You are on page 1of 11

บทวิเคราะห์เพลง

Piano Sonata No. 16 in C major, K. 545

ประพันธ์โดย Wolfgang Amadeus Mozart (1756 - 1791)

โดย

นายธนากร วรรณสา

รหัสนิสิต 61012010068

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หลักสูตรปริญญาบัตรดุริยางคศาสตร์บัณฑิต

คำนำ

การวิเคราะห์บทเพลง Piano Sonata No. 16 in C major, K.


545 ประพันธ์โดย Wolfgang Amadeus Mozart เป็ นส่วนหนึ่งของ
รายวิชาคีตลักษณ์ รหัสวิชา 2000313 จัดทำขึน
้ เพื่อการศึกษาประวัติ
ความเป็ นมาของบทเพลง สังคีตลักษณ์ของบทเพลง ลักษณะบันไดเสียง
ของบทเพลง และเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในการประพันธ์บทเพลงนี ้ เพื่อให้
เข้าใจถึงบทเพลง Piano Sonata No. 16 “Sonata Semplice” K. 545

ผู้จัดทำหวังว่า การวิเคราะห์บทเพลง Piano Sonata No. 16 in C


major, K. 545 ประพันธ์โดย Wolfgang Amadeus Mozart เล่มนี ้ จะ
เป็ นประโยชน์ต่อผู้ทกำ
ี่ ลังศึกษาในเรื่องการวิเคราะห์บทเพลงอื่น ๆ หากมี
ข้อผิดพลาดประการใด คณะผู้จัดทำขออภัยมา ณ ที่นี ้

นายธนากร วรรณสา
สารบัญ

ประวัติผู้ประพันธ์

ประวัติของบทเพลง

การวิเคราะห์ของบทเพลง
ประวัติผู้ประพันธ์ Wolfgang Amadeus Mozart
โวล์ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart) เกิด
เมื่อวันที่ 27 มกราคม 1756 ที่เมืองซาลซ์เบิร์กซึง่ เป็ นเมืองเล็กๆในซีก
ตะวันตกของออสเตรีย  บิดาของโมสาร์ตมีนามว่า ลีโอโพลด์ โมสาร์ต ซึ่ง
เป็ นคีตกวีช่ อ
ื ดังอีกคนหนึ่งของยุโรปแต่ก็ถูกชื่อเสียงของลูกชายกลบหมด
(ดังนัน
้ เวลาเราเอ่ยชื่อโมสาร์ต เราจะนึกถึงแต่วูฟกัง อะมาเดอุสเพียงคน
เดียว)  มารดาของโมสาร์ตมีช่ อ
ื ว่าแอนนา มาเรีย เพิร์ต ตัวโมสาร์ตนัน
้ ยัง
มีพี่สาวชื่อว่า มาเรียน แอนนา ผู้ได้รับการปลูกฝั งจากบิดาให้เล่นดนตรี
เหมือนน้องชายแถมยังเล่นได้ดีเสียด้วย แต่โมสาร์ตล้ำหน้าพี่สาวของเขา
โดยการเล่นไวโอลินอย่างคล่องแคล่วในขณะทีพ
่ ี่สาวเล่นแต่ดนตรีประเภท
เปี ยโนอย่างเดียว (ก่อนจะที่จะมีเปี ยโนอย่างที่เห็นได้ปัจจุบันมีเครื่อง
ดนตรีที่ช่ อ
ื ว่าฮาร์ฟซีคอร์ดซึ่งขนาดเล็กกว่า)                                 
 

โมสาร์ตสามารถแต่งเพลงเมื่อเขาอายุได้เพียง 5 ปี เพลงที่แต่งคือ
Minuet หรือ เพลงเต้นรำ และสามารถแต่งเพลงซิมโฟนีซึ่งซับซ้อนยิ่งขึน

เมื่ออายุ 9 ปี นอกจากความเป็ นอัจฉริยะกุมาร (Child Prodigy) แล้วยัง
ต้องขอบคุณการเคี่ยวเข็ญอย่างหนักจากบิดาผู้เห็นช่องทางจากแววฉลาด
ของเด็กทัง้ สอง แต่เด็กก็คือเด็ก ว่ากันว่าครัง้ หนึ่งขณะที่โมสาร์ตน้อยกำลัง
หัดเล่นเปี ยโน เขาเห็นแมวเดินผ่านก็ผละจากเปี ยโนเพื่อไปเล่นกับแมว

ลีโอโพลด์ กะเตงพาลูกชายและลูกสาวไปเปิ ดการแสดงทั่วยุโรปไป


เป็ นเวลาหลายๆ ปี ไม่ว่าเยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ โดยเน้นไปที่ชนชัน
้ สูง
คือกษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ และขุนนาง หรือแม้แต่พวกพระชัน
้ ผู้ใหญ่ ต่อมา
ก็เกิดตำนานที่ว่าเขาได้พบกับพระนางมารีอันตัวเน็ตซึ่งอยู่ในวัยเดียวกัน
เมื่อโมสาร์ตหกล้มในท้องพระโรง พระองค์ทรงรีบไปช่วยประคองโมสาร์ต
ด้วยความไร้เดียงสา โมสาร์ตบอกว่าต้องการแต่งงานกับพระองค์ (ดังที่
พระเจ้าโจเซฟที่ 2 ตรัสเล่าเรื่องนีก
้ ับโมสาร์ตเมื่อพบกันครัง้ แรกในหนัง
เรื่อง Amadeus) 

แต่มีอีกตำนานหนึ่งคือเมื่อเขาเล่นดนตรีให้จักรพรรดินีแห่ง
ออสเตรีย คือ พระนางมาเรีย เทเรซ่า และพระนางทรงถามเขาว่า
ต้องการอะไรเป็ นรางวัล เด็กอัจฉริยะก็ตอบแบบพาซื่อว่าต้องการแต่งงาน
กับพระธิดาของพระองค์คือพระนางมาเรียอันตวนเน็ต (ผู้ที่ต่อมาเข้า
อภิเษกสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และทัง้ คู่ต้องสิน
้ พระชนม์อย่างอนาถ
จากกิโยตินเมื่อเกิดการปฏิวัติที่ฝรั่งเศส) กระนัน
้ ชีวิตก็ไม่ได้สวยงาม
เหมือนเทพนิยาย มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บอกว่า เมื่อโมสาร์ตน้อ
ยล้มป่ วยจากการเดินทางไปหลายที่ ผูเ้ ป็ นบิดาจะบ่นถึงจำนวนเงินราย
ได้ที่ลดน้อยลงมากกว่าจะสนใจอาการป่ วยของบุตรน้อย 

แต่เป็ นที่น่าสนใจมากว่าโมสาร์ตได้พบกับโจฮันน์ คริสเตียน บา


คบุตรชายคนที่ 11 ของคีตกวีนามลือเลื่องโจฮันน์ เซบาสเตียน บาคที่กรุง
ลอนดอน บาคผู้ลูกถือได้ว่ามีอิทธิพลต่อโมสาร์ตอย่างสูงในด้านเปี ยโนโซ
นาต้าและอุปรากร  จึงน่าจะเป็ นการส่งต่ออิทธิพลจากบาคผู้พ่อมายังโม
สาร์ต ใน ปี 1764 โมสาร์ตตีพิมพ์ คลาเวียโซนาต้า (คู่ไปกับไวโอลิน) 4
บทที่กรุงปารีส ในปี 1768 โมสาร์ตแต่งอุปรากรเรื่องแรกในชีวิตคือ La
Finta Semplice 

เกิดเรื่องน่าเศร้าคือโมสาร์ตเองก็มีปัญหากับผู้อุปถัมภ์คนแรกคืออาร์
บิชอบ คอลโลเรโด ผู้ซงึ่ แต่แรกพึงพอใจคีตกวีหนุ่มน้อย แต่ต่อมาเริ่มอิด
หนาระอาใจกับความดื้อด้านและการหายตัวไปนานๆของเขาจึงแกล้งแต่ง
ตัง้ ให้โมสาร์ตเป็ นแค่คอนเสิร์ตมาสเตอร์หรือผู้ช่วยวาทยกร ที่มีเงินเดือน
เพียงน้อยนิด ในช่วงนีโ้ มสาร์ตก็เขียนงานที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและทั่วๆ
ไปออกมาเป็ นจำนวนมาก เขาได้รับอนุญาตให้เดินทางไปยังปารีสในปี
1777 พร้อมกับมารดาเพื่อหาตำแหน่งของนักดนตรีที่มั่นคง แต่น่า
เสียดายที่พลาดหมด อันแสดงให้เห็นว่าผลงานของโมสาร์ตไม่จำเป็ นต้อง
ได้รับความนิยมเหมือนปั จจุบันแต่แล้วมารดาของเขาเสียชีวิตที่กรุงปารีส
นัน
้ เอง

โมสาร์ตจึงเดินทางกลับไปยังซาลซ์เบิร์กโดยมีตำแหน่งเป็ นนักเล่น
ออร์แกนในปี 1779 และก็ถูกคอลโลเรโดไล่ออกจากงานภายหลังจากทัง้ คู่
มีปากเสียงอย่างรุนแรง กระนัน
้ เขาก็ได้รับการว่าจ้างจากพวกขุนนางใน
กรุงเวียนนาให้เขียนงานออกมาอย่างสม่ำเสมอ โมสาร์ตได้ทำให้บิดาต้อง
ขุ่นเคืองใจเพราะไม่เห็นด้วยที่เขารีบด่วนไปแต่งงานกับผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ
คอนสแตนซ์ เวเบอร์ในปี 1782 ทัง้ คู่มีบุตรด้วยกัน 6 คน แต่มีเพียง 2
คนที่อยู่รอดจนเติบใหญ่ 
 
ในช่วงเวลานัน
้ เขาได้ผูกมิตรกับฟานซ์ โจเซฟ ไฮเดิน คีตกวีผู้มีอายุ
มากกว่าเขาถึง 24 ปี อาจารย์ผู้เฒ่ามีความเคารพต่อลูกศิษย์หนุ่มคนนี ้
อย่างมาก ทัง้ คู่ต่างมีอิทธิพลทางดนตรีต่อกันจนสำหรับผู้ฟังร่วมสมัย
บางทียังแยกไม่ออกว่าเป็ นดนตรีของไฮเดิลหรือโมซาร์ต ยังเป็ นที่น่าสนใจ
ว่าอุปรากรที่สร้างชื่อให้แก่เขาอย่างมากคือ เรื่อง Le Nozze Di Figaro
(การแต่งงานของฟิ กาโร) ออกแสดงในปี 1786 แต่ก็มีผลร้ายต่อชื่อเสีย
ของเขาในเวลาต่อมา นั่นคือ พวกขุนนางและพวกราชสำนักไม่ชอบ
เนื้อหาของอุปรากรที่ค่อนข้างไปในเชิงต่อต้านพวกเจ้า นอกจากนีเ้ ขาก็ยัง
ต้องพบกับความทุกข์จากเรื่องเงินๆ ทอง ๆ เพราะแต่งเพลงแล้วไม่ได้เงิน
แถมยังชอบใช้ชีวิตแบบหรูหราฟุ ่มเฟื อย ซ้ำร้ายบิดาของเขามาด่วนจากไป
ในปี 1787

ปี 1791 ในช่วงที่โมสาร์ตไม่ค่อยสบายนัน
้ ขุนนางลึกลับผู้หนึ่งได้ให้
คนใช้มาว่าจ้างให้โมสาร์ตเขียนเพลงสวดศพอันโด่งดัง และมาทราบกัน
ทีหลังว่าขุนนางคนนัน
้ ชื่อว่า เคาท์ วาลเซกก์ สตุพพัช ผู้มีจุดประสงค์เพื่อ
จะได้เอาไปแอบอ้างว่าเป็ นงานของตัวเอง (ซึง่ นักประวัติศาสตร์ยังถกเถียง
กันอยู่ว่าโมสาร์ตได้เห็นเป็ นใจด้วยหรือไม่) และในขณะที่ตงั ้ ใจจะเขียน
เพลงสวดศพให้เสร็จนัน
้ โมสาร์ตล้มป่ วยอย่างหนัก มือทัง้ 2 ข้างบวมเป่ ง
จนทำอะไรไม่ได้ เขาเสียชีวิตในวันที่ 5 ธันวาคมในปี เดียวกันโดยที่ยังแต่ง
เพลงสวดศพไม่เสร็จ คนที่ช่วยแต่งต่อจนเสร็จ หาใช่อันโตนีโอ ซาลิเอรี ไม่
หากแต่เป็ นลูกศิษย์ของ ซาลิเอรี คือฟรานซ์ เซเวอร์ ซูสมาเยอร์ที่ได้รับ
การขอร้องจากภรรยาของโมสาร์ต 
 
สาเหตุการเสียชีวิตของโมสาร์ตยังเป็ นที่ถูกถกเถียงกันอยู่มากคือ
ข่าวลือว่าซาลิเอรีเป็ นผู้ลอบสังหารโดยการวางยาพิษ (อาจจะเป็ นปรอท)
และยังถูกซ้ำเติมจากบทละครที่ถูกเขียนในยุคหลัง หากพิจารณาข้อเท็จ
จริงทางประวัติศาสตร์แล้ว ถือว่าไกลจากความจริงมากนัก แต่ก็ยังถก
เถียงกันอีกว่าถ้าไม่ตายเพราะยาพิษ โมสาร์ตน่าจะเสียชีวิตด้วยโรคอะไร
แต่ที่เชื่อกันมากที่สุดคือโรค Rheumatic Fever หรือโรคไข้เรื้อรังที่เกิด
จากการติดเชื้อจากแบคทีเรียบางชนิดและก็ยังถกเถียงอีกว่าโมสาร์ตรู้ว่า
ตัวเองใกล้ตายมากน้อยแค่ไหนและมันจะมีอิทธิพลต่อเพลงของเขาหรือไม่ 

ประวัติบทเพลง
Piano Sonata No. 16 in C major, K. 545 อยู่ในบันไดเสียง ซี
เมเจอร์ เป็ นผลงานประพันธ์ของโวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท
(Wolfgang Amadeus Mozart) ในปี ค.ศ. 1788 มีอีกชื่อหนึ่งว่า
Sonata facile หรือ Sonata semplice. เป็ นโซนาตาสำหรับบรรเลง
ฝึ กหัดเปี ยโน ซึ่งโมซาร์ทได้ระบุไว้ในแคตาล็อกด้วยตัวเองว่า เป็ นผลงาน
"สำหรับผู้เริ่มต้น" (Eine kleine klavier Sonate für anfänger)

โมทซาร์ทระบุวันที่ของผลงานชิน
้ นีใ้ นแค็ตตาล็อกของเขา ลงวันที่
26 มิถุนายน ค.ศ. 1788 วันเดียวกับซิมโฟนีหมายเลข 39 ของเขา
อย่างไรก็ตามผลงานชิน
้ นีไ้ ม่ได้ถูกเผยแพร่ในขณะที่โมทซาร์ทยังมีชีวิตอยู่
โดยตีพิมพ์ครัง้ แรกเมื่อ ค.ศ. 1805 หลังโมทซาร์ทเสียชีวิตไปแล้ว 14 ปี
การวิเคราะห์บทเพลง

บทเพลง Piano Sonata No. 16 in C major, K. 545 ประกอบ


ด้วย 3 ท่อน (Movement) ความยาวทัง้ สิน
้ ประมาณ 14 นาที

 I. Allegro

 II. Andante

 III. Rondo


 

You might also like