You are on page 1of 35

การวิเคราะห์บทเพลง Lotus

สำหรับ Marimba

ประพันธ์โดย Adam Tan

นายสมประสงค์ ทวนทอง

รหัสนิสิต 58012010159
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หลักสูตรปริญญาดุริยางคศาสตร์บัณฑิต

คำนำ
การวิเคราะห์บทเพลง Lotus สำหรับ Marimba ประพันธ์โดย
Adam Tan เป็ นส่วนหนึ่งของรายวิชาการแสดงเดี่ยว รหัสวิชา 2000404
จัดทำขึน
้ เพื่อศึกษาประวัติความเป็ นมาของบทเพลง ประวัติผู้ประพันธ์
สังคีตลักษณ์ของบทเพลง ลักษณะบันไดเสียงของบทเพลง และเทคนิค
ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประพันธ์บทเพลงนี ้ เพื่อให้เข้าใจถึงบทเพลง Lotus
สำหรับ 4.3 octave Marimba

ผู้จัดทำหวังว่า การวิเคราะห์บทเพลง Lotus สำหรับ Marimba


ประพันธ์โดย Adam Tan เล่มนี ้ จะเป็ นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังศึกษาการ
วิเคราะห์บทเพลง Lotus หรือเป็ นแนวทางให้กับผู้ที่กำลังศึกษาในเรื่อง
การวิเคราะห์บทเพลงอื่น ๆ หากมีข้อผิดพลาดประการใด คณะผู้จัดทำ
ขออภัยมา ณ ที่นี ้

สมประสงค์ ทวนทอง
สารบัญ

แนวการวิเคราะห์ส่วนประกอบหลักของเพลง 1

การวิเคราะห์ประโยคเพลง 1

การวิเคราะห์สังคีตลักษณ์ 1

วิเคราะห์ภาพรวมโดยทั่วไปของบทเพลง 2

ประวัติผู้ประพันธ์ 3
ประวัติความเป็ นมาของบทเพลง 5

วิเคราะห์บทเพลง 6

ปั จจัยในการการวิเคราะห์เพลง Lotus 6

1.การวิเคราะห์โครงสร้างของบทเพลงและเทคนิคการเคลื่อนที่ของ
ทำนอง 6

2. การวิเคราะห์จังหวะ (Rhythm) 18

3. การพักประโยค (Cadence) 20

4. บันไดเสียง หรือ คียข


์ องเพลง (Key Signature) 20

บรรณานุกรม
1

แนวการวิเคราะห์ส่วนประกอบหลักของเพลง
เมื่อได้ภาพรวมภายนอกของเพลงแล้ว จึงจะวิเคราะห์ในแง่ทฤษฎีต่อ
ไป ในขัน
้ แรกควรวิเคราะห์ส่วนประกอบหลักของเพลง ซึ่งประกอบด้วย
ทำนอง จังหวะ เสียงประสาน และสีสันเสียง
การวิเคราะห์ประโยคเพลง
บทเพลงทุกบทต้องประกอบด้วยประโยคเพลง และประโยคเพลงเหล่า
นีก
้ ็จะถูกนำมาผูกร้อยเรียงกันเข้าจนเป็ นเพลงที่สมบูรณ์ แต่ละประโยคเพลง
มักมีส่วนย่อย ๆ ออกไปอีกเรียกว่า หน่วยทำนองย่อยเอก ซึ่งมีความสำคัญ
ในการผูกเพลงทัง้ หมดเข้าเป็ นอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนีย
้ ังต้องคำนึงถึง
เทคนิคทางการประพันธ์เพลงที่ใช้ เช่น เทคนิคการซ้ำ การเลียน เป็ นต้น
และท้ายที่สุด ควรวิเคราะห์โครงหลักของประโยคเพลงเพราะเป็ นตัวบอก
ทิศทางการเคลื่อนไหวของประโยคเพลง
การวิเคราะห์สังคีตลักษณ์
สังคีตลักษณ์เปรียบเหมือนฉันท์ลักษณ์ในวรรณคดี ฉันท์ลักษณ์ใน
วรรณคดีเป็ นโครงสร้างทางร้อยกรองที่แยกแยะ โครง ฉันท์ กาพย์ กลอน ให้
มีความแตกต่างกัน สังคีตลักษณ์ในดนตรีก็เช่นกัน มีโครงสร้างที่ยึดถือได้เป็ น
แบบอย่าง โดยมีทำนองแลกุญแจเสียงเป็ นตัวแปรสำคัญในการกำหนด
โครงสร้างของสังคีตลักษณ์เหล่านี ้ เช่น สังคีตลักษณ์สองตอน สังคีตลักษณ์
สามตอน สังคีตลักษณ์รอนโด สังคีตลักษณ์โซนาตา นอกเหนือจากสังคีต
ลักษณ์ดงั กล่าวแล้ว ยังมีกระบวนการทางการประพันธ์แบบอื่น ๆ ที่อนุโลม
เรียกว่า สังคีตลักษณ์ เช่น สังคีตลักษณ์ทำนองหลักและการแปร และรูป
2

แบบที่ไม้จัดอยู่ในกลุ่มทีเรียกว่าสังคีตลักษณ์แต่ก็มีกระบวนการประพันธ์ ที่
ถือเป็ นบรรทัดฐานได้ เช่น บทประพันธ์เพลงประเภทฟิ วก์ แต่บางเพลงก็
อาศัยสังคีตลักษณ์ 2 แบบมาผสมผสานกัน เช่น สังคีตลักษณ์โซนาตารอนโด
สังคีตลักษณ์สามตอนแบบผสม เป็ นต้น และก็มีเพลงบางประเภทต้องใช้
สังคีตลักษณ์มาผสมผสานกับรูปแบบการจัดวงดนตรี เช่น คอนแชร์โต
เป็ นต้น ผู้วิเคราะห์ต้องใช้วิจารณญาณประกอบกับความรู้ด้านทฤษฎีดนตรี
และประวัติดนตรีในการที่จะวินิจฉัยว่า บทเพลงนัน
้ ๆ มีแง่มุมใดที่น่าสนใจ
แก่การวิเคราะห์ในแง่มุมอื่น ๆ ฉะนัน
้ ก่อนที่จะเริ่มวิเคราะห์เพลง สิ่งที่
สำคัญที่สุด คือต้องรู้ว่า เพลงนัน
้ มีจุดสนใจอยู่ที่ไหน ควรให้ความสำคัญกับ
อะไรในการวิเคราะห์ ควรกล่าวเน้นถึงเรื่องอะไรมากน้อยเพียงไร ควรลงลึก
ถึงรายละเอียดในเรื่องใดบ้าง บทวิเคราะห์และข้อคิดต่าง ๆ ต้องมีเหตุผล
และหลักการทฤษฎีรองรับ เพื่อแสดงถึงคุณค่าเชิงวิชาการของบทเพลงนัน
้ ๆ
อย่างแท้จริง

วิเคราะห์ภาพรวมโดยทั่วไปของบทเพลง
3.1 ชื่อบทเพลง Lotus
3.2 ชื่อผู้แต่ง Adam Tan
3.3 ปี ที่แต่ง 2018
3

3.4 ยุคทางดนตรี ยุคศตวรรษที่ 20 (Contemporary Period)


3.5 ประเภทบทเพลง เป็ นเพลง Solo
3.6 เครื่องดนตรีที่ใช้คือ Marimba
3.7 จำนวนท่อนของเพลง ประกอบด้วย 3 ท่อน คือ
3.7.1 ท่อน I (A)

3.7.2 ท่อน II (B)

3.7.3 ท่อน III (A)

3.8 ความยาวของบทเพลงเป็ นเวลา


- ท่อน I 1 นาที 22 วินาที
- ท่อน II 1 นาที 31 วินาที
- ท่อน III 2 นาที 03 วินาที
- รวมเวลาทัง้ หมด 4 นาที 56 วินาที
3.10 ความยาวของบทเพลง
- ท่อน I ยาว 28 ห้อง
- ท่อน II ยาว 21 ห้อง
- ท่อน III ยาว 35 ห้อง
- รวมทัง้ หมด ยาว 84 ห้อง
4

ประวัติผู้ประพันธ์

Adam Tan เป็ น Marimbist, นัก


วิชาการ, Composer, Content creator ที่
เมือง Perth ในรัฐ Western ประเทศ
Australia เขาเป็ นที่ร้จ
ู ักมากที่สุดในฐานะ
YouTuber ในรายการ THE STUDIO ช่อง
Adam Tan ซึง่ เป็ นช่องของเขา โดยในช่อง
เนื้อหาจะให้ความรู้และความบันเทิงเกี่ยวกับ
หัวข้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Percussion

Adam Tan จบการศึกษาระดับปริญญาโทด้านดนตรี (Research,


Percussion) และปริญญาตรีสาขาดนตรี (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จาก
วิทยาลัยดนตรี Western Australia ได้รับรางวัล Lady Callaway Medal
for Music, Royal Over-Seas League (ROSL) Prize in Third- ผลงาน
ประจำปี , ทุนการศึกษา ROSL ระดับสูงกว่าปริญญาตรี, UWA Graduates
Prize in Music และรางวัล Australian Postgraduate Award เขาเป็ นลูก
ศิษย์ของ Paul Tanner, Nicole Turner, Tim White และ Louise
Devenish และเคยได้เรียนพิเศษกับ Mark Applebaum, Kuniko Kato,
Doug Perkins, Suyin Tan และ Nancy Zeltsman
5

Adam Tan ได้ไปแสดงคอนเสิร์ตไปหลายที่ เช่น ประเทศออสเตรเลีย


ในงาน Australian Percussion Gathering ประเทศฮ่องกงในงาน PAS
Hong Kong Days of Percussion, Oh! Asian Percussionists Series
และ 505A Percussion Gathering ประเทศญี่ปุ่นในงาน Percussive Arts
Society International Convention (PASIC) inc วันเพอร์คัชชัน
ประเทศมาเลเซียในงาน Malaysia Percussion Festival ไประเทศต้หวัน
และประเทศสหรัฐอเมริกาในงาน Chosen Vale Percussion Seminar
และ MalletLab Summer Intensive รวมทัง้ ยังมีการแสดงคอนเสิร์ตและ
ให้ความรู้ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และโรงเรียนทั่วประเทศไต้หวัน

ในฐานะ Composer ผลงานการประพันธ์จะเป็ นบทเพลงสำหรับ


เครื่อง Percussion และเพลงของเขามักถูกใช้ในการเรียนในโรงเรียน
มหาวิทยาลัย ใช้ในการแข่งขัน และคอนเสิร์ตในเทศกาลต่างๆ ทั่วโลก รวม
ถึง UIL Texas Prescribed Music List (PML) อัลบัม
้ เปิ ดตัวของเขา Hope
ที่มีการบันทึกผลงานของเขาทัง้ 8 ชิน
้ มีการนำลงบนแพลตฟอร์มการฟั ง
เพลงต่าง ๆ และร้านค้าสตรีมมิ่งเพลงทัง้ หมด รวมทัง้ มีการขายโน้ตเพลงบน
ร้านค้าออนไลน์ของเขา

ในเมือง Perth ในรัฐ Western ประเทศ Australia Adam Tan ได้


ก่อตัง้ และเป็ นผู้อำนวยการ Marimbafest Australia ซึง่ เป็ นองค์กรไม่
แสวงหาผลกำไร จัดตัง้ เพื่อการส่งเสริมศิลปะการตีกลองในออสเตรเลีย
Marimbafest Australia จัดเทศกาล Marimba ระดับนานาชาติประจำปี
และการแข่งขัน Marimbafest (พร้อมเทศกาลในปี 2019 และ 2021)
6

ปั จจุบัน เป็ นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัย Western Australia และ


ยังสอนแบบ Private ทีส
่ ตูดิโอของเขาด้วย รวมทัง้ เขายังเป็ น Premier
Artist of Marimba One (USA) และ Signature Artist of Encore
Mallets (USA)
7

ประวัติความเป็ นมาของบทเพลง

Lotus for 4.3 octave marimba ประพันธ์โดย Adam Tan โดย


เพลงนีเ้ ป็ นเพลงใช้สำหรับการ Solo Marimba เพลงนีแ
้ สดงครัง้ แรกที่งาน
Percussion All-Stars ที่หอประชุม Callaway Music ใน UWA
Conservatorium of Music วันที่ 27 ตุลาคม 2018

โดยที่มาของเพลงนี ้ Adam Tan ได้บอกไว้ว่าเขาได้แรงบันดาลใจจาก


คำกล่าวที่ว่า 予獨愛蓮之出淤泥⽽不染 แปลว่า ฉันชอบดอกบัวเพราะว่าในขณะที่
มันกำลังเติบโตจากโคลนตม มันก็ไม่เปื้ อนโคลน ซึ่งเป็ นคำกล่าวของ Zhou
Dunyi (เขาเป็ นนักจักรวาลวิทยา นักปรัชญา และนักเขียนชาวจีนในสมัยรา
ชวงศ์ซ่ง)

Adam Tan บอกไว้ว่า ดอกบัวมักพบเห็นได้ทั่วไปในวัฒนธรรมเอเชีย


มากมาย ซึ่งดอกบัว เป็ นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์แบบ ความสวยงาม
และความบริสุทธิ ์ และส่วนของรากบัวมักนำมาประกอบอาหารซึ่งจะพบใน
อาหารเอเชียหลายเมนู และแรงบันดาลใจของเขาสำหรับการประพันธ์เพลง
Lotus ส่วนใหญ่มาจากธรรมชาติของดอกบัว เพราะว่ามันสามารถเติบโตได้
8

อย่างสวยงาม แม้จะมีต้นกำเนิดที่เป็ นโคลน และเป็ นดอกไม้ทส


ี่ ามารถลอย
อยู่เหนือผิวน้ำ รวมทัง้ มักมีอายุยืนยาว

ในเพลงนี ้ Adam Tan นำธรรมชาติของดอกบัวมาเปรียบเทียบกับ


ประสบการณ์และชีวิตของมนุษย์ ซึง่ ทุกคนจะมีประสบการณ์ทงั ้ ดีและไม่ดี
เปรียบเสมือนดอกบัวที่แม้จะกำเนิดจากโคลนตม แต่ก็เติบโตได้อย่าง
สวยงาม

Lotus เริ่มต้นขึน
้ มาด้วยทำนองธีมหลักของเพลง โดยเขาให้ช่ อ
ื ว่า
floating (ลอยตัว) หมายความถึงความเงียบสงบ โดยในส่วนนีไ้ ด้แรงบันดาล
ใจมาจากเพลง Arabesque No. 1 ของ Debussy ด้วย ซึ่งจะพบและได้ยิน
ทำนองธีมหลักนีห
้ ลายท่อนในเพลงและทำนองธีมรองมักจะแสดงถึงการ
สะท้อนและความไม่แน่นอนไม่มั่นคง

และในท่อนของบทเพลงจะมีทำนองธีมหลักและทำนองธีมรองสลับกัน
ไปในแต่ละท่อน โดย Adam Tan ได้เปรียบไว้ว่า ทำนองธีมหลักความสงบ
แสดงถึงช่วงเวลาแห่งสันติภาพ ทำนองธีมรองการสะท้อนและความไม่
แน่นอนไม่มั่นคง แสดงถึงช่วงเวลาแห่งความยากลำบากของเรา หลังจากนัน

เพลงจะมีการพัฒนานำทำนองธีมหลักและทำนองธีมรองมาผสมกันและจบ
ลงด้วยแนวคิดที่ว่า ช่วงเวลาแห่งความสงบสุข ซึ่งเป็ นแนวคิดจากทำนองธีม
หลัก
9

วิเคราะห์บทเพลง
Lotus สำหรับ Marimba ประพันธ์โดย Adam Tan ซึง่ บทเพลงนี ้ อยู่
ในบันไดเสียง A Major และ A minor ในอัตราจังหวะ 2/4, 3/4, 4/4,
7/16, 9/16, 19/16 สำหรับบทเพลงนีเ้ ป็ นบทเพลงประเภท Solo โดยมี
การแบ่งท่อนได้เป็ นท่อน A ท่อน B ท่อน A ซึ่งบทเพลงนีอ
้ ยู่ในสังคีตลักษณ์
Ternary Form และมีปัจจัยในการวิเคราะห์บทเพลง ดังนี ้

ปั จจัยในการการวิเคราะห์เพลง Lotus
1. การวิเคราะห์โครงสร้างของบทเพลงและเทคนิคการเคลื่อนที่ของ
ทำนอง
2. การวิเคราะห์จังหวะ (Rhythm)
3. การพักประโยค (Cadence)
4. บันไดเสียง หรือ คีย์ของเพลง (Key Signature)

1. การวิเคราะห์โครงสร้างของบทเพลงและเทคนิคการเคลื่อนที่ของ
ทำนอง

ท่อน A

้ ยู่ในรูปแบบ Binary Form ซึ่งจะประกอบไปด้วย 2


ท่อน A ท่อนนีอ
ท่อน ซึ่งก็คือ ท่อน a และท่อน b โดยในท่อน A นี ้ จะมีอารมณ์เพลงที่ฟัง
แล้ว รู้สึกได้ถงึ ความสุข ความสงบ เพลิดเพลิน ความสดใส และความจริงจัง
10

ร่วมทัง้ โน้ตมีความซับซ้อนในเรื่องการบรรเลง จึงต้องใช้เวลาศึกษาและฝึ ก


ซ้อมเป็ นอย่างมาก และมีจำนวนห้องตัง้ แต่ห้องที่ 1-28

ท่อน a

ท่อน a เป็ นการนำเสนอทำนองธีมหลักของบทเพลงว่าจะเป็ นไปใน


แนวทางไหน เริ่มที่ห้อง 1-21 ท่อนนีม
้ ีการนำเสนอบทเพลงที่ ให้ความ
รู้สึก สุข ความสงบ เพลิดเพลิน ความสดใส และความจริงจัง เพราะ
เมื่อฟั งแล้วให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในสถานที่อันสงบและเย็นสบาย ซึ่ง
สามารถทำให้เราเห็นภาพตามที่ผู้ประพันธ์ได้บอกเอาไว้ได้เลย และ
เริ่มต้นโดย Intro เล็กน้อยก่อนเข้าสู่ทำนองหลักที่มีธีมหลักอยู่ ในห้อง
ที่ 3 เป็ นต้นไป ในท่อนนีจ
้ ะพบ Motive ที่ 1 ในห้อง 3-4 กับห้องที่ 5-
6 และประโยคเพลงที่ 1 ในห้อง 3-8 และยังพบเทคนิคการเคลื่อนที่
ของทำนอง เทคนิค Sequence ใน Motive ที่ 1 ที่ห้อง 3 และ 5 ใน
แนวบน Marimba และพบเทคนิค Repetition ที่ห้อง 1-2 และ 7-8
ในแนวล่าง Marimba

Repetit
ion

ประโยค Motive
เพลงที่ 1 ที่ 1
Sequen
ce
ที่ 1
Sequen
ce 11

Repetit
ion

ต่อมาในห้องที่ 9 ท่อนนีพ
้ บเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนอง เทคนิค
Repetition

Repetit
ion
12

ถัดมาพบ Motive ที่ 1 ในห้อง 11-12 กับห้องที่ 13-14 และห้องที่


11-16 พบการนำเอาประโยคเพลง ที่ 1 อีกครัง้ แต่จะสังเกตได้ว่ามี
การพัฒนาทำนองเล็กน้อยในท้ายประโยคเพลงที่ 1 เพื่อเตรียมเข้าสู่ช่วง
Transition ในห้องถัด ๆ ไป และยังพบเทคนิคการเคลื่อนที่ของ
ทำนอง เทคนิค Sequence ใน Motive ที่ 1 ที่ห้อง 11 และห้อง 13 ใน
แนวบน Marimba และพบเทคนิค Repetition ที่ห้อง 15-16 ในแนวล่าง
Marimba

ประโยค Motive
เพลงที่ 1 ที่ 1
Sequen
ce

Motive
ที่ 1
Sequen
ce

Repetiti
on
13

ในห้องที่ 18-21 จะเป็ นช่วง Transition เพื่อส่งเข้าสู่ท่อน b ในห้องที่


22 โดยในช่วง Transition นีจ
้ ะพบว่ามีการใช้เทคนิคการเคลื่อนที่ของ
ทำนองเทคนิค Repetition ที่ห้อง 18-21
Transiti
on

Repetiti
on

Repetition

ท่อน b
14

ท่อน b เป็ นการนำเอาเสนอทำนองธีมหลักอีกรูปแบบหนึ่งของ


บทเพลง เริ่มที่ห้อง 22-28 ท่อนนีม
้ ีการนำเสนอบทเพลงที่ ให้ความ
รู้สึก สุข เพลิดเพลิน และความจริงจัง เพราะเมื่อฟั งแล้วให้ความรู้สึก
เหมือนเพลงกำลังเล่าเรื่องราวของการใช้ชีวิตของมนุษย์ เริ่มต้นโดย
ทำนองหลักซึง่ จะเป็ น Motive ที่ 2 ในห้อง 22 และพบ Motive ที่ 3
Motive
ในห้องที่ 24-25 ในแนวบน Marimba รวมทัง้ ยังพบเทคนิคการ
ที่ 2
Imitatio
เคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค Imitation ที่ห้อง 23 และห้อง 25 พบ
n
เทคนิค Sequence ในห้องที่ 24-25 ในแนวล่าง Marimba
Motive
ที่ 3
Imitatio
n

Sequence

ถัดมาในห้องที่ 26-28 ในแนวบน Marimba พบว่ามีการนำเอา


Motive ที่ 3 มาพัฒนาและขยายความ รวมทัง้ ยังกลายเป็ นประโยค
เพลงที่ 2 อีกด้วยซึ่งพบพบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค
Sequence ต่อมาในแนวล่าง Marimba พบเทคนิคการเคลื่อนที่ของ
ทำนองเทคนิค Sequence ในห้องที่ 26-27 และในห้องที่ 28 พบ
เทคนิค Repetition
15

ประโยค
Sequenc
Motive ที่ 3 ถูกพัฒนา เพลงที่ 2
e
และขยายความ

Sequenc Repetiti
e on

ท่อน B

ท่อน B เป็ นการนำเสนอทำนองธีมรองของบทเพลง ซึ่งผู้ประพันธ์ได้


กล่าวเอาไว้ว่าทำนองธีมรองมีลักษณะตรงกันข้ามกับทำนองธีมหลัก ใน
ทำนองธีมหลักสื่อถึงความสงบซึ่งแสดงถึงช่วงเวลาแห่งสันติภาพ ทำนองธีม
รองนัน
้ จะตรงกันข้าม โดยจะสื่อถึงการสะท้อนและความไม่แน่นอนไม่มั่นคง
แสดงถึงช่วงเวลาแห่งความยากลำบากของมนุษย์ โดยท่อน B ท่อนนีม
้ ี
การนำเสนอบทเพลงที่ ให้ความรู้สึกสับสน และความปั่ นป่ วน เพราะเมื่อฟั ง
แล้วให้ความรู้สึกเหมือนกำลังเจอพายุหรือมรสุม ซึ่งสามารถทำให้เราเห็น
ภาพคนที่กำลังเจอปั ญหารุมเร้า ร่วมทัง้ โน้ตมีความซับซ้อนในเรื่องการ
บรรเลงต้องใช้เวลาศึกษาและฝึ กซ้อมเป็ นอย่างมากเป็ นท่อนเน้นโชว์ทักษะ
ความสามารถการบรรเลงของผู้เล่น และมีจำนวนห้องตัง้ แต่ห้องที่ 29-49 ใน
16

ท่อนนีส
้ ามารถแบบท่อนย่อยออกได้เป็ น 3 ท่อน โดยแบ่งท่อนได้เป็ นท่อน a
้ ยู่ในสังคีตลักษณ์ Ternary Form
ท่อน b ท่อน a′ ซึ่งท่อนนีอ

ท่อน a

ท่อน a นำเสนอทำนองธีมรองของบทเพลง เริ่มที่ห้อง 29-36 ท่อนนี ้


ให้ความรู้สึกสับสน และความปั่ นป่ วน เพราะเมื่อฟั งแล้วให้ความรู้สึก
เหมือนกำลังเจอพายุหรือมรสุม และ ในท่อนนีจ
้ ะพบเทคนิคการ
เคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค Sequence ที่ห้อง 29-35 ในท่อนนีจ
้ ะไม่
พบประโยคเพลงหรือ Motive ใด ๆ เนื่องจากเป็ นท่อนที่ไว้สำหรับการ
โชว์ทักษะความสามารถการบรรเลงของผู้เล่น และในห้องที่ 36 จะ
เป็ นการ Transition เพื่อเข้าสู่ท่อน b

Sequence

Sequence

Transiti
17

ท่อน b

ท่อน b มีการนำทำนองของ Motive ที่ 1 มาพัฒนาและขยายความ


อยู่ในท่อนนี ้ ซึ่งเมื่อฟั งจะได้กลิ่นไอของ Motive ที่ 1 ได้ แต่ในเรื่อง
ของอารมณ์ความรู้สึกยังคงอิงอยู่ในทำนองธีมรอง เพราะเมื่อฟั งแล้วยัง
รู้สึกถึง ความสับสน และความปั่ นป่ วนได้ โดยเริ่มที่ห้อง 37-45 ใน
ท่อนนีจ
้ ะไม่พบประโยคเพลงหรือ Motive ใด ๆ เนื่องจากเป็ นท่อนที่
ไว้สำหรับการโชว์ทักษะความสามารถการบรรเลงของผู้เล่น แต่จะพบ
เทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค Sequence ในห้อง 37-40
และพบเทคนิค Repetition ในห้องที่ 31-40

Sequen
ce Sequen
ce
Repetiti
on

Sequen
ce Sequen
18

ถัดมาในห้องที่ 41-42 และห้องที่ 43 พบเทคนิค Repetition

Repetiti Repetiti
on on
19

ท่อน a′

ท่อน a′ ท่อนนีเ้ ป็ นการนำท่อน a มามาพัฒนาเล็กน้อยและยังคงไว้ซึ่ง


ทำนองธีมรองของบทเพลง เริ่มที่ห้อง 46-49 ท่อนนี ้ ให้ความรู้สึก
สับสน และความปั่ นป่ วน เพราะเมื่อฟั งแล้วให้ความรู้สึกเหมือนกำลัง
เจอพายุหรือมรสุม และ ในท่อนนีจ
้ ะพบเทคนิคการเคลื่อนที่ของ
ทำนองเทคนิค Repetition และเทคนิค Sequence ที่ห้อง 46-48 ใน
ท่อนนีจ
้ ะไม่พบประโยคเพลงหรือ Motive ใด ๆ เช่นกันเนื่องจากเป็ น
ท่อนที่ไว้สำหรับการโชว์ทักษะความสามารถการบรรเลงของผู้เล่น

Repetiti
on

Sequen
ce

Repetiti
Sequen on
ce

Repetiti
on
20

ท่อน A

ท่อน A ท่อนนีเ้ ป็ นการย้อนความอีกครัง้ ของท่อน A เพื่อจบบทเพลง


แต่ในท่อนนีม
้ ีความพิเศษอยู่ เพราะว่าปกติการย้อนความท่อน A จะเป็ นการ
นำเอาทำนองหรือท่อน A มาย้อนความทัง้ ท่อนเลย หรืออาจจะมีการพัฒนา
ท่อน A เล็กน้อยแล้วนำมาย้อนความ แต่ในบทเพลงนีท
้ ่อน A ย้อนความจะ
เป็ นการนำเอา ท่อน A และท่อน B มาผสมกันและพัฒนา จึงกลายออกมา
เป็ นท่อน A ย้อนความนี ้ ซึง่ จะแตกต่างจากหลักโครงสร้างของสังคีตลักษณ์
เนื่องด้วยเพลงนีป
้ ระพันธ์ในยุคศตวรรษที่ 20 (Contemporary Period) จึง
ไม่แปลกที่จะเจอโครงสร้างท่อนเพลงลักษณะนี ้ ท่อนนีน
้ น
ั ้ อยู่ในรูปแบบ
Binary Form ซึง่ จะประกอบไปด้วย 2 ท่อน ซึ่งก็คือ ท่อน a และท่อน b
โดยในท่อน A นี ้ จะมีอารมณ์เพลงที่ฟังแล้ว รู้สึกได้ถึงความสุข ความสงบ
เพลิดเพลิน ความสดใส ความจริงจัง ความสับสน และความปั่ นป่ วน เพราะ
เป็ นการนำเอาทำนองธีมหลักและทำนองธีมรองมาผสมผสานกัน ร่วมทัง้ โน้ต
21

มีความซับซ้อนในเรื่องการบรรเลง จึงต้องใช้เวลาศึกษาและฝึ กซ้อมเป็ น


อย่างมาก และมีจำนวนห้องตัง้ แต่ห้องที่ 50-84

ท่อน a

ท่อน a เป็ นการนำเสนอทำนองที่เน้นทำนองธีมหลักของบทเพลงเป็ น


หลัก เริ่มที่ห้อง 50-64 ท่อนนีม
้ ีการนำเสนอบทเพลงที่ ให้ความรู้สึก
สุข ความสงบ เพลิดเพลิน ความสดใส และความจริงจัง และเริ่มต้น
โดย Motive ที่ 2 ที่ห้อง 50 ในแนวบน Marimba ท่อนนีจ
้ ะพบ
เทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค Inversion ที่ห้อง 52 ในแนว
บน Marimba และพบเทคนิค Sequence ที่ห้อง 52-53 รวมทัง้ ยัง
พบเทคนิค Imitation ที่ห้อง 54 อีกด้วย

Motive
ที่ 2

Inversio Sequen
n ce

Imitatio
n

Sequen Sequen
ต่อมาในห้องที่ 55-58
ce พบการนำประโยคเพลงที
ce
่ 2 มาพัฒนาใหม่ ซึ่ง
พบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค Sequence ที่ห้อง 55-58
22

ในแนวบน Marimba และยังพบเทคนิค Repetition ที่ห้อง 55-56


อีกด้วย

ประโยคเพลงทีSequenc
่2
พัฒนาใหม่ e

Repetiti
on

ในห้องที่ 59-64 พบการนำประโยคเพลงที่ 2 ที่พัฒนาใหม่มาขยาย


ความทำนองเพิ่มขึน
้ ซึ่งพบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค
Sequence ที่ห้อง 59-64 ในแนวบน Marimba และยังพบเทคนิค
Repetition ที่ห้อง 59-62 อีกด้วย

Sequence ขยายความทำนองประโยคเพลง
ที่ 2 พัฒนาใหม่

Repetiti Repetiti
on on

ท่อน b

ท่อน b ท่อนนีเ้ ป็ นการนำเสนอทำนองที่เน้นทำนองธีมรองของ


บทเพลงเป็ นหลักโดยผสมทำนองธีมหลัก เริ่มที่ห้อง 65-84 ท่อนนีม
้ ี
23

การนำเสนอบทเพลงที่ ให้ความรู้สึกถึง ความสุข ความสับสน ความ


ปั่ นป่ วนและความปลง และเริ่มต้นโดยมีการนำ Motive ที่ 1 มา
พัฒนาทำนองซึ่งปรากฏอยู่ที่ห้อง 65 และห้อง 67 และในห้องที่ 65-
66 พบประโยคเพลงที่ 3 และพบการ Repetition ประโยคเพลงที่ 3
ที่ห้อง 67-68

ประโยคเพลงที่
Motive ที่ 1
3
พัฒนาทำนอง
Sequenc
e
Repetiti
on
Motive ที่ 1
พัฒนาทำนอง
Sequenc
e
ประโยคเพลงที่
3

ถัดมาห้องที่ 74-77 พบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนองเทคนิค


Repetition ในแนวบน Marimba และพบเทคนิค Sequence ใน
Repetiti
แนวล่าง Marimba on

Sequenc
e
24

ต่อมาห้องที่ 82-83 พบการนำ Motive ที่ 1 มาพัฒนาทำนองอีกครัง้


เพื่อเป็ นการสรุปจบบทเพลง และพบเทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนอง
เทคนิค Sequence และจบบทเพลงด้วยคอร์ดที่ I (คอร์ด A)

nce Sequenc
Motive ที่ 1
e
พัฒนาทำนอง

Sequenc
e
25

แผนผังโครงสร้าง Form ของบทเพลง Lotus


26

2. การวิเคราะห์จังหวะ (Rhythm)
ความเร็วจังหวะ (Tempo) หมายถึงความช้าหรือความเร็วของ
บทเพลงนัน
้ โดยผู้ประพันธ์เพลงเป็ นผู้กำหนดขึน
้ การกำหนดอัตราความเร็ว
ของจังหวะ มีการกำหนดศัพท์ขน
ึ ้ มาใช้โดยเฉพาะ โดยจะเขียนอยู่บนและ
ตอนต้นของบทเพลง ตัวอย่างคำศัพท์ที่กำหนดอารมณ์ในบทเพลง Lotus
เช่น Gently,freely = ช้าตามสบาย, Lamenting,reflective = คร่ำครวญ
และสะท้อน, With energy = ให้มพ
ี ลัง, Relaxed = ผ่อนคลาย,
Triumphant = ชัยชนะ, Wistful = โหยหา
โดยทั่วไปในทางดนตรีสามารถจำแนกอัตราจังหวะได้ 2 ประเภทคือ
อัตราจังหวะธรรมดา (Simple Time Signatures) และอัตราจังหวะผสม
(Compound Time Signatures)
27

แต่จะมีอัตราจังหวะอีกประเภทที่พบไม่บ่อยหนัก ซึง่ มีช่ อ


ื ว่า อัตรา
จังหวะซ้อน (Complex Time Signatures) ซึ่งเป็ นอัตราจังหวะที่ไม่ตรงกับ
2 กลุ่มที่กล่าวมาช้างต้น ชีพจรจังหวะ (Beat) จะไม่แน่นอน ขึน
้ อยู่กับผู้
ประพันธ์เพลง ซึ่งจะบอกไว้ด้านบน Time Signature

ในบทเพลง Lotus ผู้ประพันธ์ได้กำหนดอัตราจังหวะมาในอัตรา


จังหวะธรรมดา อัตราจังหวะผสม และอัตราจังหวะซ้อน ได้แก่ 2/4, 3/4,
4/4, 7/16, 9/16 และ 19/16
28
29

3. การพักประโยค (Cadence)
การพักประโยค (Cadence) คือ ท่อนจบของประโยคเพลงในแต่ละ
ท่อน ซึ่งสิ่งที่บ่งบอกชนิดของเคเดนซ์คือ คอร์ด 2 คอร์ดสุดท้าย ถ้าทราบว่า
2 คอร์ดสุดท้ายคือคอร์ดอะไรบ้าง ก็จะทำให้ทราบชนิดของเคเดนซ์ น้ำหนัก
ของการดำเนินคอร์ดจากคอร์ดแรกไปเป็ นตัวกำหนดน้ำหนักของเคเดนซ์ นัก
แต่งเพลงในยุคโรแมนติก นิยมเคเดนซ์ที่มีน้ำหนักเบาลง ต่างจากนักแต่ง
เพลงในยุคบาโรก และคลาสสิกที่ชอบใช้เคเดนซ์ที่มีความหนักแน่นในการจบ
ประโยค จบตอน จบท่อน หรือจบเพลงเคเดนซ์ชนิดต่างๆจะมีน้ำหนักลด
หลั่นตามลำดับจาก

บทเพลง Lotus ไม่พบการพักประโยคเพลงซึง่ มีแค่การจบด้วยคอร์ดที่


I (คอร์ด A)

4. บันไดเสียง หรือ คียข


์ องเพลง (Key Signature)
เครื่องหมายประจำกุญแจเสียง หรือเครื่องหมายกำหนดบันไดเสียง
หรือเครื่องหมายตัง้ บันไดเสียง (Key Signature) คือชุดของเครื่องหมาย
ชาร์ปหรือแฟลตที่ได้ถูกบันทึกไว้ตอนต้นของบทเพลงต่อจากกุญแจและอยู่
ก่อน ตัวเลขกำกับจังหวะ หรือเครื่องหมายประจำจังหวะ หรือเครื่องหมาย
กำหนดจังหวะ(Time Signature) เพื่อบอกให้ร้ว
ู ่าโน้ตเพลงที่บันทึกไว้นน
ั ้ อยู่
ในกุญแจเสียง(คีย์)ใด

บทเพลง Lotus มีการใช้คีย์หรือบันไดเสียงทัง้ หมด 2 บันไดเสียง


ได้แก่
30

1. บันไดเสียง A Major ซึง่ เป็ นบันไดเสียงหลักของบทเพลง ซึ่งจะอยู่


ในท่อน A ท่อน B และท่อน A (ย้อนความ)

2. บันไดเสียง A minor ซึง่ เป็ นบันไดเสียงรอง ซึ่งจะอยู่ในท่อน A และ


ท่อน A (ย้อนความ)
บรรณานุกรม

กิตติคณ
ุ จันทร์เกษ . (2562). เทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนอง.
เอกสารประกอบการสอนวิชา Forms and Analysis of Western Music,
มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2560). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์. พิมพ์ครัง้ ที่


6. กรุงเทพมหำนคร: สำนักพิมพ์เกศกะรัต, 221 หน้า.

BIOGRAPHY Adam Tan. (Adam Tan). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :


https://www.adamtanpercussion.com/biography .(วันที่ค้นข้อมูล :
30 ตุลาคม 2564)
Lotus(2018). (Adam Tan). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://www.adamtanpercussion.com/product-page/lotus-for-
solo-marimba .(วันที่ค้นข้อมูล : 30 ตุลาคม 2564)

You might also like