You are on page 1of 34

บทเพลง Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.

333 ประพันธ์โดย Wolfgang Amadeus Mozart


แนวทางการวิเคราะห์
1. การบรรยายภาพรวมโดยทั่วไป
1.1 ประวัติผู้ประพันธ์

ที่มา : https://www.monteverdi.tv/wolfgang-amadeus-mozart-ผู้บุกเบิกวงการแนวด/

Wolfgang Amadeus Mozart เกิ ด เมื ่ อ วั น ที ่ 27 มกราคม ค.ศ.1756 ที ่ เ มื อ ง Salzburg


ประเทศออสเตรีย เสียชีวิตวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1791 ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย Mozart เป็นคีตกวี
ในยุคคลาสสิค ค.ศ.1750 – 1820 ตลอดชีวิตของโมสาร์ทได้สร้างผลงานเพลงไว้มากกว่า 600 เพลง ผลงานบท
เพลงซิมโฟนี 41 บท, เพลงเซเรเนด สำหรับวงเครื่องสาย 4-5 ชิ้น ลำดับผลงานที่ 525 ชื่อ Eine Kleine
Nachtmusik บทเพลงคอนแชร์ โตสำหรั บเปี ยโน 27 บท อุปรากรที่มีชื่ อเสียงที่ ส ุด 3 เรื่อง ได้แก่ The
Marriage of Figaro, The Magic Flute และ Don Giovanni. และบทเพลงสุดท้ายของเขาคือ Requiem
mass
โมสาร์ท มีอัจฉริยภาพทางดนตรีมาตั้งแต่เกิด ในตอนเด็กได้ไปยืนเกาะฮาร์พซิคอร์ด ดูพ่อ
กำลังสอน Nannerl พี่สาวของเขาเล่นคลาเวียร์อยู่ ด้วยความตั้งอกตั้งใจ เมื่อโมสาร์ทอายุได้ 4 ขวบ พ่อก็เริ่ม
ฝึกให้เขาเรียนดนตรีอย่างจริงจัง และเขาเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว หูของเขาสามารถฟังเสียงดนตรีได้อย่างแม่นยำ
และบอกเสียงต่าง ๆ ได้ถูกต้อง เมื่อพ่อเห็นถึงพรสวรรค์ จึงทุ่มเทตั้งใจฝึกสอนอย่างเต็มที่ และวางรากฐานทาง
ดนตรีตลอดจนหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ถูกต้องให้แก่ลูกชายของเขา
เลโอโปลด์ โมสาร์ท หรือพ่อของ Wolfgang Amadeus Mozart เป็นนักดนตรีผู้มีชื่อ เสียง
ของออสเตรีย เป็นนักแต่งเพลงและครูสอนดนตรี ซึ่งสามารถเล่นไวโอลินได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นหัวหน้าวง
ดนตรีประจำสำนักของอาร์ชบิชอพ ที่ซาลสเบอร์ก แม่ชื่อ เฟรา อันนา โมสาร์ท เป็นแม่บ้านที่ โมสาร์ท มีพี่
น้องทั้งหมด 7 คน เสียชีวิตไป 5 คน เหลือแต่ มาเรีย แอนนา หรือ Nannerl พี่สาวที่มีอายุมากกว่าเขา 4 ปี
รวมตัวเขา เพียง 2 คนเท่านั้น ในวัยเด็กโมสาร์ทเป็นคนที่มีรูปร่างสง่า ใบหน้าสวย ริมฝีปากสวยงาม จมูกโด่ง
แววตาอ่อนโยนเหมือนผู้หญิง กิริยามารยาทสงบเสงี่ยมละมุนละมนและช่างคิดช่างฝัน
เมื่ออายุ 5ขวบ โมสาร์ทได้แต่งเพลง โดยการแต่งเติมเพลง minuet ของพ่อที่ได้แต่งค้างไว้ยัง
ไม่เสร็จ ซึ่งไพเราะยิ่งนัก เมื่ออายุ 6 ปี เขาได้รับของขวัญวันเกิดเป็นไวโอลินเล็กๆ อันหนึ่ง โมสาร์ทก็ไ ด้
พยายามฝึกฝนด้วยตนเอง เพราะพ่อไม่ยอมสอน หลังจากโมสาร์ทได้แสดงฝีมือการเล่นไวโอลีนร่วมวงกับพ่อได้
อย่างน่าอัศจรรย์ ทำให้พ่อของเขาทำการฝึกซ้อมไวโอลินให้เ ขากับ Nannerl อย่างจริงจัง และแน่วแน่เพื่อปั้น
ลูกชายให้เป็นนักไวโอลินของโลกให้ได้
เมื่อโมสาร์ทอายุได้ 6 ขวบ ได้เข้าเฝ้า พระนางมาเรีย เทเรซา ที่กรุง เวียนนา และด้ว ย
อัจฉริยภาพทางด้านดนตรีทำให้เขาได้รับสมญานาม จากจักรพรรดิ์ฟรังซิส ว่า “ผู้วิเศษน้อย” ทำให้เขา มี
ชื่อเสียงมากในยุโรป เมื่อ 7 ขวบ เขาแต่งเพลงไวโอลินโซนาตาเป็นเพลงแรก และเมื่ออายุ 8 ขวบ ก็แต่ง
ซิมโฟนีได้สำเร็จ โมสาร์ทได้เดินทางไปแสดงดนตรีที่อิตาลี และตกหลุมรัก หลงใหลคลั่งไคล้อิตาลีมาก ถึงขั้น
เปลี่ยนชื่อกลางให้เหมือนชาวอิตาเลียน โดยจากเดิมชื่อ Gottlieb แปลว่า ผู้เป็นที่รักของพระเจ้า มาเป็น
Amadeus โดยมีคำแปลว่าผู้เป็นที่รักของพระเจ้าเช่นเหมือนเดิม
โมสาร์ท แต่งงานกับ คอนสตันซ์ เวเบอร์ น้องสาวของอลอยเซีย เวเบอร์ ที่เขาเคยตกหลุมรัก
มาก่อน และได้เขียน อุปรากรขึ้นชื่อ The Escape from Seraglio โดยเอาชื่อเมียมาเป็นนางเอก จักรพรรดิ์โจ
เซป ชอบอุปรากรของโมสาร์ทมาก จึงได้เขามาอยู่ในวงดนตรีของพระองค์ แต่ให้ค่าตอบแทนที่น้อยมาก
งานด้านแต่งเพลงของโมสาร์ทเริ่มโดดเด่นขึ้น หลังได้พบกับไฮเดิน นักคนตรีผู้ยิ่งใหญ่แห่ง
เวียนนาและได้และสอนเขาเขียนเพลง ควอเตท และโมสาร์ท ได้แต่งเพลง String quartets หลายเพลง และ
ไพเราะมาก ซึ่งไฮเดิน ก็ชื่นชมโมสาร์ทมากเช่นกัน
โมสาร์ทแต่งงานมา 9 ปี โมสาร์ท มีความสุขบ้างพอควร มีลูกกับคอนสตันซ์ เวเบอร์ รวม
ทั้งหมด 6 คน และได้ใช้ชีวิตด้วยความยากลำบาก เพราะภรรยาใช้เงินเก่ง ไม่ค่อยใส่ใจการบ้านการเรือน มี
รายได้ไม่พอรายจ่ายทำให้ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาใช้จ่าย ทำให้โมสาร์ทต้องทำงานหนัก
โมสาร์ทมีผลงานมากกว่า 200 ชิ้น ถือว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถในการแต่งเพลงชั้นยอดเยี่ยม
เลยทีเดียว โมสาร์ทได้แต่งเพลง Requiem (เพลงเกี่ยวกับงานศพ) ให้แก่เคาน์ท์ลัวเซกก์ สำหรับเป็นที่ระลึก
ให้แก่ภรรยาที่ตายไปแล้ว และในเวลาต่อมาโมสาร์ทก็เสียชีวิต ด้วยโรคไทฟลอย์ ที่เวียนนา ในวันที่ 5 ธันวาคม
ค.ศ.1791 ซึ่งเพลงที่เขาแต่งได้นำมาใช้ในงานศพของเขาเอง ด้วยวัยเพียง 35ปีเท่านั้น
Requiem mass คือเพลงสุดท้ายที่โมสาร์ทได้เขียน โดยมีชายแปลกหน้าแต่งกายด้วยชุดสี
เทา เข้ามาพบเขาเพื่อว่าจ้างให้เขียนเพลงนี้ ซึ่งเป็นเพลงใช้สำหรับการขับร้องในพิธีฝังศพ ในขณะนั้นโมสาร์ทอ
ยู่ในอาการเจ็บป่วยอยู่ ทำให้เขาคิดว่าเพลงนี้คงเป็นเพลงที่เขาจะต้องแต่งขึ้นเพื่อใช้ร้องในพิธีฝัง ศพของตนเอง
ในที่สุดโมสาร์ทก็ได้เสียชีวิตลงก่อนที่จะเขียนเพลงนี้ได้สำเร็จ
การสร้างสรรค์ผลงานของโมสาร์ทเป็นไปตามความรู้สึกนึกคิดของตนเอง โมสาร์ทไม่เคยเขียน
เพลงตามกระแสของสังคม ผลงานของเขาทุกเพลงมีชีวิตชีวา ด้วยความสามารถในการเรียบเรียงเสียงประสาน
ของโมสาร์ทจึงทำให้เพลงของเขามีทำนองมากมายต่อเนื่องกันอย่างสละสลวย มีสีสันเกิดขึ้น ทำให้ฟังแล้วไม่
น่าเบื่อ มีความแปลกใหม่เกิดขึ้นอยู่เสมอ รูปแบบการประพันธ์ก็ไม่ใช้กฎเกณฑ์ที่ตายตัว สามารถเปลี่ยนแปลง
ได้ตามความเหมาะสม โมสาร์ทได้สร้างผลงานชิ้นยอดเยี่ยมไว้เกือบทุกประเภทของบทเพลง เช่น เพลงขับร้อ ง
คอนแชร์โต ดนตรีแชมเบอร์ เพลงซิมโฟนี โซนาตา และอุปรากร
ตลอดชั่วชีวิตของโมสาร์ทจะเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องในเรื่องความสามารถด้านดนตรีมาโดย
ตลอด แต่ในเรื่องฐานะทางารเงินนั้นเป็นไปในทางตรงกันข้าม โมสาร์ทมีฐานะยากจนและเป็นหนี้สินมากมาย
พิธีฝังศพเป็นไปอย่างอนาถาในสุสานของคนจนในขณะทำพิธีฝังศพมีพายุฝนเกิดขึ้น ทำให้พิธีฝังศพทำไปอย่าง
รีบเร่ง ไม่มีแม้กระทั่งไม้กางเขนปักที่บริเวณหลุมศพ ปัจจุบันก็ยังไม่มีผู้ใดรู้ว่าหลุมฝังศพของโมสาร์ทอยู่ ณ
ตำแหน่งใดในสุสานนั้น
1.2 ประวัติความเป็นมาของบทเพลง
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ประพันธ์โดย Wolfgang Amadeus Mozart
บทเพลงนี้อยู่ในยุค Classical ซึ่งถูกประพันธ์ขึ้นในปีค.ศ. 1783 โดยเพลง Piano Sonata No.13 in B-flat
major, K.333 นี้ถูกแต่งที่เมือง Linz ประเทศ Austria ขณะที่ Mozart และภรรยา ได้แวะพักผ่อนระหว่างการ
เดินทางกลับเวียนนาจาก Salzburg
2. การวิเคราะห์บทเพลง
2.1 สังคีตลักษณ์ของบทเพลง (Form)
สังคีตลักษณ์เปรียบเหมือนฉันท์ลักษณ์ในวรรณคดี ฉันท์ลักษณ์ในวรรณคดีเป็นโครงสร้างทาง
ร้อยกรองที่แยกแยะ โครง ฉันท์ กาพย์ กลอน ให้มีความแตกต่างกัน สังคีตลักษณ์ในดนตรีก็เช่นกัน มีโครงสร้าง
ที่ยึดถือได้เป็นแบบอย่าง โดยมีทำนองแลกุญ แจเสียงเป็นตัวแปรสำคัญ ในการกำหนดโครงสร้างของสัง คี ต
ลักษณ์เหล่านี้ เช่น สังคีตลักษณ์สองตอน สังคีตลักษณ์สามตอน สังคีตลักษณ์รอนโด สังคีตลักษณ์โซนาตา
นอกเหนือจากสังคีตลักษณ์ดังกล่าวแล้ว ยังมีกระบวนการทางการประพันธ์แบบอื่น ๆ ที่อนุโลม เรียกว่า สังคีต
ลักษณ์ เช่น สังคีตลักษณ์ทำนองหลักและการแปร และรูปแบบที่ไม้จัดอยู่ในกลุ่มทีเรียกว่าสังคีตลัก ษณ์แต่ก็มี
กระบวนการประพันธ์ ที่ถือเป็นบรรทัดฐานได้ เช่น บทประพันธ์เพลงประเภทฟิวก์ แต่บางเพลงก็อาศัยสังคีต
ลักษณ์ 2 แบบมาผสมผสานกัน เช่น สังคีตลักษณ์โซนาตารอนโด สังคีตลักษณ์สามตอนแบบผสม เป็นต้น และ
ก็มีเพลงบางประเภทต้องใช้สังคีตลักษณ์มาผสมผสานกับรูปแบบการจัดวงดนตรี เช่น คอนแชร์โต เป็นต้น ผู้
วิเคราะห์ต้องใช้วิจารณญาณประกอบกับความรู้ด้านทฤษฎีดนตรีและประวัติดนตรีในการที่จะวินิจฉัยว่า บท
เพลงนั้น ๆ มีแง่มุมใดที่น่าสนใจแก่การวิเคราะห์ในแง่มุมอื่น ๆ ฉะนั้น ก่อนที่จะเริ่มวิเคราะห์เพลง สิ่งที่สำคัญ
ที่สุด คือต้องรู้ว่า เพลงนั้นมีจุดสนใจอยู่ที่ไหน ควรให้ความสำคัญกับอะไรในการวิเคราะห์ ควรกล่าวเน้นถึง
เรื่องอะไรมากน้อยเพียงไร ควรลงลึกถึงรายละเอียดในเรื่องใดบ้าง บทวิเคราะห์และข้อคิดต่าง ๆ ต้องมีเหตุผล
และหลักการทฤษฎีรองรับ เพื่อแสดงถึงคุณค่าเชิงวิชาการของบทเพลงนั้น ๆ อย่างแท้จริง
บ ท เ พ ล ง Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ป ร ะ พ ั น ธ ์ โ ด ย Wolfgang
Amadeus Mozart อยู่ในโครงสร้างสังคีตลักษณ์ Sonata Form มีทั้งหมด 470 ห้อง ความยาวของบทเพลง
เป็นเวลา 5.20 นาที โดยบทเพลง Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 นี้ แบ่งท่อนได้เป็น 3 ท่อน
หลักๆ ได้แก่
ท่อน 1 Allegro (Exposition) ห้องที่ 1-162 จำนวน 162 ห้อง โดยมีความยาวของท่อนเป็น
เวลา 5.33นาที
ท่อน 2 Andante cantabile (Development) ห้องที่ 162-245 จำนวน 83 ห้อง โดยมี
ความยาวของท่อนเป็นเวลา 6.16 นาที
ท่อน 3 Allegretto grazioso (Recapitulation) ห้องที่ 246-470 จำนวน 22 ห้อง โดยมี
ความยาวของท่อนเป็นเวลา 6.38 นาที
2.2 วิเคราะห์ทำนอง
2.2.1 ช่วงเสียง ( Range )
ท่อน 1 Allegro (Exposition)
ในบทเพลง Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ท่อน 1 Allegro (Exposition)
นั้นจะมีช่วงเสียงต่ำสุดและสูงสุดอยู่หลายช่วง เสียงที่ต่ำสุดคือเสียงตัว F ซึ่งอยู่เส้นน้อยเส้นที่ 4 ด้านล่าง ส่วน
ช่วงเสียงที่สูงสุดคือ ตัว F ซึ่งอยู่เส้นน้อยเส้นที่ 3 ด้านบน ระยะห่างระหว่างโน้ตต่ำสุดกับโน้ตสูงสุดคือระยะขั้น
คู่ นับเป็นช่วงคู่แปดได้ ห้าช่วงคู่แปด ดังตัวอย่างต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 1
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 8 และห้องที่ 115

ท่อน 2 (Development)
ในบทเพลง Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ท่อน 2 (Development) นั้น
จะมีช่วงเสียงต่ำสุดและสูงสุดอยู่หลายช่วง เสียงที่ต่ ำสุดคือเสียงตัว Bb ซึ่งอยู่เส้นน้อยเส้นที่ 2 ด้านล่าง ส่วน
ช่วงเสียงที่สูงสุดคือ ตัว F ซึ่งอยู่เส้นน้อยเส้นที่ 3 ด้านบน ระยะห่างระหว่างโน้ตต่ำสุดกับโน้ตสูงสุดคือระยะขั้น
คู่ นับเป็นช่วงคู่แปดได้ สี่ช่วงคู่แปด กับอีก คู่ห้า เพอร์เฟค ดังตัวอย่างต่อไปนี้
รูปภาพประกอบที่ 2
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 239 และห้องที่ 242

ท่อน 3 (Recapitulation)
ในบทเพลง Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ท่อน 3 (Recapitulation) นั้น
จะมีช่วงเสียงต่ำสุดและสูงสุดอยู่หลายช่วง เสียงที่ต่ำสุดคือเสียงตัว F ซึ่งอยู่เส้นน้อยเส้นที่ 4 ด้านล่าง ส่วน
ช่วงเสียงที่สูงสุดคือ ตัว F ซึ่งอยู่เส้นน้อยเส้นที่ 3 ด้านบน ระยะห่างระหว่างโน้ตต่ำสุดกับโน้ตสูงสุดคือระยะขั้น
คู่ นับเป็นช่วงคู่แปดได้ ห้าช่วงคู่แปด ดังตัวอย่างต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 3
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 390 และห้องที่ 403

2.2.2 ขั้นคู่ ( Interval )


การดำเนินทำนองว่าเป็นการเคลื่อนจากโน้ตตัวหนึ่งไปตัวหนึง่ มีการขยับมากน้อยเพียงใดด้วย
วัดจาก การนับขั้นคู่
2.2.2.1 การเคลื่อนทำนองแบบตามขั้น
การเคลื่อนทำนองแบบตามขั้น ( Conjunct motion ) เคลื่อนทำนองจากตัวโน้ ต
ด้วยตัวหนึ่ง ไปยังอีกตัวหนึ่งเป็นคู่ 2 ซึ่งหมายรวมถึงการซ้ำโน้ตหรือคู่ 1 เพอร์เฟค
ท่อน 1 Allegro (Exposition) ตัวอย่างที่เห็นชัดในบทเพลง Piano Sonata No.13
in B-flat major, K.333 นี้ อยู่ในห้องที่ 96 เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วทำนองนี้ถือเป็นการ เคลื่อนที่ทำนอง
แบบตามขั้นดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 4
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 96

ท่อน 2 (Development) ตัวอย่างที่เห็นชัดในบทเพลง Piano Sonata No.13 in


B-flat major, K.333 นี้ อยู่ในห้องที่ 215 เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วทำนองนี้ถือเป็นการ เคลื่อนที่ทำนองแบบ
ตามขั้นดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 5
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 55
ท่อน 3 (Recapitulation) ตัวอย่างที่เห็นชัดในบทเพลง Piano Sonata No.13 in
B-flat major, K.333 นี้ อยู่ในห้องที่ 277-279 เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วทำนองนี้ถือเป็นการ เคลื่อนที่ทำนอง
แบบตามขั้นดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 6
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 277-279
2.2.2.2 การเคลื่อนทำนองแบบข้ามขั้น
การเคลื่อนทำนองแบบข้ามขั้น ( Disjunct motion ) การเคลื่อนทำนองจากโน้ตตัว
หนึ่งไปยังโน้ตอีกตัวหนึ่ง เป็นคู่ 3 หรือกว้างกว่าคู่ 3 การขยับข้ามขั้น ซึ่งเรียกว่าขั้นคู่กระโดด มักนำหน้าหรือ
ตามหลังด้วยการขยับเพียงขั้นเดียวในทิศทางตรงกันข้ามเพื่อให้เกิดสมดุล
ท่อน 1 Allegro (Exposition) ตัวอย่างที่เห็นชัดในบทเพลง Piano Sonata No.13
in B-flat major, K.333 นี้ มักมีการเคลื่อนที่แบบข้ามขั้นอยู่หลายที่ ดังนั้นจึงได้ยกตัวอย่างมาในห้องที่ 54-55
ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 7
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 54-55

ท่อน 2 (Development) ตัวอย่างที่เห็นชัดในบทเพลง Piano Sonata No.13 in


B-flat major, K.333 นี้ มักมีการเคลื่อนที่แบบข้ามขั้นอยู่หลายที่ ดังนั้นจึงได้ยกตัวอย่างมาในห้องที่ 217 ดัง
รูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 8
Concert Etudes No.3 Db Major ห้องที่ 217

ท่อน 3 (Recapitulation) ตัวอย่างที่เห็นชัดในบทเพลง Piano Sonata No.13 in


B-flat major, K.333 นี้ มักมีการเคลื่อนที่แบบข้ามขั้นอยู่หลายที่ ดังนั้นจึงได้ยกตัวอย่างมาในห้องที่ 300 ดัง
รูปต่อไปนี้
รูปภาพประกอบที่ 9
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 300

2.2.2.3 ทิศทาง
การดำเนินทำนองจากโน้ตตัวหนึ่งไปยังโน้ตตัวถัดไป มีอยู่ 3 ทิศทาง คือ ทิศทางขึ้น
ถ้าโน้ตตัวหลังมี ระดับเสียงสูงกว่า หรือทิศทางลงถ้าโน้ตตัวหลังมีระดับเสียงต่ ำกว่า แต่ถ้าโน้ตย้ำอยู่ที่ระดับ
เสียงเดิมก็เรียกว่า ทิศทางคงที่
ทิศทางขึ้น ทำนองที่มีทิศทางขึ้นมักมีการดำเนินทำนองจากโน้ตตัวหนึ่งไปยังโน้ตอีก
ตัวหนึ่งในทางขึ้นบ้างลงบ้าง แต่จะมีทิศทางขึ้นบ่อยกว่า หรืออาจมีขั้นคู่กระโดดขึ้นหลายครั้งกว่าขั้นคู่กระโดด
ลง แต่ทำนองที่ดีไม่ว่าของชาติใดภาษาใด ควรมีทิศทางที่ชัดเจน
ท่อน 1 (Exposition) จะเห็นว่าทำนองมีทิศทางขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าทำนองจะ
มีการหักลงบ้างในระหว่างทาง ทำนองเริ่มต้นที่ Bb บนเส้นบรรทัดที่ 3 และดำเนินสูงไปจนถึงโน้ตตัวสุดท้าย F
บนเส้นบรรทัดเส้นน้อยที่ 3 ด้านบน ในห้องที่ 8 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 10
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 8

ท่อน 2 (Development) จะเห็นว่าทำนองมีทิศทางขึ้นอย่างเห็นได้ ชัด ทำนอง


เริ่มต้นที่ F ซึ่งอยู่เส้นน้อยเส้นที่ 3 ด้านล่างและดำเนินสูงไปจนถึงโน้ตตัวสุดท้าย Bb ซึ่งอยู่ในเส้นที่ 3 ในห้องที่
216 ดังรูปต่อไปนี้
รูปภาพประกอบที่ 11
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 216

ท่อน 3 (Recapitulation) จะเห็นว่าทำนองมี ท ิศ ทางขึ ้นอย่ างเห็นได้ ช ั ด แม้ ว่ า


ทำนองจะมีการหักลงบ้างในระหว่างทาง ทำนองเริ่มต้นที่ E ในเส้นบรรทัดที่ 1 และดำเนินสูงไปจนถึงโน้ตตัว
สุดท้าย F บนเส้นบรรทัดที่ 5 ในห้องที่ 355-356 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 12
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 355-356

ทิศทางลง ทำนองที่มีทิศทางลงจะมีการเคลื่อนทำนองจากโน้ตตัวหนึ่งไปยังโน้ตอีก
ตัวหนึ่ง ในทิศทางลงบ้างขึ้นบ้างเช่นกัน แต่จะมีทิศทางลงบ่อยครั้งมากกว่า
ท่อน 1 Allegro (Exposition) ทำนองมีทิศทางลงอย่างเห็นได้ชัด แสดงให้เห็นถึง
การเคลื่อนที่ในทิศทางลงจาก โน้ต D ไปจนถึงโน้ตตัว Bb ในห้องที่ 60 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 13
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 60
ท่อน 2 (Development) ทำนองมีทิศทางลงอย่างเห็นได้ชัด แม้จะมีทิศทางขึ้นบ้าง
แต่เมื่อวิเคราะห์จากแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนที่ในทิศทางลงจาก โน้ต Eb บนเส้นบรรทัดที่ 4 ไปจนถึงโน้ตตัว
E ในเส้นบรรทัดที่ 1 ในห้องที่ 168-169 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 14
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 168-169

ท่อน 3 (Recapitulation) ทำนองมีทิศทางลงอย่างเห็นได้ชัด แม้จะมีทิศทางขึ้นบ้าง


แต่เมื่อวิเคราะห์จากแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนที่ในทิศทางลงจาก โน้ต F บนเส้นน้อยบรรทัดที่ 3 ด้านบนไป
จนถึงโน้ตตัว Bb เส้นบรรทัดที่ 3 ในห้องที่ 398-399 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 15
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 398-399

ทิศทางคงที่ ทำนองจำนวนไม่น้อย ทิศทางคงที่ คือไม่มีทิศทางชัดเจนว่าขึ้นหรือลง


จากการวิเคราะห์บทเพลงนี้ มัก จะพบทำนองทิศทางคงที่ ในท่อน 3 (Recapitulation) ทำนองมีทิศทางคงที่
อย่างเห็นได้ชัด แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนที่ในทิศทางคงที่ ตั้งแต่โน้ต Bb ไปจนถึงโน้ตตัว C ในห้องที่ 409-410
ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 16
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 409-410
2.2.2.4 โน้ตประดับ
โน้ตประดับเป็นสิ่งที่เพิ่มชีวิตชีวาให้กับทำนองเพลง โน้ตประดับตัวเดียวสามารถ
สร้างความสนใจได้ไม่น้อย โน้ตประดับเปรียบเสมือนเครื่องประดับของผู้หญิง ต้องใช้ในการที่เหมาะสม ไม่ใช้
มากจนเกินไป
ท่อน 1 Allegro (Exposition) จะมีโน้ตประดับอยู่ ซึ่งจะมีโน้ตประดับ เขบ็ต 2 ชั้น
จะขอยกตัวอย่างห้องที่ 21 และมีโน้ตประดับ เขบ็ต 3 ชั้น ยกตัวอย่างห้องที่ 65-66 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 17
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 21 และห้องทที่ 65-66
ท่อน 2 (Development) จะมีโน้ตประดับอยู่ ซึ่งจะมีโน้ตประดับ เขบ็ต 3 ชั้น ดังนั้น
จะขอยกตัวอย่างห้องที่ 212 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 18
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 212

ท่อน 3 (Recapitulation) จะมีโน้ตประดับอยู่ ซึ่งจะมีโน้ตประดับ เขบ็ต 2 ชั้น และ


เขบ็ต 3 ชั้น จะขอยกตัวอย่างห้องที่ 280 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 19
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 280
2.2.2.5 การวิเคราะห์จังหวะ
อัตราจังหวะ ( Meter )
อัตราจังหวะ อันได้แก่ อัตราจัง หวะสอง อัตราจัง หวะสาม อัตราจัง หวะสี่ อัตรา
จังหวะธรรมดา อัตราจังหวะผสม และอัตราจังหวะซ้อน เป็นตัวชี้น ำเรื่องความคิดทั้งหลายทั้งปวงที่เกี่ยวกับ
จังหวะของเพลง เครื่องหมายประจำจังหวะที่อยู่ถัดจากกุญแจและเครื่องหมายประจากุญแจเสียงในช่วงต้น
เพลง จะแสดงถึง อัตราจังหวะ
ชีพจรจังหวะ โดยหลักการแล้ว อัตราจังหวะเป็นตัวกาหนดชีพจรจังหวะหรือการเน้น
จังหวะตามธรรรมชาติ ซึ่งในบทเพลง Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 มีการใช้อัตราจัง หวะอยู่ 2
จังหวะ ได้แก่ อัตราจังหวะ 4/4 และอัตราจังหวะ 3/4
ท่อน 1 Allegro (Exposition) มีอัตราจังหวะ 4/4 ซึ่งเป็นอัตราจังหวะสี่ธรรมดา จึง
มี 4 ชีพจรจังหวะ ซึ่งโดยปกติแล้วจังหวะที่ 1 และ 3 จะเป็นจังหวะที่หนักและสำคัญ ส่วนจังหวะที่ 2 และ 4
จะ เป็นจังหวะเบา ยกตัวอย่างในห้องที่ 59 ทุกจังหวะที่เป็นจังหวะตกมีความหนักเพราะจะทำให้เพลงรู้สกึ มี
พลัง ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 20
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 59

ท่อน 2 (Development) มีอัตราจังหวะ 3/4 จึงมี 3 ชีพจรจังหวะ ซึ่งโดยปกติแล้ว


จังหวะที่ 1 จะเป็นจังหวะที่หนักและสำคัญ ส่วนจังหวะที่ 2 และ 3 จะเป็นจังหวะเบา ยกตัวอย่างในห้องที่
163-164 ทุกจังหวะที่เป็นจังหวะตกมีความหนักเพราะจะทำให้เพลงรู้สึกมีพลัง ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 21
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 163-164
ท่อน 3 (Recapitulation) มีอัตราจังหวะ 4/4 ซึ่งเป็นอัตราจังหวะสี่ธรรมดา จึงมี 4
ชีพจรจังหวะ ซึ่งโดยปกติแล้วจังหวะที่ 1 และ 3 จะเป็นจังหวะที่หนักและสำคัญ ส่วนจังหวะที่ 2 และ 4 จะ
เป็นจังหวะเบา ยกตัวอย่างในห้องที่ 246-247 ทุกจังหวะที่เป็นจังหวะตกมีความหนักเพราะจะทำให้เพลงรู้สึกมี
พลัง ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 22
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 246-247

2.2.2.5 การวิเคราะห์ประโยคเพลง
บทเพลงแต่ละบทประกอบด้ วย ประโยคหลายประโยคมาเรี ยงต่อ กันจนสิ ้ น สุ ด
กระบวนการ เพลงไม่ว่าจะสั้นหรือยาวเพียงใด ก็สามารถตัดย่อยเพลงออกเป็นประโยคได้ ในประโยคเพลงจะมี
ความคิดที่จะจบภายในตัวเอง แต่ละประโยคยังสามารถย่อยลงไปหน่วยทำนองต่างๆ
หน่วยทำนอง
ทำนองเพลงซึ่งประกอบไปด้วยประโยคเพลงอย่างน้อย 1 ประโยค สามารถซอยย่อย
เป็น หน่วยทำนองสั้นๆได้ หน่วยทำนองเหล่านี้มีบทบาทและความสำคัญไม่เท่ากัน อาจแบ่งหน่วยทานองได้
ออกเป็น 2 ประเภท
หน่วยทำนองย่อยเอก ( Motive ) คือหน่วยที่เล็กที่สุดของทำนองและมีความสำคัญ
ในการผูกเพลงทั้งหมดหรือในช่วงหนึ่งอันเดียวกัน หน่วยทำนองย่อยเอกมักปรากฏเป็นอีกระยะๆ ในรูปแบบที่
เหมือนเดิมหรือแปรเปลี่ยนไปเล็กน้อย ตัวอย่างที่เห็นชัดในบทเพลง Concert Etudes No.3 Db Major ที่มี
หน่วยทำนองย่อยเอก ( Motive ) ที่มักจะปรากฏให้เห็นอยู่เป็นระยะ ยกตัวอย่างได้ดังนี้
ท่อน 1 Allegro (Exposition) จากการวิเคราะห์พบว่า มีหน่วยทำนองย่อยเอก (
Motive ) ปรากฏให้เห็นอยู่เป็นระยะ ยกตัวอย่างเช่น ห้องที่ 1-4
รูปภาพประกอบที่ 23
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 1-4

ท่อน 2 (Development) จากการวิเคราะห์พบว่า มีหน่วยทำนองย่อยเอก ( Motive


) ปรากฏให้เห็นอยู่เป็นระยะ ยกตัวอย่างเช่น ห้องที่ 163-166

รูปภาพประกอบที่ 24
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 163-166

ท่อน 3 (Recapitulation) จากการวิเคราะห์พบว่า มีหน่วยทำนองย่อยเอก (


Motive ) ปรากฏให้เห็นอยู่เป็นระยะ ยกตัวอย่างเช่น ห้องที่ 246-252

รูปภาพประกอบที่ 25
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 246-252

หน่ ว ยทำนองย่ อ ยรอง ( Figure ) เป็ น หน่ ว ยย่ อ ยของทำนองเช่ น กั น แต่ ไ ม่ มี


ความสำคัญเท่ากับหน่วยทำนองเอก มักมีลักษณะการขึ้นลงของทำนองรวมถึงลักษณะจังหวะที่น่าสนใจ อาจมี
ความสำคัญ เพียง ชั่วขณะและมีผลกับการพัฒนาเพลงในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่ง ในเพลง Nocturne in C-
sharp minor มักพบหน่วยทำนองย่อยรองได้หลายประเภทครั้งในบทเพลงนี้ ดังนั้นจะขอยกตัวอย่างหน่วย
ทำนองย่อยรองประเภท Sequence (การซ้ำส่วนทำนองก่อนหน้าเป็นลำดับขั้นคู่ ) (กรอบสีฟ้า) และประเภท
Repetition (การซ้ำส่วนทำนองก่อนหน้า) (กรอบสีแดง) ในห้องที่ 277-279 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 24
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 277-279

และพบทำนองย่อยรองประเภท Imitation (การซ้ำส่วนทำนองก่อนหน้าแต่เป็นการซ้ำโดยเครื่องดนตรีอื่นหรือ


ในกรณี Piano คือซ้ำทำทองเดิมกันคนละมือ) (กรอบสีเขียว) ในห้องที่ 123-124 ดังรูปต่อไปนี้

รูปภาพประกอบที่ 25
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 122-124

2.2.2.5 การพักประโยค (Cadence)


การพักประโยค (Cadence) คือ ท่อนจบของประโยคเพลงในแต่ละท่อน ซึ่ง สิ่งที่บ่ง
บอกชนิดของเคเดนซ์คือ คอร์ด 2 คอร์ดสุดท้าย ถ้าทราบว่า 2 คอร์ดสุดท้ายคือคอร์ดอะไรบ้าง ก็จะทำให้ทราบ
ชนิดของเคเดนซ์ น้ำหนักของการดำเนินคอร์ดจากคอร์ดแรกไปเป็นตัวกำหนดน้ำหนักของเคเดนซ์ นักแต่ง
เพลงในยุคโรแมนติก นิยมเคเดนซ์ที่มีน้ำหนักเบาลง ต่างจากนักแต่งเพลงในยุคบาโรก และคลาสสิกที่ชอบใช้เค
เดนซ์ที่มีความหนักแน่นในการจบประโยค จบตอน จบท่อน หรือจบเพลงเคเดนซ์ชนิดต่างๆจะมีน้ำหนั ก
ลดหลั่นตามลำดับจาก
บทเพลง Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 จะพบการพักประโยคอยู่
2 ประเภท ได้แก่ Perfect Authentic Cadence (PAC) และ Imperfect Authentic Cadence (IAC) ซึ่งพบ
ในบทเพลงตามท่อน ดังนี้
พบการพักประโยค (Cadence) ของบทเพลงนี้ในท่อน ท่อน 2 (Development)
พบการพั กประโยคปิด ประเภทปิ ด ไม่ ส มบู รณ์ หรื อ Imperfect Authentic Cadence (IAC) ห้ อ งที ่ 245
ประกอบด้วย คอร์ดที่ vii˙ คือคอร์ด Ddim(add9) (กรอบสีฟ้า) และคอร์ดที่ I คือคอร์ด Eb Major (กรอบสี
แดง)

รูปภาพประกอบที่ 26
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 244-245

พบการพักประโยค (Cadence) ของบทเพลงนี้ในท่อน 3 (Recapitulation) พบการ


พักประโยคปิด ประเภทปิดสมบูรณ์ หรือ Perfect Authentic Cadence (PAC) ห้องที่ 469-470 ประกอบด้วย
คอร์ดที่ V คือคอร์ด F7 (กรอบสีฟ้า) และคอร์ดที่ I คือคอร์ด Bb Major (กรอบสีแดง)

รูปภาพประกอบที่ 27
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 469-470
2.2.2.6 บันไดเสียง หรือ คีย์ของเพลง (Key Signature)
เครื่องหมายประจำกุญแจเสียง หรือเครื่องหมายกำหนดบันไดเสียง หรือเครื่องหมาย
ตั้งบันไดเสียง (Key Signature) คือชุดของเครื่องหมายชาร์ปหรือแฟลตที่ได้ถูกบันทึกไว้ตอนต้นของบทเพลง
ต่อจากกุญแจและอยู่ก่อน ตัวเลขกำกับจังหวะ หรือเครื่องหมายประจำจังหวะ หรือเครื่องหมายกำหนดจังหวะ
(Time Signature) เพื่อบอกให้รู้ว่าโน้ตเพลงที่บันทึกไว้นั้นอยู่ในกุญแจเสียง(คีย์)ใด
บทเพลง Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 มีการใช้คีย์หรือบันได
เสียงทั้งหมด 2 บันไดเสียง ได้แก่
1. บันไดเสียง Bb Major ซึ่งเป็นบันไดเสียงหลักของบทเพลง ซึ่งจะพบอยู่ในท่อน 1
(Exposition) และ ท่อน 3 (Recapitulation) ยกตัวอย่างบันไดเสียง Bb Major ในห้องที่ 1-2 ดังรูป

รูปภาพประกอบที่ 28
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 1-2

2. บันไดเสียง Eb Major ซึ่งจะพบอยู่ในท่อน 2 (Development) ยกตัวอย่างบันได


เสียง Eb Major ในห้องที่ 163-164 ดังรูป

รูปภาพประกอบที่ 29
Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 ห้องที่ 163-164
ภาคผนวก
บรรณานุกรม

กิตติคุณ จันทร์เกษ . (2562). เทคนิคการเคลื่อนที่ของทำนอง. เอกสารประกอบการสอนวิชา Forms


and Analysis of Western Music, มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2560). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหำนคร:
สำนักพิมพ์เกศกะรัต, 221 หน้า.
Mozart: Piano Sonata No.13 in B-flat major, K.333 Analysis. (Tonic Chord). [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : https://tonic-chord.com/mozart-piano-sonata-no-13-in-b-flat-major-k-333-
analysis/ .(วันที่ค้นข้อมูล : 19 พฤศจิกายน 2564)
Piano Sonata No. 13 (Mozart). (ไม่ระบุ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://en.wikipedia.org/wiki/Piano_Sonata_No._13_(Mozart) .(วันที่ค้นข้อมูล : 19 พฤศจิกายน
2564)
Piano Sonata No. 13 in B flat major, K.333. (Orrin Howard). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://www.laphil.com/musicdb/pieces/2831/piano-sonata-no-13-in-b-flat-major-k333 .(วันที่
ค้นข้อมูล : 19 พฤศจิกายน 2564)
Wolfgang Amadeus Mozart. (ไม่ระบุ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://www.monteverdi.tv/wolfgang-amadeus-mozart-ผู้บุกเบิกวงการแนวด/ .(วันที่ค้นข้อมูล : 19
พฤศจิกายน 2564)

You might also like