You are on page 1of 20

บทเพลง Nocturne in C-sharp minor ประพันธ์โดย Fryderyk Franciszek Chopin

แนวทางการวิเคราะห์
1. การบรรยายภาพรวมโดยทั่วไป
1.1 ประวัติผู้ประพันธ์

ที่มา : https://sites.google.com/site/mrjisclassroom/prawati-
sangkhit-kwi-laea-phl-ngan/frdric-franois-chopin

Fryderyk Franciszek Chopin (เฟรเดริค ฟร็องซัว โชแปง หรือโชแปง) เป็นนักเปียโน และ


นักแต่งเพลงชาวโปแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ก.พ. พ.ศ. 2353 เขาเกิดที่ประเทศโปแลนด์ พ่อโชแปง
เป็นคนฝรั่งเศส ได้อพยพมาอยู่ที่บ้านเกิดของโชแปง จากนั้นพ่อของเขาก็ได้พบกับแม่ของโชแปง ที่ประเทศ
โปแลนด์ ทั้งคู่จึงได้ตัดสินใจอยู่ด้วยกัน แล้วก็ได้ให้กำเนิดเด็กหนุ่มที่ชื่อว่า โชแปง ขึ้นมาบนโลก
โชแปง เป็นเด็กที่มีความเป็นอัจฉริยะทางด้านดนตรีตั้งแต่เด็ก เขาสามารถที่จะเล่นเปียโนได้
ตั้งแต่เขามีอายุเพียงแค่ 6 ปี ต่อมาอีก 4 ปี โชแปงมีความสามารถมากพอที่จะแต่งเพลงมาร์ชได้เอง อีก 4 ปี
ต่อมาพ่อของโชแปง จึงได้ตัดสินใจส่งโชแปงเข้าโรงเรียนดนตรีในกรุงวอร์ซอว์ เพื่อไปเรียนแต่งเพลง เมื่อโชแปง
เข้าไปเรียนในโรงเรียนแห่งนี้เขาก็ได้รับการยอมรับจากทั้งครูผู้สอน ทั้งเพื่อนๆ ว่าเป็นคนที่มีความสามารถ
หลังจากที่เขาเรียนได้ 1 ปี โชแปงก็ได้แต่งเพลงรอนโด อุทิศให้แก่ภรรยาของอาจารย์ใหญ่ ที่โรงเรียนที่เขาเรียน
อยู่ ในปี พ.ศ. 2374 โชแปงมีอายุ 21 ปี เกิดเหตุการณความไม่สงบขึ้นในโปแลนด์ที่เขาอยู่ โชแปงจึงจำเป็นต้อง
ลี้ภัยไปอยู่ที่ฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส ชีวิตส่วนใหญ่ของโชแปงจึงอยู่ในปารีสซะส่วนใหญ่ จนกระทั่งโชแปงเสียชีวิต
ลงที่นี่ เมือ่ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2392 แต่
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าช่วงชีวิตของเขาส่วนใหญ่จะอยู่ที่ฝรั่งเศสจนกระทั่งเสียชีวิต แต่เมื่อเขา
ได้มีโอกาสแต่งเพลง เขามักจะแต่งเพลงที่เกี่ยวกับบ้านเกิด เมืองนอนของเขาเสมอ โดยที่น่าประทับใจคือ โช
แปงได้นำดนตรีพื้นเมืองของโปแลนด์ ผสมกับดนตรีออเคสตราได้อย่างลงตัว จนกระทั่งเพลงของเขานั้น มี
ชื่อเสียงไปทั่ว มีผู้คนรู้จักมากมาย หลายคนจึงยกย่องให้โชแปงเป็นผู้บุกเบิกดนตรีแนวใหม่ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า
ดนตรีแบบชาตินิยม หรือ Nationalism นั่นเอง
แต่จากที่ได้กล่าวมาในข้างต้น หลายคนที่กำลังอ่านอยู่ อาจจะรู้สึกว่า โชแปงนั้นได้รับการ
ยอมรับตลอดไม่ว่าจะอยู่ไหน แต่ความจริงแล้วนั้น การที่โชแปง มีความสามารถในการแต่งเพลงก็จริง แต่
บางครั้งเพลงที่เขาแต่งออกมาก็ไม่ได้รับการยอมรับก็มีเช่นกัน เพลงบางเพลงของเขาก็นำออกไปตีพิมพ์แต่ก็
ไม่ได้รับการตอบรับที่ดี เขาก็ไม่ได้รับการตอบแทน ในส่วนของการแสดงดนตรีก็ไม่ต่างกัน บางครั้งก็ได้รับการ
ยอมรับอย่างดี บางครั้งก็ไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร แต่อย่างไรก็ตาม ความสามารถของโชแปง ก็ได้ช่วย
ผลักดันให้เขานั้นกลายเป็นนักดนตรีที่สามารถเล่นเปียโนได้อย่างชำนาญ และกลายเป็นไอดอลของใครหลายๆ
คนในตอนนี้ และในช่วงท้ายของชีวิตของโชแปง เขานั้นป่วยอย่างหนัก จนกระทั่งเมื่อใกล้ถึงวันที่สิ้นใจ โชแปง
ได้ฝากฝังเอาไว้ว่า หากวันใดเขาเสียชีวิตลงไปแล้ว ในงานศพเขาให้บรรเลง เพลงรีเควียมของโมสาร์ทด้วย
ในส่วนของเพลงที่โชแปงแต่งนั้น ส่วนใหญ่จะให้ความรู้สึกโรแมนติก เขามีความสามารถที่จะ
นำเพลงที่มีเสียงแข็งกระด้าง มาปรับให้เป็นเพลงที่มีความนุ่มนวลได้ ผลงานของโชแปง สามารถแบ่งออกได้
ดังนี้

• เพลง Waltz 19 เพลง


• เพลง Mazurka 31 บท
• เพลง Prelude 24 บท
• เพลง Polonaise 14 บท
• เพลง Etude 27 บท
• เพลง Nocturne 14 บท
• เพลง Impromptu 4 บท
• เพลง Rondo 3บท
1.2 ประวัติความเป็นมาของบทเพลง
Nocturne in C-sharp minor ประพันธ์โดย Fryderyk Franciszek Chopin บทเพลงนี้อยู่
ในยุค Romantic ซึ่งถูกประพันธ์ขึ้นในปีค.ศ. 1830 แต่ถูกตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในปีค.ศ. 1870 โดยเพลงนี้
Chopin แต่งขึ้นเพื่อมอบให้กับ Ludwika Chopin ซึ่งเป็นน้องสาวของเขา โดยได้มีข้อความฝากถึงเอาไว้ว่า
“ถึงน้องสาว บทเพลงนี้เป็นแบบฝึกหัดเปียโน ขอให้ฝึกแบบฝึกหัดนี้ ก่อนที่จะเริ่ มซ้อม Concerto No.2 ของ
พี่” กล่าวคือบทเพลงนี้คือแบบฝึกหัดที่ Chopin ได้แต่งขึ้นเพื่อให้น้องสาวฝึกซ้อม ก่อนที่จะไปศึกษาหรือซ้อม
เพลง Concerto No.2 ของ Chopin
2. การวิเคราะห์บทเพลง
2.1 สังคีตลักษณ์ของบทเพลง (Form)
สังคีตลักษณ์เปรียบเหมือนฉันท์ลักษณ์ในวรรณคดี ฉันท์ลักษณ์ในวรรณคดีเป็นโครงสร้างทาง
ร้อยกรองที่แยกแยะ โครง ฉันท์ กาพย์ กลอน ให้มีความแตกต่างกัน สังคีตลักษณ์ในดนตรีก็เช่นกัน มีโครงสร้าง
ที่ยึดถือได้เป็นแบบอย่าง โดยมีทำนองแลกุญ แจเสียงเป็นตัวแปรสำคัญ ในการกำหนดโครงสร้างของสัง คี ต
ลักษณ์เหล่านี้ เช่น สังคีตลักษณ์สองตอน สังคีตลักษณ์สามตอน สังคีตลักษณ์รอนโด สังคีตลักษณ์โซนาตา
นอกเหนือจากสังคีตลักษณ์ดังกล่าวแล้ว ยังมีกระบวนการทางการประพันธ์แบบอื่น ๆ ที่อนุโลม เรียกว่า สังคีต
ลักษณ์ เช่น สังคีตลักษณ์ทำนองหลักและการแปร และรูปแบบที่ไม้จัดอยู่ในกลุ่มทีเรียกว่าสังคีตลักษณ์แต่ก็มี
กระบวนการประพันธ์ ที่ถือเป็นบรรทัดฐานได้ เช่น บทประพันธ์เพลงประเภทฟิวก์ แต่บางเพลงก็อาศัยสังคีต
ลักษณ์ 2 แบบมาผสมผสานกัน เช่น สังคีตลักษณ์โซนาตารอนโด สังคีตลักษณ์สามตอนแบบผสม เป็นต้น และ
ก็มีเพลงบางประเภทต้องใช้สังคีตลักษณ์มาผสมผสานกับรูปแบบการจัดวงดนตรี เช่น คอนแชร์โต เป็นต้น ผู้
วิเคราะห์ต้องใช้วิจารณญาณประกอบกับความรู้ด้านทฤษฎีดนตรีและประวัติดนตรีในการที่จะวินิจฉัยว่า บท
เพลงนั้น ๆ มีแง่มุมใดที่น่าสนใจแก่การวิเคราะห์ในแง่มุมอื่น ๆ ฉะนั้น ก่อนที่จะเริ่มวิ เคราะห์เพลง สิ่งที่สำคัญ
ที่สุด คือต้องรู้ว่า เพลงนั้นมีจุดสนใจอยู่ที่ไหน ควรให้ความสำคัญกับอะไรในการวิเคราะห์ ควรกล่าวเน้นถึง
เรื่องอะไรมากน้อยเพียงไร ควรลงลึกถึงรายละเอียดในเรื่องใดบ้าง บทวิเคราะห์และข้อคิดต่าง ๆ ต้องมีเหตุผล
และหลักการทฤษฎีรองรับ เพื่อแสดงถึงคุณค่าเชิงวิชาการของบทเพลงนั้น ๆ อย่างแท้จริง
บทเพลง Nocturne in C-sharp minor ประพันธ์โดย Fryderyk Franciszek Chopin อยู่
ในโครงสร้างสังคีตลักษณ์ Ternary Form มีทั้งหมด 65 ห้อง ความยาวของบทเพลงเป็นเวลา 4.30 นาที โดย
บทเพลง Nocturne in C-sharp minor นี้ แบ่งท่อนได้เป็น 3 ท่อน ได้แก่
ท่อน 1 (A) ห้องที่ 1-16 จำนวน 16 ห้อง โดยมีความยาวของท่อนเป็นเวลา 1.15 นาที
ท่อน 2 (B) ห้องที่ 17-46 จำนวน 30 ห้อง โดยมีความยาวของท่อนเป็นเวลา 1.21 นาที
ท่อน 3 (A) ห้องที่ 47-64 จำนวน 19 ห้อง โดยมีความยาวของท่อนเป็นเวลา 1.54 นาที
2.2 วิเคราะห์ทำนอง
2.2.1 ช่วงเสียง ( Range )
ท่อน 1 (A)
ในบทเพลง Nocturne in C-sharp minor ท่อนที่ 1 (A) นั้นจะมีช่วงเสียงต่ำสุดและสูงสุดอยู่
หลายช่วง เสียงที่ต่ำสุดคือเสียงตัว C ซึ่งอยู่เส้นน้อยเส้นที่ 2 ด้านล่าง ส่วนช่วงเสียงที่สูงสุดคือ ตัว E# หรือ F
ซึ่งอยู่ในเส้นน้อยเส้นที่ 3 ด้านบน ระยะห่างระหว่างโน้ตต่ำสุดกับโน้ตสูงสุดคือระยะขั้นคู่ นับเป็นช่วงคู่แปดได้
สามช่วงคู่แปดกับอีก คู่สาม ออกเมนเทด ดังตัวอย่างต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 1
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 3-4 และห้องที่ 15
ท่อน 2 (B)
ในบทเพลง Nocturne in C-sharp minor ท่อนที่ 2 (B) นั้นจะมีช่วงเสียงต่ำสุดและสูงสุดอยู่
หลายช่วง เสียงที่ต่ำสุดคือเสียงตัว G ซึ่งอยู่ใต้เส้นน้อยเส้นที่ 3 ด้านล่าง ส่วนช่วงเสียงที่สูงสุดคือ ตัว G ซึ่งอยู่
ในเส้นน้อยเส้นที่ 4 ด้านบน ระยะห่างระหว่างโน้ตต่ ำสุดกับโน้ตสูงสุดคือระยะขั้นคู่ นับเป็นช่วงคู่แปดได้ ห้า
ช่วงคู่แปด ดังตัวอย่างต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 2
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 45
ท่อน 3 (A)
ในบทเพลง Nocturne in C-sharp minor ท่อนที่ 2 (B) นั้นจะมีช่วงเสียงต่ำสุดและสูงสุดอยู่
หลายช่วง เสียงที่ต่ำสุดคือเสียงตัว F# ซึ่งอยู่ใต้เส้นที่ 1 ส่วนช่วงเสียงที่สูงสุดคือ ตัว D# ซึ่งอยู่บนเส้นน้อยเส้น
ที่ 2 ด้านบนซึ่งมีเครื่องหมายกำกับไว้ว่าให้เล่นเสียงสูงขึ้นหนึ่งช่วงคู่แปด ดังนั้นระยะห่างระหว่างโน้ตต่ำสุดกับ
โน้ตสูงสุดคือระยะขั้นคู่ นับเป็นช่วงคู่แปดได้ สี่ช่วงคู่แปด กับอีก คู่หก เมเจอร์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 3
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 50 และห้องที่ 59

2.2.2 ขั้นคู่ ( Interval )


การดำเนินทำนองว่าเป็นการเคลื่อนจากโน้ตตัวหนึ่งไปตัวหนึง่ มีการขยับมากน้อยเพียงใดด้วย
วัดจาก การนับขั้นคู่
2.2.2.1 การเคลื่อนทำนองแบบตามขั้น
การเคลื่อนทำนองแบบตามขั้น ( Conjunct motion ) เคลื่อนทำนองจากตัวโน้ต
ด้วยตัวหนึ่ง ไปยังอีกตัวหนึง่ เป็นคู่ 2 ซึ่งหมายรวมถึงการซ้ำโน้ตหรือคู่ 1 เพอร์เฟค
ท่อน 1 (A) ตัวอย่างที่เห็นชัดในบทเพลง Nocturne in C-sharp minor นี้ อยู่ใน
ห้องที่ 15 เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วทำนองนี้ถือเป็นการ เคลื่อนที่ทำนองแบบตามขั้นดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 4
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 15
ท่อน 2 (B) ตัวอย่างที่เห็นชัดในบทเพลง Nocturne in C-sharp minor นี้ อยู่ใน
ห้องที่ 21 เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วทำนองนี้ถือเป็นการ เคลื่อนที่ทำนองแบบตามขั้นดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 5
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 21

ท่อน 3 (A) ตัวอย่างที่เห็นชัดในบทเพลง Nocturne in C-sharp minor นี้ อยู่ใน


ห้องที่ 59 เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วทำนองนี้ถือเป็นการ เคลื่อนที่ทำนองแบบตามขั้นดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 6
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 59

2.2.2.2 การเคลื่อนทำนองแบบข้ามขั้น
การเคลื่อนทำนองแบบข้ามขั้น ( Disjunct motion ) การเคลื่อนทำนองจากโน้ตตัว
หนึ่งไปยังโน้ตอีกตัวหนึ่ง เป็นคู่ 3 หรือกว้างกว่าคู่ 3 การขยับข้ามขั้น ซึ่งเรียกว่าขั้นคู่กระโดด มักนำหน้าหรือ
ตามหลังด้วยการขยับเพียงขั้นเดียวในทิศทางตรงกันข้ามเพื่อให้เกิดสมดุล
ท่อน 1 (A) ตัวอย่างที่เห็นชัดในบทเพลง Nocturne in C-sharp minor นี้ มักมี
การเคลื่อนที่แบบข้ามขั้นอยู่หลายที่ ดังนั้นจึงได้ยกตัวอย่างมาในห้องที่ 5-8 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 7
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 5-8
ท่อน 2 (B) ตัวอย่างที่เห็นชัดในบทเพลง Nocturne in C-sharp minor นี้ มักมีการ
เคลื่อนที่แบบข้ามขั้นอยู่หลายที่ ดังนั้นจึงได้ยกตัวอย่างมาในห้องที่ 32-34 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 8
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 32-34

ท่อน 3 (A) ตัวอย่างที่เห็นชัดในบทเพลง Nocturne in C-sharp minor นี้ มักมีการเคลื่อนที่


แบบข้ามขั้นอยู่หลายที่ ดังนั้นจึงได้ยกตัวอย่างมาในห้องที่ 64-65 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 9
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 64-65

2.2.2.3 ทิศทาง
การดำเนินทำนองจากโน้ตตัวหนึ่งไปยังโน้ตตัวถัดไป มีอยู่ 3 ทิศทาง คือ ทิศทางขึ้น
ถ้าโน้ตตัวหลังมี ระดับเสียงสูงกว่า หรือทิศทางลงถ้าโน้ตตัวหลังมีระดับเสียงต่ ำกว่า แต่ถ้าโน้ตย้ำอยู่ที่ระดับ
เสียงเดิมก็เรียกว่า ทิศทางคงที่
ทิศทางขึ้น ทำนองที่มีทิศทางขึ้นมักมีการดำเนินทำนองจากโน้ตตัวหนึ่งไปยังโน้ตอีก
ตัวหนึ่งในทางขึ้นบ้างลงบ้าง แต่จะมีทิศทางขึ้นบ่อยกว่า หรืออาจมีขั้นคู่กระโดดขึ้นหลายครั้งกว่าขั้นคู่กระโดด
ลง แต่ทำนองที่ดีไม่ว่าของชาติใดภาษาใด ควรมีทิศทางที่ชัดเจน
ท่อนที่ 1 (A) จะเห็นว่าทำนองมีทิศทางขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าทำนองจะมีการหัก
ลงบ้างในระหว่างทาง ทำนองเริ่มต้นที่ C บนเส้นบรรทัดที่ 2 และดำเนินสูงไปจนถึงโน้ตตัวสุดท้าย F# บนเส้น
บรรทัดเส้นน้อยที่ 2 ในห้องที่ 7-8 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 10
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 7-8

ท่อนที่ 2 (B) จะเห็นว่าทำนองมีทิศทางขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าทำนองจะมีการหัก


ลงบ้างในระหว่างทาง ทำนองเริ่มต้นที่ G ซึ่งอยู่ใต้เส้นน้อยเส้นที่ 3 ด้านล่าง และดำเนินสูงไปจนถึงโน้ตตัว
สุดท้าย G ซึ่งอยู่ในเส้นน้อยเส้นที่ 4 ด้านบน นับเป็นช่วงคู่แปดได้ ห้าช่วงคู่แปด ในห้องที่ 45 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 11
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 45

ท่อนที่ 3 (A) จะเห็นว่าทำนองมีทิศทางขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าทำนองจะมีการหัก


ลงบ้างในระหว่างทาง ทำนองเริ่มต้นที่ G ในเส้นบรรทัดที่ 2 และดำเนินสูงไปจนถึงโน้ตตัวสุดท้าย C# บนเส้น
บรรทัดเส้นน้อยที่ 5 ในห้องที่ 64-65 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 12
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 64-65
ทิศทางลง ทำนองที่มีทิศทางลงจะมีการเคลื่อนทำนองจากโน้ตตัวหนึ่งไปยังโน้ตอีก
ตัวหนึ่ง ในทิศทางลงบ้างขึ้นบ้างเช่นกัน แต่จะมีทิศทางลงบ่อยครั้งมากกว่า
ท่อนที่ 1 (A) ทำนองมีทิศทางลงอย่างเห็นได้ชัด แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนที่ใน
ทิศทางลงจาก โน้ต C# ไปจนถึงโน้ตตัว A ในห้องที่ 7-8 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 13
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 7-8

ท่อนที่ 2 (B) ทำนองมีทิศทางลงอย่างเห็นได้ ชั ด แม้จะมีทิศทางขึ้นบ้ างแต่ เ มื่ อ


วิเคราะห์จากแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนที่ในทิศทางลงจาก โน้ต E ไปจนถึงโน้ตตัว D# ในห้องที่ 22 ดังรูป
ต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 14
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 22

ท่อนที่ 3 (A) ทำนองมีทิศทางลงอย่างเห็นได้ชัด แม้จะมีทิศทางขึ้นบ้างแต่เมื่อ


วิเคราะห์จากแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนที่ในทิศทางลงจาก โน้ต B# หรือ C ไปจนถึงโน้ตตัว C# ในห้องที่ 55-
56 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 15
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 55-56
ทิศทางคงที่ ทำนองจำนวนไม่น้อย ทิศทางคงที่ คือไม่มีทิศทางชัดเจนว่าขึ้นหรือลง
ในบทเพลงนี้ไม่พบทำนองทิศทางคงที่
2.2.2.4 โน้ตประดับ
โน้ตประดับเป็นสิ่งที่เพิ่มชีวิตชีวาให้กับทำนองเพลง โน้ตประดับตัวเดียวสามารถ
สร้างความสนใจได้ไม่น้อย โน้ตประดับเปรียบเสมือนเครื่องประดับของผู้หญิง ต้องใช้ในการที่เหมาะสม ไม่ใช้
มากจนเกินไป
ท่อนที่ 1 (A) จะมีโน้ตประดับอยู่ ซึ่ง จะมีโน้ตประดับ เขบ็ต 2 ชั้น ดัง นั้นจะขอ
ยกตัวอย่างห้องที่ 13-14 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 16
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 13-14

ท่อนที่ 2 (B) จะมีโน้ตประดับอยู่ ซึ่ง จะมีโน้ตประดับ เขบ็ต 1 ชั้น ดัง นั้นจะขอ


ยกตัวอย่างห้องที่ 24 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 16
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 24

ท่อนที่ 3 (A) จะมีโน้ตประดับอยู่ ซึ่ง จะมีโน้ตประดับ เขบ็ต 2 ชั้น ดัง นั้นจะขอ


ยกตัวอย่างห้องที่ 52 ดังรูปต่อไปนี้
รูปภาพประกอบที่ 17
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 52

2.2.2.5 การวิเคราะห์จังหวะ
อัตราจังหวะ ( Meter )
อัตราจังหวะ อันได้แก่ อัตราจัง หวะสอง อัตราจัง หวะสาม อัตราจัง หวะสี่ อัตรา
จังหวะธรรมดา อัตราจังหวะผสม และอัตราจังหวะซ้อน เป็นตัวชี้น ำเรื่องความคิดทั้งหลายทั้งปวงที่เกี่ยวกับ
จังหวะของเพลง เครื่องหมายประจำจังหวะที่อยู่ถัดจากกุญแจและเครื่องหมายประจากุญแจเสียงในช่วงต้น
เพลง จะแสดงถึง อัตราจังหวะ
ชีพจรจังหวะ โดยหลักการแล้ว อัตราจังหวะเป็นตัวกาหนดชีพจรจังหวะหรือการเน้น
จังหวะตามธรรรมชาติ ซึ่งในบทเพลง Nocturne in C-sharp minor มีการใช้อัตราจังหวะอยู่ 3 จังหวะ ได้แก่
อัตราจังหวะ 4/4 อัตราจังหวะ 3/4 และอัตราจังหวะ 3/4
ในท่อนที่ 1 (A) มีอัตราจังหวะ 4/4 ซึ่ง เป็นอัตราจังหวะสี่ธรรมดา จึง มี 4 ชีพจร
จังหวะ ซึ่งโดยปกติแล้วจังหวะที่ 1 และ 3 จะเป็นจังหวะที่หนักและสำคัญ ส่วนจังหวะที่ 2 และ 4 จะ เป็น
จังหวะเบา ยกตัวอย่างในห้องที่ 5-8 ทุกจังหวะที่เป็นจังหวะตกมีความหนักเพราะจะทำให้เพลงรู้สึกมีพลัง ดัง
รูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 18
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 5-8
ในท่อนที่ 2 (B) มีอัตราจังหวะ 4/4 อัตราจังหวะ 2/4 และอัตราจังหวะ 3/4 อัตรา
จังหวะสี่ธรรมดา จึงมี 4 ชีพจรจังหวะ ซึ่งโดยปกติแล้วจังหวะที่ 1 และ 3 จะเป็นจังหวะที่หนักและสำคัญ ส่วน
จังหวะที่ 2 และ 4 จะ เป็นจังหวะเบา ยกตัวอย่างในห้องที่ 31 ในส่วนของอัตราจังหวะ 2/4 เป็นอัตราจังหวะที่
มี 2 ชีพจรจังหวะ ซึ่งจังหวะที่ 1 จะหนักและสำคัญ ส่วนจังหวะที่ 2 จะเบา ยกตัวอย่างในห้องที่ 32 และส่วน
ของอัตราจังหวะ 3/4 เป็นอัตราจังหวะที่มี 3 ชีพจรจังหวะ ซึ่งจังหวะที่ 1 จะหนักและสำคัญ ส่วนจังหวะที่ 2
และ 3 จะเบา ยกตัวอย่างในห้องที่ 33 ทุกจังหวะที่เป็นจังหวะตกมีความหนักเพราะจะทำให้เพลงรู้สึกมีพลัง
ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 19
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 31-33

ในท่อนที่ 3 (A) มีอัตราจังหวะ 4/4 ซึ่ง เป็นอัตราจังหวะสี่ธรรมดา จึง มี 4 ชีพจร


จังหวะ ซึ่งโดยปกติแล้วจังหวะที่ 1 และ 3 จะเป็นจังหวะที่หนักและสำคัญ ส่วนจังหวะที่ 2 และ 4 จะ เป็น
จังหวะเบา ยกตัวอย่างในห้องที่ 47-48 ทุกจังหวะที่เป็นจังหวะตกมีความหนักเพราะจะทำให้เพลงรู้สึกมีพลัง
ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 20
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 47-48
2.2.2.5 การวิเคราะห์ประโยคเพลง
บทเพลงแต่ละบทประกอบด้ วย ประโยคหลายประโยคมาเรี ยงต่อ กันจนสิ ้ น สุ ด
กระบวนการ เพลงไม่ว่าจะสั้นหรือยาวเพียงใด ก็สามารถตัดย่อยเพลงออกเป็นประโยคได้ ในประโยคเพลงจะมี
ความคิดที่จะจบภายในตัวเอง แต่ละประโยคยังสามารถย่อยลงไปหน่วยทำนองต่างๆ
หน่วยทำนอง
ทำนองเพลงซึ่งประกอบไปด้วยประโยคเพลงอย่างน้อย 1 ประโยค สามารถซอยย่อย
เป็น หน่วยทำนองสั้นๆได้ หน่วยทำนองเหล่านี้มีบทบาทและความสำคัญไม่เท่ากัน อาจแบ่งหน่วยทานองได้
ออกเป็น 2 ประเภท
หน่วยทำนองย่อยเอก ( Motive ) คือหน่วยที่เล็กที่สุดของทำนองและมีความสำคัญ
ในการผูกเพลงทั้งหมดหรือในช่วงหนึ่งอันเดียวกัน หน่วยทำนองย่อยเอกมักปรากฏเป็นอีกระยะๆ ในรูปแบบที่
เหมือนเดิมหรือแปรเปลี่ยนไปเล็กน้อย ตัวอย่างที่เห็นชัดในบทเพลง Nocturne in C-sharp minor ที่มีหน่วย
ทำนองย่อยเอก ( Motive ) ที่มักจะปรากฏให้เห็นอยู่เป็นระยะ ยกตัวอย่างในท่อนที่ 1 ดังรูปต่อนี้

รูปภาพประกอบที่ 21
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 5-8

หน่ ว ยทำนองย่ อ ยรอง ( Figure ) เป็ น หน่ ว ยย่ อ ยของทำนองเช่ น กั น แต่ ไ ม่ มี


ความสำคัญเท่ากับหน่วยทำนองเอก มักมีลักษณะการขึ้นลงของทำนองรวมถึงลักษณะจังหวะที่น่าสนใจ อาจมี
ความสำคัญ เพียง ชั่วขณะและมีผลกับการพัฒนาเพลงในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่ง ในเพลง Nocturne in C-
sharp minor มักพบหน่วยทำนองย่อยรองได้หลายประเภทครั้งในบทเพลงนี้ ดังนั้นจะขอยกตัวอย่างหน่วย
ทำนองย่อยรองประเภท Repettion (การซ้ำส่วนทำนองก่อนหน้า) ในห้องที่ 26 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 22
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 25-26
2.2.2.5 การพักประโยค (Cadence)
การพักประโยค (Cadence) คือ ท่อนจบของประโยคเพลงในแต่ละท่อน ซึ่ง สิ่งที่บ่ง
บอกชนิดของเคเดนซ์คือ คอร์ด 2 คอร์ดสุดท้าย ถ้าทราบว่า 2 คอร์ดสุดท้ายคือคอร์ดอะไรบ้าง ก็จะทำให้ทราบ
ชนิดของเคเดนซ์ น้ำหนักของการดำเนินคอร์ดจากคอร์ดแรกไปเป็นตัวกำหนดน้ำหนักของเคเดนซ์ นักแต่ง
เพลงในยุคโรแมนติก นิยมเคเดนซ์ที่มีน้ำหนักเบาลง ต่างจากนักแต่งเพลงในยุคบาโรก และคลาสสิกที่ชอบใช้เค
เดนซ์ที่มีความหนักแน่นในการจบประโยค จบตอน จบท่อน หรือจบเพลงเคเดนซ์ชนิดต่างๆจะมีน้ำหนัก
ลดหลั่นตามลำดับจาก
บทเพลง Nocturne in C-sharp minor จะพบการพักประโยคอยู่ 2 ประเภท ได้แก่
Half Cadence (HC) และ Perfect Authentic Cadence (AC) ซึ่งพบในบทเพลงตามท่อน ดังนี้
ท่ อ น 1 (A) พบการพั ก ประโยคเปิ ด หรื อ Half Cadence (HC) ห้ อ งที ่ 3-4
ประกอบด้วย คอร์ดที่ VI คือคอร์ด A7 (กรอบสีฟ้า) และคอร์ดที่ V คือคอร์ด G# Major (กรอบสีแดง)

รูปภาพประกอบที่ 23
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 3-4

ท่อน 3 (A) พบการพักประโยคปิด ประเภทปิดสมบูรณ์ หรือ Perfect Authentic


Cadence (AC) ห้องที่ 64-65 ประกอบด้วย คอร์ดที่ v คือคอร์ด G minor7 (กรอบสีฟ้า) และคอร์ดที่ i คือ
คอร์ด C# minor (กรอบสีแดง)

รูปภาพประกอบที่ 24
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 64-65
2.2.2.6 บันไดเสียง หรือ คีย์ของเพลง (Key Signature)
เครื่องหมายประจำกุญแจเสียง หรือเครื่องหมายกำหนดบันไดเสียง หรือเครื่องหมาย
ตั้งบันไดเสียง (Key Signature) คือชุดของเครื่องหมายชาร์ปหรือแฟลตที่ได้ถูกบันทึกไว้ตอนต้นของบทเพลง
ต่อจากกุญแจและอยู่ก่อน ตัวเลขกำกับจังหวะ หรือเครื่องหมายประจำจังหวะ หรือเครื่องหมายกำหนดจังหวะ
(Time Signature) เพื่อบอกให้รู้ว่าโน้ตเพลงที่บันทึกไว้นั้นอยู่ในกุญแจเสียง(คีย์)ใด
บทเพลง Nocturne in C-sharp minor มีการใช้คีย์หรือบันไดเสียงทั้งหมด 1
บันไดเสียง ได้แก่ C-sharp minor ซึ่งเป็นบันไดเสียงประจำบทเพลง

รูปภาพประกอบที่ 25
Nocturne in C-sharp minor ห้องที่ 1-2
ภาคผนวก
บรรณานุกรม

กิตติคุณ จันทร์เกษ . (2562). เทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนอง. เอกสารประกอบการสอนวิชา Forms


and Analysis of Western Music, มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2560). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหำนคร:
สำนักพิมพ์เกศกะรัต, 221 หน้า.
โชแปง (Chopin). (TagDiv). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://www.flagfrog.com/frederick-chopin-pianist-biography/ .(วันที่ค้นข้อมูล : 24 ตุลาคม 2564)
Chopin’s Nocturne in C Sharp Minor. (Allysia). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://www.pianotv.net/2018/11/chopins-nocturne-in-c-sharp-minor-op-posth-analysis/ .
(วันที่ค้นข้อมูล : 19 พฤศจิกายน 2564)
Nocturne in C-sharp minor. (ไม่ระบุ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://en.wikipedia.org/wiki/Nocturne_in_C-sharp_minor,_Op._posth._(Chopin) .(วันที่ค้นข้อมูล :
19 พฤศจิกายน 2564)

You might also like