You are on page 1of 11

Design Cocept 1     P a g e  | 1 

R M U T T O / S A S I T H O R N     K L A I C H O M  

สรุปแนวคิดในการออกแบบประวัติศาสตร์
สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม อารยธรรมตะวันตก

แนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมนั้น จําเป็นต้องอาศัยที่มาและแรงบันดาลใจ ซึ่งลักษณะดังกล่าว


ที่มาตั้งแต่สมัยอดีตกาล ดังนั้นการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ช่วยสะท้อนให้
เห็นที่มาและแรงบันดาลใจการสร้างแนวความคิดในการออกแบบของมนุษย์ สามารถสรุปอารยธรรมที่สําคัญ
ได้ 3 กลุ่ม คืออารยธรรมตะวันตก อารยธรรมกรีก และอารยธรรมโรมมัน ซึ่งมีรายละเอียดังนี้

อารยธรรมตะวันตก (เมโสโปเตเมีย-อียิปต์)

1. อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
• กําเนิดในลุ่มแม่น้ําสองสาย คือ ไทกริสและยูเฟรติส เป็นแหล่งอารยธรรมแรกของโลก เมื่อ
ประมาณ 3500 ปี ก่อนค.ศ. เนื่องจากเป็นแหล่งน้ําอุดมสมบูรณ์ท่ามกลางดินแดนทะเลทรายและภูเขา
(ปัจจุบันได้แก่ประเทศอิรัก)
• บริเวณที่ราบที่แม่น้ําทั้งสองสายบรรจบกันและไหลลงสู่ทะเล อ่าวเปอร์เซีย เรียกว่า “บาบิโล
เนีย” โดยเหตุนี้ ทําให้มีชนหลายกลุ่มหลายเผ่าผลัดกันมาตั้งถิ่นฐาน และมีอํานาจในดินแดนแถบนี้

1.1 ชนเผ่าสุเมเรียน Sumerian (ช่วงระยะเวลา3500 BC.

• เป็นชนเผ่าแรกที่เข้าครอบครอง และทําการก่อสร้างระบบชลประทานเป็นชาติแรก
• สังคมของสุเมเรียนยกย่อง เกรงกลัวเทพเจ้า นิยมก่อสร้างศาสนสถานเรียกว่า “ซิกกู
แรต” สร้างด้วยอิฐตากแห้ง
Design Cocept 1     P a g e  | 2 
R M U T T O / S A S I T H O R N     K L A I C H O M  

• ชาวสุเมเรียน เป็นกลุ่มแรกที่ประดิษฐ์อักษร ได้แก่ อักษรลิ่ม หรือ “คูนิฟอร์ม”


cuneiform นักประวัติศาสตร์จึงนับเอาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งยุคประวัติศาสตร์
• “กิลกาเมซ” Epic of Gilgamesh เป็นมหากาพย์ ที่ถูกแต่งขึ้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับน้ําท่วมโลก
• มีความเจริญทางด้านคณิตศาสตร์ ปฏิทิน และการชั่ง ตวง วัด

1.2 ชนเผ่าอามอไรต์ (Amorite) (ช่วงระยะเวลา 2000 BC. )

• หลังจากสุเมเรียนเสื่อมอํานาจ ชาวอามอไรต์ Amorite ได้ตั้ง อาณาจักรบาบิโลเนีย


Babylonia ขึ้นมา การปกครองแบบรวมศูนย์ การจัดเก็บภาษี การเกณฑ์ทหาร
• สมัยพระเจ้าฮัมมูราบี ( 1792-1745 B.C.) ได้มี “ประมวลกฎหมายฮัมมุราบี” เป็นลายลักษณ์
อักษร จารึกแผ่นศิลา ยึดถือหลัก ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ในการลงโทษ

1.3 ชนเผ่าฮิตไทต์ (Hittite)


• เข้ายึดครองแทนในดินแดนแถบนี้ เมื่อ 1590 B.C.

1.4 ชนเผ่าคัสไซต์ (Kassite)


• อพยพมาจาก เทือกเขาซากรอส เข้าครอบครองต่อ และมีอายุยาวนานต่อเนื่องกว่า 400 ปี

1.5 ชนเผ่าอัสซีเรีย(ช่วงระยะเวลา 800 B.C.)

• พวกอัสซีเรียน ได้เข้ายึดครองกรุงบาบิโลน มีศูนย์กลางที่ นิเนเวห์ ตั้งจักรวรรดิอัสซีเรีย


Assyrian
• สมัยพระเจ้าอัสชูร์บานิปาล 668-629 B.C. อัสซีเรียมีความเจริญขีดสุด

1.6 ชนเผ่าคาลเดีย (ช่วงระยะเวลา 612 B.C)

• เผ่าคาลเดียน Chaldean เข้ายึดครองนิเนเวห์สําเร็จ สถาปนากรุงบาบิโลนขึ้นใหม่


• สมัยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ 605-562 B.C. สามารถตีเยรูซาเลม และกวาดต้นเชลยมาเป็น
จํานวนมาก ได้สร้าง “สวนลอยแห่งบาบิโลน” Hanging Gardens of Babylon
Design Cocept 1     P a g e  | 3 
R M U T T O / S A S I T H O R N     K L A I C H O M  

• ชาวคาลเดียน เป็นชาติแรกที่นําเอาความรู้ด้านดาราศาสตร์มาพยากรณ์โชคชะตามนุษย์ และ


ยังสามารถคํานวณด้านดาราศาสตร์ได้อย่างแม่นยํา

1.7 พระเจ้าไซรัสมหาราช แห่งเปอร์เซีย (539 B.C.)


เข้ายึดครอง และผนวกเข้ากับจักรวรรดิ์เปอร์เซีย ทําให้ประวัติศาสตร์แถบเมโสโปเตเมียสิ้นสุดลง

1.8 ชนชาติอื่นในเอเชียไมเนอร์
ได้แก่ ดินแดนที่อยู่ระหว่าง ทะเลดํา กับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ปาเลสไตน์ ตุรกี ซีเรีย)

1.8.1 ฟินิเชียน • 1300-1000 B.C.


• เชี่ยวชาญในการเดินเรือทะเล มีเมืองท่าคือ ไทร์ และไซดอน ค้าขายจนถึง
ตอนเหนือแอฟริกา (เมืองคาร์เทจ Carthage)
• จากการเปิดกว้างของวัฒนธรรม ทําให้ชาวฟินิเชียนดัดแปลงตัวอักษร เฮียรา
ติก และคูนิฟอร์ม มาเป็น “อัลฟาเบต” Alphabet ต่อมากลายเป็นต้นแบบ
ของภาษากรีก ละติน ชาติตะวันตก และตะวันออก อื่น ๆ ด้วย
1.8.2 ฮีบรู 1400 B.C
• เรียกอีกชื่อว่า “ยิว” เร่ร่อนในทะเลทราย . ถูกจับเป็นทาสที่อียิปต์
ต่อมา “โมเสส” เป็นผู้ช่วยปลดแอก แล้วอพยพไปตั้งถิ่นฐานที่ปาเลสไตน์
Canaan
• เนื่องจากเป็นชาติที่ไม่เข้มแข็งเรื่องการทหาร จึงถูกชนเผ่าอื่นครอบครองซ้ํา
แล้วซ้ําเล่า จนกระทั่งยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเกิดเป็นประเทศอิสระ ชื่อ
ว่า “อิสราเอล”
Design Cocept 1     P a g e  | 4 
R M U T T O / S A S I T H O R N     K L A I C H O M  

• มรดกตกทอดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดได้แก่ “คัมภีร์ไบเบิ้ล” ถือเป็นหลักฐาน


ประวัติศาสตร์ชิ้นสําคัญของโลก รวมไปจนถึงการเป็นต้นกําเนินศาสนาคริสต์
และอิสลาม

……………………………………………………….

2. อารยธรรมลุ่มแม่น้ําไนล์ (อียิปต์)

• อารยธรรมอียิปต์โบราณ เกิดขึ้นในบริเวณสองฝั่งของแม่น้ําไนล์
• บริเวณลุ่มแม่น้ําแบ่งเป็น 2 บริเวณ คือ Lower Egypt (ปากแม่น้ําไหลสู่ทะเลเมดิเตอร์เร
เนียน) เรียกว่า “เดลตา” อารยธรรมได้เกิดขึ้นบริเวณนี้ ส่วนอีกที่คือ Upper Egypt เป็นที่แม่น้ําไหลผ่าน
ทะเลทราย หุบเขาไปจนถึงซูดานในปัจจุบัน
• ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นทะเลทราย ดังนั้นแม่น้ําไนล์จึงเปรียบเสมือน โอเอซีส และทําให้
อียิปต์ถูกป้องกันการรุกรานจากชาติอื่น ๆ โดยธรรมชาติ จนกล่าวได้ว่า “Egypt is the gift of the Nile”
2.1 อียิปต์ก่อนประวัติศาสตร์
• ชุมชนดั้งเดิมเป็นพวกเร่ร่อน ต่อมาได้พัฒนาขึ้นตามลําดับ จนเกิดชนชั้นปกครองสังคม
ขยายตัวเป็นรัฐเล็ก ๆ เรียกว่า “โมนิส” มีสัญลักษณ์ เช่น สุนัข เหยี่ยว แมงป่อง ฯลฯ
• ราชวงศ์แรกที่สามารถรวมอียิปต์เป็นอาณาจักร คือ กษัตริย์เมนิส Menes 3000 B.C. ถือ
เป็นฟาโรห์องค์แรก มีศูนย์กลางที่เมมฟิส
Design Cocept 1     P a g e  | 5 
R M U T T O / S A S I T H O R N     K L A I C H O M  

• (Scorpion king) เป็นกษัตริย์องค์แรก ๆ ที่พยายามรวมอาณาจักรแต่ไมสําเร็จ

เทพเจ้าของชาวอียิปต์
• Re เทพเจ้าเร หรือ สุริยเทพ
• Osiris โอซิริส หรือ เทพแห่งแม่น้ําไนล์ เทพแห่งยมโลก
• Isis ไอซิส หรือ เทพีแห่งพื้นดิน เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์
• Set เซต เทพแห่งสงคราม
• Hathor ฮาธอร์ เทพี แห่งความรัก
• Horus ฮอรัส เทพผู้เป็นตัวแทนของฟาโรห์ทุกพระองค์
นอกจากนี้ยังมีเทพอื่นๆที่ถือเป็นเทพเจ้าประจําแต่ละเมืองชาวอียิปต์ถือ ฟาโรห์เป็นเทพเจ้าพระองค์
หนึ่ง ซึ่งได้แสดงออกโดยงานสร้าง และสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ที่ถวายแก่ฟาโรห์

ปิรามิด (Pyramid) และ มัมมี่ (Mummy)


ปิรามิด สร้างโดยการสกัดหินมาเรียงเป็นขั้นบันได เป็นรูปกรวยสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ เพื่อเป็นสุสาน
ฝังพระศพฟาโรห์ ส่วนมัมมี่ เป็นการรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อย ตามความเชื่อเรื่องการฟื้นคืนชีพจากตาย

2.2 อียิปต์สมัยประวัติศาสตร์
• อียิปต์ ประดิษฐ์อักษรภาพเรียกว่า “เฮียโรกลิฟิก” hieroglyphic เป็นการแกะสลักฝาผนัง
โบสถ์ และสุสานฟาโรห์ ต่อมาได้พัฒนาการเขียนลงในกระดาษ “ปาปิรุส”
• Book of the Dead เป็นวรรณกรรมความเชื่อของชาวอียิปต์ ที่กล่าวถึงการปฏิบัติตนเมื่อ
ต้องเข้าไปสู่ยมโลก
• ความรู้ที่ถ่ายทอดได้แก่ วิชาดาราศาสตร์ และปฏิทินแบบสุริยคติ แบ่งปีออกเป็น 365 วัน
• สมัยปลายราชวงศ์ ได้มีการพยายามเปลี่ยนความเชื่อ จากการบูชาเทพเจ้าหลายพระองค์ ให้
เหลือเพียงพระองค์เดียว ได้แก่ สุริยเทพ Aton หรือ อะตัน ซึ่งฟาโรห์เท่านั้นจะมีสิทธิ์ ส่วนประชาชนทั่วไปให้
Design Cocept 1     P a g e  | 6 
R M U T T O / S A S I T H O R N     K L A I C H O M  

บูชาฟาโรห์แทน นี่เป็นเหตุหนึ่งที่ทําให้ชนชาติขาดความเข้มแข็ง

………………………………………………………….

3. อารยธรรมกรีก
• กําเนิดบริเวณชายฝั่งทะเลอีเจียน หมู่เกาะต่าง ๆ และดินแดนกรีซ
• สภาพภูมิประเทศเป็นหุบเขา ทําให้แต่ละรัฐจึงเป็นอิสระต่อกัน เป็นรัฐเล็ก ๆ มากมาย
• เกาะครีต Crete เป็นเกาะใหญ่และมีความสําคัญของกรีก

3.1 กรีกสมัยก่อนประวัติศาสตร์
• 4000 B.C. มีการค้นพบเครื่องมือ และหลักฐานการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน รวมถึงป้อมปราการ
• บนเกาะครีต มีการใช้โลหะทองแดง สําริด

3.2 กรีกสมัยประวัติศาสตร์
• 2000 B.C. กําเนิดอารยธรรมไมนวน Minoan การค้นพบดินเผาจารึกตัวอักษรบนเกาะครีต
มีการก่อสร้างวังใหญ่โต
• ต่อมาถูกรุกรานจากพวก ไมซิเนียน Mycenaean และต่อมาเป็นพวก ดอเรียน Dorian
• 1120-800 B.C. ถือเป็นยุคมืด การค้าขายถูกพวกฟินิเชียนเข้ามาขยายอิทธิพล ***** โฮเมอร์
และอิเลียด โอดิสซีย์ เกิดในช่วงนี้ *****
• 800 B.C. ยุคคลาสสิค มีลักษณะเป็นนครรัฐ เรียกว่า “โพลิส” Polis มีกษัตริย์และขุนนาง
ปกครองนคร เริ่มใช้ระบอบประชาธิปไตย
• 500 B.C. ศูนย์กลางอยู่ที่ เอเธนส์ แคว้นแอตติก Attica ได้ร่วมกันกับนครรัฐกรีกอื่น ป้องกัน
การรุกรานจากเปอร์เซีย กลายเป็นยุคทองแห่งเอเธนส์
• 431-404 B.C. สงครามเพโลพอนนีเชียน ระหว่างเอเธนส์ กับสปาร์ตา ผลทําให้ มาซีโดเนีย
เข้าครอบครองกรีก สมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช เรียกว่ายุค “เฮลเลนิสติก” ขยายดินแดนครอบคลุม
ถึงอียิปต์ และอินเดีย

มรดกที่สําคัญของกรีก

• สถาปัตยกรรม
Design Cocept 1     P a g e  | 7 
R M U T T O / S A S I T H O R N     K L A I C H O M  

- ชาวกรีกจะให้ความสําคัญกับเทพเจ้า เชื่อว่าพลังธรรมชาติจะให้คุณและโทษได้ อํานาจ


ลึกลับนี้มาจากเทพเจ้าเป็นผู้บันดาล
- วิหารบูชาเทพเจ้า “พาร์เธนอน” Parthenon 500 B.C. สร้างด้วยหินอ่อน หลังคา
หน้าจั่ว มีเสาหิน
- รูปแบบเสาที่สําคัญ และมีสไตล์หลัก ๆ อยู่ 3 รูปแบบด้วยกันที่ได้รับการพัฒนามาเป็น
รูปแบบสําคัญทางสถาปัตยกรรมกรีก

รูปแบบหัวเสาในอารยธรรมกรีก

• ประติมากรรม
- สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะธรรมชาติ เทพเจ้าจึงเหมือนมนุษย์ งานในยุคแรกจะตรง ๆ
แข็งทื่อ
- สมัยคลาสสิคเริ่มมีลักษณะพริ้วไหว และสมัยหลังจะแสดงถึงความปวดร้าว ความ
ทรมานของมนุษย์

• จิตรกรรม
- ภาพวาดในยุคแรก นิยมพื้นสีแดง คนสีดํา วาดบนภาชนะ
- ยุคเฮลเลนิสติก มีการนํากระเบื้องสีมาประดับ เรียกว่า โมเสก Mosaic
Design Cocept 1     P a g e  | 8 
R M U T T O / S A S I T H O R N     K L A I C H O M  

• นาฏกรรม
- เป็นการละครของกรีก ร้องประสานเสียง ในเทศกาลบวงสรวงและเฉลิมฉลองเทพเจ้า
เป็นละครประเภทโศกนาฎกรรม และสุขนาฏกรรม

• วรรณกรรม
- โฮเมอร์ กวีนักเล่าเรื่องได้แต่ง “อีเลียด” และ “โอดิสซี” เป็นเรื่องเกี่ยวกับสงคราม
ทรอย

• นักปราชญ์ที่สําคัญของโลก
- เฮโรโดตุส Herodotus 484-420 B.C.
- โซเครตีส Socrates 470-399 B.C.
- อริสโตเติ้ล Aristotle 384-322 B.C.
- เพลโต Plato 328-247 B.C.
………………………………………….…………………..
4. อารยธรรมโรมัน

• โรมก่อตัวจากหมู่บ้านทางภาคกลางของอิตาลี อุปนิสัยของโรมันคือ ความเคร่งขรึมและ


สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ อย่างช้า ๆ แต่มั่นคง ความสามารถทางทหารของโรมันอยู่ที่ความอดทนมากกว่ายุทธวิธีที่
ฉลาดปราด เปรื่อง

• ประมาณ 600 ปี ก่อน ค.ศ. บรรดาผู้อพยพต่างรวมตัวกันตั้งนครรัฐแห่งโรมขึ้น ทางเหนือ


ของโรมติดต่อกับ อีทรูเนีย เป็นที่อยู่อาศัยของพวกที่มีอารยธรรมสูงเรียกว่า อีทรัสกัน ซึ่งเป็นพวกที่วางรูป
วัฒนธรรมของชาวโรมันแต่เริ่มแรก

• ใน ราว 509 ก่อน ค.ศ. ขุนนางโรมันประสบความสําเร็จในการล้มกษัตริย์อีทรัสกัน และ


เปลี่ยนแปลงระบอบกษัตริย์มาเป็นสาธารณรัฐปกครองโดยชนชั้นขุนนาง ชนชั้นสูง คือ แพทริเชียน ส่วนชนชั้น
ต่ําหรือ เพลเบียน นั้น เกือบไม่มีสิทธิทางการเมืองเลยพวก เพลเบียนค่อย ๆ ยกฐานะของตน เพื่อเข้ามามีส่วน
ร่วมในการปกครอง พวกเพลเบียนเลือกตัวแทนของตนเรียกว่า ทรีบูน ให้เป็นปากเสียงและเป็นตัวแทน
ผลประโยชน์ของตนในรัฐบาลซึ่งคุมโดยแพทริเชียน
Design Cocept 1     P a g e  | 9 
R M U T T O / S A S I T H O R N     K L A I C H O M  

• 450 ปีก่อน ค.ศ. ได้มีการนํากฎหมายเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร คือ กฎหมายสิบสองโต๊ะ


กฎหมายนี้ช่วยพิทักษ์บรรดาเพลเบียน ให้พ้นจากอํานาจตามอําเภอใจของชนชั้นแพทริเชียน กฎหมายสิบสอง
โต๊ะนี้นับว่ามีความสําคัญมากต่อพัฒนาการทางกฎหมายรัฐธรรมนูญของ โรมัน

การปกครอง

• รูปสมบูรณาญาสิทธิราช สืบสันตติวงศ์ เริ่มตั้งแต่ออกุสตุสเป็นต้นราชวงศ์ คนที่ดูเสมือนหนึ่ง


เป็นผู้ฝังระบอบการปกครอง คือ ออกเตเวียน ทําหน้าที่ “ออกุสตุส” ซึ่งมีความหมายว่า “สูงสุด”

• ในยุคของออกุสตุสนี้ ได้รับการยกย่องว่า “ Roman s golden Age “ และในสมัยออกุสตุส


นี่เอง ที่ฐานะของจักรพรรดิได้รับการยกย่องเชิดชูชึ้นเป็นเจ้า และมีสิทธิเลือรัชทายาทด้วยพระองค์เองด้วย
สําหรับในรัชสมัยของพระเจ้าออกุสตุสนี้มีเหตุการณ์สําคัญอันหนึ่งเกิดขึ้นก็ คือ พระเยซูคริสต์ ประสูติที่นคร
เบธเลเฮม ในมลฑลจูเดียของโรมัน

มรดกสําคัญของโรมัน

• ถนนโรมัน โดยการนําหิน ศิลา มาทําเป็นพื้นถนน สามารถรองรับน้ําหนักของรถม้าได้

• ท่อส่งน้ํา และประตูชัย

• กองกําลังทหารฟาลังส์ เป็นกองทหารรบที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในยุโรป ทหารเมื่อออกรบก็


จะได้รับค่าจ้าง เมื่อพักรบกลับบ้านประกอบอาชีพดั้งเดิม

• โคลอสเซียม เป็นสนามกีฬาอัฒจันทร์ล้อมรอบ เดิมทีสร้างเพื่อเป็นการพบปะระหว่างรัฐ กับ


ประชาชน ต่อมากลายเป็นสังเวียนการต่อสู้ของทาส หรือพวกกลาดิเอเตอร์ (นักรบ) เป็นลานประหารนักโทษที่
ถูกตัดสินประหารชีวิต โดยนํามาสู้กับสิงโต ขณะเดียวกันเป็นที่แข่งม้าศึกด้วย


สถาปัตยกรรม
มีการนําเอารูปแบบทางสถาปัตยกรรมอารยธรรมกรีกมาพัฒนาต่อเป็นรูปแบบเฉพาะของยุคสมัย
โรมันเป็น 2 รูปแบบด้วยกันคือ
Design Cocept 1     P a g e  | 10 
R M U T T O / S A S I T H O R N     K L A I C H O M  

ลักษณะของโรมันเปรียบเทียบกับกรีก
1. โรมันเข้มงวดเรื่องความยุติธรรม การลงโทษอย่างโหดร้าย ไม่ค่อยมีเมตตา
2. กรีก บูชาเหตุผล แต่โรมันเคารพในอํานาจ
3. กรีก เรียกร้องความรูสึกส่วนตัวและเสรีภาพส่วนบุคคล โรมันให้ความสําคัญพิเศษในเรื่องความสา
รถควบคุมตัวเอง และความอยู่ในระเบียบแบบแผน
4. กรีก เป็นนักทฤษฎีและศิลปินที่ปราดเปรื่อง ในขณะที่โรมันสนใจทางนิติธรรมศาสตร์และทฤษฎี
รัฐศาสตร์
ความเสื่อมของจักรวรรดิโรมัน

เมื่อพระจักรพรรดิคอนสแตนติน ย้ายเมืองหลวงจากตะวันตก ไป ตะวันออก ก็ได้ก่อให้เกิดความรู้สึก


Design Cocept 1     P a g e  | 11 
R M U T T O / S A S I T H O R N     K L A I C H O M  

แตกแยกระหว่าง 2 ฝั่ง จักรวรรดิตะวันตก นั้นได้ถูกพวกอนารยชนเยอรมัน (Teutonic) ล้มล้างไป


ตั้งแต่ปี ค.ศ. 476 ขณะที่จักรวรรดิตะวันออก มีอายุยืนยาวมาจนถึงสมัยที่ถูกพวกเตอร์กรุกรานในปี
ค.ศ. 1453 สําหรับ
สาเหตุความเสื่อมของจักรวรรดิ
1. หลังปี ค.ศ. 180 ไม่มีกําหนดการสืบตําแหน่งไว้ในรัฐธรรมนูญ ทําให้เกิดการแย่งอํานาจในหมู่นาย
พล
2. การถูกโจมตีจากศัตรูภายนอก และเกิดรัฐอิสระขึ้นตามชายแดนที่ถูกคุกคาม
3. ที่ดินแทบทั้งจักรวรรดิตกอยู่ในเงื้อมมือชนชั้นสูงส่วนน้อยเท่านั้น ชาวนาที่สิ้นเนื้อประดาตัว
กลายเป็นโคโลนุส (Colonus) ซึ่งจะได้รับที่ดินชิ้นหนึ่งจากเจ้าของที่ดิน เพื่อทําการเพาะปลูกโดยเสรี
แต่จะต้องชดใช้เจ้าของที่ดินด้วยแรงงานของตน เมื่อนานวันเข้าก็เปลี่ยนสภาพเป็นกึ่งทาส (serdom)
4. สงครามกลางเมือง ทําให้กระทบกระเทือนระบบการค้า

………………………………………………………………………………..
เอกสารอ้างอิง
รศ.ดร ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. 2553. ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก. ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค.
รศ.ดร.วิจิตร เจริญภักตร์. 2543. ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมตะวันตก .กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
http://social-ave.blogspot.com/2010/03/blog-post_07.html
http://www.sunandskihomes.co.uk/Egypt/
http://www.mideastweb.org/megypt.htm

You might also like