You are on page 1of 17

เรื่ อง อารยธรรมโรมัน

จัดทาโดย

2210411101145 นายจิรกฤต นิธมิ งคลทรัพย์

2210411101156 นางสาวฟารีดา ดือรามัด

2210411101163 นางสาวกนกรักษ์ มนะวณิช

เสนอ

อาจารย์ อะมะลัน ค้าสุวรรณ

รายงานนี้เป็ นส่ วนหนึ่งของรายวิชา

อารยธรรมวิวัฒน์ (Ho117)

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ภาคเรียนที่1 ปี การศึกษา2566
อารยธรรมโรมัน

เป็ นอารยธรรมที่สืบเนื่องมาจากอารยธรรมกรีก โดยชาวอิทรัสกัน (Etruscan) ซึ่งมีถิ่นเดิมอยู่ใน


เอเชียไมเนอร์อพยพเข้ าในแหลมอิตาลี นาเอาความเชื่อและศิลปวัฒนธรรมของกรีกเข้ ามาด้ วย
ต่อมาบรรพบุรุษของชาวโรมันคือ ละติน ซึ่งมีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางตอนใต้ ของแม่น ้าไทเบอร์ ได้ ขับ
ไล่กษัตริย์อิทรัสกันออกไป ชาวละตินรวมตัวและชุมนุมกันบริเวณที่เรียกว่า ฟอรัม (Forum) ซึ่ง
ถือเป็ นศูนย์กลางของเมืองและเป็ นจุดเริ่มต้ นของกรุงโรมในเวลาต่อมา ชาวโรมันจึงรับเอาอารย
ธ ร ร ม ข อ ง ช า ว ก รี ก จ า ก ช า ว อิ ท รั ส กั น ม า เ ป็ น ต้ น แ บ บ อ า ร ย ธ ร ร ม ข อ ง ต น ด้ ว ย

ลักษณะทางภูมิศาสตร์
โรมันได้ เปรียบกว่ากรีกหลายประการ คือ มีที่ราบอันกว้ างใหญ่และอุดมสมบูรณ์เพาะปลูกได้
เต็มที่ หุบเขาใกล้เคียงมีป่าไม้ และเหมาะแก่การเลี ้ยงสัตว์ ที่ตงของกรุ
ั้ งโรมอยู่ห่างจากทะเล 15
ไมล์ เหมาะกับการทาการค้ าทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน กรุงโรมตังอยู ้ ่ในทาเลที่ความเหมาะสม
ทางยุทธศาสตร์ คือ สามารถใช้ แม่น ้าเป็ นเส้ นทางคมนาคม มีภูเขาและหนองน ้ากีดขวางผู้บุกรุก
ประมาณ 100 ปี ก่อนคริสตกาล โรมันได้ รวบรวมดินแดนโดยรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไว้ ใน
อานาจ ปัจจัยที่สนับสนุนการแพร่อานาจของอาณาจักรโรมันคือ การสร้ างถนนที่มนั่ คงถาวรไป
ยังดินแดนที่ยึดครอง ทาให้เกิดความคล่องตัว การขยายกองทัพและการคมนาคมขนส่ง การ
สร้ างถนนจึงเป็ นปัจจัยสาคัญในการขยายอานาจและสร้ างความมัน่ คงให้ กบั จักรวรรดิโรมัน
ประวัติศาสตร์ และอารยธรรมโรมัน

อิทธิพลที่ส่งต่ อมาสู่การก่ อกาเนิดอารยธรรม


โรมก่อตัวจากหมู่บ้านทางภาคกลางของอิตาลี อุปนิสยั ของโรมันคือ ความเคร่งขรึมและ
สร้ างสรรค์สิ่งต่าง ๆ อย่างช้ า ๆ แต่มนั่ คง ความสามารถทางทหารของโรมันอยู่ที่ความอดทน
มากกว่ายุทธวิธีที่ฉลาดปราดเปรื่อง
ระยะแรกสาหรับประวัติศาสตร์โรมนันค่ ้ อนข้ างมืดมน ราว 750 ปี ก่อน ค.ศ. มีผ้ อู พยพมาตัง้ ถิ่น
ฐานแถบภูเขาพาเลนไตน์ใกล้ แม่น ้าไทเบอร์ ต่อมาประมาณ 600 ปี ก่อน ค.ศ. บรรดาผู้อพยพ
ต่างรวมตัวกันตังนครรั
้ ฐแห่งโรมขึ ้น ทาเลของนครรัฐตังอยู ้ ่ในที่ซึ่งเหมาะสม เหมาะสาหรับความ
เจริญของโรมในอนาคตทางเหนือของโรมติดต่อกัยดินแกนที่เรียกว่า อีทรูเรี ย คือ ทัสคานี
ปัจจุบนั อีทรูเนียเป็ นที่อยู่อาศัยของพวกที่มีอารยธรรมสูงเรียกว่า อีทรัสกัน ซึง่ เป็ นพวกที่วางรูป
วัฒนธรรมของชาวโรมันแต่เริ่มแรก
- เผ่าพันธุ์ที่มีอานาจเหนือดินแดน ชาวอีทรัสกันเป็นพวกที่รับอารยธรรมกรีกมาผสมผสานกับ
อารยธรรมของตนและส่งต่อให้ กบั โรม การปกครองของโรมในระยะแรกอยู่ภายใต้การปกครอง
ของกษัตริย์ที่มีพื ้นเพเป็ นอิทรัสกัน ความเป็ นผู้นาที่มคี วามสามารถและมุ่งต่อการรุกราน ทาให้
ชาวโรมันเป็ นชาติที่ทรงอานาจเหนือชนชาติอื่น ๆ ในละตินอุมชุมชนโรมันเจริญทังก ้ าลังและ
ความมัง่ คัง่ และแล้ วก็ได้ มีการสร้ างวิหารใหญ่โตตามแบบสถาปัตยกรรมของอีทรัสคันขึ ้นบน
ภูเขาแห่งหนึง่ สาหรับเทพเจ้ าจูปีเตอร์ของชาวโรมัน
ในราว 509 ก่อน ค.ศ. ขุนนางโรมันประสบความสาเร็จในการล้ มกษัตริย์อีทรัสกัน และ
เปลี่ยนแปลงระบอบกษัตริย์มาเป็ นสาธารณรัฐปกครองโดยชนชันขุ ้ นนาง มีประมุข 2 คน แทนที่
กษัตริย์เรียกว่ากงสุลสภาขุนนาง (สภาเชเนท) เลือกตังกงสุ ้ ลเป็ นประจาทุกปี กงสุลปกครองโดย
มีสภาขุนนางเป็ นที่ปรึกษาการปกครองนัน้ แม้ จะปกครองในนามชาวโรมันแต่เป็ นไปเพื่อ
ประโยชน์ของชนชันสู ้ ง คือ แพทริเชียน ส่วนชนชันต ้ ่าหรือเพลเบียนนัน้ เกือบไม่มีสิทธิทาง
การเมืองเลย การแต่งงานระหว่าง เพลเบียนกับแพทริเชียนยังเป็ นสิ่งต้ องห้ ามอย่างเด็ดขาดใน
ระยะแรกๆ
พวกเพลเบียนค่อย ๆ ยกฐานะของตน เพื่อเข้ ามามีส่วนร่วมในการปกครอง ในชันแรกพวกนี ้ ้
รวมกลุ่มกันจัดตังสภาที
้ ่ปรึกษา ซึ่งต่อมากลายเป็นองค์กรสาคัญทางการเมืองทีเ่ รียกว่าสภา
ของเผ่า พวกเพลเบียนเลือกตัวแทนของตนเรียกว่า ทรีบูน ให้ เป็ นปากเสียงและเป็ นตัวแทน
ผลประโยชน์ของตนในรัฐบาลซึ่งคุมโดยแพทริเชียน ทรีบูนเป็ นพวกที่ปกป้องผลประโยชน์ของ
ประชาชน
เมื่อประมาณ 450 ก่อน ค.ศ. ได้ มีการนากฎหมายที่สืบทอดกันมาตามประเพณีมาเขียนเป็ น
ลายลักษณ์อกั ษร คือ กฎหมายสิบสองโต๊ ะ

กฎหมายสิบสองโต๊ ะ

กฎหมายนี ้ช่วยพิทกั ษ์บรรดาเพลเบียนให้ พ้นจากอานาจตามอาเภอใจของกงสุลที่มา


จากชนชันแพทริ
้ เชียน กฎหมายสิบสองโต๊ ะนี ้นับว่ามีความสาคัญมากต่อพัฒนาการทาง
กฎหมายรัฐธรรมนูญของโรมัน
การพิทกั ษ์ทางกฎหมาย ทาให้ เพลเบียนสามารถจัดการกับเรื่องการจัดสรรที่ดินให้ พวกตนได้รับ
การแบ่งปันบ้ าง สภาของเป่ าของพวกเพลเบียนได้ รับอานาจในการริเริ่มร่างกฎหมายและมี
บทบาทในการปกครองโรมัน ช่วงนี ้การแต่งงานกลายเป็ นสิ่งไม่ต้องห้ าม ต่อมามีกฎหมายที่
รองรับให้ เพลเบียนมีบทบาทในการปกครองมากขึ ้น มาตรการเหล่านี ้นาไปสู่การเปลี่ยนแปลง
โรมไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ซึง่ สาเร็จบริบูรณ์ในปี 287 ก่อน ค.ศ.
การแผ่อานาจของโรมนัน้ มีทงการเป็
ั้ นพันธมิตรและการทาสงครามกับพวกทีเ่ ป็ นศัตรู
อาณาจักรของโรมขยายตัวไปเรื่อย ๆ แต่ชาวโรมันมักจะใจกว้ างต่อบรรดาชาติอิตาลีที่ตนเข้ า
ปกครอง โดยยอมให้ มีการปกครองตนเองมากพอสมควร จึงมักประสบความสาเร็จในการรักษา
ความสวามิภกั ดิ์ไว้ ได้ ในเวลาต่อมาเมื่อพิสจู น์ว่าคนในปกครองจงรักภักดีก็จะยอมให้ เป็ น
พลเมืองโรมัน ด้ วยวิธีการนี ้โรมจึงสามารถสร้ างจักรวรรดิที่มีอายุยืนยาวกว่าจักรวรรดิเอเธนส์
ของเพริเคลส เมื่อประมาณ 265 ก่อน ค.ศ. โรมอยู่ในฐานะที่ทดั เทียมกับคาร์เธจและนครรัฐ
ทายาทของกรีก คือ เป็ นหนึง่ ในมหาอานาจของทะเล เมดิเตอเรเนียน

การขยายอานาจของจักวรรดิโรมัน
ชาวโรมันโบราณที่อพยพเข้ ามาอยู่ในแหลมอิตาลีประกอบด้ วยเผ่าที่สาคัญ 2 เผ่า คือ
พวกละติน ซึ่งอพยพมาจากทางตอน เหนือ เข้ ามาตังถิ ้ ่นฐานอยู่ในเขตทีร่ าบตะวันตก และตาม
แนวแม่น ้าไทเบอร์ (Tiber River) จากนันได้
้ สร้ างเมืองต่างๆ ขึ ้นรวมทัง้ กรุงโรม อีกเผ่าหนึ่งคือ
พวกอีทรัสคัน (Etruscans) ซึ่งอพยพมาจากเอเชียไมเนอร์เมื่อประมาณ 900 ปี ก่อน
คริสต์ศกั ราช พวก อีทรัสคันได้ ขยายอาณาเขตรุกรานดินแดนของพวกละติน และสถาปนา
กษัตริย์ปกครองแหลมอิตาลีเมื่อประมาณ 600 ปี ก่อน คริสต์ศกั ราช หลังจากขยายอานาจ
ปกครองได้ ประมาณ 100 ปี พวกอีทรัสคันก็สญ ู เสียอานาจ และผสมกลมกลืนกับพวกละติน จน
กลายเป็ นชาวโรมันในเวลาต่อมา ความเจริญรุ่งเรืองที่พวกอีทรัสคันสร้ างไว้ ให้ แก่อารยธรรม
โรมันคือ การนาตัวอักษรกรีก เข้ ามาใช้ ในแหลมอิตาลี ซึ่งต่อมาได้ พฒ
ั นาเป็ นอักษรโรมัน

พัฒนาการของสาธารณรัฐในโรมัน
ชาวโรมันได้ สถาปนาสาธารณรัญโรมันขึ ้นหลังจากอีทรัสคันเสื่อมสลายไป จากนันได้ ้
ขยายอานาจทัว่ แหลมอิตาลีและในดินแดนรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ระหว่างปี 264-146
ก่อนคริสต์ศกั ราช โรมันได้ ทา สงครามพูนิก (Punic War) กับคาร์เทจ (Carthage) ถึง 3 ครัง้ คาร์
เทจเป็ นนครริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนเหนือของทวีป แอฟริกาในเขตประเทศตูนิเชีย
ปัจจุบนั ในอดีตเป็ นอาณานิคมที่ชาวฟิ นเิ ซียนสร้ างขึ ้นเพื่อเป็ นศูนย์กลางการค้ าในเขตทะเล
เมดิเตอร์เรเนียน ต่อมาได้ เจริญเติบโตและมัง่ คัง่ พร้ อมทังมี้ อาณานิคมของตนหลายแห่ง เมื่อ
โรมันขยายอานาจลงมาทางใต้ ของ แหลมอิตาลีได้ เกิดขัดแย้ งกับคาร์เทจ ซึ่งมีอาณานิคมอยู่ไม่
ไกลจากแหลมอิตาลีมากนัก คาร์เทจพ่ายแพ้ แก่โรมันในสงครามพูนิก ทัง้ 3 ครัง้ ทาให้ โรมันมี
อานาจเหนือดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้ านตะวันตก รวมทังสเปน ้ ซึ่ งอุดมด้ วยเหมือง
ทองและเงิน
นอกจากนี ้แล้ ว ชาวโรมันยังเอาชนะอาณาจักรซิโดเนียซึง่ เป็ นพันธมิตรของคาร์เทจได้
เมื่อปี 147 ก่อนคริสต์ศกั ราช ดังนัน้ นครรัฐกรีกทังปวง
้ ตลอดจนดินแดนในเขจเอเชียไมเนอร์ซึ่ง
เป็ นอดีตอาณานิคมของมาซิโดเนียจึงอยู่ภายในอานาจของโรมันด้ วย
การสถาปนาจักรวรรดิโรมัน การทาสงครามขยายอานาจครอบครองดินแดนต่างๆ ทา
ให้ เกิดผู้นาทางการทหารซึ่งได้ รับ ความจงรักภักดีจากทหารของตน เกิดการแก่งแย่งอานาจกัน
ระหว่างกลุ่มผู้นากองทัพกับสมาชิกสภาซีเนตซึง่ คุมอานาจปกครอง อยู่เดิม

มรดกของอารยธรรมโรมัน
ชาวโรมันนันได้
้ ใช้ เวลานานกว่า 600 ปี ในการผสมผสานและหล่อหลอมอารยธรรมของ
ตน ซึ่งได้ เผยแพร่ไปทัว่ จักรวรรดิ โรมันที่กว้ างใหญ่ ความโดเด่นของอารยธรรมโรมันเกิดจาก
รากฐานที่แข็งแรง ซึ่งได้ รับจากอารยธรรมกรีกและอารยธรรมของดิน แดนรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์
เรเนียนผสานกับความเจริญก้ าวหน้ าทีเ่ ป็ นภูมิปัญญาของชาวโรมันเองที่พยายามคิดค้ นและ
สร้ างระบบ ต่างๆ เพื่อดารงความยิง่ ใหญ่ของจักรวรรดิโรมันไว้ ทาให้ จกั รวรรดิโรมัน
เจริญก้ าวหน้ า ทังด้
้ านการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม

ด้ านการปกครอง
อารยธรรมด้ านการปกครองเป็ นภูมิปัญญาของชาวโรมันทีพั่ ้ ฒนาระบอบการปกครองของ
ตนขึ ้นเป็ น ระบอบสาธารณรัฐและจักรวรรดิ เพือ่ สร้ างความแข็งแกร่งให้กบั จักรวรรดิโรมัน
จุดเด่นของการปกครองแบบโรมัน คือการให้ พลเมืองมีส่วนร่วมในการบริ หารราชการส่วนกลาง
และการปกครองโดยใช้ หลักกฎหมาย
การปกครองส่ วนกลาง
พลเมืองโรมันแต่ล่ะกลุ่ม ทังชนชั
้ นสู ้ ง สามัญชน และทหาร ต่างมีโอกาสเลือกผู้แทนของตน
เข้ าไปบริหารประเทศรวม 3 สภา คือ สภาซีเนต (Senate) ซึ่งเป็ นตัวแทนของกลุ่มแพทริเซียน
(Patricians) หรือชนชันสู ้ ง สภากอง ร้ อย (Assembly of Centuries) ซึ่งเป็ นตัวแทนของกลุ่ม
ทหารเหล่าต่างๆ และราษฎร (Assembly of Tribes) ซึ่งเป็ นตัวแทนของพวก พลีเบียน (Ple-
beians) หรือสามัญชนเผ่าต่างๆ รวม 35 เผ่า แต่ละสภามีหน้ าที่และอานาจแตกต่างกัน รวมทัง้
การคัดเลือกเจ้ าหน้ าที่ ไปบริหารงานส่วนต่างๆ แต่โดยรวมแล้ วสภาซีเนตมีอานาจสูงสุด เพราะ
ได้ ควบคุมการปกครองทังด้ ้ านบริหาร นิติบญั ญัติ และ ตุลาการ ตลอดจนกาหนดนโยบาย
ต่างประเทศด้ วย

ด้ านเศรษฐกิจ
จักรวรรดิโรมันมีนโยบายส่งเสริมการผลิตทางด้ านเกษตรกรรมและด้ านอุตสากหรรมรวมทัง้
การค้ ากับดินแดนภายในและภายนอกจักรวรรดิ

ด้ านเกษตรกรรม
เดิมชาวโรมันในแหลมอิตาลีประกอบเกษตรกรรมเป็ นหลัก และพึ่งพิงการผลิตภายใน
ดินแดนของตน ต่อมาเมื่อจักรวรรดิโรมันขยายอานาจออกไปครอบครองดินแดนอื่นๆ การ
เพาะปลูกพืชและข้ าวในแหลมอิตาลีเริ่มลดลง เนื่องจากรัฐส่งเสริมให้ ดินแดนอื่นๆ นอกแหลม
อิตาลีปลูกข้ าว โดยวิธีการปฏิรูปที่ดิน ดินแดนที่ปลูกข้ าวส่วนใหญ่อยู่ในแคว้ น กอล (Gaull) เขต
ประเทศฝรัง่ เศสปัจจุบนั และตอนเหนือของแอฟริกา ส่วนพื ้นที่การเกษตรในแหลมอิตาลีส่วน
ใหญ่เปลี่ยนไปทาไร่องุ่นและเลี ้ยงสัตว์

ด้ านการค้ า
ในจักรวรรดิโรมันมีความรุ่งเรืองมากมีทงการค้
ั้ ากับดินแดนภายในและนอกจักรวรรดิ
ปัจจัยสาคัญที่ทาให้การ ค้ าเจริญรุ่งเรือง ได้ แก่ ขนาดของดินแดนที่กว้ างใหญ่และจานวน
ประชากร ซึ่งเป็ นตลาดขนาดใหญ่สามารถรองรับสินค้าต่างๆได้ มาก นอกจากนี ้การจัดเก็บภาษี
การค้ าก็อยู่ในอัตราต่าและยังมีการใช้ เงินสกุลเดียวกันทัว่ จักรวรรดิ ประกอบกับภายในจักวรรดิ
โรมันมีระบบคมนาคมขนส่งทางบก คือ ถนนและสะพานที่ติดต่อเชื่อมโยงกับดินแดนต่างๆ ได้
สะดวก ทาให้ การติดต่อค้ าขาย สะดวกรวดเร็ว การค้ ากับดินแดนนอกจักรวรรดิโรมันที่สาคัญ
ได้ แก่ ทวีปเอเชีย โดยเฉพาะการค้ ากับอินเดียซึ่งส่งสินค้ าประเภท เครื่องเทศ ผ้ าฝ้าย และสินค้ า
ฟุ่มเฟื อยต่างๆ สาหรับชนชันสู
้ งเข้ ามาจาหน่าย โดยมีกรุงโรมและนครอะเล็กซานเดรียในอียิปต์
เป็ นศูนย์กลางการค้ าที่สาคัญ

ด้ านอุตสาหกรรม
มีความรุ่งเรืองทางกาค้ าของจักรวรรดิโรมันส่งเสริมให้ มีการผลิตสินค้ าอุตสาหกรรมอย่าง
กว้ างขวาง ดินแดนที่มีการประกอบอุตสาหกรรมที่สาคัญได้ แก่ แหลมอิตาลี สเปน และแคว้ น
กอล ซึ่งผลิตสินค้ าประเภทเครื่องปัน้ ดินเผา และสิ่งทอ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมในเขต
จักรวรรดิโรมันส่วนใหญ่เป็ นอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ใช้ แรงงานคนเป็ นหลัก

ด้ านสังคม
จักรวรรดิโรมันมีความเจริญในด้ านสังคมมากทีส่ าคัญได้ แก่ ภาษา การศึกษา
วรรณกรรม การก่อสร้ าง และ สถาปัตยกรรม วิทยาการต่างๆ และวิถีดารงชีวิตของชาวโรมัน

ภาษาละติน
ชาวโรมันได้ พฒ
ั นาภาษาละตินจากตัวพยัญชนะในภาษากรีกที่พวกอีทรัสคันนามาใช้ ใน
แหลมอิตาลี ภาษา ละตินมีพยัญชนะ 23 ตัว ใช้ กันแพร่หลายในมหาวิทยาลัยของยุโรปสมัย
กลาง และเป็ นภาษาทางราชการของศาสนาคริสต์นิกาย โรมันคาทอลิกมาจนถึงศตวรรษ 1960
นอกจากนี ้ภาษาละตินยังเป็ นภาษากฎหมายของประเทศในยุโรปตะวันตกนานหลายร้ อยปี
และเป็ นรากของภาษาในยุโรป ได้ แก่ ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส และโรมาเนีย
ภาษาละตินยังถูกนาไปใช้เป็ นชื่อทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับภาษากรีกด้ วย

การศึกษา
โรมันส่งเสริมการศึกษาแก่ประชาชนของตนทัว่ จักวรรดิในระดับประถมและมัธยม โดยรัฐ
ให้ เยาวชนทังชาย
้ และหญิงที่มีอายุ 7 ปี เข้ าศึกษาในโรงเรียนประถมโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน
ส่วนการศึกษาระดับมัธยมเริ่มเมื่ออายุ 13 ปี วิชาที่ เยาวชนโรมันต้ องศึกษาในระดับพื ้นฐาน
ได้ แก่ ภาษาละติน เลขคณิต และดนตรี ผู้ที่ต้องการศึกษาวิทยาการเฉพาะด้ าน ต้ องเดิน ทางไป
ศึกษาตามเมืองที่เปิ ดสอนวิชานันๆ ้ โดยเฉพาะ เช่น กรุงเอเธนส์สอนวิชาปรัชญา นครอะเล็กซาน
เดรียสอนวิชาการแพทย์ ส่วนกรุงโรมเปิ ดสอนวิชากฎหมาย คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์
ลาดับเหตุการณ์ พัฒนาการของอารยธรรม
โรมันเป็ นพวก อินโดยูโรเปี ยน ย้ ายเข้ ามาอยู่ใน แหลมอิตาลี กลุ่มที่อพยพเข้ ามา เรียก
รวมๆว่า อิตาลิก ( Italic) แต่กลุ่มคนที่สาคัญส่วนใหญ่คือ พวกลาติน ซึ่งเอาชนะชาวพื ้นเมือง
อีทรัสกัส และสร้ างอาณาจักรโรมขึ ้นมา รวมทังกรุ ้ งโรมด้ วย
2. ชาวโรมันมีนิสยั เด่น คือ ชอบทาการรบ และการปกครอง เป็ นพวกมีวินยั เป็ นนักคิด นัก
ปฏิบตั ิ
3. การปกครองของโรมันแบ่งออกเป็ น 2 ยุค ได้ แก่
3.1 โรมันในสมัยสาธารณรัฐ
• มีผ้ นู าคนสาคัญ คือ จูเลียส ซีซ่า ( Julius Caesar) มีความสามารถด้ านการรบมากสามารถ
แผ่ขยายอณาเขต รบชนะ กรีก อียิปต์ เอเชียไมเนอร์ แอฟริกา และ เสปน ได้ หมด
3.2 โรมันในสมัย จักรวรรดิ
• เริ่มต้ นขึ ้นเมื่อตอนที่ออคตาเวียน ขึ ้นปกครองโรม จึงเปลี่ยนการปกครองเป็ นระบอบกษัตริย์
และสถาปนาตนเองเป็ นกษัตริย์ ชื่อว่า ออกุสตุส ซีซ่าร์
• สมัยออตเตเวียนและจักรพรรดิ์ต่อมาอีก 4 พระองค์ โรมันเจริญสูงสุดและได้ ชื่อว่าเป็ นสมัย
แห่ง “ สันติภาพโรมัน ”
• หลังจากนันโรมั ้ นก็ถกู ชนเยอรมันเผ่า ก๊ อด ( Goth) มารุกราน จักรพรรดิ์คอนสแตนติน จึงต้ อง
แยก โรมันออกเป็ น 2 ส่วน
( Goth เป็ นชื่อเรียกชนเผ่าหนึ่งทีเ่ อยู่ตอนเหนือของยุโรป แบ่งเป็ น 2 เผ่า คือ
1. VisiGoth ตะวันตก (อยู่ในแถบฟิ นแลนด์และ สวีเดน)
2. Ostrogoths ตะวันออก (เยอร์มนั /โปแลนด์) )
• ฝั่งตะวันตก มีศนู ย์กลางอยู่ที่ กรุงโรม
• ฝั่งตะวันออก มีศนู ย์กลางอยู่ที่ กรุงคอนสแตนติโนเปิ ล ( เดิมชื่อ ไบแซนไทน์ ปัจจุบนั คือ อิส
ตันบลู ของตุรกี )
ค.ศ. 476 กรุงโรมได้ สลายลง เพราะการโจมตีของชนเยอรมัน ติวโตนิก
4. อารยธรรมเด่นๆ
4.1 ศิลปะโรมันได้ รับอิทธิพลศิลปกรรมจากกรีก แต่กไ็ ด้ พฒ ั นาให้ มีรูปแบบเป็ นของตัวเอง
แสดงออกถึงความยิ่งใหญ่ โอ่อ่าหรูหรา ซึง่ ต่างจากกรีกที่มีรูปแบบเคร่งครัดตายตัว ประณีต
และแสดงออกซึ่งจิตวิญญาณมากกว่าโรมัน ทังนี ้ ้เพราะปรัชญาแห่งการดาเนินชีวิตต่างกัน
ในขณะที่กรีกมีพื ้นฐานปรัชญาเน้ นพุทธิปัญญา ( Intellectual) เป็ นเป้าหมายสูงสุด แต่โรมันมี
เป้าหมายอยู่ที่ความสุข เพราะมีหลักปรัชญาแบบประโยชน์นิยมและสุขนิยมเป็ นพื ้นฐาน โรมัน
จึงสร้ างสิ่งต่าง ๆ ขึ ้นมาเพื่อรับใช้จกั รพรรดิ์และประชาชน โรมันเป็ นนักดัดแปลงทีเ่ ก่งกาจ
มรดกของโรมันได้ เหลือตกทอดให้ แก่คนในยุคปัจจุบนั ได้ ใช้ ประโยชน์มเี ป็ นจานวนไม่น้อย
อาณาจักรโรมันจึงเป็ นแหล่งวัฒนธรรมที่สาคัญแห่งหนึ่งของโลกที่น่าศึกษาและอนุรักษ์เป็ น
มรดกโลก
4.2 โรมันเป็ นพวกที่ไม่นิยมการปัน้ รูปปัน้ เน้ นสัดส่วนแบบกรีก แม้ ว่าจะได้ รับอิทธิพลทางศิลปะ
จาก กรีกแต่โรมันก็นา มาปรับใช้ ให้ เหมาะสมและเน้ นเรื่องการใช้ ประโยชน์มากที่สดุ ชาวโรมัน
จึงมีความสุขกับวัตถุนิยม และมีความภูมิใจในความยิง่ ใหญ่ของตน
4.3 มีการประมวลกฎหมาย12โต๊ ะ คือกฏหมาย เน้ นเรื่องความเสมอภาคของประชาชนทุกคน
ในโรมัน และเป็ นรากฐานของกฎในปัจจุบนั นี ้
4.4 มีการสร้ างสถานที่เด่นๆหลายอย่าง เช่น
• สนามกีฬาโคลอสเซียม
• ประตูชยั
• สะพานและท่อลาเลียงน ้า
4.5 ถ้ าสังเกตดีๆจะรู้ว่า อาคารส่วนใหญ่ของชาวโรมันจะเป็ นรูปโค้ ง หรือ หลังคาเป็ นรูปโดม
เพราะเชื่อว่า วงกลม เป็ นรูปแบบที่ ไม่มีที่สิ ้นสุดเปรียบเหมือนพระเจ้ าที่ไม่มีจุดเริ่มต้ น ไม่มีที่
สิ ้นสุด
4.6 วรรณกรรมที่เด่นๆ เช่น มหากาพย์ อีเนียด
การแบ่ งชนชัน้ ในสังคมและระบบการปกครอง

สมัยสาธารณรัฐ(509-27BC)
หลังจากพิชิตอีทรัสกันได้ ก็มีการขยายดินแดนออกไปในแหลมอิตาลี เนื่องจากมี
ความสามารถทางการทหารและการปกครอง การปกครองใช้ ระบอบสาธารณรัฐแทนระบอบ
กษัตริย์ตามแบบอารยธรรมโบราณอื่นๆ พลเมืองโรมันจะแบ่งเป็ น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือกลุ่มที่เป็ น
ผู้บริหารและชนชันปกครองกั
้ บราษฎรธรรมดาทัว่ ไป ในสมัยแรกๆกลุ่มผู้บริหารและชนชัน้
ปกครองจะมีอานาจในการปกครองและออกกฎหมายมากในขณะที่ราษฎรธรรมดาแทบไม่มี
สิทธิเหล่านี ้เลย จนกระทัง่ ราวปี 450 BC กลุ่มพลเมืองธรรมดาจึงเริ่มมีสิทธิเสรีภาพมากขึ ้น มี
ผู้แทนของตนเข้ าไปมีส่วนร่วมในระบอบการปกครองในระบบสภาผู้แทน
ระบอบการปกครองทาให้ โรมันมีความแข็งแกร่ง และขยายอานาจออกไปเรื่อยๆทังทางบกและ ้
ทางทะเล ทางทะเลในขณะนันฟิ ้ นิเชียที่มีเมืองหลวงชื่อ คาร์เธจ (ปัจจุบนั คือเมือง Tunis ใน
ประเทศตูนิเซีย)ซึ่งกาลังรุ่งเรืองทางด้ านการค้ าอยู่แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในขณะนัน้ ได้
ขยายอิทธิพลมาจนถึงเมือง Syracuse (บริเวณอาณาจักรของกรีก)ของโรมัน สงครามระหว่าง
โรมันและฟิ นิเชียจึงเริ่มขึ ้นในราว 264 BC เรียกว่าสงครามพิวนิค(Punic War) มีการรบกัน
ใหญ่ๆ 3 ครัง้ ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะจนกระทัง่ ในที่สดุ โรมันก็สามารถปราบคาเธจอย่างราบ
คาบได้ ในปี 149-146 BC จากนันจึ ้ งเริ่มขยายดินแดนไปทางกรีกและยึดครองกรีกได้ ราว 146
BC
ชาติโรมันมีสงครามเพื่อขยายดินแดนออกไปเรื่อยๆ มีอาณาเขตกว้ างขวางขึ ้นปัญหาด้ าน
เศรษฐกิจและการปกครองก็ตามมา มีความเหลื่อมลา้ ทางชนชัน้ มีการทุจริตคอรับชัน มีความ
ขัดแย้ งภายในระหว่างผู้นากลุ่มต่างๆจนกลายเป็ นสงครามกลางเมือง ทาให้ ระบบสาธารณรัฐ
ซึ่งผู้นามาจากการเลือกตังต้ ้ องพังพินาศและเปลี่ยนมาเป็ นระบอบจักรวรรดิซึ่งมีผ้ นู าคือ
จักรพรรดิ์แทน
สงครามกลางเมืองที่ทาให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองครัง้ สาคัญคือสงคราม
ระหว่างจูเลียส ซีซาร์(Jurlius Caesar 102-44 BC)กับปอมเปย์(Pompey) ซึ่งร่วมกับ Crassus
อีกคน ทังสามร่ ้ วมทาการปกครองโรม ต่อมาซีซาร์ไปรบและได้ชยั ในแคว้ นโกลซึง่ เป็ นเขต
ประเทศฝรัง่ เศสและเบลเยียมในปัจจุบนั จากนันได้
้ ยกทัพข้ ามช่องแคบอังกฤษเพื่อไปปราบ
พวกเคลต์ ไบรตัน(Celtic Britons)ซึ่งให้ ความช่วยเหลือพวกเคลต์ในแคว้ นโกล ช่วง 49 BC ซีซาร์
ได้ รับคาสัง่ จากสภาให้ ยึดครองดินแดนอิตาลี ในระหว่างที่ซซี าร์ออกไปรบตามแคว้ นต่างๆนัน้
ปอมเปย์คิดที่จะรวบอานาจไว้ ซีซาร์จึงเข้ าต่อสู้ได้ ชยั ต่อกองทัพปอมเปย์ในกรีซ ส่วน แครสซุส
ได้ ตายก่อนในการรบตังแต่ ้ ปี 53 BC แล้ ว จากนันซี้ ซาร์รบขยายดินแดนเข้ าไปในอียิปต์ จนในยุค
นี ้เกิดตานานความสัมพันธ์ระหว่างซีซาร์และนางคลีโอพัตราแห่งราชวงศ์ปทอเลมีของอียิปต์ ซี
ซาร์ตงให้
ั ้ นางเป็ นผู้ปกครองอียิปต์ ซีซาร์ได้ รบขยายดินแดนต่อไปในอาฟริกาเหนือและสเปน
จากนัน้ 45 BC เขาได้ เดินทางกลับโรมและถูกฆ่าตายโดย Brutus หลังจากกลับถึงโรมไม่ถงึ ปี ณ
บริเวณหน้ ารูปปัน้ ของปอมเปย์ในสภา
ในยุคสมัยของซีซาร์นนมี ั ้ การปฏิรูปการปกครอง รวบอานาจทังทางการปกครองและศาสนามา

เป็ นของตน มีการแต่งตังคนใกล้้ ชิดเข้ าไปเป็ นสมาชิกสภา มีการแก้ ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและ
สังคม มีการสร้ างงานและสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ถนนและงานชลประทาน ผลงานของซีซาร์
เป็ นที่ชื่นชมของคนโรมันเพราะเขาเป็ นผู้รือ้ ฟื น้ ระเบียบวินยั ของโรมและนาความรุ่งเรืองมาสู่
สาธารณรัฐสมัยจักรวรรดิ์โรมันจักรพรรดิ์กลายเป็ นผู้มีอานาจเด็ดขาดเพียงผู้เดียวทังทางด้้ าน
การปกครองหรือศาสนา ตังแต่ ้ ยคุ ออคตาเวียน ซึ่งภายหลังสถาปนาตนเป็ นออกุสตุส ซีซาร์
(Augustus Caesar)ในสมัยนี ้สงครามใหญ่ๆมักไม่ค่อยมี ด้ วยประชาชนเห็นว่าการปกครอง
แบบจักรวรรดิสงบเรียบร้ อยกว่าแบบสาธารณรัฐ บ้ านเมืองจึงสงบสุข มีอานาจและร่ารวยที่สดุ
ในโรม ออกุสตุสได้ ใช้ จ่ายเงินเพื่อสร้ างอาคารสาธารณประโยชน์ใหม่ๆและใหญ่ๆมากมาย
การปกครองตังแต่ ้ ยคุ ออกุสตุสเป็ นต้ นมามีความสุขสงบจนได้ชื่อว่าเป็ นสมัยสันติภาพโรมัน
(Pax Romana 27 BC- ค.ศ. 180) แม้ จะมีจกั รพรรดิ์ที่วิกลจริตบ้ าง แต่ในยุคนี ้ถือได้ ว่าจักรวรรดิ์
โรมันรุ่งเรืองที่สดุ ทังทางด้
้ านเศรษฐกิจและอานาจการปกครองในสมัยจักรพรรดิที่ดี 5 องค์(The
Antonines)เพราะวิธีเลือกจักรพรรดิไม่ได้ เลือกโดยวิธีสืบสายเลือดแต่เลือกจากบุคคลที่มี
คุณสมบัติดีมาเป็ นทายาทและดารงตาแหน่งจักรพรรดิ์ จักรพรรดิที่ดี 5 องค์นนประกอบด้ ั้ วย
เนอร์วา(nerva ค.ศ. 96-98 ) ทราจัน (Trajan ค.ศ. 98-117)ฮาเดรียน (Hadrian ค.ศ. 117-138)
อันโตนิอสุ ปิ อสุ (Nantonius Pius ค.ศ. 138-161) และมาคุส ออเรลิอสุ (Marcus Aurelius ค.ศ.
161-180) แต่ละองค์สร้ างประโยชน์ให้ แก่โรมอย่างใหญ่หลวง เช่น ทราจันรบได้ ดินแดนตอน
เหนือของแม่น ้าดานูบ เป็ นสมัยที่โรมันมีอาณาเขตกว้ างที่สดุ ฮาเดรียนมีความสามารถด้ านการ
บริหารปกครองบ้ านเมือง สร้ างกาแพงใหญ่ไว้ ป้องกันการรุกรานจากอนารยชน(Barbarians)
สมัยจักรพรรดิที่ดีทงั ้ 5 สิ ้นสุดลงในปี ค.ศ. 180 เพราะหันกลับไปใช้ ระบบเก่าคือสืบสายโลหิต
จากนันอาณาจั
้ กรเริ่มเสื่อมลง โดยปัจจัยหลักๆ 3 ประการคือ ความเสื่อมโทรมของเศรษฐกิจใน
ชนบท การแย่งชิงอานาจในสกุลวงศ์ของจักรพรรดิ์ และการรุกรานของอนารยชน แม้ บางสมัย
การเมืองการปกครองจะดีขึ ้นบ้ างเช่นสมัยจักรพรรดิไดโอคลีเชี่ยนและคอนแสตนตินแต่ก็ไม่ได้
สภาพที่ดีขึ ้นอย่างถาวร
ปี ค.ศ. 313 จักรพรรดิคอนแสตนติน สามารถรวบรวมอานาจการปกครองไว้ ที่พระองค์ได้ ทรง
สร้ างนครหลวงแห่งใหม่ที่ทางตะวันออก ในแคว้ นไบแซนติอมุ (Byzantium)ซึ่งเคยเป็ นส่วนหนึง่
ของอาณาจักรกรีกปัจจุบนั คือตุรกี มีชื่อว่าคอนแสตนติโนเปิ ลการสร้ างอาณาจักรที่สองนี ้ทาให้
แบ่งโรมันออกเป็ น 2 ส่วน ในปี ค.ศ. 395 จักรวรรดิ์ทงสองถู
ั้ กแยกการปกครองจากกันอย่างถาวร

แนวความคิดหรือความเชื่อของประชาชนในสังคม
ศาสนาโรมัน
โรมมีเทพเจ้ าประจาชาติ แต่ด้วยขันติธรรมทางศาสนา ลัทธิบูชาต่าง ๆ จึงอยู่ได้ ในโรมัน
บุคคลหนึ่งสามารถนับถือได้ หลายลัทธิ สมัยพรินซิเพทเกิดลัทธิบูชาจักรพรรดิ (Cult of
Emperor) จักรพรรดิออกุสตุสได้ รับการยกย่องบูชาโดยถือเป็ นเทพ ลัทธินี ้กลายเป็ นพิธีกรรม
ประจาชาติอย่างเป็ นทางการเพื่อปลุกใจให้ รักชาติมากกว่าเป็ นเรื่องทางศาสนา สาหรับชาวยิว
และคริสต์แล้ วไม่เกี่ยวกับพิธีกรรมดังกล่าวเพราะขัดกับหลักคาสอนทางศาสนา
สมัยออกุสตุส ชาวโรมันเริ่มบูชาเทพเจ้ าจากทางตะวันออกในแนวของการไถ่บาปในโลกหน้ า
เช่น บูชาเทพไอซีสของอียิปต์ เทพมิทราของเปอร์เชีย ฯลฯ ซึ่งเรียกรวม ๆ ว่าเป็ นลัทธิรหัสยนิยม
ลัทธิเหล่านี ้ก่อให้ เกิดลัทธิสากลนิยมและอัตตาธิปไตยที่เพิ่มขึ ้น
นอกจากนี ้ก็มีลทั ธิเปลโต้ ใหม่ (Neo - platoism) โพลตินสุ เป็ นนักปรัชญาของลัทธินี ้ได้ เผยแพร่
การบูชาเทพองค์เดียวผู้ทรงอนันตภาพไม่มีขอบเขต ลัทธินี ้ต่อมาได้ สงั เคราะห์แก่นสาคัญของ
ลัทธินอกศาสนาอื่นๆเข้ ามาด้ วย
บรรยากาศของลัทธิศาสนาแบบต่าง ๆ นี ้ มีผลให้ ลัทธิเหตุผลนิยมและมนุษยนิยมของกรีกถูก
กลืนเกือบหมดสิ ้น สิ่งที่เกิดขึ ้นจากลัทธิใหม่ ๆ เหล่านี ้คือ โหราศาสตร์ เวทย์มนต์ การหลอกลวง
และพิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งครอบงาคนมากย่องกว่าในสังคมกรีก ท่ามกลางบรรยากาศเหล่านี ้
คริสตศาสนาได้ เกิดขึ ้นและได้ชยั ชนะเหนือจิตใจประชาชน

คริสตศาสนาในจักรวรรดิโรมัน
คริสตศาสนามีลกั ษณะที่นาเอาความเชื่อจากลัทธิที่มีมาก่อนมาจัดรวมกัน เช่น
แนวความคิดเรื่องความตายและการฟื น้ คืนชีพ อย่างไรก็ตามได้ มีพื ้นฐานต่างจากศาสนาอื่น ๆ
อย่างน้ อย 2 ประการ คือ ประการแรก คริสตศาสนามีพระเจ้ าเพียงองค์เดียว ประการที่สอง พระ
เยซูนนถื
ั ้ อเป็ นพระผู้ไถ่บาป และเป็ นบุคคลในคาพยากรณ์ของศาสนาฮิบรู ทรงเป็ นบุคคลร่วม
สมัยกับออกุสตุส แต่พระชนม์น้อยกว่า พระเยซูมีปาฏิหาริย์ต่าง ๆ และหลักคาสอนของพระองค์
เน้ นความรัก ความเห็นอกเห็นใจ และการอ่อนน้ อมถ่อมตน การดารงชีวิตอย่างมีสติ มีเมตตา
กรุณาต่อเพื่อนและศัตรู พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่คนจนและผู้ทอดทิ ้ง
การที่พระเยซูทรงวิจารณ์ข้อบกพร่องทางศีลธรรมของบรรดาพระในศาสนายิวผสมกับการที่ทรง
อ้ างว่าตรัสในนามของพระเจ้ า มีผลให้ ทรงถูกตรึงกางเขนในฐานะผู้พยายามโค่นล้ มระบบการ
ปกครอง
นักบุญปอลอัครสาวกสามารถใส่ความคิดเรื่องภราดรภาพสากลเข้ าในศาสนาคริสต์ได้ สาเร็จ
ทาให้ ศาสนาคริสต์แพร่ไปได้ มาก มิชชันนารีอื่น ๆ รวมทังนั
้ กบุญปี เตอร์และอัครสาวกองค์อื่น ๆ
ต่างพากันเดินทางจาริกเผยแพร่ศาสนาและรวบรวมกลุ่มจัดตังองค์ ้ กรทางศาสนาขึ ้น

เอกสารทางประวัติศาสตร์ของชาวคริสต์เริ่มมีมากในคริสตศตวรรษที่ 2 และ 3 องค์กรทาง


ศาสนาก็เริ่มเด่นชัดกว่าเดิม มีการจัดลาดับสงฆ์เป็ นหลายชันลดหลั
้ น่ กันลงมา อัครสังฆราชที่
อยู่ประจาตามมหานครมีความสาคัญเป็ นพิเศษ เช่น ที่โรม อเลกซานเดรีย แอนติออค และ
ต่อมาที่กรุงคอนแสตนติโนเปิ ลด้ วย เมื่อเวลาผ่านไป อัครสังฆราชที่โรมได้ รับการยกย่องมากขึ ้น
จนสูงกว่าองค์อื่นๆ

แนวความคิดของคริสตศาสนา
ได้ รับการพัฒนาให้ ลึกซึ ้งตามแนวปรัชญาต่าง ๆ ของกรีกและยิว เช่น ของเปลโต้ สโตอิค
และพระคัมภีร์เก่าของยิว แนวความคิดที่ได้รับการตีความเหล่านี ้ ส่วนหนึ่งเป็ นพื ้นฐานให้ กบั
นิกายออร์ธอดอกซ์ อย่างไรก็ตามได้ ทาให้ คริสตศาสนามีความหมาย และดึงดูดใจปัญญาชน
มากขึ ้น

การเผยแพร่ ศาสนาคริสต์
ในจักรวรรดิโรมันเป็ นไปอย่างรวดเร็ว คาสอนและทางรอดในคริสตศาสนาสอดคล้ องกับ
อารมณ์ความรู้สึกของยุค คริสตศาสนาได้ รับเอามรดกของวัฒนธรรมโรมในเรื่ององค์กรทาง
การเมืองและกฎหมายมาใช้ รูปแบบองค์กรของศาสนาคริสต์ในยุคกลางเหมือนกับระบอบการ
ปกครองของจักรวรรดิโรมันนัน่ เอง
ในระยะแรก คริสตศาสนิกชนมักตกเป็ นเป้าความเกลียดชัง ระแวงสงสัย เพราะการปฏิเสธ
ศาสนาอื่น และไม่ยอมรับนับถือเทพเจ้ าของรัฐ ในบางช่วงคริสตศาสนิกชนจึงโดนกวาดล้ าง
ขนานใหญ่ เป็ นช่วง ๆ แต่ศาสนาคริสต์ก็เผยแพร่ไปไม่หยุดยัง้ แต่เมื่อถึงต้ นคริสศตวรรษที่ 4
ศาสนาคริสต์ก็เติบโตเกินกว่าจะทาลายล้ างได้ แล้ ว จักรพรรดิโรมันได้ หนั มาประนีประนอมกับ
คริสตศาสนา จักรพรรดิคอนแสตนตินเป็ นจักรพรรดิโรมันองค์แรกที่นบั ถือคริสตศาสนา และ
เมื่อสิ ้นคริสตศตวรรษที่ 4 ประชาชนส่วนใหญ่ก็หนั มานับถือคริสต์

เหตุท่ที าให้ อาณาจักรโรมันล่ มสลาย


ช่วงสุดท้ ายของจักรวรรดิโรมันนัน้ โรมันเริ่มเสือ่ มลงด้ วยปัจจัยหลายประการ ไม่ว่า
ทางด้ านเศรษฐกิจ การแย่งชิงอานาจของจักรพรรดิ์ และการรุกรานจากพวกอนารยชน ทาง
ภาคเหนือของอิตาลีชนเผ่าต่างๆกระจายกันอยู่โดยทัว่ ไป ชนเผ่าต่างๆมีการรุกรานโรมันมา
ตังแต่
้ ก่อนคริสตกาล แต่ก็พ่ายโรมันโดยตลอด ปี ค.ศ. 373 ฮัน่ Hans ได้ ยกทัพข้ ามแม่น ้าโวลก้ า
มารุกรานพวกกอธ ทาให้ พวกกอธหนีลงมาบริเวณแคว้ นเทรซของโรมัน และเข้ าโจมตีแคว้ น
เทรซ ค.ศ. 378 จักรพรรดิ์วาเลนของโรมันได้ ยกทัพเข้าต้ านทานที่เมือง เอดรีอาโนเปิ ลแต่แพ้
และเสียชีวิตในสนามรบ ทาให้ชื่อเสียงเรื่องการรบที่ไม่มีวนั แพ้ ของโรมันต้ องเสื่อมลง และ
อนารยชนเผ่าต่างๆก็คอยรุกรานจักรวรรดิอยู่บ่อยๆ จนราวปี ค.ศ. 410 Visigoths พวกโกธ
เยอรมันสายเหนือได้เข้ ารุกรานในโรม ค.ศ. 450 พวกฮัน่ ซึง่ เป็ นมองโกเลียสายหนึง่ ได้ ยกทัพมา
รุกรานโรมัน ปี ค.ศ. 454 เยอรมันอีกพวกคือ Vandals ได้ ยกทัพข้ ามช่องแคบยิบรอลต้ า
Gibralta ซึ่งอยู่ระหว่างสเปนและอาฟริกาเข้ ายึดครองสเปนและคาร์เธจ อนารยชนอื่นๆ เช่น
เบอร์กนั ดียึดลุ่มแม่น ้าไรน์ แฟรงค์ยึดทางเหนือของแคว้ นโกล แองโกล -แซกซอนและจูส์ยึดเกาะ
อังกฤษ ออสโตรโกธยึดทางเหนือของแม่น ้าดานูบ ลอมบาร์ดซึ่งเป็ นเยอรมันเผ่าล่าสุดยึดทาง
เหนือของอิตาลี ตราบจนกระทัง่ ใน ค.ศ. 476 ถือป็ นการสิ ้นสุดของจักรวรรดิเมื่อจักรพรรดิองค์
สุดท้ ายคือโรมิวรุส ออกุสตุสถูกถอดจากบัลลังก์โดยแม่ทพั โรมันเชื ้อชาติเยอรมัน จากนันอ ้ านาจ
จักรวรรดิก็ยงิ่ อ่อนแอเป็ นผลให้ เมืองขึ ้นต่างๆแข็งขอและพร้ อมใจกันสถาปนาตนขึ ้นเป็ น
อาณาจักรใหม่ทวั่ ยุโรป ทาให้ จกั รวรรดิโรมันอวสานอย่างสิ ้นเชิง

สถาปั ตยกรรม
โรมันได้ ผสมผสานความรู้ด้านสถาปัตยกรรมจากกรีกและอีทรัสกันและนาความรู้นนมา ั้
สนองความต้ องการของตนเองซึ่งคานึงถึงด้ านประโยชน์ใช้ สอยมากกว่าฉพาะเพียงด้ านความ
งาม นอกจากจะนารูปแบบหัวเสาของกรีกมาใช้ โดยเฉพาะนิยมนาแบบคอรินเธียนมาใช้ แล้ ว
ยังมีการคิดประดิษฐ์ หวั เสาทีเ่ รียกว่าคอมโพไซท์(Composite)โดยมีลกั ษณะผสมผสานระหว่าง
ไอโอนิคกับคอรินเธียน มีการนาระบบก่อสร้ างแบบ Arch กับ Vault ซึ่งพวกอีทรัสกันเคยใช้ มา
พัฒนาให้ เกิดความก้ าวหน้ ามากขึ ้น เช่นนา Vault มาทาโครงสร้ างหลังคาสร้ างเป็ นรูปโดม ด้ าน
วัสดุก่อสร้ างนอกเหนือจากหินอ่อนมีการนาหินลาวาและดินบางชนิดจากภูเขาไฟมาใช้ วัสดุ
เหล่านี ้มีความทนทานเหมาะทีจ่ ะทาถนน นอกจากนี ้ในยุคหลังๆยังมีการค้ นพบซีเมนต์ จากการ
ผสมทราย ปูนขาว หินซิลิกา หินจากเถ้ าภูเขาไฟและน ้ามาผสมกัน ซึ่งทาให้ การก่อสร่างมีความ
รวดเร็วคงทนและประหยัด

โรมันเน้ นประโยชน์ทางด้ านการปฏิบตั ิ(Pracmatic)และหลักความจริงมากกว่าอุดมคติดงั เช่น


กรีก ดังนันสถาปั
้ ตยกรรมส่วนใหญ่จึงเป็ นอาคาร สิ่งก่อสร้ าง ถนน สาธารณะมากกว่าวิหารเทพ
เจ้ าสถาปัตยกรรมของโรมันจึงนิยมสร้ าง

1. วิหารและสุสาน
2. สถานที่อาบน ้าสาธารณะ
3. โรงมหรสพและสนามกีฬา
4. โฟรุ่มและบาซิลิกา
5. อาคารที่พกั อาศัย
6. สะพานและท่อส่งน ้า

You might also like