You are on page 1of 17

รายงาน

วิวัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครองของโลก

นางสาวศศิกานต์ ธนะสูตร

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาระบบสังคมโลก
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
วิวัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครองของโลก

จัดทาโดย
นางสาวศศิกานต์ ธนะสูตร รหัส 6540340125 หมู่เรียน ศ.6505

เสนอ
ดร.เกรียงศักดิ์ สร้อยสุวรรณ

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาระบบสังคมโลก
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
คานา

รายงานเล่มนี้จัดทําขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ระบบสังคมโลก (0003102)


วิวัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครองของโลก สามารถทําให้มนุษย์ทุกคนรู้จักการ
ดําเนินชีวิตเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติและสังคมโลก รู้จักประวัติความเป็นมาของการเกิดระบบสังคมโลก
นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
สังคมโลกปัจจุบันมีความก้าวหน้าเกิดการพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูง เข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ โลกอาศัยกันและกัน
เพื่อสร้างความสัมพันธ์ช่วยเหลือกันเพื่อสร้างสันติภาพและความมั่นคงของโลก
ผู้จัดทําหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดทํารายงานฉบับนี้จะมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาและต้องการ
ค้นคว้าวิวัฒนาการทางสังคมโลกเป็นอย่างดี หากมีข้อผิดพลาดหรือบกพร่องประการใด ผู้จัดทําขอน้อมรับเพื่อนําไป
ปรับปรุงต่อไป

นางสาวศศิกานต์ ธนะสูตร
1 กรกฎาคม 2565
สารบัญ

คํานํา
สารบัญ
วิวัฒนาการทางสังคมของโลก 1-6
1. สังคมมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์
2. สังคมมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์
วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจของโลก
1.วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจโลกยุคโบราณ 7-8
2. วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจในยุคกลาง
3.วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจในยุคใหม่
4. สภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน
วิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองของโลก 9-12
1.การเมืองการปกครองยุคก่อนรัฐชาติ
2. การเมืองการปกครองในยุครัฐชาติ
3. การเมืองการปกครองยุคใหม่
อ้างอิง 13
1

วิวัฒนาการทางสังคมของโลก

สังคมมนุษย์ยุคแรก พึ่งพิงธรรมชาติและต่อสู้เพื่อความอยู่รอดใช้ชีวิตเร่ร่อนหาอาหารเรื่อยๆ ต่อมาได้รู้จักการ


ผลิตอาหารและตั้งหลักแหล่งหาที่อยู่ให้เป็นที่ประจํา วิถีชีวิตความเป็นอยู่และกิจกรรมของมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลง
มากเมื่อมนุษย์ตั้งหลักแหล่งอยู่ประจําที่ มนุษย์ก็พยายามคิดหาวิธีที่จะทําให้อยู่ดีกินดี ปลอดภัย ชุมชนใหญ่ขึ้น
กลายเป็นหมู่บ้าน เมือง รัฐ ตามที่ราบลุ่มที่อุดมสมบูรณ์ ความพยายามของมนุษย์ในการที่จะเอาชนะธรรมชาติทําให้
มนุษย์สร้างสรรความเจริญด้านต่างๆก้าวหน้ามาเรื่อยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้
1. สังคมมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์

เป็นเวลาหลายแสนปีที่มนุษย์ได้จับกลุ่มทําการเพื่อประโยชน์ร่วมกัน สังคมมนุษย์ในยุคแรก ๆ ยังเป็นสังคม


ของชนกลุ่มเล็กๆที่เร่ร่อนไปตามแหล่งอาหาร การสมาคมระหว่างกลุ่มยังจํากัด สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-historic
World) เริ่มตั้งแต่การปรากฏตัวเป็นครั้งแรกของมนุษย์ จนถึงยุคก่อนที่จะมีการใช้ตัวอักษร สังคมยุคนี้เรียกว่า สังคม
ดั้งเดิม (Primitive Society) ผู้คนในสมัยนี้มีประวัติความเป็นมาร่วมกันเป็นเผ่าพันธุ์หรือชาติวงศ์เดียวกัน มีภาษาพูด
และวัฒนธรรมรูปแบบเดียวกัน มนุษย์ในสมัยนีม้ ีชีวิตแบบคนเถื่อน พึ่งพาธรรมชาติ นักโบราณคดีแบ่งสมัยก่อน
ประวัติศาสตร์ออกเป็นยุคหินและยุคโลหะ โดยยุคหินแบ่งได้เป็น ยุคหินเก่า ยุคหินใหม่ และยุคโลหะ แบ่งออกเป็น ยุค
ทองแดง ยุคสําริด และยุคเหล็ก

1.1 สังคมมนุษย์ยุคหินเก่า

ยุคหินเก่าแบ่งย่อยๆได้ 3 ระยะ ได้แก่ ยุคหินเก่าตอนต้น ยุคหินเก่าตอนกลางและยุคหินเก่าตอนปลาย คนใน


ยุคหินเก่าดํารงชีพด้วยการล่าสัตว์และหาพืชผักผลไม้กินเป็นอาหาร พึ่งพาอาศัยธรรมชาติและสภาพแวดล้อม เมื่อ
อาหารหมดก็อพยพไปตามหาอาหารเรื่อยๆ อาจทําให้คนต้องปรับพฤติกรรมการบริโภค เนื่องจากชีวิตส่วนใหญ่ของ
คนในยุคหินเก่าต้องอยู่กับการหาอาหาร และปูองกันตัวจากสัตว์ร้ายและภัยธรรมชาติ รวมถึงการต่อสู้ในหมู่พวก
เดียวกัน ทําให้พัฒนาเกี่ยวกับเครื่องมือล่าสัตว์ โดยการพัฒนาอาวุธที่ทําด้วยหิน เช่น หอก มีด เป็นต้น คนในยุคหิน
เก่าเริ่มอยู่กันเป็นครอบครัว ยังไม่มีการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนเพราะวิถีชีวิตแบบเร่ร่อน ไม่สะดวกต่อการตั้งหลักแหล่ง
คนในยุคนี้รู้จักแสดงความรู้สึกออกมาในรูปของศิลปะ ศิลปะที่สําคัญได้แก่ รูปเขียนกระทิงเรียงกันเป็นขบวน ค้นพบ
ภายในถ้ําอัลตะมิระ(Altamira) ตอนใต้ของสเปน ส่วนในประเทศไทย พบที่ถ้ําตาด้วง จังหวัดกาญจนบุรี ภูพระบาท
จังหวัดอุดรธานี และถ้ําผีหัวโต จังหวัดกระบี่ เป็นต้น สังคมของมนุษย์ยุคหินเก่าตอนกลางและยุคหินเก่าตอนปลายมี
ระยะเวลาสั้น ปรากฏอารยธรรมเกิดขึ้นในทวีปยุโรป แอฟริกาและเอเชีย สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนยุคหินเก่า
ตอนกลาง ส่วนมากคล้ายกับยุคหินเก่าตอนต้น คนยุคหินเก่าในช่วงปลายมีความสามารถในการจับสัตว์น้ําและมีการ
คมนาคมทางน้ํา เทคโนโลยีของยุคหินเก่าตอนปลายมีขนาดเล็กกว่ายุคหินเก่าตอนต้นและประโยชน์ดีขึ้นกว่าเดิม คน
ยุคหินเก่าตอนกลางจะมีวัฒนธรรมแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่บนภูเขา ตามถ้ํา หรือเพิงผา ส่วนอีก
กลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่บนพื้นราบ ริมน้ํา ชายทะเล
2

1.2 สังคมมนุษย์ยุคหินใหม่

คนยุคหินใหม่เริ่มปฏิวัติการครองชีพด้วยการเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการล่าสัตว์และหาของปุา มาเลี้ยงสัตว์ ทําการ


เพาะปลูกแทน เป็นการปฏิวัติทางสังคมและเศรษฐกิจครั้งสําคัญของมนุษยชาติ การเปลี่ยนวิถีชีวิตมาเป็นเกษตรกรจะ
ทําให้คนหันมาเลี้ยงสัตว์ ต้องเรียนรู้การไถ หว่านและเก็บเกี่ยวพืช เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด เป็นต้น เมื่อหลาย
ครอบครัวอาศัยอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านถือว่าหมู่บ้านเกษตรกรเหล่านี้คือหมู่บ้านแห่งแรกของโลก

เทคโนโลยีของคนในยุคหินใหม่ทําขึ้นจากวัสดุหลายชนิด เช่น หิน กระดูก และเขาสัตว์ที่แตกต่างจากคนในยุคหินเก่า


คือ เครื่องมือเครื่องใช้มีประโยชน์ใช้สอยและประณีตมากขึ้น เครื่องมือที่สําคัญคือ ขวานหินด้ามเป็นไม้ และเคียวหิน
เหล็กไฟ เป็นต้น จากนี้ยังสร้างงานหัตถกรรมในครัวเรือน ได้แก่ เครื่องทอผ้า เครื่องจักสาน และเครื่องปั้นดินเผา ทํา
ขึ้นหยาบ ๆ ไม่ตกแต่งลวดลาย ในด้านศิลปะพบว่า คนในยุคหินใหม่มีการปั้นรูปสตรี และทารกลักษณะคล้ายรูปแม่
พระธรณี เป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ ชุมชนยุคหินใหม่ที่เก่าแก่ที่สุดพบในตะวันออกกลาง
บริเวณที่เป็นประเทศ ตุรกี ซีเรีย อิสราเอล อิรัก ภาคตะวันออกของอิหร่าน และเลยไปถึงอียิปต์ในทวีปแอฟริกา

1.3 สังคมมนุษย์ยุคโลหะ

คนยุคโลหะรู้จักใช้ทองแดงและสัมฤทธิ์ มาทําเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับ กิจกรรมการเพาะปลูก


และเลี้ยงสัตว์ได้มีการพัฒนามากขึ้น วิถีชีวิตของคนในยุคโลหะ เปลี่ยนจากสภาพความเป็นอยู่แบบชุมชนเกษตรมา
เป็นชุมชนเมือง ต่อมาได้กลายเป็นศูนย์กลางของการเกษตรกร การปกครองและสังคม ความสัมพันธ์ทางสังคมของ
คนยุคนี้จะอยู่กันแบบเครือญาติ มีความรักใคร่ และผูกพันอย่างใกล้ชิดเพราะเป็นสังคมขนาดเล็ก คนในสังคม
เกษตรกรรมจะมีความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และอํานาจที่ไม่มีตัวตนอย่างเข้มข้น เพราะมีประสบการณ์ว่าอํานาจสิ่ง
ศักดิ์สิทธิ์อยู่เหนืออํานาจมนุษย์ คนในสมัยนั้น จึงได้คิดลัทธิวิญญาณขึ้นมาเพื่อคุ้มครองปูองกันตนเองและกลุ่ม

2. สังคมมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์

สังคมมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์ เริ่มเมื่อมนุษย์รู้จักการใช้ตัวอักษรในการจดบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ทําให้


สามารถศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ได้มากขึ้น สังคมในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากหมู่บ้านแบบเกษตรกรรมได้
ขยายใหญ่ขึ้นกลายมาเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ คนที่อาศัยอยู่ในเมืองได้มีแค่ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเท่านั้น
แต่มีผู้ประกอบอาชีพอื่นๆมากขึ้น ความสัมพันธ์ทางสังคมของคนในยุคนี้ขึ้นอยู่กับอาชีพ และตําแหน่งหน้าที่ทางสังคม
ได้แก่ พวกช่างฝีมือ ช่างปั้นหม้อ ช่างก่อสร้าง ช่างทอผ้า เป็นต้น ผู้ที่ทําหน้าที่ฝุายปกครองได้แก่ พระ และนักรบ ซึ่ง
ถือเป็นกลุ่มชนชั้นสูง รองลงมาคือ ช่างฝีมือ พ่อค้า ชาวนา ชาวไร่ ซึ่งเป็นอาชีพอิสระ ชนชั้นต่ําสุดคือ พวกทาสหรือ
กลุ่มผู้ใช้แรงงาน สังคมมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์จะมีความเป็นชุมชนเมืองสูง ผู้คนประกอบด้วยกลุ่มต่างๆ แต่ละกลุ่ม
จะประกอบอาชีพหรือมีหน้าที่ต่างกัน รวมอยู่ในชุมชนเดียวกันมีความสลับซับซ้อนมากกว่าสังคมเดิม การครองชีพมี
ความสะดวกมากขึ้น ทําให้คนมีเวลาว่างมาก อํานวยต่อการสร้างความเจริญต่าง ๆ จนกลายเป็นอารยธรรมของโลก
ซึ่งแยกได้ดังนี้

2.1 สังคมมนุษย์สมัยโบราณ
3

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ แหล่งอารยธรรมโบราณอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ําสายสําคัญในทวีปเอเชีย ทวีป


แอฟริกาและรอบๆทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น ลุ่มแม่น้ําไนล์ ลุ่มแม่น้ําไทรกรีส-ยูเฟรตีส ลุ่มแม่น้ําสินธุ ลุ่มแม่น้ําฮวงโห
เป็นต้น อาจแบ่งออกได้เป็นอารยธรรมโบราณตะวันตก และอารยธรรมโบราณตะวันออก อาณาจักรสําคัญ ๆ ดังนี้

2.1.1 เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ดินแดนที่อยู่ระหว่างแม่น้ําไทกรีส และยูเฟรติส ปัจจุบันคือเขต


ประเทศอิรักสังคมแบบเมืองในยุคหินใหม่เจริญขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นแหล่งความเจริญที่เก่าแก่ที่สุดในโลก นคร
รัฐซูเมอร์ คือแหล่งกําเนิดอารยธรรมแห่งแรกในเมโสโปเตเมีย ผู้ให้กําเนิดอารยธรรมแห่งนี้คือ ชาวสุเมเรียน
(Sumerians) เชื่อว่ามาจากที่ราบสูงอิหร่านและเข้ามาอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ําไทกรีสเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อน
คริสตกาลเมื่อแรกเริ่มที่ชาวสุเมเรียนอพยพเข้ามาในเมโสโปเตเมียได้รวมกันอยู่เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ จึงได้รวมกันใน
ลักษณะนครรัฐ แต่ละนครรัฐเป็นอิสระแก่กัน รัฐสําคัญ ได้แก่ อิริดู อิรุค นิปเปอร์ บางครั้งก็จะฆ่าฟันกันเพื่อชิงความ
เป็นใหญ่ ชาวสุเมเรียนนับถือพระเจ้าหลายองค์ แต่ละนครรัฐมีพระเป็นเจ้าประทับอยู่ในวัดใหญ่ที่เรียกว่า ซิกกูแรต
ชาวสุเมเรียนสร้างขึ้นเป็นศูนย์กลางของนครรัฐ ระยะแรกชาวสุเมเรียนมีพระเป็นผู้ดูแลกิจการในนครรัฐ การเก็บภาษี
ข้าว อาหาร ควบคุมดูแลเกี่ยวกับการชลประทานและการทําไร่ทํานา เมื่อเกิดการแข่งขันและรบกันระหว่างนครรัฐ
อํานาจการปกครองจึงเปลี่ยนมาอยู่ที่นักรบหรือกษัตริย์ซึ่งเป็นผู้เข้มแข็งสามารถสู้รบปูองกันนครรัฐ และทําหน้าที่
ควบคุมดูแลกิจการ แทนพระ ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสุเมเรียนมีความก้าวหน้า จากหมู่บ้านมาเป็นชีวิตในเมือง มี
การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ เช่น ระบบการชลประทาน การปศุสัตว์ การช่างฝีมือ สถาปัตยกรรม วรรณกรรม วิธีการ
คิดเลข ระบบชั่ง ตวง วัด เป็นต้น ความเจริญของชาวสุเมเรียนมีพื้นฐานมาจากยุคหินซึ่งได้พัฒนาขึ้น และความเจริญ
ของชาวสุเมเรียนได้กลายเป็นรากฐาน และมีอิทธิพลต่อความเจริญของชนชาติต่าง ๆ ที่เข้ามาตั้งอยู่ในเมโสโปเตเมีย
ได้แก่ ชาวอัคคาเดียน ชาวอะมอไรต์ ชาวอัสซีเรียน ชาวคาลเดียน ชาวฟินิเซียน และชาวเปอร์เซียน

2.1.2 อาณาจักรอียิปต์ เป็นแหล่งกําเนิดอารยธรรมโบราณ หมายถึง ดินแดนลุ่มแม่น้ําไนล์ นับตั้งแต่ที่ตั้ง


เขื่อนอัสวันทางตอนใต้ขึ้นมาถึงนครไคโร ข้อแตกต่างในการสร้างอาณาจักรระหว่างชาวสุเมเรียนกับชาว
อียิปต์คือ ชาวสุเมเรียนเข้ามารวมกลุ่มในรูปของนครรัฐ แต่สําหรับอียิปต์ได้รวมเข้าอยู่ภายใต้กษัตริย์องค์เดียว เมื่อ
ประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์ผู้ครองอียิปต์พระนามว่าเมนิส (Menes) ได้สถาปนาราชวงศ์ขึ้นปกครอง
เป็นฟาโรห์ (Pharaoh) องค์แรกของราชอาณาจักรอียิปต์ ราชอาณาจักรนี้ได้รุ่งเรืองสืบต่อเนื่องกันมาอีกเป็นเวลา
เกือบ 3,000 ปีชาวอียิปต์คล้ายชาวสุเมเรียนในเรื่องการนับถือพระเจ้าหลายองค์ องค์สําคัญที่สุดคือ สุริยเทพมี
สัญลักษณ์คือ หินที่มีรูปร่างคล้ายปิรามิด จากนี้ก็มี โอซิริส (Osiris) คือเทพเจ้าแห่งแม่น้ําไนล์ และยมเทพ เชื่อว่า เป็น
เทพผู้นําความอุดมสมบูรณ์ ชาวอียิปต์เชื่อว่าฟาโรห์ทุกพระองค์คือสุริยเทพ แบ่งภาคมาจุติในรูปของมนุษย์ และเมื่อ
ตายจะเข้าไปรวมเป็นส่วนเดียวกับเทพโอซิริส นําไปสู่การสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่มหัศจรรย์และยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ปิ
รามิด ความคิดคือ เทพเจ้าทําให้เกิดความเชื่อ คือ ผู้ที่อมตะหรือผู้ที่ไม่ตาย พวกเขาเก็บรักษาร่างกายไว้ไม่ให้เน่าเปื่อย
ผุพัง วิญญาณของฟาโรห์คงอยู่ตลอดไป

2.13 อาณาจักรกรีก ได้รับอิทธิพลความเจริญจากเมโสโปเตเมีย และอียิปต์ ชาวกรีกโบราณจึงพัฒนา


อารยธรรมจนกลายเป็นอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก ชาวกรีกเป็นชาวอารยัน เมื่อประมาณ 3,000 ปี
ก่อน คริสตกาลได้แยกออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่ง เดินทางไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียเรียกว่า ชาวอินโด
4

อารยัน อีกกลุ่มหนึ่งเดินทางมุ่งไปทางตะวันตก ผ่านตอนใต้ของรัสเซียลงสู่แหลมบอลข่าน และเข้ามาตั้งรกรากบริเวณ


คาบสมุทรเพโลพอนเนซัส ( Peloponnesus ) ที่ในปัจจุบันเรียกว่ากรีซ นครรัฐอันยิ่งใหญ่ของกรีก คือ นครรัฐเอเธนส์
รัฐนี้เจริญมากในระยะ 500 ปีก่อนคริสตกาล เอเธนส์ชื่อว่าเป็นโรงเรียนแห่งนครรัฐกรีก เพราะเอเธนส์เป็นแหล่งรวม
วิชาความรู้ ปราชญ์ และวิชาการต่าง ๆ ต่อมา เป็นการวางรากฐานอารยธรรมตะวันตกมาจนถึงปัจจุบัน อารยธรรมที่
ยิ่งใหญ่ของกรีกโบราณมีหลายประการ เช่น สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแบบคลาสสิค สถาปัตยกรรมคลาสสิคชิ้นที่
งดงามที่สุด

2.1.4 อาณาจักรโรมัน เป็นชนเผ่าอินโดยูโรเปียนเช่นเดียวกับชาวกรีก ชนเผ่าอินโดยูโรเปียนแยกออกเป็น


กลุ่มย่อย ๆ หลายกลุ่มด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มชาวละติน กลุ่มชาวอีทรัสกัน เป็นต้น ในกลุ่มต่าง ๆพวกนี้ชาวโรมันเป็น
กลุ่มที่เข้มแข็งที่สุดในชั้นต้น ชาวโรมันตกอยู่ใต้อํานาจการปกครองของอีทรัสกัน ต่อมาได้ขับไล่กษัตริย์อีทรัสออกไป
จากกรุงโรม เป็นผลสําเร็จ และได้สถาปนากรุงโรมเป็นสาธารณรัฐอิสระ เพื่อความปลอดภัยจากชาวละตินกลุ่มอื่น ๆ
ชาวโรมันคอยปราบปรามพวกกลุ่มต่าง ๆ รวมทั้งพวกกรีกเข้าไว้ในอํานาจได้มากที่สุด เพราะชาวโรมันเป็นชาตินักรบที่
เข้มแข็ง และสามารถครอบครองดินแดนต่าง ๆ เป็นบริเวณกว้างใหญ่คนทั่วไปจึงมักเรียกชาวโรมันว่า จักรวรรดิโรมัน

มรดกทางอารยธรรมของโรมีหลายด้าน เช่น ด้านศิลปะ วรรณคดี การละคร และปรัชญา เป็นต้น ส่วนใหญ่เลียนแบบ


กรีก แต่ด้านการจัดกําลังกองทัพ การจัดการปกครอง กฎหมายและการก่อสร้างเพื่อสาธารณะประโยชน์ โรมมี
ความสามารถกว่าชนชาติอื่นในสมัยโบราณ เทียบกันระหว่างกรีกกับโรมันจะพบว่า ชาวกรีกเป็นนักคิด บูชาเหตุผล
และเป็นผู้มีจินตนาการสูง ส่วนชาวโรมันเป็นนักปฏิบัติและนักดัดแปลงที่ชาญฉลาด ชาวโรมันไม่มีจินตนาการแต่ก็
สามารถสร้างสรรค์ต่าง ๆ ของโรมันจึงเป็นคุณค่าในแง่ประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความงามในเชิงศิลปะ และความลึกซึ้ง
ในทางวิชาการ

2.1.5 อาณาจักรลุ่มแม่น้ําสินธุ บริเวณลุ่มแม่น้ําสินธุ ตั้งแต่เขตที่ราบหุบเขาหิมาลัยไปจนจดชายฝั่งทะเลใน


เขตอินเดียภาคตะวันตก ทางแคว้นปัญจาบและบริเวณประเทศปากีสถานปัจจุบันเป็นแหล่งกําเนิดอารยธรรมอินเดีย
ต่อมาได้ขยายไปครอบคลุมลุ่มแม่น้ําคงคาตอนบน แม่น้ําสินธุมีความสัมพันธ์กับอารยธรรมของพวกสุเมเรียนใน
ดินแดนเมโสโปเตเมีย ผลิตภัณฑ์จากนครในลุ่มแม่น้ําสินธุได้แพร่ไปถึงริมฝั่งแม่น้ําไทกรีส-ยูเฟรติส มีการแลกเปลี่ยน
สินค้าไม่ใช่เฉพาะวัตถุดิบและสินค้าประเภทฟุุมเฟือย แต่รวมถึงอาหารด้วย เมืองสําคัญของอารยธรรมแห่งนี้คือเมือง
โมเฮนโจดาโรและเมืองฮารัปปา เป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางการค้า สันนิษฐานว่าทั้งสองเมืองนี้มีอายุประมาณ
4,000 – 2,500 ปีก่อนคริสตกาล อารยธรรมของดินแดนแห่งนี้เป็นอารยธรรมชั้นสูงและได้สร้างความเจริญเป็นพันๆ
ปีก่อนสมัยประวัติศาสตร์ คนที่อยู่ในดินแดนนี้รู้จักการทอผ้าฝูาย ทําเครื่องนุ่งห่ม การสร้างเมืองที่มีแบบแผน มีถนน
สายตรงหลายสาย ท่อระบายน้ํา มีที่อาบน้ําสาธารณะ ต่อมาประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ํา
สินธุถูกรุกรานโดย พวกอารยันซึ่งมีเชื้อสายอินโดยูโรเปียนได้อพยพเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย พวกนี้
ได้รับอารยธรรมของลุ่มแม่น้ําสินธุซึ่งมีความเจริญสูงกว่า ผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมดั้งเดิม กลายเป็นอารยธรรมฮินดู
และได้ขยายออกไปยังเขตต่าง ๆ ของอินเดีย พร้อมกับการขยายอํานาจการ ครอบครองดินแดนในเวลาเดียวกัน

2.1.6 อาณาจักรลุ่มแม่น้ําฮวงโห ลุ่มแม่น้ําฮวงโห หรือลุ่มแม่น้ําเหลือง เป็นแหล่งอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลก


ตั้งอยู่ในประเทศจีน เรื่องของจีนในสมัยดึกดําบรรพ์ประกอบด้วยนิทานและนิยายต่าง ๆต่อมาสามารถสืบค้นเรื่องราว
5

เกี่ยวกับแหล่งอารยธรรมของลุ่มแม่น้ํา ฮวงโหได้ถึง 5,000 ปีเศษ เพราะว่ามีผู้บันทึกเหตุการณ์ไว้ มีการค้นพบอาวุธ


และเครื่องมือหินในประเทศ โดยเฉพาะทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นโฮนาน ขุดค้นพบซากโครงกระดูกมนุษย์ใน
ถ้ําใกล้กับกรุงปักกิ่ง นักโบราณคดีตั้งชื่อโครงกระดูกว่า “โครงกระดูกมนุษย์ปักกิ่ง” ทําให้ทราบว่าบริเวณที่เป็น
ประเทศจีนเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์รุ่นแรกๆ ที่ยังมีรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกัน มนุษย์สมัยปัจจุบันอายุ 50,000-
110,000 ปีมาแล้ว อารยธรรมสมัยนี้จัดอยู่ในยุคหินเก่าตอนต้น ทางด้านเทคโนโลยี จีนได้เป็นผู้ให้กําเนิดความคิดแก่
โลกตะวันตกในการพัฒนาอาวุธเป็นปืนไฟ โดยเริ่มจากการประดิษฐ์ดอกไม้ไฟของจีน นอกจากนี้จีนยังรู้จักการใช้เข็ม
ทิศ เครื่องวัดแผ่นดินไหว การพิมพ์ ลูกคิด ที่สําคัญที่สุดเห็นจะได้แก่ เทคโนโลยีทางการแพทย์ คือ การรักษาด้วยวิธี
ฝังเข็มซึ่งกําลังเป็นที่แพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน ขณะที่อินเดียเป็นแม่แบบของอารยธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนก็
เป็นแม่แบบของอารยธรรมในเอเชียตะวันออก ได้แก่ เกาหลี ญี่ปุน และยังมีดินแดนอื่น ๆ ที่รับอารยธรรมของจีน เช่น
เวียดนาม ทิเบต เป็นต้น ส่วนดินแดนที่ห่างไกลออกไป เช่น ยุโรป ตะวันออกกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะ
รู้จักจีนในฐานะพ่อค้า ผู้ผลิตสินค้าประเภทเครื่องถ้วยชาม ผ้าไหม อันเป็นสินค้าที่ตลาดโลกต้องการเป็นอย่างมาก

2.2 สังคมมนุษย์สมัยกลาง

สมัยกลาง หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 5 เป็นช่วงเวลาที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกพวกอนารย


ชนเผ่าเยอรมันเข้ายึดครอง จนกระทั่งถึงคริสศตวรรษที่ 15 เป็นปีที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล เมืองหลวงของจักรวรรดิ
โรมันตะวันออก อยู่ใต้อิทธิพลของพวกออตโตมันเตอร์ก นับถือศาสนาอิสลาม รวมระยะเวลาของสมัยกลางราว 1,000
ปี สังคมสมัยกลางเป็นสังคมเกษตรกรรม ไม่มีอุตสาหกรรมหรือการค้าขาย ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ หรือระบบฟิวดัล
ลักษณะสําคัญของระบบฟิวดัลคือ ความผูกพันระหว่างเจ้าของที่ดิน กับผู้ทํากินในที่ดิน หรือผู้รับมอบที่ดิน เรียกว่า วา
สซาล ทั้งลอร์ดและวาสซาลจะต้องทําพิธีสาบานต่อกันว่าจะรักษาพันธะและหน้าที่ของตน ลอร์ดจะต้องพิทักษ์รักษา
วาสซาลให้ปลอดภัยจากศัตรู ให้ความยุติธรรมปกปูองคุ้มครอง ส่วนวาสซาลจะต้องช่วยทํางานให้ลอร์ด ทั้งทางด้าน
การทหาร และช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่ลอร์ด สังคมสมัยกลางแบ่งคนออกเป็น 3 ชนชั้น คือ ชนชั้นขุนนาง มี
หน้าที่ในการปกครอง กลุ่มที่สองคือ สามัญชน ส่วนใหญ่เป็นชาวนาซึ่งอาศัยอยู่ในที่ดินของขุนนางในลักษณะของทาส
ติดที่ดิน ชาวนาโดยทั่วไปมีชีวิตที่ลําบากยากไร้ ต้องส่งผลผลิตให้แก่ขุนนาง ชนกลุ่มที่ 3 คือ พระและนักบวช ซึ่งมี
หน้าที่ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาคริสต์ ซึ่งสมัยกลางนี้ ศาสนาคริสต์มีอิทธิพลมากสมัยกลางเป็นสมัยแห่งศรัทธา ชีวิต
ผู้คนตั้งแต่เกิดจนตายจะถูกควบคุมด้วย ศาสนจักร พวกที่ไม่ปฏิบัติตามคําสอนทางศาสนาจะถูกลงโทษด้วยวิธีที่
เรียกว่า บัพพาชนียกรรม ศาสนาอิสลาม ในคริสตศตวรรษที่ 7 ได้กําเนิดศาสนาใหม่คือ ศาสนาอิสลาม โดยมีศาสดา
คือ นบีมูฮัมหมัด ได้ประกาศคําสอนหรือความเชื่อในดินแดนตะวันออกกลาง และแพร่กระจายไปทั่วจนถึงลุ่มแม่น้ํา
สินธุ การขยายตัวของศาสนาอิสลามทําให้ภาษาอาหรับเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย เป็นคู่แข่งสําคัญของศาสนาคริสต์ จน
ทําให้เกิดสงครามศาสนาที่เรียกว่า สงครามครูเสดขึ้น

2.3 สังคมมนุษย์สมัยใหม่

สมัยใหม่เริ่มขึ้นตั้งแต่ราวกลางคริสตศตวรรษที่ 15 เมื่อระบบศักดินาสวามิภักดิ์เสื่อมลงได้มีการสถาปนารัฐ
ชาติขึ้น ปัจจัยสําคัญสืบเนื่องมาจากอิทธิพลของศาสนาจักรเสื่อมลง เกิดความรู้สึกชาตินิยมขึ้น นอกจากนี้ยุคของการ
6

ฟื้นฟูศิลปวิทยาการซึ่งเกิดในช่วง คริสตศตวรรษที่ 14–16 ได้เกิดการก่อตัวของลัทธิมนุษยนิยม ขบวนการฟื้นฟู


ศิลปวิทยาการเกิดขึ้นในแหลมอิตาลี มีความก้าวหน้าทางวิทยาการ การปฏิรูปศาสนาทําให้เกิดศาสนาคริสต์นิกายใหม่
คือ โปรเตสแตนท์ และเป็นการลดบทบาทของสันตปาปาลง พระมหากษัตริย์มีอํานาจมากขึ้น จึงก่อให้เกิดสังคมใน
รูปแบบใหม่เรียกว่า รัฐชาติเกิดขึ้นครั้งแรกในยุโรปแล้วแพร่กระจายไปทั่ว รัฐชาติที่สําคัญในระยะแรกได้แก่ สเปน
โปรตุเกส ฝรั่งเศส อังกฤษ เป็นต้น รัฐชาติเหล่านี้จะปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
7

วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจของโลก

1.วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจโลกยุคโบราณ
มีมนุษย์เกิดขึ้นในโลก มนุษย์มีความจําเป็นในการแสวงหาอาหารตามธรรมชาติ ด้วยการล่าสัตว์และการหา
พืชผักผลไม้จากธรรมชาติเป็นอาหารวันต่อวัน ยังเป็นมนุษย์ยุคหินเก่า และการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคหินใหม่ มนุษย์
เห็นความจําเป็นในการผลิตอาหารเนื่องจากการหาอาหารตามธรรมชาติหาได้ยากขึ้น มีการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่ตาม
แหล่งที่มีอาหาร มนุษย์จึงรู้จักการทําการเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ มีการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการ
เพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ และภาชนะในการประกอบอาหาร มนุษย์รู้จักการ ใช้ไฟ มีการใช้เสื้อผ้าที่ทําจากหนังสัตว์
และใบไม้

ตั้งแต่มนุษย์ได้ตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนใหญ่ มนุษย์รู้จักการแบ่งงานทําให้มีการผลิตอาหาร มีคนตั้งถิ่นฐานเป็น


ชุมชนใหญ่ จึงมีการแลกเปลี่ยนสิ่งของที่ใช้ในการดํารงชีวิต และพัฒนามาเป็นระบบการซื้อขายสินค้า มีการใช้เงินตรา
เป็นสื่อกลางอํานวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้า มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้โลหะในการทําเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น
เหล็ก สําริด ทองแดง

2. วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจในยุคกลาง

ระบบเศรษฐกิจในยุคกลาง เป็นการดําเนินภายใต้ระบบแมนเนอร์หรือระบบศักดินาสวามิภักดิ์ ปัจจัยการผลิต


ที่สําคัญ คือ แรงงานและที่ดินที่ดินถูกยึดครองโดยชนชั้นเจ้านาย ประชาชนเป็นแรงงานที่ทํางานในที่ดินและเลี้ยงสัตว์
ในยุคนี้เงินตราเป็นสิ่งหายาก ตลาดถูกจํากัดเพราะกลัวการรุกราน มีภาวะสงครามอยู่ทั่วไป มนุษย์จึงต้องช่วยเหลือ
ตนเองทุกๆ เรื่องการติดต่อค้าขายหยุดชะงักในช่วงยุคกลางตอนต้น ในช่วงยุคกลางตอนปลายเมื่อเกิดสงครามครูเสด

ลัทธิทุนนิยม หมายถึงระบบเศรษฐกิจที่มีจุดหมายเพื่อแสวงหากําไรเป็นสําคัญ มีการสะสมทุนอย่างกว้างขวาง


และนําทุนนั้นไปใช้หากําไรด้วยวิธีต่างๆ ระบบทุนนิยมขยายตัวในศตวรรษที่ 11 เนื่องจากมีการใช้เงินตราเป็นสื่อกลาง
และการให้สินเชื่อจากสินค้า แม้ว่าเงินที่กู้จะถูกห้ามไม่ให้มีการเรียกดอกเบี้ย แต่จะใช้บวกเพิ่มในราคาสินค้ารวมทั้ง
การโอนเงินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยใช้ตั๋วเงินซึ่งต้องเสียค่าธรรมเนียม ต่อมาการคิดดอกเบี้ยเงินกู้และการหา
กําไรก็เริ่มแพรหลายในยุโรป

3.วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจในยุคใหม่

การขยายตัวทางเศรษฐกิจในคริสศตวรรษที่ 15 ภายหลังการสิ้นสุดสงครามครูเสด ยุโรปมีการเปลี่ยนแปลง


มาก มีการสํารวจทางทะเล การปฏิรูปทางศาสนา การล่าอาณานิคม มีผลทําให้ตลาดการค้าขยายตัวอย่างรวดเร็ว
อาณานิคมเป็นทั้งแหล่งวัตถุดิบและแหล่งขายสินค้า ธุรกิจขยายตัว มีการจัดตั้งบริษัทที่เกิดผลกําไรมหาศาล เกิดระบบ
สินเชื่อและระบบธนาคารมีการออกธนบัตรเพื่อใช้หมุนเวียนในระบบธุรกิจ ลัทธิพาณิชย์นิยมจึงเกิดขึ้นและขยาย
8

ตัวอย่างรวดเร็ว ลัทธิพาณิชย์นิยมเป็นลัทธิที่เกิดขึ้นเพราะมนุษย์อยากสะสมความมั่งคั่งร่ํารวย รัฐบาลกลางจึงต้อง


ส่งเสริมการค้าให้เจริญรุ่งเรืองโดยเฉพาะการค้าระหว่างประเทศด้วยการผลิตสินค้าสําเร็จรูปแล้วส่งไปขายยัง
ต่างประเทศ โดยนําเข้าวัตถุดิบราคาถูกจากประเทศเมืองขึ้น หรือประเทศอาณานิคม

ปฏิวัติทางด้านการเกษตรกรรม มีการนําเครื่องมือทางเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการอุตสาหกรรมและ
เกษตรกรรม เศรษฐกิจรุ่งเรือง มีการพัฒนาทางด้านการค้าและระบบการขนส่ง อาจกล่าวได้ว่า การพัฒนาทางด้าน
เศรษฐกิจทําให้เกิดการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ อันนําไปสู่การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 จนเป็นผลให้
เกิดภาวะเศรษฐกิจ ตกต่ําหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดภาวะเงินเฟูอ การล้มละลายของธนาคาร ทําให้เกิดระบบ
เศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

4. สภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศ ที่มีบทบาทที่สําคัญต่อเศรษฐกิจโลกมีการเชื่อมโยง


ระบบการเงินระหว่างประเทศมีการช่วยเหลือระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ เช่น ธนาคารโลก กองทุนการเงิน
ระหว่างประเทศ และองค์การการค้าโลก ในแต่ละภูมิภาคก็มีการจัดตั้งเขตการค้า ผลกระทบจากสงครามทําลายจิตใจ
ของผู้คน เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต ไร้ที่อยู่อาศัย ความพิการซึ่งเป็นภาระที่รัฐบาลต้องเร่งฟื้นฟูให้กลับคืนมา ธุรกิจ
การค้า โรงงานอุตสาหกรรม เส้นทางคมนาคม ถูกทําลายอย่างย่อยยับ ดินแดนที่เป็นสมรภูมิของสงครามประสบ
ปัญหา ความอดอยาก ยากจน ขาดแคลนอาหาร สภาพเศรษฐกิจใกล้จะล้มละลาย องค์การสหประชาชาติ จึงมี
บทบาทสําคัญในการให้ความช่วยเหลือมนุษยชาติ และรักษาสันติภาพของสังคมโลก สังคมโลกยุคปัจจุบัน มี
ความก้าวหน้าเกิดการพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูงเป็นการปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ เข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ เกิดการ
ปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจสังคมการเมืองโลก มีผลทําให้ประเทศต่าง ๆ ในโลกต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โลก
ที่กว้างใหญ่ดูเล็กลง ดินแดนที่อยู่ห่างไกลสามารถติดต่อถึงกันภายในเสี้ยววินาที ทุกคนก้าวสู่สังคมใหม่เป็นหนึ่งเดียว
องค์การระหว่างประเทศจึงทวีความสําคัญยิ่งขึ้น ดําเนินการเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม ประนีประนอมสร้าง
ความสัมพันธ์ในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อสันติภาพและความมั่นคงของสังคมโลก
9

วิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองของโลก

1.การเมืองการปกครองยุคก่อนรัฐชาติ
รูปแบบการปกครองในยุคก่อนการเกิดรัฐชาติแบ่งออกได้ดังนี้

การปกครองแบบเผ่าชนหรือกลุ่มชน เป็นการรวมตัวกันของสังคมขนาดย่อมมีรากฐานมาจากหน่วยของสังคม
ที่เล็กที่สุดคือ ครอบครัวหลาย ๆ ครอบครัวรวมกันในระบบเครือญาติเป็นเผ่าชนมีขนบธรรมเนียมประเพณีประจําเผ่า
ซึ่งได้กลายเป็นรูปแบบการปกครองในที่สุด การปกครองแบบนครรัฐหรือแว่นแคว้น หลังจากที่มนุษย์เริ่มมีที่อยู่เป็น
หลักแหล่ง มีการรวมตัวเป็นกลุ่มเผ่าชนในยุคหินใหม่ ก็มีการติดต่อกันระหว่างเผ่า พัฒนามาเป็นนครรัฐ เป็นแคว้น
เป็นอาณาจักร มีพระมหากษัตริย์ปกครองราชวงศ์ต่างๆ เช่นนครรัฐของกรีก และอาณาจักรโรมัน เป็นต้น
การปกครองแบบจักรวรรดิ เป็นรูปแบบการปกครองที่รวมเอานครรัฐ หรือแคว้นต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เป็นกลุ่มสังคม
ขนาดใหญ่ เช่น จักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิจีน จักรวรรดิอินเดีย เป็นต้น การปกครองในรูปแบบจักรวรรดินั้นเป็นการ
ปกครองดินแดนที่กว้างใหญ่ไพศาล มีชาวต่างชาติหลายเผ่าพันธุ์ แต่อํานาจปกครองถูกรวมอยู่ที่จักรพรรดิเพียงผู้เดียว
นั้น ต่อมาจักรวรรดิก็เริ่มอ่อนแอ พวกอนารยชนเข้ารุกรานจักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิจีน การปกครองในรูปแบบใหม่
คือระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) จึงเกิดขึ้นการปกครองในระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ การปกครองในระบบ
ศักดินาสวามิภักดิ์ กําเนิดขึ้นในคริสตศตวรรษที่ 9 เป็นระบอบการปกครองที่เน้นเรื่องที่ดินและกรรมสิทธิ์ในที่ดินและ
ความผูกพันธ์ระหว่างเจ้าของที่ดินและผู้ทํากินในที่ดิน การปกครองระบอบศักดินาพัฒนามาจนถึงกลางศตวรรษที่ 15
หลังการสิ้นสุดสงครามครูเสด

2. การเมืองการปกครองในยุครัฐชาติ

หมายถึง รัฐที่มีการปกครองเป็นปึกแผ่นมีอาณาเขตที่แน่นอน ประชาชนมีเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม


ขนบธรรมเนียมประเพณีแบบเดียวกัน ปัจจัยที่สําคัญในการก่อให้เกิดรัฐบาลคือ ความรู้สึกชาตินิยม ทําให้ประชาชน
เกิดความภูมิใจ และมีความจงรักภักดีต่อชาติและพระมหากษัตริย์ของตนเอง

2.1 ทฤษฎีกําเนิดรัฐ

1) ทฤษฎีเทวสิทธิ์ (Divine Right Theory) ทฤษฎีนี้พระเจ้าเป็นผู้สร้างรัฐ สร้างมนุษย์ อํานาจในการปกครอง


เป็นของพระเจ้า กษัตริย์มีพันธ์กับพระเจ้าและปกครองรัฐในนามของพระเจ้า เป็นที่มาของหลักการที่ว่ากษัตริย์ทํา
อะไรไม่ผิด นําไปสู่ระบอบการปกครองที่เรียกว่าสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy)

2) ทฤษฎีสัญญาประชาคม(Social Constract) ทฤษฎีนี้รัฐเกิดขึ้นโดยมนุษย์เป็นผู้สร้างและเป็นเจ้าของ


อํานาจอธิปไตย เพราะมนุษย์มีสิทธิตามธรรมชาติมาตั้งแต่เกิด คนทุกคนจึงมีสิทธิปกครองตนเอง ทฤษฎีนี้จึงมีส่วน
สนับสนุนทั้งรูปแบบการปกครองแบบเผด็จการ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย
10

3) ทฤษฏีวิวัฒนาการ (Evolution Theory) ทฤษฏีนี้ใช้เหตุผลและความจริงที่เชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์การเมือง


และสัตว์สังคม มนุษย์กับการเมืองจึงแยกกันไม่ออก และทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง มีวิวัฒนาการ การเมือง
เช่นกัน องค์การทางการเมืองในอดีตมีวิวัฒนาการจากเผ่าชน นครรัฐ จักรวรรดิ จนถึงรัฐประชาชาติในปัจจุบัน

2.2 องค์ประกอบของรัฐ

ประกอบด้วย ประชากร ดินแดน รัฐบาลและอํานาจอธิปไตย ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปจะทําให้ขาดสภาพ


ของความเป็นรัฐที่สมบูรณ์

2.2.1 ประชากร (Population)

หมายถึง พลเมืองของรัฐ ทุกรัฐจะต้องมีประชากรอาศัยอยู่แต่ไม่มีข้อกําหนดแน่นอนว่ารัฐจะต้องมี


ประชากรจํานวนเท่าใด แต่ละรัฐจึงมีประชากรมากหรือน้อยแตกต่างกันไปตามลักษณะการตั้งถิ่นฐาน ภูมิอากาศและ
เผ่าพันธุ์

2.2.2 ดินแดน (Territory)

หมายถึง อาณาเขตของรัฐที่ประกอบด้วยพื้นดิน พื้นน้ําและท้องฟูาที่อยู่เหนือเขตพื้นดินและพื้นน้ํา


(ทะเลหรือมหาสมุทร) รวมทั้งทะเลอันเป็นเขตเศรษฐกิจจําเพาะ (The Exclusive Economic Zone) รัฐทุกรัฐจะต้อง
มีดินแดนเป็นของตนเอง แต่ไม่ได้กําหนดว่าจะต้องมีดินแดนเท่าใด อันจะเห็นได้ว่าบางรัฐที่ดินแดนน้อยมาก

2.2.3 รัฐบาล (Government)

หมายถึง คณะบุคคลที่ใช้อํานาจในการบริหารปกครองประเทศ มีหน้าที่จัดระเบียบภายในรัฐ เพื่อ


ประโยชน์ส่วนรวมให้เป็นไปตามตัวบทกฏหมาย ประเทศต่าง ๆ จะต้องมีรัฐบาลปกครองประเทศ ถ้าปราศจากรัฐและ
ปราศจากประเทศแล้ว รัฐก็จะไม่มีตัวแทนเป็นผู้ใช้อํานาจอธิปไตยแทนประชาชน การจะใช้อํานาจอธิปไตยในรูปแบบ
ใดขึ้นอยู่กับการตกลงร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับประชาชน

2.2.4 อํานาจอธิปไตย (Sovereignty)


หมายถึง อํานาจสูงสุดของรัฐที่ใช้บังคับบัญชาภายในรัฐที่จะทําให้รัฐดําเนินกิจการต่าง ๆ ได้อย่าง
เต็มที่ทั้งภายในและภายนอกประเทศเป็นอิสระจากการควบคุมของรัฐอื่น ไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของรัฐอื่นในรูปของ
อาณานิคม ดินแดนในอารักขาหรือดินแดนในอาณัติของรัฐอื่น

2.3 รูปแบบการใช้อํานาจอธิปไตย
11

อาจมีได้หลายรูปแบบ ดังนี้

2.3.1 การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absoluted Monarchy)

หรือ ราชาธิปไตย ในระยะแรกของการตั้งรัฐชาติในยุโรป แต่ละรัฐต้องเผชิญกับปัญหาภายในทั้งด้าน


เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง มีความจําเป็นต้องแก้ไขโดยผู้มีอํานาจอย่างเร่งด่วน ด้วยเหตุนี้จึงเปิดโอกาสให้กษัตริย์มี
อํานาจโดยสมบูรณ์ดังที่เรียกว่า ทฤษฎีเทวสิทธิ์ของกษัตริย์ (Divine Right of Kings) โดยกษัตริย์ปกครองประเทศใน
รูปแบบผู้แทนโดยชอบธรรมของพระเจ้า ดังนั้นกษัตริย์จึงมีพันธะหน้าที่ต่อพระเจ้าเท่านั้น กษัตริย์ทรงอยู่เหนือ
กฎหมาย ทรงออกกฎหมายและบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนทรงอยู่ในฐานะที่ทําอะไรไม่ผิด (The King can do no
wrong) การที่ประชาชนเชื่อฟังกษัตริย์ก็เท่ากับเป็นความเคารพเชื่อฟังพระเจ้าด้วย ประชาชนไม่มีสิทธิ์วิพากษ์วิจารณ์
การปกครองของกษัตริย์แต่อาจให้คําปรึกษาแก่กษัตริย์ได้ การปกครองที่กษัตริย์มีอํานาจโดยสมบูรณ์ เช่นนี้ เรียกว่า
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absoluted Monarchy) หรือราชาธิปไตย หลังสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์เริ่มเสื่อมลง การขยายอํานาจของฝรั่งเศสในยุโรปในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และ 15 เป็นเหตุ
ให้ฝรั่งเศสต้องเข้าสู่สงครามบ่อยครั้ง ส่งผลกระทบให้เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองจนกลายเป็น
การปฏิวัติใหญ่ในปี ค.ศ. 1789

2.3.2 การปกครองระบอบประชาธิปไตย (Democratic Regime)

การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์รุ่งเรืองมากในคริสตศตวรรษที่ 17 และเริ่มเสื่อมลงใน
คริสตศตวรรษที่ 18 ถูกโจมตีอย่างมากโดยนักปราชญ์แห่งยุคเหตุผล ประกอบกับการขยายตัวทางการค้าทําให้ชนชั้น
กลางที่มั่งคั่งทางเศรษฐกิจแต่ไม่มีส่วนร่วมในการปกครองประเทศได้เรียกร้องสิทธิทางการเมือง การปกครอง ผลการ
เรียกร้องดังกล่าวทําให้เกิดการพัฒนาไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย นักปราชญ์ทางการเมืองที่สําคัญใน
คริสตศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นเจ้าของแนวคิดทางการเมืองอันเป็นรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย

3. การเมืองการปกครองยุคใหม่

การเมืองการปกครองหลังจากเกิดรัฐชาติแล้ว ได้เกิดลักษณะที่สําคัญคือ

3.1 ลัทธิชาตินิยม

ลัทธิชาตินิยม คนในชาติต้องการเห็นชาติของตนเจริญรุ่งเรืองกว่าชาติอื่นและการเกิดการเปลี่ยนแปลงทาง
เศรษฐกิจของโลกทําให้เกิดลัทธิจักรวรรดินิยม หรือลัทธิอาณานิคม หมายถึง การขยายอํานาจของคนกลุ่มหนึ่ง หรือ
ชาติหนึ่งเข้าครอบงําเหนือคนต่างชาติในต่างแดน การขยายอํานาจดังกล่าวอาจเป็นไปทางการเมือง การทหาร
เศรษฐกิจ หรือทางวัฒนธรรม วิวัฒนาการของจักรวรรดินิยมมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่เป็นการที่คนชาติหนึ่ง หรือรัฐ
หนึ่งเข้าควบคุมทางการเมืองการปกครองเหนือคนอีกชาติหนึ่ง ปลายคริสตศตวรรษที่ 19 เรียกว่าจักรวรรดินิยมยุค
ใหม่ (New Imperialism) การล่าอาณานิคมในช่วงนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป ความ
แตกต่างระหว่างการล่าอาณานิคมในยุคแห่งการค้นพบกับจักรวรรดินิยมยุคใหม่ คือในยุคแห่งการค้นพบนั้น คนจาก
12

ประเทศในยุโรปจะอพยพไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนที่ตนเข้าไปครอบครอง เช่น การเข้าไปตั้งถิ่นฐานในทวีปอเมริกาเหนือ


ซึ่งในเวลาต่อมาได้พัฒนามาเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา แต่การยึดครองในจักรวรรดินิยมยุคใหม่มักจะเป็นการผนวก
ดินแดนอื่นเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนของตัวเองหากพิจารณาโดยละเอียดถึงสาเหตุที่ทําให้เกิดลัทธิจักรวรรดินิยมอาจ
พิจารณาได้ดังนี้

1. เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านเศรษฐกิจ การขยายตัวทางการค้าตั้งแต่ คริสตศตวรรษที่ 14 นําไปสู่


การค้นพบดินแดนใหม่เนื่องมาจากการสํารวจทางทะเล จึงยึดครองดินแดนเหล่านั้นเป็นอาณานิคม คริสตศตวรรษที่
18-19 ได้เกิดความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมทําให้มีความต้องการวัตถุดิบมากขึ้น
และเมื่อผลิตสินค้าออกมาแล้วก็จําเป็นต้องหาตลาดรองรับสินค้า จึงต้องแสวงหาดินแดนเพื่อซื้อวัตถุดิบและขายสินค้า
สําเร็จรูป

2. เพื่อเผยแพร่ศาสนาคริสต์ และความเจริญของโลกตะวันตก ชาวตะวันตกได้พยายาม เผยแผ่คริสต์ศาสนา


ตามหน้าที่ของคริสตศาสนิกชนที่ดี ชาวตะวันตกยังเชื่อว่าเป็นภาระหน้าที่ของคนผิวขาวที่เชื่อว่า ตนเป็นผู้เจริญกว่า
ผู้อื่นได้นําความเจริญไปยังดินแดนนอกทวีปยุโรป เหตุนี้ศาสนาคริสต์และวัฒนธรรมของชาวตะวันตกจึงแพร่กระจาย
เข้าไปในทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย

3. เพื่อแก้ปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากรในโลกตะวันตก ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และด้าน
การแพทย์ทําให้อัตราการตายของคนยุโรปลดน้อยลง ประชากรจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทําให้เกิดปัญหาทางด้าน
เศรษฐกิจ สังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อม รัฐบาลจึงส่งเสริมให้มีการแสวงหาดินแดนใหม่เพื่ออพยพผู้คนบางส่วนไปตั้ง
ถิ่นฐานทํามาหากินในดินแดนนั้น

4. ปัจจัยทางด้านลัทธิชาตินิยมและยุทธศาสตร์ทางการทหาร ในปลายคริสตศตวรรษที่ 19 ลัทธิชาตินิยมมี


กระแสที่รุนแรงมาก ทําให้ประเทศในยุโรปแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมเพื่อศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของชาติ รวมทั้ง
ต้องการสร้างแสนยานุภาพทางกองทัพเรือแข่งกับชาติมหาอํานาจทางทะเล
13

อ้างอิง

https://www.baanjomyut.com/library_4/global_society/01_3.html
หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน เศรษฐศาสตร์ ม.4-6ชื่อผู้แต่ง : จรินทร์ เทศวานิช และคณะ ฉบับ : ฉบับ อญ.หลักสูตร :
แกนกลาง 51

You might also like