You are on page 1of 3

เดิมทีสงครามเย็น เป็นผลมาจากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวี ยต

เนื่องจากอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน โดยแต่ละฝ่า ยได้สร้า งกลุ่ม


พันธมิตรของตนอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการให้ความช่วยเหลือทางการทหาร หรือการสนับสนุน
ทางด้านการเงิน ดังที่สหรัฐอเมริกาได้ประกาศวาระทรูแมน (Truman Doctrine) ในค.ศ. 1947 โดยมี
สาระสำคัญว่าสหรัฐอเมริกาจะโต้ตอบการคุกคามของประเทศคอมมิวนิสต์ทุกรูปแบบ ผ่านการให้
ความช่วยเหลือประเทศต่างๆให้พ้นจากการคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ ทำให้สหภาพโซเวียตต้องรีบ
จัดตั้งองค์การโคมินฟอร์ม (Cominform) ในการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศที่เ ป็ น
คอมมิวนิสต์ เพื่อขยายลัทธิของตนเข้าสู่ประเทศต่างๆด้วยเหมือนกัน นอกจากทวีปยุโรปแล้ว ทวีป
เอเชียก็เป็นอีกเวทีหนึ่งของสงครามเย็นในฐานะเขตสงครามตัวแทน (Proxy War) จีนเป็นดินแดนลัทธิ
คอมมิวนิสต์ที่ประสบความสำเร็จที่สุด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อดุลอำนาจทางการเมืองระหว่างประเทศ
ถือเป็นการพ่ายแพ้ที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาและเป็นการเสียดุลอำนาจครั้งสำคัญของโลกเสรี ในเมื่อ
การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นส่วนที่สำคัญในการรักษาสมดุลของอำนาจ เป้าหมายของสหรัฐจึ งเป็นการ
ฟื้นฟูบูรณะญี่ปุ่นให้เป็นประเทศประชาธิปไตยเพื่อเป็นป้อมปราการต่อต้า นคอมมิวนิสต์ในซีก โลก
ตะวันออกของสหรัฐ และแหล่ง supply ที่จะช่วยฟื้นฟูญี่ปุ่น ก็คือประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกที่
เป็นตลาดหลักรองรับญี่ปุ่น ดังนั้นนโยบายของสหรัฐฯจึงไม่ใช่แค่การต่อต้านคอมมิวนิสต์แต่ เป็นการ
รักษาสภาพแวดล้อมให้ญี่ปุ่นเติบโตและเจาะเข้าตลาดหลัก
คำตอบของข้อนี้จะมีสามส่วน ส่วนแรกคือ การอธิบายรูปแบบของ Developmental State
ส่วนที่สองคือ สาเหตุที่รัฐ ในเอเชีย ตะวัน ออกสามารถพั ฒ นาเศรฐกิ จ ของตนผ่า นการใช้ โ มเดล
Developmental State ส่วนสุดท้าย คือ บทสรุปผลพวงของสงครามเย็นที่มีต่อเศรษฐกิจของเอเชีย
ตะวันออก
ส่วนแรก: โลกได้เห็นยุทธสาสตร์การพัฒนาที่ให้ความสำคัญหรือทางเลือกระหว่างกลไกตลาด
กับการวางแผนจากส่วนกลางในรอบร้อยปีที่ผ่านมาระหว่างระบบทุนนิยมเสรีกับระบบคอมมิวนิสต์
แต่แนวคิด Developmental State เป็นระบบที่ก ำหนดบทบาทความสำคั ญของรัฐ และตลาดที่
ทำงานร่วมกันในระบบทุนนิยม เป็นระบบที่รัฐวางตำแหน่งตัวเองไว้เพื่อการพัฒนาในทุกๆด้าน แต่
ด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรมจะเป็นแกนหลัก โดยตรรกะของโมเดลนี้ต้องเป็นรัฐ
ที่เข้มแข็ง เป็นรัฐที่กลุ่มชนชั้นนำทางสังคมเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมักมีแนวคิด
ชาตินิยม เป็นฝ่ายขวา รัฐจึงพยายามอย่างยิ่งที่จะมีอำนาจนำในการผลักดันนโยบายทางเศรษฐกิจ ไม่
ว่าจะเป็นการเข้ามาแทรกแซงเพื่อเพิ่มการผลิต การควบคุมอุตสาหกรรม การออกนโยบาย หรือแม้แต่
การควบคุมระบบธนาคารต่า งๆล้วนแล้วแต่เ ป็นความพยายามของรัฐ ทั้งสิ้น นัก วิชาการในกลุ่ม
โครงสร้างนิยม (structuralist) มองว่าการแทรกแซงในระบบเศรษฐกิจของรัฐเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อตัด
ขาดจาก “สายเชื่อมโยงกับยุคอาณานิคม”รวมถึงการที่รัฐเข้าไปแทรกแซงทำให้เกิด “กลไกราคา
บิดเบือน” กล่าวคือ รัฐบาลได้ทำการตัดสินใจแทนตลาดว่าเอกชนควรจะผลิตสินค้าอะไร เมื่อใด และ
ในปริมาณเท่าใดผ่านนโยบายต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้เงินอุดหนุนกับอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์
หรือการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำกว่าอัตราตลาดสำหรับเอกชนที่ลงทุนในอุตสาหกรรมยุทธสา
สตร์ ทั้งนี้ สหรัฐฯเองก็มีบทบาทสำคัญในการขยายโครงข่ายการผลิตมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออก
ผ่านนโยบายการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้ า (ISI) และเปลี่ยนมาเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกแทน
(EOI)
ส่วนที่สอง: องค์ประกอบสำคัญของความสำเร็ จในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเอเชีย
ตะวันออกยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง คือบริบทสงครามเย็นที่มีส่วนช่ว ยออกแบบนโยบายของรัฐ
และ shape ความคิดของคนในภูมิภาคว่าทำอย่างไรถึงจะทำให้ตัวเองอยู่รอดในบริบทความขัดแย้งนี้
ได้ ต้องเตรียมตัวทำสงครามตลอดเวลา จนรู้สึกถึงภัยคุกคามที่มีได้ทุกเมื่อ รัฐจึงต้องจับกลไกของ
สถาบันต่างๆ รวบรวมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ ทำให้สถาบันต่างๆเชื่อฟังรัฐ รัฐกระตุ้นความกลัว ต่อ
ระบอบคอมมิวนิสต์ เป็น narrative ที่รัฐใช้เพื่อสร้างความเข้มแข็งของตัวเองขึ้น มีการพัฒนาระบบ
ราชการให้มีประสิทธิภาพ มีการส่งคนที่มีความรู้ความสามารถไปเรียนที่ต่างประเทศ รับการศึกษา
แบบตะวันตก เพื่อให้กลับมาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ รวมถึงมีกลไกในการประสานงาน
ระหว่างภาครัฐกับเอกชน เกิดการก่อตัวของระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบใหม่ขึ้น นอกจากนี้ ในช่วง
สงครามเย็น ญี่ปุ่นมักให้ความสำคั ญและพยายามตอบสนองข้อเรียกร้อ งทางการค้า ของสหรั ฐ
เนื่องจากญี่ปุ่นต้องพึ่งพาสหรัฐในด้านความมั่นคง สนธิสัญญาความมั่นคงสหรัฐ -ญี่ปุ่นเป็นเสาหลักที่
เชื่อมความเป็นพันธมิตรระหว่างทั้งสองประเทศภายใต้โครงสร้างโลกสองขั้วในยุคสงครามเย็น ทหาร
อเมริกันจำนวนมากได้ประจำการอยู่ที่ฐานทัพขอวสหรัฐ ในญี่ปุ่นเพื่อคุ้ม ครองความมั่นคงให้ญี ่ปุ่น
พร้อมกับรักษาดุลอำนาจในภูมิภาคเอเชีย -แปซิฟิค และยิ่งไปกว่านั้น ญี่ปุ่นยังต้องพึ่งตลาดสหรัฐใน
การส่งออกของตน โดยเฉพาะในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองใหม่ๆ สหรัฐจึงมีความอะลุ่มอล่วยที่จะ
เปิดตลาดรับสินค้า ญี่ปุ่นเพื่อฟูม ฟักญี่ปุ่นให้เป็นตัวอย่า งของประเทศทุนนิยมในเอ เชียที่ประสบ
ความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ส่วนที่สาม: ภาวะสงครามเย็นทำให้เกิดการกระจายอำนาจเป็นวงกว้าง การใช้จ่ายของภาครัฐ
ในช่วงสงครามเย็นต่อกิจกรรมการทำสงครามมีมากขึ้น ทรัพยากรถูกใช้ในเรื่องเกี่ยวกับสงคราม
ก่อให้เกิดการสร้างรายได้ในรูปแบบใหม่ คนที่เข้ามาในอุตสาหกรรมสงครามก็มีรายได้เพิ่มมากขึ้น มี
การเจริญเติบโตของรายได้ประชาชน เกิดการจัดระเบียบทางสังคมม ประชาชนขยับฐานะเศรษฐกิจ
ผ่านระบบราชการ ผู้คนเป็นราชการกันมากขึ้นไม่อยากทำงานในภาคการเกษตร โรงงานอุตสาหกรรม
ก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การแทรกแซงของรัฐในระบบเศรษฐกิจได้สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันใน
สังคมและความเชื่อมั่นในตัวรัฐ ซึ่งบริบทแบบนี้ทำให้รัฐสามารถปรับเปลี่ยนนโยบายได้อย่า งง่ายดาย
ปราศจากแรงต่อต้าน นอกจากนี้ การได้รับความช่วยเหลือจากตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐ ฯจึงถือเป็น
สัดส่วนที่สำคัญในรายได้ของรัฐเอเชียตะวันออก และบริบทสงครามที่ครอบเศรษฐกิจการเมืองใน
ภูมิภาคทำให้รูปแบบการค้าเปลี่ยนไป สร้างระบบเศรษฐกิจที่ผูก พันกับตลาดของสหรัฐ อย่า งมาก
โดยเฉพาะสงครามเวียดนามที่ช่วยให้ตลาดญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆมีตลาดรองรับมากขึ้น เพราะ
สงครามเวียดนามทำให้ญี่ปุ่นสามารถส่งยุทธปัจจัย เสบียงในการทำสงครามไปยังสหรัฐได้ค่อนข้าง
เยอะ จนญี่ปุ่นได้กลายมาเป็นต้นแบบที่นักเศรษฐศาสตร์การเมืองเรียกว่า “รัฐที่มุ่งเน้นการพัฒนา”
(Developmental State) ที่ต่อมาประเทศอื่นๆอย่างเกาหลีใต้ ไต้หวัน รวมทั้งจีน ก็นำแนวคิดนี้ไปชื
จนสามารถยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจขึ้นมาเป็นอุตสาหกรรมรายได้สูง ซึ่งบทบาทของรัฐพัฒนา ที่
กำหนดแนวทางการแทรกแซงของรัฐมี 3 ด้าน คือ การปฏิรูปที่ดิน การพัฒนาอุตสาหกรรม และการ
กำหนดทิศทางระบบการเงินธนาคาร ทำให้ประเทศเหล่านี้สามารถก้า วพ้นจากชาติยากจนสู่ชาติที่มั่ง
คั่ง

You might also like