You are on page 1of 9

การดำเนินนโยบายของรัฐไทยกับการเลือกปฏิบัติต่อชาวมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

เมื่อพูดถึงสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คนส่วนมากย่อมนึกถึงการก่อเหตุความรุนแรงและระเบิด เกิดความ


อคติและความเข้าใจแบบเหมารวมว่าชาวมุสลิม เป็นพวกที่ชอบใช้กำลัง โดยมิได้ทราบหรือคำนึงถึงความจริง ใน
ประวัติศาสตร์ชาติ ที่ถูกปิดซ่อนเอาไว้บนความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกัน กลุ่มคนส่วนใหญ่ถือว่าอารย
ธรรมของตนเป็นศูนย์กลาง สิ่งใดที่แตกต่างไปจากมาตรฐานที่สังคมกำหนดจะถือเป็นอัตลักษณ์ของคนชายขอบi ไม่
เป็นที่ยอมรับของสังคม ถูกกีดกันจากสิทธิทางการเมืองที่พึงจะได้รับ โดยมีรัฐเป็นตัวแสดงสำคัญในกระบวนการ
สร้างความเป็นชายขอบผ่านการดำเนินนโยบายแบบเน้น ชาติพัน ธุ์ภายใต้ แนวคิ ดพวกเขา-พวกเราii มองความ
แตกต่ างเป็น ภัยคุกคาม ซึ่ง รัฐเกรงว่า หากกลุ ่ มคนเหล่ านี้ มีอ ิทธิ พลมากขึ้ น ไม่ ว่าจะในทางเศรษฐกิ จหรือ ทาง
การเมือง อาจส่งผลกระทบต่ออำนาจการปกครองและผลประโยชน์ได้ โดยอาศัยวาทกรรมที่ว่าจะเข้ามาช่วยพัฒนา
แก้ไขความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นเป็นข้ออ้างในการผสมกลมกลืนวัฒนธรรม (Assimilation) ให้เป็นประเทศที่ปกครองคน
เชื ้ อ ชาติ เ ดี ย ว บีบบัง คับให้ก ลุ่ม คนที่ม ี ความเชื ่ อ ที ่ แตกต่ างกั น ยอมรั บวั ฒนธรรม หลั ก ความเป็ น อื ่ น (The
Otherness) ที่พวกเขาได้รับ ผลักดันให้ต้องต่อสู้เพื่ออัตลักษณ์ของตนเอง ความคับแค้นใจเป็นที่มาของความ
ขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนเห็นต่างจากรัฐกับตัวรัฐ จนนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประชาชนในรัฐด้วยกันเอง ทั้งที่การ
สนับสนุนให้ทุกคนในชาติภูมิใจในความแตกต่างทางวัฒนธรรม ภาษาของตน อาจเป็นตัวช่วยในการหลอมรวม
ความคิดของกลุ่มคนที่มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันในสังคมพหุวัฒนธรรมก็ได้iii
บทความชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายในการวิเคราะห์พฤติกรรมการดำเนินนโยบายผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของ
รัฐไทยกับการเลือกปฏิบัติต่อชาวมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจะเน้นนโยบายด้านการศึกษา ศาสนา
และภาษาเป็นหลักผ่านกรอบแนวคิดพหุวัฒนธรรม (multiculturalism) ซึ่งจะแบ่งออกเป็น สามส่วน ส่วนแรก
ความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่เป็นรากเหง้าของปัญหา ส่วนที่สอง กำแพงภาษากับความเหลื่อมล้ำ ส่วนสุดท้าย ความ
ขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาวไทยพุทธและกลุ่มมลายูมุสลิม
ส่วนแรก น้อยคนนักที่จะทราบถึงความยิ่งใหญ่ของรัฐปัตตานีในอดีต ระบบการศึกษาไทยและสื่อมีส่วนใน
การปิดบังความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ผ่านการนำเสนอเรื่องเล่าที่ฝ่ายชาวมลายูมุสลิมเป็นพวกก่อกบฏ ต้องการ
แบ่งแยกดินแดนออกไปปกครองตนเอง เป็นการส่งต่อทัศนคติในแง่ของเราดี -เขาชั่ว หากมองย้อนกลับไป เราจะ
เห็นว่า สาเหตุปัญหาความขัดแย้งมีที่มาจากบาดแผลทางประวัติศาสตร์ของชาวมุสลิม อัน เกิดจากการตกเป็น
เมืองขึ้นของสยาม ระบบโครงสร้างอำนาจการบริหารราชการตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่
ต่อประชาชนด้วยความไม่เข้าใจในวิถีชีวิตความเป็นชนชาวมลายูด้วยการพยายามยัดเยียดอัตลักษณ์ความเป็นไทย
เพียงอย่างเดียวให้กับพวกเขา
จากรัฐจารีตที่ไม่มีการแบ่งสันปันส่วนทางอำนาจที่ชัดเจน ไม่มีศูนย์กลางอำนาจหลัก ไปสู่ การสถาปนา
รัฐบาลกลาง โดยอาศัยกระบวนการสร้างรัฐ-ชาติ (Nation-State) ที่ปลูกฝังแนวคิดความเป็นหนึ่งเดียวทางด้าน
วัฒนธรรม ซึ่งส่งผลต่อการอ้างสิทธิ์ทางเขตแดนระหว่างพื้นที่ที่มีการปกครองโดยรัฐบาลกลางกับพื้นที่ชายขอบ
สร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างใหญ่หลวง เริ่มตั้งแต่การแบ่งดินแดนปัตตานีออกเป็นเจ็ดหั วเมืองภายหลัง
จากที่ปัตตานีพ่ายแพ้สงครามให้กับสยาม เป็นความพยายามที่จะผนวกดินแดนรวมชนชาติดั้งเดิมเข้าด้วยกันซึ่งชาว
มลายูมุสลิมไม่มีสิทธิที่จะได้เลือกเส้นทางชีวิตของตนเองเสียด้วยซ้ำ ช่วงแรกนั้นผู้ปกครองหัวเมืองทั้งเจ็ดยังคงเป็น
ชาวมลายูมุสลิม แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ปฏิรูประบบการปกครองของสยามใหม่ ลิดรอน
อำนาจบรรดาเจ้าเมืองต่างๆโดยอ้างว่าเพื่อป้องกันการรุกรานจากต่างชาติ เป็นการยุติอำนาจของผู้ปกครองทั้งเจ็ด
หัวเมืองปัตตานีพร้อมกับเป็นการสร้างความรู้สึก ของการถูกบีบบังคับให้ ตกเป็นดินแดนของสยาม แม้จะมีเสียง
เรียกร้องต่อต้านแต่ก็ไม่เป็นผลiv ยิ่งไปกว่านั้น กฎหมาย “รัฐนิยม” 12 ฉบับ ที่มีผลบังคับใช้โดยจอมพล ป. พิบูล
สงคราม ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนชื่อจากสยามเป็นไทย เพลงชาติ หรือกิจประจำวัน เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่น
ให้กับสังคมไทยจึงรณรงค์การสร้างเสริมความเป็นไทยทั่วภูมิภาค ในกรณีของคนมลายูมุสลิม ก็ถูกเรียกเป็น ไทย
มุสลิมแทน แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลไทยไม่ตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมอันจะ
เป็นผลดีกับคนในสังคมมากกว่าก่อให้เกิดปัญหา
ความรุนแรงในอดีตที่เกิดขึ้นตั้งอดีตต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยจอมพล ป. ที่เน้นการ
ดำเนินนโยบายผสมกลมกลืน บีบบังคับทางอ้อมให้ชาวมลายูมุสลิมยอมรับและปฏิบัติตามแนวทางของคนส่ วนใหญ่
เป็นความไม่ลงรอยกันในความสัมพันธ์ระหว่างคนส่วนใหญ่กับชนกลุ่มน้อ ย แม้แต่ชาวมุสลิมภาคกลางที่ไม่ได้มีเชื้อ
สายมลายูเอง ก็ถูกมองว่าไม่ใช่พวกเดียวกับชาวมลายูมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนใต้ ต่อให้ชาวมุสลิมภาคกลางมี
ความเห็นอกเห็นใจพวกเขา แต่ก็ยังมีวัฒนธรรมและความเป็นพลเมืองของคนส่วนใหญ่ในไทยมากกว่า อย่างไรก็
ตาม ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นถูกใช้เป็นเครื่องมือในการใช้กำลังอาวุธของรัฐ ซึ่งอาจมาจากมุมมองในแง่ที่ว่า ปัตตานี
ได้ถูกผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนสยามเรียบร้อยแล้ว การกระทำใดก็ตามที่ดูเป็นความพยายามที่จะ
แบ่งแยกดินแดน ขัดขืนอำนาจจากรัฐ ถือเป็นการก่อกบฏและเป็นภัยคุกคาม รัฐจึงมี อำนาจโดยชอบธรรมในการ
ผนึกกองกำลังปราบปรามผู้ที่ไม่น่าไว้วางใจ
ตามบทบัญญัติมาตรา 1 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งกล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร
อันหนึ่งเดียว จะแบ่งแยกมิได้” เมื่อใดที่มีพฤติกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เรียกร้องความยุติธรรม ชุมนุมประท้วง
ผู้คนในสังคมและรัฐก็จะคิดว่าเป็นการกระทำของกลุ่มคนมลายูมุสลิม เพราะพวกเขาเป็นกลุ่ม คนที่ ไม่น่ าไว้ วางใจ
เช่นในกรณีข้อเรียกร้อง 7 ประการของหะยีสุหลง โต๊ะมีนา ผู้นำปัญญาชนหรือวีรบุรุษสำหรับชาวมลายูมุสลิม ที่
เป็นเพียงการขอกระจายอำนาจรัฐเพื่อ แก้ไขปั ญหาความเดือดร้ อนของประชาชนเท่านั้น แต่รัฐตีความไปว่ามี
เป้าหมายในการแบ่งแยกดินแดน เมื่อคำร้องถูกเพิกเฉย หะยีสุหลงจึงยกระดับการชุมนุมจนถูกคุมตัวโดยไม่อนุญาต
ให้ ม ี ก ารประกัน ตัว เวลาล่วงเลยไปจนพ้น โทษแล้ ว แต่ หลั ง จากที ่ เ ขาเดิ น ทางไปตามคำเชิ ญของเจ้ าหน้ า ที่
กองบัญชาการตำรวจสันติบาลสงขลา ก็ไม่มีผู้ใดพบเห็นเขาอีกเลย เป็นที่รับรู้กันว่าเขาถูกบังคับให้สูญหายด้วยฝีมือ
ของรัฐบาล รวมถึงเหตุการณ์ดุซงญอที่ถูกตราหน้าว่าเป็นการรวมกลุ่มกันต่อต้านรัฐบาล ทั้งที่ฝ่ายตำรวจเป็นผู้ริเริ่ม
ก่อน ผลของการใช้ความรุนแรงต่อชาวบ้านมลายู ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 400 คน ไม่เว้นแม้แต่เด็ก สตรี หรือคนชรา
ซึ่งรัฐบาลอ้างว่า เป็นหน้าที่ของตำรวจที่จะต้องพิทักษ์บ้านเมือง ในทัศนะของฝ่ายรัฐบาลได้เรียกเหตุการณ์ดังกล่าว
ว่าเป็น “การก่อการจลาจล” โดยมีที่มาจากการอุ้มหายของหะยีสุ หลง รัฐหวาดระแวงว่ากรณีดังกล่าวจะเป็ น
ต้นเหตุที่ทำให้ให้เกิดกบฏก่อการร้ายขึ้น แต่สำหรับชาวมลายูมุสลิมแล้วเปรียบเสมือนการต่อสู้เพื่อรักษาชีวิตของพี่
น้องชาวมลายูและตอบโต้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่เท่านั้น
อีกสองเหตุการณ์ความรุนแรงที่สร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้กับชาวมลายูมุสลิมอย่างมากอันควรหยิ บยกขึ้น
มากล่าวถึงด้วยเช่นกัน คือเหตุการณ์กรือเซะ ที่แม้ว่าผู้ก่อเหตุจะเป็นฝ่ายโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐก่อน แต่การที่เจ้าหน้าที่
รัฐปราบปรามด้วยอาวุธร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิต เป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ พร้อมทั้งปักใจเชื่อว่าผู้ก่อการร้ายเป็น
กลุ่มชาวบ้านมลายูมุสลิม และอีกเหตุการณ์คือ การชุมนุม ณ อำเภอตากใบ ชาวบ้านชุมนุมกันด้วยความสงบ
ปราศจากอาวุธเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่ประชาชนชาวมุสลิมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านจำนวน 6 คน
ที่ถกู รัฐมองว่ากล่าวความเท็จเกี่ยวกับการถูกกลุ่มติดอาวุธปล้นปืนไป รัฐกลับใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม บังคับให้
ผู้เข้าชุมนุมนอนเบียดกันอยู่ในรถขนย้าย ขาดอากาศหายใจจนเสียชีวิต สร้างความบาดหมางและกระทบกระเทือน
จิ ต ใจอย่ างรุนแรงต่อชาวบ้านมลายูมุสลิม แต่ ร ั ฐ กลั บเพิ กเฉยไม่ นำตั วผู้ กระทำผิ ดมาดำเนิ นคดี ต ามกฎหมาย
เหตุการณ์ความรุนแรงเหล่านี้มักถูกใช้เป็นเครื่องมือของกลุ่มก่อความไม่สงบที่ไม่อาจทราบได้ว่าเป็นกลุ่ม ใดกั นแน่
ในการต่อต้านรัฐ ยิ่งไปกว่านั้น สื่อต่างๆได้โหมข่าวที่ไม่ได้กล่าวถึง ต้นสายปลายเหตุข้อเท็จจริงของสิ่งที่เกิ ดขึ้น จน
ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดแก่คนทั่วไปว่าชาวมลายูมุสลิมเป็นพวกหัวรุนแรง
นอกจากนี้ การที่รัฐไม่เข้าใจถึงความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมของสังคมมุสลิม ยิ่งก่อให้เกิดความไร้
ประสิทธิภาพในการบริหารชุมชนในพื้นที่ นโยบายต่างๆไม่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ หรือตอบสนอง
ความต้องการของประชาชนในภูมิภาคได้เลย สังเกตว่า แม้ทรัพยากรธรรมชาติรวมถึงระบบนิเวศของชายแดน
ภาคใต้ ม ี ความหลากหลายอุดมสมบูร ณ์ แต่ อ าชี พ เกษตรกรรมที่ ผู ้ คนในแถบจัง หวัด ชายแดนภาคใต้ส่ วนใหญ่
ประกอบเป็ นหลักได้แก่ อาชีพ ประมงและการทำสวนยางพารากลั บไม่สามารถสร้างรายได้เ พีย งพอต่ อความ
ต้องการได้ ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ความผันผวนของฤดูกาล การถือครองที่ดินส่วนน้อย ทำให้การขยายตัวทาง
เศรษฐกิ จ ต่ ำ กว่ า ภู ม ิ ภ าคอื ่ น โดยเฉพาะอย่ า งยิ ่ ง ในโลกของทุ น นิ ย มโลกาภิ วั ต น์ การประกอบอาชี พ
นอกเหนื อไปจากการทำการเกษตรในพื้น ที่ นั ้น ทำได้ย ากเพราะกำลั งซื ้ อของผู ้ คนในชุ มชนมีน ้อ ยกว่ าในเมือง
ทางเลือกชีวิตที่ไม่ได้มีมากนักกดดันให้ประชาชนต้องละทิ้งอาชีพดั้งเดิมแล้วออกไปทำงานรับจ้างนอกภูมิ ภาคบ้ าน
เกิดของตัวเอง ซึ่งการออกไปทำงานในเมืองนั้นอาจส่งผลต่อการล่มสลายของชุมชนในท้องถิ่นv และแน่นอนว่า
หลายคนไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความเจริญในสังคมอุตสาหกรรมได้ อีกทั้งอัตราค่าจ้างที่ไ ด้รับก็ต่ ำกว่าที่ ควร
จะเป็น รัฐไม่ได้ให้ความคุ้มครอง ไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน ชีวิตก็จะต้องระหกระเหินอยู่ตลอด จน
อาจถึงขั้นกลายเป็นคนเร่ร่อนอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ซึ่งมักจะถูกดูแคลนโดยคนในภูมิภาคอื่น
รวมถึงภาพชีวิตความเป็นอยู่ ของชาวมาเลเซียที่ดีกว่ากลุ่ มชาวมลายูมุสลิมในแง่รายได้เฉลี่ยต่อเดือนและระบบ
โครงสร้างพื้นฐาน ในฐานะที่มีความสัมพันธ์เชิงชาติพันธุ์จากการไปมาหาสู่กันอย่างใกล้ชิด ยิ่งสร้างความรู้สึกแปลก
แยกราวกับเป็นพลเมืองชั้นสองของประเทศ ความเป็นชายขอบที่ชาวมลายูมุสลิมได้รับเมื่อผนวกเข้ากับปัญหาทาง
เศรษฐกิ จ เป็ น อีก หนึ่ง ในสาเหตุของการรวมกลุ่ ม ผู้ ก่ อ ความไม่ สงบที่ม ัก จะใช้ ประเด็ นเหล่ านี ้ มาชั กจู ง คนที่มี
อุดมการณ์เดียวกันให้เข้าร่วมขบวนการ
เห็นได้ชัดว่า การปกครองประเทศด้วยนโยบายผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันทาง
สั ง คมโดยปราศจากความเข้าใจในความแตกต่ างทางอั ต ลัก ษณ์ พร้ อ มกั นกับขจั ด สิ่ ง ที่ เ ป็น อื ่ น ให้ หมดไปจาก
วัฒนธรรมหลัก การกีดกัน แบ่งแย่งเชื้อชาติ นำมาซึ่งความรู้สึกไม่พอใจของประชาชนในพื้นที่ และรัฐสยามเองก็ได้
สร้างภาพจำและครอบงำความคิดของผู้คนผ่านการทำให้เหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆเป็นเรื่องของการต่ อต้ านรัฐ
กบฏ หรือความพยายามในการแบ่งแยกดินแดน ผู้คนจำนวนมากเชื่อว่าชาวมลายูมุสลิมเป็นผู้ร้ายทำลายความ
มั่นคงของชาติที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการชุมนุมไปเป็นการก่อการร้ าย กระทำความรุนแรงต่อ เจ้าหน้าที่รัฐ แนวคิด
แบบนี้เป็นการทำให้พวกเขาตกอยู่ในสถานะคนร้ายในประวัติศาสตร์เสมอมา จากการนำเสนอข้อเท็จจริงเพียงด้าน
เดียว นอกจากนี้ การปิดกั้นโอกาสไม่ฟังเสียงของพวกเขา ยังทำให้ รัฐและคนไทยส่วนใหญ่มองข้ ามปั ญหาเชิ ง
โครงสร้าง ไม่สามารถแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนในสามจังหวัดชายแดนใต้ได้ เพราะปัญหาความยากจนถูก
มองว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของปัจเจก จึงมักให้ความช่วยเหลือเป็นรายบุคคลไป เช่นการเปิดรับบริจาคเงินหรือการ
จัดตั้งกองทุนแล้วแจกจ่ายผ่านหน่วยงานจนเกิดการทุจริตเบียดบังส่วนที่ควรจะนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยมาเป็น
ของตน รวมถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่ย้อนกลับมาเป็นภัย คุกคามคนในสามจัง หวั ดชายแดนใต้ จนไม่ สามารถ
ประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนตามปกติแบบที่เคยเป็นได้
ส่วนที่สอง ความต้องการควบรวมวัฒนธรรมประเพณี ให้กลืนกลายเป็นอัตลักษณ์แบบไทย ดำเนินผ่าน
นโยบายรัฐนิยม 12 ฉบับโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการสร้างจิตสำนึกร่วมใน
ความเป็นชนชาติไทย สร้างความลำบากให้กับประชาชนชาวมลายูมุสลิมเป็นอย่างมาก หลักการที่ประพฤติปฏิวัติ
สอดแทรกเข้ามาในชีวิตประจำวันของชาวมลายู เป็นกระบวนการทำให้ชาวมลายูมุสลิม กลายเป็นชาวไทยมุสลิม
โดยเฉพาะในอดีตที่ห้ามไม่ให้มีการเรียนภาษามลายูในโรงเรียนประถม และห้ามผู้ใดมีหนังสือภาษามลายูไว้ใน
ครอบครอง ทั้งที่ภาษามลายูเป็นภาษาหลักที่ พวกเขาใช้ ในการสื่อสาร อีกทั้งยังเป็นรากเหง้าของปัญหาความ
ขัดแย้งทางชาติพันธุ์ในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลายครั้งหลายหนที่กลุ่มขบวนการก่อเหตุความไม่ สงบใช้
เหตุผลทางภาษามาเป็นประเด็นสำคัญในการคว้าอาวุธมาต่อสู้กับรัฐ แม้ว่าในยุคหลังจะมีการสนับสนุนการใช้ภาษา
มลายูที่เพิ่มมากขึ้น ในพื้นที่ แต่ภาษาไทยก็ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อ การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในภูมิภาค เป็น
ลู่ทางแห่งความรู้แขนงต่างๆและโอกาสมากมายภายในประเทศ ในขณะที่ภาษาถิ่นอย่างภาษามลายู กลับไม่ได้รับ
การสนับสนุน โอกาสที่ผู้คนจะได้รับก็ลดน้อยลงไป
ภาษามลายูมีความสำคัญต่อชาวมุสลิมมลายูอย่างเห็นได้อย่างชัดเจนจากสองในเจ็ดข้อเรียกร้องของหะยี สุ
หลง ที่ต้องการให้ใช้ภาษามลายูและภาษาไทยเป็นภาษาราชการของ 4 จังหวัด รวมถึงต้องการให้ภาษามลายูเ ป็น
ภาษากลางของการสอนในโรงเรียนชั้นประถมศึกษา อย่างไรก็ตามหะยีสุหลงไม่ได้ต้องการทำลายภาษาไทยแม้ แต่
น้อย เพราะในช่วงที่หะยีสุหลงได้เข้ามาแก้ปัญหาปากท้องให้ชาวบ้าน เขาก็ส่งเสริม ให้คนในพื้นที่ฝึกฝนภาษาต่ างๆ
โดยเฉพาะภาษาไทย โดยเล็งเห็นว่าการที่ชาวบ้านสามารถพูดภาษาไทยได้ จะช่วยสร้างโอกาสสร้างรายได้ให้กับ
พวกเขา แต่ข้อเรียกร้องที่ไม่ได้มีความซับซ้อนหรือ ขัดต่อหลักบูรณภาพดินแดนกลับถูกปฏิเสธจากทางการไทย
นอกจากนี้ รัฐไทยยังอ้างว่าการที่คนในพื้นที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ ทำให้ยากแก่การอำนวยความสะดวก
แก่ประชาชนชาวมลายูมุสลิม การดำเนินกิจธุระของเจ้าหน้าที่รัฐจึงประสบกับความยากลำบาก ในขณะเดียวกันก็
ห้ามไม่ให้มีการใช้ภาษามลายูในสถานที่ราชการทุกแห่ง แทนที่เจ้าหน้าที่รัฐประจำพื้นที่จะเรีย นรู้ภาษามลายูเพื่อ
เข้าถึงประชาชนได้ดียิ่งขึ้น กลับบังคับให้ประชาชนในพื้นที่ต้องใช้ภาษาไทยเท่านั้นในการติดต่อกับราชการ
การแก้ปัญหาของรัฐไม่ควรเป็นไปในวิธีข้างต้น การทำความเข้าใจถึงสาเหตุของการพูดภาษาไทยไม่ได้หรือ
การไม่ใช้ภาษาไทยของชาวบ้านต่างหากที่จะช่วยพัฒนาปฏิสัมพันธ์ทางสังคมให้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากภาษามาลายูคือ
ภาษาหลั ก ในการดำเนิน ชีวิตของคนในชุมชน จึ ง เป็ น การยากที ่ จะสร้างสภาพแวดล้ อมทางภาษาด้ านการใช้
ภาษาไทยให้กับชุมชน นักเรียนชาวมลายูมุสลิมส่วนใหญ่จะเข้าเรียนโรงเรียนประถม-มัธยมในวั น จันทร์ ถึง วัน ศุกร์
เข้าโรงเรียนสอนศาสนาในวันเสาร์-อาทิตย์ และยังต้องอ่านคัมภีร์อัลกุรอานที่เป็นภาษาอิสลามด้วย ทำให้เวลาส่วน
ใหญ่ใช้ไปกับการศึกษาภาษามลายูและภาษาอิสลาม รวมถึงภาษามลายูถิ่นปัตตานีที่ไม่มีระบบตัวอักษรเป็นของ
ตัวเอง การที่หลักสูตรการเรียนกำหนดใช้ตัวอักษรไทยเข้ามากำกับหรือเป็นสื่อกลางในการเรียนภาษานั้นมี ปัญหา
อย่างมาก เนื่องจากระบบเสียงวรรณยุกต์ของภาษาไทยไม่สอดคล้องกับภาษามลายูที่ไม่มีระบบวรรณยุกต์ การ
พึ่งพาระบบอักษรยาวีจึงเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนมลายู มุสลิมมากกว่า อุปสรรคอีกประการคือ สภาพทาง
เศรษฐกิจที่มีผลทำให้นักเรียนมุสลิมไม่สะดวกที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนรัฐ ด้วยสภาพสังคมเกษตรกรรม ผู้ปกครอง
ชาวมลายูมุสลิมจำต้องยืมมือบุตรหลานให้เข้ามาช่วยงาน ซึ่งอาจกระทบต่อการเรียนในโรงเรียนรัฐที่ได้กำหนดเวลา
เข้าเรียนและเลิกเรียน การเข้าศึกษาในปอเนาะหรือโรงเรียนสอนศาสนาเยาวชนที่ปัจจุบันมีการแทรกหลักสูตร
สามัญให้กับนักเรียนจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะไม่มีข้อบังคับว่าจะต้องเข้าเรียนในเวลาที่กำหนด อีกทั้งปอเนาะ
ยังเป็นศูนย์รวมทางวัฒนธรรมมลายู ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ แนวคิดให้กับประชาชนชาวมุสลิม มีสถานที่อำนวย
ความสะดวกสำหรับการทำละหมาด ผู้ชายและผู้หญิงเรียนแยกส่วนกัน สอดคล้องกับรูปแบบประพฤติทางศาสนา
ของชาวมุสลิม
ถึงแม้ว่าในนโยบายการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555-2557 จะมีการส่งเสริมการ
เรียนรู้ภาษามลายูที่เพิ่มมากขึ้น แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ภาษาไทยได้เข้ามามีบทบาทมากเสียจนสร้างอุปสรรค
ในการใช้ภาษามลายูเพื่อการสื่อสาร ปริมาณสื่อมลายูที่มีน้อยทำให้คนรุ่นใหม่ใช้ ภาษามลายูแบบผิดๆถูกๆ มีการ
ผสมคำไทยทดแทนบางคำของภาษามลายู ขาดความรู้ในด้านการใช้ภาษาถิ่นที่ถูกต้อง ความเข้มข้นของนโยบาย
ผสมกลมกลืนได้เจือจางอัตลักษณ์ความเป็นมลายูให้เบาบางลง ส่งผลต่อความกล้าที่จะใช้ภาษาไทยกลางในการ
สื่อสาร เนื่องจากอาจถูกล้อเลียนว่าสื่อสารคำไทยไม่ชัดเจน และอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างชาวไทยพุทธ
กับชาวมลายูมุสลิมได้ การที่รัฐไม่สนใจที่จะดำเนินการปรับรูปแบบการศึกษาให้เข้ากับอัตลักษณ์ของชุมชน รวมถึง
การขาดสถานะทางกฎหมายของภาษามลายูในไทย ก็ยิ่งทำให้การพัฒนาภาษายังคงอยู่ในระดับตื้นเขิน ไม่สามารถ
เชื่อมต่อกับโลกภายนอกได้ เพราะประเทศใช้ภาษามลายูไม่ได้มีเพียงประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายประเทศ
ที่ใช้ภาษามลายูเป็นภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และบรูไน
เป็นต้น
ยิ่งสถานการณ์ในปัจจุบันที่รัฐ ลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น ของประชาชน เมื่อใดก็ตามที่มี
การนำเสนอให้ใช้ภาษามลายูในระบบราชการไทยภายในพื้นที่ รัฐ ก็จะมองว่าเป็นฝ่ายเดียวกันกั บ กลุ่ม ผู้ สนับสนุน
การต่อต้านรัฐ จึงสรุปได้ว่าเรื่องภาษาไม่ได้เป็นเพียงสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้คน แต่เป็นสิ่งที่เกี่ยวพัน
กับความขัดแย้งทางกลุ่มชาติพันธุ์ ด้วย ในอดีตนั้น โรงเรียนปอเนาะที่สอนเฉพาะศาสนาถูกสั่งให้ปิดตัวลง ซึ่งรัฐ
เกรงว่าครูสอนศาสนาในโรงเรียนปอเนาะจะมีส่วนเกี่ย วข้องกั บขบวนการแบ่งแยกดินแดน รวมถึงต้องการให้
เยาวชนเรียนภาษาไทยมากขึ้น เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยของไทยต่อไป โดยหวังว่านักเรียนชาวมุสลิม
จะไม่ต้องไปเรียนที่ประเทศในแถบตะวันออกกลางหรือกลุ่มประเทศมลายูและเห็นคุณค่าของความเป็นไทยมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม รัฐควรตระหนักถึงการดำเนินนโยบายการศึกษาไทยแบบไทยนิยมที่กดทับและไม่สอดคล้องกับ ความ
ต้องการของคนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ เนื่องจากวิถีชีวิตชาวมุสลิม มีความผูกพันกับศาสนาเป็นอย่างมาก
ปอเนาะเป็นสถาบันที่ถือกำเนิดขึ้นด้วยเจตนารมณ์ในการมอบโอกาสแก่ผทู้ ี่ต้องการศึกษาศาสนาและศึกษาวิธีก าร
ดำเนินชีวิตตามแบบฉบับของตน หากรัฐยกระดับคุณภาพทางการศึกษาของคนในพื้นที่ สนับสนุนให้ท ุก คนมี
ทางเลือก เห็นความสำคัญของภาษามลายูที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวมลายูมุสลิม ก็จะช่วยลดความเหลื่อมล้ ำของคน
ในสังคม และอาจลดหนึ่งในข้ออ้างที่กลุ่มติดอาวุธจะใช้เป็นเครื่องมือในการก่อเหตุความรุนแรงได้
ส่วนที่สาม สังคมพหุวัฒนธรรมเป็นสังคมที่อยู่ร่วมกันด้วยการยอมรับความแตกต่างทางเชื้อ ชาติ ศาสนา
วัฒนธรรมประเพณี ไม่มีการละเมิดสิทธิ ของกันและกัน สามารถดำเนินวิถีชีวิต ได้อย่างอิสรเสรีตามความเชื่อของ
ตัวเอง โดยมีแก่นแท้อยู่ที่การกระจายอำนาจอย่างเสมอภาค แต่มโนทัศน์ของรัฐที่มีต่อแนวคิดพหุวัฒนธรรมเป็นไป
ในแบบที่ใช้สร้างความเป็นเอกภาพและความเป็นหนึ่งเดียวกัน ในทางศาสนา รัฐไทยได้ดำเนินนโยบายจัดสรรพื้นที่
เพื่อประกอบกิจกรรมทางศาสนาร่วมกันระหว่างชาวไทยพุทธและมลายูมุสลิม โดยมิได้เห็นถึงมิติความรุน แรงและ
ปัญหาเชิงโครงสร้าง vi บทบาทของรัฐไทยในอดีตที่เข้าไปบริหารจัดการเขตการปกครอง ก็เพื่อให้คนไทยที่เป็น
พลเมืองหลักของประเทศเข้าไปมีอำนาจแทนที่ผู้ปกครองชาวมลายูมุสลิม สอดคล้องกับแนวคิ ด ชุมชุนจินตกรรม
(Imagined Communities) ของBenedict Anderson ที่เราสามารถยึดโยงสายสัมพันธ์กันด้วยความเป็นไทย ซึ่ง
จินตนาการความเป็นชาติไทยของสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามมีอิทธิพลอย่างมากต่อ การเห็นคุณค่าของความ
แตกต่างหลากหลายทางอัตลักษณ์ จนคนส่วนใหญ่ยึดมั่นอยู่กับลักษณะที่เชื่อว่าสิ่งนั้นคือความเป็นไทย ทั้งที่ความ
เป็นไทยมีความเป็นพลวัต สามารถเปลี่ยนแปลงได้อยู่ตลอดเวลาตามแต่ละยุคสมัย ด้วยแนวคิดดังกล่าว ทำให้คนที่
นั บถื อ ศาสนาอิสลามรู้สึก แปลกแยกจากประชาชนชาวไทยพุท ธ ตามมาด้ วยการดู ถู กเหยี ย ดหยามทางด้าน
วัฒนธรรมจากจินตนาการในความเป็นไทยร่วมกันของคนหมู่มาก
ชาวมลายูมุสลิมเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีประชากรมากที่สุดในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และศาสนา
อิสลามก็เป็นศาสนาที่คนในพื้นที่ดังกล่าวยึดถือเป็นแนวปฏิบัติมากที่สุด ศาสนาจึงเป็นหนึ่งในเงื่อ นไขที่ สำคัญของ
การปะทะกันระหว่างชาวไทยพุทธกับชาวมลายูมุสลิม วัฒนธรรมทางศาสนาของชาวมุสลิมยึดโยงกับตัวตนและการ
แสดงออกทางอัตลักษณ์ของพวกเขา เป็นศาสนาที่มีแนวประพฤติปฏิบัติเฉพาะด้าน ชาวมุสลิมที่ดีจะต้องไม่กระทำ
ในสิ่งที่ขัดต่อหลักศาสนา เช่น การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน การละหมาดวันละ 5 เวลา การรับประทานอาหารฮา
ลาล เป็นต้น หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าเป็นบาป เนื่องจากหลักการต่างๆถูกกำหนดไว้อย่างครอบคลุมในทุกมิติ
ของชีวิตตั้งแต่มีชีวิตอยู่ในท้องแม่ไปจนสิ้นอายุขัย โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้อย่ างสัน ติสามัคคีใน
สังคม vii ชาวไทยพุทธในฐานะที่เป็นเพื่อนร่วมชาติต่างศาสนาควรที่จะทำความเข้าใจ รัฐเองก็ควรอำนวยความ
สะดวกให้กับพวกเขาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ
ในแง่นี้จะพูดถึงการแต่งกายเป็นหลัก โดยการแต่งกายสำหรับชาวมุสลิมไม่สามารถนุ่งน้อยห่มน้อยได้ ทั้ง
ผู้ชายและผู้หญิงจะต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ผู้ชายห้ามใส่เครื่องประดับหรือเลียนแบบผู้หญิง ส่วนผู้หญิงจะต้อง
ปกปิดทุกส่วนของร่างกายให้มิดชิดยกเว้นมือและใบหน้าด้วยการสวมฮิญาบ แต่คนไทยส่วนใหญ่ไม่เข้าใจวัฒนธรรม
ดังกล่าวไม่เว้นแม้แต่เจ้าหน้าที่รัฐ ที่มักจะเรียกร้องให้ชาวบ้านในพื้นที่ถอดฮิ ญาบออกเมื่อไปติ ดต่อกิ จธุร ะทาง
ราชการ โดยเข้าใจว่าตราบใดที่คนไทยยังถอดหมวกได้ พวกเขาก็สามารถถอดออกได้เช่ นกัน รวมถึงเหตุการณ์
โรงเรียนอนุบาลปัตตานีที่รัฐบาลได้ออกกฎสั่งห้ามไม่ให้นักเรียนมุสลิมหญิงสวมฮิญาบ อ้างว่าผิดกฎระเบียบของ
โรงเรียน ส่งผลต่อการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหลักศาสนาของนักเรียนชาวมลายูมุสลิม ประเด็นนี้อาจเกิดจาก
ความคิดที่ตื้นเขินของภาครัฐที่ไม่เข้าใจในวัฒนธรรมทางศาสนาของชาวมลายูมุสลิมว่าการสวมฮิญาบเป็น ข้อบัง คับ
ไม่ใช่ประเพณีที่จะเลือกกระทำได้อย่างอิสระตามใจชอบviii
ถึ ง แม้ว่า ในปัจจุบัน จะมีก ฎหมายรองรั บสิ ท ธิ ์ ในการแต่ ง กายตามหลั ก ศาสนาที ่ ตนยึ ด ถื อ แต่ ก ารใช้
จินตนาการภาพความเป็นไทยของรัฐเข้ามาปรับเปลี่ยนโครงสร้างวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวมุสลิมมลายู ก็ ยังทำให้
เกิดการเลือกปฏิบัติ จากคนหมู่มาก เนื่องจากในทัศนะของคนบางกลุ่มมองว่า ชาวมุสลิมที่เป็นชนกลุ่มน้อยควร
จะต้องปฏิบัติตามแนวทางที่คนหมู่มากเชื่อว่าเป็นหลักสากล ix การต้องกระทำเช่นนี้ ทำให้เกิดความรู้สึกแปลกแยก
จากคนส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาพุทธ การกีดกันชาวมุสลิมออกจากพื้นที่ทางสังคมด้วยความอคติแผ่ขยายขึ้นเรื่อยๆ
จนเกิดเป็นภาวะหวาดกลัวอิสลาม (Islamophobia) โดยภาวะนี้เกิดจากการรับรู้และเชื่อมโยงการใช้ความรุ นแรง
เข้ากับศาสนาอิสลาม เนื่องด้วยเหตุการณ์เครื่องบิน ของกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ของศาสนา
อิสลามบินชนตึก World trade center หรือที่เรียกกันว่าเหตุการณ์ 911 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ เริ่มสร้างกระแส
ต่อต้านศาสนาอิสลามที่จากเดิมมีอยู่แล้วให้กลายเป็นความหวาดกลัว เกลียดชังอิสลาม จนถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม
ต่อความมั่นคงของโลกx
ภาวะหวาดกลัวอิสลามได้ ถูก นำมาใช้ บรรยายถึ ง การเป็ น ปรปั ก ษ์ ต ่ อ ชาวมุ ส ลิ ม ในลั ก ษณะกว้ า งขึ้ น
ครอบคลุมหลายเหตุการณ์ความรุนแรงทั่วโลก สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถูก ยึด
โยงกับวาทกรรมดังกล่าวในแง่ของการเป็นพื้นที่ที่ชอบใช้ความรุนแรง ท่ามกลางวิกฤตความขัดแย้งที่สะสมมานาน
ยิ่งตอกย้ำข้อเท็จจริงที่ว่า รัฐใช้อำนาจสื่อชักนำชาวไทยพุทธ สร้างภาพจำให้เกิดการเหมารวมผู้ที่นับถือศาสนา
อิสลามทุกคนเป็นคนไม่ดี เป็นผู้สมรู้ร่วมคิดก่อเหตุวางระเบิดในพื้นที่ โดยไม่ได้นำเสนอถึงต้นตอของปัญหาที่แท้จริง
ว่าพวกเขาก็เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน xi เกิดการตั้งคำถามกับศาสนาอิสลามถึงหลักคำสอนที่อาจสอนให้ใช้
ความรุนแรง สร้างรอยร้าวระหว่างสองศาสนา เป็นอุปสรรคแก่ประชาชนชาวมุสลิมในการมีปฏิสัมพั นธ์ท างสัง คม
กับคนนอกภูมิภาค ไม่เว้นแม้แต่จังหวัดข้างเคียงอย่างสงขลาที่มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันมาช้านาน ชาวบ้านสงขลา
ที่นับถือศาสนาพุทธบางส่วน ได้แสดงความรู้สึกต่อ สถานการณ์ความรุนแรงบริเวณจังหวัดชายแดนใต้ ณ ศูนย์
ประชุมอัลกุรอานและภาษา โรงเรียนจริยธรรมศึกษา ในวันที่ 12 ธันวาคม 2558 ว่ารู้สึกกระอักกระอ่วนใจเมื่อชาว
มุสลิมไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมทางศาสนา กล่าวคือ เมื่อมีการเชิญให้เข้าร่วมงานบุ ญ ของชาว
มุ สลิ ม ชาวพุท ธก็ ยิน ดีท ี่จะเข้าร่วมเสมอ แต่ ชาวมุ สลิ ม มั ก ไม่ เ ข้ าร่ วมงานของชาวพุ ท ธ ในแง่ นี้ เพื ่ อ นบ้ าน
พุทธศาสนิกชนอาจต้องทำความเข้าใจถึงระเบียบข้อบังคับทางศาสนาที่แตกต่างกันxii
อย่างไรก็ตาม คัม ภีร์อัลกุรอานได้สอนให้ชาวมุ สลิมเข้าใจในความแตกต่างของเพื่อนมนุษย์ การเลี่ย ง
กิจกรรมที่ขัดกับหลักอิสลามไม่ได้หมายความว่าปฏิเสธความเป็นพหุวัฒนธรรม ศาสนาอิสลามไม่ใช่ศาสนาที่ไม่ยอม
ปรับตัวหรือพยายามแยกตัวออกมาจากศาสนาอื่น เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ศาสนาอิสลามมีการพัฒนาแนว
ทางการปฏิบัติของตนให้เข้ากับบริบทของสังคมในแต่ละยุคสมัยอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นขบวนการปฏิรูปการศึกษาใน
สามจังหวัดชายแดนใต้ หรือขบวนการทางปัญญาที่มีเจตจำนงในการปรับศาสนาอิสลามให้สอดคล้องกับความเป็น
สมัยใหม่xiii เพียงแต่ชาวมุสลิมเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องรักษาความเข้มแข็งทางศาสนาด้วยการยึดหลักปฏิ บัติ
อย่างแน่วแน่ มิฉะนั้นจะถูกวัฒนธรรมที่มีความแข็งแกร่งมากกว่ากลืนหายไป อีกทั้งยังมองว่าหากทุกศาสนาทุก
วัฒนธรรมเข้มแข็งในตัวเอง มีความอดทนอดกลั้นต่อ เคารพในความแตกต่าง สังคมพหุวัฒนธรรมที่แท้จริงก็จะ
เกิดขึ้นได้
นโยบายผสมกลมกลืนสร้างผลกระทบให้กับชนกลุ่มน้อยทั่วประเทศแต่ด้วยอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่
เข้มแข็งโดดเด่นของชาวมลายูมุสลิมทำให้ได้รับผลกระทบรุนแรงมากที่สุด การดำเนินนโยบายทางการเมืองของรัฐ
ที่เต็มไปด้วยแนวทางที่ไม่สอดคล้องกับครรลองศาสนาอิ สลาม รวมถึงการที่สังคมไทยไม่สามารถยอมรับความ
แตกต่างทางวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นการตั้งคำถามกับการสวมฮิญาบของสตรีชาวมุสลิม การรับประทานอาหารฮา
ลาล หรือการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาที่แปลกไปจากวิถีชาวไทยพุทธ ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ในสังคมแต่คน
จำนวนมากก็ยังหาเหตุผลมากล่าวอ้างว่าเป็นความผิดแผกของวิถีชาวมลายูมุสลิม จนกลายเป็นคำดูถูกเหยียดหยาม
ต่างๆ เนื่องด้วยศาสนิกชนชาวพุทธในไทยมีความยืดหยุ่นกับหลักปฏิบัติทางศาสนามากกว่า ในขณะที่ชาวมลายู
มุสลิมยึดถือศาสนาอย่างเคร่งครัด โดยนับเข้ามาเป็นส่วนเดียวกันกับการดำเนินชีวิตในทุกมิติ ประกอบกับรัฐใช้
แนวคิดคุณค่าความเป็นวัฒนธรรมสากลที่คนส่วนน้อยจะต้องปฏิบัติตามคนส่วนใหญ่ ช่องว่างความแตกต่างทาง
วัฒนธรรมนี้ทำให้คนส่วนน้อยรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม การลุกขึ้นสู้จึงเป็นการธำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของชาวมลายู
มุสลิม
สรุปได้ว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่ให้คุณค่ากับวัฒนธรรมเชิงเดี่ยวมากกว่าซึ่งแฝงฝังอยู่ในการดำเนินนโยบาย
ของรัฐไทยผ่านกรอบแนวคิดพหุวัฒนธรรมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสียงส่วนมากกับเสียงส่วนน้อย โดยพยายามสร้าง
สมดุลระหว่างการรับรู้ถึงความแตกต่างของชนกลุ่มน้อยกับการสร้างอัตลักษณ์ของชาติด้วยการผสมกลืนกลายทาง
วัฒนธรรม ชนกลุ่มน้อยต้องยอมรับค่านิยมของชนกลุ่มใหญ่ในสังคม ปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตของตัวเองอย่าง
ช้าๆจนไม่หลงเหลืออัตลักษณ์ดั้งเดิม ในขณะเดียวกันนโยบายดังกล่าวก็ได้เอื้อประโยชน์ให้กับคนหมู่ม ากผ่านการ
จัดสรรกระจายอำนาจอย่างไม่เป็นธรรม กดทับเบียดบังสิทธิที่ชนกลุ่มน้อยในไทยอย่างชาวมลายูมุสลิมบริเ วณสาม
จังหวัดชายแดนภาคใต้พึงจะได้รับ เช่น การเข้าถึงระบบการศึกษาที่มีคุณภาพเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี ขึ้น กฎหมายที่
สอดคล้องกับอัตลักษณ์ชาวมลายูมุสลิม การรับฟังเสียงประชาชนในพื้นที่เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น การ
ที่ชาวมลายูมุสลิมเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการยึดโยงและภาคภูมิใจกับภาษา ศาสนา วัฒนธรรมของตนเองสูงแต่ไม่ถูก
ยอมรับในความแตกต่าง ความเป็นอื่นที่พวกเขาได้รับ สร้างความคับแค้นใจจนไม่อาจทนได้ สามจังหวัดชายแดนใต้
ถูกผลักให้เป็นเพียงพื้นที่ที่ชาวมลายูมุสลิมใช้ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมและถูกใช้เป็นเครื่องมือในการก่อการร้าย จน
อาจเข้าใจว่าชาวมุสลิมทุกคนสนับสนุนการใช้ความรุนแรง ประเด็นนี้ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียม
กันนี้มีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

i คนชายขอบ: ชาวไทยเชือสายมลายู
้ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ii คนชายขอบ: ชาวไทยเชือสายมลายู
้ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
iii https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=29610
iv ชาตินิยม assimlation
v เศรษฐกิจและการพัฒนา ชายแดนใต้ สีดา
vi Jois pus 229 vol13
viiความกลมกลืน พัทลุง 14
viii234 ภาคปฏิบตั ิวาทกรรมชาวบ้ าน
ix 234 ภาคปติบต
ั ิวาทกรรม
x https://peaceresourcecollaborative.org/wp-content/uploads/2020/04/IPP-24.pdf
xi https://www.kpi.ac.th/media/pdf/research/171_-_สุเชน_เลิศวีระสวัสดิ์_c8841a3f9dee5f45cb19f9cd969ce985.pdf
xii สัญญาณความหวาดกลัว
xiii Jois psu 239

You might also like