You are on page 1of 3

1) ระหว่างวันที่ 6 – 10 กุมภาพันธ์ 2566 นางสาวสราญภัทร อนุมัติราชกิจ

อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พร้อมด้วยนางสาว
อังคณา ใจกิจสุวรรณ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ เป็ นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการ
ด้านการพัฒนาสังคม
หรือ CSocD สมัยที่ 61 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก
สหรัฐอเมริกา

2) การประชุม CSocD เป็ นการประชุมหลักด้านการพัฒนาสังคมที่จัดขึน



เป็ นประจำทุกปี เพื่อเป็ นเวที
ให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติร่วมแบ่งปั นนโยบายและความก้าวหน้า
การดำเนินงานด้านสังคม
ในภาพรวมของแต่ละประเทศ รวมถึงเป็ นเวทีสำคัญในการหารือเกี่ยวกับ
สถานการณ์ความท้าทาย
ของสังคมของโลกเพื่อแสวงหาแนวทางการรับมือร่วมกันอย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยหัวข้อหลัก (theme) ของการประชุมในสมัยนี ้ มุ่งเน้น
ไปที่ การลดความเหลื่อมล้ำและเร่งการฟื้ นคืนจากผลกระทบของโควิด-
19 ผ่านการส่งเสริมการจ้างงาน และการดำเนินการตามวาระการพัฒนา
ที่ยั่งยืนอย่างเต็มรูปแบบ

3) พม. ได้นำเสนอการดำเนินงานของไทยที่เกี่ยวข้องกับการขยายความ
คุ้มครองทางสังคมให้ครอบคลุม
คนทุกกลุ่ม ได้แก่ เด็กและเยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สงู อายุ และยก
ตัวอย่างการใช้ ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชีเ้ ป้ า
(TPMAP) และ MSO logbook ในการให้ความช่วยเหลือและพัฒนา
คุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน รวมถึงการเสริมสร้างทักษะ
ด้านอาชีพและทักษะด้านดิจิทัลให้แก่กลุ่มเปราะบางเพื่อเพิ่มโอกาสใน
การเข้าถึงงานที่มีคณ
ุ ค่าในยุคดิจิทัล และยังได้นำเสนอความสำเร็จและ
ตัวอย่างที่ดีในการพัฒนาอาชีพและเพิ่มการจ้างงานในกลุ่มแม่เลีย
้ งเดี่ยว
การให้กู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพแก่คนพิการ นโยบายส่งเสริมการจ้าง
งานคนพิการ และมาตรการด้านผู้สูงอายุ ที่สง่ เสริมให้สังคมไทยเป็ น
สังคมที่ครอบคลุมสำหรับกลุ่มเปราะบางทุกกลุ่ม และเตรียมพร้อม
สำหรับการก้าวสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ของประเทศไทยในปี 2028
นอกจากนัน
้ คณะผู้แทน พม. ได้เยี่ยมชมศูนย์ Accessibility Centre
ภายในสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ซึ่งจัดแสดงอุปกรณ์การช่วยเหลือ
คนพิการด้านการฟั ง และการมองเห็น และอำนวยความสะดวกให้คน
พิการสามารถเข้าถึงสื่อและสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ได้

4) จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของนานาประเทศ การอภิปรายระดับ

สูง และกิจกรรมคู่ขนานที่จัดขึน

ระหว่างการประชุม CSocD สมัยที่ 61 พบว่า ประเด็นสังคมสูงวัยเป็ น
ปรากฎการณ์สำคัญของโลกที่
ทุกประเทศต่างเผชิญร่วมกัน และการสร้างสังคมที่ครอบคลุมสำหรับคน
พิการและผู้สงู อายุเป็ นอีกหนึ่งประเด็นท้าทายที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ
และทุกประเทศต่างเห็นพ้องว่าการกำหนดนโยบายที่พิจารณาทัง้ ช่วง
ชีวิต (life course approach) และการดำเนินงานตามแผนงาน
Madrid International Plan of Action of Ageing จะสามารถช่วยให้
รับมือกับสถานการณ์สงั คมปั จจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการแลก
เปลี่ยนประสบการณ์ด้านคนพิการและผูส
้ ูงอายุดังกล่าว จะเป็ นแนวทาง
และตัวอย่างที่ดีสำหรับกระทรวง พม. ในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน
เชิงสังคมของประเทศไทยโดยไม่ทงิ ้ ใครไว้ข้างหลัง (No one left
behind)

You might also like