You are on page 1of 31

สหรัฐอเมริกา:

จากอาณานิคมยุโรปสู่การสร้างประเทศใหม่

อ.ดร.ขนิษฐา สุขสง
01999031: The Heritage of World Civilization
ข้อมูลพื้นฐานของทวีปอเมริกา
• ก่อนการกาเนิดประเทศอเมริกา พื้นที่ของทวีปอเมริกาเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมือง หรือ
ที่เรียกว่า “อินเดียแดง” ซึ่งสันนิษฐานว่าอพยพมาจากตอนเหนือของทวีปเอเชีย ข้ามช่อง
แคบเบริงห์ มายังอลาสกา เมื่อประมาณ 10,000 -20,000 ปีก่อน และอพยพมายังตอนใต้ของ
ทวีปอเมริกา แถบ เม็กซิโก กัวเตมาลา ฮอนดูรัส และเปรู จนถึงอเมริกาใต้
• อเมริกันอินเดีย มีรูปร่างที่แสดงถึงความเป็น “มองโกลอยด์ คือ ผมดา ผิวสีดาแดง กระดูกแก้ม
สูง ดารงชีวิตด้วยการเพาะปลูก เช่น ข้าวโพด ยาสูบ รวมทั้งการล่าสัตว์
• เชื่อกันว่า ชาวผิวขาวพวกแรกที่ไปยังทวีปเอมริกาคือ พวก Horsemen ซึ่งเป็นกลุ่มชน
ในแถบสแกนดิเ นเวียปัจจุบัน ซึ่งเดินทางจากมหาสมุทรอาร์คติกไปยังเกาะกรีนแลนด์เมื่อ
ประมาณ ค.ศ.985 และต่อมาใน ค.ศ.1000 มีหลักฐานที่แสดงว่า ชาวสแกนดิเนเวียบางคนได้
ขึ้นฝั่งที่ประเทศสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน แต่เนื่องจากยังไม่สามารถตั้งหลักแหล่งในทวีปอเมริกา
และไม่ได้เขียนบันทึกเรื่องราวการเดินทางของตนไว้เลย ดังนั้น เมื่อ คริส โตเฟอร์ โคลัมบัส
(Christopher Columbus) ได้เดินทางมาทวีปอเมริกา และเขียนบันทึกการเดินทางเป็น
หลักฐานครั้งแรกในปี ค.ศ.1498 จึงได้รับเกียรติว่าเป็นผู้ค้นพบทวีปอเมริกาคนแรก

01999031: The Heritage of World Civilization


เหตุของการค้นพบทวีปอเมริกา
• ในศตวรรษที่ 14 ได้มีการฟื้นฟูศิลปวิทยาในยุโรป หรือที่เรียกว่า ยุค Renaissance
ท าให้ ช าวยุ โ รปเริ่ ม เดิ น ทางออกส ารวจดิ น แดนใหม่ ประกอบกั บ การค้ น พบ
สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เช่น เข็มทิศ เครื่องวัดดาว เครื่องพิมพ์ และดินปืน ได้ช่วยให้การ
สารวจก้าวหน้าขึ้นมาก
• หัวเมืองต่าง ๆ ในอิตาลี เช่นเจนัว ฟลอเรนซ์ เวนิช ได้ผูกขาดการค้าขายกับทวีป
เอเชีย
• เส้นทางการค้าทางบกซึ่งผ่านทางตอนกลางของทวีปเอเชียไปยังฝั่งทะเลดา และ
คอนสแตนติโนเปิลอยู่ใต้อิทธิพลของพวกเติร์ก
• เส้นทางการค้าขายทางน้าระหว่างอินเดียกับฝั่งตะวันออกของทะเลเมอร์ ดิเตอร์เร
เนียนอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกอาหรับ
• ชาวยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะสเปนและโปรตุเกส จึงต้องแข่งขันกันหาเส้นทางใหม่
เพื่อค้าขายกับเอเชียโดยไม่ผ่านทะเลเมอดิเตอเรเนียน นั่นคือการเดินเรือไปยัง
ตะวันออก
• โปรตุเกสสามารถเปิดเส้นทางการค้ากับตะวันออกไกลโดยผ่านเส้นทางแอฟริกา ได้
สาเร็จในปี ค.ศ. 1498 ผ่านการแล่นเรือเลียบฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกาอ้อม
แหลม Good Hope ข้ามมหาสมุทรอินเดียไปฝั่งตะวันตกของอินเดีย

01999031: The Heritage of World Civilization


เหตุของการค้นพบทวีปอเมริกา

• เมื่อโปรตุเกสผูกขาดเส้นทางด้านตะวันออก สเปนจึงหาทางไปสู่ตะวันออกโดยใช้เส้นทางตะวันตก
• คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) นักเดินเรือชาวอิตาลี ผู้เชื่อว่าโลกกลม ได้เสนอ
แผนการเดินเรือต่อพระเจ้า Ferdinand และพระนาง Isabella แห่งสเปน เพื่อขอเงินสนับสนุนจาก
ราชสานักสเปนในการเดินเรือไปอินเดียตะวันออก แต่มุ่งหน้าไปทางฝั่งตะวันตก จึงไปค้นพบ เกาะ
บาฮามาส์ (Bahamas) ทางตะวันออกของฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน และได้ตั้งอาณา
นิคมของสเปนชื่อว่า "ซาน ซัลวาดอร์" (San Salvador) ขึ้น เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 1492 โดยเชื่อว่า
ตนได้เดินทางมาถึงหมู่เกาะอินเดียตะวันออกหรือทวีปเอเชียแล้ว
• ภายหลังการเดินทางของโคลัมบัส นักเดินเรือชื่อ Americo Vespucci ได้เดินทางสารวจฝั่ง
ตะวันออกของอเมริกาใต้ และกลับมาเขียนเรื่องราวการเดินทางจนมีชื่อเสียงยิ่งกว่าโคลัมบัส ใน
เวลาต่อมา ทวีปอเมริกาจึงได้ชื่อตามนักเดินเรือผู้นี้
• นักเดินเรือชื่อ Ferdinand Magellan ได้เดินเรือไปทางอเมริกาใต้ ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไป
จนถึงทวีปเอเชียได้สาเร็จ ระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1517-1522 ซึ่งถึงแม้เข้าจะถูกชาวพื้นเมืองฆ่าตาย
ในฟิลิปินส์ แต่ลูกเรือของเขาก็ได้มีการนาเรือแล่นกลับมาจนถึงสเปนได้สาเร็จ และ Magellan จึงได้
ชื่อว่าเป็นคนแรกที่เดินทางรอบโลกได้สาเร็จ และพิสูจน์ได้ว่า โลกกลม และทวีปอเมริกาที่โคลัมบัส
ค้นพบเป็นทวีปใหม่ รวมทั้งแผนการเดินเรือของโคลัมบัสจากฝั่งตะวันตกไปยังทวีปเอเชียซึ่งอยู่ฝั่ง
ตะวันออกสามารถทาได้จริง
01999031: The Heritage of World Civilization
การก่อตั้งอาณานิคมของอังกฤษในทวีปอเมริกา
• หลังจากการค้นพบทวีปอเมริกา ฝรั่งเศสได้ส่งนักสารวจชื่อ Giovanne Verazzano ไปสารวจ
ชายฝั่ ง แม็ ก ซิ โ ก และพยายามหาเส้ น ทางผ่ า นไปยั ง ตะวั น นออกเฉี ย งเหนื อ โดยในช่ ว ง
ค.ศ. 1533-1541 ชาวฝรั่งเศสได้มีการอพยพไปทาการค้าขนสัตว์ในแถบลุ่มแม่น้า Lawrenoe
ซึ่งสร้างรายได้ให้กับฝรั่งเศสเป็นจานวนมาก และทาให้ในปี ค.ศ.1608 ได้มีการจัดตั้งเมือง
ควีเบค เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าขนสัตว์
• ใน ค.ศ. 1497 John Cabot ชาวอังกฤษได้อ้างสิทธิครอบครองดินแดนในทวีปอเมริกาแต่ยัง
ไม่ได้มีการสร้างอาณานิคมของอังกฤษในทวีปอเมริกา
• ใน ค.ศ.1570 และ ค.ศ.1578 เซอร์ ฮัมฟรีย์ กิลเบอร์ต ได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระนาง
เจ้าอลิซาเบตที่ 1ในการจัดตั้งอาณานิคมนิวฟาวแลนด์แต่ไม่ประสบความสาเร็จ
01999031: The Heritage of World Civilization
การก่อตั้งอาณานิคมของอังกฤษในทวีป
อเมริกา
• ในปี ค.ศ.1583 เซอร์วอลเตอร์ ราเลย์ ได้รับมรดกจากพี่ชาย (เซอร์ ฮัมฟรีย์ กิลเบอร์ต) ในการ
จัดตั้งอาณานิคมในอเมริกาเหนือที่ยังไม่ได้ตกเป็นสมบัติของผู้ใด
• ในปี ค.ศ.1584 เซอร์ ว อลเตอร์ ราเลย์ ได้ เ ริ่ ม ท าการส ารวจทวี ป อเมริ ก าทางฝั่ ง ทะเลของ
แคโรไลนาเหนือ และตั้งชื่อว่า ดินแดน“เวอร์จิเนีย” (Virginia) และพยายามสร้างอาณานิคมบน
เกาะ Roanoke ในแคโรไลนาเหนือ โดยส่งผู้อพยพทั้งหญิง ชาย และเด็ก จานวน 117 คน ไปตั้ง
ถิ่นฐาน แต่บุคคลเหล่านี้หายสาปสูญไปก่อนที่เรือบรรทุกอาหารและวัสดุภัณฑ์จะเดินทางไปถึง
ทาให้โครงการล้มเหลว
• ต่อมาได้มีการจัดตั้งบริษัท Joint – stook company เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนจัดตั้งอาณา
นิคมในทวีปอเมริกา และได้มีการขายหุ้นให้กับบุคคลทั่วไป โดยพยายามโฆษณาให้เห็นว่า อาณา
นิคมใหม่สามารถสร้างความร่ารวยในด้านเกษตรมากกว่ามุ่งหาทองคาหรือเงิน ซึ่งบริษัทจะเป็น
ผู้จัดการเสบียงอาหาร เครื่องมือเครื่องใช้ เสื้อผ้า เมล็ดพืช สัตว์เลี้ยง วัสดุก่อสร้าง อาวุธ และ
กระสุนดินดาให้แก่ผู้อพยพ
• เซอร์วอลเตอร์ ราเลย์ มีความเชื่อว่า ถ้าหากอังกฤษสามารถระบายพลเมืองออกไปตั้งถิ่นฐานใน
ดินแดนใหม่ได้ อังกฤษก็จะเป็นประเทศที่มั่งคั่ง เพราะอาณานิคมของอังกฤษในดินแดนใหม่จะ
เป็นแหล่งวัตถุดิบที่ป้อนให้กับโรงงานอุตสาหกรรมของอังกฤษ
01999031: The Heritage of World Civilization
เหตุผลที่ชาวยุโรปอพยพมายังทวีปอเมริกา
ในช่วงเวลาหนึ่งร้อยปี ระหว่าง ค.ศ.ที่ 17-18 มีผู้อพยพมายังทวีปอเมิรกาเป็นจานวนมาก ด้วยแรงจูงใจสาคัญคือ
1. ทฤษฎีเมอร์แคนทิลิซึม (Mercantilism) - รัฐบาลในยุโรปเชื่อว่าประเทศจะยิ่งใหญ่ได้ ต้องมีทองในท้องพระคลัง ยิ่งมีมากก็ยิ่งมี
อานาจ และเชื่อว่าความมั่งคั่งของโลกีจากัด ถ้าประเทศหนึ่งรวยอีกประเทศก็จนลง รัฐบาลจึงส่งเสริมให้ประชาชนอพยพ เพื่อเร่งขาย
และส่งสินค้าออกให้มากที่สุด
2. โอกาสที่จะสร้างฐานะของตนให้ดีขึ้น – จากปัญหาความวุ่นวายทางเศรษฐกิจในอังกฤษช่วง ค.ศ.1620-1635 ทาให้คนว่างงานและ
สูญเสียทั้งบ้านและที่ดิน รวมทั้งมีหนี้สินจานวนมาก
3. การแสวงหาเสรีภาพในการนับถือศาสนา – เนื่องจากพวก Puritans ในอังกฤษต้องการปรับปรุงนิกาย Church of England ให้เป็น
Protestant และไม่นิยมกษัตริย์และพวก Catholic จึงถูกบีบคั้นจากฝ่ายตรงข้ามจนต้องอพยพมาตั้งอาณานิคมที่อ่าวแมสซาชูเซส ใน
ค.ศ.1630 ส่วนพวก Catholic ก็อพยพมายังอเมริกาภายหลังจากสงครามไอร์แลนด์ที่ทาให้พวก Catholic ถูกฆ่าตายเป็นจานวนมาก
4. หนีความกดขี่บีบคั้นทางการเมือง – จากการปฏิวัติทางการเมืองในอังกฤษ ทาให้พระเจ้า Charles ที่ 1 ถูกประหารชีวิต และอังกฤษ
ตกอยู่ภายใต้การปกครองของ Oliver Cromwell ในระหว่าง ค.ศ. 1649-1660 เป็นสาธารณรัฐฟิวริตัน ทาให้พวก แคเวอร์เลียร์
(Cavalier) หรือ “ทหารพระราชา” ต้องอพยพไปตั้งถิ่นฐานในอาณานิคมเวอร์จิเนีย
5. ความต้องการผจญภัยในดินแดนใหม่

01999031: The Heritage of World Civilization


ผลจากการอพยพของชาวยุโรปเข้ามาในทวีปอเมริกา
ผลจากการอพยพของชาวยุโรปเข้ามาในทวีปอเมริกา ทาให้ประเทศสหรัฐอเมริกามีพื้นฐานสาคัญคือ
1. การอพยพเข้ามาของชนชาติต่าง ๆ ในยุโรป ที่มีทัศนคติ แนวความคิดและขนบธรรมเนียมประเพณี
ที่แตกต่างกันออกไป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน สก๊อต ไอริช ฮอลันดา สวีเดน
2. เกิ ด การปรั บ ตั ว เข้ า กั บ สภาพแวดล้ อ มในโลกใหม่ ที่ เ ป็ น ป่ า มี ชี วิ ต ความเป็ น อยู่ ที่ ล าบาก มี ภู มิ
ประเทศ และภูมิอากาศที่แตกต่างจากยุโรป ทาให้วัฒนธรรมของยุโรปค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป เกิด
เป็นสังคมใหม่ ซึ่งแม้จะมีความคล้ายคลึงกับยุโรป แต่ก็มีลักษณะใหม่ที่เป็น “อเมริกัน” อย่าง
ชัดเจน
3. การตั้งอาณานิคมแต่ละแห่งเป็นอิสระต่อกัน มีทางออกทะเลเป็นของตนเอง มีการค้าขาย การ
เดินเรือ และอุตสาหกรรมที่ไม่ขึ้นต่อกัน ทาให้ชาวอาณานิคมมีความรู้สึกในเรื่อง “สิทธิของรัฐ”
(State Rights) มาตั้งแต่แรก
01999031: The Heritage of World Civilization
นโยบายการตั้งอาณานิคมของอังกฤษ
นโยบายการตั้งอาณานิคมของอังกฤษไม่เหมือนกับการตั้งอาณานิคมของประเทศอื่น คือ
1. การจัดตั้งอาณานิคมริเริ่มขึ้นโดยกลุ่มบุคคลที่เป็นบริษัทไม่ใช่รัฐบาล เช่น อาณานิคมเวอร์จิเนีย และแมสซา
ซูเซทก่อตั้งขึ้นโดยบริษัท ในอาณานิคมคอนเนคติคัท ผู้มีเงินจะออกค่าเดินทางและจัดหาอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้
บ่าวไพร่ของตน
2. การจัดตั้งอาณานิคมบางส่วนเกิดจากเงินทุนของเอกชนหรือขุนนางเจ้าของที่ดิน ส่งคนของตนเองไปตั้งถิ่น
ฐานในดินแดนที่ได้รับพระราชทาน เช่น อาณานิคมแมรี่แลนด์ ที่พระเจ้า Charles ที่ 1 ได้พระราชทานที่ดิน
ให้กับ Lord Baltimore อาณานิคมนอร์ธคาโรไลนา เซาท์คาโรไลนา และเพนซิลเวเนีย ที่พระเจ้า Charles
ที่ 2 ได้พระราชทานที่ดินให้กับข้าราชบริพารและผู้ใกล้ชิด ในลักษณะของการให้เช่าที่ดินโดยเสียค่าเช่าพอ
เป็นพิธีเท่านั้น
3. การจัดตั้งอาณานิคมที่เกิดจากการแยกตัวไปจากอาณานิคมเดิม เช่น อาณานิคมโรดไอแลนด์และคอนเนค
ติคัต แยกตัวออกไปจากอาณานิคมแมสซาชูเซท อาณานิคมจอร์เจียที่เกิดจากการก่อตั้งขึ้นเพื่อปลดปล่อย
นักโทษที่มีหนี้สินจากอังกฤษ อาณานิคม New Netherland ที่ก่อตั้งโดยชาวฮอลันดา แต่ตกเป็นของอังกฤษ
ในปี ค.ศ. 1624 และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น New York
01999031: The Heritage of World Civilization
อาณานิคมของชาวยุโรปใน
ทวีปอเมริกา
• หลังการค้นพบทวีปอเมริกาในปี 1492 ในอีกร้อยกว่าปีต่อมา
แต่ละประเทศก็มีการจัดตั้งอาณานิคมในทวีปอเมริกาอย่างเต็ม
รูปแบบ
• จุดมุ่งหมายคือการสารวจเพื่อค้าขายทรัพยากรสาคัญในทวีป
อเมริกา
• สเปน- ทองคา เงิน และการค้าทาส
• ฝรั่งเศส – ค้าขนสัตว์
• อังกฤษ –ทองคา ค้าขาย เผยแพร่ศาสนา การล้ มล้า ง
อิทธิพลสเปน กสิกรรม อุตสาหกรรม
• ในช่วง ค.ศ. 1675 ชาวอาณานิคมส่วนใหญ่เป็นคนอังกฤษ มีคน
ชาติ อื่ น ๆ เช่ น ฮอลั น ดา สวี เ ดน เยอรมั น สเปน อิ ต าลี
โปรตุเกส รวมกันไม่ถึงร้อยละ
• ปี ค.ศ.1680 มี ผู้ อ พยพส่ ว นมากมาจากเยอรมั น ไอร์ แ ลนด์
สก็อตแลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ และฝรั่งเศส
• ปี ค.ศ.1775 ประชากรในอาณานิคม 13 แห่งมีถึง 2.5 ล้านคน
01999031: The Heritage of World Civilization
อาณานิคมของชาวอังกฤษใน
ทวีปอเมริกา
1 รัฐเวอร์จิเนีย 2 รัฐนิวยอร์ก
3 รัฐนิวเจอร์ซีย์ 4 รัฐเพนซิลเวเนีย
5 รัฐแมสซาชูเซตส์ 6 รัฐนิวแฮมป์เชียร์
7 รัฐโรดไอแลนด์ 8 รัฐแมริแลนด์
9 รัฐคอนเนตทิคัต 10 รัฐจอร์เจีย
11 รัฐนอร์ทแคโรไลนา 12 รัฐเซาท์แคโรไลนา
13 รัฐเดลาแวร์
* ข้อสังเกตคือแต่ละรัฐมีการก่อตั้งจากทั้งบริษัท กลุ่มคน ขุนนาง
ไปจนถึงเชื้อพระวงศ์ และมีจุดประสงค์ในการก่อตั้งแตกต่างกันไป

01999031: The Heritage of World Civilization


พื้นฐานการปกครองของอาณานิคมอังกฤษในทวีปอเมริกา
• ข้าหลวง/ผู้ว่าการอาณานิคมได้รับการแต่งตั้งจากกษัตริย์ ยกเว้นโรดไอแลนด์และคอนเนตทิคัล ที่
ประชาชนเลือกเอง
• คณะรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากผู้ว่าการ ยกเว้นโรดไอแลนด์ คอนเนตทิคัล และแมสซาชูเซตส์ ที่
ประชาชนเลือกเอง
• ทุกอาณานิคมประชาชนเลือกสมาชิกสภานิติบัญญัติเอง
• ผู้พิพากษาได้รับการแต่งตั้งจากกษัตริย์ ยกเว้นโรดไอแลนด์และคอนเนตทิคัล ที่ได้รับการแต่งตั้งจาก
สภานิติบัญญัติ
* นอกจากนี้ในบางรัฐอาณานิคมมีการก่อตั้งสภาผู้แทนราษฎร (รัฐเวอร์จิเนีย) การเขียนรัฐธรรมนูญมา
ใช้ปกครองอาณานิคม (รัฐคอนเนตทิคัล) การออกกฎหมายโดยใช้เสียงประชาชนโดยตรง (แถบนิวอิง
แลนด์)
01999031: The Heritage of World Civilization
ความสาคัญของอาณานิคมในอเมริกาต่ออังกฤษ
1. อาณานิคมจะเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบที่อังกฤษเองไม่สามารถผลิตได้
2. เป็นตลาดการค้าสาหรับสินค้าอุสาหกรรมของอังกฤษ
3. เป็นประโยชน์ต่อบริษัทเดินเรือของอังกฤษในการรับจ้างขนส่งสินค้าเข้าออกอาณานิคม
• กฎหมายการค้า (Navigation Acts) เพื่อควบคุมการค้าให้เป็นไปตามหลักพาณิชนิยม มีเนื้อหาหลักคือ ชาว
อาณานิคมของอังกฤษจะสินค้าของตนเองให้กับพ่อค้าชาติอื่นโดยตรงไม่ได้ พ่อค้าอังกฤษได้รับมอบหมายให้เป็น
พ่อค้าคนกลางในการขายสินค้าของอาณานิคมให้แก่ต่างชาติ เช่น
• Navigation Acts 1660 กาหนดให้สินค้าประเภท ยาสูบ ฝ้าย คราม ข้าว ขนสัตว์ และอุปกรณ์ต่อเรือ ฯลฯ ชาวอาณา
นิคมจะขายให้กับประเทศอื่นไม่ได้ จะต้องขายให้กับอังกฤษเท่านั้น
• Navigation Acts 1663 หรือ Staple Acts กาหนดว่า “ห้ามไม่ให้สินค้าจากยุโรปเข้าไปขายยังอาณานิคมอังกฤษก่อนที่
จะแวะไปยังเกาะอังกฤษเพื่อเสียภาษี และขนย้ายไปบรรทุกในเรือของอังกฤษ”
• ผลจากกฎหมายการค้า ทาให้สินค้าที่นามาขายยังอาณานิคมมีราคาสูง เพราะพ่อค้าอังกฤษจะฉวยโอกาสตั้งราคา
สินค้าได้ตามความพอใจ เพราะไม่มีใครเป็นคู่แข่งในตลาดการค้าที่อาณานิคม

01999031: The Heritage of World Civilization


เหตุการณ์ Boston Tea Party

งานเลี้ยงน้าชาที่บอสตัน- กรณีการโยนทิ้ง
ใ บ ช า ที่ เ มื อ ง บ อ ส ตั น เ มื่ อ วั น ที่ 1 0
พฤษภาคม ค.ศ. 1773เพื่ อประท้ ว งการ
ผูกขาดการขายชาให้กับบริษัท อีส อินเดีย
(East India Company) ของรัฐบาล
อังกฤษด้วยกฎหมายใบชา (Tea Act)
01999031: The Heritage of World Civilization
สาเหตุของสงครามประกาศอิสรภาพ
• สภาพแวดล้อมทางการเมืองการปกครองของอาณานิคมทั้ง 13 รัฐ
• ปัญหาการขูดรีดทรัพยากร จากปรัชญาเศรษฐกิจเมอร์แคนทิลิซึม (Mercantilism)
• ปั ญ หาความขัดแย้ ง ระหว่ า งรั ฐ บาลอั ง กฤษกั บ รั ฐ อาณานิ ค ม ทั้ ง ในทางเศรษฐกิ จ และทาง
การเมือง รวมทั้งกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม เช่น พ.ร.บ.น้าตาล (1764) พ.ร.บ.แสตมป์ (1765)
พ.ร.บ.ทาวน์เซนด์ (1767) ซึ่งทาให้เกิดกรณีการสังหารหมู่ชาวอาณานิคม พ.ร.บ.บังคับ (1774)
*สงครามประกาศอิสรภาพเริ่มขึ้นที่รัฐแมสซาชูเซตส์ ในปี ค.ศ.1775 สิ้นสุดลงที่รัฐเวอร์จิเนียในปี
1781 และทาสนธิสัญญาปารีส (รัฐบาลอังกฤษรับรองเอกราชของอเมริกา) ในปี 1783

01999031: The Heritage of World Civilization


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกาศอิสรภาพของอาณานิคมอังกฤษในทวีป
อเมริกา
• ชัยชนะของชาวอาณานิคมอังกฤษในสงครามระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส (ค.ศ.1754-1763)
ในทวีปอเมริกา ทาให้อังกฤษได้ดินแดนในแถบอเมริกาเหนือทั้งหมด และทาให้ชาวอาณานิคม
อังกฤษไม่ต้องกลัวภัยคุกคามจากฝรั่งเศสและอินเดียแดง ไม่จาเป็นต้องพึ่งพิงอังกฤษอีก
• ประสบการณ์การสู้รบของบรรดารัฐอาณานิคมอังกฤษในการสู้กับฝรั่งเศส ที่ถูกนามาใช้ในการ
ต่อสู้กับทหารอังกฤษจากยุโรป
• การประกาศเก็บภาษีจากชาวอาณานิคมเพิ่มขึ้นของรัฐบาลอังกฤษ เพื่อนาเงินไปใช้ชาระหนี้
สงคราม โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากผู้แทนของชาวอาณานิคม

01999031: The Heritage of World Civilization


บิดาผู้ก่อตั้งประเทศ
สหรัฐอเมริกา

• บิดาผู้ก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกา (Founding Fathers of


the United States of America) -
• เป็นกลุ่มผู้นาทางการเมือง และรัฐบุรุษ (Statesmen) ผู้มี
ส่ ว นร่ ว มในการปฏิ วั ติ ป ระกาศอิ ส รภาพของประเทศ
สหรัฐอเมริกา ด้วยการลงนามใน “คาประกาศอิสรภาพของ
ประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า” มี ส่ ว นร่ ว มในการท าสงคราม
ประกาศอิสรภาพ และการสร้างรั ฐธรรมนูญ ของประเทศ
สหรัฐอเมริกา

01999031: The Heritage of World Civilization


บิดาผู้ก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกา
1. George Washington -แม่ทัพของฝ่ายชาวอาณานิคม ผู้ประกาศอิสรภาพ ประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกา
2. John Adams - นักกฎหมาย ปัญญาชน รองประธานาธิบดีคนแรก และประธานาธิบดีคนที่สองของสหรัฐอเมริกา
3. Thomas Jefferson - ผู้เขียนหลักของคาประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา ผู้วางรากฐานแนวคิดประชาธิปไตยใหม่
และประธานาธิบดีคนที่สามของสหรัฐอเมริกา
4. James Madison -บิดาแห่งรัฐธรรมนูญ มีบทบาทสาคัญในการ่างรัฐธรรมนูญของประเทศ ประธานาธิบดีคนที่สี่ของ
สหรัฐอเมริกา
5. John Jay - รัฐบุรุษ นักการทูต ประธานศาลสูงคนแรกของสหรัฐอเมริกา
6. Alexander Hamilton - นักการทหาร นักการเงินการธนาคาร รัฐมนตรีคลัง และผู้วางรากฐานการบริหารการเงินของ
อเมริกา
7. Benjamin Franklin - นักวิทยาศาสตร์ อัจฉริยะ ผู้ค้นคิดสายล่อฟ้า นักการทูต รัฐบุรุษ

01999031: The Heritage of World Civilization


คาประกาศอิสรภาพ

“.....เราถือว่าความจริงต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ประจักษ์แจ้งอยู่ใน
ตัวเอง นั่นคือมนุษย์ทุกคนถูกสร้างขึ้นมาอย่างเท่าเทียมกัน
และพระเจ้าผู้สร้างได้มอบสิทธิบางประการที่จะเพิกถอนมิได้
ไว้ให้แก่มนุษย์ ในบรรดาสิทธิเหล่านั้น ได้แก่ ชีวิต เสรีภาพ
และการเสาะแสวงหาความสุข.....”

ค า ป ร ะ ก า ศ อิ ส ร ภ า พ เ ป็ น แ ถ ล ง ก า ร ณ์ ที่ ไ ด้ ล ง ม ติ ย อ ม รั บ เ มื่ อ
วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ซึ่งมีใจความว่า 13 อาณานิคม ซึ่งในเวลา
นั้นกาลังทาสงครามอยู่กับราชอาณาจักรบริเตนใหญ่เป็นรัฐเอกราชแล้ว
และดั ง นั้ น ไม่ ถื อ ว่ า เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของจั ก รวรรดิ อั ง กฤษอี ก ต่ อ ไป ค า
ประกาศอิสรภาพส่วนใหญ่เขียนขึ้นโดย โทมัส เจฟเฟอร์สัน

01999031: The Heritage of World Civilization


เทพีเสรีภาพ
• เทพีเสรีภาพ เป็นประติมากรรมโลหะสาริด รูปเทพีลิเบอร์ตาส (Libertas) เทพี
แห่งเสรีภาพของโรมัน ห่มเสื้อคลุม มือขวาชูคบเพลิง มือซ้ายถือแผ่นจารึกคา
ประกาศอิสรภาพของสหรัฐฯ และมีอักษรสลักว่า "JULY IV MDCCLXXVI"
หรือ วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2319 (ค.ศ. 1776) เท้าข้างหนึ่งมีโซ่ที่ขาด แสดง
ถึงความหลุดพ้นจากการเป็นทาส สวมมงกุฎ 7 แฉกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของทะเล
ทั้ ง เจ็ ด หรื อ ทวี ป ทั้ ง เจ็ ด ภายในมี บั น ไดวนรวมทั้ ง สิ้ น 162 ขั้ น เกิ ด ขึ้ น ตาม
แนวคิดของเอดูอาร์ด เดอ ลาบูลาเย นักประวัติศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส เพื่อระลึก
ถึงความสัมพันธ์ของสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศสระหว่างการปฏิวัติอเมริกัน
• ชาวฝรั่งเศสมอบเทพีเสรีภาพให้แก่สหรัฐอเมริกา เพราะพวกเขาชื่นชมชาว
อเมริกันที่กล้าหาญลุกขึ้นสู้กับสหราชอาณาจักร และประกาศอิสรภาพจาก
สหราชอาณาจักรสาเร็จจนเป็นชาติเอกราชในที่สุด ชาวฝรั่งเศสจึงรณรงค์หาเงิน
บริจาคจากทั่วประเทศ

01999031: The Heritage of World Civilization


สถานการณ์ทางการเมืองช่วงก่อตั้งประเทศ
• การปกครองแบบสมาพันธรัฐ (Confederation) ช่วงปี ค.ศ. 1781-1789 มีลักษณะเป็นกลุ่ม
สัมพันธมิตรมากกว่าเป็นประเทศที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ก่อให้เกิดปัญหา เช่น
• รัฐบาลของมลรัฐมีอานาจมากกว่ารัฐบาลกลาง รัฐบาลกลางไม่มีอานาจในทางบริหารงาน และตุลาการ เพราะ
ต้องได้รับความเห็นชอบในการออกกฎหมายจากมลรัฐ
• รัฐบาลกลางไม่สามารถเก็บภาษีหรือควบคุมการค้าขายได้ เกิดปัญหาการแก่งแย่งผลประโยชน์ระหว่างมลรัฐ
• รัฐบาลกลางไม่มีอานาจจัดการเมื่อเกิดจลาจลระหว่างรัฐ รวมทั้งประเทศต่าง ๆไม่ยอมรับยอมรับ และถูกกีด
กันทางการค้า
• มลรัฐทางเหนือเริ่มทาการเลิกทาส ตามอุดมการณ์ในคาประกาศอิสรภาพ ในขณะที่มลรัฐทางใต้ยังคงใช้แรงงาน
ทาสเป็นหลัก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นปัญหาที่นาไปสู่สงครามกลางเมือง
• มลรัฐอื่น ๆ เริ่มร่างรัฐธรรมนูญของมลรัฐ โดยรวมเอาหลักประกันสิทธิเสรีภาพ (The Bill of Right) ของชาว
อาณานิคมอังกฤษ

01999031: The Heritage of World Civilization


สถานการณ์ทางการเมืองช่วงก่อตั้งประเทศ
• การประชุมที่เมืองฟิลาเดลเฟียเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญของสมาพันธรัฐ ในปี ค.ศ. 1787 โดยใช้หลักการ
ประนีประนอม ซึ่งเป็นลักษณะการเมืองที่สาคัญของการเมืองอเมริกา ซึ่งมีหลักการที่สาคัญคือ
• การประนีประนอมระหว่างรัฐเล็กกับรัฐใหญ่ คือ รัฐสภาประกอบด้วย 2 สภา ได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมี
จานวน ส.ส.ตามสัดส่วนของประชากร และ วุฒิสภาที่ทุกรัฐมีจานวนผู้แทนเท่ากันคือ รัฐละ 2 คน
• การประนีประนอมระหว่างรัฐที่มีทาสกับรัฐที่ไม่มีทาส โดยนับจานวนพลเมืองที่เป็นทาสนิโกรเป็นจานวน 3/5
ของจานวนจริง เพื่อนาไปคิดสัดส่วนของจานวน ส.ส.ของแต่ละรัฐ และเพื่อการเก็บภาษี
• การประนีประนอมระหว่างรัฐกสิกรรมกับรัฐพานิ ช โดยที่แม้รัฐสภาจะมีอานาจในการควบคุมการค้าระหว่าง
ประเทศและการค้าระหว่างมลรัฐ แต่รัฐสภาไม่มีสิทธิออกกฎหมายห้ามการค้าทาสก่อนปี ค.ศ. 1808 และห้าม
เก็บภาษีขาออกของสินค้าภายในประเทศซึ่งเป็นผลผลิตทางการเกษตร
• การประนี ป ระนอมเกี่ ย วกั บ การให้ อ านาจบางส่ ว นเข้ า ศู น ย์ ก ลาง โดยตั้ ง ระบบสหรั ฐ กลายเป็ น ประเทศ
"สหรัฐอเมริกา" (The United States of America) ที่ให้อานาจที่สาคัญและจาเป็นในการปกครองประเทศ
แก่รัฐบาลกลาง แต่อานาจในส่วนอื่นยังคงเป็นของรัฐบาลมลรัฐ
01999031: The Heritage of World Civilization
การขยายตัวและการแตกแยกระหว่างภาค
• การออกกฎหมายเกี่ยวกับดินแดนตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ (The Northwest Ordinance
1787) ซึ่งส่งเสริมให้มีการตั้งรัฐบาลปกครองตัวเองในอาณานิคม ที่มีใจความสาคัญข้อหนึ่งคือ “ห้ามมิ
ให้มีการใช้ทาส”
• การปฏิ วั ติ อุ ต สาหกรรมและการปฏิ วั ติ เ กษตรกรรม ที่ ส่ ง ผลต่ อ การพั ฒ นาการผลิ ต และการค้ า
ภายในประเทศ
• ความต้องการที่แตกต่างกัน ระหว่างรัฐในภาคเหนือ (ที่ต้องการให้รัฐบาลขึ้นกาแพงภาษี) ในขณะที่รัฐ
ในภาคใต้ และรัฐทางตะวันตก (รัฐที่ไม่ใช่ 13 รัฐในอาณานิคมอังกฤษเดิม) ต้องการให้ลดกาแพงภาษี
• มุมมองในประเด็นการใช้แรงงานทาส ระหว่างรัฐภาคเหนือที่มีมุมมองการใช้แรงงานทาสในประเด็น
ด้านศีลธรรมและรัฐภาคใต้ที่มีมุมมองต่อแรงงานทาสในฐานะสิทธิในสมบัติของชาวภาคใต้
01999031: The Heritage of World Civilization
ชนวนเหตุของสงครามกลางเมือง
• ความแตกต่างของการผลิตและสภาพเศรษฐกิจของรัฐทางเหนือและรัฐทางใต้
• รัฐทางเหนือเน้นการผลิตด้านอุตสาหกรรม และมีภาคกสิกรรมในรูปแบบไร่นาขนาดเล็กที่ใช้แรงงาน
ในครอบครัว ขณะที่รัฐทางใต้เน้นการผลิตด้านกสิกรรมในรูปแบบของเจ้าที่ดินสมัยศักดินา ซึ่งมี การ
ทาไร่ขนาดใหญ่และใช้แรงงานทาส
• การดาเนินนโยบายตั้งกาแพงภาษีของรัฐบาลกลาง ที่มุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมของประเทศด้วยการตั้ง
กาแพงภาษีขาเข้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อการค้าขายของรัฐทางใต้กับต่างประเทศ
• การได้ดินแดนทางตะวันตกเพิ่มขึ้นของสหรัฐ ทาให้เกิดข้อพิพาทระหว่างรัฐทางเหนือกับรัฐทางใต้ ที่
ต่างต้องการขยายแนวคิดของแต่ละฝ่าย เช่น อเมริกาได้ซื้อ “ลุยเซียนา”มาจากฝรั่งเศส (ราคา 15
ล้านเหรียญสหรัฐ พื้นที่ 828,000 ตารางไมล์ ) และได้รับดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีป
อเมริกาเหนือมาแทนค่าปฏิกรรมสงคราม จากชัยชนะในการทาสงครามกับสเปนและเม็กซิโก
01999031: The Heritage of World Civilization
ชนวนเหตุของสงครามกลางเมือง
• กฎหมายแคนซัส – เนบราสกา (Kansas-Nebraska) เป็นการแบ่งดินแดน
ลุยเซียนาที่เหลือออกเป็น 2 ส่วน โดยให้ประชาชนของดินแดนแคนซัส และ
เนแบรสกา เลือกเองว่าจะเป็นดินแดนที่มีทาสหรือไม่ ซึ่งผลจากกาหมายฉบับนี้
ก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองในแคนซัส
• พรรครีพับลิกัน (1854) ที่มีนโยบายหลักในการต่อต้านการขยายตัวของระบบ
ทาสในสหรัฐอเมริกา
• การเกิดคาตัดสินในคดีเดรด สกอต (1857) ศาลตัดสินให้เดรด สกอต เป็นทาส
ไม่ ใ ช่ ป ระชาชนไม่ มี สิ ท ธิ ฟ้ อ งร้ อ งต่ อ ศาล และรั ฐ สภาจะห้ า มการมี ท าสใน
ดินแดนต่าง ๆ ไม่ได้ เพราะทาสเป็นสมบัติของเจ้าของ
• ชัยชนะของอับราฮัม ลินคอล์น ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี (1860) ทาให้
รัฐทั้ง 7 รัฐไม่พอใจ และรวมตัวกันตั้งสมาพันธรัฐอเมริกาขึ้น (Confederate
States of America) ในปี ค.ศ. 1861 ได้แก่ มลรัฐเซาท์แคโรไลนา มิสซิสซิปปี
ฟลอริดา แอละแบมา จอร์เจีย และลุยเซียนา เทกซัส ต่อมามีรัฐอาร์คันซอ
เทนเนสซี เวอร์จิเนีย และนอร์ทแคโรไลนา เข้าร่วม รวมเป็น 11 รัฐ
01999031: The Heritage of World Civilization
สงครามกลางเมือง และการสิ้นสุดสงครามกลางเมือง
• สงครามกลางเมือง ( The American Civil War ) ค.ศ. 1861 - 1865 (พ.ศ. 2404 - 2408)
เกิดขึ้นภายหลังจากที่อับราฮัม ลินคอล์นได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปี ค.ศ.1860 และ
ประกาศไม่รับรองการแยกตัวของมลรัฐทางภาคใต้ ที่ประกาศแยกตัวเพราะไม่พอใจผลการเลือกตั้ง
ประธานาธิบดี โดยลินคอล์นให้เหตุผลว่าไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และให้สัญญาว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับ
ปัญหาเรื่องทาสในมลรัฐที่มีทาสอยู่แล้ว แต่มลรัฐทางภาคใต้มิได้ยอมรับฟังเหตุผลและได้เข้าโจมตี
ค่ายทหารของรัฐบาลกลางที่ประจาการอยู่ในมลรัฐทางภาคใต้ซึ่งนับว่าเป็นการจุดชนวนที่ทาให้
เกิ ด สงครามกลางเมื อ งขึ้ น ในวั น ที่ 21 เมษายน ค.ศ.1861 ดั ง นั้ น ประธานาธิ บ ดี ลิ น คอร์ น จึ ง
ประกาศใช้กาลังเข้าปราบปรามมลรัฐทางภาคใต้ที่แยกตัวออก
• ช่วงของสงครามกลางเมือง ฝ่ายเหนือมีความเข้มแข็งกว่าฝ่ายใต้ เพราะมีพลเมืองมากกว่า เป็นรัฐ
อุตสาหกรรม มีอาวุธและเครื่องจักรสาหรับผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ มีรถไฟสาหรับขนส่งทหารและได้
เรือรบของชาติไว้เกือบทั้งหมด ทาให้สามารถป้องกันไม่ให้รัฐทางใต้ทาหารค้าและได้เสบียงอาหารจาก
ประเทศอื่น ๆ

01999031: The Heritage of World Civilization


01999031: The Heritage of World Civilization
สงครามกลางเมือง และการสิ้นสุดสงคราม
กลางเมือง
• สงครามกลางเมืองสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1865 เมื่อนายพลลี ผู้นาทหาร
ของฝ่ า ยใต้ ถู ก บั ง คั บ ให้ ย อมจ านนที่ แ อพโพแมตทอก คอร์ ท เฮาส์
(Appomattox Courthouse)
• หลังสิ้นสุดสงคราม ประธานาธิบดีลินคอร์นได้แถลงนโยบายเกี่ยวกับการ
บู ร ณะฟื้ น ฟู เพื่ อ แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง วั ต ถุ ป ระสงค์ อั น ยิ่ ง ใหญ่ ใ นการท า
สงครามกลางเมือง เพื่อรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสหรัฐไว้
• ในวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1865 ประธานาธิบดีลินคอร์นถูกลอบสังหาร
โดยชาวผิวขาวที่เคยสนับสนุนการเลิกทาส แต่อับราฮัมต้องการให้คนผิว
ดามีสิทธิการเลือกตั้งเท่าเทียมกับคนขาว ทาให้คนขาวหลายคนรวมทั้ง
มือสังหารไม่พอใจ
• หลังสงครามกลางเมืองในเดือนเมษายน ค.ศ. 1865 ก็ยังคงมีการสู้รบ
ระหว่างตัวแทนของรัฐฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ยาวนานกว่า 10 ปี
01999031: The Heritage of World Civilization
ผลของสงครามกลางเมือง
• การมีบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 3 ข้อ ได้แก่
• ข้อ 13 ให้เลิกทาส
• ข้อ 14 ให้ชาวอเมริกันทุกคนมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
• ข้อ 15 ให้ชาวนิโกรผิวดา ซึ่งเคยเป็นทาสมาก่อนมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
• การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง มีการรวมตัวกันเหนียวแน่นของตัวแทนพรรค
การเมืองของรัฐภาคเหนือ คือ พรรครีพับลิกัน กับ ตัวแทนพรรคการเมืองของ
รัฐภาคใต้ คือ พรรคเดโมแครต
• การเจริญเติบโตของรัฐทางภาคเหนือ ทั้งในเชิงอานาจทางการเมืองที่เปลี่ยนมือ
มาเป็นนักอุตสาหกรรมทางภาคเหนือ และ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
• การซื้อดินแดนอะแลสกาจากรัสเซียของสหรัฐฯ เพื่อตอบแทนบุญคุณที่ช่วย
สนับสนุนรัฐฝ่ายเหนือมาตลอดการทาสงครามกลางเมือง เป็นเงิน 7,200,000
เหรียญสหรัฐ

01999031: The Heritage of World Civilization


การฟื้นฟูประเทศภายหลังสงครามกลางเมือง
• การออกกฎหมายฟื้นฟู (The Reconstruction Act of 1867) –มีหลักการสาคัญในการให้สิทธิ
ชาวนิโกรเทียบเท่าชาวผิวขาว ตัดสิทธิทางการเมืองของผู้ที่เคยทางานให้สมาพันธรัฐ ใช้กาลังทหารเข้า
ควบคุมมลรัฐฝ่ายใต้ทุกรัฐ และมลรัฐฝ่ายใต้จะกลับมามีผู้แทนในรัฐสภาได้ก็ต่อเมื่อยอมรับบทบัญญัติ
• การออกกฎหมายนิรโทษกรรม ให้แก่ผู้นาของสมาพันธรัฐของรัฐฝ่ายใต้ในปี 1872 และเปิดโอกาสให้
เข้าสมัครรับเลือกตั้งและมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้
• การถอนกาลังทหาร ออกจากดินแดนมลรัฐฝ่ายใต้ในปี 1876 และการปราบปรามการคอรั ปชันทั่ว
ประเทศในสมัยประธานาธิบดีเฮส์
• การขยายตัวและความเจริญเติบโตในด้านอุตสาหกรรม ที่แผ่ขยายไปทั่วประเทศจากการสนับสนุน
ด้านนโยบายของรัฐบาลกลาง
01999031: The Heritage of World Civilization
Link สาหรับศึกษาเพิ่มเติม
• การกาเนิดประเทศอเมริกา
https://www.youtube.com/watch?v=cTXtexl1r30
• The United States of America - summary of the country's history
https://www.youtube.com/watch?v=UbpoC2Y9DIA
• เนื้อหาในคาประกาศอิสรภาพของอเมริกา
https://prachatai.com/journal/2012/07/41377
• การประกาศอิสรภาพของอเมริกา
https://www.youtube.com/watch?v=OaREZdabQt8
• รายชื่อประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
https://sites.google.com/site/pk5510101241/ray-chux-prathanathibdi-shrathxmerika

01999031: The Heritage of World Civilization

You might also like