันสน,น้ํามันทินเนอร (Turpentine, Thinner)
-กรดซัลฟูริค, กรดฟอสฟอริค (Sulphuric Acid, Phosphoric Acid)
-แปรงขนนุม (Brusher)
-ลูกกลิ้งยาง (Roller)
-เกรียง (Spatulas)
-ฟองน้ําจากใยพืช (Sponge)
-น้ํามันวานิช (Vanish Oil)
-ผงไลทแมกนีเซียม คารบอเนท (Light Magnesium Carbonate)
-เศษผาสําหรับเช็ด
31

2.4.ขั้นตอนการสรางสรรคผลงานผานกระบวนการพิมพ
กระบวนการพิมพดวยเทคนิคทางภาพพิมพที่ผสมผสานระหวางภาพพิมพหิน (Lithograph)
และภาพพิมพรองลึก(Intaglio)เปนกระบวนการที่เหมาะสมสําหรับการถายทอดอารมณของการ
แสดงออกที่เนนทางดานอารมณความรูสึก(Expression)ผลสําเร็จของกระบวนการภาพพิมพหินนั้น
ชวยสรางชุดสีบรรยากาศภายในงานไดใกลเคียงกับแบบรางที่ใชการถายทอดดวยกระบวนการ
จิตรกรรมและภาพพิมพหินนั้นยังถายทอดพื้นผิว(Texture)ที่ชวยสรางใหบรรยากาศที่เกิดขึ้นใน
ผลงานนั้นดูมีลักษณะพิเศษของเทคนิคไปสงเสริมใหดูมีความสมบูรณมากยิ่งขึ้น และนอกจากนี้ยัง
ตองอาศัยความฉับพลันในการแสดงออกจากเทคนิคภาพพิมพรองลึก (Intaglio)ที่เขามาชวยสงเสริม
ใหความสมบู รณในการถายทอดในลักษณะที่มุงเนนทางดานอารมณความรูสึกเปนสําคัญโดย
ทั้งหมดนี้ขาพเจาแบงการดําเนินออกเปน7ขั้นตอนในกระบวนการของการสรางสรรคแบบราง และ
ในกระบวนการทางเทคนิคภาพพิมพ
2.4.1.ขั้นตอนการสรางภาพราง
จากแนวความคิดในการสรางสรรคผลงานที่ตองการนําเสนอสภาวะผิดปกติทางจิตใจที่เกิด
จากความเศราโศกเสียใจจากการสูญเสียบุคคลอันเปนที่รักซึ่งผลงานนั้นใชวิธีและกระบวนการ
เทคนิคจิตรกรรมในการสรางภาพรางเพื่อเปนการบันทึกความรูสึกชั่วขณะหนึ่งในชวงเวลานั้นที่
ความคิ ด มี แ ต ค วามโศกเศร า ข า พเจ า จึ ง เลื อ กใช แ ละการบวนการทางเทคนิ ค จิ ต รกรรมในการ
สรางสรรคภาพรางซึ่งลักษณะการถายทอดนั้นมีลักษณะแสดงออกดวยฝแปรงที่รุนแรงและฉับพลัน
ทิ้งรองรอยของฝแปรงไวอยางชัดเจนรูปทรงที่ถูกคลี่คลายดวยกระบวนการที่ตองใชความฉับพลัน
ในการสรางสรรคภาพรางสงผลใหรูปทรงมนุษยนั้นถูกคลี่คลายออกไปจากความจริงเปนนัยยะที่
แสดงออกถึงเรื่องความไมสมบูรณของรูปทรง
32

ภาพที่ 19 ภาพราง (Sketch)

2.4.2.ขั้นตอนการขยายแบบราง
เมื่อไดภาพรางที่สมบูรณพรอมนําไปสูขั้นตอนการขยายแบบรางแลวนั้น จึงนําแบบรางที่
ตองการขยายนําไปขยายใหญดวยเครื่องถายเอกสารโดยกําหนดขนาดของภาพ (ImageSize) อยุที่
100 X 70 เซนติเมตร ซึ่งจะสอดคลองกับขนาดมาตรฐานของกระดาษจะอยูที่ 100 X 70 เซนติเมตร
เมื่อไดถายเอกสารตามที่ตองการแลวนั้น ตรวจสอบวัดหาองศาความตั้งฉากของมุมภาพสี่ดานทุก
ครั้ง เพื่อเปนการตรวจสอบกอนที่จะนําแบบรางที่ขนาดใหญนี้ไปขยายลงในกระดาษไขฟมล (
Drafting Film) ขั้นตอนตอไป
33

ภาพที่ 20 การขยายแบบราง
นํ า กระดาษไขฟ ล ม วางทาบลงบนแบบร า งที่ ข ยายใหญ เ พื่ อ ลอกแบบลงบนกระดาษไขฟ ล ม
(Drafting Film )และนําไปลอกลงบนแมพิมพ

2.4.3.ขั้นตอนการเตรียมแมพิมพแผนอลูมินั่ม (Aluminum Plate) แผนอลูมินั่มเพลทถูกใช


เพื่ อ ทดแทนการใช แ ม พิ ม พ หิ น ปู น (Limestone) เพราะมี น้ํ า หนั ก ที่ เ บากว า แม พิ ม พ หิ น ปู น
(Limestone) มากสะดวกในการนํามาใชสรางสรรคผลงานขนาดของแมพิมพเพลทอลูมินั่มมีขนาด
77 X 104 เซนติเมตร มีลักษณะผิวหยาบเปนเม็ดละเอียด แมพิมพเพลทอลูมินั่มกอนนํามาใชนั้น
จะตองผานกระบวนการลางผิวหนาของแมพิมพดวยกรดซัลฟูริคเจือจาง ( Sulfuric Acid ) ดวยการ
ผสมในอัตราสวนกรดซัลฟูริค 2 ออนซ ( Oz. ) ผสมใหเขากับน้ําเปลา 20 ลิตร ลางดวยเศษผาวนถู
เบาเบาใหทั่วเพลท และตากใหแหงสนิทเพื่อเตรียมตัวในขั้นตอนตอไป

2.4.4.ขั้นตอนการสรางสรรคแมพิมพดวยกรรมวิธีตาง ๆ บนแมพิมพ
ในการเตรี ย มตั ว ก อ นที่ จ ะเริ่ ม ทํ า งานในกระบวนการภาพพิ ม พ นั้ น สิ่ ง ที่ สํ า คั ญ คื อ การ
วางแผนในการทํางาน วางแผนในการพิมพ เพื่อแยกรายละเอียดสีแยกออกมาเพื่อพิมพในแตละ
แมพิมพ ซึ่งจะถูกกําหนดในกระบวนการของภาพพิมพหินนั้นทั้งหมด 6-7เพลท เพื่อเปนการสํารอง
ในสวนที่เกิดความผิดพลาดในขั้นตอนการทํางานในการพิมพแตละสีลงบนกระดาษที่เตรียมไวนั้น
จํา เป นอย างยิ่ งที่ จ ะต องถู ก วางแผนสีใ นแตละเพลทไว เ พื่อการทํางานที่ส ะดวกและรวดเร็ ว แต
กระบวนการที่ซับซอนเหลานี้นั้นจะเปนตัวกําหนดหรือกรอบที่ทําใหผลงานลดความฉับพลันใน
34

การแสดงออกลงไป ขาพเจาจึงไมไดกําหนดใหการทํางานนั้นตองออกมาเหมือนกับแบบรางมาก
ที่สุด หากแตในการทํางานนั้นจึงละทิ้งความเปนตนแบบรางเพื่อการแสดงที่ฉับพลัน ใหแสดงผล
งานกระบวนการของภาพพิมพนั้นคือประเด็นที่ขาพเจาตองการนําเสนอ การเขียนแมพิมพนั้น
ขาพเจาเลือกใช น้ํามันวานิช ( Vanish Oil) โดยใชแปรงพูกันที่มีขนาดหลากหลาย เพื่อการทอดถาย
อารมณในลักษณะฝแปรงที่ฉันพลับ

ภาพที่ 21 ขั้นตอนการคัดลอกแบบราง ลงบนแมพิมพ


การลอกลายเสนโครงสรางของผลงาน ( Key Drawing ) ลงบนแมพิมพ ใชกระดาษไขฟลม
ที่เตรียมไวมาวางทาบลงบนเพลท โดยกําหนดขอบเขตของเพลททั้งสี่มุม และ กําหนด เครื่องหมาย
สําหรับวางกระดาษ ( Registration Mark ) “T” และ “l” (Bar)ไวเพื่อใหการลอกแบบในแตละเพลท
นั้นไมคลาดเคลื่อนออกไป เมื่อไดกําหนดลายเสน เครื่องหมายในการวางกระดาษ ขอบเขตของ
ผลงาน และขอบเขตของเพลทแลว จึงนําไปลอกแบบลงบนแมพิมพ โดยใชกระดาษลอกแบบวาง
ไวดานลางกระดาษไขฟลมเพื่อเปนตัวกลางใหรายละเอียดของลายเสนของผลงาน ขอบเขตของ
ผลงานและเครื่องหมายในการวางกระดาษติดลงบนแมพิมพเพลทอลูมินั่ม
35

ภาพที่ 22 กระบวนการเขียนแมพิมพ

น้ําหนักออน กลาง เขม ที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นจากกระบวนการเขียนวัสดุไขตางตางลงบน


แมพิมพเพลทอลูมินั่ม โดยขาพเจาแยกสีหนึ่งสีตอแมพิมพหนึ่งเพลท ซึ่งกระบวนการคิดวางแผนมี
สวนสําคัญในการทํางาน เพราะสีแตละสีนั้นทับซอนกันในตําแหนงที่ถูกตองและทํางานกับพื้นที่
วางที่แตกตางกัน ทายสุดแลวสีทุกสีนั้นมารวมกันและอยูถูกในตําแหนง ทับซอนกันเพื่อสราง ฝ
แปรง และสรางน้ําหนักที่เขมมากขึ้น กระบวนการเขียนแมพิมพนั้นตองอาศัยการยึดโครงสรางของ
รูปทรงละสีตามแบบราง อาจมีการใชความฉับพลันเพื่อสรางมิติที่แตกตางจากแบบราง ทําใหการ
ทํางานบนแมพิมพนั้นมีความอิสระมากยิ่งขึ้น ยังสงผลตอรายละเอียดหรือโครงสีที่แตกตางกันไป
หรืออาจเกิดความบังเอิญบางอยางที่สรางความเฉพาะตัวที่เกิดจากกระบวนการของภาพพิมพ สราง
มิติที่แตกตางกับแบบรางเพื่อทําใหความเฉพาะตัวของเทคนิคภาพพิมพนั้นทํางานไดอยางเต็มที่ ใน
36

แนวคิดที่ตองการนําเสนอมีความสอดคลองกับเทคนิคซึ่งตองอาศัยความฉับพลัน ในการแสดงออก
สวนที่สําคัญในกระบวนการเขียนแมพิมพขาพเจาใหความสําคัญไปที่ ขั้นตอนในการสรางแมพิมพ
รองลึก ( Intaglio ) ซึ่งในกระบวนการนั้นตองใชหลักการสรางพื้นผิวดวยการใชความรอนในการ
เผาไหม ดวยลักษณะเนื้อของแมพิมพเพลทพาสวูด (Plastwood) นั้นเปนพลาสติกที่สามารถใชความ
ร อ นทํ า ให เ กิ ด พื้ น ผิ ว ได ขั้ น ตอนนี้ ส ามารถใช อุ ป กรณ ที่ ส ร า งความร อ นได ห ลากหลายตามแต
ความคิดและความถนัดในการควบคุมน้ําหนักและพื้นผิวของวัสดุที่ใชขาพเจาใชหัวเปาไฟแบบ
วาวลและแกสเติมไฟแชคน้ํามันรอนสัน (Ronsonol) ที่สามารถควบคุมระดับของความรอนที่จะ
สรางพื้นผิวไดนอกจากนั้นยังใชเหล็กแหลมในการสรางรองรอยทําใหเกิดรองลึกเพื่อสรางลักษณะ
พื้นผิวที่แตกตางไมเรียบแบนแตมีลักษณะนูนต่ํา (Bass relief) ขึ้นมาจากระนาบของกระดาษเพื่อ
สร า งลั ก ษณะพิ เ ศษอย า งเฉพาะตั ว ที่ แ ตกต า งจากเทคนิ ค อื่ น ๆเนื่ อ งจากผลงานสร า งสรรค ใ น
กระบวนการของภาพพิมพของขาพเจานั้นมีความจําเปนที่ตองใชพื้นผิวที่มีลักษณะพิเศษมาชวย
สงเสริมผลงานใหมีลักษณะของความเปนพื้นผิวเขาไปชวยผสมผสานกับความเรียบแบบของภาพ
พิมพหิน
37

ภาพที่ 23 อุปกรณที่ใชในการทําแมพิมพพลาสวูด ( Plastwood )

2.4.5.ขั้นตอนการเคลือบกาวและกัดกรด ( Etching) ในกระบวนการภาพพิมพหิน ( Lithograph )


เปนขั้นตอนที่สําคัญในกระบวนการพิมพหินหลังเสร็จขึ้นขั้นตอนการเขียนเพลทนั้น ขั้นตอนตอไป
ที่สําคัญคือการเคลือบกาวกระถินบริสุทธิ์เพื่อใหวัสดุไขที่ใชในการเขียนลงบนหนาเพลทนั้น ได
ผนึก (Fixing) ติดแนนดียิ่งขึ้นนําเพลทวางลงบนแทนรองแผนแมพิมพ ( Press Bed) พรมน้าํ เล็กนอย
กอนวางเพลทลงบนแทนรองแมพิมพเพื่อใหน้ําเปนตัวชวยยึดใหเพลทติดกับแทนรองแมพิมพ นํา
แปงฝุน (Talcum Powder) ลูบวนลงใหทั่วหนาเพลทดวยฟองน้ําเนื้อนุม เพื่อชวยดูดซับความชื้น
จากวัสดุไข นํากาวกระถินประมาณ 1 ถวยออนซ (Oz.) เทลงบนแมพิมพแลวใชมือสะอาดลูบวนให
38

ทั่วเพลททั้ง 4 มุม หลังจากนั้นใชฟองน้ําลูบเพลทชวยกระชับกาวกระถินสวนเกินออกใหเรียบบาง


เมื่อเสร็จขั้นตอนการเคลือกาวกระถินบริสุทธิ์แลวขั้นตอนตอไปคือขั้นตอนการกัดกรด นํากาว
กระถินบริสุทธิ์ผสมกับกาวกระถินผสมกับกรดฟอสฟอริค (Phosphoric Acid) ในอัตราสวนที่ใช
แกวตวงยา ที่มีอัตราสวนที่เรียกวาออนซ (Oz.) กาวกรด 6 สวนตอกาวกระถินบริสุทธิ์ 4 สวน คน
ดวยพูกันขนนุมที่เตรียมไวจากกันเทกาวกรดที่เตรียมการไว ลงบนเพลทที่ไดทําการเคลือบกาว
กระถินบริสุทธิ์และทิ้งระยะเวลาไวอยางนอย 24 ชั่วโมง และใชแปรงขนนุมนั้นลูบไป - มาบน
แมพิมพตามระยะเวลาที่กําหนด (โดยทั่วไปจะใชเวลา 5-6 นาที) โดยจะลูบจากน้ําหนักที่เขมจัด
ของภาพกอนในนาทีแรกและในนาทีที่สองจึงเลื่อนไปยังตําแหนง เทากลาง เทาออน จนถึงน้ําหนัก
ที่ออนที่สุดตามลําดับ โดยการเลื่อนตําแหนงในแตละนาทีน้ําหนักที่เขมที่สุดก็ตองถูกกาวกรดกัดไว
ดวยตามลําดับ เมื่อครบกําหนดตามระยะเวลานั้น ใชน้ําเทลงบนแมพิมพและทําความสะอาดกาว
กรดออกดวยฟองน้ําใหสะอาดมากที่สุด จนเหลือเพียงความชื้นเล็กนอยบนแมพิมพ จากนั้นใชกาว
กระถินประมาณ 1 ออนซเทลงบนแมพิมพเพื่อเคลือบกาวกระถินบริสุทธิ์ กอนจะใชผาสาลูที่ทํา
เปนลักษณะของลูกประคบ วนใหเทาแมพิมพ ใหบางมากที่สุด โดยใหมีความบางเทากันทั่วทั้ง
แมพิมพ เปนอันเสร็จสิ้นกระบวนการกัดกรด และรอไปสูขั้นตอนการพิมพในขั้นตอนตอไป
39

ภาพที่ 24 ขั้นตอนการเคลือบกาวกระถินบริสุทธิ์

ภาพที่ 25 ขั้นตอนการกัดกรด
2.4.6.ขั้นตอนการพิมพในเทคนิคภาพพิมพหิน 6 (Lithograph) “แทนพิมพ (Press)
สําหรับภาพพิมพหินนั้น เปนลักษณะของการใชแรงกรด สามารถปรับระดับแรงกด (Pressure) ของ
แทนพิมพ ใหสัมพันธกับชนิดของแผนแมพิมพได โดยทั่วไปแลวนั้นระดับแรงกดของแทนพิมพ
ระหวางแทนที่ใชพิมพแผนแมพิมพอลูมินั่ม (Aluminum Plate) กอนใชงานจริงควรเตรียมขั้นตอน
ตางตางใหเกิดความพรอมมากที่สุด ซึ่งที่มีความสําคัญเปนอันดับแรกคือการเลือกความยาวของแผน
6
อํานาจ คงวารี,บทสนทนาระหวางฉันกับความปรารถนาที่กําหนดโดยสังคม,(คณะจิตรกรรม
ประติมากรรมและภาพพิมพ มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ.2558)
40

ไมครูด ซึ่งจะตองมีความยาวสัมพันธกับความกวางของผลงาน (Image) ” ขั้นตอนในการเตรียม


หมึกพิมพนั้น หมึกที่ใชเปนหมึกชนิดเดียวกับที่ใชสําหรับโรงพิมพในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งนํามา
ทดแทนหมึกพิมพเฉพาะสําหรับภาพพิมพหินซึ่งมีราคาแพงและตองนําเขามาจากตางประเทศ จึง
จําเปนตองปรับลักษณะของหมึกพิมพใหมีความใกลเคียงกับหมึกพิมพภาพพิมพหิน ดวยการใช
ผงไลทแมกนีเซียม คารบอเนท (Light Magnesium Carbonate Powder B.P.) ผสมใหเขากับหมึก
พิมพเพื่อใหมีความเหนียวมากยิ่งขึ้น

ภาพที่ 26 อุปกรณที่ใชในการพิมพ
41

ภาพที่ 27 ขั้นตอนการลางเขมา
ลางทําความสะอาดเขมาดวยน้ํามันสนและน้ํามันทินเนอรตามลําดับ จากนั้นเช็ดใหแหง
ดวยเศษผาใหสะอาดเพื่อใหวัสดุไขตางตางที่ใชเขียนนั้นหลุดออกจากแมพิมพ ขั้นตอนตอไปใชเรด
แลคเกอร (Red Lacguer) แดงเช็ควนใหทั่วแมพิมพ เพื่อทําใหหมึกที่ใชกลิ้งลงบนแมพิมพติดบน
หนาเพลทเร็วมากยิ่งขึ้ น จากนั้นใชเศษผาชุบดวยสีที่จะพิมพ ผสมกับน้ํามันสน แลวเช็ดใหทั่ว
แมพิมพ หลังจากเสร็จขั้นตอนในการเช็ดเรดแลคเกอรและสีผสมกับน้ํามันสนแลว จึงลางใหสะอาด
ดวยฟองน้ําบีบน้ําใหเทาแลวใชมือสะอาดถูเอาเรดแลคเกอรออกใหสะอาดเทาทั้งเพลท แลวใช
ฟองน้ําลูบใหเทาเพลท เพื่อเลี้ยงระดับความชื้นบนหนาเพลทไว
42

ภาพที่ 28 ขั้นตอนการกลิ้งหมึก
ใชฟองน้ําสะอาดชุบน้ําเช็ดใหทั่วแมพิมพทุกครั้งกอนที่จะกลิ้งหมึกดวยลูกกลิ้งยางบน
แมพิมพเพื่อชวยปองกันไมใหหมึกบนลูกกลิ้งยางนั้น ไปติดบริเวณที่ปราศจากวัสดุบนแมพิมพ กลิ้ง
หมึกดวยลูกกลิ้งยางบนแมพิมพใหครบทุกทิศทาง โดยตองสลับกับการเช็ดน้ําหลอเลี้ยงทุกครั้งที่
กลิ้งเสร็จหนึ่งชุด ลักษณะของการกลิ้งหนึ่งชุดนั้นคือการกลิ้งไปกลับสลับแปดทิศทาง และจึงกลิ้ง
ครึ่งแมพิมพครึ่งละ 1 ครั้งเปนการกลิ้งทั้งหมด 10 ครั้ง เมื่อครบ 20 ครั้งในการกลิ้งจึงนําลูกกลิ้งยาง
รับหมึกพิมพที่แทนกลิ้งหมึก แลวนํากลับมากลิ้งบนแมพิมพอีกครั้ง กลิ้งจนครบทั้ง 60 ครั้งแลวจึง
นําไปสูขั้นตอนการเตรียมชื้นกระดาษตอไป
43

ภาพที่ 29 ขั้นตอนทําชื้นกระดาษ
ขั้นตอนนี้เลือกใชกระบอกพนน้ําฉีดเปนละอองฝอย ลอยในอากาศอยางสม่ําเสมอ
และคอยคุมใหละอองน้ํากระจายอยูในบริเวณกระดาษอยางเทา ๆ กันทิ้งไวอยางนอย 2-3 นาที
เพื่อใหน้ําซึมลงไปในเนื้อของกระดาษพิมพฟาเบียโน (Fabriano) ที่ใชสําหรับพิมพผลงาน ปรับ
สภาพทําใหเนื้อกระดาษมีความออนนุมมากกวาปกติ แลวจึงใชกระดาษพรูฟสะอาดวางทับ ดูด
ซับละอองน้ําสวนเกินออก หลังจากซับน้ําสวนเกินออกแลวจึงนําไปสูขั้นตอนการพิมพทันที เพื่อ
44

รักษาความชื้นในกระดาษในขณะที่พิมพผลงาน กระดาษที่มีความชื้นชวยใหหมึกพิมพซับลงสู เนื้อ


กระดาษไดดียิ่งขึ้น

ภาพที่ 30 ขั้นตอนการพิมพในเทคนิคภาพพิมพหิน (Lithograph)


หลังจากขั้นตอนการทําชื้นกระดาษเพื่อสําหรับขั้นตอนการพิมพเสร็จสิ้น นํากระดาษที่ทํา
ชื้นเตรียมไวนั้นวางลงบนแมพิมพตามเครื่องหมายกําหนดกระดาษที่ทําเตรียมไวในขั้นตอนการ
เตรียมแมพิมพ เมื่อวางกระดาษเสร็จแลว ตรวจเช็คตําแหนงของแมพิมพ เพื่อใหอยูภายในระดับของ
แผนไมครูด เลื่อนแผนเหล็กรองแมพิมพใหเขาสูตําแหนงของแผนไมครูดจากนั้นกดคาโยกลง เพื่อ
สรางแรงกดของแมพิมพปรับหมุนแกนเหล็กใหเขาสูตําแหนงเพื่อใหแผนเหล็กรองแมพิมพสามารถ
เคลื่อนที่ผานแผนไมครูดได หมุนแกนใหแทนพิมพเคลื่อนที่ตามทิศทางการหมุนตามเข็มนาฬิกา
หลังจากหมุนจนแทนพิมพเคลื่อนที่ไปจนสุดตําแหนงของแผนไมครูดอยูเลยแมพิมพออกมาแลว
จากนั้นหมุนแผนเหล็กรองแมพิมพกลับเขาในตําแหนงเริ่มตน เพื่อดึงกระดาษที่ใชพิมพงานขึ้นดึง
กระดาษที่ใชพิมพผลงานสรางสรรคนั้นขึ้นมาจากแมพิมพในลักษณะทแยงมุม นํากระดาษที่ใช
พิมพผลงานไปตากไวบนที่พักผลงานเพื่อใหสีของหมึกพิมพแหงและพรอมจะพิมพในแมพิมพ
ตอไป
45

2.4.7.ขั้นตอนการพิมพเทคนิคภาพพิมพรองลึก (Intaglio) ในกระบวนการพิมพเทคนิคภาพ


พิมพรองลึกนั้น ตองทําการพิมพในกระบวนการภาพพิมพหินใหเสร็จทุกขั้นตอนกอน จึงนํามาเขาสู
กระบวนการภาพพิมพรองลึกได เนื่องจากหากสีหมึกจากการพิมพใหเทคนิคภาพพิมพหินยังไม
แหงนั้น นําเขาแทนพิมพภาพพิมพรองลึกซึ่งมีแรงกดทับที่มากกวาในเทคนิคภาพพิมพหิน จะทําให
กระดาษที่ใชสําหรับพิมพงานนั้นขาด จากสาเหตุที่แรงกดทับของแทนพิมพภาพพิมพรองลึกนั้นมี
แรงกดทับที่มากกวาภาพพิมพหิน ดวยสาเหตุดังกลาวจึงจําเปนที่จะตองทําในกระบวนการขั้นตอน
ของภาพพิมพหินในเสร็จสิ้นสบบูรณครบทุกกระบวนการ จึงจะสามารถนํามาเขาสูขั้นตอนการ
พิมพในเทคนิคภาพพิมพรองลึกได ขั้นตอนการพิมพในเทคนิคภาพพิมพรองลึกนั้น นําเพลทที่สราง
พื้นผิวที่สมบูรณพรอมสําหรับการพิมพ นํามาลางฝุนหรือเขมาออกดวยน้ําเปลา แลวใชไดรอนเปา
ใหแหงสนิท ใชเทปกาวสีน้ําตาลติดใหดานกาวหันออกมาทั้งสองดาน ติดเปนทางยาวประมาณสาม
แถว ลงบนแทนรองสีหมึกพิมพ เพื่อใชเปนที่ในการอุดสีหมึกในการพิมพลงบนแมพิมพพลาสวูด
(Plastwood) หลังจากนําแมพิมพพลาสวูด ติดลงบนเทปกาวสีน้ําตาลบนแทนรองหมึกพิมพที่เตรียม
ไว เพื่ อยึ ดให เ พลทแม พิ มพ นั้ น ติด แนน เพราะขั้นตอนการอุด สีห มึก ในการพิ มพนั้ น อาจทํ า ให
แมพิมพ เคลื่อนหรือขยับออกจากตําแหนงเดิมได จัดเตรียมอุปกรณที่ใชในการอุดสีหมึกพิมพบน
แมพิมพ เพื่อใหสีหมึกพิมพนั้น ลงไปอุดตามรองลึกตามพื้นผิวของแมพิมพ ใชยางปาด ปาดสีหมึก
พิมพใหทั่วแมพิมพทั้งหมด หลังจากใชยางปาดหมึกพิมพจนทั่วทั้งแมพิมพแลว ใชหัวนิ้วโปงหัวแม
มือ อุดในลักษณะการถูวนไปตามเข็มนาฬิกา เพื่อใหรองพื้นผิวที่ยางปาดไมสามารถลงไปไดนั้น ลง
ไปไดอยางสมบูรณดวยการใชนิ้วโปงหัวแมมือ เมื่อเสร็จในขั้นตอนการอุดสีหมึกพิมพจนทั่วทั้ง
แมพมิ พแลว ขั้นตอนก็ไปคือการซับสีหมึกสวนที่เกินออกไป เพื่อใหเหลือไวในสวนที่ตองการ ที่อยู
ในรองรอยของพื้นผิวที่ทําไว การเช็ดสวนที่เกินออกในขั้นตอนแรกทําไดโดยใช กระดาษพรูฟ
เหลืองเปนตัวซับสีหมึกพิมพออกทั่วทั้งเพลท โดยวางทาบลงไปบนแมพิมพแลวใช ลูกประคบหรือ
ผาถูขึ้นลงสลับเปลี่ยนตําแหนงใหทั่วทั้งแมพิมพ หลังจากซับดวยกระดาษพรูฟเหลืองเสร็จแลวใชผา
ซาตินเนื้อมันที่ตัดเตรียมไวในลักษณะทําเปนลูกประคบคอย ๆ เช็ดหมึกสวนเกินออกโดยเช็ดจาก
ตรงกลางแมพิมพออกไปหาดานขางใหทั่วทั้ง 4 มุม เมื่อเช็ดจนสีหมึกพิมพสวนเกินออกไดระดับ
หนึ่ง ตอ จากนั้น จึ ง ใช ก ระดาษลอกลายที่ เ ตรี ย มไว โดยตั ด ใหพ อขนาดประมาณพอดีกับฝามื อ
เพื่อใหสะดวกในการเช็ด นํามาเช็ดหมึกสวนเกินออกจนเหลือที่สีหมึกพิมพที่ตองการ การเช็ดหมึก
ออกสามารถเลี้ยงหมึกไวในสวนที่ตองการใหมีน้ําหนักเขม ออน ตามแตตองการขึ้นอยูกับการ
ควบคุมในการเช็ดหมึกออก
46

ภาพที่ 31 การอุดหมึกบนแมพิมพในเทคนิคภาพพิมพรองลึก (Intaglio)

ภาพที่ 32 ขั้นตอนการเช็ดสีหมึกพิมพสวนเกินบนหนาแมพิมพพาสวูด (Plastwood) ออก เพื่อให


เหลือแตในสวนที่อยูในรองรอยของพื้นผิวบนหนาเพลทแมพิมพ

หลั ง จากเสร็ จ สิ้น ในขั้ น ตอนของการอุ ด สี ห มึ ก พิ มพ นั้ น ขั้ น ตอนต อ ไปคื อ การทํ า ชื้ น
กระดาษเพื่อรอพิมพ นํากระดาษภาพพิมพผลงานที่ ผานกระบวนการเทคนิคภาพพิมพหินจนเสร็จ
สิ้นทั้งหมด มาเพื่อเตรียมทําชิ้นในอางพลาสติกที่มีขนาดใหญกวากระดาษภาพพิมพฟาเบียโน โดย
ภายในอางพลาสติกที่ใชทําชื้นกระดาษ รองน้ําไวโดยประมาณครึ่งอางพลาสติกหลังจากนั้นน้ํา
กระดาษโดยเอาสวนดานหนา คว่ําลงในอางพลาสติกเพื่อใหสวนดานหนาของผลงาน สัมผัสกับผิว
น้ําอยางเต็มที่ เพื่อชวยใหความชื้นมีระดับที่เทา ๆ กัน โดยทิ้งไวอยางนอย 5-6 นาที ระหวางที่รอ
กระดาษภาพพิมพผลงานทําชื้นอยูนั้น ใหเตรียมแทนสําหรับพิมพในเทคนิคภาพพิมพรองลึกโดย
การใชผาสักหลาดสองผืนที่มีขนาดใหญเทากับแผนอะคิลิคที่ใชรองบนแทนรองแมพิมพ จากนั้นใช
47

กระดาษพรูฟ 1 แผนรองตอจากผาสักหลาด ปรับแทนใหมีน้ําหนักพอประมาณไมมากจนทําใหสี


ทะลั ก ออกจากร อ งลึ ก หรื อ ไม น อ ยเกิ น จนดึ ง รายละเอี ย ดของพื้ น ผิ ว ออกมาได ไ ม ค รบ นํ า
กระดาษพิมพผลงานที่ทําชื้นอยูภายในอางพลาสติกขึ้นมาเพื่อซับเอาน้ําสวนเกินออกเพื่อใหเหลือแต
ในสวนที่กระดาษพิมพผลงานซับขึ้นไปวางกระดาษลงบนแมพิมพเพลทพลาสวูดที่อยูบนแผนรอง
แทนพิมพ ปดกระดาษพรูฟเหลืองและผาสักหลาดลงเพื่อเขาสูกระบวนการพิมพ หมุนแทนใหแผน
รองเคลื่อนที่ผานลูกกลิ้งที่สรางแรงกดบนแทนจนสุดแทน หลังจากหมุนแทนจนแผนรองแมพิมพ
เคลื่อนที่ไปจนสุดแทน ดึงกระดาษออกจากแมพิมพอยางชา ๆ เพื่อสํารวจ บางครั้งอาจจะมีสวนที่
กระดาษติด แนนอยู กับ แม พิมพ จ นเกิน ไป นํากระดาษพิมพผลงานที่ผา นกระบวนการพิมพใ น
เทคนิคภาพพิมพรองลึกจนเสร็จสิ้น วางลงบนแผนไมกระดาษที่เตรียมไวเพื่อขึงกระดาษ สาเหตุที่
ตองขึงกระดาษเนื่องจากกระดาษถูกทําชื้นดวยน้ําในปริมาณความชื้นที่มาก เมื่อกระดาษคลาย
ความชื้นออก จะมีลักษณะหดตัวลง จึงจําเปนที่ตองใชกระดาษกาวน้ําในการขึงขอบทั้งสีมุมของ
ผลงานภาพพิมพไว เพื่อไมใหเกิดลักษณะของกระดาษที่หดตัว จนทําใหกระดาษไมเรียบแบน เปน
อันสิ้นสุดทั้งกระบวนการเทคนิคในการสรางสรรคผลงานทั้งเทคนิคภาพพิมพหิน และ ภาพพิมพ
รองลึก

ภาพที่ 33 ขั้นตอนการดึงกระดาษขึ้นจากแมพิมพหลังจากผานกระบวนการพิมพในเทคนิคภาพ
พิมพรองลึก, ขั้นตอนการขึงกระดาษ ดวยเทปกาวน้ําหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการพิมพ
บทที่ 4

การวิเคราะหและการพัฒนาผลงาน

การพัฒนาตนเองในการสรางสรรคศิลปนิพนธ ดวยกับการพัฒนาทั้งดานกระบวนการ
ความคิด กระบวนการทางเทคนิครูปแบบหรือองคประกอบในผลงานศิลปนิพนธลวนแลวแตมา
จากการคิดวิเคราะห เพื่อมองหาขอดีและขอเสียที่เกิดขึ้นในแตละชิ้นผลงานนําไปปรับปรุงแกไข
และพัฒนาใหผลงานศิลปนิพนธนั้นมีความสมบูรณแบบมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการวิเคราะหเพื่อพัฒนา
ผลงานศิลปนิพนธจึงมีความสําคัญอยางยิ่งเพื่อการวางแผนในการสรางสรรคผลงานในชิ้นตอ ๆ ไป
ใหมีความละเอียดรอบคอบ ในทุก ๆ ดาน การวิเคราะหตีความนี้เองยังชวยเพื่อใหตัวขาพเจามองหา
สิ่งใหม ๆ หนทางในการพัฒนาความคิด และตัวผลงานศิลปนิพนธ สรางความแตกตางที่พัฒนามาก
ขึ้นเพื่อสรางการพัฒนาที่ดีอยูเสมอ

การสรางสรรคผลงานชุดกอนศิลปนิพนธ ระยะที่ 1 (ภาพที่ 32 - ภาพที่ 33)

การสรางสรรคผลงานชุดกอนศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 1 ชื่อผลงาน “ The Sadness of Me”


ขาพเจามุงแสดงออกถึงสภาวะอารมณผิดปกติภายในจิตใจ ดวยการเลาเรื่องราวของความรัก ผานตัว
ละครที่ แ สดงภาษากายถึง ความโศกเศร า ภายใต บ รรยากาศที่ มืด ทึบ หมองหมน จากชุ ด สี ที่ใ ช
ขาพเจาสรางสรรคดวยการเนนใชลักษณะของเสน (Line) มาสรางรูปทรง (Form) ที่ดัดแปลงมาจาก
รูปทรงมนุษย (Figure) ที่เกิดจากจิตใตสํานึกที่ใชอารมณความรูสึกเปนตัวนํา ในการสรางรูปทรง
และ บรรยากาศ การถือชอดอกไมไวที่มือ ในขณะที่รูปทรงมนุษยภายในภาพ ลอยอยู เควงควาง
ซอนนัยยะถึงความรัก การสูญเสียความรูสึกอยางเฉียบพลัน ทําใหเกิดสภาวะที่ผิดปกติในจิตใจ ไม
มีที่ยึดเหนี่ยวภายในจิตใจ รูปทรงมนุษยภายในภาพนั้นยังสะทอนถึง การขาดหายไปของบุคคลอัน
เปนที่รัก ตนเหตุของการเกิดสภาวะดังกลาวขางตน
การสรางสรรคผลงานชุดกอนศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 2 “ In My Room no.2 ” ผลงานภาพพิมพ
หิน แสดงออกดวยการใชรูปทรงใบหนาคน (Portrait) ที่แสดงออกถึงอารมณความรูสึกโศกเศรา
การคิด ถึงบุ คคลอันเปน ที่รัก ที่จากไป ยังวนเวียนอยูภ ายในความคิด ขาพเจามุ งเน นการแสดง
อารมณความรูสึกดวยการใชเสนในการแสดงออก ใชเสนมาสรางรูปทรงใหเกิดเปนลักษณะของ

48
49

ใบหนามนุษย ผลงานถูกจัดองคประกอบใหรูปทรงหลัก ที่เปนจุดเดนอยูกลางภาพ โดยมีรูปทรง


รองที่เปนรูปทรงมนุษย ลอยอยูในลักษณะวนเปนรูปวงกลม บนและลางของใบหนามนุษย ใบหนา
ที่แสดงออกความรูสึก ขุนเคือง สับสน บางสิ่งที่เกิดขึ้นและผานไปยังคงมีผลกระทบที่ตามมา กิ่งไม
แหงเล็ก ๆ เรียงราย ถูกใชเปนสวนของลายละเอียดในผลงาน ภายใตบรรยากาศหมองหมนจากสีดํา
ที่เปนนัยยะของความเศราโศกภายในจิตใจ
50

ภาพที่ 34 ภาพผลงานกอนศิลปนิพนธ ระยะที่ 1


ชื่อผลงาน “The Sadness of Me”
เทคนิค ภาพพิมพหิน (Lithograph)
ขนาดของผลงาน 71 x 100 ซม.
ปที่สรางผลงาน พ.ศ.2557
51

ภาพที่ 35 ภาพผลงานกอนศิลปนิพนธ ระยะที่ 1


ชื่อผลงาน “In My Room no.2”
เทคนิค ภาพพิมพหิน (Lithograph)
ขนาดของผลงาน 95 x 71 ซม.
ปที่สรางผลงาน พ.ศ.2557
52

การสรางสรรคผลงานชุดกอนศิลปนิพนธ ระยะที่ 2 (ภาที่ 34 - ภาพที่ 36) ผลงานในระยะ


นี้ขาพเจามุงเนนการพัฒนาทั้งทางดาน กระบวนการทางเทคนิค และ รูปแบบในการสรางสรรค
ผลงานโดยเริ่มดวยการคิดวิเคราะหองคประกอบภายในผลงาน พื้นที่ในการวางตําแหนงของรูปทรง
(Form) และพื้นที่วาง (Space) ภายในผลงาน เพื่อพัฒนาลายละเอียดสวนสําคัญตางๆ ขาพเจาจึงเพิ่ม
การคิดวิเคราะหในเรื่องของ ภาษากายของมนุษย การทับซอนของรูปทรงที่แฝงนัยยะทางความคิด
ไวเพิ่มจินตนาการทางดานชุดสี และบรรยากาศใหสอดคลองกับแนวความคิดที่มุงนําเสนอ

การสรางสรรคผลงานชุดกอนศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 3 ชื่อผลงาน “Waste Control”


ขาพเจามุงแสดงออกทางดานภาษากายของมนุษย การลอยเควงควาง ไมมีที่ยึดเหนี่ยวจากสภาวะ
ผิดปกติจากความโศกเศราที่เกิดขึ้น สงผลใหเกิดสภาวะไรที่ยึดเหนี่ยวภายในจิตใจโดยขาพเจาใช
รูปทรงของมนุษยในการเลาเรื่องราวของความรักที่สูญเสียบุคคลอันเปนที่รักไปผลงานศิลปนิพนธ
ชิ้นนี้ขาพเจาใชกระบวนการพิมพจากน้ําหนักเทาเขมลงไปในขั้นตอนแรก แลวใชการพิมพน้ําหนัก
ออนกวาทับซอนลงไปบนเทาเขม เพื่อใหแสดงมิติของพื้นที่ภายใจจิตใจที่มืดมนและยังเปนการ
พัฒนากระบวนการเทคนิคภาพพิมพหินในการทดลองกระบวนการสรางน้ําหนัก ที่ปกติใชน้ําหนัก
ที่ออน ไปสูน้ําหนักเขม การทดลองยังเพิ่มทักษะและความกลาในการแสดงออกเนื่องจากผลจาก
ศิลปนิพนธของขาพเจานั้น เนนการแสดงออกทางดานอารมณ มากกวาเนื้อหาทางดานความคิด
และการแสดงออกที่เนนทางดานอารมณความรูสึกเพื่อใหเกิดความกลาแสดงออกมากขึ้นในผลงาน
ภาพพิมพ ทางดานองคประกอบ ขาพเจาใชรูปทรงมนุษยทับซอนกันในลักษณะลอยอยูกลางอากาศ
โดยมีเงาสะทอนที่พื้น แสดงลักษณะเปนรูปทรงมนุษยนอนอยูดานลางของภาพ เพื่อแสดงถึงนัยยะ
ของความคิดถึงชวงเวลาหรือประสบการณที่ดี ๆ ภายในภาพขับเนนรูปทรงที่เปนจุดเดนดวยการใช
น้ําหนักออนมาตัดขอบเสนรูปทรงจุดเดนใหเดนชัดมากยิ่งขึ้น เปนการเนนใหเกิดมิติภายในผลงาน
รูปแบบ 2 มิติ สีที่ใชสรางบรรยากาศ ในพื้นที่ทางความรูสึกในจินตนาการ จากความรูสึกภายใน
จิตใจ จึงเกิดบรรยากาศที่เหนือจริงขึ้นมา เพื่อบอกเลาสภาวะอารมณที่เกิดขึ้นดังขางตนที่กลาวมา

การสรางสรรคผลงานชุดกอนศิลปนิพนธ ชื่อผลงาน “The Day When You Went Away”


การเลือกใชมิติของมุมมองหอง (Room perspective) เปนการสรางสรรคโดยการ จินตนาการถึง
พื้นที่ในความรูสึก โดยภายในผลงานศิลปนิพนธชิ้นนี้ ขาพเจามุงเนนการแสดงออกดวยการ ทิ้งฝ
แปรง รองรอย เพื่อใหเกิดความฉับพลันในการแสดงออกมากยิ่งขึ้น และยังเปนการจําลองตนแบบ
จากกระบวนการทางจิตรกรรม สูกระบวนการทางภาพพิมพ เนื่องจากในการทําภาพรางนั้น ขาพเจา
เลือกใชกระบวนการทางจิตรกรรมในการทําภาพราง ในการทอดลักษณะของจิตรกรรมลงบนเพลท
53

แมพิมพอลูมินั่มนั้น ตองใชแปรงขนนุมเขียนดวยวัสดุไขที่เรียกวา น้ํามันวานิช ซึ่งสามารถทิ้ง


รองรอย ฝแปรง ความฉับพลันไดคลายคลึงกับการใชแปรงขนนุมในกระบวนการทางจิตรกรรม
เนื้อหาในองคประกอบ เลือกใชรูปทรงมนุษยในการแสดงออก ซึ่งมีลักษณะที่ถูกคลี่คลายดวยกับ
การเขียนเสน และฝแปรงอยางฉับพลัน เพื่อแสดงออกถึงความรูสึกภายในที่เกิดขึ้น ผานรูปทรง
มนุษย เลาเรื่องราวถึงบทสนทนา กับความเศราโศกของตน ภายในพื้นที่เคยมีบุคคลอันเปนที่รักที่
จากไป ใบหนาที่แสดงอารมณความรูสึกเสียใจ ดวยเสนที่มีลักษณะรุนแรงและฉับพลัน รูปทรง
มนุษย ที่อยูในลั กษณะ ลอยอยู กลางอากาศโดยมี ลักษณะของเงาที่ถูกทั บซอนกับดานลางของ
รูปทรงมนุษย เปนการแสดงถึงนัยยะการปกปดความรูสึก และความสับสนทางอารมณที่ไมสามารถ
พูดออกมาได ในชีวิตประจําวัน แตความรูสึกเหลานี้ไมเคยจางหายไป สีที่ใชสีโทนเย็น ซึ่งมีการให
ความรูสึกถึงบรรยากาศยามค่ําคืน เปนการใชเนื้อหาของมิติทางเวลามาชวยเพื่อใหเกิด ชวงเวลาที่
ตางกัน ตางอารมณความรูสึกกับศิลปนิพนธชิ้นอื่น ๆ

การสรางสรรคผลงานชุดกอนศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 5 ชื่อผลงาน “Crying Lightning”ผลงาน


ศิลปนิพนธชิ้น นี้ ข าพเจาจิ นตนาการถึงมิติทางความรูสึก ความผูกผันซึ่งแมความจริงไมมีทาง
เปนไปได หากแตความผูกผันทางความรูสึกยังคงอยู ซึ่งเกิดขึ้นแมเวลาจะผานไปแลวก็ตาม ขาพเจา
เลือกใชสีที่แสดงบรรยากาศ ถึงพื้นที่ที่ไมมีอยูจริง หากแตเปนพื้นที่ทางอารมณความรูสึก การกอด
ที่ไรแขนมาโอบกอด นัยยะถึงความรูสึกผูกผัน ที่ในความเปนจริงนั้น ไดสูญเสียความผูกผันนี้ไป
แตความรูสึกผูกผันนี้ไมจางหายไป ดานนัยยะที่ถูกซอนภายในภาพนั้น รูปทรงมนุษยที่หันหนาเขา
หากัน ราวกับการมองตากันกอนที่จะจากกันไป คือความเสียใจที่ตองจากกันไป ความไมสมบูรณ
ทางกายภาพของรูปทรงมนุษยนั้น ถูกใชเพื่อพูดถึงสภาวะจิตใจที่ผิดปกติที่เกิดขึ้น สงผลถึงการ
แสดงออกถึงรูปลักษณที่ไมสมบูรณของรูปทรงมนุษย การซอนรูปทรงที่อยูระหวางกลางรูปทรง
มนุษยทั้งสองขางนั้น แฝงถึงนัยยะของความคิดถึงความสูญเสียเหลานั้นในขณะที่ ความสัมพันธได
เริ่มตนใหมกับบุคคลใหมแลว ยังคงมีความผูกผันทางความรูสึกบางอยาง ที่ไมสามารถแสดงออกมา
ได จึงถูกปดบัง ซอนเรนไวอยูภายในจิตใจ เนื้อหาดานองคประกอบ มีการวางรูปทรงมนุษย เปน
จุดเดนอยูกลางภาพ มีการปลอยใหพื้นที่ของเนื้อกระดาษทํางาน เพื่อสรางความรูสึกของความ
ฉับพลันในการแสดงออก ชุดสีที่ใชในรูปทรงมนุษย ทําใหรูสึกถึงเสนหหาความรักดวยสีชมพู และ
สีมวง ในขณะที่ที่สีเทาอมมวงมาสรางบรรยากาศถึง ความหมนหมองทางความรูสึก สรางความ
ขัดแยงทางดานความหมายในเวลาเดียวกัน ระหวางความรักที่สดใส กับความรูสึกที่หมนหมอง มี
การใชเสนในลักษณะรุนแรง ฉั บพลันในการแสดงออก ทิ้งรองรอยและฝ แปรงไวชั ดเจน การ
คลี่คลายรูปทรงมนุษยเพื่อสรางความหมายใหมใหสอดคลองกับแนวคิดที่ตองการนําเสนอ
54

ภาพที่ 36 ภาพผลงานกอนศิลปนิพนธ ระยะที่ 2


ชื่อผลงาน “Waste Control ”
เทคนิค ภาพพิมพหิน (Lithograph)
ขนาดของผลงาน 71 X 100 ซม.
ปที่สรางผลงาน พ.ศ.2557
55

ภาพที่ 37 ภาพผลงานกอนศิลปนิพนธ ระยะที่ 2


ชื่อผลงาน “The Day When You Went Away ”
เทคนิค ภาพพิมพหิน (Lithograph)
ขนาดของผลงาน 71 X 100 ซม.
ปที่สรางผลงาน พ.ศ.2557
56

ภาพที่ 38 ภาพผลงานกอนศิลปนิพนธ ระยะที่ 2


ชื่อผลงาน “Crying lightning”
เทคนิค ภาพพิมพหิน (Lithograph)
ขนาดของผลงาน 71 X 100 ซม.
ปที่สรางผลงาน พ.ศ.2557
57

การสรางสรรคผลงานชุดกอนศิลปนิพนธ ระยะที่ 3 (ภาพที่ 37-40)


ผลงานในชุดกอนศิลปนิพนธในระยะที่ 3 นี้ขาพเจาพยายามวิเคราะหถึง ความสําคัญของพื้นที่วาง
เพื่อนํามาใชใหเกิดความสมบูรณภายในผลงานศิลปนิพนธ และสรางความหมายในตัวเอง ให
สัมพันธกับรูปทรง และสงเสริมใหรูปทรงหลักภายในผลงานทํางานไดอยางเกิดเอกภาพ ขาพเจาถึง
พยายามเพิ่มพื้นที่วางในผลงานและทดลองในการใชพื้นผิวที่มีความพิเศษเฉพาะตัวในกระบวนการ
ทางเทคนิคภาพพิมพหิน มาเพิ่มเติมเพื่อสรางลายละเอียดเล็ก ๆ และยังเพิ่มในสวนของเนื้อหา
ทางดานทัศนศิลปในผลงาน ใหมีความสมบูรณมากยิ่งขึ้น

การสรางสรรคผลงานชุดกอนศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 6 ชื่อของผลงาน “Deep Into My


Feeling”ในศิลปนิพนธชิ้นนี้ ขาพเจาสรางสิ่งที่แตกตางดวยการใชชุดสีในรูปทรงของมนุษยทแี่ ปลก
แตกตางออกไปดวยการใชลักษณะของสีแดงโทนรอนและสีฟาโทนเย็นวางเคียงกันเพื่อสรางมิติ
ของสีที่ดูแลวสดใสเปนบรรยากาศที่แตกตางออกไปหากแตภายใตบรรยากาศที่แตกตางออกไปนี้
เอง ซอนนัยยะความหมายถึง ชวงเวลาในชีวิตประจําวัน ไมวาจะเปนชวงเวลาใดก็ตาม ทายสุดการ
นึกยอนกลับมาถึงความรูสึกที่เกิดขึ้นนี้เอง ก็ยังสรางความรูสึกสะเทือนใจ อยูภายในจิตใจ จากความ
สูญเสียที่เกิดขึ้นนี้เอง การใชลักษณะของใบหนาที่บงบอกถึง อารมณความรูสึกเศราและสับสน จน
รองไหออกมา ดวยกับการใชเสนที่รุนแรงขูดขีด และทิ้งรองรอยไวชัดเจน และยังแสดงออกดวย
ภาษากาย การกอดเพื่อสรางความอบอุน หรือการบอกถึงความหวงใย ในขณะเดียวกันการกอดยัง
แฝงดวยนัยยะที่บอกถึงการเหนี่ยวรั้ง ที่ไมตองการจากไปทางดานขององคประกอบภายในภาพนั้น
ถูกจัดใหรูปทรงหลักที่เปนลักษณะ ของรูปทรงมนุษยที่ถูกคลี่คลาย ใชภาษากายในลักษณะการกอด
กัน โดยมี รูปทรงมนุษยอีกคนลอยอยูดานหลังของภาพนั้นอยูทางดานซายของภาพ สวนทางดาน
ขาวเปนพื้นที่วาง พื้นผิวที่เขียนขึ้นจากวัสดุไขเปนลักษณะเฉพาะของเทคนิคภาพพิมพหิน ลักษณะ
ไหลออกมาจากใบหนาของคนที่ลอยอยูดานหลังบรรยากาศ เพื่อแสดงอารมณความรูสึกของความ
เสียใจที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ ภายในภาพที่เห็นเดนชัดเปนลักษณะของการใชสีที่ตัดกัน และการใช
เสนและฝแปรงที่รุนแรง เพื่อใหเนื้อหาทางทัศนศิลปสอดคลอง และสงเสริมกับแนวความคิดในการ
สรางสรรคผลงาน
58

ผลงานชุดกอนศิลปนิพนธระยะที่ 3 ชิ้นที่ 7 ชื่อของผลงาน “Despond”


ในผลงานชิ้นนี้ ขาพเจามุงนําเสนอการแสดงทางอารมณมากกวาเนื้อหาดานอื่น ๆ ดวยการใชเสนที่
แสดงออกอย า งรุ น แรง และฉั บ พลั น ในการแสดงออกเพื่ อ ให เ กิ ด ความอิ ส ระมากขึ้ น ในการ
แสดงออก ผานกระบวนการทางเทคนิคภาพพิมพหิน การแสดงออกดวยลักษณะของลายเสนนั้น
เปนการแสดงออกที่สอดคลองกับเทคนิคภาพพิมพหิน เนื่องจากในกระบวนทางเทคนิคภาพพิมพ
หินนั้น มีลักษณะเฉพาะของแมพิมพเพลทอลูมินั่ม ที่สามารถแสดงลักษณะพิเศษของพื้นผิวเกรน
ของไขที่เรียงตัวกันไดเปนอยางดี ขาพเจาจึงสรางความแตกตางกับผลงานชิ้นอื่น ๆ ดวยกันเนนใน
ลักษณะของเสนที่ฉับพลันมากเปนพิเศษ ทางดานเนื้อหาขาพเจาหยิบรูปทรงมนุษยมาคลี่คลาย
ลดทอนความจริงลงเพื่อใหการแสดงออกนั้นมีความอิสระมากยิ่งขึ้น ความอิสระในการแสดงออก
นั้น ถูกหยิบนํามาใชในกระบวนทางภาพพิมพ ผานขั้นตอนกระบวนการที่มีความซับซอนทาง
เทคนิค การสรางความอิสระทั้งทางดานเทคนิค และรูปแบบเนื้อหาของผลงานนั้น จึงเปนเรื่องที่ยาก
และซับซอน เนื่องจากกระบวนทางภาพพิมพนั้น เปนกระบวนการที่ตองวางแผนอยางรอบคอบ
การวางแผนที่อยางเปนขั้นเปนตอนนั้น ยอมลดทอนความอิสระ และความกลาแสดงออกลงไปบาง
ขาพเจาจึงมุงเนนการแสดงออกทางความรูสึก ดวยความอิสระในการแสดงออก บนกระบวนการ
เทคนิ ค ทางภาพพิ ม พ เพื่ อ สร า งมิ ติ ที่ แ ตกต า งในการสร า งสรรค ผ ลงานในแต ล ะชิ้ น งาน ด า น
องคประกอบ ถูกใชชุดสีดํามวงและชมพู สรางความรูสึกลึกลับบนมิติของความรักดวยรูปทรง
มนุ ษ ย ทั บ ซ อ นกั น ในลั ก ษณะกอดกั น เป น นั ย ยะของความรู สึ ก ผู ก ผั น กั บ บุ ค คลอั น เป น ที่ รั ก
บรรยากาศถูกใชสีดํา เขามาเพื่อเพิ่มความหมนหมอง และใหอารมณความรูสึกดานลบภายในใจจิต

ผลงานชุดกอนศิลปนิพนธระยะที่ 3 ชิ้นที่ 8 ชื่อของผลงาน “My Love My Life My


Feeling”
ผลงานศิลปชุดกอนศิลปนิพนธชิ้นนี้ ขาพเจาใชการจินตนาการถึงพื้นที่ ที่ใหความรูสึกของ
ความรัก ความเสนหหาบางอยาง ที่เพิ่มมิติทางความรูสึกของความผูกผัน ในรูปแบบของความรัก
ระหวางบุคคลกับบุคคล ดวยการใชสีสม และสีชมพู มาสรางบรรยากาศในผลงาน และใชสีมวงและ
สีฟาในการสรางรูปทรงเพื่อการเนนใหรูปทรงเกิดระยะ และความแตกตางกับสีของบรรยากาศ ดาน
การแฝงนัยยะทางความคิดในผลงานนั้น ขาพเจาใชการบันทึกจากความโศกเศราที่เกิดขึ้น เลา
เรื่องราวของการจากไปเปนภาพความทรงจําของบุคคลที่รักที่หันหลังและเดินจากไป ในขณะที่
ความรูสึกภายในจิตใจ ตอตานความจริงในขณะนั้น สรางปฏิกิริยาดวยการเหนี่ยว ดึงรั้ง ไมอยากให
จากไป ความรูสึกและภาพความทรงจําในชวงเวลานั้น วนเวียนอยูในความคิดและยังสรางสภาวะ
ความผิ ด ปกติ ภ ายในจิ ต ใจ ข า พเจ า จึ ง ใช ก ารเล า เรื่ อ งด ว ยรู ป ทรงมนุ ษ ย ถู ก ตั ด ทอนเพื่ อ สร า ง
59

สัญลักษณใหม เลาเรื่องภาพประสบการณขางตนเพื่อเปนการบันทึกความรูสึกและในขณะเดียวกัน
ยังเปนการเยียวยารักษาสภาวะผิดปกตินี้เพื่อการคนหามุมมองทางความคิดที่ดี ที่สงผลกับการเรียนรู
การรับมือกับความสูญเสียในชีวิตที่เกิดขึ้นอีก

ผลงานชุดกอนศิลปนิพนธระยะที่ 3 ชิ้นที่ 9 ชื่อของผลงานชื่อ “Assembly of Me”


ผลงานชุ ด ก อ นศิ ล ปนิ พ นธ ชิ้ น นี้ ยั ง คงเนื้ อ หาและรู ป แบบเดิ ม ไว เพี ย งแต พั ฒ นาทางด า น
กระบวนการทางเทคนิคภาพพิมพหิน ดวยการสรางพื้นที่ของพื้นผิวที่เกิดจากวัสดุไข และยังใช
พื้น ผิว คราบต าง ๆ มาช วยเพิ่มลายละเอียดของผลงาน การตัดทอนมุมมอง (Perspective) ใหมี
ลักษณะโคงหลุดจากมุมมองของจริง เพื่อสงเสริมความคิดในเนื้อหาของการจินตนาการถึงพื้นที่ทาง
ความรูสึกภายใจจิตใจ เลาเนื้อหาของการพยายามประกอบรูปทรงมนุษย สื่อกลางแทนความรูสึก
ของตนเอง การประกอบตนเองใหส มบู รณ อีก ครั้ ง เพื่ อ สรา งความรูสึ ก ที่ ดีใ หม ขึ้น มาทดแทน
ความรูสึกโศกเศราภายในจิตใจ
60

ภาพที่ 39 ภาพผลงานกอนศิลปนิพนธ ระยะที่ 3


ชื่อผลงาน “deep into my feeling”
เทคนิค ภาพพิมพหิน (Lithograph)
ขนาดของผลงาน 71 X 100 ซม.
ปที่สรางผลงาน พ.ศ.2557
61

ภาพที่ 40 ภาพผลงานกอนศิลปนิพนธ ระยะที่ 3


ชื่อผลงาน “Despond”
เทคนิค ภาพพิมพหิน (Lithograph)
ขนาดของผลงาน 71 X 100 ซม.
ปที่สรางผลงาน พ.ศ.2557
62

ภาพที่ 41 ภาพผลงานกอนศิลปนิพนธ ระยะที่ 3


ชื่อผลงาน “My Love My Life My Feeling
เทคนิค ภาพพิมพหิน (Lithograph)
ขนาดของผลงาน 71 X 100 ซม.
ปที่สรางผลงาน พ.ศ.2557
63

ภาพที่ 42 ภาพผลงานกอนศิลปนิพนธ ระยะที่ 3


ชื่อผลงาน “Assembly of Me”
เทคนิค ภาพพิมพหิน (Lithograph)
ขนาดของผลงาน 71 X 100 ซม.
ปที่สรางผลงาน พ.ศ.2557
64

การสรางสรรคผลงานศิลปนิพนธ (ภาพที่ 43- ภาพที่ 53)

การสรางสรรคผลงานศิลปนิพนธที่ผานกระบวนการทางเทคนิคภาพพิมพหินที่ผานมาทั้ง 3
ระยะนั้น แสดงถึงการมุงเนนในการแสดงออกทางดานอารมณความรูสึก ซึ่งเปนสิ่งที่ศิลปะใน
รูปแบบของ Expression ซึ่งมุงเนนการแสดงออกทางอารมณมากกวาดานกระบวนการทางความคิด
ดวยการแสดงออกเชิงสัญลักษณ และการเนนทางดานอารมณความรูสึกที่ขาพเจาไดนําเสนอผาน
ผลงานภาพพิมพหินที่ผานมานั้น ทําใหเกิดแรงขับเคลื่อนที่จะมุงเนนในการแสดงออกทางดาน
อารมณม ากยิ่งขึ้ น จึง เกิด การทดลองและหาความเป นไปไดในการผสมผสานเทคนิคต าง ๆ ที่
ซับซอนมากยิ่งขึ้น เพื่อสงผลใหกระบวนการแสดงออกนั้น แสดงผลถึงความฉับพลัน ความรุนแรง
และทิ้ ง ฝ แ ปรงในการแสดงออกได ดี ม ากยิ่ ง ขึ้ น การทดลองผสมผสานทางเทคนิ ค ระหว า ง
กระบวนการเทคนิ ค ภาพพิม พ หิ น (Lithograph) และกระบวนการทางเทคนิค ภาพพิ มพรองลึ ก
(Intaglio) เป น การผสมผสานที่ ล งตั ว ระหว า งความเรี ย บแบบในลั ก ษณะของภาพพิ ม พ หิ น
ผสมผสานกับพื้นผิวที่ชัดเจนบนระนาบของภาพพิมพรองลึก สรางมิติใหผลงานของขาพเจามีการ
พั ฒ นาทางด า นกระบวนการทางเทคนิ ค เพิ่ ม มากยิ่ ง ขึ้ น เป า หมายเพื่ อ เพิ่ ม ความชํ า นาญทาง
กระบวนการทางเทคนิค หาความพอดี ความลงตัวระหวางรูปทรง พื้นผิว และพื้นที่วาง เพื่อสราง
ความสมบูรณแบบในผลงาน ทายที่สุดการแสดงออกถึงประสบการณทางความรูสึกสภาวะผิดปกติ
ที่เกิดจากความโศกเศรานี้ ยังเปนการคนหามุมมองทางความรูสึกที่ดี ๆ เพื่อลบลางความรูสึกเสียใจ
เหลานี้ และยังเปนการเชื่อมประสบการณทางความรูสึกกับผูคนที่เคยเศราโศกเสียใจ เพื่อเปน
กําลังใจและตอบสนองถึงการมุงแสดงออกทางดานศิลปะเพื่อขัดเกลาจิตใจ สะทอนใหผูคนที่รูสึก
เศราโศกเสียใจนี้เอง มุงหาหนทางที่จะชวยขัดเกลาจิตใจของตนใหดียิ่งขึ้นและผานประสบการณ
เหลานี้ไปไดดวยดี

การสรางสรรคผลงานศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 1 ชื่อผลงาน “When you leave”


ผลงานศิลปนิพนธชิ้นที่ 1 ขาพเจามุงเนนการแสดงออกทางดานอารมณความรูสึกดวยการ
ผสมผสานเทคนิคทั้งกระบวนการทางเทคนิคภาพพิมพหินและภาพพิมพรองลึก สรางความพิเศษ
จากใชพื้นผิว และความเรียบแบน พื้นที่ของสีจากเทคนิคภาพพิมพหิน ยังสามารถใชในการควบคุม
บรรยากาศ และยังสรางฝแปรงที่รุนแรง และฉับพลัน เพิ่มมิติทางดานอารมณความรูสึกดวยการใช
เทคนิคเฉพาะจัดอยูในกระบวนการของภาพพิมพรองลึกการใชแมพิมพเพลทพลาสวูดนํามาสราง
พื้นผิวรองลึก ดวยการเผาไหม ขูดขีดดวยเหล็กปลายแหลม ใชตูเชื่อมเหล็กมาสรางความรอน ดวย
กระบวนการเชื่อมเหล็ก ที่ปลายธูปเชื่อมนั้นจะเกิดประจุความรอนจากปฏิกิริยาทางไฟฟาที่ ปลอย
65

ออกมาจากตูเชื่อมเหล็กสรางพื้นผิวรองลึกบนแมพิมพเพลทพาสวูด ขั้นตอนของการสรางพื้นผิว
รองลึกนี้ ยังสอดคลองกับจุ ดมุงหมายในการนําเสนอผลงานสรางสรรคที่เ นนทางด านอารมณ
ความรูสึก การเผาไหม ขูดขีดดวยเหล็กปลายแหลม ยังแสดงนัยยะถึงความรูสึกโศกเศราที่สราง
สภาวะผิดปกตินี้เอง สงผลถึงความกดดันอึดอัดทางความรูสึกบางอยา จึงนําแรงผลักดันจากอารมณ
ความรูเหลานี้ เปนแรงบันดาลใจในการแสดงออก ทางดานองคประกอบใชรูปทรงมนุษยที่คลี่คลาย
ดวยการใชฝแปรงและเสนที่รุนแรง แสดงภาษากายในลักษณะการโอบกอด ภายใตบรรยากาศ สีดํา
อมน้ําตาล มีสีที่แทรกอยูในบรรยากาศดวยสีเขียวอมฟา สีของรูปทรงหลักถูกใชสีแดง และสีชมพู
แสดงนัยยะทางอารมณความรูสึกถึงความรักที่มีตอบุคคลอันเปนที่รัก ใบหนาสรางอารมณความหด
หูดวยการใชพื้นผิวของการเผาไหม ทิ้งแววตามที่แสดงถึงความกดดัน ความโศกเศรา เพื่อใหมิติ
ทางดานอารมณความรูสึกของผลงาน สอดคลองกับแนวความคิดในการสรางสรรค

การสรางสรรคผลงานศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 2 “Conversation of Gloomy”


ผลงานศิลปนิพนธชิ้นนี้ ขาพเจาทดลองเทคนิคในการสรางพื้นผิวบนแมพิมพเพลทพาสวูด เพื่อเพิ่ม
ความหลากหลายทางเทคนิค และยังชวยสรางพื้นผิวที่แตกตางกัน ชวยในการศึกษาผลของการสราง
พื้นผิวรองลึก และผลของกระบวนการพิมพเทคนิคภาพพิมพรองลึก เนื่องจากที่ผานมาผลงานถูกใช
กระบวนการทางเทคนิค ภาพพิมพหิน การใช กระบวนการรูป แบบใหมในผลงาน ยอมตอ งใช
ชวงเวลามากขึ้นในการทํางาน และยังตองอาศัยประสบการณและความชํานาญเพิ่มมากขึ้น ทางดาน
องคประกอบขาพเจา เลือกใชองคประกอบที่แสดงมุมภายในหองที่มีหนาตางเล็ก ๆ ที่ถูกเปดออก
เพื่อรับแสงดานนอกเขามา และยังสามารถมองออกไป แสดงนัยยะถึงความหวังที่จะขัดเกลาจิตใจ
ใหพนจากสภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้น รูปทรงมนุษยที่แสดงลักษณะ การพูดคุย สื่อสารบางอยางตอกัน
ซึ่งมีการทับซอนรูปทรงมนุษย อีกคนอยูระหวางกลาง แสดงนัยยะถึงความผูกผันกับบุคคลอันเปนที่
รักที่จากไป ชวงเวลาปจจุบันที่เริ่มตนความสัมพันธกับบุคคลใหม แตความผูกผันของบุคคลเกานั้น
ยังแสดงผลมาจนถึ งปจ จุ บัน สรางความรูสึกกดดัน ความคิด ถึงที่ตองแอบซอนความรูสึกนี้ไ ว
รูปทรงหลักถูกสรางความแตกตางดวยการใชสีภายในรูปทรง เทคนิคถูกใชอยางอิสระใหแสดงผล
เพื่อดึงความพิเศษของพื้นผิว และองคประกอบตาง ๆ สงผลใหรูปทรงหลักที่เกิดขึ้น ถูกคลี่คลาย
อยางอิสระดวยการใชเทคนิคที่สรางความฉับพลันลงบนแมพิมพ การใชการผสมผสานระหวางของ
กระบวนการภาพพิมพนี้ สรางความเขากันไดอยางดี และยังชวยเพิ่มลักษณะเฉพาะทางพื้นผิว
66

การสรางสรรคผลงานศิลปนิพนธ ชิน้ ที่ 3 ชื่อผลงาน “Rain with Sadness”


การสรางสรรคผลงานศิลปนิพนธชิ้นนี้ ถูกสรางความแตกตางดวยการ เปลี่ยนมุมมองใหกวาง
ออกมาจากรูปทรงหลักมาขึ้น เพื่อเนนเนื้อหาของบรรยากาศและพื้นที่วางใหมีความพิเศษที่แตกตาง
กันความแตกตางของผลศิลปนิพนธงานนั้นยังชวยแสดงถึงความคิดในการสรางสรรคผลงานที่
พัฒนาขึ้น เพื่อคนหาสิ่งใหมในแตละชิ้นงานการทดลองและความกลาในการแสดงออกยังเปนสวน
สําคัญ ในการสรางสรรคผลงานชุดศิลปนิพนธนี้ ผลงานศิลปนิพนธชิ้นนี้ยังถูกเนนไปที่เนื้อหาของ
พื้นผิว และเสนที่เกิดจากกระบวนการทางเทคนิคภาพพิมพรองลึกมากกวาชิ้นอื่น ๆ แสดงถึงเสนที่
ฉับพลัน และรุนแรงไดดี ในขณะเดียวกันยังคงแสดงความพิเศษของฝแปรง ในการสรางสรรค
เทคนิคภาพพิมพหิน ใชชุดสีที่ดูหมนหมองในการแสดงออกถึงบรรยากาศที่โศกเศรา มัวหมอง
รูปทรงหลักใชสีที่สวางเพื่อทําใหดูเดนและมุงประเด็นไปที่เนื้อหาของรูปทรงหลักภายในภาพ
บรรยากาศภายในภาพเลาเรื่องราวความรัก ประสบการณที่ผานมาเปนแรงบันดาลใจในการสราง
ผลงาน โดยผลงานศิลปนิพนธในแตละชิ้นนั้น จะมีเรื่องราวที่ถูกใชเปนหัวเรื่องในการเลาเรื่องราวที่
แตกตางกันไป ซึ่งผลงานศิลปนิพนธชิ้นนี้ ขาพเจาใชภาพเหตุการณขณะฝนตกและกําลังหลบฝนอยู
กับคนรัก เปนแรงบันดาลใจที่เกิดจากประสบการณที่ผานมาในการเลาเรื่องราวภายความรักที่
เกิดขึ้นภายในภาพซึ่งการกําหนดเรื่องราวนั้นชวยใหเกิดความแตกตางในการสรางสรรคผลงาน
ศิลปนิพนธในแตละชิ้นงาน

การสรางสรรคผลงานศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 4 ชื่อผลงาน “I’m going black to my space”


การสรางสรรคผลงานศิลปนิพนธชิ้นนี้ ถูกใชลักษณะของพื้นผิว และเสนที่รุนแรงจากกระบวนการ
เทคนิคภาพพิมพรองลึก ผสมผสานกับกระบวนการทางเทคนิคภาพพิมพหิน ซึ่งภายในผลงานชิ้นนี้
ลัก ษณะของฝ แ ปรง และบรรยากาศจากกระบวนการของเทคนิ ค ภาพพิ มพ หิ น ดู จ ะมี อิ ท ธิ พ ล
มากกวาพื้นผิวจากเทคนิคภาพพิมพรองลึก เพื่อใหการแสดงออกในแตละชิ้นงาน มีมิติที่แตกตางกัน
ในเรื่องขององคประกอบในลายละเอียดตาง ๆ ทั้งรูปทรง พื้นผิว และบรรยากาศ ภายในบรรยากาศ
มีการพลักระยะใกลไกล เพื่อสรางมิติลวง ดวยความสดของสีที่ใชภายในรูปทรงหลัก เปนรูปทรงที่
เดนถูกวางอยูตรงกลางของภาพที่สีจะถูกลดความคาความสดของสีนอยกวาที่อยูในบรรยากาศ
ดานหลังของภาพ ชุดสียังแสดงอารมณความรูสึกของความรักที่หมนหมอง ภายในบรรยากาศของ
หอง ที่ดูจะเปนพื้นที่สวนตัวระหวางบุคคล ที่ซึ่งถูกบันทึกประสบการณ และความรูสึกไวมากมาย
นัยยะของมุมมองที่อยูภายในหองยังถูกใชเพื่อเลาเรื่องราวของความรัก รูปทรงที่ถูกคลี่คลายดวยการ
ใชเทคนิคเฉพาะตัว ฝแปรงที่แสดงการผลักระยะ ดวยการวางฝแปรงเคียงกัน สรางเสนที่มีลักษณะ
โคงนําสายตาไปสูประตูที่อยูทางดานหลังของภาพ บรรยากาศไมถูกระบุเวลาและสถานที่หากแต
67

ถูกสรางมิติขึ้นมาใหมจากจินตนาการ เพื่อเปนพื้นที่ ที่แสดงออกถึงความคิดและอารมณความรูสึก


เปนพื้นที่ภายในจิตใจที่ใชในการบันทึกเรื่องราวของความรักระหวางบุคคลกับบุคคล

การสรางสรรคผลงานศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 5 ชื่อผลงาน “When you’re Gone”


การสรางสรรคผลงานศิลปนิพนธชิ้นที่ 5 ขาพเจาเลือกใชรูปทรงมนุษย ซึ่งยูในลักษณะทับซอนกับ
โดยคนที่อยูดานหลังนั่งอยูบนเกาอี้ อีกคนอยูในลักษณะยืนทับอยูดานหนาโดยลักษณะทับซอนกัน
บรรยากาศแสดงมุมมองภายในหอง ซึ่งเลาเรื่องราวถึงประสบการณความรักระหวางบุคคลกับ
บุคคล ภายในหองที่เปนพื้นที่สวนตัว โดยรูปทรงมนุษยนั้นถูกตัดทอนลดลายละเอียดลงไป แตยัง
คงไวในสวนของใบหนาเพื่อแสดงอารมณความรูสึก และรูปทรงที่ทําใหรูสึกทั้งคนที่นั่ง และคนที่
ยืนที่แสดงทาทางภาษากายที่แตกตางกันออกไป บรรยากาศภายในหอง ใชหนาตางที่มีแสงเขามา
ทางดานหลังสุดของภาพ เพื่อเปนนัยยะทางความคิด ถึงความหวังเพื่อคนหามุมมองที่ดีที่ยังคงมีอยู
แมจะอยูในสภาวะผิดปกติทางจิตใจ พื้นผิวที่เกิดจากรองลึกบนแมพิมพเพลทพลาสวูด แสดงผลทั้ง
ในบรรยากาศ และรู ป ทรงหลั ก ที่ เ ป น จุด เดน ภายในภาพ พื้น ดา นหลังที่ อยูดา นหลั ง ของภาพมี
น้ําหนักเขม ราวกับเปนเงามืดภายในหอง น้ําหนักเขาที่พื้นหลังยังชวยผลักใหรูปทรงหลักนั้นถูกคัด
แยกออกจากบรรยากาศ สรางระยะใหเกิดมิติลวงตา ระหวางพื้นหลัง และรูปทรงหลัก ชุดสีถูกใชสี
ดําที่สรางน้ําหนักออน กลาง และเขมเพื่อคลุมบรรยากาศภายในภาพทั้งหมด โดยปลอยใหพื้นที่ของ
สีอื่นแสดงผลบางในลักษณะที่ไมมีสีดําไปลดคาความเปนสีลง เพื่อใหเกิดความหลากหลายทาง
น้ําหนักของสี

การสรางสรรคผลงานศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 6 “Fix you”


การสรางสรรคผลงานศิลปนิพนธชิ้นที่ 6 ภายใตแนวความคิดในการมุงนําเสนอ ขาพเจาเลือก
เปลี่ยนวิธีการ ที่ใชตัดทอนรูปทรงมนุษยในศิลปนิพนธงานแตละชิ้นนั้น ภายในศิลปนิพนธชิ้นนี้
ขาพเจาเลือกใชองคประกอบที่ เปนมุมมองในลักษณะใกลรูปทรงหลักมากขึ้น เพื่อใหเห็นความ
พิ เ ศษของพื้ น ผิ ว ที่ เ ด น ชั ด มากยิ่ ง ขึ้ น พื้ น ผิ ว ที่ เ กิ ด จากการเผาไหม และขู ด ขี ด ลงบนตั ว เพลท
แมพิมพพลาสวูด ในกระบวนการสรางรองรอยเทคนิคภาพพิมพรองลึก นอกจากการแสดงลักษณะ
ของพื้นผิวดังกลาวที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ยังแสดงผลถึงลายละเอียดภายในรูปทรงตาง ๆ ที่เกิดจากการ
ทับซอนกันระหวางสีที่ใชในกระบวนการทางเทคนิคภาพพิมพหิน กับหมึกสีดําที่ใชในการบวนการ
ทางเทคนิคภาพพิมพรองลึก ถูกวางแผนขั้นตอน และกระบวนการอยางมีระบบ หากแตยังปลอยให
ความบังเอิญของเทคนิคที่เกิดจากการทับซอนแสดงผลดวยตัวของเทคนิคเอง เพื่อใหเกิดความอิสระ
68

ในการแสดงออก และยังชวยใหมิติที่สมบูรณของเทคนิคดูมีความเปนธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ความ


เปนธรรมชาติของเทคนิคนี้เอง คือลักษณะพิเศษของกระบวนการทางภาพพิมพ ที่สามารถแสดง
ความพิเศษของเทคนิค ใหเปนจุดสําคัญที่ทําใหผลงานดูมีมิติ และสรางอัตลักษณที่ชัดเจนไดดียิ่งขึ้น

การสรางสรรคผลงานศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 7 ชื่อผลงาน “Rainy afternoon”


การสรางสรรคผลงานศิลปนิพนธชิ้นที่ 7 ขาพเจาไดเพิ่มขนาดของผลงานใหมีขนาดเพิ่มขึ้นหนึ่งเทา
จากที่เ คยสรา งสรรค เพื่ อ แสดงผลถึง ความชํ า นาญในการควบคุ ม ทางดา นเทคนิค ทั้ง สอง
กระบวนการ โดยการเพิ่มขนาดผลงานนั้น ตองใชกระดาษที่ใชสําหรับพิมพผลงานจํานวน 2 แผน
มาวางตอกัน แลวเชื่อมดวยกาวน้ําใสติดกับกระดาษพรูฟเหลือง เปนตัวเชื่อมกระดาษที่ใชพิมพ
ผลงานทั้งสองชิ้น การควบคุมเทคนิคทั้งสองกระบวนการนั้น ใชเวลามากขึ้นและตองยังใชความ
ชํานาญที่เพิ่มมากขึ้นเนื่องจาก การควบคุมเทคนิคในการพิมพผลงานดวย ตองควบคุมทั้งปริมาณสีที่
ใชในการพิมพลงบนผลงานทั้ง 2 ชิ้น การควบคุมพื้นผิว รูปทรง น้ําหนักและพื้นที่วาง ใหทั้งสอง
ดานนั้นเกิดความสมดุลเพื่อจุดประสงคในการเชื่อมระหวางพื้นที่ของผลงานภาพพิมพทั้งสองชิ้น
รอยเชื่ อ มระหว า งรู ป ทรงหลั ก ทั้ ง สองชิ้ น ต อ งให เ กิ ด ความแนบเนี ย นมากที่ สุ ด การเลื อ ก
องคประกอบที่วางแผนในเรื่องของรอยตอของกระดาษที่จะนํามาเชื่อมตอกัน ตองวางแผนไมให
รอยตอนั้นเกิดขึ้นลงบนรูปทรงหลัก ดังนั้นการทํางานในลักษณะตอผลงาน ตองวางภาพตั้งแตการ
ใชภาพรางของผลงาน เพื่อใหการเชื่อมตอผลงานนั้นสงผลเสียกับองคประกอบในผลงานนอยที่สุด
การสรางสรรคผลงานใหมีขนาดใหญนั้น มีขอจํากัดในเรื่องของกระดาษที่ใชพิมพผลงาน ขนาด
ของแทนรองแมพิมพ หากตองการสรางสรรคผลงานในขนาดที่ใหญมากขนาดนี้ จึงจําเปนที่จะตอง
สรางสรรคผลงานมาสองชิ้นใชในการเชื่อมตอผลงานทั้งสองชิ้นเขาดวยกัน จะเห็นไดวาการทํางาน
ภาพพิมพในกระบวนการที่ตองใชกระดาษพิมพผลงานเต็มแผนมาเชื่อมตอกันทั้งสองแผนนั้น
จะตองเพิ่มเติมขั้นตอนและความแนบเนียนในเรื่องของกระบวนการทางเทคนิค อีกทั้งยังตองเพิ่ม
ทักษะทางความคิดในการวางแผนการทํางาน เพื่อลดความเสี่ยง หรือสิ่งที่ควบคุมไมไดที่จะเกิดขึ้น
ในกระบวนการทํางาน ดานองคประกอบในการสรางสรรคผลงานนั้น ใชรูปทรงมนุษยวางอยู
ลักษณะทางดานซาย และขวาทั้งสองดานของภาพถูกใชเสนและแสดงลักษณะของเทคนิคภาพพิมพ
รองลึกใหเห็นเดนชัดมากที่สุดภายในภาพ ลักษณะของพื้นผิว ความนูนของหมึกพิมพ และรองลึกที่
เกิดขึ้นลงบนกระดาษ ชวยสรางมิติทางดานของพื้นผิวเนื่องจากขาพเจามุงนําเสนอความพิเศษใน
การสรางพื้นผิวในผลงานศิลปนิพนธชิ้นนี้ นอกจากรูปทรงหลักและพื้นที่วางในผลงานนั้น ยังมีลาย
ละเอียดเล็ก ๆ ที่เปนลักษณะของดอกไมที่งอกงามในความมืด บรรยากาศถูกควบคุมดวยสีดําเทาทั้ง
ภาพ สรา งอารมณ ค วามรู สึก ถึ ง ความเศรา โศกที่ เ กิด ขึ้ น ภายในจิต ใจสีที่เ กิด ขึ้ น ถูก ควบคุ มด ว ย
69

กระบวนการทางเทคนิคภาพพิมพหิน ที่ใชเทคนิคภาพพิมพหินนั้นมาสรางบรรยากาศของสีภายใน
ภาพ

การสรางสรรคผลงานศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 8 ชื่อผลงาน “I’m not here


,I’m not here.”
ผลงานศิ ล ปนิ พ นธ ชิ้ น ที่ 8 ข า พเจา เนน การแสดงทางดา นชุ ด สี แ ละบรรยากาศ ภายในผลงาน
สรางสรรคบรรยากาศ ดวยชุดสีที่สามารถสรางระยะใหเกิดมิติภายในภาพ และการสรางบรรยากาศ
ที่ไมมีอยูในความเปนจริง บรรยากาศที่เกิดขึ้นมีแรงกระตุนขับเคลื่อนจากสภาวะผิดปกติในจิตใจ
ด า นหลังสุ ด ของภาพใช สีชมพู ออน แสดงลั ก ษณะของฝนที่กําลัง ตกอยูดานนอกของพื้ น ที่ ซึ่ ง
ลักษณะเหมือนเปนชองหนาตางที่มองออกไปเห็นบรรยากาศดานนอกหอง ฝนสีชมพูดที่ถูกลดคา
ของสีลงดวยสีดํา ลักษณะของพื้นผิวที่เกิดจากการใชไขมันสัตว จากกระบวนการทางเทคนิคภาพ
พิมพหิน กําแพงของหองใชสีเทากลางสรางพื้นผิวเล็กเล็กนอยเนื่องจากอยูในบรรยากาศดานหลัง
ของภาพ รูปทรงหลักถูกวางอยูกลางภาพ การวางรูปทรงมนุษยที่ทับซอนกันอยูตรงกลางภาพ ใน
ลักษณะทาทางการยืน ภาพในหองยังมีแจกันดอกไมสีดํา ที่ดูลักษณะเหมือนดอกไมที่แหงเหี่ยว พื้น
ของหองถูกใชดวยสีแดงสด และทับซอนดวยพื้นผิวที่เกิดจากการสีพลาสติกกึ่งเงาที่แสดงออกถึง
พื้นผิวหยาบ ครุคระ ราวกับเปนกอนหินที่กําลังจะแตกออกจากกัน นัยยะทางความคิดภายในภาพ
แสดงถึงบทสนทนาของความรักที่เกิดขึ้นระหวางบุคคลทั้งสามคน ภายในภาพ ซึ่งมีแรงบันดาลใจ
จากประสบการณจริงที่เกิดขึ้นกับตัวขาพเจา

การสรางสรรคผลงานศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 9 ชื่อผลงาน “I used to live with my lover”


ผลงานศิลปนิพนธชิ้นที่ 9 แสดงออกดวยการเลือกใชบรรยากาศ ที่นําเสนอมุมมองพื้นภายในหองที่
ดานหลังเต็มไปดวยรากไม ตนไมแหงที่ไมมีใบไมแมแตใบเดียว แสดง ใชสีของบรรยากาศดวยชุด
สีฟาออน น้ําตาล และดํา เนื้อหาถูกมุงเนนทางดานบรรยากาศ มากกวาเนื้อหาทางรูปทรงหรือ
ความคิด นอกจากนั้นยังแสดงออกถึงความพิเศษของพื้นผิวทั้งในตัวของบรรยากาศ และรูปหลัก
รูป ทรงวงรี ที่อ ยูท างด า นซ าย ดู ร าวกั บเป น กระถางตน ไมทีมี ต อไวเ หลือทิ้ง ไว พื้น ที่ สีข าวของ
กระดาษพิมพผลงาน ถูกกั้นเหลือไวเปนรูปทรงตนไม ใชลักษณะมิติของความเรียบแบน จัดวางให
เกิดการกระจายอยูภายในบรรยากาศดานหลัง รูปทรงหลักเปนลักษณะของรูปทรงมนุษยแสดง
ทาทางการโอบกอดกัน เพื่อแสดงอารมณที่สอดคลองกับสภาวะผิดปกติทางจิตใจที่เกิดขึ้น ภายใน
รูปทรงหลักแสดงลักษณะของเสนที่รุนแรง ทิ้งรองรอยและฝแปรงไวชัดเจน พื้นที่วางที่เปนพื้น
หองถูกใชดวยลักษณะของความเรียบแบบ ซึ่งความเรียบแบนคือหนึ่งในเนื้อหาที่ขาพเจาเลือกที่ใช
70

เพื่อใชลักษณะของความขัดแยงระหวางพื้นผิวกับความเรียบแบน และยังชวยสงเสริมเพื่อความ
หลากหลายในเทคนิคที่ใชในการสรางสรรคผลงาน

การสรางสรรคผลงานศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 10 ชื่อผลงาน “Lover”


การสรางสรรคผลงานศิลปนิพนธชิ้นที่ 10 ขาพเจามุงนําเสนอความพิเศษของกระบวรการทาง
เทคนิคภาพพิมพรองลึกดวยโทนขาวดํา จากการสรางสรรคผลงานชุดศิลปนิพนธที่ผานมา ขาพเจา
ได เ รี ย นรู ถึ ง ความพิ เ ศษของกระบวนการสร า งสรรค ผ า นเทคนิ ค ภาพพิ ม พ ร อ งลึ ก ที่ มี ค วาม
หลากหลายทั้งการ เผาไหมเพื่อสรางรองรอย การขูดขีด การขัดออก และการเพิ่มขึ้นดวยเนื้อสี
พลาสติกกึ่งเงา ในลักษณะนูนต่ําขึ้นมาจากแมพิมพพลาสวูด เพื่อสรางรองรอยใหสีหมึกพิมพที่ใช
อุดลงบนเพลทแมพิ มพ สามารถอุดลงไปตามรองรอยที่ เกิดขึ้นบนหนาเพลทแมพิมพพลาสวูด
ทางดานองคประกอบ ขาพเจาใชรูปทรงใบหนาของผูหญิง คลี่คลายดวยการใชพื้นผิวที่หลากหลาย
ลักษณะ เสนที่รุนแรง และน้ําหนักที่เขมมากที่สุดภายในภาพ ถูกใชอยูภายในรูปทรงหลักเพื่อสราง
ความเดนชัดใหกับรูปทรงที่เปนจุดเดนภายในภาพ ภายในภาพนั้นแสดงออกถึงนัยยะทางความคิด
การบันทึกความทรงจําที่คิดถึงภาพบุคคลอันเปนที่รักที่จากไป

การสรางสรรคผลงานศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 11 ชื่อผลงาน “Overcast on me”


ผลงานศิลปนิพนธชิ้นที่ 11 ถูกสรางสรรคดวยเทคนิคภาพพิมพรองลึก ที่แสดงถึงภาพรูปทรงมนุษย
ที่เปนสัญลักษณแทนความรูสึกโศกเศราของตนเอง แสดงการบันทึกความรูสึกของตนเองดวย
กระบวนการทางเทคนิคภาพพิมพรองลึก โดยไมอาศัยภาพราง เขียนอยางฉับพลันลงบนเพลท
แมพิมพวัสดุ เพื่อแสดงถึงการแสดงออกที่อิสระทางรูปทรง และลายละเอียดตางในการเพิ่มเติมลง
ไปในผลงาน ใบหนาของรูปทรงหลักถูกใชดวงตาที่แสดงลักษณะของน้ําตาที่กําลังไหล ดานลาง
ของภาพใชดอกไมสีดํา เพื่อเพิ่มเติมลายละเอียดในผลงาน ใชน้ําหนักที่เขมที่สุดภายในภาพ ผลัก
ระยะระหวางรูปทรงและบรรยากาศภายในภาพ
71

ภาพที่ 43 ภาพผลงานศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 1


ชื่อผลงาน “When you leave”
เทคนิค ภาพพิมพหิน และภาพพิมพรองลึก (Lithograph and Intaglio)
ขนาดของผลงาน 71 X 100 ซม.
ปที่สรางผลงาน พ.ศ.2558
72

ภาพที่ 44 ภาพผลงานศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 2


ชื่อผลงาน “Conversation of gloomy”
เทคนิค ภาพพิมพหิน และภาพพิมพรองลึก (Lithograph and Intaglio)
ขนาดของผลงาน 100 X 139 ซม.
ปที่สรางผลงาน พ.ศ.2558
73

ภาพที่ 45 ภาพผลงานศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 3


ชื่อผลงาน “Rain with sadness”
เทคนิค ภาพพิมพหิน และภาพพิมพรองลึก (Lithograph and Intaglio)
ขนาดของผลงาน 71 X 100 ซม.
ปที่สรางผลงาน พ.ศ.2558
74

ภาพที่ 46 ภาพผลงานศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 5


ชื่อผลงาน “I’m going black to my space”
เทคนิค ภาพพิมพหิน และภาพพิมพรองลึก (Lithograph and Intaglio)
ขนาดของผลงาน 71 X 100 ซม.
ปที่สรางผลงาน พ.ศ.2558
75

ภาพที่ 47 ภาพผลงานศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 5


ชื่อผลงาน “When you’re gone”
เทคนิค ภาพพิมพหิน และภาพพิมพรองลึก (Lithograph and Intaglio)
ขนาดของผลงาน 71 X 100 ซม.
ปที่สรางผลงาน พ.ศ.2558
76

ภาพที่ 48 ภาพผลงานศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 6


ชื่อผลงาน “Fix me”
เทคนิค ภาพพิมพหิน และภาพพิมพรองลึก (Lithograph and Intaglio)
ขนาดของผลงาน 71 X 100 ซม.
ปที่สรางผลงาน พ.ศ.2558
77

ภาพที่ 49 ภาพผลงานศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 7


ชื่อผลงาน “Rainy afternoon”
เทคนิค ภาพพิมพหิน และภาพพิมพรองลึก (Lithograph and Intaglio)
ขนาดของผลงาน 100 X 140 ซม.
ปที่สรางผลงาน พ.ศ.2559
78

ภาพที่ 50 ภาพผลงานศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 8


ชื่อผลงาน “I’m not here,I’m not here”
เทคนิค ภาพพิมพหิน และภาพพิมพรองลึก (Lithograph and Intaglio)
ขนาดของผลงาน 71 X 100 ซม.
ปที่สรางผลงาน พ.ศ.2559
79

ภาพที่ 51 ภาพผลงานศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 9


ชื่อผลงาน “I used to live with my lover”
เทคนิค ภาพพิมพหิน และภาพพิมพรองลึก (Lithograph and Intaglio)
ขนาดของผลงาน 71 X 100 ซม.
ปที่สรางผลงาน พ.ศ.2559
80

ภาพที่ 52 ภาพผลงานศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 10


ชื่อผลงาน “Lover”
เทคนิค ภาพพิมพรองลึก (Intaglio)
ขนาดของผลงาน 71 X 100 ซม.
ปที่สรางผลงาน พ.ศ.2559
81

ภาพที่ 53 ภาพผลงานศิลปนิพนธ ชิ้นที่ 11


ชื่อผลงาน “Overcast on me”
เทคนิค ภาพพิมพรองลึก (Intaglio)
ขนาดของผลงาน 71 X 100 ซม.
ปที่สรางผลงาน พ.ศ.2559
82

บทที่ 5

บทสรุป

จากผลงานที่ขาพเจาไดสรางสรรคในชื่อหัวขอศิลปนิพนธ “ความรัก ความเศรา ความ


สะเทือนใจ” โดยผานกระบวนการคิดวิเคราะหเพื่อการพัฒนาตนเองดวยการมุงเนนการแสดงออก
ทางดานอารมณเพื่อปลดปลอยความรูสึกจากสภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้น นําไปสูการขัดเกลาจิตใจของ
ตนเองดวยการแสดงออกทางอารมณความรูสึกเอง หากความออนแอที่เกิดขึ้นนั้นทําใหเรามอง
ยอนกลับมาดวยความคิดถึงประสบการณ หรือเรื่องราวความรักตาง ๆ ที่เกิดขึ้นสงผลตอจิตใจและ
สรางสภาวะผิดปกติทําใหเกิดอารมณความรูสึกโศกเศราไดนั้น ในความโศกเศรานี้เองกลับยิ่งทําให
เกิด ความแข็ ง แกรง ทางจิ ต ใจมากขึ้น เช น กั น ดว ยการที่เ ผชิ ญ กับ เรื่ อ งราวความโศกเศร านํ า ไป
แสดงออกผานทางผลงานศิลปะภาพพิมพนี้เองเปนการตอกย้ําความรูสึกโศกเศราเหลานี้ดวยการ
เปลี่ยนมุมมองจากความโศกเศรานั้น สรางมิติทางความงามผานกระบวนการศิลปะไดอยางไร การ
หาคําตอบดวยการใชแรงบันดาลใจจากความรูสึกภายในนี้เอง ยิ่งเปนการขัดเกลาจิตใจของตนเอง
เพื่อการรักษาสภาวะผิดปกนี้ใหดียิ่งขึ้น
ความโศกเศรา ความเสียใจที่เกิดขึ้นเปนเพียงสวนหนึ่งในชีวิตที่มนุษยทุกคนตองรับมือกับ
ประสบการณเหลานี้ที่เกิดขึ้นกับตนเอง บางคนมีวิธีการที่จะหลุดพนจากสภาวะนี้ที่แตกตางกัน
ออกไป สําหรับขาพเจานักศึกษาศิลปะเองนั้น ขาพเจาจึงเลือกใชวิธีการที่เปนตัวเองมากที่สุด คือ
การใชศิลปะนี้เองมาเปนภาษาพูดทางอารมณดวยการแสดงออกผานทางภาพ ภาษากายของมนุษยที่
ยังคงสรางมิติทางความงามเพื่อเปนการย้ําเตือนตนเอง ในความโศกเศรา เสียใจที่เกิดขึ้นเปนเพียง
ประสบการณที่ผานเขามาในชีวิต หามุมมองที่ดีจากความโศกเศรานี้เปลี่ยนเปนเรื่องดี ๆ ที่สราง
ความงามตอจิตใจดีกวาจมปลักอยูกับความรูสึกหดหูกับตนเอง แมความงามในความโศกเศรา
เหลานี้นอยคนนักที่จะมองเห็นมัน แตมันคือความงามที่ถูกสรางสรรคจากความจริงใจตอศิลปะ
เพื่อใหตนเองนั้นไดคนหาความหมายของชีวิตที่ดี เพื่อลบลางความรูสึกที่เสียใจออกไปและแข็งแรง
พอที่จะผานประสบการณความสูญเสียไปไดอีกไมวาจะเกิดขึ้นอีกที่ครั้งก็ตาม

82
83

บรรณานุกรม
ภาษาไทย

กัญญา เจริญศุภกุล. ภาพพิมพหิน LITHOGRAPH กรุงเทพ:สํานักพิมพ อมรินทร พริ้นติ้ง


กรุฟ,2550
อํานาจคงวารี. บทสนทนาระหวางฉันกับความปรารถนาที่กําหนดโดยสังคม,(คณะจิตรกรรม
ประติมากรรมและภาพพิมพ มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ.2558)
สําเนียงเสนาะ วารสารวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีทิพยสุดา คณะพยาบาลศาสตร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ศูนยรังสิตตําบลคลองหนึ่ง

เว็บไซต

www.librarianmagazine.com, จิตวิทยากับความรัก (psychology and love). เขาถึงเมื่อ 15 กันยายน


2558. เขาถึงไดจากhttp://librarianmagazine.com/VOL2/NO6/psychology_love.htm#_ftn4

http://www.bloggang.com/ ศิลปะลัทธิ Ne-expression. เขาถึงไดจาก


http://www.gagosian.com/artists/georg-baselitz
84

รายชื่อผลงานศิลปนิพนธ

ชื่อผลงาน ขนาด เทคนิค ปที่สรางผลงาน

“When you leave” 71 x 100 ซม. ภาพพิมพหินและภาพพิมพรองลึก 2558

“Conversation of gloomy” 100 x 139 ซม. ภาพพิมพหินและภาพพิมพรองลึก 2558

“Rain with sadness” 71 x 100 ซม. ภาพพิมพหินและภาพพิมพรองลึก 2558

“I’m going black to my space” 71 x 100 ซม. ภาพพิมพหินและภาพพิมพรองลึก 2558

“When you’re gone” 71 x 100 ซม. ภาพพิมพหินและภาพพิมพรองลึก 2558

“Fix me” 71 x 100 ซม. ภาพพิมพหินและภาพพิมพรองลึก 2558

“Rainy afternoon” 100 x 140 ซม. ภาพพิมพหินและภาพพิมพรองลึก 2559

“I’m not here,I’m not here” 71 x 100 ซม. ภาพพิมพหินและภาพพิมพรองลึก 2559

“I used to live with my lover” 71 x 100 ซม. ภาพพิมพหินและภาพพิมพรองลึก 2559

“Lover” 71 x 100 ซม. ภาพพิมพหินและภาพพิมพรองลึก 2559

“Overcast on me” 71 x 100 ซม. ภาพพิมพหินและภาพพิมพรองลึก 2559


85

ประวัติผูวิจัย

ชื่อ – นามสกุล นายไซยนุดดีน กูนิง


วัน เดือน ปเกิด 28 ธันวาคม 2534
ที่อยูปจจุบัน 10/85 หมูที่ 9 ซอย คลองลําเจียก 12 หมูบานสวนทิพย ซอย16 ถนน คลองลําเจียก
แขวง คลองกุม เขต บึงกุม จังหวัด กรุงเทพมหานคร 10230
โทรศัพท 099-149-1865
Email deenhandsome@hotmail.com

ประวัติการศึกษา
2550 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร
2554 ศิลปบัณฑิตสาขาวิชาภาพพิมพ คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ
คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ประสบการณ
พ.ศ.2557 work shop ภาพพิมพสีน้ําในโครงการ Print for you ครั้งที่ 3
ณ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพมหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ.2558 ผูชวยสอนในรายวิชาพืน้ ฐานของภาพพิมพ
คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพมหาวิทยาลัยศิลปากร

ประวัติการแสดงผลงาน
พ.ศ.2555
- นิทรรศการ 10 steps Fundamental art,
คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ

พ.ศ.2556
- นิทรรศการ SEA AIR LAND นิทรรศการศิลปะทิวทัศนของนักศึกษาชั้นปที่ 2
คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ รุนที่ 68
- Creative Exhibition by students of Psg.Su.
86

พ.ศ.2557
- นิทรรศการ Print in Angkor Wat 2014 โครงการศึกษาประวัติศาสตรและ
อนุรักษสิ่งแวดลอม เพื่อการสรางศิลปะภาพพิมพเนื่องในโอกาส เนื่องใน
โอกาสครบรอบ 48 ของภาควิชาภาพพิมพมหาวิทยาลัยศิลปากร
- รวมแสดง Cubic Museum Art Exhibition exchange between Aichi University
of The Art Japan and Silpakorn University Thailand

พ.ศ.2558
- รวมแสดงนิทรรศการงานศิลปกรรมรวมสมัยของศิลปนรุนเยาว ครั้งที่ 32
- รวมแสดงนิทรรศการ “PARP-PIM” Mini Print Project 2015

พ.ศ.2559
- รวมแสดงนิทรรศการศิลปะกับกลุมศิลปน Rock Around Asia
- รวมแสดงนิทรรศการ 1 st International Print Biennial Lodz Prints, Poland
- รวมแสดงนิทรรศการ The International Bicnnial Print Exhibit: 2016
ROC. ณ ประเทศ ไตหวัน

You might also like