You are on page 1of 9

ใบความรู้ที่ 1 : ละครนอก

ละครนอก เป็น ละครชนิดแรกของไทย เป็นละครที่เล่นนอกวัง และเล่นให้ชาวบ้านดู


ตอนแรกไม่ได้เรียกละครนอก เรียกว่า ละคร ธรรมดา แต่พอมีละครผู้หญิงเล่นในวัง ละครที่เล่นนอกวัง
จึงได้ชื่อว่า ละครนอก
ผู้แสดงละครนอกเป็นชายล้วน และมี 3 ตัว ต่อมามีการเพิ่มตัวละครให้มากขึ้น เมื่อถึงสมัย
รัชกาลที่ 2 ทรงให้นางในแสดงละครนอกซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ของพระองค์ ถึงสมัยรัชกาลที่ 4
ละครนอกใช้ผ ู้แสดงผสมชายหญิง มักร้องและรำเฉพาะในบทของ ตัว ละครเอกของเรื่องเท่านั้ น
(ตัวที่แต่งยืนเครื่อง) เมื่อร้องและรำเป็นระยะสั้น ๆ แล้ว ก็จะดำเนินเรื่องต่อไปด้วยการเจรจาระหว่าง
ตัวละคร เป็นการเจรจานอกบทโดยใช้ปฏิภาณและโวหารของตนเพื่อให้ถูกใจคนดู คนดูเห็นคล้อยตาม
และเข้าใจเรื่อง การเจรจานี้มักมีบทตลกโปกฮา การพูดจากสองแง่สองง่าม แทรกทั้งคำพูดและกิริยา
ท่าทาง
เรื่องที่ใช้แสดงละครนอก เช่น สังข์ทอง คาวี ไชยเชษฐ์ พระสุธนมโนห์รา พระรถ หรือเล่น
เรื่องปัญญาสชาดก ละครนอกเล่นเรื่องเกี่ยวกับกษัตริย์ก็จริง แต่กษัตริย์ล้วนเป็นตัวตลกทั้งสิ้น ไม่มีความ
ดีอะไร ขี้ขลาด อย่างท้าวสามลในเรื่องสังข์ทอง ท้าวสันนุราชในเรื่องคาวี เป็นการชี้ให้เห็นถึงการ
สลายความตึงเครียดด้านการเมืองการปกครอง

ที่มา : นันท์ทยา ลำดวน.2531.วรรณคดีการละคร.กรุงเทพมหานคร : โอ .เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.


ตัวอย่างละครนอกเรื่องสังข์ทอง ตอนนางมณฑาลงกระท่อมของกรมศิลปากร (ถอดเทป)
ร้อง : เมื่อนั้น นวลนางมณฑามเหสี
พร้อมฝูงพระกำนัลนารี จรลีมายังปลายนา
เจรจา
มณฑา : เออเอ่อเออเอย ฉุยฉาย..เอย...
กำนัล 1 : (หัวเราะ) ไม่ต้อง (หัวเราะ) ได้โปรดพูคะหม่อมแม่ อย่านอกบทพูคะ
มณฑา : อ้าวเมื่อกี้ถวายบังคม แล้วก็ต้องฉุยฉายสิ
กำนัล 1 : หม่อมแม่จะฉุยบ้างเหรอ ไม่ต้องฉุย เขามีกรรมการตรวจบท นอกบทเดี๋ยวเขาเอ็ดเอา
มณฑา : เออ เข้าบทก็ได้
ร้อง : ครั้นถึงจึงหยุดอยู่แต่ไกล ร้องเรียกลูกสายใจเสน่หา
เป็นไรไม่ขานพระมารดา เอ้ย
เจรจา
มณฑา : อีเผือก อีปะการัง
กำนัล 1 : แหม ! หม่อมแม่ก็เรียกเสียหมดเลย หม่อมฉันเปลี่ยนชื่อแล้วพูคะ
มณฑา : เปลี่ยนเป็นอะไรวะ
กำนัล 1 : เคอรี่ (หัวเราะ)
มณฑา : มึงอย่าทำกูเดือดร้อนนะ นี่มึงสองคนพากูมาถูกแน่นะ นี่กระท่อมพ่อเงาะแน่นะ
กำนัล 1 : รับรอง ตามแผนที่ที่วิจัยไว้แล้วว่ามีพิกัดที่ปลายนาพูคะ

ที่มา : นันท์ทยา ลำดวน.2531.วรรณคดีการละคร.กรุงเทพมหานคร : โอ .เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.


ใบความรู้ที่ 2 : ละครโนห์ราชาตรี

ละครโนห์ราชาตรีเป็นละครที่เล่นที่เมืองนครศรีธรรมราช ได้รับแบบแผนไปจาก
ละครผู้ชายเล่นที่กรุงศรีอยุธยา (ละครนอก) กล่าวได้ว่าเป็นละครชนิดเดียวกัน เมื่อนำละคร
ชนิดนี้ไปเล่นที่เมืองนครศรีธรรมราชเล่นแต่เรื่องมโนห์รา คนจึงเรียกว่า ละครโนห์รา เมื่อ
นำละครโนราห์มาเล่นที่ก รุงเทพอีกกลับเรียกละครนี้ว่า ละครโนห์ราชาตรี โดยคำว่าชาตรี
อาจมาจากคำว่า ฉัตริย (กษัตริย์) เพราะเล่นแต่เรื่องกษัตริย์ อาจมาจากคำว่า คงกระพัน
ชาตรี หรือ ชายชาตรี

ผู้แสดงละครชาตรีเดิมเป็นผู้ชายล้วน ตอนแรกผู้แสดงมีเพียง 3 คน ได้แก่ตัว


ตัวเครื่อง ตัวนาง และตัวทำบทเบ็ดเตล็ด (ตลก ยักษ์ ม้า) ในเรื่องมโนห์รา มีตัวนายโรงคือ
พระสุธน ตัวนางคือนางมโนราห์ ตัวเบ็ดเตล็ดเป็น ฤๅษี พรานบุญ ม้า ภายหลังมีการ
ดัดแปลงเรื่องให้แปลกไป จึงมีมากกว่า 3 คน

วิธีแสดงละครชาตรี เริ่มด้วยการบูชาครู อุปกรณ์มีธูป เทียน หมากพลูและเงิน เมื่อ


บูชาครูเสร็จจึงโหมโรง ต่อมาจึงไหว้ครู แล้วจึงรำซัด เดินเวียนซ้ายว่าคาถากันเสนียดจัญไร
จากนั้นแสดงตามท้องเรื่อง ตัวละครต้องร้องและเจรจาเองตัวประกอบร้องเป็นลูกคู่

เรื่องที่น่านิยมนำมาแสดงละครชาตรีได้แก่ เรื่องที่ได้จากตำนาน ชาดก มักเป็น


เรื่องของกษัตริย์หรือผู้มีชื่อเสียงและมักจบแบบมีความสุข เช่น เรื่องมโนห์รา พระรถเมรี
ลักษณวงศ์ โคบุตร จันทโครบ สังข์ทอง ยอพระกลิ่น นายไกรกับชาลวัน พระอภัยมณี
เมื่อแสดงจบแล้ว จะต้องรำซัดอีกครั้ ง เพื่อคลายคาถาอาคมที่รำซัดไว้ครั้งแรก ผู้แสดง
ออกมารำเวียนขวาว่าคาถาเพื่อถอนอาถรรพ์ทั้งปวง

เมื่อถึงปลายสมัยรัชกาลที่ 6 มีผู้นำละครนอกกับละครชาตรีเข้าด้วยกัน เรียกว่า


ชาตรีเข้าเครื่องหรือชาตรีเครื่องใหญ่ การแสดงเริ่มจากบูชาครู รำซัด และแสดงเนื้อเรื่ อง
อย่างละครนอก แต่งตัวแบบละครนอก แต่ยังคงเอกลักษณ์ของละครชาตรีคือ มีเพลงปี่
พาทย์ทำนองเพลงชาตรีตอนแรกลงโรง และมีการรำซัดก่อนการแสดง

ที่มา : นันท์ทยา ลำดวน.2531.วรรณคดีการละคร.กรุงเทพมหานคร : โอ .เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.


ใบความรู้ที่ 3 : ละครใน
ละครในเป็ น ละครรำประเภทหนึ ่ ง เกิ ด ที ห ลั ง ละครนอก เรี ย กว่ า ละครใน
มีผู้สันนิษฐานว่า อาจมาจากละครนางใน หรือ ละครในวัง เพราะผู้แสดงเป็นนางใน ต่อ
มาถึงสมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการเล่นผสมชายหญิง โดยผู้หญิงเป็นตัวหลัก ผู้ชายเป็นตัว
ประกอบ ละครในได้วิธีแสดงมาจากละครนอกคือมีการรำประกอบเพลงหรือรำร้องบทร้อง
หรือบทเจรจา แต่ละครในจะรำประณีตกว่า บทร้องใช้บรรยายเหตุการณ์ในเรื่องและบอก
กิริยาของตัวละครเช่นเดียวกัน มีบทเจรจาแทรกบทร้อง เพื่อทบทวนความในบทร้อง บท
ร้องมักขึ้นต้นว่า เมื่อนั้น...บัดนั้น...

การแสดงละครในมุ่งเน้นที่ตัวละครงามทั้งรูปร่างและเครื่องแต่งตัว รำงาม เพลง


เพราะ บทกลอนเสนาะ และปี่พาทย์ไพเราะ ทำให้ดำเนินเรื่องช้า เพลงร้องเนิบนาบ ต้องมี
ต้นเสียงร้องและเจรจาแทนตัวละครเพื่อไม่ให้ตัวละครเหนื่อยเกินไป หรือช่วยตัวละครที่ร้อง
ไม่เพราะ อีกทั้งตัวละครในต้องเคร่งครัดด้านประเพณี ตัวละครต้องวางตัวให้เหมาะสมกับ
ฐานะในเรื่อง ขณะเล่นไม่ขว้างปาของแข็งหรือของมีคมต่อหน้าพระที่นั่ง ตัวละครนั่งลงแล้ว
เสื อ กอาวุ ธ ไปตามพื ้ น โรงแทน การแสดงบทริ ษ ยา สงสั ย ประจบสอพลอ ดู ห มิ่ น
ดีใจ ร้องไห้ ไม่สำคัญสำหรับละครใน
เรื่องที่ใช้แสดง ถือเป็นประเพณีว่าแสดง 3 เรื่องคือ อิเหนา รามเกียรติ์ และ
อุณรุท แต่หลังสมัยรัชกาลที่ 6 คือเรื่อง อิเหนา
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันละครในกับละครนอกต่างกันน้อยมาก เพราะ ละครนอกมัก
ใช้ผู้หญิงแสดงอย่างละครใน แตกต่างกันเพียงวิธีแสดงแบบไม่เคร่งครัดประเพณีและเรื่องที่
ใช้แสดง

ที่มา : นันท์ทยา ลำดวน.2531.วรรณคดีการละคร.กรุงเทพมหานคร : โอ .เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.


ใบความรู้ที่ 4 : ละครพันทาง
ละครพันทาง เป็นละครที่เกิดใหม่สมัยรัชกาลที่ 5 ผู้ให้กำเนิดละครพันทางคือ
เจ้าพระยามหินทรศักดิดำรง ท่านได้ไปเห็นละครตะวันตกเกิดความรู้สึกว่าแปลกใหม่ดี
จึงนำความคิดนั้นมาปรับปรุงละครนอกที่ท่านได้เป็นเจ้าของคณะละครอยู่ให้แปลกใหม่บ้าง

เจ้าพระยามหินทรศักดิดำรงได้นำเรื่องราชาธิราชมาเล่น โดยแต่งบทและวิธีรำใหม่
เช่นใส่ท่าที่น่าจะเป็นท่ารำของมอญ พม่า ลงไป แต่ยังไม่ทิ้งการรำหลักแบบไทย ท่าที่
แปลกใหม่คือท่ารำโยนตัวของตัวละครที่เป็นมอญ การเจรจาทำให้เสียงแปร่งไปจากไทย
เพื่อให้รู้สึกว่าเป็นชาวมอญหรือพม่า ต่อมาได้ดัดแปลงให้แปลกใหม่ขึ้นอีก คือให้เล่นเรื่อง
ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา ได้นำการรำแบบงิ้วมาใช้กับตัวละครฝ่ายจีน (พระ
เจ้ากรุงต้าฉิง) การร้องและดนตรีเป็นแบบไทยแต่ใส่เครื่องดนตรีจีนไปด้วย เรื่องพระอภัย
มณี มีฝรั่งลังกา เช่น ละเวงและอุศเรน ตัวละครฝ่ายฝรั่งแต่งตัวอย่างฝรั่ง นางละเวงแต่ง
อย่างราชินีอังกฤษ วางท่าแบบฝรั่ง ไม่รำ ถือพัดหรือผ้าเช็ดหน้าประกอบ

ละครพันทางแสดงเหมือนละครนอก ใช้การรำประกอบเพลง และรำประกอบบท


ร้องหรือบทเจรจา แต่รำเพลงใช้ไม่บ่อยนัก ใช้บทร้องดำเนินเรื่อง บทเจรจาเป็นเพียงบท
แรก ดำเนินเรื่องเร็ว แทรกตลกขบขัน แสดงบทสมจริงตามเชื้อชาติตัวละคร

เรื่องที่ใช้แสดงละครพันทาง คือ เรื่องที่มีตัวละครหลากหลายเชื้อชาติ เช่น พระลอ


ราชาธิราช พระอภัยมณี ไซ่ฮั่น

ที่มา : นันท์ทยา ลำดวน.2531.วรรณคดีการละคร.กรุงเทพมหานคร : โอ .เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.


ใบความรู้ที่ 5 : ละครดึกดำบรรพ์
ละครดึกดำบรรพ์ เป็นละครที่ปรับปรุงใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ผู้เป็นเจ้าของคณะ
ละครดึกดำบรรพ์ คือ เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ คำว่า “ดึกดำบรรพ์” แยกได้
ออกเป็นคำว่า ดึกดำ และ บรรพ์ ดึกดำ มาจากล้ำลึก แปลว่า เก่าแก่ หรือแต่กาลก่อน
โรงละครดึกดำบรรพ์จึงน่าจะหมายถึง โรงละครที่เล่นแต่เรื่องเก่าแก่แต่กาลก่อน (เล่นเรื่อง
ที่เคยใช้เล่นละครนอกและละครในมาแล้ว)
บทละครดึกดำบรรพ์ เขียนเป็นตอน ๆ เฉพาะที่เห็นว่าจะเล่นได้สนุก ไม่เขียนตลอด
เรื่องอย่างบทละครนอก บทละครใน ความพิเศษที่ต่างจากละครอื่นคือ บทร้องและบท
เจรจามีความสำคัญเท่ากัน และบทละครไม่มีคำบอกกิริยาอาการของตัวละคร ผู้แสดง
แสดงกิริยาอาการเอง จึงเหลือเพียงบทที่ใช้ตอบโต้เท่านั้น ซึ่งต่างจากบทละครนอก
และบทละครในที่จะมีการบรรยายกิริยาของตัวละครในบทด้วย
ผู้แสดงนั้นเป็นหญิงแสดงเกือบทั้งหมด ผู้ชายเป็นเพียงตัวประกอบ วิธีแสดงเหมือน
ละครนอกคือ ดำเนินเรื่องเร็ว ตัวละครรำ ร้อง เจรจาเอง ถือว่าการแสดงบทเป็นส่วน
สำคัญ ต้องแสดงอารมณ์ให้ชัดเจนสมจริงทั้งโศก ดีใจ ร้องไห้ เพราะละครชนิดนี้ไม่มีบท
บอกกิริยาอาการของตัวละคร รู้ได้จากตัวแสดงเท่านั้น อย่างไรก็ตามละครดึกดำบรรพ์ต้อง
อวดความงามของตัวละคร ตัวละครร้อง รำ พูดเอง คนที่จะเล่นละครนี้ได้ต้อง รูปร่างดี รำ
สวย เสียงดี ร้องเพราะ นอกจากความสมจริงด้านการแสดงอารมณ์แล้วยังจัดฉากให้
สมจริงอีกด้วย เช่น เมื่อจัดฉากป่าใช้สัตว์จริงอย่าง นก ค้างคาว ไก่ ไว้ในฉากป่าด้วย
เรื่องที่ใช้เล่นละครดึกดำบรรพ์ คือ สังข์ทอง คาวี มณีพิชัย อิเหนา สังข์ศิลป์ชัย
ศกุนตลา ท้าวแสนปม เป็นต้น

ที่มา : นันท์ทยา ลำดวน.2531.วรรณคดีการละคร.กรุงเทพมหานคร : โอ .เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.


ใบความรู้ที่ 6 : ละครร้อง
ละครร้อง เกิดขึ้นปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ผู้ให้กำเนิดคือ ร.6 โดยทรงเลียนแบบมา
จากละครตะวันตก ใช้ศิลปะการร้องดำเนินเรื่อง แบ่งออกเป็นละครร้องล้วน ๆ ใช้ท่าทาง
อย่างสามัญหรืออาจรำแทรกบ้าง คือเรื่องสาวิตรี และละครร้องสลับพูดหรือ ละคร
ปรีดาลัย ผู้ให้กำเนิดคือ พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ โดยนำเค้ามาจาก
ละครบังสาวันของมลายู มักเล่นเรื่อง พระลอ ตุ๊กตายอดรัก เรื่องที่มีชื่อเสียงคือ เรื่อง
ขวดแก้วเจียระไน เหตุที่เรียกละครร้องสลับพูดว่าละครปรีดาลัยนี้เพราะ ย้ายมาเล่นที่โรง
ละครปรีดาลัย ละครที่เล่ นโรงนี้แล้วมีชื่อเสียงคือ สาวเครือฟ้า ซึ่งดัดแปลงมาจากละคร
โอเปร่า ของ บุคซินี่ เดิมเป็นเรื่องอันเศร้ารันทดของสาวญี่ปุ่นกับนายทหารหนุ่มอเมริกัน
นำมาดัดแปลงเป็นความรักของสาวเหนือกับนายทหารหนุ่มจากกรุงเทพฯ

ละครร้องสลับพูดสมัยแรกใช้ท่า รำและดนตรีอย่างละครรำ มีต้นเสียงร้อง และตัว


ละครเจรจาเองแสดงบนเวที เปลี่ยนฉากตามท้องเรื่อง สิ่งที่แปลกใหม่คือ เล่นเรื่องที่แต่ง
ใหม่ คนดูไม่เคยรู้เรื่องนั้นมาก่อน ผู้แสดงมีทั้งชายหญิง ต่อมาเมื่อละครร้องสลับพูดมาเล่น
ที่โรงละครปรีดาลัย จึงมีการเปลี่ยนแปลงคือ ไม่ใช้ท่ารำ ใช้ท่าทางสามัญในชีวิตประจำวัน
แทน มีต้นเสียงร้องบรรยายเรื่อง (ผู้แสดงที่เล่นที่โรงละครปรีดาลัย เป็นหญิงล้ว น
แต่ปจั จุบันกรมศิลปากรใช้ชายจริงหญิงแท้ )

บทละครปรีดาลัยจะเขียนแบ่งการแสดงเป็นชุด ๆ แต่ละชุดจะบอกลักษณะฉากไว้
ด้วย เนื้อเรื่องมีแต่บทร้องไม่มีบทเจรจา เวลาแสดงตัวละครคิดบทพูดเอง การแสดงแต่
ละครั้งบทพูดจึงไม่เหมือนกัน

ที่มา : นันท์ทยา ลำดวน.2531.วรรณคดีการละคร.กรุงเทพมหานคร : โอ .เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.


ใบความรู้ที่ 7 : ละครพูด
ละครพูด เป็นละครที่ใช้ศิลปะการพูดในการดำเนินเรื่องเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีการรำ
มีแต่การพูด นั่ง ยืน เดิน ตามกิริยาสามัญ ศิลปะของการพูดอยู่ที่สำเนียงในการเจรจา
สีหน้าที่แสดงออก ท่าทาง จังหวะ และความสัมพันธ์ของทั้งหมดที่กล่าวมา

ละครพูดนี้เริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ 5 การแสดงละครพูดในสมัยแรก ๆ ผู้แสดงเป็น


ชายล้วน ไม่มีการเขียนบท ตัวละครเจรจาไปตามเรื่องที่นัดแนะกันไว้ การแสดงแต่ละครั้ง
บทเจรจาจึ ง ต่ า งกั น ในปี พ.ศ.2422 มี ก ารแสดงละครพู ด เรื ่ อ ง นิ ท ราชาคริ ต
บทพระราชนิพนธ์ของ ร.5 นับเป็นการแสดงบทละครพูดที่แสดงตามบทที่เขียนไว้เป็น
ครั้งแรก ผู้แสดงเป็นชายล้วน

ในสมัยร.6 ทรงมีส่วนเกี่ยวข้องกับการละครมายาวนาน ทรงเป็นผู้พระราชนิพนธ์ ไว้


จำนวนมากมีทั้งบทพูดร้อยแก้ว บทละครพูดคำกลอน บทละครพูดคำฉันท์ โดยเฉพาะบท
ละครพูดเรื่อง หัวใจนักรบ วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เป็น ยอดบทละครพูดความเรียง มัทนะ
พาธาเป็นบทละครพูดคำฉันท์ อีกทั้งมีละครพูดที่แปลมาจากตะวันตก คือ เวนิสวาณิช ร่วม
ฝึกซ้อม กำกับการแสดงและร่ว มแสดงละครหลายครั้ง เช่น เรื่อง ปล่อยแก่ การที่ทรงมี
บทบาทเกี่ยวกับละครพูดมาก จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งละครพูด

บทละครพูดนี้แบ่งออกเป็น บทละครพูดล้วน ๆ กับละครพูดสลับลำ

1.ละครพูดล้วน ๆ แบ่งเป็น ละครพูดความเรียง เช่น หัวใจนักรบ เห็นแก่ลูก


ละครพูดคำกลอน เช่น พระร่วง เวนิสวาณิช ตามใจท่าน ละครพูดคำฉันท์ เช่นเรื่อง
มัทนะพาธา
2. ละครพูดสลับลำ ดำเนินเรื่องด้วยการพูดและร้อง แต่ยึดพูดเป็นหลัก โดยใช้บท
ร้องเป็นส่วนประกอบ
ละครพูดเป็นของแปลกใหม่สำหรับประชาชนมาก ร.6 ทรงใช้ประโยชน์จากละคร
พูดทั้งความบันเทิง และอบรมจิตใจของประชาชนให้รักชาติ และใช้ในการกุศล

ที่มา : นันท์ทยา ลำดวน.2531.วรรณคดีการละคร.กรุงเทพมหานคร : โอ .เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.


ที่มา : นันท์ทยา ลำดวน.2531.วรรณคดีการละคร.กรุงเทพมหานคร : โอ .เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.

You might also like