You are on page 1of 35

สามัคคีเภทคำฉันท์

ผู้แต่ง
● นายชิต บุรทัต
● พ.ศ. ๒๔๕๗
เนื้อเรื่อง
วัสสการพราหมณ์ได้ เข้ าไปแฝงตัวในแค้ วนวัชชี ● อิงประวัติศาสตร์ในสมัยพระพุทธเจ้า
● เล่าถึงเล่ห์อุบาย และการเอาชนะดดย
ไม่ใช้กำลัง
ไปปั่นหัวลูกกษัตริยล์ ิจฉวี ● วรรณคดีเรื่องนี้ได้กล่าวถึง พระเจ้าอา
ชาติศัตรู และ วัสสการพราหมณ์

เริ5 มเกิดการทะเลาะกัน

พระเจ้ าอาชาติศตั รู เข้ าตีเมือง


โครงเรื่อง
● มีเมืองๆหนึ่งที่มีความสามัคคีกันมาก ทำให้ยากต่อการรุกรานของศัตรู
● ในขณะที่มีกษัตริย์เมืองอื่นต้องการยึดเมืองนั้น
● จึงใช้เล่ห์กลส่งคนเข้าไปเป็นไส้ศึกและหาวิธีทำลายความสามัคคีของเมืองนั้น
● ส่งผลให้แตกความสามัคคีกัน ไม่สนใจปกป้องบ้านเมืองและอ่อนกำลังลง
● ส่งผลให้แผนการยึดเมืองสำเร็จในที่สุด
ตัวละคร
● วัสสการพราหมณ์ เป็น ตัวละครที่มีกลอุบายและเจ้าเล่ห์มาก แต่ก็ต้องถือจะป็นคนที่
ฉลาด แบะมีความอดทนสูงเพราะว่าต้องไปอยู่อาศัยและเป็นพันธมิตรกับศัตรูของ
บ้านเมืองตัวเอง
ทิชงค์ชาติฉลาดยล คะเนกลคะนึงการ
กษัตริย์ลิจฉวีวาร ระวังเหือดระแวงหาย
● พระเจ้าอาชาติศัตรู
● เหล่ากษัตร์ลิจฉวี
ฉากท้องเรื่อง
เป็นการพรรณนาถึงความงดงามของเมืองราชคฤห์ในแคว้นมคธซึ่งมีพระเจ้าอชาตศัตรูปกครองอยู่
สามยอดตลอดระยะระยับ วะวะวับสลับพรรณ
ช่อฟ้าตระการกลจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร
บราลีพิลาศศุภจรูญ นภศูลประภัสสร
หางหงส์ผจงพิจิตรงอน ดุจกวักนภาลัย
บทเจรจา
และบ้างก็กล่าวว่า น่ะแน่ะข้าจะขอถาม
เพราะทราบคดีตาม วจะลือระบือมา
ติฉินเยาะเย้ยท่าน ก็เพราะท่านสิแสนสา
ระพรรณพิกลกา ยะพิลึกประหลาดเป็น
จะจริงมิจริงเหลือ มนเชื่อเพราะไป่เห็น
ผิข้อบลำเค็ญ ธก็ควรขยายความ

● บางคร้ังก็พูดว่า ข้าขอถามพระกุมารเพราะได้ยิน เขาพูดกันว่าท่านโดนคนทั่วไปเยาะเย้ยดูหมิ่น ว่า


ท่านมีร่างกายผิดประหลาด นานาจะเป็นจริงหรือไม่ ใจไม่อยากเชื่อเลยเพราะยังไม่เห็น ถ้าหากมีสิ่งใด
ที่ลำบากยากแค้นก็ตรัสมาเถิด
แก่นเรื่อง
● การขาดความปรองดองสามารถทำให้เกิดหายนะได้ โดยจากการที่กษัตริยล์ ิจฉวีได้มีปัญหาภายในและถูกพระเจ้าอาชาติศัตรูตีและยึด
เข้าจนได้
● การเอาชนะฝ่ายตรงข้ามไม่จำเป็นที่จะต้องใช้กำลังเสมอไป สามารถใช้ปัญญาแทนได้ โดยจากการที่ วัสสการพราหมณ์ได้ใช้สติปัญญษ
และไหวพริบพื่อที่จะทำให้เหล่ากษัตริยล์ ิจฉวีอ่อนกำลัง
การสรรคำ
เลือกใช้คำให้เหมาะสมกับเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง
ณ วันหนึ่งลุถึงกา ลศึกษาพิชาการ
กุมารลิจฉวี เสด็จพร้อมประชุมกัน

“เสด็จ” เป็นคำราชาศัพท์ซึ่งเหมาะสมกับฐานะของราชวงศ์ลิจฉวีอันมีฐานะเป็นกษัตริย์
เลือกใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ
เหมาะเเก่การณ์จะเสกสรร ปวัตน์วัญจโนบาย
มล้างเหตุพิเฉทสาย สมัครสนธิ์สโมสร

• ถ้าจะกล่าวถึงการที่บุคคลต้องการที่จะเลือกทำตามหรือคิดค้นเเผนการขึ้นมา = เสกสรร
• เเต่หากจะสื่อถึงกิริยาในการเนรมิตหรือบันดาล = “เสก”
• หากจะใช้คำว่า “สรร” ที่มักจะมาพร้อมคำว่า “สรรหา”à ควรเลือกใช้ในบริบทที่ต้องการเเสดงอาการไขว่หา
เลือกใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ

ลุหอ้ งหับรโหฐาน ก็ถามการณ์ ณ ทันใด


มิลี้ลับอะไรใน กถาเช่น ธ ปุจฉา

• นำมาใช้เพื่อความหลากหลายไม่ซ้ำซากการสรรคำจึงต้องเลือกใช้คำไวพจน์ให้ถูกต้องตามความหมายที่ต้องการ
• คำประพันธ์บทนี้ คำว่า”ห้อง” เเละ “รโหฐาน” มีความหมายคล้ายๆกัน เพราะเเปลว่า พื้นที่ส่วนตัว
เลือกใช้คำให้เหมาะสมแก่ลักษณะของคำประพันธ์
เเละท่านมามุสาวาท มิกล้าอาจจะบอกตาม
พจีจริงพยายาม ไถลเเสร้งเเถลงสาร

• คำจำนวนมากในภาษาอาจใช้ได้ทั้งในร้อยแก้วและร้อยกรอง เช่นคำพื้นฐานที่ใช้กันอยู่เป็นประจำ เช่น ดิน น้ำ


• คำศัพท์ทั่วไป เช่น ทักษะ ประสบการณ์ ปฏิกิริยา
• บางคำใช้ได้เฉพาะในร้อยกรอง หรือวิสามานยนามเท่านั้น
• โดยในบทกลอนข้างต้นนี้มีคำว่า “มุสาวาท” เเละ “พจี” = ถ้อยคำโกหก (ไม่นิยมใช้ในชีวิตประจำวัน)
คำที่เล่นเสียงสัมผัส
เถอะถึงถ้าจะจริงเเม้ ธ พูดเเท้ก็ทำไม
เเนะชวนเข้า ณ ข้างใน จะถามนอก บ ยากเย็น
เสียงพยัญชนะ คำ

ถ เถอะ / ถึง / ถ้า

ท เเท้ / ทำ

น เเนะ / ณ / ใน

ข เข้า / ข้าง

ย ยาก / เย็น
คำที่เล่นเสียงหนักเบา
เฉยดู บ รู้สึก และมินึกจะเกรงแกลน
ฤคิดจะตอบแทน รณทัพพระงับภัย
• ในบทสามัคคีเภทคำฉันท์นั้นเป็นบทที่แต่งขึ้นมาโดยใช้ฉันท์ในรูปแบบต่างๆ
• มีการใส่ครุ ลหุ หรือ เสียงหนัก เสียงเบา เพื่อแสดงถึงความไพเราะและเอกลักษณ์ของบทฉันฑ์
• จากตัวอย่างที่กล่าวในข้างต้น เป็นฉันฑ์ประเภทอินทรวิเชียรฉันฑ์ ๑๑
• คำที่กำหนดด้วยตัวหนา หมายถึงคำที่เป็นคำลหุ ส่วนที่เหลือนั้นจะเป็นคำครุ
คำที่เล่นเสียงหนักเบา
คำพ้องเสียงเเละคำซ้ำ
ครั้นทรงพระปรารภ ธุระจบ ธ จึง่ บัญ
ชานรายนิกายสรร พทเเกล้วทหารหจาญ

ในบทประพันธ์ข้างต้นนี้ ผูเ้ เต่งใช้คำพ้องเสียงคือคำว่า ทหาร เเละ หาญ ซึ่งถึงเเม้สองคำนี้จะออกเสียง


เหมือนกัน เเต่ความหมายกลับเเตกต่างกัน
- ทหาญ หมายถึง ผู้มีหน้าที่สู้รบป้องกัน
- หาญ หมายถึง กล้า เก่ง
คำพ้องเสียงเเละคำซ้ำ
จะเเน่มิเเน่เหลือ พิเคราะห์เชื่อเพราะยากยล
ณ ที่ บ มีคน ธ ก็ควรขยายความ
จะจริงมิจริงเหลือ มนเชื่อเพราะไป่เห็น
ผิ ข้อ บ ลำเค็ญ ธ ก็ควรขยายความ
คำว่า ”เเน่” ถูกใช้ซ้ำเพราะผู้เเต่งต้องการสื่อว่าตัวละครต้องการถามถึงความเเน่ใจ ในขณะเดียวกันคำว่า จริงก็นำมาใช้ซ้ำ
เพื่อที่จะย้ำว่าไม่ว่าสิ่งนั้นจะจริงหรือไม่ก็ขอให้เล่ามาเถิด
การเรียบเรียงคำ
การเรียบเรียงเนื้อหาเข้มข้นไปตามลำดับ
ข่าวเศิกเอิกอึง ทราบถึงบัดดล
ในหมู่ผู้คน ชาวเวสาลี
เเทบทุกถิ่นหมด ชนบทบูรี
อกสั่นขวัญหนี หวาดกลัวไปทั่ว
ตื่นตาหน้าเผือด หมดเลือดสั่นกาย
หลบลี้หนีตาย วุ่นหวั่นพรั่นใจ
ซุกตรอกซอกครัว ซ่อนตัวเเตกภัย
เข้าดงพงไพร ทิ้งย่านบ้านตน

เมื่อข่าวได้เเพร่กระจายออกไป ผู้คนต่างเสียขวัญเเละหวาดกลัว พวกเขาตื่นตระหนก


บางคนซ่อนตัวด้วยความหวาดระเเวง ในขณะที่บางคนหนีออกจากบ้านเข้าป่าไปหลบภัยการเรียบ
เรียงคำในลักษณะนี้ทำให้เนื้อหามีความตื่นเต้นเเบบไล่ระดับขึ้นไปเรื่อยๆเเละยังน่าติดตามอีกด้วย
การเรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นประโยคคำถามเชิงวาทศิลป์

ต่างทรงรับสั่งว่า จะหาประชุมไย
เราใช่เป็นใหญ่ใจ ก็ขลาดกลัว บ กล้าหาญ

กวีนำเสนอความคิดของกษัตริย์ที่ข้องใจว่าจะจัดประชุมด้วยเหตุอันใดในเมื่อตัวพระองค์เองก็มิได้มีจิตใจกล้าหาญ
การใช้โวหาร
การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง

ปวงโอรสลิจฉวีดำ ริณวิรุธก็สำ
คัณประดุจคำ ธ เสกสรร

• ประดุจ =“เหมือน”
• วัสสการพราหมณ์คอยยุลูกศิษย์ เเละแต่งกลอุบายให้เกิดความแคลงใจ โดยที่พระโอรสกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย
ไตร่ตรองในอาการที่น่าสงสัยเเต่กลับเข้าใจว่าเป็นจริงดังถ้อยคำที่อาจารย์ปั้นเรื่องขึ้น
การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง
กุมารลิจฉวีขัตติย์ ก็รับอรรถอออือ
กสิกเขากระทำคือ ประดุจคำพระอาจารย์

คำว่า”คือ”ปรากฎในตอนทีว่ ัสสการพราหมณ์แกล้งเชิญพระกุมารเข้าไปทูลถามว่าชาวนาจูงโคมา
คู่หนึ่งเพื่อเทียมไถใช่หรือไม่พระกุมารลิจฉวีก็รับสั่งเห็นด้วยว่า สิ่งที่ชาวนากระทำคือการทำตามคำ
ของพระอาจารย์
การสมมุติสิ่งต่างๆ ให้มีกิริยาอาการมีความรู้สึกเหมือนมนุษย์
จึ่งให้ตีกลอง ป่าวร้องทันที
แจ้งข่าวไพรี รุกเบียนบีฑา
เพื่อหมู่ภูมี วัชชีอาณา
ชุมนุมบัญชา ป้องกันฉันใด
ในที่นี้“ป่าวร้อง”เป็นบุคคลวัตให้เปรียบเหมือนว่าตีกลองลั่นดังสนั่นเหมือนกับการป่าวร้องส่ง
สัญญาณเตือนภัยให้กับประชาชน
การกล่าวผิดไปจากที่เป็นจริง

ตื่นตาหน้าเผือด หมดเลือดสั่นกาย
หลบลี้หนีตาย วุ่นหวั่นพรั่นใจ
ซุกตรอกซอกครัว ซ่อนตัวแตกภัย
เข้าดงพงไพร ทิ้งย่านบ้านตน
• “ตื่นตาหน้าเผือด หมดเลือดสั่นกาย” จัดอยู่ในประเภทอติพจน์
• ถอดความได้ว่าประชาชนมีความตื่นตัวหวาดผวาจนหน้าซีดเปรียบเสมือนเลือดหมดตัว
การใช้ชื่อส่วนประกอบที่เด่นของสิ่งหนึ่งแทนสิ่งนั้นๆทั้งหมด
แม้มากผิกิ่งไม้ ผิวใครจะใคร่ลอง
มัดกำกระนั้นปอง พลหักก็เต็มทน

● “กิ่งไม้” = บุคคล
● หากมัดกิ่งไม้รวมกันเป็นมัด ซึ่งเปรียบเสมือนกับการร่วมมือร่วมใจกันสร้างความสามัคคี à มีความมั่นคงและแข็งแรงมากขึ้น
คุณค่าด้านต่างๆ
คุณค่าด้านอารมณ์
โกรธ
ต่างทรงสำแดง ความแขงอำนาจ
สามัคคีขาด แก่งแย่งโดยมาน
ภูมิศลิจฉวี วัชชีรัฐบาล
บ่ ชุมนุมสมาน แม้แต่สักองค์ฯ

ชื่นชมยินดี
ควรชมนิยมจัด คุรุวัสสการพราหมณ์
เป็นเอกอุบายงาม กลงำกระทำมา
คุณค่าด้านคุณธรรม
คุณค่าทางด้านความสามัคคี → คุณค่าหลักของวรรณคดีเรื่องนี้
ตัวอย่างที่ ๑
ข่าวเศิกเอิกอึง ทราบถึงบัดดล
ในหมู่ผู้คน ชาวเวสาลี
แทบทุกถิ่นหมด ชนบทบูรี
อกสั่นขวัญหนี หวาดกลัวทั่วไป
ตื่นตาหน้าเผือด หมดเลือดสั่นกาย
หลบลี้หนีตาย วุ่นหวั่นพรั่นใจ
ซุกครอกซอกครัว ซ่อนตัวแตกภัย
เข้าดงพงไพร ทิ้งย่านบ้านตน

แสดงให้เห็นถึงความวุ่นวายและหวาดกลัวของผู้คนในเมืองหลังจาก
รู้ข่าวศึก
คุณค่าด้านคุณธรรม
ตัวอย่างที่ ๒
แยกพรรคสมรรคภิน ทนสิ้น บ ปรองดอง
ขาดญาณพิจารณ์ตรอง ตริมลักประจักษ์เจือ
เชื่ออรรถยุบลเอา รสเล่าก็ง่ายเหลือ
เหตุหาก ธ มากเมือ คติโมหเป็นมูล
จึ่งดาลประการหา ยนภาวอาดูร
เสียแดนไผทสูญ ยศศักดิเสื่อมนาม
แสดงให้เห็นถึงการเสียดินแดนของแคว้นวัชชีที่เกิดขึ้นจากการแตกสามัคคี
และไม่ปรองดองของ เหล่ากษัตริย์ลิทฉวี
คุณค่าทางปัญญา
แท้ท่านวัสสการใน กษณะตริเหมาะไฉน
เสริมเสมอไป สะดวกดาย
หลายอย่างต่างกล ธ ขวนขวาย พจนยุปริยาย
วัญจโนบาย บ เว้นครา
ครั้นล่วงสามปีประมาณมา สหกรณประดา
ลิจฉวีรา ชทั้งหลาย
วัสสการพราหมณ์ได้ใช้ปัญญาของตนในการหลอกเหล่ากุมารให้แตกแยก
คุณค่าด้านวัฒนธรรม
• การใช้ชีวิตของคนในสมัยก่อน
จึงให้ตีกลอง ป่าวร้องทันที
แจ้งข่าวไพรี รุกเบียนบีฑา
เพื่อหมู่ภูมี วัชชีอาณา
ชุมนุมบัญชา ป้องกันฉันใด

การตีกลองในสมัยก่อนเป็นสัญญาณในการเรียกนัดประชุมต่างๆและ
ร้องแจ้งข่าวสารสำคัญ
คุณค่าทางวรรณกรรม
๑. คุณค่าของวรรณกรรมต่อปัจเจกบุคคล
● ส่งเสริมการเรียนรู:้
○ - คำศัพท์
○ - ภาษา
● ทำให้ผู้อ่านรู้สึกตื่นเต้น สนุกสนาน และเพลิดเพลิน
● ประเทืองปัญญา

๒. คุณค่าวรรณกรรมต่อการสร้างสรรค์สังคม
● มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสังคม
○ สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ขอบพระคุณครับ/ค่ะ

You might also like