You are on page 1of 16

topic of the day?

Search

ขบวนการก่อการร้าย
ศตวรรษที่21
การก่อการร้ายที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่
เกี่ยวข้องกับการเมือง ซึ่งกลุ่มคนหรือ
ขบวนการก่อการร้ายต้องการบรรลุเป้า
หมายทางการเมืองบางอย่าง โดยทั่วไป
มักใช้ความรุนแรง เพื่อเรียกร้องความ
สนใจและปฏิกิริยาตอบรับจากกลุ่มเป้า
หมาย เช่น รัฐบาล โดยผู้ที่อยู่ใน
เหตุการณ์อาจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
การก่อการร้ายนี้อาจจำกัดขอบเขตหรือ
ขายไปนอกเขตแดนประเทศก็ได้

การก่อการร้ายในศตวรรษที่21
ลำดับเหตุการณ์สำคัญ
ขบวนการก่อการร้ายศตวรรษที่21

1 2 3 4

เหตุการณ์ เหตุการณ์
การวางระเบิด เหตุโจมตีใน
ระเบิด 14 ลูก ระเบิดรถไฟที่
บนเกาะบาหลี ศรีลังกา
ที่มาดริด กรุงลอนดอน

2002 2004 2005 2007


12 ตุลาคม 2002

การวางระเบิด
เกาะบาหลี เกิดเหตุลอบวางระเบิดที่สถานบันเทิง 2 แห่ง บน
เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยกลุ่มคนที่มีชื่อ
ว่า กลุ่มเจไอ (JI) ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก
เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้เกิดความเศร้าสะเทือน
ไปทั่วโลก
การโจมตีดังกล่าวเป็นพฤติการณ์ก่อการร้ายครั้งนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย ซึ่งสังหารประชาชนไป 202 คน และมี
ผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 240 คน เหตุโจมตีดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการจุดระเบิดสามลูกด้วยกัน ลูกที่หนึ่งเป็นอุปกรณ์ติดกับเป้สะพายหลัง
ซึ่งมือระเบิดพลีชีพนำติดตัวไปด้วย ลูกที่สองเป็นคาร์บอมบ์ขนาดใหญ่ ซึ่งทั้งสองลูกนั้นถูกจุดระเบิดในหรือใกล้กับไนท์คลับที่ได้รับ
ความนิยมในกูตา ส่วนระเบิดลูกสุดท้าย เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กกว่ามาก ซึ่งจุดระเบิดนอกสถานกงสุลสหรัฐอเมริกาในเด็นปาซาร์ แต่
เคราะห์ดีก่อให้เกิดความเสียหายเพียงเล็กน้อยกับสถานที่เท่านั้น
11 มีนาคม ค.ศ. 2004

เหตุการณ์ระเบิด
14 ลูกที่มาดริด
เหตุการณ์ระเบิดครั้งใหญ่ หรือเรียกอีกชื่อว่า 11-M เกิดขึ้นเมื่อ
วันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 2004 เมื่อรถไฟสายชานเมืองเข้าเทียบ
สถานี Atocha สถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในเมืองมาดริด เกิดระเบิด
ตามกันมา 14 ลูก ทำให้มีผู้เสียชีวิต 200 คนและบาดเจ็บอีก
ประมาณ 1500 คน นับเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่สุดใน
ประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของสเปน
ตั้งแต่เรื่องตัวการสำคัญซึ่งอยู่เบื้องหลังเหตุสยดสยองทั้งสองรายนี้ มีความเชื่อมโยงกันอย่างไม่
ต้องสงสัย โดยที่เครือข่ายอัลกออิดะห์ ของ อุซามะห์ บิน ลาดิน คือผู้บงการการโจมตีกระหน่ำใส่หัวใจ
ของแดนลุงแซม ขณะที่กลุ่มซึ่งประกาศตัวเองเป็นชาวโมร็อกโกในเครือของอัลกออิดะห์ ก็เป็นผู้อ้าง
ความรับผิดชอบในการบึ้มมาดริด
ทว่า เมื่อเหตุระเบิดในเมืองหลวงคราวนี้ เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งเพียง 3 วัน ทั้งอัซนาร์ และพรรค
ป็อปปูลาร์ ปาร์ตี้ ของเขา ต่างไม่ปรารถนาที่จะพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่ว่า มันอาจเป็นฝีมือของ
เครือข่ายอัลกออิดะห์ ซึ่งน่าจะลงมือด้วยความไม่พอใจที่อัซนาร์สนับสนุนการรุกรานและยึดครองอิรัก
ของสหรัฐฯอย่างแข็งขัน
พวกเขาพยายามยืนกรานสุดฤทธิ์ ว่าเป็นการกระทำของกลุ่มเอต้า ขบวนการติดอาวุธที่มุ่งแบ่งแยก
แคว้นบาสก์ออกมาเป็นรัฐเอกราช ซึ่งเคยก่อวินาศกรรมในสเปนอยู่เป็นประจำ
แต่เมื่อหลักฐานต่างๆ ผุดทะลักขึ้นมาอย่างกระจะยากโต้แย้งว่า มันเป็นฝีมือของพวกอิสลามิก
แนวทางรุนแรง ที่ต้องการแก้แค้นอัซนาร์ในกรณีบุกอิรัก พรรคป็อปปูลาร์ ปาร์ตี้ ก็สูญเสียเครดิต
ความน่าเชื่อถือ ผู้ออกเสียงชาวสเปนหันไปเทคะแนนให้แก่ฝ่ายค้านที่เป็นพรรคสังคมนิยม ทำให้ โฆเซ
หลุยส์ รอดริเกซ ซาปาเตโร หัวหน้าพรรคได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแดนกระทิงดุคนใหม่แบบพลิกล็อก
ถล่มทลาย
เหตุการณ์
ระเบิดรถไฟที่
กรุงลอนดอน รถไฟใต้ดิน 3 ขบวน และรถโดยสารประจำทาง 1 คัน ถูก
วางระเบิด ทำให้มี ผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 56 คน และบาด
เจ็บมากกว่า 700 คน เหตุการณ์ในครั้งนี้สร้างความไม่
พอใจของคนอังกฤษต่อชาวมุสลิม เป็นอย่างมาก ทำให้
เกิดการทำลายมัสยิด อีกทั้งคนมุสลิมยังถูกจับ ตามอง
7 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 เป็นพิเศษจากตำรวจและหน่วยสืบราชการลับ
สาเหตุการระเบิด เกิดจาก‘การก่อการร้าย’ ซึ่งนับเป็นการก่อการร้ายที่รุนแรง
ที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ และเหตุระเบิดคราวนี้มีลักษณะใกล้
เคียงกับเหตุการณ์ระเบิดรถไฟที่มาดริด ประเทศสเปน ซึ่งเป็นลักษณะการ
โจมตีของ‘ อัล-กออิดะห์’ คือ ระเบิดถูกจุดต่อเนื่องในเวลาใกล้เคียงกัน ,ไม่มี
การเตือนแจ้ง หรือข่มขู่ล่วงหน้า ,ระเบิดเกิดในช่วงเช้า ,ระเบิดเกิดขึ้นในบริเวณ
ศูนย์กลางชุมชน
ภายหลังเกิดเหตุไม่กี่ชั่วโมงกลุ่ม“องค์การอัล-กออิดะห์ญิฮัดในยุโรป” ได้
ออกแถลงแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าว
ทั้งนี้คนร้ายซึ่งก่อเหตุระเบิดฆ่าตัวตาย มีทั้งหมด 4คน คือ โมฮัมหมัด ซิดิค
ข่าน, เชห์ซาด ทันเวียร์, เจอร์เมน ลินด์เซย์ ได้เช่ารถออกเดินทางจากเมืองลีดส์
ตั้งแต่ตี 4 เพื่อไปสมทบกับฮาซิบ ฮุสเซน ผู้ร่วมก่อการอีกคนหนึ่งที่เมืองลูตัน
ก่อนจะจับรถไฟเดินทางเข้ามายังกรุงลอนดอน และก่อเหตุบนรถไฟใต้ดิน 3
จุด และบนรถเมล์สองชั้นอีกคันหนึ่ง โดยขบวนรถไฟใต้ดิน 3 ขบวนที่เกิด
ระเบิดเป็นรถไฟที่เดินทางออกจากสถานีคิงส์ครอส และเกิดระเบิดในช่วงเวลา
ประมาณ 8.50 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาเร่งด่วนตอนเช้า

26 มีนาคม ค.ศ. 2007


เหตุโจมตีในศรีลังกา
กลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนพยัคฆ์ทมิฬอีแลมหรือแอลทีทีอี
(Liberation Tigers of Tamil Eilam-
LTTE) ในศรีลังกา ก่อเหตุรุนแรงโดยส่งนักบินไปโจมตี
ฐานทัพอากาศของรัฐบาล ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ท่าอากาศยาน
นานาชาติในกรุงโคลัมโบ เมืองหลวงของศรีลังกา ทำให้
ทหาร 3 นายเสียชีวิต และมีผู้บาดเจ็บ 16 คน ต่อมามี
ผู้ก่อการร้ายได้ขับรถบรรทุกขนาดเล็กที่เต็มไปด้วยระเบิดไป
ยังค่าย ทหาร ก่อนที่จะจุดชนวนบริเวณด้านหน้าค่ายทหาร
ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 7 คน การก่อการร้ายของ
กลุ่มแอลทีทีอีมีมาอย่างต่อเนื่อง สาเหตุมาจากความขัด
แย้งทางเชื้อชาติ ระหว่างชาวสิงหลและชาวทมิฬ รัฐบาล
ศรีลังกาและกลุ่มแอลทีทีอีได้ลงนามยุติหยุดยิงเมื่อ ค.ศ.
2002 โดยมีประเทศนอร์เวย์เป็นผู้ไกล่เกลี่ย แต่ผลของ
การเจรจาไม่มีความกาวหน้ามากนัก วันที่ 2 มกราคม
ค.ศ. 2008 รัฐบาลศรีลังกาประกาศยกเลิกข้อตกลง
หยุดยิง ทำให้ความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายรุนแรงมากขึ้น
เช่น กลุ่มแอลทีทีอีลอบสังหารเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ
รัฐบาล ก่อเหตุวางระเบิดสถานีรถไฟ สวนสัตว์ รถประจำ
ทาง และห้างสรรพสินค้าในกรุงโคลัมโบ
กองทัพพม่าขึ้นบัญชีดำรัฐบาล
เงาเป็น “ก่อการร้าย” หลังตั้ง
กองกำลังปกป้องประชาชน

คณะทหารผู้ปกครองพม่าตราหน้ารัฐบาลเอกภาพแห่ง

สถานการณ์ ชาติในฐานะกลุ่มก่อการร้าย และกล่าวโทษพวกเขาต่อ


เหตุระเบิด วางเพลิงและฆาตกรรมต่างๆ นานา ตาม
รายงานของสื่อมวลชนที่ควบคุมโดยภาครัฐในวันเสาร์

ก่อการร้ายใน (8 พ.ค.)

ปัจจุบัน
กองทัพพม่าพยายามควบคุมความสงบเรียบร้อย นับ
ตั้งแต่ก่อรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์
พร้อมควบคุมตัว นางอองซาน ซูจี ผู้นำที่มาจากการ
เลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย

มีรายงานเหตุระเบิดเกิดขึ้นแทบทุกวัน และกำลังติด
อาวุธท้องถิ่นถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเผชิญหน้ากับทหาร ขณะ
เดียวกัน การชุมนุมต่อต้านคณะรัฐประหารทั่วประเทศ
ไม่มีทีท่าจะหยุดลง เช่นเดียวกับการผละงานประท้วงต่อ
ต้านรัฐประหารที่ทำเศรษฐกิจเป็นอัมพาต
ความเคลื่อนไหวของทหารพม่ามีขึ้นหลังจากเมื่อ
ช่วงต้นสัปดาห์รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG)
ซึ่งปฏิบัติการอย่างลับๆ และพวกเขาเองก็จำกัด
ความกองทัพในฐานะ “กองกำลังก่อการร้าย” กฎหมายก่อการร้ายไม่ได้แบนแค่เฉพาะสมาชิกของกลุ่ม
เช่นกัน เผยว่าพวกเขาจะจัดตั้งกองกำลังป้องกัน เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบุคคลใดก็ตามที่ติดต่อกับพวกเขา
ตนเองของประชาชน หลังจากก่อนหน้านี้คณะรัฐประหารเคยกล่าวหาฝ่ายต่อ
ต้านว่าเป็นกบฏ
“การกระทำของพวกเขาก่อให้เกิดการก่อการร้าย
คณะรัฐประหารโต้แย้งตัวเลขดังกล่าว และบอกว่ามีกอง
มากมายในหลายพื้นที่” เอ็มอาร์ที สื่อมวลชนแห่ง
กำลังด้านความมั่นคงหลายสิบนายเสียชีวิตท่ามกลางการ
รัฐระบุ พร้อมประกาศว่าเวลานี้กฎหมายต่อต้าน
ประท้วงเช่นกัน
การก่อการร้ายจะครอบคลุมทั้งรัฐบาลเอกภาพ
แห่งชาติ คณะกรรมการของบรรดาสมาชิกสภาผู้ นอกจากสถานการณ์การประท้วงแล้ว กองทัพพม่าต้อง
แทนราษฎรที่ถูกขับไล่ที่เรียกว่า CRPH และกอง เผชิญศึกรอบด้าน หลังเกิดการปะทะตามแนวชายแดนกับ
กำลังป้องกันตนเองของประชาชน กองกำลังติดอาวุธกลุ่มชาติพันธุ์ที่สู้รบกันมานานหลาย
ทศวรรษ และกลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มในนั้นแสดงจุดยืน
“พวกเขาทั้งระเบิด ยิง เข่นฆ่า และคุกคาม เพื่อ สนับสนุนพวกผู้ชุมนุม
ทำลายกลไกบริหารของรัฐบาล”
สถานการณ์เหตุก่อการร้ายในอนาคต Search

ระวังก่อการร้าย
“ญี่ปุ่นแจ้งเตือนการก่อการร้าย ในวันถัดไปหลังวันครบรอบเหตุการณ์ 9/11 ถือเป็น
สัญลักษณ์การก่อการร้าย จะเป็นโอกาสที่กลุ่มไอซิส ได้แสดงตน หลังการประกาศไม่ก่อความ คำเตือนจากญี่ปุ่น จับตา
รุนแรงช่วงการระบาดของโควิดมาระยะหนึ่ง ซึ่งควรเฝ้าระวังมากกว่าปกติเป็นพิเศษ อาจรำลึก เครือข่ายไอซิส คืนชีพ
ถึงความสูญเสีย หรือรำลึกชัยชนะที่บรรลุเป้าหมายของเขา ไม่ว่าเหตุการณ์ใดๆ หรือสงคราม
ข้ามชาติ จะต้องแสดงออกมา และเป็นไปได้ว่ากลุ่มเหล่านี้อาจเป็นเครื่องมือให้กับมหาอำนาจ โยงเหตุ 9/11
ก็ได้”

ส่วนประเทศไทย แม้ไม่ได้อยู่ในกลุ่มผู้ขัดแย้งโดยตรงกับสถานการณ์การก่อการร้าย ในการ


แสดงบทบาทการปราบปรามมากนัก และไม่ได้รับผลกระทบสูง แต่อย่าประมาท ส่วนฟิลิปปินส์
Save
มีกลุ่มอาบูไซยาฟ และอินโดนีเซีย มีกลุ่มติดอาวุธอิสลามในอาเจะห์ รวมถึงในมาเลเซีย ซึ่ง
ทั้งหมดเชื่อมโยงกับกลุ่มไอซิส ควรระมัดระวังให้มากขึ้น ตราบใดที่ความขัดแย้งในโลกไม่หยุด
และอุดมการณ์สุดโต่งนี้ยังมีอยู่
Cancel
ขบวนการก่อการร้ายในไทย

การก่อการร้ายส่วนใหญ่เกิดบริเวณที่เกิดความ
ขัดแย้งที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ส่วนใหญ่ผู้ก่อเหตุมุ่งเป้าไปยังกำลังความมั่นคง
และสัญลักษณ์อำนาจของรัฐไทยอย่างข้าราชการ
โรงเรียนและวัด แต่ผู้เสียชีวิตกว่า 90% เป็น
พลเรือน[52] มีการตัดศีรษะ แขวนคอและทุบตี
มีการฆ่าผู้หญิง เด็ก ครูและพระสงฆ์ และมีการ
หายตัวอยู่เป็นนิจ[53]
การโจมตีระยะแรก ๆ เป็นการประกบยิงใส่นาย
ตำรวจที่ลาดตระเวนจากมือปืนหรือจักรยานยนต์
หลังปี 2544
ลักษณะการก่อเหตุบานปลายเป็นการโจมตีที่มีการประสานงานกันอย่างดีใส่สถานที่ตั้งของตำรวจ เช่น สถานีตำรวจและ
ด่านตรวจ แล้วหลบหนีไปพร้อมกับขโมยอาวุธและเครื่องกระสุน ยุทธวิธีอื่นที่ใช้เพื่อเรียกชื่อเสียงจากความตื่นตระหนก
และหวาดกลัว ได้แก่ การฆ่าพระสงฆ์ การวางระเบิดวัด การตัดศีรษะ การข่มขู่พ่อค้าหมูและลูกค้า ตลอดจนการวางเพลิง
โรงเรียน ฆ่าครูและอำพรางศพ

จุดมุ่งหมายของการก่อเหตุมีลักษณะโจมตีไม่เลือกลดลง และเป็นการโจมตีแก้แค้นมากขึ้น โดยมีกำลังความมั่นคง


ข้าราชการและมุสลิมสายกลางเป็นเป้าหมาย มีการใช้ระเบิดแสวงเครื่องขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 5–10 กิโลกรัม
สร้างขึ้นจากถึงแก๊สหุงต้ม หรือถังดับเพลิงบรรจุแอมโมเนียมไนเตรดซึ่งมีราคาถูก ระเบิดในภายหลังมีแนวโน้มใช้
อุปกรณ์วิทยุจุดแทนโทรศัพท์เคลื่อนที่ และมีการใช้ระเบิดแสวงเครื่องแบบหน่วงเวลา (time-delayed) มากขึ้นเพื่อ
มุ่งเป้าไปยังผู้รับแจ้งเหตุการลอบยิง ซึ่งอาจเป็นการซุ่มโจมตีหรือการยิงประกบจากมอเตอร์ไซค์ เป็นวิธีการฆ่าหลัก และ
เปลี่ยนมามีรูปแบบการแก้แค้นมากขึ้น ความรุนแรงระหว่างมุสลิมด้วยกันเป็นเรื่องการแก่งแย่งอำนาจมาโดยตลอด
กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบต้องการไล่พุทธออกจากพื้นที่ ส่วนพุทธที่เหลืออยู่อยู่ในพื้นที่ที่มีอาวุธแน่นหนา การก่อเหตุลอบ
วางเพลิงลดลง ส่วนหนึ่งเพราะมีทหารคุ้มครอง และบางส่วนเพราะมุสลิมไม่พอใจที่โรงเรียนถูกเผา ผู้ก่อความไม่สงบไม่
เต็มใจยิงปะทะและมักเป็นไปเพื่อป้องกันตัว แต่มีแหล่งข่าวระบุว่ามีการยิงปะทะยืดเยื้อเฉลี่ยเดือนละ 4 ครั้ง

ในปี 2561 การโจมตีกำลังความมั่นคงลดลงเหลือ 1–2 ครั้งต่อเดือน ยุทธวิธีที่นิยมใช้ยังเป็นการวางระเบิดริมถนนและ


การยิง มีการใช้ระเบิดท่อเหล็ก เครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม79 และปืนเล็กยาวเอ็ม16 ในการก่อเหตุ
Thank you!

You might also like