You are on page 1of 30

โคลงโลกนิติ

(โคลง -โลก - กะ – นิด)

สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาเดชาดิศร
สอนโดย อ.ขวัญจิรา โพธิ์ทอง
โลกนิติ
หรือ ระเบียบแบบแผนของโลก
(โลก + นิติ)
โลกนีติ
โคลงโลกนิ ติ (โลก – กะ -นิ ด ) หรือ โลกนี ติ เป็ น คัม ภีร์คํา สอนของอิน เดีย ที่โ บราณจารย์
ได้ร วบรวมไว้ และเป็ น ที่รู้จกั กัน มาเป็ น เวลาช้า นาน โดยเฉพาะในประเทศไทยที่ได้รบั อิท ธิพ ลจากปรัชญา
วัฒนธรรมอินเดีย เป็ นคัมภีรท์ ไ่ี ด้รบั ความนิยมแพร่หลายมากกว่าคัมภีรอ์ ่นื ๆ ในแนวเดียวกัน มีเนื้อหาเป็ นคติ
สอนใจและให้แนวทางในการดําเนินชีวติ ที่ถูกต้องดีงาม ตลอดจนเป็ นหลักในการปกครองและบริหารบ้านเมือง
เพราะคัมภีรโ์ ลกนิตมิ ขี อบข่ายเนื้อหากว้างขวางครอบคลุมวิถชี วี ติ ของคนทัวไปมากกว่
่ าคัมภีรอ์ ่นื ๆ
๑. ประวัติผูแตง
ผูแตง
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร

สมัยที่แตง
พระบาทสมเด็จพระนังเกล้
่ าเจ้าอยูห่ วั (รัชกาลที่ ๓)
๑. ประวัติผูแตง (ตอ)

• เป็ นพระเจ้ า ลู ก ยาเธอลํ า ดั บ ที่ ๑๕ ในพระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธเลิ ศ หล้ า นภาลั ย


กับเจ้าจอมมารดานิ่ม
• สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนเดชอดิศร (ต่อมาได้ดํารงพระยศเป็ น สมเด็จพระเจ้าบรม
วงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร ในสมัยรัชกาลที่ ๔)
• พระนามเดิม พระองค์เจ้ามัง่
• ทรงเป็ นหลานตาของเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
๑. ประวัติผูแตง (ตอ)

พระนิพนธเรื่องอื่นๆ
• โคลงโลกนิติ • ฉันท์กล่อมมงคลคเชนทรชํานิเผือกพลาย
• โคลงภาพต่างภาษา • ประกาศพระราชพิธพี ชื มงคลและจรดพระนังคัลใหม่
• โคลงนิราศเสด็จไปทัพเวียงจันทน์ • ฉันท์สงั เวยพระมหาเศวตฉัตร
• ประกาศพระราชพิธสี ารท • ฉันท์ดุษฎีสงั เวยพระพุทธบุษยรัตน์
• ประกาศพระราชพิธคี เชนทรัศวสนาน • คําฤษฎี
๒.ประวัติความเปนมา
• พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร ฉบับนี้แต่งขึน้ ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๗๔-
๒๓๗๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยู่หวั เมือ่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสงั ขรณ์
วัดพระเชตุพวิมลมังคลาราม(วัดโพธ์ ิ ) กรุงเทพมหานคร แล้วจารึกตํารับตําราต่างๆ ทัง้ ด้านวรรณคดี
โบราณคดี พุทธศาสนา ประเพณี ตํารายา ตลอดจนสุภาษิต ลงแผ่นศิลาที่ประดับผนังปูชนียสถาน
ต่างๆทีท่ รงปฏิสงั ขรณ์นนั ้ สําหรับให้ประชาชนได้ศกึ ษาหาความรู้
• ในการนี้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร ทรงชําระโคลงโลกนิติ
สํานวนเก่าให้ถูกต้องตามพระบาลีบางโคลงก็พระนิพนธ์ขน้ึ ใหม่ ปรากฏต้นฉบับในสมุดไทย ๔๐๘ บท
แล้วจารึกไว้ทแ่ี ผ่นศิลาประดับศาลาทิศพระมณฑป ๔ หลัง แต่จาํ นวนโคลงทีจ่ ารึกไว้มมี ากกว่านี้ เข้าใจ
ว่าทรงเพิม่ เติมภายหลังเพือ่ ให้พอดีกบั พืน้ ทีท่ จ่ี ะจารึก
๒.ประวัติความเปนมา (ตอ)
• เชื่อกันว่ามีมาตัง้ แต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยนักปราชญ์ในสมัยนัน้ ได้คดั เลือก หาคาถา
สุภาษิตภาษาบาลีและสันสกฤตที่ปรากฏในคัมภีร์ต่างๆ เช่น คัมภีร์โลกนิติ คัมภีร์โลกนีติ
คัมภีรร์ าชะนีติ คัมภีรพ์ ระธรรมบท เป็ นต้น และนํ ามาถอดความแล้วเรียบเรียงแต่งเป็ นโคลง
โลกนิติ
• โคลงส่วนใหญ่ไม่ได้สอนแบบชีถ้ ูกชีผ้ ดิ เหมือนสุภาษิตทัวๆไป
่ แต่ทุกบทจะนําไปสูค่ วามคิด
และการเปรียบเทียบอย่างชัดเจนมาก
• โคลงโลกนิตพิ ระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศรนี้ได้รบั ความ
นิยมแพร่หลายมากกว่าสํานวนอื่นๆ รวมทัง้ ได้ใช้เป็ นแบบเรียนในโรงเรียนด้วย
๒.ประวัติความเปนมา (ตอ)
• โคลงบางบทก็ทรงนิพนธ์ขน้ึ ใหม่เพื่อจารึกลงแผ่นศิลาติดไว้ในวัดพระเชตุพน
วิมลมังคลาราม โคลงโลกนิตติ งึ แพร่หลายแต่นนั ้ มา ตามพระราชประสงค์ทท่ี รง
หวังให้โคลงโลกนิตสิ อนใจแก่ประชาชน
๓. จุดประสงคในการแตง

เพื่อให้ประชาชนอ่านและรู้สุภาษิตต่าง ๆ และตามพระราชประสงค์ใน
พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยู่หวั เพื่อเป็ นตัวอย่างของโคลงสุภาพจารึกไว้ท่ี
แ ผ่ น ศิ ล า ป ร ะ ดั บ ผ นั ง ศ า ล า พ ร ะ ม ณ ฑ ป ๔ ห ลั ง เ มื่ อ ค ร า ว ป ฏิ ส ั ง ข ร
วัดเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ ์)
๔. ลักษณะคําประพันธ
• แต่งเป็ นโคลงสีส่ ภุ าพและโคลงกระทูใ้ นบางบท จํานวน ๔๓๕ บท
• เป็ นวรรณกรรมคําสอน
• กวีเลือกใช้คาํ ทีง่ า่ ยๆ ทําให้ผอู้ า่ นเข้าใจ และเป็ นคําสอนทีใ่ ช้ได้กบั ทุกยุคทุกสมัย

ตัวอย่างบทประพันธ์ ๏ พระสมุทรสุดลึกล้น คณนา


สายดิ่งทิ้งทอดมา หยังได้

เขาสูงอาจวัดวา กําหนด
จิตมนุษย์นี้ไซร้ ยากแท้หยังถึ
่ ง
๔. ลักษณะคําประพันธ
แผนผังโคลงสี่สภุ าพ
๕. บทวิเคราะห ๕.๑ คุณคาดานคําสอน

โคลงโลกนิตมิ ลี กั ษณะคําสอนอยู่ ๒ ลักษณะ คือ สอนอย่างตรงไปตรงมา


และสอนอย่างเปรียบเทียบ
• การสอนอย่างตรงไปตรงมา จะใช้ถอ้ ยคําเพื่อสังสอน ่ แนะนํา ให้ขอ้ คิดอย่าง
ตรงไปตรงมา มีความหมายตรงตามถ้อยคํานัน้ ๆ ไม่ตอ้ งตีความ
• การสอนแบบเปรียบเทียบ กวีจะหยิบยกสิง่ ต่างๆ มาเปรียบเทียบกับสาระ
หรือคติสอนใจต่างๆ วิธีน้ีช่วยเน้ นยํ้าคําสอนหรือคติเตือนใจต่างๆ ให้เด่นชัด
ยิง่ ขึน้
สอนใหทําความดี
๏ สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อ ในตน
กินกัดเนื้อเหล็กจน กร่อนขรํ้า
บาปเกิดแต่ตนคน เป็ นบาป
บาปย่อมทําโทษซํ้า ใส่ผบู้ าปเอง

สอนให้รจู้ กั ความดีความชั ่ว การทีเ่ ราได้รบั ผลอย่างไรย่อมมีเหตุจากการกระทําของเรา


ทัง้ สิน้ ผูท้ ําดีย่อมได้รบั ผลดีตอบแทนส่วนผูท้ ําชั ่ว ผลที่เกิดจากการทําชัวนั่ น้ ย่อมกัดกร่อนใจซึ่ง
เปรียบเทียบได้กบั สนิมกัดกร่อนเนื้อเหล็กให้ผุพงั ไป ซึ่งบทประพันธ์ขา้ งต้นตรงกับสํานวนไทย
คือ กงเกวียนกําเกวียน, ทําดีได้ดี ทําชัวได้ ่ ชวั ่
สอนใหรูจักประมาณตน
๏ นกน้ อยขนน้อยแต่ พอตัว
รังแต่งจุเมียผัว อยูไ่ ด้
มักใหญ่ยอ่ มคนหวัว ไพเพิด
ทําแต่พอตัวไซร้ อย่าให้คนหยัน

สอนให้รจู้ กั ประเมินความสามารถและประมาณกําลังของตน นับเป็ นคําสอนทีส่ อดคล้องกับแนว


พระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั ภูมพิ ลอดุลยเดช เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ดังคําสอนที่ใช้ใน
แนวเทีย บกับ นกตัว น้ อ ยที่ห ากิน ตามกํา ลัง ของตนและทํา รัง แต่ พ อตัว ซึ่ง บทประพัน ธ์ข้า งต้น ตรงกับ
สํานวนไทย คือ นกน้ อยทํารังแต่พอตัว
สอนใหรูจักพิจารณาคนและรูจักคบเพื่อน

๏ ก้านบัวบอกลึกตืน้ ชลธาร
มารยาทส่อสันดาน ชาติเชือ้
โฉดฉลาดเพราะคําขาน ควรทราบ
หย่อมหญ้าเหีย่ วแห้งเรือ้ บอกร้ายแสลงดิน

สอนให้รจู้ กั พิจารณาเลือกคบคน โดยกล่าวเปรียบเทียบว่า ก้านบัวสามารถบอกความตื้นลึกของ


นํ้าได้ฉนั ใด กิรยิ ามารยาทของคนก็สามารถบ่งบอกถึงการอบรมเลีย้ งดูได้ฉนั นัน้ คําพูดก็สามารถบ่งบอกให้รู้
ว่าคนพูดนัน้ ฉลาดหรือโง่ เช่นเดียวกับหย่อมหญ้าที่เหี่ยวแห้งย่อมบอกให้รู้ว่าดินในบริเวณนัน้ ไม่ดซี ่งึ บท
ประพันธ์ขา้ งต้นตรงกับสํานวนไทย คือ สําเนี ยงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล
สอนไมใหทําตามอยางผูอื่น

๏ เห็นท่านมีอย่าเคลิม้ ใจตาม
เรายากหากใจงาม อย่าคร้าน
อุตสาห์พยายาม การกิจ
เอาเยีย่ งอย่างเพือ่ นบ้าน อย่าท้อทํากิน

เมื่อเห็นผูอ้ ่นื มังมี


่ กว่าก็ไม่ควรโลภ ไม่ควรอยากมีอยากได้ตามคนอื่น แม้จะยากจนก็ให้หมันทํ ่ า
มาหากิน อย่าเกียจคร้านและท้อแท้ ให้รจู้ กั ใช้ชวี ติ อย่างพอเพียง ซึง่ บทประพันธ์ขา้ งต้นตรงกับสํานวนไทย
คือ เห็นช้างขี้ อย่าขี้ตามช้าง
สอนใหมีความกตัญู
๏ คุณแม่หนาหนักเพีย้ ง พสุธา
คุณบิดรดุจอา- กาศกว้าง
คุณพี่พา่ งศิขรา เมรุมาศ
คุณพระอาจารย์อา้ ง อาจสูส้ าคร

สอนให้ระลึกถึงพระคุณของบิดามารดาและครู โดยกล่าวเปรียบว่าพระคุณของมารดานัน้ ยิง่ ใหญ่


เปรียบได้กบั แผ่นดิน พระคุณของบิดาเล่าก็กว้างขวางเปรียบเทียบได้กบั อากาศ พระคุณของพีน่ นั ้ สูงเท่ากับ
ยอดเขาพระสุเมรุ และพระคุณของครูบาอาจารย์กล็ ้าํ ลึกเปรียบได้กบั แม่น้ําในแม่น้ําทัง้ หลาย ซึง่ บทประพันธ์
ข้างต้นตรงกับสํานวนไทย คือ ความกตัญ�ูเป็ นเครื่องหมายของคนดี
สอนใหเปนคนมีวาจาออนหวาน

๏ อ่อนหวานมานมิตรล้น เหลือหลาย
หยาบบ่มเี กลอกราย เกลือ่ นใกล้
ดุจดวงศศิฉาย ดาวดาษ ประดับนา
สุรยิ ส่องดาราไร้ เมือ่ ร้อนแรงแสง

คนที่พูดจาสุภาพไพเราะย่อมมีเพื่อนมาก เปรียบได้กบั ดวงจันทร์ท่มี ดี าวจํานวนมากรายล้อม


ประดับ ต่างกับคนพูดจากกระด้างหยาบคาย ทําให้ไม่มใี ครปรารถนาจะคบหรือสมาคมด้วย เปรียบได้กบั
ดวงอาทิตย์แสงร้อนแรงทีบ่ ดบังแสงของดาวดวงอืน่
๕. บทวิเคราะห ๕.๒ คุณค่าสังคมและค่านิยม

• สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมของความเป็ นมนุ ษย์ทด่ี ตี ่อสังคม ส่งผลให้เกิดการปรับเปลีย่ น


พฤติกรรมของคนในสังคมให้ดขี น้ึ
• แสดงให้เห็นวิธกี ารใช้ชวี ติ ให้เป็ นสุข และสามารถปฏิบตั ติ นให้อยูใ่ นกรอบทีด่ ขี องสังคม
• สะท้อนค่านิยมเรือ่ งวาจาหรือคําพูด ชีใ้ ห้เห็นว่าคําพูดสามารถบอกถึงวงศ์ตระกูลของตนได้
๕. บทวิเคราะห ๕.๓ คุณค่าด้านการนําไปใช้ในชีวิต

โคลงโลกนิติเป็ นวรรณคดีคําสอนซึ่งแสดงให้เห็นวิธ ีการใช้ชวี ติ ให้เป็ นสุข และ


สามารถปฏิบตั ติ นให้อยู่ในกรอบทีด่ ขี องสังคม สาระทีป่ รากฏอยู่ในโคลงผูอ้ ่านสามารถนํ าไป
ประยุกต์ใช้กบั ชีวติ ได้ เช่น การเลือกคบเพือ่ น และการปฏิบตั ติ น มารยาทต่าง ๆ เป็ นต้น สิง่
เหล่านี้เป็ นแนวทางที่ควรปฏิบตั ิตาม หากสามารถเรียนรู้ท่จี ะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการ
ดํารงชีวติ ก็จะทําให้ได้ประโยชน์จากการอ่านวรรณคดีอย่างแท้จริง
๕. บทวิเคราะห ๕.๔ คุณค่าด้านวรรณศิลป์

โคลงโลกนิตมิ กี ารใช้โวหารภาพพจน์ลกั ษณะต่าง ๆ ทีท่ าํ ผูอ้ ่านได้เข้าถึงสาระของบทกวีดยี งิ่ ขึน้ เช่น

๕.๔.๑
• อุปมา (simile)
๕.๔.๒
• การซํา้ คํา
๕.๔.๓
• สัญลักษณ์ (symbol)

๕.๔.๔
• ปฏิพจน์ (paradox)
๕.๔.๕ • การเล่นเสียง
๕.๔.๑
• อุปมา (simile)

๏ คุณแม่หนาหนักเพีย้ ง พสุธา
คุณบิดรดุจอา- กาศกว้าง
คุณพีพ่ ่างศิขรา เมรุมาศ
คุณพระอาจารย์อา้ ง อาจสูส้ าคร

จะเห็นได้ว่า กวีใช้คําเปรียบ คือ เพี้ยง คือ พระคุณของผูเ้ ป็ นแม่นัน้ ยิง่ ใหญ่เหมือนผืนแผ่นดิน


พระคุณของพ่อเปรียบดังท้ ่ องฟ้ า พระคุณของพี่เปรียบเหมือนขุนเขาใหญ่ พระคุณของครูบาอาจารย์นัน้
เปรียบเหมือนห้วงมหาสมุทร
๕.๔.๑
• การซํา้ คํา

๏ นํ้าใช้ใส่ตุ่มตัง้ เต็มดี
นํ้าอบอ่าอินทรีย์ อย่าผร้อง
นํ้าปูนใส่เต้ามี อย่าขาด
นํ้าจิตอย่าให้ขอ้ ง ขัดนํ้าใจใคร

จะเห็นได้ว่า กวีใช้การซํ้าคํา โดยใช้คําว่า “นํ้ า” เพื่อสร้างความงาม ด้านความหมายและความ


งามด้านเสียงโดยการซํ้าคําในบทประพันธ์ และเพื่อเน้ นยํ้าความหมายที่ผู้แต่งต้อง การถ่ายทอดออกมา
ชัดเจนยิง่ ขึน้
๕.๔.๑
• สัญลักษณ์ (symbol)

๏ สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อ ในตน
กินกัดเนื้อเหล็กจน กร่อนขรํา้
บาปเกิดแต่ตนคน เป็ นบาป
บาปย่อมทําโทษซํ้า ใส่ผู้

จะเห็น ได้ว่ า กวีใ ช้ คํ า ว่ า “สนิ ม” ซึ่ง มีค วามหมายโดยปริย ายว่ า มลทิน เช่ น สนิ ม ในใจ
โดยนําสัญลักษณ์ทบ่ี ่งบอกถึงลักษณะของสนิมเหล็กมาเปรียบเทียบกับผลของการกระทํา ในการทําความดี
ความชัว่
๕.๔.๑
• ปฏิพจน์ (paradox)

๏ รักกันอยูข่ อบฟ้ า เขาเขียว


เสมออยูห่ อแห่งเดียว ร่วมห้อง
ชังกันบ่แลเหลียว ตาต่อ กันนา
เหมือนขอบฟ้ ามาป้ อง ป่ าไม้มาบัง

จะเห็นได้ว่า กวีใช้คาํ คู่เปรียบทีต่ รงข้าม โดยใช้คาํ ว่า “รัก” และ “ชัง” ซึ่งเป็ นการใช้ถอ้ ยคําทีม่ ี
ความหมายตรงกันข้ามกัน
๕.๔.๑
• การเล่นเสียง

สัมผัสพยัญชนะ สัมผัสสระ

๏ มิตรพาลอย่าคบให้ สนิทนัก ๏ พระสมุทรสุดลึกล้น คณนา


พาลใช้มติ รอย่ามัก กล่าวใกล้ สายดิ่งทิ้งทอดมา หยังได้

ครัน้ คราวเคียดคุมชัก เอาโทษ ใส่นา เขาสูงอาจวัดวา กําหนด
รูเ้ หตุสงิ่ ใดไซร้ ส่อสิ้นกลางสนาม จิตมนุ ษย์น้ีไซร้ ยากแท้หยังถึ
่ ง

จะเห็น ได้ว่ า กวีใ ช้ส ัม ผัส พยัญ ชนะต้ น จะเห็นได้ว่า กวีใช้สมั ผัสพยัญชนะต้น
เสียงเดียวกัน คือ พยัญชนะ “ก” “ค” และ “ส” เสียงเดียวกัน คือ สระ “อุ” และ “อิ”
๖. สรุป

“โคลงโลกนิติ เป็ นโคลงสุภาษิตทีม่ สี าํ นวนคมคาย ใช้ภาษาเปรียบเทียบได้


สละสลวย แนวคิดสามารถนํามาใช้เป็ นข้อคิดคติสอนใจและเป็ นแนวทาง
ในการดําเนินชีวติ ในสังคมได้อย่างเหมาะสม”
Û̈®â¹ ˝ ³ ˾®Ó

๑. โคลงโลกนิตฉิ บับต่าง ๆ มีจํานวนไม่เท่ากัน เช่น โคลงโลกนิติ ฉบับจารึกวัดโพธิ ์ มี ๔๓๕ บท
แต่ประชุมโคลงโลกนิติ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งเป็ นฉบับทีร่ าชการได้ชําระและรวบรวมฉบับต่าง ๆ
มาไว้ในทีเ่ ดียว จะมีจาํ นวนทัง้ หมด ๙๑๑ บท
๒. ศาลาทิศพระมณฑปวัดพระเชตุพนฯ ซึง่ มีศลิ าจารึกโคลงโลกนิตปิ ระดับไว้ดา้ นนอกศาลาทิศ
๓. โคลงโลกนิ ติจําแลง พระราชนิ พ นธ์ พระบาทสมเด็จ พระมงกุ ฎ เกล้า เจ้า อยู่ (รัช กาลที่ ๖)
ทรงดัดแปลงจาก โคลงโลกนิตขิ องเดิม มาเปลีย่ นตอนท้ายให้เป็ นเรื่องขําขัน ยัวล้
่ อความเป็ นไปในยุค
สมัยนัน้ บ้าง ขอยกมาเพียงบางบท ดังนี้
โคลงโลกนิ ติจาํ แลง : รัชกาลที่ ๖
กบเกิดในสระใต้ บัวบาน
ฤๅห่อนรูร้ สมาลย์ หนึ่งน้อย
นัน่ คือกบโบราณ จึ่งโง่ ฉะนัน้ แล
กบใหม่มนั ช่างผล้อย พูดโอ้ปราชญ์งนั

โคลงโลกนิ ติ : สมเด็จพระเดชา ฯ
กบเกิดในสระใต้ บัวบาน
ฤๅห่อนรูร้ สมาลย์ หนึ่งน้อย
ภุมราอยู่ไกลสถาน นับโยชน์ ก็ดี
บินโบกมาค้อยค้อย เกลือกเคล้าเสาวคนธ์
บรรณานุกรม
กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๓). โคลงโลกนิ ติ พระนิ พนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเดชาดิ ศร. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์คุรสุ ภาลาดพร้าว.
กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๙). แนวการอ่านวรรณคดีและวรรณกรรม ๓. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรสุ ภาลาดพร้าว.
กรมวิชาการ, กระทรวงศึก ษาธิก าร. (๒๕๕๙). วรรณคดี วิ จกั ษ์ ชัน้ มัธ ยมศึ กษาปี ที่ ๑. พิมพ์ค รัง้ ที่ ๙. กรุง เทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.
ลาดพร้าว.
นิยะดา เหล่าสุนทร. (๒๕๓๗). โคลงโลกนิ ติ : การศึกษาที่มา. กรุงเทพฯ: แม่คาํ ผาง.
ปราชญา กล้าผจัญ. (๒๕๕๔). โคลงโลกนิ ติ ถอดความเป็ นร้อยแก้ว. กรุงเทพฯ: ปราชญา.
เดชาดิศร, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (๒๕๔๕). โคลงโลกนิ ติ. พิมพ์ครัง้ ที่ ๑๐.
กรุงเทพฯ: เรือนปั ญญา.

You might also like