You are on page 1of 5

ทะเลจีนใต้: ความท้าทายด้านการค้าของอาเซียน

ทะเลจีนใต้ (South China Sea) นอกจากจะตั้งอยู่ ขอบมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณแนวรอยต่อวงแหวน


แห่งไฟ (Ring of Fire) ซึ่งใต้ท้องทะเลระอุด้วยความร้อนจากภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นและเป็นสาเหตุหลักของแผ่นดินไหว
อยู่เสมอแล้ว บนผืนน้ำก็ร้อนแรงจากความตึงเครียดสะสมยืดเยื้อที่เข้าใกล้จุดเดือดไม่แพ้กัน
ความสำคัญของทะเลจีนใต้: หม้อสมบัตินานาชาติ
ในทางภูมิรัฐศาสตร์ ทะเลจีนใต้นับ เป็นจุดยุทธศาสตร์ ของภูมิภาค มีพื้นที่ราว 3.5 ล้านตารางกิโลเมตร
ล้อมรอบด้วยแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะจำนวนมาก เป็นเส้นทางเดินเรือสำคัญที่เชื่อมระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและ
มหาสมุทรอินเดียมาตั้งแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันเป็นเส้นทางที่มีเรือสัญจรถึง 1 ใน 3 ของโลก มีมูลค่าการค้าราวปีละ 3
ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 90 ล้านล้านบาท1 เป็นเส้นทางหลักสำหรับการขนส่งสินค้า อาทิ น้ำมันดิบ กาแฟ ถ่านหิน
และก๊าซธรรมชาติ อีกทั้งในทะเลจีนใต้มีความหลากหลายทางธรรมชาติสูง เป็นแหล่งน้ำสำคัญที่อุดมด้วยสัตว์ทะเล
ชนิดต่าง ๆ อาทิ ปลาทูน่า ปลาแมกเคอเรล ปลาจวด ปลากะตัก กุ้ง หอย ซึง่ ในทะเลจีนใต้มีปริมาณการทำประมงเป็น
ร้อยละ 12 ของโลก และมีปริมาณเรือประมงกว่าครึ่งของทั้งโลก2 รวมทั้งมีการประเมินว่าใต้ท้องทะเลยังมีทรัพยากร
สำคัญอย่างเชื้อเพลิงธรรมชาติ เช่น น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติสำรองอยู่ปริมาณมหาศาล นอกจากนี้ น่านน้ำทะเลจีนใต้
ยังล้อมรอบด้วยอาณาเขตของหลายรัฐ ซึ่งหากรัฐใดมีอิทธิพลเหนือบริเวณดังกล่าวได้ย่อมควบคุมทั้งเส้นทางการค้า
แหล่งประมง แหล่งพลังงานสำรอง และกีดกันการขยายอำนาจของรัฐอื่น ๆ ได้ด้วย
สำหรับอาเซียน ทะเลจีนใต้เป็นหัวใจสำคัญทางเศรษฐกิจมาอย่างยาวนาน ประเทศสมาชิกอาเซียน 8 ประเทศ
(ยกเว้นเมียนมาและสปป.ลาว) มีอาณาเขตติดต่อเชื่อมโยงกับทะเลจีนใต้ ประชากรอาเซียนจำนวนมากทั้งบริเวณ
ภาคพื้นทวีป และภาคพื้นสมุทรดำรงชีว ิต ด้วยอาหารจากทะเลและหารายได้เลี้ยงชีพจากการทำประมงในทะเล
นอกจากนี้ จากการศึกษาการจัดลำดับเส้นทางการค้าสำคัญภายในอาเซียน3 พบว่าเส้นทางการค้า 4 ลำดับแรก ได้แก่
(1) อินโดนีเซีย-ฟิลิปปินส์ (2) ไทย-ฟิลิปปินส์ (3) เวียดนาม-ฟิลิปปินส์ และ (4) มาเลเซีย-เวียดนาม เป็นเส้นทางการค้า
ทางทะเลซึ่งส่วนใหญ่ต้องอาศัยการเดินเรือภายในทะเลจีนใต้ โดยมีกลุ่มผลิตภัณฑ์สำคัญ อาทิ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์จากแร่ธาตุ ยานพาหนะ
สำหรับไทย ทะเลจีนใต้เป็นเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่สำคัญ จากสถิติการขนส่งสินค้าทางน้ำ
บริเวณเมืองท่าชายทะเล ปี 25624 พบว่ามีปริมาณเรือค้าต่างประเทศ ขาเข้าและขาออก (เฉพาะด่านศุลกากรฝั่งอ่าวไทย)
รวมกว่า 42,000 ลำ มีปริมาณสินค้ารวมกว่า 230 ล้านตัน มีสินค้าสำคัญ อาทิ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม แร่เชื้อเพลิง
เคมีภัณฑ์ โลหะภัณฑ์ ไม้ เครื่องมือ/อุปกรณ์ สินค้าเบ็ดเตล็ด ทั้งนี้ ในจำนวนดังกล่าวมีต้นทาง/ปลายทางที่ใช้เส้นทาง
ในทะเลจีนใต้ เช่น จีน ฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา
ความสำคัญข้างต้นทำให้ทะเลจีนใต้กลายเป็นชนวนของความขัดแย้งที่พร้อมปะทุอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะ
ความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจที่ต้องการขยายอิทธิพลในบริเวณดังกล่าว ซึ่งเป็นประเด็นซับซ้อนที่จะส่งผลกระทบ
ต่ออาเซียนทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม ทั้งนี้ แม้ว่าไทยจะไม่ได้มีข้อพิพาทด้านอาณาเขต
ทับซ้อน ในทะเลจีนใต้กับชาติอื่น ๆ อย่างไรก็ดี หากเกิดความขัดแย้งขั้นรุนแรงก็อาจส่งผลกระทบกับ การค้าของไทย
ได้เช่นกัน

1
BBC News. 20 March 2021. “Why is everyone fighting over the South China Sea?”
2
Salleh, Asyura. January 2020. “The South China Sea: Preventing the Tyranny of the Common.” thediplomat.com
3
YCP Solidiance. 18 June 2020. Report on Prioritising Trade Routes and Product Groups.
4
กลุ่มสถิติวิเคราะห์ สำนักแผนงาน กรมเจ้าท่า. กันยายน 2563. รายงานสถิติการขนส่งสินค้าทางน้ำ บริเวณเมืองท่าชายทะเล ปี พ.ศ. 2562.
-2-

แผนที่เส้นทางเดินเรือในน่านน้ำอาเซียน5 ที่มา valueofdissent.wordpress.com

สถานการณ์ปัจจุบันในทะเลจีนใต้: สงครามเย็นบนน่านน้ำร้อน
ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้เป็นประเด็นร้อนแรงที่เริ่มตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 และยังดำรงมาจนถึงปัจจุบัน
ประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง ภายในอาเซียน โดยเฉพาะฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย บรูไน และนอกอาเซียน
อาทิ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น รวมถึงสหรัฐฯ จากกรณีข้อพิพาทแย่งชิงพื้นที่ทางทะเลได้กลายเป็นการแข่งขันทางภูมยิ ุทธศาสตร์
(geo-strategic competition) ซึ่ง Tonnesson6 นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์สันติภาพและความขัดแย้ง วิเคราะห์ ว่า
มีมิติสำคัญ 4 ประการได้แก่
(1) ความตึงเครียดที่เข้มข้นขึ้นและการเตรียมพร้อมสำหรับสงคราม – ภายในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา
จีนได้ขยายกำลังอำนาจอย่างก้าวกระโดด นอกจากการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ที่ขัดกับหลักการของ
สหประชาชาติแล้ว จีนยังก่อสร้างฐานทัพ ใช้เรือเดินสมุทร เรือดำน้ำ และเรือลาดตระเวนจำนวนมาก อีกทั้งมีการใช้
นโยบายห้ามเรือและเครื่องบินผ่าน ห้ามชาติอื่นทำประมงในบริเวณที่ถมทะเลและพัฒนาเกาะเทียม รวมทั้งยังมีกองกำลัง
และสรรพาวุธทางบกและทางอากาศสนับสนุนอยู่บนแผ่นดินใหญ่ และมีการซ้อมรบในทะเลจีนใต้อย่างต่อเนื่อง
(2) อาเซียนที่แบ่งแยก – แม้อาเซียนจะพยายามรักษาสมดุลระหว่างมหาอำนาจทั้งจีนและสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี
ผลประโยชน์ในพื้นที่ทะเลจีนใต้ที่แตกต่างกันทำให้ประเทศสมาชิกมีความโน้มเอียงต่างกัน ในกลุ่มประเทศที่มีประเด็น
พิพาทในทะเลจีนใต้ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย บรูไน มีความพยายามในการผลักดันให้จีนปฏิบัติตามอนุสัญญา
สหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล ค.ศ. 1982 (United Nations Convention on the Law Of the Sea: UNCLOS)
ขณะที่กัมพูชาสนับสนุน การดำเนินการน้อยที่สุดและมีความโน้มเอียงไปทางจีน ส่วนสปป.ลาว เมียนมา และไทย
5
VALUEOFDISSENT. 24 April 2012. South China Sea – Mare Nostrum? https://valueofdissent.wordpress.com/2012
/04/24/south-china-sea-mare-nostrum/
6
Tonesson, Stein. 2020. “Four Aspects of the crisis in the South China Sea.” in The South China Sea from a Regional
Maritime Dispute to Geo-strategic Competition. Routledge Security in Asia Pacific Series.
-3-
พยายามรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของอาเซียนและจำเป็นต้องอำนวยความสะดวกให้จีน ด้านสิงคโปร์ มีความ
สนใจเสรีภาพในการเดิน เรือจึงสนับ สนุน UNCLOS แต่ ยังรักษาเสถีย รภาพด้านการค้าการลงทุนกับจีน ขณะที่
อินโดนีเซียพยายามรักษาระยะห่างกับทั้งจีนและสหรัฐฯ
(3) จุดยืนทางกฎหมายที่ตรงกันข้าม – ขณะที่จีนอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ ราวร้อยละ 80 โดยอ้างว่า
เคยเป็นของจีนในประวัติศาสตร์ แต่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ UNCLOS ซึ่งจีนได้ให้สัตยาบันด้วยนั้น พื้นที่ดังกล่าว
ทับซ้อนกับน่านน้ำของประเทศอื่น แม้ในปี 2559 ศาลอนุญาโตตุลาการถาวรในกรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ได้ตัดสินให้
ฟิลิปปินส์ชนะจีนเกือบทุกกรณีที่ยื่นฟ้อง โดยให้จีนสละสิทธิในการกล่าวอ้างใด ๆ ตามประวัติศาสตร์ แต่จีนยังยืนกราน
ที่จะเพิกเฉยต่อคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาล รวมทั้งใช้ท่าทีแข็งกร้าวและความรุนแรงโจมตีเรือประมงของชาติอื่น ๆ
(4) คู่อริจีน-สหรัฐฯ - นอกจากอาเซียนจะกังวลเกี่ยวกับแสนยานุภาพของจีน ในทะเลจีนใต้แล้ว สหรัฐฯ
เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ได้พยายามท้าทายอำนาจของจีนและเพิ่มปฏิบัติการทางทหารโดยการส่งเครื่องบินและเรือเข้ามา
ในพื้นที่ทะเลจีนใต้ ล่าสุดนโยบายต่างประเทศภายใต้ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ต่อกรณีทะเลจีนใต้เริ่มปรับ บรรยากาศ
ให้คล้ายช่วงสงครามเย็น โดยสหรัฐฯ มุ่งเน้นสร้างพันธมิตรโดยเฉพาะความสัมพันธ์ทางการทหารและความมั่นคงกับ
ฟิลิปปินส์ อีกทั้งยังเพิ่มการแข่งขันและกีดกันโดยไม่ เผชิญหน้าโดยตรงในพื้นที่ และยังคงปฏิบัติการทางทะเลที่อ้างว่า
เพื่อส่งเสริมเสรีภาพในการเดินเรือ (Freedom of Navigation Operations) นอกจากนี้ ยังใช้ความร่วมมือพหุภาคี
ขนาดย่อมกับญี่ปุ่น อินเดีย และออสเตรเลีย (Indo-Pacific Quad) ซึ่งเป็นกลุ่มที่พุ่งเป้าความกังวลต่อการขยายอิทธิพล
ของจีน สถานการณ์อาจทวีความดุเดือด รวมทั้งอาจขยายความขัดแย้งเป็นวงกว้างขึ้นในอนาคต ปัญหาดังกล่าวอาจทำให้
เรือขนสิน ค้าจากยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ที่มุ่งหน้ามายังเอเชียและภาคตะวันตกของทวีปอเมริ กา
เปลี่ยนไปใช้เส้นทางออสเตรเลียทางตอนใต้แทน ซึง่ ย่อมกระทบต่อเศรษฐกิจการค้าของอาเซียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นอกจากความขัดแย้งข้างต้นแล้ว สถานการณ์ในทะเลจีนใต้ยังมีความน่ากังวลอีกหลายประการที่ต้องอาศัย
ความร่วมมือในการแก้ไข ทั้งปัญหาโจรสลัด การก่อการร้าย การค้ามนุษย์ และการลักลอบค้าสิ่งผิดกฎหมายอันเป็น
ภัยคุกคามความมั่นคงและส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการค้าทางทะเล อีกทั้งการทำประมงเกินขนาด การทำประมงที่
ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal Unreported and Unregulated Fishing: IUU Fishing)
ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศทางทะเล ทำให้จำนวนสิ่งมีชีวิตในทะเลร่อยหรอลงและขาดความหลากหลาย
ทางชีวภาพ และในไม่ช้าแหล่งอาหารในทะเลจีนใต้อาจหมดไปจนกลายเป็นทะเลที่ว่างเปล่า นอกจากนี้ปัญหาการรั่วไหล
ของน้ำมันจากเรือ ขยะพลาสติก การขุดเจาะและก่อสร้าง รวมถึงมลพิษในทะเลก็เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนด้วย
แนวทางคลี่คลายความรุนแรง: เพิ่มความร่วมมือ ไม่เติมเชื้อไฟ
ปัญหาในทะเลจีนใต้เป็นหนึ่งในประเด็นทีเ่ รื้อรังและหาข้อสรุปได้ยากที่สุด อย่างไรก็ดี เนื่องจากเป็นปัญหาที่
ส่งผลกระทบหลายมิติ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะการค้าการลงทุนที่อ่อนไหวต่อความขัดแย้ง อาเซียนซึ่งมี
ภูมิศาสตร์อยู่ตรงกลางจึงไม่อาจเพิกเฉย จำเป็นต้องแสวงหาแนวทางบูรณาการความร่วมมืออย่างครอบคลุมทุกภาคส่วน
เพื่อให้เกิดสันติภาพ เสถียรภาพ นำไปสู่ความมั่งคั่งและมั่นคงของภูมิภาค สันติวิธีน่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในขณะนี้
อีกทั้งหลายประเทศต่างบอบช้ำจากสถานการณ์โรคระบาด จึงไม่อาจสูญเสียโอกาสและทรัพยากรไปกับความขัดแย้งได้อีก
ซึ่งหากมีการทำสงครามกลางทะเลย่อมส่งผลกระทบเชิงลบทั้งต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในทะเลอย่างที่ยากจะฟื้นฟู
ดังนั้นอาเซียนควรปรับเปลี่ยนเป้าหมายจากมุมมองเชิงภูมิรัฐศาสตร์มาให้ความสำคัญกับ ความร่วมมือในการส่งเสริม
ความมั่นคงของมนุษย์ การพิทักษ์สาธารณสมบัติ 7 และความเชื่อมโยงทางทะเลเพื่อผลักดันด้านเศรษฐกิจแทน
ในมุมมองด้านความมั่นคงของมนุษย์เป็นประเด็นสำคัญที่อาเซียนต้องร่วมกันเร่งผลักดัน ทั้งการจัดทำ
ประมวลการปฏิบัติในทะเลจีนใต้ (Code of Conduct) ที่มุ่งเน้นการปฏิบัติตามหลักกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อลดภัยคุกคามความมั่นคง อาชญากรรมข้ามชาติ และส่งเสริมความปลอดภัย ตลอดจนเสรีภาพในการดำเนินธุรกิจ
ทางทะเล เพื่อให้ประชาชนอาเซียนและนานาชาติมีความเชื่อมั่นต่อพื้นที่ในทะเลจีนใต้ โดยอาเซียนควรเป็นแกนกลาง
ในการหารือในกรอบการเจรจาระดับพหุภาคีเพื่อรักษาสมดุลอำนาจ โดยเฉพาะการถ่วงดุลประเทศภายนอกภูมิภาค

7
Misalucha-Willoughby, Charmaine. March 2021. “The South China Sea: Beyond Geopolitics.”
-4-
สำหรับแนวทางในการพิทักษ์สาธารณสมบัติ อาเซียนควรให้ความสำคัญ กับการส่งเสริมเศรษฐกิจสีน้ำเงิน
(Blue Economy)8 โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการอนุรักษ์ ธรรมชาติทางทะเล ทั้งในการเดินเรือ
การทำประมง การท่องเที่ยว การพัฒนาชายฝั่ง รวมถึงการรับมือสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลต่อระบบนิเวศ
ทางทะเล สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ที่สหประชาชาติผลักดัน
โดยทั้งภาครัฐและเอกชนควรส่งเสริมการลงทุนและการใช้เทคโนโลยี ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยื นของ
ทรัพยากร ตลอดจนตระหนักถึงประโยชน์และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในทะเลผืนเดียวกันอันเป็นสมบัติของนานาชาติ
ทั้งนี้ อาเซียนควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความเชื่อมโยงทางทะเล (Maritime Connectivity) มากขึ้น
เพื่อมุ่งเน้นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจแทนการแข่งขันด้านเขตแดนอำนาจ โดยผลักดันการดำเนินการที่สำคัญของอาเซียน
อาทิ การรวมตัวเป็นตลาดการขนส่งทางทะเลร่วมอาเซียน (ASEAN Single Shipping Market) ที่จะช่วยอำนวย
ความสะดวก ลดอุปสรรค และลดต้นทุน ในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการขนส่งทางทะเลและบริการที่เกี่ยวข้อง
อีกทั้งการเสริมสร้างขีดความสามารถของท่าเรือ ที่มีศักยภาพของอาเซียนให้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ การพัฒนา
ท่าเรืออัจริยะ (smart port) การพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งเป็นการขนส่งทางราง
การส่งเสริมเส้นทางเดินเรือ Roll On/Roll Off 9 เพื่อเชื่อมต่อทั้งเส้นทางเดินเรือระหว่างแผ่นดินใหญ่กับหมู่เกาะ และ
เส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศที่เป็นหมู่เกาะ เพื่อขับเคลื่อนการค้า การท่องเที่ยว และการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
(Multimodal Transport Operator) ให้มีประสิทธิภาพ อีกทั้งควรพัฒนาเขตเศรษฐกิจที่สำคัญในระดับอนุภูมิภาค
ส่งเสริมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีทางทะเล การเชื่อมต่อโครงข่ายการขนส่งและเครือข่ายการสื่อสาร
การพัฒนาทักษะแรงงานทางทะเล ตลอดจนผลักดันข้อริเริ่มภายใต้แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน
ค.ศ. 2025 (MPAC 2025) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเชื่อมโยงอาเซียนทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน ดิจิทัล โลจิสติกส์ กฎระเบียบ
และประชาชน ซึ่งจะเอื้อบรรยากาศที่ดีสำหรับการค้าการลงทุนในภูมิภาค ทั้งนี้ อาเซียนควรแสวงหาความเชื่อมโยงทาง
ทะเลเพื่อผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกับข้อริเริ่มทางทะเลของภาคีภายนอกภูมิภาคควบคู่ไปด้วย
นอกจากนี้ อาเซียนควรให้ความสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชนถึงปัญหาที่แท้จริงและการพยายาม
หาแนวทางแก้ไขโดยอาศัยความร่วมมือที่เข้มแข็งและครอบคลุม เพื่อส่งเสริมให้ทะเลจีนใต้เป็นทะเลที่ผู้คนมีความมั่นคง
มีเศรษฐกิจที่มั่งคั่ง และมีสันติภาพอย่างยั่งยืน มิใช่สมรภูมิทางการเมืองที่เป็นอุปสรรคกีดขวางการพัฒนาในภูมิภาค
--------------------------

ส่วนบริหารงานอาเซียน
สำนักประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
มิถุนายน 2564

8
World Bank Group. 2017. The Potential of the Blue Economy: Increasing Long-term Benefits of the Sustainable
Use of Marine Resources for Small Island Developing States and Coastal Least Developed Countries.
9
Roll On/Roll Off (RO RO) คื อ เรื อ ที่ ใ ช้ ใ นการบรรทุ ก สิ น ค้ า ประเภทที่ มี “ล้ อ ” ซึ่ งจะขนถ่ า ยยานพาหนะโดยใช้ ท างลาด
(Ramp) ที่ติดตั้งมากับเรือ
-5-
อ้างอิง
กลุ่มสถิติวิเคราะห์ สำนักแผนงาน กรมเจ้าท่า. กันยายน 2563. รายงานสถิติการขนส่งสินค้าทางน้ำ บริเวณเมืองท่า
ชายทะเล ปี พ.ศ. 2562. ออนไลน์. https://md.go.th/stat/images/pdf_report_stat/2563/custom63.pdf
บีบีซีไทย. 25 มีนาคม 2564. “ทะเลจีนใต้ จุดยุทธศาสตร์ที่หลายชาติแย่งกันครอบครอง” ออนไลน์. https://www.bbc.
com/thai/international-56461377
ปฤนัต อภิรัตน์. 2560. ไทยต่อทะเลจีนใต้และการมองไปข้างหน้า. รายงานการศึกษาส่วนบุคคล หลักสูตรนักบริหารการทูต
รุ่นที่ 9 ปี 2560, สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ, กระทรวงการต่างประเทศ.
เรเชล เบล. 20 เมษายน 2560. “ทะเลจีนใต้ น่านน้ำแห่งข้อพิพาท”, National Geographic ฉบับภาษาไทย.
ออนไลน์. https://ngthai.com/uncategorized/1017/conflictofsouthchinasea/
BBC News. 20 March 2021. “Why is everyone fighting over the South China Sea?” Online.
https://www.bbc.com /news/av/world-asia-56463320
Chen, Xiangmiao. 25 April 2021. “Biden’s South China Sea policy has Cold War currents”, Global Times.
Online. https://www.globaltimes.cn/page/202104/1221998.shtml
Dunn, Candace and Barden, Justine. 2018. “More than 30% of global maritime crude oil trade moves
through the South China Sea” U,S. Energy Information Administration. Online.
https://www.eia.gov/todayinenergy/detail.php?id=36952
Kim, Sooyeob. 2020. “Smart port and Sustainable maritime connectivity in Asia and the Pacific”, United
Nations, Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (UNESCAP).
LaFond, Eugene C. 16 April 2020. “South China Sea”, Britannica. Online. https://www.britannica.com/
place/South-China-Sea
Misalucha-Willoughby, Charmaine. 30 March 2021. “The South China Sea: Beyond Geopolitics” in
ASEAN Focus. ASEAN Studies Center at ISEAS-Yusof Ishak Institute.
Paige Brooks. 6 May 2021. “Major Shipping Routes for Global Trade” Online. https://arcb.com/
blog/major-shipping-routes-for-global-trade
Salleh Asyura. January 2020. “The South China Sea: Preventing the Tyranny of the Commons”
Online. https://thediplomat.com/2020/01/the-south-china-sea-preventing-the-tyranny-of-
the-commons/
Tonesson, Stein. 2020. “Four Aspects of the crisis in the South China Sea” in The South China Sea
from a Regional Maritime Dispute to Geo-strategic Competition. Routledge Security in Asia
Pacific Series.
UNESCAP. 2019. Review of Sustainable Transport Connectivity in Asia and the Pacific 2019: Addressing
the Challenges for Freight Transport. Online. https://www.unescap.org/sites/default/d8files/
knowledge-products/Review2019_LowRes-17Feb2020.pdf
Uren, David. 8 December 2020. “Southeast Asia will take a major economic hit if shipping is
blocked in the South China Sea” Online. https://www.aspistrategist.org.au/southeast-asia-
will-take-a-major-economic-hit-if-shipping-is-blocked-in-the-south-china-sea/
World Bank Group. 2017. The Potential of the Blue Economy: Increasing Long-term Benefits of the
Sustainable Use of Marine Resources for Small Island Developing States and Coastal Least
Developed Countries. Online. https://openknowledge.worldbank.org/handle/10986/26843
YCP Solidiance. 18 June 2020. Report on Prioritising Trade Routes and Product Groups.
Development of ASEAN Database on Trade Routes and Framework for Enhancing Supply
Chain Efficiency, Initiative under Masterplan on ASEAN Connectivity 2025 (MPAC 2025).

You might also like