You are on page 1of 53

กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

8. กฎหมายทะเล
8.1. วิวัฒนาการ
8.1.1. วิวัฒนาการก่อนศตวรรษที่ 19
ทะเล หมายถึง
พื้นที่ที่เป็นน้ำเค็มซึ่งเชื่อมต่อเป็นผืนเดียวกันโดยมิได้แยกจากมหาสมุทร
- สมัยโรมัน เกิดหลักเสรีภาพในทะเล ทะเลเป็นของส่วนรวมของมนุษยชาติ
- ศตวรรษที่ 12 – 16 เริ่มมีการอ้างสิทธิการเป็นเจ้าของทะเลโดยประเทศในยุโรป
ธงเรือถึงไหน อำนาจถึงนั่น
เกิดกฎหมายทะเลฉบับแรก คือ Law of Oleron
- ศตวรรษที่ 16 โปรตุเกสและสเปนอ้างสิทธิ์เหนือมหาสมุทรส่งผลกระทบต่อประเทศอื่น
มี ก ารเสนอแนวคิ ด และหลั ก การว่ า ด้ ว ยเสรี ภ าพแห่ ง ทะเล
ทะเลเป็นของร่วมกันของทุกชาติ ทุกรัฐมีสิทธิใช้ประโยชน์จากทะเล
หลวงร่วมกัน
หลักเสรีภาพในทะเล กลายเป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศของ
กฎหมายระหว่างทะเล
- ศตวรรษที่ 18 เกิ ด หลั ก การทะเลอาณาเขต ตามหลั ก Cannon-shot rule (ทะเล
อาณาเขตของรั ฐ มี ค วามกว้ า งเป็ น ระยะไกลที ่ ส ุ ด ของวิ ถ ี ป ื น ใหญ่
คือ 3 ไมล์ทะเล)
8.1.2. เหตุการณ์สำคัญต่อวิวัฒนาการตั้งแต่ศตวรรษที่ 19
1) การประชุ ม เพื ่อ จัดทำประมวลกฎหมายระหว่ างประเทศ ค.ศ. 1930 ก้าวแรกของความ
พยายามจัดทำกฎหมายทะเลในรูปแบบสนธิสัญญา เกิดหลักการที่ยอมรับเป็นการทั่วไป เช่น
หลักเสรีภาพการเดินเรือ หลักอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนทะเลอาณาเขต หลักสิทธิการผ่าน
โดยสุจริตในทะเลอาณาเขต
2) การประชุมกฎหมายระหว่า งประเทศว่า ด้วยกฎหมายทะเล ครั้งที่ 1 ค.ศ. 1958 จัด ทำ
อนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายทะเล 4 ฉบับ ได้แก่
(1) อนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง
(2) อนุสัญญาว่าด้วยทะเลหลวง
(3) อนุสัญญาว่าด้วยการประมงละการอนุรักษ์ทรัพยากรมีชีวิตในทะเลหลวง
(4) อนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป

- 4 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

3) การประชุมกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล ครั้งที่ 2 ค.ศ. 1960 พิจารณา


เรื่องความกว้างของทะเลอาณาเขตและการเพิ่มเขตประมงจำเพาะ แต่การประชุมล้มเหลว
เพราะ คะแนนเสียงไม่ถึง
4) การประชุมกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล ครั้งที่ 3 ค.ศ. 1973 – 1982
ปรับปรุงอนุสัญญาในปี ค.ศ. 1958 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคมโลกที่มี
ความเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว จนเกิดเป็น “อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.
1982” หรือ UNCLOS ซึ่งบังคับใช้มาถึงปัจจุบัน โดยไทยก็เป็นภาคีในอนุสัญญาดังกล่าว
ปัญหา ภาค 11 เรื่องบริเวณพื้นที่ (The Area) ทำให้ประเทศพัฒนาแล้วปฏิเสธอนุสั ญ ญา
เพราะ ไม่เห็นด้วยในเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ประเทศกำลังพัฒนา และมีค่าธรรมเนียม
การดำเนินการค่อนข้างสูง – มีการออก “ความตกลงฯ ค.ศ. 1994” เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
และทำให้ประเทศพัฒนาแล้วเข้ามาเป็นภาคีเพิม่ มากขึ้น
8.2. ที่มาของกฎหมายทะเล
8.2.1. อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
- มีอนุสัญญา 4 ฉบับที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
(1) อนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง
(2) อนุสัญญาว่าด้วยทะเลหลวง
(3) อนุสัญญาว่าด้วยการประมงละการอนุรักษ์ทรัพยากรมีชีวิตในทะเลหลวง
(4) อนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป
- รัฐที่ยังไม่ได้เป็นภาคี UNCLOS 1982 ก็ยังต้องนำอนุสัญญานี้มาใช้บังคับรัฐที่เป็นภาคี
- หลักเกณฑ์บางส่วนได้กลายเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศแล้ว
8.2.2. อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS)
- ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
(1) อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982
(2) ความตกลงว่าด้วยพื้นดินท้องทะเลลึก ค.ศ. 1994
- มีเนื้อหาครอบคลุมหลักกฎหมายทะเลอย่างกว้างขวาง ซับซ้อน และมีส่วนประกอบมาก
- ใช้เวลาร่างนานถึง 9 ปี และรอจนกว่าจะมีผลบังคับใช้อีก 12 ปี
- หลักเกณฑ์บางส่วนได้กลายเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศแล้ว ทำให้ถึงแม้ว่ารัฐที่
มิได้เป็นภาคีอนุสัญญาก็ยังต้องผูกพันตามหลักกฎหมายบางประการ
8.2.3. กฎหมายจารี ต ประเพณี ร ะหว่ า งประเทศ สนธิ ส ั ญ ญาทวิ ภ าคี และ
สนธิสัญญาพหุพาภาคีอื่น ๆ
- สนธิสัญญา เช่น อนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อการป้องกันมลพิษทางเรือ ค.ศ. 1973

- 5 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

- คำตัดสินของศาล
- ข้อมติของสมัชชาใหญ่
- การกระทำฝ่ายเดียวของรัฐ เช่น คำประกาศทรูแมนว่าด้วยไหล่ทวีป

8.3. เขตทางทะเล
8.3.1. เส้นฐาน
เส้นฐาน หมายถึง เกณฑ์หรือจุดเริ่มต้นในการวัดความกว้างของเขตต่าง ๆ ทางทะเล

โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ


1) เส้นฐานปกติ (Normal baseline) คือ เส้นแนวน้ำลดตลอดฝั่งตามที่ได้กำหนดไว้ในแผนที่ซึ่ง
ใช้มาตราส่วนขนาดใหญ่ที่รัฐชายฝั่งยอมรับนับถือเป็นทางการ
o ใช้ในกรณีที่ชายฝั่งราบเรียบสม่ำเสมอ
o อาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับรูปร่างหรือสภาพของชายฝั่ง
2) เส้นฐานตรง (Straight baseline) คือ เส้นฐานที่กำหนดโดยการลากเส้นเชื่อมจุดที่เหมาะสม
o ใช้ในกรณีที่
(1) แนวฝั่งทะเลเว้าแหว่งและตัดลึกเข้ามามาก
(2) มีเกาะเรียงรายตามฝั่งทะเลในบริเวณใกล้ชิดติดกับฝั่งทะเล
(3) แนวฝั่งทะเลไม่คงที่อย่างมากเนื่องจากดินดอนสามเหลี่ยมและสภาพทางธรรมชาติ
อื่น (เลือกจุดที่เหมาะสมตามแนวน้ำลดทางด้านทะเลระยะที่ใกล้ที่สุด)
o ต้องไม่ลากหันเหไปจากทิศทางโดยทั่วไปของฝางทะเลจนเกินสมควรและทะเลจะต้องมี
ความสัมพันธ์กับผืนแผ่นดินอย่างใกล้ชิดเพียงพอที่จะอยู่ในระบอบน่านน้ำภายใน
o ไม่ลากไปยังและมาจากพื้นที่เหนือน้ำขณะน้ำลด เว้นแต่มีการสร้างสิ่งปลูกสร้างอยู่
เหนือระดับน้ำทะเลถาวร
o ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เป็นลักษณะพิเศษของภูมิภาค
o ไม่สามารถนำมาใช้เพื่อปิดกั้นทะเลอาณาเขตของอีกรัฐหนึ่งจากทะเลหลวงหรือเขต
เศรษฐกิจจำเพาะ
o ไทยมีเส้นฐานตรงอยู่ 4 บริเวณ โดยได้มีการประกาศยืนยันสถานภาพเส้นฐานตรง
และน่านน้ำภายในโดยประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
o การตัดสินว่าเส้นฐานตรงนั้นใช้ได้หรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับกฎหมายระหว่างประเทศ
8.3.2. น่านน้ำภายใน (Internal Water)
น่านน้ำภายใน หมายถึง น่านน้ำที่อยู่ทางด้านแผ่นดินของเส้นฐาน
ที่ใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต

- 6 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

- รัฐชายฝั่งมีอำนาจอธิปไตยเหนือน่านน้ำภายใน เสมือนอำนาจอธิปไตยเหนือผืนแผ่นดิน
- การผ่านน่านน้ำภายในของเรือหรืออากาศยานต่างชาติต้องขออนุญาตจากรัฐชายฝั่ง
- การใช้ท่าเรือในน่านน้ำภายใน – อยู่ภายใต้กฎหมายที่รัฐชายฝั่งกำหนดตามหลักต่างตอบแทน
- กรณีเข้าน่านน้ำภายในได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาตก่อน – เกิดทุกขภัย หรือเกิดเหตุสุดวิสัย
8.3.3. ทะเลอาณาเขต (Territorial Sea)
ทะเลอาณาเขต หมายถึง ทะเลที่อยู่ประชิดติดชายฝั่งโดยอยู่ถัดออกมาจากน่านน้ำภายใน
และมีความกว้างออกไปในทะเลได้ไม่เกิน 12 ไมล์ทะเลจากเส้นฐาน
(1) ข้อกำหนด
- รัฐ ชายฝั่งมีอำนาจอธิป ไตยเหนือ ทะเลอาณาเขต การใช้อำนาจอธิป ไตยต้องเป็น ไปตาม
UNCLOS และหลักกฎหมายระหว่างประเทศอื่น ๆ
(2) สิทธิของรัฐอื่นในทะเลอาณาเขต
รัฐอื่นมี สิทธิการผ่านโดยสุจริต (Right of innocent passage)

- นิยามของ “การผ่าน”
(1) การเดินเรือในทะเลอาณาเขตเพื่อ (a) ผ่านทะเลอาณาเขตโดยไม่เข้าไปในน่านน้ำภายใน
หรือแวะจอด ณ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือ (b) เดินทางไปสู่หรือออกจากน่านน้ำภายใน
หรือแวะจอด ณ สิ่งอำนวยความสะดวก
(2) การผ่านจะต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว (ในที่นี้รวมถึงการหยุดและการทอดสมอ
อันเกิดขึ้นตามปกติ) หรือเกิดเหตุสุดวิสัย ทุกขภัย หรือเพื่อให้การช่วยเหลือสิ่งที่ตกอยู่ในภ
ยันอันตราย
- ความหมายของการผ่านโดยสุจริต
(1) ไม่เป็นการเสื่อมเสียต่อสันติภาพ ความมั่นคง และความสงบเรียบร้อยของรัฐชายฝั่ง
(2) กรณีที่ถือว่าผิดจากข้อ (1)
o การฝึกซ้อมรบ
o การรวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่เสื่อมเสีย ต่อความมั่นคงและต่อการป้องกัน ของรัฐ
ชายฝั่ง
o การกระทำโฆษณาชวนเชื่อ
o การส่งอากาศยาน การลงสู่พื้นของอากาศยาน และการนำอากาศยานขึ้นมาบนเรือ
o การส่งอุปกรณ์ทางทหารขึ้นสู่อากาศ
o การขนเงินหรือบุคคลที่ผิดกฎหมายศุลกากร การคลัง การเข้าเมือง และการสุขาภิบาล
ของรัฐชายฝั่ง
o การก่อให้เกิดภาวะมลพิษร้ายแรง

- 7 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

o การทำประมง
o การวิจัยหรือสำรวจ
o การแทรกแซงระบบสื่อสารหรือสิ่งอำนวยความสะดวกของรัฐชายฝั่ง
o กิจกรรมอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผ่าน
- เรือดำน้ำหรือยานพาหนะใต้น้ำ – ต้องแล่นบนผิวน้ำและแสดงธงของตน
- ให้สิทธิเฉพาะเรือต่างชาติเท่านั้น ไม่ให้สิทธิแก่อากาศยานต่างชาติ
(3) สิทธิของรัฐชายฝั่ง
มีอยู่ด้วยกัน 3 สิทธิ ได้แก่
1) สิทธิในการออกกฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ เกี่ยวกับการผ่านโดยสุจริต
o สามารถออกกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้ (1) ความปลอดภัยในการเดินเรือ (2) การ
คุ้มครองเครื่องหมายช่วยเดินเรือ (3) การคุ้มครองสายเคเบิลและท่อ (4) การอนุรักษ์
ทรั พ ยากรมี ช ี ว ิ ต ในทะเล (5) การป้ อ งกั น การฝ่ า ฝื น กฎหมาย (6) การรั ก ษา
สิ่งแวดล้อม (7) การวิจัยทางทะเล และ (8) การป้องกันการฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับ
ศุลกากร การคลัง การเข้าเมืองหรือการสุขาภิบาล
o ต้ อ งไม่ ใช้ บั งคับ กั บการออกแบบ การต่อเรือ การจัด บุคลากรหรืออุปกรณ์ของเรือ
ต่างชาติ
o ต้องเผยแพร่ให้ทราบตามสมควร
o เรื่อต่างชาติต้องปฏิบัติตามทั้งหมด
2) สิทธิในการที่จะกำหนดช่องทางทะเลและแผนแบ่งแนวจราจร
3) สิทธิในการคุ้มครองรัฐชายฝั่ง
o ดำเนินการที่จำเป็นเพื่อป้องกันการผ่านที่ไม่สุจริต
o ดำเนินการเพื่อ้องกันการผิดเงื่อนไขในการอนุญาตให้เรือต่างชาติเข้าสู่น่านน้ำภายใน
o สามารถระงับการผ่านโดยสุจริตเพื่อการคุ้มครองความมั่นคงและการฝึกอาวุธ โดย
จะต้องประกาศให้ทราบตามสมควร
(4) หน้าที่ของเรือต่างชาติขณะที่ใช้สิทธิการผ่านโดยสุจริต
- ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐชายฝั่ง
- กรณีเรือพลังนิวเคลียร์และเรือบรรทุกสารนิวเคลียร์หรือสารที่เป็นอันตรายอื่น – ต้องมีเอกสาร
และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันพิเศษที่กำหนดในความตกลงระหว่างประเทศ
(5) หน้าที่ของรัฐชายฝั่ง
มีระบุไว้ 2 ข้อ ได้แก่

- 8 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

1) ไม่ขัดขวางการผ่านโดยสุจริต โดยไม่วางข้อกำหนดที่มีผลเป็นการปฏิเสธหรือทำให้เสียสิ ทธิ


หรือเลือกปฏิบัติทั้งทางนิตินัยหรือพฤตินัย
2) เผยแพร่ถึงอันตรายต่อการเดินเรือที่ตนทราบตามความเหมาะสม
และเผยแพร่ข้อกฎหมายและข้อบังคับของตนให้ทราบ
(6) เขตอำนาจของรัฐชายฝั่ง : กรณีเรือพาณิชย์หรือเรือของรัฐบาลที่ใช้เพื่อการพาณิชย์
1) เขตอำนาจทางอาญาของรัฐชายฝั่ง
o ไม่ใช้เขตอำนาจทางอาญาเหนือเรือต่างชาติเพื่อจับกุมหรือสืบสวนอาชญากรรม ยกเว้น
ในกรณี
(1) ผลของอาชญากรรมขยายถึงรัฐชายฝั่ง
(2) รบกวนความสงบสุขของประเทศและความเรียบร้อยของทะเลอาณาเขต
(3) นายเรือหรือตัวแทนทางทูตหรือกงสุลรัฐเจ้าของธงขอความช่วยเหลือ
(4) ปราบปรามยาเสพติด
o ไม่กระทบสิทธิของรัฐชายฝั่งที่จะดำเนินขั้นตอนใด ๆ ตามที่กฎหมายให้อำนาจ
o ถ้านายเรือร้องขอตามข้อ 1 (3) จะต้องแจ้งตัวแทนทางทูตหรือกงสุลก่อน
o การจับกุมให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของการเดินเรือ
o ไม่อาจดำเนินการใด ๆ กรณีที่อาชญากรรมเกิดก่อนเข้าสู่ทะเลอาณาเขต
2) เขตอำนาจทางแพ่งของรัฐชายฝั่ง
o ไม่อาจขัดขวางหรือเปลี่ยนทางเรือที่ใช้การผ่านโดยสุจริตเพื่อประสงค์จะใช้เขตอำนาจ
ทางแพ่งเกี่ยวกับบุคคลบนเรือ การบังคับคดี หรือการจับกุม ยกเว้น เรื่องหนี้หรือความ
รับผิดซึ่งเรือนั้นก่อขึ้นขณะเดินทางผ่านทะเลอาณาเขต
o รัฐชายฝั่งบังคับคดีทางแพ่งได้ ถ้าเรือนั้นจอดอยู่ในทะเลอาณาเขตหรือกำลังผ่านทะเล
อาณาเขต
(7) การผ่านโดยสุจริตในทะเลอาณาเขต ในกรณีเรือรบและเรืออื่นที่ไม่ได้ใช้ในการพาณิชย์
o ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐชายฝั่ง
o ถ้าไม่ปฏิบัติตาม สามารถสั่งให้เรือรบออกจากทะเลอาณาเขตได้ทันที
o รัฐชายฝั่งไม่อาจจับกุมลงโทษเรือรบได้ แต่หากเกิดความเสียหายต่อรัฐชายฝั่ง รัฐ
เจ้าของธงจะต้องมีความรับผิดชอบระหว่างประเทศ
8.3.4. เขตต่อเนื่อง
(1) ขอบเขต
เขตต่อเนื่อง (Contiguous Zone) หมายถึง บริเวณพื้นที่ทะเลที่อยู่ประชิดกับทะเลอาณาเขตและ
อยู่ถัดต่อจากทะเลอาณาเขตออกไปในทะเล มีความกว้างไม่เกิน 24 ไมล์ทะเลจากเส้นฐาน

- 9 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

(2) เขตอำนาจของรัฐชายฝั่ง
- ป้องกันการฝ่าฝืนกฎหมายและข้อบังคับด้านศุลกากร การคลัง การเข้าเมือง และการสุขาภิบาล
- ลงโทษการฝ่าฝืนกฎหมายและข้อบังคับข้างต้น
(3) การกำหนดความกว้างของเขตต่อเนื่องของไทย
- กำหนดตามหลักของเขตต่อเนื่อง
8.3.5. เขตเศรษฐกิจจำเพาะ
เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (the Exclusive Economic Zone) หมายถึง บริเวณพื้นที่ทะเลที่อยู่
ประชิดกับเขตต่อเนื่องและอยู่ถัดต่อจากเขตต่อเนื่องออกไปในทะเล
มีความกว้างไม่เกิน 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐาน
(1) จุดกำเนิดและพัฒนาการ
- มีที่มาจากเขตประมงจำเพาะ
- เกิดขึ้นจากผลการเจรจาในการประชุมฯ กฎหมายทะเล ครั้งที่ 3 และรัฐนำมาบังคับใช้เป็น
กฎหมายภายใน
(2) ลักษณะทางกฎหมายของเขต
- มีลักษณะทางกฎหมายที่เป็นของตนเอง คือ
o มี ส ิ ท ธิ อ ธิ ป ไตย ในการสำรวจและแสวงหาประโยชน์ ก ารอนุ ร ั ก ษ์ แ ละการจั ด การ
ทรัพยากรธรรมชาติ หรือกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อการแสวงหาประโยชน์และการสำรวจทาง
เศรษฐกิจในเขต
o เขตอำนาจ ที่สามารถทำได้ คือ (1) การสร้างและใช้เกาะเทียม (2) การวิจัยทางทะเล
(3) การคุ้มครองและการรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล
o สิทธิและหน้าที่อื่น ๆ ตาม UNCLOS
- รัฐชายฝั่งมีหน้าที่กำหนดมาตรการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรที่มีชีวิต รวมถึงป้องกันการทำ
ประมงเกินขนาด โดยใช้หลัก Maximum Sustainable Yield (MSY) เช่นเดียวกับทะเลหลวง
o หากมีความสามารถไม่เพียงพอที่จะจับตามปริมาณที่อนุญาต อนุญาตให้รัฐอื่นเข้า
แสวงหาประโยชน์จากส่วนเกินได้
(3) สิทธิและหน้าที่ของรัฐอื่นในเขต
- นำหลักเสรีภาพทางทะเลจาก 6 ประการ มา 3 ประการ ได้แก่
(1) เสรีภาพในการเดินเรือ
(2) เสรีภาพในการบินผ่าน
(3) เสรีภาพในการวางสายเคเบิลและท่อใต้ทะเล

- 10 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

- ต้องคำนึงถึงสิทธิหน้าที่ของรัฐชายฝั่ง และปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่ออกโดยรัฐชายฝั่ง
(4) การกำหนดขอบเขต : กรณีมีชายฝั่งทะเลตรงข้ามหรือประชิดกัน
- ให้กระทำโดยความตกลงบนมูลฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ
- ส่วนใหญ่มักประสงค์จะใช้ “เขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปร่วมกัน” แต่ก็ไม่จำเป็นต้องใช้
หลักนี้เสมอไป
- หลักเกณฑ์เดียวกันกับการกำหนดไหล่ทวีป
(5) การบังคับใช้กฎหมายและข้อบังคับของรัฐชายฝั่งในเขต
1. อาจใช้มาตรการต่าง ๆ ได้แก่ การขึ้นเรือ ตรวจค้น จับกุม ดำเนินคดีได้เท่าที่จำเป็น ตาม
กฎหมายและข้อบังคับ
2. เรื่อที่ถูกจับกุมจะได้รับการปล่อยโดยพลัน เมื่อมีการวางเงินประกัน
3. บทกำหนดโทษต้องไม่รวมถึงการจำคุก ถ้าไม่ได้มีการตกลงกัน
4. เมื่อจับกุม ต้องแจ้งให้รัฐเจ้าของธงทราบโดยเร็ว
8.3.6. ไหล่ทวีป
ไหล่ทวีป (Continental Shelf) หมายถึง พื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของบริเวณใต้ทะเลซึ่ง
ขยายเลยทะเลอาณาเขตของรัฐตลอดส่วนต่อออกไปตามธรรมชาติของดินแดนทางบกของตน จนถึง
ริมนอกของขอบทวีป หรือ จนถึงระยะ 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐาน

ทั้งนี้ อนุญาตให้กำหนดขอบทวีปออกไปได้ แต่ต้องไม่เกิน 350 ไมล์ทะเลจากเส้นฐาน


(1) แนวความคิดและวิวัฒนาการ
- เริ่มต้นจากสหรัฐฯ ในปี 1945 ประกาศสิทธิเหนือไหล่ทวีปของสหรัฐฯ ก่อให้เกิดกระแสการ
อ้ างสิ ทธิ ในไหล่ ทวี ป ของรั ฐต่าง ๆ ตามมา และกลายเป็น กฎหมายจารีตประเพณีร ะหว่าง
ประเทศในที่สุด
(2) สิทธิของรัฐชายฝั่ง
- มีเพียง สิทธิอธิปไตย เหนือไหล่ทวีป เพื่อความมุ่งประสงค์ในการสำรวจไหล่ทวีปและแสวง
ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของไหล่ทวีป
o ทรั พ ยากรธรรมชาติ ได้ แ ก่ แร่ น้ ำ มั น ก๊ า ชบนพื ้ น ดิ น ดิ น ใต้ ผ ิ ว ดิ น และ
ทรัพยากรธรรมชาติมีชีวิตที่อยู่ติดกับที่ (Sedentary Species)
(3) สถานภาพทางกฎหมายของน่านน้ำและห้วงอากาศ และสิทธิเสรีภาพของรัฐอื่น
- นำหลักเสรีภาพทางทะเลจาก 6 ประการ มา 3 ประการ ได้แก่
(1) เสรีภาพในการเดินเรือ

- 11 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

(2) เสรีภาพในการบินผ่าน
(3) เสรีภาพในการวางสายเคเบิลและท่อใต้ทะเล
(4) การกำหนดขอบเขต
1) กรณีไหล่ทวีปทอดยาวออกไปสู่ทะเลของรัฐชายฝั่ง (Delimitation of the Shelf-Seaward
limit)
o รัฐ ทั้งปวงมีไหล่ทวีป 200 ไมล์ทะเลจากเส้น ฐาน ถึงแม้ว่าจะไม่ม ีไหล่ทวีป ในทาง
กายภาพ
o กรณีไหล่ทวีปทางกายภาพเกินกว่า 200 ไมล์ทะเล รัฐชายฝั่งมีสิทธิเหนือไหล่ทวีป ไม่
เกิน 350 ไมล์ทะเล หรือไม่เกิน 100 ไมล์ทะเลจากเส้นน้ำลึก
 จะต้องเสนอรายงานต่อคณะกรรมาธิการการกำหนดขอบเขตของไหล่ทวีป
ภายใน 10 ปี นับตั้งแต่ UNCLOS มีผลบังคับใช้กับรัฐนั้น
 จะต้ อ งจ่ า ยเงิ น หรือ ส่ ว นแบ่ง ให้ ส่ ว นที ่ เ กี ่ ย วกั บ การแสวงหาประโยชน์ จ าก
ทรัพยากรที่ไม่มีชีวิตจากไหล่ทวีปที่เลย
2) กรณี ท ี ่ ฝ ั ่ ง ทะเลตรงข้ า มหรื อ ประชิ ด กั น (Delimitation of the Shelf-Opposite and
Adjacent States)
o ตาม UNCLOS 1982
 ให้กระทำโดยความตกลงระหว่างประเทศ หากตกลงไม่ได้ให้ทำตามที่กำหนด
ไว้ในภาค 15
 ในระหว่างที่ยังไม่ตกลง ให้จัดทำข้อตกลงชั่วคราวก่อน
o ตาม อนุสัญญาฯ ปี 1958
 ให้กระทำโดยความตกลงระหว่างประเทศ
 กรณีฝั่งทะเลตรงข้ามกัน หากไม่มีความตกลงหรือนอกจากกรณีแวดล้อมพิเศษ
ให้เขตแดนนั้นคือ เส้นมัธยฐาน (Median Line)
 กรณีฝั่งทะเลประชิดกัน หากไม่มีความตกลงหรือนอกจากกรณีแวดล้อมพิเศษ
ให้ใช้หลักระยะทางเท่ากัน (Principle of Equidistance) จากจุดที่ใกล้ที่สุดของ
เส้นฐาน
 ควรจะกำหนดไว้ในแผนที่ มีการอ้างถึงจุดซึ่งคงที่ถาวรและเห็นได้ชัด
o ต้องมุ่งเพื่อให้บรรลุผลอันเที่ยงธรรม
o หลักการที่อาจจะใช้ได้ เช่น
 หลักระยะทางเท่ากัน
 หลักความได้สัดส่วน
 หลักแห่งความยุติธรรม

- 12 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

 หลักเขตแดนทางทะเลร่วมกัน
o ข้อเสนอการดำเนินการกำหนดเขตแดน 3 ขั้นตอน
1) ลากเส้นมัธยะที่มีระยะทางเท่ากันชั่วคราว
2) พิจารณาปัจจัยที่ทำให้ต้องเปลี่ยนเส้นระยะทางเท่ากันชั่วคราวเพื่อบรรลุผลของ
ความเที่ยงธรรม
3) เส้นที่มีการปรับนำผลมาสู่ความไม่เที่ยงธรรมและไม่ได้สัดส่วนหรือไม่
8.3.7. ช่องแคบระหว่างประเทศ
- มีการกำหนดสิทธิในการเดินทางผ่านช่องแคบขึ้นใหม่เรียกว่า “สิทธิการเดินทางผ่าน (Right
of Transit Passage)”
o หมายถึง การใช้เสรีภาพในการเดิน เรือและการบินผ่านช่องแคบอย่างต่อเนื่อ งและ
รวดเร็ว
o เรือและอากาศยานสามารถผ่านได้ ยกเว้น มีเส้นทางอื่นที่สามารถผ่านได้
o ไม่ใช้บงั คับกับช่องแคบที่มีอนุสัญญาบังคับอยู่แล้ว
o รัฐที่อยู่ติดช่องแคบมีสิทธิออกกฎหมายและข้อบังคับ แต่ไม่มีสิทธิขัดขวางการเดิน
ทางผ่าน
o ยานพาหนะใต้น้ำ ไม่ต้องแล่นบนผิวน้ำและแสดงธงของตน
- นำระบอบการผ่านโดยสุจริตมาใช้กับช่องแคบด้วย
8.3.8. รัฐหมู่เกาะ
รัฐหมู่เกาะ (Archipelagic States) หมายถึง รัฐซึ่งประกอบด้วยหมู่เกาะหนึ่งหรือมากกว่า
หมู่เกาะ (Archipelago) หมายถึง กลุ่มของเกาะ รวมทั้งส่วนต่าง ๆ ของเกาะ น่านน้ำที่เชื่อมติด
ระหว่างกัน และลักษณะทางธรรมชาติซึ่งเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิดจนกระทั่งประกอบเป็นองคภาวะ
ทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ และการเมืองเป็นหนึ่งเดียวกัน

- มีรัฐที่อ้างสิทธิเป็นรัฐหมู่เกาะ 22 รัฐ
(1) เส้นฐานหมู่เกาะ
เส้นฐานหมู่เกาะ หมายถึง เส้นตรงเชื่อมต่อจุดนอกสุดของเกาะที่ตั้งอยู่นอกสุด โดยต้องไม่หันเห
จากรูปลักษณ์ทั่วไปของหมู่เกาะ และยาวไม่เกิน 100 ไมล์ทะเล

- ร้อยละ 3 ของจำนวนเส้นฐานทั้งหมดที่ปิดล้อมหมู่เกาะ อาจเกิน 100 ไมล์ทะเลได้ แต่ยาว


ได้มาที่สุดเพียง 125 ไมล์ทะเล

- 13 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

(2) สถานภาพทางกฎหมายของน่านน้ำหมู่เกาะ
- น่านน้ำที่ถูกปิดล้อมโดยเส้นฐาน คือ “น่านน้ำหมู่เกาะ” ซึ่งรัฐมีอำนาจอธิปไตยเหนือน่านน้ำ
ดังกล่าว
(3) สิทธิการผ่านน่านน้ำหมู่เกาะ
- รัฐหมู่เกาะต้องยอมให้เรือของรัฐอื่นเดินทางผ่านน่านน้ำหมู่เกาะโดยอาศัยสิทธิ 2 สิทธิ คือ
1) สิทธิการผ่านช่องทางทะเลหมู่เกาะ
o รัฐหมู่เกาะกำหนดช่องทางทะเลและเส้นทางบินสำหรับผ่าน
o การผ่านมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อการผ่านอย่างต่อเนื่องรวดเร็วและไม่ถูกกีดขวาง
o เรือและอากาศยานต้องไม่หันเหไปจากช่องทางทะเลไม่เกิน 25 ไมล์ทะเล และต้องไม่
เข้าไปใกล้ฝั่งเกินกว่าร้อยละ 10 ของระยะทางระหว่างจุดที่ใกล้สุดบนเกาะ
o ถ้าไม่ได้มีการกำหนดช่องทางทะเล ก็อาจใช้สิทธิผ่านเส้นทางซึ่งใช้กันเป็นปกติสำหรับ
การเดินเรือระหว่างประเทศได้
2) สิทธิการผ่านโดยสุจริต
o ยึดตามหลักการผ่านโดยสุจริตด้านบน
8.3.9. ทะเลหลวง
ทะเลหลวง (the High Seas) หมายถึง ส่วนของทะเลซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะใน
ทะเลอาณาเขตหรือน่านน้ำภายในของรัฐ หรือน่านน้ำหมู่เกาะของรัฐหมู่เกาะ

(1) บทบัญญัติทั่วไป
- ถือเป็นทรัพย์ของส่วนรวม ไม่มีรัฐใดที่อาจอ้างเอาส่วนหนึ่งส่วนใดมาอยู่ในอธิปไตยของตน
และต้องใช้ทะเลเพื่อความมุ่งประสงค์ทางสันติ
- เกิดหลักเสรีภาพแห่งทะเลหลวง (Freedom of the High Seas) ที่รัฐทั้งปวงมีเสรีภาพ 6
ประการ ภายใต้เงื่อนไขของ UNCLOS ได้แก่
1) เสรีภาพในการเดินเรือ
2) เสรีภาพในการบินผ่าน
3) เสรีภาพที่จะวางสายเคเบิลและท่อใต้ทะเล
4) เสรีภาพที่จะสร้างเกาะเทียมและสิ่งติดตั้งอื่น ๆ
5) เสรีภาพในการประมง
6) เสรีภาพในการวิจัยวิทยาศาสตร์
- เรือในทะเลหลวงอยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐเจ้าของธง รัฐเจ้าของธงเป็นผู้ใช้เขตอำนาจรัฐทั้งทาง
แพ่งและอาญา ยกเว้น การกระทำเป็นโจรสลัด การค้ายาเสพติด การออกอากาศจากทะเล
หลวงโดยไม่ได้รับอนุญาต รณีภายใต้สิทธิการไล่ติดพัน และกรณีภายใต้สิทธิการขึ้นตรวจ

- 14 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

(2) การอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรมีชีวิตในทะเลหลวง
มีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
1) กำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดปริมาณที่พึงอนุญาตให้จับได้และมาตรการอนุรักษ์อื่น ๆ จาก
(1) หลัก อำนวยผลผลิต ได้ อย่ างสู งสุด ตลอดไป (Maximum Sustainable Yield) และ (2)
ผลกระทบต่อชนิดพันธุ์ที่อยู่ร่วมกัน
2) ให้มีการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนข้อสนเทศทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับกิจกรรมการประมง
3) ประกันว่ามาตรการอนุรักษ์ ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ
8.3.10. บริเวณพื้นที่
บริเวณพื้นที่ (the Areas) หมายถึง พื้นดินท้องทะเล (Seabed) พื้นมหาสมุทร (Ocean Floor)
และดินใต้ผิวดิน (Subsoil) ที่อยู่พ้นขอบเขตของเขตอำนาจรัฐ

- เป็นบริเวณที่อุดมไปด้วยทรัพยากรแร่
- ตั้งอยู่บนหลัก มรดกร่วมของมนุษยชาติ – ต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติทั้งมวล
โดยไม่คำนึงถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
- รัฐมิอาจอ้างอธิปไตยเหนือบริเวณพื้นที่
- มีองค์กรพื้นดินท้องทะเลระหว่างประเทศ ทำหน้าที่ควบคุมดูแลสิทธิเหนือทรัพยากรในบริเวณ
พื้นที่
- ระบบการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในบริเวณพื้นที่ ใช้ระบบ การเข้าถึงอย่าง
คู่ขนาน โดยให้กระทำโดยวิสาหกิจและโดยร่วมกับองค์กรโดยรัฐภาคีหรือรัฐวิสาหกิจหรือบุคคล
หรือนิติบุคคลซึ่งถือสัญชาติรัฐภาคี
- ความรับผิดชอบและพันธกรณีของรัฐ แบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) พันธกรณีในการประกัน รัฐผู้อุปถัมภ์ต้องประกันงานผู้รับงานจะปฏิบัติตาม UNCLOS
2) พันธกรณีโดยตรง รัฐผู้อุปถัมภ์ต้องปฏิบัติตามพันธกรณี โดยใช้หลักการป้องกันไว้ก่อน
8.4. ลักษณะภูมิสัณฐานที่ปรากฏในทะเล
- เกาะ (Island)
o คือ บริเวณแผ่นดินที่ก่อตัวขึ้นตามธรรมชาติ โดยมีน้ำล้อมรอบซึ่งอยู่เหนือน้ำในขณะน้ำ
ขึ้นสูงสุด
o สามารถมีเขตทางทะเลได้
o โขดหินที่มนุษย์ไม่สามารถอยูอ่ าศัยได้ จะไม่มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะหรือไหล่ทวีป
o หากอยู่ใกล้ชายฝั่งจะถูกนำไปใช้เป็นจุดในการลากเชื่อมต่อเส้นฐานตรง
- การถมพื้นที่จะสามารถทำให้พื้นที่นั้นเป็นเกาะได้หรือไม่

- 15 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

o ไม่ได้ เพราะ เกาะต้องเกิดขึ้นตามธรรมชาติ


o กรณีนี้อยู่ในประเภทเกาะเทียม
8.4.1. กรณีทะเลจีนใต้
- เกาะที่เป็นข้อพิพาทคือ เกาะสแปรตลีย์และพาราเซล
o สแปรตลีย์มีทั้งเกาะ โขดหิน แนวปะการัง สันทราย 150 แห่ง โดยมีเพียงแค่ 50 แห่ง
ที่เป็นเกาะ
o เกาะส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก ไม่สามารถอยู่อาศัยได้ จึงไม่อาจมีเขตเศรษฐกิจจำเพาะหรือ
ไหล่ทวีปได้
o พื้นที่ดังกล่าว จะมีบางส่วนที่อยู่ใต้น้ำขณะน้ำขึ้นสูงสุด
- ไม่มีบทบัญญัติไหนให้สิทธิรัฐในการอ้างเขตทางทะเลจากพื้นที่ดังกล่าว
- ไม่ชัดเจนว่ามีกฎหมายให้สิทธิรัฐสามารถมีอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่เหนือน้ำขณะน้ำลด
8.5. การระงับข้อพิพาทภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล
ค.ศ. 1982
8.5.1. หลักการและโครงสร้างพื้นฐานของกระบวนการ
- สร้างกลไกและกระบวนการที่มีรูปแบบยืดหยุ่นอยู่ในตัว เพื่อจูงใจให้รัฐรับอนุสัญญา เพราะ
ไม่ได้เปิดโอกาสให้รัฐภาคีทำข้อสงวน
- กระบวนการนี้จะไม่ใช้บังคับกับกรณีพิพาทที่เกี่วกับผลประโยชน์แห่งชาติที่มีความสำคัญยิ่งของ
รัฐภาคี
- ใช้วิธีการระงับข้อพิพาทในเชิงฉันมิตรก่อนที่จะใช้วิธีการระงับข้อพิพาทในทางการศาล
- นำหลักเคารพเจตนารมณ์ของรัฐภาคีมาใช้ คือ สามารถเลือกวิธีการระงับข้อพิพาทได้ตามความ
ประสงค์ แต่ถ้าทำไม่ได้ให้ใช้บทบัญญัติตามภาค 15
- ก่อนใช้วิธีระงับข้อพิพาท จะต้องมีพันธกรณีในการแลกเปลี่ยนทัศนะ โดยเร่งด่วน ก่อนจึงจะ
สามารถใช้วิธีระงับข้อพิพาทได้
8.5.2. วิธีดำเนินการภาคบังคับ
- วิธีระงับข้อพิพาท 4 ประการ ได้แก่
1) ศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ (Final / binding)
2) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (Final / binding)
3) ศาลอนุญาโตตุลาการ ตั้งตามภาคผนวก 7 – เป็นศาลที่มีความสำคัญ (Binding)
4) ศาลอนุญาโตตุลาการพิเศษ ตั้งตามภาคผนวก 8 (Binding)
o ศาลข้างต้น มีเขตอำนาจในการตีความและการใช้อนุสัญญา

- 16 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

o มีอำนาจในการให้การให้ความเห็นแนะนำสำหรับฐานทางกฎหมาย
- รัฐมีอิสระที่จะเลือกวิธีระงับข้อพิพาท โดยวิธีการประกาศเป็นหนังสือ ซึ่งไม่กระทบกระเทือน
พันธกรณีของรัฐภาคีที่จะยอมรับเขตอำนาจขององค์คณะว่าด้วยข้อพิพาท
o กรณีทั้งสองฝ่ายเลือกวิธีเดียวกัน ให้ใช้วิธีนั้นเท่านั้น
o เคารพเจตนารมณ์ของคู่กรณีเป็นสำคัญ
- มาตรการชั่วคราว ศาลอาจกำหนดมาตรการชั่วคราวที่เหมาะสม เพื่อรักษาไว้ซึ่งสิทธิของแต่ละ
ฝ่ายในข้อพิพาท
- การเข้าถึง การดำเนินการระงับข้อพิพาทโดยการวินิจฉัยที่มีผลผูกพัน อาจกระทำได้โดยรัฐภาคี
หรือองคภาวะนอกไปจากรัฐภาคีตามที่ได้บัญญัติไว้ เช่น องค์กร วิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจ บุคคล
หรือนิติบุคคล
- การดำเนินคดีขั้นต้น
1) ให้ศาลวินิจฉัยเมื่อมีการร้องขอ ว่าข้อเรียกร้องนั้นใช้กระบวนการทางกฎหมายถูกหรือไม่
หรือมีมูลหรือไม่
2) ศาลต้องแจ้งให้อีกฝ่ายทราบทันทีถึงคำร้องนั้น
3) ไม่กระเทือนสิทธิของฝ่ายใด ๆ ในการคัดค้านขั้นต้น ตามหลักเกณฑ์ของวิธีดำเนินการที่ใช้
บังคับ
- การถึงที่สุดและผลผูกพันของคำวินิจฉัย ถือว่าถึงที่สุดและมีผลผูกพันทุกฝ่ายในข้อพิพาท

9. กฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตและกงสุล

การทูต หมายถึง การดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยตัวแทนของรัฐระหว่างรัฐต่าง ๆ


รวมถึงองค์การระหว่างประเทศโดยสันติวิธี

9.1. อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ค.ศ. 1961


9.1.1. วิวัฒนาการ
9.1.2. การแบ่งประเภทคณะผู้แทนทางการทูต
บุคคลในคณะผู้แทนได้มีการกำหนดนิยามเอาไว้ในอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์
ทางทูต ค.ศ. 1961 ดังนี้
1. บุคคลในคณะผู้แทน (Member of the mission) คือ หัวหน้าคณะผู้แทน และ บุคคลใน
คณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทน ไม่ได้มีการจำกัดจำนวนจำเพาะอย่างชัดเจนในอนุสัญญา ขึ้นอยู่
กับรัฐผู้ส่งว่าจะส่งบุคคลไปเท่าใด เว้นแต่รัฐผู้รับได้มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนถึงการจำกัด
จำนวนคน

- 17 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

1) หัวหน้าคณะผู้แทน (Head of the mission) คือ บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากรัฐผู้ส่งให้เป็น


หั ว หน้ า ในการดำเนิ น ความสั ม พั น ธ์ โดยส่ ว นมากในปั จ จุ บ ั น มั ก แลกเปลี ่ ย นในระดั บ
เอกอัครราชทูต
ลำดับชั้นของหัวหน้าคณะผู้แทน
(1) ชั้นเอกอัครราชทูต หรือเอกอัครสมณทูต (Ambassador) – แต่งตั้งไปยังประมุข
(2) ชั้นรัฐทูต อัครราชทูต และอัครสมณทูต (Envoy) – แต่งตั้งไปยังประมุข
(3) ชั้นอุปทูต (Charge d’ Affaires) -- แต่งตั้งไปยัง รมว.กต.
2) บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทน (Members of the staff of the mission) คือ
บุคคลในเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูต คณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการ และคณะเจ้าหน้าที่
บริการของคณะผู้แทน
I. บุ ค คลในคณะเจ้ า หน้ า ที ่ ฝ ่ า ยทู ต (Members of the diplomatic staff)
หมายถึง บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทนที่มีตำแหน่งทางทูต อันได้แก่
1. ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ
2. พนักงานของหน่วยราชการอื่น ๆ ที่ส่งไปสถานทูตเพื่อให้คำปรึกษาแก่หัวหน้าคณะผู้แทนใน
กิจการต่าง ๆ
II. บุ ค คลในคณะเจ้ า หน้ า ที ่ ฝ ่ า ยธุ ร การและวิ ช าการ (Members of the
administrative and technical staff) หมายถึง บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่
ของคณะผู้แทน ซึ่งทำงานเกี่ยวกับฝ่ายธุรการและวิชาการของคณะผู้แทน เช่น
เลขานุการ พนักงานแปล
III. บุ ค คลในคณะเจ้ า หน้ า ที ่ ฝ ่ า ยบริ ก าร (Members of the service staff)
หมายถึง บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทนซึ่งอยู่ในฝ่ายบริการรับใช้ของ
บุคคลในคณะผู้แทน
2. ตัวแทนทางทูต (Diplomatic agent) หมายถึง หัวหน้าคณะผู้แทน และคณะเจ้าหน้าที่ฝ่าย
ทูต
3. คนรับใช้ส่วนตัว (Private servant) คือ บุคคลซึ่งอยู่ในฝ่ายบริการรับใช้ของบุคคลในคณะ
ผู้แทน และไม่ได้เป็นลูกจ้างของรัฐผู้ส่ง
4. ครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต
9.1.3. การเข้าดำรงตำแหน่ง
หัวหน้าคณะผู้แทน
1. การขอความเห็นชอบ – รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลในการปฏิเสธ
2. การถวายพระราชสาส์นตราตั้งหรืออักษรสาส์นตราตั้ง -- หัวหน้าคณะผู้แทนจะดำรงตำแหน่ง
อย่างเป็นทางการ เมื่อแสดงสาส์นตราตั้งต่อรัฐผู้รับหรือเมื่อบอกกล่าวการมาถึงของตน
เจ้าหน้าที่ฝ่ายทูตและเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและวิชาการ
- แจ้งถึงการแต่งตั้ง

- 18 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการ
- แจ้งถึงการแต่งตั้ง การมาถึง และการเดินทางออกไป
คนรับใช้ส่วนตัว
- แจ้งถึงการมาถึง
- กรณีเป็นบุคคลของรัฐผู้รับ ให้แจ้งกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับทราบ
9.1.4. การสิ้นสุดของการดำรงตำแหน่ง
สาเหตุ
1) รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับ เช่น ไม่ได้รับความไว้วางใจ เกษียณ ประท้วงเพื่อแสดงความไม่พอใจ
2) รัฐผู้รับประกาศว่าผู้แทนทางการทูตเป็นบุคคลไม่พึงปรารถนา (Persona Non Grata)
3) อื่น ๆ เช่น การลาออก การตาย
วิธีการเพื่อให้สิ้นสุดจากตำแหน่ง
1) เรียกหัวหน้าคณะผู้แทนกลับ
o ประมุขของรัฐมอบอักษรสาส์นเรียกกลับให้แก่หัวหน้าคณะผู้แทน (เป็นพิธี)
o กรณีถูกประกาศเป็นบุคคลไม่พึงปรารถนา จะไม่ระบุสาเหตุการเรียกกลับ
o กรณีปกติ มอบเครื่องราชฯ และอักษรสาส์นตอบรับส่งไปยังประมุขรัฐผู้ส่ง
2) เรียกบุคคลอื่นในคณะผู้แทนกลับ
o ต้องแจ้งต่อกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับของการมาถึงและการเดินทางออกไป
o ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าถึงการมาถึง และการเดินทาง ออกไปท้ายที่สุดด้วย
3) การขับไล่
o เป็นสิทธิที่จะขับไล่บุคคลไม่พึงปรารถนา
9.1.5. หน้าที่ของผู้แทนทางการทูต
หน้าที่ต่อรัฐผู้ส่ง
1. เป็นตัวแทนของรัฐ
2. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่งและคนชาติของรัฐผู้ส่ง
a. เจรจาหรือตอบข้อซักถามของสื่อมวลชน
b. ให้การคุ้มครองทางการทูต
3. เจรจากับรัฐผู้รับ
4. เสาะแสวงหาข่าวและรายงาน
5. ส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับในด้านต่าง ๆ
หน้าที่ต่อรัฐผู้รับ
1. ไม่เข้าไปแทรกแซงกิจการภายใน

- 19 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

2. เคารพกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ
3. ไม่ปฏิบัติกิจกรรมใดทางวิชาชีพหรือพาณิชย์เพื่อประโยชน์ส่วนตนในรัฐผู้รับ
9.1.6. เอกสิทธิแ์ ละความคุ้มกันทางการทูต
(1) ความหมาย
เอกสิทธิ์ หมายถึง สิทธิของผู้ให้หรือเกิดด้านผู้ให้ ที่จะให้ผลประโยชน์หรือผลปฏิบัติอย่างใดอย่าง
หนึ่ง หรืออาจเป็นข้อยกเว้นไม่ให้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่คณะผู้แทนทางทูตของรัฐผู้ส่ง บน
หลักอัธยาศัยไมตรีเป็นมูลฐาน

ความคุ้มกัน หมายถึง สิทธิของผู้รับหรือเกิดขึ้นด้านผู้รับ ผู้ให้จำต้องให้ความคุ้มกันกันแก่ผู้รับ


เพราะ ผู้รับมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มกันนั้นในตัวเอง ผู้ให้จะไม่ให้ไม่ได้
(2) ทฤษฎีเรื่องเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต
มี 3 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฎีลักษณะตัวแทนของผู้แทนทางการทูต – ผู้แทนทางการทูตคือตัวแทนของกษัต ริย์
ปัจจุบันนิยมน้อยลง เพราะ ไม่สามารถอธิบายรากฐานของการให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันได้
2. ทฤษฎีสภาพนอกอาณาเขต – สถานทูตเป็นดินแดนของรัฐผู้ส่ง จึงไม่ตกอยู่ใต้อำนาจอธิปไตย
ของรัฐผู้ร ับ มีข้อโต้แย้ ง ชัด เจนว่า ถ้าถือตามหลั กดังกล่ าว ความคุ้มกั น ทางการทู ต ก็ ไม่มี
ความหมายอะไรเลย
3. ทฤษฎีประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ – ถือว่ามูลฐานของเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต
มาจากความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของนักการทูต เป็นทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับ
และเชื่อถือในปัจจุบัน
(3) ขอบเขตของเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต
1. เอกสิทธิ์ด้านภาษีอากร
a. ภาษีเกี่ยวกับสถานที่ ได้รับการยกเว้นจากค่าติดพันและภาษีทั้งมวลในส่วนที่เกี่ยวกับ
สถานที่ของคณะผู้แทน
b. ภาษีของบุคคล คณะผู้แทนที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นทางการ จะได้รับการงดเว้นภาษีและค่า
ติดพันทั้งมวล
c. ข้อยกเว้นที่ไม่ได้รับเอกสิทธิ์ ภาษีทางอ้อม อสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว อากรมรดก ค่า
ติดพันและภาษีเงินได้ส่วนตัว ค่าธรรมเนียมศาล ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน
2. เอกสิทธิ์เกี่ยวกับภาษีศุลกากร

- 20 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

a. ได้รับยกเว้นภาษีศุลกากร และค่าภาระที่เกี่ยวข้องทั้งมวล สำหรับ (1) สิ่งของที่ใช้ใน


ทางการของคณะผู้แทน (2) สิ่งของครัวเรือนของตัวแทนทางทูต และสิ่งของที่ได้เจตนา
สำหรับการตั้งถิ่นฐานของตัวแทนทางทูต
b. ได้รับการยกเว้นจากการตรวจตราหีบห่อส่วนบุคคล เว้นแต่จะมีมูลเหตุอันร้ายแรง ให้
กระทำการตรวจตราต่อหน้าตัวแทนทางทูต
3. ความคุ้มกันเกี่ยวกับตัวบุคคล ตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ จะไม่ถูกจับกุมหรือกักขังใน
รูปแบบใด ปฏิบัติด้วยความเคารพตามสมควร และต้องดำเนินการป้องกันอย่างเหมาะสมต่อ
บุคคล เสรีภาพ หรือเกียรติของตัวแทนทางทูต
4. ความคุ้มกันจากอำนาจศาล ตัวแทนทางทูตหลุดพ้นจากอำนาจศาลทั้งในคดีแพ่ง อาญา และ
คดีปกครองในรัฐผู้รับ
a. ข้อยกเว้นที่ไม่ได้รับการคุ้มกัน ดำเนินคดีกรรมสิทธิ์ของอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว คดี
การสืบมรดก คดีเกี่ยวกับวิชาชีพหรือการพาณิชย์อื่นนอกเหนือหน้าทีก่ ารงาน
5. ความคุ้มกันเกี่ยวกับสถานที่ของคณะผู้แทน รวมถึงที่อยู่ส่วนตัว สถานที่ของผู้แทนจะถูก
ละเมิดมิได้
a. ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปได้หากไม่ได้รับความยินยอม
b. ทรัพย์สินจะได้รับความคุ้มกันจากการตรวจค้น เรียกเกณฑ์ อายัด หรือบังคับคดี
c. รัฐผู้รับจะต้องให้การคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทน และป้องกันการรบกวนใด ๆ ต่อ
คณะผู้แทน
เอกสิทธิ์และความคุ้มกันครอบคลุมบุคคลอื่นในคณะผู้แทน ดังนี้
ครอบครัว ฝ่ายธุรการ
เอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ฝ่ายบริการ คนใช้ส่วนตัว
ของตัวแทนทางทูต และวิชาการ
เอกสิทธิ์ด้านภาษีอากร อุปโภคเต็ม อุปโภคเต็ม อุปโภคเต็ม อุปโภคเท่าที่
ถ้าไม่ใช่คนชาติ ถ้าไม่ใช่คนชาติ ถ้าไม่ใช่คนชาติ รัฐผู้รับให้
เอกสิทธิ์ได้รับยกเว้นภาษีศุลกากร ไม่ได้รับ อุปโภคเต็ม ไม่ได้รับ ไม่ได้รับ
ถ้าไม่ใช่คนชาติ
เอกสิทธิ์ได้รับการยกเว้นจากการ ไม่ได้รับ ได้รับเฉพาะ ไม่ได้รับ ไม่ได้รับ
ตรวจตราหีบห่อส่วนบุคคล ครั้งแรก
ความคุ้มกันเกี่ยวกับตัวบุคคล อุปโภคเต็ม อุปโภคเต็ม อุปโภคเฉพาะ อุปโภคเท่าที่
ถ้าไม่ใช่คนชาติ ถ้าไม่ใช่คนชาติ ในการทำหน้าที่ รัฐผู้รับให้
ความคุ้มกันจากอำนาจศาล อุปโภคเต็ม อุปโภคเต็ม อุปโภคเฉพาะ อุปโภคเท่าที่
ถ้าไม่ใช่คนชาติ ถ้าไม่ใช่คนชาติ ในการทำหน้าที่ รัฐผู้รับให้
ทางแพ่งเฉพาะ
ในการทำหน้าที่

- 21 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

(4) การเริ่มต้นและการสิ้นสุดของเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต
- เริ่มต้น : ตั้งแต่เข้ามาในอาณาเขตของรัฐผู้รับ หรือ ได้บอกกล่าวการแต่งตั้งของตน
- สิ้นสุด : แบ่งออกได้ 3 กรณี คือ
(1) กรณีปกติ : ขณะที่บุคคลนั้นออกไปจาก ประเทศ หรือเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาอันสมควร
ที่จะทำเช่นนั้น
(2) กรณีไม่ปกติหรือขัดกันทางอาวุธ : รัฐผู้รับจะต้องอำนวยความสะดวกให้ผู้ที่อุปโภคเอก
สิทธิ์และความคุ้มกัน ให้ออกจากรัฐนั้นโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และต้องเคารพและ
คุ้มครองสถานที่ ทรัพย์สิน และบรรณสารของคณะผู้แทน
(3) กรณีถึงแก่กรรม : ครอบครัวได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่มีจนกว่าจะสิ้นกำหนด
ระยะเวลาอันสมควรที่จะออกไปจากประเทศ
9.1.7. เสรีภาพในการสื่อสาร
1. รัฐผู้รับอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน อย่างไรก็ดีจะติดตั้ง
เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับเท่านั้น
2. หนังสือโต้ตอบทางการจะถูกละเมิดไม่ได้
3. ถุงทางทูตจะไม่ถูกเปิดหรือถูกกัก
4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตต้องมีสัญลักษณ์บ่งบอกชัดเจน
5. ผู้ถือสารทางทูตได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับในการปฏิบัติหน้าที่ (ละเมิดมิได้ และไม่ถูก
จับกุมกักขัง)
6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางทูตเฉพาะกรณีก็ได้
7. ถุงทางทูตอาจมอบให้ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ โดยคณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งไปรับ
มอบถุงทางทูตได้โดยตรงและโดยเสรี

- 22 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

9.2. อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ค.ศ. 1963


9.2.1. วิวัฒนาการ
9.2.2. การแบ่งประเภทของกงสุล
9.2.3. สถานที่ทำการกงสุล
9.2.4. การแต่งตั้งและการสิ้นสุดของการดำรงตำแหน่ง
9.2.5. หน้าที่กงสุล
9.2.6. เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต
(1) ด้านสถานที่ทางกงสุล
(2) ด้านบุคลากรในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล
(3) การเริ่มต้นและการสิ้นสุด
9.2.7. เสรีภาพในการสื่อสาร
9.2.8. การสื่อสารและการติดต่อกับคนชาติของตน

10. ความคุ้มกันของรัฐ
10.1. แนวความคิดและหลักเกณฑ์
เมื่อรัฐทุกรัฐต่างมีอำนาจอธิปไตย เสมอภาคและเท่าเทียมกัน
รัฐหนึ่งย่อมไม่สามารถมีอำนาจเหนืออีกรัฐหนึ่งได้

- เป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ
- บุคคลที่สามารถมีความคุม้ กันจากเขตอำนาจรัฐได้
1) รัฐและองค์กรต่าง ๆ ของรัฐบาล
2) ผู้แทนของรัฐซึง่ กระทำการในฐานะเป็นผู้แทนรัฐ
3) องค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งตัวแทนและเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ
10.2. วิวัฒนาการของแนวคิด
- เดิมเป็นการให้ความคุ้มกันแบบเด็ดขาด (absolute immunity) คือ รัฐอื่นย่อมได้รับความคุ้ม
กันในทุกกรณีโดยไม่ต้องคำนึงว่าการกระทำนั้นเป็นผลประโยชน์ของรัฐอย่างแท้

ปัจจุบัน การให้ความคุ้มกันแบบจำกัด (Restrictive immunity)


เฉพาะการกระทำของรัฐที่เป็นประโยชน์ของรัฐโดยแท้เท่านั้น จึงสามารถอ้างความคุ้มกันได้

- 23 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

10.3. หลักความคุ้มกันของรัฐตามกฎหมายภายในรัฐ
- มีการกำหนดขอบเขตว่าเรื่องใดที่ต่างชาติจะอ้างความคุ้มกันได้ เช่น อนุสัญญาความคุ้มกันของ
รัฐแห่งยุโรป ค.ศ. 1972
- ประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะสำหรับความคุ้มกัน
10.4. หลักความคุ้มกันของรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศ : อนุสัญญา
สหประชาชาติว่าด้วยความคุ้มกันของรัฐและทรัพย์สินของรัฐจากเขต
อำนาจศาล ค.ศ. 2004
10.4.1. ขอบเขต
- ความหมายของรัฐ
1) รัฐและองค์กรต่าง ๆ ของรัฐบาล
2) หน่วยปกครองที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธรัฐหรือหน่วยย่อยทางการเมืองของรัฐซึ่งมีสิทธิ
กระทำการใช้อำนาจอธิปไตย
3) ทบวงการหรือสำนักงานตัวแทนของรัฐ
4) ผู้แทนของรัฐซึ่งได้กระทำการในฐานะเช่นว่านั้น
- ความคุ้มกันประมุขของรัฐ
o มิได้ระบุไว้โดยตรง
o ประมุขของรัฐถือว่าเป็นบุคลาธิษฐานของรัฐ ซึ่งการกระทำฝ่ายเดียวของประมุขของรัฐ
ย่อมมีผลผูกพันในทางระหว่างประเทศ ต้องมีฐานะพิเศษตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ที่ได้รบั การยอมรับตามกฎหมายภายใน
o เมื่ออยู่ในตำแหน่ง ย่อมอุปโภคความคุ้มกันส่วนบุคคลได้อย่างเด็ดขาด
 เมื่อพ้นตำแหน่งแล้วการกระทำที่ใช้อำนาจอย่างเป็นทางการก็ยังคงได้รับความ
คุ้มกันอยู่
 การกระทำในทางส่วนตัว จะปลอดจากความคุ้มกันทันทีเมื่อพ้นจากตำแหน่ง
10.4.2. หลักเกณฑ์ทั่วไป
ใช้หลักความคุ้มกันแบบจำกัด (Restrictive immunity)
เฉพาะการกระทำของรัฐที่เป็นประโยชน์ของรัฐโดยแท้เท่านั้น จึงสามารถอ้างความคุ้มกันได้

- รัฐและทรัพย์สินของรัฐย่อมได้อุปโภคความคุ้มกันจากเขตอำนาจของศาลของรัฐอื่น
- ข้อยกเว้นที่ไม่ได้รับความคุม้ กัน
1) รัฐเข้าทำธุรกรรมทางพาณิชย์
2) สัญญาจ้างแรงงาน

- 24 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

3) ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของบุคคลอื่น


4) กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองและการใช้ทรัพย์สิน
5) ทรัพย์สินทางปัญญาและทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม
6) การเข้าร่วมของรัฐในบริษัทหรือองค์กรที่เป็นกลุ่มหรือหมู่คณะ
7) กรณีเรือของรัฐและจัดการโดยรัฐ
8) ความตกลงให้อนุญาโตตุลาการระงับข้อพิพาทในปัญหาเกี่ยวกับธุรกรรมทางพาณิชย์
- จะไม่นำมาปรับใช้กับประเด็นปัญหาเรื่องความคุ้มกันของรัฐในทางอาญา
o แยกประเด็นความคุ้มกันของรัฐจากการบังคับคดี
- กรณีที่ศาลจะทำการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของรัฐต่างประเทศได้
1) รัฐต่างประเทศยินยอมอย่างชัดแจ้ง
2) รัฐต่างประเทศจัดสรรหรือระบุทรัพย์สินไว้สำหรับข้อเรียกร้องนั้น
3) รัฐอาจใช้มาตรการบังคับโดยปราศจากความยินยอมได้ ในกรณีที่ทรัพย์สินนั้น
o ใช้เพื่อวัตถุประสงค์การพาณิชย์ ซึ่งไม่รวมถึง
 บัญชีธนาคารของคณะผู้แทนทางทูตหรือสถาบันกงสุล
 ทรัพย์สินทางการทหาร
 ทรัพย์สินของธนาคารกลาง หน่วยงานที่มีอำนาจทางการเงินของรัฐ
 มรดกทางวัฒนธรรมของรัฐหรือส่วนบรรณสารของรัฐ
o ตั้งอยู่ในดินแดนของรัฐที่ทำการพิจารณาพิพากษาคดี
o มีความเชื่อมโยงหรือเกี่ยวโขงกับสำนักงานตัวแทนซึ่งทำให้ต้องมีการดำเนินกระบวน
พิจารณาคดีนั้น
10.5. หลักความคุ้มกันของรัฐกับการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ
กฎเกณฑ์เรื่องความคุ้มกันของรัฐไม่ขัดกับกฎเกณฑ์ที่กำหนดให้รัฐต้องรับผิดในอาชญากรรม
ระหว่างประเทศหรือการขัดต่อกฎหมายเด็ดขาด (jus cogens)

- หลักความคุ้มกันของรัฐ ยอมรับว่ารัฐต้องไม่ตกอยู่ภายใต้เขตอำนาจของรัฐในการบังคับใช้
กฎหมายภายใน – รัฐจึงไม่ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายภายใน
- ในทางปฏิบัติของรัฐ ยังคงยืนยัที่จะให้ความคุ้มกันแก่รัฐอยู่ แม้รัฐจะละเมิดกฎหมายระหว่าง
ประเทศ
- สถานะของกฎหมายเด็ดขาดเป็นเรื่องสารบัญญัติ ไม่มีผลกระทบต่อเรื่องของความคุ้มกันของรัฐ
ที่เป็นเรื่องในทางสบัญญัติ (procedural matter)
- ความคุ้มกันของเขตอำนาจศาลไม่ได้มีผลกระทบต่อความรับผิดทางอาญาของปัจเจกชน
ผู้กระทำความผิด ปัจเจกชนผู้กระทำความผิดยังต้องรับผิดใน

- 25 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

o ศาลภายใน
o รัฐของตนสละความคุ้มกัน
o เมื่อบุคคลนั้นพ้นจากตำแหน่ง
o โดยศาลอาญาระหว่างประเทศ

11. ความรับผิดชอบของรัฐ
11.1. ความรับผิดชอบของรัฐอันเกิดจากการกระทำความผิดในทางระหว่าง
ประเทศ
- มี ท ี ่ ม าจากจารี ต ประเพณี ร ะหว่ า งประเทศ คำตั ด สิ น ของศาล รวมถึ ง คำตั ด สิ น ของ
คณะกรรมาธิการผสมต่าง ๆ
- ปรากฏอยู่ในร่างข้อบทว่าด้วยความรับผิดชอบของรัฐอันเกิดจากการกระทำความผิดในทาง
ระหว่างประเทศ ค.ศ. 2001 ปัจจุบันยังไม่มีการรับเอาในฐานะสนธิสัญญา แต่ก็มีความสำคัญ
ยิ่ง
11.1.1. การกระทำความผิดของรัฐในทางระหว่างประเทศ
หลักทั่วไป
การกระทำความผิดของรัฐในทางระหว่างประเทศ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ
(1) การกระทำหรือการละเว้นกระทำที่ถือว่าเป็นการกระทำของรัฐ
(2) การกระทำของรัฐนั้น ละเมิดพันธกรณีระหว่างประเทศ

(1) การกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่ถือว่าเป็นการกระทำของรัฐ (Attributability)


การกระทำนั้นต้องเป็นการกระทำแทนรัฐ
(On behalf of the State)

โดยมีลักษณะและรูปแบบที่แตกต่างกัน 4 รูปแบบ แบ่งตามผู้กระทำ คือ


1. การกระทำขององค์กรรัฐ เป็นเสาหลักพื้นฐานของกฎหมายความรับผิดชอบของรัฐ รัฐไม่
สามารถใช้ข้ออ้างการทำเกินอำนาจหน้าที่ขององค์กรรัฐ เป็นข้ออ้างปัดความรับผิดชอบ ตราบ
ใดที่องค์กรนั้นกระทำการแทนรัฐ
2. การกระทำของเอกชน
2.1. การกระทำขององคภาวะที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาล เช่น ธนาคาร การกระทำเกิน
อำนาจหรือฝ่าฝืนคำสั่งตามที่รัฐบาลมอบให้ก็นับเป็นการกระทำของรัฐ
2.2. การกระทำของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลภายใต้การควบคุมสั่งการของรัฐ ต้องปรากฏว่า
บุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้กระทำการตามคำสั่งหรืออยู่ใต้การควบคุมของรัฐในการปฏิบัติ

- 26 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

หน้าที่จริง โดยใช้ได้ทั้งเกณฑ์การควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพและเกณฑ์ควบคุมทั่วไปมา
พิจารณา
3. การกระทำของขบวนการต่อต้านอำนาจผู้ปกครองรัฐหรือกบฏ หากขบวนการดังกล่าวทำให้
เกิดรัฐใหม่ ย่อมถือว่าการกระทำเป็นการกระทำของรัฐใหม่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
4. การกระทำขององค์กรของรัฐอื่น จะถือว่าเป็นการกระทำของรัฐก็ต่อเมื่อองค์กรของรัฐอื่นนั้น
ได้ใช้อำนาจของรัฐบาลแห่งรัฐซึ่งควบคุมสั่งการองค์กรอยู่ โดยจะพิจารณาจากหลักการควบคุม
และการพึ่งพาอย่างมีประสิทธิภาพเป็นเครื่องตัดสิน เช่น ถ้ารัฐ A สนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายใน
รัฐ B รัฐ A จะปัดความรับผิดชอบไม่ได้ ถ้า กลุ่มนั้นต้องพึ่งพาและอยู่ใต้การควบคุมของรัฐ A
(2) การละเมิดพันธกรณีระหว่างประเทศของรัฐ
การไม่ปฏิบัติตามสัญญาและพันธกรณี ในขณะที่พันธกรณีนั้นมีผลผูกพันรัฐอยู่

- ทฤษฎีความรับผิดชอบของรัฐ มีสองทฤษฎี คือ


1) ความรับผิดชอบทางภาวะวิสัย (Objective theory) ความรับผิดชอบเกิดขึ้นทันทีเมื่อรัฐ
กระทำการละเมิด โดยไม่ต้องคำนึงถึงเจตนา
2) ความรับผิดชอบทางอัตวิสัย (Subjective theory) ความรับผิดชอบจะเกิดขึ้น ถ้ารัฐมี
องค์ประกอบความผิดของการกระทำการละเมิดนั้น
o กฎหมายจารีตประเพณีสนับสนุนหลักเกณฑ์ของทั้งสองทฤษฎี ขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระ
ของพันธกรณีที่ถูกละเมิด
(3) พฤติการณ์ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการกระทำความผิดของรัฐในทางระหว่างประเทศ
มี 6 ประการ ได้แก่
1) ความยินยอม หลักความยินยอมของผู้เสียหายย่อมไม่เป็นละเมิด คือ หากรัฐยินยอมต่อการ
กระทำของรัฐอื่นโดยถูกต้องตามกฎหมาย การกระทำนั้นไม่มีความรับผิด อย่างไรก็ดี รัฐไม่
อาจให้ความยินยอมการฝ่าฝืนกฎหมายเด็ดขาดได้
2) การป้องกันตนเอง การป้องกันตนเองเป็นสิทธิติดตัวของรัฐ สามารถใช้กำลังได้ โดยมีเงื่อนไข
กำหนด ดู 13.2.2 การใช้สิทธิป้องกันตนเอง
3) มาตรการตอบโต้กรณีของการกระทำผิดในทางระหว่างประเทศ ได้แก่ มาตรการ reprisal
โดยมีการกำหนดเงื่อนไขเรื่อง ความได้สัดส่วน และไม่ไปกระทบพันธกรณีบางเรื่อง
4) เหตุสุดวิสัย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยมิอาจคาดหมาย มิอาจต่อต้าน และอยู่นอกเหนือจากการ
ควบคุมของรัฐ
o รัฐไม่อาจอ้างเหตุสุดวิสัยได้ ถ้ารัฐเป็นผู้ก่อให้เกิดเหตุนั้นเอง
o ข้ อ อ้ างเหตุ สุ ด วิ สั ย จะรั บ ฟั ง ได้ ก ็ ต ่ อ เมื ่ อ เหตุ ก ารณ์ ที ่ เกิ ด ขึ ้ น ทำให้ ก ารปฏิ บ ั ต ิ ต าม
พันธกรณีเป็นไปไม่ได้อย่างเด็ดขาดและแม้จริง

- 27 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

5) ทุกขภัย การกระทำที่เป็นการช่วยเหลือชีวิตของบุคคล
o รัฐไม่อาจอ้างทุกขภัยได้ ถ้ารัฐเป็นผู้ก่อให้เกิดเหตุนั้นเอง
o การอ้างทุกขภัยได้รับการยอมรับง่ายกว่า เนื่องจากคุกคามต่อชีวิตมนุษย์
6) ความจำเป็น ทำได้ก็ต่อเมื่อ
o การกระทำนั้นเป็นวิธีการเดียวที่ต้องกระทำเพื่อคุ้มครองหรือพิทักษ์ผลประโยชน์ที่
สำคัญของรัฐจากภัยอันตรายที่ร้ายแรงและใกล้จะถึง
o การกระทำนั้นไม่สร้างความเสื่อมเสียต่อผลประโยชน์ที่สำคัญของรัฐอื่นต่อพันธกรณีที่มี
อยู่
11.1.2. ผลทางกฎหมายจากการกระทำความผิดในทางระหว่างประเทศ
- มีรากฐานมาจากกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ
(1) การเยียวยาหรือชดใช้ค่าเสียหาย
o เป็นวิธธี รรมดาสามัญที่สุด โดยได้รับการประมวลไว้วา่
 รัฐมีพันธกรณีที่ต้องทำการเยียวยาหรือชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำผิด
 การชดใช้นั้นรวมทั้งด้านเนื้อหาและด้านศีลธรรมที่เกิดจากการกระทำผิด
o รูปแบบการชดใช้
1) การชดใช้ให้กลับคืนสู่สภาพเดิมอย่างสมบูรณ์ ทำให้สถานการณ์กลับคืนสู่
สภาพเดิมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น การแก้ไขกฎหมายภายใน การถอน
กำลังทหาร หรือการคืนทรัพย์สิน
2) การชดใช้ให้เกิดความพึงพอใจแก่รัฐที่ได้รับความเสียหาย เป็นวิธีที่ใช้ชดใช้
ค่าเสียหายทางจิตใจหรือทางศีลธรรม เช่น การแสดงความเสียใจ การขอโทษ
อย่างเป็นทางการ
3) การชดใช้เป็นจำนวนเงิน เป็นวิธีการที่นิยมมากที่สุด โดยชำระครอบคลุมถึง
ความเสียหายทุกอย่างที่สามารถกำหนดหรือประเมินค่าเป็นเงินได้ รวมถึง
ความเสียหายที่ตามมา
(2) การปฏิบัติตามพันธกรณีที่ตนละเมิดต่อไป
(3) การยุติการกระทำความผิดและให้ความเชื่อมั่นและหลักประกันว่าจะไม่กระทำอีก
(4) ผลโดยเฉพาะของความรับผิดชอบของรัฐ
o กรณีที่เป็นกฎหมายเด็ดขาด รัฐทุกรัฐมีหน้าที่ทำให้การละเมิดร้ายแรงนั้นยุติลงด้วย
วิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายและต้องไม่ยอมรับสถานการณ์การละเมิดดังกล่าว

- 28 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

11.1.3. การดำเนินการให้รัฐต้องรับผิดชอบในทางระหว่างประเทศ
(1) รัฐผู้มีสิทธิเรียกร้องความรับผิดชอบ
ประกอบด้วย
1. รัฐผู้เสียหาย
2. รัฐอื่นนอกจากผู้เสียหาย ในกรณีที่รัฐนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม พันธกรณีที่ละเมิดกระทบ
ผลประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม หรือ ละเมิดพันธกรณีที่ม ีต่อประชาคมระหว่างประเทศ
โดยรวม
(2) วิธีการหรือรูปแบบในการเรียกร้อง (Modality)
- รัฐที่ได้รับความเสียหายต้องแจ้งข้อเรียกร้องให้รัฐนั้นทราบ โดยอาจระบุการประพฤติปฏิบัติ
รวมถึงรูปแบบการเยียวยาประกอบด้วย
(3) มาตรการและเงื่อนไขในกรณีที่เอกชนซึ่งเป็นคนชาติของรัฐได้รับความเสียหาย
มาตรการคุ้มครองทางการทูต (Diplomatic Protection)
วิธีการในการเรียกร้องให้รัฐต้องรับผิดชอบในทางระหว่างประเทศ

- กรณีนี้รัฐไม่ได้เป็นผู้เสียหายโดยตรง แต่รัฐได้รับความเสียหายทางอ้อม
- เอกชนไม่ใช่บคุ คลตามกฎหมายระหว่างประเทศจึงไม่สามารถฟ้องร้องรัฐได้ จึงต้องมีมาตรการ
คุ้มครองทางการทูตมาช่วย
- เงื่อนไขการใช้มาตรการคุ้มครองทางการทูต
1) เอกชนต้องมีสัญชาติของรัฐผู้เรียกร้อง
2) ข้อเรียกร้องต้องหมดหนทางที่จะได้มาตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในกฎหมายภายในแล้ว
(Exhaustion of local remedies)
(4) กรณีที่รัฐเสียสิทธิในการเรียกร้องให้รัฐอื่นรับผิดชอบ
1) รัฐได้สละสิทธิเรียกร้อง
2) รัฐยอมรับโดยนิ่งเฉยหรือโดยปริยายว่าสิทธินั้นสิ้นสุด
11.2. การปฏิบัติต่อคนต่างด้าว
11.2.1. การปฏิบัติต่อคนต่างด้าวที่ก่อให้เกิดความรับผิดชอบ
ประกอบด้วยการปฏิบัติในลักษณะดังต่อไปนี้
- การปฏิบัติต่อคนต่างด้าวอย่างไม่เหมาะสม เช่น การยึดทรัพย์คนต่างด้าว
- การปฏิเสธความยุติธรรม (Denial of justice)
o เป็นการกระทำตามอำเภอใจหรือไม่ยุติธรรมในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของศาล
o เป็นเรื่องของความบกพร่องหรือความล้มเหลวในการบริหารงานยุติธรรมของรัฐ

- 29 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

o ยังไม่มีคำจำกัดความที่ชัดเจน
11.2.2. มาตรฐานการปฏิบัติต่อคนต่างด้าว
- ยังไม่มีฉันทามติเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติต่อคนต่างด้าวที่เป็นพันธกรณีตามกฎหมายจารีต
ประเพณีระหว่างประเทศ
(1) มาตรฐานขั้นต่ำในทางระหว่างประเทศ (International Minimum Standard)
o ประเทศที่พัฒนาแล้วเห็นไปในทิศทางนี้
o รัฐต้องปฏิบัติต่อคนต่างด้าวในดินแดนตนตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำโดยไม่ต้องคำนึงว่า
กฎหมายภายในอนุญาตให้ทำหรือไม่
o การปฏิบัติต่อคนต่างด้าวสอดคล้องกับปทัสถานระหว่างประเทศ
o ไม่อาจอ้างบทบัญญัติภายในของตนมาเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติต่อคนต่างด้าว
o เน้นเรื่องสิทธิมนุษยชน
(2) มาตรฐานการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment Standard)
o ได้รับการยอมรับตามอนุสัญญามอนเตวิเดโอ ค.ศ. 1933 เป็นที่นิยมของประเทศกำลัง
พัฒนา
o รัฐต้องปฏิบัติต่อคนต่างด้าวเช่นที่ตนปฏิบัติต่อคนชาติของตน
o เพื่อเป็นการป้องกันการแทรกแซงของรัฐที่มีอำนาจมากกว่า
o การอ้างมาตรฐานนี้มีข้อดีและได้เปรียบกว่า เพราะ มีความชัดเจน
11.2.3. มาตรการและเงื่อนไขในกรณีที่เอกชนซึ่งเป็นคนชาติของรัฐได้รับความ
เสียหาย
มาตรการคุ้มครองทางการทูต (Diplomatic Protection)
วิธีการในการเรียกร้องให้รัฐต้องรับผิดชอบในทางระหว่างประเทศ

โดยมีเงื่อนไขสำคัญในการพิจารณามาตรการคุ้มครองทางการทูต คือ (1) หลั ก ความสั ม พั น ธ์


ทางกฎหมายกับรัฐผู้เรียกร้อง และ (2) หลักการหมดหนทางการเยียวยาตามกระบวนวิธีที่กำหนดไว้
ตามกฎหมายภายใน
(1) หลักความสัมพันธ์ทางกฎหมายกับรัฐผู้เรียกร้อง
o เป็นดุลยพินิจของรัฐที่จะตัดสินใจคุ้มครอง
o เอกชนไม่มีสิทธิสละการคุ้มครองทางการทูต เพราะ ไม่มีสิทธิตามกฎหมายระหว่าง
ประเทศ
o เงื่อนไขของการขอมาตรการคุ้มครอง
1) กรณีบุคคล

- 30 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

 เอกชนนั้นต้องมีสัญชาติของรัฐผู้เรียกร้อง
 บุคคลหรือนิติบุคคลนั้นต้องมีความต่อเนื่องในการถือสัญชาติ
 หากถือหลายสัญชาติ รัฐที่ถือสัญชาติอาจให้ความคุ้มครองโดยลำพังหรือโดย
ร่วมกันต่อรัฐที่บุคคลนั้นไม่ได้ถือสัญชาติ
 กรณีมีหลายสัญชาติ กฎหมายระหว่างประเทศจะให้สิทธิแก่รัฐเจ้าของสัญชาติ
ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับบุคคลนั้นอย่างแท้จริง (Effective Nationality) เป็น
ผู้ใช้สิทธิคุ้มครองทางการทูต
อ้างอิงจากคดี Nottebohm 1955
- นาย Nottebohm มีสัญชาติเยอรมนีแต่กำเนิด และขอแปลงสัญชาติ
เป็นลิกเตนสไตน์ ในช่วงสงครามเขาถูกรัฐบาลกัวเตมาลาจับและยึด
ทรัพย์ในฐานะเป็นคนชาติของศัตรู
- ภายหลังเขาได้รับการปล่อยตัว แต่รัฐบาลกัวเตมาลาไม่คืนทรัพย์สินให้
Nottebohm จึงขอให้ลิกเตนสไตน์ให้ความคุ้มครองทางการทูตและ
ชดใช้ค่าเสียหายให้ตน
- ศาลวินิจฉัยว่า Nottebohm มี genuine link กับเยอรมนี ศาลจึง
ปฏิเสธที่จะให้ความคุ้มครองทางการทูตแก่ Nottebohm
 กรณีบุคคลไร้สัญชาติ รัฐไม่สามารถให้ความคุ้มครองทางการทูตได้ มีความ
พยายามขยายการให้รัฐที่บุคคลนั้นอยู่อย่างถูกต้องตามกฎหมายและเป็นปกติ
วิสัยสามารถรับความคุ้มครองทางการทูตได้ (รอการยอมรับ)
2) กรณีนิติบุคคล
 บริษัทจะต้องก่อตั้งตามกฎหมายภายในของรัฐผู้เรียกร้อง
 บริษัทนั้นต้องมีสำนักงานอยู่ภายในรัฐที่บริษัทนั้นก่อตั้ง
 คำนึงถึงหลักความสัมพันธ์ใกล้ชิดและถาวรระหว่างรัฐและบริษัทด้วย
 ต้องมีความต่อเนื่องในการถือสัญชาติของนิติบุคคล คือ
(1) ถือสัญชาติของรัฐนั้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่เสียหายถึงวันที่มีการ
เสนอข้อเรียกร้อง
(2) มีสทิ ธิคุ้มครอง ถ้าบริษัทได้สิ้นสุดลงเนื่องจากความเสียหาย
 ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเรียกร้องเฉพาะกรณีที่ได้รับความเสียหายเพราะถูกละเมิดสิทธิ
โดยตรง ยกเว้นกรณีที่บริษัทสิ้นสุดลงตามกฎหมายของรัฐที่รับจดทะเบียน รัฐ
เจ้าของสัญชาติไม่สามารถเรียกร้องแทนบริษัทได้ และรัฐที่กระทำความผิด คือ
รัฐเจ้าของสัญชาติ

- 31 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

(2) หลักการหมดหนทางการเยียวยาตามกระบวนวิธีที่กำหนดไว้ตามกฎหมายภายใน
o สร้างพันธกรณีให้รัฐและเอกชนต้องดำเนินการก่อนที่จะมีการเสนอข้อพิพาทสู่ศาล
ยุติธรรมระหว่างประเทศ
o การเยียวยาภายใน คือ การเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายเข้าถึงศาลหรือองค์กรที่มีอำนาจ
หน้าที่และความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
o การหมดหนทางการเยียวยา หมายถึง การหมดหนทางที่จะได้มาซึ่งข้อเรียร้องระหว่าง
ประเทศโดยกระบวนการตามกฎหมายภายใน
o ข้อยกเว้นของหลักการหมดหนทางเยียวยาภายใน
1) หนทางเยียวยาภายในไม่มีประสิทธิภาพหรือเยียวยาความเสียหายไม่ได้
2) กระบวนการเยียวยาล่าช้า
3) บุคคลที่ได้รับความเสียหาย ไม่มีความสัมพันธ์กับรัฐที่ต้องมีความรับผิดชอบ
4) บุคคลที่ได้รับความเสียหายถูกขัดขวางไม่ให้ได้รับการเยียวยาความเสียหายอย่าง
ชัดแจ้ง
5) รัฐที่ต้องรับผิดชอบสละเงื่อนไขเรื่องการหมดหนทางเยียวยาภายใน
o กรณีคดี Ambatielos Arbitration ระหว่างกรีซและอังกฤษ
 คนชาติกรีซได้ซื้อเรือกลไฟจากอังกฤษ แต่การส่งมอบล่าช้า
 คนชาติกรีซนำเรื่องขึ้นศาลอังกฤษ ผ่านศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ แต่ไม่ส่งเรื่อง
ถึงศาลฎีกา
 กรีก ยังให้ความคุ้ม ครองทางการทูต ไม่ได้เ พราะยังไม่หมดหนทางเยี ย วยา
ภายใน

12. การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี
12.1. ข้อพิจารณาเบื้องต้น
ข้อพิพาท เกิดขึ้นเมื่อ พิจารณาทางภาวะวิสัยแล้วเห็นว่าทั้งสองฝ่ายมีความเห็นตรงข้ามกันอย่าง
ชัดเจนเกี่ยวกับการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีบางประการ

- ต้องเห็นว่ามีฝ่ายหนึ่งถูกคัดค้านอย่างเด็ดขาดจากอีกฝ่ายหนึ่ง
- ไม่มีกฎเกณฑ์ทั่วไปบังคับให้รัฐระงับข้อพิพาทระหว่างกัน
- ตามกฎบัตรสหประชาชาติ หลักการระงับข้อพิพาทเป็นหลักการสำคัญที่รัฐทั้งปวงต้องปฏิบัติ
ตาม คู่ขนานไปกับหลักการห้ามใช้กำลัง
- ข้อ 33 ของกฎบัตร เรื่อง การระงับข้อพิพาทโดยสันติ

- 32 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

o ผู้เป็นฝ่ายในกรณีพิพาทจะต้องแสวงหาการแก้ไขโดยการเจรจา การไต่สวน การไกล่


เกลี่ย การประนีประนอม อนุญาโตตุลาการ การระงับโดยศาล อาศัยทบวงการตัวแทน
หรือการตกลงส่วนภูมิภาค
o คณะมนตรีจักเรียกร้องให้คู่พิพาทระงับกรณีพิพาทของตน
- มีการประกาศและออกข้อมติหลาย ๆ อย่าง เพื่อเสนอหลักการระงับกรณีพิพาทโดยสันติ
12.2. การระงับข้อพิพาททางการเมืองหรือทางการทูต
การระงับข้อพิพาททางการเมืองหรือทางการทูต เป็นเพียงการเสนอข้อยุติ โดยไม่มีผลบังคับ

12.2.1. การเจรจา
- วิธีเก่าแก่และขั้นตอนแรกของการระงับข้อพิพาท
- อาจกระทำโดย 2 ฝ่าย หรือ หลายฝ่าย
12.2.2. การจัดการเจรจา (Good Office)
- การจัดการเจรจา (Good Office) คือ กรณีที่รัฐที่สามเข้ามาเกี่ยวข้องเมื่อรัฐอื่นเกิดข้อพิพาท
ต่อกันโดยรัฐที่สามจะจัดให้รัฐคู่พิพาทได้เจรจากันเพื่อตกลงรอมชอมระงับข้อพิพาท โดยรัฐที่
สามจะไม่มีส่วนร่วมในการเจรจาโดยตรงแต่อย่ างใด การเจรจาเป็นเรื่องเฉพาะรัฐคู่ พิ พ าท
เท่านั้น
- รัฐที่สาม ต้องจำกัดบทบาทของตนอยู่เพียงการใช้อิทธิพลทางการเมืองและทางจิตใจเท่านั้น
12.2.3. การไกล่เกลี่ย
- การไกล่เกลี่ย คือ การที่รัฐฝ่ายที่สามยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีพิพาท โดยมีส่วนร่วมใน
การดำเนินการเจรจาและมีข้อเสนอที่เป็นแนวทางยุติข้อพิพาทให้คู่กรณีได้พิจารณา
- ผู้ไกล่เกลี่ย คือ ตัวกลางระหว่างคู่พิพาท
- อาจเกิดขึ้นโดย (1) รัฐคู่พิพาทร้องขอ หรือ (2) รัฐที่สามเสนอตัว
- รัฐที่สามมักเป็นรัฐมหาอำนาจ
- โดยส่วนใหญ่มันให้ปัจเจกชนอิสระที่เป็นกลางและมีสถานะพิเศษมาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยแทนรัฐบาล
ของรัฐใดรัฐหนึ่ง เพื่อให้ยอมรับการไกล่เกลี่ย และไม่สงสัยเจตนาในการยื่นมือเข้ามาไกล่เกลี่ย
- ลักษณะสำคัญ คือ ความสมัครใจยินยอมทั้งของรัฐฝ่ายที่สามและของรัฐคู่พิพาท
- ผู้ไกล่เกลี่ยทำได้เพียงให้คำแนะนำเท่านั้น

- 33 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

12.2.4. การสืบสวนหาข้อเท็จจริง
- อาจเสนอข้อพิพาทต่อคณะกรรมาธิการสืบสวนหาข้อเท็จจริง โดยมีหน้าที่คือ ค้นหาข้อเท็จจริง
ของข้อพิพาทและรวบรวมข้อเท็จจริง เพื่อยืนยันรายละเอียดของเหตุการณ์ โดยไม่มีการตัดสิน
ชี้ขาด
- วิธีการนี้ถูกกำหนดขึ้นในอนุสญ
ั ญากรุงเฉก ค.ศ. 1899
- วิธีการนี้ยังมีน้อยมากในทางปฏิบัติ เพราะ มีค่าใช้จ่ายสูงสำหรับประเทศกำลังพัฒนา และมัก
ทำให้วินิจฉัยชัดเจนว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด จึงมักหลีกเลี่ยงในกรณีที่เป็นผลประโยชน์สำคัญยิ่ง
ของประเทศ
12.2.5. การประนีประนอม
- การประนีประนอม คือ การที่รัฐคู่พิพาทมอบหมายให้ฝ่ายที่สามซึ่งมักได้แก่คณะกรรมาธิการ
เป็ น ผู ้ ศ ึ กษาข้อ พิ พาท และรายงานเสนอแนะลู่ ทางในการยุต ิ ข้อ พิ พาทโดยที ่ รั ฐคู ่พิ พาทไม่
จำเป็นต้องผูกพันตามข้อเสนอ
- ความแตกต่างกับวิธีอื่น ๆ
o การสืบสวนหาข้อเท็จจริง : การประนีประนอมมีการเสนอทางออกของข้อพิพาท
o อนุญาโตตุลาการ : การประนีประนอมไม่มีพนั ธะผูกพันทางกฎหมาย
- การประนีประนอม อยู่ตรงกลางระหว่าง การสืบสวนหาข้อเท็จจริงกับอนุญาโตตุลาการ
12.3. การระงับข้อพิพาททางการศาล
12.3.1. อนุญาโตตุลาการ
(1) ความหมาย หลักการพื้นฐาน
อนุญาโตตุลาการ หมายถึง กระบวนการเพื่อยุติข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยคำชี้ขาดที่ผูกพันบนพื้นฐาน
ของกฎหมายซึ่งเป็นผลจากการยอมรับโดยสมัครใจของคู่พิพาท

- ต้องเกิดจากความยินยอม อาจอยู่ในรูปของข้อตกลงแห่งอนุญาโตตุลาการ (Compromis) หรือ


อาจเป็นการแสดงเจตนาให้ใช้อนุญาโตตุลาการภาคบังคับเพื่อเริ่มกระบวนการโดยการกระทำ
ฝ่ายเดียว
- ศาลสถิตอนุญาโตตุลาการมีส่วนสำคัญในการพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศ
(2) รูปแบบของอนุญาโตตุลาการ
1) คณะกรรมาธิการผสม รัฐคู่พิพาทแต่งตั้งคนชาติของตนจำนวนเท่ากัน และแต่งตั้งบุคคลที่เป็น
กลางเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ชี้ขาดในกรณีที่รัฐคู่พิพาทไม่อาจตกลงได้ ต่อมาหันมาใช้กฎหมายเป็น
หลักในการทำคำวินิจฉัย

- 34 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

2) อนุญาโตตุลาการที่เป็นประมุขของรัฐ ให้ประมุขรัฐเป็นอนุญาโตตุลาการ ต่อมามีการพัฒนา


ว่าการตัดสินคดีจะต้องให้เหตุผลทางกฎหมายด้วย
3) อนุญาโตตุลาการที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ อาจเป็นผู้ทรงคุณวุฒิคนเดียวหรือหลายคน และมักเป็น
นักกฎหมาย โดยส่วนมากมักมีองค์คณะ 3 หรือ 5 คน และเป็นเลขคี่ การตัดสินใจก็กระทำ
โดยเสียงข้างมาก โดยอนุสัญญากรุงเฮก 1899 ได้ทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิสำหรับเป็น
อนุญาโตตุลาการ เพื่อแต่งตั้งเป็นอนุญาโตตุลาการได้
(3) การคัดเลือกและการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ
- เป็นเรื่องของการเจรจาตกลงกับระหว่างรัฐคู่พิพาท ซึ่งอาจระบุไว้ในข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ
- บ่อยครั้ง มักตกลงกันเกี่ยวกับจำนวนและกระบวนพิจารณาในการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการไว้
เท่านั้น
- ปัญหาการเลือกชาติที่เป็นกลางมาเป็นอนุญาโตตุลาการ
o ให้ ป ระธานศาลระหว่ า งประเทศหรื อ บุ ค คลที ่ ไ ม่ ม ี ส ่ ว นได้ ส ่ ว นเสี ย เป็ น ผู ้ แ ต่ ง ตั้ ง
อนุญาโตตุลาการที่มาจากชาติที่เป็นกลางแทนคู่พิพาท
(4) ขอบเขตอำนาจของอนุญาโตตุลาการ
- เกิดขึ้นจากข้อตกลงแห่งอนุญาโตตุลาการหรือสนธิสัญญา และอนุญาโตตุลาการมีอำนาจในการ
ตัดสินปัญหาเรื่องขอบเขตของอำนาจศาลฯ
- กรอบของการดำเนินกระบวนพิจารณา คือ อนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1899 และ 1907
(5) หลักเกณฑ์การตัดสินคดี
- ขึ้นอยู่กับการตกลงของรัฐคู่พิพาท โดยปกติมักให้นำกฎหมายระหว่างประเทศมาใช้บังคับ
- หลักเกณฑ์ที่นำมาใช้ได้ เช่น
o กฎหมายระหว่างประเทศ
o กฎหมายภายในหรือระบบกฎหมายอื่น
o หลักแห่งความเที่ยงธรรม
o หลักแห่งความยุติธรรมและความดี
(6) ผลของคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
คำชี้ขาด มีผลผูกพัน แต่ไม่จำเป็นต้องถึงที่สุด

- เปิดโอกาสให้รัฐดำเนินกระบวนการตีความ ทบทวน แก้ไข อุทธรณ์ หรือปฏิเสธผลได้ โดยยื่น


อนุญาโตตุลาการชี้ขาด หรือให้องค์กรอื่นชี้
o โดยปกติไม่ค่อยพบข้อกำหนดที่ให้มีการอุทธรณ์คำชี้ขาด แต่มักมีกรณีขอให้ตีความ
ทบทวน หรือแก้ไขมากกว่า

- 35 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

- คำชีข้ าดจะไม่มีผลบังคับใช้เมื่อ
o ดำเนินการไม่ถกู ต้องตามกระบวนการแห่งกฎหมาย
o มี ก ารละเมิ ด หรื อฝ่ าฝื น กฎเกณฑ์ พื ้ น ฐานเกี ่ ย วกั บ การดำเนิ น กระบวนพิ จ ารณาใน
ทางการศาล เช่น อคติ ลำเอียง
o การกระทำการฉ้อฉล
o ความสำคัญผิดที่เป็นส่วนสำคัญ
12.3.2. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
- มีความใกล้ชิดกับองค์การสหประชาชาติ รัฐภาคีของสหประชาชาติจะเป็นภาคีแห่งธรรมนูญ
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
- รัฐที่ไม่ได้เป็นภาคีสหประชาชาติก็เป็นภาคีศาลได้ และสามารถยื่นเรื่องต่อศาลได้ โดยต้อง
ปฏิบัติตามเงื่อนไขของคณะมนตรีความมั่นคง
(1) องค์ประกอบของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ประกอบด้วยองค์คณะ 15 คน
เลือกตั้งโดยไม่คำนึงถึงสัญชาติ ทั้งนี้ห้ามเป็นคนชาติเดียวกัน

- เลื อ กโดยที ่ ป ระชุ ม สมั ช ชาใหญ่ แ ละคณะมนตรี ค วามมั ่ น คงจากรายชื ่ อ ในศาลสถิ ต


อนุญาโตตุลาการ
- อยู่ในตำแหน่ง 9 ปี และสามารถถูกเลือกใหม่ได้
- อาจมี ผู้พิพากษาเฉพาะกิจ (judges ad hoc) ถูกแต่งตั้งขึ้นในกรณีที่รัฐคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งมี
คนชาติของตนเป็นผู้พิพากษา
o มี เ ป้ า หมายเพื ่ อ (1) ประกั น ความเสมอภาค และ (2) ช่ ว ยประกั น การบริ ห าร
กระบวนการยุติธรรม
o ช่วยถ่ายทอดมุมมองของประเทศที่ได้เลือกตนให้แก้ผู้พิพากษาคนอื่น ๆ
(2) เขตอำนาจของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1) เขตอำนาจศาลเหนือคดีหรือข้อพิพาทระหว่างรัฐ
o ศาลมีเขตอำนาจในการตีความสนธิสัญญา ปัญหาในกฎหมายระหว่างประเทศ การมี
อยู่ของข้อเท็จจริง และลักษณะของขอบเขตค่าเสียหายที่ต้องชดใช้ในกรณีละเมิด
o ศาลจะมีอำนาจก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากรัฐคู่พิพาท ซึ่งอาจทำได้ 4 วิธี คือ
(1) การให้ความยินยอมเฉพาะกิจ โดยความตกลงพิเศษ เป็นวิธีที่มีการใช้สม่ำเสมอ
คือ ทำความยินยอมเป็นข้อตกลงพิเศษแล้วแจ้งศาลให้ทราบ

- 36 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

(2) การให้ความยินยอมล่วงหน้าโดยสนธิสัญญา ให้พิจารณาที่สนธิสัญญาว่าได้ให้


อำนาจศาลหรือไม่ โดยมีเงื่อนไข 2 ประการ คือ ต้องเป็นภาคีศาลฯ และ
สนธิสัญญานั้นจะต้องยังมีผลบังคับใช้
(3) การให้ความยินยอมล่ วงหน้าโดยการประกาศยอมรับอำนาจศาล รัฐอาจทำคำ
ประกาศยอมรับอำนาจศาลและมอบให้เลขาธิการสหประชาชาติไว้ แต่โดยปกติ
รั ฐ มั ก ตั ้ ง ข้ อ สงวนในการรับ อำนาจศาล และทำให้ ศ าลมี บ ทบาทจำกั ด ซึ่ ง
บ่อยครั้งทำให้คำประกาศนั้นเป็นไปตามอำเภอใจและคลุมเครือ มีรัฐหลายรัฐ
ถอนคำประกาศยอมรับอำนาจศาลไป
(4) การให้ความยินยอมรับอำนาจศาลตามที่กระทำโดยเฉพาะพฤติกรรมของรัฐที่เป็น
จำเลยหลังจากที่มีการยื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือการที่รัฐ
มาร่วมพิจารณาคดีก็ถือว่าเป็นการยอมรับอำนาจศาล
2) เขตอำนาจศาลในการให้ความคิดเห็นเชิงปรึกษา
o เฉพาะสมัชชาใหญ่ คณะมนตรีความมั่นคง องค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ ทบวงการ
ชำนัญพิเศษ เท่านั้น ที่จะขอความคิดเห็นเชิงปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย
o รัฐไม่อาจขอความคิดเห็นได้ แต่สามารถเข้าร่วมกระบวนการพิจารณาได้
o ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ถ้าเป็นเรื่องสิทธิและหน้าที่ของรัฐมักได้รับการปฏิบัติ
ตาม
o ความคิดเห็นเชิงปรึกษาต้องอยู่ภายในขอบเขตแห่งกิจกรรมขององค์กรนั้น ๆ ถึงจะ
ได้รับการพิจารณา
(3) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับกระบวนพิจารณา
- กำหนดไว้ในกฎเกณฑ์แห่งกระบวนการพิจารณาคดี และในคำแนะนำและแนวทางปฏิบัติ
- ในคดีที่มีข้อพิพาท กระบวนการประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1) ขั ้ น ตอนการกระทำโดยลายลั ก ษณ์ อ ั ก ษร เช่ น การยื ่ น คำฟ้ อ งและคำให้ ก าร คำตอบ
คำอธิบายเพิ่มเติม
2) ขั้นตอนการกระทำโดยวาจา เช่น การออกนั่งพิจารณาของศาล การให้คู่พิพาทอธิบ าย
รายละเอียด และการตัดสินโดยใช้คะแนนเสียงข้างมาก
1. การคัดค้านเบื้องต้น
o การพิจารณาว่าศาลมีเขตอำนาจในการพิจารณาหรือพิพากษาคดีหรือไม่
o มูลเหตุของการคัดค้านมี เช่น
 รัฐฝ่ายโจทก์ยังไม่หมดหนทางเยียวยาตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
ภายใน
 มิได้ปฏิบัติตามกระบวนการพิจารณาตามสนธิสัญญา

- 37 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

 ไม่ปฏิบัติตามข้ออ้างเกี่ยวกับสัญชาติ
2. การเข้าไปในคดีของรัฐฝ่ายที่สาม
o ถ้าปัญหาการตีความสนธิสัญญาที่มีรัฐอื่นเป็นภาคีด้วยเกิดขึ้น จะต้องแจ้งให้รัฐอื่นทราบ
o รัฐอื่นมีสิทธิเข้าร่วมกระบวนการพิจารณา แต่หากเข้าร่วมจะถือว่ามีผลผูกพันรัฐนั้น
ด้วย
o ในบางกรณีศาลก็ปฏิเสธการเข้ามาในคดีของรัฐที่สาม
3. การไม่มาปรากฏตัวต่อหน้าศาล
o คู่กรณีอีกฝ่ายอาจขอให้ศาลตัดสินเป็นคุณกับการกล่าวอ้างของตนได้
o โดยการอ้างดังกล่าวต้องมีมูล เป็นข้อเท็จจริง และตามกฎหมาย
4. มาตรการคุ้มครองชั่วคราว
o การยื่นคำขอเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้ศาลคุ้มครองสิทธิของตนในระหว่างที่รอศาล
ตัดสินคดี
o เงื่อนไขการพิจารณาของศาล
(1) ศาลฯ มีเขตอำนาจเบือ้ งต้นเหนือคดี
(2) พิจารณาจาก 2 เงื่อนไข คือ
a. สิทธิที่ขอรับฟังได้ และเชื่อมโยงกับมาตรการที่ร้องขอ
b. ความเสียหายอาจเกิดขึ้นต่อสิทธิของภาคีคู่พิพาทอย่างมิอาจเยียวยาได้ มี
ความจำเป็นเร่งด่วน มีความเสี่ยงอย่างแท้จริงและจวนจะเกิดขึ้นอยู่แล้ว
(3) ต่องไม่เป็นการตัดสินล่วงหน้าในประเด็นปัญหาใด ๆ ของคดีหลัก
o มีผลผูกพันคู่กรณี มีผลเพียงชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำตัดสินหลักออก
5. การขอให้ทบทวนคำพิพากษา
o คำพิพากษาถือเป็นที่สุด ไม่มีการอุทธรณ์
o จะขอให้ทบทวนคำพิพากษาได้ ถ้า มีการค้นพบข้อเท็จจริงอันเป็นปัจจัยตัดสินและเป็น
ข้อเท็จจริงซึ่งขณะที่มีคำพิพากษานั้นไม่รู้ว่ามีอยู่
o ต้องทำขึ้นอย่างช้าที่สุด 6 เดือนนับแต่พบข้อเท็จจริงใหม่ และห้ามทำเมื่อพ้น 10 ปี
นับแต่มีคำพิพากษา
o ปัจจุบันยังไม่เคยมีการทบทวนคำพิพากษา
6. การตีความคำพิพากษา
o ศาลจะต้องตีความเมื่อมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ
o หลักเกณฑ์การตีความ
 ต้องมีข้อพิพาทเกี่ยวกับ “ความหมายหรือขอบเขต” ของคำพิพากษา
• คือ ต้องเป็นการเห็นไม่ตรงกันในข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริง ระหว่าง
บุคคล 2 คน

- 38 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

 ต้องเป็นการขอให้ตีความคำพิพากษา
(4) ผลของคำพิพากษาและความคิดเห็นเชิงปรึกษา
o ผลของคำพิพากษาศาล – มีผลผูกพันคู่กรณีในส่วนที่เกี่ยวกับคดี ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ไม่ปฏิบัติตาม คู่ความอีกฝ่ายอาจร้องคณะมนตรีฯ เพื่อดำเนินมาตรการให้คำพิพากษา
บังเกิดผล
o ผลของความคิดเห็นเชิงปรึกษาของศาล – ไม่มีผลผูกพันและปราศจากผลบังคับ
12.4. การระงับข้อพิพาทโดยองค์การระหว่างประเทศ
- แต่ละองค์กรมีวิธีระงับข้อพิพาทในแบบของตนเอง เช่น
o องค์ ก รระหว่ า งประเทศทางเศรษฐกิ จ -- ระบบระงั บ ข้ อ พิ พ าทแบบพิ เ ศษมี
ประสิทธิภาพมากกว่าการใช้วิธีการปกติหรือทางการศาล
o องค์กรระหว่างประเทศทางเทคนิค – ระบบระงับข้อพิพาททางการศาลมีบทบาทมาก
ขึ้น

13. การใช้กำลัง
13.1. วิวัฒนาการและพัฒนาการ
ในยุคเริ่มต้นของกฎหมายระหว่างประเทศ การใช้กำลังอยู่ภายใต้หลักการเรื่องสงคราม
ยุติธรรม (Just War Doctrine)
ศตวรรษที่ 18 สิทธิในการทำสงครามเป็นสิทธิสำคัญประการหนึ่งของอำนาจอธิปไตยของรัฐ
การประชุมเฮก ค.ศ. 1899 และ ค.ศ. 1907 พยายามวางข้อจำกัดการทำสงคราม ให้ใช้
กระบวนการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จัดตั้งสหประชาชาติ ถือว่าสงครามบางประเภทเป็นสิ่งที่ไม่ชอบ
ด้วยกฎหมาย
ปี ค.ศ. 1928 มีการออกสนธิสัญญาทั่วไปว่าด้วยการประกาศยกเลิกสงคราม ผู้พันที่จะไม่ใช้
สงครามเป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายทางการเมืองในความสัมพันธ์ระหว่างกัน
สงครามโลกครั้งที่ 2 ถือกำเนิดสหประชาชาติและกฎบัตรสหประชาชาติ มีการระบุไว้ใน
อารัมภบท ของกฎบัตรสหประชาชาติว่า “...เพื่อจุดหมายปลายทางเหล่านี้...ที่จะทำให้แน่นอนใจว่าจะไม่
มีการใช้กำลังอาวุธ (armed forces) นอกจากเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
และในข้อ 2 วรรค 4 ระบุว่า “ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สมาชิกทั้งปวงจะต้องละเว้น
จากการคุกคามหรือการใช้กำลังต่อบูรณภาพแห่งดินแดนหรือเอกราชทางการเมืองของรัฐใด ๆ”

- 39 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

13.2. การใช้กำลังฝ่ายเดียวของรัฐ
13.2.1. หลักทั่วไปว่าด้วยการห้ามใช้กำลัง
การใช้กำลัง หมายถึง การใช้กำลังอาวุธหรือกำลังทางทหารเท่านั้น
โดยอาจเกิดขึ้นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม

- อ้างอิงจาก ข้อ 2 วรรค 4 ในกฎบัตรสหประชาชาติ


o ทางตรง เช่น การรุกราน
o ทางอ้อม เช่น การใช้กองกำลังติดอาวุธ กองโจร
- เป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญของกฎหมายระหว่างประเทศ มีผลผูกพันทั่วไป (erga omnes)
และเป็นกฎหมายบังคับเด็ดขาด (jus cogen)
- การรุ ก รานทางเศรษฐกิ จ การโฆษณาชวนเชื ่อ โจมตี ร ั ฐ บาลอื่ น หรื อ ข่ ม ขู ่ บ ี บ บัง คั บ ทาง
เศรษฐกิจและการเมืองจึงไม่เป็นการใช้กำลังตามข้อ 2 วรรค 4
- มีข้อยกเว้นเพียงข้อยกเว้นเดียว คือ การป้องกันตนเอง
ปัญหาการตีความการห้ามใช้กำลัง
มีการถกเถียงว่าการห้ามใช้กำลังเป็นไปในลักษณะไหนระหว่าง การห้ามใช้โดยเด็ดขาด หรือ
ห้ามใช้โดยจำกัด
1) การห้ามใช้กำลังโดยเด็ดขาด การห้ามใช้กำลังทุกรูปแบบ ทุกสภาวการณ์ ทุกกรณี โดยมิต้อง
คำนึงถึงจุดมุ่งหมายของการใช้กำลังแต่อย่างใด
2) การห้ามใช้กำลังโดยจำกัด ห้ามใช้กำลังเฉพาะกรณีที่กระทบบูรณภาพแห่งอาณาเขตหรือเอก
ราชทางการเมืองของรัฐใด ๆ การใช้กำลังเพื่อช่วยเหลือคนชาติของตนในต่างประเทศย่อมทำได้

การประชุม ณ นครซานฟรานซิสโก วางหลักว่า การห้ามใช้กำลังในที่นี้ คือ


การห้ามใช้กำลังโดยเด็ดขาด

13.2.2. การใช้สิทธิป้องกันตัวเอง
- เป็นไปตามหลัก คิ ดของสำนัก ปฏิฐานนิยม ซึ่งมองว่า สิทธิในการป้ องกัน ตนเองมีอยู่เท่ า ที่
กฎหมายลายลักษณ์อักษรกำหนดไว้เท่านั้น
- หลักนี้ได้รับการยืนยันทั้งในกฎบัตร ข้อ 51 จารีตประเพณีระหว่างประเทศ และกฎหมายลาย
ลักษณ์อักษร
เงื่อนไขการใช้สิทธิป้องกันตัวเอง
1) ต้องมี “Arm Attack” ต่อรัฐ
2) รัฐสามารถป้องกันตนเองได้โดยลำพังหรือโดยป้องกันร่วมกัน

- 40 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

3) รัฐต้องแจ้งให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบทันที – เมื่อคณะมนตรีมีมติสิทธิในการป้องกั น
ตนเองอาจถูกระงับหรือไม่ถูกระงับก็ได้ขึ้นอยู่กับการตีความ
ประเด็นเรื่อง “Arm attack”
1) การกระทำที่ถือว่าเป็น “Arm attack”
o ศาลไม่นิยมให้ตีความ Arm Attack และ Self-defense อย่างกว้าง
o ใช้นิยาม “การรุกราน (aggression)” เพื่ออธิบายและนิยาม “Arm attack”
o การรุกราน หมายถึง การใช้กำลังโดยรัฐหนึ่งต่ออธิปไตยของรัฐอื่นใดโดยประการอื่นใด
ที่ไม่สอดคล้องกับกฎบัตร UN โดยประกอบด้วยลักษณะดังนี้
 การบุกหรือยึดครองรัฐอื่น
 การระดมยิง ทิ้งระเบิด ใช้อาวุธต่อดินแดนรัฐอื่น
 การปิดล้อมท่าเรือและชายฝั่ง
 การโจมตีกองทัพอีกรัฐหนึ่ง
 การให้กองทัพรัฐหนึ่งตั้งอยู่ในดินแดนของรัฐอื่น โดยขัดกับความตกลงที่เคยทำ
ไว้
 การยอมให้ใช้ดินแดนเพื่อกระทำการรุกรานรัฐที่สาม
 การส่งกลุ่มติดอาวุธหรือกองกำลังที่ไม่ประจำการในนามรัฐไปกระทำการในรัฐ
อื่น
2) ผู้ที่สามารถก่อ “Arm attack”
o มีทั้งผู้กระทำที่เป็นรัฐและผู้กระทำที่ไม่ใช่รัฐ
ประเภทของการป้องกันตนเอง
1) การป้องกันตนเองเชิงตอบโต้ (Responsive Self-defense) สิทธิในการป้องกันตนเองเพื่อ
ตอบโต้การรุกราน หรือ arm attack
2) การป้องกันตนเองล่วงหน้า (Anticipatory Self-defense) การป้องกันตนเองล่วงหน้าแม้ยัง
ไม่เกิด arm attack แต่มีเหตุการณ์ที่ถือได้ว่าเป็นอันตรายคุกคามต่อบูรณภาพแห่งดินแดนและ
อำนาจอธิปไตยของรัฐ
o ส่วนใหญ่นักวิชาการยังไม่ยอมรับการป้องกันตัวประเภทนี้
3) การป้องกันตนเองเชิงสกัดกั้น (Interceptive Self-defense) การป้องกันตัวของรัฐต่อ arm
attack ที่ใกล้จะถึงหรือทันทีทันใด ที่รัฐไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
- นอกจากนี้ ก็อาจมีการป้องกันตนเองแบบอื่น ๆ เช่น ในยุคสงครามเย็นมีการอ้างสิทธิป้องกัน
ตนเองเพื่อสนับสนุนการดำรงอยู่หรือเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศอื่น หรือ การ
ปกป้องคนชาติของตน

- 41 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

ข้อจำกัดของการใช้สิทธิป้องกันตนเอง
การใช้สิทธิป้องกันตเองต้องสอดคล้องกับกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ 2 หลักการ
คือ
1) หลักความจำเป็น (Necessity) รัฐต้องไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้วที่จะหยุดยั้งการโจมตี
2) หลักความได้สัดส่วน (Proportionality) ต้องได้สัดส่วนทั้งขนาด ระยะเวลา และเป้าหมาย
ไม่มีลักษณะเป็นการแก้แค้นทดแทน
การป้องกันตนเองร่วมกัน (Collective self-defense)
- กรณีที่อนุญาตให้รัฐอื่นซึ่งมิใช่คู่กรณีโดยตรงสามารถช่วยเหลือรัฐที่ถูกโจมตีในการใช้สิทธิ
ป้องกันตนเองได้
- หลักเกณฑ์ คือ
1) มีข้อผูกพันหรือความตกลงระหว่างรัฐที่ถูกโจมตีกับรัฐที่จะเข้าไปช่วยเหลือ เช่น องค์การ
นาโต้
2) รัฐที่ถูกโจมตีร้องขอ กรณีนี้รัฐที่มาช่วยเหลือจะใช้กำลังได้แค่ในขอบเขตที่รัฐที่ถูกโจมตี
ยินยอมเท่านั้น
3) ต้องมีการประกาศขอความช่วยเหลืออย่างชัดเจน โดยรัฐผู้ถูกโจมตี
13.2.3. การใช้กำลังในกรณีอนื่ ๆ
(1) การใช้กำลังโต้ตอบ (Reprisal)
Reprisal คือ
มาตรการบังคับที่ผิดกฎหมาย เพื่อกระทำการตอบโต้รัฐให้ยุติการละเมิดและเพื่อเป็นการลงโทษ

- Reprisal ถือเป็นความจำเป็นตราบเท่าที่สังคมระหว่างประเทศยังไม่มีมาตรการและกลไกที่จะ
จัดการกับรัฐที่ละเมิดกฎหมายและก่อความเสียหาย
- แตกต่างจาก Retorsion คือ Retorsion จะเป็นมาตรการที่ถูกกฎมาย
- เงื่อนไขแห่งความชอบธรรมของ Reprisal
1) รัฐที่ละเมิดกระทำผิดกฎหมายระหว่างประเทศ
2) รัฐที่ละเมิดไม่ยอมแก้ไขหรือชดเชยความเสียหายให้เป็นที่น่าพึงพอใจ
3) มาตรการต้องไม่เกินสัดส่วนของความเสียหายที่รัฐผู้ทำ reprisal ได้รับ
(2) การพิทักษ์คนชาติในต่างประเทศ (the Protection of Nationals Abroad)
- เงื่อนไขของการพิทักษ์คนชาติในต่างประเทศ
1) รัฐเจ้าบ้านไม่สามารถหรือไม่เต็มใจพิทักษ์
2) คนชาติตกอยู่ในภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิตอย่างร้ายแรงและฉับพลัน

- 42 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

3) การใช้กำลังต้องเป็นวิธีการสุดท้าย
4) กระทำเท่าที่จำเป็นและต้องถอนกำลังทหารทันที
(3) การแทรกแซงเพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian Intervention)
- เป็นประเด็นที่ยังมีการถกเถียงว่าสามารถกระทำได้ตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่ เพราะ
ส่วนใหญ่กังวลว่าจะเปิดโอกาสให้มีการรุกรานรัฐอื่นได้ง่ายขึ้น
- การใช้กำลังเพื่อมนุษยธรรมจะกระทำได้ ก็ต่อเมื่อเป็นกรณีที่มีการพรากหรือทำให้สูญสิ้นซึ่ง
สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างรุนแรงเท่านั้น เช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- หลักการ 5 ประการในการใช้กำลังโดยอ้างเหตุผลทางมนุษยธรรม (เสนอโดย โคฟี อันนัน)
1) ความร้ายแรงของภัยคุกคาม ต้องเป็นอาชญกรรมระหว่างประเทศที่ร้ายแรงที่สุด
2) วัตถุประสงค์ เพื่อหยุดหรือเลี่ยงความเสียหายทางมนุษยธรรม
3) เป็นวิธีการสุดท้าย
4) ต้องได้สัดส่วน
5) ผลที่ตามมาต้องมีดุลยภาพ มีโอกาสแห่งความสำเร็จ ผลจากการแทรกแซงไม่แย่กว่าผล
จากการไม่แทรกแซง
- มีหลักฐานน้อยมาก ว่ารัฐได้ยอมรับสิทธิที่จะใช้กำลังเพื่อการแทรกแซงทางมนุษยธรรม
13.3. การใช้กำลังร่วมกันโดยองค์การระหว่างประเทศ
การใช้กำลังร่วมกันโดยองค์การระหว่างประเทศ คือ
การใช้กำลังร่วมกันภายในใต้ระบบความมั่นคงร่วมกัน (Collective Security System)

- ระบบกฎบัตรสหประชาชาติมุ่งปกป้องสันติภาพ โดยระบบความมั่นคงร่วมกันเพื่อต่อต้านการ
กระทำที่เป็นการฝ่าฝืนกฎบัตรหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของโลก
- คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยตามหมวด 7
“คณะมนตรีฯ จะต้องกำหนดว่า (1) การคุกคามต่อสันติภาพ (2) การละเมิดสันติภาพ หรือ
(3) การกระทำการรุกรานได้มีขึ้นหรือไม่ และต้องวินิจฉัยว่าจะใช้มาตรการใดตามข้อ 41 และ
42 เพื่อธำรงไว้หรือสถาปนาคืนมาซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ”
o การคุกคามต่อสันติภาพ – กรณีพิพาทระหว่างประเทศหรือการต่อสู้ภายในประเททศที่
อาจขยายตัวจนส่งผลกระทบกระเทือนกว้างออกไปจนเป็นอันตรายต่อสันติภาพโลก
เช่น กรณีลิเบีย 2011
o การละเมิดสันติภาพ – เช่น กรณีเกาะฟอล์คแลนด์ 1982 หรือสงครามเกาหลี 1950
o การกระทำการรุกราน – เช่น กรณีอิรักบุกคูเวต กรณีเกาหลีเหนือบุกเกาหลีใต้

- 43 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ ปลายภาค | ซีเกมส์ IR 69

13.3.1. มาตรการการลงโทษ
คณะมนตรีฯ เป็นผู้ออกคำตัดสิน (Decision) ซึ่งมีผลผูกพันให้สมาชิกสหประชาชาติต้อง
ปฏิบัติตาม โดยมี 2 มาตรการหลัก คือ
1) มาตรการลงโทษแบบไม่ใช้กำลัง (มาตรา 41) เช่น การคว่ำบาตร การกำหนดเขตห้ามบิน
การป้องปรามการเดินทางเข้าหรือผ่านดินแดน การอายัดทรัพย์ รวมไปถึงการตัดความสัมพันธ์
ทางการทูตและเศรษฐกิจ
2) มาตรการลงโทษแบบใช้กำลัง (มาตรา 42) เช่น การจัดตั้งกองกำลังทหารรวมกลุ่มกันอย่าง
เป็นระบบ การใช้กำลังทหาร หรืออนุญาตให้รัฐต่าง ๆ ใช้กำลังต่อรัฐผู้กระทำผิดได้
13.3.2. กรณีตัวอย่างลิเบียกับการดำเนินการของไทย
- ไทยยังไม่มีกฎหมายรองรับการปฏิบัติตามข้อมติของคณะมนตรีฯ จึงต้องใช้วิธีออกเป็น “มติ
คณะรัฐมนตรี” โดยอาศัยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี
พ.ศ. 2548 มาตรา 4 (7)
- กรณีลิเบีย กระทรวงการต่างประเทศเสนอให้รัฐบาลดำเนินมาตรการคว่ำบาตรลิเบีย ตาม
มาตรา 41 โดยเสนอให้ดำเนินการตาม เนื่องจากไทยมีพันธกรณีที่จะต้องดำเนินการตามข้อมติ
ของคณะมนตรีฯ
o มีการกำหนดเรื่องการคว่ำบาตรทางอาวุธ การห้ามเดินทาง การอายัดทรัพย์สิน อยู่ใน
สาระ
13.3.3. ปัญหาในการออกมาตรการลงโทษ : การวีโต้
- ระบบความมั่นคงร่มวกันจะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่อมหาอำนาจทั้งห้าในคณะมนตรี ซึ่งมีสิทธิวีโต้มี
ความสมัครสมานสามัคคี และมีเจตนารมณ์ร่วมกัน (Collective will) ที่จะธำรงรักษาสันติภาพ
และความมั่นคงระหว่างประเทศ
- ระบบความมั่นคงร่วมใช้ไม่ค่อยได้ผล โดยเฉพาะในช่วงสงครามเย็น ปัจจุบันก็มีกรณีที่ออกข้อ
มติไม่ได้ คือ กรณีซีเรีย ซึ่งถูกรัสเซียวีโต้
13.3.4. การใช้กำลังโดยองค์การระหว่างประเทศส่วนภูมิภาค
- ตามมาตรา 53 ของกฎบัตร คณะมนตรีอาจให้องค์การระหว่างประเทศส่วนภูมิภาคดำเนินการ
ภายใต้อำนาจของตนได้ แต่ทั้งนี้องค์การจะกระทำเองโดยปราศจากการมอบอำนาจจากคณะ
มนตรีไม่ได้
- บทบัญญัติข้างต้นไม่ได้ทำให้องค์การฯ เสียสิทธิ์การป้องกันตนเองร่วมกัน
- ก่อนปี 1990 ไม่ค่อยได้ใช้มาตรานี้ เพราะติดปัญหาวีโต้
- ครั้งแรกที่มีการใช้คือ ปี 1995 ที่คณะมนตรีฯ ออกข้อมติให้สมาชิกสหประชาชาติร่วมกับนาโต้
ที่จะใช้มาตรการที่จำเป็นทุกประการเพื่อสันติภาพในบอสเนียและเฮอร์เซโกวินา

- 44 / 44 -
กฎหมายระหว่างประเทศ กลางภาค | ซีเกมส์ IR 69

- ศาลสหรัฐฯ ได้ใช้หลักเขตอำนาจรัฐสากลในการตัดสินส่งผู้กล่าวหาเป็นผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่
อิสราเอล

7. กฎหมายสนธิสัญญา
7.1. วิวัฒนาการและหลักการพื้นฐาน
กฎหมายสนธิสัญญามีวิวัฒนาการมาจากกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศซึ่งมีมาอย่างช้านานจน
เป็นที่ยอมรับ และท้ายที่สุดก็ได้มีการประมวลเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ ในชื่อว่า
อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ปี ค.ศ.1969
สำหรับรัฐ และ
อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญาระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศหรือ
ระหว่างองค์การระหว่างประเทศ ปี ค.ศ.1986
สำหรับองค์การระหว่างประเทศ
โดยในสนธิสัญญาประกอบด้วยหลักการสำคัญ 3 หลักการ ได้แก่
7.1.1. หลักความยินยอมโดยอิสระ (The Principle of free consent)
รัฐย่อมไม่ถูกผูกพันโดยสนธิสัญญาที่รฐั นัน้ ไม่ได้ให้ความยินยอม
ข้อควรพิจารณา
1) รัฐอาจแสดงความยินยอมเพื่อผูกพันได้หลายรูปแบบ
2) ความยินยอมยังเป็นหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในเรื่องข้อสงวนและการแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญา
3) หลักเกณฑ์นี้เป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการทำสนธิสัญญา
7.1.2. หลักสัญญาต้องเป็นสัญญา (Pacta Sunt Servanda)
สนธิสัญญาต้องได้รับการเคารพและพึงปฏิบัติตาม เช่นเดียวกัน คู่สัญญาก็จะต้องเคารพและพึง
ปฏิบัติตามสัญญาซึ่งตนทำขึ้นตามกฎหมายภายในของรัฐ

ข้อควรพิจารณา
1) หลักสัญญาต้องเป็นสัญญามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับหลักสุจริต หรือก็คือ เมื่อรัฐ
ละเมิดหลักการนี้เท่ากับรัฐละเมิดหลักสุจริต (good faith) ไปด้วย

- 36 / 48 -
กฎหมายระหว่างประเทศ กลางภาค | ซีเกมส์ IR 69

7.1.3. หลักสุจริต (Principle of good faith)


หลักกฎหมายทั่วไปที่ยังไม่มนี ิยามชัดเจน
รัฐและตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ ย่อมถูกผูกพันตามพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศที่กำหนดไว้
ให้แก่ตนโดยไม่ต้องคำนึงว่าพันธกรณีเช่นว่านั้นได้มาจากสนธิสัญญา กฎหมายจารีตประเพณี
หรือที่มาอืน่ ของกฎหมายระหว่างประเทศ

ข้อควรพิจารณา
1) หลักสุจริตจะถูกปรับใช้ทุกขั้นตอนตลอดกระบวนการสนธิสัญญา ในขณะที่หลักสัญญาต้องเป็น
สัญญาจะนำมาใช้เมื่อสัญญามีผลบังคับใช้แล้ว
2) หลักสุจริตนำมาปรับใช้กับการตีความสนธิสัญญา กล่าวคือ การตีความสนธิสัญญาต้องตีความ
ด้วยความสุจริต (good faith) ตามความหมายปกติของถ้อยคำ (terms) และในบริบทของ
ถ้อยคำ (context) นั้น
7.2. ขอบเขตของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969
1) ครอบคลุมเฉพาะรัฐเท่านั้น
2) จำกัดอยู่เฉพาะสนธิสัญญาที่ทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร
3) ไม่มีผลบังคับย้อนหลัง (non-retroactivity) – คือหลังจากอนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้
7.3. คำนิยามของสนธิสัญญา
สนธิสัญญา คือ
ความตกลงระหว่างประเทศ1 ที่กระทำขึ้นระหว่างรัฐ2 เป็นลายลักษณ์อักษร3 และอยู่ (4) ภายใต้
บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ4 ไม่วา่ จะรวมอยู่ในตราสารฉบับเดียวหรือตราสารที่เกี่ยวข้องสอง
ฉบับหรือมากกว่านั้นและและไม่วา่ จะเรียกชื่อเฉพาะว่าอย่างไรก็ตาม
7.3.1. ความตกลงระหว่างประเทศ
ความตกลง หมายถึง การที่บุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศอย่างน้อยสองฝ่ายได้กระทำ
การตกลงระหว่างกัน
- การกระทำฝ่า ยเดียวของรัฐ เช่น แถลงการณ์ คำประกาศ ไม่ถือเป็นความตกลงระหว่าง
ประเทศ
- ต้องมีลักษณะระหว่างประเทศ
7.3.2. กระทำโดยคู่ภาคีซึ่งเป็นรัฐ
- ไม่รวมถึงความตกลงระหว่างและกับตัวแสดงที่ไม่ใช่รฐั
o หากมีการรวมความตกลงของตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐไว้ด้วยจะทำให้สนธิสัญญาซับซ้อน
ยุ่งยากมากขึ้น
- รัฐในที่นี้ คือ รัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศ (มีองค์ประกอบครบตามความเป็นรัฐ)

- 37 / 48 -
กฎหมายระหว่างประเทศ กลางภาค | ซีเกมส์ IR 69

7.3.3. ทำเป็นลายลักษณ์อักษร
- ถึงแม้ว่ากำหนดให้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธผลบังคับใช้ของความตกลงระหว่าง
ประเทศที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
- สนธิสัญญาที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ถือว่าเป็น “สนธิสัญญา” ตามนิยามของอนุสัญญาฯ
1969 แต่ถือเป็นสนธิสัญญาตามจารีตประเพณีระหว่างประเทศ
7.3.4. อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ
- มีนัยสองความหมาย คือ
o ต้องเป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศไม่ใช่กฎหมายอื่น หากสนธิสัญญาตกอยู่
ภายใต้ บ ั ง คั บ ของกฎหมายภายในของรั ฐ ใดรั ฐ หนึ ่ ง หรื อ รั ฐ ที ่ ส ามให้ ถ ื อ ว่ า ไม่ เ ป็ น
สนธิสัญญา เช่น สนธิสัญญากู้ยืมเงิน ที่กำหนดให้อยู่ในบังคับของประเทศใดประเทศ
หนึ่ง
o ต้องมีเจตนาก่อให้เกิดพันธกรณีที่ผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศ ถ้าหากมี
เพียงเจตนาทางการเมือง (political intent) โดยปราศจากเจตนาผูกพันให้มีการบังคับ
ตามกฎหมายจะไม่ถือเป็นสนธิสัญญา เช่น คำแถลงการณ์ ปฏิญญาหรือคำประกาศ
ร่วม
7.4. ประเภทของสนธิสัญญา
1) ถือหลักภาคีของสนธิสัญญา
o สนธิสัญญาทวิภาคี (Bilateral treaty) – สนธิสัญญาสองฝ่าย
o สนธิสัญญาพหุภาคี (Multilateral treaty) – สนธิสัญญาหลายฝ่าย
2) ถือหลักแบบของสนธิสัญญา
o สนธิสัญญาเต็มแบบ (Formal Treaty) – สนธิสัญญาที่ทำตามแบบพิธีของสนธิสัญญา
อย่างเป็นทางการ
o สนธิสัญญาที่ทำแบบย่อ (Treaty in simplified form) – สนธิสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อให้เกิด
ความรวดเร็วโดยพิธีบางประการออก
3) ถือหลักวัตถุประสงค์ของสนธิสัญญา
o สนธิสัญญาที่สร้างระบอบกฎหมายบังคับใช้ได้เป็นการทั่วไปทั่วโลก (Real Treaty /
Dispositive Treaty)
o สนธิสัญญาที่กำหนดความสัมพันธ์อันมีสภาพบุคคลเป็นมูลฐาน (Personal treaty)
4) ถือหลักสารัตถะของสนธิสัญญา
o สนธิสัญญาลักษณะสัญญา และ สนธิสัญญาลักษณะกฎหมาย
• ลักษณะสัญญา – ส่วนมากเป็นทวิภาคี เนื้อหาเป็นไปตามเจตนาของรัฐภาค
• ลักษณะกฎหมาย – วางกฎข้อบังคับแห่งกฎหมายให้เป็นที่ยอมรับหรือจำเป็นต้อง
ปฏิบัติเป็นการทั่วไป
o สนธิสัญญาลักษณะการเมือง และ สนธิสัญญาลักษณะนิติบัญญัติ

- 38 / 48 -
กฎหมายระหว่างประเทศ กลางภาค | ซีเกมส์ IR 69

• ลักษณะการเมือง – ความสัมพันธ์พิเศษเฉพาะระหว่างภาคี
• ลั ก ษณะนิ ต ิ บ ั ญ ญั ต ิ – มี ว ั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื ่ อ วางระเบี ย บความสั ม พั น ธ์ ใ นทาง
กฎหมายที่มีอยู่
7.5. คำศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกสนธิสัญญา
1) สนธิสัญญา (treaty) – ใช้สำหรับกระทำตามแบบพิธีอย่างเคร่งครัด และใช้สำหรับความตกลง
ที่มีความสำคัญมาก
2) อนุสัญญา (convention) – ใช้สำหรับสนธิสัญญาพหุภาคีที่ร่างขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศ
หรือจากการประชุมระหว่างประเทศ มีลักษณะเป็นการสร้างกฎหมายหรือประมวลกฎหมายที่มี
อยู่แล้ว
3) ปฏิญญา (Declaration) – เป็นการประกาศหลักกฎหมายที่มีอยู่แล้วหรือเป็นการสร้างกฎหมาย
ใหม่ อาจมีลักษณะในทางการเมือง
4) พิธีสาร (Protocol) – การแก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม ต่อท้าย หรือกำหนดรายละเอียดของ
สนธิสัญญาอีกฉบับ
5) กรรมสาร (Act) – สนธิสัญญาหลายฝ่ายซึ่งวางหลักกฎหมายหรือระบอบกฎหมาย
6) กรรมการสุดท้าย (Final act) – แถลงการณ์อย่างเป็นทางการหรือการสรุปผลการพิจารณา
หารือของการประชุมระหว่างประเทศ
7) กติกา (covenant) – ใช้กับสันนิบาตชาติเป็นครั้งแรก
8) กติกาสัญญา (pact) – ความตกลงระหว่างประเทศที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ
9) ความตกลง (Agreement) – กระทำกันโดยเป็นพิธีการน้อยกว่า
10) ข้อตกลง (arrangement) – คล้ายความตกลง แต่มีความสำคัญน้อยและขอบเขตแคบกว่า
11) Compromise – ความตกลงพิ เศษเกี่ยวกับ การเสนอข้อ พิพาทให้ศ าลระหว่า งประเทศหรื อ
อนุญาโตตุลาการพิจารณา
12) บันทึกความตกลง (Memorandum of Agreement) – ใช้เรียกข้อตกลงในรายละเอียดเพิ่มเติม
13) ความตกลงชั่วคราว (Modus Vivendi) – ความตกลงที่มีลักษณะชั่วคราว
14) ธรรมนูญ (Statute) – สนธิสัญญาที่กำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของสถาบัน
ระหว่างประเทศหรือเป็นการวางระบบหรือระบอบทางกฎหมายในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

- 39 / 48 -
กฎหมายระหว่างประเทศ กลางภาค | ซีเกมส์ IR 69

7.6. กระบวนการทำสนธิสัญญา
การรับรองความ
การเจรจาตอรอง การรับเอาตัวบท
ถูกตอง
(negotiation) (Adoption)
(Authentication)

การแสดงความ
การมีผลบังคับใช
ยินยอมเพื่อผูกพัน การตั้งขอสงวน
(Entry into
(Consent to be (Reservation)
force)
bound)

การปฏิบัติตาม
การปรับใช และ
การตีความ

7.6.1. การเจรจาและผู้มีอำนาจ (Negotiation)


- ขั้นตอนเบื้องต้นในการทำสนธิสัญญา
- ต้องมีผู้แทนผู้มีอำนาจหน้าที่ของรัฐมาปรึกษาหารือ เจรจาต่อรอง และกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ
ผู้แทนของรัฐโดยตำแหน่ง (ex officio)
1. ประมุขของรัฐ ประมุขของรัฐบาล และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
2. หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ในกรณีการลงมติรับเอา (adoption) ในรัฐที่ตนประจำการอยู่
3. ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนของรัฐในการประชุมระหว่างประเทศ ในกรณีการลงมติรับเอา
(adoption)
หากนอกเหนือจาก 3 บุคคลข้างต้น ผู้ที่ถือว่าเป็นผู้แทนของรัฐนั้น ๆ จะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจ
เต็ม (Full powers)
กรณีที่อาจยกเว้นไม่ต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจเต็ม คือ ในกรณีที่ทางปฏิบัติของรัฐที่เกี่ยวข้องหรือ
สถานการณ์แวดล้อม ถือว่าบุคคลนั้นเป็นตัวแทนของผู้แทนรัฐ
7.6.2. การรับเอาตัวบท (Adoption)
- ไม่มีการจำกัดความอย่างชัดเจน แต่ Sinclair ได้อธิบายไว้ว่า
การรับเอาตัวบท คือ
การกระทำอย่างเป็นทางการที่จะทำให้รูปแบบ (form) และเนื้อหา (contents) แห่งสนธิสัญญา
ที่ได้นำเสนอนั้นเป็นที่ยุติ

- 40 / 48 -
กฎหมายระหว่างประเทศ กลางภาค | ซีเกมส์ IR 69

- การยอมรับตัวบทมี 2 กรณี (มาตรา 9) คือ


(1) การยอมรับแบบเอกฉันท์ การยอมรับสนธิสัญญาต้องได้รับความเห็นชอบโดยรัฐทั้งปวงที่
เข้าร่วมในการยกร่าง เว้นแต่ที่บัญญัติไว้ใน (2) หรือ
(2) การยอมรับแบบสองในสาม การยอมรับสนธิสัญญาซึ่งทำขึ้นในที่ประชุมระหว่างประเทศ
ให้กระทำโดยการออกเสียง 2 ใน 3 ของรัฐซึ่งเข้าร่วมประชุมและออกเสียง เว้นแต่รัฐซึ่ง
เข้าร่วมจะกำหนดกฎเกณฑ์อื่นที่ต่างออกไป
7.6.3. การรับรองความถูกต้อง (Authentication)
การรับรองความถูกต้อง คือ
วิธีการที่ก่อให้เกิดผลทางกฎหมายว่า สนธิสัญญานั้นเป็นตัวบทที่แน่นอนเด็ดขาด (finite text)
- ตัวบทที่แน่นอนเด็ดขาด (finite text) คือ ตัวบทที่จะไม่มีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงอีก
- เหตุผลที่ต้องรับรอง เพื่อนำตัวบทไปประกอบการตัดสินใจว่าจะรับตัวบทหรือไม่
- วิธีการรับตัวบทสามารถทำได้หลายวิธีการ คือ
o วิธีการที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญา หรือ
o วิธีการที่ได้ตกลงกับระหว่างรัฐที่ร่วมยกร่างสนธิสัญญา
o หากไม่มีการกำหนดวิธีการไว้ อาจทำได้โดย
• การลงนาม
• การลงนามโดยมีเงื่อนไขว่าต้องได้รับความเห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง
• การลงนามย่อโดยผู้แทนของรัฐในสนธิสัญญา หรือกรรมสารสุดท้าย (final act)
7.6.4. การแสดงความยินยอมเพื่อผูกพัน (Expressing consent to be
bound)
7.6.4.1. การลงนาม (Signature)
- เป็นทั้งการให้การรับรองความถูกต้อง และการให้ความยินยอมต่อสนธิสัญญาและพันธกรณี
- ต้องแยกพิจารณาสองประเภทสนธิสัญญา คือ
o สนธิสัญญาประเภทมีผลยอมรับโดยเด็ดขาด คือ มีผลผูกพันทันทีเมื่อลงนาม
o สนธิสัญญาประเภทที่การลงนามยังไม่ผูกพัน จนกว่ารัฐจะได้กระทำการตามเงื่อนไขที่
กำหนดไว้
7.6.4.2. การแลกเปลี ่ ย นตราสารที ่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด สนธิ ส ั ญ ญา (exchange of
instruments constituting a treaty)
- การแสดงความยินยอมโดยวิธีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อ
o ตราสารนั้นกำหนดว่าการแลกเปลี่ยนตราสารมีผลเป็นการให้ความยินยอมของรัฐเพื่อ
ผูกพันตามสนธิสัญญา หรือ

- 41 / 48 -
กฎหมายระหว่างประเทศ กลางภาค | ซีเกมส์ IR 69

o รัฐที่เข้าร่วมเจรจาทำสนธิสัญญาตกลงว่าวิธีนี้มีผลเท่ากับการให้ความยินยอมของรัฐเพื่อ
ผูกพันตามสนธิสัญญา
7.6.4.3. การให้สัตยาบัน (Ratification) การยอมรับ (Acceptance) การให้
ความเห็นชอบ (Approval)
- การให้สัตยาบัน คือ การแสดงความยินยอมขั้นสุดท้ายที่จะผูกพันตามสนธิสัญญา
- หากในสนธิ ส ั ญ ญากำหนดให้ ต ้ อ งมี ก ารให้ ส ั ต ยาบั น กั น ก่ อ น รั ฐ ภาคี จ ะยั ง ไม่ ผ ู ก พั น ตาม
สนธิสัญญาถ้ายังไม่ได้ให้สัตยาบัน
- วัตถุประสงค์ เพื่อ
o เปิดโอกาสให้ประมุขของรัฐหรือรัฐบาลได้ตรวจสอบก่อนว่าผู้แทนของรัฐเจรจาไปใน
ขอบเขตที่ได้มอบหมายหรือไม่
o ทำให้สามารถไตร่ตรองและพิจารณาอย่างรอบคอบ
- การให้สัตยาบันเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร
o ความจำเป็นที่จะต้องขอความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติให้พิจารณาตามรัฐธรรมนูญ
บัญญัติ (ดูส่วนที่ 3.2)
7.6.4.4. การภาคยานุวัติ (Accession)
- การภาคยานุวัติ (ภาคี+อนุวัติ) คือ การแสดงความยินยอมผูกพันในกรณีที่รัฐนั้นไม่ได้เป็นภาคี
ที่เข้าร่วมเจรจาและลงนามสนธิสัญญาตั้งแต่แรกเริ่ม แต่เข้ามารับเอาผลของสนธิสัญญาใน
ภายหลัง
- ภาคยานุวัติ จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อสนธิสัญญานั้น ๆ กำหนดไว้ว่ากระทำได้
7.6.5. ข้อสงวนในสนธิสัญญา (Reservations)
ข้อสงวน คือ คำแถลงฝ่ายเดียว (ไม่วา่ จะเรียกว่าอะไร) ซึ่งกระทำโดยรัฐเมื่อมีการแสดงความ
ยินยอมเพื่อผูกพัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกเว้นหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงผลทางกฎหมายของข้อบท
บางข้อแห่งสนธิสัญญา ในการที่จะบังคับใช้ต่อรัฐที่ตั้งข้อสงวนนั้น
7.6.5.1. การตั้งข้อสงวน
- ต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร ระบุเหตุผลในการตั้งข้อสงวน และส่งไปยังรัฐภาคีแห่งสนธิสญ
ั ญา
และรัฐที่มีสิทธิเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญา (ข้อสงวนที่ทำด้วยวาจาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ระหว่างประเทศ)
- โดยปกติไม่ทำกันในสนธิสัญญาทวิภาคี แต่มักกระทำในสนธิสัญญาพหุภาคี
- กรณียกเว้นห้ามตั้งข้อสงวน
1) สนธิสัญญาห้าไม่ให้ตั้งข้อสงวน
2) สนธิสัญญาบัญญัติว่าตั้งข้อสงวนได้เฉพาะบางเรื่องเท่านั้น
3) กรณีนอกเหนือจาก 1) และ 2) ซึ่งปรากฏว่าข้อสงวนไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
- ผลของการฝ่าฝืนข้อยกเว้น คือ ข้อสงวนไม่มีผลทางกฎหมาย

- 42 / 48 -
กฎหมายระหว่างประเทศ กลางภาค | ซีเกมส์ IR 69

- กรณีที่ตั้งข้อสงวนขณะยังไม่ได้ให้สัตยาบัน – การตั้งข้อสงวนนั้นจะต้องได้รับการยืนยันอย่าง
เป็นทางการอีกครั้งหนึ่งโดยการให้สัตยาบัน
o หากมีการยอมรับหรือคัดค้านข้อสงวนมาก่อนแล้ว ไม่จำเป็นต้องยืนยันการยอมรับหรือ
คัดค้านอีกครั้ง
7.6.5.2. การยอมรับและการคัดค้านข้อสงวน
1. ข้ อ สงวนที ่ ไ ม่ จ ำเป็ น ต้ อ งได้ ร ั บ การยอมรั บ คื อ ข้ อ สงวนได้ ร ั บ อนุ ญ าตไว้ ช ั ด แจ้ ง แล้ ว ใน
สนธิสัญญา
2. ข้อสงวนที่จำเป็นต้องได้รับการยอมรับจากรัฐภาคีทั้งหมด
o จำนวนรัฐภาคีมีจำนวนจำกัด และ
o การใช้บังคับสนธิสัญญาดังกล่าวทั้งฉบับเป็นเงื่อนไขที่สำคัญอันขาดไม่ได้ในการให้ความ
ยินยอมของแต่ละรัฐ
3. ข้อสงวนที่ต้องได้รับการยอมรับจากองค์กรที่มีอำนาจขององค์การระหว่างประเทศ คือ กรณี
สนธิสัญญาเป็นตราสารก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศ (เว้นแต่สนธิสัญญาจะกำหนดเป็นอื่น)
4. ในกรณีที่ไม่ตกอยู่ภายใต้ 3 ข้อ ก่อนหน้า และเว้นแต่สนธิสัญญาจะกำหนดเป็นอื่น
o ถ้ารัฐอื่นยอมรับข้อสงวน รัฐที่ตั้งข้อสงวนถือเป็นภาคีของรัฐที่ตั้งข้อสงวนนั้น
o ถ้ารัฐอื่นคัดค้านข้อสงวน ก็ไม่เป็นการขัดขวางการมีผลบังคับของสนธิสัญญาระหว่าง
รัฐที่คัดค้านกับรัฐที่ตั้งข้อสงวน
 เว้นแต่รัฐที่คัดค้านจะแสดงอย่างชัดแจ้งเป็นอย่างอื่น
o การกระทำที่แสดงเจตนายินยอมของรัฐและการตั้งข้อสงวนมีผลทันที เมื่อมีรัฐภาคี
อย่างน้อยหนึ่งรัฐได้ยอมรับข้อสงวนนั้น
5. ข้อสงวนถือว่าได้รับการยอมรับถ้าหากว่ารัฐอื่นไม่คัดค้านเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา 12 เดือน
หลังจากที่ได้ตั้งข้อสงวนหรือตั้งแต่วันที่แสดงเจตนายินยอมที่จะผูกพัน ขึ้นอยู่กับว่าวันใดจะ
ถึงช้ากว่า เพื่อความมุ่งประสงค์ของข้อ 2 และ 4 และเว้นแต่สนธิสัญญากำหนดไว้เป็นอื่น
7.6.5.3. ผลทางกฎหมายของข้อสงวนและการคัดค้านข้อสงวน
1. กรณีข้อสงวนได้รับการยอมรับ จะมีผลตามกฎหมายดังนี้
a. แก้ไขเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติสำหรับรัฐที่ตั้งข้อสงวน ในความสัมพันธ์กับรัฐภาคีอื่น
ตามขอบเขตที่ตั้งข้อสงวนไว้
b. แก้ไขเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติสำหรับรัฐภาคีอื่น ในความสัมพันธ์กับรัฐที่ตั้งข้อสงวน
2. ข้อสงวนมิได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติแห่งสนธิสัญญาสำหรับรัฐภาคีอื่น ๆ
3. เมื่อรัฐที่คัดค้านข้อสงวนมิได้คัดค้านการมีผลบังคับของสนธิสัญญาระหว่างตนกับรัฐที่ตั้งข้อ
สงวน บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการตั้งข้อสงวนจะไม่ใช้บังคับระหว่างรัฐทั้งสองภายในขอบเขตของ
ข้อสงวนนั้น

- 43 / 48 -
กฎหมายระหว่างประเทศ กลางภาค | ซีเกมส์ IR 69

มีผลบังคับใช้
ไม่มผี ลบังคับใช้
ข้อ x
รัฐ B
สนธิสัญญา ยอมรับข้อสงวน ข้อ x สนธิสัญญา
(1)
(4)

สนธิสัญญา
รัฐ A ข้อ x
รัฐ D
ให้สัตยาบันแล้วและ คัดค้านข้อสงวน และการมีผล
ตั้งข้อสงวน ข้อ x สนธิสัญญา (3) ใช้บังคับกับรัฐ A

สนธิสัญญา รัฐ C
(2) สนธิสัญญา
ข้อ x คัดค้านข้อสงวน แต่ยังคง
ความสัมพันธ์ตามสนธิสัญญา
สรุปผล
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ผลของสนธิสัญญา ผลของข้อสงวน x
(1) กรณีระหว่างรัฐ A และ B มีผลบังคับใช้ แก้ไขตามข้อสงวน
(2) กรณีระหว่างรัฐ A และ C มีผลบังคับใช้ ข้อ x ไม่มีผลบังคับใช้
(3) กรณีระหว่างรัฐ A และ D ไม่มีผลบังคับใช้ ไม่มีผลบังคับใช้
(4) กรณีระหว่างรัฐ B C และ D มีผลบังคับใช้ตามเดิม ไม่มีผลบังคับใช้

7.6.5.4. การถอนข้อสงวนและถอนการคัดค้านข้อสงวน
- การถอนข้อสงวนและการคัดค้านข้อสงวนจะกระทำเวลาใดก็ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม
จากรัฐที่ได้รับการยอมรับข้อสงวนนั้นอีก เว้นแต่สนธิสัญญากำหนดเป็นอื่น
- การถอนข้ อ สงวนจะมี ผ ลต่ อ เมื ่อ ได้ รั บ หนั งสื อ บอกกล่า วถึ งการถอนข้อ สงวนแล้ ว เว้ นแต่
สนธิสัญญากำหนดเป็นอื่นหรือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
- การถอนการคัดค้านข้อสงวนจะมีผลต่อเมื่อรัฐที่ตั้งข้อสงวนได้รับหนังสือบอกกล่าวถึงการถอน
ข้อสงวนแล้ว เว้นแต่สนธิสัญญากำหนดเป็นอื่นหรือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

- 44 / 48 -
กฎหมายระหว่างประเทศ กลางภาค | ซีเกมส์ IR 69

7.6.6. การมีผลบังคับใช้ของสนธิสัญญา (Entry into force)


สนธิสัญญาจะมีผลบังคับใช้ในวันที่กำหนดไว้ในสนธิสญ ั ญา
หรือในวันที่รฐั ที่เจรจาทำสนธิสัญญาตกลงกัน
- กรณีไม่มีการกำหนดวัน สนธิสัญญาจะมีผลใช้บังคับทันทีที่รัฐทั้งหมดที่เข้าร่วมเจรจาทำ
สนธิสัญญาให้ความยินยอมเพื่อผูกพัน
- กรณีภาคยานุวัติ ให้ถือว่าสนธิสัญญานั้นมีผลบังคับต่อรัฐในวันที่รัฐนั้นให้ความยินยอมผูกพัน
ตามสนธิสัญญา
- กรณี ที ่ ส นธิ สั ญญายังไม่ม ีผลบั งคับใช้ แต่ต้อ งอาศัยขั้นตอนต่าง ๆ ในกระบวนการทำ
สนธิสัญญา ให้ขั้นตอนหรือหลักเกณฑ์ต่าง ๆ มีผลบังคับใช้ระหว่างรัฐซึ่งเข้าร่วมเจรจาทำ
สนธิสัญญานับแต่เวลาซึ่งมีการรับเอาตัวบทสนธิสัญญา
- สามารถบังคับใช้สนธิสัญญาทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว (provisional application)
ก่อนสนธิสัญญาจะมีผลบังคับใช้ได้ โดย
o สนธิสัญญานั้นระบุให้ทำ
o รัฐที่เจรจาทำสนธิสัญญานั้นได้ตกลงไว้ในประเด็นนี้
7.6.7. การปฏิ บ ั ต ิ ต าม การปรั บ ใช้ และการตี ค วามสนธิ ส ั ญ ญา
(Observance, application and interpretation)
7.6.7.1. การปฏิบัติตามสนธิสัญญา
- สนธิสัญญาที่มีผลบังคับแล้วย่อมมีผลผูกพัน (binding) และต้องปฏิบัติตามหลัก Pacta Sunt
Servanda และ หลักสุจริต (Good Faith)
- ภาคีมิอาจยกเอาบทบัญญัติของกฎหมายภายในของตนมาเป็นข้ออ้างในการไม่ปฏิบัติตาม
สนธิสัญญานั้น
7.6.7.2. การปรับใช้สนธิสัญญา
- ต้องพิจารณาทั้งในด้านสถานที่และเวลา
o สถานที่ : ผูกพันเหนือดินแดนทั้งหมดของรัฐภาคี
o เวลา : ไม่มีผลย้อนหลัง
7.6.7.3. การตีความสนธิสัญญา
หลักทั่วไปในการตีความสนธิสัญญา
1) หลักการตีความตามตัวบทหรือตามตัวอักษร (The literal or textual approach)
- เพื่อให้ทราบความหมายของตัวบทในสนธิสัญญา
- ถือเอาสิ่งที่เห็นหรือปรากฏหรือการถือเอาตัวบทเป็นเกณฑ์
- มุ่งตีความตามความหมายปกติธรรมดาของถ้อยคำหรือวลีที่ปรากฏ

- 45 / 48 -
กฎหมายระหว่างประเทศ กลางภาค | ซีเกมส์ IR 69

2) หลักการตีความตามเจตนาของภาคีแห่งสนธิสัญญา (The intentions of the parties)


- เพื่อให้ทราบเจตนาของภาคีแห่งสนธิสัญญาว่าต้องการสื่ออะไรในถ้อยคำหรือวลีที่
ปรากฎ
- ถือเอาความเป็นอัตวิสัย (Subjective approach) เป็นเกณฑ์
3) หลักการตีความตามวัตถุประสงค์และความมุ่งหมายของสนธิสัญญา (The object and
purpose approach)
- เพื่อให้ทราบวัตถุประสงค์และความมุ่งหมายก่อนแล้วจึงตีความสนธิสัญญาให้เป็นผล
ตามนั้น
4) หลักการตีความตามหลักความมีประสิทธิผล (The principle of effectiveness)
- เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับหลักการตีความตามวัตถุประสงค์
- สนธิสัญญาควรต้องตีความให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของ
สนธิสัญญา
มีการวางหลักการตีความไว้ในอนุสัญญาฯ ข้อ 31 ว่า
สนธิสัญญานัน้ ต้องตีความโดยสุจริต (in good faith) ตามความหมายปกติธรรมดาของถ้อยคำ
(terms) ที่ปรากฏในสนธิสัญญา ในบริบท (context) ของถ้อยคำเหล่านั้นและโดยคำนึงถึง
วัตถุประสงค์และความมุ่งหมาย (object and purpose) ของสนธิสัญญานัน้

- ต้องถือความหมายปกติธรรมดา จะใช้ความหมายพิเศษได้ก็ต่อเมื่อภาคีแห่งสนธิสัญญามีเจตนา
ให้เป็นเช่นนั้น
- ต้องพิจารณาบริบท โดยดูจากอารัมภบท (Preamble) ภาคผนวก (annexes) ความตกลงต่าง
ๆ รวมไปถึงทางปฏิบัติต่อมาของรัฐภาคี
ข้อสังเกต
1. ขอบเขตการใช้มีความทับซ้อนกันอยู่อย่างมาก
2. อนุสัญญาฯ ให้อิสระในการตีความสนธิสัญญาอย่างกว้างขวางแก่ศาลและองค์กรที่มีหน้าที่
ตีความสนธิสัญญา
3. กฎเกณฑ์ตามข้อ 31 มีความโน้มเอียงไปตามหลักการตีความตามตัวบทหรือตามตัวอักษร
(The literal or textual approach)
4. กฎเกณฑ์การตีความปัจจุบันถือเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ
วิธีการเสริมในการตีความสนธิสัญญา
- การกำหนดให้นำเอา (1) งานเตรียมร่างของสนธิสัญญาและ (2) สภาพแวดล้อมในขณะที่ทำ
สนธิสัญญา มาช่วยพิจารณาประกอบการตีความ

- 46 / 48 -
กฎหมายระหว่างประเทศ กลางภาค | ซีเกมส์ IR 69

7.6.8. สนธิสัญญาและรัฐที่สาม
- โดยหลักการ สนธิสัญญาจะมีผลผูกพันเฉพาะรัฐที่เป็นภาคีในสนธิสัญญาเท่านั้น
o สนธิสัญญาไม่ก่อให้เกิดพันธกรณีแก่รัฐที่สาม โดยปราศจากการยินยอมของรัฐที่สาม
(pacta tertiis nec nocent nec prosunt)
- อย่างไรก็ดีสนธิสัญญาอาจกำหนดพันธกรณีแก่รัฐที่สามได้ ถ้ารัฐภาคีมุ่งให้เป็นเช่นนั้นและรัฐที่
สามยอมรับพันธกรณีนั้นอย่างชัดแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
- การยกเลิก เพิกถอน แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงพันธกรณีจะกระทำได้ต่อเมื่อรัฐที่สามและภาคี
แห่งสนธิสัญญา
- กรณีนี้จะไม่นำมาใช้ในกรณีที่กฎเกณฑ์ที่ปรากฏในสนธิสัญญาเป็นกฎหมายจารีตประเพณี
ระหว่างประเทศ
- Dispositive treaties หรือ สนธิสัญญาที่สร้างระบอบกฎหมายที่สามารถบังคับใช้ได้เป็นการ
ทั่วไปทั่วโลก (erga omnes) อันได้แก่ สนธิสัญญาเกี่ยวกับดินแดน และระบอบดินแดน
o สนธิสัญญานี้ รัฐทุกรัฐจะต้องยอมรับไปปฏิบัติแม้ตนไม่ได้เป็นภาคีของสนธิสัญญานั้นก็
ตาม
- องค์การระหว่างประเทศที่สหประชาชาติตั้งขึ้นและมีสภาพบุคคลในทางภววิสัย ก็ถือว่ามีผล
ผูกพันรัฐที่ไม่ใช่สมาชิกสหประชาชาติเช่นเดียวกัน

ข้อสอบเก่า
1. หลักกฎหมายทั่วไป (general principle of law) ตามความหมายของมาตรา 38 (C) ของ
รัฐธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คืออะไร ได้แก่อะไรบ้าง โปรดวิเคราะห์ โดยอ้างถึง
คำพิ พากษาของศาลโลก (ICJ, PCIJ) ประกอบการวิเคราะห์นั้นด้วย อยากทราบว่า หลัก
กฎหมายทั่วไปนี้ ต่างจากหลัก ex aequo et bono ตามมาตรา 38(2) อย่างไร
2. เมื่อนิสิตได้ศึกษาเกี่ยวกับมาตรา 38 ของธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ นิสิตคิดว่า
ควรพิจารณาและต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อบทที่กำหนดไว้ในมาตราดังกล่าวอย่างไรบ้าง
3. “ The most important point about international personality is, indeed, that it
is not an absolute concept. International personality operates as if on a sliding scale,
with various subjects of international law having various capabilities for particular
purpose.”
นิสิตเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้หรือไม่ อย่างไร โปรดอธิบายในเรื่องที่เกี่ยวกับสภาพบุคคล
ระหว่างประเทศในระบอบกฎหมายระหว่างประเทศ
4. เขตอำนาจรัฐ (Jurisdiction) คืออะไร ให้นิสิตอธิบายหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเขตอำนาจรัฐตาม
กฎหมายระหว่างประเทศ และอยากทราบว่าประเทศไทยได้นำหลักการต่าง ๆ อันเป็นมูลฐาน
ของเขตอำนาจรัฐมาใช้ เป็นฐานในการบัญญัติกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญามากน้อย
เพียงใด ให้นิสิตประเมินความเห็นในเรื่องดังกล่าว

- 47 / 48 -

You might also like