You are on page 1of 25

การวิเคราะห์บทเพลง

Piano Sonata No. 6 (Dürnitz) in D major, K.284

ประพันธ์โดย Wolfgang Amadeus Mozart

โดย

นายชุณหโรจน์ ธรรมศิลป์

รหัสนิสิต 62012010104
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หลักสูตรปริญญาดุริยางคศาสตร์บัณฑิต

คำนำ

การวิเคราะห์บทเพลง Piano Sonata No. 6 (Dürnitz) in D


major, K.284 ประพันธ์โดย Wolfgang Amadeus Mozart เป็ นส่วน
หนึ่งของรายวิชาสังคีตลักษณ์ รหัสวิชา 2000313 จัดทำขึน
้ เพื่อการ
ศึกษาประวัติความเป็ นมาของบทเพลง สังคีตลักษณ์ของบทเพลง
ลักษณะคีย์ของบทเพลง และเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในการประพันธ์บทเพลงนี ้
เพื่อให้เข้าใจและทราบถึงความเป็ นมาของบทเพลง Piano Sonata No.
6 (Dürnitz) in D major, K.284

ผู้จัดทำหวังว่า การวิเคราะห์บทเพลง Piano Sonata No. 6


(Dürnitz) in D major, K.284 ประพันธ์โดย Wolfgang Amadeus
Mozart เล่มนี ้ จะเป็ นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังศึกษาในเรื่องการวิเคราะห์
บทเพลงอื่น ๆ หากมีข้อผิดพลาดประการใด คณะผู้จัดทำขออภัยมา ณ ที่
นี ้

ชุณหโรจน์ ธรรมศิลป์
สารบัญ

ประวัติผู้ประพันธ์ 1

ประวัติบทเพลง 4

การวิเคราะห์บทเพลง 5

โครงสร้างของบทเพลง (ท่อนที่ 1 Allegro) 5

ท่อน A (Exposition) 6

ท่อน B (Development) 10

ท่อน A (Recapitulation) 11

ผังโครงสร้างของบทเพลง (ท่อนที่ I Allegro) 13


บรรณานุกรม
1

ประวัติผู้ประพันธ์

Wolfgang Amadeus Mozart เกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม


ค.ศ.1756 ที่เมือง Salzburg ประเทศ เสียชีวิตวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ.
1791 ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย Mozart เป็ นคีตกวีในยุค
คลาสสิค ค.ศ.1750 – 1820 ตลอดชีวิตของโมสาร์ทได้สร้างผลงานเพลง
ไว้มากกว่า 600 เพลง ผลงานบทเพลงซิมโฟนี 41 บท, เพลงเซเรเนด
สำหรับวงเครื่องสาย 4-5 ชิน
้ ลำดับผลงานที่ 525 ชื่อ Eine Kleine
Nachtmusik บทเพลงคอนแชร์โตสำหรับเปี ยโน 27 บท อุปรากรที่มีช่ อ

เสียงที่สุด 3 เรื่อง ได้แก่ The Marriage of Figaro, The Magic Flute
และ Don Giovanni. และบทเพลงสุดท้ายของเขาคือ Requiem mass

โมสาร์ท มีอัจฉริยภาพทางดนตรีมาตัง้ แต่เกิด ในตอนเด็กได้ไปยืนเกาะ


ฮาร์พซิคอร์ด ดูพ่อกำลังสอน Nannerl พีส
่ าวของเขาเล่นคลาเวียร์อยู่
ด้วยความตัง้ อกตัง้ ใจ เมื่อโมสาร์ทอายุได้ 4 ขวบ พ่อก็เริ่มฝึ กให้เขาเรียน
ดนตรีอย่างจริงจัง และเขาเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว หูของเขาสามารถฟั ง
เสียงดนตรีได้อย่างแม่นยำ และบอกเสียงต่าง ๆ ได้ถูกต้อง เมื่อพ่อเห็นถึง
2

พรสวรรค์ จึงทุ่มเทตัง้ ใจฝึ กสอนอย่างเต็มที่ และวางรากฐานทางดนตรี


ตลอดจนหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ถูกต้องให้แก่ลูกชายของเขา
โวล์ฟกัง อมาเตอุส โมสาร์ท เกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม
ค.ศ.1759 (พ.ศ.2295) ที่เมืองซาลสเบอร์ก ออสเตรีย เป็ นลูกชายของ
เลโอโปลด์ โมสาร์ท นักดนตรีผู้มีช่ อ
ื เสียงของออสเตรีย เป็ นนักแต่งเพลง
และครูสอนดนตรี ซึ่งสามารถเล่นไวโอลินได้อย่างยอดเยี่ยม เป็ นหัวหน้า
วงดนตรีประจำสำนักของอาร์ชบิชอพ ที่ซาลสเบอร์ก แม่ช่ อ
ื เฟรา อันนา
โมสาร์ท เป็ นแม่บ้านที่ โมสาร์ท มีพี่น้องทัง้ หมด 7 คน เสียชีวิตไป 5 คน
เหลือแต่ มาเรีย แอนนา หรือ Nannerl พีส
่ าวที่มีอายุมากกว่าเขา 4 ปี
รวมตัวเขา เพียง 2 คนเท่านัน
้ ในวัยเด็กโมสาร์ทเป็ นคนที่มีรูปร่างสง่า
ใบหน้าสวย ริมฝี ปากสวยงาม จมูกโด่ง แววตาอ่อนโยนเหมือนผู้หญิง
กิริยามารยาทสงบเสงี่ยมละมุนละมนและช่างคิดช่างฝั น
เมื่ออายุ 5 ขวบ โมสาร์ทได้แต่งเพลง โดยการแต่งเติมเพลง
minuet ของพ่อที่ได้แต่งค้างไว้ยังไม่เสร็จ ซึ่งไพเราะยิ่งนัก เมื่ออายุ 6 ปี
เขาได้รับของขวัญวันเกิดเป็ นไวโอลินเล็กๆ อันหนึ่ง โมสาร์ทก็ได้พยายาม
ฝึ กฝนด้วยตนเอง เพราะพ่อไม่ยอมสอน หลังจากโมสาร์ทได้แสดงฝี มือ
การเล่นไวโอลีนร่วมวงกับพ่อได้อย่างน่าอัศจรรย์ ทำให้พ่อของเขาทำการ
ฝึ กซ้อมไวโอลินให้เขากับ Nannerl อย่างจริงจัง และแน่วแน่เพื่อปั ้ น
ลูกชายให้เป็ นนักไวโอลินของโลกให้ได้
เมื่อโมสาร์ทอายุได้ 6 ขวบ ได้เข้าเฝ้ า พระนางมาเรีย เทเรซา ที่
กรุงเวียนนา และด้วยอัจฉริยภาพทางด้านดนตรีทำให้เขาได้รับสมญานาม
์ รังซิส ว่า “ผู้วิเศษน้อย” ทำให้เขามีช่ อ
จากจักรพรรดิฟ ื เสียงมากในยุโรป
เมื่อ 7 ขวบ เขาแต่งเพลงไวโอลินโซนาตาเป็ นเพลงแรก และเมื่ออายุ 8
3

ขวบ ก็แต่งซิมโฟนีได้สำเร็จ โมสาร์ทได้เดินทางไปแสดงดนตรีที่อิตาลี


และตกหลุมรัก หลงใหลคลั่งไคล้อิตาลีมาก ถึงขัน
้ เปลี่ยนชื่อกลางให้
เหมือนชาวอิตาเลียน โดยจากเดิมชื่อ Gottlieb แปลว่า ผู้เป็ นที่รักของ
พระเจ้า มาเป็ น Amadeus โดยมีคำแปลว่าผู้เป็ นที่รักของพระเจ้าเช่น
เหมือนเดิม
โมสาร์ท แต่งงานกับ คอนสตันซ์ เวเบอร์ น้องสาวของอลอยเซีย
เวเบอร์ ที่เขาเคยตกหลุมรักมาก่อน และได้เขียน อุปรากรขึน
้ ชื่อ The
Escape from Seraglio โดยเอาชื่อเมียมาเป็ นนางเอก จักรพรรดิโ์ จเซป
ชอบอุปรากรของโมสาร์ทมาก จึงได้เขามาอยู่ในวงดนตรีของพระองค์ แต่
ให้ค่าตอบแทนที่น้อยมาก
งานด้านแต่งเพลงของโมสาร์ทเริ่มโดดเด่นขึน
้ หลังได้พบกับไฮ
เดิน นักคนตรีผู้ยิ่งใหญ่แห่งเวียนนาและได้และสอนเขาเขียนเพลง ควอ
เตท และโมสาร์ท ได้แต่งเพลง String quartets หลายเพลง และไพเราะ
มาก ซึ่งไฮเดิน ก็ช่ น
ื ชมโมสาร์ทมากเช่นกัน
โมสาร์ทแต่งงานมา 9 ปี โมสาร์ท มีความสุขบ้างพอควร มีลูกกับ
คอนสตันซ์ เวเบอร์ รวมทัง้ หมด 6 คน และได้ใช้ชีวิตด้วยความยาก
ลำบาก เพราะภรรยาใช้เงินเก่ง ไม่ค่อยใส่ใจการบ้านการเรือน มีรายได้ไม่
พอรายจ่ายทำให้ต้องไปกู้หนีย
้ ืมสินมาใช้จ่าย ทำให้โมสาร์ทต้องทำงาน
หนัก
โมสาร์ทมีผลงานมากกว่า 200 ชิน
้ ถือว่าเป็ นผู้ที่มีความสามารถ
ในการแต่งเพลงชัน
้ ยอดเยี่ยมเลยทีเดียว โมสาร์ทได้แต่งเพลง Requiem
(เพลงเกี่ยวกับงานศพ) ให้แก่เคาน์ท์ลัวเซกก์ สำหรับเป็ นที่ระลึกให้แก่
ภรรยาที่ตายไปแล้ว และในเวลาต่อมาโมสาร์ทก็เสียชีวิต ด้วยโรคไทฟ
4

ลอย์ ที่เวียนนา ในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ.1791 ซึ่งเพลงที่เขาแต่งได้นำมา


ใช้ในงานศพของเขาเอง ด้วยวัยเพียง 35 ปี เท่านัน

Requiem mass คือเพลงสุดท้ายที่โมสาร์ทได้เขียน โดยมีชาย
แปลกหน้าแต่งกายด้วยชุดสีเทา เข้ามาพบเขาเพื่อว่าจ้างให้เขียนเพลงนี ้
ซึ่งเป็ นเพลงใช้สำหรับการขับร้องในพิธีฝังศพ ในขณะนัน
้ โมสาร์ทอยู่ใน
อาการเจ็บป่ วยอยู่ ทำให้เขาคิดว่าเพลงนีค
้ งเป็ นเพลงที่เขาจะต้องแต่งขึน

เพื่อใช้ร้องในพิธีฝังศพของตนเอง ในที่สุดโมสาร์ทก็ได้เสียชีวิตลงก่อนที่จะ
เขียนเพลงนีไ้ ด้สำเร็จ
การสร้างสรรค์ผลงานของโมสาร์ทเป็ นไปตามความรู้สึกนึกคิด
ของตนเอง โมสาร์ทไม่เคยเขียนเพลงตามกระแสของสังคม ผลงานของ
เขาทุกเพลงมีชีวิตชีวา ด้วยความสามารถในการเรียบเรียงเสียงประสาน
ของโมสาร์ทจึงทำให้เพลงของเขามีทำนองมากมายต่อเนื่องกันอย่างสละ
สลวย มีสีสันเกิดขึน
้ ทำให้ฟังแล้วไม่น่าเบื่อ มีความแปลกใหม่เกิดขึน
้ อยู่
เสมอ รูปแบบการประพันธ์ก็ไม่ใช้กฎเกณฑ์ที่ตายตัว สามารถ
เปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โมสาร์ทได้สร้างผลงานชิน
้ ยอดเยี่ยม
ไว้เกือบทุกประเภทของบทเพลง เช่น เพลงขับร้อง คอนแชร์โต ดนตรีแช
มเบอร์ เพลงซิมโฟนี โซนาตา และอุปรากร
ตลอดชั่วชีวิตของโมสาร์ทจะเป็ นผู้ที่ได้รับการยกย่องในเรื่อง
ความสามารถด้านดนตรีมาโดยตลอด แต่ในเรื่องฐานะทางารเงินนัน
้ เป็ น
ไปในทางตรงกันข้าม โมสาร์ทมีฐานะยากจนและเป็ นหนีส
้ ินมากมาย พิธี
ฝั งศพเป็ นไปอย่างอนาถาในสุสานของคนจนในขณะทำพิธีฝังศพมีพายุฝน
เกิดขึน
้ ทำให้พิธีฝังศพทำไปอย่างรีบเร่ง ไม่มีแม้กระทั่งไม้กางเขนปั กที่
5

บริเวณหลุมศพ ปั จจุบันก็ยังไม่มีผู้ใดรู้ว่าหลุมฝั งศพของโมสาร์ทอยู่ ณ


ตำแหน่งใดในสุสานนัน

6

ประวัติบทเพลง
Piano Sonata No. 6 (Dürnitz) in D major, K.284 เป็ น
Sonata เบอร์สุดท้ายที่ตีพิมพ์ในเมือง Munich Piano Sonata No. 6
ชิน
้ นีม
้ ีคำบรรยายหรืออีกชื่อว่า "Dürnitz" ซึ่งเพลงนี ้ Baron von Dürnitz
นักบาสซูนสมัครเล่นและนักเล่นคีย์บอร์ด ได้มาจ้าง Mozart ให้ประพันธ์
เพลงนีใ้ ห้แต่สุดท้าย Baron von Dürnitz กลับเบีย
้ วไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้
Mozart ซึง่ ทำให้ Mozart เดือนร้อนเพราะว่าขณะนัน
้ เข้าต้องจ่ายค่า
Production Opera เรื่อง La finta giardiniera ให้กับเมือง Munich ซึ่ง
ทำให้เขาไม่มีเงินจ่ายเลยทำให้งาน Opera ของเขาเลื่อนออกไปอีก
7

การวิเคราะห์บทเพลง
บทเพลง Piano Sonata No. 6 (Dürnitz) in D major, K.284
ประพันธ์โดย Wolfgang Amadeus Mozart บทเพลงนีป
้ ระกอบด้วย 3
ท่อน (Movement) ได้แก่ ท่อนที่ 1 (Allegro) ท่อนที่ 2 (Andante
(RONDEAU EN POLONAISE)) ท่อนที่ 3 (THEMA) ซึง่ บทเพลงนี ้
ประพันธ์อยู่ในสังคีตลักษณ์ Sonata Form

ในที่นผ
ี ้ ู้จัดทำจะนำท่อนที่ 1 (Allegro) มาวิเคราะห์บทเพลงแต่
เพียงท่อนเดียว เนื่องจากท่อนที่ 1 นีป
้ ระพันธ์อยู่ในสังคีตลักษณ์ Sonata
Form

โครงสร้างของบทเพลง (ท่อนที่ 1 Allegro)


ท่อนที่ I อยู่ในคีย์ D Major ในอัตราจังวะ 4/4 มีความยาว 127
ห้องเพลงและสามารถแบ่งท่อนของบทเพลงออกได้เป็ น 3 ท่อน ดังนี ้

1. ท่อน A (Exposition) ห้องที่ 1-51

2. ท่อน B (Development) ห้องที่ 52-71

3. ท่อน A (Recapitulation) ห้องที่ 72-127


8

ท่อน A (Exposition)
ท่อน A (Exposition) เริ่มต้นที่ห้อง 1-51 ท่อนนีอ
้ ยู่ในคีย์ D Major
และอัตราจังหวะ 4/4 ท่อนนีใ้ ห้อารมณ์สนุกสนาน เร่งเร้า และลุ้นระทึก
เนื่องจากส่วนโน้ตของทำนองรองมีความกระชับและเป็ นสัดส่วนที่ชัดเจน
จากการวิเคราะห์ในท่อน A (Exposition) นัน
้ จะพบว่ามีประโยคเพลงใน
ท่อนนีจ
้ ำนวนมากและแต่ละประโยคเพลงถูกเชื่อมไปด้วย Transition
ระหว่างประโยคเพลง ในห้องที่ 1- 4 จะพบกับ Motive ที่ 1 และ
ประโยคเพลงที่ 1 ในทำนองของแนว Piano มือขวา และพบการซ้ำแนว
ทำนองเทคนิค Repetition ในห้องที่ 1 และพบเทคนิค Sequence ใน
ห้องที่ 3
9

Motive ประโยค

ที่ 1 เพลง ที่ 1

Repetit Seque

ion nce

และในห้องที่ 4-8 นัน


้ จะเป็ นช่วง Transition ที่ 1 ซึง่ จะเป็ น Transition
ที่เชื่อมระหว่างประโยคเพลงที่ 1 และประโยคเพลงที่ 2 ในช่วง
Transition ที่ 1 นัน
้ พบการซ้ำทำนองเทคนิค Repetition ในห้องที่ 4-6
ในแนว Piano มือซ้าย พบการซ้ำทำนองเทคนิค Sequence ที่ห้อง 4-8
และพบการซ้ำทำนองเทคนิค Imitation ที่ห้อง 7-8

Seque Seque
nce nce
Imitati
on
Repetit Transition
ion ที่ 1

ต่อมาในห้องที่ 9-12 พบกับ Motive ที่ 2 และประโยคเพลงที่ 2 ใน


ทำนองของแนว Piano มือขวาและพบการซ้ำเทคนิค Sequence
Motive ที่ 2 ห้องที่ 11-12 ในทำนองของแนว Piano มือซ้าย ห้องที่ 9-
12 พบการซ้ำทำนองเทคนิค Repetition
10

ประโยค Sequence
Motive
Motive ที่ 2
เพลง ที่ 2
ที่ 2

Repetit
ion

ในห้องที่ 13-16 จะเป็ นช่วง Transition ที่ 2 ซึง่ จะเป็ น Transition ที่
เชื่อมระหว่างประโยคเพลงที่ 2 และประโยคเพลงที่ 3 ในช่วง Transition
ที่ 2 นัน
้ พบการซ้ำทำนองเทคนิค Repetition ในห้องที่ 13-15 ในแนว
Piano มือขวา พบการซ้ำทำนองเทคนิค Sequence ที่ห้อง 13-16 ใน
แนว Piano มือซ้าย
Repetit Transition
ion ที่ 2

Seque
nce

ถัดมาในห้องที่ 17-21 พบประโยคเพลงที่ 3 ในทำนองของแนว Piano


มือขวา และพบการซ้ำเทคนิค Repetition ห้องที่ 17-21 พบการซ้ำ
เทคนิค Inversion ห้องที่ 17-18 กับห้องที่ 19-20 พบการซ้ำทำนอง
เทคนิค Sequence ห้องที่ 18 และ 20 ในทำนองของแนว Piano
มือขวา
11

Inversi Inversi
ประโยค
on on
เพลง ที่ 3
Seque Seque
nce nce

Inversi Repetiti Inversi


on on on

ในห้องที่ 21 จะเป็ นช่วง Transition ที่ 3 ซึ่งจะเป็ น Transition ที่เชื่อม


ระหว่างประโยคเพลงที่ 3 และประโยคเพลงที่ 4 ต่อมาในห้องที่ 22-29
พบประโยคเพลงที่ 4 และ Motive ที่ 3 ที่ห้อง 22-24 ในห้องที่ 26-29
จะพบว่ามีการนำเอา Motive ที่ 3 มาพัฒนาและขยายความทำนองหลัก
รวมทัง้ ในประโยคเพลงที่ 4 พบการซ้ำเทคนิค Sequence ห้องที่ 24-25
และห้องที่ 27-28

Seque ประโยค
พัฒนา
nce
เพลง ที่ 4
Motive ที่ 3
Motive
Transition Seque Seque
ที่ 3
ที่ 3 nce nce
12

ในห้องที่ 30-32 จะเป็ นช่วง Transition ที่ 4 ซึง่ จะเป็ น Transition ที่
เชื่อมระหว่างประโยคเพลงที่ 4 และประโยคเพลงที่ 5 ในช่วง Transition
ที่ 4 นัน
้ พบการซ้ำทำนองเทคนิค Sequence ในห้องที่ 30-32

Transition
ที่ 3

Seque Seque
nce nce

ในห้องที่ 33-37 พบประโยคเพลงที่ 5 ในทำนองของแนว Piano มือขวา


และพบการซ้ำเทคนิค Repetition ห้องที่ 33 พบการซ้ำเทคนิค
Sequence ห้องที่ 34-36 ในทำนองของแนว Piano มือซ้าย

ประโยค
เพลง ที่ 5

Repetiti Seque
on nce

ต่อมาห้องที่ 38-43 พบการซ้ำเทคนิค Repetition และห้องที่ 38-39 กับ


ห้องที่ 41-42 และห้องที่ 44 พบการซ้ำเทคนิค Sequence
13

Repetiti Repetiti
on on

Seque Seque Seque


Repetiti
nce nce nce
on

ต่อมาห้องที่ 46-48 พบการซ้ำเทคนิค Sequence และห้องที่ 48-49 พบ


การซ้ำเทคนิค Repetition ในทำนองของแนว Piano มือซ้าย ในห้องที่
51 พบ Cadance ประเภท Half Cadence (HC) โดยห้องที่ 51 คือ
คอร์ดที่ II (E7) และห้องที่ 51 คือคอร์ดที่ V (A Major) ซึ่งเป็ นการจบ
ท่อน A (Exposition)

Seque Seque
nce nce

Repetiti
on HC
14

ท่อน B (Development)
ท่อน B (Development) อยู่ในคีย์ D Major และอัตราจังหวะ 4/4
เช่นเดิม เริ่มต้นที่ห้องที่ 52-71 ท่อนนีใ้ ห้อารมณ์ปั่นป่ วน และหยอกล้อ
เนื่องจากทำนองมีการถาม-ตอบกันและก็มีทำนองรองที่บรรเลงส่วนโน้ตที่
ซ้อนทับกัน ทำให้เกิดเลเยอร์ของเสียงทีฟ
่ ั งแล้วรู้สึกถึงความปั่ นป่ วน ใน
ห้องที่ 52-56 จะพบกับประโยคเพลงที่ 1 ของท่อน B และยังพบการ
ถาม-ตอบ (Question – Answer) ของทำนองหลัก รวมทัง้ เทคนิคการซ้ำ
Sequence อีกด้วย

ประโยคเพลง
A ที่ A
Qอน B
1 ท่ Q

Q Q
Seque
nce

ถัดมาในห้องที่ 56-60 จะพบการ Sequence ประโยคเพลงที่ 1 ของ


ท่อน B Sequence ประโยคเพลง
ที่ 1 ท่อน B
15

ต่อมาพบเทคนิค Sequence ในห้องที่ 60-63 และการซ้ำเทคนิค


Repetition ที่ห้อง 60 กับห้องที่ 62

Seque
nce

Repetiti Repetiti
on on

ต่อมาห้องที่ 67-69 พบการซ้ำเทคนิค Sequence และพบ Transition


ห้องที่ 70-71 ซึง่ เป็ น Transition ระหว่างท่อน B (Development) และ
ท่อน A (Recapitulation) โดยใน Transition พบเทคนิคการซ้ำเทคนิค
Inversion ที่ ห้อง 70 และเทคนิค Sequence ที่ห้อง 71
Inversi Seque
on nce

Transition
Seque
nce
16

ท่อน A (Recapitulation)
ท่อน A (Recapitulation) เริ่มต้นที่ห้อง 72-127 ท่อนนีเ้ ป็ นการนำ
ท่อน A (Exposition) มาย้อนความ ท่อนนีอ
้ ยู่ในคีย์ D Major และอัตรา
จังหวะ 4/4 ท่อนนีใ้ ห้อารมณ์สนุกสนาน เร่งเร้า และลุ้นระทึก เช่นเดียว
กับท่อน A (Exposition) จากการวิเคราะห์ในท่อน A (Recapitulation)
นัน
้ จะพบว่าจะมีจำนวนห้องเพลงเพิ่มขึน
้ มาจำนวน 5 ห้องเพลงคือห้อง
เพลงที่ 97 และห้องที่ 117-121 และตัง้ แต่ห้องที่ 93 หรือประโยคเพลงที่
4 เป็ นต้นไป (อ้างอิงประโยคเพลงจากท่อน A (Exposition) เนื่องจาก
ท่อน A (Recapitulation) เป็ นการย้อนความ ) จะพบว่าจะมีทำนองถูก
Transpose ลงไปเป็ นขัน
้ คู่ Perfect ซึง่ มีทงั ้ Transpose ลดลงและ
Transpose ขึน
้ เป็ นขัน
้ คู่ 4 อ้างอิงจากทำนองของท่อน A (Exposition)
โดยจะเป็ นเช่นนีส
้ ลับกันไปจนจบท่อน แต่ในส่วนของประโยคเพลง
Motive และเทคนิคการซ้ำต่างๆ จะพบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งจะยัง
คงเดิมเหมือนกับท่อน A (Exposition) ทุกประการ
ท่อน A
Trans. ลงและขึน

(Re.)
Seque เป็ นคู่ 4
ประโยค
nce
Transition เพลง ที่ 4
ทำนอง
ที่ ตัMotive
วอย่างการเปรียบ ห้อง 93 ทำนองที่
พัฒนาMot
Seque เพิ่มเข้ามา Seque
ปกติ
3ผกดหฟด ที่ ย3บ
เที ท่อน nce
A ive ที่ 3
เหมื อน nce
ฟกฟไกฟ
กับ
ไกไฟ
(Re.) กับ ท่อน A
ท่อน A
ท่อน A (Ex.)
(Ex.)
(Ex.) Seque ประโยค
A
พัฒนา
nce
เพลง ที่ 4
Motive ที่ 3
Motive
Transition Seque Seque
ที่ 3
ที่ 3 nce nce
17

ในห้องที่ 118-121 ซึง่ เป็ นทำนองที่เพิ่มเข้ามาจากเดิมที่ทำนองในท่อน A


(Exposition) ไม่มี ซึ่งจากการวิเคราะห์เป็ นการนำเอาทำนองก่อนจบ
ท่อน A (Exposition) ซึง่ ก็คือห้องที่ 46-50 มาพัฒนาเป็ นห้องที่ 118-
121 และจากนัน
้ ก็ตามด้วยทำนองก่อนจบท่อน A (Exposition) ห้องที่
46-50 อีกครัง้ ซึ่งจะปรากฏอยู่ในห้องที่ 122-126 จะพบว่าห้องที่ 118
และห้องที่ 120 พบเทคนิคการซ้ำเทคนิค Sequence และในห้องที่ 119
พบการซ้ำเทคนิค Repetition
Seque Seque
nce nce

Repetiti
on

และในท้ายท่อน A (Recapitulation) ในห้องที่ 127 พบการจบท่อนด้วย


Cadance ประเภท Perfect Authentic Cadence (PAC) โดยห้องที่
127 คือคอร์ดที่ V (A Major) และห้องที่ 127 คือคอร์ดที่ I (D Major)

PAC
18

ผังโครงสร้างของบทเพลง (ท่อนที่ I Allegro)


19
บรรณานุกรม

Wolfgang Amadeus Mozart | โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมสาร์ท.


(Mr.Jirawat). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://sites.google.com/site/mrjisclassroom/prawati-sangkhit-
kwi-laea-phl-ngan/wolfgang-amadeus-mozart .วันที่ค้นข้อมูล : 29
ตุลาคม 2564)
Wolfgang Amadeus Mozart. (ไม่ระบุ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
:
https://th.wikipedia.org/wiki/ว็อล์ฟกัง_อมาเดอุส_โมทซาร์ท (วันที่
ค้นข้อมูล : 29 ตุลาคม 2564)

Piano Sonata No. 6 (Mozart). (ไม่ระบุ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้


จาก :
https://en.wikipedia.org/wiki/Piano_Sonata_No._6_(Mozart) .
(วันที่ค้นข้อมูล : 29 ตุลาคม 2564)

You might also like