You are on page 1of 2

ข้อมูลคร่าว ๆ เกี่ยวกับดนตรีที่คาดว่าน่าจะถูกนำมาใช้ในยุคที่วัดยอแซฟสร้าง

- ปี 1662 ซึ่งเป็ นช่วงเวลาตรงกับ ยุคบาโรคตอนกลาง รวมถึงมีบาทหลวงชาวฝรั่งเศสเข้ามาเผนแผ่ศาสนาในไทย จึง


คาดว่า ยุคสมัยนั้นดนตรีบาโรคแบบฝรั่งเศสน่าจะเข้ามาในสยามด้วย แต่อาจจะไม่ได้รับอิทธิพลทางดนตรีมาอย่าง
เต็มที่ สาเหตุคาดว่า ดนตรีบาโรคในช่วงยุคต้น ดนตรีอิตาลีมีอิทธิพลอย่างสูงมากต่อวงการดนตรีตะวันตก และช่วง
ต้นยุคบาโรคอิตาลีมีการสร้างวัดเยอะมาก ดนตรีศาสนาจึงเริ่มมีแบบแผนและมีสไตล์เพลงสวดแบบหลายแนวเสียง
มากขึ้น เช่นผลงานของ Giovanni Pierluigi di Palestrina 1525 – 1594 และใช้ออร์แกนประกอบพิธีกรรมแล้ว
แบบแผนมิสซาในยุคนั้น ยังคงเหมือนยุคปัจจุบัน ซึ่งพาร์ทที่ทำการสวดร้องทำนอง
- -Kyrie
- Gloria
- Credo
- Sanctus
- Agnus Dei

จากข้อมูลข้างต้นทำให้เห็นว่ารูปแบบการร้องทำนองยังคงมาถึงปัจจุบัน ทำให้คาดได้ว่า รูปแบบการร้องทำนองสวด


ต่าง ๆ นั้น ทางฝรั่งเศสก็น่าจะรับเข้ามาเป็นรูปแบบเดียวกันด้วย ก่อนที่จะมาถึงสยาม เพียงแต่ ตามหลักฐานข้อมูล
ความนิยมด้านการพัฒนาดนตรีศาสนาในฝรั่งเศส ไม่ได้เป็ นที่นิยมนักเหมือนอย่างในอิตาลี แม้ว่าจะมีนักประพันธ์
ชาวอิตาลี Giovanni Battista Lulli ชาวอิตาลีที่มาทำงานในราชสำนักฝรั่งเศสซึ่งมีชื่อเสียงมากในฝรั่งเศสช่วงบา
โรคตอนกลาง แต่ทว่า ลุลลี่ไม่เคยได้รับตำแหน่งสำคัญใด ๆ ในโบสถ์เลย ทำให้ดนตรีศาสนาในฝรั่งเศส ไม่ได้รับ
อิทธิพลอะไรจนเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดไปจากช่วงต้นบาโรค ซึ่งอิทธิพลรูปแบบการใช้เพลงได้แพร่หลายไปทั่ว
ยุโรปในกาลต่อมา
จากสาเหตุดังกล่าว จึงคาดว่า ดนตรีศาสนาที่เข้ามาถึงสยาม น่าจะยังเป็นลักษณะรูปแบบเดียวกับช่วงบาโรคตอน
ต้นที่มีการใช้เพลงสวดแบบทำนองเดี่ยวและทำนองประสาน ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากดนตรีวัดในอิตาลีที่แพร่หลายไป
ทั่วยุโรปนั่นเอง
ช่วงเวลาของศิลปินบาโรคตอนต้นในฝรั่งเศสที่ประพันธ์เพลงศาสนา
- Nicolas Formé 1567 – 1638 (https://www.youtube.com/watch?v=ozRC9OiZnj8)
- Thomas Gobert died 1672
- Henry Dumont 1610 – 1684 (https://www.youtube.com/watch?v=9G4yphrw8iM)
- Guillaume Bouzignac 1587 – 1642 (https://www.youtube.com/watch?v=g_aJnWTCyeo)

ในแง่ดนตรีศาสนา ข้างต้นคือ ความคาดคะเนว่า ถ้ามีการพัฒนาทางดนตรีมาถึงสยามในรูปแบบดนตรีตะวันตก ก็น่าจะมาเป็น


แนวข้างต้น (https://www.youtube.com/watch?
v=nGM4amESaVw&pp=ygUgUmVsaWdpb3VzIE11c2ljIGluIEVhcmx5IEJhcm9xdWU%3D )

แต่ประเมินจากความพร้อมและทรัพยากรในสยามเองในยุคนั้น ไม่น่าจะมีมโหรีปี่ พาทย์ที่สนับสนุนรูปแบบดนตรีตะวันตกได้


ขนาดนั้น (หนังสือเครื่องดนตรีไทยในสยาม https://youtu.be/xIK5njI81vE) จึงคาดว่าเพลงประเภท Gregorian Chant
และ Baroque Chant ที่เป็ นภาษาละติน น่าจะเป็ นดนตรีที่นำมาใช้ร้องเป็ นหลัก เพราะไม่ต้องใช้ทักษะมาก แค่จำทำนองแล้ว
ก็ร้องตามเป็ นดนตรีได้แล้ว ประกอบกับออแกน 1 ตัวก็เล่นทำนองได้อย่างไม่ยากนักได้แล้ว
จากบทความของสยามรัฐ https://siamrath.co.th/n/5149 ที่มีระบุว่ามีนักออแกนถูกจับตัวตอนหลังพระนารายณ์สวรรคต
ก็แปลว่า มีออแกนมาถึงประเทศไทยแล้วจริง ๆ ดังนั้น ดนตรีที่ใช้ประกอบกับศาสนา และดนตรีประเภท Gregorian Chant ที่
หลงเหลือมาจากยุคกลาง ก็น่าจะเป็ นบทสวดหลักที่ใช้ รวมถึงรายละเอียดจากหนังสือ “ประวัติศาสตร์ดนตรีศักดิ์สิทธิ์ พระ
ศาสนจักรคาทอลิกไทย” โดย คุณจิตตพิมพ์ แย้มพราย

ดังนั้นเพลงเกรโกเรียน น่าจะเป็ นคำตอบที่ชัดเจนที่สุดว่าในยุคนั้น วัดโยเซฟร้องเพลงอะไร


ตัวอย่าง Pater Noster https://www.youtube.com/watch?v=VokSTvnFQqI

ข้อมูลจาก หนังสือ ดนตรีตะวันตก ยุคบาโรคและยุคคลาสสิค โดย ศศี พงศ์สรายุทธ

You might also like