You are on page 1of 19

1

รายงาน
เรื่อง อียิปต์

จัดทำโดย
นางสาว มณีมัญชุ์ ด้วงแสง เลขที่5
นางสาว ธัญพิชชา วงศ์คำษา เลขที่6
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
เสนอ
อาจารย์สุจินดา บุญมาก

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา
วิชา ประวัติศาสตร์ (ส32102)
โรงเรียนศรีรัตน์ราษฎร์นุเคราะห์
ตำบลทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
2

คำนำ
รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ วิชา ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่อง อียิปต์ และได้เข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน

ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านหรือนักเรียน นักศึกษา


ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด
ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และ
ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ
วันที่26/08/2565
3

สารบัญ
เรื่อง หน้า

ความเป็นมาของอียิปต์ 3-5
ช่วงเวลาประวัติศาสตร์ 6-8
กษัตริย์ที่ควรกล่าวถึง 8-9
ที่ตั้งและภูมิประเทศของอารยธรรมอียิปต์ 10
ลักษณะการปกครอง 11
ศิลปะอียิปต์โบราณ 12
จิตรกรรม 12
อียิปต์โปราณ์ 13
เทพเจ้าที่สำคัญของอียิปต์ 15-18
บรรณานุกรรม 19
4

ความเป็นมาของอียิปต์
อียิปต์เป็นประเทศที่อยู่ทางตอนบนของอาฟริกา มีแน่น้ำไนล์เป็นเส้นเลือดคอยหล่อเลี้ยงดินแดนนี้
ให้อุดมสมบูรณ์ ผู้ คนที่มาลงหลักปักฐานที่นี่มีหลักฐาน เชื่อได้ว่ามีมาตั้งแต่ยุคสมัยหินเก่า
และก็ยังเป็นไปได้อีกว่าผู้คนที่อยู่อาศัยที่นี่อยู่มาตั้งแต่สมัยหินเก่าจน ถึงสมัย ราชวงศ์ (ประมาณ
8000-3100) ปีก่อนศริศตกาลอีกด้วย ผู้คนแถบนี้นับว่าเป็นคนช่างคิดและมีวิยาการสูง
พวกเขามีความสามารถในการควบคุมแม่น้ำไนล์ที่จะต้องเอ่อท่วมฝั่งทุกปี
และยังสามารถมีกระบวนการทาง เกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
รู้เรื่องการผสมพันธุ์สัตว์อย่างเป็นระบบ การเก็บสะสมเมล็ดพันธุ์พืช ทำให้
ประเทศอียิปต์ในสมัยนั้นร่ำรวยขึ้นจนสามารถก่อสังคมขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ได้

สังคม อียิปต์โบราณนั้นมีการแบ่งหน้าที่ของชนชั้นอย่างชัดเจน มีชนชั้นพระที่คอยตอบสนองเรื่อง


ความต้องการทางด้านจิตใจ มีนักรบคอยป้องกันดินแดน
และยังสามารถถ่ายโอนแรงงานที่เป็นเกษตกรมา
เป็นแรงงานกรรมกรเพื่อก่อสร้างสิ่งก่อสร้างอันยิ่งใหญ่เช่น ปิรามิดได้อย่างไม่ยากเย็น

บาง ที่อียิปต์ตอนใต้ก็มีอำนาจมากกว่า เป็นลักษณะนี้อยู่นาน จนถึงสมัยกษัตริย์ เมเนส


(นักอียิปต์วิทยาสันนิษฐานว่าเป็นพระองค์เดียวกันกับราชันต์แมงป่อง) ฟาโรห์จาก
อียิปต์ตอนเหนือ ความสมดุลระหว่างสองเมืองก็เปลี่ยนแปลงไป ความเจริญก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้น
มีการพัฒนา อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินผา เครื่องโลหะต่างๆ
และเริ่มมีอักษรเฮียโรกลิฟฟิคใช้กันแล้ว นอกจากนียังมีความ เชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย
ดังนั้นจึงมีการคิดวิธีดองศพด้วยวิธีการทำมัมมี่ ช่วง
เวลาที่ถือว่าเป็นความรุ่งเรืองของอารธรรมอียิปต์ช่วงแรกคือช่วงอาณาจักร เก่า (2650-2150
ก่อนศริสตศักราช) เมืองหลวงเมืองแรกคือ ธีนิส ต่อมาเปลี่ยนไปอยู่ที่เมมฟิสในอียิปต์ตอนล่าง
ฟาโรห์ซึ่งเป็น ตำแหน่งกษัตริย์ของนครเป็นผู้เดียวที่อาจจะสั่งให้มีการก่อสร้างปิรามิด
เพื่อนเก็บศพของพระองค์
5

แต่ ก็ยังมีการรวมกันฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งในช่วงอาณาจักรกลาง
เมื่อโครงการชลประธามฟายุมเกิดขึ้น
และเมื่อฟาโรห์ขยายอำนาจของพระองค์ลงไปทางตอนใต้ทางนูเบีย
และทางตะวันออกเฉียงเหนือทางไซนาย
แต่ถึงแม้ว่าอียิปต์จะประสบความสำเร็จอย่างสูงในการรวบรวมและ ขยายดินแดน
แต่ช่วงยุคนี้อียิปต์ยังต้องเผชิญต่อการอพยพของชนเผ่าฮิกซอส ชนชาวเอเชียซึ่งทำให้อียิปต์ต้อง
ซบเซาลงอีก
จะผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากมาสู่การฟื้นตัวเต็มที่ก็ต้องผ่านมาถึงราชวงศ์ที่ 17 อียิปต์ก็ลุกขึ้นมา
โดดเด่นอีกครั้ง ช่วงนี้เป็นช่วงที่เรารู้จักกันในนามอาณาจักรใหม่ (1560-1085ก่อนค.ศ.)
มันเป็นศรรตวรรษ ใหม่ของสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ ไม่ว่าที่คาร์นัก อาบูเซมเบล หรือลักซอร์
หรือว่าเป็นสมบัติของตุตันคาเมน (ราชวงศ์ที่ 18)
หรือการเขียนหนังสือลงบนกระดาษปาปิรุสก็เกิดขึ้นในยุคนี้
เมื่อ มาถึงยุคของฟาโรห์อาเมนโนพิสที่ 4
อียิปต์มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นครั้งหนึ่งเมื่อมีการ
นำศาสนาที่มีเทพเจ้าองค์เดียวเข้ามานับถือ คือเทพอาตัน
เป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์มาบังคับใช้ในหมู่ประชาชน
ซึ่งแต่เดิมชาวไอยคุปต์นับถือเทำเจ้าหลายพระองค์อยู่แต่ก่อน
ว่ากันว่าการปฏิรูปศาสนาครั้งนี้ได้แรงสนับสนุน จากราชินีเนเฟอร์ติตี
ซึ่งเป็นราชินีที่มาจากดินแดนซึ่งนับถือเทพเจ้าองค์เดียว (ใหนๆก็พูดถึงขอเล่าซะหน่อย นะคือว่า
ตามประวัติ ราชินีองค์นี้มีสิริโฉมงดงามมาก เป็นเจ้าหญิงจากไมตานี ซึ่งเป็นอาณาจักรโบราณแห่ง
หนึ่งแถวๆทางเหนือของเมโสโปเตเมีย หลังจากใช้ชีวิตร่วกับอาเมนโฮเทปที่ 4 ได้ 12 ปี
ทั้งสองก็ไม่มีพระโอรส คงมีแค่พระราชธิดา 6 พระองค์ ซึ่งได้เป็นราชินีอียิปต์ถึง 2 พระองค์
ไม่แน่ใจว่าองค์โตหรือองค์รองที่สมรส กับซาเมนคาเร ส่วนพระธิดาองค์ที่ 3 สมรสกับตุตันคาเมน )
พระองค์ถือโอกาสเปลี่ยนชื่อจากอาเมนโอเทปที่4 เป็น อัคเคนาตัน (แปลว่าผู้รับใช้อาตัน)
แล้วย้ายเมืองหลวงแห่งใหม่ไปอยู่ที่ อัคเคนาตันซึ่งอยู่เหนือเมืองหลวงเก่า ธีบิส
ขึ้นไปทางเหนือประมาณ 300 กม.
6

(ปัจจุบันคือพื้นที่ของเมืองเทลแอลอามาร์นา)การกระทำครั้งนี้ของ
พระองค์ไม่เป็นที่พอใจแก่ข้าหลวงและประชาชนอย่างมาก จนเมื่อพระองค์สวรรคตในปี 1362
ซาเมนคาเร ซึ่งเป็นทั้งลูกเขยและผู้สำเร็จราชการร่วมมาแล้ว 3
ปีจึงขึ้นครองราชย์ต่อแต่ว่าไม่กี่เดือนก็ทรงสวรรคตไปอีก จนมาถึงราชวงศ์ที่ 18
ฟาโรห์ตุตันคาเมนก็ได้ย้ายเมืองหลวงกลับมาที่ธีบิสและเปลี่ยนศาสนาให้มีการ นับถือ
เทพเจ้าหลายองค ์เหมือนเมื่อก่อนจากราชวงศ์ที่ 20 เป็นต้นมา อียิปต์เริ่มอ่อนแอลงเรื่อยๆ
ทั้งจากความยุ่งเหยิงภายในและความ ที่ถูกรุกรานจากศัตรูภายนอกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
“คนทะเล” (อาจเป็นชาวเอเซียหรืออีเจี้ยน) ส่วนภายใน
บัลลังก์ของฟาโรห์ก็ถูกครอบครองโดยราชวงศ์ลิเบียเป็นราชวงศ์ที่ 22 และเอธิโอเปียเป็นราชวงศ์ที่
25 นอกจากนี้ยังถูกพวกอัสซีเรียและบาบิโลเนียรุกรานและในที่สุดก็ตกอยู่ภายใต้
การปกครองของพวกเปอร์เซียในปี 525 ก่อน ค.ศ
ต่อมาได้มีการรบพุ่งแย่งชิงดินแดนกันอยู่หลายครั้งจนในที่สุดอียิปต์ก็ได้ตก อยู่ภายใต้การปกครอง
ของนาย พลปิโตเลมี (ปิโตเลมีที่ 1เป็นชาวกรีกมาซีโดเนียน)
พระองค์ได้นำวัฒนธรรมกรีกเข้ามาเผยแพร่และ ย้ายเมืองหลวงจากเมมฟิสไปยังอเล็กซานเดรีย
โดยในเฉพาะในสมัยของปิโตเลมีที่ 2 และ 3 ถือว่าเป็นยุคทอง ของอียิปต์เลยที่เดียว
มีการขยายอาณาเขตออกไปส่งเสริมการเกษตรโนกานนำพืชพันธุ์ใหม่ๆเข้ามาทดลอง ปลูก
เช่นข้าวสาลี มีการสร้างพิพิธพัณฑ์รวบรวมศิลปะกรีกไว้ในพระราชวัง
สร้างหอสมุดที่ยิ่งใหญ่ทีสุดในยุคโบราณ การกำหนดให้หนึ่งปีมี 365 วัน และทุกๆ 4 ปีจะมี366วัน
อียิปต์เจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับจนมาถึงสมัยฟาโรห์ ์ปิโตเลมีที่ 13 กับพระนางคลีโอพัตราที่
7ซึ่งเป็นช่วงปลายราชวงศ์ อียิปต์ได้ตกเป็นของอาณาจักรโรมันโดย
อ็อคเตเวียน(บุตรบุญธรรมของจูเลียส ซีซ่าร์)ได้ยกทัพมาบดขยี้อียิปต์ได้ในที่สุด
ครั้นจรรกวรรดิโรมันได้รวม อียิปต์เข้าเป็นดินแดนในที่สุด
เมืองอเล็กซานเดรียนับว่ายังเจริญรุ่งเรืองอยู่มาก ได้เป็นหนึ่งในสามของศูนย์กลาง
ของศาสนาคริสต์ ต่อมาเมื่อคศ 7
เมื่อชาวอาหรับเข้ามาแทนที่ชาวโรมันได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงไคโร
(เมืองหลวงอียิปต์ปัจจุบัน)เมืองอเล็กซานเดรียก็กลายเป็นเมืองศูนย์กลาง
7

ช่วงเวลาประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ
1. สมัยก่อนราชวงศ์ (The Predynastic Period)
2. สมัยราชวงศ์ (The Dynastic Period)
3. สมัยภายใต้การปกครองของผู้รุกราน (The Period of Invasion)
1. สมัยก่อนราชวงศ์ เป็นช่วงระยะเวลาประมาณ 4,500-3,110 B.C.
ในสมัยนี้ชาติอียิปต์โบราณยังไม่มี แต่ชาวอียิปต์โบราณได้เข้าตั้งมั่นบริเวณลุ่มน้ำไนล์แล้ว
มีการรวมตัวเป็นกลุ่ม มีหัวหน้าเป็นผู้นำด้านการปกครองและสังคม
ขณะเดียวกันมักแย่งชิงดินแดนซึ่งกันและกัน
ในที่สุดดินแดนทั้งสองฝั่งของลุ่มแม่น้ำไนล์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
1. อียิปต์บน หรืออียิปต์ตอนใต้ (The Upper Egypt or The Southern Egypt or The
Narrow Valley) หมายถึงดินแดนอียิปต์ตอนใน บริเวณดังกล่าวเป็นป่าทึบและเกาะแก่งน้ำตก
พื้นที่ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก ผู้คนอยู่บางเบา
2. อียิปต์ล่าง หรืออียิปต์ทางตอนเหนือ (The Lower Egypt of the North Egypt or
The Nite Diets) หมายถึงดินแดนอียิปต์ตอนนอก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณดินแดนตอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์นั้นพื้นที่เหมาะ
แก่การเพาะปลูกผู้คนอยู่หนาแน่นความเจริญเท่าที่ปรากฎในช่วงนี้คือ
ความเจริญทุกอย่างของมนุษย์ที่สามารถทำได้ในยุคหิน รวมถึงรู้จักการเพาะปลูก
การเลี้ยงสัตว์และการชลประทาน
2. สมัยราชวงศ์ เป็นช่วงระยะเวลาประมาณ 3100-940 B.C.
ในสมัยนี้ชาติอียิปต์โบราณได้ก่อตั้งขึ้นและผู้นำชาวอียิปต์โบราณเป็นผู้ดำเนินการปกครองดินแดน
อียิปต์เองเป็นส่วนใหญ่ สมัยราชวงศ์แบ่งออกเป็นสมัยย่อยได้ ดังนี้
8

1. สมัยต้นราชวงศ์ (3110-2,665 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 1-2 เริ่มจากการแบ่งแยกดินแดน


อียิปต์โบราณสิ้นสุดลงโดยความสามารถของผู้นำอียิปต์บนคือเมเนส (Menes)
รวมดินแดนทั้งสองเข้าด้วยกันสำเร็จในปี 3110 B.C.
และยกตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่ 1 กำหนดให้เมมฟิสในอียิปต์ล่างเป็นเมืองหลวง
แม้จะรวมดินแดนเข้าเป็นผืนเดียวกันก่อตั้งเป็นชาติขึ้น
แต่ชาวอียิปต์โบราณก็ยังนิยมเรียกชาติตนครั้งนั้นว่า Land of Two Lands
หลักฐานประวัติศาสตร์ในสมัยนี้มีน้อยมาก
2. สมัยอาณาจักรเก่า (2225-2180 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 3-6 สมัยนี้บางครั้งถูกเรียกว่า
สมัยปิรามิด (The Pyramid Age) เพราะเกิดการสร้างปิรามิดขึ้นเป็นครั้งแรก
และมีปิรามิดเกิดขึ้นมากกว่า 20 แห่ง ปิรามิดแห่งแรกสร้างขึ้นในสมัยกษัตริย์โจเซอร์ ในราชวงศ์ที่
3 ที่เมืองสควารา และเพราะมีวิทยาการใหม่ ศิลปกรรม และสถาปัตยธรรมเจริญมากในราชวงศ์ที่
4 ประจวบกับกษัตริย์มีอำนาจในการปกครองเป็นผลให้เกิดปิรามิดใหญ่ที่สุดขึ้น
ปิรามิดอันนี้เป็นของกษัตริย์คูฟุ (Khufu) อยู่ทเี่ มือง กีซา (Giza) สมัยอาณาจักรเก่าสิ้นสุดลง
ในราชวงศ์ที่ 6 เพราะกษัตริย์ไร้ความสามารถในการปกครองและการรบ
ความทะเยอทะยานแย่งชิงอำนาจของขุนนาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกขุนนางที่เรียกว่าโนมาร์ซ
(Nomarch) เป็น
ผลให้เป็นเวลาร่วมสองศตวรรษที่อียิปต์โบราณต้องวุ่นวายเกิดสงครามกลางเมือง
ขึ้นบ่อยครั้งและต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวกขุนนางช่วงดังกล่าวนี้ เรียกว่า
ช่วงขุนนางปกครองครั้งที่หนึ่ง
3. สมัยอาณาจักรกลาง (2052-1786 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 11 ตอนปลายกับราชวงศ์ที่
12 เริ่มด้วยกษัตริย์เมนตูโฮเต็ปที่ 2 (Mentuhotep 2) กษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์ที่ 11
แห่งธีปส์ปราบปรามขุนนางได้และรวบรวมดินแดนอียิปต์โบราณเข้าด้วยกัน
ทรงฟื้นฟูการค้าและสภาพแวดล้อม เวลาส่วนใหญ่ของสมัยอาณาจักรกลางอยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 12
กษัตริย์ที่สามารถคือ อเมเนมฮัสที่ 1 (Amenemhat)
ทรงเก่งในการรบและทรงฟื้นฟูการค้ากับฟินิเซียน
9

4. สมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิ (1554-1090 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 18-20


มีธีปส์เป็นเมืองหลวง จักรวรรดิ์อียิปต์โบราณเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเพราะกษัตริย์เก่งในการรบ
การปกครอง อียิปต์โบราณต้องทำสงครามยาวนานกับฮิตไตท์ พระให้การสนับสนุนกษัตริย์
อำนาจของขุนนางหมดไป
ในสมัยนี้อียิปต์โบราณมีนโยบายรุกรานชุมชนใกล้เคียงมุ่งขยายอำนาจและการป้องกันการรุกรานข
องศัตรูภายนอก ดินแดนอียิปต์ขยายกว้างใหญ่อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยนี้มีมากและแน่นอนกว่าสมัยใดๆ ที่ผ่านมา

กษัตริย์ที่ควรกล่าวถึงคือ
1. อาเมส (Ahmose 1 or Amosis)
เป็นผู้ขับไล่ฮิคโซสออกจากอียิปต์ได้สำเร็จพร้อมทั้งสามารถกำจัดอำนาจขุนนางและเป็นปฐมกษัตริ
ย์แห่งราชวงศ์ที่ 18 ก่อตั้งสมัยอาณาจักรใหม่ขึ้น
2. อเมนโฮเตปที่ 1 และทัสโมสที่ 1 (Amenhopet 1 ,Thutmose 1)
ทั้งสองพระองค์นี้เก่งในการรบ ขยายจักรวรรดิออกไป
3. พระนางฮัทเซฟซุท (Hatshepsut) มเหสีของทัสโมสที่ 2
ทรงเป็นกษัตริย์หญิงองค์แรกของอียิปต์และเป็นนักปกครองหญิงที่สามารถคนแรกของโลก (The
First Capable Woman Rule in the Cirillzed World) ภายหลังพระสวามีสิ้นพระชนม์ลง
ทรงปกครองอียิปต์นานถึง 40 ปี ทรงฟื้นฟูการค้า ศิลปกรรมและสถาปัตยธรรม
4. ทัสโมที่ 3 (Thutmose 3) ขึ้นปกครองจริงในปี 1469 B.C.ภาย
หลังการสิ้นพระชนม์ของพระนางฮัทเซฟซุท ทรงเก่งในการรบ ทำสงครามประมาณ 17
ครั้งเพื่อปราบศัตรูในดินแดนทางตะวันออก
ทรงได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์รุ่นหลังว่าเป็นนโปเลียนแห่งอียิปต์
ขณะเดียวกันได้ให้การศึกษาเลี้ยงดูเด็กเป็นอย่างดี
โดยหวังว่าเมื่อเด็กเหล่านั้นได้กลับดินแดนตนและขึ้นเป็นใหญ่จะจงรักภักดี ต่ออียิปต์
ทรงสั่งให้ลงชื่อของนางฮัทเซฟซุทออกจากการจารึกเพราะทรงไม่พอใจที่พระนาง
ขึ้นปกครองอียิปต์แทนในช่วงต้นสมัยของพระองค์
10

5. อเมนโฮเต็ปที่ 4 (Amenhotep 4) เป็นกษัตริย์นักปฏิรูปศาสนาของอียิปต์โบราณ


เพราะทรงกำหนดให้ชาวอียิปต์โบราณเคารพบูชาเฉพาะสุริยเทพหรืออะตัน (Aton)
อันถือได้ว่าการริเริ่มความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว (Monotheism)
6. ตุตานคามุน (Tutankhamon) ปกครองอียิปต์ต่อจากอเมนโฮเต็ปที่ 4
ทรงประกาศยกเลิกศาสนาของอเมนโฮเต็ปที่4
และกำหนดให้ชาวอียิปต์โบราณหันมาศรัทธาในเทพเจ้าอะมอนเร และเทพเจ้าอื่นๆ ดังเดิม
ตลอดจนย้ายเมืองหลวงกลับธีปส์
7. รามซีสที่ 2 (Ramses 2) ทรงเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่องค์สุดท้าย
ทรงเก่งในการรบทรงนำดินแดนที่สูญเสียไปในสมัยอเมนโฮเต็ปที่ 4
กลับคืนมาเป็นของอียิปต์ดังเดิมและทรงยุติสงครามกับฮิตไตท์ในการรบที่คาเดช (Kadesh)
โดยอียิปต์ได้ปาเลสไตน์ ฮิตไตท์ได้ซีเรีย ทรงปลดปล่อยฮิบรูให้พ้นจากการเป็นทาส
ทรงเป็นนักรักเพราะทรงมีโอรส 100 คน มีธิดา 50 คน สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ 90 ปี
ครองราชย์ 67 ปี
ภายหลังการสิ้นพระชนม์ปรากฎว่าจักรวรรดิ์โบราณก็เริ่มเสื่อมลงเป็นลำดับเพราะกษัตริย์ไร้ความส
ามารถในการปกครองและการรบ
ขุนนางก่อความวุ่นวายแย่งชิงอำนาจกันพระขึ้นปกครองอียิปต์ครั้งราชวงศ์ที่ 21 ขึ้นที่เมืองทานิส
(Tanis) และอียิปต์ถูกรุกรานจากศัตรูภายนอก
3. สมัยภายใต้การปกครองของผู้รุกราน 940 B.C. เรือ่ ยมา
สมัยนี้ชนภายนอกปกครองอียิปต์โบราณเป็นระยะเวลายาวนานกล่าวคือ
1. ลิบยาน (Libyans) ปกครองระหว่าง 940-710 B.C. ตั้งราชวงศ์ที่ 22-24
2. เอธิโอเปียน (Ethiopians) ปกครองระหว่าง 736-657 B.C. ตั้งราชวงศ์ที่ 25
3. อัสซีเรียน (Assyrians) ปกครองระหว่าง 664-525 B.C.
4. เปอร์เซียน (Perians) ปกครองระหว่าง 525-404 B.C.
5. เปอร์เซียนปกครองอียิปต์ครั้งที่สองระหว่าง 341-332 B.C.
11

ที่ตั้งและภูมิประเทศของอารยธรรมอียิปต์
อียิปต์ตั้งอยู่บนสุดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกาและในคาบสมุทรไซนาย
ทิศเหนือ :ติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและประเทศอิสราเอล
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ :ติดกับติดทะเลแดงและประเทศอิสราเอล
ทิศตะวันออก :ติดกับทะเลแดงง
ทิศใต้ :ติดกับประเทศซูดาน
ทิศตะวันตก :ติดกับประเทศลิเบีย

ภูมิประเทศ
เนื่องจากตั้งอยู่ระหว่างหุบเขา นอกหุบเขาเป็นทะเลทราย
ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติอย่างดีป้องกันจากศัตรูตรงกลางหุบเขามีแม่น้ำไนล์ไหลผ่านซึ่งในเดือนมิ
ถุนายน –
กรกฏาคมของทุกๆปีน้ำในแม่น้ำไนล์จะท่วมสองฝั่งและเริ่มลดในเดือนตุลาคมเมื่อน้ำลดจะทิ้งโคลน
ตมไว้สองฝั่งเป็นปุ๋ยอย่างดีเหมาะแก่การเกษตรกรรมดังที่เฮโรโดตัสนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก
กล่าวว่าอียิปต์คือของขวัญจากแม่น้ำไนล์แต่ชาวอียิปต์นั้นเชื่อว่าอิทธิพลการขึ้นลงของแม่น้ำเกิดจา
กฟาโรห์เพราะพระองค์เท่านั้นที่รู้จักและเข้าใจความสอดคล้องของจักรวาล
12

ลักษณะการปกครอง
มีกษัตริย์ปกครองเรียกว่าฟาโรห์Pharaohหมายถึงบ้านใหญ่
Thebighouseชาวอียิปต์นับถือฟาโรห์เสมือนพระเจ้าองค์หนึ่ง
เพราะเชื่อว่าฟาโรห์คือเทพเจ้ามาจุติเพื่อปกป้องและคุ้มครองของตน
พลเมืองของอียิปต์แบ่งเป็น4ชนชั้น
1. ชั้นสูง - ประกอบด้วย 2 พวก
คือPriestsได้แก่นักบวชพระเป็นบุคคลรวยที่สุดรองจากฟาโรห์มีความรู้สูงฝึกให้เป็นแพทย์รู้จักการ
ผ่าตัดรักษาพยาบาล และ รักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยย
-Noblesได้แก่พวกขุนนางทหารมีหน้าที่ป้องกันบ้านเมืองและรับใช้ฟาโรห์โดยตรง
2. ชั้นกลาง - ประกอบด้วย 2 พวก คือ
- Scriberได้แก่อาลักษณผู้จดบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ
- Craftsmen , Merchantsได้แก่ช่างและพ่อค้า
3.ชั้นต่ำได้แก่พวกPeasantเป็นชาวนาพวกนี้ต้องทำงานหนักมีความเป็นอยู่ยากแค้น
4. Slaves ได้แก่พวกทาส พวกนีไ้ ม่มีสิทธิ์อย่างหนึ่งอย่างใดแม้จะทำงานหนักก็ไม่อาจเป็นเสรีชนได้
13

ศิลปะอียิปต์โบราณ
ศิลปะอียิปต์ (2650 ปีก่อน พ.ศ. - พ.ศ. 510)

ชาวอียิปต์มีศาสนาและพิธีกรรมอันซับซ้อนแทรกซึมอยู่เป็นวัฒนธรรมอยู่ในสังคมเป็นเวลานานมีก
ารนับถือเทพเจ้าที่มีลักษณะอันหลากหลายดังนั้นงานจิตรกรรมประติมากรรมและ
สถาปัตยกรรมส่วนมากจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาพิธีกรรมโดยเฉพาะพิธีฝังศพซึ่งมีความเชื่อว่าเมื่
อตายแล้วจะยังมีชีวิตอยู่ในโลกใหม่ได้อีกจึงมีการรักษาศพไว้อย่างดีและนำสิ่งของเครื่องใช้ที่มีค่าข
องผู้ตายบรรจุตามลงไปด้วย

จิตรกรรม
งานจิตรกรรมของอียิปต์
เป็นภาพที่เขียนไว้บนฝาผนังสุสานและวิหารต่างๆสีที่ใช้เขียนภาพทำจากวัสดุทางธรรมชาติได้แก่เ
ขม่าไฟสารประกอบทองแดงหรือสีจากดินแล้วนำมาผสมกับน้ำและยางไม้ลักษณะของงานจิตรกรร
มเป็นงานที่เน้นให้เห็นรูปร่างแบนๆมีเส้นรอบนอกที่คมชัดจัดท่าทางของคนแสดงอิริยาบถต่างๆใน
รูปสัญลักษณ์มากกว่าแสดงความเหมือนจริงตามธรรมชาติมักเขียนอักษรภาพลงในช่องว่างระหว่า
งรูปด้วยและเน้นสัดส่วนของสิ่งสำคัญในภาพให้ใหญ่โตกว่าส่วนประกอบอื่นๆเช่นภาพของกษัตริย์
หรือฟาโรห์จะมีขนาดใหญ่กว่ามเหสี และคนทั้งหลายนิยมระบายสีสดใส บนพื้นหลังสีขาวว
งานประติมากรรมของอียิปต์จะมีลักษณะเด่นกว่างานจิตรกรรม
มีตั้งแต่รูปแกะสลักขนาดมหึมาไปจนถึงผลงานอันประณีตบอบบางของพวกช่างทองชาวอิยิปต์นิย
มสร้างรูปสลักประติมากรรมจากหินชนิดต่างๆเช่นหินแกรนิตหินดิโอไรด์และหินบะซอลท์หรือบาง
ทีก็เป็นหินอะลาบาสเตอร์ซึ่งเป็นหินเนื้ออ่อนสีขาวถ้าเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ก็มักเป็นหินทรา

นอกจากนี้ยังมีีการทำจากหินปูนและไม้ซึ่งมักจะพอกด้วยปูนและระบายสีด้วยงานประติมากรรมข
นาดเล็กมักจะทำจากวัสดุมีค่าเช่นทองคำเงินอิเลคตรัมหินลาปิสลาซูลีเซรามิคฯลฯ
ประติมากรรมของอียิปต์มีทั้งแบบนูนต่ำแบบลอยตัวแบบนูนต่ำมักจะแกะสลักลวดลายภาพบนผนั
บนเสาวิหารและประกอบรูปลอยตัวประติมากรรมแบบลอยตัวมักทำเป็รูปเทพเจ้าหรือรูปฟาโรห์ที่
มีลักษณะคล้ายกับเทพเจ้า
นอกจากนี้ยังทำเป็นรูปข้าทาสบริวารสัตว์เลี้ยงและสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆเพื่อใช้ประกอบในพิธีศพอี
กด้วยในที่นี้ทางเราจึงให้ข้อมูลครบถ้วนวน
14

อียิปต์โบราณ
อียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ - เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
อารยธรรมอียิปต์โบราณเริ่มขึ้นประมาณ 3150 ปีก่อนคริตศักราช
โดยการรวมอำนาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้ ภายใต้ฟาโรห์องค์แรกแห่งอียิปต์
และมีการพัฒนาอารยธรรมเรื่อยมากว่า 3,000 ปี ประวัติ
ของอียิปต์โบราณปรากฏขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือที่รู้จักกันว่า "ราชอาณาจักร"
มีการแบ่งยุคสมัยของอียิปต์โบราณเป็นราชอาณาจักร ส่วนมากแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครอง
จนกระทั่งราชอาณาจักรสุดท้าย หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ราชอาณาจักรใหม่"
อารยธรรมอียิปต์อยู่ในช่วงที่มีการพัฒนาที่น้อยมาก และส่วนมากลดลง
ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่อียิปต์พ่ายแพ้ต่อการทำสงครามจากอำนาจของชาติอื่น จนกระทั่งเมื่อ 31
ปีก่อนคริตศักราชก็เป็นการสิ้นสุดอารยธรรมอียิปต์โบราณลง
เมื่อจักรวรรดิโรมันสามารถเอาชนะอียิปต์ และจัดอียิปต์เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งในจักรวรรดิโรมัน
15
16

เทพเจ้าที่สำคัญของอารายธรรมอียิปต์
เทพเจ้าอะมอน-เร (Amon-Re)
เป็นเทพเจ้าที่สูงสุดในมวลเทพเจ้าทั้งหลายของอียิปต์โบราณเป็นเทพเจ้าแห่งแสงสว่างและชีวิต
ชื่อเทพเจ้าองค์นี้เกิดจากการนำเทพเจ้าอะมอนซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งอากาศและความอุดมสมบูรณ์ข
องเมืองธีปส์มารวมกับเทพเจ้าเรซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ของเมืองเฮลิโอโปลิสได้เป็นเทพเจ้าอะ
มอน-เร ผู้ทรงพลังและอิทธิฤทธิ์

เทพเจ้าโอซิริส (Osiris)

เป็นเทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำไนล์เทพเจ้าแห่งความตายและเทพเจ้าแห่งการตัดสินภายการตายเพื่อการเข้
าสู่ภายหน้า

เทพเจ้าไอริส (Isis)
เทพีผู้เป็นมเหสีของเทพเจ้าโอซิริส เป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์

เทพเจ้าโฮรัส (Horus)
เป็นเทพเจ้าแห่งสวรรค์ของชาวอียิปต์โบราณแถบดินแดนสามเหลี่ยม
ชาวอียิปต์โบราณมีความเชื่อว่าเทพเจ้าแต่ละองค์ควรมีสัตว์ไว้คอยรับใช้ดังนั้นจึงมีการสมมติสัตว์รั
บใช้ดงั กล่าวให้เทพเจ้า เช่นแกะตัวผู้เป็นสัตว์รับใช้ของเทพเจ้าอะมอน-
เรเป็นต้นสำหรับเรื่องการบวงสรวงนั้นพระเป็นผู้ประกอบพิธี และได้รับค่าจ้างตอบแทน
17

อานูบิส (Anubis)
เป็นหนึ่งในเทพเจ้าของชาวอียิปต์
ซึ่งเทพเจ้าองค์นี้มีบทบาทสำคัญต่อการใช้ชีวิตของชาวอียิปต์อย่างยิ่ง ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก
อานูบิสเป็นเทพแห่งความตาย และเป็นเทพสำคัญในการทำมัมมี่
ในพิธีการทำศพของชาวอียิปต์โบราณ และโลกหลังความตายของมนุษย์
จึงมีเทพองค์นี้ประกอบอยู่ในเรื่องราวและมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก

เทพีนัต(Nut)
เป็นเทพีแห่งท้องฟ้า และเป็นพระมเหสีของเทพเรมีโอรส-ธิดา 5 องค์ เป็นเทพสำคัญ 5 องค์
คือ โอซิริสไอซิสเนฟธิสเซธ และฮาร์มาคิส

เซธ (Seth)
เทพแห่งพายุและความรุนแรง มีรูปเป็นหน้าสัตว์ที่น่าเกลียด เช่นหมู หรือลา
ตามตำนานว่าเป็นอนุชาของโอซิริส ผู้เกลียดชังพี่ของตนเอง และเป็นผู้สังหารโอซิริสด้วย

ฮาเธอร์ (Hathor)
ทรงเป็นเทวีแห่งนภากาศอีกองค์หนึ่ง
และเป็นมหาเทวีที่สำคัญที่สุดของนิกายที่นับถือสุริยเทพรา
โดยเทวปกรณ์กล่าวว่าทรงเป็นธิดาและชายาขององค์สุริยเทพ ทรงเป็นเทวีแห่งความงาม ความรัก
ความสุข พิธีกรรม ศิลปวิทยาการ และคุณสมบัติที่ดีของเพศหญิง
เทวลักษณะเป็นเทพนารีสวมศิราภรณ์รูปเขาวัวคู่โอบดวงสุริยะ หรือปรากฏเป็นรูปวัวทั้งตัว
ทรงถือ ซิสทรัม (Sistrum) พระนามภาษาอียิปต์ว่า เฮ็ท-เฮร์ท (Het-Hert)

ธอธ (Thoth)
เทพผู้มีเศียรเป็นรูปนกกระเรียน เป็นเทพแห่งอาลักษณ์
เจ้าแห่งการอ่านและเขียนจะเป็นผู้บันทึกเรื่องราวต่างๆในการพิพากษาดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับ
18

ฮาร์มาคิส(Harmakhis)
เป็นเทพแห่งรุ่งอรุณ มีรูปร่างเป็นสิงโตและศีรษะเป็นมนุษย์ หรือที่เราเรียกว่า สฟิงซ์
เป็นกำลังสำคัญที่ช่วยหลานชายตัวเอง คือเทพฮอรัสทำสงครามกับ เซธ จนประสบความสำเร็จ

โซเบค (Sebekh)
เทพแห่งจระเข้ ผู้รักษากฎแห่งแม่น้ำไนล์
ปรากฏพระองค์เป็นรูปจระเข้ทั้งตัวสวมศิราภรณ์ขนนกคู่ประกอบด้วยเขาแกะ
เขาวัวคู่โอบดวงสุริยะและยูรีอุสสองข้าง
หรือรูปเทพเจ้าที่มีพระเศียรเป็นจระเข้สวมศิราภรณ์ชนิดเดียวกัน เป็นที่นับถือมากในราชวงศ์ที่
๑๒-๑๓ พระนามภาษากรีกว่า ซูคอส (Suchos)
19

บรรณานุกรม
ศราวุธ ศรีเกตุ. (๒๕๕๕). อียิปต์โบราณ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://sarawut02beach.blogspot.com. (วันที่ค้นข้อมูล : ๑๑ กันยายน ๒๕๖๐).
นฤมล เสนามลตรี. (๒๕๕๖). ประวัติและความเป็นมาของอียิปต์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://nookkii2538blog.wordpress.com. (วันที่คน้ ข้อมูล : ๑๑ กันยายน ๒๕๖๐).
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทู บาย โฟร์ แทรเวล. (๒๕๕๙). เทพเจ้าแห่งอียิปต์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
: http://www.2by4travel.com. (วันที่ค้นข้อมูล : ๑๑ กันยายน ๒๕๖๐).
กระทรวงศึกษาธิการ. ประวัติศาสตร์สากล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สกสค. ลาดพร้าว,
๒๕๕๗. (วันที่ค้นข้อมูล : ๑๑ กันยายน ๒๕๖๐)

You might also like