You are on page 1of 19

หน่ วยการเรียนรู้ ท่ ี ๒

บทละคร เ ร่ ื อ ง อ ิ
เ ห น า
ตอน ศ ึ
ก ก ะ ห ม ั ง ก ุ ห นิ ง
หน่วยการเรี ยนรู้ที่ ๒ บทละคร เรื่ อง อิเหนา
ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

ตัวชีว้ ัด
 วิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้น (ท ๕.๑ ม. ๔-๖/๑)
 วิเคราะห์ลกั ษณะเด่นของวรรณคดีเชื่อมโยงกับการเรี ยนรู้ทางประวัติศาสตร์และวิถีชีวติ ของสังคมใน
อดีต (ท ๕.๑ ม. ๔-๖/๒)
 วิเคราะห์และประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ ของวรรณคดีและวรรณกรรมในฐานะที่เป็ นมรดก
ทางวัฒนธรรมของชาติ (ท ๕.๑ ม. ๔-๖/๓)
 สังเคราะห์ขอ้ คิดจากวรรณคดีและวรรณกรรม เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวติ จริ ง (ท ๕.๑ ม.
๔-๖/๔)
 ท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยานตามที่กำหนด และบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ
และนำไปใช้อา้ งอิง (ท ๕.๑ ม. ๔-๖/๖)
หน่วยการเรี ยนรู้ที่ ๒ บทละคร เรื่ อง อิเหนา
ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

เรื่องราวการต่ อสู้
ในศึกกะหมังกุหนิง
บทนำเรื่อง
บทละคร เรื่อง อิเหนา
ตอน
ศึกกะหมังกุหนิง

บทวิเคราะห์ วรรณคดีศึกษา
หน่วยการเรี ยนรู้ที่ ๒ บทละคร เรื่ อง อิเหนา
ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

บทละคร เรื่ อง อิเหนา เป็ นพระราชนิพนธ์


ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รับการยกย่อง
จากวรรณคดีสโมสรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็ นยอด
ของบทละครรำที่เพียบพร้อมด้วยสุ นทรี ยภาพ
ทั้งด้านนาฏศิลป์ และวรรณศิลป์ หมายความว่าเป็ นบทละคร
ที่ประกอบด้วยท่ารำอันงดงามประณี ต และถ้อยคำไพเราะจับใจ
คุณลักษณะอันเลิศของวรรณคดีเรื่ องนี้ เป็ นผลสื บเนื่องมาจากการ
ที่ทรงพระราชนิพนธ์อย่างประณี ตพิถีพิถนั ยิง่
หน่วยการเรี ยนรู้ที่ ๒ บทละคร เรื่ อง อิเหนา
ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

วรรณคดีเรื่ องนี้มีเค้าเรื่ องมาจากชวาที่เรี ยกว่า นิทานปันหยี


ซึ่งไทยรับวรรณคดีเรื่องนีม้ าตั้งแต่ สมัยอยุธยา ดังปรากฏในบทกลอนตอนท้ายเรื่ องว่า

อันอิเหนาเอามาทำเป็ นคำร้อง สำหรับงานการฉลองกองกุศล


ครั้งกรุ งเก่าเจ้าสตรี เธอนิพนธ์ แต่เรื่ องต้นตกหายพลัดพรายไป
หากพระองค์ทรงพิภพปรารภเล่น ให้รำเต้นเล่นละครคิดกลอนใหม่
เติมแต้มต่อติดประดิษฐ์ไว้ บำรุ งใจไพร่ ฟ้าข้าแผ่นดิน

คำว่า “เจ้าสตรี ” สันนิษฐานว่าหมายถึง เจ้าฟ้ ากุณฑลและเจ้าฟ้ า


มงกุฎ พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศ ในสมัยอยุธยาตอนปลาย
ทรงนิพนธ์จากเรื่ องเล่าของข้าหลวงซึ่งเป็ นชาวมลายู
หน่วยการเรี ยนรู้ที่ ๒ บทละคร เรื่ อง อิเหนา
ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

เรื่ องอิเหนาในสมัยนั้นมี ๒ ฉบับ คือ อิเหนาใหญ่และอิเหนาเล็ก


เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้ าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนา
พระบรมราชจักรี วงศ์ ได้ทรงรวบรวมวรรณคดีสำคัญในสมัยอยุธยา และ
ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่ อง ดาหลัง ตามเนื้อเรื่ องในเรื่ องอิเหนาใหญ่
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครใน
เรื่ องอิเหนา ขึ้นอีกฉบับหนึ่ง โดยทรงดำเนิน เนื้อเรื่ อง
ตามเรื่อง อิเหนาเล็ก เพื่อใช้แสดงละครในพระราชฐาน

แม้วา่ วรรณคดีเรื่ องนี้จะมีเค้าเรื่ องมาจากชวา


แต่ได้ทรงสอดแทรกวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี
และชีวติ ความเป็ นอยูข่ องสังคมไทย จนราวกับว่า
เป็ นวรรณคดีไทยอย่างแท้จริ ง
หน่วยการเรี ยนรู้ที่ ๒ บทละคร เรื่ อง อิเหนา
ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

บทละคร เรื่ อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง


เป็ นตอนที่มีเนื้ อเรื่ องเร้าใจชวนให้ติดตาม มีถอ้ ยคำ
สำนวนที่ไพเราะ ทั้งยังใช้ความเปรี ยบที่คมคาย ตัวละคร
ในเรื่ องล้วนแสดงอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ท้ งั รัก
เกลียด สุ ข ทุกข์ ทำให้ผอู ้ ่านเข้าใจความขัดแย้งระหว่าง
ตัวละครที่โยงใยไปสู่ เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างชัดเจน
นักเรี ยนควรสังเกตและพิจารณาลักษณะนิสยั ของ
ตัวละครที่สะท้อนธรรมชาติของมนุษย์ปุถุชนที่ใกล้เคียง
กับชีวติ จริ ง และควรพิจารณาว่าสาเหตุสำคัญที่สุดของ
ศึกสงครามครั้งนี้เกิดจากสิ่ งใด
หน่วยการเรี ยนรู้ที่ ๒ บทละคร เรื่ อง อิเหนา
ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

บทละคร เรื่ อง อิเหนา ก่อนถึงตอน ศึกกะหมังกุหนิง กล่าวถึงกษัตริ ยว์ งศ์เทวัญ ๔ องค์ คือ ท้าวกุเรปัน
ท้าวดาหา ท้าวกาหลัง และท้าวสิ งหัดส่ าหรี
ท้าวกุเรปันมีโอรสที่เก่งกล้าสามารถ ชื่อ อิเหนา หรื อระเด่นมนตรี ท้าวดาหามีธิดาที่มีรูปโฉมงดงามมาก
ชื่อ บุษบา กษัตริ ยท์ ้ งั สองนครได้ให้โอรสและธิดาหมั้นกันไว้ต้ งั แต่วยั เยาว์ตามประเพณี เมื่อเจริ ญวัยขึ้นอิเหนา
ต้องไปช่วยปลงศพพระอัยกีที่เมืองหมันหยา จึงได้พบกับจินตะหราธิดาท้าวหมันหยา ซึ่งอิเหนาหลงใหลจนไม่ยอม
กลับเมือง เมื่อท้าวกุเรปันมีสารไปเรี ยกตัวอิเหนาให้กลับมาอภิเษกกับบุษบา อิเหนาก็ออกอุบายปลอมตัวเป็ นโจรป่ า
ชื่อ มิสาระปันหยี
หน่วยการเรี ยนรู้ที่ ๒ บทละคร เรื่ อง อิเหนา
ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

มิสาระปันหยีเดินทางและสู้รบมี
ชัยชนะต่อกษัตริ ยห์ ลายเมือง จนกระทัง่ มาถึง
เมืองหมันหยา ท้าวหมันหยาเกรงกลัวจึงยก
จินตะหราให้ อิเหนาหลงนางจินตะหรามาก
และปฏิเสธที่จะอภิเษกกับบุษบา
เมื่อท้าวดาหาทราบเรื่ องก็กริ้ ว และประกาศว่า
หากมีใครมาสู่ ขอบุษบาก็จะยกให้
หน่วยการเรี ยนรู้ที่ ๒ บทละคร เรื่ อง อิเหนา
ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

ฝ่ ายระตูจรกาอนุชาของระตูเมืองล่าสำให้ช่างวาดไปวาดรู ป
ธิดาเมืองต่าง ๆ เพื่อจะเลือกเป็ นคู่ครอง ช่างวาดรู ปได้วาดรู ปบุษบา
๒ รู ป องค์ปะตาระกาหลาซึ่งเป็ นเทวอัยกาดลบันดาลให้วหิ ยาสะกำ
โอรสท้าวกะหมังกุหนิงได้ไปรู ปหนึ่ง ส่ วนอีกรู ปหนึ่งช่างวาดรู ปนำ
มาให้จรกา เมื่อจรกาเห็นรู ปก็หลงรักบุษบา จึงอ้อนวอนระตูล่าสำ
ให้ไปสู่ขอบุษบา เช่นเดียวกับวิหยาสะกำซึ่งหลงใหลความงามของ
บุษบา จนท้าวกะหมังกุหนิงต้องส่ งราชทูตมาสู่ ขอนางแต่กไ็ ม่ทนั
กาล เพราะท้าวดาหาประกาศยกบุษบาให้จรกาก่อนแล้ว
ศึกสงครามเพราะความงามของบุษบาจึงเกิดขึ้น ดังเนื้อเรื่ องต่อไป
หน่วยการเรี ยนรู้ที่ ๒ บทละคร เรื่ อง อิเหนา
ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

ท้าวกะหมังกุหนิงปรึ กษากับระตูปาหยังและท้าวประหมัน
ว่าจะทำสงครามกับเมืองดาหา เพื่อชิงนางบุษบามาให้วหิ ยาสะกำโอรสของ
พระองค์ อนุชาทั้งสองทูลทัดทาน แต่ทา้ วกะหมังกุหนิงไม่ฟังเพราะ
ความรักลูก ท้าวกะหมังกุหนิงจึงส่ งทูตให้นำพระราชสารไปทูลขอนางบุษบา
แต่ทา้ วดาหาปฏิเสธ ท้าวกะหมังกุหนิง จึงยกทัพมาตีเมืองดาหา โดยไม่ฟัง
คำทำนายของโหรว่าดวงชะตาของพระองค์และวิหยาสะกำถึงฆาต
ฝ่ ายท้าวดาหาขอให้ทา้ วกุเรปัน ท้าวกาหลัง และท้าวสิ งหัดส่ าหรี
ส่ งทัพมาช่วยรบ ท้าวกุเรปันจึงส่ งพระราชสารสัง่ ให้อิเหนายกทัพจาก
เมืองหมันหยามาช่วยรบ และอีกสองเมืองก็ส่งกองทัพมาสมทบ
หน่วยการเรี ยนรู้ที่ ๒ บทละคร เรื่ อง อิเหนา
ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

เมื่อทั้งสองฝ่ ายเผชิญหน้ากัน สังคามาระตาเข้าต่อสู้กบั วิหยาสะกำ และสังหาร


วิหยาสะกำตาย ท้าวกะหมังกุหนิงกริ้ วมาก จะเข้าต่อสู้กบั สังคามาระตา อิเหนาจึงเข้าขวางไว้
และต่อสู้กบั ท้าวกะหมังกุหนิง ทั้งสองมีฝีมือทัดเทียมกัน จนในที่สุดอิเหนาก็สามารถใช้กริ ช
สังหารท้าวกะหมังกุหนิงสิ้ นพระชนม์ กองทัพที่เหลือจึงแตกพ่ายไป
เมื่อเสร็ จศึก อิเหนาก็ไปเข้าเฝ้ าท้าวดาหาและได้พบกับบุษบาเป็ นครั้งแรก เกิดหลงรัก
และเสี ยดายที่ปฏิเสธนางไป จึงพยายามหาอุบายอยูเ่ มืองดาหาต่อเพื่อจะได้ไปร่ วมพิธีใช้บน
ที่เขาวิลิศมาหรากับนาง
แบบฝึ กห ัด เรือ ่ งอิเหนา ตอน หน่วยการเรี ยนรู้ที่ ๒ บทละคร เรื่ อง อิเหนา
ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

ึ ้แจงกะหม
ศคำชีก ังกุ ห นิ ง
: ให้นกั เรี ยนทำเครื่ องหมาย  หน้าข้อที่ถูกต้อง และทำเครื่ องหมาย × หน้าข้อที่ไม่ถูกต้อง
.............. ๑. บทพระราชนิพนธ์เรื่ องอิเหนามีเค้าความจริ งจากประวัติศาสตร์ของชวา
.............. ๒. อิเหนาได้รับยกย่องว่าเป็ นยอดของบทละครร้อง
.............. ๓. อิเหนา บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ ดำเนินเรื่ องตามอิเหนาเล็กของเจ้าฟ้ ามงกุฎ
.............. ๔. ไอระลังคะ หมายถึง อิเหนา
.............. ๕. ละครที่ใช้ตวั แสดงเป็ นชายล้วนคือละครนอก หรื อเรี ยกอีกอย่างหนึ่งว่า ละครปันหยี
.............. ๖. “เมื่อนั้น” เป็ นคำขึ้นต้นของกลอนบทละครใช้กบั ตัวละครที่มีศกั ดิ์สูง
.............. ๗. “โอด” เป็ นเพลงหน้าพาทย์ ใช้สำหรับการแสดงอาการร้องไห้
.............. ๘. อิเหนาเป็ นวรรณคดีที่เน้นด้านความไพเราะ ความงดงาม และการแสดงจินตนาการของกวี มากกว่าการเสนอ คดีโลกหรื อคดีธรรม
ต่างๆ
.............. ๙. อิเหนานิยมนำมาเล่นเป็ นละครใน ซึ่งนิยมใช้ตวั ละครเป็ นชายจริ งหญิงแท้ เพราะเป็ นเรื่ องเกี่ยวกับการรบและ การชิงรักหักสวาท
.............. ๑๐. อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิงที่เรี ยนนี้ เป็ นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔
หน่วยการเรี ยนรู้ที่ ๒ บทละคร เรื่ อง อิเหนา
ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

แนวคิดหลักของเรื่อง คือ ความรักของพ่อที่มีต่อลูก ท้าวกะหมังกุหนิงทำสงครามกับ


กรุ งดาหา เพราะต้องการชิงนางบุษบามาให้แก่โอรสของพระองค์ แม้พระอนุชาทั้ง ๒ พระองค์จะทัดทาน
การทำศึกนี้ แต่ทา้ วกะหมังกุหนิงก็ทรงไม่เชื่อ เนื่องจากรักโอรสมากจนไม่สามารถทนเห็นวิหยาสะกำ
ต้องทรมานใจได้ ดังปรากฏในคำประพันธ์วา่

แม้นวิหยาสะกำมอดม้วย พี่กค็ งตายด้วยโอรสา


ไหนไหนในจะตายวายชีวา ถึงเร็ วถึงช้าก็เหมือนกัน
ผิดก็ทำสงครามดูตามที เคราะห์ดีกจ็ ะได้ดงั ใฝ่ ฝัน
พี่ดงั พฤกษาพนาวัน จะอาสัญเพราะลูกเหมือนกล่าวมา

แนวคิดรอง เช่น ความกล้าหาญ การรักษาวาจาสัตย์ ความทุกข์ที่เกิดจากความรัก


หน่วยการเรี ยนรู้ที่ ๒ บทละคร เรื่ อง อิเหนา
ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

บทละคร เรื่ อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง มีจุดประสงค์ในการแต่งเพื่อใช้แสดงละครใน


ตัวละครเป็ นส่ วนสำคัญที่ทำให้เนื้อหาของเรื่ องน่าติดตาม โดยเฉพาะปมขัดแย้งของตัวละครที่มี
ความไม่เข้าใจกันในเรื่ องต่าง ๆ บทสนทนาสะท้อนอารมณ์ของตัวละครได้เด่นชัด ทำให้เนื้อหามีความ
สมจริ ง และสะเทือนอารมณ์

เมื่อพิจารณาปมขัดแย้ง ลักษณะนิสยั ตลอดจนการตัดสิ นใจ


ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ของตัวละครแล้ว จะเห็นได้วา่ ปัญหาของตัวละคร
สามารถเกิดขึ้นได้กบั ปุถุชนทัว่ ไป ที่ยงั มีความรัก โลภ โกรธ หลง ดัง
นั้น เนื้อหาในเรื่ องอิเหนาจึงสะท้อนให้เห็นสัจธรรมของมนุษย์ได้เป็ น
อย่างดี
หน่วยการเรี ยนรู้ที่ ๒ บทละคร เรื่ อง อิเหนา
ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

นอกจากอรรถรสที่ปรากฏในเนื้ อหา ยังพบคุณค่าในด้านความรู้ที่สอดแทรกอยูต่ ลอดเรื่ อง


เช่น ตอนที่อิเหนาสัง่ ให้เสนาจัดทัพ ดังคำประพันธ์ต่อไปนี้

บัดนั้น จึงมหาเสนาตำมะหงง
รับราชบัญชาพระโฉมยง                   ให้หยุดธงสำคัญสัญญา
แล้วรี บรัดจัดพลรณยุทธ                     ตั้งที่นามครุ ฑปักษา
วางกองเยื้องกันเป็ นฟันปลา               ให้โยธาคอยยิงชิงชัย

จากคำประพันธ์ขา้ งต้น กวีสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการจัดทัพตามแบบ ครุ ฑนาม


ที่เป็ นชื่อการตั้งค่ายกองทัพตามตำราพิชยั สงคราม
หน่วยการเรี ยนรู้ที่ ๒ บทละคร เรื่ อง อิเหนา
ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

วรรณศิลป์ ที่ปรากฏในบทละคร เป็ นส่ วนสำคัญที่ช่วยส่ งเสริ มเนื้อหาให้มีความน่าสนใจ


ตลอดจนแสดงให้เห็นถึงความสามารถของกวี ที่เลือกใช้ถอ้ ยคำที่ทำให้ผอู ้ ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ
โดยเลือกใช้ภาพพจน์ประเภทอุปมามาใช้เปรี ยบเปรยความรู้สึกของตัวละครกับธรรมชาติ
นอกจากการใช้อุปมา ยังพบศิลปะในการสรรคำเพื่อเล่นคำที่มีเสี ยงพ้องกัน
โดยนำชื่อชนิดของนกและชนิดของต้นไม้มาจับคู่กนั เช่น จากพรากจับจาก คือ
นกจากพราก กับ ต้นจาก
หน่วยการเรี ยนรู้ที่ ๒ บทละคร เรื่ อง อิเหนา
ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

ตัวอย่ างคำประพันธ์ ทใี่ ช้ ภาพพจน์ ประเภทอุปมา

แล้วว่าอนิจจาความรัก พึ่งประจักษ์ดงั่ สายน้ำไหล


ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็ นเกลียวไป ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา
สตรี ใดในพิภพจบแดน ไม่มีใครได้แค้นเหมือนอกข้า
ด้วยใฝ่ รักให้เกินพักตรา จะมีแต่เวทนาเป็ นเนืองนิตย์
โอ้วา่ น่าเสี ยดายตัวนัก เพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงช้ำจิต
จะออกชื่อลือชัว่ ไปทัว่ ทิศ เมื่อพลั้งคิดผิดแล้วจะโทษใคร

เนื้อหาในตอนนี้สื่อให้เห็นถึงอารมณ์เศร้าโศก จัดอยูใ่ นรสวรรรณคดีแห่งความเศร้า


หรื อเรี ยกว่า สั ลลาปังคพิสัย
หน่วยการเรี ยนรู้ที่ ๒ บทละคร เรื่ อง อิเหนา
ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

คุณค่าด้านแนวคิด ด้านเนื้ อหา และด้านวรรณศิลป์


ที่กล่าวมาเป็ นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้บทละคร เรื่ อง
อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง ถูกจัดให้เป็ นวรรณคดีมรดก
ที่ควรค่าแก่การศึกษาและเรี ยนรู้เพื่อเป็ นแบบอย่างใน
การประพันธ์บทร้อยกรอง

You might also like