You are on page 1of 10

~๑~

ศิลปะการประพันธ์ในวรรณคดีไทย

ศิลปะการประพันธ์ในวรรณคดี ศิลปะในการสร้างสรรค์วรรณคดีให้มีความงาม ความไพเราะ และความหมายเป็นที่


จับใจผู้อ่านนั้นเรียกว่า วรรณศิลป์ กลวิธีการประพันธ์ที่สำคัญที่จะกล่าวถึงมีดังนี้ การเล่นเสียง การเล่นคำ และการใช้ภาพพจน์
๑. การเล่นเสียง
การเล่นเสียง คือ การสรรคำให้มีเสียงสัมผัสเป็นพิเศษกว่าปกติเพื่อให้เกิดทำนอง เสียงที่ไพเราะน่าฟัง มีทั้ง
การเล่นเสียงพยัญชนะ การเล่นเสียงสระ และการเล่นเสียงวรรณยุกต์
๑.๑ การเล่นเสียงพยัญชนะ คือ การใช้พยัญชนะเดียวกันหลายพยางค์ติด ๆ กัน กล่าวคือ ใช้คำที่มีเสี ยง
พยัญชนะเสียงเดียวกัน เช่น จิบ – จับ – เจา – เจ่า – เจ้า
๑.๒ การเล่นเสียงสระ คือ การใช้สัมผัสสระเดียวกันหลายพยางค์ติด ๆ กัน กล่าวคือ ใช้คำคล้องจองที่มีเสียงสระ
เดียวกัน เช่น คล้อย ค่อย คอย
๑.๓ การเล่นเสียงวรรณยุกต์ คือ การใช้คำที่ไล่ระดับเสียง ๒ หรือ ๓ ระดับเป็นชุด ๆ ไป เช่น ปา – ป่า –ป้า –
ป๊า – ป๋า

*หมายเหตุ ๑. สัมผัสพยัญชนะ คือ การใช้คำที่มีเสียงพยัญชนะเสียงเดียวกัน เช่น เพื่อน-พ้อง


๒. สัมผัสสระ คือ การใช้คำคล้องจองที่มีสระเดียวกัน เช่น อา-สา

๒. การเล่นคำ
การเล่นคำ คือ การสรรคำมาเรียงร้อยในคำประพันธ์ โดยพลิกแพลงให้เกิดความหมายพิเศษและแปลกออกไป
จากที่ใช้กันอยู่ เพื่ออวดฝีมือของกวี มีการเล่นคำพ้อง การเล่นคำซ้ำ และการเล่นเชิงถาม
การเล่นคำ ที่จะกล่าวในที่นี้มี ๓ อย่าง คือ การเล่นคำพ้อง การเล่นคำพ้อง การเล่นคำซ้ำ และการเล่นคำเชิงถาม
๒.๑ การเล่นคำพ้อง คือ การนำคำพ้องมาใช้คู่กันให้เกิดความหมายที่สัมพันธ์กัน เช่น “เบญจวรรณจับวัลย์มาลี
เหมือนวันเจ้าวอนพี่ให้ตามกวาง”
กวีเล่นคำที่มีเสียง "วัน" ๓ คำ คือ (เบญจ) วรรณ – วัลย์ - วัน โดยนำมาใช้ให้มีความหมายสัมพันธ์กันได้
อย่างกลมกลืน การเล่นคำพ้องเป็นกลวิธีการประพันธ์ที่กวีนิยมมาก นอกจากคำพ้องเสียงดังข้างต้นแล้วนั้น ยังมีคำพ้องรูปอีก
เช่น “เห็นรอหักเหมือนหนึ่งรักพี่รอรา แต่รอท่ารั้งทุกข์มาตามทาง” คำว่า รอ คำแรก คือ หลักปักกั้นกระแสน้ำ ส่วน “รอ”
ในคำว่า “รอรา” คือหยุด และในคำว่า “รอท่า” หมายถึง คอย
๒.๒ การเล่นคำซ้ำ คือ การนำคำคำเดียวมาใช้ซ้ำ ๆ ในที่ใกล้ ๆ กันเพื่อย้ำความหมายของข้อความให้หนักแน่น
มากยิ่งขึ้น
๒.๓ การเล่นคำเชิงถาม คือ การเรียงถ้อยคำให้เป็นประโยคเชิงถาม แต่เจตนาที่แท้จริงไม่ได้ถาม เพราะไม่
ต้ อ งการคำตอบ แต่ ต ้ อ งการเน้ น ให้ ข ้ อ ความมี น ้ ำ หนั ก ดึ ง ดู ด ความสนใจและให้ ผ ู ้ ฟ ั ง คิ ด ตาม เรี ย กว่ า การใช้ ป ระโยค
“คำถามเชิงวาทศิลป์”
๓. การใช้ภาพพจน์
การใช้ภาพพจน์ คือ การใช้ถ้อยคำเพื่อสร้างจินตนาการ (คือภาพในใจ หรือภาพที่เรามองเห็นในความคิด) แก่
ผู้อ่านหรือผู้ฟัง โดยเรียบเรียงถ้อยคำให้พิเศษกว่าปกติ ได้แก่
๓.๑ อุปมา คือ การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมที่มี คำว่า เหมือน เช่น ดุจ ดั่ง ราว
ราวกับ เปรียบ ประดุจ เฉก เล่ห์ ปาน ประหนึ่ง เพียง เพี้ยง พ่าง ปูน ฯลฯ เช่น ปัญญาประดุจดัง่ อาวุธ
~๒~

๓.๒ อุปลักษณ์ คือ เป็นการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง อุปลักษณ์จะไม่กล่าวโดยตรงเหมือนอุปมา แต่ใช้


วิธีกล่าวเป็นนัยให้เข้าใจเอาเอง มักมีคำแสดงความเปรียบว่า เป็น หรือ คือ เช่น เธอคือดอกฟ้า แต่ฉันนั้นเป็นแค่หมาวัด
๓.๓ ปฏิพากย์ คือ การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกันมากล่าว อย่างกลมกลืนกันเพื่อเพิ่ม
ความหมายให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น เช่น เลวบริสุทธิ์ บาปบริสุทธิ์ สวยเป็นบ้า สนุกฉิบหาย
๓.๔ อติพจน์ คือ โวหารที่กล่าวเกินความจริง เพื่อเน้นความรู้สึก ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ลึกซึ้ง เช่น
คิดถึงใจจะขาด คอแห้งเป็นผง ร้อนตับจะแตก หนาวกระดูกจะหลุด คิดถึงเธอทุกลมหายใจเข้าออก
๓.๕ บุคลาธิษฐาน หรือ บุคคลวัต คือการกล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่มีชีวิตหรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ แสดงกิริยา
อาการและความรู้สึกได้เหมือนมนุษย์ เช่น
มองซิ..มองทะเล บางครั้งมันบ้าบิ่น
ทะเลไม่เคยหลับใหล บางครั้งยังสะอื้น
เห็นลมคลื่นเห่จูบหิน กระแทกหินดังครืนครืน
ใครตอบได้ไหมไฉนจึงตื่น ทะเลมันตื่นอยู่ร่ำไป
ฟ้าหัวเราะเยาะข้าชะตาหรือ ดินนั้นถืออภิสิทธิ์ชีวิตข้าเองไม่เกรงดินฟ้า
๓.๖ สัญลักษณ์ คือ การเรียกชื่อสิ่ง ๆ หนึ่งโดยใช้คำอื่นมาแทน ไม่เรียกตรง ๆ เกิดจากการเปรียบเทียบและ
ตีความซึ่งใช้กันมานานจนเป็นที่เข้าใจและรู้จักกันโดยทั่วไป เช่น
สีดำ แทน ความตาย ความชั่วร้าย
กุหลาบแดง แทน ความรัก
ดอกไม้ แทน ผู้หญิง
๓.๗ นามนัย คือ การใช้คำซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง คล้าย ๆ สัญลักษณ์ แต่
ต่างกันตรงทีน่ ามนัยนั้นจะดึงเอาลักษณะบางส่วนของสิ่งหนึ่งมากล่าว ให้หมายถึงส่วนทั้งหมด เช่น
เมืองย่าโม หมายถึง จังหวัดนครราชสีมา
ทีมสิงโตคำราม หมายถึง อังกฤษ
เก้าอี้ หมายถึง ตำแหน่ง
มือที่สาม หมายถึง ผู้ก่อความเดือดร้อน
๓.๘ สัทพจน์ หมายถึง ภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงดนตรี เสียงสัตว์ เสียงคลื่น เสียงลม เสียง
ฝนตก เสียงน้ำไหล ฯลฯ การใช้ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้เหมือนได้ยินเสียงนั้นจริง ๆ เช่น ลูกหมาร้องบ๊อก ๆ ๆ ลุกนก
ร้องจิ๊บๆๆ ลูกแมวร้องเหมียว ๆ ๆ เปรี้ยง ๆ ดังเสียงฟ้าฟาด

แบบฝึกทักษะ
ให้นักเรียนตอบคำถามจากคำประพันธ์ต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

เอียงอกเทออกอ้าง อวดองค์ อรเอย


เมรุชุบสมุทรดินลง เลขแต้ม
อากาศจักจารผจง จารึก พอฤๅ
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม อยู่ร้อนฤๅเห็น
๑. โคลงบาทแรกมีเสียงพยัญชนะอะไร มีกี่เสียง อะไรบ้าง .......................................................
๒. โคลงบาทที่ ๒ มีเสียงพยัญชนะอะไร มีกี่เสียง อะไรบ้าง .....................................................
~๓~

๓. โคลงบาทที่ ๓ มีเสียงพยัญชนะอะไร มีกี่เสียง อะไรบ้าง ......................................................


๔. โคลงบาทที่ ๔ มีเสียงพยัญชนะอะไร มีกี่เสียง อะไรบ้าง .....................................................
๕. คำว่า “เจา – เจ่า – เจ้า” ตามโคลงบทนี้ มีเสียงสัมผัสสระอะไร สระเอา
๖. เปลก็ไกวดาบก็แกว่งแข็งหรือไม่ ไม่อวดหยิ่งหญิงไทยมิใช่ชั่ว
ไหนไถถากกรากกรำไหนทำครัว ใช่รู้จักแต่จะยั่วผัวเมื่อไร
มีการใช้ภาพพจน์ใด การเล่นคำเชิงถาม
๗. “แต่แม่เที่ยวเซซังเสาะแสวงทุกแห่งห้องหิมเวศ ทั่วประเทศทุกราวป่า สุดสายนัยนาที่แม่จะตามไปเล็งแล สุดโสต
แล้วที่แม่จะซับทราบฟังสำเนียง สุดสุรเสียงที่แม่จะร่ำเรียกพิไรร้อง สุดฝีเท้าที่แม่จะเยื้องย่องยกย่างลงเหยียบดิน ก็สุดสิ้นสุด
ปัญญาสุดหาสุดค้นเห็นสุดคิด จะได้พานพบประสบรอยพระลูกน้อยแต่สักนิดไม่มีเลย”
กวีเล่นคำแบบใด การเล่นคำซ้ำ คำว่า สุด ซ้ำกันหลายแห่ง
๘. ไม่คลาดเคลื่อนเหมือนองค์พระทรงเดช แต่ดวงเนตรแดงดูดังสุริย์ฉาย
ทรงกำลังดังพระยาคชพลาย มีเขี้ยวคล้ายชนนีมีศักดา
มีการใช้ภาพพจน์ใด อุปมา
๙. โอ้เจ้าดวงสุริยันจันทรทั้งคู่ของแม่เอย แม่ไม่รู้เลยว่าเจ้าจะหนีพระมารดาไปสู่พาราใดไม่รู้ที่
มีการใช้ภาพพจน์ใด อุปลักษณ์
๑๐. เรียมร่ำน้ำเนตรถ้วม ถึงพรหม
พาหมู่สัตว์จอมจม ชีพม้วย
มีการใช้ภาพพจน์ใด อติพจน์

แบบทดสอบ
เรื่อง ศิลปะการประพันธ์ในวรรณคดีไทย

คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว
๑. คำประพันธ์ในข้อใดใช้โวหารภาพพจน์ต่างจากข้ออื่น
ก. ดังหิ่งห้อยจะแข่งแสงอาทิตย์ เห็นผิดระบอบบุราณมา
ข. นางนวลจับนางนวลนอน เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
ค. กูไม่ครั่นคร้ามขามใคร จะหักให้เป็นภัสม์ธุลีผง
ง. ท้าวกะหมังกุหนิงแข็งขัน ได้ฟังกริ้วโกรธดังเพลิงกัลป์
๒. “ด้วยระเด่นบุษบาโฉมตรู ควรคู่ภิรมย์สมสอง
ไม่ต่ำศักดิ์รูปชั่วเหมือนตัวน้อง ทั้งพวกพ้องสุริย์วงศ์พงศ์พนั ธุ์”
คำประพันธ์ข้างต้นใช้โวหารภาพพจน์ใด
ก. อุปลักษณ์ ข. อวพจน์ ค. อติพจน์ ง. อุปมา

๓. ข้อใดใช้โวหารภาพพจน์ด้วยวิธีการอุปลักษณ์
~๔~

ก. ลมระเริงลู่หวิวพลิ้วระลอก สัพยอกยอดไม้ไปลิ่วล่อง
ข. เพลินฟังวังเวงเพลงเรไร พิณพาทย์ไพรกล่อมขับสำหรับดง
ค. โอ้โอ๋อกพระชนกชนนีนจี้ ะแตกครากสักเจ็ดภาคภินทนาการ
ง. มีทั้งว่านยาสารพันอุดมดับโรคาพยาธิดุจทิพยโอสถปรากฏคุณประสิทธิ์ประสาทสุพรรณนา
๔. คำประพันธ์ในข้อใดไม่มีความเปรียบแบบอุปมา
ก. เจ้าก็สะดุ้งตระหนกตกพระทัยไหวหวั่นขวัญไม่มี ดั่งโปดกมฤคีอันอ่อนแอ
ข. ทุกข์ทั้งนีก้ ็มิเท่าถึงทุกข์พระแม่เจ้าจะกลับเข้ามาแต่ป่า จะมิได้เห็นหน้าเราพี่น้องแล้วก็จะทรงกันแสงไห้
ค. น้ำในสาครจะน้อยลงก็หาไม่ เสมือนหนึ่งน้ำพระทัยทูลกระหม่อมแก้ว
ง. ท่านมาออกปากขอสองกุมารพระลูกรักเราดังดวงตา เราก็ตดั ห่วงเสน่หาให้แก่พราหมณ์เฒ่า
๕. “ตั้งแต่จากเมืองมาอยู่ไพรเข็ญใจไร้ทรัพย์แสนทวี มาพบขุมนิธีที่ธรรมชาติกม็ ีใจประสาทหรรษา”
คำประพันธ์ข้างต้นใช้โวหารภาพพจน์ใด
ก. อุปมา ข. อุปลักษณ์ ค. อธิพจน์ ง. บุคลาธิษฐาน
๖. “อกนางพระธรณีจะแยะแยกแตกกระจายอยู่รอนรอน” คำประพันธ์ข้างต้นใช้โวหารภาพพจน์ใด
ก. อุปมา ข. อุปลักษณ์ ค. สัญลักษณ์ ง. บุคลาธิษฐาน
๗. “กุมแสงกรายกรนาด ยุรยาตรอย่างไกรสร” คำประพันธ์ข้างต้นใช้โวหารภาพพจน์ใด
ก. อุปมา ข. อุปลักษณ์ ค. อติพจน์ ง. อวพจน์
๘. “สลัดไดใดสลัดน้อง แหนงนอน ไพรฤา
เพราะเพือ่ มาราญรอน เศิกไสร้”
คำประพันธ์ข้างต้นใช้โวหารภาพพจน์ใด
ก. เล่นคำ ข. สัทพจน์ ค. อัพภาส ง. เล่นเสียงวรรณยุกต์
๙. ความในข้อใดใช้วิธีการ “ปฏิพากษ์” ในการนำเสนอสาร
ก. ความเกิดดับธรรมดาอุทาหรณ์ ข. วนเวียนหว่างทุกข์สุขทุกวันวาร
ค. เกิดแล้วก่อล่อแล้วเร้นเย็นแล้วร้อน ง. วนและวิ่งคืนและวันหวั่นและไหว
๑๐. ศิลปะการประพันธ์ข้อใดใช้อัพภาสเลียนเสียงธรรมชาติ
ก. ชะโดดุกกระดี่โดด สลาดโลดยะหยอยหยอย
กระเพื่อมน้ำพะพร่ำพรอย กระฉอกฉานกระฉ่อนชล
ข. พลหัวหน้าพะกัน แกว่งดาบฟันฉะฉาด แกว่งดาบฟันฉะฉัด
ซ้องหอกซัดยะยุ่ง ซ้องหอกพุ่งยะย้าย
ค. หางนกยูงระย้าเรี่ยคลอเคลียน้ำ แพนดอกฉ่ำช้อยช่อวรวิจิตร
งามดั่งเปลวเพลิงป่ามานิรมิต สร้อยโสภิตอภิรมุ พุ่มหัวใจ
ง. เพชรน้ำค้างค้างหล่นบนพรมหญ้า เย็นหยาดฟ้ามาฝันหลงวันใหม่
เคล้าเคลียหยอกดอกหญ้าอย่างอาลัย เมื่อแฉกดาวใบไผ่ไหวตะวัน
๑๑. “ดูงขู ู่ฝูดฝู้ พรูพรู” กวีใช้ภาพพจน์ชนิดใดมากที่สดุ ในคำประพันธ์ข้างต้น
ก. อุปมา ข. อุปลักษณ์ ค. บุคลาธิษฐาน ง. สัทพจน์

๑๒. “พิราบบินกลับมาหลังคาโบสถ์ พายุโหดยังกระหึ่มกระเหี้ยนหือ


เมื่อแก้วตกลงแตกก็แหลกรื้อ แต่แก้วคือแก้วพร่างอยู่กลางใจ”
~๕~

คำประพันธ์ข้างต้นใช้ภาพพจน์ชนิดใดบ้าง
ก. สัญลักษณ์ บุคลาธิษฐาน อุปลักษณ์ ข. สัญลักษณ์ ปฏิพากย์ อุปลักษณ์
ค. อุปลักษณ์ บุคลาธิษฐาน อติพจน์ ง. อุปลักษณ์ อติพจน์ อุปมา
๑๓. ข้อใดมีการซ้ำคำที่มคี วามหมายเหมือนกันทุกคำ
ก. ทั้งหนาวลมหนาวพรมน้ำค้างพราว ไหนจะหนาวซากผาศิลาเย็น
ข. เห็นรอหักเหมือนหนึ่งรักพี่รอรา แต่รอท่ารั้งทุกข์มาตามทาง
ค. ระกำกายมาถึงท้ายระกำบ้าน ระกำย่านนี่ก็ยาวนะอกเอ๋ย
ง. ถึงเกาะเกิดเกิดเกาะขึ้นกลางน้ำ เหมือนเกิดกรรมเกิดราชการหลวง
๑๔. ข้อใดใช้โวหารภาพพจน์ต่างกับข้ออื่น
ก. ดอกไม้แย้มกลีบยิ้มริมบึงช่างตรึงจิต ลมจุมพิตเท่าไรก็ไม่หมอง
ข. เห็นกรวดทรายชายทะเลชโลธร ละเอียดอ่อนดังละอองสำลีดี
ค. เป็นฟองฟุ้งรุ่งเรืองอยู่รางราง กระเด็นพร่างพรายพราวราวกับพลอย
ง. อันพริกไทยใบผักชีเหมือนสีกา ต้องโรยหน้าเสียสักหน่อยอร่อยใจ
๑๕. ข้อใดใช้โวหารภาพพจน์ต่างกับข้ออื่น
ก. แล้วเทวัญวางจันทะวงศ์แอบ ให้นอนแนบเคียงเขนยขนิษฐา
พลางภิรมย์ชมสองกษัตรา ดังดาราวางเรียงไว้เคียงกัน
ข. พิศพี่ผ่องเพียงสุรยิ ์ฉัน พิศน้องพียงจันทรส่องปะทะรัศมี
ค. พิศไท้ไท้ว่าไท้ ทินกร
พิศอ่อนคือศศิธร แจ่มฟ้า
ง. งามดังสุริยันมะลันตอน เคียงดวงศศิธรมะลอนฉู
จะดูไหนวิไลกระไรตู สมสองครองคู่จะลูเจ
๑๖. คำประพันธ์ในข้อใดใช้กลวิธีการเล่นคำลักษณะเดียวกับตัวอย่างนี้
“ทั้งจากทีจ่ ากคลองเป็นสองข้อ ยังจากกอก็มาขึน้ ในคลองขวาง”
ก. นกขมิ้นจับเถาขมิ้นเครือ คาบเหยื่อเผื่อลูกแล้วโผบิน
ข. สาลิกาพาหมู่เที่ยวจู่บิน เขาคูคู่ถิ่นอยู่ริมรก
ค. กระทาปักหาตัวเมียจ้อ ชูคอปีกกางหางหก
ง. ค้อนทองร้องรับกันป๊กป๊ก นกคุ่มเปรียวปรื๋อกระพือบิน
๑๗. ข้อใดไม่ใช้ภาพพจน์
ก. นี่จนใจไม่มีเท่าขีเ้ ล็บ ขี้เกียจเก็บเลยทางมากลางหน
ข. ถึงห้วยโป่งเห็นธารละหานไหล คงคาใสปลาว่ายคล้ายคล้ายเห็น
ค. เสียงสินธุดุดั้นลั่นพิลึก สะท้านสะทึกโถมฟาดฉาดฉาดฉาน
ง. เหมือนนกฟ้องดวงจันทร์ให้ผันดู คนมาสู่ซ่องพักมันรักษา

อ่านคำประพันธ์ต่อไปนี้ แล้วตอบข้อ ๑๘ - ๑๙
(๑) เป็นกลุ่มกลุ่มกลุม้ กายเหมือนทรายซัด ต้องนั่งปัดแปะไปมิได้นอน
~๖~

(๒) ครั้นยามเย็นเห็นเหมือนหนึ่งเมฆพลุ่ง เป็นควันฟุ้งราวกับไฟไกลหนักหนา


(๓) ดูเหย้าเรือนหาเหมือนอย่างไทยไม่ หลังคาใหญ่พื้นเล็กเป็นโรงผี
(๔) เราเป็นมนุษย์สดุ รักต้องลักพา เหมือนอินทราตรึงส์ตรัยเป็นไรมี
๑๘. ข้อใดใช้ภาพพจน์ชนิดอุปลักษณ์
ก. ข้อ ๑ ข. ข้อ ๒ ค. ข้อ ๓ ง. ข้อ ๔
๑๙. ข้อใดไม่ใช้ภาพพจน์ชนิดอุปมา
ก. ข้อ ๑ ข. ข้อ ๒ ค. ข้อ ๓ ง. ข้อ ๔
๒๐. ข้อใดไม่มีการเล่นคำ
ก. เบญจวรรณวันจากเจ้า กำสรดเศร้าแทบวายวาง
ข. นามแก้วดอกแก้วคือ แก้วเนตรพี่นี้ใช่ใคร
ค. งามทรงวงดังวาด งามมารยาทนาดกรกราย
ง. นางแย้มดุจเรียมยล น้องแย้มยิ้มพริ้มพรายงาม
๒๑. จงบอกโวหารภาพพจน์ “ฟ้าหัวเราะเยาะเย้ย เหวยเหวยฟ้า”
ก. อุปมา ข. สัทพจน์ ค. สัญลักษณ์ ง. บุคคลวัต
๒๒. จงบอกโวหารภาพพจน์ “ครืนครืนใช่ฟ้าร้อง เรียมครวญ”
ก. สัทพจน์ ข. อุปลักษณ์ ค. บุคคลวัต ง. อุปมา
๒๓. จงบอกโวหารภาพพจน์ “ความเอ๋ยความรู้ เป็นเครื่องชูชี้ทางสว่างไสว”
ก. อุปมา ข. อุปลักษณ์ ค. สัทพจน์ ง. บุคคลวัต
๒๔. จงบอกโวหารภาพพจน์ “ผู้ปกครองมีหน้าที่ประคับประคองผ้าขาวนั้น ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต”
ก. อุปลักษณ์ ข. บุคคลวัต ค. สัญลักษณ์ ง. อุปมา
๒๕. จงบอกโวหารภาพพจน์ “น่าแสนสำราญจิต ทั้งสิบทิศรุง่ เรื่องดั่งเมืองสวรรค์”
ก. อุปมา ข. สัทพจน์ ค. อุปลักษณ์ ง. บุคคลวัต
๒๖. ข้อความต่อไปนีเ้ ป็นโวหารภาพพจน์ชนิดใด “ไม้ซออ้อเอียดเบียดออด ลมลอดไล่เลี้ยวเรียวไผ่”
ก. อติพจน์ ข. สัทพจน์ ค. สัญลักษณ์ ง. บุคคลวัต
๒๗. ข้อความต่อไปนีเ้ ป็นโวหารภาพพจน์ชนิดใด “เขาเปลี่ยนตุ๊กตาหน้ารถเสมอๆ”
ก. อติพจน์ ข. สัทพจน์ ค. สัญลักษณ์ ง. บุคคลวัต
๒๘. ข้อความต่อไปนีเ้ ป็นโวหารภาพพจน์ชนิดใด “ก้อยกุง้ ปรุงประทิ่น วางถึงลิ้นดิน้ แดโดย รสทิพย์หยิบมาโปรย ฤาจะ
เปรียบเทียบทันขวัญ”
ก. อติพจน์ ข. สัทพจน์ ค. สัญลักษณ์ ง. บุคคลวัต
๒๙. ข้อความต่อไปนีเ้ ป็นโวหารภาพพจน์ชนิดใด “เมื่อฟ้าหลั่งน้ำตา หมู่เมฆาพาหัวร่อ แผ่นดินร่วมยั่วล้อ ลมรุ่มด่าซ้ำเติม”
ก. อติพจน์ ข. สัทพจน์ ค. สัญลักษณ์ ง. บุคคลวัต
๓๐. ข้อความต่อไปนีเ้ ป็นโวหารภาพพจน์ชนิดใด “เรียมร่ำน้ำเนตรถ้วม ถึงพรหม”
ก. อติพจน์ ข. สัทพจน์ ค. สัญลักษณ์ ง. บุคคลวัต

ตอนที่ ๒ ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
๑. ข้อใดมีโวหารภาพพจน์เช่นเดียวกับ “หางนกยูงระย้าเรี่ยคลอเคลียน้ำ”
~๗~

ก. ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย
ข. เมื่อลมพัดใบไม้ สะบัดโบกมือเรียกใคร
ค. สุดเอยสุดสวาท โฉมประหลาดล้ำเทพอัปสร
ง. เหลือบเห็นสตรีวไิ ลลักษณ์ พิศพักตร์ผ่องเพียงแขไข
๒. “สายธาราดั่งนาฬิกาแก้ว แว่วแว่วจ๊อกจ๊อกเซาะซอกหิน” ข้อความที่ขีดเส้นใต้ใช้ภาพพจน์ชนิดใด
ก. สัทพจน์ ข. สัญลักษณ์ ค. บุคคลวัต ง. อุปมา
๓. ข้อใดใช้ภาพพจน์แบบอุปลักษณ์
ก. เธอคือโคมทองของชีวิตพี่ ข. เสียงรถด่วนขบวนสุดท้าย
ค. ฝากเพลงนี้มากับสายลมผ่าน ง. หากมีเวลามาเยี่ยมบ้านนาบ้างเธอพี่เน้อ
ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ ข้อ ๔ - ๗
ก. อุปมา ข. อุปลักษณ์ ค. บุคคลวัต ง. สัทพจน์
๔. “ธรรมชาติต่างสลดหมดความคะนองทุกสิง่ ทุกอย่าง” เป็นโวหารภาพพจน์ชนิดใด (ค)
๕. “บุหลันลอยเลื่อนฟ้าไม่ราคี รัศมีส่องสว่างดัง่ กลางวัน” เป็นโวหารภาพพจน์ชนิดใด (ก)
๖. “เธอคือสายน้ำฉ่ำชื่นใจ จากวันนี้ไปฉันไม่ทุกข์ตรม” เป็นโวหารภาพพจน์ชนิดใด (ข)
๗. “น้ำพุพุ่งซ่าไหลมาฉาดฉาน เห็นตระการมันไหลจอกโครมจอกโครม” เป็นโวหารภาพพจน์ชนิดใด (ง)
๘. นวนิยายเรื่องใดผู้แต่งตั้งชื่อเรื่องโดยใช้ภาพพจน์แบบปฏิพากย์
ก. เขียนฝันด้วยชีวิต ข. เก้าอี้ขาวในห้องแดง
ค. เด็ดดอกฟ้า ง. หงส์สะบัดลาย
๙. ข้อใดใช้โวหารเกินจริง
ก. โอ้โอ๋อกพรชนกชนนีนจี้ ะแตกคราสักเจ็ดภาคภินทนาการ
ข. พลางโอบอุ้มจุมพิตพักตร์พระหลานรักสองสายสมรเสมอเนตร
ค. พระหลานหลวงประโคมดุรยิ ะดนตรีแตรสังข์ทั้งปวงกึกก้องทั้งห้องพระโรงชัย
ง. ก็เหตุไฉน จึ่งไอ้พวกพาลมิจฉาชาติชวนกันสรรแสร้งแกล้งสบประมาทนินทาต่อหน้าพระที่นั่ง
๑๐. ข้อใดใช้ภาพพจน์ “นามนัย”
ก. น้องฝันว่าได้เอื้อมถึงอากาศ ประหลาดเด็ดสุริยาลงมาล่าง
ข. เอ็งไปป่าพาไปแต่วันทอง ที่นั่งรองนั้นได้มาแต่ไหน
ค. ครั้นรุ่งแจ้งแสงสางสว่างหล้า ทองประศรีตื่นตาหาช้าไม่
ง. เจ้าลืมนอนซ่อนพุ่มกระทุ่มต่ำ เด็ดใบบอนช้อนน้ำในไร่ฝ้าย
๑๑.ข้อใดใช้ภาพพจน์เช่นเดียวกับ “ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน”
ก. เรียมร่ำน้ำเนตรถ้วม ถึงพรหม
ข. มองซิมองทะเล เห็นลมคลื่นเห่จูบหิน
ค. วันนี้แพรสีแสดห่มแดดกล้า ห่มทุ่งหญ้าป่าเขาอย่างเหงาหงอย
ง. ดูน้ำวิ่งกลิ้งเชี่ยวเป็นเกลียวกลอก กลับกระฉอกฉาดฉัดฉวัดเฉวียน

๑๒. ข้อใดเป็นโวหารภาพพจน์ปฏิพากย์
ก. อันของสูงแม้ปองต้องจิต ถ้าไม่คิดปีนป่ายจะได้หรือ
~๘~

ข. ฉันเอาฟ้าห่มให้หายหนาว ดึกดื่นกินแสงดาวต่างข้าว
ค. เธอตายเพื่อจะปลุกให้คนตื่น เธอตายเพื่อผู้อื่นนับหมื่นแสน
ง. โอ้หนาวอื่นพอขืนอารมณ์ได้ แต่หนาวใจยากแค้นนี้แสนเข็ญ
๑๓. “เป็นการใช้คำที่มีความหมายตรงกันข้ามหรือขัดแย้งมาเข้าคู่กันทำให้ผู้อ่านสะดุดใจ” เป็นความหมายของภาพพจน์
ชนิดใด
ก.ปฏิพากย์ ข. สัญลักษณ์ ค. อติพจน์ ง. อุปลักษณ์
๑๔. “ภพนี้มิใช่หล้า หงส์ทอง เดียวเอย
กาก็เจ้าของครอง ร่วมด้วย” โคลงนี้ใช้ภาพพจน์ชนิดใด
ก. อุปลักษณ์ ข. สัญลักษณ์ ค. อติพจน์ ง. ปฏิพากย์
๑๕. ข้อใดมีการใช้สัญลักษณ์
ก. ทะเลไม่เคยหลับใหล ใครบอกได้ไหมไฉนจึงตื่น
ข. เค้าโมงจับโมงอยู่เอกา เหมือนพี่นับโมงมาเมื่อไกลนาง
ค. เมฆหมอกที่ผ่านมาในชีวิต ฉันพิชิตมันได้ด้วยใจหาญ
ง. อยากจะบอกว่ารักสักเท่าฟ้า หมดภาษาจะพิสจู น์พูดรักได้
๑๖. “เพชรน้ำค้างค้างหล่นบนพรมหญ้า เย็นหยาดฟ้ามาฝันหลงวันใหม่
เคล้าเคลียหยอกดอกหญ้าอย่างอาลัย เมื่อแฉกดาวใบไผ่ไหวตะวัน”
คำประพันธ์ที่ขีดเส้นใต้ เป็นโวหารภาพพจน์ชนิดใด
ก. นามนัย ข.อุปมา ค. บุคคลวัต ง. สัทพจน์
๑๗. “วังเอ๋ยวังเวง หง่างเหง่งย่ำค่ำระฆังขาน
ฝูงวัวควายผ้ายลาทิวากาล ค่อยค่อยผ่านท้องทุ่งมุ่งถิน่ ตน”
คำประพันธ์นี้มีการใช้โวหารภาพพจน์ชนิดใด
ก. นามนัย ข. บุคคลวัต ค. อุปมา ง. สัทพจน์
๑๘. ข้อใดไม่แสดงภาพพจน์แบปฏิพากย์
ก. ตัวเจ้าจะสำราญระริกรื่น ข้านี้นับวันคืนละห้อยไห้
ข. เจ้ามาได้ผัวดีมีทรัพย์มาก มาลืมเรือนเพื่อนยากแต่เก่าก่อน
ค. เพราะถิ่นนี้มีฟ้ากว้างกว่ากว้าง มีความมืดที่เวิ้งว้างสว่างไสว
ง. บ้างเป็นเงินเกลี้ยงเกลาขาวสะอาด บ้างเป็นชาติทองแท้แลอร่าม
๑๙. ข้อใดเป็นการใช้โวหารภาพพจน์แบบกล่าวเกินจริง
ก. ฉันแว่วเสียงเธอเพ้อครวญริมทะเลแห่งนี้
ข. ถ้าวันนี้ยังมีเขาอยู่ เราคงยืนสู้ดูโลกอย่างทระนง
ค. ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
ง. เพราะเธอเหมือนหลักไม้ตั้งตรงนั่น ไม้เลื้อยอย่างฉันได้พันอาศัย

๒๐. “พอแดดพริ้มยิ้มพรายกับชายฟ้า โลกก็จ้าแจ่มหวังด้วยรังสี” ข้อใดใช้โวหารภาพพจน์เช่นเดียวกับคำประพันธ์นี้


ก. สนธยาจะใกล้ค่ำ คำนึงหน้าเจ้าตาตรู
~๙~

ข. บ้านข้าอยู่บนดอย เมฆหมอกลอยเต็มท้องฟ้า
ค. บุปผชาติชูสีและมีกลิ่น อยู่ในถิ่นที่ไกลเช่นไพรสณฑ์
ง. หางนกยูงระย้าเรี่ยคลอเคลียน้ำ แพนดอกฉ่ำร้อยช่อวรวิจิตร
๒๑. ข้อใดมีการใช้สัญลักษณ์
ก. ฟังเทศน์หาวนอน ดูละครตาสว่าง
ข. ผลัดแผ่นดินเปลี่ยนราชย์ เยียววิวาทชิงฉัตร
ค. หนึ่งบิดามารดาคณาญาติ ให้ผุดผาดผาสุกเป็นนิจสิน
ง. อุระเรียมเกรียมตรมอารมณ์ร้อน ระอาอ่อนอกใจมิใคร่หาย
๒๒. ข้อใดเป็นโวหารภาพพจน์ชนิดสัทพจน์
ก. มองซิมองทะเล เห็นลมคลื่นเห่จูบหิน
ข. ติ๊กตอก เจ้านาฬิกา ปลุกฉันให้มาอยู่ในความรัก
ค. ปลิดปลิวเคว้งคว้าง ชีวิตฉันดั่งใบไม้ที่หลุดลอย
ง. เอาความขมขื่นไปทิ้งแม่โขง ให้มันไหลลงทะเล
๒๓. ข้อใดมีลักษณะเป็นโวหารภาพพจน์กล่าวเกินจริง
ก. สถานที่ประชาชนไม่บังอาจจุดตะเกียง ขุนนางอาจจุดกองไฟได้
ข. คนบางประเภทเป็นเหมือนตุ้มอันหนักที่คอยบั่นทอนความเจริญทางปัญญา
ค. วันเวลาอย่างนี้ใครบางคนอาจจะมองเห็นดวงจันทร์เศร้าโศกและดวงดาวคร่ำครวญ
ง. ถึงตายแล้วเกิดใหม่สักแสนชาติ ที่จะให้ละความจงรักภักดีต่อชาตินั้นอย่าได้หวังเลย
๒๔. ข้อใดไม่ใช่โวหารภาพพจน์ชนิดอติพจน์
ก. ร้อนตับจะแตก ข. เหนื่อยสายตัวแทบขาด
ค. ฉันรักเธอเท่าฟ้า ง. หลอกหลอนหัวใจฉันไปขยี้
๒๕. คำประพันธ์ในข้อใดไม่ใช่สัทพจน์
ก. ใต้เตียงเสียงหนูก็กุกกก แมงมุมทุ่มอกที่ริมฝา
ข. อีวันทองตัวมันเหมือนรากแก้ว ถ้าตัดโคนขาดแล้วก็ใบเหี่ยว
ค. กระโดดเผาะเกาะผับขยับคืบ ถีบกระทืบมิใคร่หลุดสุดแสยง
ง. ครืนครืนพิรณุ รั่วฟ้า สายฟ้าฟาดเปรี้ยงเปรี้ยงเสียงสยอง
๒๖. “น้ำพระเนตรพุทธรูปหยดจูบพื้น เจดีย์ยืนอาลัยโบสถ์ไหวหวั่น
กำแพงเมืองล้มพาดพินาศพลัน อดีตวันทรุดร่วงเมืองหลวงเดิม” ข้อความข้างต้นใช้โวหารภาพพจน์ใด
ก. อธิพจน์ ข. ปฏิพากย์ ค. บุคคลวัต ง. อุปลักษณ์
๒๗. ข้อใดใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติมากที่สดุ
ก. รุกขชาติดาษดูระดะป่า สกุณาจอแจประจำจับ
ข. ข่อยมะขามตามทางสล้างเรียง นกเขาเคียงคู่คูประสานคำ
ค. จนไก่เถื่อนเตือนขันสนั่นแจ้ว ดุเหว่าแว่วหวาดหมายว่าสายสมร
ง. ย่ามกระสอบกรอบแกรบกระไกรกริก กลักพริกพลิกแพลงตะแคงหงาย

๒๘. ข้อใดไม่ใช้ความเปรียบแบบอุปมา
ก. มะลิวลั ย์พันพุ่มคัดเค้า ระดูดอกออกขาวทั้งราวป่า
~ ๑๐ ~

บ้างเลื้อยเลี้ยวเกี้ยวกิ่งเหมือนชิงช้า ลมพาพัดแกว่งดังแกล้งไกว
ข. หางนกยูงระย้าเรี่ยคลอเคลียน้ำ แพนดอกฉ่ำช้อยช่อวรวิจิตร
งามดั่งเปลวเพลิงป่ามานิรมิต สร้อยโสภิตอภิรมุ พุ่มหัวใจ
ค. ลมระเริงลู่หวิวพลิ้วระลอก สัพยอกยอดไม้ไปลิ่วล่อง
แล้วใบไม้ก็ไหวส่ายขึงข่ายกรอง ทอแสงทองประทับซับน้ำค้าง
ง. เพียรทองงามดั่งทอง ไม่เหมือนน้องห่มตาดพราย
กระแหแหห่าชาย ดั่งสายสวาทนาดนวยจร
๒๙. “เราต่างคงความกร่อนในความแกร่งและคงความเข้มแข็งในความเปราะสะอืน้ ไห้ในเสียงหัวเราะ และเงียบเสนาะ
เสียงดนตรี” ข้อความนี้ใช้โวหารภาพพจน์ชนิดใด
ก. อุปมา ข. อติพจน์ ค. สัญลักษณ์ ง. ปฏิพากย์
๓๐. ข้อใดเป็นการใช้โวหารภาพพจน์แบบสัญลักษณ์
ก. มโหรีจากราวป่ามาเรื่อยรี่ ราชินีแห่งน้ำค้างจะห่างหัน
ฝักต้อยติ่งแตกจังหวะประชันกัน จักจัน่ จี่เจื้อยรับเรื่อยร้อง
ข. ไผ่ซออ้อเอียดเบียดออด ลมลอดไล้เลี้ยวเรียวไผ่
ออดแอดแอดออดยอดไกว แพใบไล้น้ำลำคลอง
ค. ลมหนาวเริ่มล่องมาจากฟ้าแล้ว พรมจูบแผ่วเจ้าพระยาโดยฟ้าฝัน
คลื่นคลี่เกลียวแก้วม้วนกับนวลจันทร์ กระซิบสั่งซ่านกระเซ็นเป็นลำนำ
ง. งามทรงวงดั่งวาด งามมารยาทนาดกรกราย
งามพริ้มยิ้มแย้มพราย งามคำหวานลานใจถวิล

**************************************************************************************************

You might also like