You are on page 1of 29

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

ที่มาของสุภาษิตพระร่วง

สุภาษิตพระร่วง หรือ “บัญญัติพระร่วง” เป็นสุภาษิตที่เก่าแก่ เชื่อ


กันว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เพราะมีบางคำสอนในสุภาษิตพระร่วงปรากฏ
อยู่ในวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น แต่ก็ยังไม่เจาะจงเป็นที่แน่ชัดกว่าแต่ง
ในสมัยใด
สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำที่กล่าวดีแล้ว ใช้เป็น
คติสอนใจ มีทั้งเป็นข้อแนะนำ และข้อห้าม

พระร่วง เป็นคำที่ใช้เรียกสมญานาม
แทนชื่อกษัตริย์สุโขทัยทุกพระองค์
จุดประสงค์ของการแต่ง
เพื่อสั่งสอนประชาชน มุ่งชี้ให้เห็นการปฏิบัติต่อ
ตนเอง และเน้น ความสำคัญระหว่างบุคคลกับสังคมว่า
ควรจะเป็นไปในรูปแบบใด

คำประพันธ์ที่ใช้ในการแต่ง
สุภาษิตพระร่วงเป็นร่ายสุภาพ วรรคหนึ่งมีจำนวน ๔ – ๗ คำ
แต่ส่วนใหญ่มีวรรคละ 5 คำ แต่ละวรรคสัมผัสคล้องจองกันและ
จบท้ายด้วยโคลงสองสุภาพ

อย่าเดินทางเปลี่ยว น้าเชี่ยวอย่าขวางเรือ ทีส


่ ุ้มเสือจงประหยัด
สุภาษิตพระร่วง
สุภาษิตพระร่วงเริ่มต้นด้วยการบอกจุดมุ่งหมายของแต่ง ผู้รวบรวม
สุภาษิตกล่าวถึงพระร่วงซึ่งทรงเป็นเจ้าของภาษิตว่าทรงมีความมุ่งหมาย
อย่างไร ในการทรงพระราชนิพนธ์สุภาษิตพระร่วงขึ้น

ร่ายที่ขึ้นต้น
ปางสมเด็จพระร่วงเจ้า เผ้าแผนภพสุโขทัย
มลักเห็นในอนาคต จึงเผยพจนประภาษ
เป็นอนุสาสนกถา สอนคณานรชน
ทั่วธราดลพึงเพียร เรียนอำรุงผดุงอาตม์
ลักษณะเด่นของสุภาษิตพระร่วง

๑. สุภาษิตพระร่วงถือเป็นคำสอนที่เก่าแก่ที่สุดของไทย
๒. สุภาษิตพระร่วงเป็นวรรณกรรมคำสอนในเรื่องการประพฤติ
ปฏิบัติตนในด้านต่างๆ เช่น การผูกไมตรี การเลือกคบคน การ
วางตัว การรู้จักรักษาตัวรอด ที่สามารถนำมาในปัจจุบันได้
๓. สุภาษิตพระร่วงเป็นการใช้ถ้อยคำที่เข้าใจง่าย ภาษา
ตรงไปตรงมา และสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน
เนื้อหา สุภาษิตพระร่วง
ปางสมเด็จพระร่วงเจ้า เผ้าแผ่นภพสุโขทัย
มลักเห็นในอนาคต จึ่งผายพจนประภาษ
เป็นอนุสาสนกถา สอนคณานรชน
ทั่วธราดลพึงเพียร เรียนอำรุงผดุงอาตม์
อย่าเคลื่อนคลาดคลาถ้อย เมื่อน้อยให้เรียนวิชา
ให้หาสินเมื่อใหญ่ อย่าใฝ่เอาทรัพย์ท่าน
อย่าริระร่านแก่ความ ประพฤติตามบุรพรบอบ
เอาแต่ชอบเสียผิด อย่าประกอบกิจเป็นพาล
อย่าอวดหาญแก่เพื่อน เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า
หน้าศึกอย่านอนใจ ไปเรือนท่านอย่านั่งนาน
การเรือนตนเร่งคิด อย่านั่งชิดผู้ใหญ่
อย่าใฝ่สูงให้พ้นศักดิ์ ที่รักอย่าดูถูก
สุภาษิตพระร่วง
ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง สร้างกุศลอย่ารู้โรย
อย่าโดยคำคนพลอด เข็นเรือทอดข้างถนน
เป็นคนอย่าทำใหญ่ ข้าคนไพร่อย่าไฟฟุน
คบขุนนางอย่าโหด โทษตนผิดรำพึง
อย่าคนึงถึงโทษท่าน หว่านพืชจักเอาผล
เลี้ยงคนจักกินแรง อย่าขัดแย้งผู้ใหญ่
อย่าใฝ่ตนให้เกิน เดินทางอย่าเดินเปลี่ยว
น้าเชี่ยวอย่าขวางเรือ ที่ซุ่มเสือจงประหยัด
จงเร่งระมัดฟืนไฟ ตนเป็นไทอย่าคบทาส
อย่าประมาทท่านผู้ดี มีสินอย่าอวดมั่ง
ผู้เฒ่าสั่งจงจำความ ที่ขวากหนามอย่าเสียเกือก
ทำรั้วเรือกไว้กับตน คนรักอย่าวางใจ
สุภาษิตพระร่วง
ที่มีภัยพึงหลีก ปลีกตนไปโดยด่วน
ได้ส่วนอย่ามักมาก อย่ามีปากว่าคน
รักตนกว่ารักทรัพย์ อย่าได้รับของเข็ญ
เห็นงามตาอย่าปอง ของฝากท่านอย่ารับ
ที่ทับจงมีไฟ ที่ไปจงมีเพื่อน
ทางแถวเถื่อนไคลคลา ครูบาสอนอย่าโกรธ
โทษตนผิดพึงรู้ สู้เสียสินอย่าเสียศักดิ์
ภักดีอย่าด่วนเคียด อย่าเบียดเสียดแก่มิตร
ที่ผิดช่วยเตือนตอบ ที่ชอบช่วยยกยอ
อย่าขอของรักมิตร ชอบชิดมักจางจาก
พบศัตรูปากปราศรัย ความในอย่าไขเขา
อย่ามัวเมาเนืองนิจ คิดตรองตรึกทุกเมื่อ
พึงผันเผื่อต่อญาติ รู้ที่ขลาดที่หาญ
สุภาษิตพระร่วง
คบพาลอย่าพาลผิด อย่าผูกมิตรไมตรี
เมื่อพาทีพึงตอบ จงนบนอบผู้ใหญ่
ช้างไล่แล่นเลี่ยงหลบ สุวานขบอย่าขบตอบ
อย่ากอปรจิตริษยา เจรจาตามคดี
อย่าปลุกผีกลางคลอง อย่างปองเรียนอาถรรพณ์
พลันฉิบหายวายม้วย อย่ายลเยี่ยงถ้วยแตกมิติด
จงยลเยี่ยงสัมฤทธิ์แตกมิเสีย ลูกเมียอย่าวางใจ
ภายในอย่านำออก ภายนอกอย่านำเข้า
อาสาเจ้าจนตัวตาย อาสานายจงพอแรง
ของแพงอย่ามักกิน อย่ายินคำคนโลภ
โอบอ้อมเอาใจคน อย่ายลเหตุแต่ใกล้
ท่านไท้อย่าหมายโทษ คนโหดให้เอ็นดู
สุภาษิตพระร่วง
ยอครูยอต่อหน้า ยอข้าเมื่อแล้วกิจ
ยอมิตรเมื่อลับหลัง ลูกเมียยังอย่าสรรเสริญ
เยียวสะเทินจะอดสู อย่าชังครูชังมิตร
ผิดอย่าเอาเอาแต่ชอบ นอบตนต่อผู้เฒ่า
เข้าออกอย่าวางใจ ระวังระไวหน้าหลัง
เยี่ยงผู้ชังจะคอยโทษ อย่ากิ้วโกรธเนืองนิจ
ผิวผิดปลิดไป่ร้าง ข้างตนไว้อาวุธ
เครื่องสรรพยุทธอย่าวางจิต คิดทุกข์ในสงสาร
อย่าทำการที่ผิด คิดขวนขวายที่ชอบ
โต้ตอบอย่าเสียคำ คนขำอย่าร่วมรัก
พรรคพวกพึงทำนุก ปลูกเอาแรงทั่วตน
ยลเยี่ยงไก่นกกระทา พาลูกหลานหากิน
สุภาษิตพระร่วง
ระบือระบิลอย่าฟังคำ การกระทำอย่าด่วนได้
อย่าใช้คนบังบด ทดแทนคุณท่านเมื่อยาก
ฝากของรักจงพอใจ เฝ้าท้าวไทอย่าทรนง
ภักดีจงอย่าเกียจ เจ้าเคียดอย่าเคียดตอบ
นอบนบใจใสสุทธิ์ อย่าขุดคนด้วยปาก
อย่าถากคนด้วยตา อย่าพาผิดด้วยหู
อย่าเลียนครูเตือนด่า อย่าริกล่าวคำคด
คนทรยศอย่าเชื่อ อย่าแผ่เผื่อความคิด
อย่าผูกมิตรคนจร ท่านสอนอย่าสอนตอบ
ความชอบจำใส่ใจ ระวังระวังที่ไปมา
เมตตาตอบต่อมิตร คิดแล้วจึงเจรจา
อย่านินทาผู้อื่น อย่าตื่นยกยอตน
คนจนอย่าดูถูก ปลูกไมตรีทั่วชน
สุภาษิตพระร่วง
ตระกูลตนจงคำนับ อย่าจับลิ้นแก่คน
ท่านรักตนจงรักตอบ ท่านนอบตนจงนอบแทน
ความแหนให้ประหยัด เผ่ากษัตริย์เพลิงงู
อย่าดูถูกว่าน้อย หิ่งห้อยอย่าแข่งไฟ
อย่าปองภัยต่อท้าว อย่ามักห้าวพลันแตก
อย่าเข้าแบกงาช้าง อย่าออกก้างขุนนาง
ปางมีชอบท่านช่วย ปางป่วยท่านชิงชัง
ผิจะบังบังจงลับ ผิจะจับจับจงมั่น
ผิจะคั้นคั้นจนตาย ผิจะหมายหมายจงแท้
ผิจะแก้แก้จงกระจ่าง อย่ารักห่างกว่าชิด
คิดข้างหน้าอย่าเบา อย่าถือเอาตื้นกว่าลึก
เมื่อเข้าศึกระวังตน เป็นคนเรียนความรู้
สุภาษิตพระร่วง
จงยิ่งผู้ผู้มีศักดิ์ อย่ามักง่ายมิดี
อย่าตีงูให้แก่กา อย่าตีปลาหน้าไซ
ใจอย่าเบาจงหนัก อย่าตีสุนัขห้ามเห่า
ข้าเก่าร้ายอดเอา อย่ารักเหากว่าผม
อย่ารักลมกว่าน้า อย่ารักถ้ากว่าเรือน
อย่ารักเดือนกว่าตะวัน สบสิ่งสรรพโอวาท
ผู้เป็นปราชญ์พึงสดับ ตรับตริตรองปฏิบัติ
โดยอรรถอันถ่องถ้วน แถลงเลศเหตุเลือกล้วน
เลิศอ้างทางธรรม แลนาฯ
คำแปล
สุภาษิตพระร่วง (แปล)
เมื่อน้อยให้เรียนวิชา = เมื่อเด็กให้ตั้งใจเรียนหาความรู้
เป็นคนเรียนความรู้ = เกิดเป็นคนควรเรียนรู้ ศึกษา
ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง = สร้างมิตรภาพกับผู้อื่นอยู่เสมอ
สร้างกุศลอย่ารู้โรย = หมั่นสร้างบุญ สร้างกุศลอยู่เสมอ
โอบอ้อมเอาใจคน = ให้มีเมตตาต่อคนทั้งหลาย
ปลูกไมตรีทั่วชน = หมั่นผูกไมตรีกับคนทุกคน มีมิตรดีกว่ามีศัตรู
ตระกูลตนจงคำนับ = ให้ความเคารพวงศ์ตระกูล
อย่าอวดหาญแก่เพื่อน = อย่าทำตัวเก่งกว่าเพื่อน
เป็นคนอย่าทำใหญ่ = อย่าอวดเบ่งคุยโตหรือมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น
อย่าเบียดเสียดแก่มิตร = ไม่ควรเบียดเบียนหรือเอาเปรียบเพื่อน
ที่ผิดช่วยเตือนตอบ = สิ่งใดที่เพื่อนทำผิดก็ช่วยบอกกล่าวตักเตือน
ที่ชอบช่วยยกยอ = สิ่งใดที่เพื่อนทำดีอยู่แล้วก็ควรยกย่องชมเชย
อย่าขอของรักมิตร = การขอในสิ่งที่เพื่อนรักและหวงโดยไม่เกรงใจ
ชอบชิดมักจางจาก = อาจทำให้เสียเพื่อนไปก็ได้
ยอมิตรเมื่อลับหลัง = การชมมิตรเมื่อลับหลังเป็นการชมอย่างจริงใจ
อย่าประกอบกิจเป็นพาล = อย่าประกอบอาชีพที่ทุจริต
พึงผันเผื่อต่อญาติ = ให้รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ญาติพี่น้อง
พรรคพวกพึงทำนุก = คนที่เป็นพวกกับเรา เราควรเลี้ยงดูเขาให้มี
ปลุกเอาแรงทั่วชน ความสุข เพราะเขาอาจสามารถช่วยเหลือเราได้ ให้
ดูตัวอย่างไก่หรือนกกระทาที่หาอาหารมาได้ก็เผื่อ
ยลเยี่ยงไก่นกกระทา แผ่ลูกๆ คนเราก็เช่นกัน เมื่อมีลาภหรือของกิน
พาลูกหลานมากิน ของใช้ ควรเรียกลูกหลาน มิตรสหาย
อย่ารักถ้ากว่าเรือน
อย่ารักเดือนกว่าตะวัน = อย่าเห็นของมีประโยชน์น้อยดีกว่าของมีประโยชน์มาก
อย่าตื่นยกยอตน = ไม่ควรพูดยกยอตนเอง
อย่าชังครูชังมิตร = อย่าเกลียดครูผู้เป็นกัลยาณมิตร
อย่าผูกมิตรคนจร = อย่าคบหากับคนเร่ร่อนพเนจร ไม่มีหัวนอนปลายเท้า
เมตตาตอบต่อมิตร = ควรมีความรักความจริงใจตอบต่อเพื่อน
คนขำอย่าร่วมรัก = ไม่ควรคบหาสมาคมกับคนมีลับลมคมในหรือคนเจ้าเล่ห์
คนทรยศอย่าเชื่อ = ไม่ควรให้ความเชื่อถือคนชั่ว และไม่ควรโยนความผิดให้กับผู้อื่น
อย่าเผื่อแผ่ความผิด
สุวานขบอย่าขบตอบ = ไม่ควรยุ่งเกี่ยวหรือต่อล้อต่อเถียงกับคนชั่ว
เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า = ให้มีความรอบคอบเมื่อจะปฏิบัติภารกิจควรนำเครื่องมือไปให้ครบครัน
หน้าศึกอย่านอนใจ = ควรเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์อยู่เสมอ
เดินทางอย่าเดินเปลี่ยว = ไม่ควรไปไหนมาไหนโดยลำพัง
ที่ขวากหนามอย่าเสียเกือก = อย่าได้ขาดเครื่องป้องกันยามเข้าไปอยู่ในที่มีภัย
ทำรั้วเรือกไว้กับตน = จงหมั่นทำความดีไว้เสมอเพื่อเป็นเครื่องกำบังตน
จงเร่งระมัดฟืนไฟ = ให้รู้จักระมัดระวังในการใช้ฟืนไฟอาจจะเกิดอันตรายได้
ที่ทับจงมีไฟ = ที่อยู่อาศัยควรมีไฟยามค่าคืน
ที่ไปจงมีเพื่อน
ทางแถวเถื่อนไคลคลา = ไปไหนมาไหนควรมีเพื่อนร่วมทางไปด้วย
เข้าออกอย่าวางใจ = ต้องรู้จักระมัดระวังตัวในการเดินทางไปไหนมาไหน
ระวังระไวหน้าหลัง ไม่ควร ประมาทเพราะอาจจะมีคนคอยปองร้ายเราได้
เยียวผู้ชังจะคอยโทษ
ข้างตนไว้อาวุธ สรรพยุทธอย่าวางจิต = ควรเตรียมพร้อมอาวุธไว้เสมอ
ข้าคนไพร่อย่าไฟฟุน = อย่าแสดงความโกรธต่อคนรับใช้หรือผู้ใต้บังคับบัญชา
ภักดีอย่าด่วนเคียด = ให้เป็นคนที่ซื่อสัตย์จงรักภักดี อย่าหุนหันตัดใจ
อย่ากริ้วโกรธเนืองนิตย์ = อย่าเป็นคนโมโหอยู่ตลอดเวลา
อย่ามีปากว่าคน = ไม่ควรนินทาหรือว่าคนอื่นให้ได้รับความเสียหาย
พบศัตรูปากปราศรัย = ความในอย่าไขเขา ควรพูดจาปกติแม้ว่าจะเป็นศัตรูกัน
แต่ไม่ควรเผย ความในใจ ให้เขารู้
เจรจาตามคดี = ควรพูดตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเพราะความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
อย่าขุดคนด้วยปาก = ไม่ควรพูดค่อนขอดหรือกล่าวหาว่าร้ายใคร
อย่าจับลิ้นแก่คน = อย่าคอยจับผิดคำพูดผู้อื่น
เมื่อพาทีพึงตอบ = ควรพูดเมื่อจำเป็นต้องพูด
อย่าริกล่าวคำคด = อย่าพูดโกหก ให้พูดแต่ความจริง
โต้ตอบอย่าเสียคำ = ในการสนทนาหรือโต้คารมไม่ควรกล่าวคำพูดให้ผู้อื่นเสื่อมเสีย
คิดแล้วจึงเจรจา = ควรคิดให้ดีก่อนพูด
อย่านินทาผู้อื่น = ไม่นินทาว่าร้ายผู้อื่น หรือกล่าวคำให้ผู้อื่นเสียหาย
โต้ตอบอย่าเสียคำ = ในการสนทนาหรือโต้คารมไม่ควรกล่าวคำพูดให้ผู้อื่นเสื่อมเสีย
คิดแล้วจึงเจรจา = ควรคิดให้ดีก่อนพูด
อย่านินทาผู้อื่น = ไม่นินทาว่าร้ายผู้อื่น หรือกล่าวคำให้ผู้อื่นเสียหาย
อย่านั่งชิดผู้ใหญ่ = ให้รู้จักที่ต่าที่สูง อย่าตีตนเสมอท่าน
อย่าขัดแข็งผู้ใหญ่ = ไม่ควรขัดแย้งหรืองัดข้อหรือแสดงอำนาจกับผู้ใหญ่
หรือผู้ที่มีอำนาจมากกว่าเพราะอาจจะมีภัย
จงนบนอบผู้ใหญ่ = ต้องมีความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่
ผู้เฒ่าสั่งจงจำความ = ควรจำคำที่ผู้ใหญ่อบรมสั่งสอนมาใช้ปฏิบัติ
ครูบาสอนอย่าโกรธ = เมื่อครูอบรมสั่งสอนไม่ควรโกรธเพราะครูเป็น
ผู้ที่มีความปรารถนาที่ดีต่อศิษย์
ท่านไท้อย่าหมายโทษ = อย่าจับผิดผู้ใหญ่
นอบตนต่อผู้เฒ่า = มีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
ทดแทนคุณท่านเมื่อยาก = ต้องแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณยามแก่เฒ่า
อย่าเลียนครูเตือนด่า = อย่านำพฤติกรรมของครูขณะอบรมสั่งสอนเรามาล้อเลียน
ท่านสอนอย่าสอนตอบ = เมื่อผู้ใหญ่ตักเตือนสั่งสอนควรตั้งใจฟังด้วยความเคารพ
ไม่กล่าวคำยอกย้อนต่อผู้ใหญ่
ท่านรักตนจงรักตอบ = เมื่อผู้ใหญ่รักเรา เราควรแสดงความกตัญญูต่อท่าน
ท่านนอบตนจงนอบแทน = ผู้ที่อ่อนน้อมต่อเราเราควรอ่อนน้อมตอบ
ให้หาสินเมื่อใหญ่ = เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ต้องรู้จักทำงานเลี้ยงตนและครอบครัว
อย่าริร่านแก่ความ = อย่าด่วนหาเรื่อง
ประพฤติตามบูรพระบอบ = ประพฤติตนตามขนบธรรมเนียมระเบียบประเพณีที่กำหนด
อย่าใฝ่สูงให้พ้นศักดิ์ = อย่าทะเยอทะยานเกินความสามารถของตน
เข็นเรือทอดกลางถนน = เตือนไม่ให้ทำอะไรผิดปกติวิสัยหรือผิดกาลเทศะ
หว่านพืชจักเอาผล = ทำอะไรอย่าทำตัวเกินฐานะของตน
เลี้ยงคนจักกินแรง
ตนเป็นไทอย่าคบทาส = เมื่อพ้นสภาพจากการเป็นทาสแล้วไม่ควรมาคบกับทาสอีก
มีสินอย่าอวดมั่ง = อย่าอวดความมั่งเพราะอาจเป็นอันตรายต่อตนเองได้
รักตนกว่ารักทรัพย์ = ให้รักเกียรติ นักชื่อเสียงวงศ์ตระกูลยิ่งกว่าทรัพย์สินเงินทอง
สู้เสียสินกว่าเสียศักดิ์ = เกียรติยศ ชื่อเสียง เมื่อมีแล้วก็ควรรักษาให้ดี
ทรัพย์สินเงินทอง เมื่อเสียไปแล้วหาใหม่มาทดแทนได้
คิดตรองตรึกทุกเมื่อ = ควรคิดไตร่ตรองใคร่ครวญให้ดีก่อนก่อนที่จะทำอะไร
เยียวสะเทินจะอดสู = ทำสิ่งใดขาดๆ เกินๆ ก้ากึ่งจะเป็นที่อับอาย
อย่าใฝ่เอาทรัพย์ท่าน = ควรทำมาหากินด้วยตนเอง ไม่ควรหวังพึ่งผู้อื่นในการเลี้ยงตน
ไปเรือนท่านอย่านั่งนาน = ยามไปธุระปะปังที่ไหนไม่ควรนั่งนาน
ที่รักอย่าดูถูก = ควรให้ความรักความเกรงใจแม้คนใกล้ชิด ไม่ควรมองข้าม
น้าเชี่ยวอย่าขวางเรือ = ในขณะที่เหตุการณ์รุนแรงยังดำเนินอยู่อย่างร้อนรน
เราไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว
ช้างไล่แล่นเลี่ยงหลบ = ถ้าถูกคุกคามจากผู้มีอำนาจให้หลบหลีกไม่ควรต่อสู้
ความแหนให้ประหยัด = สิ่งที่รักและหวงแหนก็ให้ระมักระวังรักษาไว้ให้ดี
เผ่ากษัตริย์เพลิงงู = ไม่ควรไว้ใจในสิ่งต้องห้าม ๕ ประการคือ กษัตริย์ เด็ก
ผู้หญิง งู และไฟ เพราะอาจนำความเดือดร้อนมาสู่เราได้
อย่าตีงูให้แก่กา = อย่าทำสิ่งไร้ประโยชน์อาจเกิดโทษแก่ตนได้
อย่าตีปลาหน้าไซ = อย่าขัดขวางผลประโยชน์ที่กำลังจะเกิดขึ้น
อย่าดีสุนัขห้ามเห่า = อย่าทำสิ่งที่สวนทางกับธรรมชาติ
อย่าเข้าแบกงาช้าง = อย่าทำการใดเสี่ยงอันตรายและไม่เกิดประโยชน์แก่ตน
อย่าโดยคำคนพลอด = อย่าเชื่อคำพูดอันหวานหู
อย่ามัวเมาเนืองนิตย์ = อย่าหลงใหลในสิ่งไร้สาระตลอดเวลา
อย่าได้รับของเข็ญ = อย่ารับของร้อนหรือของโจร
โทษตนผิดพึงรู้ = สอนให้พิจารณาตนเอง ให้หาความผิดของแล้วแก้ไข
การเรือนตนเร่งคิด = ควรปฏิบัติงานบ้านงานเรือนอยู่เสมออย่าให้บกพร่อง
โทษตนผิดรำพึง = ให้มองเห็นโทษของการทำความผิดหรือความชั่วไม่ควรไป
อย่าคะนึงถึงโทษท่าน = เสียเวลาจับผิดคนอื่น
เห็นงามตาอย่าปอง = ของสวยงามมักมาพร้อมกับภัยอันตราย
อย่าตื่นยกยอตน = ไม่ควรพูดยกยอตนเองเปรียบเทียบเหมือนกลองจะดังต้องมีคนตี
= ถ้ากลองดังโดยไม่มีคนตีเรียกว่ากลองจัญไร
ของฝากท่านอย่ารับ = อย่ามักง่ายหรือเห็นแก่ได้
อย่ากอรปจิตริษยา = ไม่ควรริษยาผู้อื่นเพราะการริษยาเป็นบ่อนทำลายสามัคคี
คุณค่าของวรรณคดี
คุคุณ
ณค่ค่าาด้ด้าานเนื
นเนือ้อ
้ หา
หา

สุภาษิต ให้ข้อคิดสอนใจ
• ให้มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
• ส่งเสริมการศึกษา รู้จักประมาณตน ไม่โอ้อวด
• สร้างไมตรีไม่เบียดเบียนมิตร
• สอนการปฏิบัติตน ให้รู้จักระวังตน
• สอนการปฏิบัติตนต่อมิตร
• สอนการปฏิบัติตนและเชื่อฟังผู้ใหญ่
• สอนการปฏิบัติตนต่อศัตรู
• สอนให้รักศักดิ์ศรีของตนเอง
• สอนให้รู้จักกตัญญูกตเวที
• สอนให้รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่คนอื่น
คุณค่าด้านวรรณศิลป์

๑. ใช้ถ้อยคำง่าย คำน้อยแต่กินความมาก
การใช้คำน้อยแต่ได้ใจความมาก คำประพันธ์ในบางวรรคมี
ความหมายลึกซึ้ง เช่น เผ่ากษัตริย์เพลิงงู

๒. มีอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบดี
เป็นการสอนศีลธรรมและคติธรรม สำนวนโวหารคล้ายกันกับใน
หลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง

๓. มีการใช้คำสำนวน
ภาษาที่ใช้สอนตรงไปตรงมา เรียบง่าย ทำให้จดจำง่าย
เช่น ตีปลาหน้าไซ
คุณค่าด้านสังคม

๑. สะท้อนวัฒนธรรมการปกครองของคนในอดีต
คนในอดีตใช้วิธีเผยแพร่ความรู้จากชนชั้นนำ ลงไปสู่ประชาชน

๒. สะท้อนให้เห็นค่านิยมการเคารพผู้ใหญ่
จากสุภาษิตพระร่วง จะเห็นว่ามีหลายวรรคมีสอนให้เคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่
เนื่องจากในอดีตผู้ใหญ่นั้นเป็นผู้ที่ความสำคัญต่อสังคมมากทั้งการตัดสินใจ และการ
ให้ศึกษาแก่เด็ก

๓. เป็นเครื่องกำหนดความประพฤติตนของคนในสังคม
สุภาษิตพระร่วงเป็นกรอบในประพฤติการปฏิบัติตนของคนในสังคมสมัยนั้น
จบแล้ว

You might also like