You are on page 1of 3

นิธินนั ท์ อารี ย์สกุลไกร 6341027024

แนวคิ ด เกี ่ ย วกับคุณ ลัก ษณะแห่ง ชาติเป็น แนวคิ ด พื้ น ฐานที ่ จำเป็ น สำหรั บการสร้างความเข้ าใจ อธิ บายและ
คาดการณ์นโยบายต่างประเทศที่เคยส่งผลกระทบต่อปรากฏการณ์ความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศที่เคยเกิดขึ้นและ
ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต นิสิตเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้หรือไม่ อย่างไร จง อภิปรายอย่างเป็นระบบ
ข้าพเจ้าเห็นด้วยกั บประโยคดังกล่าว เนื่องจากคุณลักษณะแห่ งชาติ (National Attributes) ถือเป็ น
องค์ประกอบและเป็นกรอบแนวคิดสำคัญ ที ่มีส่ วนช่ วยในการกำหนดทรัพยากรหรือเครื่องมือต่ างๆที่ใช้ ในการ
วิเคราะห์นโยบายต่างประเทศ ดังที่ Maurice East ใช้เป็นแนวคิดพื้นฐานที่ใช้ในการอธิบายหรือทำความเข้าใจว่ า
มันส่งผลต่อนโยบายต่างประเทศอย่างไร เป็น สิ่งที่บ่งบอกได้ว่าประเทศนั้นมีศักยภาพ ขีดความสามารถแห่งชาติ
(national capability) เพียงใด ซึ่งเป็นที่มาของอำนาจ (power) การที่ประเทศต่างๆมีคุณลักษณะแห่งชาติที่
แตกต่างกันก็จะมีระดับของอำนาจที่แตกต่ างกันไป เช่น อภิมหาอำนาจ (superpower) มหาอำนาจ (great
power) หรือ มหาอำนาจขนาดกลาง (medium power) ซึ่งอำนาจจะนำไปสู่อิทธิพล (influence) ต่อประชาคม
ทั้งในและนอกประเทศได้ คุณลักษณะแห่งชาติจึงเป็นตัวช่วยกำหนดมุมมองและทรรศนะของผู้นำของประเทศว่า
จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชาติได้เช่นไร
โดยคำตอบของข้อนี้จะแบ่งออกเป็นสามส่วน ได้แก่ ส่วนแรก คุณลักษณะแห่งชาติที่จับต้องได้กับนโยบาย
ต่างประเทศ ส่วนที่สอง คุณลักษณะแห่งชาติที่มีความเป็นนามธรรมสูง ส่วนที่สาม กระบวนการรวมตัวกันของทั้ง
สองคุณลักษณะแห่งชาติ และสมมติฐานระหว่างคุณลักษณะแห่งชาติกับขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย
ต่างประเทศ
ส่วนแรก ในทุกๆอณูของคุณลักษณะแห่งชาติจะเต็มไปด้วยข้อได้เปรียบเสียเปรียบที่มีส่วนช่วยให้ผู้นำ
กำหนดนโยบายต่างประเทศ หากศึกษาจากประเภทของคุณลักษณะประเภทแรกหรือคุณลักษณะแห่งชาติที่จับ
ต้ อ งได้ สามารถประเมินได้ชัดเจน (Tangible National Attributes) ไปตามลำดั บ จะพบว่า ในแง่ ของที่ตั้ง
ภูมิศาสตร์ ประเทศที่เป็นแบบ land-locked countries ถูกล้อมรอบโดยประเทศอื่น จะมีจุดอ่อนที่ทำให้ต้อง
พึ่งพาอาศัยประเทศอื่นอยู่ร่ำไป หรือเสี่ยงโดนโจมตีได้ง่าย เช่น เนปาลที่ต้องพึ่งพาประเทศอินเดีย หรือไทยที่มีที่ตั้ง
ทางภูมิศาสตร์ที่ดีกว่าก็จะไม่ต้องเผชิญกับ พายุต่างๆเหมือนฟิลิปปินส์ที่เป็นเกาะ ส่วนในแง่ขนาดของประเทศ
โดยทั่วไปหากประเทศมีขนาดเล็ก มักมีทรัพยากรจำกัดกว่าประเทศขนาดใหญ่ โอกาสที่จะถู กเอาเปรีย บจึง มี
มากกว่า เช่น ประเทศคูเวตที่มีขนาดพื้นที่ทั้งหมดเพียง 17,818 ตารางกิโลเมตร ถูกประเทศอิรักโจมตียึดครอง
ประเทศในปี 1990 โดยใช้เวลาเพียงสามชั่วโมงเท่านั้น แต่ก็เป็นประเทศที่เศรษฐกิจร่ำรวยจากการส่งออกน้ำมันดิบ
หรือแม้แต่สิงคโปร์ที่เป็นตัวอย่างที่ดีของการเป็นประเทศขนาดเล็ก แต่สามารถพัฒนาประเทศให้เจริญขึ้นมาได้ ใน
ขณะเดียวกัน ประเทศที่มีขนาดใหญ่ก็อาจไม่เป็นผลดีเสมอไป เช่น ออสเตรเลีย ที่มีลักษณะพื้นที่ตรงกลางเป็น
ทะเลทราย ประชากรส่วนใหญ่จึงอยู่ตามชายฝั่ง หรือ รัสเซีย แคนาดาที่บริเวณตอนเหนือถูกปกคลุมไปด้วยน้ ำแข็ง
ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่บริเวณนั้นได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ รูปร่างของประเทศกับลักษณะทาง

1
นิธินนั ท์ อารี ย์สกุลไกร 6341027024

ภูมิศาสตร์กายภาพก็มีผลกระทบที่สำคัญเช่นกัน การที่ประเทศมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม หรือรูปเพชร เช่น สหรัฐฯ


ฝรั่งเศส ทำให้การคมนาคม การปกครองประเทศสะดวกเป็นอย่างยิ่ง แต่ประเทศที่มีรูปร่างเรียวยาว เช่น นอร์เวย์
ชิลี เวียดนาม มีจุดอ่อนที่อาจทำให้บกพร่องต่อความสามารถในการป้องกันประเทศ ระยะเวลาที่ต้องใช้เดินทาง
จากเหนือไปใต้ก็เป็นระยะเวลานาน ประเทศจึงให้ความสำคัญกับกองทัพอากาศและกองทัพเรือมากกว่า และหาก
ประเทศใดมีปราการธรรมชาติ ก็จะช่วยลดความเสี่ ยงต่อ ภยัน ตรายหรือ ลดทอนการถูก บุ กรุกได้ มากขึ้น เช่น
อัฟกานิสถาน เป็นประเทศที่เทือกเขามีความขรุขระและหุบเขาห้อมล้อม มีเพียงคนในเมืองเท่านั้นที่สามารถทราบ
ได้ว่าบริเวณใดเป็นฐานที่เหมาะสมกับการสู้ร บ นอกจากนั้นแล้ว ประชากร กำลังทหาร ขีดความสามารถทาง
เศรษฐกิจก็เป็นประเด็นสำคัญในการสร้างความได้เปรียบในการกำหนดนโยบายต่างประเทศเช่นกัน ความเชื่อที่ว่า
หากประเทศใดมีประชากรมาก ประเทศนั้นก็จะยิ่งมีศักยภาพ อาจเป็นสมมติฐานที่เป็นจริงเพียงระดั บหนึ่งเท่ านั้น
จีนที่มีประชากรเยอะติดอันดับต้นของโลกก็มีศักยภาพในการผลิตแรงงานมาก โอกาสในการพัฒนากองกำลังทหาร
สูง แต่ไม่ได้หมายความว่าประเทศที่มีประชากรน้อยจะด้อยเสมอไป เช่น สิงคโปร์ สวิตเซอร์แลนด์ ก็เป็นประเทศที่
มีคุณภาพเช่นกัน หรือแม้แต่ระบบการศึกษาภายในประเทศก็มีผลกับการส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ
ส่วนที่สอง นอกจากคุณลักษณะแห่งชาติที่จับต้องได้แล้ว ยังมีคุณลักษณะแห่งชาติที่มีความเป็นนามธรรม
สูง (Non-Tangible National Attributes) ที่ควรพิจารณาด้วยเช่นกัน ในส่วนนี้จะเป็นเรื่องระบบการเมืองการ
ปกครอง โดยจำต้องมองว่า การเมืองมีเสถียรภาพมากน้อยแค่ไ หน สถาบันทางการเมืองปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ดี
หรือไม่ เช่น สิงคโปร์ที่ไม่ใช่ประเทศประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ แต่ใช้ระบบอำนาจนิยมตามกลไกของรัฐสภา มี
เสรีภาพทางเศรษฐกิจ หรือในแง่ประวัติศาสตร์ทางการเมืองของประเทศ เคยเป็นอาณานิคม เป็นแหล่ง ดินแดน
อารยธรรมมาก่อนหรือไม่ วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) ระบบอุปถัมภ์ (Patronage System) ยัง
ฝังรากลึกอยู่หรือไม่ สภาพสังคมของประเทศนั้นมีความสามัคคีหรือแตกแยกเพียงใด รวมถึงจำต้องพิจารณาระดับ
ของผู้นำ และระดับภาคประชาคม เช่น ไทย เวเนซุเอลาที่มีชนชั้นนำที่อ่อนแอ ภาคประชาสังคมก็อ่อนแอตามไป
ด้วย หรือแม้แต่บทบาทของประเทศในเวทีกิจการระหว่างประเทศ จะต้องพิจารณาว่าประเทศนั้นมีบทบาทระหว่าง
ประเทศในระบบระหว่างประเทศแตกต่างกันมากน้อยเพียงใดเช่นกัน
ส่วนที่สาม หากวิเคราะห์รวมกันทั้งสองส่วน คุณลักษณะแห่งชาติที่จับต้องได้และคุณลักษณะแห่ง ชาติที่มี
ความเป็นนามธรรมสูง มักเป็นปัจจัยภายในประเทศ (Internal/Domestic Factor) ที่ผู้นำของแต่ละประเทศ
จะต้องคำนึงถึงในการออกนโยบายต่างประเทศ แม้ว่าบางกรณีผู้นำของแต่ละประเทศอาจมองข้ามคุณลักษณะ
แห่งชาติบางตัว เช่นกรณีที่ต้องรีบตัดสิน นโยบายต่ างประเทศเฉพาะหน้ า ประกอบเข้ากันกับปัจจัย ภายนอก
(Exterior/External Factor) ซึ่งเป็นคุณลักษณะแห่งชาติ ของประเทศเป้าหมาย และสภาพแวดล้อมของระบบ
ระหว่างประเทศ เช่น ระบบสองขั้วอำนาจ (Bipolar System) ระบบหลายขั้วอำนาจ (Multipolar System)
ทั้งหมดนี้จะรวมกันเป็นปัจจัยนำเข้า (Input) ที่จะนำไปสู่กระบวนการกำหนดนโยบายต่างประเทศ สู่ปัจจัยออก
(Output) หรือนโยบายต่างประเทศที่จะนำไปดำเนินการปรั บใช้ (Implement) นอกจากนั้นแล้ วสมมติฐ าน

2
นิธินนั ท์ อารี ย์สกุลไกร 6341027024

ระหว่างคุณลักษณะแห่งชาติกับขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายต่างประเทศก็เป็นสิ่งที่ควรพิจารณาร่วมด้วย
เช่นกัน แม้ว่าข้อจำกัดทางทรัพยากรจะเป็นการสร้างข้อจำกัดในการดำเนินกิจการต่างประเทศแต่หากรัฐมีระดับ
การพัฒนาภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพก็สามารถปรับใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้เต็มเม็ดเต็มหน่ วย รัฐที่มี
ขีดความสามารถในการดำเนินการสูงมั กมีแนวโน้มที่จะแสดงถึงความสามารถของตนเองในการดำเนินนโยบาย
ต่างประเทศสูงและผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศก็พยายามอย่างยิ่งที่จะใช้ประโยชน์จากขีดความสามารถในการ
บรรลุเป้าหมายของนโยบายต่างประเทศให้ได้มากที่สุด เช่นการมีกองกำลังอาวุธอย่างจีนที่ทำให้ชาติศัตรูหวั่นเกรง
ตรงกันข้ามกับรัฐที่มีขีดความสามารถน้อย ขอบเขตพฤติกรรมนโยบายต่างประเทศก็จะน้อยลงไปด้วย โดยมีความ
เป็นไปได้ที่จะมีพฤติกรรมนโยบายต่างประเทศในกรอบพหุภาคีมากยิ่งขึ้นเนื่องจากรัฐมีข้อผูกมัดสูง ขาดอำนาจใน
การต่อรองกับประเทศอื่น (Bargaining Power) เช่น กรณีวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งในปี 1977 ของไทยที่ถูกข้อผูกมัด
ที่ถูกหยิบยื่นให้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) หรือ การก่อตั้งอาเซียนที่มาจากความตระหนักได้ถึง
ความอ่อนแอภายในรัฐตน เป็นต้น
สรุปได้ว่า คุณลักษณะแห่งชาติที่กล่าวถึง คือคุณลักษณะของหน่วยการเมืองทั้งหมด ไม่ได้เน้นคุณลักษณะ
ของหน่ วยย่ อยภายในรัฐ คุณ ลัก ษณะแห่งชาติ สามารถบอกถึ งซึ ่ง ขี ด ความสามารถ อำนาจ อิ ท ธิ พ ลที่ วัด ด้วย
ความสำเร็จของนโยบายต่างประเทศ จากความสามารถในการเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวแสดงของประเทศเป้าหมาย
ให้ทำตามเป้าประสงค์ดังคำที่กล่าวว่า “Carrot and Stick Diplomacy” คือเมื่อทำตามก็จะมอบรางวัล หากขัด
ขืนก็จะถูกลงโทษ และนั่นเป็นการแสดงถึงการมีคุณลักษณะแห่งชาติที่เหนือกว่านั่นเอง การทำความเข้าใจแนวคิด
ดังกล่าวจึงมีส่วนสำคัญและเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ขาดกับการอธิบาย คาดการณ์นโยบายต่างประเทศที่เคยส่ง ผล
กระทบต่อปรากฏการณ์ความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศที่เคยเกิดขึ้นและที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

You might also like