You are on page 1of 9

ประวัติภาษาอังกฤษ

บทความนี้ข้าพเจ้าได้แปลเรียบเรียงจากบทความต้นฉบับที่เป็ น
ภาษาอังกฤษซึ่งเขียนลงในเว็บไซด์ของ www.
voaspecialenglish.com เขียนโดย คุณพอล ทอมสัน (Paul
Thomson) มีการลงบทความนี้ 2 ครัง้ คือ วันที่ 21 ธันวาคม
2548 และ วันที่ 28 ธันวาคม 2548 เช่นกัน โดยเนื้ อหาของ
บทความมีความเกี่ยวเนื่ องกัน โดยครัง้ แรกตัง้ เป็ นหัวข้อคำาถามว่า
ภาษาอังกฤษมาจากไหน
ครัง้ ที่ 2 ภาษานี้มก
ี ารเจริญเติบโตอย่างไร
1. ภาษาอังกฤษมาจากไหน (Where did the English
Language Come from ?)
ในโลกนี้มีคนพยายามเรียนภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาอื่น ๆ
ภาษาอังกฤษเป็ นภาษาที่
ใช้ในการทำาข้อตกลงทางการเมือง การกระทำาธุรกิจระหว่างประเทศใช้
เป็ นภาษาสากลในทางวิทยาศาสตร์และยา มีข้อตกลงที่เป็ นสากล
กล่าวว่าผ้้ท่ีเป็ นนั กบินต้องพ้ดภาษาอังกฤษในการสื่อสาร
ภาษาอังกฤษเป็ นภาษาต่างประเทศและเป็ นภาษาหลักที่สอน
อย่้ในอเมริกาใต้และ
ยุโรป ในประเทศฟิ ลิปปิ นส์และประเทศญี่ปุ่น เด็กนั กเรียนเริ่มเรียน
ภาษาอังกฤษตัง้ แต่อายุยังน้ อย ภาษาอังกฤษได้ถ้กใช้เป็ นภาษา
ทางการมากกว่า 75 ประเทศ รวมทัง้ ประเทศอังกฤษ แคนดา
สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้
ในประเทศต่าง ๆ ที่มีคนพ้ดหลาย ๆ ภาษาในประเทศเดียวกัน
ภาษาอังกฤษได้ถ้กใช้เป็ นภาษาทางการ เพื่อช่วยเหลือคนเหล่านั ้นใน
การติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน ประเทศอินเดียเป็ นตัวอย่างที่ดีสำาหรับ
เรื่องนี้ ในประเทศอินเดียภาษาอังกฤษเป็ นเรื่องธรรมดา เพราะว่า
ภาษาที่ใช้พ้ดในประเทศนี้อย่างน้ อยที่สุด 24 ภาษา ในประชากร
ล้านกว่าคน
ถ้าถามว่าภาษาอังกฤษมาจากไหน ทำาไมถึงเป็ นที่นิยมใช้ภาษานี้
ก่อนที่จะตอบคำาถามเหล่านี้ เราต้องเดินทางย้อนกลับไปในช่วงเวลา
ประมาณ 5 พันปี มาแล้ว ที่ดินแดนทางเหนื อของทะเลดำา (Black
Sea) ในยุโรปตะวันออกเฉี ยงใต้ผ้เชี่ยวชาญกล่าวว่าคนในบริเวณดิน
แดนแห่งนี้ได้พ้ดภาษาที่เรียกว่า โปรโต - อินโด - ยุโรเปี ยน (Proto
– Indo – European) ภาษาที่วา่ นี้ไม่ได้ใช้เป็ นภาษาพ้ดอีกต่อไป
นั กวิจัยหลายคนไม่ทราบเป็ นที่แน่ นอนว่าภาษาที่ว่านี้มีลักษณะเป็ น
เช่นไร
อย่างไรก็ตามเชื่อกันว่าภาษา โปรโต – อินโด – ยุโรเปี ยน เป็ น
ภาษาของบรรพบุรุษของภาษาของชาวยุโรปส่วนใหญ่ รวมทัง้ ภาษา
กรีกโบราณ ภาษาเยอรมันโบราณ และภาษาละตินโบราณ
ภาษาละตินนั ้นไม่ปรากฏว่าเป็ นภาษาพ้ดอีก อย่างไรก็ตามภาษา
ละตินจะแฝงอย่้ข้างหลัง (ผสมผสาน) ใน 3 ภาษาที่สำาคัญ ๆ คือ
ภาษาสเปนยุคใหม่ ภาษาฝรัง่ เศส และภาษาอิตาเลียน ภาษาเยอรมัน
โบราณก็ได้สบื ทอดและกลายเป็ นภาษาดัทช์ ภาษาแดนิ ช ภาษา
เยอรมัน ภาษานอรเวเจียน ภาษาสวีดิช และอีกภาษาหนึ่ งที่ได้
พัฒนามาเป็ นภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษเป็ นผลลัพธ์ของการเข้าไปรุกราน (แผ่ขยาย) ใน
เกาะบริเตน เป็ นเวลาหลายร้อยปี มาแล้ว ผ้้รก
ุ รานเหล่านั ้นอาศัยอย่้
ทางตอนเหนื อตามชายฝั่ งทะเลของยุโรป

การรุกรานครัง้ แรกโดยกลุ่มคนที่เรียกว่า แองเกิล (Angles)


เมื่อประมาณ 1,500 ปี มาแล้ว พวกแองเกิลเป็ นคนเยอรมัน
(German tribe) เป็ นพวกที่เข้ามาทางช่องแคบอังกฤษ หลังจากนั ้นมี
อีก 2 กลุ่ม ที่เข้ามาส่้บริเตน คือพวกเซกซันและจ้ทส์ (Saxons and
Jutes) กลุ่มคนเหล่านี้ได้พบกับพวกเคลท์ซ่ ึงเป็ นพวกที่อาศัยอย่้บน
เกาะบริเตนนั บเป็ นเวลาหลายพันปี มาแล้ว พวกเคลท์ก็ได้ทำาการส้้รบ
กับผ้้ท่รี ุกรานเหล่านั ้น
หลังจากนั ้นไม่นานนั ก พวกเคลท์ส่วนใหญ่ ถ้กฆ่าตาย หรือไม่ก็
ตกเป็ นทาสของผ้้ท่ีรุกราน บางกลุ่มก็หนี ไปอาศัยในดินแดนที่เรียกว่า
เวลล์ (Wales) หลายปี ผ่านไปพวกเซกซัน (Saxons) พวกแองเกิล
(Angles) และพวกจ้ทส์ (Jutes) ได้มีการผสมผสานกันระหว่างภาษา
ที่แตกต่างของพวกเขา ผลลัพธ์ ก็คือภาษานั ้นถ้กเรียกว่า ภาษาแอง
โกล – แซกซัน (Anglo – Saxon) หรือ ภาษาอังกฤษโบราณ (old
English)
งานเขียนต่าง ๆ หลายชิน
้ ยังได้ดำารงไว้จากภาษาอังกฤษโบราณ
(old English) บางที่ชิน
้ งานที่สำาคัญมาก ๆ ที่เรียกว่า บีโอว้ล์ฟ
(Beowulf) เป็ นที่ร้จก
ั กันว่าเป็ นบทประพันธ์ท่ีเก่าแก่ท่ีสุด ผ้้เชี่ยวชาญ
กล่าวว่า มันถ้กเขียนขึ้นในเกาะบริเตนมานานกว่า 1,000 ปี มาแล้ว
โดยไม่ปรากฏชื่อผ้้เขียนว่าเป็ นใคร บีโอว้ล์ฟ (Beowulf) เป็ นเรื่องของ
กษั ตริย์ท่ีย่ิงใหญ่ ผ้้ทำาการส้้รบกับสัตว์
มหรรศจรรย์ พระองค์เป็ นกษั ตริย์ท่ีดีท่ีมีพสกนิ กรรักใคร่ หนั งสือใหม่
ที่เขียนโดย เชมัส ฮีนีย์ (Seamus Heaney) ได้บอกถึงเรื่องโบราณนี้
เป็ นภาษาอังกฤษยุคใหม่ (Modern English)
การรุกรานครัง้ ใหญ่ของบริเตนมาจากทางเหนื อสุดเริ่มขึ้นเมื่อ
ประมาณ 1100 ปี มาแล้ว พวกเฟิ ร์ซ (Fierce) หรือที่เรียกว่าไวกิง้ ส์
(Vikings) ได้จ่้โจมอย่างกะทันหันทางด้านบริเวณชายฝั่ งของเกาะ
บริเตน พวกไวกิง้ ส์มาจากประเทศเดนมาร์ก นอรเวย์ และประเทศอื่น
ๆ ทางตอนเหนื อ พวกเขาเข้ายึดและครอบครองสินค้า พวกทาสและ
สิ่งของอันมีค่าต่าง ๆ
ในบางพื้นที่พวกไวกิง้ ส์เจริญอำานาจ พวกเขาจะสร้างบ้านที่มัน
ชัว่ คราวบางครัง้ ฐานที่มันชัว่ คราวกลายเป็ นฐานที่มันถาวร ต่อมาพวก
ไวกิง้ ส์เหล่านี้เป็ นจำานวนมากได้อาศัยอย่้ในเกาะบริเตน มีภาษา
อังกฤษหลายคำาที่ใช้อย่้ในปั จจุบันนี้ท่ีมาจากภาษาไวกิง้ ส์โบราณ เช่น
คำาว่า sky, leg, skull, egg, crawl, lift และ take มาจากภาษาของ
ประเทศทางเหนื อสุดเหล่าโน้ น
การรุกรานเกาะบริเตนในครัง้ ต่อมาเกิดขึ้นเมื่อ 900 กว่าปี มา
แล้ว ในปี คศ. 1066 ผ้้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์เรียกการรุกรา
นครึ้งนี้ว่า Norman Conquest นำ าโดยพระเจ้าวิลเลี่ยม (William the
Conqueror)
พวกนอร์แมน เป็ นชนที่พ้ดภาษาฝรัง่ เศสจากแคว้นนอร์มังดี
(Normandy) ในตอนเหนื อของประเทศฝรัง่ เศสพวกเขากลายเป็ น
ชนชัน
้ ปกครองในเกาะบริเตน ชนชัน ้ ปกครองใหม่เหล่านี้จะพ้ดเฉพาะ
ภาษาฝรัง่ เศสอย่างเดียวเท่านั ้น มันเป็ นภาษาที่สำาคัญมากในโลกใน
สมัยนั ้น เป็ นภาษาของคนมีการศึกษา แต่ว่ายังเป็ นเรื่องธรรมดาของ
ประชากรบนเกาะบริเตนที่พ้ดภาษาอังกฤษโบราณอย่้

ภาษาอังกฤษยุคโบราณ(Old English)ได้ยืมภาษาฝรัง่ เศสของ


พวกนอร์แมน
-3-
หลายคำา เช่น damage, prison และ marriage เป็ นต้น คำาในภาษา
อังกฤษส่วนใหญ่ท่ีใช้อธิบายกฎหมาย และใช้ทางราชการมาจากภาษา
ฝรัง่ เศส เช่นคำาว่า jury, parliament, และ justice
ภาษาฝรัง่ เศสใช้โดยชนชัน ้ ปกครองชาวนอร์แมนได้
เปลี่ยนแปลงแนวทางการพ้ดภาษาอังกฤษอย่างยิ่งใหญ่เมื่อ 800
กว่าปี ท่ีผ่านมา ในช่วงเวลาที่ผ่านไปการปกครองของชาวนอร์แมนไม่
ได้พ้ดภาษาฝรัง่ เศสเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ภาษาของพวกเขาจะผสม
ผสานระหว่างภาษาฝรัง่ เศสและภาษาอังกฤษยุคกลาง (Middle
English)
ภาษาอังกฤษยุคกลางก็เหมือนกับภาษาอังกฤษยุคใหม่ แต่ว่า
เป็ นการยากลำาบากมากที่จะเข้าใจในปั จจุบันนี้ งานเขียนต่าง ๆ
จำานวนมากที่เขียนในยุคนี้ ยังคงดำารงอย่้ งานเขียนที่สำาคัญที่สุดเขียน
โดย เจฟฟรีย์ ชอเซอร์) Geoffrey Chaucer นั กกวีผ้ซ่ ึงอาศัยอย่้ใน
ลอนดอนและ
้ ชีวิต ณ ที่นั้นในศตวรรษที่ 14 งานชิน
สิน ้ สำาคัญของชอเซอร์ คือ
“The Canterbury Tales” ซึ่งงานชิน
้ นี้ได้เขียนขึ้น 600 ปี มาแล้ว
งานเขียน “The Canterbury Tales” เป็ นการรวบรวมของบท
กวี เกี่ยวกับการเดินทางของบุคคลที่แตกต่างกันไปยังเมือง
Canterbury
ผ้้เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษกล่าวว่า Geoffrey Chaucer เป็ นนั ก
เขียนที่สำาคัญคนแรกที่ใช้ภาษาอังกฤษ พวกเขาเห็นด้วยกับบทกวี
ภาษาอังกฤษยุคกลางที่ย่ิงใหญ่ของชอเซอร์ ทำาให้มองเห็นภาพพจน์
ของคนในสมัยของเขาอย่างชัดเจน บุคคลบางคนที่อธิบายไว้ใน “The
Canterbury Tales” เป็ นบุคคลที่ฉลาด และกล้าหาญ บางคนก็เป็ น
คนโง่ เซ่อ บางคนก็เชื่อว่าพวกเขาเป็ นผ้้สำาคัญอย่างยิ่งยวด บางคนก็ดี
แสนดี แต่พวกเขาทัง้ หมดยังมองว่าเป็ นเช่นนั ้นจริง ๆ

2. ภาษามีการวิวัฒนาการอย่างไร (How a Language Grew)


การรุกรานมากกว่าสองครัง้ ได้เพิ่มคำาศัพท์ต่าง ๆ ในภาษา
อังกฤษยุคโบราณมากมาย พวกไวกิง้ จากประเทศเดนมาร์ค ประเทศ
นอรเวย์ และประเทศสวีเดน เข้ามาอาศัยอย่้ในเกาะบริเตนกว่า
1,000 ปี มาแล้ว การรุกรานครัง้ ต่อมาเกิดขึ้นเมื่อปี 1066 โดยชาว
ฝรัง่ เศสที่มีพระเจ้าวิลเลียม (William the Conqueror) เป็ นผ้้นำาใน
การรุกรานครัง้ นี้
้ ปกครองชาวนอร์แมน (Norman) ได้เพิ่มคำาต่าง ๆ ใน
ชนชัน
ภาษาอังกฤษอย่างมากมาย เช่น คำาว่า parliament, jury, justic และ
คำาอื่น ๆ อีกมากที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายที่มาจากชนชัน ้
ปกครองชาวนอร์แมน
กาลเวลาได้ผ่านมาหลายยุคหลายสมัยภาษาต่าง ๆ เหล่านั ้นได้
รวมกันเข้า ผ้้เชี่ยวชาญได้เรียกภาษาที่เกิดขึ้นเช่นนั ้นว่า ภาษาอังกฤษ
ยุคกลาง (Middle English) ขณะเดียวกันภาษาอังกฤษ

ยุคกลางยังคงมีเสียงคล้ายกับภาษาเยอรมันเช่นกันการเริ่มต้นออก
เสียงเหมือนภาษาอังกฤษยุคใหม่ (Modern English)
ชอเซอร์ (Chaucer) ได้เขียนบทกวีเรื่อง “The Canterbury
Tales” ซึ่งเขียนเป็ นภาษาอังกฤษยุคกลาง (Middle English) ได้
เขียนขึ้นในปลายศตวรรษที่ 13 เป็ นการเขี
-4- ยนงานที่ใช้ภาษาที่ไม่ใช่
ของชนชัน ้ ปกครองเพราะชนชัน
้ ปกครองเกาะบริเตนในสมัยนั ้นยังคง
ใช้ภาษาฝรัง่ เศสเป็ นภาษาพ้ดที่เป็ นภาษามากับพวกเขาในปี 1066
กษั ตริย์ของบริเตนไม่ได้ใช้ภาษาที่ชนในเกาะบริเตนใช้อย่้ใน
สมัยนั ้น จนกระทัง่ ตอนต้นของศตวรรษที่ 14 ภาษาฝรัง่ เศสแบบน
อร์แมนค่อย ๆ หายไปอย่างช้า ๆ และจนกระทัง่ ไม่ปรากฏ
ภาษาอังกฤษได้รับอิทธิพลอย่างมากจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิด
ขึ้นมากกว่า 1400 ปี มาแล้ว พวกที่นับถือศาสนาโรมันคาธอลิค ได้เริ่ม
พยายามที่จะให้ศาสนาคริสต์เป็ นศาสนาแห่งบริเตน
ภาษาที่ชาวโรมันคาธอลิคเหล่านั ้นใช้คือ ภาษาละติน (Latin)
ภาษาละตินนั ้นไม่ได้เป็ นภาษาที่ใช้พ้ดเหมือนภาษาที่ใช้กันอย่้ใน
ประเทศต่าง ๆ ในสมัยนั ้น แต่ก็ยังมีการใช้อย่้ในเฉพาะ
บางคน
ภาษาละตินเป็ นภาษาที่ใช้กันอย่้ในหม่้สมาชิกที่อย่้ในโบสถ์ (
ในหม่้พระหรือบาทหลวง) จากกรุงโรมซึ่งใช้พ้ดกับพระหรือบาทหลวง
ในเกาะบริเตน ผ้้มีการศึกษาชัน
้ ส้งจากประเทศต่าง ๆ สามารถติดต่อ
สื่อสารกันได้โดยใช้ภาษาละติน ภาษาละตินมีอิทธิพลอันยิ่งใหญ่มาก
ต่อภาษาอังกฤษ
ต่อไปนี้เป็ นเพียง 2- 3 ตัวอย่าง เช่นคำาว่า discus ได้กลายเป็ น
คำาทัว่ ๆ ไปในภาษาอังกฤษรวมทัง้ คำาว่า disk, desk, และภาษาละติน
ในคำาว่า quietus กลายเป็ นคำาว่า quiet ในภาษาอังกฤษ
ชื่อพืชพันธ์บางชนิ ดในภาษาอังกฤษ เช่น ginger, trees,cedar ที่มา
จากภาษาละตินและยังมีคำาที่ใช้ในวงการแพทย์บางคำาเช่น cancer
เป็ นต้น
ภาษาอังกฤษก็เสมือนกับสิ่งมีชีวิตที่ยังคงเจริญเติบโตภาษา
อังกฤษเริ่มเจริญเติบโตอย่าง
รวดเร็วเมื่อ วิลเลี่ยม แค็กตัน (William Caxton) กลับมาส่้เกาะ
บริเตนในปี ค.ศ.1476 โดยเขาได้ใช้ชีวิตอย่้ในฮอลแลนด์ (Holland)
และบริเวณอื่น ๆ ของยุโรป ซึ่งเป็ นที่เขาได้เรียนร้้ในเรื่องของการพิมพ์
เขากลับมาส่้เกาะบริเตนพร้อมกับมีส่ิงพิมพ์เกิดขึ้นเป็ นครัง้ แรกสิ่ง
พิมพ์เหล่านั ้นคนส่วนใหญ่สามารถซื้อหาได้ในร้ปของหนั งสือ ช่วย
ทำาให้การศึกษาและภาษาอังกฤษขยายอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว
จากนั ้นการขยายตัวเริ่มช้าลงในระหว่างศตวรรษที่ 15 ภาษา
อังกฤษได้กลายเป็ นภาษาที่ทันสมัยทีเราคงจำาได้ ผ้้ท่ีพ้ดภาษาอังกฤษ
ในช่วงศตวรรษที่ 16 ที่ผ่านมา มันเป็ นช่วงเวลาที่นักเขียนที่ย่ิง
ใหญ่ท่ีสุดท่านหนึ่ งได้ผลิตผลงานของเขา โดยใช้ภาษาอังกฤษเขา คือ
วิลเลี่ยม เชคเปี ยร์ (William shakespeare) บทละครของเขาได้รับ
การตีพิมพ์อย่างต่อเนื่ อง ได้นำาแสดงในโรงภาพยนต์ ที่สามารถสะท้อน
อารมณ์ในตัวละครได้เป็ นส่วนใหญ่ 400 ปี หลังจากที่เขาเสียชีวิต
ผ้้เชี่ยวชาญกล่าวว่างานของเชคเปี ยร์ได้เขียนขึ้นเพื่อการแสดง
บนเวที ไม่ใช่เป็ นเรื่องที่ใช้อ่าน เท่านั ้นยังไม่พอ ทุก ๆ คำาพ้ดในบท
ละครของเขาสามารถสะท้อนให้เห็นเป็ นภาพได้ และสามารถทำาให้เกิด
ความร้้สึกโกรธ กลัว และเสียงหัวเราะ บทละครที่สำาคัญของเชคเปี ยร์
คือ โรมิโอ และจ้เลียท (Romeo and Juliet) เป็ นเรื่องที่เศร้ามาก
้ -5-
ทำาให้คนร้องไห้เมื่อพวกเขาได้ดบ ทละครที่สำาคัญเรื่องนี้
เรื่องของพระเจ้าริชาร์ด ที่ 3 กษั ตริย์ผ้กระหายอำานาจ เรื่องนี้ก็
เป็ นบทละครที่เป็ นที่ร้จักกันดีอก
ี เรื่องหนึ่ งของเชคสเปี ยร์
การพัฒนาของภาษาอังกฤษเกิดขึ้นไปอีกก้าวหนึ่ งแล้วการเสียชี
วิตของเชคสเปี ยร์ เรือเล็ก ๆ 3 ลำาจากบริติช ข้ามมหาสมุทร
แอตแลนติก ในปี ค.ศ. 1607 พวกเขาได้จอดเรือเทียบท่าที่บริเวณซึ่ง
ต่อมากลายเป็ นรัฐ รัฐหนึ่ งของอเมริกาตอนใต้ ชื่อเวอร์จิเนี ย บริเวณนี้
เริ่มเป็ นอาณานิ คมของอังกฤษเป็ นเมืองแรกในบรรดาเมืองต่าง ๆ
อาณานิ คมเล็ก ๆ เมืองแรกอีกเมืองหนึ่ ง ชื่อ เจมส์ทาวน์ (Jamestown)
ในขณะนั ้น ประชาชนที่อาศัยอย่้ในอาณานิ คมเหล่านั ้นเริ่มต้นเรียก
พื้นที่แผ่นดินใหม่นี้โดยใช้ช่ ือจากเจ้าของภาษาเดิมที่พวกเขาได้อาศัย
อย่้ในที่นั้น ๆ ชื่อแม่นำ้าสายสำาคัญ ๆ ในอเมริกามาจากภาษาอเมริกัน
อินเดียน (อินเดียนแดง) เช่น the Mississippi, the Tennessee, the
Missouri เป็ นต้น
ภาษาอเมริกันคำาอื่น ๆ หลายคำารวมคำาว่า moccasin เป็ น
รองเท้าชนิ ดหนึ่ งที่ทำาจากหนั งสัตว์ท่ีชาวอินเดียนแดงใส่ การยืมหรือ
การเพิ่มคำาจากภาษาต่างประเทศในภาษาอังกฤษเป็ นการเพิ่มขยาย
ทางภาษา ชื่อวัน 3 วันใน 1 สัปดาห์ เป็ นตัวอย่างในเรื่องนี้ได้ดี
ประชาชนตอนเหนื อของยุโรปบ้ชาเทพเจ้า 3 องค์ โดยมีวันพิเศษใน
แต่ละสัปดาห์ เทพเจ้าเหล่านั ้นคือ เทพเจ้า Odin เทพเจ้า Thor และ
เทพเจ้า Freya ดังนั ้นคำาว่า Odin’s –day ได้กลายเป็ น
Wednesday คำาว่า Thor’s – day ได้กลายเป็ น Thursday และคำา
ว่า Freya’s- day ได้กลายเป็ น Friday ในภาษาอังกฤษ
ประเทศอังกฤษ (Britain) ได้มีเมืองขึ้นอื่น ๆ อีกในแอฟริกา ใน
เอเชีย ในแถบทะเลแคริบเบียน และประเทศอินเดีย ภาษาอังกฤษได้
กลายเป็ นส่วนหนึ่ งของประเทศที่เป็ นอาณานิ คมเหล่านี้ ในปั จจุบันนี้
ประเทศอาณานิ คมเหล่านี้ได้รบ
ั อิสระแล้ว แต่ภาษาอังกฤษยังคงเป็ น
ภาษาพ้ดอีกภาษาหนึ่ ง และภาษาอังกฤษเหล่านั ้นได้เจริญเติบโตโดยมี
ภาษาเดิมของผ้้พ้ดภาษาอังกฤษเข้ามาเพิ่มเติมอย่้ในภาษาอังกฤษของ
ประเทศนั ้น ๆ
ตัวอย่างเช่น คำาว่า Shampoo หมายถึงนำ ้ ายาสระผมมาจาก
ประเทศอินเดีย หรือคำาว่า Banana ได้เชื่อกันว่ามาจากประเทศ
แอฟริกา
ผ้้เชี่ยวชาญไม่สามารถอธิบายภาษาอังกฤษหลาย ๆ คำาได้ เวลา
นั บเป็ นหลายร้อยปี มาแล้ว คำาว่า dog ถ้กเรียกว่า hound ซึ่งคำา คำานี้
ยังคงมีใช้อย่้แต่ไม่เป็ นที่นิยมเท่ากับคำาว่า dog ผ้้เชี่ยวชาญเหล่านั ้น
เองก็ไม่ทราบเช่นกันว่า คำาว่า dog มาจากไหนหรือมีมาเมื่อไรที่ผ้พ้ด
ภาษาอังกฤษได้เริ่มใช้คำานี้ คำาดัง้ เดิมคำาอื่น ๆ ที่ยังไม่ทราบที่ไปที่มา
เช่นกัน เช่นคำาว่า fun, bad และ คำาว่า big เป็ นต้น
เช่นกันผ้้พ้ดภาษาอังกฤษเองก็ได้คิดค้นคำาใหม่ ๆ ขึ้นมาอย่างต่อ
เนื่ อง โดยวิธีการเชื่อมคำาเก่า ๆ เข้าด้วยกัน ตัวอย่างที่ดีของคำาเหล่านี้
เช่นคำาว่า motor และ hotel เมื่อหลายปี มาแล้วบางคนได้เชื่อมคำาทัง้
2 นี้เข้าด้วยกันเป็ นคำาว่า motel คำาว่า motel นั ้นหมายถึงโรงแรม
เล็ก ๆ อย่้ใกล้ถนน ซึ่งคนเดินทางโดยรถยนต์สามารถพักค้างคืนได้ชัว่
ข้ามคืน
คำาอื่น ๆ มาจากอักษรตัวแรกของชื่อกลุ่มหรืออุปกรณ์ เครื่องมือ
ต่าง ๆ เป็ นอุปกรณ์ท่ีใช้
ค้นหาวัตถุท่ีไม่สามารถมองเห็นเรียกว่า Radio Detecting and
Ranging ได้กลายมาเป็ นคำาว่า Radar
องค์กรสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนื อ (The North Atlandtic Treaty
Organization) ซึ่งปกติแล้วได้เรียกชื
-6-่ อองค์กรนี้ว่า NATO
ผ้้เชี่ยวชาญกล่าวว่าภาษาอังกฤษมีคำามากที่จะอธิบายคำาที่มีเป็ นสิ่ง
เดียวกันซึ่งเหมือนกับภาษาอื่น ๆ เช่น คำาว่า large , huge,
vast,massive และคำาว่า “enormous” ซึ่งคำาทัง้ หมดนั ้นหมายถึงสิ่งที่
จริงแล้วก็คือ ใหญ่ (big) นั ้นเอง
บ่อยครัง้ ที่มีคนมักจะถามว่าในภาษาอังกฤษมีคำากี่คำา จริง ๆ
แล้วคงไม่มีใครทราบในเรื่องนี้ ในพจนานุกรมของ The Oxford
English Dictionary ได้ทำารายการคำาออกมาประมาณ 615,000 คำา
เท่านั ้นยังไม่พอเพราะคำาที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์ยังไม่มีในพจนานุกรม
ของ The Oxford English Dictionary นี้ ถ้าได้รวมคำาที่ใช้ในทาง
วิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย คงมีมากกว่า 1 ล้านคำา
และผ้้เชี่ยวชาญเองก็ไม่ค่อยมัน
่ ใจนั บคำาที่มีอย่้ในภาษาอังกฤษ
ได้ ตัวอย่างเช่น คำาว่า mouse หมายถึงสัตว์ตัวเล็ก ๆ ที่อย่้ในประเภท
สัตว์ท่ีใช้ฟันแทะ (rodent family) แต่คำาว่า mouse ยังมีความหมายที่
แตกต่างออกไปอีกความหมายหนึ่ ง เช่นกัน mouse หมายถึง
อุปกรณ์ท่ีต้องใช้มือช่วยในการใช้ควบคุมการใช้คอมพิวเตอร์ ถ้าหากว่า
จะมีการนั บคำาว่า mouse ก็ต้องมีการนั บถึง 2 ครัง้ ใช่ไหม
ผ้้ฟังกรายการของเสียงอเมริกา (Voice of America
หรือ VOA) จะได้ยินคนพ้ดถ่ายทอดออกไปมากกว่า 40 ภาษาที่แตก
ต่างกัน การกระจายเสียงส่วนใหญ่ของ VOA มาจากประเทศต่าง ๆ ที่
ใช้ภาษานั ้น องค์กรระหว่างประเทศ เช่น VOA พบว่ามันน่ าจะเป็ นไป
ไม่ได้ท่ีจะไม่ใช้ภาษาที่ 2 (Secord Language) ที่คนทัว่ ไปนิ ยมใช้
ฉะนั ้น ทำาให้ VOA ได้ทำางานโดยใช้ภาษาอังกฤษในการ
สื่อสาร ภาษาอังกฤษกลายเป็ นภาษาที่ใช้กันเป็ นปกติของประชากร
ในโลกกว้างจำานวนหลายล้านคน และภาษาอังกฤษได้ช่วยเหลือผ้้ท่ีพ้ด
ภาษาแตกต่างกันมาใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและ
กัน

แปลและเรียบเรียง โดย อ. ณั ฐวัชร์ ปรมาตร

เอกสารอ้างอิง : The History of English : Writlen by Paul


Thomsom : www. Voaspecialenglish. Com ( 21
and 28 December 2005)

You might also like