You are on page 1of 13

การวิเคราะห์บทเพลง

Mazurka in G minor No. 2


ประพันธ์โดย Chopin

โดย
นายชุณหโรจน์ ธรรมศิลป์
รหัสนิสิต 62012010104

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หลักสูตรปริญญาดุริยางคศาสตร์บัณฑิต
คำนำ
การวิเคราะห์บทเพลง Mazurka in G minor No. 2 ประพันธ์โดย Chopin เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา
สังคีตลักษณ์ รหัสวิชา 2000313 จัดทำขึ้น เพื่อการศึกษาประวัติความเป็นมาของบทเพลง สังคีตลักษณ์ของ
บทเพลง ลักษณะคีย์ของบทเพลง และเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในการประพันธ์บทเพลงนี้ เพื่อให้เข้าใจและทราบถึ ง
ความเป็นมาของบทเพลง Mazurka in G minor No. 2 ประพันธ์โดย Chopin
ผู้จัดทำหวังว่า การวิเคราะห์บทเพลง Mazurka in G minor No. 2 ประพันธ์โดย Chopin เล่มนี้ จะ
เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังศึกษาในเรื่องการวิเคราะห์บทเพลงอื่น ๆ หากมีข้อผิดพลาดประการใด คณะผู้จัดทำ
ขออภัยมา ณ ที่นี้

ชุณหโรจน์ ธรรมศิลป์
สารบัญ

ประวัติผู้ประพันธ์ 1
ประวัติบทเพลง 3
การวิเคราะห์บทเพลง 4
โครงสร้างของบทเพลง 4
ท่อน A 5
ท่อน B 6
ท่อน A 7
ผังโครงสร้างของบทเพลง Mazurka in G minor No. 2 9
บรรณานุกรม
1

ประวัติผู้ประพันธ์

Fryderyk Franciszek Chopin เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1810 (ตามบันทึกของสังฆมณฑลบอก


ว่าเป็นวันที่ 22 กุมภาพันธ์) ที่เมืองแชลาซอวาวอลา (Zelazowa Wola) ซึ่ง ตั้ง อยู่ตอนกลางของประเทศ
โปแลนด์ บิดาของเขาชื่อนีกอลา (Nicolas Chopin) เป็นชาวฝรั่งเศสโดยกำเนิด พื้นเพมาจากเมืองมาแร็งวีล -
ซูร์-มาดง (Marainville-sur-Madon) ในแคว้นลอแรน มารดาเป็นชาวโปแลนด์ Chopin เริ่มเรียนดนตรีตั้งแต่
อายุหกขวบ และแต่งเพลงแรกเมื่ออายุเพียงเจ็ดขวบ และเปิดการแสดงต่อ สาธารณชนครั้งแรกเมื่ออายุแปด
ขวบ (ค.ศ. 1818) ครู ส อนดนตรีค นแรกของ Chopin ได้ แ ก่ วอยแชค ชึ ฟ นื อ (Wojciech Zywny) และ
หลังจาก ค.ศ. 1826 เขาได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนดนตรีแห่งกรุงวอร์ซอ ซึ่งเขาได้รับการถ่ายทอดวิชาดนตรี
จากยูแซฟ เอลส์เนอร์ (Józef Elsner) เป็นหลัก
ใน ค.ศ. 1830 เขาได้จากโปแลนด์ประเทศบ้านเกิดเพื่อมาประกอบอาชีพนักดนตรีที่ประเทศฝรั่ง เศส
ซึ่งเขาได้ใช้ช่วงชีวิตที่เหลือพำนักอยู่ที่กรุงปารีสหรือไม่ก็ในบริเวณใกล้เคียง เขาตกหลุมรักสาวนางหนึ่งอย่างหัว
ปักหัวปำ ความรักที่เขามีต่อหล่อนเป็นแรงบันดาลใจในการประพันธ์เพลง "บัลลาดหมายเลข 1 โอปุสที่ 23" ที่
แสนไพเราะ รวมถึงท่อนที่สองของคอนแชร์โตหมายเลข 1 ระหว่าง ค.ศ. 1838 ถึง ค.ศ. 1847 เขาได้กลายเป็น
ชู้รักของฌอร์ฌ ซ็องด์ (George Sand) นักประพันธ์นวนิยายชาวฝรั่งเศสผู้อื้อฉาว แต่ในที่สุดก็ได้แยกทางกัน
ด้วยความเต็มใจของทั้งสองฝ่ายเมื่ออาการป่วยของ Chopin ทรุดหนัก ฉากหนึ่งของเรื่องราวความรักของคู่รัก
บันลือโลกที่ผู้คนจดจำได้ดีที่สุด เห็นจะได้แก่เหตุการณ์ในเกาะมายอร์กา ประเทศสเปน ในช่วงที่ Chopin ใช้
ชีวิตส่วนใหญ่อยู่อย่างอนาถในบ้านชาวนาโดยปราศจากเครื่องทำความร้อน บทเพลงเขาได้ประพันธ์ ระหว่าง
ช่วงเวลาอันน่าสังเวชนี้ได้แก่พรีลูด โอปุสที่ 28 อันพรรณนาถึงความสิ้นหวังของทั้งคู่ ช่วงเวลาดังกล่าวได้มี
ผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสุขภาพของ Chopin ที่ป่วยจากวัณโรคเรื้อรัง ทำให้เขาและฌอร์จ ซ็องด์ตัดสินใจ
2

เดินทางกลับกรุงปารีสเพื่อรักษาชีวิตเอาไว้ เขารอดชีวิตมาได้ก็จริง แต่ก็ไม่หายขาดจากอาการป่วย จนกระทั่ง


จบชีวิตอย่างน่าสลดด้วยวัยเพียง 39 ปี
Chopin สนิทกับฟรานซ์ ลิซท์, วินเชนโซ เบลลีนี (ผู้ซึ่งศพถูกฝังอยู่ใกล้กับเขาที่สุสานแปร์ลาแชซใน
กรุงปารีส) และเออแฌน เดอลาครัว เขายังเป็นเพื่อนกับคีตกวีแอ็กตอร์ แบร์ลีโยซ และโรแบร์ท ชูมันน์ และ
แม้ว่า Chopin ได้มอบเพลงบางบทเพื่ออุทิศให้เพื่อนนักประพันธ์ทั้งสองก็ตาม แต่เขาก็ไม่ค่อยประทับใจบท
เพลงที่ทั้งสองแต่งขึ้นเท่าไรนัก เขาได้ขอร้องให้ร้องเพลงสวดเรเควียมของโมซาร์ทในงานศพของเขา แต่เมื่อเขา
เสียชีวิตลงใน ค.ศ. 1849 พิธีศพที่จัดขึ้ นที่โบสถ์ลามาดแลน (La Madeleine) ไม่ไ ด้ราบเรียบเสียทีเดียว
เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ได้มีการขออนุญาตใช้วงประสานเสียงสตรีในการร้องเพลงสวด ข่าวอื้อฉาวดังกล่าวได้
แพร่ออกไปส่งผลให้ต้องเลื่อนพิธีฝังศพออกไปอีกสองสัปดาห์ แต่ในที่สุดโบสถ์ก็ยอมรับคำขอดังกล่าว ทำให้ คำ
ขอร้องครั้งสุดท้ายของ Chopin เป็นจริงขึ้นมา
ผลงานทุกชิ้นของ Chopin เป็นงานชิ้นเอก ส่วนใหญ่ใช้สำหรับเดี่ยวเปียโน งานประเภทเรียบเรียง
เสียงประสานมีเพียงคอนแชร์โตสองบท, ปอลอแนซ (polonaise) หนึ่งบท, รอนโด (rondo) หนึ่งบท และวารี
ยาซียง (variation) อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดบรรเลงด้วยเปียโนและวงออร์เคสตรา เพลงเชมเบอร์มิวสิกมี
เพียงห้าชิ้น ซึ่งสี่ชิ้นแรกแต่งไว้ตั้งแต่วัยเด็ก ชิ้นสุดท้ายเป็นโซนาตาสำหรับเชลโลและเปียโน ซึ่งเป็นผลงานชิ้น
สุดท้ายที่เขานำออกแสดงต่อสาธารณชนร่วมกับโอกุสต์ ฟร็องชอม (Auguste Franchomme) เพื่อนของเขาผู้
เป็นนักเชลโลเลื่องชื่อ มิตรภาพได้ถูกถ่ายถอดมาเป็นความละเมียดละไมของเชลโล เนื่องจากเชมเบอร์มิวสิ
กของ Chopin ใช้เชลโล่บรรเลงถึงสี่ในห้าชิ้นด้วยกัน
3

ประวัติบทเพลง

บทเพลง Mazurka in G minor No. 2 ประพันธ์โดย Chopin (Fryderyk Franciszek Chopin) บท


เพลงนี้เป็นบทเพลงเต้นรำ ประเภท Mazurka เป็น เพลงเต้นรำพื้นบ้านของชาวโปแลนด์ ซึ่ง อยู่ในการนับ
จังหวะสาม ( 3/4 หรือ 3/8 ) และมักใช้เน้นจังหวะที่ 2 หรือ 3 ซึ่งต่างจากบทเพลงเต้นรำประเภท Waltz ที่จะ
เน้นจังหวะที่ 1
บทเพลง Mazurka in G minor No. 2 ให้ความรู้สึกอ่อนกว่าให้ความรู้สึกถึงการและครุ่นคิด มีความ
แตกแยกอย่างรุนแรงในการเริ่มต้นเพลง ราวกับว่าผู้ประพันธ์หลงอยู่ในจินตนาการของเขาเองและค่อนข้างที่
จะไม่รับรู้ถึงโลกภายนอกที่อยู่รอบตัวรอบตัวเขาเลย ส่วนท่อนตรงกลางจะค่อนข้างมีชีวิตชีวาด้วยจังหวะอัน
โดดเด่น และแนวเสียง Monophonic ทำหน้าที่เป็นการเปลี่ยนกลับไปยังส่วนทำนองแรก ซึ่งนำผู้ฟังเข้าสู่โลก
แห่งจินตนาการของการทำนองแรกอีกครั้ง
4

การวิเคราะห์บทเพลง
บทเพลง Mazurka in G minor No. 2 ประพันธ์โดย Chopin (Fryderyk Franciszek Chopin) บท
เพลงนี้ประกอบด้วย 3 ท่อน (Movement) ได้แก่ ท่อนที่ A ท่อนที่ B และท่อนที่ A ซึ่งบทเพลงนี้ประพันธ์อยู่
ในสังคีตลักษณ์ Ternary Form บทเพลงนี้เป็นบทเพลงเต้นรำ ประเภท Mazurka เป็นเพลงเต้นรำพื้นบ้านของ
ชาวโปแลนด์ ซึ่งอยู่ในการนับจังหวะสาม ( 3/4 หรือ 3/8 ) และมักใช้ เน้นจังหวะที่ 2 หรือ 3 ซึ่งต่างจากบท
เพลงเต้นรำประเภท Waltz ที่จะเน้นจังหวะที่ 1

โครงสร้างของบทเพลง
บทเพลง Mazurka in G minor No. 2 อยู่ในคีย์ G minor ในอัตราจังวะ 3/4 มีความยาว 56 ห้อง
เพลงและสามารถแบ่งท่อนของบทเพลงออกได้เป็น 3 ท่อน ดังนี้
1. ท่อน A ห้องที่ 1-16
2. ท่อน B ห้องที่ 17-40
3. ท่อน A ห้องที่ 41-56
5

ท่อน A
ท่อน A เริ่มต้นที่ห้อง 1-16 ท่อนนี้อยู่ในคีย์ G minor และอัตราจัง หวะ 3/4 ท่อนนี้ให้อารมณ์
ล่องลอย และเพลิดเพลิน ท่อนนี้ทำนองหลักจะมีการ Pick up เข้าสู่ห้องที่ 1 ซึ่งจะพบกับ Motive ที่ 1 ในห้อง
ที่ 1-4 รวมทั้งพบประโยคเพลงที่ 1 ที่ห้อง 1-8 อีกด้วย ซึ่งปรากฏอยู่ในทำนองของแนว Piano มือขวา และ
ทำนองของแนว Piano มือซ้ายจะพบการซ้ำเทคนิค Sequence ในห้องที่ 1-4 และจะพบการซ้ำ เทคนิ ค
Repetition ที่ห้อง 6-8

Motive ที่ 1 ประโยคเพลง ที่ 1

Sequence Repetition

ต่อมาในห้องที่ 8-16 พบเจอการนำประโยคเพลงที่ 1 มาเล่นซ้ำแต่มีการแปรทำนองในช่วงท้ายเพื่อเป็นการ


Transition เข้าสู่ท่อนฺ B ในห้อง 8-12 พบ Motive ที่ 1 ในทำนองของแนว Piano มือขวา และต่อมาห้องที่
9-12 พบการซ้ำเทคนิคในทำนองของแนว Piano มือซ้าย ในห้องที่ 14-16 จะเป็นการแปรทำนองเพื่อเป็นการ
Transition เข้าสู่ท่อนฺ B ซึ่งจะพบ Cadance ประเภท Perfect Authentic Cadence (PAC) ในห้องที่ 15-
16 โดยห้องที่ 15 คือคอร์ดที่ V (D7) และห้องที่ 16 คือคอร์ดที่ i (G minor) ซึ่งเป็นการจบท่อน A และเตรียม
เข้าสู่ท่อน B

ประโยคเพลง ที่ 1
Motive ที่ 1 Transition

Sequence PAC
6

ท่อน B
ท่อน B เริ่มต้นที่ห้องที่ 17-40 ท่อนนี้ให้อารมณ์ เพลิดเพลิน ท่อนนี้อยู่ในคีย์ G minor และอัตรา
จังหวะ 3/4 เช่นเดิม ท่อนนี้เมื่อเริ่มต้นขึ้นในห้องที่ 17 และจะพบกับ Motive ที่ 2 ในทำนองของแนว Piano
มือขวา ที่ห้อง 17-18 และในห้องที่ 19-20 จะพบว่ามีการซ้ำแนวทำนองของ Motive ที่ 2 ซึ่งเป็นเทคนิค
Repetition และห้องที่ 20-24 พบการนำ Motive ที่ 2 มาพัฒนา รวมทั้งพบการซ้ำ Sequence Motive ที่ 2
ที่พัฒนา ในทำนองของแนว Piano มือขวา รวมทั้งในห้องที่ 17-24 ยังเป็นประโยคเพลงที่ 2 อีกด้วย ในส่วน
ของแนวทำนองของแนว Piano มื อ ซ้ า ยพบการซ้ ำ เทคนิ ค Repetition ที ่ ห ้ อ ง 17-20 และพบเทคนิ ค
Sequence ที่ห้อง 21-24

ประโยคเพลง ที่ 2
Motive ที่ 2 Sequence พัฒนา Motive ที่ 2
Repetition Motive ที่ 2 พัฒนา Motive ที่ 2

Repetition Sequence

ในห้องที่ 25-32 พบการนำประโยคเพลงที่ 2 มาเล่นซ้ำแต่มีการแปรทำนองในช่วงท้าย และหลังจากนั้นจะเข้า


สู่ช่วง Transition ก่อนเข้าสู่ท่อน A อีกครั้ง และพบ Motive ที่ 2 อีกครั้งในห้องที่ 25 และพบการ Repetition
Motive ที่ 2 ที่ห้อง 26 พบ Motive ที่ 2 ที่พัฒนา และ Sequence Motive ที่ 2 ที่พัฒนาในห้องที่ 28-31 ใน
แนวทำนอง Piano มื อ ขวา ต่ อ มาพบ Repetition ที ่ แ นว Piano มื อ ซ้ า ย ที ่ ห ้ อ ง 25-28 และพบเทคนิค
Sequence ที่ห้อง 29-31 ซึ่งเมื่อถึงห้องที่ 32 จะมีการย้อนกลับไปที่ 17 ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วง Transition ใน
ห้องถัดไป

ประโยคเพลง ที่ 2 แปรทำนองในช่วงท้าย

Motive ที่ 2 Repetition Motive ที่ 2 พัฒนา Motive ที่ 2 Sequence พัฒนา Motive ที่ 2

Repetition Sequence
7

ถัดมาในห้องที่ 33-40 จะเป็นการ Transition ของท่อน B ก่อนเข้าสู่ท่อน A ซึ่งการ Transition นี้ จะเป็นการ
Solo เดี่ยวของทำนอง กล่าวคือในห้องที่ 33-40 จะไม่มีแนวทำนองประสานหรือคอร์ด โดยทำนองที่ใช้ในการ
Solo เดี่ยวนี้เกิดจากการนำเอาทำนองของท่อน A มาพัฒนาและขยายความซึ่งเมื่อฟังแล้วจะทำให้นึกถึง ท่อน
A ได้ซึ่งแนวทำนองจะปรากฏอยู่บนแนวทำนอง Piano มือขวา

Transition

ท่อน A
ท่อน A หรือการย้อนความท่อน A อีกครั้ง เริ่มต้นที่ห้อง 41-56 อยู่ในคีย์ G minor และอัตราจังหวะ
3/4 ท่อนนี้ให้อารมณ์ล่องลอย และเพลิดเพลิน เช่นเดียวกับท่อน A ในตอนแรก ท่อนนี้จะพบกับ Motive ที่ 1
ในห้องที่ 41-44 รวมทั้งพบประโยคเพลงที่ 1 ที่ห้อง 41-48 อีกด้วย ซึ่งปรากฏอยู่ในทำนองของแนว Piano มือ
ขวา และทำนองของแนว Piano มือซ้ายจะพบการซ้ำเทคนิค Sequence ในห้องที่ 41-44 และจะพบการซ้ำ
เทคนิค Repetition ที่ห้อง 46-48 ซึ่งเทคนิคการซ้ำต่าง ๆ จะเหมือนกันกับท่อน A แรก

Motive ที่ 1 ประโยคเพลง ที่ 1

Sequence Repetition

ต่อมาในห้องที่ 48-56 พบเจอการนำประโยคเพลงที่ 1 มาเล่นซ้ำแต่มีการแปรทำนองในช่วงท้ายเพื่อเป็นการ


จบท่อน A หรือจบบทเพลงในห้องที่ 53-56 ส่วนในห้อง 48-52 พบ Motive ที่ 1 ในทำนองของแนว Piano
มือขวา และต่อมาห้องที่ 49-52 พบการซ้ำเทคนิค Sequence ในทำนองของแนว Piano มือซ้าย ในห้องที่
55-56 พบ Cadance ประเภท Perfect Authentic Cadence (PAC) ในห้องที่ 55-56 โดยห้องที่ 55 คือ
คอร์ดที่ V (D7) และห้องที่ 56 คือคอร์ดที่ i (G minor) ซึ่งเป็นการจบท่อน A หรือจบบทเพลง Mazurka in G
minor No. 2
8

ประโยคเพลง ที่ 1
Motive ที่ 1 Transition

Sequence PAC
9

ผังโครงสร้างของบทเพลง Mazurka in G minor No. 2


บรรณานุกรม

Chopin. (TagDiv). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :


https://www.flagfrog.com/frederick-chopin-pianist-biography/ .(วันที่ค้นข้อมูล : 29 ตุลาคม 2564)
Mazurka in g minor, Op. 67 No. 2. (Joseph DuBose). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://www.classicalconnect.com/Piano_Music/Chopin/Mazurka_in_g_minor/ (วันที่ค้นข้อมูล :
29 ตุลาคม 2564)
Mazurka ?. (ไม่ระบุ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://mi-favorita.blogspot.com/2011/06/whats-mazurka.html .(วันที่ค้นข้อมูล : 29 ตุลาคม 2564)

You might also like