You are on page 1of 45

1

Sonata No. 8 in C minor Op. 13 "Pathétique" ประพันธ์โดย Ludwig van


Beethoven
แนวทางการวิเคราะห์
การบรรยายภาพรวมโดยทั่วไป
ประวัติผู้ประพันธ์

ที่มา : ภาพวาดโดยโยเซ็ฟ คาร์ล ชตีเลอร์ ค.ศ. 1820

ผู้ประพันธ์เพลงชาวเยอรมันผู้ยิ่งใหญ่ในโลกของดนตรีตะวันตก ( Orga,1980 ; Schornberg,1997 )


เกิดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1770 เสียชิวิตเมื่อ 26 มีนาคม ค.ศ. 1827 เป็นผู้นาดนตรีรูแบบใหม่จากยุค
คลาสสิกมาสู่ยุคโรแมนติก กาเนิด ณ กรุงบอนน์ ประเทศเยอรมันนี บิดาเป็นนักดนตรีไม่มีอันดับ และเป็นคนที่
ขาดความรับผิดชอบ เบโธเว่นจาเป็นต้องรับภาระ ดูแลครอบครัวตั้งแต่เยาว์วัย อย่างไรก็ตาม เบโธเว่นเติบโต
มากับสภาพแวดล้อมทางดนตรี จึงทาให้เบโธเว่นรักและเรียนรู้ดนตรีในเวลาต่อมา และใช้ดนตรีเป็นอาชีพจน
ได้รับ ความสาเร็จในทีส่ ุด
เบโธเว่นเดินทางมาตั้งรกรากที่กรุงเวียนนา เมื่ออายุได้ 22 ปี 1792 หลังจากเคยมาเวียนนาและมี
โอกาสเล่นเปียโนให้โมซาร์ทฟัง ซึ่งโมซาร์ทได้ฟังฝีมือของเบโธเว่น แล้วได้กล่าวกับเพื่อนว่า เบโธเว่นจัดเป็นผู้
ยิ่งใหญ่ในโลกของดนตรีต่อไปเมื่อเบโธเว่นมาพานัก ณ กรุงเวียนนาเป็นการถาวร มีโอกาสศึกษาดนตรีกับไฮ
เดิลและไปศึกษากับผู้อื่นโดยมุ่งหวังต้องการเป็นนักเปียโนอย่างมากในเวลาต่อมาเบโธเว่นประสบความสาเร็จ
ในการแสดงคอนเสิร์ตแต่ไม่นานหลังจากนั้นเบโธเว่นเริ่มมีอาการไม่ได้ยินเป็นระยะจึงหันเหจากการเป็นนัก
2

ดนตรีมาเป็นผู้ประพันธ์เพลง ในขณะที่มีอายุใกล้ 30 ปี ด้วยความตั้งใจและความเป็นอัจฉริยะของเบโธเว่นทา


ให้เบโธเว่นเริ่มสร้างสรรค์ผลงานที่มีแนวแตกต่างไปจากดนตรีในยุคคลาสสิก คือ เบโธเว่น ใช้รูปแบบของยุค
คลาสสิกแต่ใช้เนื้อหาจากจิตใจความรู้สึกในการประพันธ์เพลงจึงทาให้ผลงานมีลักษณะ ของความเป็นตัวเอง
เนื้อหาของเพลงเต็มไปด้วยการแสดงออกของอารมณ์อย่างเด่นชัดทาให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกแตกต่างไปจากการ
ฟังเพลงตามแนวยุคคลาสสิก
เบโธเว่นเป็นผู้หนึ่งที่พยายามจะดาเนินชีวิตด้วยตนเอง โดยการขยายบทเพลงไม่ต้องการรับใช้ใครตั้งแต่
เริ่มต้นอาชีพเป็นผู้ประพันธ์เพลงเรื่อง โมซาร์ทพยายามมาแล้วแต่ไม่ประสบความสาเร็จ เบโธเว่นก็เช่นกัน
ประสบกับปัญหาทางการเงินมาโดยตลอดในช่วงแรกนี้ในที่สุดกลุ่มผู้ชื่นชมในผลงานของเบโธเว่นรวมตัวกัน
เพื่อให้การสนับสนุน ถ้าเบโธเว่นขาดแคลนเรื่องการเงินโดยมีข้อสัญญาว่า เบโธเว่นต้องอาศัยอยู่ในกรุงเวียนนา
เบโธเว่นยอมรับเงื่อนไขนี้ ทาให้เบโธเว่นสามารถดาเนินชีวิตตามที่ตนต้องการได้อย่างสบายสบายและผลิตผล
งานตามที่ตนต้องการโดยไม่ต้องรับคาสั่งจากใคร เหตุการณ์ดาเนินไปด้วยดี ไม่นานนักอาการเกี่ยวกับความ
สูญเสียการได้ยินมีมากขึ้นเป็นลาดับจนถึงช่วงที่เบโธเว่นไม่เป็นอันทาอะไรได้แต่เศร้าและเสียใจในชะตากรรม
ของ ตนเองหลังจากคิดหาทางออกให้กับตนเอง เบโธเว่น พบทางออกในที่สุดโดยการพยายามสร้างสรรค์
ผลงานจาก ความสามารถและสภาพที่ตนเป็นอยู่ ซึ่งไม่ควรคิดยอมแพ้ในโชคชะตาของตนเองและประการใด
ดนตรีเป็นสิ่งที่สามารถได้ยินและถ่ายทอดออกมาได้ด้วยวิญญาณในจิตและวิญญาณ ตั้งแต่จุดนี้เป็นต้นมา เบโธ
เว่นจึงมีชีวิตอยู่ต่อมาได้อย่างคนปกติและผลิตผลงานชั้นยอดเยี่ยมให้กับโลกแห่งเสียงเพลงเป็นจานวนมาก
อาการไม่ได้ยินเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยเรื่อยจนในที่สุด 8 ปีก่อน เบโธเว่นเสียชีวิตเบโธเว่นหูหนวกสนิทตั้งแต่
ประมาณ ค. ศ. 1819 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตามเบโธเว่น อย่างโครงสร้างสรรค์ผลงานออกมาเสมอจนถึงช่วง
สุดท้ายของชีวิตเบโธเว่น ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ประพันธ์เพลงชั้นเยี่ยมตลอดมาตีเส้นจากโลกนี้ไปในฐานะ
ของผู้ประพันธ์เพลงผู้ ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลกดนตรี ผลงานของเบโธเว่นสามารถจัดแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะตาม
รูปแบบการประพันธ์ ( Wingell 1983) ระยะแรก ตั้งแต่เมื่อเริ่มประพันธ์เพลงจนถึงราว ค. ศ. 1802 ซึ่งมี
รูปแบบการประพันธ์ของยุค คลาสสิก ได้แก่ เปียโนโซนาต้า 10 บทแรก ซิมโฟนีหมายเลข 1 และ 2 และ
สตริงควอเต็ตหมายเลข 1 - 6 ช่วงที่ 2 ตั้งแต่ ค.ศ 1802 - 1816 เป็นช่วงที่ เบโธเว่นพัฒนารูปแบบการ
ประพันธ์เพลงจนเป็นของตนเองคือเป็นแนว โรแมนติก ได้แก่ซิมโฟนีหมายเลข 3 ถึง 8 โอเปร่าเรื่องฟิเดลิโอ (
Fidelio) เป็นโอเปร่าเพียงเรื่องเดียวของเบโธเว่น เปียโนโซนาต้า จานวนมาก คอนแชร์โตสาหรับเปียโนและ
ไวโอลินและสตริงควอเต็ตอีกส่วนหนึ่ง และช่วงสุดท้าย ตั้งแต่ ค. ศ. 1816 จนถึง 1827 ในช่วงนี้รูปแบบการ
ประพันธ์เปลี่ยนไปจากช่วงที่ 2 อย่างเห็นได้ ชัดเจนลักษณะของผลงานแสดงถึงความพยายามที่จะสร้างสรรค์
รูปแบบใหม่ๆโดยการทดลองสิ่งต่างๆ บทเพลง ในช่วงนี้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีชื่อเสียงดังผลงานในช่วง 2 ที่ผ่านมา
2 ช่วงที่ผ่านมามีจานวนไม่มากนักแต่เป็น ผลงานที่ชวนฟังมีเสน่ห์อยู่ในตัวเนื่องจากความพยายามของเบโธเว่น
ในการสร้างสรรค์สิ่งที่น่าชื่นชมในเชิงโสตศิลป์อย่างจริงจังบทเพลงในช่วงนี้ได้แก่ เปียโนโซนาต้า สตริงควอเต็ต
3

2 - 3 บทสุดท้ายเพลงประเภท Variations ชื่อ Diabelli ซิมโฟนีหมายเลข 9 บทสุดท้าย และเพลงแมส Missa


Solemnis ผลงานประเภท ต่างๆที่สาคัญ ประกอบไปด้วย Symphony 9 บท ทุกบทมีชื่อเสียงทั้งสิ้น
โดยเฉพาะหมายเลข 3 Eroica หมายเลข 5 ในบันไดเสียง C minor หมายเลข 6 Pastoro และหมายเลข 9
Choral Piano Concerto 5 บท ที่มีชื่อเสียงมากคือหมายเลข 5 Emperor ไวโอลินคอนแชร์โตในบันไดเสียง
D Major Opera Fidelio แมส 1 บท Missa Solemnis Overture และดนตรี บรรยายเรื่องราว Egmont
String Quartet 16 บท Piano Sonata 32 บท ที่มีชื่อเสียงคือหมายเลข 8 Pathetique หมายเลข 2
Moonlight หมายเลข 21 Waldstein และหมายเลข 23 Appassianata และผลงานอื่นๆ อีกจานวนหนึ่ง
ประวัติและความสาคัญของบทเพลง
ชื่อบทเพลง Sonata Op.13 No.8 in C minor, ( Pathetique )
ชื่อผู้แต่ง ลุดวิจ ฟาน เบโทเว่น ( Ludwig van Beethoven ) เกิดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ.
1770 เสียชิวิตเมื่อ 26 มีนาคม ค.ศ. 1827
ปีที่แต่ง ปีค.ศ. 1798 ถึง 1799
ยุคทางดนตรี ยุคคลาสสิก
อารมณ์ของบทเพลง
บทเพลง “ พาเธทิค ” โซนาต้าซึ่งเป็นผลงาน Piano Sonata หมายเลข 8 ในบันไดเสียง C
minor โอปุส ที่ 13 ท่าน Beethoven ได้ประพันธ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1798 ถึง 1799 และได้แสดงความรู้สึกในบท
เพลงคล้ายคลึงกับซิมโฟนีหมายเลข 5 และ Sonata For Food ที่ 10 หมายเลข 1 ซึ่งเต็มไปด้วยความมีเสน่ห์
และอารมณ์อันรุนแรง พาเธทิคประกอบด้วย 3 ท่อนคือ
ท่อนที่ 1 Grove - Allegro Di Molto E Con Brio โดยเฉพาะท่อนที่ 1 นั้นดูจะดุเดือด
รุนแรง ให้ความรู้สึกดุดันแข็งแรง ต่างกับท่านที่ 2 เป็นอย่างยิ่ง
ท่อนที่ 2 Adagio Cantablie เป็นท่อนที่ให้ความรู้สึกนุ่มนวลอ่อนหวาน อ่อนโยน ซาบซึ้ง
ท่อนที่สาม
ท่อนที่ 3 Rondo Allegro นั้นก็ไพเราะให้ความรู้สึกเร็วแบบมีชีวิตชีวา มีอารมณ์ตื่นเต้นบ้าง
ในบางช่วงของบทเพลง

บทเพลงนี้สร้างสรรค์อารมณ์ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนและอาจจะเป็นเพราะเหตุนี้เองที่ทาให้บทเพลง
ยังคงความนิยมอยู่เป็นเวลากว่าศตวรรษ
4

เทคนิคการในการซ้อม
ในบทเพลงนี้มีเทคนิคในการซ้อม ดังนี้
1.วอร์มนิ้วก่อนซ้อมบทเพลงทุกครั้งด้วยการเล่นสเกล ( scales ) และโคมาติคสเกล ( chromatic
scale ) และซ้อมแบบกระตุก เพื่อให้มีพลังของนิ้วที่แข็งแรง รวมทั้งในบทเพลงด้วย
2.ซ้อมแยกมือกับเครื่องให้จังหวะหรือเมโทรนอมช้าๆ และเพิ่มระดับความเร็วขึ้นเรื่อยๆ
3.เมื่อซ้อมแยกมือจนคล่องแล้วให้นาทั้งสองข้างมารวมกันเป็นข้อๆ โดยซ้อมกับเครื่องให้จังหวะหรือ
เมโทรนอม ช้าๆ และเพิ่มระดับความเร็วขึ้นเรื่อยๆ จนถึงระดับความเร็วของบทเพลงโดยจะยังแบ่งซ้อมเป็น
ข้อๆเหมือนเดิม
4.เมือซ้อมแต่ละข้องจนคล่องแล้วให้นาแต่ละข้อมารวมกัน โดยการซ้อมจากข้อแรกถึงข้อสุดท้ายและ
ข้อสุดท้ายถึงข้อแรก
5.เมื่อคล่องแล้วให้ใส่ไดนามิค ( Dynamic ) ลงไปในบทเพลง
6.ถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลงอย่างลึกซึ้ง

การวิเคราะห์บทเพลง
จานวนท่อนของเพลง ประกอบด้วย 3 ท่อน คือ
ท่อนที่ 1 Growe - Allegro di molto e con brio อัตราส่วน (Time Signature) 4/4,2/2
ท่อนที่ 2 Adagio Cantablie อัตราส่วน (Time Signature) 2/4
ท่อนที่ 3 Rondo Allegro (Time Signature) 2/2
ความยาวของบทเพลงเป็นเวลา
- ท่อนแรก 8 นาที 33 วินาที
- ท่อนที่สอง 4 นาที 58 วินาที
- ท่อนที่สาม 4 นาที 39 วินาที
รวมเวลาทั้งหมดทั้ง 3 ท่อนเพลงใช้เวลา 18 นาที 10 วินาที
5

ความยาวของบทเพลง
- ท่อนแรก ยาว 312 ห้อง
- ท่อนสอง ยาว 73 ห้อง
- ท่อนสาม ยาว 210 ห้อง
- รวมทั้งหมด ยาว 595 ห้อง

วิเคราะห์ทานอง
ช่วงเสียง ( Range )
ท่อนที่ 1 - I. Grave. Allegro di molto e con brio
ในบทเพลง Sonata Op.13 No.8 in C minor, ( Pathetique ) ท่อนที่ 1 นั้นจะมีช่วงเสียงต่าสุด
และสูงสุดอยู่หลายช่วง เสียงที่ต่าสุดคือเสียงตัว F# ซึ่งอยู่กลางเส้นน้อยเส้นที่ 4 ด้านล่าง ส่วนช่วงเสียงที่สูงสุด
คือ ตัว F ซึ่งอยู่บนเส้นน้อยเส้นที่ 3 ด้านบน ระยะห่างระหว่างโน้ตต่าสุดกับโน้ตสูงสุดคือระยะขั้นคู่ นับเป็น
ช่วงคู่แปดได้ สี่ช่วงคู่แปดกับอีก คู่แปด ดิมินิชท์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 1
Sonata Op.13 No.8 in C minor, ( Pathetique ) ห้องที่ 167-169 และห้องที่ 8

ท่อนที่ 2 - II. Adagio cantabile


บทเพลง Sonata Op.13 No.8 in C minor, ( Pathetique ) ท่อนที่ 2 นั้นจะมีช่วงเสียง
ต่าสุดและสูงสุดอยู่หลายช่วง เสียงที่ต่าสุดคือเสียงตัว F ซึ่งอยู่กลางเส้นน้อยเส้นที่ 4 ด้านล่าง ส่วนช่วงเสียงที่
6

สูงสุดคือ ตัว F ซึ่งอยู่บนเส้นน้อยเส้นที่ 3 ด้านบน ระยะห่างระหว่างโน้ตต่าสุดกับโน้ตสูงสุดคือระยะขั้นคู่


นับเป็นช่วงคู่แปดได้ ห้าช่วงคู่แปด ดังตัวอย่างต่อไปนี้

รูปประกอบที่ 2
Sonata Op.13 No.8 in C minor, ( Pathetique ) ห้องที่ 48-49 และห้องที่ 69

ท่อนที่ 3 - III. Rondo Allegro


บทเพลง Sonata Op.13 No.8 in C minor, (Pathetique) ท่อนที่ 3 นั้นจะมีช่วงเสียง ต่ าสุด
และสูงสุดอยู่หลายช่วง เสียงที่ต่ าสุดคือเสียงตัว F# ซึ่งอยู่กลางเส้นน้อยเส้นที่ 4 ด้านล่าง ส่วนช่วงเสียง ที่
สูงสุดคือ ตัว F ซึ่งอยู่บนเส้นน้อยเส้นที่ 3 ด้านบน ระยะห่างระหว่างโน้ตต่ าสุดกับโน้ตสูงสุดคือระยะขั้นคู่
นับเป็นช่วงคู่แปดได้สี่ช่วงคู่แปดกับอีก คู่แปด ดิมินิชท์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

รูปประกอบที่ 3
Sonata Op.13 No.8 in C minor, ( Pathetique ) ห้องที่ 105-107 และห้องที่ 36

ขั้นคู่ ( Interval )
การดาเนินทานองว่าเป็นการเคลื่อนจากโน้ตตัวหนึ่งไปตัวหนึ่งมีการขยับมากน้อยเพียงใดด้วยวัดจาก การ
นับขั้นคู่
7

การเคลื่อนทานองแบบตามขั้น
การเคลื่อนทานองแบบตามขั้น ( Conjunct motion ) เคลื่อนทานองจากตัวโน้ตด้วยตัวหนึ่ง ไปยัง
อีกตัวหนึ่งเป็นคู่ 2 ซึ่งหมายรวมถึงการซ้าโน้ตหรือคู่ 1 เพอร์เฟค
ท่อนที่ 1 ตัวอย่างที่เห็นชัดในบทเพลง Sonata Op.13 No.8 in C minor, ( Pathetique ) นี้
อยู่ในห้องที่ 118 - 119 ถึงจะมีการกระโดดขั้นคู่บ้าง แต่เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วทานองนี้ถือเป็นการ เคลื่อน
ที่ท านองแบบตามขั้นดังรูปต่อไปนี้

รูปประกอบที่ 4
Sonata Op.13 No.8 in C minor, ( Pathetique ) ห้องที่ 118-119

ท่อนที่ 2 ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในบทเพลง Sonata Op.13 No.8 in C minor, ( Pathetique )


นี้ อยู่ในห้องที่ 118 – 119 เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วทานองนี้ถือเป็นการเคลื่อนที่ทานองแบบตามขั้น ดังรูป
ต่อไปนี้

รูปประกอบที่ 5 - Sonata Op.13 No.8 in C minor, ( Pathetique ) ห้องที่ 68 – 69


ท่อนที่ 3 ตัวอย่างที่เห็นชัดในบทเพลง Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) นี้ อยู่
ในห้องที่ 25 - 28 เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วทานองนี้ถือเป็นการเคลื่อนที่ทานองแบบตามขั้นดังรูปต่อไปนี้
8

รูปประกอบที่ 6
เพลง Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) ห้องที่ 25 – 28

การเคลื่อนทานองแบบข้ามขั้น
การเคลื่อนทานองแบบข้ามขั้น ( Disjunct motion ) การเคลื่อนทานองจากโน้ตตัวหนึ่งไปยังโน้ต
อีกตัวหนึ่ง เป็นคู่ 3 หรือกว้างกว่าคู่ 3 การขยับข้ามขั้น ซึ่งเรียกว่าขั้นคู่กระโดด มักนาหน้าหรือตามหลังด้วย
การขยับเพียงขั้นเดียวในทิศทางตรงกันข้ามเพื่อให้เกิดสมดุจ
ท่อนที่ 1 ตัวอย่างที่เห็นชัดในบทเพลง Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique )
นี้ มักมีการเคลื่อนที่แบบข้ามขั้นอยู่หลายที่ ดังนั้นจึงได้ยกตัวอย่างมาในห้องที่ 52 ดังรูปต่อไปนี้

รูปประกอบที่ 7
Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) ห้องที่ 52

ท่อนที่ 2 ตัวอย่างที่เห็นชัดในบทเพลง Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique )


นี้มีการเคลื่อนที่แบบข้ามขั้นอยู่หลายที่ ดังนั้นจึงได้ยกตัวอย่างมาในห้องที่ 3 ดังรูปต่อไปนี้
9

รูปประกอบที่ 8
Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) ห้องที่ 3

ท่อนที่ 3 ตัวอย่างที่เห็นชัดในบทเพลง Sonata Op.13 No.8 in C minor,(Pathetique) เมื่อ


โน้ตตัวที่ 2 กระโดดขึ้นโน้ตตัวต่อไปจึงหักลง 4 ขั้น แต่ถ้าการกระโดดเป็นการกระโดติดต่อกันหลายครั้ง โน้ต
เหล่านั้นมักเป็นโน้ตในคอร์ดซึ่งอยู่ในรูปของโน้ตแยกหรืออาร์เปโจ (Arpeggio) เช่นในตัวอย่างห้องที่ 79 – 81
ดังรูปต่อไปนี้

รูปประกอบที่ 9
Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) ห้องที่ 79 – 81

ทิศทาง
การดาเนินทานองจากโน้ตตัวหนึ่งไปยังโน้ตตัวถัดไป มีอยู่ 3 ทิศทาง คือ ทิศทางขึ้นถ้าโน้ตตัวหลังมี
ระดับเสียงสูงกว่า หรือทิศทางลงถ้าโน้ตตัวหลังมีระดับเสียงต่ากว่า แต่ถ้าโน้ตย้าอยู่ที่ระดับเสียงเดิมก็เรียกว่า
ทิศทางคงที่
ทิศทางขึ้น ทานองที่มีทิศทางขึ้นมักมีการดาเนินทานองจากโน้ตตัวหนึ่งไปยังโน้ตอีกตัวหนึ่งในทางขึ้น
บ้างลงบ้าง แต่จะมีทิศทางขึ้นบ่อยกว่า หรืออาจมีขั้นคู่กระโดดขึ้นหลายครั้งกว่าขั้นคู่กระโดดลง แต่ทานองที่ดี
ไม่ว่าของชาติใดภาษาใด ควรมีทิศทางที่ชัดเจน
10

ท่อนที่ 1 จะเห็นว่าทานองมีทิศทางขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าทานองจะมีการหักลงบ้างใน ระหว่าง


ทาง ทานองเริ่มต้นที่ E บนเส้นบรรทัดที่ 1 และดาเนินสูงไปจนถึงโน๊ตตัวสุดท้าย E ในช่วงคู่แปด ถัดไปในห้อง
ที่ 140 – 141 ดังรูปต่อไปนี้

รูปประกอบที่ 10 เพลง Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) ห้องที่ 140 – 141

ท่อนที่ 2 จะเห็นว่าทานองมีทิศทางขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าทานองจะมีการหักลงบ้างในระหว่าง


ทาง ทานองเริ่มต้นที่ C กลางเส้นน้อยเส้นที่ 1 ในกุญแจเสียงฟา และดาเนินสูงไปจนถึงโน้ตตัวสุดท้าย Bb
ในช่วงคู่เจ็ด ดิมินิชท์ ถัดไป ในห้องที่ 1 – 3 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 11
Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) ห้องที่ 1 – 3

ท่อนที่ 3 จะเห็นว่าทานองมีทิศทางขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าทานองจะมีการหักลงบ้างในระหว่าง


ทาง ทานองเริ่มต้นที่ C กลางน้อยเส้นที่ 1 และดาเนินสูงไปจนถึงโน้ตตัวสุดท้าย C ในช่วงคู่แปดถัดไป ในห้องที่
41 ดังรูปต่อไปนี้
11

รูปภาพประกอบที่ 12
Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) ห้องที่ 41

ทิศทางลง ทานองที่มีทิศทางลงจะมีการเคลื่อนทานองจากโน้ตตัวหนึ่งไปยังโน้ตอีกตัวหนึ่ง ใน
ทิศทางลงบ้างขึ้นบ้างเช่นกัน แต่จะมีทิศทางลงบ่อยครั้งมากกว่า
ท่อนที่ 1 ทานองมีทิศทางลงอย่างเห็นได้ชัด แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนที่ในทิศทางลงจาก
โน้ต Eb ไปจนถึงโน้ตตัว Bb ในห้องที่ 11 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 13
Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) ห้องที่ 11
ท่อนที่ 2 ทานองมีทิศทางลงอย่างเห็นได้ชัด แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนที่ในทิศทางลงจาก
โน้ต F ไปจนถึงโน้ตตัว F ในห้องที่ 22 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 14
Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) ห้องที่ 22
12

ท่อนที่ 3 ทานองมีทิศทางลงอย่างเห็นได้ชัด แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนที่ในทิศทางลงจากโน้ต


F ไปจนถึงโน้ตตัว A ในห้องที่ 36 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 15
Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) ห้องที่ 36
ทิศทางคงที่ ทานองจานวนไม่น้อย ทิศทางคงที่ คือไม่มีทิศทางชัดเจนว่าขึ้นหรือลง ในตัวอย่างที่ 2.1 ในท่อนที่
2 ทานองมีทิศทางคงที่

ตัวอย่างที่ 2.1 รูปประกอบที่ 16


Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) ห้องที่ 44
โน้ตประดับ
โน้ตประดับเป็นสิ่งที่เพิ่มชีวิตชีวาให้กับทานองเพลง โน้ตประดับตัวเดียวสามารถสร้างความ
สนใจได้ไม่น้อย โน้ตประดับเปรียบเสมือนเครื่องประดับของผู้หญิง ต้องใช้ในการที่เหมาะสม ไม่ใช้มาก
จนเกินไปในบทเพลง Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique )
ท่อนที่ 1 จะมีโน้ตประดับอยู่ ซึ่งจะมีโน้ตประดับ เขบ็ต 1 ชั้น และเขบ็ต 2 ชั้น ดังนั้นจะ
ขอ ยกตัวอย่างเฉพาะ ห้องที่ 54 และ 177 ดังรูปต่อไปนี้

รูปประกอบที่ 17 - Sonata Op.13 No.8 in C minor,(Pathetique) ห้องที่ 54 และ 177


13

ท่อนที่ 2 จะมีโน้ตประดับอยู่ ซึ่งจะมีโน้ตประดับ เขบ็ต 3 ชั้น สามพยางค์ ในห้องที่ 22


ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 18 - Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) ห้องที่ 22

ท่อนที่ 3 ซึ่งจะมีโน้ตประดับ เขบ็ต 1 ชั้น และเขบ็ต 3 ชั้น ดังนั้น จะยกตัวอย่างเฉพาะ


ห้อง ที่ 2 - 5 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 19 - Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) ห้องที่ 2 – 5


โครงหลักของทานอง
การวิเคราะห์โครงหลักของทานองเป็นเรื่องที่จาเป็นและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสาหรับนักดนตรี
เพราะโครงสร้างของทานองจะเป็นตัวกาหนดระดับความสาคัญของตัวโน้ตและกาหนดทิศทางของทานองด้วย
การวิเคราะห์โครงสร้างหลักของทานองเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีของ ไฮน์ริค เชงเคอร์ ( Heinrich Schenker
1868 - 1935 ) ซึ่งกล่าวว่า โครงหลักของทาหลักที่ดีจะมีทิศทางขึ้นทีละน้อยหรือลงทีละน้อย
ท่อนที่ 1 ตัวอย่างที่เห็นชัดในบทเพลงที่แสดงให้เห็นถึงโครงหลักของทานองที่มีทิศทางโดยรวม
ขึ้นทีละขั้น อยู่ในห้องที่ 52 – 53 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 20 - Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) ห้องที่ 52 – 53


14

ท่อนที่ 2 ตัวอย่างที่เห็นชัดในบทเพลงที่แสดงให้เห็นถึงโครงหลักของทานองที่มีทิศทาง โดยรวม


ขึ้นทีละขั้นอยู่ในห้องที่ 1 – 3 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 21 - Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) ห้องที่ 1 – 3

ท่อนที่ 3 ตัวอย่างที่เห็นชัดในบทเพลงที่แสดงให้เห็นถึงโครงหลักของทานองที่มีทิศทาง โดยรวม


ขึ้นทีละขั้นอยู่ในห้องที่ 1 – 4 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 22 - Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) ห้องที่ 1 – 4

การวิเคราะห์จังหวะ
อัตราจังหวะ ( Meter )
อัตราจังหวะ อันได้แก่ อัตราจังหวะสอง อัตราจังหวะสาม อัตราจังหวะสี่ อัตราจังหวะธรรมดา อัตรา
จังหวะผสม และอัตราจังหวะซ้อน เป็นตัวชี้นาเรื่องความคิดทั้งหลายทั้งปวงที่เกี่ยวกับจังหวะของเพลง
เครื่องหมายประจาจังหวะที่อยู่ถัดจากกุญแจและเครื่องหมายประจากุญแจเสียงในช่วงต้นเพลง จะแสดงถึง
อัตราจังหวะ
ชีพจรจังหวะ โดยหลักการแล้ว อัตราจังหวะเป็นตัวกาหนดชีพจรจังหวะหรือการเน้นจังหวะตาม
ธรรรมชาติ ซึ่งในบทเพลง Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) มีการใช้อัตราจังหวะอยู่ 3
จังหวะ ได้แก่ 4/4 , 2/4 , 2/2
15

ในท่อนที่ 1 มีอัตราจังหวะ 4/4 และ 2/2 อัตราจังหวะ 4/4 เป็นอัตราจังหวะสี่ธรรมดา จึงมี 4 ชีพจร
จังหวะ ซึ่งโดยปกติแล้วจังหวะที่ 1 และ 3 จะเป็นจังหวะที่หนักและสาคัญ ส่วนจังหวะที่ 2 และ 4 จะ เป็น
จังหวะเบา ในตัวอย่างที่ 3.1 ในห้องที่ 3 และ 4 แต่ส่วนของอัตราจังหวะ 2/2 เป็นอัตราจังหวะที่มี 2 ชีพ จร
จังหวะ ซึ่งจังหวะที่ 1 จะหนักและส าคัญ ส่วนจังหวะที่ 2 จะเบา ในตัวอย่างที่ 3.2 ในห้องที่ 54 - 55 ทุก
จังหวะที่เป็นจังหวะตกมีความหนักเพราะจะท าให้เพลงรู้สึกมีพลัง ดังรูปต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 3.1
รูปภาพประกอบที่ 23
Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) ห้องที่ 3 – 4

ตัวอย่างที่ 3.2
รูปภาพประกอบที่ 24
Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) ห้องที่ 54 – 55
16

ท่อนที่ 2 มีอัตราจังหวะ 2 / 4 เป็นอัตราจังหวะที่มี 2 ชีพจรจังหวะ ซึ่งจังหวะที่ 1 จะหนักและ


สาคัญ ส่วนจังหวะที่ 2 จะเบา ในตัวอย่างที่ 3.3 ในห้องที่ 48 ทุกจังหวะที่เป็นจังหวะตกมีความหนักเพราะ
จะท าให้เพลงรู้สึกมีพลัง ดังรูปต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 3.3
รูปภาพประกอบที่ 25 - Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) ห้องที่ 48

ท่อนที่ 3 มีอัตราจังหวะ 2 / 2 เป็นอัตราจังหวะที่มี 2 ชีพจรจังหวะ ซึ่งจังหวะที่ 1 จะหนัก และส


าคัญ ส่วนจังหวะที่ 2 จะเบา ในตัวอย่างที่ 3.4 ในห้องที่ 9 - 10 ทุกจังหวะที่เป็นจังหวะตกมีความหนัก เพราะ
จะทาให้เพลงรู้สึกมีพลัง ดังรูปต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 3.4
รูปภาพประกอบที่ 26 Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) ห้องที่ 9 – 10

การวิเคราะห์เสียงประสาน
เสียงประสานเป็นส่วนประกอบของเพลงที่มีการจัดระบบของเพลงที่มีการจัดระบบได้ดีที่สุดและเป็น
ส่วนประกอบอย่างเดียวของเพลงที่มีการสอนเป็นวิชาสาคัญในศาสตร์ของดนตรีตะวันตก
17

คอร์ด การดาเนินคอร์ด ( Chord progression ) คือการขยับจากคอร์ดหนึ่งไปยังอีกคอร์ดหนึ่ง ทาให้


ได้เสียงที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าแตกต่างกัน ซึ่งในเพลง Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) มี
การดาเนินคอร์ด ดังนี้
ท่อน 1 = I – V – vii – VI – iii – V – I
ท่อน 2 = I – iv – iii – VI – V – I
ท่อน 3 = I – iv – iii – VI – V – I

วิเคราะห์ประโยคเพลง
บทเพลงแต่ละบทประกอบด้วย ประโยคหลายประโยคมาเรียงต่อกันจนสิ้นสุดกระบวนการ เพลงไม่ว่าจะ
สั้นหรือยาวเพียงใด ก็สามารถตัดย่อยเพลงออกเป็นประโยคได้ ในประโยคเพลงจะมีความคิดที่จะจบภายใน
ตัวเอง แต่ละประโยคยังสามารถย่อยลงไปหน่วยทานองต่างๆ
หน่วยทานอง
ทานองเพลงซึ่งประกอบไปด้วยประโยคเพลงอย่างน้อย 1 ประโยค สามารถซอยย่อยเป็น หน่วย
ทานองสั้นๆได้ หน่วยทานองเหล่านี้มีบทบาทและความสาคัญไม่เท่ากัน อาจแบ่งหน่วยทานองได้ ออกเป็น 2
ประเภท
หน่วยทานองย่อยเอก ( Motifx ) คือหน่วยที่เล็กที่สุดของทานองและมีควาสาคัญในการผูกเพลง
ทั้งหมดหรือในช่วงหนึ่งอันเดียวกัน หน่วยทานองย่อยเอกมักปรากฏเป็นอีกระยะๆ ในรูปแบบที่ เหมือนเดิม
หรือแปรเปลี่ยนไปเล็กน้อย ตัวอย่างที่เห็นชัดในบทเพลง Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique )
ที่มีหน่วยทานองย่อยเอก ( MotiFX ) ที่มักจะปรากฎให้เห็นอยู่เป็นระยะอยู่ในท่อนที่ 1 ดังรูปต่อนี้

รูปภาพประกอบที่ 27 - Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) ห้องที่ 116 – 120


18

หน่วยทานองย่อยรอง ( Figure ) เป็นหน่วยย่อยของทานองเช่นกัน แต่ไม่มีความสาคัญเท่ากับ


หน่วยทานองเอก มักมีลักษณะการขึ้นลงของทานองรวมถึงลักษณะจังหวะที่น่าสนใจ อาจมีความสาคัญเพียง
ชั่วขณะและมีผลกับการพัฒนาเพลงในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งในเพลง Sonata Op.13 No.8 in C minor , -
( Pathetique ) ก็มีลักษณะการเล่นโน้ตเขบ็ตสองชั้น ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของเพลงนี้เลย จะพบได้ในท่อน ที่ 2

รูปภาพประกอบที่ 28
Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) ห้องที่ 1 – 18
เคเดนซ์ ( Cadence )
ดนตรีเมื่อจบประโยคเพลงจะมีเคเดนซ์หรือจุดพัก ซึ่งหมายถึง จุดพักวรรคเพลง หรือเคเดนซ์ (Cadence)
มาจากคาว่า คาโด (Cado) เป็นภาษาละติน แปลว่า ตกลงสู่เบื้องล่าง เนื่องจากในระบบอิงโมดของ
คริสต์ศตวรรษที่ 16 ทานองในตอนท้าย ของประโยคเพลงจะเคลื่อนลงตามขั้นในแนวล่าง สวนทางกับทานองที่
เคลื่อนขึ้นตามขั้นในแนวบน หลังจากนั้นจุดพักวรรคเพลงจะถูกปรับเปลี่ยนไปจากเดิม โดยคงไว้แต่เพียง
แนวความคิดที่ให้ จุดพักวรรคเพลงเป็นจุดพักประโยคเพลง ณัชชา โสคติยานุรักษ์ ( 2548 : 131 และ 2550 :
23 ) เคเดนซ์จะเกิดขึ้นที่ 2 คอร์ดสุดท้ายของประโยค แม้ว่าเคเดนซ์เป็นตัวกาหนดการสิ้นสุดของประโยคเพลง
19

แต่ละ ประโยคอาจจบด้วยโน้ตยาว ตัวหยุด หรือการเปลี่ยนเนื้อดนตรีก็ได้ ส่วนเทเลอร์ (Taylor, 1994 : 69)


ได้นิยาม จุดพักวรรคเพลงสรุปได้ใจความว่า จุดพัก คือ จุดพักหรือหยุดท้ายบทเพลงซึ่งสามารถจบหรือหยุดได้
ซึ่งถ้าเป็นการพักกลางบทเพลงหรือกลางประโยคเป็นจุดผ่อนคลายหรือพักที่จะดาเนินต่อไปได้ ดังนี้

ท่อน 1 เป็นการจบประโยคเพลงแบบเคเดนซ์ปิดแบบสมบูรณ์ เป็นการดาเนินคอร์ดจาก V ไป i ดังรูป


ต่อไปนี้
V i

รูปภาพประกอบที่ 29
Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) ห้องที่ 310 – 312

ท่อน 2 เป็นการจบประโยคเพลงแบบเคเดนซ์ปิดแบบสมบูรณ์ เป็นการดาเนินทางคอร์ด จาก V ไป i


ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 30
Sonata Op.13 No.8 in C minor,(Pathetique) ห้องที่ 73)
20

ท่อน 3 เป็นการจบประโยคเพลงแบบเคเดนซ์ปิดแบบสมบูรณ์ เป็นการด าเนินคอร์ด จาก V ไป I ดังรูป


ต่อไปนี้
V i

รูปภาพประกอบที่ 31
Sonata Op.13 No.8 in C minor , ( Pathetique ) ห้องที่ 210
21

ภาคผนวก ก
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44

บรรณานุกรม
ณัชชา โสคติยานุรักษ์. (2542). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
______. (2548). การเขียนเสียงประสานสี่แนว. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Taylor E. (1994). The AB guide to music theory, Part I. London: Associated
of the Royal School of Music
45

ประวัติผู้แสดง

ชื่อ : นายธนากรณ์ ศรีธร


รหัสนิสิต : 60012010102
E – mail : Thanakonsrithon@gmail.com
Line ID : jame_4772
วันเดือนปีเกิด : 22 สิงหาคม 2541
ที่อยู่ปัจจุบัน : 271 หมู่ 3 บ.นาหนองทุ่ม ต.นาหนองทุ่ม อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ 36150
ประวัติการศึกษา : ชั้นประถมศึกษา
โรงเรียนบ้านนาหนองทุ่ม ต.นาหนองทุ่ม อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ
ชัน้ มัธยมศึกษา
โรงเรียนนาหนองทุ่มวิทยา ต.นาหนองทุ่ม อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ
ป.ตรี ( ปัจจุบัน )
กาลังศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

You might also like