You are on page 1of 10

ล่องหน : อิทธิพลจากต่ างประเทศในหัสนิยาย พล นิกร กิมหงวน

ภูมิหลัง
การทำสิ่ งที่เป็ นไปไม่ได้ให้เป็ นไปได้ เป็ นวิธีการที่ใช้ในการสร้างวรรณกรรมตั้งแต่สมัยอดีต เนื่องจาก
มนุษย์ตอ้ งการระบายจินตนาการของตนเองที่ไม่สามารถทำได้ในโลกแห่งความจริ ง ดังนั้น งานเขียนหรื อ
เรื่ องเล่าจึงมักจะสอดแทรกสิ่ งที่เป็ นไม่ได้หรื อสิ่ งมหัศจรรย์เอาไว้ดว้ ย ไม่วา่ จะตั้งอยูใ่ นหลักความเป็ นจริ ง
หรื อไม่กต็ าม
ไม่วา่ ชาติไทย ชวา อินเดีย ตะวันออกกลาง หรื อชาติตะวันตก ความมหัศจรรย์อนั เป็ นไปไม่ได้ในความจริ ง
ก็มีปรากฏในวรรณกรรมในลักษณะคล้ายๆ กัน ไม่วา่ จะเป็ น การเสกสลาเหิ นไปหาพระลอในลิลิตพระลอ
การใช้เวทมนต์บนั ดาลให้ลมหอบรถบุษบาในอิเหนา การใช้คาถาสาปผูก้ ระทำผิดของพระผูเ้ ป็ นเจ้าในเทว
ตำนานของอินเดีย หรื อการเสกชุดสวยงามให้นางเอกใส่ ไปงานเต้นรำในซิ นเดอเรลล่า ฯลฯ เรื่ องมหัศจรรย์
เหล่านี้แสดงให้เห็นจินตนาการของมนุษย์ ที่ทา้ ทายต่อความเป็ นไปทางธรรมชาติ เพื่อต้องการเปลี่ยนแปลง
อะไรบางอย่าง แต่ในเมื่อไม่สามารถแสดงออกได้ในความจริ ง จึงแสดงออกมาผ่านวรรณกรรม เรื่ องเล่า และ
ตำนาน
การล่องหน หรื อ กำบังกาย ก็เป็ นความมหัศจรรย์ประการหนึ่งที่ยงั ไม่สามารถเกิดขึ้นหรื อหาคำตอบได้ใน
โลกแห่งความจริ ง แต่ในวงวรรณกรรมกลับสร้างความบันเทิงให้กบั ผูอ้ ่านมานักต่อนัก เพราะผูอ้ ่านจะรู ้สึก
ตื่นตะลึงเมื่อตัวละครหรื อสิ่ งใดเกิดหายไปอย่างลึกลับ หรื อรู ้สึกสยองขวัญในบางช่วง เช่น ประตูเปิ ดปิ ดเอง
ได้โดยไม่มีใครเข้ามา หรื อรถยนต์สามารถแล่นได้โดยไม่มีคนขับ
ในวงวรรณกรรมของไทย พบว่ามีเรื่ องเกี่ยวกับล่องหนไม่ค่อยมาก ถ้าเทียบกับอิทธิ ปาฏิหาริ ยห์ รื อสิ่ ง
มหัศจรรย์แบบอื่นๆ และปรากฏว่ามีการรับอิทธิ พลทางด้านแนวคิดการล่องหนจากตะวันตก มาใช้ใน
วรรณกรรม เห็นได้ชดั เจนจากหัสนิยาย พล นิกร กิมหงวน ของ ป. อินทรปาลิต ที่ปรับเปลี่ยนภาพการ
ล่องหนแบบเดิมๆ ที่ข้ ึนอยูก่ บั เวทมนต์คาถาหรื อสิ่ งมหัศจรรย์ เป็ นกลวิธีทางวิทยาศาสตร์
ในบทความนี้ ผูศ้ ึกษาจึงหาที่มาทางด้านแนวคิดเรื่ อง ล่องหน ในหัสนิยาย พล นิกร กิมหงวน ว่า ป. อินทร
ปาลิต ได้รับแนวคิดทฤษฎีมาจากแหล่งใด รวมทั้งศึกษาภาพสะท้อนและผลของการรับอิทธิ พลที่ปรากฏใน
เรื่ อง ว่าสะท้อนอะไรให้ผอู้ า่ น สอดแทรกแนวคิดอะไรนอกเหนือไปจากแนวคิดวิทยาศาสตร์ หรื อต้องการ
จะแสดงความเป็ นกบฏทางวัฒนธรรมหรื อเสี ยดสี เหน็บแนมสังคมไทยอย่างไร
ล่ องหน คืออะไร?
ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายของคำว่า ล่องหน ไว้วา่
ก. หายตัวไปโดยเวทมนตร์ , มักใช้เข้าคู่กบั คำว่า หายตัว เป็ น ล่องหนหายตัว คือ ไม่ปรากฏให้เห็นตัว, โดย
ปริ ยายหมายความว่า หายไปโดยไม่มีร่องรอย เช่น กระเป๋ าสตางค์บนโต๊ะล่องหนไปแล้ว.
(ราชบัณฑิตยสภา, ๒๕๕๕)
ในพจนานุกรมได้ระบุความหมายโดยปริ ยายหรื อความหมายโดยทัว่ ไปไว้วา่ หายไปโดยไม่ได้ทิ้งร่ องรอย
โดยไม่เจาะจงว่าเป็ นคนหรื อสิ่ งของ ตรงนี้ผศู้ ึกษามองว่าน่าจะพูดเป็ นสำนวน โดยเอาลักษณะล่องหนของ
คนที่สามารถหายตัวได้มาเปรี ยบเทียบ ซึ่ งอาจจะร่ วมถึงคนในความหมายที่วา่ หายตัวไป ไม่อยูท่ ี่นนั่ เช่น อยู่
ดีๆ ตาคนนี้กล็ ่องหนไปเสี ยแล้ว ไม่ค่อยอยูบ่ า้ นอยูช่ ่อง
ในการศึกษาครั้งนี้ ผูศ้ ึกษามองว่า ล่องหน ในวรรณกรรม น่าจะเป็ นตามความหมายแรก คือ หายตัวไปโดย
เวทมนตร์คาถาหรื อสิ่ งมหัศจรรย์วิเศษที่อยูเ่ หนือวิสยั ในโลกแห่งความจริ ง เป็ นความหมายโดยตรงของคำๆ
นี้
และในการศึกษา จะใช้ศึกษาเฉพาะการล่องหนของร่ างกายสิ่ งมีชีวิต คือมนุษย์เป็ นหลัก
ล่ องหน ใน วรรณคดีไทย
งานศึกษาชิ้นนี้ ถึงแม้จะศึกษาการล่องหนในหัสนิยาย พล นิกร กิมหงวน ซึ่ งได้รับอิทธิ พลจากต่างประเทศ
ทางตะวันตก แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในวรรณคดีไทยก่อนที่จะมีการรับอิทธิ พลจากตะวันตก ก็มีการปรากฎ
ลักษณะล่องหนหายตัวเช่นกัน
ในวรรณคดีที่ไทยรู้จกั ดีอย่าง รามเกียรติ์ มีลกั ษณะของการล่องหน ใช้เป็ นกลศึกของฝ่ ายตรงข้ามพระราม
นัน่ คือ ในตอน ศึกไมยราพ ซึ่ งเป็ นตอนที่คนไทยชื่นชอบ และนิยมนำมาแสดงโขนกันแพร่ หลาย เพราะมี
เนื้อหาสนุกตื่นเต้น และเป็ นสงครามทางไหวพริ บ สติปัญญา มิใช่การรบพุง่ เพื่อเสี ยเลือดเนื้ อทหารไพร่ ราบ
อย่างในตอนยกรบ
ไมยราพ เป็ นเจ้าเมืองบาดาล และเป็ นญาติกบั ทศกัณฐ์ แห่งกรุ งลงกา ทศกัณฐ์ได้เชิญไมยราพมาช่วยรบกับ
พระราม ไมยราพได้ประกอบพิธีปรุ งยาขึ้นมาใช้สะกดทัพ เพื่อจะลักตัวพระรามไปยังกรุ งบาดาล ไปขังไว้รอ
การประหาร
ยาที่ปรุ งนี้ แม้จุดหมายหลักจะใช้เป็ นยาสะกดให้หลับใหล แต่กม็ ีคุณสมบัติพิเศษ คือ ทาที่ตวั จะทำให้
หายตัวได้ ก็คือการล่องหนร่ างกายนัน่ เอง
ดังบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ที่นิยมใช้แสดงละครในไว้
ว่า
ครั้ นทำสำเร็จเสร็ จสรรพ ตามตำหรั บรู้ หลักของยักษา
กำเริ บจิตคิดคะนองลองยา ขยีท้ าเนือ้ ตัวทั่วไป
เดชะพระเวทวิเศษขลัง ก็ก ำบังรู ปกายหายได้
แกล้ งนั่งดูหมู่พหลพลไกร ใครจะว่ าอย่ างไรถึงไพร่ นาย
(พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒, หน้า ๑๔๗)
คำว่า กำบังรู ปกายหาย นั้น เทียบได้กบั ล่องหน นัน่ เอง คือ ร่ างกายของไมยราพเมื่อถูกทายาไปทัว่ แล้ว ก็
สามารถทำให้ผอู้ ื่นมองไม่เห็นตน
ผลของการทดลองยาของไมยราพในครั้งนั้น สร้างความตื่นตะลึงให้กบั บริ วารอย่างมาก เพราะอยูๆ่ ไมยรา
พก็หายตัวไปอย่างลึกลับ ต่างถามไถ่พวกพ้องกัน วุน่ วายทัว่ ทั้งโรงพิธี ดังบทต่อมา
บัดนั้น อสุรศักดิ์ยกั ษ์ มารทั้งหลาย
ที่ล้อมวงระวังนั่งราย ไม่ เห็นนายตกใจกระไรเลย
เที่ยวถามกันสับสนอลหม่ าน พระยามารหนีไปข้ างไหนเหวย
จะเล่ นข้ าท่ าไรยังไม่ เคย ต่ างก้ มเงยแหงนชะแง้ แลไป
(พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒, หน้า ๑๔๗)
อย่างไรก็ดี ข้อค้นพบที่ยกมานี้ ยังอยูใ่ นลักษณะการล่องหนแบบเดิม คือ ใช้อ ำนาจวิเศษมากระทำให้
ร่ างกายล่องหนหายตัวได้ ยังหาข้อพิสูจน์ทางข้อเท็จจริ งหรื อเหตุผลทางธรรมชาติมาอธิ บายประกอบไม่ได้
ไม่เหมือนในยุคหลังๆ ที่วิทยาศาสตร์เริ่ มมีอิทธิ พลในการอธิ บายปรากฏการณ์น้ี ดังจะกล่าวในบทต่อๆ ไป
อิทธิพลภาพยนตร์ ที่มีต่อ พล นิกร กิมหงวน
ก่อนอื่น จะกล่าวโดยกว้างๆ ก่อนว่า ช่วงสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็ นต้นมา ไทยเราเริ่ มรู ้จกั ภาพยนตร์ซ่ ึ งเป็ นสิ่ ง
ประดิษฐ์จากตะวันตก ยิง่ เมื่อสร้างโรงภาพยนตร์เฉลิมกรุ งแล้วเสร็ จใน พ.ศ.๒๔๗๖ ภาพยนตร์กก็ ลายเป็ น
มหรสพสำคัญอีกประเภทของคนไทย
อิทธิ พลจากต่างประเทศที่เห็นได้ชดั จากสื่ อนี้ คือ มีการนำภาพยนตร์ต่างประเทศเข้ามาฉายในประเทศไทย
มากขึ้น ซึ่ งสร้างความตื่นตาตื่นใจให้คนไทยเป็ นอย่างมาก เนื่องจากเป็ นสิ่ งแปลกใหม่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
รวมถึงการดำเนินเรื่ องที่กระชับ ตื่นเต้น ทำให้ภาพยนตร์เป็ นที่นิยมของประชาชนอย่างรวดเร็ ว
ภาพยนตร์น้ นั จะว่าไปแล้ว ก็คือสื่ อกลางระหว่างวรรณกรรมกับวรรณกรรม เนื่องจากเมื่อจะสร้าง
ภาพยนตร์ ก็ตอ้ งอาศัยตัวบทวรรณกรรม โดยนำมาแสดงให้เห็นเป็ นรู ปธรรม เช่นเดียวกับละครโทรทัศน์ ใน
ส่ วนของการสร้างวรรณกรรมนั้น ส่ วนใหญ่จะอยูใ่ นรู ปแบบของแรงบันดาลใจ หรื อยัว่ ล้อเหตุการณ์ใน
ภาพยนตร์
ป. อินทรปาลิต เป็ นนักเขียนคนหนึ่งที่ผกู พันกับภาพยนตร์มายาวนาน เพราะภาพยนตร์เป็ นทั้งเครื่ อง
บันเทิงเริ งรมย์ ผ่อนคลายความตึงเครี ยดจากหน้าที่การงาน เป็ นวัตถุดิบในงานเขียน และเป็ นเครื่ องมือ
ประกอบอาชีพสำรอง ในเรื่ องหลังนี้ สื บเนื่องมาจากยุคสงครามโลกครั้งที่ ๒ เกิดวิกฤตเศรษฐกิจอย่าง
รุ นแรง กระดาษราคาแพงเป็ นประวัติการณ์ ส่ งผลให้วงการนักเขียนได้รับผลกระทบอย่างมาก ป. อินทรปา
ลิต ก็เป็ นหนึ่งในผูป้ ระสบผลกระทบนี้ เขาจึงพักงานเขียนมาพากย์ภาพยนตร์เร่ ร่อนตามที่ต่างๆ หารายได้
ถ้ากล่าวถึงความสัมพันธ์ที่ชดั เจนที่สุดระหว่างภาพยนตร์กบั ป. อินทรปาลิต ก็เห็นจะเป็ นในงานเขียน โดย
เฉพาะหัสนิยาย พล นิกร กิมหงวน ป. อินทรปาลิตมักจะนำภาพยนตร์มาสร้างงานเขียนเรื่ องนี้ อยูห่ ลายตอน
ด้วยกัน รวมทั้งเรื่ องของล่องหนด้วยซึ่ งจะกล่าวต่อไป
ทีม่ าของ ล่ องหน ใน พล นิกร กิมหงวน
ในบทแรกของ ล่องหน ซึ่ งเขียนขึ้นใน พ.ศ.๒๔๘๓ ได้ระบุเหตุการณ์อนั เป็ นที่มาของล่องหนในเรื่ องไว้วา่
เมื่อคืนนี ้ อาเสี่ ยกิมหงวนของเรานอนไม่ หลับตลอดคืน
สาเหตุกค็ ือว่ า เขาพานวลลออไปดูภาพยนตร์ ที่โอเดียนเรื่ อง ‘ล่ องหนคืนร่ าง’
ภาพยนตร์ เรื่ องนั้นแสดงความสามารถของนายแพทย์ หนุ่มชาวอังกฤษคนหนึ่ง
ซึ่ งคิดค้ นยาฉี ดขนานหนึ่งได้
ยาของเขาเมื่อฉี ดเข้ าไปใต้ ผิวหนังของคนหรื อสั ตว์ แล้ ว
จะทำให้ เซลล์ ต่างๆ ในร่ างกายเปลี่ยนแปลงเป็ นวัตถุโปร่ งแสง กลืนกับสี ของอากาศมองไม่ เห็น
นายแพทย์ ผ้ นู ั้นได้ ช่วยเหลือเพื่อนเกลอของเขาซึ่ งเป็ นนักโทษ
ให้ ล่องหนออกมาจากคุกได้
เรื่ อง ‘ล่ องหนคืนร่ าง’ เป็ นเรื่ องตื่นเต้ นมหั ศจรรย์ แกมขบขัน
ตัว ‘ล่ องหน’ ได้ ก่อความโกลาหลอลหม่ านให้ แก่ ประชาชนและตำรวจ
เขายังคงสภาพความเป็ นมนุษย์ ทุกประการ แต่ ไม่ มีใครมองเห็นตัวเขาเท่ านั้น
(ป. อินทรปาลิต, หน้า ๑)
จากบทนำ ของตอน ล่องหน
ระบุไว้ชดั เจน ว่า ป. อินทรปาลิต
ได้มีโอกาสชม ภาพยนตร์เรื่ องดัง
กล่าว และ แสดงความเห็นต่อ
ภาพยนตร์วา่ มี เนื้อหาสนุกสนาน
ตลกขบขัน จึง เกิดความคิดว่า ถ้ามี
การล่องหน แบบภาพยนตร์เกิด
ขึ้นใน พล นิกร กิมหงวน ที่ก ำลังหา
วัตถุดิบในการ เขียนอยู่ คงจะสร้าง
ความขบขันต่อ ผูอ้ ่าน สอดคล้อง
กับลักษณะของ เรื่ องที่เป็ นหัสนิยาย
คือเป็ นเรื่ องตลก อ่านแล้วหัวเราะขบขัน
เมื่อสื บค้นว่าภาพยนตร์เรื่ องนี้น่าจะเป็ นเรื่ องใด ก็พบว่าเป็ นภาพยนตร์เรื่ อง The Invisible Man Returns ดัง
ภาพ

ภาพยนตร์เรื่ องนี้ เป็ นภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์แกมสยองขวัญของบริ ษทั ยูนิเวอแซล บริ ษทั ภาพยนตร์


ยักษ์ใหญ่ของฮอลิวดู สหรัฐอเมริ กา ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ค.ศ.๑๙๔๐ (พ.ศ.๒๔๘๓) เมื่อ
คำนวณเวลาเทียบกับที่ ป. อินทรปาลิต เริ่ มเขียน พล นิกร กิมหงวน ตอน ล่องหน แล้ว สันนิษฐานว่า
ภาพยนตร์น่าจะเข้ามาฉายในประเทศไทยกลางปี เดียวกัน โดยฉายที่โรงภาพยนตร์โอเดียน พระนคร เป็ น
ปฐมฤกษ์
อย่างไรก็ดี ภาพยนตร์เรื่ องนี้ ได้ระบุวา่ สร้างเป็ นภาพยนตร์ภาคต่อ ดังนั้น จึงต้องมีภาพยนตร์ภาคแรกและ
งานต้นฉบับที่ประสบความสำเร็ จก่อนหน้านั้น
เมื่อศึกษาไปอีกขั้นก็พบว่า ภาพยนตร์ที่เป็ นภาคแรกของเรื่ อง The Invisible Man Return คือ ภาพยนตร์
เรื่ อง The Invisible Man ดังภาพ

ภาพยนตร์เรื่ อง The Invisible Man เป็ นภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ ที่สร้างจากนวนิยายชื่อเดียวกับ


ภาพยนตร์ ออกฉายครั้งแรกวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ค.ศ.๑๙๓๓ (พ.ศ.๒๔๗๖) ถือว่าเป็ นภาพยนตร์ประสบ
ความสำเร็ จและเป็ นภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ระดับขึ้นหิ้งเรื่ องหนึ่งของฮอลิวดู จนมีการนำมาสร้างภาคต่ออีก
หลายภาค ซึ่ งรวมถึง The Invisible Man Return ที่ ป. อินทรปาลิตนำมาเขียนในตอน ล่องหน (พ.ศ.๒๔๘๓)
ด้วย
เมื่อกล่าวถึงภาพยนตร์แล้ว ก็จ ำเป็ นต้องกล่าวถึงตัวบทนวนิยายด้วย เพราะภาพยนตร์เรื่ องนี้ สร้างจาก
นวนิยาย ซึ่ งถือเป็ นวรรณกรรมลายลักษณ์อกั ษรและเป็ นหลักในการพิจารณาอิทธิ พลทางวรรณกรรม
นวนิยายเรื่ อง The Invisible Man เป็ นบทประพันธ์ของ H.G.Wells นักเขียนแนววิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ตี
พิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร Pearson's Weekly ใน ค.ศ.๑๘๙๗ (พ.ศ.๒๔๔๐) โดยลงเป็ นตอนๆ และพิมพ์รวม
เล่มในปี เดียวกัน
นวนิยายกล่าวถึงนักวิทยาศาสตร์ชื่อ กริ ฟฟิ น ซึ่ งตั้งสมมุติฐานว่า ถ้าร่ างกายมนุษย์มีดรรชนีหกั เห เท่ากับ
อากาศ ร่ างกายจะไม่ดูดซับแสงหรื อสะท้อนแสง และทำให้มองไม่เห็น เขาได้ทดลองด้วยตัวเอง ผลการ
ทดลองประสบความสำเร็ จและทำให้ตนเองกลายเป็ นมนุษย์ล่องหน แต่ไม่สามารถทำให้ร่างกายตัวเองกลับ
มามีดรรชนีหกั เห เท่าเดิมได้
นอกจากนี้ กระบวนการเคมี
ที่เกิดขึ้นยังมีผลก ระทบต่ออารมณ์
และสภาพจิตใจ ของเขา กริ ฟฟิ น
ใช้แถบผ้าพัน ปกปิ ดร่ างกาย
สวมแว่นดำและ หมวกปกคลุม
หลบไปทำการ ทดลองในเมือง
เล็กๆ และขอ ความช่วยเหลือ
จากเพื่อนเก่าชื่อ ดร.เคมป์ ในขณะที่ชาวเมืองเริ่ มรู ้สึกผิดปกติกบั การมาของชายลึกลับที่ใช้ผา้ พันทั้งตัว รวม
ถึงการเกิดอาชญากรรมแปลกๆ แต่ต ำรวจไม่สามารถจับใครได้ ในตอนจบ กริ ฟฟิ นก็สามารถกลับมามี
ร่ างกายเป็ นปกติได้ แต่เป็ นในขณะที่ก ำลังจะตายเพราะถูกตำรวจจับ
จากหลักฐานทั้งหมดที่กล่าวมา ทำให้เห็นว่า กว่าจะมาถึงหัสนิยาย พล นิกร กิมหงวน ตอน ล่องหน ซึ่ ง
เขียนถึงการล่องหนครั้งแรก ใน พ.ศ.๒๔๘๓ ได้ผา่ นการสื บต่ออิทธิ พลทางวรรณกรรมหลายทอด จาก
วรรณกรรมเรื่ อง The Invisible Man ของ H.G.Wells มาถึงภาพยนตร์ชื่อเดียวกัน และมาถึงภาพยนตร์เรื่ อง
The Invisible Man Returns ซึ่ ง ป. อินทรปาลิตได้มีโอกาสชม และนำมาเขียนในตอน ล่องหน
หากกล่าวรวมๆ ว่า ป. อินทรปาลิต ได้แนวคิดเรื่ องการล่องหน มาจากนวนิยายเรื่ อง The Invisible Man
ของ H.G.Wells ก็ดูจะไม่ผดิ

ล่ องหน ใน พล นิกร กิมหงวน


ป. อินทรปาลิต ได้น ำอิทธิพลล่องหนจากภาพยนตร์ต่างประเทศดังกล่าว มาสร้างในหัสนิยาย พล นิกร กิม
หงวน ถึง ๔ ตอน ด้วยกัน
๑. ล่องหน (พ.ศ.๒๔๘๓) ถือเป็ นแม่แบบของการล่องหนในตอนต่อๆ มา เนื้อหาตอนต้นระบุไว้ชดั เจนว่าได้
อิทธิ พลจากภาพยนตร์ต่างประเทศ โดยสร้างให้กิมหงวนไปชมภาพยนตร์เรื่ องดังกล่าวแล้วมาขอให้
ดร.ดิเรก ช่วยทำให้ตวั เองล่องหนแบบในภาพยนตร์ (ในตัวบทระบุวา่ ดร.ดิเรก ก็ไปชมภาพยนตร์เรื่ องนั้น
ด้วย แต่ชมคนละรอบ) แล้วก็พานให้ พล นิกร รวมถึงเจ้าคุณปั จนึกพินาศ กลายเป็ นล่องหนด้วย สาระสำคัญ
ในตอนนี้ไม่มีอะไรมาก มีแค่ล่องหนแล้วก็ไปกลัน่ แกล้งญาติเล่นสนุกๆ แต่มีแนวคิดวิทยาศาสตร์ปรากฏอยู่
มาก เนื่องจากเป็ นตอนแรก ต้องเน้นเรื่ องรายละเอียด ส่ งผลให้ตอนนี้ได้รับการพิจารณาเป็ นหนึ่งใน ๘๘
หนังสื อดีวิทยาศาสตร์ไทย ใน พ.ศ.๒๕๔๔
๒. ล่องหนผูห้ ญิง (พ.ศ.๒๔๘๔) เขียนขึ้นในปี ถัดมา รู ปแบบการล่องหนเหมือนกับตอนล่องหน แต่ใช้เวลา
นานขึ้น และฝ่ ายที่ล่องหน กลับเป็ นฝั่งผูห้ ญิง คือ นันทา ประไพ นวลลออ และประภา สาเหตุกค็ ือเพื่อ
ติดตามฝ่ ายผูช้ ายที่ล่องหนคราวที่แล้วไปที่แฮปปี้ ฮอลล์
๓. ล่องหนติดกับ (พ.ศ.๒๔๙๔) ป. อินทรปาลิตทิ้งแนวคิดล่องหนไปถึง ๑๐ ปี ก็กลับมาเขียนเหตุการณ์
ล่องหนอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เปลี่ยนโครงเรื่ องใหม่ เป็ นเรื่ องแนวข้าศึกจากประเทศฝั่งคอมมิวนิสต์ส่งสายลับ
ล่องหนเข้ามาป่ วนในประเทศ และฝ่ ายคณะพรรค คือ พล นิกร กิมหงวน เจ้าคุณปั จนึกพินาศ ฯลฯ ต้องเป็ น
ล่องหนเข้าไปสื บในสถานทูตของประเทศศัตรู
๔. ล่องหนแดง (พ.ศ.๒๕๐๙) โครงเรื่ องหลักส่ วนใหญ่คล้ายกับตอน ล่องหนติดกับ ที่เด่นในตอนนี้คือ
ล่องหนสาว ซึ่ งเป็ นผูห้ ญิงสวย เก่ง จนแม้แต่คณะพรรคยังหลง กึ่งๆ สงสาร ตอนนี้ ได้รับการสร้างเป็ น
ภาพยนตร์ ในชื่อ สามเกลอเจอล่องหน มีดาราชั้นนำในยุคนั้นแสดง คือ มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์
รุ จน์ รณภพ สมพงษ์ พงษ์มิตร พูนสวัสดิ์ ธีมากร เยาวเรศ นิสากร ชูศรี มีสมมนต์ ฯลฯ
วิธีการ
อย่างที่ทราบกันดีวา่ การล่องหนในหัสนิยาย พล นิกร กิมหงวน แตกต่างจากการล่องหนในวรรณคดีไทย
ดั้งเดิมดังที่ยกตัวอย่างไป เนื่องจากมีแนวคิดและมีระบบการทดลองทางวิทยาศาสตร์ประกอบ ในที่น้ี จะขอ
กล่าวถึงกระบวนการคร่ าวๆ ในการล่องหนทุกครั้งที่ปรากฏในหัสนิยาย พล นิกร กิมหงวน ดังนี้
1. เตรี ยม ขั้นตอนนี้ผทู้ ี่จะล่องหนจะต้องแก้ผา้ รวมทั้งถอดเครื่ องประดับต่างๆ แม้กระทัง่ กางเกงใน
หรื อชุดชั้นใน ทั้งนี้เพราะสารจะกระทำปฏิกิริยากับร่ างกายเท่านั้น
2. ฉี ดสารเข้าสู่ ร่างกาย เมื่อผูท้ ี่จะเป็ นล่องหนถอดเสื้ อผ้าและเครื่ องประดับต่างๆ ออกหมดแล้ว แพทย์
จะฉี ดสารเข้าไปในร่ างกาย สารนี้จะทำปฏิกิริยากับร่ างกาย ทำให้ร่างกายมีสีจางลงเรื่ อยๆ จนเห็นเงา
ลางๆ เกือบมองไม่เห็น
3. ฉายแสง แม้ร่างกายจะจางลงไปแล้ว แต่กย็ งั มองเห็นลางๆ แพทย์จะฉายแสงอินฟราสเปกตรัม เมื่อ
ฉายแสงแล้ว ร่ างกายจะกลายสภาพเป็ นล่องหน ไม่มีใครสามารถเห็นตัวได้
4. ร่ างกายอยูใ่ นสภาพล่องหน ร่ างกายจะอยูใ่ นสภาพล่องหนนานเท่าใด ขึ้นอยูก่ บั ฤทธิ์ ของยาที่ฉีด ซึ่ ง
ตรงนี้กค็ งขึ้นอยูก่ บั ระยะเวลาของการทดลองด้วย จากในตอน ล่องหนผูห้ ญิง จะเห็นว่า ดร.ดิเรกใช้
เวลานานกว่าเดิมในการเพิ่มฤทธิ์ ของยาฉี ดเพื่อให้ล่องหนได้นานขึ้น
5. คืนร่ าง เมื่อล่องหนอยูใ่ นร่ างครบเวลา หรื อมีผโู ้ รยแป้ งไปในอากาศทัว่ บริ เวณ ร่ างกายของผูล้ ่องหน
ก็จะค่อยๆ ปรากฏขึ้นเรื่ อยๆ จนคืนร่ างอย่างเดิม ระยะเวลาระหว่างคืนร่ าง ผูล้ ่องหนจะต้องเตรี ยม
เสื้ อผ้าหรื อหาผ้ามาห่มให้ทนั มิฉะนั้น อาจจะทำให้คนอื่นให้ตนในสภาพเปลือยได้
บทวิเคราะห์ : สะท้ อนอะไร?
- ล่องหน VS ผี : การปะทะระหว่างความเชื่อต่างยุค
ชาติไทยมีมโนทัศน์วา่ สิ่ งที่ไม่เห็นตัว แต่สามารถกระทำให้รู้สึกได้ จะถือว่าเป็ นผี ดังนั้น เมื่อล่องหนมาก
ระทำการใดๆ ให้คนอื่นเห็นหรื อรู้สึก จึงมักจะเข้าใจว่ามีผกี ำลังหลอกตนเองอยู่
- การปรับปรุ งรสทางวรรณกรรม
ในวรรณกรรมดั้งเดิมของตะวันตก การนำเสนอเรื่ องล่องหนมักเป็ นไปในลักษณะลึกลับ สยองขวัญ แต่เมื่อ
นำเสนอในหัสนิยาย พล นิกร กิมหงวน ซึ่ งเป็ นนิยายตลก จึงต้องปรับรสชาติให้เป็ นตลก
- มุมมอง ชาย – หญิง และ เด็ก – ผูใ้ หญ่
สถานะทางเพศและวัยเป็ นความแตกต่างที่แข่งขันเอาชนะตลอดเวลา เห็นได้จากหัสนิยาย พล นิกร กิม
หงวน ตอนต่างๆ เป็ นลักษณะของการแก้เกมกัน เช่น ผูช้ ายพยายามหนีเที่ยวเพื่อเอาชนะผูห้ ญิง หรื อรุ่ น
เด็กพยายามวางแผนหลอกต้มเพื่อเอาชนะผูใ้ หญ่ สิ่ งเหล่านี้เป็ นความต้องการโดยทัว่ ไปของมนุษย์ที่
ต้องการเอาชนะกัน การใช้วิธีล่องหนก็เป็ นส่ วนหนึ่งของความต้องการเอาชนะซึ่ งค่อนข้างได้ผล เพราะ
ฝ่ ายตรงข้ามจะไหวตัวไม่ทนั และไม่สามารถมองเห็นผูก้ ระทำได้
- กลศึกสงคราม : เสริ มสร้างความรักชาติ
ในตอนแรกๆ ของ ล่องหน ไม่ได้มุ่งเน้นตรงนี้มากนัก เพียงแต่มีค ำพูดของ ดร.ดิเรก ในตอน ล่องหน ที่
กล่าวว่า หากการล่องหนเป็ นผลสำเร็ จ เขาก็จะทำให้ทหารที่ไปรบชิงดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น ้ำโขงคืน
ล่องหนหายตัวได้ทุกคน กล่าวคือเป็ นกลศึกเพื่อให้ศตั รู ตายใจนัน่ เอง แต่เอาเข้าจริ งๆ ในช่วงสงครามชิง
ดินแดนต่อเนื่องมาถึงสงครามอินโดจีน กลับไม่ปรากฎว่ามีการใช้กลศึกนี้ แต่อย่างใด
กลศึกนี้กลับปรากฏขึ้นในตอน ล่องหนติดกับ และผูท้ ี่ใช้กลศึกนี้ กไ็ ม่ใช่ฝ่ายไทย แต่เป็ นฝ่ ายข้าศึก ดัง
นั้นจึงน่าคิดว่า เรื่ องล่องหนในยุคหลังๆ มีกลไกมากกว่าทำเพื่อแกล้งคนเล่นสนุกๆ แต่มีนยั สัมพันธ์ไป
ถึงความมัน่ คงของชาติ รวมถึงการที่คณะพรรคล่องหนไปสื บความลับในสถานทูต
เรื่ องนี้อาจมองได้ ๒ นัย คือ ให้ผอู้ ่านระแวดระวังภัยจากศัตรู ที่พยายามบ่อนทำลายความมัน่ คงของชาติ
ซึ่ งหากเป็ นเรื่ องจริ งก็คงจะอันตรายต่อเอกราชอธิ ปไตยไม่นอ้ ย และอีกนัยหนึ่งคือ สะท้อนความรักชาติ
เห็นแก่ส่วนร่ วมมากกว่าส่ วนตัว ซึ่ งบางครั้งอาจจะต้องยอมเสี่ ยงต่ออันตราย แต่หากเพื่อความมัน่ คง
ปลอดภัยของชาติและประชาชนแล้วก็จ ำเป็ นต้องทำ ตรงนี้ผเู ้ ขียนได้สะท้อนผ่านพฤติการณ์ของคณะ
พรรคที่ล่องหนเข้าไปในสถานทูตเพื่อทำประโยชน์แก่ชาติ ซึ่ งพฤติการณ์น้ ี ผกู ้ ระทำต้องระมัดระวัง
ตัวอย่างมาก เพราะหากถูกจับได้อาจถึงตายหรื อหมดซึ่ งอิสรภาพ
สรุ ป
เรื่ องล่องหน ในหัสนิยาย พล นิกร กิมหงวน ของ ป. อินทรปาลิต แม้จะได้รับแนวคิดมาจากต่างประเทศ
แต่เมื่อนำเสนอโดยใช้ฉากและบริ บททางวัฒนธรรมแบบไทย รสชาติที่ได้รับจึงเป็ นรสของความสนุกสนาน
ตื่นเต้น เร้าใจ มากกว่าสยองขวัญแบบเดิม นอกจากนี้ ล่องหนในหัสนิยาย พล นิกร กิมหงวน ยังสร้างโลก
ทัศน์เกี่ยวกับการล่องหนให้ขยายตัวมากขึ้น จากการล่องหนแบบใช้เวทมนต์คาถา เป็ นการล่องหนโดยใช้
แนวคิดทางวิทยาศาสตร์
อ้ างอิง
ป. อินทรปาลิต. (ม.ป.ป). ล่องหน. กรุ งเทพฯ: ผดุงศึกษา.
ป. อินทรปาลิต. (ม.ป.ป). ล่องหนผู้หญิง. กรุ งเทพฯ: ผดุงศึกษา.
พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. (๒๕๔๔). บทละครเรื่อง รามเกียรติ์. พิมพ์ครั้งที่ ๗.
กรุ งเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
The Invisible Man. Retrieved May 15, 2016, from https://en.wikipedia.org/wiki/The_Invisible_Man
The Invisible Man (Film). Retrieved May 15, 2016, from
https://en.wikipedia.org/wiki/The_Invisible_Man_(film)
มนุษย์ ล่องหน. สื บค้นเมื่อ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/มนุษย์ล่องหน

You might also like