You are on page 1of 4

Reflection paper

การที่สาธารณรัฐประชาชนจีน (People’s Republic of China : PRC) ไม่ยอมรับไต้หวัน (Republic of


China : ROC) ในสถานะผู้สังเกตการณ์ของการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General
Assembly) นั้น มีสาเหตุ สำคัญที ่ส ืบ เนื่อ งมาจากข้ อ พิ พ าทของดิ น แดนทางประวั ต ิ ศ าสตร์ ในอดี ต ระหว่ า ง
สาธารณรัฐประชาชนจีน กับไต้หวัน และการอ้างถึง ข้อมติสมัชชาใหญ่แห่ง สหประชาติ ที่ 2758 (Resolution
2758) ว่าด้วยการยอมรับว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นตัวแทนที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงฝ่ายเดียวของจีนต่อ
สหประชาชาติ และเป็นสมาชิกประเภทถาวรของคณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติแทนรัฐ บาลไต้หวัน
รวมถึงการขับไล่ผู้แทนเจียง ไคเชกออกจากสหประชาชาติ อย่างไรก็ดี บทความชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายที่ จะนำเสนอว่า
ถึงแม้สาธารณรัฐประชาชนจีนจะได้เน้นย้ำจุดยืนของตนอย่างชัดเจนในการปฏิเสธถึงการเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์
ของการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และระบุว่าไต้หวันไม่มีสิทธิ์ในการเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ แต่
ก็ไม่ได้หมายความว่า บทบัญญัติทางกฎหมายที่มีความเสถียรภาพไม่ควรเกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆอันจะนำมาซึ่ง
ความสันติภาพระหว่างประเทศ เพราะกฎหมายควรตอบสนองต่อความเป็นจริงทางสังคม และไต้หวันไม่มีความผิด
ใดในการพยายามปรับปรุงสถานะระหว่างประเทศของตนหรือแม้แต่ความพยายามในการแสวงหาการยอมรับใน
ระดับสากล
การนำเสนอบทความชิ้ น นี้ แบ่ง ออกเป็ น 3ส่ วน ส่ ว นแรก เป็ น การนำเสนอการวิ เ คราะห์ ภู ม ิ ห ลั ง
ความสั ม พั นธ์ ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และไต้หวั นผ่านกรอบแนวคิ ดสั จนิ ยม (Realism) ส่ วนที ่ ส อง การ
วิเคราะห์ข้อเสนอของจีนต่อสถานะผู้สังเกตการณ์ สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ส่วนที่สาม การนำเสนอบทบาท
และข้อจำกัดขององค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ร่วมกับการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของไต้หวัน
ส่ วนแรก แนวคิดทฤษฎีสัจนิยม (realism) มี แนวคิ ด พื ้ นฐานที ่ม องว่า การมีชี วิ ตอยู่ในระบบระหว่าง
ประเทศเป็นเรื่องของการแสวงหาอำนาจผ่านกลยุทธ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางการทหาร หรือทางเศรษฐกิจ และ
แสวงหาเหตุผลมาสนับสนุนการกระทำที่เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ ส่วนตนโดยมีรัฐเป็นตัวแสดงหลัก บนเวทีระหว่ าง
ประเทศในการหาผลประโยชน์แห่งชาติ ผ่านการใช้องค์กรระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือของรัฐเพื่อเพิ่มอำนาจใน
การต่อรองหรือลดอำนาจของรัฐฝ่ายตรงข้ามi อีกทั้งทัศนะของประชากรทั้งหลายในประเทศจะต้องแสดงออกผ่าน
ตัวแสดงหลัก ซึ่งก็คือรัฐที่เป็นตัวแทนของทัศนะประชาชนii รัฐต่างๆในระบบระหว่างประเทศล้วนแล้ วแต่ ต่อสู้ เพื่อ
ความอยู่รอด เฉกเช่นเดียวกับการที่จีนใช้อำนาจทางการทหาร ส่งกองทัพไปฝึกซ้อมการรบบริเวณช่องแคบไต้หวัน
และการเพิ่มกิจกรรมทางการทหารในไต้หวันอีกมากมาย เพื่อปกป้องอธิปไตยและความมั่นคงของชาติ การกระทำ
เช่นนี้จีนมองว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน ไต้หวันเป็นเพียงมณฑลหนึ่งที่แยกออกไปเท่านั้น โดยอ้างถึงการมี
อำนาจในการปกครองเหนือไต้หวันในหลายราชวงศ์ของจีน เช่น ราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หมิง ต่างก็ได้มีการส่งทหารไป
ดูแลเกาะเผิงหู ซึ่งเป็นเกาะหนึ่งของไต้หวัน รวมถึงการอ้างความไม่ชอบธรรมของรัฐบาลไต้หวัน ที่แม้ว่าจีนจะ
พยายามใช้อำนาจทางการทูตเสนอให้ไต้หวันกลับมารวมประเทศกับตน โดยใช้แนวทาง 1 ประเทศ 2 ระบบ (one
country two systems) แต่ไต้หวันกลับปฏิเสธหลักการดังกล่าวอย่างหนักแน่น และมีจุดยืนที่ต้องการจะแยกตัว
ออกมาจากการเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน ยิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความทะเยอทะยานในการใช้อ ำนาจควบคุม
ไต้หวัน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มอำนาจให้กับจีน ในระดับภูมิภาคหรือแม้แต่ การใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจ เข้าครอบงำ
ไต้หวัน โดยการตัดความสัมพันธ์กับไต้หวันและระงับการส่งออกสินค้าไปยังประเทศพันธมิตร ที่จะก่อให้เกิดการ
หยุดชะงักในห่วงโซ่อุปทานโลกที่ทวีความรุนแรงจากสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด -19 เนื่องจาก การปิดล้อม
น่านน้ำของจีนเพื่อยับยั้งการส่องออกสินค้าสำคัญของไต้หวันที่เป็นผู้ผลิตชิปคอมพิวเตอร์เกินกว่าครึ่งหนึ่งของโลก
ดังนั้นย่อมกระทบกับเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก การสร้างความมั่นคงและความพยายามในการครองอำนาจทาง
ภูมิภาคโดยการรุกรานประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจ (Balance of power) ระหว่างบรรดารัฐ
ทั้งหลายที่มีความต้องการให้สหรัฐอเมริกาเป็นตัวแสดงหลัก ในการคานอำนาจกับจีน ซึ่งสอดรับไปกับแนวคิด
ทฤษฎีสัจนิยมใหม่ (neo-realism) ว่าด้วยการที่ประเทศมหาอำนาจอย่างจีนพยายามแสวงหาการพึ่งพาอำนาจจาก
ภายนอก เพื่อผลประโยชน์และความอยู่รอดของประเทศ โดยอาศัยการถ่วงดุลอำนาจแบบค่อยเป็นค่อยไป หาก
เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านผลประโยชน์ทางใดทางหนึ่ง ย่อมกระทบกับ พฤติกรรมระหว่างประเทศของประเทศ
มหาอำนาจด้วยเช่นกันiii
ส่วนที่สอง ข้อโต้แย้งหลักที่จีนใช้ในการคัดค้านไม่ให้ไต้หวันเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหประชาชาติ มีดังนี้
1. จีนได้ยกเลิกสนธิสัญญาที่จะมอบหมู่เกาะเผิงหู (Pescadores) ให้แก่ญี่ปุ่น โดยการบัญญัติปฏิญญาไคโร
(Cairo Declaration) และปฏิญญาพ็อทซ์ดัม (Potsdam Declaration) ขึ้น ทำให้ญี่ปุ่นยอมจำนนต่อแนว
ทางการดำเนินการของรัฐบาลจีน
2. ภายหลัง จากการก่อตั้งของสาธารณรั ฐ ประชาชนจี น บรรดา 181 ประเทศได้ สถาปนาความสัมพันธ์
ทางการทูตกับจีนและยอมรับว่ามีเพียงจีนเดียวซึ่งหมายถึง สาธารณรัฐประชาชนจีน (PRC) เท่านั้นที่เป็น
รัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายของจีน และไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน
3. มติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ 2758 (XXVI) ได้ฟื้นฟูสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของสาธารณรัฐ
ประชาชนจีนในสหประชาชาติและขับไล่ผู้แทนไต้หวันออกจากสหประชาชาติ และทุกองค์กรที่เกี่ยวข้อง
จีนกล่าวว่าการที่ไต้หวันพยายามที่จะเข้าไปเป็นสมาชิกของสหประชาชาตินั้นเท่ากับเป็นการละเมิดอธิปไตย
ของจีน แต่ถึงกระนั้น มติสมัชชาใหญ่แห่ง สหประชาชาติ 2758 ระบุเพียงแค่ว่ารัฐบาลจีนมีสถานะในการเป็ น
ตัวแทนของจีนที่ดีกว่าไต้หวันเท่านั้น แต่ไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าจีนมีอำนาจอธิปไตยเหนือไต้ หวั น ทั้งนี้มีเพียง
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice : ICJ) ที่รู้จักกันในนามของ ศาลโลกเท่านั้น ที่
สามารถพิจารณาคดีตัดสินได้ว่าประเทศใดมีอำนาจอธิปไตยเหนือไต้หวัน อีกทั้งสมัชชาสหประชาชาติไม่ใช่สถาบัน
ตุลาการระหว่างประเทศ แต่ เป็นเพียงที่ประชุมของประเทศสมาชิกในการแสดงความคิดเห็นต่างๆในประชาคม
ระหว่างประเทศเท่านั้น ภายใต้องค์การสหประชาชาติจึงไม่มีองค์กรอื่นใดที่จะสามารถตัดสินกรณีดังกล่าวได้iv หาก
จีนจะกล่าวว่า ความเป็นรัฐของไต้หวันยังไม่ ผ่ านอนุ สั ญญามอนเตวิเ ดโอ (Montevideo Convention) ซึ่งเป็ น
อนุสัญญาที่กำหนดนิยาม สิทธิ และหน้าที่ของความเป็นรัฐ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายจารีตระหว่างประเทศ ใน
แง่ที่ว่าอำนาจอธิปไตยของจีนที่มีเหนือดินแดนเกาะไต้หวันเป็นสิ่งที่รัฐส่วนใหญ่ในโลกยอมรับ แล้ว เราควรต้อง
คำนึงถึงคุณสมบัติในการเป็นมลรัฐของไต้หวันว่าตรงตามข้อกำหนดทุกประการด้วย กล่าวคือ การมีประชากรถาวร
มีอาณาเขตที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน มีรัฐบาล การมีความสามารถในการดำเนินความสัมพันธ์กับรัฐอื่นๆ ซึ่งไต้หวัน
มีประชากรทั้งหมดประมาณ 23 ล้านคนที่อยู่ภายใต้อาณาเขตพื้นที่ประมาณ 14,000 ตารางไมล์ มีรัฐบาลอิสระ
ของตนเองมาตั้งแต่ ปีค.ศ. 1945 ถึง แม้ว่า ไต้ หวัน จะขาดความสั มพั นธ์ ทางการทูต อย่ างเป็ นทางการและการ
สนับสนุนจากนานาชาติ แต่ไต้หวันก็มีการดำเนินกิจกรรมทางการค้า กับหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงการที่หลาย
ประเทศมีสำนักงานตัวแทนไทเปหรือที่สามารถเรียกว่าสถานทูตอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีการละเมิดสิท ธิในบูรณภาพแห่งดินแดน ซึ่งขัดกับหลักการของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติ
หมวด 1 มาตรา 2 วรรค 4 อันกล่าวว่า “ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สมาชิกทั้งหมดจะต้องละเว้นการคุกคาม
การใช้กำลังต่อบูรณภาพแห่งดินแดนหรือความเป็นเอกราชทางการเมืองของรัฐใด ๆ หรือการกระทำในลักษณะ
การอื่นใดที่ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสหประชาชาติ” ตามที่จีนได้ใช้ความรุนแรงในการโค่นล้มรัฐบาลหาใช่
การเปลี่ยนผ่านอำนาจโดยสันติภาพไม่v จึงถือว่าไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of
Human Rights : UDHR) ที่สหประชาชาติพยายามส่งเสริมด้วยเช่นกัน
ส่วนที่สาม ภารกิจและหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติ เพื่อการรักษาสันติ ภาพและความมั่นคงระหว่าง
ประเทศนั้นจะต้องดำเนินการผ่านคณะมนตรีความมั่ นคง (United Nations Security Council : UNSC) และ
สมัชชาใหญ่ โดยที่สหประชาชาติจะมอบหมายงานนี้ให้แก่กองกำลังรักษาสันติภาพ (peacekeeping forces) ที่ถูก
บัญญัติไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติ (The UN charter) หมวดที่ 1 มาตราที่1 เพื่อป้องกันและขจัดปัดเป่าการใช้
ความรุนแรงระหว่างรัฐ ซึ่งการรักษาไว้ซึ่งสันติภาพคือความเป็นสากล (universality) สหประชาชาติไม่ควรเข้าข้าง
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่กระนั้นจีนก็ยังสามารถใช้ความรุนแรงในการคุกคามไต้หวัน ด้วยกองกำลังทหารและอำนาจที่มี
มากกว่า หากยังคงปล่อยให้มีการกระทำเช่นนี้ต่อไป ถือว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติไม่สามารถ
ธำรงไว้ซึ่งหลักการแห่งสันติภาพที่ได้บัญญัติไว้ได้เลย และอาจก่อให้เกิดการเอาเยี่ยงอย่างแก่บางประเทศที่กำลังมี
ความต้องการรุกรานประเทศอื่นอีกด้วย ในขณะเดียวกัน สหประชาชาติมีข้อจำกัดว่าด้วยการที่ประเทศมหาอำนาจ
ต่างๆสามารถใช้สิทธิ์ในการยับยั้งข้อมติ ใดๆก็ตามที่ขัดกับผลประโยชน์ของตนได้ รวมถึงมาตรา 2 วรรค 7 ในกฎ
บัตรสหประชาชาติ ว่าด้วยการที่ ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบันที่จะให้อำนาจแก่สหประชาชาติ ในการเข้า
แทรกแซงกิจการภายในของรัฐ สหประชาชาติจึงไม่สามารถเข้าไปรักษาสันติภาพของรัฐได้
นอกจากนี้ องค์การสหประชาชาติยังเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental organization : IGO)
มีการอาศัยความร่วมมือระหว่างรัฐบาล (intergovernmental cooperation) ดังนั้นหากไม่ได้รับความร่วมมือจาก
ประเทศสมาชิก อาจเป็นการยากที่จะประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจการใดๆของสหประชาชาติได้vi ตัวอย่าง
จากกรณีของประเทศเยอรมันตะวันตกและตะวันออกทั้งสองที่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก สหประชาชาติในปีค.ศ. 1973
หรือเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ที่ต่างก็มีพื้นที่ในสหประชาชาติทั้งคู่ แสดงให้เห็นถึงอำนาจอธิปไตยของรัฐที่ไ ม่
จำเป็นต้องมีตำแหน่งเดียวในสหประชาชาติเสมอไปvii และการที่ไต้หวันถูกยกให้เป็นส่วนหนึ่งของจีนเมื่อ50ปีที่แล้ว
ไม่ได้หมายความว่า ไต้หวันไม่สามารถเป็นรัฐอธิปไตยในทุกวันนี้ได้viii หากจีนยอมให้ความร่วมมือในการยอมรับ
สถานะการเป็นสมาชิกสหประชาชาติของไต้หวัน อาจส่งผลดีต่อระบบระหว่างประเทศในหลายๆด้าน เช่น การช่วย
ลดความตึงเครียดทางความรุนแรงจากการใช้กองกำลังทหารเข้าควบคุมพื้นที่บริเวณช่องแคบ หรือแม้แต่ความ
พยายามในการยึดมาตรการจีนเดียวของจีนที่มีมาโดยตลอดอาจถูกคลี่คลายลงได้ เนื่องจากการที่ไต้หวั นต้อ งการ
แยกประเทศออกเป็นอิสระจากจีน มีสาเหตุมาจากเรื่องของการเป็นสมาชิกในสหประชาชาติที่ไต้หวันยังไม่ไ ด้เ ป็น
ส่วนหนึ่งในนั้น หากจีนให้ความร่วมมือยินยอมให้ไต้หวันเข้าร่วมเป็นสมาชิก ปัญหาในการรวมชาติอ าจถูกแก้ไ ขก็
เป็นได้
บทสรุ ป บทความชิ้นนี้มีเป้าหมายที่จะท้อ นให้เ ห็น ถึ งการที่ สหประชาชาติ และประชาคมโลกควรให้การ
สนับสนุนผลักดันไต้หวันในการเข้าร่วมเป็น สมาชิกสหประชาชาติร วมถึงการเป็นผู้สังเกตการณ์ของการประชุม
สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ถึงแม้ว่าจีนจะยืนกรานแนวความคิดที่เกี่ยวกับอธิปไตยของจีนเหนือไต้หวันอย่าง
หนักแน่นด้วยเหตุผลหลากหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการอ้างถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์ เกี่ย วกั บดิน แดน
ของไต้หวันที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจีนในสมัยราชวงศ์ต่างๆ เรื่องของความสัมพันธ์ทางการทูต และการอ้างถึงข้อมติ
สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 2758 อันกล่าวว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นผู้แทนที่ชอบด้วยกฎหมายแต่เพียง
ผู้เดียวในสหประชาชาติ
เป็นเวลาหลายทศวรรษที่ไต้หวันถูกมองข้ามในระดับนานาชาติ โดยการไม่ได้รับอนุญาตให้มีส่วนร่วมธรรมาภิ
บาลระดับโลกในด้านต่างๆซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของการแข่งขันที่มีอำนาจยิ่งใหญ่มาโดยตลอดด้วยการแสวงหา
ผลประโยชน์ส่วนตนตามแนวคิดทฤษฎีสัจนิยม รวมถึงข้อบกพร่องในหลายจุดของตัวองค์การสหประชาชาติเองที่
ทำให้ไต้หวันและจีนต้องประสบกับปัญหาความไม่สงบสันติ

i The theoretical foundations of global governance 45-46


ii ดขจิต 25
iii https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ndsijournal/article/view/64412/54834 26
iv https://www.jstor.org/stable/45302055?read-now=1&seq=17#page_scan_tab_contents 366-367
v https://www.jstor.org/stable/45302055?read-now=1&seq=39#page_scan_tab_contents 389-390
vi ขจิต 166
vii https://www.jstor.org/stable/24050860?read-now=1&seq=5#page_scan_tab_contents 10
viii

https://www.jstor.org/stable/45302056?searchText=taiwan+united+nations&searchUri=%2Faction%2FdoBasicSea
rch%3FQuery%3Dtaiwan%2Bunited%2Bnations&ab_segments=0%2Fbasic_search_gsv2%2Fcontrol&refreqid=fastl
y-default%3Aac3f23fe83d8664f6f7438a5bf48bf7b&seq=34#metadata_info_tab_contents 426

You might also like