You are on page 1of 2

ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง คำควบกล้ำ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง อักษรหรรษา


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง อักษรควบกล้ำ (ร ควบ)
รายวิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท13101 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

คำควบกล้ำ
คำควบกล้ำ หมายถึง คำที่มีพยัญชนะสองตัวเขียนเรียงติดกันอยู่ต้นพยางค์และใช้
สระเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงกล้ำเป็นพยางค์เดียวกัน เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์นั้น
จะเป็นไปตามเสียงพยัญชนะตัวหน้า
คำควบกล้ำมี 2 ชนิด คือคำควบกล้ำแท้ และคำควบกล้ำไม่แท้
1. คำควบกล้ำแท้ เป็นคำทีม่ ีพยัญชนะ ๒ ตัว ร่วมสระเดียวกัน และออกเสียง
พยัญชนะพร้อมกันทั้ง ๒ ตัว ได้แก่ พยัญชนะ ร ล ว ควบกับพยัญชนะตัวหน้า
ตัวอย่าง ร ควบ เช่น กร : กรอง กรุง เกรง กรอก
ขร : ขรุขระ ขรึม ขรัว
คร : ครัว ครู ใคร
ตร : ตรอง ตรี ตรา
ปร : โปรด เปรี้ยว ปราด
พร : พร พร้อม พริม้
2. คำควบกล้ำไม่แท้ เป็นคำทีม่ ีพยัญชนะ ๒ ตัว ร่วมสระเดียวกัน แต่ออกเสียง
พยัญชนะตัวหน้าเพียงตัวเดียว ได้แก่ พยัญชนะที่มี ร ควบอยู่ด้วย แต่ไม่ออกเสียง ร
หรือออกเสียง เป็นเสียงอืน่ ไป
ตัวอย่าง ร ควบ เช่น จร : จริง
ซร : ไซร้
ศร : เศร้า เศรษฐี
สร : สร้าง เสริม สรง สระ
บทอ่าน เรื่อง ฝึกอ่านคำควบกล้ำ (ร ควบ)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง อักษรหรรษา
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง อักษรควบกล้ำ (ร ควบ)
รายวิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท13101 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

คำชี้แจง ให้นักเรียนฝึกอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ “ร” ต่อไปนี้

กระจง กระจาด กระเจี๊ยบ กระแซะ


กระท่อม กระแทก กระบอก กระแต
กระโถน ตะกร้อ ประกอบ ประเคน
ประเดี๋ยว ประถม ประทัด ประเมิน
ไมตรี ชาวประมง ต้นกะเพรา ต้นตะไคร้
นกกระจอก ม้ากระดก ครอง คราด
ประกาศ ประพฤติ ประเภท ประมาท
ประมุข ประวัติ ประสงค์ ประหยัด
ประหลาด ปรากฏ เปรต โปรด
โปรตีน ไปรษณีย์ มะปริง กิโลกรัม

You might also like