You are on page 1of 9

ประวัติยุคเรเนสซองส์หรือยุคฟื้ นฟูศิลปวิทยา (The Renaissance Period)

สมัยเรเนสซองส์ หรือ สมัยฟื้ นฟูศิลปวิทยา เพลงศาสนายังมีความสำคัญอยู่เช่นเดิม เพลงสำหรับประชาชน


ทั่วไป เพื่อให้ความบันเทิง ความสนุกสนาน ก็เกิดขึ้นด้วย การประสานเสียงได้รับการพัฒนาให้กลมกลืนขึ้น
เพลงศาสนาเป็นรากฐานของทฤษฎีการประสานเสียง เพลงในยุคนี้แบ่งเป็นสองแบบ ส่วนใหญ่จะเป็น แบบ
ที่เรียกว่า อิมมิเททีฟโพลีโฟนี (Imitative Polyphony) คือ มีหลายแนว และแต่ละแนวจะเริ่มไม่พร้อมกัน ทุก
แนวเสียงมีความสำคัญ แบบที่สองเรียกว่า โฮโมโฟนี (Homophony) คือ มีหลายแนวเสียงและบรรเลงไป
พร้อมกัน มีเพียงแนวเสียงเดียวที่เด่น แนวเสียงอื่นๆ เป็นเพียงเสียงประกอบ

คำว่า “Renaissance” แปลว่า “การเกิดใหม่ ” (Re-birth) ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่ปัญญาชนในยุโรปได้


หันความสนใจจากกิจการฝ่ ายศาสนาที่ได้ปฏิบัติมาอย่างเคร่งครัดตลอดสมัยกลาง มาสู่การฟื้ นฟูศิลปวิทยา
ซึ่งมีแนวความคิดอ่านและวัฒนธรรมตามแบบกรีก และโรมันโบราณ สมัยแห่งการฟื้ นฟูศิลปวิทยานี้ ได้เริ่ม
ขึ้นครั้งแรกตามหัวเมืองภาคเหนือของแหลมอิตาลี โดยได้เริ่มขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ก่อนแล้วจึงแพร่ไปยังเวนิ
ช ปิ สา เจนัว จนทั่วแคว้นทัสคานีและลอมบาร์ดี จากนั้นจึงแพร่ไปทั่วแหลมอิตาลีแล้วขยายตัวเข้าไปใน
ฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ

เครื่องดนตรียุคเรเนสซองส์หรือยุคฟื้ นฟูศิลปวิทยา (The Renaissance Period)

- เครื่องดนตรีในสมัยนี้ที่นิยมใช้กันได้แก่ เครื่องสายที่บรรเลงด้วยการใช้คันชัก
ได้แก่ ซอวิโอล (Viols) ขนาดต่าง ๆ ซอรีเบค (Rebec) ซึ่งตัวซอมีทรวดทรงคล้ายลูกแพร์เป็นเครื่องสายที่ใช้
คันชัก ลูท เวอร์จินัล คลาวิคอร์ด ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ปี่ ชอม ปี่ คอร์เน็ต แตรทรัมเปต และแตรทรอมโบนโบราณ
เป็นต้น
ลักษณะดนตรียุคเรเนสซองส์หรือยุคฟื้ นฟูศิลปวิทยา (The Renaissance Period)

ลักษณะของดนตรีในสมัยนี้ยังคงมีรูปแบบคล้ายในสมัยศิลป์ ใหม่ แต่ได้มีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบมากขึ้น


ลักษณะการสอดประสานทำนอง ยังคงเป็นลักษณะเด่น เพลงร้องยังคงนิยมกัน แต่เพลงบรรเลงเริ่มมีบทบาท
มากขึ้น ในช่วงศตวรรษที่ 15 และ 16 รูปแบบของดนตรีมีความแตกต่างกันดังนี้ (ไขแสง ศุขะ
วัฒนะ,2535:89)

1. สมัยศตวรรษที่ 15
ประชาชนทั่วไปได้หลุดพ้นจากการปกครองระบอบศักดินา (Feudalism) มนุษยนิยม
(Humanism) ได้กลายเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา ศิลปิ นผู้มีชื่อเสียง คือ ลอเร็นโซ กิแบร์ตี
โดนาเต็ลโล เลโอนาร์โด ดา วินชิ ฯลฯ เพลงมักจะมี 3 แนว โดยแนวบนสุดจะมีลักษณะน่า
สนใจกว่าแนวอื่น ๆ เพลงที่ประกอบด้วยเสียง 4 แนว ในลักษณะของโซปราโน อัลโต เท
เนอร์ เบส
เริ่มนิยมประพันธ์กันซึ่งเป็นรากฐานของการประสานเสียง 4 แนว ในสมัยต่อ ๆ มา เพลงโบสถ์จำพวก
แมสซึ่งพัฒนามาจากแชนท์มีการประพันธ์กันเช่นเดียวกับในสมัยกลาง เพลงโมเต็ตยังมีรูปแบบคล้ายสมัย
ศิลป์ ใหม่ ในระยะนี้เพลงคฤหัสถ์เริ่มมีการสอดประสานเกิดขึ้น คือ เพลงประเภทซังซอง แบบสอดประสาน
(Polyphonic chanson) ซึ่งมีแนวทำนองเด่น 1 แนว และมีแนวอื่นสอดประสานแบบล้อกัน (Imitative style)
ซึ่งมีแนวโน้มเป็นลักษณะของการใส่เสียงประสาน (Homophony)

ลักษณะล้อกันแบบนี้เป็นลักษณะสำคัญของเพลงในสมัยนี้ นอกจากนี้มีการนำรูปแบบของโมเต็ตมา
ประพันธ์เป็นเพลงแมสและการนำหลักของแคนนอนมาใช้ในเพลงแมสด้วย

2. สมัยศตวรรษที่ 16
มนุษยนิยมยังคงเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา การปฏิรูปทางศาสนา
และการต่อต้านการปฏิรูปทางศาสนาของพวกคาทอลิกเป็น
เหตุการณ์สำคัญยิ่งของคริสต์ศาสนาเพลงร้อง แบบสอดประสาน
ทำนองพัฒนาจนมีความสมบูรณ์แบบเพลงร้องยังคงเป็นลักษณะ
เด่น แต่เพลงบรรเลงก็เริ่มนิยมกันมากขึ้น เพลงโบสถ์ยังมีอิทธิพล
จากเพลงโบสถ์ของโรมัน แต่ก็มีเพลงโบสถ์ของนิกายโปรแตส
แตนท์เกิดขึ้น การประสานเสียงเริ่มมีหลักเกณฑ์มากขึ้น การใช้
การประสานเสียงสลับกับการล้อกันของทำนองเป็นลักษณะหนึ่ง
ของเพลงในสมัยนี้ การแต่งเพลงแมสและโมเต็ต นำหลักของการ
ล้อกันของทำนองมาใช้แต่เป็นแบบฟิ วก์ (Fugue) ซึ่งพัฒนามาจาก
แคนนอน คือ การล้อของทำนองที่มีการแบ่ง
เป็นส่วน ๆ ที่สลับซับซ้อนมีหลักเกณฑ์มากขึ้นในสมัยนี้มีการ
ปฏิวัติทางดนตรีเกิดขึ้นในเยอรมัน ซึ่งเป็นเรื่องของความขัดแย้ง
ทางศาสนากับพวกโรมันแคธอลิก จึงมีการแต่งเพลงขึ้นมาใหม่โดยใช้กฏเกณฑ์ใหม่ด้วยเพลงที่เกิดขึ้นมา
ใหม่เป็นเพลงสวดที่เรียกว่า “โคราล” (Chorale) ซึ่งเป็นเพลงที่นำมาจากแชนท์แต่ใส่อัตราจังหวะเข้าไป
นอกจากนี้ยังเป็นเพลงที่นำมาจากเพลงคฤหัสถ์โดย ใส่เนื้อเป็นเรื่องศาสนาและเป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ด้วย
เพลงในสมัยนี้เริ่มมีอัตราจังหวะแน่นอน เพลงคฤหัสถ์มีการพัฒนาทั้งใช้ผู้ร้องและการบรรเลง กล่าวได้ว่า
ดนตรีในศตวรรษนี้มีรูปแบบ ใหม่ ๆ เกิดขึ้นและหลักการต่าง ๆ มีแบบแผนมากขึ้น

ในสมัยนี้มนุษย์เริ่มเห็นความสำคัญของดนตรีมาก โดยถือว่าดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต นอกจากจะให้


ดนตรีในศาสนาสืบเนื่องมาจากสมัยกลาง (Middle Ages) แล้วยังต้องการดนตรีของคฤหัสถ์ (Secular Music)
เพื่อพักผ่อนในยามว่าง เพราะฉะนั้นในสมัยนี้ดนตรีของคฤหัสถ์ (Secular Music) และดนตรีศาสนา
(Sacred Music) มีความสำคัญเท่ากัน
สรุป ลักษณะบทเพลงในสมัยนี้
1. บทร้องใช้โพลีโฟนี (Polyphony) ส่วนใหญ่ใช้ 3-4 แนว ในศตวรรษที่ 16 ได้ชื่อว่า
“The Golden Age of Polyphony”
2. มีการพัฒนา Rhythm ในแบบ Duple time และ Triple time ขึ้น
3. การประสานเสียงใช้คู่ 3 ตลอด และเป็นสมัยสุดท้ายที่มีรูปแบบของขับร้องและบรรเลงเหมือนกัน

คีตกวีดนตรียุคเรเนสซองส์หรือยุคฟื้ นฟูศิลปวิทยา (The Renaissance Period)

1. ดันสเตเบิล (John Dunstable, ประมาณ 1390 –1453)


ผู้ประพันธ์เพลงชาวอังกฤษ ซึ่งนอกจากมีชื่อเสียงเรื่องการประพันธ์เพลงแล้ว ยังเป็นนักคณิตศาสตร์และนัก
ดาราศาสตร์
อีกด้วย เป็นผู้ทำให้วงการดนตรีรู้จักและยกย่องดนตรีของชาวอังกฤษ ชีวิตส่วนใหญ่ของ ดันสเตเบิลไปอยู่
ในฝรั่งเศส โดยการไปรับใช้ดยุคแห่งเบดฟอร์ด ผลงานการประพันธ์ของ ดันสเตเบิลไม่ว่าจะเป็นเพลงร้อง
เพลงแมสและโมเต็ตล้วนได้รับการยกย่องในเขตยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะในช่วงระหว่างปี 1420-1430 รูป
แบบดนตรีของเขามีอิทธิพลอย่างมากต่อวงการดนตรี เขาคงความมีชื่อเสียงได้จนกระทั่งเสียชีวิตในปี 1453
ผู้ประพันธ์เพลงที่รับเอาอิทธิพลของดันสเตเบิลไว้ ได้แก่ แบงชัวส์ และดูเฟย์ และผู้ประพันธ์คนอื่น ๆ ที่
อยู่ในกลุ่มผู้ประพันธ์เพลงเบอกันดี (Burgandy) ดันสเตเบิลใช้รูปแบบการประสานเสียงที่ดนตรีมาตรฐาน
นิยมใช้ ไม่ว่าจะเป็น
ในสมัยคลาสสิก โรแมนติก หรือเพลงสมัยนิยม ในขณะที่ดนตรีในสมัยนั้นโดยทั่ว ๆ ไปไม่นิยมการ
ประสานเสียง
ในลักษณะนี้เลย จึงกล่าวได้ว่าดันสเตเบิลเป็นบิดาของดนตรีสมัยใหม่
(ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535:143)
2. ดูเฟย์(Guillianum Dufay ประมาณ 1400-1474)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวเนเธอร์แลนด์ดูเฟย์เป็นหนึ่งในจำนวนนักแต่งเพลงที่มีความสามารถสูงในสมัยนี้เป็น
หนึ่งของผู้ที่ริเริ่ม
ดนตรีในสมัยรีเนซองส์ เมื่อมาโชท์สิ้นชีวิตลงในปี 1377 ดนตรีของฝรั่งเศสขาดผู้นำไป จนกระทั่งถึงดูเฟย์
ซึ่งนับว่าเป็น
ผู้ประพันธ์ที่เป็นผู้นำทั้งในฝรั่งเศส และยุโรป ดูเฟย์ทำงานทางด้านดนตรี
ทั้งในอิตาลีและฝรั่งเศส ผลงานของดูเฟย์มีประกอบด้วยเพลงคฤหัสถ์และเพลงโบสถ์ โดยในระยะแรกดูเฟย์
ประพันธ์เพลงคฤหัสถ์ เช่น ชังซอง ในระยะต่อมาดูเฟย์ให้ความสนใจกับเพลงโบสถ์มาก และเบนแนว
ประพันธ์มาสู่เพลงโบสถ์
ผลงานของดูเฟย์ที่มีชื่อเสียงคือ เพลงแมส ซึ่งประพันธ์ไว้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีเพลงโมเต็ต ซึ่งจัด
เป็นเพลงที่ดูเฟย์พัฒนารูปแบบไว้และผู้ประพันธ์เพลงรุ่นต่อมานำไปใช้ ในบรรดาลูกศิษย์ของดูเฟย์มี
ผู้หนึ่งที่มีชื่อเสียงในวงการดนตรีมาก คือ โอคิกัม

3. โอคิกัม (Johannes Ockeghem, ประมาณ 1410-1497)


ผู้ประพันธ์เพลงชาวเนเธอร์แลนด์ ลูกศิษย์ของดูเฟย์ ผู้ซึ่งรับเอาแนวคิดของดูเฟย์มา
และนำเอาหลักการและความคิดของตนใส่เข้าไปทำให้ดนตรีของโอคิกัมมีเสน่ห์ชวนฟัง
ทั้งนี้เนื่องจากดูเฟย์มีแนวการประพันธ์เพลงแมสที่ขาดความอบอุ่นในอารมณ์ของมนุษย์
ในขณะที่เพลงของโอคิกัมเน้นที่การแสดงออกของอารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์ทำให้
ได้รับฉายาว่า “เจ้าชายแห่งดนตรี” (The Prince of music) โอคีกัมพัฒนารูปแบบ
ของการสอดประสานทำนองโดยเน้นการล้อกันของแนวเสียงแต่ละแนว (Imitative style)
ซึ่งเป็นต้นแบบของฟิ วก์อันเป็นรูปแบบที่สำคัญในสมัยบาโรก ซึ่งบาคใช้เสมอเมื่อประมาณ 200 ปี ต่อมา
ผลงานของโอคีกัมประกอบไปด้วยแมส 14 บท (เสร็จสมบูรณ์ 11 บท) เรควิเอียม 1 บท โมเต็ต 10 บท และ
ชังซอง 20 บทกล่าวได้ว่าผลงานของโอคีกัมส่วนใหญ่เป็นเพลงโบสถ์ทั้งสิ้น

4. จอสกิน เดอส์ เพรซ์ (Josquin des Prez, ประมาณ 1440 -1521)


ผู้ประพันธ์เพลงชาวเนเธอร์แลนด์ผู้ที่ทำงานให้สันตะปาปา ชั่วระยะเวลาหนึ่ง และย้ายมารับใช้เจ้านายใน
ราชสำนักฝรั่งเศสเป็นผู้ที่มีแนวการแต่งเพลงที่ละเอียดอ่อน และเป็นผู้นำการแต่งเพลงประสานเสียงซึ่ง
ทำให้ผู้ฟังเห็นถึงความสดใสและความมีพลังของการขับร้อง แนวทางที่เขาใช้นี้รู้จักในนามของ Musica
reservata ซึ่งเป็นภาษาละตินมีความหมายถึงดนตรีสำหรับผู้ที่เข้าถึงโดยเฉพาะ ผลงานของจอสกินได้รับ
การยกย่องว่าเป็นสัญลักษณ์ของดนตรีในสมัยรีเนซองส์ ในช่วงที่เขามีชีวิตอยู่จอสกินได้รับการยกย่อง
ตลอดมาแม้กระทั่งเมื่อเขาสิ้นชีวิตไปแล้วผลงานของเขายังมีการนำมาตีพิมพ์ใหม่ในศตวรรษที่ 17 และได้
รับการกล่าวยกย่องจาก
นักประวัติศาสตร์ดนตรีชาวอังกฤษ คือ เซอร์จอห์น ฮอว์กินส์ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 อีกด้วย กล่าวได้ว่า
จอสกิน เดอส์ เพรซ์
คือ ผู้ประพันธ์เพลงที่ยิ่งใหญ่ผู้หนึ่งในสมัยรีเนซองส์ มีผลงานดีเด่นในลักษณะเพลงโบสถ์เช่นเดียวกับผู้
ประพันธ์คนอื่น ๆ ในสมัยน
5. โทมัส ทัลลิส (Thomas Tallis)
เกิดปี ค.ศ 1505 เสียชีวิต 23 พฤศจิกายน 1585 เป็นนักออร์แกนและเป็นนัก
แต่งเพลงชาวอังกฤษเป็นเพื่อนกับ เบิร์ด (William Byrd) เขาเป็นนักออร์แกน
ของ Dover Priory ในปี 1532 แต่ย้ายไปกรุงลอนดอน (Saint Mary-at-Hill) ต่อ
จากนั้นไปที่ Waltham Abbey หลังจากการเสียชีวิตของ ทัลลิส เขาได้รับ
ยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งศาสตร์หลาย ๆ ศาสตร์ไม่ใช่เพียงดนตรีเท่านั้น”
(Tallis was indeed a master,not of one but of many styles)

6. ปาเลสตรินา (Giovanni Pierluigi da Palestrina, ประมาณ 1524-1594) ผู้


ประพันธ์เพลงชาวอิตาเลียนซึ่งใช้ชื่อเมืองเกิดเป็นชื่อเรียกแทนชื่อจริง ๆ ปาเลส
ตรินาใช้เวลาส่วนใหญ่รับใช้สันตะปาปาปอลที่ 4 ในช่วงระยะเวลานี้เขาได้
สร้างสรรค์งานประเภทเพลงโบสถ์ ประกอบไปด้วยเพลงแมส 105 บท โมเต็ต
และเพลงโบสถ์ลักษณะอื่น ๆ ซึ่งจัดเป็นเพลงที่มีรูปแบบของการสอดประสาน
ทำนองที่มีคุณค่ามากที่สุด
ส่วนหนึ่งในโลกของดนตรีสมัยรีเนซองส์ โดยเฉพาะแมสบทหนึ่งที่มีชื่อว่า
Missa Papae Marcelli (Mass for Pope Marcellus)ที่มีความบริสุทธิ์สวยงามชวน
ให้ผู้ฟังนึกถึง
สวรรค์นอกจากเพลงโบสถ์เขาประพันธ์เพลงคฤหัสถ์ได้เป็นจำนวนมากเช่นกันได้แก่เพลงมาดริกาล 4 เล่ม
สำหรับการร้อง
4 และ 5 แนวและเพลงสำหรับการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอีก 8 บท ซึ่งเพลงต่าง ๆ ล้วนจัดว่าเป็นเพลงใน
ระดับคุณภาพทั้งสิ้น มีน้อยเพลงที่ไม่ถึงระดับคุณภาพนอกเหนือไปจากการเป็นผู้ประพันธ์เพลงที่โด่งดัง
เขายังเป็นนักร้องประสานเสียงในโบสถ์
และหัวหน้านักร้องประสานเสียงประจำโบสถ์

6. เบิร์ด (William Byrd, 1543-1623)


ผู้ประพันธ์เพลงและนักออร์แกนชาวอังกฤษ ที่มีชื่อเสียง
ที่สุดในสมัยนั้น เบิร์ดได้รับอิทธิพลและสไตล์ในการแต่ง
เพลงโดยมีลักษณะเฉพาะของ
อังกฤษมาจากครูของเขาคือ Thomas Tallis ขณะที่อายุเพียง
20 ปี เบิร์ดมีช่วงชีวิตอยู่ในสมัยของการขัดแย้งทางศาสนา
คริสต์จนในที่สุดอังกฤษได้จัดตั้งนิกายใหม่ขึ้นมาคือ The
Church of England แม้ว่าเบิร์ดเป็นชาวแคธอลิคเขา
ประพันธ์เพลงโบสถ์ทั้งนิกายแคธอลิคและแองกลิกัน
นอกจากเพลงโบสถ์ เขาประพันธ์เพลงคฤหัสถ์ประเภทต่าง
Top ๆ ไว้มากมายเช่น
มาดริกาลเพลงสำหรับคีย์บอร์ดและอื่น ๆ ผลงานของเบิร์ด
ไม่ว่าจะเป็นเพลงโบสถ์หรือเพลงคฤหัสถ์ล้วนเป็นบทเพลง
ที่มีคุณค่าทั้งสิ้น เบิร์ดและเพื่อนคือ โธมัส ทาลิสได้รับ
พระบรมราชานุญาตจากพระราชินีอลิซาเบธที่หนึ่งให้จัด
พิมพ์โน้ตดนตรีแต่ผู้เดียวในสมัยนั้น
7. มอนแทแวร์ดี (Claudio Monteverdi, 1567-1643)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวอิตาเลียน ซึ่งรับใช้ทั้งในราชสำนักและในวัดหลายแห่งตลอดชีวิตของเขา เป็นผู้ที่เริ่ม
ดนตรีสมัยใหม่โดยโจมตีแนวคิดเก่า ๆ ในขณะนั้นเกี่ยวกับแนวการแต่งเพลงที่ใช้ดนตรีเน้นบทร้องให้เด่น
ขึ้นมาซึ่งเรียกว่า Word painting โดยกล่าวว่าดนตรีควรใช้ในการแสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกและเนื้อหา
ของเพลงมากกว่าคำแต่ละคำในบทร้อง นอกจากนี้ยังวิจารณ์การใช้โครงสร้างของการสอดประสานทำนอง
ซึ่งเป็นหลักที่ใช้กันทั่วไป โดยหันมาให้ความสำคัญกับการร้องแนวเดียวไม่มีการสอดประสาน (Monody)
เขาฝากผลงานไว้มากมายทั้งเพลงโบสถ์และเพลงคฤหัสถ์ ส่วนใหญ่ของผลงานเพลงโบสถ์ใช้รูปแบบการ
ประพันธ์แบบการร้องเพลงของสองกลุ่มนักร้อง (Antiphonal Style) มีทั้งเพลงแมสและเพลงประเภทอื่น ๆ
เช่น เพลงมาดริกาลที่มีบทร้องเป็นเรื่องศาสนา สิ่งหนึ่งที่เขาสร้างสรรค์ไว้และถือเป็นจุดเริ่มต้นของดนตรี
ในรูปแบบนี้คือ โอเปร่า ไม่ว่าจะเป็นการร้องเดี่ยว การร้องประสานเสียงและดนตรีที่บรรเลงล้วนนำไปสู่
อารมณ์ความรู้สึกซึ่งทำให้โอเปร่าของเขาเป็นผลงานที่ควรแก่การยกย่องและแนวคิดในเรื่องการบรรเลง
ดนตรีประกอบโอเปร่านี้เองจัดได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของวงออร์เคสตรา โอเปร่าส่วนใหญ่ของ
มอนเทแวร์ดีสูญหายไปหมด คงเหลืออยู่เพียง 3 เรื่อง ได้แก่ Orfeo ,2 Ritorno of Ulisse in Patria (The
Return of Ulysses) และ L’ Incoronazione of Poppea (The Coronation of Popea) กล่าวได้ว่าเขามีแนวคิด
ในการประพันธ์เพลงแบบโรแมนติกดังที่เขากล่าวไว้ว่า ดนตรีควรอยู่บนรากฐานของธรรมชาติในความ
เป็นมนุษย์กล่าวคือดนตรีควรใช้ในการแสดงออกถึงความรักอย่างเต็มรูปแบบ ความเศร้าซึมจนถึงความ
โกรธ หรือความสุขสันต์จนถึงความผิดหวัง

โน้ตตั้งแต่สมัย 1560-71
วีดีโอ ยุคเรเนสซองส์หรือยุคฟื้ นฟูศิลปวิทยา (The Renaissance Period)
https://www.youtube.com/watch?v=iV7AszC0Dfk
https://www.youtube.com/watch?v=uJk2BP-Uo_Q

You might also like