You are on page 1of 8

เวียดนามเหนือ

ระบอบอาณานิคมของฝรั่งเศสและรวมไปถึงกองทัพญี่ปุ่นที่เข้ามารุกรานเวียดนาม นำมาซึ่งการล่มสลาย
และความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมของประเทศเวียดนาม จนผลักดันให้ชาว
เวียดนามลุกขึ้นต่อสู้เรียกร้องเอกราช พลังชาตินิยมจึงก่อตัวขึ้นอย่างเข้มแข็ง ในขณะเดียวกันก็มีกลุ่มปัญญาชนที่
เล็งเห็นว่า ลัทธิคอมมิวนิสต์อาจเป็นคำตอบให้กับการต่อสู้เพื่อเอกราช นำโดยนายโฮจิมินห์ ซึ่งพลังชาตินิยมและ
การต่อสู้อย่างหนักตามแนวทางคอมมิวนิส ต์ของชาวเวียดนามได้นำไปสู่การได้รับเอกราชและเสรีภ าพ ชาว
เวียดนามสามารถขับไล่ญี่ปุ่นและฝรั่งเศสออกไปได้สำเร็จ โฮจิมินห์จึงได้ประกาศเอกราชเวียดนาม ซึ่งถือได้ว่านำ
ความเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่มาสู่ประวัติศาสตร์เวียดนาม อันได้แก่ การสิ้นสุดของระบอบอาณานิคม และจุดจบ
ของการปกครองภายใต้ระบอบกษัตริย์ อย่างไรก็ดี การถูกกดขี่ที่ฝังรากลึกมานานจากระบอบอาณานิคมส่งผลให้
ชาวเวียดนามปรารถนาในความเท่าเทียมที่แท้จริง นำไปสู่การขึ้นสู่อำนาจของลัทธิคอมมิวนิสต์ และการเกิดขึ้นของ
การปกครองแบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์ในเวียดนามเหนือ อีกทั้งจากการต่อสู้อันยาวนาน นับตั้งแต่ยุค
อาณานิคม เวียดนามจำเป็นต้องฝึกฝนกองกำลังของตัวเองอยู่เสมอ ส่งผลให้เวียดนามในปัจจุบันมีกองทัพที่
เข้มแข็งที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลจากการถูกยึดครองโดยฝรั่งเศสในยุคอาณา
นิคม ซึง่ ถูกตอกย้ำผ่านปัจจัยอันได้แก่ ปัจจัยทางการเมือง ซึ่งคือชาตินิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
ซึ่งคือเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและความเหลื่อมล้ำ รวมไปถึงปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งคือการศึกษาและ
วัฒนธรรม ครั้งเมื่อยังอยู่ภายใต้ระบอบอาณานิคม

ลักษณะการปกครองของเวียดนามเหนือในยุคหลังอาณานิคมอันเป็นผลจากระบอบอาณานิคม
นับตั้งแต่ที่เวียดนามตกเป็นประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศส ประชาชนชาวเวียดนาม ณ เวลานั้นถูกกดขี่ขูด
รีดจากการดำเนินนโยบายของประเทศเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส และเกิดเป็นความไม่พอใจและการต่อต้านที่มีร่วมกัน
ของคนในชาติ ซึ่งรูปแบบของอุดมการณ์ช าตินิยมนี้เองก็ได้ยิ่งทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นประกอบกับการมาของ
ขบวนการของพรรคคอมมิวนิสต์ที่นำโดยโฮจิมินห์ ที่ได้ใช้ประเด็นเรื่องชาตินิยมกับแนวทางความเสมอภาคทาง
สังคมที่ต้องการปลดแอก อนึ่ง อุดมการณ์สังคมนิยมนี้เองก็มีส่วนสำคัญมาจากตัวผู้นำอย่างโฮจิมินห์ ที่ได้ปลูกฝัง
และขยายแนวคิดดังกล่าวนี้แก่ชาวเวียดนาม ซึ่งโฮจิมินห์ก็ได้มีโอกาสได้ศึกษาและซึมซับกับแนวคิดดังกล่าวเมื่อครั้ง
ที่ยังอาศัยอยู่ในประเทศฝรั่งเศส1
เมื่อได้รับชัยชนะ โฮจิมินห์จึงได้สถาปนาเวียดนามเหนือสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามที่มีรูปแบบการ
ปกครองแบบสังคมนิยมภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
เวียดนามหลังจากเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมนิยมมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานทางการเมืองตาม แนวคิดของ
มาร์กซิสต์2 โดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศสังคมนิยมด้วยกัน และผลกระทบที่สำคัญจากรูปแบบการปกครอง
ดังกล่าวทำให้เวียดนามเหนือมีทิศทางในการพัฒนาประเทศที่แตกต่างจากเวียดนามใต้แบบตลาดเสรีที่ควบคุมโดย
ชาติตะวันตก เป็นผลให้เกิดอุปสรรคต่อการรวมชาติของเวียดนามเหนือและใต้ในเวลาต่อมา
โดยหลังการได้รับเอกราชเมื่อปี ค.ศ. 1946 พรรคคอมมิวนิสต์ได้เริ่มใช้นโยบายการลดภาษีที่ดินแบ่งปันที่
เน้นส่วนรวมให้เป็นธรรม ชาวนาที่ยากจนได้รับที่ดินชั่วคราวในการทำมาหากิน 3 แต่หลังจากที่นายโฮจิมินห์
กลับมาจากการไปเยือนนครปักกิ่ง ได้มีการประกาศใช้ระบบภาษีแบบเหมา เจ๋อตุง ซึ่งส่งผลต่อระบบการเก็บภาษี
ของเวียดนามเหนืออย่างสมบูรณ์ 4 โดยการเปลี่ยนแปลงกลไกการเก็บภาษีทางการเกษตรและภาษีทางการค้าถือ
เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ และมีผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนโดยรวม
ภาษีทางการเกษตรและภาษีการค้าถูกเรียกเก็บจากการกะประมาณ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะมากกว่าความเป็น
จริง อีกทั้งยังเก็บภาษีในอัตราที่สูงมาก จนทำให้ประชาชนไม่สามารถแบกรับภาระดังกล่าวได้ 5 โดยในภาษี
การเกษตร มีการเก็บภาษีเพิ่มเติม ในนามของ “งบประมาณของหมู่บ้าน” ซึ่งตกอยู่ในอำนาจการดูแลของพรรค
คอมมิวนิสต์ เปรียบเสมือนการขูดรีดประชาชนอย่างแท้จริง 6 และด้วยความที่ภาษีการเกษตรนั้นจำเป็นจะต้อง
จ่ายเป็นข้าวสาร ส่งผลให้คอมมิวนิสต์กลายเป็นเจ้าของที่แท้จริงในพื้นที่การเกษตร7
ในขณะที่การค้า และภาษีการค้า มีการดำเนินนโยบายปิดล้อมต่อเขตที่อยู่ในการยึดครองของฝรั่งเศส
ส่งผลให้กองทัพฝรั่งเศสและผู้ที่อยู่ในความคุ้มครองของกองทัพขาดแคลนสิ่งของที่จำเป็น 8 เกิดการพัฒนา ทักษะ
ของคนในชุมชนในการผลิตสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ9 แต่เมื่อจีนที่มาถึงเวียดนามเหนือชี้แจงกับทางผู้นำถึงอันตรายต่างๆ
อันจะเกิดจากระบบทุนนิยมของเศรษฐกิจ จึงมีการเปลี่ยนแปลงแผนเศรษฐกิจไปในทิศทางตรงกันข้ามอย่าง
รวดเร็ว โดยมีการกำหนดภาษีทางการค้าเพื่อทำลายวิสาหกิจส่วนบุคคลทุกชนิด และก่อตั้งสำนักงานการค้า
(Trade Office) เพื่อการผูกขาดการค้าทุกชนิดโดยสิ้นเชิง10 จนนำไปสู่การปฏิรูปรูปที่ดินที่ดำเนินการอย่างจริงจัง
และรุนแรง ระหว่างปีค.ศ. 1953 – ค.ศ. 195711
ยิ่งไปกว่านั้น ภายใต้การปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ ยังมีการใช้ความรุนแรงขึ้น โดยมีการโจมตีหรือ
สังหารประชาชน โดยใช้ปัญหาของการจ่ายภาษีเป็นเครื่องปิดบังแผนการที่ได้รับการไตร่ตรองไว้แล้ว 12 แสดงให้
เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากประชาธิปไตยจอมปลอมเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ โดยหนึ่งในเจตนา คือเพื่อ
ต้องการทำลายชนชั้นกลางในเมืองให้หมดสิ้น ผลของการสังหารโหดนี้เพื่อแพร่ขยายความเกรงกลัวต่อพรรค
คอมมิวนิสต์ให้เกิดขึ้นในกลุ่มประชาชนในทุกชนชั้น
นอกจากการนำไปสู่การปกครองแบบสังคมนิยมแล้ว ระบอบอาณานิคมยังส่งผลให้กองทัพของเวียดนามมี
ความเข้มแข็งสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน กล่าวคือ การรุกรานของฝรั่งเศสทำให้ชาวเวียดนามต้องลุกฮือต่อต้าน
เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เองจึงพัฒนากลายมาเป็นการสู้รบแบบกองโจร นอกจากนี้โฮจิมินห์ยังได้จัดตั้งกองกำลังติด
อาวุธ และกองพลน้อยโฆษณาชวนเชื่อติดอาวุธ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชาวเวียดนาม
ในการต่อต้านฝรั่งเศส เป็นปฏิบัติการเชิงจิตวิทยา ซึ่งก็ปฏิบัติการดังกล่าวทำให้ชาวเวียดนามจำนวนมากเข้าสมัคร
เป็นทหารอาสาเข้าต่อสู้กับกองทัพฝรั่งเศส นอกจากนี้เวียดนามก็ยังได้รับความช่วยเหลือด้านอาวุธจากประเทศ
เพื่อนบ้านรอบๆ เช่น ไทยและฟิลิปปินส์ เวียดนามจึงสามารถทำสงครามที่ยืดเยื้อ ในทางกลับกันกัน ฝรั่งเศสก็
ประสบความศูนย์เสียจากการรบที่ยืดเยื้อ จึงเริ่มมีความคิดที่ไม่อยากครอบครองเวียดนามและถอนกำลังออกใน
ที่สุด13 และนำมาสู่เอกราชของเวียดนาม ซึ่งสมรภูมิการรบดังกล่าวก็สะท้อนถึงแสนยานุภาพและความกล้าหาญ
ของเวียดนามทั้งที่มีการพัฒนาด้านการทหารที่ด้อยกว่า และผลพวงนี้เองก็ทำให้เวียดนามเห็นถึงความสำคัญของ
การพัฒนาด้านกองทัพต่อความมั่นคงของประเทศ พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามได้เข้าควบคุมอำนาจและจัดระบบ
กองทัพให้มีเสถียรภาพ และในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 เวียดนามได้เพิ่มงบประมาณในการพัฒนาศั กยภาพของ
กองทัพเพื่อรับมือต่อภัยคุกคามความมั่นคง ทำให้ในปัจจุบัน 14 กองทัพเวียดนามนับว่ามีแสนยานุภาพและเข้มแข็ง
มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ปัจจัยที่กำหนดลักษณะการปกครองของเวียดนามเหนือภายหลังยุคอาณานิคม

ปัจจัยทางการเมือง
นับตั้งแต่ฝรั่งเศสได้เข้ามาแผ่อิทธิพลและยึดครองเวียดนาม โครงสร้างของเวียดนามได้เปลี่ยนแปลงไปตาม
ทิศทางที่ฝรั่งเศสได้วางไว้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองการปกครอง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและด้านวัฒนธรรม การ
เปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จึงนำไปสู่การลุกฮือของชาวเวียดนามที่ต้องการเรียกร้องเอกราช และเป็นการ จุดกระแส
แนวคิดชาตินิยมให้รุนแรงขึ้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าชาวเวียดนามได้รับการปลูกฝังเรื่องแนวคิดชาตินิยมมาอย่าง
ยาวนานจนกลายเป็นเหมือนลักษณะประจำชาติ เพราะเวียดนามถูกรุนรานจากประเทศมหาอำนาจตั้งแต่อดีต
จนถึงปัจจุบัน15 ซึ่งฉนวนเหตุสำคัญที่ทำให้พลังชาตินิยมก่อตัวขึ้ นอย่างเข้มแข็งในหมู่ชาวเวียดนามอีกครั้ง คือ
ประชาชนถูกเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสกดขี่ข่มเหงอย่างไม่เป็นธรรมและช่องว่างระหว่างชนชั้นที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ความคับ
แค้นใจผนวกกับความรู้สึกไม่เสมอภาคทางเชื้อชาติที่เกิดขึ้นในหมู่พลเมืองชาวเวียดนาม จึงทำให้ชาวเวียดนาม
ต้องการแสวงหาหนทางต่อสู้เพื่อขับไล่ชาวต่างชาติ 16 แนวคิดชาตินิยมจึงพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็น
พรรคคอมมิวนิสต์ที่ได้รับความนิยมจากประชาชนชาวเวียดนามจำนวนมาก
นอกจากนั้น คุณสมบัติและศักยภาพของผู้นำคอมมิวนิสต์หรือโฮจิมินท์ยังทำให้เวียดนามเหนือเปลี่ยน
ระบอบการปกครองเป็นสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์ได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากเขามีอุดมการณ์อันแน่วแน่ที่
จะพาเวียดนามไปสู่อิสรภาพและรอดพ้นจากการถูกกดขี่ 17 ซึ่งโฮจิมินท์เชื่อว่าลัทธิสัง คมนิยมและคอมมิวนิส ต์
เท่านั้นที่จะสามารถปลดปล่อยชาวเวียดนามให้เป็นอิสระได้ 18 ในที่สุด พรรคคอมมิวนิสต์เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้
เวียดนามได้รับเอกราชและเสรีภาพอย่างสมบูรณ์จากการปลุกจิตสำนึกให้คนเวียดนามต่อสู้เพื่อหลุดพ้นจากเจ้า
อาณานิคมที่ส่งผ่านบทกวี ประวัติศาสตร์ และวรรณกรรมต่างๆ ตั้งแต่ยุคจารีตประวัติศาสตร์19
ในขณะที่ฝรั่งเศสได้เข้ามารุกรานเวียดนามนั้น การเปลี่ยนแปลงทางด้านการปกครองรวมถึงระบอบ
เศรษฐกิจที่ทำให้ประเทศเวียดนามยากจนลงและด้วยแนวคิดชาตินิยมที่ฝังรากลึกมานับตั้งแต่บรรพบุรุษก็มีผลทำ
ให้ชาวเวียดนามต้องเป็นกบฏร่วมใจกันต่อต้านฝรั่งเศสหลายต่อหลายครั้ง ถึงแม้การต่อต้านฝรั่งเศสในช่วงก่อน
ค.ศ. 1920 จะไม่สำเร็จด้วยปัจจัยหลายด้าน เช่น การขาดผู้นำขบวนการ การขาดกลยุทธ์ที่เหมาะสม เป็นต้น20 แต่
ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาวเวียดนามได้เห็นตัวอย่างที่จะสร้างความหวังให้ กับประชาชนได้นั่นก็คือ การที่
ญี่ปุ่นรบชนะรัสเซีย และความสำเร็จจากการปฏิว ัติในจีนและรัส เซีย รวมถึงการที่รัสเซียให้ความสนับ สนุน
ขบวนการชาตินิย มในเวียดนามด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้ปัญญาชนเวียดนามในช่ว งเวลานั้นมีความเห็นตรงกันว่า
อุดมการณ์คอมมิวนิสต์เป็นอุดมการณ์ที่ทันสมัย ส่วนอุดมการณ์ขงจื๊อก็เริ่มที่ล้าหลังขึ้น21
นอกจากการมีจิตสำนึกในชาติที่ทำให้ประชาชนชาวเวียดนามหันมาสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์มากขึ้น
แล้ว พรรคคอมมิวนิสต์เองก็ยังได้แสวงหาแนวร่วมโดยสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นทั้งขบวนการชาตินิยมและเป็น
ขบวนการที่มุ่งจะแก้ปัญหาของชาวนาและกรรมกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ22 พรรคมีนโยบายที่จะปฏิวัติให้
ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ชาวนาที่ยากจนก็มีที่ดินทำกิน ส่วนกรรมกรก็จะไม่ได้รับการกดขี่ขูดรีดอีกต่อไป มวลชน
ชาวนาและกรรมกรจึงเป็นแรงพลังอันสำคัญของประเทศในการต่อสู้เพื่อเอกราช ประกอบกับความอ่อนแอลงของ
ฝรั่งเศสในการที่จะปราบปราม เพราะในช่วงเวลานั้นฝรั่งเศสได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองอีกประการหนึ่งด้วย
แม้ว่าพรรคคอมมิวนิสต์ในเวียดนามจะปรับกลยุทธ์ต่างๆให้มีความเหมาะสมมากขึ้น มีการผสมผสานการ
ต่อสู้ทางการเมืองและการต่อสู้ทางอาวุธได้ดีกว่าเดิม แต่พรรคก็ยังต้องต้องต่อสู้เพื่อเป้าหมายการรวมประเทศเข้า
ด้วยกันกับเวียดนามใต้ที่ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์เองไม่มีอำนาจมากเท่าในเวียดนามเหนือ เนื่องด้วยสภาพภูมิศาสตร์ที่
แตกต่างระหว่างสองภูมิภาค ภาคเหนือมีความแห้งแล้งมาก ส่วนภาคใต้มีความอุดมสมบูรณ์ ผู้คนจึงไม่ต้องต่อสู้ดิ้น
รนหนีจากความยากลำบากมากเท่าเวียดนามเหนือ23

ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ย่อมไม่ควรมองข้ามปัจจัยทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการกำหนดลักษณะการปกครอง
ของเวียดนามเหนือในยุคหลังอาณานิคม โดยภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป เจ้าอาณานิคมต้องการ
วัตถุดิบมหาศาลเพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมของยุโรป24 ระบบเศรษฐกิจของเวียดนามซึ่งเดิมเคยเป็น ระบบ
เศรษฐกิจแบบผลิตเพื่อยังชีพถูกผูกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเพื่อสอดรับกับความ
ต้องการของตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงไป 25 ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่นี้ไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้กับชาวนา ซึ่งเป็น
ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ เพราะชาวนาส่วนมากไม่ได้ถือครองที่ดิน แต่ เป็นเพียงผู้เช่าที่ดินและแรงงาน
รับจ้าง ในขณะที่ผู้ที่ได้รับประโยชน์ที่แท้จริงคือ ชาวฝรั่งเศสและชาวเวียดนามจำนวนน้อย ซึ่งมีสถานะเป็นเจ้าของ
ที่ดิน พ่อค้าและนักเดินเรือชาวจีนซึ่งเป็นคนกลางและควบคุมโรงสีข้าวที่สำคัญในเวียดนาม อีกทั้งยังมีผลประโยชน์
ร่วมกับชาวฝรั่งเศส26 ระบบเศรษฐกิจดังกล่าวส่งผลให้เจ้าที่ดินยิ่งร่ำรวย แต่ชาวเวียดนามส่วนมากกลับยิ่ง ประสบ
ความยากจน ในขณะเดียวกันระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมยังนำความเปราะบางมาสู่กลุ่มผู้ใช้แรงงานชาวเวียดนาม
ซึ่งส่องสะท้อนอย่างชัดเจนผ่านภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในทศวรรษ 1930 ตลาดสินค้าออกต้องเผชิญกับราคา
วัตถุดิบที่ตกต่ำภายใต้ตลาดโลก ไม่ว่าจะเป็นข้าว ยางพารา รวมไปถึงถ่านหิน ซึ่งมีส่วนสำคั ญอย่างยิ่งต่อระบบ
เศรษฐกิจของเวียดนาม27 กลุ่มผู้ใช้แรงงานจึงต้องประสบปัญหาการตกงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สภาวะเศรษฐกิจ
ตกต่ำดังกล่าวจึงก่อให้เกิดการจลาจลและการประท้วงตามมา ซึ่งเปรียบเสมือนชนวนที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
ทางการเมืองในเวลาต่อมา28
เศรษฐกิจแบบทุนนิยมซึ่งส่งผลให้ระบบสังคมและเศรษฐกิจของเวียดนามเปลี่ยนแปลงไปจากวิถีชีวิตเดิม
เป็นอย่างมาก ยังก่อให้เกิดอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่กำหนดให้เวียดนามเหนือมีลักษณะการปกครองแบบสังคมนิยม
คือ ปัจจัยความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซี่งเป็นผลจากการที่ฝรั่งเศสยึดเอาประโยชน์แก่ตนเป็น หลัก ไม่ได้สนใจชีวิต
ความเป็นอยู่ของชนพื้นเมืองแม้แต่น้อย เร่งการผลิตและส่งออกข้าวจำนวนมหาศาล จนกระทบต่อการบริโภค
ภายในประเทศ ข้าวและอาหารมีจำนวนไม่เพียงพอต่อการบริโภค ผู้คนจำนวนมากล้มป่วยและเสียชีวิตเนื่องจาก
สภาวะขาดสารอาหาร โดยเฉพาะในเวียดนามเหนือ เนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์น้อยกว่าเวียดนามใต้ ทำให้ผล
ผลิตการเกษตรที่ได้มีจำนวนน้อยกว่า มิหนำซ้ำยังต้องส่งผลผลิตที่ได้มาให้แก่เหล่านายทุน ยิ่งทำให้ขาดแคลน
สำหรับบริโภคในครัวเรือน โดยเฉพาะช่วงสงครามที่การเพาะปลูกเป็นไปได้ยาก อีกทั้งฝรั่งเศสยังกักตุนเสบียงไว้ให้
พรรคพวกตน โดยไม่สนคนพื้นเมืองอีกด้วย29 ความไม่เท่าเทียมทางชนชั้นในสังคมที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้ชาวเวียดนามไม่
มีสิทธิ์ที่จะมีปากมีเสียงต่อรองกับฝรั่งเศสได้ แม้ว่าตนจะอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถมีข้าวปลาอาหารเพื่อประทัง
ชีวิตได้ก็ตาม ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าไม่เพียงแต่จะเกิดความยากจนเท่านั้น ทว่ายังเกิดปัญหาความอดยากขึ้นอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้หลังจากเวียดนามเหนือเปลี่ยนผ่านมาอยู่ใต้ผู้นำโฮจิมินห์ นายโฮจิมินห์ ได้เห็นถึงสภาวะย้ำแย่
จากสงครามและการอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศสที่ผ่านมา เวียดนามเหนือจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูทั้งโครงสร้าง
พื้นฐานของสังคมและระบบเศรษฐกิจเสียใหม่ โดยเฉพาะการแก้ไขความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น ในการวางรากฐานของ
เวียดนามเหนือ นายโฮจิมินห์ได้สนับสนุนระบบสังคมนิยม โดยนำเสนอว่าจะนำพวกเขาไปสู่ความเท่าเที ยม
แน่นอนว่าระบอบการปกครองแบบใหม่นี้ย่อมได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เนื่องจากชาวเวียดนามเหนือเองก็
ต้องการหลุดพ้นจากความยากแค้น การถูกเอารัดเอาเปรียบจากต่างชาติในสมัยการปกครองโดยอาณานิคมและ
สร้างความเท่าเทียมในสังคมที่ตนโหยหาได้อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นแนวคิดสังคมนิยมจึงได้รับการยอมรับอย่าง
แพร่หลาย และเป็นแนวคิดที่ฝังลึกอย่างเข้มแข็งในสังคมเวียดนามเหนือ

ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม
นอกจากปัจจัยทางการเมืองและทางเศรษฐกิจแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อลักษณะการปกครองแบบ
สังคมนิยมของเวียดนามเหนือคือ ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม กล่าวคือ การที่พรรคคอมมิวนิสต์ได้รับความนิยม
อย่างล้นหลามมีสาเหตุมาจากวิธีการชักจูงผู้คนอย่างชาญฉลาด นโยบายของพรรคที่ซื้อใจประชาชนเป็นจำนวน
มาก โดยเฉพาะนโยบายทางด้านการศึกษา ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาของ
ประชาชนชาวเวียดนามเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้องการพัฒนาบุคลากรให้กลายเป็นแรงงานที่มีคุณภาพต่อไปใน
อนาคตและสร้างความรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจแบบสังคมนิยมให้กับชาวเวียดนามรู้และเข้าใจ 30
ประกอบกับการที่หนึ่งในปัญหาหลักของเวียดนามในยุคอาณานิคมคือ การไม่รู้หนังสือของประชาชน โดยมีสาเหตุ
มาจากการการปิดกั้นความรู้ของอาณานิคมต่อชาวเวียดนาม รัฐบาลอาณานิคมได้ทำการจำกัดการศึกษา ส่งผลให้มี
โรงเรียนจำนวนมากถูกปิดตัวลง และถึงแม้ในภายหลังจะมีการตั้งโรงเรียนขึ้น แต่การสมัครเข้าเรียนยังคงอยู่ใน
อัตราที่ต่ำและเป็นการศึกษาคุณภาพต่ำ 31 เยาวชนเวียดนามจำนวนมากที่ เติบโตภายใต้การปกครองของระบอบ
อาณานิคมอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ นำไปสู่การถูกชักจูงด้วยนโยบายต่างๆของพรรคคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะการ
ส่งเสริมการศึกษาเนื่องจากชาวเวียดนามจำนวนมากมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว 32 และมีการเรียกร้อง
การพัฒนาการศึกษาอยู่บ่อยครั้ งในช่วงอาณานิคม33 และนอกจากนโยบายด้านการศึกษาแล้ว นโยบายทางด้าน
วัฒ นธรรมอื่น ๆ อย่างวรรณคดีและศิล ปะก็เป็นสิ่งดึงดูดใจประชาชนชาวเวียดนามให้หันมาสนับสนุนพรรค
คอมมิวนิสต์ เช่น การฟื้นฟูเพลงพื้นบ้าน หรือที่เรียกกันว่า กา เยิ่ม (Ca Ngam) การแสดงพื้นบ้าน หรือการ
สนับสนุนกวีนิพนธ์ วรรณกรรมเวียดนามต่างๆทั้งของรุ่นเก่าและรุ่นใหม่34 ซึ่งในยุคอาณานิคมนั้น ฝรั่งเศสจำกัดการ
แสดงออกทางศิลปะเป็นอย่างมาก 35 โดยเฉพาะวัฒนธรรม ประเพณี ประวัติศาสตร์ของเวียดนามและแทนที่ด้วย
ความเป็นฝรั่งเศสแทน อย่างการสอนว่าบรรพบุรุษของเวียดนามคือชาวกอล (Gauls)36 หรือการเปลี่ยนจากการใช้
อักษรภาพแบบจีนโบราณมาเป็นตัวอักษรก๊วกงื้อ (Quoc Ngu)37 ประกอบกับช่วงสงครามที่การสร้างสรรค์ศิลปะ
ชะงักไป38 ทำให้ประชาชนต้องการความเป็นเวียดนามของตัวเองกลับคืนมา นำไปสู่การให้ความสนับสนุนแก่พรรค
คอมมิวนิสต์ที่ให้ความสำคัญกับเสรีภาพในการแสดงออกทางศิลปะ รวมไปถึงเอกลักษณ์ความเป็นเวียดนามผ่าน
ประเพณี วัฒนธรรมต่างๆที่ห่างหายไปในช่วงอาณานิคม

สรุป
การเข้ามาของระบอบอาณานิคมนำมาซึ่งการเกิดขึ้นของขบวนการชาตินิยม อันเป็นผลจากการถูกกดขี่
และการเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าอาณานิคม รวมไปถึงการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์จนเป็นที่นิยมในหมู่ชาว
เวียดนาม โดยเฉพาะกลุ่มปัญญาชน กลุ่มชาวนา และกลุ่มกรรมกร ยิ่งไปกว่านั้นยังเกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบ
เศรษฐกิจให้กลายเป็นเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ซึ่งผูกขาดประโยชน์เพียงแค่เจ้าอาณานิคมและชนชั้นสูงชาวเวียดนาม
เพียงหยิบมือ จนนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำภายในสังคมที่ยิ่งสูงขึ้นอย่างชัดเจน ในขณะเดียวกันระบอบอาณานิคมยัง
ทำให้ชาวเวียดนามส่วนมากไม่ได้รับการศึกษาและถูกจำกัดการแสดงออกทางศิลปะและวัฒนธรรมแบบเวียดนาม
ทำให้พรรคคอมมิวนิส ต์ได้รับความนิยมสูงขึ้นเมื่อทางพรรคออกนโยบายส่งเสริมการศึกษาและฟื้นฟูวัฒนธรรม
เวียดนามดั้งเดิม ซึ่งในท้ายที่สุดปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีส่วนสำคัญต่อการกำหนดลักษณะการปกครองของเวียดนาม
เหนือภายหลังได้รับเอกราช โดยเวียดนามเหนือได้กลายเป็นระบอบสังคมนิยมโดยพรรคคอมมิวนิ สต์จากความ
พยายามต้องการให้สังคมเกิดความเท่าเทียม อีกทั้งยังส่งผลให้กองทัพทางการทหารของเวียดนามแข็งแกร่งมา
จนถึงปัจจุบัน อันเป็นผลมาจากระบอบอาณานิคมที่ถึงแม้ว่าสงครามเพื่อกอบกู้เอกราชจะจบลง แต่ถึงกระนั้น
ความรู้สึกไม่ปลอดภัยจากภัยคุกคามได้ฝังรากลึกสู่เวียดนามเสมอมา

1 สุภัตรา แซ่ลิ้ม. (2557). รัฐบุรุษสร้างชาติ ทรราชสร้างแผ่นดิน. หน้า 244-257.


2 สุด จอนเจดสิน. (2544). ประวัติศาสตร์เวียดนาม ตั้งแต่สมัยอาณานิคมฝรั่งเศสจนถึงปัจจุบัน. หน้า 26-34.
3 สุนันทา สิงห์เทพ. (2547). พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามกับการสร้างเวียดนามเหนือให้เป็นรัฐสังคมนิยม ค.ศ. 1954-1975. (สารนิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร). หน้า 25.
4 ฮวง วันจี่. (2507). จากระบอบอาณานิคมสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ ประวัติศาสตร์อันเป็นที่มาของเวียดนามเหนือ. หน้า 145.

5 เรื่องเดียวกัน, หน้า 146.

6 เรื่องเดียวกัน, หน้า 147.

7 เรื่องเดียวกัน, หน้า 160.

8 เรื่องเดียวกัน, หน้า 163.

9 เรื่องเดียวกัน, หน้า 164.

10 เรื่องเดียวกัน, หน้า 166.

11 Trung Dang. (2018). Vietnam’s Post-1975 AGRARIAN REFORMS. [online]. Retrieved from

https://library.oapen.org/bitstream/handle/20.500.12657/29958/651191.pdf?sequence=1&isAllowed=y. (search date : 2565,


25 August).
12 ฮวง วันจี่. (2507). จากระบอบอาณานิคมสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ ประวัติศาสตร์อันเป็นที่มาของเวียดนามเหนือ. หน้า 175.

13 นิโรจน์ ธรรมยศ. (2561). สงครามเวียดนาม. หน้า 21-37.

14 สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี. (2564). บทบาททางการเมืองของกองทัพประชาชนเวียดนาม: ข้อโต้แย้งว่าด้วยพลเรือนเป็นใหญ่.

[ออนไลน์]. เข้าได้ถึงจาก : https://www.the101.world/vietnam-peoples-army/. (วันที่คน้ ข้อมูล : 2565, 29 สิงหาคม).


15 สุนันทา สิงห์เทพ. (2547). พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามกับการสร้างเวียดนามเหนือให้เป็นรัฐสังคมนิยม ค.ศ. 1954-1975. (สาร

นิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร). หน้า 100.


16 ฮวง วันจี่. (2507). จากระบอบอาณานิคมสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ ประวัติศาสตร์อันเป็นที่มาของเวียดนามเหนือ. หน้า 64.

17 เรื่องเดียวกัน, หน้า 70.

18 เรื่องเดียวกัน, หน้า 82.

19 สุนันทา สิงห์เทพ. (2547). พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามกับการสร้างเวียดนามเหนือให้เป็นรัฐสังคมนิยม ค.ศ. 1954-1975. (สาร

นิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร). หน้า 6.


20 เรื่องเดียวกัน, หน้า 10.

21 เรื่องเดียวกัน, หน้า 14.

22 เรื่องเดียวกัน, หน้า 88.

23 เรื่องเดียวกัน, หน้า 95.

24 มิลตัน, ออสบอร์น. (2544). เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สังเขปประวัติศาสตร์. แปลโดย มัทนา เกษกมล, พรรณงาม เง่าธรรมสาร และ

ธนาลัย (สุขพัฒน์ธี) ลิมปรัตนคีรี. หน้า 117.


25 สุนันทา สิงห์เทพ. (2547). พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามกับการสร้างเวียดนามเหนือให้เป็นรัฐสังคมนิยม ค.ศ. 1954-1975. (สาร

นิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร). หน้า 9.


26 มิลตัน, ออสบอร์น. (2544). เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สังเขปประวัติศาสตร์. แปลโดย มัทนา เกษกมล, พรรณงาม เง่าธรรมสาร และ

ธนาลัย (สุขพัฒน์ธี) ลิมปรัตนคีรี. หน้า 125.


27 เหวียน คักเวียน. (2552). เวียดนาม ประวัติศาสตร์ฉบับพิศดาร แปลจาก Vietnam : A Long History. แปลโดย เพ็ชรี สุมิตร. หน้า

216-217.
28 มิลตัน, ออสบอร์น. (2544). เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สังเขปประวัติศาสตร์. แปลโดย มัทนา เกษกมล, พรรณงาม เง่าธรรมสาร และ

ธนาลัย (สุขพัฒน์ธี) ลิมปรัตนคีรี. หน้า 125.


29 พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล. (2565). ทุพภิกขภัยในเวียดนามปี 1945 ภาวะอดอยากครั้งรุนแรง ต้องกินรากไม้ประทังชีวิต. [ออนไลน์]. เข้าถึง

ได้จาก : https://www.silpa-mag.com/history/article_72078. (วันที่คน้ ข้อมูล : 2565, 22 สิงหาคม).


30 สุนันทา สิงห์เทพ. (2547). พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามกับการสร้างเวียดนามเหนือให้เป็นรัฐสังคมนิยม ค.ศ. 1954-1975. (สาร
นิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร). หน้า 84.
31 เหวียน คักเวียน. (2552). เวียดนาม ประวัติศาสตร์ฉบับพิศดาร แปลจาก Vietnam : A Long History. แปลโดย เพ็ชรี สุมิตร. หน้า

172-173.
32 สุนันทา สิงห์เทพ. (2547). พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามกับการสร้างเวียดนามเหนือให้เป็นรัฐสังคมนิยม ค.ศ. 1954-1975. (สาร

นิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร). หน้า 84.


33 เหวียน คักเวียน. (2552). เวียดนาม ประวัติศาสตร์ฉบับพิศดาร แปลจาก Vietnam : A Long History. แปลโดย เพ็ชรี สุมิตร. หน้า

173.
34 สุนันทา สิงห์เทพ. (2547). พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามกับการสร้างเวียดนามเหนือให้เป็นรัฐสังคมนิยม ค.ศ. 1954-1975. (สาร

นิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร). หน้า 51.


35 เรื่องเดียวกัน, หน้า 50.

36 เหวียน คักเวียน. (2552). เวียดนาม ประวัติศาสตร์ฉบับพิศดาร แปลจาก Vietnam : A Long History. แปลโดย เพ็ชรี สุมิตร. หน้า

172.
37 เรื่องเดียวกัน, หน้า 173-74.

38 สุนันทา สิงห์เทพ. (2547). พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามกับการสร้างเวียดนามเหนือให้เป็นรัฐสังคมนิยม ค.ศ. 1954-1975. (สาร

นิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร). หน้า 50.

You might also like